ReadyPlanet.com
dot
dot dot
bulletBUDDHISM TO THE NEW WORLD ERA
bulletคำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรแปล เช้า-เย็น
bulletChart Showing the Process
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี พ.ศ.2540 - 2566
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 1
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 2
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี บุคคลที่ 1 - 188 ปัจจุบัน
bulletหนังสือพิมพ์ดี
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 1
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 2
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 3
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 4
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 5
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 6
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 7
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 8
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 9
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 10
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 11
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 12
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 13
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 14
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 15
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 16
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 17
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 18
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 19
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 20
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 21
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 22
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 23
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 24
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 25
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 26
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 27
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 28
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 29
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 30
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 31
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 32
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 33
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 34
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 35
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 36
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 37
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 38
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 39
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 40
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 41
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 42
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 43
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 44
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 45
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 46
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 47
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 48
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 49
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 50
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 51
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 52
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 54
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 55
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 56
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 57
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 58
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 59
bulletTo The World
bulletENGLISH
bulletUSA
bulletChina
bulletIndia
bullet Mynmar
bullet Cambodia
bullet Loas
bulletSri Lanka
bulletMalaysia
bulletKorea
bulletA Sharp Turn of Believes : Iresearch Iwrite Iread
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 1
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 2
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 3
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 4
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 5
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 6
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 7
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 8
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 9
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 10
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 11
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 12
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 13
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 14
bulletMystery Report 15
bulletMystery Report 16
bulletMystery Report 17
bulletMystery Report 18
bulletMystery Report 19
bulletMystery Report 20
bulletMystery Report 21
bulletMystery Report 22
bulletMystery Report 23
bulletMystery Report 24
bulletMystery World Report 25
bulletศึกษาโลกลี้ลับ 26
bulletเฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว วิเคราะห์ทุกปัญหาในโลกมนุษย์ด้วยสติปัญญาและเหตุผลวิทยาศาสตร์จากนสพ.ดี
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2536
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2537
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2538
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2539
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2540
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2541
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2542
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2543-2545
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2545-2549
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2549-2550
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2550-ส.ค.2551
bulletเฝ้าดูฯ ส.ค.-ก.ย.2551
bulletเฝ้าดูฯ ก.ย.2551- ธ.ค. 2551
bulletเฝ้าดูฯสำนวนพัชรา กอปรทศธรรม
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 16-27
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 29
bulletบทความใหม่ เม.ย.-พ.ค.2552
bulletพุทธธรรมเพื่อทางดับทุกข์
bulletทฤษฎีการดับทุกข์ทางจิต วิปัสสนากรรมฐานโดยการทำงาน(สำนวนปรับปรุงใหม่)
bulletประวัติพัชรา กอปรทศธรรม
bulletประวัติการต่อสู้เพื่อการดับทุกข์ ของพัชรา กอปรทศธรรม
bulletอัลบั้มรูป history
bulletนิทานธรรมะประยุกต์ มานุสสาสุระสงคราม 4 ภาค และอื่น ๆ
bulletอัลบั้มรูป ภาพในอดีตและชีวประวัติศาสตร์ที่สวยงาม
bulletจากเวบบอร์ด พูดกันไม่รู้เรื่อง ประชาธิปไตยล้าหลัง
bulletศาสนาสากล การวิเคราะห์ความหมาย
bulletปลอบใจ
dot
รวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์ แนวปฏิรูปคณะสงฆ์อยู่ในบทวิเคราะห์นี้แล้ว
dot
bulletรวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์
dot
สากลจักรวาล สากลศาสนา แนวคิดศาสนาสำหรับคนยุคใหม่ ผู้ก้าวผิดทางไปสู่สิ่งไร้สาระโดยไม่รู้ตัว
dot
bulletสากล...ศาสนา 1
bulletสากล...ศาสนา 2
bulletสากล...ศาสนา 3
bulletสากล...ศาสนา 4
bulletสากล...ศาสนา 5
bulletสากล...ศาสนา 6
bulletสากล...ศาสนา 7
bulletสากล...ศาสนา 9
bulletสากล...ศาสนา 8
bulletสากล...ศาสนา 10
bulletสากล...ศาสนา 11
bulletสากล...ศาสนา 12
bulletสากล...ศาสนา 13
bulletสากล...ศาสนา 14
bulletสากล...ศาสนา 16
dot
ส่วนข้อมูลสำคัญเพื่อการวิจัยการเมืองไทยยุค คมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
dot
bulletข้อมูลสำคัญยุคคมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่1/26ส.ค.2551
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่2/27ส.ค.2551
bulletใบปลิว อีเมล์ ในหลวงทรงร้องไห้
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 1
bulletในหลวงเพิ่งทราบข่าวฆ่าประชาชน10เมย.53ทรงร้องไห้
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
dot
รวมข่าวม็อบการเมืองสนธิ-จำลอง-ปชป.มิ.ย.51-เม.ย.52 นสพ.
dot
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 2
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 3
bulletรวมข่าวม็อบ30มิ.ย.51-23มี.ค.52
bulletเลือดศรีสะเกษบันทึกเรื่องราวรอบด้านเกี่ยวกับเขาพระวิหาร
bulletรายงานการโฆษณาชวนเชื่อในประเทศไทยที่ล้มล้างรัฐบาลทักษิณ
bulletหนังสือพิมพ์ดี ของฟรีให้เปล่ามา20ปีแล้วทั้งเอกสารและอินเทอเนท
bulletหนังสือพิมพ์ดี ( อินเทอเนต ) เล่ม 1 - 44 - ล่าสุด
bulletหน้าที่เก็บไว้
bulletมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร)
bulletวัดมหาพุทธาราม ศรีสะเกษ บันทึกเหตุการณ์
bulletสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดศรีสะเกษแห่งที่ 1
bulletเกี่ยวกับเวบไซต์ของเรา เราทำเพื่อปัญญาชนโดยแท้
bulletรวมกระทู้เด็ดจากกระดานถามตอบ
bulletคาถาอาคมไสยศาสตร์
bulletกวีนิพนธ์ใหม่
bulletศูนย์ปฏิญญาณละเลิกอบายมุข บัญชีที่ 1- 4


หนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 5

 

วิเคราะห์ข่าวในวงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดภาคอีสาน

เล่มที่ 5

ประจำเดือน กรกฎาคม 2540

 

 

 

 

 

1.         ปริศนาธรรม

2.         บทบรรณาธิการ:วิเคราะห์ปัญหาระบบการปกครองคณะสงฆ์ ต่อ

3.         ยิ้มสำรวม

4.         แผนผังระบบสงฆ์  

44        จดหมายถึงบรรณาธิการ

5.         นานาทัศนะ:กล้าปลูกฝังประชาธิปไตยจริงไหม? วิบูลรัตน์

6.         กัลยาณมิตร:ท่านยังไม่รู้จักพุทธทาสภิกขุ 2 ไกลกิเลส

7.         เสนอ สสร. เพื่อแปรญัตติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ

8.         ประชาธิปไตยเบ่งบาน : บันทึกข่าวล่า

9.         ประวัติของผม พระพยับ ปญฺญาธโร: พระผู้มีปกติอยู่ด้วยอิริยาบถ3 ตอน1

10.        หน้าบอกสถานะของเรา

11.        ปกหลังคอลัมน์กวีนิพนธ์

           

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 ปริศนาธรรม

 

            ดูก่อนอานนท์ ลาภสักการะและชื่อเสียงเป็นของทารุณเผ็ดร้อน เป็นอันตรายแก่การ  บรรลุ ธรรมอันประเสริฐ เพราะฉะนั้นพวกเธอพึงสำเหนียกว่า พวกเราจักละลาภสักการะ  และ ชื่อเสียงที่เกิดขึ้นแล้ว ลาภสักการะและชื่อเสียงที่เกิดขึ้นแล้วจักไม่ครอบงำจิตใจ            ของเรา

 

 

 

                                                            พระไตรปิฎกเล่มที่ 16 หน้า 280 ข้อ 581

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 บทบรรณาธิการ

 

 

วิเคราะห์ข่าวในวงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดภาคอีสาน

ประจำเดือนกรกฎาคม พุทธศักราช 2540

 

ฉบับต้อนรับเทศกาลเข้าพรรษา ปีนี้วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 ปีฉลู ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม 2540 ก่อนและหลังวันเข้าพรรษาก็ล้วนวันสำคัญ ก่อนเพียง 1 วันคือวันอาสาฬหบูชา วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 เป็นวันสำคัญที่ระลึกการเกิดขึ้นแห่งพระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา เป็นวันที่พระบรมศาสดาได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาครั้งแรก ที่เรารู้จักกันดีว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเป็นวันแห่ง พระมหาเมตตาพระมหากรุณา ของพระพุทธเจ้าที่ทรงตัดสินพระทัยโปรดการสั่งสอนสัตว์โลกทั้งปวงเพีอให้ได้พ้นทุกข์และรู้ตามพระองค์ได้ ซึ่งนับว่าเป็นการตัดสินพระทัยอันยิ่งใหญ่ เป็นเหตุให้โลกได้รู้จักพระพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาแห่งมนุษย์ และโลกได้บังเกิดมีพระอริยบุคคล 8 จำพวก คือกลุ่มมนุษย์ผู้รู้แจ้งโลกและสากลจักรวาล ผู้รู้เหตุและผล รู้การเกิดและการดับของสรรพสิ่งทั้งปวง และในครั้งนั้น พระอัญญาโกณฑัญญะได้สำเร็จโสดาบัน เป็นอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา และมีการบวชเกิดขึ้นเป็นหนแรก วันอาสาฬหบูชา จึงเป็นวันของพระอัญญาโกณฑัญญะ วันของพระสงฆ์องค์แรกที่สำเร็จมรรคผลชั้นต้น คือระดับพระโสดาบันด้วยบังเกิดดวงตาเห็นธรรม คือมีความเข้าใจรวบยอดในพระธรรมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ว่า

 

ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ

 

สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา

 

ผู้ใดอาจสามารถเข้าใจ สามารถตีความพระคาถานี้ได้โดยแตกฉานด้วยตนเองแล้ว ย่อมสำเร็จโสดาบัน แม้คนสมัยนี้ก็อาจสำเร็จโสดาบันด้วยความเข้าใจในความคิดรวบยอดอันนี้ ตามบาทคาถานี้ได้ วันอาสาฬหบูชาชาวพุทธก็เข้าวัดเพื่อทำบุญ และเวียนเทียนรำลึกถึงท่านผู้รู้เหล่านี้ รำลึกพระมหาเมตตามหากรุณาของพระบรมศาสดา ที่ทรงตัดสินพระทัยเผยแผ่สัจธรรมอันล้ำลึก บางจังหวัดก็จัดประเพณีแห่เทียนพรรษาอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อบูชาพระพุทธคุณและพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย และตั้งใจว่าจะจำเริญรอยตามท่านไป สู่ความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ให้จงได้

 

วันเข้าพรรษา เป็นวันแรม 1 ค่ำ ถัดมาจากวันอาสาฬหบูชา พระในวัด สามเณร ก็อธิษฐานจิตว่าคาถาเข้าพรรษา ดังที่ชายไทยอายุพ้น 20 ทุกคนได้เคยทำมาแล้วในพระอุโบสถ สมัยนี้ท่านก็ว่าคาถา

 

อิมสฺมึ อาวาเส อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ

 

จำพรรษาไปจนถึงวันสุดท้ายของเทศกาลเข้าพรรษา 3 เดือนก็คือวันปวารณา แห่งสงฆ์ทั้งปวง วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ซึ่งปีนี้จะตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พุทธศักราช 2540 ปวารณาแล้วสงฆ์ย่อมอยู่อีกคืนหนึ่งก่อน พ้นจากนั้นจึงจาริกไปได้ นั่นคือ วันออกพรรษา วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ซึ่งปีนี้จะตรงกับวันศูกรที่ 17 ตุลาคม 2540 และจากวันนี้ไปอีกเป็นเวลา 29 วัน ก็จะเป็นเทศกาลกฐิน อันกลายเป็นทั้งระบบศาสนาและวัฒนธรรม ที่มีความหมายสำคัญยิ่งใหญ่มากของชาวพุทธไทย ต่อความมั่นคงของสถาบันครอบครัว สังคม และปประเทศชาติ น่าที่ผู้ที่อยู่ในวงการศึกษาและการปกครองทุกระดับจะต้องสนใจศึกษาและทำความเข้าใจ รวมทั้งปฏิบัติตนไปให้กลมกลืนกับระบบศาสนาและวัฒนธรรมของชาติอันนี้ ด้วยให้ได้

 

วิเคราะห์ข่าวฉบับนี้ ไกลกิเลส ยังคงเขียน ท่านยังไม่รู้จักพุทธทาสภิกฺขุต่อ ตอน 2 ดูคอลัมน์ กัลยาณมิตร หน้า 24 ในวิเคราะห์ข่าวฉบับเดือนมิถุนายน ได้มีใบแทรกเสนอ สสร. พรรคการเมือง ขอให้แปรญัตติมาตรา 75 ระบุข้อความ พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติได้นำลงในเล่มนี้แล้ว หน้า 25

วิบูลรัตน์ กัลยาณวัตร ยังคงมีข้อคิดข้อเขียนที่ซ่อนความหมายอัน มิใช่เล็กน้อยติดตามมาโดยตลอดเช่นเคย โปรดดู กล้าปลูกฝังประชาธิปไตยจริงไหม?” หน้า 22 คอลัมน์ประจำคงมี ติดตามรายละเอียดในสารบาญ

 

 

 

บัดนี้ ก็จะวิเคราะห์ปัญหาระบบการปกครองสงฆ์ต่อไป

 

ผมได้วิเคราะห์มาแล้วว่า ในทางกฏหมายนั้น กฎหมายได้สร้างระบบเจ้าขุนมูลนาย อันเป็นระบบการปกครองสงฆ์ที่ไม่สอดคล้องวิถีโลกปัจจุบันเพราะยังเป็นระบบการปกครองโบราณ ล้าลังไม่ทันยุคสมัย ในขณะที่โลกเขาเองได้ก้าวพ้นระบบที่เชื่องช้าล้าหลังไปสู่ยุคประชาธิปไตยและเท็คโนโลยี่กันแล้ว แต่สงฆ์ก็ยังคงเป็นระบบเจ้าขุนมูลนายอยู่ ซึ่งโดยระบบนี้ ได้สร้างองค์กรบริหารสูงสุดของสงฆเป็นแบบศูนย์รวมอำนาจเบ็ดเสร็จ แต่อ่อนแอไร้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการบริหารโดยสิ้นเชิง จึงไม่สามารถวินิจฉัยสั่งการปัญหาใดใดได้ เป็นผลเสียหายต่อระบบการบริหารสงฆ์เองและพระพุทธศาสนาในส่วนรวมมา เนิ่นนานแล้ว นอกจากนี้ โดยผลของระบบที่เป็นเจ้าขุนมูลนาย ยังส่งผลเสียหาย พลอยเป็นผลเสียหายต่อประชาชนประเทศชาติในส่วนรวม โดยเหตุผลทั้งความเหมาะสมแห่งระบบเองและที่สะท้อนสู่ระบบวัฒนธรรมของชาติ อันเป็นไปในทิศทางที่ไม่ส่งเสริมระบอบการเมืองคือ ประชาธิปไตยของชาติ ด้วย จึงเป็นระบบที่ขัดขวางความก้าวหน้าพัฒนาการทางการเมืองของชาติอย่างสำคัญยิ่ง นอกจากระบบสงฆ์จะไม่ถูกต้องตามโลกาวิถีเช่นนี้แล้ว แม้ในวิถีธรรมเอง เพื่อประโยชน์สูงสุดแห่งพระพุทธศาสนาเอง ระบบสงฆ์เจ้าขุนมูลนายก็หาได้เอื้อเฟื้อไม่ จึงไม่ก่อเกิดกระบวนการแห่งศาสนวิถี ที่ส่งเสริมให้มีการเลื่อนไหลพัฒนาการไปในทิศทางของมรรคผลนิพพาน อันเป็นวิถีทางแห่งสติปัญญารู้แจ้ง อันเป็นเป้าหมายสูงสุดแห่งการพระพุทธศาสนา หากแต่เป็นกระบวนการที่ปิดกั้นและค่อยลดทอนมรรคผลนิพพานลงไปตามลำดับ ๆ ตราบจนกระทั่งบัดนี้ ในวงการสงฆ์เอง ก็แทบก่อเกิดมรรคผลนิพพาน แม้ขั้นต่ำสุดขึ้นมา คือโสดาบัน มรรค หรือ ผล นั้นอย่างยากยิ่ง เท่ากับระบบสงฆ์นั้นเองที่ทำลายสถาบันสงฆ์ โดยเหตุที่ปิดกั้นหรือทำตัวเองเป็นศัตรูหรืออุปสรรคอันยิ่งใหญที่ขัดขวางเส้นทางแห่งพระพุทธสาสนาเสียเอง เป็นตัวการร้ายเสียเอง โดยเขลารู้เท่าไม่ถึงการณ์ อุปมาดั่งนาข้าวที่ค่อยเหี่ยวเฉาลงไป ข้าวที่เคยเขียวก็ค่อยแห้งแล้งไปตามลำดับ นั้นก็เพราะชาวนาผู้มืดบอดใช้ปุ๋ยบำรุงนาไม่ถูกวิธี เข้าลักษณะคนบาปทำบาปแก่ตัวเอง แก่สังคมและพระพุทธศาสนา เพราะตัวเองเป็นศัตรูตัวเอง ศัตรูภายในที่ร้ายกาจยิ่งกว่าศัตรูภายนอกนั้นเป็นหลายเท่า

 

นี่คือสถานการณ์ด้านธรรมะ เอง แต่ท่านอาจจะประหลาดใจเป็นอย่างยิ่ง หากจะไปรู้ว่า ในวงการฆราวาส ซึ่งรวมถึงวงการนางชี ในพระพุทธศาสนาสมัยปัจจุบันนี้ ยังหาบุคคลผู้มีดวงตาเห็ฯธรรม สำเร็จมรรคผลระดับสัมมาทิฏฐิบุคคล หรือโสดาปัตติผลนี้ ได้มากมายกว่าในวงการสงฆ์เสียอีก (ทั้งนี้ต้องมองรูปรวมของระบบและโดยความหมายแห่งธรรมะล้วน มิได้มองระบบวัฒนธรรมสงฆ์ซึ่งมิได้มีความสำคัญมากนักในความหมายแห่งการบรรลุมรรคผล และที่ควรรู้ก็คือระบบวัฒนธรรมสงฆ์ เป็นคนละส่วนกันโดยสิ้นเชิงกับมรรคผลนิพพาน จะต้องแยกวิเคราะห์ว่าส่วนใดเป็นวัฒนธรรมสงฆ์และส่วนใดเป็นมรรคผลนิพพาน อันนี้จะอธิบายภายหลัง)

 

นี่คือสิ่งที่น่าประหลาดใจล้ำยิ่งนัก อันบ่งบอกความละเอียดลึกซึ้งและสลับซับซ้อนแห่งวงการธรรมปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ที่ต้องมองผ่านความสลับซับซ้อนทั้งหลายโดยเฉพาะระบบวัฒนธรรมสงฆ์ ไปสู่เนื้อแท้แห่งพระอริยสัจธรรมให้จงได้ จึงจะเห็นสัจธรรม หรือความจริงดังกล่าว หากแต่เหตุที่บั่นทอนมรรคผลในวงการสงฆ์ที่สำคัญที่สุด ก็เนื่องมาจากระบบเจ้าขุนมูลนายในวงการสงฆ์นี้เองแท้ ๆ จริง ๆ หาใช่สิ่งอื่นใดไม่ ดังจักนำพาไปให้เห็นในสัจธรรมนี้ต่อไป

 

เรามาลองวิเคราะห์จากฝ่ายฆราวาสก่อน

 

ทางฆราวาส สิ่งที่ส่งเสริมมรรคผลแท้จริงก็คือ เริ่มด้วยการดำเนินชีวิตไปตามธรรมดาของปุถุชนที่เป็นไปตามขั้นตอนปกติ ๆ ของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย เช่นวัยเด็กทำอะไร เติบใหญ่ทำอะไร โดแล้วทำอะไร ถึงคราวต้องการทางเพศหรือวาระเจริญพันธุ์มาก็ทำอะไร ทำไป ๆ ตามธรรมชาติ อย่าไปฝืนธรรมชาติ แล้วจักดำรงฐานะที่อาจให้ก้าวสู่วิถีธรรมแห่งมรรคผลได้ โดยเสริมเพิ่มเติมด้วยคุณภาพแห่งความเป็นมนุษย์ เป็นต้นว่าระบบการศึกษา ระบบธรรมะในชีวิตประจำวัน ระบบการงานอาชีพ ที่อยู่ในกรอบแห่งศีลธรรมอันดี การให้ การสังคมสงเคราะห์ ในระบบครอบครัวที่สมาชิกมีความอบอุ่น รู้หน้าที่ รู้กตัญญูกตเวทิตาคุณ รู้รักสามัคคี รู้เสียสละ และมีความซื่อสัตย์ ไม่เห็นแก่ตัว ระบบการศึกษาทุกระดับที่สร้างสรรค์สติปัญญาความคิดแห่งสังคมพุทธศาสนา ระบบงานทุกระบบแห่งสังคมพุทธศาสนา รวมทั้งระบบการอาชีพทุกระดับใดใด ที่สำคัญก็คือการศึกษาจากวิถีชีวิตจริง จากความเป็นธรรมดาของชีวิตที่ต้องดิ้นรนต่อสู้ และมีการออกแรงพยายามฝ่าฟันไป มีการเรียนรู้ในการต่อสู้ เพื่อเอาชนะอุปสรรค ศัตรูคู่แข่ง และมีการดิ้นรนพยายาม ไม่อยู่นิ่งเฉยเพื่อเอาชีวิตรอดอยู่ตลอดเวลาอันเป็นการสร้างสรรค์ความเข้มแข็ง ความแข็งแกร่งและสติปัญญาในการต่อสู้เพิ่มทวียิ่งขึ้น โดยเหตุผลแห่งความจำเป็นโดยธรรมชาติ เพื่อให้ตนเองอยู่รอดและปลอดภัย แต่ฆราวาสผู้ได้หรือประสบผลสำเร็จในมรรคผลนิพพานนั้น ท่านเป็นผู้ที่ย่อมมีปกติ ต้องเป็นผู้ที่ต่อสู้โดยชอบธรรม แม้การชอบธรรมโดยกฎ กติกา หรือกฎหมายทางโลก ก็นับเข้าความชอบธรรมนี้ อันย่อมหยู่บนพื้นฐานแห่งธรรมะที่สำคัญลักษณะหนึ่ง อันเป็นลักษณะพื้นฐาน ก็คือพื้นฐานแห่งความเข้าใจในสุขในทุกข์ของคนอื่น คือความเข้าใจในเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเองเป็นเบื้องต้น เข้าใจในสุขและทุกข์ของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง แล้วล่วงไปถึงความเข้าใจในสุขในทุกข์ของชีวิตอื่น ชีวิตอื่น คือชีวิตทั้งหลาย แม้สัตว์เดรัจฉานสองเท้าสี่เท้าทั้งหลายก็ดี หรือแม้พืชพันธุ้ไม้ ป่าเขาต่าง ๆ หรือแม้ธรณี ผืนแผ่นดิน น้ำลำธารมหาสมุทร เหล่านี้ก็ดี จะต้องบรรลุถึงความเข้าใจพวกเขา และแม้พวกมันทั้งหลายนั้นอย่างลึกซึ้ง นี้แหละย่อมเป็นหลักการสำคัญของฆราวาสที่จะให้ได้บรรลุมรรคผลระดับต้น คือสู่กระแสแห่งโสดาปัตติมรรคนี้ เพราะเหตุฉะนั้น จึงได้มีฆราวาส ชาวพุทธที่อยู่ใต้บารมีแห่งพระพุทธศาสนธรรม คือได้รู้แนววัฒนธรรมพุทธและจำเริญรอยไปในวัฒนธรรมพุทธนั้น เพื่อการเรียนรู้และเข้าใจทุกข์ให้ได้ในระดับหนึ่ง เพื่อการเรียนรู้และเข้าใจสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงไม่มีประมาณ ว่าต่างก็พากันเผชิญชะตากรรมอย่างเดียวกันเช่นนั้น ๆ คือสุขและทุกข์นี้ และแม้เราเองก็ได้รู้สึกในสุขและทุกข์ของเราเอง รู้ในสุขและทุกข์ของผู้อื่น ชีวิตอื่น ฉะนั้น แม้โดยหลักการนี้ ฆราวาสผู้มุ่งหมายทางธุรกิจมีเป้าหมายในการงานอาชีพเป็นเงินตรานับหมื่นนับแสนล้านบาท เขาก็อาจสามารถบรรลุธรรมได้ ฆราวาสผู้ประกอบอาชีพใดใดเขาก็ย่อมสามารถบรรลุธรรมได้ ด้วยการประกอบอาชีพอย่างสุจริต ด้วยการหาเอามาเอาได้อย่างชอบธรรม(ตามกฎกติกา กฎหมาย) โดยธรรมะ คือความยุติธรรม โดยพื้นฐานแห่งความไม่เอารัดเอาเปรียบโดยชอบธรรม ภายใต้ความรู้สึกในความสุขความทุกข์ของผู้อื่น มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ภายใต้ความถ้อยทีถ้อยอาศัยกันและกัน บังเกิดความเข้าอกเข้าใจกัน เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ด้วยความที่รู้และเข้าใจเห็นอกเห็นใจในสุขและทุกข์ของผู้อื่นโดยซาบซึ้งแท้จริง

 

โลกที่เริ่มเข้าใจในสุขและทุกข์ของผู้อื่น โลกที่เรียกร้องการแก้ไขปัญหา บนพื้นฐานแห่งความเข้าอกเข้าใจกันของมวลสมาชิกในสังคม โดยสันติวิธีนั่นแหละคือวิถีทางแห่งโสดาปัตติมรรค เป็นไปในวิถีทางแห่งโสดาบันบุคคล

 

สังคมที่เริ่มเข้าใจในสุขและทุกข์ของผู้อื่น สังคมที่เรียกร้องการแก้ไขปัญหา บนพื้นฐานแห่งความเข้าอกเข้าใจกันของมวลสมาชิกในสังคม โดยสันติวิธี นั่นแหละคือวิถีทางแห่งโสดาปัตติมรรค เป็นไปในวิถีทางแห่งโสดาปันบุคคล

 

อันชาวโลก คือฆราวาสกลับมีน้ำจิตน้ำใจชนิดนี้มากกว่าพระสงฆ์ในระบบเจ้าขุนมูลนายปัจจุบันนี้เสียอีก

 

มาลองวิเคราะห์ระบบสงฆ์เปรียบเทียบไป

 

ระบบเจ้าขุนมูลนาย ไม่ว่าในศาสนาใดใดในโลกนี้ ย่อมจะขัดกับวิถีทางแห่งธรรมชาติของนักบวช ในเมื่อโลกมีธรรมชาติไปอย่างไร นักบวชก็ย่อมมีธรรมชาติในทางตรงกันข้ามกับโลกเพียงนั้น

 

เมื่อฆราวาสรอดอยู่ได้ด้วยประพฤติตนถูกต้องตามกฎแห่งธรรมชาติ เช่นหิวก็หากิน และกิน เมื่อต้องการเสพ ก็หาเสพ และเสพซึ่งรสแห่งกามทั้งหลาย เป็นต้นนั้น เป็นธรรมชาติของฝ่ายฆราวาสเขา และเขาก็อยู่รอดได้

 

แต่ธรรมชาติของนักบวช จะต้องเป็นไปในทางตรงกันข้ามกับฆราวาส นั่นคือความสละโลกสมบัติเป็นเบื้องต้น แล้วมาสู่ความสันโดษ และต้องรักษาคุณสมบัติแห่งสันโดษไว้ให้ได้ จึงจะมีชีวิตรอดอยู่อย่างนักบวช

 

ทั้งโลกและธรรม จะต้องเป็นไปตามธรรมชาติของตน จึงจะมีชีวิตรอดอยู่ได้ โลกก็เป็นไปตามธรรมชาติของโลก ธรรมก็ต้องเป็นไปตามธรรมชาติของธรรม

 

แต่เดี๋ยวนี้ระบบสงฆ์ มิได้เป็นไปตามธรรมชาติของนักบวช เพราะได้เฉเบี่ยงเบนไปด้วยระบบเจ้าขุนมูลนายสงฆ์ ระบบเจ้าขุนมูลนายของนักบวชจึงนำมาซึ่งอันตราย จะค่อยทำลายความเป็นนักบวชของสงฆ์ไปตามลำดับ และนั่นเองเป็นจุดเริ่มต้น แห่งความลดน้อยถอยลงไปแห่งการบรรลุมรรคผลนิพพานในสังคมพุทธศาสนาแห่งโลก

 

ที่กล่าวแล้วนี้ เป็นการกล่าวหลักพื้นฐาน ธรรมดา ๆ เบื้องต้น ยังมีเหตุปัจจัยอันเป็นพื้นฐานแห่งการบรรลุมรรคผล สำหรับนักบวช ที่ต้องพิจารณาต่อไป

 

ในเรื่องวัตร หรือกิจวัตรประจำวันของพระสงฆ์ ที่เป็นการงานที่สำคัญประการต้น ๆ ของนักบวชทั้งหลาย แม้สมัยเดิมกับสมัยนี้ วัตรปฏิบัติและธรรมปฏิบัติภาคเท็กนิกเฉพาะตนเฉพาะบุคคล ยังใช้อันเดียวกัน แบบเดียวกัน เหมือนกันอยู่ทุกประการ ที่อาจเอื้อมรรคผลให้ได้อยู่แม้ปัจจุบันนี้ หากแต่บัดนี้ ในวงการสงฆ์หาได้รับผลเช่นนั้นไม่ หาได้เอื้อให้สำเร็จมรรคผลนิพพานได้เหมือนแต่เก่าก่อนไม่ หากแต่ปัจจุบันนี้ กระแสถูกปิดกั้นอย่างหนาทึบ ด้วยระบบเจ้าขุนมูลนาย กระแสดุจสายน้ำแห่งมรรคผล ที่ค่อยรวมตัวและไหลเป็นต้นแม่น้ำน้อย ๆ ด้วยผลแห่งวัตรปฏิบัติและธรรมปฏิบัติอันดั้งเดิม พลันถูกปิดกั้นด้วยขุนเขาแห่งระบบเจ้าขุนมูลนายอันแน่นทึบ กระแสนี้เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงในวงจรสั้น ๆ อยู่แค่นี้ กระแสไม่สามารถผ่านระบบเจ้าขุนมูลนายไปสู่โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลได้ หากแต่กล่าวได้ว่ามีกระแสเกิดขึ้นและรวมตัวกันเป็นทางสายอยู่ แต่แล้วกลับถูกปิดกั้นเสียอย่างน่าเสียดาย วงการสงฆ์ระบบเจ้าขุนมูลนายจึงหาพระที่สำเร็จ แม้เพียงระดับล่างที่สุดแห่งมรรคผล คือ โสดาบัน อันถือว่าต่ำต้อย ในหมู่พระอริยบุคคลสูงสุดคือ พระอรหันต์ทั้งหลาย ได้ก็ยากแสนยาก ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้

 

เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เนื่องแต่ระบบเจ้าขุนมูลนายได้กลายเป็นระบบที่เดินไปไม่ถูกธรรมชาติ ไม่เป็นไปตามกฎแห่งธรรมชาติ อันเป็นความถูกต้อง ความเป็นธรรมเบื้องต้นของนักบวชเสียแล้ว ต่อมาระบบนี้ก็สร้างคนให้เห็นแก่ตัว ก็ผิดหลักศาสนธรรมสากลเข้าไปอีก อย่าเพิ่งกล่าวหลักมรรคผลของศาสนาพุทธโดยเฉพาะเลย บุรุษสตรีมีปัญญาใดลองใช้ปัญญาวิเคราะห์ดูหมู่สงฆ์ทุกวันนี้ ดูบทบาทองค์กรสงฆ์ทุก ๆ แห่ง โดยเฉพาะบทบาทของวัดวาอาราม ดูท่านเหล่านั้น ดูองค์กรทั้งหลายเหล่านั้นว่าทำอะไร ๆ ไป ล้วนเป็นไปด้วยอำนาจแห่งผลประโยชน์ทั้งสิ้น ทำไปแล้วต้องมีต้องได้ ต้องเอามา ต้องเพิ่มพูนเข้ามาต้องสะสม อันมิได้มีลักษณะของทาน หรือความเสียสละ หรือความมักน้อยสันโดษ (ที่ตนเฝ้าพร่ำสอนคนทั่วไปอยู่เป็นประจำวัน) มิได้มีความประพฤติหรือกิจการอันใดในหมู่สงฆ์ องค์กรสงฆ์ ที่เป็นการสังคมสงเคราะห์ อันมีความหมายถึงการเสียสละ การต่อสู้กับความเห็นแก่ตัว ความมัจฉริยะตระหนี่ อันเป็นทางแห่งการสละ มีความเสียสละ มีจาคะ แต่อย่างใดเลย ดูการดำรงอยู่ของพระเจ้าขุนมูลนายจะเห็นชัดเจนไปทั้งสิ้นว่า เป็นไปอย่างมี โลภะ(เห็นแก่เงิน เห็นแก่ได้ สะสม ไม่ทำประโยชน์ ไม่มีการให้ทาน ไม่มีการสร้างสาธารณประโยชน์) ราคะ(กำหนัดในกาม บำเรอตนด้วยภาพ ภาพยนต์ วีดิโอ ท่องเที่ยวไปในที่อโคจร พูดคุยกับหญิง จ่ายทรัพย์ให้หญิง) โกธะ(ขึ้ง ถลึง ตึงตัง โครมคราม แสดงอำนาจ บาทใหญ่ ดุด่า ยะโส) และโมหะ(โง่ โง่แล้วอวดดี การศึกษาต่ำ ดูแคลนนักปราชญ์ เจรจาสื่อสารไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ภาษา หลงอำนาจ ยกตน ยกตนข่มท่าน คิดแต่จะเอาจะได้อย่างเดียว) เต็มอัตตาตัวตนไปหมด ไม่ว่าจะมองจากความประพฤติหรือความดำรงอยู่อย่างใดก็ตาม เป็นต้นว่ามองจากปัจจัย 4 ดูเรื่องอาหาร พระเจ้าขุนมูลนายมีอาหารการกินการบริโภค ล้วนเลิศ ล้วนของดี ๆ ยิ่งกว่าฝรั่งเศสสมัยเริ่มจะมีการปฏิวัติระบบเจ้าขุนมูลนายในฝรั่งเศส ในขณะที่ประชาชนทั้งหลายอดอยาก ไม่มีขนมปังพอแบ่งกันกิน ไม่มีสิ่งของพอแบ่งกันใช้ แต่เจ้าขุนมูลนายนั้นมีกินดีอยู่ดีอย่างพิเศษ เดี๋ยวนี้ พระแทบทุกระดับมีตู้เย็นไว้สำหรับแช่เก็บอาหารไว้รับประทานไว้ต้อนรับแขก ได้ทุกเวลา ของที่ใส่ในตู้เย็นนั้นก็ล้วนของดี ๆ ของที่มีรสชาติทุกแบบ ไม่น้อยไปกว่าเศรษฐีฆราวาส โดยไม่คำนึงเลยว่าไม่ถูกธรรมชาติของนักบวชอย่างไร เพราะเหตุที่แสวงหาของกินของบริโภคได้ตามใจอยาก ไม่มีประมาณ ไม่ถูกกฎธรรมชาติของนักบวช อันทำให้เสียโอกาสสำคัญคือการได้สัมผัสความยากลำบาก ความหิวโหยและความไม่สบายกายไม่สบายใจ ให้ได้มีการต่อสู้ทำสงครามทางจิตวิญญาณ อันเป็นกระบวนการพัฒนาจิต พัฒนาสมาธิ และวิปัสสนาญาณเบื้องต้นอย่างธรรมชาติ ที่นำไปสู่การเรียนรู้หลักทุกข์อริยสัจแห่งพระพุทธศาสนา ฉะนั้น แม้เพียงด้วยเหตุแห่งการไม่รู้ประมาณในการกินอาหารโดยวิถีทางเจ้าขุนมูลนายนี้ ก็สามารถปิดกั้นกระแสอ่อน ๆ แห่งโสดาปัตติมรรคอันเป็นผลจากการประพฤติวัตรปกติประจำวันเสียได้สนิท

 

ดูเครื่องนุ่งห่ม พระเจ้าขุนมูลนายนุ่งห่มดี แม้ในบ้านนอกเมื่อได้เป็นเจ้าขุนมูลนายขึ้น ชุดธรรมดา นุ่งห่มไม่ได้ ต้องไตรไหมล้วน ราคานับหมื่นบาท ลำบากญาติโยมเพียงใดหารู้สึกไม่ ลองคิดบัญญัติไตรยางค์ไปดูว่าเจ้าขุนมูลนายบ้านนอกยังขนาดนี้ ในเมืองในนคร ระดับตำแหน่งชั้นสูง ระดับยศถาบรรดาศักดิ์ใหญ่ ๆ โต ๆ จะเพียงไหน นั่นแหละ ระบบเจ้าขุนมูลนาย ไม่เคยระมัดระวังว่าจะเดินไปผิดกลู่ทางมรรคผลอย่างไร ดูดั่งว่าไม่เคยระมัดระวัง เอาใจใส่เลยว่า ธุดงค์ 13 บท ข้อที่ว่าด้วยผ้านั้นมีไว้ทำไม เพื่อประโยชน์อะไรแก่มรรคแก่ผล และเพื่อประโยชน์อะไรแก่ความศรัทธา เมื่อไม่เคยคิด แม้จะเคยรู้แต่ก็ไม่เคยปฏิบัติเสียเลย ถึงเคยปฏิบัติบ้างแต่ก็เพียงย่อหย่อน ไม่พอมีระดับ แม้เพียงแค่ให้ได้สัมผัสบ้างว่าความทุกข์ยากลำบากเป็นอย่างไร ก็มิได้มีในหมู่สงฆ์เจ้าขุนมูลนายสมัยนี้ เหตุฉะนี้ จึงย่อมไม่สามารถบรรลุสู่กระแสใดใดได้ อันเป็นธรรมดาอยู่แล้ว

 

ดูเรื่องที่อยู่อาศัย ดูภายในภายนอก ดูรถราที่ท่านใช้ เดี๋ยวนี้มีแต่จำต้องแข่งขันกันสร้างสิ่งที่เป็นส่วนตัว ๆ อย่างนี้กันทั้งนั้น แข่งกันหารถเก๋งมาใช้ทำไม ไม่พ้น เรื่องการโอ้อวด แข่งกันสร้างกุฎิที่พักที่อาศัยให้โอ่อ่าทันสมัย ที่ต้องเป็นห้องมีเครื่องปรับอากาศ มีเครื่องเสียง วีดีโอ มีโทรทัศน์สีจอใหญ่ ฯลฯ อันเป็นเรื่องราวของผลประโยชน์ส่วนตนทั้งสิ้น ทำอะไรไปแล้วต้องมีต้องได้ ต้องเอามา ต้องเพิ่มพูนเข้ามา ต้องสะสม อันมิได้มีลักษณะของ ทาน หรือ ความเสียสละ หรือความมักน้อยสันโดษ อันมิได้เฉียดใกล้ความหมายที่จะเป็นจะเกิดขึ้นแห่งการสังคมสงเคราะห์ หรือเป็นองค์กรแห่งการบำบัดทุกข์บำรุงสุขของประชาชน ตามความหมายพื้นฐานแห่งการศาสนาสากลเลย

 

ทั้งนี้ก็เพราะระบบเจ้าขุนมูลนายเป็นระบบการแข่งขัน ที่ค่อย ๆ เพิ่มดีกรีความเร่งความเร่าร้อนในการแข่งขันกันไปตามลำดับ ๆ จนกระทั่งปัจจุบันนี้ การแข่งขันในวงการสงฆ์มีความเร่าร้อนรุนแรง หากแต่เกลื่อนอยู่ภายใต้ผิวหน้าแห่งวัฒนธรรมสงฆ์อันดูสงบราบคาบ หากภายในเบื้องลึกร้อนระอุ แรง ยากที่ผู้ไม่คุ้นเคยรอบรู้ในระบบและวัฒนธรรมสงฆ์จะอาจเข้าใจได้ นี่กล่าวโทษแห่งระบบ

 

ระบบเจ้าขุนมูลนายจึงปิดกั้นกระแส ที่บังเกิดขึ้นได้ด้วยผลการปฏิบัติชั้นต้น อันเป็นวัตร คืองานที่ทำประจำวันของพระสงฆ์หรือนักบวช ซึ่งเป็นแบบอย่างมาแต่พุทธกาล เพื่อเอื้อต่อมรรคผล โดยเป็นกรรมฐานเบื้องต้น 10 ประการ คือ

 

(1)           ลงอุโบสถ เพื่อทำสังฆกรรมต่าง ๆ ตามโอกาส เช่นการบวช กฐิน หรือทำวัตรที่ปกติทำในอุโบสถเป็นต้น การลงอุโบสถเป็นประจำทำให้มั่นคงในอนุสสติ10และเป็นบ่อเกิดแห่งความศรัทธา

(2)           สวดมนต์เช้า สวดมนต์เย็น สวดมนต์ทุกชนิด ได้อนุสสติ 10 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พุทธานุสสติ    ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ เป็นพื้นฐานแห่งสมาธิโดยธรรมชาติ ฝึกการเจริญกสิณโดยธรรมชาติ

(3)           บิณฑบาตเลี้ยงชีพ ได้ออกกำลังกาย ได้โปรดญาติโยม ให้ถึงอนุสสติ 10 ได้บริหารสมาธิ ได้ทบทวนปริยัติธรรม ได้ฝึกธรรมปฏิบัติชั้นสูงบางอย่าง ได้สัมผัสสังคม ได้แสดงอิริยาบถแห่งธรรม

(4)           ปัดกวาดวิหารลานพระเจดีย์ ได้สร้างอุปนิสัยเยือกเย็นและปลงกรรมฐาน เป็นเบื้องต้น  แห่งการเรียนรู้งานวิปัสนาโดยธรรมชาติ เป็นที่มาแห่งความเลื่อมใสศรัทธาของคนทั้งหลาย

(5)           ปฏิบัติบำรุงครูบาอาจารย์ ได้รู้วิชาจากท่าน ได้นิสัยจากท่าน ได้สนทนากับท่านมีโอกาสได้มรดกจากท่าน ท่านจะบอกเคล็ดลับอันสูงสุดของวิชาที่ท่านรู้ให้ท่านจะบอกมรรคผลสูงสุดให้

(6)           ศึกษาพระธรรมวินัย เพื่อเล่าเรียนพระปริยัติธรรมชั้นพื้นฐาน ให้แล้วเสร็จให้ได้ก่อนจะสืบต่อไปสู่ภาคปฏิบัติธรรม เพื่อเรียนรู้มาตรฐานแห่งวัฒนธรรมนักบวชเพื่อรู้แจ้งทางมรรคผลจากพระคัมภีร์ เพื่อความไม่ประมาท นับว่าเป็นวัตรที่จำเป็น

(7)           หมั่นแสดงอาบัติ เพื่อศีลบริสุทธิ์ เพื่อได้สมาธิจิต เพื่อจำเริญฌาน มีความสุขในชีวิตประจำวัน ไม่เคร่งเครียดเกินไป ไม่หย่อนยานเกินไป

(8)           พิจารณาปัจเวกขณะทั้ง 4 ซึ่งก็คือปลงกรรมฐาน หมั่นพิจารณาปัจจัย 4 คือ อาหาร   เครื่องนุ่งห่ม        ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ให้เป็นไปในทางมักน้อยสันโดษ และ  พิจารณาให้เห็นเป็นอสุภะอยู่เสมอ ตามที่ได้บรรยายมาแล้วในส่วนที่ไม่ชอบด้วยธรรมวินัยของระบบเจ้าขุนมูลนาย

(9)           รักษาผ้าครอง เป็นงานที่ต้องทำอย่างประณีตเกี่ยวกับผ้าครองของพระสงฆ์ซึ่งต้องปฏิบัติอย่างกตัญญูรู้คุณ เพื่อให้ได้อารมณ์อันสุขุม เป็นที่มาแห่งขันติธรรมและโสรัจธรรม และ

(10)         หมั่นอยู่ปริวาสกรรม เพื่อทำให้มีขึ้นและเพิ่มพูนให้มากขึ้นซึ่งหิริ-โอตตัปปธรรม เพื่อการเพิ่มพูนคุณธรรมทุกทาง นับแต่ศีล สมาธิ ฌาน ภาวนา ปัญญา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อประโยชน์   โดยเฉพาะการศึกษาด้านสติปัฏฐาน 4 อย่าง เหล่านี้เป็นอาทิซึ่งยังคงมีการประพฤติปฏิบัติอยู่อย่างเป็นประเพณีกระท่อนกระแท่นในวัดขณะนี้ซึ่งเมื่อเวลากุลบุตรเข้าอุปสมบทในบวรพุทธศาสนาก็จะต้องปฏิบัติวัตรเหล่านี้ทุกวัน และได้ผล ด้วยความศรัทธาเป็น    พื้นฐานมาจากบ้าน ได้สัมผัสกระแสแห่งมรรคผลด้วยตั้งใจทำวัตรเหล่านี้ดี      สม่ำเสมอ หากแต่อยู่ไปนาน ๆ ภายใต้ระบบเจ้าขุนมูลนาย กระแสก็จะค่อยหด  หายไปตามลำดับ ฆราวาสกุลบุตรบวชเข้ามาในปัจจุบันนี้             จึงเป็นเรื่องที่ น่าเป็นห่วง เพราะการบวชจะมีผลดี   เฉพาะช่วงเดือนแรก ๆ เท่านั้น          นานไปกระแสที่ได้สัมผัสว่าสงบเยือกเย็น ฯลฯ ก็จะค่อยหดหายไป เหมือนพระทั้งหลายในระบบเจ้าขุนมูลนายทุกวันนี้ ที่อยู่กันไปอย่างไร้ความหมายแห่งชีวิต อย่างเรือไร้หางเสือเพราะมรรคผลนิพพาน อันหมายถึงพัฒนาการทางจิตไม่อาจเดินไป ไม่อาจเป็นไป นั่นก็หมายถึงความล้มเหลวลงโดยสิ้นเชิงแห่ง การพัฒนาการทางจิตในระบบสงฆ์นั่นเอง

 

ลองมาวิเคราะห์เหตุแห่งมรรคผลต่อ ในระดับที่เป็นหลักพื้นฐานจริง ๆ ที่ก่อเกิดกระแสแห่งมรรคผลขึ้นมาได้ ก็คือระดับไตรสิกขา ศีลจะต้องบริสุทธิ์ผ่องแผ้วยืนมั่นไว้ แต่ในระบบเจ้าขุนมูลนาย ปัญหาเกิดจากวิถีทางดำรงชีวิตประจำวันของพระสงฆ์นั่นเองเป็นเรื่องใหญ่ และที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะระบบได้ก่อให้เกิดเหตุปัจจัยดั่งนั้นขึ้นมา ดูจากปัจจัย 4 อีกครั้ง อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ในขณะที่พระชั้นผู้ใหญ่เพลิดเพลินอยู่กับเงินตรา กับความคิดการวางแผนงานต่าง ๆ ที่จะนำกิจกรรมแห่งศาสนาไปแสวงหาเงินตรา และแล้วได้มาก็เพลิดเพลินอยู่นั้น พระระดับสามัญธรรมดาทั้งหลายก็พากันเพลิดเพลินอยู่กับเรื่องราวอันสนุกสนานหน้า จอโทรทัศน์ มีรายการมวย รายการภาพยนต์เงินพันล้าน และยังอาจแสวงหาความเพลิดเพลินได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง(ดูกันได้ทั้งคืน)ด้วยระบบวีดีโอ ไปเช่าม้วนเขามาฉายดูกัน พระใหญ่ก็ชอบดู พระเล็กพระน้อยก็ชอบดู เลยกลายเป็นกลุ่มคนมีรสนิยมตรงกันขึ้นมา ใครและใครไม่อาจตำหนิกันได้ เช่นนี้เป็นต้น ศีลก็ขาดสะบั้นไป ด่างพร้อยไป ไม่อาจบริสุทธิพอ ไม่เพียงพอที่จะหยั่งลงไปให้ถึงความเย็นระงับ สงบนิ่งแล้วก่อเกิดเป็นกระแสแห่งปฏิเวธธรรมระดับศีลขึ้นมาได้ ก็ไม่เพียงพอที่จะถึงจุดบรรลุเท่าฝ่ายฆราวาสเขา ที่เป็นไปตามกฎธรรมชาติแห่งเขาในฐานะฆราวาส

 

นั่นคือ การปฏิบัติของพระเป็นการปฏิบัติไปด้าน ๆ แห้ง ๆ แล้ง ๆ ไม่รู้จุดหมายปลายทางของศีล คาดไม่ได้คะเนไม่ได้ ไม่รู้ปฏิเวธแห่งศีลว่าจะเกิดขึ้นอย่างใด เมื่อไม่ได้เข้าใจ ไม่ได้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลเช่นนี้จึงมิได้ตั้งใจปรนนิบัติให้ละเอียดประนีตพอ เอาพอแล้ว ๆ ไป พอได้อวดญาติโยมเขาเห็นในที่เปิดเผย พอให้โยมเขาสรรเสริญให้ลาภ ส่วนในที่ลับตาลับหู หาเอาใจใส่ไม่ ล้วนแต่ทำกับศีล วินัย อย่างดูถูกดูแคลนดูหมิ่นไปทั้งสิ้น นี่แหละ การประพฤติที่เรียกว่า ศีลัพพตปรามาส ไม่ฉลาดในไตรสิกขา สมาธิก็ปฏิบัติไปแบบโลกียสมาธิ(เช่นพระเล็กพระน้อย ก็ไปนั่งสมาธิดูเลขหวยเลขเบอร์อวดดีในทางผิด ๆ ปลุกเศกเลขยันต์ ฝังเหล็กฝังไหล ฝังอะไรต่าง ๆ ตามแต่จะมีสติปัญญาคิดออกคิดได้ เช่นฝังรูปฝังรอย พ่นน้ำมนต์ เคาะหัวคน ฯลฯ พระมีระดับก็ทำพิธีการทุกขนาด ตั้งแต่ระดับหมู่บ้านตำบลไปถึงพิธีการระดับชาติ วิธีทำก็ไปนั่งหลับตาสวดมนต์น้อยบ้างมากบ้างพอให้เกิดความขลังในสายตาชาวบ้านญาติโยมปุถุชน บ้างก็กำวัตถุแล้วหลับตาบริกรรม ง่วงเหงาหาวนอนไป แต่โยมที่เฝ้าดูอยู่หารู้ไม่ อันเป็นเรื่องของวิธีการหาเงินตรากันล้วน ๆ ปัญญาความนึกความคิดอ่านใดใด ก็เป็นเรื่องที่ฉลาดในทางที่สนองกิเลส สนองกาม สนองความโลภ ความโกรธ และความหลง ไปทั้งสิ้นเช่นนี้ ล้วนเป็นภูเขาหนาทึบที่ปิดกั้นกระแสแห่งมรรคผล ทั้งสิ้น

 

ระดับโสดาปัตติมรรค (คือรู้ทางที่ถูก รู้ทางแห่งความดี ความบริสุทธิ์ รู้ทางที่เย็นสงบระงับ แล้วพยายามเดินไป เมื่อไปถึง เรียกว่า โสดาปัตติผล เพราะได้เสวยผลดังปราถนาแล้ว จะมีช่วงระยะอยู่ระหว่าง มรรค กับ ผล มากบ้างน้อยบ้าง หรือบางกรณี ช่วงนี้ก็ไม่มีเลย ข้ามขั้นไปได้ เช่นกรณีของปัญจวัคคีย์ในวันอาสาฬหบูชานั่นแหละ พระโกณฑัญญะ เข้ากระแสโสดาปัตติผลก่อนเพื่อน เพราะอีกสี่องค์ฟังธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแล้วยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นเป็นปุถุชนอยู่ พระพุทธองค์ท่านก็ทรงทบทวนใหม่อยู่ 7 วันจึงเทศน์กัณฑ์ที่ 2 คือ อนัตตลักขณสูตร คราวนี้ จากพระโสดาบัน พระโกณฑัญญะ ล่วงข้ามสกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล และอรหัตตมรรค ไปสู่อรหัตตผลสูงสุดไปเลย แต่อีกสี่องค์น่าทึ่งกว่า เพราะข้ามไปรวดเดียว 7 ขั้น จากปุถุชน สู่พระอรหันต์เลยทีเดียวโดยไม่เป็นไปตามลำดับขั้นแห่งพระอริยบุคคลเลย ซึ่งก็ย่อมเป็นไปได้) จะต้องพิจารณาสาเหตุใหญ่ที่ ศีลัพพตปรามาส นี้ อันหมายถึงการประพฤติศีลที่ไม่พร้อมสมบูรณ์ทั้งกายวาจาและใจ จึงไม่ถึงปฏิเวธแห่งศีล คือผลในระดับเพียงพอที่ก่อให้เกิดกระแสแรงไหลสู่โสดาบันมรรคได้ ไม่เท่าฆราวาสเขา นั่นก็คือการปฏิบัติศีลของพระเป็นการปฏิบัติไปแห้ง ๆ แล้ง ๆ ไม่พอให้เกิดเมตตาจิตขึ้นภายในจิตใจของพระเจ้าขุนมูลนายทั้งหลายอย่างแท้จริง จึงไม่สามารถก่อให้เกิดความรู้สึกสะทกสะเทือน ความรู้แจ้งเห็นจริงในสุขในทุกข์ของคนอื่น ของเพื่อนมนุษย์ รวมทั้งความรู้สึกอันเดียวกันนี้ละเอียดอ่อนลงไปถึงชีวิตอื่น มีสัตว์ทวิชาจตุบาททั้งหลายทั้งปวงตลอดไปจนถึงเหล่าพืชสีเขียวแห่งแผ่นดิน เป็นต้น

 

สิ่งที่จะต้องสังเกตในขณะนี้ก็คือ การเข้าใจในสุขในทุกข์ของผู้อื่นและชีวิตอื่นนั้น มิอาจเป็นขึ้นมาได้โดยปราศจากเหตุ คือไม่ใช่บุคคลจะมีจะเป็นได้เอง จะต้องมีทางประพฤติในศีลและทาน บำเพ็ญคุณงามและความดีอย่างบริสุทธิ์ ฆราวาสมักมาจากเหตุแห่งการประพฤติวัฒนธรรมแห่งชีวิต อันเป็นไปตามอุดมการณ์แห่งพระพุทธศาสนา ตามกฎแห่งธรรมชาติ กฎแห่งความบริสุทธิ์ยุติธรรม พระมาจากการประพฤติศีลให้บริสุทธิ์ เป็นเบื้องต้น สมาธิ ปัญญา เป็นเบื้องกลางและเบื้องสูง

 

จะลองวิเคราะห์ให้เห็นว่า ชาวพุทธนั้น หากอยู่ในวัฒนธรรมพุทธโดยเคร่งครัดแล้ว ศีลก็จะพลอยดีขึ้นด้วย เมื่อเราอยู่ในศีลห้าของพระพุทธศาสนา(ไม่ใช่ศีลของศาสนาอื่น เพราะความตรงประเด็นระหว่างศีลของต่างศาสนาจะไม่เหมือนไม่เท่ากัน ศีลพุทธจะตรงไปสู่มรรคผล เพราะท่านผู้รู้ได้บัญญัติไว้รัดกุมเพื่อประโยชน์เช่นนั้น) เราต้องละเว้นให้ได้ ตามที่ท่านกำหนดไว้ห้าอย่างนั้น จะต้องประพฤติไปนาน ๆ เมื่อละเว้นได้ถึงระดับ คือมีระยะหนึ่งที่เพียงพอให้เกิดผลหรือปฏิเวธขึ้น ก็จึงจะเกิดขึ้น เช่นเมื่อเราละเว้นการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตไปได้มาก ๆ ได้นาน ๆ ประกอบปัญญาฉลาดหมั่นตรึกตรองหมั่นสังเกตไป เช่นสังเกตว่าเมื่อลงทัณฑ์ลงโทษไปแล้ว คนก็กลัวลนลานน่าสงสาร สัตว์เมื่อถูกทำร้ายก็ร้องออกมาสุดเสียง ดิ้นรนเถือกไถไปจนกว่าจะสิ้นชีวิต สังเกตทุกข์และสุขของชีวิตไปเช่นนี้ ในวันหนึ่งก็จะได้พบสัจธรรมที่ว่าคนทั้งหลายทั้งปวง สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ต่างก็รักชีวิตของตน ๆ และต่างก็เกรงกลัวภัยหรืออาชญาที่จะลงแก่ตนไปเหมือน ๆ กันทั้งนั้น แม้ตัวเราเองก็เป็นเช่นเดียวกับเพื่อนมนุษย์สัตว์ทั้งหลาย คิดได้เช่นนี้ สังเกตเห็นเช่นนี้ ก็จะค่อยรู้สึกถึงสุขและทุกข์ของคนอื่น เห็นในสุขของผู้อื่นมากยิ่งขึ้น เห็นในทุกข์ของผู้อื่นมากยิ่งขึ้น จิตใจปรานีก็เกิดขึ้น ความรักเพื่อนมนุษย์ด้วยกันก็จะเกิดขึ้นมา ถึงตอนนี้ก็จะอ่อนโยนลงไปถึงขนาดว่าที่จะให้ทำร้าย ฆ่าฟัน ประหารชีวิตผู้อื่นถึงตายนั้น ไม่สามารถกระทำได้ละ เพราะเหตุแห่งเห็นในทุกข์ของเขาว่า ถ้าทำเขาแล้วเขาจะเกิดความทุกข์อย่างนั้น ๆ เขาจะต้องเศร้าโศกเสียใจอย่างนั้น ๆ ถ้าเขาเป็นพ่อ มีลูกมีเมีย เราฆ่าเขาตายไปลูกเมียเขาจะต้องยากลำบาก เขาจะต้องเจ็บปวดรวดร้าวอย่างนั้น ๆ รู้คิดในมุมกลับของทฤษฎีที่ได้รู้ เช่นคิดกลับไปถึงตัวเราเองบ้างว่าจะเป็นอย่างไร หากถูกเข้ากับเหตุการณ์อย่างที่คนอื่นเขาถูกเข้าบ้างจะเป็นอย่างไร อย่างนี้คือที่มาแห่งกระแส ที่มาแห่งความเห็นอกเห็นใจ รู้ใจเขาใจเราเกิดขึ้น ๆ มาได้ ด้วยการหมั่นรักษาศีล 5 นี่เอง ฉะนั้น ปฏิเวธแห่งศีลมีโสดาบันนมรรคเป็นเป้าหมาย ผลสุดท้ายที่ต้องทำให้ปรากฎขึ้นก็คือความเห็นแจ้งในสุขในทุกข์ของคนอื่น สัตว์อื่น และ ชีวิตอื่น ที่ร่วมโลกเดียวกันกับเรา จิตใจก็ยิ่งจะประนีตขึ้นไปเรื่อย ๆ อย่างนี้แหละเรียกว่า กระแสแห่งโสดาปันนมรรค อย่างนี้เรียกว่ามีปัญญาเกิดขึ้น มีธรรมจักษุบังเกิด แล้วกระบวนแห่งเหตุและผลในมรรคและผลก็แล่นต่อไป ปัญญาก็เกิดต่อไป เช่นมารำลึกขึ้นว่า แล้วเราจะประหัตประหารกันไปทำไม ทำร้ายกันทำไม ให้เพิ่มทุกข์เข้าไปอีกเล่า ทำไมเราไม่ร่วมสร้างรังสรรค์กัน เป็นผู้สร้าง เป็นพระเจ้า ทำไมจึงต้องมีการทำลาย เมื่อการทำลายนั้นไม่เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของชีวิตใดเลย เราจึงไม่ควรเป็นผู้ทำลายแม้ด้วยประการใดใด เป็นผู้สร้างอย่างเดียว สร้างแล้วก็เลี้ยงดูให้เดติบใหญ่ ให้ได้เห็นคนอื่นมีความสุข ชีวิตอื่นมีความสุข และเราก็จะพลอยมีความสุขกับเขา เรียกว่ามีมุทิตาจิตเกิดขึ้น อันล้วนเป็นวิถีแห่งจินตนาการภาคส่วนแห่งปัญญาไปสู่โสดาปันนมรรค

 

นี่แหละคือขั้นตอนแห่งปฏิเวธธรรมของการประพฤติศีล พระและฆราวาสจึงสามารถบรรลุได้ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน เพียงแต่ว่าวิถีทางของฝ่ายไหนสามารถนำไปสู่ ความเข้าใจในสุขในทุกข์ของผู้อื่น ในสัตว์อื่น และชีวิตอื่นได้ วิถีทางไหนที่ทำให้เกิดความพร้อม ความเต็มใจที่จะเข้าไปร่วมในสุข ร่วมในทุกข์กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพื่อนสัตว์โลกทั้งหลายหรือแม้สิ่งอื่นชีวิตอื่น ได้บังเกิดขึ้นในหัวใจแล้วหรือยังเท่านั้น นั่นเองเป็นที่มาแห่งปฏิเวธธรรมแห่งศีล และการบำเพ็ญเพียรตามหลักคุณงามความดีของฝ่ายฆราวาส

 

กล่าวได้หรือไม่ว่าบัดนี้ เราได้บรรลุถึงหัวใจแห่งความรักอันบริสุทธิ์ในเพื่อนมนุษย์ร่วมโลกทั้งปวง ในส่ำสัตว์ทั้งหลาย ในชีวิตทั้งโลกทั้งแผ่นดิน ฯลฯ มีขึ้นแล้วหรือ หากมี นั่นแหละคือกระแสแห่งโสดาปัตติมรรคได้บังเกิดขึ้น นั่นแหละคือวิถีทางหรือวิธีการเกิดขึ้นมาแห่ง พระโสดาบันอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา

 

และเมื่อได้สืบต่อเจตนาแห่งธรรมหรือมโนธรรมอันได้เริ่มบังเกิดขึ้นภายในจิตใจ เมื่อได้รู้สุขและทุกข์ของผู้อื่น ส่ำสัตว์อื่น ชีวิตอื่นแล้ว ก็ลุ่มลึกต่อไปในความเมตตา ความกรุณา และทั้งมุทิตาจิต อันเป็นอัปปมัญญา คือไม่มีขอบเขต จนไปสัมผัสจิตใจอันมั่นคงชนิดหนึ่งอันควรเรียกว่าจิตใจแห่ง ผู้สร้างและผู้เลี้ยงด้วยได้เห็นแจ้งจริงว่าเพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย เพื่อนสัตว์โลกทั้งปวง ต่างก็ประสบกันอยู่เสมอเป็นนิจนิรันดร์ซึ่งสุขและทุกข์หมุนเวียนไปไม่มีวันจบสิ้น จึงปลงจิตปลงใจไปได้ว่าโลกก็ทุกข์อยู่เองโดยปกติธรรมดาอยู่เช่นนี้แล้ว เราจะไปซ้ำเติมซึ่งกันและกันไปทำไมเล่า ให้ทุกข์ไปกว่าเดิมอีก เราจึงไม่พึงเป็นผู้ร้าย ไม่พึงเป็นผู้ฆ่า ไม่พึงเป็นผู้ประหาร ไม่พึงเป็นผู้ทำลาย ไม่พึงซ้ำเติมเข้าไปในความทุกข์ความยากของประชามหาชนเลย พึงปิดประตูประหาร พึงปิดประตูความชั่วร้ายทั้งสิ้นทั้งปวง พึงเป็นด้านเดียว คือเป็นผู้ให้อย่างเดียว นั่นคือเป็น ผู้สร้างและผู้เลี้ยง เถิด แล้วชีวิตทุกชีวิต จักได้รับความกรุณาจากเรา ให้เขาทั้งหลายทั้งสิ้นทั้งปวง ได้ความกรุณาจากผู้อื่น จากเพื่อนมนุษย์ทุกคนที่ร่วมโลก อันนี้แหละที่เรียกว่าจิตใจของพระมหาจักรพรรดิ์ และเพราะเหตุที่มีจิตใจแห่งผู้สร้างและผู้เลี้ยง ไม่มีความคิดที่จะประหารหรือทำลายหรือที่คิดจะหามาแห่งตน เอามาใส่ตน สะสมเพื่อตนได้ตนมีมาก ๆ ที่จะเอารัดเอาเปรียบ ที่จะก่อความทุกข์แด่ผู้อื่น จะไม่มีอยู่อีกเลย มีแต่คิดสร้างคิดรังสรรค์ คิดในทางที่จะให้ แล้วคิดอุปถัมภ์เลี้ยงดูให้เติบใหญ่ไปเรื่อย ๆ ในทางแห่งความดี ให้เกิดผลิเกิดผลอย่างเดียวเท่านั้นแท้ ๆ ท่านจึงยกย่องพระโสดาบันว่าอยู่ในระดับพระมหาจักรพรรดิ์ ผู้ใดสำเร็จธรรมระดับพระโสดาบัน ท่านจึงว่ายิ่งกว่ากษัตริย์ได้มูรธาภิเษก (ใครทำร้ายพระโสดาบัน ท่านจะไม่โกรธไม่ทำร้ายตอบ ถ้าตบแก้มซ้ายท่าน ๆ จะเอียงแก้มขวาไปให้ตบอีก แต่ต้องระวัง อย่าพึงไปทดลองเช่นนั้น เพราะบาปจะสนองให้มหาศาล)

 

แต่ในระบบสงฆ์ทุกวันนี้ ได้ปิดกั้นกระแสแห่งโสดาปัตติมรรคเสียสิ้น เพราะเหตุแห่งระบบเจ้าขุนมูลนายเป็นระบบที่เห็นแก่ตัว เห็นแก่ลาภ และยศ ได้ขั้นหนึ่งแล้วก็ไม่มีวันหยุดอยู่ได้ เพราะเป็นระบบที่ทุกคนต้องแข่งขันกัน เหมือนเข้าเล่นเกมส์กับเขา ที่จะหยุดดูเขาวิ่งไปเฉย ๆ นั้นไม่อาจจะเป็นไปได้ (พระต่อพระเองไม่ค่อยรู้ในสุขในทุกข์ของกันและกัน ไม่ค่อยเห็นอกเห็นใจกัน แต่ แก่งแย่งชิงยศตำแหน่ง ชิงลาภผลกันอยู่เสมอ ๆ) ฉะนั้น จึงเป็นระบบที่มิอาจ มิสามารถที่จะนำไปสู่กระแส มิอาจ มิสามารถนำไปสู่ความเข้าใจในสุขและทุกข์ของประชามหาชน หากแต่มีลักษณะพยายามหามา หาให้ได้ ให้ได้เป็น ให้ได้มีแก่ตัวตน(ตัวกูของกู) พยายามเป็น พยายามมี บนกองทุกข์ของประชามหาชนมากยิ่งขึ้น มิได้เป็นระบบที่เสริมสร้างความเห็นอกเห็นใจ ความที่ไปรู้ใจเขาใจเรา(พระด้วยกันเองเป็นเบื้องต้น ประชามหาชนและส่ำสัตว์ทั้งหลายเป็นเบื้องปลาย) ขึ้นมาได้โดยดื่มด่ำลึกซึ้ง และ มิอาจ มิสามารถที่จะสร้างจิตใจที่ยิ่งใหญ่ถึงขนาดเป็นผู้ให้แต่อย่างเดียว ไม่เอาจากคนอื่น มีแต่ให้อย่างเดียว อันเป็นจิตใจแห่งผู้สร้างและผู้เลี้ยง อันเป็นกระแสแห่งโสดาบัน ดังกล่าวมาได้เลย นั่นแหละเป็นข้อบกพร่อง อันตรายยิ่งใหญ่ และปิดกั้นโอกาสแห่งการจะบรรลุความดีงามอันยิ่งใหญ่ แห่งความรักเพื่อนมนุษย์ทั้งปวง บังเกิดภายภาคจิตใจอันมหาศาล ล้วนเป็นผลมาจากระบบเจ้าขุนมูลนายที่สร้างความเสื่อมให้แด่พระพุทธศาสนธรรมชั้นมรรคชั้นผล อันเป็นของประเสริฐสุดในศาสนานี้ทั้งสิ้น

 

แม้กระทั่งเดี๋ยวนี้ ที่เวลาได้พาเอาหมู่ประชามหาชนผ่านไปในกองทุกข์ยากลำบาก ด้วยสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกที่ค่อยเสื่อมทรามไปตามลำดับ เราก็ยังคงได้เห็นระบบเจ้าขุนมูลนายสงฆ์เป็นไปอย่างด้อยเมตตาจิต อย่างที่ไม่สอดคล้องกับการเทศน์การสอน อันแสดงน้ำจิตน้ำใจที่ไม่จริงใจ อย่างที่ไม่สอดคล้องรับ ต่อการแก้ปัญหาความเป็นไปอันยากลำบากของประชามหาชนนี้ ดูการดำรงอยู่ในวิถีชีวิตประจำวันของพระเจ้าขุนมูลนาย ว่าใช้ปัจจัยสี่อย่างเลิศล้ำพิเศษไปกว่าประชามหาชนผู้ตกทุกข์ได้ยากอย่างไรบ้าง ? งานเฉลิมฉลองยศถาบรรดาศักดิ์ในแต่ละปี ๆ ซึ่งสิ้นเปลืองมหาศาล ก็ยังคงเป็นไปอย่างปราศจากความรู้สึกแห่งเมตตา อย่างไม่ได้สัมผัสกับความสุขความทุกข์ของประชามหาชน สิ่งที่เรียกว่า มุทิตาสักการะ” (ที่ปราศจากความรู้สึกในสุขและทุกข์ของผู้อื่น ที่มิใช่ความศรัทธา) ก็ยังคงดำเนินต่อไปในระบบสงฆ์เจ้าขุนมูลนาย อย่างไม่รับรู้สถานการณ์สังคมเศรษฐกิจของสิ่งที่อยู่แวดล้อม อันเป็นไปอย่างไม่รู้ถดรู้ถอยในลักษณะโลภหลงอย่างขาดสำนึกจิตใจ การปลุกเศกทำพิธีกรรมต่าง ๆ อันเป็นวิถีทางหาเงินตราของพระเจ้าขุนมูลนาย หรือพระบ้านนอกที่ประสงค์ต่อยศถาบรรดาศักดิ์ อย่างเจ้าขุนมูลนาย ก็ยังคงดำเนินต่อไปอย่างไม่ถดถอย อย่างไม่รับรู้ในสุขและทุกข์ของสังคมเลย และเมื่อพระเจ้าขุนมูลนายตายลงไป เคยสิ้นเปลืองมาอย่างไรก็ยังคงดำเนินไปอยู่อย่างนั้น ท่านอาจไม่เข้าใจ ไม่รู้ว่า เมื่อพระเจ้าขุนมูลนายตายลง จะยังหาอาจทำการฌาปนกิจศพท่านบนกองฟอน เผาด้วยไม้ฟืนธรรมดา ที่คนยากคนจนอาจบริจาคคนละดุ้นสองดุ้นที่เพียงพอเผาซากศพให้มอดไหม้เป็นเถ้าถ่านได้ไม่ หากแต่ต้องมีพิธีการใหญ่โตให้สมเกียรติของพระเจ้าขุนมูลนายนั้น อย่างไร้เหตุผล ไร้สาระแก่นธรรม ซ้ำยังจะต้องนิมนต์พระมามาก ๆ มีพระเจ้าขุนมูลนายที่ไหนต้องนิมนต์มาร่วมพิธีการให้หมด และแน่ละท่านก็ยังไม่ได้รู้สึกสำนึก เพราะไม่เคยสมสร้างจิตสำนึกในการให้ จิตสำนึกแห่งผู้สร้างและผู้เลี้ยง จึงไม่อาจ ไม่สามารถคิดได้ว่า นี่เป็นภาระหนักของประชาชนแต่อย่างใด มิได้เห็นในทุกข์ของประชาชนที่ต้องเอาภาระ ต้องจัดหาปัจจัยสิ่งของมาถวายทำบุญให้ถ้วนทั่วหน้าพระเจ้าขุนมูลนายที่มา เมรุที่เผาศพก็จะต้องเลิศหรู ดูสูงส่งและต้องสมเกียรติยศ จึงต้องกะเกณฑ์ ต้องระดมกำลังประชาชนมาสร้างทำขึ้น หากมิฉะนั้น ก็จำต้องไปเช่าเมรุซึ่งก็ต้องเสียเงินทองค่าเช่าอย่างมหาศาล นอกจากนี้ ยังจะต้องทำหนังสือที่ระลึก เพื่อเผยแพร่ เติมเสริมความแข็งแกร่งเข้าไปในวัฒนธรรมเจ้าขุนมูลนาย ราคาเป็นแสน ทั้ง ๆ ที่มิได้มีสาระประโยชน์แก่นธรรมอะไรในเล่มอยู่เลย แล้วยังมหรสพเล่นตลอดคืนอีกเล่า ซึ่งผลาญเงินไปอย่างมหาศาล ในเรื่องราวอันไร้สาระเช่นนี้ไปทั่วทั้งผืนแผ่นดินแห่งผ้าเหลืองยุคเจ้าขุนมูลนาย อันเป็นสิ่งที่ไม่ชอบธรรมอย่างยิ่ง และเงินทองที่ใช้ในการนี้ทั้งหมด ก็ต้องหาต้องเรี่ยไรมาจากปวงประชาชนผู้ยากไร้ โดยปราศจากหลักธรรมะอันถูกต้องทางพระพุทธศาสนา คือหลักแห่งความศรัทธา นั้นเพื่ออะไรเล่า นอกจากเพื่อให้สมเกียรติแห่งเจ้าขุนมูลนายเท่านั้นเอง อันเป็นเหตุแห่งความสิ้นเปลืองทุกอย่าง ทั้งแรงงานคน เวลา และปัจจัยมหาศาลบนความทุกข์ยากลำบากของปวงประชาราษฎร์ โดยไม่สมเหตุสมผลและสาระแก่นแห่งพระธรรมเลย (นี่เพียงระดับพระครูชั้นตรีบ้านนอก ส่วนชั้นโท เอก พิเศษ ราชาคณะ ก็ต้องยิ่งใหญ่ขนาดไหน?)

 

และยังคงเป็นไปเช่นนี้อยู่จนถึงบัดนี้

 

ถึงวันนี้ วันที่ชาติไทยกำลังปั่นป่วนด้วยสถานการณ์ตกต่ำทางเศรษฐกิจชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อน

 

ระบบสงฆ์ก็เป็นไปเช่นนี้อยู่ ที่มิรู้สะดุ้งสะเทือนอะไรกับความสุขความทุกข์ของประชามหาชนแห่งแผ่นดินเลย

 

นี่ก็คือเหตุผลที่อาจพิศูจน์ได้โดยชัดเจนว่าเหตุใด ระบบเจ้าขุนมูลนายสงฆ์ จึง เป็นระบบที่ปิดกั้นกระแสแห่งมรรคผลนิพพาน เป็นเหตุแห่งการปิดกั้นกระแสอันสูงส่งแห่งปรมัตถประโยชน์มหาชน นับแต่ระดับแห่งโสดาปัตติมรรคญาณวิถี อันพึงมีขึ้นได้นับอนันต์ในแผ่นดินพระพุทธศาสนา เป็นเหตุผลอันล้ำลึกที่ไม่เคยมีการเปิดเผยมาก่อน บัดนี้จึงควรที่พุทธบริษัททั้งปวงมารำลึกถึงการปฏิรูประบบการคณะสงฆ์ไทยเสียโดยเร่งด่วน เพื่อการชำระล้างบาป โดยกลับทิศทางสงฆ์ จากระบบโลกธรรมไปสู่ทิศทางแห่งโลกุตตรธรรมให้จงได้

 

ยังมีเหตุผลอันชัดเจน เมื่อพิจารณาโดยรอบด้านอย่างลึกซึ้งไปอีก

 

เมื่อปิดกั้นกระแสธรรม คือชั้นต้นแม้เพียงโสดาบันมรรคเสียแล้ว มีแต่พากันดำเนินไปในโลกาวิถี คือเส้นทางแห่งโลกธรรม 8 คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ เสื่อมสรรเสริญ เสื่อมสุข (หรือในรูปแบบระบบราชการ) แล้ว ผลที่จะเกิดตามมาเป็นธรรมดาก็คือ ราคะ ตัณหา อุปาทาน อันเป็นหัวหน้าขบวนการแห่งกิเลสทั้งหลาย ก็จะค่อยยกขบวนเข้ามาราวีเป็นลำดับ ๆ ไปไม่หยุดหย่อน ตราบการสงครามนั้นมีผลอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาคือ ชนะ หรือ พ่ายแพ้ ไม่ฝ่ายใดก็ฝ่ายหนึ่งจึงจะเลิกราไป ซึ่งลักษณะอย่างนั้นเป็นธรรมดาของสงครามที่มีชื่อว่า ธรรมา-ธรรมะสงคราม ในพระพุทธศาสนา และนักบวชคือพระสามเณรนั้น แท้จริงก็คือทหารผู้เข้าสู่สงครามชนิดนี้

 

แต่ใครเล่าเป็นผู้สอนศาสตร์และศิลปแห่งสงครามชนิดนี้ให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้น

 

ในเมื่อท่านทั้งหลายเหล่านั้นมิได้รู้ มิได้มีการฝึกปรือ มิได้มีการตั้งอกตั้งใจที่จะเอาชนะในการต่อสู้เลย มิได้รู้ว่าสงครามเริ่มขึ้นเมื่อใด อย่างไร วิธีการต่อสู้ในสงครามเช่นนี้เป็นอย่างไร ซ้ำร้ายที่สุดก็คือ มิได้รู้ว่าตนอยู่ท่ามกลางข้าศึก อยู่ในสถานการณ์ศึก ด้วยซ้ำ เมื่อเป็นเช่นนี้ จะรบอย่างไร จะมิพากันไปตายหมดหรือ ? กล่าวอีกนัยหนึ่งที่ตรงไปตรงมาก็คือ คำถามว่า

 

เมื่อระบบสงฆ์ไม่สามารถผลิดสร้างกระแสโสดาบันแล้ว พระสงฆ์ในระบบจะอยู่รอดได้อย่างไร มิพ่ายแพ้แก่กิเลสไปตาม ๆ กันหรือ ?

 

เราจะมาทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจไปตามลำดับ ๆ ดังนี้

 

เมื่อฆราวาสมีปัญหา ถึงคราว ถึงโอกาส ถึงกาล (วัยเจริญพันธุ์) ราคะก็เข้ามาเกาะกุม ฆราวาสเขาก็สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการหาคู่ หาเพศตรงข้ามมาอยู่กินกันฉันสามีภริยา พากันก่อเกิดเป็นระบบครอบครัวขึ้น แล้วเขาก็สามารถประพฤติธรรมชั้นสูงต่อไปได้ด้วยระบบคุณธรรมแห่งชีวิตคู่ คุณธรรมแห่งชีวิตครอบครัว อันเป็นแนววัฒนธรรมแห่งพระพุทธศาสนาสำหรับฝ่ายฆราวาสต่อไปได้และยังคงมีสิทธิอันพร้อมสมบูรณ์เพื่อการบรรลุมรรคผลในระดับสูงขึ้นไปอีก

 

แต่นักบวชในศาสนาพุทธที่ไม่รู้กระแสธรรม ไม่สัมผัสเลยซึ่งกระแสอริยภูมิ เบื้องต้น อันเป็นเกราะหรือปราการชั้นต้นในการต่อสู้กับกิเลส ต่อสู้ราคะนี้ แล้ว นักบวชจะมิตกอยู่ในภาวะอันตรายหรือ ?

 

ดูเหมือนจะไม่มีคำตอบใดอื่น นอกจากคำว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น อันตรายย่อม เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

 

นี่คือวิธีการมองปัญหาอย่างง่าย ๆ ที่มองเข้าไปสู่ความบกพร่องอย่าง มหาศาล ของระบบสงฆ์เจ้าขุนมูลนายที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

 

จึงเห็นได้อย่างชัดเจนว่า พวกท่านเหล่านั้นต่างก็ตั้งอยู่ในความประมาทกันอย่างยิ่งใหญ่ จนไม่ได้รู้ ไม่ได้สำเหนียกภัยอันตรายจากศัตรูหมู่อมิตรใดใดเลย มิต่างอะไรจากเด็กอ่อนนอนแบเบาะนั่นทีเดียวเทียว

 

เพราะเมื่อราคะมารุกราน เอาเชือก เอาโซ่ตรวนเพื่อมัด เพื่อร้อย เพื่อลากเอาตัวผู้แพ้สงครามไปเป็นข้าเป็นทาษ พระสงฆ์ในระบบเจ้าขุนมูลนายจะต่อสู้อย่างไร ในเมื่อพวกเขามีเพียงมือเปล่า ๆ และมันสมองที่โง่เขลาต่อสงครามชนิดนี้

 

แน่ละ นั่นคือต่อสู้ด้วยความอดทน ในขั้นต้น อดทนได้ก็อดทนไป อยู่ไปได้วัน ๆ อยู่ได้เท่าที่ทนไปได้ เท่าที่ยังกล้ำยังกลืนไปได้

 

แต่ราคะ มันก็มียุทธวิธีที่เหนือชั้นขึ้นไปอีก มันค่อย ๆ เข้าไปในความรู้สึก เข้าไปอยู่ในความรู้สึก เข้าไปทางอายตนะทั้ง 6 คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย และใจ ค่อยเข้าไปทีละน้อย ๆ เข้าไปทุกวัน ๆ เข้าไปทุก ๆขณะที่ไปสัมผัสกับสื่อแห่งราคะ หรือวัตถุแห่งราคะ (คือพระจะค่อยสะสมเอาความรู้สึกทางเพศนี้เข้าไว้ทีละนิดละน้อย เข้าไปสะสมอยู่ในจิตใต้สำนึกทุกวัน ๆ จนมักกลายเป็นคนประเภทเก็บกดทางเพศ) ซึ่งนี่เป็นความเป็นไปธรรมดา ๆ อย่างปุถุชนทั้งหลายนั่นเอง แต่ปุถุชนเขามีทางออก แบบปุถุชน คือถึงเวลาที่เขาจะมีครอบครัว ก็มีการสร้างผลิตระบบครอบครัวขึ้น แต่พระนั้นจะต้องต่อสู้ เพราะสมัครใจที่จะต่อสู้จึงมาถือเพศเป็นนักบวช แต่ยุคเจ้าขุนมูลนาย ที่ไม่มีอริยมรรคอริยผล และแม้แต่ศีลก็มิได้รู้สึกว่าเป็นของดีมีประโยชน์ อาหารการบริโภคก็มิรู้ระมัดระวัง ไม่เคยรู้คุณค่าของอาหารเจ หรือมังสวิรัต ไม่เข้าใจศีล 8 (เช่นยิ่งห้ามว่าอย่าไปดูลครฟ้อนรำขับร้องประโคมดนตรี อย่าพูดคุยกับผู้หญิง อย่าดู หนังลามกอนาจาร อย่าดูโทรทัศน์ อย่าฟังเพลงจากวิทยุ หรือเครื่องเล่นจานเสียง ให้ไปห่างเขาไว้ ท่านหาเชื่อฟังไม่ กลับยิ่งไปคลุกคลี อวดดีโดยท่าทีว่า ตนนั้นมิอาจมี อันตรายจากสตรีได้เลย แม้แต่เพียงนิดน้อย เป็นต้น) แม้กระแสเบื้องต้นที่อาจต้าน ราคะไว้ได้ในระดับหนึ่ง ก็หามีไม่ (กระแสโสดาบัน จะทำการละลายราคะที่ผ่านเข้ามาทางอายตนะทั้ง 6 และอาจป้องกันมิให้เกิดการสะสมของราคะในจิตใจได้อยู่ระดับหนึ่งหากไม่มีกระแสนี้ ราคะก็สามารถเข้าไปสะสมได้อย่างต่อเนื่อง) จึงมิต่างอะไรกับปุถุ ชนคนธรรมดา และเมื่อถึงเวลาการเก็บกดล้นแล้ว (ทางกาย เมื่อมีการสะสมน้ำอสุจิเต็มที่ ทางใจ เมื่อมีการสะสมกำหนัดเต็มที่) ก็ต้องหาทางออก

 

และทิศทางที่ออก ก็จะคล้อยไปทางอำนาจแห่งราคะ คือต้องไปสู่หรือแสวงหาวัตถุ แห่งความใคร่ คือเพศตรงข้าม หรือแม้เพศเดียวกันก็ตาม นั่นก็เกิดปัญหาทางพระวินัยขึ้นมาตาม ๆ กันไป โดยแม้ระดับครุกาบัติอันเป็นอาบัติประเภทปลงไม่ตก ต้องแล้ว ขาดเลย คือปฐมปาราชิก (เหตุแห่งการต้องอาบัติปาราชิกข้อที่ 1 คือเสพเมถุนกับ คน หญิงหรือชายใดหรือสัตว์ใดก็ผิดได้) ก็ปรากฎออกมา ที่เปิดเผยก็มากมาย และ แน่นอนที่ไม่เปิดเผยยิ่งมากไปกว่า และด้วยเหตุที่เป็นไปในระบบเจ้าขุนมูลนาย ที่ไร้ กระแสแห่งมรรคผล จึงย่อมคาดคะเนผลธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นได้เลยว่าปฐมปาราชิก (เสพเมถุน)ย่อมอาจมีอยู่ทุกแห่งหน ทุกวัย และทุกระดับแห่งวงการสงฆ์เจ้าขุนมูล นาย

 

เพราะราคะ ตัณหา อุปาทาน ขบวนการกิเลสเหล่านี้ แม้มีกระแสอริยมรรค อริยผลระดับโสดาบันที่นับว่าประะเสริฐเลิศในหมู่มนุษย์แล้วก็ตาม ก็หาอาจยับยั้งกิเลสเหล่านนี้ได้เด็ดขาดไม่

 

หากแต่กระแสโสดาบันสามารถระงับกล่อมเกลาราคะลงได้พอประทังให้รอดพ้น ไปอีกระดับหนึ่ง คือเข้ากระแสแห่งสกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล ซึ่งในกระแสนี้ ก็ ยังคงจะชุ่มชื่นเยือกเย็นด้วยอานิสงส์แห่งศีลอยู่เป็นพื้น กล่าวคืออารมณ์ความรู้สึกอัน ลุ่มลึกไปในสุขและทุกข์ของสัตว์โลก เป็นไปอย่างไม่มีประมาณ และกระแสแห่ง กตัญญูกตเวทิตาธรรมล้นหลามในระดับนี้ แผ่ไพศาลออกไปถึงคุณานุคุณแห่งแผ่นดินบ้าง ว่าแผ่นดินหรือพระะแม่ธรณี พระแม่โพสพ นี้มีบุญคุณอันยิ่งใหญ่ พระเพลิง ดวงอาทิตย์ดวงตะวัน ก็ล้วนได้สร้างพระคุณแด่โลกนี้ ชีวิตนี้ แม่น้ำ ทะเล ห้วงมหาสมุทร ลมในห้วงฟ้าที่พัดพาหมู่เมฆฝนมาให้ความชุ่มเย็นแก่แผ่นดิน ให้บังเกิด ขึ้นแห่งพืชพันธุ์และมวลชีวิตทั้งหลาย ก็ล้วนแต่ระดับเทพเจ้าผู้สร้างผู้ให้ และผู้ที่เลี้ยงดูแด่มวลมนุษย์โลก เช่นนี้ ๆ คืออารมณ์สร้างสรรค์แห่งสกิทาคามีบุคคล (แต่เมื่อใด พระสกิทาคามีบุคคลมารำลึกคุณแห่งอริยมรรคอริยผล คือระลึกได้แจ่มแจ้งว่า การบรรลุมรรคผลเป็นประโยชน์ยิ่งใหญ่กว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่มีบุญคุณ ยิ่งกว่าบุญคุณแห่งแผ่นดิน แม่น้ำ ห้วงฟ้า ทะเล ลม มหาสมุทร เป็นปรมัตถประโยชน์อันสูงสุดแก่มหาชนทวยโลกยิ่งไปกว่าสิ่งอื่นใดทั้งหลาย แล้วก็เริ่มเข้าสู่กระแสแห่ง อนาคามิมรรคต่อไป) แต่เมื่อมาถึงระดับสกิทาคามีนี้ ฝ่ายฆราวาสจะเริ่มประสบปัญหาเพราะความใกล้ชิดกับครอบครัวจะมีน้อยลงไปตามลำดับ เนื่องเพราะการเพิ่มพูนแห่งนิพพิทาญาณ (ญาณ แห่งการสละโลก) คือการเห็นแจ้งในไตรลักษณ์ชัดเจนแจ่มแจ้งขึ้น และในระดับนี้จะมีฆราวาสผู้บรรลุน้อย ฆราวาสมักสิ้นลงที่โสดาบัน หากมี ก็จะต้องอาศัยวิสัยแห่งนักบวช ทำอย่างนักบวช ต้องถือสันโดษ อยู่คนเดียว พูดน้อย เข้าสังคมน้อย จึงจะคืบต่อไปได้ในวิสัยสกิทาคามิผล ซึ่งในระดับนี้เป็นพระสงฆ์จะได้เปรียบ กล่าวคือ พระที่ได้โสดาบันแล้ว มีสิทธิอย่างเต็มที่ที่จะก้าวไปในกระแส ในวิถีแห่งสกิทาคามิมรรคตลอดไปจนถึงชั้นสูงสุดคือ อรหัตผล (พระแทบทั้งสิ้นในระบบสงฆ์ปัจจุบันจะติดเสียแต่ต้นคือโสดาบัน หากเข้าโสดาบันได้จะไปเร็วกว่าฆราวาส เพราะโสดาบันญาณวิถีทำให้รู้แจ้งหนทางปฏิบัติไปชั้นสูงด้วยตนเอง จะสามารถปลีกไปจากระบบเจ้าขุนมูลนายได้ ด้วยอำนาจปัญญาหรือญาณวินิจฉัยเฉพาะตน)

 

แต่แม้กระนั้น ราคะก็ยังคงเป็นศัตรูตัวฉกาจของพระสกิทาคามีอยู่ ตราบเข้าถึง กระแสแห่งอนาคามิผลเป็นพระอนาคามีบุคคลแล้ว ก็ยังหาเอาชนะได้เด็ดขาดไม่ แต่พระอนาคามีสามารถพิฆาตราคะสิ้นไปด้วยพลังแห่งสมาธิกรรมฐานโดยเฉพาะ ระดับนี้ต้องเชี่ยวชาญทางกรรมฐานเฉพาะที่มีคุณสมบัติพิเศษในทางที่จะเอาชนะราคะโดยตรง เช่นกสิณที่เกี่ยวกับอสุภะอันเป็นพื้นฐานทั่ว ๆ ไป แต่ต้องเชี่ยวชาญทางปฏิบัติ คือรู้ เท็คนิกแห่งอสุภกรรมฐานนั้น ต้องสามารถคาดคะเน หรือรู้ลักษณะแห่งปฏิเวธคือผลแห่งกรรมฐานแต่ละอย่างแต่ละชนิดนั้นได้ แล้วพยายามไปจนเกิดผล มีปฏิเวธขึ้นมา จนได้ เมื่อเอาความเชี่ยวชาญเท็กนิกสมาธิ หรือความเชี่ยวชาญระดับฌาน ที่สามารถควบคุมอารมณ์กรรมฐานที่เราต้องการ ให้นิ่ง ให้สงบไม่หวาดไม่ไหวได้เป็นเวลานาน ๆหรือได้ดั่งใจปรารถนา ทำได้ดั่งนี้ก็เท่ากับมีอาวุธวิเศษที่อาจสามารถจับตัวข้าศึกมามัด เอาไว้แล้วก็จะทำอย่างไรให้ค่อยตายไปก็ได้ เพราะราคะนั้นตายยาก จึงต้องใช้วิธีที่ ละเอียดอ่อนทุกอย่างทั้งสมาธิ ฌาน และการเพ่งอสุภกสิณ พร้อมกันไปด้วยกับการ เจริญวิปัสนาญาณให้เกิดขึ้น เอามารวมหัวกันสู้กับราคะให้หมด จึงจะอาจชนะได้ และเมื่อใด พระอนาคามีบุคคลสามารถกำจัดราคะ ได้เด็ดขาด ก็จะพ้นจากอนาคามีบุคคล เข้าสู่อรหัตมรรค อันเป็นระดับที่จำเริญปัญญาไปส่วนเดียวจนสมบูรณ์ โดย อาจเริ่มที่อุเบกขาญาณ มีสติปัฎฐาน 4 สำเร็จเป็นต้น ก็จะนำเข้าสู่อรหัตผล เป็นพระอริยบุคคลประเสริฐสุดในโลกนี้ เป็นที่ที่เป็นที่จบ ที่สิ้นสุดแห่งโลกและสากลจักรวาล

 

กล่าวมาทั้งนี้โดยประมาณ มีปกติย่อมยกเว้นได้เสมอ หาตายตัวไม่

 

ซึ่งกระบวนการทั้งหลายเหล่านี้ จะมิใช่สิ่งที่ลำบากยากเย็นเกินไปแต่อย่างไรเลยหากเพียงระบบสงฆ์ได้กลับทิศทางเสียใหม่ให้ถูกต้อง โดยที่ต้องจัดการละเลิกระบบเจ้าขุนมูลนาย ลงเสีย ด้วยเหตุผลอันสำคัญยิ่งดังที่ได้แสดงมาข้างต้น เพราะ ณ บัดนี้แล้ว อันตรายยิ่งใหญ่กำลังรออยู่ที่ปลายทางการพัฒนาการไปตามระบบเจ้าขุนมูลนาย สงฆ์ นั่นก็คือ ถึงเวลาที่พระสงฆ์จะเริ่มเรียกร้องสิทธิมนุษยชนให้สงฆ์ได้มีคู่นอนกันรอมร่ออยู่แล้ว

 

เพราะระบบเจ้าขุนมูลนายสงฆ์ มิได้เอื้อต่อทางมรรคผลนิพพานเลย มิได้มีโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล อันเป็นกระแสเบื้องต้น ที่อาจป้องกันคุ้มครองมารทั้งหลายในโลก แล้วพระธรรมดา ไม่มีอะไรเลย จะไปยับยั้งข้าศึกคือราคะได้อย่างไร เมื่อถึงเวลา เมื่อความสะสมราคะตัณหาอุปาทาน อันเป็นความเก็บกดทางเพศ แน่นตึงถึงที่สุด นั่นแหละความหน้ามืดตามัวก็เกิดขึ้นมา ซึ่งปัญหากามราคะวันนี้มี มากมาย ในวงการสงฆ์และสามเณร และในวงการเจ้าขุนมูลนายทุกกระดับ ฉะนั้น จึงย่อม คาดหมายได้ว่า สืบไปในภายหน้า หากระบบนี้ไม่มีการแก้ไขเสียแล้ว พระ ในศาสนาพุทธไทย คงจะต้องยอมรับสภาพพระสงฆ์ใหม่ คือพระสงฆ์ที่มีคู่อยู่ร่วม หลับนอนกันได้ เหมือนคนธรรมดาทั่ว ๆ ไป และนั่นแหละอาจทำได้เมื่อใคร ๆ ก็ อาจให้ความเห็นอกเห็นใจว่าพระสงฆ์ได้เสียสละมานานแสนนานแล้ว ได้ออมได้อด ของดีที่วิเศษสุดในโลกมานานแสนนานแล้ว ในยุคเสรีประชาธิปไตยสงฆ์ควรเรียกร้องสิทธิ ในฐานะสิทธิมนุษยชนนี้ ได้เหมือนมนุษย์ทั้งหลาย (ดูกรณียันตระอมโร แม้รู้ทั้งรู้ว่าเป็นพระที่มีคู่นอน แต่คนก็เห็นอกเห็นใจในลักษณะเหตุและผลเช่นนี้) โดยหานึกรู้เหตุผลแห่งศาสนวิถีอันวิเศษ ที่อาจต่อสู้ประหารกิเลสตัณหาไปสู่มรรคผลนิพพานได้ไม่

 

นี่แหละผลเสียหายอันร้ายแรง ที่บังเกิดจากการเดินทางที่ผิดของวงการสงฆ์ ไทยในระบบเจ้าขุนมูลนาย ที่ล่วงมาตราบเวลานี้เนิ่นนานนักแล้ว

 

ข้าพเจ้า ได้มองเห็นเหตุและผลเช่นนี้ จึงประกาศแด่สาธุชนพุทธบริษัท ทั้งหลายทั้งปวงให้รับรู้ หากเห็นแล้ว ได้รีบเร่งมาช่วยกันดำเนินการแก้ไขปรับปรุง ระบบสงฆ์โดยเร่งด่วน

 

เพราะเมื่อปรับปรุงสงฆ์ให้เดินไป ในวิถีทางที่ถูกต้องธรรมชาติแห่งมรรคผลนิพพานแล้ว กระแสทั้งหลายก็ย่อมบังเกิดมาเอง จักเป็นมวลหมู่แห่งกระแสอันยิ่ง ใหญ่ ไม่นับประมาณ และนั่นแหละยุคแห่งการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาครั้งสำคัญในโลกนี้ก็จะเกิดขึ้นและมืองไทยจะเป็นศูนย์กลางแห่งสันติธรรม แห่งความสุข และความสงบของมวลมนุษย์ ด้วยกระแสโสดาบันอันล้นหลากไปสู่โลกทั้งสิ้น พระอริยบุคคลทั้งหลายทั้งปวงจักบังเกิดมาสู่แผ่นดินนี้อย่างล้นหลาม

 

และสถาบันสงฆ์ พุทธโอรสทั้งสิ้น จักเป็นที่พึ่งของประชามหาชนได้อย่างแท้จริง ฯ

 

 

                                                 บรรณาธิการ

                                                 ก.ค.40

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 ยิ้มสำรวม

 

 

 

ปีแล้วปีเล่า ที่พระสอนบาลีแบบยึดมั่นถือมั่นในตำราเก่า ๆ เดิม ๆ อย่างไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง แล้วยุคสมัยก็ทำให้เกิดเรื่องขึ้น เมื่อสอนไปถึงอาขยาต หรือ คำกริยา ครูบาลีก็จะยกประโยคตัวอย่างในตำรา ที่ฮิตมาก คือประโยค สูโท โอทนํ ปจติ อันว่าพ่อครัว ย่อมหุง ซึ่งข้าว เมื่อสามเณรนักเรียนหัวสมัยใหม่นักค้นคว้ารูปหนึ่ง ได้ไปพบในดิกชันนารี ว่า โอทนํ,โน = ข้าวสุก, ข้าวสวย = boiled rice (โอทนัง ไม่ใช่ข้าวสาร) วันหนึ่งได้โอกาสจึงถามพระมหาที่สอนว่า ครูครับ ทำไมพ่อครัวจึงเอาข้าวสุกมาหุงครับ ถ้าแปลเป็นภาษาอังกฤษก็เป็น The cook boils boiled rice. ฝรั่งจะไม่หัวเราะเอาหรือครับ พระมหาครูนึกเห็นจริงก็เลยต้องยิ้มสำรวมไปฯ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 แผนผังระบบสงฆ์

 

            โลกานุวัตน์                                              ธรรมานุวัตน์

สมเด็จพระราชาคณะ                                             อรหัตผล

สุพรรณบัฏ                                                          อรหัตมรรค

หิรัญบัฏ                                                             อนาคามิผล

ธรรม                                                                 อนาคามิมรรค

เทพ                                                                   สกิทาคามิผล

ราช                                                                   สกิทาคามิมรรค

พระราชาคณะชั้นสามัญ                                          โสดาปัตติผล

พิเศษ                                                                โสดาปัตติมรรค

เอก                                                                   สัมมาทิฐิบุคคล

ชั้นโท                                                                สัมมาทิฐิบุคคล

พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี                                         สัมมาทิฐิบุคคล

11 ชั้นยศ                                                            8 หมู่อริยบุคคล

ราคธรรม                                                            วิราคธรรม

 

  

แผนผังแสดงระบบวัตถุประสงค์ใหม่กับระบบวัตถุประสงค์ดั้งเดิม

ในวงการสงฆ์ปัจจุบัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 คอลัมน์ระดมความคิด

จดหมายถึงบรรณาธิการ

 

 

 

ถาม:~ ให้อธิบายที่มาที่ไปแห่งหลักปฏิรูปสงฆ์ 4 ประการ คือ (1) หลักว่า ด้วยการทำประโยชน์แด่พระพุทธศาสนาในส่วนรวม (2)หลักว่าด้วยครู-อาจารย์ หรือ อุปัชฌาย์ (3) หลักเพื่อน หรือ กัลยาณมิตร และ (4) หลักประชาชน

 

ตอบ:~ มาจากหลัก อริยสัจ 4 วิเคราะห์ปัญหาหรือทุกข์ในวงการสงฆ์แล้ว เนื่องมาจาก ความเห็นแก่ตัว ทำอะไรเพื่อเอา เพื่อมี เพื่อได้ทั้งสิ้น ดูองค์กรพื้นฐานคือวัด ดูว่าวัดเป็นที่ ๆ สำหรับพระสามเณรทำอะไร จะพบว่าทำเพื่อประโยชน์ตนทั้งสิ้น แท้ที่จริงวัดควรเป็นที่พึ่งของคนทั้งหลาย เป็นสถานสังคมสงเคราะห์สำหรับผู้ยากไร้ ตามหลักพระพุทธศาสนา แต่ไม่เป็นเช่นนั้น หากแต่เป็นเพียงสถานการอาชีพชนิดหนึ่งเท่านั้นเอง ดูตัวอย่างเรื่องการฌาปนกิจศพ วัดก็เรียก ค่าบริการเมรุเผาศพ พระที่สวดศพก็ได้ค่าตอบแทนอย่างทำเป็นอาชีพ และเป็นล่ำเป็นสันอย่างดีในปัจจุบันนี้ พระได้เงินทองเพราะการสวดศพเป็นจำนวนมาก จึงหวงแหนยึดมั่นถือมั่นว่าวัดของกู ๆๆ พระใดอื่นเข้ามาไม่ได้ เพราะนั่นคือการแย่งอาชีพกันชัดๆ  พระ-สามเณรบวชมาก็เพื่ออาศัยวัดเป็นที่เล่าเรียนทางอาชีพ เรียนจบได้วุฒิก็ลาสิกขา พระในวัดที่ไม่รู้จะไปไหนก็แสวงหาลาภยศ ไปตมระบบเจ้าขุนมูลนายต่อไป ก็ทำลายวิถีทางแห่งการสังคมสงเคราะห์ กลายเป็นระบบประเพณีที่เห็นแก่ตัว ที่ไม่อื้อต่อมรรควิถี ก็ไม่มีพัฒนาการทางจิตเกิดขึ้น พัฒนาทางจิตก็ล้มเหลว วัดก็ไม่มีลักษณะเป็นสากลตามหลักพระพุทธศาสนา (เพราะขึ้นชื่อวาวัดย่อมไม่มีเจ้าของ) เราจึงต้องแก้ปัญหาด้วยหลักว่าด้วยการทำประโยชน์ส่วนรวมให้มีระบบสังคมสงเคราะห์ มีการดูแลประชาชนคนยากคนไร้ มีการให้เปล่าโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดใดบ้าง นั่นคือวิถีทางมรรคผลนิพาน ที่จะต้องมีครูอาจารย์หรือกัลยาณมิตรผู้รู้ทางคอยประคองชี้แนะจนกว่าจะไปถึงปลายทางที่รอดพ้นแล้วและนั่นเป็นประประโยชน์สูงสุด ที่จะหว่านลงในนาแห่งประชาชนทั้งหลาย    นาที่เลี้ยงอุปการะมรรคผล

 

 

ถาม:~ มีความเห็นย่างไร ต่อปัญหารัฐบาล และสื่อมวลชน กรณีรัฐบาลตั้งคณะกรรมการตรวจข่าวสารสื่อมวลชน ?

 

ตอบ:~ โดยปกติก็มีหน่วยงานราชการ มากมายแทบทุกกระทรวทบวงกรม คอยดูแลตรวจสอบข่าวอยู่ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ฝ่า่ยข่าวกรองทหาร ตำรวจ พลเรือน ก็มีรายงานอยู่เป็นปกติเป็นประจำวัน น่าจะใช้ประโยชน์จากหน่วยงานนั้นๆ หากจะปรับด้านนโยบายก็น่าจะพิจารณาสั่งการลงไป เบา ๆ ว่าให้ ตรวจในเรื่องนั้นเรื้องนี้ ที่ต้องเบา ๆ ก็เพราะว่า วงการเสื่อมวลชนโดยเฉพาะหนังสือพิมพ์นั้นมีความอ่อนไหวจัดในเรื่องการตรวจสอบการเสนอข่าวนี้ เพราะธรรมชาติเขาเป็นเช่นนั้น ฉะนั้น เมื่อรัฐบาลมาจัดตั้งกองการงานพิเศษขึ้นมาและทั้งเอารัฐมนตรีที่ท่านมีบุคคลิกภาพที่ดูไม่ค่อยสอดคล้องกับทัศนนิยมของหนังสือพิมพ์มาดูแลจึงทำให้เกิดอาการ ไหวกระเพื่อมจ้ด ขึ้นมาชั่วระยะต้นนี้ แม้ว่าอาจแก้ได้ด้วยความอ่อนโยนละมุนละไมหรือด้วยประการอื่นใดก็ตาม จะให้พวกเขาพ้นจากความหวาดระแวงไปนั้นไม่ได้ ฉะนั้น ตราบใดที่ยังมีกองงานกลางเพื่อการตรวจสอบ หรือเพื่อการติดตามวิเคราะห์การเสนอข่าวของการเสื่อมวลชนปฏิบัติหน้าที่อยู่โดยมีบุคคลที่น่าระแวงน่าหวาดหวั่นในทัศนะของหนังสือพิมพ์เป็นผู้ดูแลและบริหารงานอยู่ สิ่งที่จะเกิดขึ้นไปเรื่อย ๆ ก็น่าจะเป็น การต่อปากต่อคำระหว่างกันจะมีขึ้นไปไม่หยุดหย่อน การเหน็บแนม แกมหยิกข่วน หรือแม้การเชือดเฉือนให้เหวอะหวะถึงตาย ก็ย่อมจะมีขึ้นได้ตามสถานการณ์ ตามโอกาส เพื่อที่จะให้ตนมีความรู้สึกโล่งขึ้นว่าตนนั้นไม่ได้มีสายตาใดจับจ้องมองคอยจับผิดอยู่ เพราะความรู้สึกอันนี้จะทำให้เกิดความระคายระเคืองไม่สิ้นสุดแต่เราจะไม่ได้ประโยชน์เหมือนกับหอยที่คายมุก ฉะนั้น หากรัฐบาลจะยกเลิกหน่วยงานนี้เสียบัดนี้ แม้หนังสือพิมพ์จะเยาะเย้ยหรืออาจเกินเลยไปถึงการถากถาง ดูหมิ่น แต่รัฐบาลก็จะไม่เสียหายอะไรเลย กลับจะได้ประโยชน์โดยไม่คาดด้วยช้ำ

 

แนวคิดในเรื่องนี้ก็มาจากข้อสรุปอันเป็นสากลเกี่ยวกับวิชาการหนังสือพิมพ์นั่นเอง ทำไมเขา ผมหมายถึงต้นตำหรับหนังสือพิมพ์ในอังกฤษ ก็ดี ตะวันตกก็ดี เขาให้สมญา watch dog แก่หนังสือพิมพ์ และหนังสือพิมพ์ไทยก็มักมองตนเอง อย่างนั้น และยังมองว่าตนเป็น นกน้อย ๆ สังเกตจากเพลงสัญญลักษณ์ของหนังสือพิมพ์ไทยคือเพลง นกน้อยในไร่ส้ม ที่เขาร้องกันในคืน 5มีนาวันนักข่าวนั่นแหละ บ่งบอกอุปนิสสัยความเป็นผู้อ่อนไหวง่าย ขี้สะดุ้งตกใจของชาวอาชีพหนังสือพิมพ์ละ (เพียงลมพัดใบตองแห้งหมาก็ตกใจหอนเห่า นกน้อยก็กระโจนไปลิบ) แต่แท้จริง หนังสือพิมพ์ไม่เพียงอาจเป็นได้แค่หมาเฝ้าบ้านหรือนกน้อยในไร่ส้ม หนังสือพิมพ์อาจเป็นได้ยิ่งกว่า คือสามารถเป็นได้ถึงราชสีห์ หรือนกอินทรี นั่นเลยทีเดียว และเขาควรจะเป็นอย่างนั้นด้วยในเมื่อเขาเป็นผู้ทำหน้าที่สื่อความจริง ความจริงที่หมายถึงทั้ง fact และ truth อันเป็นแนวคิดแห่งพุทธศาสนา ที่เป็นศาสนาแห่งสัจธรรมและอริยสัจธรรม ที่หนังสือพิมพ์ควรจะและย่อมจะ หรือควรจะต้องกำหนดแนวทางมาอย่างนี้เป็นสากลทั่วโลก เพราะหน้าที่หนังสือพิมพ์คือ กระจกเงาที่ต้องสะท้อนให้ถูกตรงกับความจริงทุกระดับ จึงจะเกิดประโยชน์ หากสะทอ้นไม่ถูกความจริงก็จะเกิดโทษต่อผู้อื่นและนั่นก็คือเกิดการละเมิดสิทธิของผู้อื่นเข้าแล้ว ในทันทีทันใดที่เราฉายภาพไม่ตรงกับความเป็นจริงนั้น อันย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ชอบธรรมอย่างยิ่งในระบอบการเมืองยุคนี้ เพราะใคร ๆ เขาก็รักหวงแหน และนับถือบูชาสิทธิอันสมบูรณ์ของเขาเช่นเดียวกับหนังสือพิมพ์ และใครเล่าเป็นผู้ที่มีอภิสิทธิ์ (แล้วเราคิดจะทำอย่างไรกับกระจกเงาเก๊บานนั้น?)จึงควรต้องเป็นราชสีห์ เสมือนพระพุทธองค์ผู้ทรงได้สมัญญานามว่าพระชินสีห์และสกุลของพระองค์ซื่อว่า สีหวงศ์ ผู้ทรงบรรลือสัจธรรมแล้วเหมือนบรรลือแห่งราชสีห์ (สีหนาท ) ป่าทั้งป่าเงียบสงัด เมื่อเสียงบรรลือราชสีห์ดังขึ้น นั่นก็เพราะทรงบรรลือสัจธรรม นั่นเอง อาชีพที่ดูจะคล้าย ๆ หนังสือพิมพ์อีกอาชีพหนึ่ง และที่ได้ส่งผลต่อสังคมในลักษณ์เดียวกันมา ก็ดูเหมือนจะเป็น นักการเมือง นี่แหละ เพราะใช้ปากเหมือนกัน จึงน่าจะรู้ธรรมข้อนี้ อันเป็นสารจากพระพุทธศาสนธรรม คือควรจะพูดแต่ความจริง เพราะการพูดความจริงเท่านั้นจะสยบเสียงใดอื่นได้ จะต้องยกตนเป็นระดับราชสีห์ให้ได้ และการฝึกฝนสำหรับนักการเมืองหน้าใหม่ ก็ควรจะฝึกไปสู่ระดับแห่งราชสีห์หรือนกอินทรี อย่าฝึกตนเองเป็นเพียงหมาเลย เพราะหากไม่พูดสัจธรรมแล้ว เสียงจะไม่มีวันสงบลง เสมือนหมาตัวที่หนึ่งเริ่มเห่าหอน ตัวอื่นๆ ก็จะค่อยรับตามกันไป ๆ โดยหารู้เหตุผลไม่

 

 

่ถาม:~ มีความเห็นอย่างไร ต่อปัญหารัฐธรรมนูญใหม่และประชาพิจารณ์ขณะนี้ ?

 

ตอบ:~สังคมเรากำลังแสดงออกว่า ยังไม่มีความสุขุมรอบคอบอย่างเพียงพอ ทุกคนแสดงออกว่าจะเอาให้ได้ตามใจเหมือนเด็ก ๆ ขาดความหนักแน่นในเหตุและผลที่แสดงออก เราทำเล่นเกินไปกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ นั่นก็คือความหมายอันเดียวกันกับคำว่า ทำเล่นเกินไปกับประเทศชาติ นั่นเอง เรียกว่าสถานการณ์นี้น่าเป็นห่วง เรารู้อยู่แต่ว่าฟังเสียงประชาชน หรือประชาพิจารณ์หรือ pubjic opinion, pubjic hearing ฯลฯ แต่ไม่มีมาตราการในการกลั่นกรองไม่มีใครพูดถึงเลยว่าเราจะกลั่นกรองอย่างไรเครื่องมือนั้นเป็นอย่างไรมีการสร้างและพัฒนาต่อมาจนน่าเชื่อถืออย่างไรหรือ เราคงไม่ตัดสินทันทีที่เห็นผลโพลของสำนักบางสำนักบางสำนักออกมาละมั่ง ? ก็แล้วทำไมเราไม่ตัดสินตามโพลออกมาละ ? เอาอย่างไรดี ? นี่คือสิ่งบอกเหตุถึงการขาดมาตรการกลั่นนกรองความคิดเห็นประชาชนดังกล่าว แล้วก็ดูคล้ายจะโมเมตัดสินเอาตามใจ ๆ ในที่สุด   เราควรจะแก้ได้ ด้วยการหยุดชั่งตรองกันให้ดี ให้มั่นใจจริง ๆ รวมถึงมั่นใจว่าทุกคนพูดกันแล้วรู้เรื่องเสียก่อน เดี๋ยวนี้ ทำท่าว่าจะพูดกันไม่รู้เรื่องอันมีสาเหตุมาจากความอ่อนในเซิงคิดด้วยเหตุและผลนั่นเอง  เป็นชาวพุทธแต่เต็มไปด้วยความยึดมั่นถือมั่น ไม่ยอมปล่อยวางในสิ่งที่ไม่ชอบด้วยเหตุและผล หรือเรียนรู้ทีหลังว่าไม่ชอบด้วยเหตุและผล หากถือมั่น เพียงว่านี่ของตน ๆ จะต้องเป็นไปตามนั้นให้ได้ เย็นให้ได้ ให้รู้ชัดเจนว่ารัฐนาวาจะไปทางไหน อย่าให้เหมือน เรือไททานิกเลยฯ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 ( นานาทัศนะ )

กล้าปลูกฝังประชาธิปไตยจริงไหม ?

โดย วิบูลรัตน์ กัลยาณวัตร

 

 

 

 

 

ทุกคนทราบดีว่าประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่ปี 2475 ล่วงเลยมานานถึง 64 ปีมาแล้วเทียบกับอายุคนก็ผ่านไปถึงวัยแก่เป็นผู้ใหญ่เต็มที่แล้ว แต่เรายังเรียกร้องหรือร้องหาประชาธิปไตยกันตลอดมา มันจึงจะได้นำมาวิเคราะห์กันต่อไป การนำเอาเรื่องประชาธิปไตยมาวิเคราะห์ ไม่น่าจะถือว่าเป็นการล้าสมัยเพราะเชื่อว่าจะยังมีการเรียกร้องต่อไปอีกเหมือนเด็กที่ยอมความเป็นผู้ใหญ่สักทีต้องเรียกร้องขอเงินแม่ซื้อขนมกินเรื่อยไปเราต้องวิเคราะห์กันว่ามีคนไทยสักกี่มากน้อยที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยจริง ๆ ในยุคที่เปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ คนไทยในชนบทบ้านนอก ยังไม่ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงเลย หมู่บ้านตำบลที่อยู่ห่างไกลยังไม่มีโรงเรียนด้วยซ้ำ ได้ยินเขาว่าประชาธิปไตยก็ว่าตามเขาไปอย่างนั้น สื่อความรู้ต่าง ๆ ก็ยังไม่มีทั่วถึงครั้นมาถึงสมัยนี้ แม้การศึกษาเล่าเรียนจะเจริญแพร่หลายขึ้นสื่อสารมวลชนเข้าถึงทุกหนทุกแห่งแล้วก็ตาม แต่ความรู้เรื่องประชาธิปไตยหาได้มีเท่าที่ควรไม่ ดังที่จะเห็นได้จากการทำประชาวิจารณ์ตามจังหวัดต่างๆ เมื่อเร็ว ๆนี้เราจะเห็นได้ว่ามีแต่นักการเมืองหรือผู้สนใจในการเมืองกลุ่มหนึ่งเท่านั้นที่จะร่วมฟังและแสดงความคิดเห็น ตาสี ตาสา ยายมี ยายมา ที่เป็นชาวบ้านส่วนมากไม่รู้เรื่องอะไรเลย

 

ขอสรุปตรงนี้เลยว่า การบอกสอนประชาธิปไตยทางสื่อสารมวลชน ที่ทำกันอย่างไฟไหม้ฟางลวบ ๆ ลวก ๆ นั้น ไม่สามารถที่จะทำให้คนเข้าใจประชาธิปไตยได้ แถมยังสร้างความสับสนให้แก่ประชาชน เพราะเวลาแสดงความคิดเห็นต่างฝ่ายต่างอธิบายเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนหรือพรรคพวก อ้างเหตุผลต่าง ๆนานา ว่าฝ่ายตนถูกต้อง ดีอย่างนั้นอย่างนี้ จนประชาชนเกิดความเบื่อหน่าย

 

ไม่ ทราบว่าจะเชื่อถือหรือเอาตามฝ่ายไหน

 

ความจริงนั้น การปลูกฝังประชาธิปไตยต้องทำกันอย่างต่อเนื่อง ต้องอบรมสั่งสอนกันตั้งแต่เด็ก ๆ แล้ว หลักสูตรตำราเรียนทุกระดับ ต้องบรรจุวิชาการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเอาไว้และต้องกำหนดให้ทำการเรียนการสอนกันอย่างจริงจัง

 

ปัญหาถามว่า เราเคยทำกันดังกล่าวหรือไม่ หนังสือหลักสูตรตำราเรียนชั้นประถมและมัธยมมีบรรจุความรู้เรื่องประชาธิปไตยมากน้อยแค่ไหน กำหนดให้มีการเรียนการสอนสัปดาห์ละกี่คาบหรือกี่ชั่วโมงกันแน่ มีหรือเปล่า เราลองไปถามเด็กชั้นประถมตอนปลายดูซิว่า ทำไมจึงมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี2475 อย่าว่าแต่เด็กชั้นประถมจะตอบไม่ได้เลย เด็กชั้นมัธยมต้นก็อาจจะตอบไม่ได้เหมือนกัน

 

เราจะไปสอนเน้นหนักเรื่องประชาธิปไตย เฉพาะแต่ในระดับมหาวิทยาลัยไม่ได้ เพราะคนที่มีโอกาสได้ศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยมีไม่กี่เปอร์เซ็น

 

ปัญหาถามต่อไปอีกว่าเรามีความกล้าหาญที่จะปลูกฝังเรื่องประชาธิปไตยจริงไหม ? เรากล้าเขียนลงในหลักสูตรตำราเรียนทุกชั้นได้หรือไม่ว่า

 

1.         ก่อนปี 2475 ที่จะทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาพเหตุการณ์บ้านเมืองเป็น      อย่างไรมีเหตุผลและวัตถุประสงค์อย่างไร การเข้ายึดอำนาจมีความหมายอย่างไร

 

2.         หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วมีการก่อการกบฏ ปฏิวัติ รัฐประหาร  กี่ครั้ง ใคร           หรือคณะใดเป็นแกนนำหรือหัวหน้า มีผลเสียหายที่เกิดจากการกระทำนั้น ๆ อย่างไร บ้าง ควรได้รับยกย่องหรือควรถูกประณาม

 

3.         เหตุการณ์มหาวิปโยคเดือนตุลาคม2 ครั้งที่ทำให้เกิดวีระชนประชาธิปไตย   ขึ้นมานั้น             เขียนเป็นตำราสอนกันอย่างตรงไปตรงมาได้ไหม

 

4.         เหตุการณ์พฤษภาทมิฬต้องเขียนไว้ในหนังสือเรียนทุกระดับ ต้องสอนกัน   ตั้งแต่เด็ก ๆ         ทีเดียว ที่แล้ว ๆ มาเรากลัวแต่ประวัติศาสตร์จะด่างพร้อย จึงเขียนแบบเกรงใจไม่กล้า   เขียนอธิบายตรง ๆ เกรงไปกระทบนั้นกระทบนี้ ในที่สุดก็จางหายไป ความจริง             ประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยข้อเท็จจริง ต้องจดจารึกความจริงเอาไว้ทุกแง่ทุกมุม    ต้องเขียนตรงไปตรงมา และมีความ   กล้าหาญที่จะเอาความจริงมาบันทึกไว้     ต้อง       เข้าใจว่า ประวัติศาสตร์ไม่ใช่วรรณคดีหรือนวนิยาย ที่จะเขียนให้มันเบี่ยงเบนไป            อย่างไรก็ได้

 

เราเคยเปิดเผยต่อสาธารณะหรือไม่ว่าคนไทยท่านใดบ้างมีจิตวิญญาณแห่งความเป็นระชาธิปไตยแท้จริง และมีการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอย่างแน่วแน่เราเรียงยกย่องนายปรีดี พนมยงค์ ว่าเป็นรัฐบุรุษอาวุโสที่ได้เอาชีวิตเข้าแลกเพื่อให้ได้มาซึ้งประชาธิปไตยแต่เปิดเผยและการแสดงออกซึ้งความยกย่องนับถือ ยังอยู่ในวงแคบเหลือเกินเห็นมีแต่ภาคเอกชนเท่านั้นที่พยายามเผยแพร่เกียรติคุณอย่างจริงจังมันเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง

 

เราเคยประณามคนที่ทำลายล้มล้างรัฐธรรมนูญต่อสาธารณหรือไม่?

 

เรากล้าเขียนประนามคนเหล่านั้นไว้ในหลักสูตรตำราเรียนอย่างเปิดเผยหรือไม่ ? ก็เห็นเปล่ากันทั้งนั้น

 

เมื่อเราไม่กล้าหาญบอกสอนความจริงกันดังกล่าว ป่วยการที่จะไปเรียกร้องหรือร้องหาประชาธิปไตย พวกที่คิดจะทำลายล้มล้างระบอบประชาธิปไตย เขาก็รอจังหวะรอโอกาสอยู่เท่านั้น เพราะถึงเขาทำลายลงไปมันจะเสี่ยงต่อการต่อต้าน หรือล้มเหลว หรือไม่ประความสำเร็จ แต่พวกเขาก็สามารถลอยหน้าลอยตาในสังคมได้ ดังที่เราเห็นกันอยู่แล้ว

 

ถึงรัฐธรรมนูญที่กำลังร่างกันอยู่นี้จะมีบทบัญญ้ติให้มีการต่อต้านและลงโทษต่อผู้ทำ การลมล้างรัฐธรรฒนูญก็จริง แต่ในเมื่อประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่รู้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยดี จะต่อสู้ป้องกันอย่างไร?

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 (กัลยาณมิตร)

ท่านยังไม่รู้จักพุทธทาสภิกขุ (2)

 

เมื่อเห็นชื่อหนังสือว่า ศาสนาคืออะไร? ของพุทธทาสภิกขุ  คนก็จะไม่เข้าใจไม่สนใจ บางคนนึกไปไกล ๆ ว่าตนรู้แล้วอย่างนั้น ๆ และหารู้ไม่ว่าหากเข้าใจศาสนาผิดแล้ว อาจใช้ศาสนาไปผิด ๆ จนถึงกับทำลายศาสนาที่ตนรักบูชาไปเลยด้วยซ้ำ ท่านว่าถ้าไม่ได้ใช้ให้เป็นไปเพื่อการทำลายกิเลส หรือรักษาโรคทางใจของบุคคลแล้ว ย่อมไม่เป็นพุทธศาสนาไปได้เลย แม้ที่สุดแต่การแสวงหา การจัดทำ ที่เราถือกันว่าเป็นไปเพื่อความเจริญของพุทธศาสนา หรือเป็นไปเพื่อการส่งเสริมพุทธศาสนานั้น ได้กลายเป็นการทำลายพระพุทธศาสนายิ่งขึ้นไปกว่าเดิมก็มี ........ฯลฯ .......เพราะฉะนั้น สิ่งนั้นเองจึงเป็นการทำให้ศาสนาเป็นอัมพาต พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ตามความหมายของบุคคลนั้นเป็นอัมพาตไป

 

แม้ขณะนี้ เราก็จะยังไม่สามารถเข้าใจได้ ว่าศาสนาเป็นอัมพาตไปแล้วอย่างไร? เพราะเหตุที่ไม่เข้าใจสารสำคัญหรือแก่นแห่งศานา เมื่อท่านบอกว่า ศาสนานั้นคือ ตัวการกระทำ คนก็ยิ่งจะงง เพราะไม่คุ้นหู จนเมื่อท่านบอกต่อไปว่า กิริยาที่จะเอาตัวให้รอดนี้แหละซื่อว่า ศาสนา คนก็แทบจะไม่ยอมรับ เพราะเขาไม่เเข้าใจคำว่า เอาตัวรอด ซึ้งท่านหมายถึงการเอาตัวรอดพ้นจากกิเลส จากราคะ ตัณหา อุปาทาน ไปสู่โลกุตตระ มีมรรคผลนิพานเกิดขึ้น  ก็จะเห็นว่าแม้อยู่กับศาสนาแท้ ๆ ก็ยังไม่รู้จักศาสนาอันหมายถึงตัวการกระทำเพื่อเอาตัวให้รอดพ้นจากราคะตัณหา เพราะไม่เคยทำกิริยาละราคะตัณหาเลย แล้วจะได้ชื่อว่ารู้จักศาสนาได้อย่างไร ? จึงควรที่จะอ่านหนังสือ เรื่องศาสนาคืออะไร? หนังสือเล่มอื่น ๆ ที่ท่านเขียนทุกเล่ม เพื่อรู้จัก พุทธทาสภิกขุให้มากขึ้นไปกว่านี้

 

 

 

                                                            ไกลกิเลส

                                                            ก.ค. 40

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 เสนอ สสร. เพื่อแปรญัตติ

(แทรกหนังสือ วิเคราะห์ข่าวในวงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดภาคอีสาน

ประจำเดือนมิถุนายน 2540)

 

 

 

เจริญพร                         ท่านประธาน สสร. และคณะทำงาน รัฐบาลและรัฐสภา

 

ขอได้พิจารณาแปรญัตติ มาตรา 75 ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนดังนี้

 

มาตรา 75           รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และยกศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ให้ความคุ้มครองศาสนาอื่น ๆ โดยเสมอหน้า ส่งเสริมความเข้าใจอันดีและความสมานฉันท์ระหว่าง      ศาสนิกของทุกศาสนา ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีความสนใจใฝ่ในการศึกษาศาสนาธรรมอย่างกว้างขวาง รวมทั้งสนับสนุนการนำหลักธรรมของศาสนามาใช้เพื่อพัฒนาคุณธรรมและคุณภาพชีวิตเพื่อการมองทางไกลไปในแนวทิศทางที่จะปฎิรูปการคณะสงฆ์ต่อไปในอนาคตด้วย เมื่อได้ยกย่องศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว จะเป็นการรวมศูนย์ทางจิตใจและแนวทางวัฒนธรรมของชาติไปในทิศทางที่จะให้การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างถูกทิศถูกทางได้ และที่สำคัญที่สุดในขณะนี้ก็คือจะสามารถดำเนินการแบ่งเบาภาระของคณะสงฆ์ไปได้มาก  คณะสงฆ์มีภาระหลายอย่างที่ไม่ชอบด้วยธรรมวินัยและไม่ชอบด้วยเหตุผลแห่งยุคสมัย ควรที่อุบาสกอุบาสิกาจะรับไปทำแทนโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาระด้านการศึกษา ไม่ว่าการศึกษาบาลี นักธรรม และสามัญศึกษาทั้งระดับมัธยมและอุดมศึกษาที่คณะสงฆ์ดำเนินการอยู่เองในขณะนี้ และซึ้งเป็นที่มาแห่งปัญหาชนชั้นในคณะสงฆ์ ไม่ผิดกับปัญหาทางการปกครองฝ่ายโลกเลย (พระมีเงินเดือนกับพระธรรมดา พระร่ำรวยกับพระยากจน) และ จะสามารถกำหนดให้รัฐบาลหรือองค์การประชาชนเอาภาระส่วนนี้แทนคณะสงฆ์โดยชอบธรรมได้ สงฆ์ในรูปรวมก็จะมีความเสมอภาคขึ้น มีความเสมอกันโดยศีลสามัญญตา โดยทิฏฐิสามัญตามากขึ้นโดยความประพฤติถูกตามธรรมตามวินัยมากขึ้น อันเป็นวิถีทางที่ถูกที่ชอบที่ควรแก่สถานะแห่งความเป็นนักบวชที่แท้ต่อไป

 

ฉะนั้น เพื่อประโยชน์แก่ศาสนาประจำชาติ จึงหวังว่า สสร. รบ. และรัฐสภาจะพิจารณาแปรญัตติ ตามข้อเสนอมานี้ด้วย ขอเจริญพร

 

 

                                                            มูลนิธิพระเทพวรมุนี ( เสน ปญฺญาวชิโร)

                                                            มิ.ย.2540

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 เพื่อประชาธิปไตยเบ่งบาน

 บันทึกข่าวล่า

 

 

เปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่าง พรบ. งบประมาณ ประจำปี 2540

 

การประชุมสมัยวิสามัญสภาผู้แทนราษฎรหนนี้ มีขึ้นในวันที่ 25-26-27 มิถุนา-ยน 2540 เพื่อพิจารณาร่าง พรบ.งบประมาณประจำปี 2540 ที่รัฐบาลเสนอเป็นงบประมาณรายจ่าย จำนวน 982 ,000 ล้านบาท การอภิปรายหนนี้ฝ่ายค้านได้พุ่งความสนใจไปที่กระทรวงศึกษาธิการเป็นพิเศษ เพราะกระทรวงนี้ได้งบประมาณมากเป็นอันดับ2จากกระทรวงมหาดไทย ฝ่ายค้านอภิปรายว่าไม่น่าไว้วางใจ มีเบื้องหลัง ไม่สุจริต ว่าเป็นการวางแผน ถอนทุน โดยเฉพาะโครงการณ์จัดซื้อคอมพิวเตอร์กรณีงบเงินอุดหนุน และยังมีกรณีพิเศษแทรก คือที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทีฝ่ายค้านคนหนึ่งนำมาอภิปราย ทำให้นายสุขวิช รังสิตพล รมว. ศึกษาธิการต้องลุกขึ้นขอชี้แจงกลางคัน การอภิปรายดำเนินไปด้วยดีโดยมีรองประธานสภา เป็นผู้ดำเนินการอภิปรายแทนประธานสภาซึ่งยังป่วยอยู่ อีกประมาณ 10 นาทีจะปิดการอภิปราย นายปรีชา สุวรรณทัต ส.ส. ฝ่ายค้านพักประชาธิปัตย์ กทม. ได้ลุกขึ้นขอเวลาประธานสภาอภิปรายกล่าวหาว่ารัฐบาลทำงบประมาณไม่ถูกรัฐธรรมนูญ โดยเอาเงินคงคลังมาใช้อย่างไม่มีกฎหมายรองรับ ทำให้สภาตะลึงไปตามๆกัน รมช. คลังนายจาตุรนต์ ฉายแสง ลุกขึ้นชี่แจง แต่ก็ยังไม่กระจ่าง การอภิปรายงบประมาณประจำปีคราวนี้ สถานีโทรทัศน์ อสมท. ช่อง 9 ถ่ายทอดโดยตลอด ช่อง 11โดย รมว.สำนักนายยกรัฐมนตรีนายปิยะณัฐ วัชราภรณ์สั่งการให้ถ่ายทอดภายหลังสมาชิกสภา ฯ ขอร้องให้ถ่ายทอด

 

 

 

เหตุการณ์ประวัติศาสตร์

 

ฮ่องกงเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ มาเป็นเวลา 156 ปีบัดนี้กลับคืนสู่สาธารณรัฐประชาชนจีนอันเป็นดินแดนแม่เรีบร้อยแล้วตามผลของสัญญาเช่าที่สิ้นสุดลง พิธีมอบดินแดนคืนกระทำที่ฮ่องกง เวลา 24.00 น. วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน 2540 มีเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ มกุฎราชกุมารแห่งอังกฤษ ในฐานตัวแทนของสมเด็จพระราชินีนาถเอริซาเบธที่ 2 ทรงกล่าวมอบอธิปไตยฮ่องกงให้แก่จีนอย่างเป็นทางการ หลังกล่าวมอบแล้วธงอังกฤษและฮ่องกงเดิมก็ลดลงวงดุริยางค์บรรเลงเพลงชาติอังกฤษ แล้วทหารอังกฤษหมู่สุดท้ายจำนวน 300 คน ก็ออกเดินทางกลับทันที  แล้วธงชาติจีนและธงเขตการปกครองฮ่องกงก็ค่อย ๆ เลื่อนขึ้นสู่ยอดเสาแทน ต่อจากนั้นประธานาธิบดี เจียง เจ๋อ หมิน ก็กล่าวรับมอบฮ่องกง พิธีส่งมอบจบลง เวลาประมาณ

00.10 น.นายคริส แพทเทน วัย 53 ปี เป็นผู้ว่าราชการฮ่องกงชาวอังกฤษคนที่ 28 เป็นคนสุดท้าย ฯ

 

 

 

นปฺปหาย มุนิ กาเม เนกตฺต มุปฺปชฺชติ

นักบวชไม่ละกาม จิตย่อมไม่มั่นคง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 ประวัติของผมพระพยับ ปญฺญาธโร

พระผู้มีปกติอยู่ด้วยอิริยาบถ ๓

 

 

 

ขณะผมเป็นเด็กอ่อน เพิ่งยืนเป็น ยังเดินไม่ได้ ยังไม่รู้จักสวมใส่เสื้อผ้า วันนั้นที่จดจำรำลึกภาพได้ชัดเจนตา ขณะเพื่อนเด็ก ๆ พากันเล่นดินฝุ่นแห้ง ๆ เพลินกันอยู่โดยรอบนั้น ผมนั่งนิ่งอยู่คนเดียวบนแป้นหูกทอผ้า ที่ซึ่งเขาเอาผมไปวางไว้ตรงนั้น หันไปทางทิศตะวันตก ผมเฝ้ามองดูดวงอาทิตย์สีแดงก่ำที่ค่อยลอยคล้อยต่ำลงไปทุกที ๆ ดู มันสงบสงัด แดดก็ค่อยอ่อนลงไป แสงสว่างเจิดจ้าที่ค่อย ๆ มัวคล้ำ จนที่สุดตะวัน แตะขอบฟ้าปริ่ม ๆ ขอบโลก จนกระทั่งหายลับไปทั้งดวง มืดสลัวราง คนจูงวัวควาย มาเข้าคอก วันนั้นได้ฝากอารมณ์ชนิดหนึ่งไว้ในจิตใจผมอย่างล้ำลึก คืออารมณ์แห่งการจากพราก แห่งความเปลี่ยวเดียวดายและว้าเหว่ ที่ไม่เคยลืมเลือนไปจากใจผมตราบ เติบโตเป็นผู้ใหญ่ต่อมา และนั่นแหละที่ผมมารู้ทีหลังว่า ความรู้สึกแห่งไตรลักษณะแห่งโลกทั้งหลาย คือทุกขํ อนิจจํ และ อนตฺตา แต่เป็นเพียงกระแสอันอ่อน ที่ก่อกำเนิดขึ้นในวันนั้น แล้วซ่อนเร้นในจิตใจผมตลอดมา และซึ่งผมได้เฝ้ามองดูและสังเกตศึกษามาโดยตลอดและได้เห็นความเจริญของกระแสอันนี้ทวีขึ้นไปเรื่อย ๆ ท่านก็คงจะอดตั้งคำถามไม่ได้ว่า นี่แสดงว่า เรียนธรรมะมาตั้งแต่เกิดละซี

 

ผมเกือบได้รู้จักความตาย ในวัยใกล้ ๆ กันนั้น พ่อผมรื้อบ้านเก่าจะสร้างบ้านใหม่ จึงมาอยู่บ้านหลังสูงชั่วคราว ตอนเช้าแม่ผม(เป็นครู)จะไปโรงเรียน ลงกะไดไปแล้ว ผมร้องไห้เดินตามมาเตาะแตะเตาะแตะ พอถึงกะไดก็รู้สึกวูบไม่รู้สึกตัวเลยว่าเกิดอะไรขึ้น จนเมื่อผมโตขึ้นมาแล้ว เขาเล่าให้ฟังว่า ผมเดินมาที่หัวกะได ใครต่อใครต่างเอะอะกันใหญ่ กลัวทำหัวทิ่มลงมาข้างล่าง น้าชายผมไวทันการณ์ ฉวยหวดนึ่งข้าวใกล้มือผลุงไปรับผมไว้ได้ทัน ผมตกกะไดมาลงก้นหวดพอดี จึงรอดจากคอหักตายเสียแต่คราวนั้น ต่อมาผมก็เป็นตาแดงจนแทบบอด พ่อไปหายาสมุนไพรมาหยอดจนหาย วันหนึ่งพ่อจับนกมาได้ ท่านใช้ตองบานดักเอา หรือไม่ก็แอบจับเอาจากพุ่มยอดต้นมะละกอในเวลากลางคืนที่นกมาหลับอยู่ วันหนึ่ง ท่านผูกเชือกที่ขานกมาให้ผมแต่เช้า ผมอุ้มนกเดินเตาะแตะไปที่ระเบียงหลังบ้าน ทันใดนกมันก็บินปร๋อหลุดมือผมไป ผมเห็นมันลากเชือกยาวติดขามันไปด้วย ทำให้สงสารมันมาก ผมคิดในใจว่า ใครจะปลดเชือกให้มัน เราควรจะปลดเชือกให้มันก่อนจึงค่อยปล่อยมันไป แต่เราก็ไม่รู้จะทำอย่างไรเพราะมันดิ้นหลุดไปเสียก่อน เมื่อผมโตขึ้นอีกหน่อยแต่ยังไม่เข้าโรงเรียน พ่อมักบ่นว่าผมอยู่บ้านเปล่า ๆ ไม่ทำอะไร ต่อไปจะต้องมอบหมายงานประจำวันให้ ให้ไปตัดเอาต้นกล้วยในสวนที่สุดลูกแล้วมาหั่นเลี้ยงหมูบ้าง ให้ปัดกวาดคอกหมูบ้าง วันหนึ่ง ท่านให้ผมลับมีด ท่านทำตัวอย่างให้ดู บอกว่าให้วางมีดลงกับหินอย่างนี้ ให้ได้ประมาณ 35 องศา สั่งแล้วท่านก็ไปโรงเรียน แต่ตลอดเวลาเช้าผมไปเที่ยว ยังไม่ได้ทำ จนบ่ายจึงมาลับมีด ทำอย่างที่พ่อบอกทุกอย่าง ผมทำตามท่านไปอย่างไร ๆ มีดก็ไม่คมสักที ผมก็ร้อนใจ เพราะจวนเวลาโรงเรียนจะเลิกอยู่แล้ว และผมกลัวพ่อมาก ท่านเป็นคนไม่ประนีประนอมสำหรับผม พอดีมีเด็กลูกศิษย์วัดที่ผมยังนึกภาพได้จนขณะนี้ เขาเป็นเด็กที่ไม่ค่อยเอาถ่านใคร ๆ ก็รู้ เดินผ่านมาถามว่าทำอะไรอยู่ตั้งนมนานแล้วไม่เห็นไปไหนสักที เราก็บอกว่าลับมีด เขามามองดูแล้วว่า ไหนจะทำให้เอง แล้วเขาก็ลับมีดให้ผม เขากรีดมีดไปกับหินไม่กี่ทีเลยมีดก็คม ผมรู้สึกขอบใจเขามาก แต่ต่อมาผมรู้ว่าผิดจุดประสงค์ที่พ่อผมสอน และผมก็รู้ว่า ที่ผมทำตามที่พ่อสอนนั้นแหละถูกต้องที่สุด ส่วนเด็กศิษย์วัดนั้น มันไม่มีนิสัย มันทำอย่างมักง่ายเหลือเกินเพราะไม่นานมีดก็ทื่ออีก ผมนึกถึงเรื่องลับมีดทีไร นึกถึงเด็กวัดคนนั้น ก็อดหัวเราะมิได้ เมื่อคิดว่าผมแทบเลื่อมใสเขาเลยทีเดียว ที่เขาสามารถลับมีดให้คมได้ในพริบตา ขณะที่ผมทำอยู่ตั้งครึ่งค่อนวัน มีดก็ยังทื่ออยู่เหมือนเดิม (ท่านนึกเหตุผลออกหรือไม่?) พ่อมักพาผมไปทำสวนเวลาเย็น ๆ พ่อผมเป็นคนละเอียดจริง ๆ แม้ถอนหญ้าก็สั่ง ก็กำชับว่ามืออีกข้างเอาไว้ทำไม ไร้ประโยชน์ แล้วท่านก็บอกให้ทำทั้งสองมืออย่างที่ท่านทำ ท่านว่าถอนหญ้าต้องถอนทั้งราก ค่อย ๆ ดึงหน่วงขึ้น อย่าให้รากหญ้าขาดคา มันจึงจะตาย ขณะนั้นผมเป็นเพียงเด็กเล็ก ๆ เท่านั้นเอง ผมเหน็ดเหนื่อยมาก เพราะพ่อผมพาทำงานอะไรก็แล้วแต่มักจะเร็วเร่งรีบแข่งกับเวลา แม่ผมกับพ่อผมพอกันในเรื่องความขยันขันแข็ง และผมซึ่งเป็นเด็กก็พลอยเร่งรีบไปด้วย จึงเหนื่อย แต่ก็ไม่ออกปากออกมาว่า ผมเหนื่อยจัง และไม่กล้าหยุดพัก พ่อยังไม่หยุดผมก็ทนไปไม่กล้าหยุดเหมือนกัน ในภายหลังผมก็ได้นิสัยอันนี้ คือทำอะไรกับใครโดยเฉพาะผู้ใหญ่พาทำ ถ้าท่านไม่หยุด ผมก็ไม่หยุดเลยทีเดียว ผมได้เป็นไปตามธรรมชาติเช่นนี้ จึงได้ฝึกสร้างจิตใจผมอย่าง มากมาย

 

ผมได้เรียนรู้การต่อสู้กับตัวเอง และได้รู้ศิลปะแห่งการต่อสู้ชนิดนี้โดยธรรมชาติมาตั้งแต่เป็นเด็กนักเรียนชั้นประถมแล้ว วันหนึ่ง จวนเข้าฤดูฝน ท้องทุ่งนาชุ่มหมาด ผมได้ท่องเที่ยวไปคนเดียว จนจวนถึงลำห้วย มีต้นมะตูมสูงชะลูดต้นหนึ่งกลางทุ่งนา ผลมันสุกเหลืองอร่าม เห็นอยู่เพียงผลเดียวที่ปลายยอด ผมชอบปีนต้นไม้ ไม่เคย กลัวต้นไม้สูงเลย จึงปีนขึ้นไป ขาปีนขึ้นก็ไม่รู้สึกยากลำบาก เพราะมีมะตูมล่อใจอยู่ เบื้องบน ประกอบกับนิสัยจะเอาให้ได้ ค่อยแหวกแขนงที่เต็มไปด้วยหนามไปทีละคืบ รู้สึกตกใจเมื่อเห็นรังมดแดง แต่ตัวไม่ชุกนัก ก็พยายามที่จะไม่ทำอันตรายมัน ๆ อยากกัดก็ให้มันกัด จนถึงผลมะตูม มันอยู่สูงมาก เหลียวไปทางไหนก็เห็นทั่วไป หมด เห็นหลังคาบ้านผมเองอยู่ลิบ ๆ ผมได้มะตูม แต่ลงมาไม่ได้ เพราะเหมือนอยู่ในพงหนาม ยิ่งไปกว่านั้น มดแดงก็เริ่มแตกรังออกมาทะยานเข้ากัดตามเนื้อตามตัวหัวหูผมอย่างกริ้วโกรธ ผมนึกรู้และเตรียมไว้ในใจอยู่ก่อนแล้ว ผมได้ฝึกการเอาชนะใจตนเองที่ต้นมะตูมนี้ ไม่มีผู้ใดผ่านมาเห็นผมเลย ผมติดอยู่ตั้งแต่ตะวันเที่ยงหลังเพลตูม ๆ ไปจนแดดอ่อนบ่าย ๆ จึงลงสู่พื้นดินได้ มะตูมได้สอนผมให้รู้เหตุผลแห่งการเอาตัวรอด และผมได้มองเห็นเหตุและผลเช่นนั้นจริง ๆ จึงต้องอดทนให้ได้ ใจเย็นให้ได้ ให้อภัย(พวกมดแดง)ให้ได้ ค่อยแก้ไขไป กำหนดใจได้เช่นนี้แล้ว จึงค่อย ๆ ถอนลง ผ่านลงไปทีละกิ่ง จนถึงพื้นดินโดยสวัสดิภาพ ผมจำมาจนบัดนี้ว่าคุณสมบัติอะไรทำให้ผมรอดตายจากเหตุการณ์คราวนั้น และต่อมา เพิ่มพูนกำลังทางจิตทางปัญญาให้แข็งแกร่งขึ้นไปอีก ฯ

 

ปีต่อมา พ่อผมซื้อนาใหม่ อยู่ไกล ต้องข้ามหมู่บ้านไปสองหมู่บ้าน เขาลือกันว่าผีก็ดุ มีงูตัวใหญ่ ๆ เล่นน้ำตูมตาม ๆ ในเวลากลางคืน แต่มีลำห้วยมีปลาชุกชุมมาก วันหนึ่งพ่อผมจึงชวนลูกน้อง ที่เป็นครูในโรงเรียน(พ่อผมเป็นครูใหญ่)สามสี่คนไปตกเบ็ดที่นานั้น พากันแบกเบ็ด ข้อง พร้อมกระป๋องเหยื่อเดินเท้าไป พ่อพาผมไปด้วย ในระหว่างทางมีทั้งสิ่งเพลิดเพลินและน่ากลัว มีตอนหนึ่งต้องข้ามห้วย น้ำล้นตลิ่ง ไม่มีสะพานข้าม มีแต่ขอนไม้พาดสองฝั่งห้วย บางส่วนปริ่ม ๆ น้ำ บางส่วนก็จมน้ำลงไป กระแสน้ำเชี่ยวกราก และเสียงสนั่นหวั่นไหวไปหมด ผมกลัวมากเมื่อเห็นว่าจะต้องเดินข้ามขอนไม้นั้นไป ขาผมเป็นเหน็บไปหมดเมื่อพ่อผมออกคำสั่งว่ามา ยื่นมือมา แต่ผมก็ไม่รู้จะพุดอะไรเหมือนเดิม ค่อย ๆ สืบเท้าไปตามขอนไม้ มือของพ่อที่แข็งแรงและอบอุ่นนั้น ให้ความมั่นใจแก่ผม ในที่สุดก็ไปถึงนา ฝั่งห้วยเดียวกันนั่นเอง พอขุดได้ไส้เดือน ที่จะใช้เป็นเหยื่อปักเบ็ดไม่นาน ก็เริ่มมืด มีไฟฉายของพ่อผมส่องทางไป ผมจำได้แต่ว่ามืดมากจนผมเดินตามผู้ใหญ่ไปอย่างกระหืดกระหอบ เพราะความกลัว แต่แล้ว พอวางเบ็ดไปได้ไม่เท่าไรฝนก็ตกลงมาห่าใหญ่ มีทั้งฝนลมและฟ้าคะนองเกลื่อนกลุ้มคุ้มมัวไปหมด บริเวณลำห้วยน่ากลัวมาก มีสุมทุมพุ่มไม้ขึ้นริมฝั่งโดยตลอด น้ำก็ล้นหลามตลิ่ง ไหลท่วมเข้าไปในท้องนา พวกเราล่าถอยเข้าไปในเถียงนา แต่หลังคาก็รั่ว ฝนตกหนัก ไม่รู้หยุดหย่อนเลย ซ้ำหนาวอย่างร้ายกาจ จนกระทั่งผู้ใหญ่เองก็บ่น แขนขาปากคอสั่นกันพับ ๆ ผมหนาวมาก หนาวจนคิดว่าจวนขาดใจตายแล้ว แต่ผมก็ไม่ได้ร้องหรือบ่นเลย (ผมเป็นคนที่ไม่พูดมาตั้งแต่เด็ก ๆ เหมือนคนเป็นใบ้ พูดก็น้อยมาก) พากันหากิ่งไม้แห้งมาสุมก่อไฟ ก็ก่อไม่ติด เพราะฝนสาดกระเซ็นจนภายในกระท่อมเปียกไปหมด ได้แต่พากันนั่งตัวสั่นรอฝนหยุด ไม่มีใครเอาใจใส่ผมเลย โดยเฉ พาะพ่อผม ไม่เคยแสดงความเอ็นดูผมเลยสักครั้งตลอดเวลาที่ผมเป็นเด็ก แต่นั่นแหละได้สร้างนิสัยนักต่อสู้ และการพึ่งพาตนเองให้แก่ผมอย่างดีที่สุด คืนนั้นเราทนอยู่จนกระทั่งห้าทุ่มแล้วฝนก็ยังคงโหมกระหน่ำ พอใครคนหนึ่งพูดขึ้นว่ากลับบ้านเถิด ผมหัวใจพองโตขึ้นมาทันที แล้วก็พากันเดินฝ่าฝนไปอย่างรีบเร่ง และผมเองก็ต้องซอยเท้าเร็วขึ้นเป็นเดินแกมวิ่งไปตลอดทาง เมื่อไปถึงลำห้วยขาด พ่อเอาผมขึ้นคอ พาข้ามห้วย กว่าจะถึงบ้านก็ปาเข้าไปร่วมตีหนึ่ง มันทำให้ผมได้จิตใจอันฉกาจยิ่งขึ้นมาตั้งแต่เด็ก ๆ เคล็ดลับนั้นอยู่ที่ผมไม่รู้จักพูด ไม่รู้จักบ่น ไม่รู้จักอ้อนวอนนั่นเอง ทุกสิ่งทุกอย่างจึงเสริมสร้างเข้าไปที่จิตใจหมด แต่ดูจากภายนอกไม่รู้

 

ในวัยเดียวกันนั้นแหละ ปีนั้นเป็นฤดูหนาว พอเย็นพ่อผมจะพาผมไปลำห้วย ไปใส่ลอบกุ้ง ตอนเย็นมืดค่ำ อากาศที่ชนบทหนาวเหลือเกิน แต่ผมก็ต้องลงไปแช่น้ำกับพ่อ เพื่อใส่ลอบกุ้ง แต่ผมก็ไม่เคยออกปากว่าหนาวเลย เช้าวันหนึ่ง ขณะนั้น หมอกลงเป็นสาย ๆ เห็นขาวโพลนไปหมด มันจับกันเป็นหยด ๆ ที่ยอดหญ้า ทำให้รู้สึกเย็นเฉียบในจิตใจ พ่อพาผมข้ามฟากห้วยไปไกล เพื่อไปที่นาของเพื่อนพ่อคนหนึ่ง ไปดูสระน้ำของเขา เพราะเขาเลี้ยงปลาไว้มาก สระน้ำนั้นกว้างใหญ่และน้ำใส เต็มขอบสระ มีดอกบัวแดงบานไสวไปทั้งสระ ดอกบัวบานเปิดดวงตาและดวงใจของผม ผมยังจำภาพสระน้ำนั้นได้จนกระทั่งบัดนี้ เพราะผมได้เพ่งมองดูดอกบัวบานที่ลอยอยู่เหนือน้ำดอกหนึ่ง สักครู่หนึ่งลมเย็นก็วิ่งขึ้นจับขั้วหัวใจผม เพราะเป็นฤดูหนาว ผมจำความเย็นอันนั้นได้มาจนกระทั่งบัดนี้ ผมมารู้ทีหลังว่า ที่ผมทำนั้นคืออาการของการเพ่งกสิณน้ำ หรือ อาโปกกสิณนั่นเอง มันให้ผลสำเร็จที่ใจแท้ ๆ แต่ในขณะนั้น ผมหาได้นึกรู้ว่าเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับศาสนาแต่อย่างไรไม่ หากแต่ความลุ่มเย็นนี้ มักมาสู่ผมเสมอ ๆ ทำให้จิตใจว้าเหว่ มีคราวหนึ่ง แม่ได้พาผมไปเยี่ยมญาติที่หมู่บ้านใกล้เคียง พาข้ามทุ่งนาไป น้ำใสในท้องนานั้นให้ความประทับใจผมมาตั้งแต่เด็ก ๆ แล้ว นั่นหมายความว่า ผมได้สะสมอะไรไว้ในภาคจิตอย่างค่อนข้างมากและเฉียบคมมาแต่เป็นเด็กอ่อนแล้ว ในระยะนี้แหละที่ผมได้ฟังนิทานก่อนนอนจากแม่ และที่สุดก็เลยติด ต้องอ้อนให้แม่เล่านิทานให้ฟังก่อนนอนทุกคืน ๆ แม่เล่าเรื่องคุณธรรมโบราณ ๆ เช่นเรื่องแมลงป่องที่พากันยกขบวนมาช่วยเจ้าหญิง เล่าเรื่องอำมะหิต ที่ในที่สุดก็สู้คนดีไม่ได้ เป็นต้น เป็นการเสริมสร้างภาคจิตวิญญาณผม ให้ลุ่มลึกดื่มด่ำไปในคุณงามความดี ผมได้เป็นหนี้ชีวิตพ่อและแม่ ที่ราวกับโชคชะตาบัญญัติมา ให้มีภาระหน้าที่ในการสร้างตัวผม ให้ได้เป็นอย่างที่ผมเป็น ให้ได้มีอย่างที่ผมมี ให้ได้ทำอย่างที่ผมทำอยู่ทุกวันนี้

 

เมื่อผมอ่านหนังสือออก พ่อก็เขียนสุภาษิตลงไว้ที่บานประตูห้องครัว 3แถว แถวที่หนึ่งว่า "อวดกล้าคนขลาด อวดฉลาดคนโง่ อวดโก้คนจน มีเงินหน้าสด หมดเงินหน้าจ๋อย" แถวที่สอง "ผ้าขี้ริ้วห่อทอง" และแถวที่สามว่า "ช้างเผือกห่อนเกิดในเมืองฉันใด นักปราชญ์ย่อมเกิดในแผ่นดินทุรกันดารฉันนั้น" บทที่ 1 ทำให้ผมได้รู้จักความละอายเอามาก ๆ เมื่อนึกไปว่าหากเป็นเช่นนั้นจริง ๆ คือเป็นคนประเภทที่โง่บริสุทธิ์แล้ว ยังเที่ยวคุยโอ้อวดไปทั่วนั้น แม้เพียงนึก ๆ ดู ก็เป็นสิ่งที่ผมรู้สึกละอายใจ เอามาก ๆ จนแทบไม่กล้าคิด หิริโอตตัปปธรรม จึงมาสู่ผมโดยประการฉะนี้

 

เมื่อผมจวนจบชั้นประถม 4 พ่อกับเพื่อนครูต่างปรึกษากัน พ่อผมพูดดัง ๆ แกล้งให้ผมได้ยินว่า จะส่งผมไปอยู่กับมหาเสน วัดพระโต (ก็คือหลวงพ่อพระเทพวรมุนี เสน ปัญญาวชิโร ของผมนี่แหละ) ผมก็นึกถึงเรื่องศิษย์วัด และมีบางสิ่งบางอย่างที่ให้ต้องตรองและตรึกเอามาก ๆ จนกระทั่งเช้าวันหนึ่งในวงอาหาร พ่อตำหนิผมว่า ผมกินอาหารช้า ให้ฝึกกินไวไว เวลาไปเป็นศิษย์วัดจะได้กินทันเขา คำพูดนี้ทำให้ผมกระเทือนใจ เพราะผมไม่เคยนึกรู้ว่าในวัดจะมีการแย่งกันกินอย่างนั้น ผมจึงตัดสินใจในทันทีว่า หากต้องไปแย่งกันกินอย่างนั้นแล้ว ขออย่าได้เป้นศิษย์วัดเลย (เป็นสิ่งที่น่าเกลียดในทัศนะของผม) ความอธิษฐานของผมจึงสำเร็จ ฯ

 

เมื่อผมเข้ามาเรียนหนังสือชั้นมัธยมต่อในเมือง เป็นนักเรียนทุนหลวงเสียด้วย คราวนี้ผมเป็นวัยรุ่นแล้ว กำลังเรียนอยู่ ม.3 เมื่อถึงวันหยุดก็กลับไปบ้านนอก พ่อผมมีปืนคาบศิลาอยู่ 3 กระบอก และยังมีปืนสั้น colt 11 มม. ตราม้ากึ่งอัตโนมัติอีกหนึ่ง กระบอก คราวนั้นท่านเอาออกมาเตรียมไว้เพราะได้ข่าวว่าไอ้เสือจะมาปล้นบ้านพ่อผม เขาเล่าลือกันทั่วไป ผมเองก็เหลาหน้าไม้ไว้อันหนึ่ง ว่าจะใช้ยิงโจรเหมือนกัน แต่ไม่มีเหตุร้ายแรงเกิดขึ้น ผมจึงได้โอกาสถือปืนแก๊ปออกไปหัดยิง แล้ววันหนึ่ง ผมก็ไปพบนกกระยางขาวตัวหนึ่ง ปลายทุ่งด้านตะวันออก ตัวมันใหญ่ ขาว ขายาว บินสูง จับอยู่ที่ยอดมะม่วงป่า ใจผมเต้นตึก ๆ เพราะไม่เคยเห็นนกตัวใหญ่ จึงย่องเข้าไปใต้ต้นไม้ นกมันเห็นผมมันจึงเหลือบมองผมนิดหนึ่งแล้วก็เหินออกจากยอดไม้ไปตามลำห้วย ผมแบกปืนวิ่งตามไปทันทีด้วยความเร็วเต็มฝีเท้า ไปทันมันหย่อนขาลงบนยอดหว้า ผมประทับปืน เหนี่ยวไก แต่แล้วนกมันราวจะรู้ เหลือบมองผมแล้วเหินบนไปอีก คราวนี้มันบินข้ามลำห้วยไป ผมวิ่งโค้งไปทางสะพานข้ามห้วยไล่ตามมันไป มันบินสูงลิบเลย ผมวิ่งพยายามจะเข้าไปใต้มันแต่ก็อยู่ไกลกันมาก และผมวิ่งฝ่าไปในพงหญ้าบ้าง หนามบ้าง ตอฟางข้าวบ้าง ตกหลุมบนคันนาบ้าง ลื่นไถลไปบ้าง กำลังจะท้อแท้ก็พอดีนกมันวกกลับมาทางตะวันตกข้ามห้วยกลับไปอีกทีหนึ่ง แล้วไปจับอยู่ยอดหมู่ยางริมสระด้านหลังหมู่บ้าน ผมวิ่งตรงเข้าไป คราวนี้ไม่ไปใกล้ กะจะยิงมันในมุม 45 องศา ถูกหรือผิดก็ช่างขอให้ได้ยิง แต่ราวกับมันรู้แผนในใจ มันเหลือบมามอง แล้วเหินฟ้าขึ้นไปอีก มันบินอย่างสม่ำเสมอมาก ผมใช้สายตาตรวจมองไปข้างหน้า เห็นแนวถนนและทุ่งโล่งฟากตะวันตก คราวนั้นผมเกิดทิฏฐิขึ้นมาในจิตใจว่า นกมันเป็นเพียงสัตว์เดียรัจฉาน ข้าเป็นมนุษย์จะตามมันไปจนถึงที่สุด ด้วยประการนี้ ผมจึงวิ่งตามนกกระยาง ขณะที่สุดท้องทุ่งตะวันออกแล้ว ข้ามถนนหลวงเข้าสู่ท้องทุ่งตะวันตก เล่นเอาเถิดกับนกกระยางขาวตนนั้นอยู่เป็นเวลานานนับชั่วโมง แต่แล้วผมก็มาถึงมุมอับ เมื่อนกกระยางขาวเหินฟ้าสูงไปลิบลิ่ว ไปทางดงใหญ่ชื่อว่าดอนแม่แก้ว ไม่มีท่าทีว่าจะลงเหยียบยอดไม้อีก ดูราวกับมันนึกสนุกกับผมเย้ยว่า ผมน่ะยังไม่รู้จักมันเสียแล้ว จะตามมันผู้มีปีกแข็งแรงอาจเหยียบเมฆได้อย่างไร น่าหัวเราะ ! แล้วมันก็แสดงเดชอำนาจการบินอันสง่างามของมันให้ผมดู โดยบินขึ้นฟ้าสูงลิบเทียมเมฆ ปีกยาวของมันกระพือขึ้นลงอย่างสม่ำเสมอ มันบินไปสู่ฟ้าตะวันตก ไปตัวเดียวลิบลับ อย่างไม่มีใครรู้เป้าหมายของมัน ไม่เหลียวหลัง หรือมีท่าทีว่าจะลงจับยอดไม้อีกเลย ผมวิ่งมาหยุดยืนทั้งที่หอบตัวโยน เพิ่งรู้ว่าพยายามกระทำสิ่งที่สุดวิสัย มันล้อเราเล่นต่างหาก เฉลียวคิดได้อย่างนั้น ก็โบกมือให้มัน และเอ่ยปากว่า โชคดีเพื่อนรัก ข้าขออภัยด้วย มองดูมันบินไปจนลับตาไปในฝั่งฟ้า คราวนี้นกกระยางขาวได้มาปลุกจิตใจชนิดหนึ่งให้พลุ่งโพลงขึ้นมาใน ใจผม นั่นคือ จิตใจที่ใฝ่ชัยชนะ ขณะนั้นมีเพลงอยู่เพลงหนึ่งที่ฮิตมากในบ้านเมือง ผม คือเพลง ผู้แพ้ (ระกำดวงใจกระไรหนอบาป ของ รัก รักพงษ์) และผมชอบมากจนร้องได้บ้าง (ปกติจะอายไม่กล้าร้องเพลง มักนึกว่าอะไรผิดศีล) แต่นกกระยางขาว ตัวนั้นได้เปลี่ยนจิตใจผมไปหมดสิ้น ผมจะไม่ร้องเพลงผู้แพ้อีกต่อไป แต่จะต้องร้อง เพลง ผู้ชนะ เช่น ผู้ชนะสิบทิศ และผมก็ได้เป็นไปอย่างนั้น เพราะตลอดชีวิต คำว่า แพ้ ไม่มี (เว้นแต่เพื่อยุทธวิธี) ผมจึงเป็นคนที่เกิดมาพร้อมด้วยความรู้สึกตัวว่ามี ความจำเป็นต้องเป็นผู้ชนะ ๆ ๆ ให้ได้ ต้องปิดประตูแพ้เสียโดยสิ้นเชิง (มันอยู่ในจิต ใจลึก ๆ ของผม ๆ ไม่เคยบอกใครหรอกว่าผมมีความรู้สึกชนิดนี้อยู่ตลอดเวลา นับแต่เวลานั้น) ผมจึงได้มีการตระเตรียมจิตใจชนิดนี้ไว้แล้วตั้งแต่วัยเด็กขนาดนั้น และพัฒนาการเรื่อยมา จนกระทั่งต่อมา ผ่านมาในเส้นทางชีวิตของผู้ที่จะต้องไม่มีคำว่าแพ้ และ แล้ววันหนึ่งโชคชะตาก็นำผมไป พบสงครามอันยิ่งใหญ่ ที่เหมาะกับคนอย่างผมเหมาะแก่คนมีกำลังอย่างผม เหมาะแก่พื้นฐานอย่างผมที่ได้ตระเตรียมเอาไว้แล้ว เพราะจะทำอะไร ๆ อย่างที่คนอื่น ๆ ผู้ที่ประสบความสำเร็จใดใดในโลก ก็ดูเป็นของเล็กน้อยไป หมดสำหรับผมขณะนั้น ไม่พอสนุกสนาน ไม่พอคุ้มเวลาแห่งชีวิต และไม่พอที่จะมี ใจเข้าต่อสู้อย่างเอาจริงเอาจัง อย่างคนทั่วไปเขากระทำกันอยู่ แต่บัดนั้นผมได้พบ ได้พอใจที่จะทำ นั่นก็คือ เข้าสู่สงครามใหญ่ ที่ไร้ตัวตน ในโลกแห่งจิตวิญญาณ อัน เป็นสงครามที่มีข้าศึกคือกิเลสอันมหาศาล เยี่ยงพระเจ้าอโศกมหาราช แห่งชมพูทวีป ได้มารู้จักว่า ยิ่งใหญ่กว่าสงครามร้อยพันครั้งที่พระองค์เคยสู้รบมาก่อน นี่แหละ เหมาะสำหรับผม ผมบอกตัวเองอย่างนี้ และเมื่อคิดว่าจะต้องเริ่มทำสงคราม หรือมี การต่อสู้เกิดขึ้น ความรู้สึกชนิดนี้ก็จะโผล่ออกมา นั่นก็คือ จำเป็นจะต้องชนะ แพ้ไม่ ได้ การรบ ฝ่ายข้าศึกจะต้องราบลงดั่งหน้ากลองเพล

 

นี่คือสงครามที่ผมต่อสู้ด้วยจิตใจ ที่ถูกปลุกขึ้นด้วยนกกระยางขาวตัวนั้นแหละ

 

ครับ ใน ธรรมา-ธรรมะสงคราม (สงครามล้างผลาญกิเลส) ผมจะต้องปิดประตูแพ้ให้

         สนิท จะต้องมีเพียงคำเดียว คือ "ชนะ".

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 หน้าบอกสถานะของเรา

 

 

วิเคราะห์ข่าวในวงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดภาคอีสาน          รายคาบ

วัตถุประสงค์        เพื่อการนำความคิดไปสู่ความดีงาม

ประจำเดือน         กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐

คณะที่ปรึกษา      ดร.นันทสาร สีสลับ

                        -กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ สสร.ศรีสะเกษ

                        -อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

                        -ผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติ

                        -เลขาธิการสมัชชาศิลปวัฒนธรรมไทย

บรรณาธิการ :      พระพยับ ปญฺญาธโร

                        -ปญฺญาธโรภิกฺขุ พระผู้มีปกติอยู่ด้วยอิริยาบถ 3           

                        -อดีต ร.อ.พยับ เติมใจ กองบัญชาการทหารสูงสุด สนามเสือป่า

                        -อดีตเจ้าอาวาสวัดโนนน้อย            

                        -อดีตเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ

 

กองบรรณาธิการ   มหาเก่า เข่าขี้เมี่ยง เซียงบ้านนอก

                        -นายแสงทอง มะลิวงษ์

                        -เลขานุการองค์การบริหารส่วนตำบลฮ่องข่า

 

ผู้ร่วมอุดมการณ์   โลเกก แห่ง น.ส.พ..ประชาธิปไตย

 

พิมพ์ที่ :             มูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร) วัดมหาพุทธาราม ถนนขุขันธ์ อำเภอ                       เมืองศรีสะเกษ

                        จังหวัดศรีสะเกษ ๓๓๐๐๐

 

                        โทร-โทรสาร : (๐๔๕) ๖๒๒๔๕๕

 

การแจกจ่าย

                        - เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดทั่วประเทศ

                        - วงการสงฆ์

                        - วงการบริหารบ้านเมือง

                        - หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 บทกวี ธงชนะประชาธิปไตยสงฆ์

 

อันใดคือโคตรเพชร เผล็ดพลังธรรมรุ่งฉาน

กลับทิศผิดทางเนิ่นนาน โคตรเพชรจึ่งสาดแสงแรงร้าย

เพียงกลับทิศทางให้ถูก โลกวิปริตจักพลันหาย

เพียงกลับทิศถูกทุกข์ก็คลี่คลาย สบายชุ่มเย็นเป็นคุณ

ใครเล่าอาจทำให้ได้ หากไม่ออกแรงเองหมุน

สู่อุปถัมภ์ค้ำจุน ประชาราษฎร์ชาติประชาธิปไตย

 

 

ปธร. 

ปญฺญาธโรภิกฺขุ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ปกหลัง

คอลัมน์กวีนิพนธ์

 

 

 

 

115 ชนใดในโลกล้วน                          ทาสา

เพียงโซ่ทองตรวนตรา                          หน่อเนื้อ

คือข้องแห่งทุกข์ทา-                            รุณโทษ ชนเฮย

หิวหยากยากไร้เรื้อ                             โรคร้ายรอนรุม ฯ

 

116 สาวหนุ่มลิงโลดได้                        เคียงขวัญ

สมสืบทายาทผัน                                 ผ่ายหน้า

ชรามรณพลัน                                     จำพราก กันเล่า

ทอดร่างลงกลบหล้า                            เปื่อยเคล้าดินเดิม ฯ

 

117 เฉลิมโลกรัฐเขตล้วน                      สังสาร

ไหลหลั่งเพียงทางธาร                          เชี่ยวกว้าง

ส่ำสัตว์พลัดทะยาน                              ลิวโลด

ตาบอดต่างตนคว้าง                             อยู่ร้อนฤาเห็น ฯ

 

118 เคืองเข็ญทุกค่ำเช้า                       คุงคืน

หลับตื่นตาตนฝืน                                คั่งแค้น

สินทรัพย์นับสุดกลืน                            เหลือหลาก ล้นเฮย

ห่อนสั่งโสฬสแคว้น                             ฝั่งฟ้าลงชม ฯ

 

 

119 บรมขัตติเยศรได้                          ไอศูรย์

เถลิงรัฐฉัตรทองพูน                             เดชด้าว

จอมทัพทศทิศทูน                               ศิโรราบ

ห่อนสั่งมัจจุราชห้าว                             ผ่อนไว้โทสา ฯ

 

120 ธรรมสามีเร่งล้าง                           ไตรภพ

สวรรค์ล่มนรกลบ                                แผ่นหล้า

โลกันต์ผ่านทัพทบ                              ทิวเศิก คลุ้งเฮย

ดับเดชมัจจุราชกล้า                             แต่ด้วยตาญาณ ฯ

 

121 ผลาญมารมรณ์มอดเสี้ยน               สบสันต์

เล็งโลกแสนทิศพลัน                            แจ่มแจ้ง

แสงทองส่องชีวัน                                ทวยโลก

ธรรมอยู่จุนฤาแล้ง                               โลกไร้วีรชน ฯ

 

 

 

                                    *          บทกวีที่ซ่อนความหมาย

                                                จาก......."ไกลกิเลส",

                                                "เถลิงรัฐรัตนโกสินทร์ศก 200 พุทธศักราช 2525"

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
----- ***** ----- โปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate นี่คือเวบไซต์คู่ www.newworldbelieve.com กับ www.newworldbelieve.net เราให้เป็นเวบไซต์ที่เสนอธรรมะหรือ ความจริง หรือ ความคิดเห็นในเรื่องราวของชีวิต ตั้งใจให้ธัมมะเป็นทาน ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แด่คนทั้งหลาย ทั้งโลก ให้ได้รู้ความจริงของศาสนาต่าง ๆในโลกวันนี้ และได้รู้ศาสนาที่ประเสริฐเพียงศาสนาเดียวสำหรับโลกยุคใหม่ จักรวาลใหม่ เรามีผู้รู้ ผู้ตรัสรู้ ผู้วินิจฉัยสรรพธรรมสรรพวิชชา สรรพศาสน์ และสรรพศาสตร์ พอชี้ทางสู่โลกใหม่ ให้ความสุข ความสบายใจความมีชีวิตที่หลุดพ้นไปสู่โลกใหม่ เราได้อุทิศเนื้อที่ทั้งหมดเป็นเนื้อที่สำหรับธรรมะทั้งหมด ไม่มีการโฆษณาสินค้า มาแต่ต้น นับถึงวันนี้ร่วม 14 ปีแล้ว มาวันนี้ เราได้สร้างได้ทำเวบไซต์คู่นี้จนได้กลายเป็นแดนโลกแห่งความสว่างไสว เบิกบานใจ ไร้พิษภัย เป็นแดนประตูวิเศษ เปิดเข้าไปแล้ว เจริญดวงตาปัญญาละเอียดอ่อน เห็นแต่สิ่งที่น่าสบายใจ ที่ผสานความคิดจิตใจคนทั้งหลายด้วยไมตรีจิตมิตรภาพล้วน ๆ ไปสู่ความเป็นมิตรกันและกันล้วน ๆ วันนี้เวบไซต์นี้ ได้กลายเป็นโลกท่องเที่ยวอีกโลกหนึ่ง ที่กว้างใหญ่ไพศาล เข้าไปแล้วได้พบแต่สิ่งที่สบายใจมีความสุข ให้ความคิดสติปัญญา และได้พบเรื่องราวหลายหลากมากมาย ที่อาจจะท่องเที่ยวไปได้ตลอดชีวิต หรือท่านอาจจะอยากอยู่ณโลกนี้ไปชั่วนิรันดร ไม่กลับออกไปอีกก็ได้ เพียงแต่ท่านเข้าใจว่านี่เป็นแดนต้นเรื่องเป็นด่านข้ามจากแดนโลกเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง และซึ่งเป็นโลกหรือบ้านของท่านทั้งหลายได้เลยทีเดียว ซึ่งสำหรับคนต่างชาติ ต่างภาษาต่างศาสนา ได้โปรดใช้การแปลของ กูเกิล หรือ Google Translate แปลเป็นภาษาของท่านก่อน ที่เขาเพิ่งประสบความสำเร็จการแปลให้ได้แทบทุกภาษาในโลกมนุษย์นี้แล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้เอง นั้นแหละเท่ากับท่านจะเป็นที่ไหนของโลกก็ตาม ทั้งหมดโลกประมาณ 7.6 พันล้านคนวันนี้ สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในโลกของเราได้เลย เราไม่ได้นำท่านไปเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่การนำไปสู่ความจริง ความรู้เรื่องชีวิตใหม่ การอุบัติใหม่สู่ภาวะอริยบุคคล ไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปพ้นจากทุกข์ ทั้งหลายไปสู่โลกแห่งความสุขแท้นิรันดร คือโลกนิพพานขององค์บรมศาสดาพุทธศาสนา พระบรมครูพุทธะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ท่านโปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate ท่านก็จะเข้าสู่โลกนี้ได้ทันทีพร้อมกับคน7.6พันล้านคนทั้งโลกนี้. ----- ***** ----- • หมายเหตุ เอาขึ้นเวบไซต์ แทนของเดิม ทั้ง 2 เวบ .net .com วันที่ 21 เม.ย. 2565 เวลา 07.00 น. -----*****-----