ReadyPlanet.com
dot
dot dot
bulletBUDDHISM TO THE NEW WORLD ERA
bullet1 Thai-ไทย
bullet2.English-อังกฤษ
bullet3.China-จีน
bullet4.Hindi-อินเดีย
bullet5.Russia-รัสเซีย
bullet6.Arab-อาหรับ
bullet7.Indonesia-อินโดนีเซีย
bullet8.Japan-ญี่ปุ่น
bullet9.Italy-อิตาลี
bullet10.France-ฝรั่งเศส
bullet11.Germany-เยอรมัน
bullet12.Africa-อาฟริกา
bullet13.Azerbaijan-อาเซอร์ไบจัน
bullet14.Bosnian-บอสเนีย
bullet15.Cambodia-เขมร
bullet16.Finland-ฟินแลนด์
bullet17.Greek-กรีก
bullet18.Hebrew-ฮีบรู
bullet19.Hungary-ฮังการี
bullet20.Iceland-ไอซ์แลนด์
bullet21.Ireland-ไอร์แลนด์
bullet22.Java-ชวา
bullet23.Korea-เกาหลี
bullet24.Latin-ละติน
bullet25.Loa-ลาว
bullet26.Finland-ฟินแลนด์
bullet27.Malaysia-มาเลย์
bullet28.Mongolia-มองโกเลีย
bullet29.Nepal-เนปาล
bullet30.Norway-นอรเวย์
bullet31.persian-เปอร์เซีย
bullet32.โปแลนด์-Poland
bullet33.Portugal- โปตุเกตุ
bullet34.Romania-โรมาเนีย
bullet35.Serbian-เซอร์เบีย
bullet36.Spain-สเปน
bullet37.Srilanga-สิงหล,ศรีลังกา
bullet38.Sweden-สวีเดน
bullet39.Tamil-ทมิฬ
bullet40.Turkey-ตุรกี
bullet41.Ukrain-ยูเครน
bullet42.Uzbekistan-อุสเบกิสถาน
bullet43.Vietnam-เวียดนาม
bullet44.Mynma-พม่า
bullet45.Galicia กาลิเซียน
bullet46.Kazakh คาซัค
bullet47.Kurdish เคิร์ด
bullet48. Croatian โครเอเซีย
bullet49.Czech เช็ก
bullet50.Samoa ซามัว
bullet51.Nederlands ดัตช์
bullet52 Turkmen เติร์กเมน
bullet53.PunJabi ปัญจาบ
bullet54.Hmong ม้ง
bullet55.Macedonian มาซิโดเนีย
bullet56.Malagasy มาลากาซี
bullet57.Latvian ลัตเวีย
bullet58.Lithuanian ลิทัวเนีย
bullet59.Wales เวลล์
bullet60.Sloveniana สโลวัค
bullet61.Sindhi สินธี
bullet62.Estonia เอสโทเนีย
bullet63. Hawaiian ฮาวาย
bullet64.Philippines ฟิลิปปินส์
bullet65.Gongni-กงกนี
bullet66.Guarani-กวารานี
bullet67.Kanada-กันนาดา
bullet68.Gaelic Scots-เกลิกสกอต
bullet69.Crio-คริโอ
bullet70.Corsica-คอร์สิกา
bullet71.คาตาลัน
bullet72.Kinya Rwanda-คินยารวันดา
bullet73.Kirkish-คีร์กิช
bullet74.Gujarat-คุชราด
bullet75.Quesua-เคซัว
bullet76.Kurdish Kurmansi)-เคิร์ด(กุรมันซี)
bullet77.Kosa-โคซา
bullet78.Georgia-จอร์เจีย
bullet79.Chinese(Simplified)-จีน(ตัวย่อ)
bullet80.Chicheva-ชิเชวา
bullet81.Sona-โซนา
bullet82.Tsonga-ซองกา
bullet83.Cebuano-ซีบัวโน
bullet84.Shunda-ชุนดา
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet86.Sesotho-เซโซโท
bullet87.NorthernSaizotho-ไซโซโทเหนือ
bullet88.Somali-โซมาลี
bullet89.History-ประวัติศาสตร์
bullet90.Divehi-ดิเวฮิ
bullet91.Denmark-เดนมาร์ก
bullet92.Dogry-โดกรี
bullet93.Telugu-เตลูกู
bullet94.bis-ทวิ
bullet95.Tajik-ทาจิก
bullet96.Tatar-ทาทาร์
bullet97.Tigrinya-ทีกรินยา
bullet98.Check-เชค
bullet99.Mambara-มัมบารา
bullet100.Bulgaria-บัลแกเรีย
bullet101.Basque-บาสก์
bullet102.Bengal-เบงกอล
bullet103.Belarus-เบลารุส
bullet104.Pashto-พาชตู
bullet105.Fritian-ฟริเชียน
bullet106.Bhojpuri-โภชปุรี
bullet107.Manipur(Manifuri)-มณีปุระ(มณิฟูรี)
bullet108.Maltese-มัลทีส
bullet109.Marathi-มาราฐี
bullet110.Malayalum-มาลายาลัม
bullet111.Micho-มิโช
bullet112.Maori-เมารี
bullet113.Maithili-ไมถิลี
bullet114.Yidsdish-ยิดดิช
bullet115.Euroba-ยูโรบา
bullet116.Lingala-ลิงกาลา
bullet118.Slovenia-สโลวีเนีย
bullet119.Swahili-สวาฮิลี
bullet120.Sanskrit-สันสกฤต
bullet121.history107-history107
bullet122.Amharic-อัมฮาริก
bullet123.Assam-อัสสัม
bullet124.Armenia-อาร์เมเนีย
bullet125.Igbo-อิกโบ
bullet126.History115-ประวัติ 115
bullet127.history117-ประวัติ117
bullet128.Ilogano-อีโลกาโน
bullet129.Eve-อีเว
bullet130.Uighur-อุยกูร์
bullet131.Uradu-อูรดู
bullet132.Esperanto-เอสเปอแรนโต
bullet133.Albania-แอลเบเนีย
bullet134.Odia(Oriya)-โอเดีย(โอริยา)
bullet135.Oromo-โอโรโม
bullet136.Omara-โอมารา
bullet137.Huasha-ฮัวซา
bullet138.Haitian Creole-เฮติครีโอล
bulletคำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรแปล เช้า-เย็น
bulletChart Showing the Process
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี พ.ศ.2540 - 2566
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 1
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 2
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี บุคคลที่ 1 - 188 ปัจจุบัน
bulletหนังสือพิมพ์ดี
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 1
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 2
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 3
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 4
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 5
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 6
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 7
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 8
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 9
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 10
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 11
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 12
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 13
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 14
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 15
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 16
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 17
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 18
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 19
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 20
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 21
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 22
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 23
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 24
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 25
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 26
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 27
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 28
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 29
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 30
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 31
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 32
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 33
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 34
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 35
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 36
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 37
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 38
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 39
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 40
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 41
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 42
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 43
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 44
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 45
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 46
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 47
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 48
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 49
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 50
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 51
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 52
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 54
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 55
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 56
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 57
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 58
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 59
bulletTo The World
bulletENGLISH
bulletUSA
bulletChina
bulletIndia
bullet Mynmar
bullet Cambodia
bullet Loas
bulletSri Lanka
bulletMalaysia
bulletKorea
bulletA Sharp Turn of Believes : Iresearch Iwrite Iread
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 1
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 2
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 3
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 4
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 5
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 6
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 7
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 8
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 9
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 10
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 11
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 12
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 13
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 14
bulletMystery Report 15
bulletMystery Report 16
bulletMystery Report 17
bulletMystery Report 18
bulletMystery Report 19
bulletMystery Report 20
bulletMystery Report 21
bulletMystery Report 22
bulletMystery Report 23
bulletMystery Report 24
bulletMystery World Report 25
bulletศึกษาโลกลี้ลับ 26
bulletเฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว วิเคราะห์ทุกปัญหาในโลกมนุษย์ด้วยสติปัญญาและเหตุผลวิทยาศาสตร์จากนสพ.ดี
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2536
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2537
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2538
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2539
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2540
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2541
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2542
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2543-2545
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2545-2549
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2549-2550
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2550-ส.ค.2551
bulletเฝ้าดูฯ ส.ค.-ก.ย.2551
bulletเฝ้าดูฯ ก.ย.2551- ธ.ค. 2551
bulletเฝ้าดูฯสำนวนพัชรา กอปรทศธรรม
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 16-27
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 29
bulletบทความใหม่ เม.ย.-พ.ค.2552
bulletพุทธธรรมเพื่อทางดับทุกข์
bulletทฤษฎีการดับทุกข์ทางจิต วิปัสสนากรรมฐานโดยการทำงาน(สำนวนปรับปรุงใหม่)
bulletประวัติพัชรา กอปรทศธรรม
bulletประวัติการต่อสู้เพื่อการดับทุกข์ ของพัชรา กอปรทศธรรม
bulletอัลบั้มรูป history
bulletนิทานธรรมะประยุกต์ มานุสสาสุระสงคราม 4 ภาค และอื่น ๆ
bulletอัลบั้มรูป ภาพในอดีตและชีวประวัติศาสตร์ที่สวยงาม
bulletจากเวบบอร์ด พูดกันไม่รู้เรื่อง ประชาธิปไตยล้าหลัง
bulletศาสนาสากล การวิเคราะห์ความหมาย
bulletปลอบใจ
dot
รวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์ แนวปฏิรูปคณะสงฆ์อยู่ในบทวิเคราะห์นี้แล้ว
dot
bulletรวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์
dot
สากลจักรวาล สากลศาสนา แนวคิดศาสนาสำหรับคนยุคใหม่ ผู้ก้าวผิดทางไปสู่สิ่งไร้สาระโดยไม่รู้ตัว
dot
bulletสากล...ศาสนา 1
bulletสากล...ศาสนา 2
bulletสากล...ศาสนา 3
bulletสากล...ศาสนา 4
bulletสากล...ศาสนา 5
bulletสากล...ศาสนา 6
bulletสากล...ศาสนา 7
bulletสากล...ศาสนา 9
bulletสากล...ศาสนา 8
bulletสากล...ศาสนา 10
bulletสากล...ศาสนา 11
bulletสากล...ศาสนา 12
bulletสากล...ศาสนา 13
bulletสากล...ศาสนา 14
bulletสากล...ศาสนา 16
dot
ส่วนข้อมูลสำคัญเพื่อการวิจัยการเมืองไทยยุค คมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
dot
bulletข้อมูลสำคัญยุคคมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่1/26ส.ค.2551
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่2/27ส.ค.2551
bulletใบปลิว อีเมล์ ในหลวงทรงร้องไห้
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 1
bulletในหลวงเพิ่งทราบข่าวฆ่าประชาชน10เมย.53ทรงร้องไห้
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
dot
รวมข่าวม็อบการเมืองสนธิ-จำลอง-ปชป.มิ.ย.51-เม.ย.52 นสพ.
dot
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 2
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 3
bulletรวมข่าวม็อบ30มิ.ย.51-23มี.ค.52
bulletเลือดศรีสะเกษบันทึกเรื่องราวรอบด้านเกี่ยวกับเขาพระวิหาร
bulletรายงานการโฆษณาชวนเชื่อในประเทศไทยที่ล้มล้างรัฐบาลทักษิณ
bulletหนังสือพิมพ์ดี ของฟรีให้เปล่ามา20ปีแล้วทั้งเอกสารและอินเทอเนท
bulletหนังสือพิมพ์ดี ( อินเทอเนต ) เล่ม 1 - 44 - ล่าสุด
bulletหน้าที่เก็บไว้
bulletมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร)
bulletวัดมหาพุทธาราม ศรีสะเกษ บันทึกเหตุการณ์
bulletสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดศรีสะเกษแห่งที่ 1
bulletเกี่ยวกับเวบไซต์ของเรา เราทำเพื่อปัญญาชนโดยแท้
bulletรวมกระทู้เด็ดจากกระดานถามตอบ
bulletคาถาอาคมไสยศาสตร์
bulletกวีนิพนธ์ใหม่
bulletศูนย์ปฏิญญาณละเลิกอบายมุข บัญชีที่ 1- 4


หนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 4

วิเคราะห์ข่าวในวงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดภาคอีสาน

The good Paper

เล่มที่ 4

ประจำเดือน มิถุนายน ๒๕๔๐

 

 

1.         บทบรรณาธิการ

            -วิเคราะห์กฎหมายคณะสงฆ์

            -แนวการปฏิรูปการคณะสงฆ์ไทย

           

2.         สมาธิญาณเสื่อมเพราะเหตุ6ประการ

3.         จดหมายถึงบรรณาธิการ

4.         สมาธิญาณแก่กล้าเพราะเหตุ 6 ประการ

5.         แผนภูมิประชาธิปไตยสงฆ์

6.         แผนผังสภาสงฆ์

7.         นานาทัศนะ การเมืองไม่สร้างสรรค์

8.         นานาทัศนะ ชาวพุทธแบบไหน

9.         นานาทัศนะ  ต้องมีศาสนาประจำชาติด้วยหรือ

10.         ท่านยังไม่รู้จักพุทธทาสภิกขุ

11.        ยิ้มสำรวม

12.        สัจธรรมสงฆ์

13.        สำรวจประชามติ ข้อเสนอแก้ไข พ.ร.บ.คณะสงฆ์

14.        บันทึกข่าวล่า

15.        หน้าบอกสถานะของเรา

16.        เจ้าภาพประจำเดือน

17.        บทกวีปกหลัง

 

 

 

 

 

 

 

 

 1.               บทบรรณาธิการ

 

วิเคราะห์ข่าวในวงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดฉบับประจำเดือนมิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๐ อันเป็นฉบับที่เราได้คิดว่า เราจะไม่ออมอีกแล้ว ต้องว่าไปสุดเหยียด เพื่อการนำความคิดไปสู่ความดีงามต่อไป

 

ในเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ในราชอาณาจักร    นอกจากวันแห่งการบูชาแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ วันเพ็ญเดือน ๖ ตรงกับวัน       อังคารที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๔๐ แล้ว ยังมีเหตุการณ์ที่ทุกวงการตื่นแต่เฉยเมยมิได้    วงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดและสหธรรมิกทั้งปวงทุกศาสนิกชนก็คงจะเฉยเมยมิได้เช่นกัน เราได้ให้ข้อคิดไว้นิดหน่อย   ภายหลังมีคำถามต่อร่าง รัฐธรรมนูญแห่ง      ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช.... 

 

            เพื่อการทำประชาวิจารณ์    ฉบับของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญ จัดพิมพ์เล่มแจกจ่าย โดยจะเป็นการมองจากสายตาอีกด้านหนึ่งของสังคม คือสายตาแห่งธรรมะ ว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้เป็นอย่างไรบ้าง มีอะไรที่ควรคำนึง เพื่อให้เกิดความรอบคอบขึ้นหรือไม่อย่างไร            โปรดติดตามคอลัมน์ระดมความคิด หรือจดหมายถึงบรรณาธิการ หน้า ๑๔ 

 

          และในคอลัมน์เดียวกันนี้ ตอบปัญหาต่าง ๆ ไปสุดเหยียด ดูปัญหาสำคัญ ๆ          เกี่ยวกับบทบาทฝ่ายค้านในสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน กับบทบาท         หนังสือพิมพ์ ว่า    ควรจะมองหนังสือพิมพ์        กันอย่างไร เป็นต้น

 

ในขณะนี้ ยังคงมีงานอันหนึ่งที่ทางการ ซึ่งก็คงรวมไปถึงรัฐบาลด้วยเพราะเป็นงานที่ดูเหมือนริเริ่มมาจากรัฐบาลก่อน (ท่านนายกบรรหาร หรือตั้งแต่ท่านนายกชวนก็ไม่แน่ใจ เพราะไม่ค่อยเป็นข่าว) คืองานแก้ไขปรับปรุงหรือยกร่างใหม่ ซึ่งกฎหมายการปกครองสงฆ์ แต่ค่อนข้างเงียบกริบ มาในเดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๓๙ จึงได้เห็นข่าวในหนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ ว่าจะมีการ ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ให้ทันสมัยขึ้น ทางราชการกระทรวงศึกษาธิการ และกรมการศาสนา ขอเชิญชวนประชาชนพุทธบริษัททุกหมู่เหล่า แสดงความคิดเห็นในการแก้ไขพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ที่ใช้อยู่ขณะนี้ ผมเห็นเป็นสิ่งที่ชอบธรรม ที่ทางการขอให้ประชาชนชาวพุทธแสดงความเห็นต่อการแก้ไขพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ครั้งนี้ จึงได้จัดทำข้อเสนอแนะในการแก้ไขพระราชบัญญัติคณะ สงฆ์ ไปยังท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการขณะนั้น คือ ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ และท่านอธิบดีกรมการศาสนา นายถวัลย์ ทองมี นอกจากนี้ยังได้ เสนอไปยังหนังสือพิมพ์อีกสองฉบับคือ ไทยรัฐ             กับอีกฉบับคือ ข่าวสด ด้วย การ เสนอแนะครั้งนั้น ผมได้พูดถึงปัญหาหลายๆ ประการที่ตรงไปตรงมามาก จนตัวเองก็ ไม่อยากเปิดเผยตัวเองว่าเป็นคนเขียน แต่บัดนี้ สิ่งที่ผมได้เสนอเข้าไปครั้งนั้นผม ได้นำลงใน วิเคราะห์ข่าวในวงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดฉบับเดือนมิถุนายนนี้แล้ว โดยตัดทอนบางตอนไปนิดหน่อย เพื่อน ๆ จะได้ทราบแนวคิดนั้นว่า มีความสอดคล้องกับความคิดในการเสนอปฏิรูประบบการคณะสงฆ์ที่มีอยู่ในขณะนี้ ที่ยังเสริม         ขยายความคิดในรายละเอียดที่ผมยังไม่ได้พูดในวิเคราะห์ข่าวฯ โปรดติดตามเรื่อง สำรวจประชา-มติแก้ไข พ.ร.บ.คณะสงฆ์หน้า ๓๐ และโปรดอย่าลืมอ่านท่านยังไม่รู้จักพุทธทาสภิกขุโดย ไกลกิเลส

 

 

คอลัมน์ นานาทัศนะ มีถึง ๓ ทัศนะ อย่าลืมอ่านทัศนะที่น่าฟังเกี่ยวกับการมองการเมือง และปัญหาสังคม โดยวิบูลรัตน์ กัลยาณวัตร ส่วน ชิโนทรพูดเรื่องศาสนาประจำชาติ  และข้อเขียนของวิญญู ศรีชาเนตร ก็น่าคิด  

                     

                        แล้วมาวิเคราะห์ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ฉบับเดิม ๆ กันต่อไป

ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ไทยทั้ง ๓ พระราชบัญญัติ ที่ได้อ้างมาแล้วนั้น ต้องนับว่า พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ มีสิ่งที่น่าคิดยิ่งกว่าฉบับอื่นน่า พิเคราะห์ดูให้รู้ซึ้งไปในความนึกความคิดอ่านของผู้ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ขึ้นมา เป็นอย่างยิ่ง ว่าเหตุใดท่านจึงทำออกมาได้อย่างนี้ ดังได้ข้อสรุปมาแล้วว่า พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ทั้งฉบับ ร.ศ.๑๒๑ ฉบับ พ.ศ.๒๕๘๔ และฉบับ พ.ศ.๒๕๐๕ มีแนวความคิดที่ร่วมกันอยู่อย่างเป็นหลักเป็นเกณฑ์ ก็คือเรื่อง สายการบังคับบัญชา ซึ่งเป็นผลให้เกิดชนชั้นขึ้นในคณะสงฆ์ เกิดระบบยศถาบรรดาศักดิ์ และตำแหน่งหน้าที่ ที่น่าเกรงขาม ทรงอำนาจยิ่งขึ้นไปตามสายการบังคับบัญชา โดยขัดหลักการพระธรรมวินัย ที่ให้ถือคุณงามความดีเป็นที่ตั้ง ถือหลักศีล ธรรม ปัญญา การศึกษา เป็นใหญ่ อันเป็นเส้นทางการพัฒนาไปในแบบที่ประสงค์ ซึ่งยิ่งสูงส่งขึ้นไปในสถานภาพภายในตามวิถีทางแห่งการศึกษาฝ่ายธรรมล้วน  คือ ระดับแห่งปริยัติธรรม ก็ดี ปฏิบัติธรรม ก็ดี  

 

 

และที่สุด ที่เรานับถือว่าเป็นของสูงจริง ที่นับว่าของสูงที่ควรใฝ่ แสวงหาเอาก็คือ ระดับแห่งปฏิเวธธรรม อันเรียกว่ามรรค ผล และนิพพาน    แต่ ระบบสายการบังคับบัญชา ที่ประกอบปัจจัยเหตุอย่างโลก ๆ นั้น ได้ก่อให้เกิดวิถีทางเจ้าขุนมูลนายขึ้นในหมู่สงฆ์ เป็นผลเสียหายอย่างยิ่งใหญ่หลายประการ อันย่อมเป็น ไปตามกฎแห่งอิทัปปัจจยาการ ดังที่ได้วิเคราะห์มาตามลำดับแล้วนั้นพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ ยังมีสิ่งที่น่าคิดยิ่งไปกว่านั้นอีก ก็คือ ในขณะที่กำหนดให้มหาเถรสมาคม เป็นสมาคมคณะผู้บริหารงานสำคัญสูงสุดของการพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น ต้องเป็นผู้มีอายุมาก ๆ ขนาดที่ควรปลดภาระตัวเองทั้งหมด ทั้งสิ้นไปพักผ่อนหรือเตรียมจิตใจ เพื่อการแผ้วถางทางไปโลกหน้า ตามหลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนา แล้ว ท่านยังกำหนดให้คณะผู้อาวุโสเหล่านี้ รับภาระหนักทุกสิ่ง ทุกอย่างแห่งการคณะสงฆ์ อีกด้วย กล่าวคือ กำหนดให้งานทั้งสิ้นทั้งมวลของคณะสงฆ์หรือทั้งสิ้นทั้งมวลแห่งการพระพุทธศาสนาตกเป็นภาระของมหาเถรสมาคมคณะนี้ แต่ เพียงคณะเดียวอีกด้วย ฉะนั้น จึงเท่ากับเป็นการสร้างมาตรการทางการบริหารที่ขัด หลักว่าด้วยประสิทธิภาพในการบริหารองค์การโดยสิ้นเชิง (เพราะกำหนดให้คนแก่รับ ภาระงานหนักทั้งหมด เท่ากับการทรมานคนแก่ชัด ๆ เลย) ดูพระราชบัญญัติ ปี ๒๔๘๔ ท่านยังแบ่งหน้าที่รับผิดชอบกันไปถึง ๔ องค์การหรือฉบับ ร.ศ.๑๒๑ ท่านก็ยังมีสายงานใหญ่แยกไปเป็นสองสาย คือสายการปกครอง และสายการศึกษา อันเป็นการแบ่งเบาภาระหน้าที่ไปบ้าง

 

สำหรับพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ สมัยที่ท่านอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี ผู้รับสนองพระบรมราช โองการ นั้น ได้แฝงสิ่งที่น่าคิดอย่างสำคัญอันใดไว้ ก็น่าที่จะเข้าใจได้โดยง่าย ๆ ข้อที่น่าคิดยิ่งไปกว่าก็คือ เมื่อได้มองพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ทั้ง ๓ ฉบับ มาทราบเหตุผลทั้งสิ้นทั้งมวลตามที่ได้วิเคราะห์มาแล้ว อันแสดงให้เห็นว่าปัญหาที่แท้จริงของวงการปกครองคณะสงฆ์ มีเหตุมาอย่างไร แท้จริงเป็นเพราะอะไร เกิดขึ้นมาได้อย่างไรมิเพราะคนสร้างขึ้นมากันเองหรอกหรือ นั้น เป็นเรื่องที่น่าประหลาดเศร้าใจ และน่าตื่นเต้นพิศวง เพราะพระราชบัญญัติเหล่านี้ แท้จริงกลับมี       อุปมาดั่งว่าเป็น เครื่องมือแห่งความเขลา เสมือนมีผู้คิดสร้างเกมส์กีฬาขึ้นมาชนิดหนึ่ง สำหรับให้ พระสงฆ์เล่นกัน และพระสงฆ์ก็เข้ามาเล่นเกมส์อันนี้กันอย่างอุตลุตไปหมด อย่างไม่ ลืมหูลืมตาดู (เกมส์วิ่งแข่งไปตามขั้นวิ่งแห่งตำแหน่งและยศถาบรรดาศักดิ์ ที่วิ่งกันไม่มีหยุด ตั้งแต่หนุ่มจนเฒ่าชราก็ยังไม่ยอมหยุด) มาจนกระทั่งบัดนี้ แต่เกมส์ชนิดนี้ ผู้ใดสามารถดูรู้วิถีเกมส์ชนิดนี้ออก เขาก็คงอดที่จะเผลอเอามือลูบศีรษะตนเองไม่ได้

 

ฉะนั้น นานไป ระบบนี้ก็จะต้องสร้างความเสื่อมทรามให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นไปอยู่ดี จนในที่สุด ก็จะต้องมีกระแสเรียกร้องให้มีการปฏิรูประบบหรือเลิกเกมส์ชนิดนี้ขึ้นจนได้     อันจะเป็นไปเองตามเหตุปัจจัยดังกล่าวมา เพราะมิฉะนั้นแล้ว พระสงฆ์ก็จะไม่เป็นอันทำงานทำการ อันเป็นภาระหน้าที่แห่งการพระพุทธศาสนาในส่วนรวมเพราะระบบเจ้าขุนมูลนายนี้ มีธรรมดาที่ผลักดันให้คนในระบบเห็นแก่ตัว และต่างก็มุ่งทำ ประโยชน์ส่วนตัวกันเป็นที่ตั้งไปทุกหนทุกแห่ง นั่นคือเป็นวิถี แห่งระบบที่ไม่สอดคล้องทางแห่งมรรคผลนิพพาน ไม่เอื้อต่อทางมรรคผลนิพพานนั่นเอง จึงมีแต่จะ สร้างความเสื่อมลงไปในวงการพระพุทธศาสนา ตามลำดับๆ

 

จึงคงจะมีกระบวนการเพื่อพิจารณาหาทางแก้ไขระบบนี้เกิดขึ้นเองจนได้ในที่สุด ในขณะนี้ ก็เริ่มจะมีการวิเคราะห์ และได้มีปรากฎการณ์ที่ค่อนข้างเป็นที่สังเกตกันบ้างแล้ว ในวงการศึกษา มีการจัดอบรมสิ่งที่เรียกว่า ถวายความรู้เกิดขึ้นบ่อยมาก และมีการจัดถวายความรู้ แด่พระหลายประเภทภาระหน้าที่ อันกระทำไปโดยทัศนะ หรือแนวความคิดอย่างระบบราชการ  ซึ่งก็จะเป็นการผิดพลาดก้าวใหม่ต่อไปอีกของความคิดราชการหรือความคิดฆราวาส ที่นำมาใช้อย่างไม่ถูกธรรมชาติ หรือแนวทิศทางแห่งนักบวช ต่อเมื่อมีการแก้ไข ให้ระบบการปกครองกลับทิศทางให้ถูกเท่านั้นเอง ปัญหาต่าง ๆ จึงจะพลอยถูกแก้ไขไปด้วยโดยไม่ยาก

 

ต่อจากนี้ หากลองมองดูการปกครองสงฆ์สมัยสุโขทัย อยุธยา เป็นการเปรียบ เทียบ จะเห็นว่า พระสมัยนั้น เป็นพระอยู่อย่างเต็มที่ เพราะเป็นสังคมที่ปิด มีรั้วรอบขอบชิด กษัตริย์เสมือนบิดา เมื่อไปวัดท่านก็อุ้มลูกจูงหลานไปเหมือนคนธรรมดานี่แหละ เมื่อไปถึงก็นั่งลง พาพุทธบริษัทสมาทานศีล ทำบุญทำทาน รับฟังพระธรรมเทศนาและสนทนาธรรมกับพระ ซึ่งในสมัยนั้น เป็นสมัยที่คนเกรงกลัวพระมาก(กลัวคุณธรรมของท่าน) เพราะพระเป็นถึงอรหันต์ บางองค์ไปสวรรค์นรกได้ สามารถเอาเรื่องราวในนรกสวรรค์มาบอก มาสอนให้คนเกรงกลัวได้อย่างชะงัด กษัตริย์เองก็เป็นพุทธมามกะที่เคร่งครัดมาก       ดังเช่น พญาลิไท ผู้ทรงนิพนธ์วรรณกรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่มีอิทธิพลต่อระะบบวัฒนธรรมพุทธไทยสืบมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ คือหนังสือไตรภูมิพระร่วง และที่ควรทราบก็คือทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ออกผนวชในบวรพุทธศาสนา เป็นตัวอย่างแด่อนุราชาต่อมา การกำหนดตำแหน่งทางการปกครองสงฆ์สมัยนั้น จึงเป็นแต่เพียงอัธยาศัย ไม่จริงจังเหมือนสมัยที่ใช้กฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรขณะนี้ และเจตนาทางการปกครองสมัยนั้น ทั้งสุโขทัยและอยุธยา

 

แท้จริงก็เป็นเจตนาฝ่ายกษัตริย์ มิใช่เจตนาฝ่ายสงฆ์ คือกษัตริย์มักคำนึง ถึงความมั่นคงของราชบัลลังก์ กระนั้นจะเห็นว่ามีสายการบังคับบัญชาแต่สั้น ๆ ไม่ เกิน ๔ ระดับ ซึ่งก็เป็นแต่เพียงรูปแบบดังกล่าว เพราะพระสงฆ์เองท่านก็ปกครองไปแบบธรรมชาติ ซึ่งแบบธรรมชาตินี้ เหมาะสำหรับคณะสงฆ์ที่เดินไปถูกทิศคือถูก มรรคผลนิพพาน เมื่อเดินไปถูกทิศ ถูกมรรคผลนิพพาน การปกครองก็เป็นไปเอง โดยธรรมชาติแห่งทางมรรคผลนิพพาน คืออาจจะไม่จำเป็นต้องมีการตั้งกฎเกณฑ์ใด ๆ พิเศษขึ้นมา และตั้งชื่อว่าเป็นกฎหมายหรือระเบียบการปกครองสงฆ์ฉบับนั้นฉบับนี้ อย่างที่เป็นระบบโลก ๆ ทุกวันนี้ หากแต่มรรคผลนิพพานนั้น จะกำหนดอยู่เอง ให้มีการจัดระเบียบอย่างไรโดยอัตโนมัติหรือค่อนข้างเป็นอัตโนมัติ และไม่จำเป็นต้อง เป็นลายลักษณ์อักษรอะไรออกมาเป็นมาตรา ๆ เหมือนกฎหมายไทยยุคใหม่ ซึ่งบางฉบับมีความยาวมาก หลายร้อยมาตรา จึงเรียกว่าการปกครองที่เป็นไปตามธรรมชาติ และลักษณะธรรมชาตินี้ จะยิ่งเห็นชัดเจนเมื่อพิจารณาย้อนหลังไปถึงสมัยพุทธกาล ดูตัวอย่างการประชุมมหาสันนิบาต (วันจาตุรงคสันนิบาต) ในวันเพ็ญเดือน ๓ หรือวันมาฆบูชา พระอรหันต์จำนวน ๑,๒๕๐ องค์มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย   ซึ่งความจริงท่านก็มีการนัดหมาย แต่ไม่เป็นการนัดหมายแบบที่คนธรรมดาหรือฆราวาสทำกันอยู่เป็นปกติ หากท่านมีวิจารญาณอันละเอียดที่ตรงกันโดยธรรมชาติ  รู้กาลอันควรไม่ควรอย่างไรด้วยสติปัญญาท่านเอง

 

 

ระบบสงฆ์ที่ถูกกำหนดโดยกฎหมาย ๓ ฉบับยุคร่วมศตวรรษมานี้ จึงเป็นข้อ กำหนดกฎเกณฑ์ ที่ไม่เอื้อต่อวิถีทางที่ถูกของสงฆ์ เป็นอันตราย โดยบ่อนทำลายวิถีทางแห่งมรรคผลนิพพาน กล่าวคือ ได้ค่อยทำให้สภาพแวดล้อมแห่งการประพฤติธรรมที่ถูกต้อง ที่เป็นการเอื้อต่อการบรรลุมรรคผลนิพพาน ค่อยลดหายคลายจากความอุดมสมบูรณ์ลงไปตามลำดับ เสมือนนานั้นค่อยจืดลงไปเพราะการใช้ปุ๋ยเคมีไม่ถูกต้อง จึงทำให้ผลิตผลการเกษตรลดน้อยถอยลงไปตามลำดับ เสมือนลดจำนวนผู้บรรลุมรรคผลนิพพานลงไปในสังคมพุทธ นั่นก็ทำให้สังคมค่อยลดความเย็นลงไปตามลำดับ สังคมจึงค่อยเพิ่มความร้อนขึ้นไป ๆ ตราบกระทั่งบัดนี้ พระสงฆ์ที่สำเร็จ แม้เพียงระดับ โสดาบัน ที่นับว่าเป็นเรื่องธรรมดาในสมัยพุทธกาล(และน่าจะเป็นธรรมดาสำหรับสมัยนี้) ก็ยังหายาก ระดับพระอรหันต์ก็ยิ่งมีน้อยจนหาทำยาหยอดตายากเหลือเกิน (ประโยคหลังท่านพุทธทาสภิกขุเป็นผู้พูด) จนกระทั่งทุกวันนี้ ในวงการสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่เอง ยังไม่ยอมพูดคุยกันเรื่องมรรคผลนิพพาน โดยหาว่าเป็นไปไม่ได้ (ท่านพูดกันแต่ เรื่อง ยศถาบรรดาศักดิ์ จะเสนอใคร จะฉลองกันเมื่อไร มีลาภผลอย่างไรบ้าง มี งานที่นั่นที่นี่ได้รับนิมนต์กับเขาบ้างไหม เขาถวายเท่าไรนะ ฯลฯ) อันแสดงว่า มีการยอมรับในตัวเองแล้วว่า

 

ระบบที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เป็นระบบที่ทำลายวิถีทางที่ถูกแห่ง มรรคผล และแสดงว่าท่านผู้ยอมรับเช่นนั้น ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะอยู่ในระบบสงฆ์ระดับผู้บริหารชั้นสูงต่อไป เพราะท่านจะบริหารงานคณะสงฆ์ไปอย่างขาดความเข้าอกเข้าใจในทิศทางแห่งมรรคผลนิพพาน อันจักก่อปัญหา ดังที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ จึงควรจะต้องรีบแก้ไขปรับปรุงปฏิรูประบบโดยด่วน และเมื่อทิศทางสงฆ์เดินไปถูกต้องแล้ว สิ่งที่เรียกว่ามรรคผลนิพพานก็จะค่อยปรากฎออกมาเอง เสมือนนาข้าวเมื่อได้ดินน้ำอุดมแล้วก็ค่อยเขียวขจีขึ้น ปราการแห่งมรรคผลซึ่งยังคงมีอยู่ มิทันได้สลายหักพังลงไปทั้งหมดทั้งสิ้น หากไม่ปรากฎแด่สายตาผู้มืดบอดทางสติปัญญา จะค่อยเปล่งปลั่งมีรัศมีขึ้นด้วยได้มีการจัดสภาพแวดล้อมที่อนุรักษ์ที่บำรุงได้ถูกลักษณะ

 

หากพุทธบริษัททั้งปวงได้มองเห็นเช่นนี้แล้ว ก็คงจะเรียกได้ว่าตาสว่างขึ้นและ คงจะเห็นปัญหาอย่างที่ข้าพเจ้าเห็น และคงจะนิ่งเฉยอยู่ไม่ได้อย่างแน่นอน และคงจะต้องเร่งคิดแก้ไขสถานการณ์อันเสื่อมทรามนี้โดยเร็ว

 

ก่อนที่จะเสนอร่าง พระราชบัญญัติการคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๕๔๐ จำเป็น จะต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาทั้งสิ้นทั้งมวลให้แล้วเสร็จเสียก่อน ในฉบับหน้า จะ พยายามนำเอา ปัญหาที่มีอยู่ทั้งหมดทั้งสิ้นในวงการพุทธศาสนา และวงการศาสนาสากล มาวิเคราะห์ เพื่อชี้ให้เห็นว่าเป็นปัญหาขึ้นมาได้อย่างไร และเสนอวิธีที่จะแก้ไขปัญญหานั้น ๆ โดยชัดเจน โดยจะลำดับไปเป็นข้อ ๆ จนครบถ้วน ไม่ว่าจะ ลำดับไปกี่ร้อยข้อก็ตาม ฯ

 

 

 

                        บรรณาธิการ

                                    มิ.ย. ๔๐

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 2.         เหตุที่ทำให้สมาธิญาณเสื่อม 6 ประการ

 

ผู้ปฏิบัติโยคีบุคคล สมาธิญาณเสื่อมเสียไปนั้นมีได้ด้วยเหตุ 6 ประการ

1.            กมฺมารามตา        ผู้ชอบทำงานต่าง ๆ มิได้ตั้งใจกำหนดรูป นาม สังขาร

2.            กสฺสารามตา        ผู้ชอบพูดคุย มิได้ตั้งใจกำหนดรูป นาม สังขาร

3.            นิทฺทารามตา        ผู้ชอบนอนพักผ่อน มิได้ตั้งใจกำหนดรูป นาม สังขาร

4.            สงฺฆติการามตา    ผู้ชอบประชุมสมาคมกัน มิได้ตั้งใจกำหนดรูป นามสังขาร

5.            โภชนาเนสุ อมตตญฺญตา    ผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร

6.            อินทริเยสุ อมตตทวารามตา             ผู้ไม่สำรวมระวังอินทรีย์ทั้ง 6 ตา หู จมูก                                                            ลิ้นกายใจ

 

จากนิทัศการ ในพิธีถวายปริญญาคุรุศาสตร์ บัณทิตกิตมศักดิ์

สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี แต่พระอาจารย์ถวิล สุญญธาตุ

ณ วัดเทพมงคล อ. เมือง จ. อำนาจเจริญ

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2540

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 3.           ( คอลัมน์ระดมความคิด )

               จดหมายถึงบรรณาธิการ

 

 

 

 

 

ถาม          หากมีการปฏิรูประบบสงฆ์ใหม่ ระบบสงฆ์ใหม่จะไม่เห็นความสำคัญของผู้มีอายุมากแล้วหรืออย่างไร ? จะเอาท่านผู้อาวุโสเดิมๆ นั้นไปไว้ตรงไหน ?

 

 

ตอบ         เรายังต้องมองคุณค่าของผู้อาวุโสอย่างสูงสุดเหมือนเดิมเพราะโดยสัจธรรมแล้ว ท่านเป็นผู้ที่ได้บำเพ็ญเพียรมามากตลอดชีวิต การจะให้ท่านเหล่านี้รับภาระอะไรจึงต้องเกี่ยวกับการจัดระบบงานใหม่ให้เหมาะสม การจะแบกขนภาระชนิดไหน ต้องให้เหมาะสมแก่วัยของท่าน และด้วยเหตุนี้ จึงต้องมีสภา2 สภาควบคู่กันไป หนึ่งสำหรับคนหนุ่มผู้จะทำหน้าที่บริหารงานทั้งปวงกับอีกหนึ่งสำหรับผู้อาวุโส ที่จะเป็นมันสมองสติปัญญาอันสูงสุดควบคุมสภาคนหนุ่มนั้น ท่านผู้อาวุโสจะอยู่ ในภาระงานศาสนาล้วน ๆ โดยบริสุทธิ์ มีอำนาจหน้าที่ว่ากล่าวตักเตือนได้ทุก ๆ กรณี บุคคลทำผิดทุกประการ ประดุจดังบิดามารดามีอำนาจดุจดัง สังฆบิดรจะเป็นสภาสงฆ์ อาวุโสที่เกษียณอายุแล้ว ที่มีอำนาจดุจดังอำนาจของสังฆบิดร คือบิดามารดาเลยทีเดียว ซึ่งแท้จริงก็เป็นระบบที่สงฆ์เราคุ้น ๆ กันอยู่แต่เดิมแล้ว หากแต่ปัจจุบัน ระบบเจ้าขุนมูลนายได้ทำให้เสียสมดุลไป

 

โดยระบบการแบ่งงานงานออกเป็นสองส่วนเช่นนี้แล้ว ผู้อาวุโสจึงแทบอยู่ในสถานะเดิมนั้นเอง มีเกียรติ์มีศักดิศรี เป็นที่เคารพเทิดทูนบูชาสมแก่วัยวุฒิคุณวุฒิทุกประการ หากแต่จักได้รับการปรนนิบัติเอาอกเอาใจใส่ยิ่งกว่าเดิมไปอีก ( เราจะกำหนดข้อความไว้ ในกฎหมายเช่นนี้เลย ) เพื่อให้ท่านเหล่านี้ ได้บำเพ็ญภาวนาไปในเนื้อธรรมล้วน ๆ อัน ค่อยเดินไปในวิถีทางแห่งความสงบระงับลงไปตามลำดับ ๆ ตราบเท่าลมปราณแห่งชีวิต หมดสิ้นลง หรือไปสู่อริยภูมิใด ก็แล้วแต่วาสนาบารมีของท่านท่ามกลางการแวดล้อมของสานุศิษย์มิตรสหายธรรม ที่เฝ้าปรนนิบัติอยู่อย่างเป็นภาระหน้าที่และเป็นการปฏิบัติธรรม อันอุกฤต เราถือว่าการปฏิบัติดี คือการ บำรุงดูแลผู้อาวุโสนั้น เป็นวัฒนธรรมสำคัญสูงสุดของชาวพุทธ ฆราวาสผู้ใฝ่ธรรมจะมีธรรมปฏิบัติดี คือการบำรุงบิดามารดาให้ความ อุปถัมภ์ผู้ชราภาพนี้ เป็นหลักปฏิบัติชั้นพื้นฐาน ไปสู่ทางมรรค ผลนิพาน ( สามารถบรรลุธรรมได้ด้วยการปฏิบัติบำรุงผู้อาวุโส บิดามารดา ) เพราะจะเป็นวิถีธรรมปฏิบัติตาม หลัก ปฏิบัติงานคือการปฏิบัติธรรม การปฏิบัติธรรมอยู่ในการงาน ที่สมารถนำไปสู่มรรค ผลนิพพานได้ไม่น้อยไปกว่าการปฏิบัติแบบใดอื่นเลย ส่วนงานบริหาร การปกครองซึ่งจะจัดระบบให้เป็นภาระของคนหนุ่มนั้น เท่ากับเป็นงานแบกขน งานออกกำลังกาย ถีอเป็น งานลักษณะรอง งานที่มีค่าและมีความหมายน้อยมาก และ จะเป็นระบบที่ไม่ควรแก่การสรรเสริญ ไม่ควรแก่รางวัลอันมาก ไม่ควรแก่รางวัลอันประเสริฐ แต่จะมีลักษณะเพียงดังว่างานของนักโทษ ผู้ต้องทำเพื่อชดใช้ความผิดของตน และตน ปรารถนาอยู่ตลอดเวลาที่จะ พ้นไปเสีย และจะมีวาระการอยู่ในตำแหน่ง ไม่ใช่เป็นตำแหน่งตลอดชีพ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 ถาม         เมื่อไม่มีระบบยศพระ กลายเป็นพระธรรมดา เราจะนับลำดับกันอย่าไร

 

 

ตอบ         ถีอหลักอาวุโส ไล่มาแต่พระนวก มุตก เถร มหาเถร และหลักความรู้ความ สามารถ หลักเอตทัคคะ คือหลักความรู้ความสามารถเฉพาะอย่างที่เลิศกว่าผู้อื่นอันเป็น หลักที่พระพุทธองค์ทรงใช้มาแต่เดิมแล้ว เห็นได้จาก ทรงแต่งตั้งเอตทัคคะด้านต่าง ๆ ขึ้นมากมาย เช่นที่เรารู้จักกันดี ก็คือพระสารีบุตร เป็นเอตทัคคะด้านสติปัญญาดีมาก

พระมหากัสสปะ เป็นเอตทัคคะด้านทรงธุดงค์มาก พระโมคคัลลานะ เป็นเอตทัคคะด้านมีฤทธิ์ มาก เราต้องจำแนก หรือวิเคราะห์งานออกมา แล้วกำหนดคนให้ถูกกับงาน ก็จะ ต้องตรงกับหลักสากลเขาที่ว่า rlght man ln rlght job นั้นแหละครับ พูดอีกที ก็จะต้องมีระบบการบริหารงานบุคคลขึ้นมาเสริมให้เหมาะสม แต่ต้องให้ถูกทิศทางของเรา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ถาม          ไม่อยากให้เป็นประชาธิปไตยเท่าที่เห็นฝ่ายบ้านเมืองเป็นอยู่ มีแต่จะล่มจม ไม่ เห็นมีการสร้างสรรค์อะไร วัน ๆ เอาแต่ถกเถียงกันอย่างหน้ามืดตามัวคนหนึ่งจะทำงานคน หนึ่งก็ค้านอยู่ตลอด ไม่เห็นดีอย่างไรมีแต่ความวุ่นวาย ให้เป็นแบบธรรมมาธิปไตยจึงจะ ถูกต้องตรงตามพระธรรมวินัยแท้ ๆ ๆ

 

 

ตอบ         ประชาธิปไตยไทย เป็นประชาธิปไตยที่อิงอยู่กับหลักการที่ดี ที่มีเหตุผลว่าหากปฏิบัติไปตามหลักการนั้นแล้ว ก็จะนำความเจริญมาสู่ประเทศชาติได้ หลักการที่ดีก็มี หลักการว่าด้วยอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ให้ประชาชนทั้งปวงมีสิทธิมีเสียงในการ ปกครองประเทศชาติ มีสิทธิมีเสียง ในการกำหนดบริการของรัฐ เพื่อให้สามารถเป็น ประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไป ไม่ตกออยู่กับคนหนึ่งคนใด หรือคณะบุคคลใด มีสิทธิมีเสียงในการวิจารณ์รัฐบาลหรือผู้ปกครอง เมื่อเห็นว่ารัฐบาลหรือผู้ปกครองทำหน้าที่ไม่ ถูกต้อง สิทธิของประชาชนดังกล่าวนี้จะสามารถเป็นผลให้เราได้ผู้ปกครองที่ดี ที่มีความตั้งใจทำงานเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมมากยิ่งขึ้น ไม่สามารถจะโกงบ้านเมืองได้ เหมือนการปกครองแบบเผด็จการหรือเจ้าขุนมูลนายสมัยก่อน เพราะสมัยนั้นประชาชน เป็นทาส ไม่มีอำนาจในการเรียกร้องบริการจากผู้ปกครอง ไม่มีอำนาจในการตรวจสอบ ที่สำคัญหลักประชาธิปไตยเป็นหลักการปกครองที่ต้องให้ประชาชนทั้งปวง ช่วยกันออก หัวคิดสติปัญญาแก้ปัญหาต่าง ๆ ร่วมกัน เมื่อมีปัญหา หรืองานใหญ่ขึ้น ประชาชนใน ระบอบนี้ต้องออกมาช่วยกันระดมความคิด ช่วยกันทางสติปัญญา ช่วยกันทำงาน ช่วยกันเอาภาระของสังคมประเทศชาติกันอย่างเต็มที่ทุก ๆ คน จึงเรียกว่าเป็นการปกครองของประชาชนโดยประชาชน และเพื่อประชาชน

 

ฉะนั้น ประชาธิปไตยจึงมีหลักการทีดีมี เหตุผล แต่ขณะนี้ เรามีปัญหาในทางปฏิบัติ ปัญหาทางวัฒนธรรม คือระบบความคิดอ่าน ของประชาชนไทยยังคงเป็นแบบเดิม ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นความคิดอ่านในระบบ เจ้าขุนมูลนายอยู่ ราชการก็บริหารแบบเดิม ประชาชนก็ยังไม่เข้าใจสิทธิและหน้าที่ตาม แนวความคิดใหม่ เช่นมี ประชาชนจำพวกหนึ่งก็เข้าใจประชาธิปไตยเกินเลยไป จนใช้ ประชาธิปไตย หรือสิทธิของตนเกินขอบเขต และเข้าใจผิดว่า การกระทำตามความอยากหรือตามใจ ตามกิเลศของตน เป็นวิถีทางอันถูกต้องของตน เป็นวิถีทางอันถูกต้องของการใช้สิทธิตามระบอบประชาธิปไตย ฉะนั้นจึงสับสนไปหมด นักการเมืองก็ไม่รู้ประมาณ หลงผิด ไม่รู้สัจธรรมแห่งชีวิต แห่งโลก ไม่เอาธรรมมาใช้ในการงานระดับชาติ เช่นฝ่ายค้านที่มองสังคมผิด โดยมองสังคมนี้ว่าเป็นสังคมพระโสดาบันจะต้องตรวจสอบเสียให้สะอาด สะอ้าน บริสุทธิ ไร้มลทินทุกอย่างให้ได้ ก็เลยเห็นอะไร แม้เล็ก ๆ น้อย ๆ แม้ผิดพลาดไปบ้างตามวิสัยปุถุชน ก็เอามากล่าวมาพูด มาโจมตี ไปหมด ในทีท่าหวังดีหวังให้สำเร็จเป็นโสดาบันให้ได้ จึงเป็นเรื่องของความเขลา ความไม่รู้สัจธรรมแห่งชีวิต ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะความจริงเราเป็นสังคมคนมีกิเลสตามหลัก ปุถุชนย่อมพร่องอยู่เป็นนิจ จึงต้องรู้ประมาณ ( หลักธรรมที่ว่าด้วยมัตฺตัญญุตาในสัปปุริสธรรม 7 )

 

หากจะหาเหตุมา กล่าวมาติฉินนินทา โดยไม่รู้ประมาณแล้ว ย่อมทำสังคมวุ่นวายสับสนได้อย่างไม่มีขีดจำกัด จึงเป็นปัญหาการไม่รู้ประมาณไม่รู้เหตุและผล เอากิเลสของตนเป็นหลัก ไม่เข้าใจเรื่องสิทธิ เข้าใจผิดเรื่องสิทธิ โดยเห็นว่ากิเลสของตนนั้นคือสิทธิ นี่เรียกว่ารู้ธรรมไม่พอ บ้าน เมืองก็อยู่ไม่ได้เป็นเหตุเพราะคนเขลา ความเขลา ประชาธิปไตยที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ จึง เป็นประชาธิปไตยที่ยังไม่ถูกหลักการ นักการเมืองก็ยังทำไม่ถูก เพราะไม่รู้ธรรมะ ไม่เอาธรรมะมาใช้ในการบริหารการปกครอง หากทำถูกหลักการประชาธิปไตยก็จะสร้างชาติสร้างสังคมได้มหาศาล และเมื่อทำถูก ทำได้ตามหลักการ นั่นแหละเรียกว่าธรรมาธิปไตย เพราะการปกครองไม่ว่ารูปแบบใด ๆ จำเป็นต้องมีธรรมะกำกับอยู่เสมอ การปกครอง แบบใดก็ตาม หากเอาธรรมะหรือเป็นไปในทางธรรมะ ธรรมาธิปไตย ก็หวังความสุขสงบความเจริญก้าวหน้าได้ หากเอาตามใจตนเป็นใหญ่ ( อัตตาธิปไตย ) ก็หวังความปั่นป่วน วุ่นวาย

 

อย่างขณะนี้ มีลักษณะเป็นอัตตาธิปไตยเป็นอย่างยิ่ง จนทำให้หลักการของ ประชาธิปไตยไม่เป็นผล จึงดูสับสนไปหมดอย่างที่คุณว่าและนี่นำไปสู่แง่คิดว่า จริง ๆแล้วผู้นำทางการเมืองการปกครองไทย มีความรู้ทางธรรม เพียงพอที่จะปกครองประเทศพุทธศาสนาได้หรือไม่ เมื่อไม่มีหลักธรรมะก็คอยแต่เหลียวดูประเทศนั้นประเทศนี้ ว่า เขาทำอย่างไร คอยจะเดินตามก้น ไม่คำนึงระบบวัฒนธรรมของชาติว่าเป็นอย่างไร เห็นเขาเอา นายกรัฐมนตรีเข้าคุก ก็จะเอาเข้าบ้าง อย่างไม่มีเหตุผลเฉพาะของเขาของเราว่าอย่างไร นี่แหละ ปัญหาประเทศพระพุทธศาสนา ที่มีนักการเมืองไม่รู้ธรรมะทางพระพุทธศาสนา มากพอ จึงมีคำถามขึ้นบัดนี้ว่า ทำไมเราไม่กำหนดลงไปในรัฐธรรมนูญว่า นายยกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี หรือ แม้ ส.ส. ควรมีคุณสมบัติทางธรรมด้วย เช่นต้องได้ นักธรรมเอก หรือหากต่างศาสนา ก็ได้เช่นระดับท่านประธานรัฐสภา ท่าน วัน มูหะมัด นอร์ มะทา เป็นต้น ( ขออภัย ที่เอยอ้างชื่อพอให้เป็นตัวอย่าง )

 

คำว่าธรรมาธิปไตย อัตตาธิปไตย ในพระคัมภีร์นั้น ไม่มีรูปแบบท่านเพียงหมาย ความว่าให้ปกครองโดยธรรม อย่าปกครองโดยความเห็นแก่ตัว นั่นเองเป็นสาระหลัก ฉะนั้น ในทุกรูปแบบการปกครองในโลกนี้ แบบใดมีธรรมาธิปไตย หรือธรรมเข้าไปกำกับ อยู่มาก ก็เป็นผลให้บังเกิดสิ่งดี แม้ในการปกครองของจีน ที่เป็นคอมมิวนิสต์ หากเป็นธรรม ก็ย่อมดำเนินไปได้ดี ในทางตรงกันข้าม การปกครองที่ถือว่าทันสมัยใดก็ตาม เช่น ระบอบอิสราเอล หรือญี่ปุ่น อเมริกา หรือแม้ประเทศไทยเองนี้ หากเป็นการปกครองที่ เห็นแก่ตัว (มีอัตตาตัวตนสูง ) ก็สามารถถล่มทำลายทำประโยชน์ของประชาชนเสียหายได้และเราพึงมองดูให้ชัดโดยธรรมะทางการปกครอง ว่าประเทศไทยเราชั่วเวลาที่ผ่านมาในระยะ 64 ปีที่ผ่านมาเป็นการปกครองที่มีธรรมแบบไหน เป็นธรรมาธิปไตย

หรืออัตตาธิปไตยกันแน่

 

 

ธรรมาธิปไตย จึงเป็นระบบคุณธรรม หรือนามธรรม ไม่ใช่ รูปธรรม หากเราคิดจะจัดระบบธรรมาธิปไตยมา ปกครองก็จะสบปัญหาเช่นเดียวกันกับคิดจะจัดทำระบบธัมมิกสังคมนิยมนั่นแหละจึงพึงเข้าใจให้ถูกต้องว่า แท้จริงท่านหมายถึง ธรรมอย่างไรที่จะก่อความดีหรือความเสียหายอย่างไร ในระบอบการปกครองของโลก ไม่ว่าระบอบใดใดก็ตาม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ถาม          รู้สึกสับสนกับการพิจารณาหรือแนวคิดของคนหลายฝ่ายในประเด็นข้อเสนอในพระพุทธศาสนาประจำชาติไทย

 

ตอบ         ทั้งหมดที่เห็นความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับประเด็นพระพุทธศาสนานี้ บอกให้รู้ ลักษณะพื้นฐานวัฒนธรรมไทย ที่มีลักษณะลึกซึ้ง ไร้รูปแบบ แต่มีความมั่นใจและมั่นคงอยู่ในรูปแบบที่ไร้ร่องรอยนั้น ฝ่ายที่เห็นด้วยก็แสดงวัฒนธรรมอันนี้ด้วย แม้ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยก็แสดงวัฒนธรรมนี้ด้วยเช่นเดียวกัน สรุปแล้วทั้งหมดที่เห็นเป็นเรื่องที่แสดงออกอย่างชอบ ธรรมแล้ว โดยพื้นฐานวัฒนธรรมพุทธ ที่ยากสุดหยั่งสำหรับคนบางคนหรือคนต่างศาสนา เพราะแสดงถึงระดับแห่งความนึกคิด หรือภูมิปัญญาพุทธที่แตกต่างกันเป็นชั้น ๆ เป็น ระดับนั่นเอง หากแต่ทุกระดับมีลักษณะเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือความไร้ร่องรอยทาง รูปธรรมอันชัดเจน หากแต่มีความมั่นคงมั่นใจทางนามธรรมอย่างสูง ซึ่งนี่อาจเป็นจุดที่ อ่อนแออยู่บ้าง

 

 

แต่ที่นี่สนับสนุนให้ลงไปเลยว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ไทยนั้น แท้จริงเพื่อประเทศไทยได้มีเกียรติยศยิ่งใหญ่ในแผ่นดินโลกนี้เท่านั้นเอง เกียรติยศในฐานประเทศ ที่ได้เทิดทูนศาสนาแห่งอริยสัจธรรมสูงสุด อันเลิศประเสริฐ ในโลกนี้ พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่าการได้เกิดเป็นมนุษย์นั้นเป็นของยากและการเกิดมาเป็น มนุษย์แล้วได้พบพระพุทธศาสนาอีกนั้น ยิ่งยากขึ้นไปอีก การได้รู้ธรรมและบรรลุชั้นสูงสุดคือเป็นพระอรหันต์นั้นยิ่งยากที่สุด นี่คือเหตุผลที่ว่า เพื่อประเทศไทยได้มีเกียรติยศยิ่งใหญ่ในแผ่นดินโลก อันบอกว่าประเทศไทยมีสายตาดี รู้อะไรที่มีคุณค่ารู้อะไรควรเทิดทูนยก ย่องและสรรเสริญ เพื่อตนเองประเทศตนเองจะได้มีสง่าราศรีไปด้วย

 

นอกจากนี้ยังจะบอกว่า เป็นประเทศที่มีความเป็นตัวของตัวเอง มีสติปัญญาตัวเองสมกับเป็นประเทศที่นับถือ ศาสนาแห่ง ผู้รู้ ไม่ใช่คอยแต่เหลียวดูประเทศอื่น คอยจะตามก้นไม่เคยคิดจะเดินนำผู้ใดเขาเลยในชีวิตอันเป็นสิ่งบ่งบอกให้รู้ภูมิปัญญาทางธรรมะทั้ง ๆ ที่อยู่ใกล้ ๆ หลักธรรมอัน ประเสริฐสุด แต่หาได้รู้รสพระธรรมอันประเสริฐไม่ อุปมาเหมือนทัพพีไม่รู้รสแกงใกล้เกลือกินด่างนั้นเอง อีกอย่างหนึ่งจริง ๆ แล้วศาสนาอื่นเขาก็ไม่หวงห้ามอะไรเลยยิ่งชาวคริสต์ยิ่งไม่ห้าม เพราะชาวคริสต์ เขาก็เป็นชาวคริสต์ไทยมีแต่เขาเป็นห่วงอยากให้กำหนดไปจะได้ เอาตัวรอด ชาวมุสลิม ยิ่งไม่มีปัญหา ก็เท่านี้เอง ที่คิดมากไปเพราะความเขลาหรือเปล่า ?

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ถาม          ลองวิเคราะห์ปัญหาเศรษฐกิจระยะนี้ดู

 

 

ตอบ         เศรษฐกิจคือ อาหารการกิน เครื่องดื่มเครื่องบริโภคมี ปัจจัยยังชีพหลัก ๆ ทั้งหลายที่เราเรียกว่าปัจจัย 4 นั่นเอง เดี๋ยวนี้มันมีน้อยเกินไปกว่าเดิม และเห็นหรือไม่เล่า ว่าสัจธรรมทางเศรษฐกิจก็คือ มนุษย์จะต้องแย่งกันกินแย่งกันอยู่ยิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ จะนำไปสู่ การสงครามแย่งที่อยู่ที่กินกันยิ่งขึ้นในวันหน้า ขณะนี้ก็ได้ข่าวจากประเทศเพื่อนบ้าน หลายประเทศ อย่างประเทศเกลาหลีเห็นออกข่าวโทรทัศน์ ว่ามีการขาดแคลนอดหยากขึ้นแล้วทั่วประเทศจนรัฐบาล ต้องจัดทำอาหารพิเศษ และต้องแบ่งอาหารการกินกันขึ้นมา เขาก็อยู่ใกล้ ๆ เรานี้เอง แต่เขาเป็นไปขนาดหนักจะเท่าประเทศ รวันดา หรือ ซาร์อีในอาฟริกาแล้ว เราต้องมองกรอบใหญ่ทั่วโลก ว่าจะเป็นไปอย่างนี้ตามลำดับ ตราบ กระทั่งโลกพินาศลง ตามพุทธทำนาย (ใน พ.ศ. 5.000 เป็นอันสิ้นมนุษย์ในโลก )

 

ฉะนั้นอะไรที่จะเป็นไป นั่นก็เพราะมีความเป็นธรรมดาที่จะเป็นไป ขณะนี้พวกมนุษย์ทั้งปวงมา อยู่ในระยะแห่งความเป็นไปอันเป็นธรรมดาอยู่ในระดับนี้จึงเป็นไปอย่างนี้ ได้เผชิญทุกข์กัน อย่างนี้ การที่ ฯพณฯ นายอำนวย วีรวรรณ รองนายยกรัฐมลตรีและรัฐมลตรีว่าการ กระทรวงการคลังชี้ข้อเท็จจริงว่ามีภัยเศษฐกิจจากภายนอกประเทศ มีขบวนการหากินระดับอินเตอแนชั่นแนล พยายามทุบค่าเงินบาทพยายามปั่นข่าวให้วงการหุ้นไทยปั่นป่วน นั่นก็เนื่องมาจากพวกเขาทำมาหากินกันแบบนั้นพวกเขาหาไม่พอได้ ไม่พอกินเหมือนเดิมจึงขยายงานใหม่ ๆ ใหญ่ ๆ ออกไป เชื่อได้เลยว่ามีขบวนการอย่างนั้นอยู่จริง ท่านอำนวยไม่ได้โกหกหรอก เพราะความจริงในกรอบใหญ่ก็คือ ทุกวันนี้ คนทุกวงการต่างพยายามหาทำมาหากินกันด้วยวิธีการต่าง ๆ ไม่เลือกวิธีการ ก็เนื่องมาจากอาหารการกินเข้าของ ใช้ของบริโภค มีจำนวนน้อยลงไป ๆ ดังกล่าวมานั้นเอง ทำไมอาหารการกินของใช้ของ บริโภคต้องลดน้อยไม่พอกินลงไป ทำไม ?

ลองใช้หัวแม่เท้าคิดดูเอาเองเถิด

 

และยอมรับเสียทีเถิด ว่า โลกย่อมเป็นไปในทางเสื่อมขาดแคลนลงไปตามลำดับเช่นนี้จึงไม่ควรแสดงความเฉลียวฉลาดเกินความจริงว่าตนเองจะสามารถแก้ปัญหาได้ ผู้อยู่นอก

 

เวทีก็ไม่น่าจะแสดงอาการอะไรที่ไม่พอใจขนาดต้องชี้นั้นชี่นี้ ควรเข้าใจสัจธรรมว่าด้วย การเศษฐกิจโลก ว่าทางที่ถูกคือต้องร่วมมือกัน เพราะปัญหานี้ใหญ่อย่างที่รายการ money talk ว่าเป็น natlonal crisis นั่น ไม่ควรพูดอะไรอันจะทำลายความเชื่อมั่น ของชาติ จริง ๆ ก็คือ ไม่ควรอวดนอกเวทีให้มากมนัก ดู รู้ ธรรมะบ้าง เพราะวิกฤตการณ์ชนิดที่ไม่มีทางออกเช่นนี้ นั่นแหละพระธรรมหรือพระเจ้าจักบังเกิดขึ้น หรือ มิฉะนั้นก็ อธรรมกับซาตาน จักบังเกิดขึ้นมาแทน เราจะเอาอะไร หากไม่ระลึกธรรมะ ไม่ เอาธรรมะมาช่วยแก้ไขปัญหา แล้วอีกหน่อยหากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจทรุดลงไป ๆใคร ๆ ก็ช่วยไม่ได้แล้ว มี crisis เกิดขึ้นมีซาตานเกิดขึ้นใครก็แก้ไม่ได้ จะทำอย่างไร แต่เรื่องนี้ พระสงฆ์จะต้องช่วยกันคิด เพราะในที่สุด อาจจะต้องเป็นภาระหน้าที่พระสงฆ์ทั้งประเทศ ระวังเตรียมเดินทางไกล ก็ขอวิเคราะห์ให้ฟังดังนี้แหละ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ถาม          วิเคราะห์หนังสือพิมพ์สักหน่อยซิ ทำไมจึงมีแต่ข่าวปั่นหัวคนอยู่ทุกวัน ๆ 

 

ตอบ         ก็เนื่องจากปัญหา ทำมาหาเลี้ยงชีพเหมือนกันนี้แหละ หนังสือพิมพ์เขาก็ต้องทำมาหาเลี้ยงชีพเหมือนกัน เขาเอาข่าวมาขาย ข่าวที่จะขายได้ดีก็ต้องเป็นข่าวร้าย ๆ ที่มัน ต้องกระเทือนเลื่อนลั่นไปในวงการต่าง ๆ นี่คือหลักการขายของหนังสือพิมพ์และวงการนี้ เขาก็มีการศึกษาหาข้อสรุปไว้หมดแล้ว ว่าข่าวที่จะขายได้ต้องมีลักษณะอย่างไร ๆ บ้าง ส่วนใหญ่ก็จะเป็นข่าวร้าย ๆ ข่าวที่มีแรงสั่นสะเทือน ข่าวเลือดข่าวเหล็ก ถ้าเอาข่าวดี ๆมาขายก็ขายไม่ออกเพราะธรรมชาติมนุษย์เป็นธรรมชาติที่กลัวอันตราย จึงระวังแต่เรื่องร้าย ๆ ชอบอ่านข่าวร้าย ๆ หนังสือพิมพ์ก็เหมือนพ่อค้าแม่ค้ารู้จักจัดหาของที่ถูกความต้องการของตลาดนั่นเอง

 

แต่ของที่หนังสือพิมพ์จะขายได้เป็นหลักธรรมดาของอาชีพนี้ ก็ต้องเป็นข่าวหรือเรื่องร้าย ๆ เคยมีคนพูดยกย่องว่าหนังสือพิมพ์เป็นการทำมาหาเลี้ยงชีพที่มีเกียรติกว่าอาชีพอื่น จนเรียกว่าเป็น เอสเตทที่ 4 ในอังกฤษ ในไทยก็พลอยได้รับยกย่องตามเขาไปด้วยว่าเป็น ฐานันดรที่ 4 นั่นแหละ แต่จริงแล้วทุก ๆ อาชีพที่สุจริตล้วนมีเกียรติ์เสมอเหมือนกันหมด แท้จริงอาชีพเกษตรกรรมก็มีเกียรติ์สูงสุดมาก เพราะอาชีพชนิดนี้เป็นธรรมชาติที่ค่อนข้างบริสุทธิ์ และเอื้อต่อธรรมะในพระพุทธศาสนามาก

 

ขณะนี้ทุกอาชีพต่างก็เดือดร้อนขึ้น เพราะปัญหาในกรอบใหญ่ทางเศรษฐกิจโลก หนังสือพิมพ์ดูจะเริ่มเขวออกไปนอกคุณธรรมมากขึ้นเหมือนกัน และเราก็ตามไม่ค่อยทันเขาต้องคอยระวังตัวแจว่าในบทความ หรือข้อเขียนข้อวิจารณ์ของเขา จะมียาพิษแฝงอยู่หรือไม่เนื่องจากเท็คโนโลยี่ คือความรู้ความสามารถของคนทำหนังสือพิมพ์ก็ก้าวหน้าสูงตามไปด้วย ลักษณะการใช้เทคนิกในการทำข่าวขายก็ก้าวหน้าไปอีกหลายขั้น ที่เห็นชัดเจน และที่ควรรู้ก็คือ กลายเป็นอุตสาหกรรมข่าวขึ้นมา และตรงนี้แหละที่ก่อให้เกิด ปัญหาขึ้นมามาก ๆ อยู่ในขณะนี้ เพราะหนังสือพิมพ์พยายามแปรข่าว ไปเป็นสินค้าอุสาหกรรมไปหลายรูปแบบเหลือเกิน

 

บางทีข่าวเพียงชิ้นเล็ก ๆ แทบไม่มีความหมายหรือมีความหมายน้อย หนังสือพิมพ์ก็สามารถเอาไปแปรเป็นอุตสาหกรรมชิ้นใหญ่ ออกมา ขายได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือสามารถเอาข่าวไปขยายความหรือวิพากษ์วิจารณ์ไปต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบขึ้น และรูปแบบที่ทำไปก็ต้องให้เป็นเรื่องร้าย ๆ ต้องให้เกิดพลัง กระทบกระเทือนต่อความรู้สึกนึกคิดของผู้อ่านให้ได้นั่นเอง เมื่อเป็นกระแสขึ้นเขาก็ยิ่ง ขายได้เยอะขึ้น นี่แหละเป็นวิธีที่พวกหนังสือพิมพ์เขาทำมาหากินของเขา ไม่ได้ตั้งอยู่บน หลักการอะไรพิเศษมาก อย่างที่เรายกย่องให้เกียรติ์ นี่ก็ว่าไปตามสภาพที่เป็นอยู่ในขณะนี้และเนื่องจากมีเป้าหมายเพื่อหาเงิน โดยไม่คำนึงถึงผลที่ไปกระทบส่วนรวมอย่างใด

 

จึงเห็นได้ชัดเจนว่า หนังสือพิมพ์ได้กลายเป็นตัวปัญหาที่สร้างความปั่นป่วนให้สังคมได้ ไม่น้อยไปกว่าอาชีพอื่นที่ใช้ปาก หรือปากกาเป็นอาวุธเลย เมื่อเขาเอาข่าวไปแปรรูปจนเกินไปโดยย้อมสีเข้าไป ขยายเรื่องให้น่าตื่นเต้น ให้คนวิตก เกิดความไม่แน่ใจ ไม่ไว้วางใจใน สถานการณ์ แล้วคนก็จะได้ติดตามอ่านข่าว ตามซื้อสินค้าของเขา ๆ ขนาดเรื่องราวที่มีความอ่อนไหวมาก ๆ หนังสือพิมพ์ก็มิได้มีความระมัดระวังมิได้ยับยั้ง ทุกวันนี้เขาสามารถทำตามใจได้ทุกอย่างโดยมีข้ออ้างชัดมากคือ สิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ จึงทำให้เขา สามารถทำออกมาในหน้าหนังสือพิมพ์พวกเขาได้ อย่างที่ไม่น่าเชื่อว่าเขาจะสามารถ หรือมีสิทธิที่จะทำได้ขนาดนั้น ฉะนั้น โดยวิธีนี้เขาก็สามารถทำรายได้ไปเลี้ยงครอบครัวเลี้ยงลูกเลี้ยงเมีย หรือ เลี้ยงตัวเองต่อไปเป็นวงจรอาชีพของเขา

 

นี่ก็คือหลักของ หนังสือพิมพ์ทุกวันนี้

 

แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ วิธีทำมาหากิน วิธีทำอุตสาหกรรมข่าวใน แบบที่มุ่งแปรรูปข่าวให้ขายได้อย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงวิธีการอันเป็นธรรม หรือที่ถูกธรรมของหนังสือพิมพ์นั้น กำลังจะทำลายอาชีพหนังสือพิมพ์ไทยเอง น่าวิตกว่าต่อไปอาจถูกแย่งอาชีพไปเสีย จะกลายเป็นกลุ่มที่เดินขบวนไปปักหลักที่หน้าทำเนียบ แทนสมัชชาคนจนไปเพราะที่ทำอยู่ทุกวันนี้ เป็นผลต่อระบบประสาทของผู้อ่านมากขึ้น อ่านแล้วก็ปวดหัว ไปตาม ๆ กัน เพราะวิธีการเสนอข่าว วิธีการแปรรูปข่าว ไปเป็นอุตสาหกรรมข่าวใน หนังสื่อพิมพ์ทั้งฉบับนั้น ได้ใช้ความพยายามอย่างยิ่งที่จะสร้างภาพของความขัดแย้งใน วงการเมือง สังคม และเศรษฐกิจของชาติ ให้ประจักษ์ในสายตาประชามหาชน ด้วย เทคนิคที่กลมกลืนระหว่างข้อเท็จจริง ( FACT ) อันเล็กน้อย กับความโกหกหลอกลวงเป็นอันมาก ทำให้คนอ่านตื่นและพลอยกังวลกับสถานการณ์ที่พวกเขาวาดขึ้นอย่างมีศิลป์นั้น พวกเขาพยายามอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดความรู้สึกว่าชาติ สังคม ชีวิตของประชาชนทั่วไป กำลังอยู่ระหว่างภัยอันตรายอันยิ่งใหญ่ นี่คือ วิธีการ หรือความพยายามที่จะขายสินค้า ของพวกเขาโดยไม่ชอบธรรม และแม้จะเกินความเป็นจริงไปมาก ๆ คนก็มิทันได้สังเกต  

 

นอกจากวิธีการนี้ก็คือ การทำข่าวทำบทวิจารณ์ ทำข้อความคำพูดให้มันสะใจคนทุกรูป แบบ โดยไม่คำนึงว่าจะไปก่อความละเมิดสิทธิคนอื่นใดหรือไม่ บางกรณี การกล้าละเมิด สิทธิคนบางคน กลับเป็นวิธีที่ทำให้ขายได้ดีอีกวิธีหนึ่งด้วยซ้ำ นั่นแหละเขารู้กาละเทศดี ว่าจะใช้ศาสตร์และศิลป์ในทางฉลาดแกมโกงนี้ได้เมื่อไร และอย่างไร เพื่อสร้างภาพความกล้าหาญของตนไปอย่างสุด ๆ ใช้ถ้อยคำมันสะใจอย่างยิ่ง คนก็ตื่นและสะใจ ก็ซื้อไปอ่านเพื่อสนองตัณหาตัวเอง แต่แล้ววันหนึ่งคนอ่านก็เริ่มจะปวดขมอง เพราะความสับสน ในเนื้อหา สับสนระหว่างพาดหัวข่าวกับเนื้อข่าว สับสนระหว่างรายงานข่าวกับความคิด เห็น ที่พวกเขาวาดระบายสีไปในเนื้อข่าวนั้น เพราะในหนังสือพิมพ์ฉบับเดียวกันนั้น แม้ ในปัญหาเดียวกัน นักวิจารณ์ก็มองไปคนละทิศละทาง แต่นั่นแหละเป็นวิธีการหากินของพวกเขาอีกวิธีหนึ่งละ

 

คือการจะเสนอบทความที่ขัดแย้งกันอย่างมากจนเป็นธรรมดา เพื่อ ขายให้ลูกค้าของตน ๆ ไปนั้น ก็เป็นเท็คนิกทางการขายอย่างหนึ่งของพวกเขาด้วยเหตุที่หนังสือพิมพ์ไทยแข่งขันกัน โดยไม่คำนึงความชอบธรรมเช่นนี้แล้ว วันหนึ่ง คุณก็จะได้พบว่าเมื่อคุณไม่ได้อ่านหนังสือพิมพ์บางฉบับ คุณจะรู้สึกว่าคุณสุขภาพจิตดีขึ้นเยอะเลย ผมเองได้พบกับตัวเอง แต่ผมก็ไม่ได้มีความรู้สึกอะไรเป็นพิเศษ

 

จนกระทั้งผมได้พบหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของโลกฉบับหนึ่ง เขาเบนเข็มมาทำภาษาไทยออกจำหน่ายและมีระบบการจัดการขายอย่างเหนือชั้นมาก ที่สำคัญคืออ่านแล้วปลอดโปรงไม่ปวดหัว และได้รู้สึกขึ้นมาอย่างจริงจังว่า เขาเสนอข่าวสารที่ตรงไปตรงมา เชื่อถือได้ การวิพากษ์วิจารณ์ของ เขามีเหตุผลและใช้เหตุและผล และเขาได้แสดงออกว่า ต้องใช้ความพยายามอย่างมากใน การที่จะหาเอาเหตุและผลมาสนันสนุนแนวทางวิจารณ์ หรือข้อเสนอแนะของเขาให้ได้  ให้เพียงพอ

 

นี่เองทำให้ผมรู้สึกว่าเขาได้ใช้หลักวิชาการหนังสือพิมพ์ ที่ถูกต้องและด้วยหลักวิชาการที่ถูกต้องนั้น เขาจึงใช้เป็นฐานการวิเคราะห์ตลาด และเขาก็คงพบอย่างที่ผมพบนี้ คือพบว่าหนังสือพิมพ์ไทยกำลังทำไปอย่างไม่ถูกหลักการหนังสือพิมพ์ที่ดี คนอ่านจะต้องปวดหัวและเบื่อหน่ายในวันหนึ่งเพราะผลที่คนอ่านจะประสบไปตาม ๆ กันคืออ่านแล้ว รบกวนประสาททำให้ปวดหัว เสียสุขภาพจิตไปทุกวัน ๆ ชีวิตก็ไม่เป็นสุข เพราะ หนังสือพิมพ์ คอยแต่สร้างภาพหลอนให้ตลอดเวลา เขาก็มองเห็นลู่ทางที่จะมาทำหนังสือไทยให้ดีกว่าคนไทยทำอยู่ และเริ่มทำขึ้นมาเมื่อเร็วๆนี้เอง 

 

หนังสือพิมพ์ยักษ์ฉบับภาษาไทยรายคาบที่ต่างชาติทำขึ้นนี้แหละ ทำให้ผมเกิดความรู้สึกขึ้นมาจริง ๆว่าสักวันหนึ่งคนหนังสือพิมพ์ไทยที่ทำอยู่ทุกวันนี้จะตกงาน จะเสียงานให้แก่คนต่างชาติไปอีกรายการหนึ่ง และอาจเป็นไปได้ที่วันหนึ่ง คนกลุ่มนี้จะต้องมาปักหลักชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาลเรียกร้องสิทธิที่จะให้รัฐบาลช่วยเหลือในด้านการงานอาชีพต่อไปแทนสมัชชาคนจนอีสาน ไม่มีอะไรจะวิเคราะห์ให้ได้ถูกตรงไปกว่านี้ เมื่อมองหนังสือพิมพ์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้เมืองไทย จึงเป็น เมืองที่เริ่มจะตกไปสู่หายนะอันเลวร้ายลงไปทุกขณะ เพราะอิทธิพลของหนังสือพิมพ์ หากไม่สามารถทำให้คนพูดหรือคนเขียนให้ถูกธรรมะ รู้จักการประมาณ รู้ระวังงานของตน มี ความรับผิดชอบต่อสังคมต่อประเทศชาติขึ้นมาได้แล้ว ย่อมไม่มีอะไรดีขึ้น

 

 

ทำไมเราไม่คิดแก้ปัญหาหนังสือพิมพ์กันให้จริงจังกว่านี้บ้าง เขามิใช่อภิสิทธิชน เพราะระบอบประชาธิปไตย ไม่อนุญาตให้ผู้ใด กลุ่มใดมีอภิสิทธิมิใช่หรือ แต่เราก็ได้เห็นอยู่โดยปกติว่าคนหนังสือพิมพ์เป็นอภิสิทธิชน เช่นเขาสามารถใช่ถ้อยคำที่หยาบคายได้อย่างผิดปกติ คำด่าว่าต่างๆลงท้ายด้วย วะ โว้ย มึง กู อะไรเหล่านี้ ไม่ทราบว่าเขาได้อภิสิทธิมาจากไหนแม้นักการเมืองเขาหยาบคาย แต่เขาก็มีอภิสิทธิตามรัฐธรรมนูญอยู่ ทำไมเราไม่ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบหนังสือพิมพ์ และคอยตอบคำถามและคำชี้แจง ให้ความรู้แด่หนังสือพิมพ์อย่างถูกต้อง คนของรัฐที่ตามทัน ตามความรู้ความสามารถทันเท็คนิกของทุกอาชีพในประเทศนี้ จะต้องมี และจะต้องมาทำหน้าที่ดูแลทุกอาชีพ แม้หนังสือพิมพ์ก็ต้องไม่ละเว้น เขาควรได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด จากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้รู้เท่าทันทางสติปัญญาอันสูงสุด

 

 

ทำไมเราจึงไม่ให้นามปากกาเปิดเผยตัวจริงออกมาให้ สังคมรู้จักบ้างเพียงให้เขาออกมาสู่แสงสว่างให้สาธารนชนเห็นใบหน้า เห็นตัวเขาบ้าง เท่านั้นเอง เขาก็คงจะอ่อน สุภาพขึ้น เพราะแสงสว่าง การเปิดหน้ากาก จะทำให้เขาดีขึ้น ทำไมรายการโทรทัศน์ชั้นนำ ๆ ไม่ให้ความสนใจพวกเขาที่อยู่ในเงามืดบ้าง เอาใจเขาบ้างสิ เพราะพวกเขาก็มีหัวใจ เอาเขามาออกรายการ ให้คนชมได้ถามเขาว่า คุณมีเป้าหมายทางการเมืองหรือไม่ในชีวิตคุณ เป้าหมายของคุณในการเขียนคอลัมน์คืออะไรแน่ ถามเรื่องฐานะส่วนตัวของเขาบ้าง ถามเรื่องลูกเมียครอบครัวของเขาบ้าง ถามเรื่องงานอดิเรกของ พวกเขาบ้าง และถามเรื่องอายุอานามของเขากับถามเรื่องเด็ก ๆ ของเขา และขอร้องให้เขาเล่าชีวประวัติของเขาเมื่อเด็ก ๆ ให้ฟัง ให้เขาร้องเพลงให้ฟัง และให้เขาอ่านบทกวีให้ฟังบ้าง ถ้าเป็นรายการเด็ก ๆ ก็เอาตัวเขาไปพูดคุยออกรายการเด็ก ให้เขาแนะนำตัว และแนะว่าเด็กควรประพฤติอย่างไร จึงจะได้ชื่อว่าเด็กดี เป็นต้น

 

และเมื่อหนังสือพิมพ์ถูกพิพากษาให้แพ้คดี ทำไมไม่ให้พวกเขาขอโทษขออภัย

ในหน้าหนึ่งเลย และให้ตัวใหญ่ ๆ ทำไมเราไม่แก้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพกว่านี้ ข้อเสนอวิธีแก้ง่าย ๆ แค่นี้เอง หนังสือพิมพ์เราก็คงจะไม่ต้องตกงานให้แก่ต่างชาติ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ถาม          ให้วิเคราะห์รัฐธรรมนูญฉบับใหม่

 

ตอบ        

ประการที่ 1 ดูว่ามีเนื้อหาที่เป็นวัฒนธรรม หรือเข้ากับวัฒนธรรมไทยได้เท่าไร นั่นแหละคือส่วนที่จะบังเกิดเป็นรูปธรรมขึ้นมาได้จริง ๆ ลองคำนวณดูสัดส่วนนี้เสียก่อนว่ามีมากน้อย เพียงใด กี่ %

 

ประการที่ 2 อย่าให้ภาษาขัดกันเองเป็นอันขาด น่ากลัวเหลือเกินว่า ภาษาจะขัดกันเองให้เห็นจนได้ เพราะรัฐธรรมนูญอะไร ยาวเหลือเกิน รับรองได้เลยว่าเละแน่ ๆ

 

ประการที่ 3 ต่อไปก็จะต้องศึกษาดูว่าเมื่อเริ่มใช้ไปแล้ว คือทางปฏิบัติจริง ๆ จะเกิดมี ประเด็นปัญหาทางปฏิบัติของมาตราไหนขัดกับมาตราไหนบ้าง มีหลักการอะไรขัดกับอะไรกันบ้าง น่ากลัวเหลือเกินว่าจะต้องมีแน่ ๆ

 

ประการที่ 4 เราอย่างเพิ่งใช้จะได้ไหม เอาไปทดลองใช้ แบบที่เขาทดลองปฏิบัติราชการ หรือที่เรียกตามงานวิจัยว่า ให้มี PRETEST เสียก่อน จึงค่อยใช้จริง ๆ หากไม่ผ่าน PRETEST ก็ไม่ต้องใช้ เพราะจะเป็นการเสี่ยงเหลือเกิน ต่อการเอาประเทศชาติทั้งประเทศมาทดลอง กับสิ่งที่เราไม่อาจทำนาย ได้ชัดเลยว่าผลจะเป็นอย่างไรแน่ ที่จริงเราร่างรัฐธรรมนูญอย่างสุกเอาเผากินหรือเปล่า เพราะการที่เราบรรจุอะไรต่างๆ ลงไป ถึง 339 มาตรานั้น ย่อมบ่งบอกความหมายว่า แต่ละมาตราควรจะต้องมีความศักดิ์สิทธิ์เสมอเท่ากันหมด จำเป็นต้องตรวจสอบให้ ละเอียดรอบคอบจริง ๆ โดยจะต้องตรวจสอบคาดคะเนผลทางปฏิบัติ ของแต่ละมาตรา ๆ ให้รู้ชัดเจน จึงจะค่อยหายใจออกในประเด็นที่ว่า เอาประเทศชาติทั้งประเทศมาทดลอง กับสิ่งที่เราไม่อาจพยากรณ์ผลดีผลร้ายได้โดยชัดเจน

 

ประการที่ 5 รัฐธรรมนูญฉบับนี้บรรจุ อะไรไว้มากมมาย แท้จริงบรรจุกิเลสของคนไว้เต็มปรี่เลย ใช่หรือไม่? มีนิยามคำว่าสิทธิว่าแตกต่างจากกิเลสคนอย่างไร สิทธิกับกิเลสจึงเป็นอันเดียวกันเต็มแน่นไปหมดในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เวลาไปถามประชาชน ก็ถามว่าใครมีกิเลสอะไรบ้างคือให้บอกตัณหาของตนๆ ออกมา แล้วก็เอามาบรรจุลงใน สิ่งที่เรียกว่า รัฐธรรมนูญ  จึงเป็นรัฐธรรมนูญฉบับบรรจุตัณหาของประชาชนทั้งปวงไว้เพียบถึง 339 มาตราใช่หรือไม่ ? อะไรคือความแตกต่างระหว่าสิทธิอันเป็นของที่ควรให้และตัณหาที่ควรรังเกียจและกีดกันออกไปให้ไกล ตอบได้หรือไม่ ? ถ้าตอบไม่ได้ ก็ยังไม่ควรใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพราะเกรงว่า จะเอาประเทศชาติไปเสี่ยงเกินไป ดังกล่าว อนึ่ง ยังไม่เห็น ยังไม่แสดงความหมายว่าผู้ที่มีความรู้ถึงระดับปริญญาเอก ผู้ที่มีความชำนาญการ ผู้ที่มีประสบการณ์สูงจะสามารถให้ข้อ วินิจฉัยต่อการร่างรัฐธรรมนูญได้แตกต่างจากชาวบ้าน ผู้จบการศึกษาแค่ประถม 4 ผู้ที่มีอาชีพเป็นชาวไร่ชาวนาธรรมดา ๆ อย่างไร ความหมายคืออะไร เมื่อเราพูดว่า ทำตามเสียงเรียกร้องของประชาชน เราจะทำตามเสียงที่เขาเรียกร้องมาอย่างชาวบ้าน ๆ จริงๆ หรือ เราจะไม่ให้ผู้มีความรู้ผู้ได้ร่ำเรียนมาทางเท็คนิกผู้ที่มีปริญญาผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นนักปราชญ์ ช่วยกลั่นกรองกันหน่อยหรือ บทบาทของการนำทางด้านวิชาการควรมีอยู่หรือไม่อย่างไร ในการร่างกฎหมายสูงสุดของประเทศหรือคำว่า นักวิชาการไทยนั้นจริง ๆ ก็คือ มีแต่ใบประกาศนียบัตรมาอ้างเฉย ๆ ในหัวไม่มีอะไรเลยอย่างนั้นหรือทำไมบทบาทการนำทางวิชาการจึงไม่เด่นชัดขึ้น

 

ประการที่ 6 การร่างรัฐธรรมนูญที่มีความยาวมาก โดยบรรจุลงไปถึง 339 มาตรานี้แสดงว่า ไม่มีการพิจารณาเหตุผลเกี่ยวกับธรรมชาติธรรมดาของมนุษย์ปุถุชนมาประกอบ แล้วไม่พยายามกำหนดกฎเกณฑ์ให้สอดคล้องหลักธรรมชาติธรรมดาของมนุษย์ปุถุชนนั้น ก็จะทวนกระแสมากและแรงเกินไปในที่สุดก็จะไปไม่ตลอดอีกและยังแสดงว่า ไม่ได้มีแนวคิดเรื่องการวิวัฒนาการทางการเมืองอยู่เลยเช่น เมื่อนำรัฐธรรมนูญออกใช้ในระยะแรกผลจะเป็นอย่างไร แล้วนานไปอีกระยะหนึ่งอะไรจะเปลี่ยนแปลงคลี่คลายไปอย่างไร และจะไปหยุดอยู่ตรงตัวตามหลักการที่กำหนดไว้เมื่อไร จะลงตัวหรือไม่ จริงอยู่การใช้เงินอาจซบเซาไปเพราะเริ่มเปลี่ยนแนวทางใหม่ แต่ต่อไป เมื่อมีการเปลี่ยนรู้ระบบ รู้ทางใหม่ก็อาจจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมตามเหตุผลว่าด้วยความเป็นธรรมชาติธรรมดาของปุถุชน และสังคมภายใต้วิวัฒนาการแห่งประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาติ อย่างนี้จะมิเป็นการเสียเวลาของประเทศชาติอย่างมโหฬารไปอีกหรือ นอกจากนี้ ยังไม่มีแนวคิดเรื่องพี้นฐานวัฒนธรรมแห่งระบอบการเมืองอยู่เลย จึงย่อมขัดกับหลักการแห่งธรรมชาติ ก็คงจะประพฤติปฏิบัติไปได้ชั่วเวลาหนึ่งแต่ในที่สุดก็กลับมาสู่ปัญหาเดิมๆ ก็จะเสียเวลาของประเทศชาติ ลองคิดดูว่าจริงหรือไม่ ? ขอให้คำถามเหล่านี้เป็นปราการตรวจสอบอีกขั้นหนึ่งด้วย ฯ

 

ประการสุดท้าย   เป็นข้อเสนอแนะควรให้เวลาสำหรับกระบวนการทางความคิดสติปัญญา ของคนทั้งชาติ ที่จะทำการย่อยสลาย และทบทวนพิจารณาทุกเรื่องราวทุกหลักการของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ที่มีมากมายเหลือเกินนี้อย่างเพียงพอ เวลาอย่างเพียงพอในนี้ขอเสนอ 1 ปีต่อจากนี้ ควรจะทิ้งร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไว้เฉยๆ ก่อน อย่าเพิ่งไปวิพากษ์วิจารณ์อะไร หลังเวลาหนึ่ง 1 ปีผ่านไปแล้ว จึงค่อยนำมาวิพากษ์วิจารณ์กันใหม่อย่าเสี่ยง อย่าเอาประเทศชาติไปเสี่ยงเลยนะ ขณะที่ทำนี้ดูร้อน และขาดขั้นตอนแห่งการทำงานโดยธรรมชาติของความคิด และสติปัญญาไป ในประเด็นที่ว่าควรเว้นไปก่อนเวลาหนึ่ง จึงค่อยนำมาพิจารณ์ใหม่ เหตุผลก็คือหากไม่มีการเว้นระบบความคิดที่ยังเป็นไปในแนวเดิมก็จะปักใจลงไปในแบบเดิมๆ โดยไม่มีการหยุดปรับกระบวนการที่เป็นกลางให้เรียบร้อยเสียก่อนก็จะเกิดการลำเอียงขึ้นโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ( ไม่เข้าใจว่ากรระบวนการทางความคิดของคนทำงานอย่างไร ) นั่นเอง จึงควรพิจารณาในประเด็นที่เสนอนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ถาม          การพระพุทธศาสนาจะเจริญก้าวหน้าในยุคสมัยอย่างไร ? คิดว่ามีทางจะเป็นไปได้จริงหรือ ?

           

            ตอบ         ข้อเท็จจริงในขณะนี้ที่เราไม่เข้าใจก็คีอ คำว่าชาวพุทธนั้นมีหลายระดับมีชาวพุทธ ระดับแนวหน้าอยู่ในแผ่นดินโลกหลายขุมอันมหึมา เพียงแต่เขาไม่รู้ตัวว่าเขาเป็นชาวพุทธ พวกเขาเป็นเสมือนลูกหงส์ที่อยู่ในการเลี้ยงดูของกา เมื่อใดหงส์เพียงบินผ่านไปและร้อง เรียกลูกของมันเท่านั้น มันก็จะสำนึกเชื้อชาติสกุลที่แท้จริงของมันได้และจะบินขึ้นสู่เหนือ เมฆ ตามแม่ของมันไป ขอเพียงแต่เราในไทยที่เป็นแดนพุทธธรรม( ที่มีพระคัมภีร์ชั้นเลิศในพระคัมภีร์พุทธ ที่สัญญลักษณ์ว่าได้รับการสืบทอดภาวะพุทธมาแต่ดั้งเดิม ที่มีสงฆ์ตามรูปแบบดั้งเดิมปรากฎแด่ตาชาวโลก ) กลับทิศทางแห่งระบบระบอบการปกครองเสียให้ถูกทิศถูกทางเท่านั้น อะไรต่าง ๆจะดีขึ้นโดยชัดเจน

 

            และจะต้องปรับกระบวนการทางธรรมปฏิบัติ เสียใหม่ ให้สอดคล้องยุคสมัย ซึ่งอันนี้ พุทธจะสามารถทำได้อย่างคล่องแคล่ว ผิดกับศาสนาอื่น ๆ ทั้งสิ้น เพราะศาสนาอื่น ๆ จะยากลำบากต่อการปรับตัวสู่ยุคสมัย อันนี้ สามรถวิเคราะห์เห็นแจ้งในเหตุและผลได้ด้วยสายตาพุทธเพราะพุทธคือมนุษย์ ผู้รู้ มนุษย์จึงสามารถดูรู้ได้ด้วยสติปัญญาของมนุษย์เอง แต่ศาสนาอื่นต้องเฝ้าคอยพระเจ้าผู้ทรงให้ สัญญาว่าจะกลับมา พวกเขาจึงไม่สามารถปรับปลี่ยนอะไรได้จนกว่าพระเจ้าจะกลับมาออกคำสั่งเสียก่อน และขณะนี้พวกเขาจึงเฝ้าแต่รอ และยังต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เดิมไปอย่างเคร่งครัดอันจะแสดงออกว่าเขาเคารพยำเกรงพระเจ้าอยู่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ถาม          จริงๆเราจะพูดได้ไหมว่าศาสนาพุทธดีวิเศษกว่าทุกๆ ศาสนาในโลก

           

            ตอบ         คำถามเช่นนี้ มีชาวพุทธบางประเภทเขาจะตำหนิเอามาก ๆ ว่าไม่ควรถามจะเป็นเหตุเกิดความแตกแยก เขาว่าอย่างนั้น คุณอาจจะไม่ชอบชาวพุทธแบบนั้นก็ได้ อาจจะเป็นชาวพุทธปัญญาอ่อน นิ่มเกินไปในทัศนะของคุณหรือของผมเอง แต่ที่จริงเราควรมีข้อคิดข้อสงสัยในศาสนาที่เรานับถือไม่ว่า จะเป็นศาสนาใดใด ก็ควรจะนึกคิดชั่งตรองไปเช่นนี้เสมอ ๆ และต้องหมั่นหาคำตอบพยายามหาคำตอบออกมาดู เพราะชีวิตเรามีเวลาน้อยหากเราตอบไม่ได้ชัดเจนว่าศาสนาที่เรานับถืออยู่ ไม่ใช่ศาสนาที่ดีวิเศษที่สุดในโลกแล้วเหตุใดเรา จะเสียเวลาอยู่กับสิ่งที่เป็นรอง ในเมื่อสิ่งที่เลิศมีอยู่ หากเราคิดแล้วเห็นว่าศาสนาพุทธไม่ใช่ศาสนาที่ดีวิเศษที่สุดแล้วคุณก็ชอบที่จะไปหาศาสนาอื่น ศาสนาที่จะอาจให้สิ่งที่เลิศที่สุดแด่คุณได้ใช่ไหม ฉะนั้น คำถามที่ถามนี้จึงเป็นคำถามที่ชอบที่ควรแก่บุคลผู้ชอบการแสวงหาสัจธรรมที่แท้ ไม่ควรตำหนิว่าเป็นคำถามที่จะก่อให้เกิดความแตกแยก

           

            ผมเห็นคนอยู่คนหนึ่งที่มองเรื่องนี้ไว้อย่างน่านับถือ คือท่าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ ปราโมช ท่านเคยพูดไว้ว่า ศาสนาพุทธดีกว่าศาสนาอื่นอย่างไร จำเป็นต้องพูด แล้วท่านก็แสดงเหตุผลท่านออกมา สำหรับผมหากจะต้องตอบคำถามข้างต้น คำตอบก็คือ ถูกแล้วศาสนาพุทธ สำหรับเรา พูดได้เลยว่าเป็นเช่นนี้จริง ๆ วิเศษกว่าทุก ๆ ศาสนาในโลกนี้ ที่เห็นง่าย ๆ ก็คือ พระในพระ พุทธศาสนาไม่มีเมีย นั่นอย่างไร แต่พระในศาสนาอื่นมีกันเป็นคู่ ๆ นี่ก็แสดงให้เห็นว่ามี หลักธรรมปฏิบัติที่วิเศษในศาสนาพุทธ ที่สามารถปฏิบัติแล้วเอาชนะราคะตัณหาได้ แต่ ศาสนาอื่นไม่มีหลักธรรมอันวิเศษนี้ ทั้ง ๆที่มีพระเจ้าเป็นผู้สอนแต่ศาสนาพุทธมีพระพุทธ มีมนุษย์คือพระพุทธเจ้าเป็นผู้สอน แต่ผลอันวิเศษนี้ปรากฎเหนือสติปัญญาของเทพเจ้า เพราะแม้พระเจ้าก็ยังไม่รู้วิธีที่เอาชนะราคะตัณหาได้ แต่ศาสนาพุทธรู้ได้ รู้วิธีเอาชนะกิเลสตัณหาได้ทุกอย่าง เห็นไหมชัดเจนมาก

            เราจำเป็นต้องบอกความวิเศษเช่นนี้แด่ชาวโลก ด้วยปรารถนาดีแด่ พวกเขาเพื่อพวก เขาจะได้มีโอกาสมาศึกษาสิ่งที่วิเศษเลิศล้ำที่สุดเช่นนี้ และจะได้ไม่เสียเวลาศึกษาสิ่งที่มีค่านิดหน่อย อันเป็นเหตุให้เสียเวลาแห่งชีวิต เสียโอกาสอันดี แห่งชีวิตที่มาเป็นคนไปอย่างน่า เสียดาย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ถาม          หนังสือทุกเล่มได้อ่านแล้ว ชี้แจงแสดงธรรมได้ชัดเจนแจ่มแจ้งมาก คน      ธรรมดาก็ อ่านได้เข้าใจดี เป็นระดับมหาบุรุษ แต่ไม่ทราบว่า มีปฏิกิริยา       อะไรบ้างที่ตอบโต้ต่อการ ดำเนินงานปฏิรูปคณะสงฆ์นี้ ท่านผู้ใหญ่ ทางการ สงฆ์มีปฏิกิริยาอะไรบ้าง

 

 

ตอบ         คงไม่มี คงจะไม่เห็น และคงจะร่วมมือกันได้อย่างแน่นอนเพราะเหตุที่ทำไปมี          เหตุผล และทำไปอย่างกันเอง ที่สำคัญที่ทำไปนี้เพื่อปกป้องคุ้มครอง คณะ          สงฆ์เราโดยบริสุทธิ์ สงฆ์จะต้องเข้าใจในเหตุและผลแห่งความอยู่รอดในยุค   โลกาภิวัตน์ และพิจารณา ทุกสิ่งทุกอย่าง อย่างนักปราชญ์ งานนี้จึงเป็นการ วัดทุกสิ่งทุกอย่าง อย่างสำคัญยิ่ง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ถาม          แผนงานขั้นตอนต่อไปของคณะ ฯ ? คืออะไร ?

           

            ตอบ         เราจัดทำหนังสือรวมเล่ม ทำอย่างประณีต แล้วเสนอไป ยังสถาบันหลัก ๆ ของประเทศ จะเป็นขั้นการเผยแผ่แนวคิดและแนวธรรมะ จะมีการเสนอสู่สถาบันสงฆ์ระดับสูงอย่างเป็น ทางการในระยะนี้ และทั้งเสนอต่อเพื่อนสหธรรมมิกอย่างกว่างขวาง แล้วคอยดูว่าอะไรจะเกิดขึ้น

 

                          

 

                           บรรณาธิการ

                           มิ.ย.40

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

   4. เหตุที่ทำให้สมาธิญาณแก่กล้า 6 ประการ

 

ผู้ปฏิบัติโยคีบุคคล สมาธิญาณจะแก่กล้าเจริญขึ้นไปนั้นมีได้ด้วยเหตุ 6 ประการ 

 

1.            อกมฺมารามตา      ผู้ไม่ชอบทำงานต่าง ๆ มีความตั้งใจกำหนด รูป นาม สังขาร 

2.            อกสฺสารามาตา     ผู้ไม่ชอบพูดชอบคุย มีความตั้งใจกำหนด รูป นาม สังขาร 

3.            อนิทฺทารามตา      ผู้ไม่ชอบนอนไม่ชอบพักผ่อนมีความตั้งใจกำหนด รูป นาม                                     สังขาร 

4.            อสงฺฆติการามตา ผู้ไม่ชอบประชุมสมาคมซึ่งกันและกันมีความตั้งใจกำหนด รูป                                           นาม สังขาร 

5.            โภชเนสุ มตฺตญญุตา          ผู้รู้จักประมาณตนในการบริโภค 

6.            อินฺทริเยสุ มตฺตทวาราวตา   ผู้ตั้งใจสำรวมอินทรีย์อยู่เสมอ 

 

จาก นิทรรศการ ในพิธีถวายปริญญาคุรุศาสร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์

สถาบัณราชภัฏอุบลราชธานี แด่พระอาจจารย์ถวิล สุญญธาตุ

ณ วัดเทพมงคล อ. เมือง จ. อำนาจเจริญ

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2540

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

             5.         แผนภูมิประชาธิปไตยสงฆ์

 

สภาสงฆ์ระดับสากล

สภาสงฆ์ระดับชาติ

สภาสงฆ์ระดับจังหวัด

สภาสงฆ์ระดับตำบล

หลักการประชาธิปไตยสงฆ์

* n2 /nemonk4.cw7

 

 

 

 

 

 

 

 

 

             6.         แผนผังสภาสงฆ์ 8

 

สภาสงฆ์ระดับสากล

 สภาสงฆ์ระดับชาติ สภาสงฆ์อาวุโสระดับชาติ

 สภาสงฆ์ระดับจังหวัด สภาสงฆ์อาวุโสระดับจังหวัด

 สภาสงฆ์ระดับตำบล สภาสงฆ์อาวุโสระดับตำบล

 วัด วัด วัด * องค์ประกอบสภาสงฆ์

- ประธานสภา

- กรรมการสภา

คณะกรรมการวัด - เลขานุการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

             7.         ( นานาทัศนะ )

                        การเมืองไม่สร้างสรรค์

                        โดย วิบูลรัตน์ กัลยาณวัตร

 

บัดนี้ คณะอนุกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานได้ยกร่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว กำลังจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มในเร็ว ๆ นี้ จะเปิดโอกาสให้มีการประชาพิจจารณ์อย่างกว้างขวาง เพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญที่ดีที่สุด ( ว่าอย่างนั้น )

 

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมอะไรหลายอย่าง แต่หลักการอันเป็นอุดมการณ์ของชาติไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก เพราะต้องยึดหลักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อันเป็นเอกลักษณ์ของไทยไว้ ความเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างมาก เห็นจะเป็นการเข้าสู่อำนาจของนักการเมือง เพราะต้องการนักการเมืองที่มีคุณภาพและมีจิตวิญญาณแห่งความเป็นประชาธิปไตย ความหมายของประชาธิปไตยที่แท้นั้น คือ การกระจายผลประโยชน์ ให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง เพื่อให้ประชาชนส่วยใหญ่ ได้มีความอยู่ดีกินดีเพื่อพัฒนาประเทศชาติให้มีความเจริญก้าวหน้าในทุก ๆ ด้าน โดยมีหลักการที่ประชาธิปไตยเป็นของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชนจึงจัดให้วิธีการขึ้นสู่อำนาจของผู้บริหารประเทศ และยอมรับกันว่าการให้สิทธิ์แก่ประชาชน ในการเลือกตั้งผู้แทนของตน เป็นระบบดีที่สุด แต่ว่าการเลือกตั้ง ไม่ได้หมายความว่าจะต้องดีเสมอไป

 

มันเป็นเพียงวิธีการอย่างหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยเท่านั้นหากยังมีกระบวนการอยู่อีกหลายอย่าง ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ เช่น ความบริสุทธิยุติธรรมในการเลือกตั้งเป็นต้น ระบอบประชาธิปไตยที่ให้ประชาชนใช้สิทธิเสรีในการเลือกผู้แทนของตนนั้น จะได้มากในประเทศที่ให้ประชาชนพลเมืองส่วนใหญ่ ได้รับการศึกษาสูงและมีเศรษฐกิจครอบครัวดีแต่จะมีผลร้ายในประเทศที่มีประชาชนด้อยการศึกษาและเศรษฐกิจขาอแคลน

 

ประเทศไทยเราได้ผ่านการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรหลายครั้ง แต่การเลือกตั้งในสมัยหลัง ๆที่ผ่านมา มันเป็นบทเรียนที่ต้องเริ่มต้นกันใหม่ มันเป็นอันตรายต่อระบอบประชาธิปไตยอย่างร้ายแรง เพราะมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงกันมโหฬาร จนกล่าวกันว่าผู้แทนราษฎรที่เข้าไปนั่งในสภาเกือบทั้งหมดใช่เงินซื้อเสียงทั้งนั้น หลายฝ่ายเห็นว่าจะปล่อยไปอย่างนี้ไม่ได้

ประเดี๋ยวการเมืองนอกระบบจะเข้ามาแทนที่ ซึ่งก็เคยมีมาหลายที่แล้ว จึงคิดและตั้งสภาร่างรัฐ ธรรมนูญขึ้นมาใหม่ ดังเป็นที่ทราบกันดีอยู่ในขณะนี้

การร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ ต้องถือว่าเป็นการพัฒนาทางการเมืองในระดับหนึ่ง ซึ่งน่าชื่นชมยินดีโดยทั่วกัน แต่ไม่ควรตั้งความหวังอะไรให้มากนักเพราะ =

 

1.      ประชาชนชาวไทยส่วนมากหรือส่วนใหญ่ ยังไม่รับการศึกษาสูงเท่าที่ควรจะสังเกตเห็นได้ว่าประชาชนที่ไปใช้สิทธิ์ ลงคะแนนเลือกตั้ง ส่วนมากจะเรียนจบชั้นประถมหรืออย่างมากก็แค่ชั้นมัธยม ซึ้งยังไม่มีความรู้หรือความเข้าใจใน เรื่องประชาธิปไตย

 

2.      เศรษฐกิจในครอบครัวรายได้ต่อหัวต่อปีของคนไทยส่วนมากยังต่ำหรือพูดง่าย ๆ ว่าประชาชนยังยากจน เมื่อมมีใครเอาเงินให้เพียง 100-200 บาทถือว่าเป็นบุญเป็นคุณอย่างยิ่งจนถือกันว่าใครให้เงินมากเลือกคนนั้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าคนนั้นเป็นใครมาจากไหนมีความรู้ความสามารถหรือไม่ มีคุณธรรมจริยธรรมหรือไม่ เมื่อนักการเมืองเข้าสู่อำนาจโดยการซื้อเสสียง จึงต้องแย่งชิงผลประโยชน์ พรรคโน้นผสมกับพรรคนี้ พรรคนั้ผสมกับพรรคโน้นกว่าจะจัดตั้งรัฐบาลได้ต้องต่อรองกันเสียเวลาเกือบเดือน เมื่อเป็น

รัฐบาลผสมเสถียรภาพก็ไม่มั่นคง พรรคที่เป็นฝ่ายค้านก็พยายามทุกอย่างที่ล้มรัฐบาลเพื่อที่พรรคของตนจะได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลต่อไป เหตุว่าอยู่ในซีกฝ่ายค้านมันอดอยากปากแห้งเหลือเกิน มักอ้างว่าอยู่ในฝ่ายตรวจสอบรัฐบาล ต้องทำหน้าที่ตรวจสอบอยู่เสมอ การที่ฝ่ายนิติบัญญัติตรวจสอบการทำงานฝ่ายบริหารนั้น เป็นการถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย แต่การตรวจสอบจะต้องเป็นไปตามหลักฐานข้อมูลที่เป็นจริงไม่ใช่เอาสิ่งที่ไม่เป็นสาระประโยชน์มากล่าวหาโจมตีกัน เช่น เรื่องใต้สดือ เรื่องในมุ้ง ซึ่งประชาชนไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย และเป็นการเมืองที่ไม่สร้างสรรค์ ฯ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

             8.         นานาทัศนะ

                        ชาวพุทธแบบไหน

                        โดย วิญญู ศรีชาเนตร

 

พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย โดยการนำของพระมหาเถระสององค์คือ พระโสณะ กับ พระอุตตระ ก่อนนั้นประเทศไทยทุกวันนี้เรียกว่า สุวรรรณภูมิ หรือแหลมทอง นับถือพระพุทธศาสนามาตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานีจนถึงปัจจุบันนี้ พระเจ้าแผ่นดินในสมัยนั้นก็ปกครองโดยทศพิศราชธรรม หากเราศึกษาประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติในยุคอดีตที่ผ่านมา เราจะพบว่า มนุษย์เรามีความต้องการอยู่ 4 ประการคือ ต้องการที่อยู่อาศัย อาหารยารักษาโรค และเครื่องนุ่งห่ม มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ยิ้มเป็น และหัวเราะได้ แปลกประหลาดกว่าสัตว์ดิรัจฉานทั่วไป ก็ตรงที่ยิ้มเป็นพูดจาสื่อความหมายได้ พูดจากันรู้เรื่อง ในพระพุทธศาสนามนุษย์ถือว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ จนมีผู้บรรลุธรรมชั้นสูงเป็นไนยสัตว์ หากประพฤติประฎิบัติตามหลักธรรมชั้นสูงก็สามารถบรรลุมรรคผลได้ เพราะมรรคผลสูงสุดยังไม่พ้นสมัยเป็น อกาลิโก คือทันสมัยอยู่เสมอ ผู้คนในครั้งพุทธกาลนั้นส่วนมากจะครองตนตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ในครั้งนั้น ได้รับสัญญานามว่า ยุคทองของพระพุทธศาสนา

 

คือมีพระอรหันต์เกิดขึ้นมากมาย ปัจจุบันนี้ เมืองไทยก็ยังนับถือพระพุทธศาสนาอยู่อย่างมั่นคง ประชากรของประเทศไทยประมาณ 95% นับถือพระพุทธศาสนา แต่เป็นนี่น่าแปลกใจและแปลกประหลาดมากที่ชาวพุทธเรามีพฤติกรรมที่ทวนกระแส นั่นคือทวนคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าท่านสอนว่า อบบายมุข 6 ประการคือ ดื่มน้ำเมา 1 เที่ยวกลางคืน 1 เที่ยวดูการเล่น 1 เล่นการ พนัน 1 คบคนชั่วเป็นมิตร 1 และเกียจค้าน ข้อดื่มน้ำเมาคนไทยดื่มเมากันมากแทบทุก ท้องที่ ดูเหมือนว่า เป็นนโยบายการหาเงินเข้ารัฐเสียด้วย เพราะเห็นมีโรงงานสุรา โรงงานยาสูบมีร้านขายสุรา ยาสูบ กันเกลื่อนเมืองมีบริษัทจำหน่ายสุรากันแทบทุกหนทุกแห่งเราเป็นชาวพุทธแบบไหนกัน ทำไมจึงให้มีสิ่งเหล่านี้เข้ามาครองใจ จนจิตใจมืดบอด ตกเป็นทาสของมันจนแทบเอาตัวไม่รอด

 

ปีหนึ่ง ๆ มีคนเสียชีวิตเพราะเหล้าบุหรี่มากมาย คนไทย เราตกเป็นทาสการโฆษณาชวนเชื่อมาก จะเห็นได้ว่า สื่อโฆษณาต่าง ๆ ทางวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้นว่าเครื่องดื่มหลาย ๆ ยี่ห้อโหมโฆษณาอย่างบ้าคลั่งทำให้ประชาชนคนไทยตกเป็นทาสไปตาม ๆกัน ทั้งที่เครื่องดื่มที่ว่ากันนั้น มีค่าแค่น้ำกับน้ำตาลผสมกันเท่านั้นเอง อนิจจา คนไทยผู้หลงผิดทำไมต้องกลายไปเป็นทาสขนาดนั้น คนเรานั้น พระพุทธเจ้าว่า อดอะไรก็อดได้แต่อดไม่ได้อยู่ 3 ประการคือ อดน้ำ อดข้าว อดหลับนอน ถ้าคนเราอดสามสิ่งที่กล่าวมาเกินกว่าสัปดาห์ต้องตาย เพราะฉะนั้น ข้าวน้ำ จึงเป็นปัจจัยพื้นฐานของชีวิตไม่ดื่มไม่กินอาหารฟุ่มเฟือยต่าง ๆ ก็ไม่เห็นเป็นไร เมืองไทยมีสิ่งเสพติดมากมาย แทบทุกมุมเมือง บั่นทอนความมั่นคงของชาติโดยใช่เหตุ เป็นภาระหนักแก่รัฐบาลทุกยุคทุกสมัย ปราบปรามกันไม่หวาดไม่ไหว รัฐเสียเงินในการปราบปรามสิ่งเสพติดมปีละหลายพันล้านบาท เพราะอะไรเพราะคนของชาติเห็นแก่ได้ เห็นแก่ตัว สร้างความร่ำรวยบนความทุกข์ยากเดือดของคนอื่น หารู้ไม่ว่าการผลิตสิ่งเสพติด เป็นการบ่อนทำลายชาติโดยทางอ้อมหากเยาวชนของชาติตกเป็นทาสยาเสพตติดกันไปหมดแล้ว ชาติจะเป็นเช่นไรในอนาคต

 

เมืองไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ควรจะพัฒนาทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าด้านการศึกษา วัตถุ ศิลป์ วัฒนธรรมสังคมเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้าน การศึกษา แต่การศึกษาที่ดี ก็ควรควบคู่ไปกับคุณธรรมหรือศีลธรรม การศึกษาดีแต่ความประพฤติไม่ดีก็ไปไม่รอด ยุคนี้เป็นยุคเสื่อมโทรมทางศีลธรรม จะเห็นได้ว่า ลูกฆ่าพ่อ ผัวฆ่าเมีย เมียฆ่าผัว อันเป็นวิกฤตการณ์ที่เหี้ยมโหดไม่เคยมีมาก่อนใน สังคมไทยแต่ถ้าถามว่าสังคมยุคนี้เสื่อมมากไหม ? ตอบว่าไม่เสื่อมมากนักหรอก ยังพอมี หวังเพราะทุกวันนี้คนดี ๆ ยังมีอยู่ในสังคมมากกว่าคนไม่ดี โลกจึงไม่เดือดร้อนเป็นไฟ หนังสือพิมพ์ที่แท้ก็คือแผงลอยข่าวร้าย ที่จำเป็นต้องจ้างนักข่าวไปแสวงหาข่าวร้าย ๆ นั้นมาเพื่อป้อนโรงพิมพ์ เพื่อให้ได้รายได้แต่ละวัน ข่าวอาชญกรรม ข่าววิปริตผิด มนุษย์ชอบเอามาลง เพราะเป็นข่าวมีราคาคนสนใจอยากรู้อยากเห็นมาก ทำอย่างไรจึงจะให้สังคมนี้ เป็นสังคมพระพุทธศาสนา หรือสังคมโสดาบัน ก็ขอให้ชาวพุทธเราหันมานับถือพระศาสนาอย่างลึกซึ้ง ให้เข้าในสายเลือด และพากันประพฤติปฏิบัติ ตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า จากขั้นต่ำจนถึงขั้นสูงแล้วเราก็จะถึงบ้าง สังคมพระโสดาบันอยู่ปลายจมูกนี้เอง ฯ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

            9.         ( นานาทัศนะ )

                        ต้องมีศาสนประจำชาติด้วยหรือ?

                       

                        โดย ชิโนทร

 

เมื่อเร็ว ๆ มานี้ ได้มีองค์กรพระพุทธศาสนาต่าง ๆ รวมทั้งพระเถระหลายรูป ได้ออกมาเคลื่อนไหวและยื่นหนังสือต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญ มีใจความสำคัญสรุปว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย ต่อกรณีนี้ปรากฏว่าได้มีการพูดกันอย่างกว้างขวาง มีทั้งผู้เห็นด้วยและผู้คัดค้านต่างฝ่ายต่างมีเหตุผลน่ารับฟังด้วยกันทั้งนั้นจนฟังไปฟังมาแล้วเกิดความสับสนและยังไม่ทราบว่าสภาร่างรัฐธรรมนูญจะเอาอย่างไร แต่มีแนวโน้มว่าจะไม่ได้บัญญัติไว้มากกว่า เหตุผลของฝ่ายที่เห็นด้วยพอสรุปว่า เพราะประชาชนชาวไทยส่วนมากเคารพนับถือพระพุทธศาสนาและเพื่อความมั่นคงของสถาบันพุทธศาสนา

 

ส่วนฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยอ้างเหตุผลว่า จะก่อให้เกิดการแตกแยกระหว่างชนในชาติเพราะคนที่เคารพนับถือศาสนาอื่น ๆ จะเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อกัน อาจจะเกิดสงครามศาสนาขึ้นในที่สุด ดังที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในบางประเทศ

 

 

ความจริงแล้ว ความพยายามจะให้มีการบัญญัติว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยได้มีหลายครั้งแล้ว แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านไม่ได้เขียนไว้ มีการวิเคราะห์กันว่า ถึงจะไม่ได้เขียยนในรัฐธรรมนูญโดยตรงก็จริง แต่มีบทบัญญัติว่าด้วยพระมหากษัตริย์แล้ว ว่าพระมหากษัตริย์ททรงเป็นพุทธมามกะและ ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก จึงเสมือนว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติอยู่ในตัวแล้ว ที่อ้างเหตุผลว่า เพื่อความมั่นคงของสถาบันพระพุทธศาสนานั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจและน่าเห็นใจมาก เพราะในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีเหตุการณ์ที่นำความเสื่อมเสียมาสู่สถาบันพระพุทธศาสนาในประเทศไทยมากขึ้นดังเป็นที่ทราบกันดีอยู่โดยทั่วไปแล้ว ความเสียหายที่เกิดขึ้น มีหลายท่านออกมาแสดงความคิดเห็นว่าเป็นแผนการบ่อนทำลายที่มาจากลัทธิอื่นหรือศาสนาอื่น ถึงกับตั้งชื่อแผนต่าง ๆ แผนสมานไมตรี แผนนารีพิฆาต อะไรทำนองนี้

 

เมื่อจะพูดถึงศัตรูของพระพุทธศาสนาพอจะกล่าวได้ว่ามีมาจาก 2 ทาง คือ ศัตรูภายในกับศัตรูภายนอก ศัตรูภายในได้แก่พวกพุทธศาสนิกชนบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาเสียเองเช่นที่กล่าวว่าเกลือเกิดเป็นหนอน หรือ สนิมเหล็กเกิดจากเหล็กมันก็กัดกินเหล็กนั้นให้หมดไป ส่วนศัตรูภายนอก ได้แก่การแทรกซึมและบ่อนทำลายจากลัทธิศาสนาอื่นหรือจากลัทธิการเมือง

 

ศัตรูภายในเป็นเรื่องสำคัญ เพราะพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ตราบใดพุทธบริษัทยังประพฤตดีประพฤตชอบตามพระธรรมและวินัยปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมปฏิบัติชอบยิ่งความมั่นคงของพระพุทธศาสนาก็ยังอยู่ตราบนั้น จากศึกษาประวัติศาสตร์ที่ชี้ชัดว่า ที่พระพุทธศาสนาเสื่อมสูญจากประเทศอินเดียนั้น มูลเหตุเกิดจากพุทธศาสนิกชนเองโดยเฉพาะภิกษุมีความประพฤติปฏิบัติหย่อนยาน แตกแยกกันเป็นฝักเป็นฝ่าย ถูกลาภสักการะครอบงำไม่สนต่อข้อวัตรปฏิบัติไม่ตั้งอยู่ในสมณวิสัย แข่งขันพอกพูนแต่ในทางอามิสอยากให้พุทธศาสนิกชนไปอ่านพระไตรปิฏก ซึ่งได้กล่าวถึงความเสื่อมของพระพุทธศาสนาไว้มากมาย อย่าได้ไปมองแต่ศัตรูภายนอกเท่านั้น

 

เราน่าจะได้พิจารณาทบทวนบทบาทของสถาบันพระพุทธศาสนาและสถาบันสงฆ์ในประเทศกันดูเสียบ้าง เช่น

 

- การปกครองคณะสงฆ์ปัจจุบันที่รวมศูนย์อำนาจไว้ในส่วนกลางมี ประสิทธิภาพแค่ไหน เหมาะสมแก่โลกแก่สังคมในยุคที่เปลี่ยนแปลงหรือไม่ ?

 

- การศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุสามเณร ได้รับการเอาใจใส่และสนับสนุนจริงจังแค่ไหนผู้ที่บวชเข้ามาได้รับการฝึกอบรมอย่างไร ?

 

- วัดอารามทั่วไปมีบทบาทต่อชีวิตสังคมมากน้อยเพียงไรวัดและพระสงฆ์ในวัดมีบทบาท เป็นผู้นำสังคมเหมือนในอดีตหรือไม่ ?

 

ผู้เขียนไม่คัดค้านที่จะบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญว่าให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยแต่ถ้าไม่บัญญัติไว้อย่างในรัฐธรรมนูญที่แล้ว ๆ มาก็ไม่ทุกข์ร้อนอนาทรใจแต่อย่างใด ขอเพียงแต่ให้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสถาบันสงฆ์ปัจจุบัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

             10.        ( กัลยาณมิตร )

                        ท่านยังไม่รู้จักพุทธทาสภิกขุ

 

 

ถ้าท่านหยิบหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่ง ท่านอาจจะไม่รู้สึกว่าเป็นหนังสือที่มีความ หมายอย่างไรด้วยช้ำ เมื่อท่านอ่านไป อาจจะจบ หรือไม่จบ อย่างเช่นหนังสือเรื่อง ศาสนา เปรียบเทียบแห่งสากลโลก พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2529 ซึ่งบอกความหมายว่าท่านผู้เขียนท่านรู้หมดทุกศาสนาในโลกแล้วท่านก็พยากรณ์ว่า ขณะนี้มีศาสนาอยู่ 2 ลักษณะหรือ 2 ศาสนาใหญ่ ๆ นั่นเอง ศาสนาพุทธเป็นหนึ่งใน 2 นั้น ในอนาคตจะมีเหลือเพียงศาสนา เดียว คือศาสนาที่เป็นไปตามกฎธรรมชาติ ดังท่านว่า

 

"เค้าเงื่อนที่มันเห็นอยู่ในขณะนี้มัน มองเห็นอยู่ว่า วิทยาศาสตร์ ความรู้เหตุผล เหตุปัจจัย ตามกฎวิวัฒนาการนี้มันจะครอง โลก"

 

ที่ท่านผู้อ่านจะไม่เข้าใจ ไม่รู้จักก็คือ ท่านพุทธทาสพูดเรื่องราวเหล่านี้ออกมาด้วย ความรู้สติปัญญาที่เชื่อถือได้อย่างไร นั่นเอง

ดูอีกสักเล่ม เช่นเรื่อง ลักษณะของพระอรหันต์ โอกาสที่จะบรรลุธรรมในขั้นสูงสุด

 

หากท่านยังไม่ได้อ่านนั่นก็เพราะท่านยังไม่รู้จักท่านพุทธทาสภิกขุ ผู้แต่งเรื่องนี้นั่นเอง

 

 

ประการแรก เรื่องนี้เป็นเรื่องสูงสุดในพระพุทธธรรมในพระพุทธศาสนา บุคคล          ระดับพระอรหันต์ยากที่ใครจะเอ่ยอ้างถึงได้ เดิมมา ไม่มีผู้ใดกล้าพูดเรื่องที่เป็นชั้นสูงสุดอย่างนี้ (เพราะไม่มีภูมิปัญญาสูงพอจะพูดได้) และ อธิบายไป อย่างกล้าขัดแย้งของเดิมเขา อย่างเช่นบาลีของเดิมเขาว่า สุขิโน วต อรหนฺโต พระอรหันนต์ทั้งหลายเป็นผู้มีความสุขหนอ ท่านว่าที่จริงพระอรหันต์อยู่เหนือความสุขและเหนือความทุกข์ บาลีบทนี้จึงซ่อนความหมายอยู่ ผู้อ่านจะต้องฟัง            ให้ดี ท่านเตือนอย่างนั้น ซึ่งท่านก็มีเหตุผลหนักแน่นทีเดียวในการโต้แย้ง แต่        นั้นแหละ ท่านผู้อ่านที่ยังไม่รู้จักท่าน พุทธทาสก็จะไม่เชื่อท่าน หนังสือเล่มนี้ก็เป็นเพียงหนังสือธรรมดา ๆ มี 46 หน้าพิมพ์จำหน่ายราคาถูก ๆไม่แพงเสีย     จนหูฉี่ แต่ความหมายน้อยนิดหรือแทบไม่มีความหมายเลยเหมือนหนังสือ        หลาย ๆ เล่มที่ผู้อื่นเขียน

 

แล้วท่านผู้อ่านก็จะพบว่าพุทธทาสภิกขุเป็น พระผู้เขียนพระพุทธธรรมออกมาอย่างมากมายมหาศาลเลยทีเดียว ท่านผู้อ่านก็จะไม่เข้าใจอีกว่าท่านพุทธทาสเขียนหนังสือออกมาทำไมมากมายก่ายก่องเหลือเกิน ท่านอาจจะชมเชยว่าท่านพุทธทาสเป็นนักเขียนที่มีผลงานมากมายมหาศาลก็ได้ แต่ท่านจะยังไม่ทราบว่าผล งานทั้งนั้นทั้งหมดทุกชิ้น ล้วนเป็นผลงานคุณภาพเยี่ยมยอดไปทั้งนั้นเลยและมีวัตถุประสงค์โดยเฉพาะเจาะจงอย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งอันนี้ท่านผู้อ่านก็จะยังไม่เข้าใจอีก มาแค่นี้ ก็เห็นแล้ว คำที่ว่า ท่านยังไม่รู้จักพุทธทาส นั้นเป็นคำกล่าวที่ถูกต้องเพียงใด แล้วเราจะรู้จักท่านอย่างไรเล่า

  

1.         ท่านเป็นภิกษุผู้ชาตากรรมกำหนดมาโดยเฉพาะให้มาเขียนหนังสือเล่ม                   นี้โดยแท้ จริง เพราะหนังสือ- คัมภีร์เดิมจะไม่อาจใช้ได้ต่อไป เนื่องจากยุคสมัยได้ก้าวไปสู่เทคโนโลยีชั้นสูงจนไม่อาจสัมผัสสิ่งเก่า ๆ เดิม ๆได้อีกแล้ว

 

2.         ท่านบอกแนวทางปฏิบัติธรรมวิธีใหม่ สำหรับชาวธรรมะยุคโลกาภิวัตน์โดย เฉพาะ เพราะแนวทางปฏิบัติเดิมที่เราทำมาแบบอิงฮินดูมาตลอดนั้น จะไม่สามารถใช้ได้ในยุคใหม่อีกต่อไป ฉะนั้น ด้วยเหตุผล 2ประการนี้ ท่านพุทธทาสภิกขุ จึงเป็นเสมือนท่านผู้ถูกกำหนดให้มาสืบต่ออายุพระพุทธศาสนธรรม เชื่อมพระพุทธศาสนธรรมเข้ากับโลกยุคใหม่ สร้างพระพุทธศาสนธรรมแนวใหม่ให้เหมาะสมกับยุคสมัย ซึ่งอาจจะขัดแย้งกับข้อ ความหรือภาษาเดิมบ้าง หรือไม่ขัดแย้งบ้าง แต่มุ่งไปสู่เป้าหมายคือมรรคผลนิพานอย่าง เดียวกัน ท่านเสนอแนวทางปฏิบัติธรรมแนวใหม่ซึ่งแตกต่างจากวิธีเดิมไปอย่างมากก็มี อย่างน้อยก็มี อย่างสอดคล้องกันก็มี แต่งานทั้งหลายทั้งสิ้นของท่านพุทธทาสนั้นแหละเป็นงานที่จำเป็นต้องสร้างขึ้นมาเพื่อการต้อนรับยุคใหม่โดยเฉพาะ

 

 

ถ้าไม่มีพุทธทาส พุทธศาสน-ธรรมคงสดุดหยุดลง ณ จุดเชื่อมต่อยุคใหม่นี้ นั่นคือการสิ้นสุด ท่านพุทธศาสนิกชน ทั้งปวงจึงควรศึกษาพุทธศาสนาจากงานพิมพ์ของท่านพุทธทาสภิกขุให้ลึกซึ้ง ท่านจำเป็น อยู่ที่เดียวที่ต้องเลือกอ่านหนังสือธรรมะให้ถูกต้อง แต่ถ้าเมื่อใด ท่านรู้สึกว่าท่านได้รู้ได้เข้าใจไปหมดในคำสอนของท่านพุทธทาสแล้วละก็ อย่าเพิ่งเข้าใจว่ารู้หมดตามคำสอนของท่านเพราะยังมีคำสอนอีกส่วนหนึ่งที่ท่านซ่อนเอาไว้เสมอไป(ตามธรรมดาของท่านผู้รู้ทั้งหลาย) คือคำสอนที่ท่านไม่สอนไม่เอ่ยไม่ออกปากหรือเขียนออกมา พูดอีกอย่างก็คือท่านพุทธทาส ท่านบอกออกมาเพียงครึ่งหนึ่งอีกครึ่งหนึ่งท่านเว้นว่างเอาไว้ให้หากันเอาเองท่านผู้อ่านต้องพยายามเข้าใจในส่วนที่ท่านเว้นว่างเอาไว้ให้ได้ด้วย จึงจะถึงการตรัสรู้ธรรมโดยสมบูรณ์ (จะไม่มีคำว่า คุยเสียดีที่แท้แพ้กิเลสอีกต่อไป)

 

ท่านจำเป็นจะต้องรู้เคล็ดลับวิธีปฏิบัติธรรมตามคำสอนของท่านบ้างคือวิถีทางแห่งการใช้สติปัญญา ใช้ปัญญา ๆ ล้วน ๆ เห็นได้จากท่านไปดูนิกายต่าง ๆ ที่เมืองจีนและท่านพบนิกาย เซ็น ในหน้าปกหนังสือเล่มหนึ่งเกี่ยวกับเซ็น นั่นแหละบอกวิธีปฏิบัติธรรมโดยสติปัญญาที่เป็นรูปธรรม คือคิด ๆ ๆ ๆ คิดไป จนกว่าจะรู้แจ้งเห็นจริง ในสิ่งที่เอามาคิด (สิ่งที่เอามาคิดไม่ต้องเหมือนเซ็น แต่เหมือนของท่านพุทธทาส) ในการอ่านหนังสือก็คือการปฏิบัติธรรม แต่การอ่านอย่างปฏิบัติธรรมควร ต้องอ่านอย่างที่ท่านแนะนำไว้ ดังนี้

 

      "หัวข้อธรรมประเภทนี้ มีไว้สำหรับให้เพ่ง เพื่อให้เห็นข้อเท็จจริงแห่งข้อความ          นั้นแล้วเพ่งต่อไป เพื่อให้เกิดความรู้สึกเช่นนั้นขึ้นมาจริง ๆ จนจิตใจเปลี่ยนไป     ตามข้อเท็จจริงนั้น ในการที่จะทำให้เกิดความสังเวช ความไม่ประมาท การ เปลี่ยนนิสัยที่ไม่พึงปรารถนากวาด ล้างความรู้สึกชนิดที่ทำความรำคาญต่าง             ๆ ให้แก่ตนให้หมดไปจากจิต และมีความสะอาด สว่าง ความสงบ โดยสมควร            แก่การกระทำของตน ๆ ความรู้ความเข้าใจที่เกิดจากการเพ่งทำนองนี้ จะ      ถูกต้องและมีประโยชน์กว่าที่เกิดจากการอ่านตะพึด และยังเป็นการปฏิบัติ   กรรมฐานภาวนาชนิดหนึ่งอยู่ในตัว ทั้งสมาธิและปัญญาในระดับที่คนทั่วไปพึง            จะทำได้ และพร้อมกันนั้นก็เป็นศีลอยู่แล้วในขณะที่การสังวรระวังบังคับตัวให้      ทำเช่นนั้น ไม่มีโอกาสแก่ การทุศีลแต่ประการใด"

 

               จาก คำนำ หัวข้อธรรมในคำกลอน คัดเลือกโดย พุทธทาส อินฺทปญฺโญ

 

 

คำว่าการเพ่งในที่นี้หมายเอากิริยาตามความหมายธรรมดา ๆ ในภาษาไทยนั้นแหละ กระนั้นก็คล้ายกับการเพ่งตามหลักกรรมฐาน 10 คือ กสิณ หมายเอาการจับไว้แล้ว พิจารณา กสิณ เพียงมองดู ให้ใจจดจ่ออยู่ที่นั่น หากพัฒนาไปก็อาจไปได้ 2 ทาง ๆ หนึ่งเป็นกสิณชั้นสูงขึ้นไปอีก และทางหนึ่งสามารถพัฒนาเป็นวิปัสนาขึ้นในภายหลังได้ แต่การ เพ่งที่ท่านพุทธทาสแนะนำไว้เป็นการจับไว้เพื่อพิจารณาโดยตรง คือเป็นวิปัสนาไปเลย แต่ทั้งสองหลักการนี้จะเอามาเปรียบเทียบหรือแทนกันไม่ได้ แม้ว่าอาการกระทำจะคล้ายกันก็ตาม เพราะวัตถุที่เพ่งต่างกันและมีเป้าหมาย และ สมรรถนะที่จะอาจทำได้ไม่เหมือนกัน

 

การเพ่งที่จิตว่าง หรือเพ่งวลี ประโยค ความ คำ เช่น ปิด ปิด เปิด เปิด เปิด เป็นต้น เพ่งแล้วคิดใคร่ครวญ ใช้สติปัญญาไป ไม่วอกแวก คิด เฝ้าคิด คิดอย่างจริงจัง เอาเป็นเอาตาย โดยอาจสร้างระบบการคิดเฉพาะตัวขึ้นมาตามถนัดก็ได้เพื่อให้เกิดการต่อเนื่องและกระบวนการแห่งความคิดเกิดขึ้น จนในที่สุดก็ถึงการบรรลุธรรมได้ ซึ่งจะเหมือน การบรรลุในระบบเดิมเหมือนทางปฏิบัติดั้งเดิมไม่ผิดเพี้ยนกันเลย ต่างกันก็คือสามารถ ปฏิบัติบรรลุได้ขณะการทำงานไปในชีวิตประจำวันอันเป็นปกติวิสัย ที่สอดคล้องหรือไปได้ กับยุคสมัยอย่างดีทีเดียว

ฉะนั้น ท่านจำเป็นอยู่ที่จะต้องทำความรู้จักท่านพุทธทาสภิกขุ ให้ได้ และจงศึกษา ธรรมในโลกยุคใหม่นี้ จากหนังสือของท่านพุทธทาสภิกขุ เป็นหลัก เป็นพื้นฐานสำคัญ เพื่อการก้าวต่อไปในวิสัยใหม่แห่งศาสนิกชนสากล แห่งโลกาภิวัตน์ ซึ่งในหนังสือวิเคราะห์ ข่าวฯ นี้ จักได้นำมาเสนอและแนะนำสิ่งที่มีคุณค่าเลิศล้ำต่อไป ในแบบทันสมัย โปรด ติดตาม

 

 

                                                                        ไกลกิเลส

                                                                        (มิ.ย. 40 )

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

            11.         ( ยิ้มสำรวม )

                        ห ล ว ง พ่ อ เ ล่ า ใ ห้ ฟั ง

 

สมัยที่หลวงพ่อผม พระเทพวรมุนี ( เสน ปญญาวซิโร ) ยังอยู่ท่านให้ผมหัดทำสิ่งหนึ่งซึ่งทีแรกผมก็เหนียม ๆ อยู่ แต่ต่อมาก็เห็นว่า มีความจำเป็นจึงทำ คือหัดปลอมลายเซนต์ของท่าน จนเหมือน  ผมรู้ความจำเป็นเมื่อใบประกาศนียบัตรนักธรรมและธรรมศึกษาตกมานั่นเอง มีหลายร้อยใบที่เจ้าคณะจังหวัดจะต้องเซนต์ ซึ่งนับเป็นภาระหนักของผู้อาวุโส ท่านเล่าเรื่องลายเซนต์ของพระให้ฟังต่อว่าพระระดับเจ้าคณะอำเภอบางอำเภอยังทำหนังสือราชการไม่เป็น มีข้าราชการในแผนกศึกษาธิการทำให้บ้างต่อมาก็เลขานุการทำให้บ้างท่านบอกว่าเจ้าคณะอำเภอมักจะเซนต์ลายเซนต์ไม่ถูก ไม่ถูกซ่องบ้าง ไม่ถูกที่บ้าง ไม่ถูกบรรทัดบ้าง มีอยู่รูปหนึ่ง เซนต์ลายเซนต์ใต้วงเล็บมาทุกที ผมและใคร ๆ ฟังแล้วก็หัวเราะไม่สำรวม  ท่านเล่าต่อไปว่า เจ้าคณะอำเภอที่ไม่ค่อยจะรู้หนังสือ และไว้ใจลูกน้องมากเกินไปนี่แหละในที่สุดก็เกิดเรื่องขึ้นจนได้ มีอยู่รูปหนึ่งชราแล้ว วันหนึ่งก็มีหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอมาที่จังหวัด ผ่านรองเจ้าคณะจังหวัดมาถึงเลขานุการเจ้าคณะจังหวัด ไปถึงเจ้าคณะภาค เจ้าคณะภาคท่านก็ไม่นึกเฉลียวใจอะไร นึกว่าคงอยากจะพักผ่อนก็ลงนามอนุมัติการลาออกจากตำแหน่งให้ เมื่ออนุมัติการลาออกแล้วแจ้งกลับไปให้ทราบ ปรากฏว่าเจ้าคณะอำเภอท่านงง ตกใจ  แล้วถึงกับกุมขมับร้องลั่นว่า เลขาทำกูเข้าแล้ว  จึงเป็นที่ปรากฎกันออกมาว่าเท่านเองท่านไม่รู้เรื่องการขอลาออกจากตำแหน่งของท่านเลย นี่เป็นเรื่องที่ท่านเล่าให้ผมฟังนะครับไม่มีข้อเท็จจริง โดยจุดประสงค์เพื่อให้ได้ยิ้มสำรวมกัน ฯ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

            12        สัจธรรมสงฆ์   

 

ที่เราได้ยิน เราพูดกันว่า มลภาวะ หรือ มลพิษ มันมีขึ้นเพราะการทำลายธรรมชาติ ให้เราสังเกตดูให้ดีว่า แต่ก่อนโน้นประเทศไทยเรามี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว เดี๋ยวนี้ ฤดูหนาวเกือบจะไม่มีแล้วมีแต่ร้อนกับฝนร้อนจะมากกว่าฝนเสียด้วย ทั้งนี้เพราะป่าไม้ถูกทำลายไปมาก นั้นเอง ถ้าจะจัดสิ่งแวดล้อมให้ดีก็ต้องปลูกต้นไม้กันให้มาก ๆ ขณะนี้พวกที่อยู่เมืองใหญ่ ๆ ที่มีโรงงาน อุตสาหกรรมมาก ๆ กำลังตายแบบผ่อนส่ง

 

               จาก บทความเรื่อง พระพุทธศาสนากับการรักษาป่าไม้

               โดย พระราชวรรณเวที เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 13.       (คอลัมน์ประชาธิปไตยเบ่งบาน)

   สำรวจประชามติ ข้อเสนอแก้ไข พ.ร.บ.คณะสงฆ์

 

 

พิจารณาตามแนวทางที่กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการวางไว้ในแบบ สำรวจประชามติเพื่อแก้ไขพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ทางหนังสือพิมพ์ข่าวสด ๑๒ ก.พ. ๓๘ แล้ว มีข้อคิดเห็น ดังต่อไปนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 14.        (เพื่อประชาธิปไตยเบ่งบาน )

            บันทึกข่าวล่า

 

มหาเถรสมาคมให้จัดประชุมสัมมนาพระสังฆาธิการทุกระดับมหาเถรสมาคมมีมติเมื่อเร็วๆ นี้ เนื่องจากได้พิจารณาสถานการณ์สังคมและสิ่งแวดล้อมทางการเมืองและการเศรษฐกิจโดยรวม อันเป็นสถานการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจในเสถียรภาพของสถาบัน เสถียรภาพของสังคมและเสถียรภาพของประชาชน ในสถานการณ์เช่นนี้สงฆ์ทั้งพุทธจักรสมควร ได้มาทำความเข้าใจสถานการณ์ให้ถูกต้องตรงกันกับอีกประการหนึ่ง อัน เป็น เหตุผลเฉพาะสงฆ์เองคือ ยุคสมัยสิ่งแวดล้อมมีส่วนทำให้ พระสงฆ์มีความประพฤติย่อย่อนลงไป จึงเห็นควรจัด ประชุมสัมนาพระสังฆ์ฆาธิการทุกรูปทุกระดับ มีระดับเจ้าคณะภาค เลขานุการเจ้าคณะภาครองเจ้าคณะภาค เลขานุการเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด และเลขานุการเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล และเจ้าอาวาสทั่วประเทศ ทั้งคณะมหานิกาย และคณะธรรมยุต โดยให้เจ้าคณะใหญ่หนทั้งธรรมยุต และทั้วมหานิกาย 4 หนกลาง หนเหนือ หนใต้และหนตะวันออก ดำเนินการในเขตการปกครองที่รับผิดชอบให้เสร็จสิ้นไป ภายในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2540 การอบรมครั้งนี้มีหลักสูตร 2 วัน

 

สำหรับหนตะวันออกมีสมเด็จพระพุฒาจารย์( เกียว อุปเสโณ ) เป็นเจ้าคณะใหญ่ ซึ่งดูแลปกครองสงฆ์ภาค 8 9 10 11 และ 12 รวม 23 จังหวัด ภาค 8 มี 5 จังหวัดได้แก่ อุดรธานี หนองคาย เลย สกลนคร หนองบัวลำภู ภาค 9 มี 4 จังหวัดได้แก่ ขอนแก่น หนองคาย กาฬสสินธุ์ ร้อยเอ็ด ภาค 10 มี 6 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ นครพนม ยโสธร มุกดาหาร อำนาจเจริญ ภาค 11 มี 4 จังหวัด ได้แก่นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ สุรินทร์ ภาค 12 มี 4 จังหวัดได้แก่ ปราจีนบุรี นครนายกฉะเชิงเทรา และสระแก้วได้เริ่มการอบรมพระสังฆาธิการระภาคก่อน โดยเริ่มที่ภาค 8-9

 

เมื่อวันที่ 6-7 พฤษภาคม 2540 ไปสิ้นสุดที่ภาค 10-11-12 เมื่อวันที่ 23-24พฤษภาคม 2540 พระเถระทรงคุณวุฒิที่ถวายความรู้ในการประชุมระดับภาคมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ พระธรรมรัตน วิสุทธิ์ พระธรรมปริยัติโมลี พระธรรมปริยิโสภณ พระเทพวิสุทธิ์เมธี และพระเทพปริยัติสุธี

 

ในระดับจังหวัดเริ่มการอบรม ภายหลังรับนโยบายระดับภาคแล้ว สำหรับศรีสะเกษ เนื่องจากจังหวัดคณะสงฆ์ที่ใหญ่มากจังหวัดหนึ่งจึงมีการอบรมรอบนอกก่อน โดยเริ่มที่อำเภอขุขันธ์ ในวันที่ 22-23 พ.ศ. 40 แล้วกำหนดการอบรมรอบใน ภายหลัง ณ สำนักงานเจ้าคณะจังหวัด วัดเจียงอีศรีมงคลวรารามจะมีการประชุม อบรมพระสังฆาธิการระดับจังหวัดและอำเภอประมาณ 150 รูป มีพระราชวรรณเวที เจ้าคณะจังหวัดประธานอำนวยการอบรม ในระหว่างวันที่ 5-6 มิถุนายน 2540 ผลสสรุปการอบรม ประเด็นสำคัญหรือปัญหา จะได้รบรวมเสนอโอกาสต่อไป

/ 001 รายงาน

 

 

 

 

 

ร่างรัฐธรรมนูณเสร็จแล้ว ทุกจังหวัดเริ่มงานประชาพิจารณ์

 

หนังสือพิมพ์และวิทยุโทรทัศน์ รายงานข่าวกันเป็นระลอกๆเกี่ยวกับการโผล่ออก มาของรัฐธรรมนูญ ฉบัยใหม่ ที่เรียกว่า ฉบับประชาชน และรูปโฉมทั้งหมดของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็ปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์ ที่อุทิศให้อย่างเต็ม ๆ ก็ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับที่ 3-4 พฤษภาคม 2540 ลงครบทุกมาตราตั้งแต่มาตราที่ 1 ถึงมาตราสุด ท้ายคือมาตราที่ 339 ตามมาด้วรายการโทรทัศน์ ทุกช่อง วิจัย วิจารย์กันสนั่นเมือง ข้าง สสร. เองก็ชมชื่น ออกปากว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้น่ารักเหลือเกิน แล้วต่อมาหนังสือรัฐธรรมนูญ ฉบับของสภาร่างจัดทำเป็นปรากฏสู่ประชาชน ที่ศรีสะเกษได้เห็นโฉมเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2540 แล้วมีกาารทำประชาวิจารณ์ไปอยางรวดเร็ว ในวันที่ 18 พ.ค40 หลายฝ่ายพอใจ ทางฝ่ายค้านมีนายพิเชษฐ์ พันธุมวิชาติกุล พูดทางโทรทัศน์ว่า พรรคประชาธิปัตย์จะสนับสนุน แต่พรรคก็มีเพียง 123 เสียงเท่านั้น เกรงว่าพรรคความหวังใหม่จะค้าน ทางพรรคความหวังใหม่ไม่เห็นด้วย แต่พรรคความหวังใหม่ก็ยังขรึมอยู่ ยังไม่ระบุ อะไรแน่ชัด แต่ทุกฝ่ายก็พยายามเน้นว่าเป็นความชอบธรรมอย่างยิ่งไม่ว่าผู้ใดจะวิจารณ์ รัฐธรรมนูญไปอย่างใด โดยมีเหตุผลอันเป็นไปตามหลักพื้นฐานประชาธิปไตย ที่สร้างสรรค์กันด้วยเหตุผลและหลักฐานการอ้างอิง และโดยเหตุและผล โดยหลักฐานการอ้างอิงนั้น ออกมาอย่างไรก็ยอมรับรัฐธรรมนูญไปตามนั้น โดยมีเป้าหมายและผลประโยชน์ของ ประเทศชาติในในส่วนรวม คาดว่าอีกไม่นาน ก็คงจะเห็นแนวโน้มว่ารัฐสภาจะรับร่าง รัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่อย่างไร / 001 รายงาน

 

 

 

 

 

คณะสงฆ์ไทยประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตในท้องถนน 7 ศพที่สรัฐอเมริกา

 

สงฆ์จังหวัดนนทบุรีและพระนครศรีอยุธยาเดินทางไประหว่างกิจนิมนต์    อุบัติเหตุที่สร้างความตื่นตะลึงแด่ชาวไทยพุทธทั่วประเทศรายนี้ ถูกรายงานทางโทรทัศน์แทบทุกช่องเมื่อ เช้าวันที่ 21 พฏษภาคม 2540 หลังจากนั้นก็มีการงายงานรายระเอียดของเหตุการณ์ และการดำเนินการของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งฝ่ายตำรวจ โรงพยาบาลของประเเทศสหรัฐอเมริกา และหน่วยงานฝ่ายไทย เช่นสำนักแถลงข่าวไทยในกรุงวอซิงตันกงสุลใหญ่ไทยในแอลเอ เป็นต้น   

 

ในไทยหนังสือพิมพ์ทุกฉบับก็ทะยอยเสนอข่าวไปตามลำดับ ๆ ติดต่อกันไปหลายวันปรากฏว่ามีพระภิกษุผู้มรณภาพในอุบัติเหตุท้องถนนครั้งนี้ 6 รูปกับฆราวาสอีก 1 คน รวม 7 ศพด้วยกัน คือ พระครูนนทวรานุวัตร เจ้าอาวาสวัดสมรโกฏิ จ. นนทบุรี พระครูสิรินนทคุณ เจ้าอาวาสวัดพลับพลา จ.นนทบุรี พระคลิ้น รตฺนโชโต รองเจ้าอาวาสวัดกลางเกล็ด จ.นนทบุรี เลขานุการเจ้าคณะอำเภอปากเกร็ด จ.นนทบุรี พระครูเกษมจริยาภิรมย์ เจ้าวาสวัดบางจาก จ.นนทบุรี พระสังฆรักษ์จรูญ เจ้าอาวาสวัดสุวรรณาราม จ.นครปฐม และพระครูสุขุมธรรมวงศ์ เจ้าอาวาสวัดทางยาว เจ้าคณะอำเภอบางไทร จ. พระนครศรีอยุธยา ส่วนฆราวาสที่เสียชีวิตซื่อนายอมร บัลลังคกุล

 

ขณะเกิดอุบัติเหตุ เดินทางกลับจากไปปฏิบัติศาสนกิจที่วัดพุทธานุสรณ์ เมืองฟรีม้อนต์ ทางตอนใต้ของนครซานฟรานซิสโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยรถแวน มีผู้โดยสาร 12 คน/ รูป จะกลับไปวัดไทยที่เมืองลอสแอลเจลิส มลรัฐเดียวกันซึ้งเป็นมลรัฐชายฝรั่งมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อ เวลา 20.05 น วันที่ 19 พ.ค.40 ( ไทยเป็นวันที่ 20พ.ค.40 ) จุดที่เกิดเหตุ อยู่ถนนสายที่5 เมืองโคลินก้า ห่างนครซานฟรานซิสโกไปทางใต้ 160 กม. อยู่ระหว่างทางสองนครใหญ่ คือซานฟรานซิสโก และลอสแอลเจลิส( แอลเอ ) ตำรวจรัฐแคลิฟอร์เนียได้นำศพผู้เสียชีวิตเข้าพิศูจน์ ณ สถาบันนิติเวช เมืองเฟรสโน  มลรัฐแคลิฟฟอร์เนีย และนำผู้บาดเจ็บเข้าทำการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลเมืองเฟรสโน มีพระครูสังฆรักจรูล เจ้าอาอาสวัดซิงเลน อ.บางไทรจ.พระนคร ศรีอยุธยา  พระครูนนทสารวิสุทธ์ เจ้าอาวาสวัดกลางเกล็ด-เจ้าคณะอำเภอปากเกล็ด จ.นนทบุรี และ ครูประสิทธิรัตนคุณ เจ้าอาวาสวัดบางเคียนวิเชียรฉาน อ. บางปะอิน พระนครศรีอยุทยา ซึ่งปลอดภัยและออกจากโรงพยาบาลไปรักษาตัวที่วัดไทยเมืองเฟรสโนและวัดไทยในแอลเอแล้ว ที่ยังคงอยู่ในห้อง icu ต่อเพราะยังไม่พ้นขีดอันตรายก็คือพระครูวิจิตรนวกรรม เจ้าอาวาสวัดสิงห์ อ. บางไทร จ.พระนคร ศรีอยุธยา

 

ตำรวจระบุสาเหตุครั้งนี้ว่า ไม่ใช่เกิดจากแรงพายุทะเลทรายแต่อย่างใด หากเพราะคนขับรถประมาทซึ่งขณะนี้ยังไม่มีรายงานข่าวที่เชื่อได้ว่าคนขับรถขณะนี้เป็นใครเพราะได้มีลูกผลัดเปลี่ยนคนขับรถระหว่างทาง อนึ่งพระครูนนทวรานุวัตร ได้มีบทบาทได้ก่อตั้งมูลนิธิพระเทพวรมุนี( เสน ปญฺญาวชิโร ) ศรีสะเกษด้วยรูปหนึ่ง กรรมการมูลนิธิมีฯ พระอาจารย์บุญมี ปภสฺสโร พ.อ.ศรีสวัสดิ์ แสนพวง พ.ต. อ. ประเสริฐ สุทธิสนธิ์ อาจารย์เชิดพงษ์ ชนะบุตร ดร. นันทสาร สีสลับ และพระอาจารย์พยับ ปญฺญาธโร เลขาธิการมูลนิธิฯ เป็นต้นก็ได้แสดงออกซึ้งกตัญญูกตเวทิตาธรรมกันถ้วนหน้า และได้นัดหมายไปรอรับศพที่จะส่งกลับทางเครื่องที่ tg 775 ออกจากนครลอสแอลเจลิส เวลา 23.59 น. ถึงกรุงเทพฯ ในวันที่ 27 พ.ค.40 เวลา 09.00 น.  วิเคราะห์ในวงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัด ขอแสดงความเสียใจร่วมกับพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศในอุบัติเหตุร้ายแรงครั้งนี้ด้วย ฯ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 15.       หน้าบอกสถานะของเรา

 

            วิเคราะห์ข่าวในวงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดภาคอีสาน          รายคาบ

            วัตถุประสงค์                    เพื่อการนำความคิดไปสู่ความดีงาม

            ประจำเดือน                     เมษายน พุทธศักราช 2540

            คณะที่ปรึกษา                  ดร.นันทสาร สีสลับ*

                                                -กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและ                                                                 ประชาสัมพันธ์ สสร.ศรีสะเกษ

                                                -อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

            บรรณาธิการ                    พระพยับ ปญฺญาธโร**

                                                - อดีตเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ

                                                - อดีต ร.อ.พยับ เติมใจ กองบัญชาการทหารสูงสุด                                                                   สนามเสือป่า

            กองบรรณาธิการ   มหาเก่า เข่าขี้เมี่ยง เชียงบ้านนอก

            ผู้ร่วมอุมการณ์                 อดีตมหาเก่า เข่าขี้เมี่ยง เซียงอิสาน

            พิมพ์ที่                           มูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร) วัดมหาพุทธาราม                                                            ถนนขุขันธ์ อำเภอเมืองศรีสะเกษ                                                                                          จังหวัดศรีสะเกษ ๓๓๐๐๐

            โทร-โทรสาร                   (๐๔๕) ๖๒๒๔๕๕

      การแจกจ่าย

                                                - เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดทั่วประเทศ

                                                -วงการสงฆ์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  16.       เจ้าภาพประจำเดือน

 

  เจ้าภาพประจำเดือนพฤษภาคม2540    อาจารย์ประทิ่น แก้วจันทรากับคณะ

  เจ้าภาพประจำเดือนมิถุนายน2540       คุณพี่สนิท คุณเสรี ทองตัน กับคณะ

  เจ้าภาพประจำเดือน กรกฎาคม2540     อาจารย์ไพรัช เติมใจ กับคณะ

  เจ้าภาพประจำเดือนสิงหาคม2540        ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริบาลธุรกิจศรีสะเกษ

                                                     ทำภาชนะบรรจุน้ำสะอาด

 

                                      *N2\NEMONK4. CW-6

                                      -โปรดสมัครเป็นเจ้าภาพประจำเดือนต่อไป

                                      -โปรดช่วยกันเผยแผ่ออกไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 17.       บทกวีนิพนธ์ ปกหลัง

 

เพื่อนข้ามีมากมายหลายแห่งห้อง

ล้วนเผ่าผองธรรมบุตรสุดไพศาล

อยู่ฟากฟ้านภาพรหมยมบาล

ล้วนเชี่ยวชาญวรวุฒิยุทธวิธี ฯ

 

เพื่อนผู้มุ่งหมายเมื้อเยื้อไตรรัตน์

อาจเอื้อมฉัตรสุภาภรณ์อ่อนฉวี

เพื่อนผู้แกล้วแนวหน่อชินบดี

อาทรธรณิศนี้จะปรีดา ฯ

 

เพื่อนผู้ผ้ายพนมไพรไกลลิ่วล้ำ

ถึงฟ้าฉ่ำเชยทะเลแห่งเวหา

สู่ท้องครามนามสมุทร์สุดอาภา

กลืนภักษาเทพทิพย์โลกนิพพาน ฯ

 

เพื่อนผู้แผ้วแคล้วข่ายราคีคาว

ดั่งดวงดาวพราวแสงอนันตฉาน

เรื้องนภาอำไพพิไลลาน

ผยองยศหยิ่งสะท้านพิมานบน ฯ

 

เพื่อนหากเมินเหินห่างเส้นทางนี้

เส้นทางที่ข้าฝ่ามาสับสน

แหนงเพื่อนกล้ามาแล้วแผ้วพิมล

นรชนคืนถวิลถิ่นพระธรรม ฯ

 

โลกนี้ต่ำเพียงดินไร้สินศักดิ์

จึ่งช้านักมักใคร่ใฝ่ทางต่ำ

คือแนวธรรมดามนุษย์สุดระกำ

มีแต่ร่ำระบือทุกข์ไปทุกกาล ฯ

 

ข้ามาอยู่ครู่หนึ่งพึงเห็นเหตุ

ทางเทวษนรสัตวามหาศาล

จำเพื่อนกล้ามาพร้อมกล่อมกรุงพาล

ลองประมาณกลยุทธวุฒิธรรม ฯ

 

                                                ปธร.

                                                (ปัญญาธโรภิกขุ)

 

 

 

 

 

 

 

๑.         การครองตำแหน่งใดใดใน พ.ร.บ.คณะสงฆฆ์ปัจจุบันโดยไม่มีการกำหนดอายุของการดำรงตำแหน่ง หรือเป็นตำแหน่งตลอดชีพนั้น ยังไม่เหมาะ   

 

            สมควรเปลี่ยนแปลงใหม่ดังนี้

 

            ๑.๑       ควรกำหนดตำแหน่งทั้งสิ้นลงในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ เพื่อง่าย แก่การอ้างอิง

            ๑.๒       ควรมีกำหนดอายุของตำแหน่ง เจ้าอาวาส-เจ้าคณะจังหวัดรวมทั้งตำแหน่งอื่นใด โดยให้เกษียณอายุ ๕๕-๖๐ ปี หรือ

            ๑.๓       ให้มีการกำหนดอายุการดำรงตำแหน่ง โดยให้ดำรงตำแหน่งใดใดได้คราวละ ๓-๕ ปี  ให้อยู่ในตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกิน ๒ สมัย

 

 

 

 

เหตุผล : พระเป็นนักบวช ผู้มีหน้าที่สละ ไม่ยึดมั่นถือมั่น จึงจะชื่อว่า  อยู่ในวิถีธรรมและมีสิทธิ์ไปถึงเป้าหมายแห่งธรรมได้ การอยู่ในตำแหน่งโดยไม่กำหนดเวลา หรือจนตลอดชีพ เป็นเหตุให้หลงอำนาจ ไม่ผิดอะไรกับการ   ปกครองของฆราวาสฝ่ายบ้านเมืองเลย

 

 

 

อนึ่ง การอยู่ในตำแหน่งจนกระทั่งชราภาพแล้ว เป็นปัญหาสำคัญทางการปกครองสงฆ์ในปัจจุบันอย่างยิ่งเพราะพระที่อายุวัยชราแล้ว ไม่สามารถจะบริหารงานได้ เนื่องแต่เป็นวัยที่ต้องการความสงบและพักผ่อน และที่สำคัญก็   คือ ทางพระสงฆ์ถือว่า การเตรียมตัวก่อนตายนั้น เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพระสงฆ์ ฉะนั้น จึงเป็นเวลาที่พระสงฆ์จะต้องปลอดจากภาระหน้าที่เช่นเดียวกับข้าราชการบ้านเมืองที่เกษียณอายุราชการเมื่ออายุ ๖๐ เพื่อชีวิตได้พักผ่อน เพื่อการบุญ เพื่อการตระเตรียมการเดินทางไกล ไปสู่ปรโลกเช่นเดียวกัน นั่นหมายถึง การเปิดโอกาสให้พระสังฆาธิการได้มีเวลาช่วงหนึ่งในชีวิตที่ปลอดจากการผูกมัดภายนอก ให้ได้มีโอกาสในการทำจิตให้ไร้ภาระ        ไร้กังวล และจิตที่ว่างจากความกังวลทั้งปวง

 

นี่คือภาระของสิ่งที่เรียกว่าเตรียมตัวก่อนตายตามหลักของมรรคผล ซึ่งมีว่า หากทำจิตให้ว่างหรือไร้กังวลพ้นข้อผูกพันไม่ได้แล้ว ก็จะไม่สามารถบรรลุพระอริยสัจธรรมได้ ฉะนั้น หากออกกฎหมายใดมีผลให้เกิดความผูกพันหรือภาระแด่พระสงฆ์แล้ว นั่นจะเท่ากับขัดแย้งพระธรรม และกฎหมายขณะนี้ก็ขัดแย้งพระธรรมอยู่ จึงควรแก้ไขเสียให้เป็นไปตามธรรมโดยบริสุทธิ์ นั่นคือ กำหนดให้บั้นปลายชีวิตของพระสงฆ์ได้พบความอิสรภาพจากตำแหน่งหน้าที่ทุก ๆ รูปโดยไม่ละเว้น เพื่อการพ้นจากสถานะแห่งการจองจำโดยกฎหมาย โดยภาระหน้าที่ตำแหน่ง เป็นอิสระ และได้วิมุตจิตเพื่อการเตรียมตัวก่อนตายได้อย่างเต็มที่ นี่คือวิถีธรรม 

 

 

 

อีกประการหนึ่ง พระจะได้มีโอกาสตรวจสอบผลกรรมตัวเองก่อนตาย ว่าตลอดชีวิตที่ล่วงมาได้ประกอบกรรมใดไว้ กรรมสามารถเป็นที่พึ่งในปรโลกได้หรือไม่ เพราะกรรมเท่านั้นจะเป็นที่พึ่งได้ ไม่ใช่หลงยศ ตำแหน่งของจอมปลอมจนเคยตัว ตราบมัจจุราชมาเอาชีวิตก็ยังไม่รู้สึก หลงไปว่าสิ่งจอมปลอมนี้จะเป็นที่พึ่งในปรโลกได้   น่าเสียดาย

 

 

 

 

2.         สมเด็จพระสังฆราชควรเป็นประธานมหาเถรสมาคม เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับมหา  เถรสมาคม และมีฐานะเป็น ที่ประชุมพระสงฆ์ผู้ทรงวัยวุฒิและคุณวุฒิ แต่ไม่ควรมีหน้าที่ในการบริหารใดใด ให้มีหน้าที่อย่างเดียวคือการเผยแผ่หรือการสั่งสอนอบรม และการศาสนพิธีต่าง ๆ เพราะหน้าที่อันนี้พระสามารถทำได้ไปจวบจนวัยชราภาพแล้ว เพราะ   เป็นงานที่ปราศจากข้อขัดแย้งอยู่ในตัวเอง    และระบบวัฒนธรรมทางศาสนาของไทย พระเป็นไปตามความศรัทธา เมื่อมีศรัทธาเกิดขึ้นจึงมีการสอนการเทศน์ หรือแม้มีการเผยแผ่โดยวิธีใดใดก็ล้วนเนื่องมาจากความศรัทธาเป็นตัวกำหนดการเผยแผ่

 

 

ระดับมหาเถรสมาคม การเทศนาการสั่งสอนระดับนี้ ก็จะเป็นการสอนบุคคลระดับสำคัญ ๆ ของประเทศชาติ เช่นการสอนธรรมให้แก่คณะรัฐมนตรี หรือกลุ่มบุคคลในวงการชั้นสูงทางการอาชีพ รวมตลอดไปถึงงานการเผยแผ่ต่างประเทศ จะเป็นผลจริงจังขึ้น ด้วยระบบงานของคณะผู้อาวุโสสูงสุดแห่งศาสนจักร เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันนี้ ระบบสงฆ์ของเรามิได้มีการแบ่งหรือกำหนดหน้าที่ให้สมแก่ชนชั้นและภูมิปัญญาของคนในสังคม หากได้กำหนดให้มหาเถรสมาคมทำหน้าที่อันนี้ เพียงอย่างเดียว ก็จะอำนวยประโยชน์แก่การนำธรรมะไปสู่นักการเมือง ข้าราชการ และชนชั้นในสังคมระดับสูง ๆ ได้ และกากรเผยแผ่ศาสนาพุทธในต่างแดนก็จะน่าศรัทธาเลื่อมใสมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

 

 

 

3.         งานบริหารการคณะสงฆ์ ควรแบ่งงานดังนี้

 

 

3.1        งานเกี่ยวกับการเงิน ฆราวาสสมควรเข้ามาเป็นผู้บริหาร จัดการให้เพราะพระหรือนักบวชถ้าแตะเงินแล้ว นั่นหมายถึงอันตราย ไม่ใช่วิสัยและไม่ใช่วิถีธรรมอยู่แล้ว ทุกวันนี้ ปัญหาเกิดจากเรื่องเงินทั้งสิ้น   แต่เราสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามพระธรรมวินัยได้ยากเพราะเหตุผลว่าด้วยสิ่งแวดล้อมในสังคมได้เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดความยากลำบากในการปฏิบัติตามวิถีธรรมนี้   นั่นคือ พระหรือผู้บวชที่อุทิศชีวิตให้พระศาสนาจริง ๆ มุ่งไปในวิถีทางแห่งศาสนาจริง ๆ นั้น แทบไม่มีแม้แต่สัก ๑ % ของผู้บวชทั้งหมด เว้นเสียแต่จำใจเท่านั้นเองจึงจะอยู่ในบวรพุทธศาสนา  แต่อย่างไรก็ตาม หลักการในเรื่องการบริหารการเงินก็ควรให้เป็นไปในแนวทางนี้ไว้     ในระบบงานใหม่ ๆ บางระบบของคณะสงฆ์ปัจจุบัน ได้เป็นไปในลักษณะที่ไม่คำนึงถึงอันตรายที่จะเกิดจากการปล่อยให้สงฆ์จัดการเรื่องการเงินเองนี้ ที่เห็นชัดเจนว่าต่อไปหากไม่รีบแก้ไขเสียก็จะเกิดปัญหามากมายขึ้นตามมา นั่นก็คือปัญหาการจัดงบประมาณโรงเรียน หรือสำนักเรียนต่าง ๆ ไม่ว่างบประมาณสำหรับแผนกธรรม บาลี หรือปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา หรืออุดมศึกษา มหาวิทยาลัยสงฆ์ก็ดี   ไม่พึงถวายก้อนเงินลงมาให้คณะสงฆ์จัดการเองเป็นอันขาด อันตรายจะเกิดขึ้นในอนาคตไม่ช้าไม่นานแน่ ๆ ค  วรที่หน่วยงานงบประมาณจะจัดการให้เองโดยเรียบร้อย

 

 

3.2        ผู้บริหารหรือคณะบริหาร ควรต้องเป็นผู้ที่รอบรู้ทั้งทางโลกและ ทางธรรม    ควรเปิดโอกาสให้พระที่มีความรู้ทางฝ่ายโลกในระดับปริญญาตรีทางโลกขึ้นไป         มีอาวุโสทางธรรม ได้มีส่วนในการบริหารอย่างทั่วถึงทุกขั้นการบริหารคณะสงฆ์หรือวงการศาสนา   ไม่พึงมองว่าการศึกษาฝ่ายโลกไร้คุณธรรมทางศาสนาไปเสียทั้งหมด แต่แท้จริง เมื่อเปรียบเทียบจริงๆ แล้ว จะได้พบว่าแทบไม่มีความแตกต่างอะไรทางด้านคุณธรรมระหว่างพระผู้สำเร็จที่มาจากฝ่ายโลก  ที่ผ่านการศึกษาระดับสูงมาแล้วนั้น เป็นผู้ที่ได้รู้สัจจะแห่งชีวิตมามากพอสมควร มีประสบการณ์จริงในเรื่องราวของชีวิตมามากพอสมควรจึงสามารถสละเข้ามาอยู่ในศาสนาได้ ฉะนั้นจึงควรเปิดโอกาสให้พระที่มาจากฝ่ายวิชาการทางโลก ได้เข้าไปบริหารกิจการคณะสงฆ์ ซึ่งเป็นปัญหาอยู่ทุกวันนี้เนื่องมาจากความนึกคิดที่ค่อนข้างคับแคบและล้าหลัง    เพราะสงฆ์มีความรู้น้อย รู้แคบเหลือเกินนั่นเอง

 

และด้วยวิธีการนี้ จึงควรกำหนดอายุการอยู่ในตำแหน่งทุกตำแหน่งไว้ ควบคู่ไปกับการเปิดโอกาสให้พระทุกรูปมีโอกาสเท่าเทียมกัน

 

 

3.3        ไม่ควรมีเจ้าคณะภาค ควรปล่อยให้ท้องถิ่นปกครองกันเองให้มากที่สุดกระจายอำนาจออกไปให้ท้องถิ่นให้มากที่สุด การตัดสินใจทางการปกครองควรต้องเป็นเรื่องของท้องถิ่นตามหลักประชาธิปไตย เพราะท้องถิ่นย่อมรู้ความต้องการของบุคคลในท้องถิ่นดี ฉะนั้น ทางที่ถูกก็คือ อย่าออกกฎหมายให้อำนาจ   จึงไม่ควรมีเจ้าคณะภาค และเมื่อไม่มีเจ้าคณะภาคแล้ว จังหวัดก็สามารถบริหารงานของท้องถิ่นได้ ภายใต้การดูแลควบคุมเจริญศรัทธาของประชาชนในท้องถิ่นของผู้บริหารเองได้อย่างถูกต้องตรงข้อมูลข้อเท็จจริง

 

อนึ่ง ระบบการตรวจราชการสงฆ์ มักสร้างความยากลำบากแก่พระผู้น้อย เนื่องแต่สงฆ์เรายังคงเป็นระบบเจ้าขุนมูลนายอยู่อย่างเต็มที่นั่นเอง และนี่แหละ ปัญหาประชาธิปไตยของชาติไทยเราละ ถ้าระบบเจ้าขุนมูลนายสงฆ์ยังแรงอยู่อย่างทุกวันนี้ ประชาธิปไตยก็เจริญยากเพราะสงฆ์เป็นต้นวัฒนธรรมการเมืองไทย ฉะนั้น เมื่อมีโอกาส ทำได้ เราต้องออกกฎหมายค่อย ๆ ลิดรอนระบบนี้ลงไปตามลำดับ เพราะแม้วิถีธรรมเอง ก็ยิ่งไม่ปรารถนาให้มีระบบเช่นนี้มาปิดกั้นความนึกคิดวิปัสนาญาณอิสระ อันเป็นของเฉพาะตนเพื่อการบรรลุสัจธรรมชั้นสูงสุด

 

 

 

3.4        ใครควรเป็นผู้ปกครองสงฆ์ ตอบว่า ผู้มีความรู้ดีเป็นผู้ปกครอง รู้ดี หมายถึงรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม แต่เท่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เราได้คนที่มีความรู้ด้านเดียว ทั้งนี้ก็เพราะระบบการศึกษาของคณะสงฆ์ไทยให้การศึกษาพระสงฆ์แบบแคบ ๆ เช่นนั้น พระผู้จบป.๙ แทบไม่รู้อะไรเกี่ยวกับการปกครองการบริหาร    และแทบมืดบอดไม่เห็นความสำคัญอย่างไรของสิ่งแวดล้อมกับการบริหารเลยก็มี   ทั้งนี้เพราะระบบการศึกษาหรือหลักสูตร  การศึกษาที่บกพร่องอย่างมาก ๆ แล้วไม่มีการคิดแก้ไข แม้หลักปรัชญาในการศึกษาที่ ผิดพลาดเห็น ๆ อยู่ ก็ไม่เคยมีการคิดแก้ไขเลย

 

ฉะนั้น ผู้ปกครองสงฆ์ยุคใหม่นี้ จำเป็นจะต้องเป็นผู้ที่รู้ดีทั้งทางโลกและทางธรรม เพื่อนำคณะสงฆ์ไปสู่การบริหารการปกครองที่ทันกาลทันสมัยทันยุคโลกาภิวัตน์ และทันการเปลี่ยนแปลง และมีการเปลี่ยนแปลงในคณะสงฆ์เกิดขึ้นในส่วนที่เป็นวิธีการทั้งหลาย

 

 

 

3.5        การปกครองวัด ทุกวันนี้ เจ้าอาวาสมีอำนาจมากตามมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ เห็นได้ว่ามีอำนาจมาก แต่ในขณะเดียวกันสิทธิของพระลูกวัด ไม่มีการบัญญัติไว้ในกฎหมาย

 

            ในทางพระธรรมวินัยแล้ว ขึ้นชื่อว่าสงฆ์ ย่อมเสมอกันด้วยศีล ไม่ว่า  พระใดเสมอกันหมดด้วยศีล แต่เมื่อมีกฎหมาย ๆ กำหนดให้เกิดความแตกต่างขึ้น ทำให้พระผู้ดำรงตำแหน่งมีอะไรที่พิเศษขึ้นโดยไม่ชอบธรรมวินัย ขณะนี้กฎหมายไม่เป็นธรรมสำหรับพระลูกวัดและทุกวันนี้ปัญหาที่เกิดในวงการศาสนาพุทธที่เป็นพื้นฐานแห่งปัญหาทั้งสิ้นทั้งมวลนั้นก็คือ ปัญหาครอบครัวของพระ หรือปัญหาภายในวัดนั่นเองละม้ายคล้ายปัญหาทางโลก หรืออย่างเดียวกันก็ไม่ผิด หากถือว่า นี่คือ ปัญหาครอบครัวในวัดทุกวันนี้            ผู้ที่อยู่ในวัดหามีความสุขไม่      พระอยู่ในวัดกันอย่างไม่มีความสุข    นี่คือปัญหาที่สะท้อนให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่นปัญหาสำนักสงฆ์เถื่อน วัดเถื่อน  ปัญหาการบุกรุกป่าของสำนักสงฆ์ ปัญหาสงฆ์มีที่อยู่ไม่เป็นที่เป็นทาง ซึ่งบัดนี้ ท่านรัฐมนตรีจะมาบังคับให้ออกบัตรประจำตัวโดยหวังว่าพระจะได้อยู่เป็นที่เป็นทางขึ้น นั่นมิใช่การแก้ปัญหา เพราะปัญหาแท้จริงคือครอบครัวสงฆ์ไม่มีความสุข เหตุที่ครอบครัวสงฆ์ไม่มีความสุข แล้วยังเป็นครอบครัวที่สมาชิกในครอบครัวมักจะทะเลาะเบาะแว้งเป็นศัตรูกัน ก็เนื่องมาจากขาดเป้าหมายแห่งชีวิต ไม่รู้เป้าหมายแห่งการที่ดำรงอยู่ไปวันหนึ่ง    ๆ   ไม่มีการ พัฒนาจิตใจ   พัฒนาการทางจิตล้มเหลวเลยเห็นแก่เงิน แก่ลาภ แก่ยศ แก่สรรเสริญ แต่สิ่งเหล่านี้ ผู้ที่ได้มากก็ล้วนแต่   เป็นเจ้าอาวาสทั้งสิ้น พระลูกวัดไม่มีสิทธิ์ เมื่อเห็นแก่เงิน ก็ไปคบหาประจบประแจงคหบดี ฆราวาส เอาใจใส่รับใช้ฆราวาส ไม่ดูแลสงฆ์ในปกครอง แม้เจ็บไข้ได้ป่วยก็ไม่มีเจ้าอาวาสไหนเอาใจใส่ เพราะมัวแต่ยุ่งกิจการชาวบ้านเพื่อเห็นแก่ลาภอยู่ตลอดเวลา และเมื่ออยากมียศหรือเลื่อนยศ เจ้าอาวาสก็เร่งงานก่อสร้างต่าง ๆ เพื่อเสนอความดีงามแก่ตนไปเอายศ ส่วนลูกน้องทที่ช่วยงานแทบล้มตายไม่ได้อะไร ก็ค่อย ๆ เกิดความห่างเหินเมินหมางกันออกไป พอได้ยศก็วุ่นวายไปอีก ลูกน้องในวัดก็วุ่นวายตามไป แต่ผลประโยชน์ไม่ได้ด้วย ก็ยิ่งห่างเหินไปอีก ทำให้ไม่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเกิดขึ้นภายในวัด คำว่าสงฆ์ ไม่มีความเสมอกันด้วยศีลเสียแล้ว เพราะมี ยศ ลาภ มาแบ่งชั้นวรรณะ ทำให้คุณค่าความดีงาม ความประเสริฐของศีล ถูกบดบังเสียด้วยโลกียทรัพย์ คนก็     มิได้มองที่คุณงามความดีของพระสงฆ์ แต่มองที่ทรัพย์ที่ยศของพระสงฆ์ก็เกิดความเมินหมางกัน หรือเกิดระบบประจบประแจงแบบเจ้ากับทาสขึ้นในวงการสงฆ์ แต่ส่วนมากแล้วต่างก็คับแค้น แล้วโอกาสแก้แค้นก็มาถึง เมื่อเจ้าอาวาสเจ็บไข้ได้ป่วย ถึงแก่ชราภาพ เขาก็ไม่ไปดูแล บางองค์ เขาหามลงมาไว้ที่ห้องชั้นพื้นดินให้นั่งรอความตายอยู่ที่นั่น    จะลาออกจากตำแหน่งก็ไม่ยอมลาออก ทำงานก็ทำงานไม่ได้ ก็เลยกลายเป็นวงจรแห่งความเคียดแค้นอันลึกซึ้งในวงการสงฆ์แบบนี้อยู่ทุกวันนี้    วงการสงฆ์จึงเป็นครอบครัวที่ไม่มีความสุขเสียเลยในทุกแห่งหนบนปถพีไทยยุคนี้   ขอให้สังเกตจากการลาสิกขาของพระที่มีความรู้สูง ๆ   สงฆ์ทุกวันนี้จึงเป็นกลุ่มชนที่ประหลาดเพราะเกิดมาเพื่อชดใช้กรรม ต้องทนหน้าอมยิ้มใจอมทุกข์เวทนาไปตลอดชาติ  

 

           

            ฉะนั้น เรื่องราวของวัดจำเป็นต้องมีบทบัญญัติที่ประกันสิทธิของพระลูกวัดไว้ด้วยประการต่าง ๆ เช่นสิทธในการที่จะปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้นเฉพาะตน คือสิทธิในการที่จะปฏิบัติภาวนา สมาธิ หรือจำเริญวิปัสนากัมมัฏฐานอันใด        เพื่อประโยชน์ทาง ธรรมได้อย่างมั่นใจ และเห็นเป็นสิ่งสำคัญควรแก่การเชิดชูยกย่อง   สิทธิในการที่จะเดินทาง การที่จะแสวงหาสัจธรรม ในแห่งหนตำบลใดใดตราบที่ยังไม่บรรลุมรรคผล สิทธิที่จะถือธุดงค์ หรือการที่จะมีที่อาศัย หรือการก่อสร้างสถานปฏิบัติธรรมอันเหมาะแก่ฐานะหรือกาละแห่งการประพฤติปฏิบัติธรรมของท่าน   รวมทั้งสิทธิในการที่จะพักผ่อน แสวงหาหรือเสพความสงบสงัด และความสันโดษแห่งธรรมตามปรารถนา หรือเมื่อวัยชราเข้ามาเยือนแล้ว ก็มีสิทธิในการตระเตรียมตัวเพื่อการเดินทางไกลไปสู่ปรโลกได้เท่า ๆ กับผู้มีอำนาจสูงสุดในวัดนั้น

 

 

3.6        เรื่องอื่น ๆ อีกมากมาย ก็คือเรื่องการตรวจสอบความประพฤติของพระสงฆ์อย่างเป็นระบบ ก็น่าที่จะกำหนดมาตรการเอาไว้ พร้อมทั้งบทกำหนดโทษให้ชัดเจน แต่เรื่องนี้มีปัญหามากเพราะรัฐมนตรีไม่กล้าตรวจสอบพระใหญ่ ๆ โต ๆ กล้าแต่ตรวจสอบพระกระจอกธรรมดา ๆ    ดังจะเห็นจากผลงานที่ผ่านมา ล้วนแต่ทำกับพระลูกวัดธรรมดา ๆเท่านั้น ส่วนพระใหญ่ เจ้าอาวาส เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัดขึ้นไป นึกหรือว่าบริสุทธิ์ นึกว่าสำเร็จเป็นพระโสดาบันกันหมดแล้วหรือ ?    เปล่า !   ยิ่งเหมือนปุถุชน เจ้าขุนมูลนายไปไม่รู้กี่เท่า  

 

เมื่อเป็นเช่นนี้จะอาศัยมาตรการอะไร อย่างไร ไป ตรวจสอบเขา       ในวัดที่บ้านนอก ผู้ใหญ่บ้านกำนัน ประชาชนเขาทำหน้าที่เขาเด็ดขาดอยู่แล้ว แต่รัฐมนตรีผู้ที่จะต้องตรวจสอบสงฆ์มีระดับ วัดมีระดับ เช่นชั้นวรวิหาร ขึ้นไปเหมือนกันนั้น กล้าทำหรือไม่ ? มีศักดิ์ศรี มีคุณธรรมอะไรไปตรวจสอบท่านเจ้าคุณผู้ทรงยศถาบรรดาศํกดิ์ใหญ่เหล่านั้นได้บ้าง ?          เห็นเกิดเรื่องขึ้นมาไม่เคยจับได้             เหมือนหว่านแหได้แต่ปลาส้อยปลาซิว

 

ฉะนั้น เมื่อจะออกกฎหมายมา ท่านก็ต้องคำนึงด้วยว่าการใช้กฎหมายนั้นจะต้องเสมอหน้าเท่าเทียมกันหมดไม่ละเว้น จึงจะได้ชื่อว่าความยุติธรรมตามกฎหมาย และเพื่อ            สร้างสรรค์และพัฒนาการศาสนวิถีโดยแท้จริง

 

 

 

 

4.         เรื่องด่วนในวงการศาสนาที่ควรป้องกันและแก้ไขก็คือ เรื่องเงิน ไม่ว่างานใดของคณะสงฆ์ไม่ควรให้สงฆ์จัดการการเงินเอง โดยเฉพาะงานการศึกษา ควรจัดการการเงินให้เรียบร้อย   อย่าให้ท่านทำเอง ถ้ามิฉะนั้นจะเกิดเป็นปัญหาใหญ่โตในอนาคต

 

อีกปัญหาหหนึ่งก็คือสตรี ปัญหานี้จะต้องรีบดำเนินการแก้ไข เนื่องมาจากระบบการศึกษาบางระบบที่เปิดโอกาสให้พระภิกษุสามเณรเข้าเรียนศึกษารวมกับฆราวาสทั่ว ๆ ไปได้ ทำให้เกิดการปะปน  พระ-สามเณรมีโอกาสได้ใกล้ชิดสตรีมากขึ้น โดยนิตินัยคือเป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนกันอยู่ ในฐานะนักเรียน เรียนความรู้อย่างเดียวกัน แก้ปัญหาอย่างเดียวกัน และเมื่อเข้าโรงเรียนระบบนี้ ความมีวินัยตามพระธรรมวินัยก็จะถูกระรานไปด้วยระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษา ทำให้เสียสมณสารูปไปส่วนหนึ่ง แต่ที่สำคัญก็คือ พระ-สามเณรที่ไม่มีทางออกในทางเพศ โดยวิถีทางของปุถุชน จะได้รับความกดดันมาก ก็ทำให้เกิดผลเสียหายขึ้นได้ และนำไปสู่ปัญหาทางพระวินัยสงฆ์ต่อไป

 

ในระยะยาวปัญหาทั้งสองประการนี้จะทวีมากยิ่งขึ้นไปตามลำดับ จึงต้องรีบเร่งวิเคราะห์หาทางแก้ไขปัญหาเสียแต่เดี๋ยวนี้

 

 

 

 

 

5.         ข้อคิดเห็นในการพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน

 

 

5.1        รัฐบาลพึงเชื่อว่าคณะสงฆ์ต้องการกำลังจากภายนอกในการแก้ปัญหาภายในของตัวเองเพราะในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ สงฆ์ไม่อยู่ในฐานะที่จะช่วยตัวเองได้ ไม่ว่าเรื่องใดใด (เช่น   กรณียันตระเป็นต้น) ฉะนั้น ยุคนี้ หากจะคิดรักษาพระพุทธศาสนาแล้ว จะอยู่ที่ฝ่ายบ้านเมืองและฝ่าย ฆราวาสญาติโยม อุบาสกอุบาสิกาทั้งสิ้นที่จะยื่นมือเข้าไปจัดการให้วงการสงฆ์มีกำลังวังชาขึ้นเสียก่อน แต่วิถีทางการจัดการให้นั้น จะต้องเป็นการจัดการให้พระสงฆ์ดำเนินไปในวิถีธรรมให้ได้เท่านั้น    มิใช่จัดการให้ตามใจกิเลส

 

 

5.2        การกำหนดมาตรการต่าง ๆ ทางกฎหมาย พึงกำหนดโดยเหตุผลและข้อเท็จจริงหรือ ข้อมูลที่ได้รวบรวมมา แล้วดำเนินการไปโดยเด็ดขาดตามนั้น ไม่ควรมีอคติในการตัดสินใจ   ไม่ควรเกรงใจฝ่ายสงฆ์โดยไม่มีเหตุผล   เพราะสงฆ์ทุกวันนี้มิได้มีสถานะ แห่งสุขภาพของนักบวชอันสมบูรณ์ หากแต่เหมือนคนไข้ จะต้องอาศัยคนภายนอกช่วยรักษาเยียวยาหรือรักษาผ่าตัดให้ ดังกล่าวแล้วในข้อต้น

 

 

 

5.3        พยายามลิดรอนระบบเจ้าขุนมูลนายในคณะสงฆ์ลงไปตามลำดับ เพื่อเห็นแก่ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ทุกคนปรารถนา และเพื่อเกิดประชาธิปไตยในหมู่สงฆ์ด้วย

 

 

เหตุผลในเรื่องนี้ก็คือเรื่องราวของวัฒนธรรม วัฒนธรรมสำหรับประชาธิปไตยก็ต้องเป็นวํฒนธรรมวิทยาศาสตร์ มิใช่วัฒนธรรมไสยศาสตร์หรือวัฒนธรรมเจ้าขุนมูลนายอีก         ต่อไป ประชาธิปไตยจะเจริญเติบโตไปไม่ได้ หากพื้นฐานวัฒนธรรมไสยศาสตร์หรือเจ้า  ขุนมูลนายยังคงดำเนินไปเช่นนี้

 

 

 

5.4        จะต้องศึกษาข้อมูลอย่างต่อเนื่องไปอีก เพื่อเตรียมการแก้ไขพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ใหม่อีกครั้งหนึ่งในประมาณ ๕ ปีข้างหน้า เพื่อให้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์นั้น สามารถครอบคลุมวิถีธรรมได้ทั้งหมด เพราะวิธีการทางกฎหมายนั้นมีความจำเป็นสำหรับยุคสมัยนี้เพื่อที่กฎหมายจะทดแทนพระวินัยได้โดยสมบูรณ์ จึงจำเป็น จะต้องทำการศึกษาเก็บข้อมูลไปให้ละเอียดตั้งแต่บัดนี้ และจะต้องศึกษาทำความเข้าใจในวิธีการเขียนกฎหมาย ให้ทดแทนวิถีพระธรรมวินัยให้สมบูรณ์แบบ จึงจะสามารถ พิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้

 

 

แสดงความคิดเห็นมาข้างต้นด้วยบริสุทธิ์ใจ และประสงค์ให้ข้อมูลที่แท้จริงอย่างเต็มที่       อย่างไม่มีอคติ เพื่อการแก้ไขมีประสิทธิภาพ.

 

 

 

ขอให้ใช้ชื่อนี้ : หิริ โอตตัปปะ๑๙ ก.พ. ๒๕๓๙

แทน พระพยับ ปญฺญาธโร(อดีตเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ)

วัดมหาพุทธาราม จังหวัดศรีสะเกษ  ๓๓๐๐๐

โทร.- โทรสาร (๐๔๕) ๖๒๒๔๕๕

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
----- ***** ----- โปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate นี่คือเวบไซต์คู่ www.newworldbelieve.com กับ www.newworldbelieve.net เราให้เป็นเวบไซต์ที่เสนอธรรมะหรือ ความจริง หรือ ความคิดเห็นในเรื่องราวของชีวิต ตั้งใจให้ธัมมะเป็นทาน ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แด่คนทั้งหลาย ทั้งโลก ให้ได้รู้ความจริงของศาสนาต่าง ๆในโลกวันนี้ และได้รู้ศาสนาที่ประเสริฐเพียงศาสนาเดียวสำหรับโลกยุคใหม่ จักรวาลใหม่ เรามีผู้รู้ ผู้ตรัสรู้ ผู้วินิจฉัยสรรพธรรมสรรพวิชชา สรรพศาสน์ และสรรพศาสตร์ พอชี้ทางสู่โลกใหม่ ให้ความสุข ความสบายใจความมีชีวิตที่หลุดพ้นไปสู่โลกใหม่ เราได้อุทิศเนื้อที่ทั้งหมดเป็นเนื้อที่สำหรับธรรมะทั้งหมด ไม่มีการโฆษณาสินค้า มาแต่ต้น นับถึงวันนี้ร่วม 14 ปีแล้ว มาวันนี้ เราได้สร้างได้ทำเวบไซต์คู่นี้จนได้กลายเป็นแดนโลกแห่งความสว่างไสว เบิกบานใจ ไร้พิษภัย เป็นแดนประตูวิเศษ เปิดเข้าไปแล้ว เจริญดวงตาปัญญาละเอียดอ่อน เห็นแต่สิ่งที่น่าสบายใจ ที่ผสานความคิดจิตใจคนทั้งหลายด้วยไมตรีจิตมิตรภาพล้วน ๆ ไปสู่ความเป็นมิตรกันและกันล้วน ๆ วันนี้เวบไซต์นี้ ได้กลายเป็นโลกท่องเที่ยวอีกโลกหนึ่ง ที่กว้างใหญ่ไพศาล เข้าไปแล้วได้พบแต่สิ่งที่สบายใจมีความสุข ให้ความคิดสติปัญญา และได้พบเรื่องราวหลายหลากมากมาย ที่อาจจะท่องเที่ยวไปได้ตลอดชีวิต หรือท่านอาจจะอยากอยู่ณโลกนี้ไปชั่วนิรันดร ไม่กลับออกไปอีกก็ได้ เพียงแต่ท่านเข้าใจว่านี่เป็นแดนต้นเรื่องเป็นด่านข้ามจากแดนโลกเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง และซึ่งเป็นโลกหรือบ้านของท่านทั้งหลายได้เลยทีเดียว ซึ่งสำหรับคนต่างชาติ ต่างภาษาต่างศาสนา ได้โปรดใช้การแปลของ กูเกิล หรือ Google Translate แปลเป็นภาษาของท่านก่อน ที่เขาเพิ่งประสบความสำเร็จการแปลให้ได้แทบทุกภาษาในโลกมนุษย์นี้แล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้เอง นั้นแหละเท่ากับท่านจะเป็นที่ไหนของโลกก็ตาม ทั้งหมดโลกประมาณ 7.6 พันล้านคนวันนี้ สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในโลกของเราได้เลย เราไม่ได้นำท่านไปเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่การนำไปสู่ความจริง ความรู้เรื่องชีวิตใหม่ การอุบัติใหม่สู่ภาวะอริยบุคคล ไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปพ้นจากทุกข์ ทั้งหลายไปสู่โลกแห่งความสุขแท้นิรันดร คือโลกนิพพานขององค์บรมศาสดาพุทธศาสนา พระบรมครูพุทธะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ท่านโปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate ท่านก็จะเข้าสู่โลกนี้ได้ทันทีพร้อมกับคน7.6พันล้านคนทั้งโลกนี้. ----- ***** ----- • หมายเหตุ เอาขึ้นเวบไซต์ แทนของเดิม ทั้ง 2 เวบ .net .com วันที่ 21 เม.ย. 2565 เวลา 07.00 น. -----*****-----