ReadyPlanet.com
dot
dot dot
bulletBUDDHISM TO THE NEW WORLD ERA
bullet1 Thai-ไทย
bullet2.English-อังกฤษ
bullet3.China-จีน
bullet4.Hindi-อินเดีย
bullet5.Russia-รัสเซีย
bullet6.Arab-อาหรับ
bullet7.Indonesia-อินโดนีเซีย
bullet8.Japan-ญี่ปุ่น
bullet9.Italy-อิตาลี
bullet10.France-ฝรั่งเศส
bullet11.Germany-เยอรมัน
bullet12.Africa-อาฟริกา
bullet13.Azerbaijan-อาเซอร์ไบจัน
bullet14.Bosnian-บอสเนีย
bullet15.Cambodia-เขมร
bullet16.Finland-ฟินแลนด์
bullet17.Greek-กรีก
bullet18.Hebrew-ฮีบรู
bullet19.Hungary-ฮังการี
bullet20.Iceland-ไอซ์แลนด์
bullet21.Ireland-ไอร์แลนด์
bullet22.Java-ชวา
bullet23.Korea-เกาหลี
bullet24.Latin-ละติน
bullet25.Loa-ลาว
bullet26.Finland-ฟินแลนด์
bullet27.Malaysia-มาเลย์
bullet28.Mongolia-มองโกเลีย
bullet29.Nepal-เนปาล
bullet30.Norway-นอรเวย์
bullet31.persian-เปอร์เซีย
bullet32.โปแลนด์-Poland
bullet33.Portugal- โปตุเกตุ
bullet34.Romania-โรมาเนีย
bullet35.Serbian-เซอร์เบีย
bullet36.Spain-สเปน
bullet37.Srilanga-สิงหล,ศรีลังกา
bullet38.Sweden-สวีเดน
bullet39.Tamil-ทมิฬ
bullet40.Turkey-ตุรกี
bullet41.Ukrain-ยูเครน
bullet42.Uzbekistan-อุสเบกิสถาน
bullet43.Vietnam-เวียดนาม
bullet44.Mynma-พม่า
bullet45.Galicia กาลิเซียน
bullet46.Kazakh คาซัค
bullet47.Kurdish เคิร์ด
bullet48. Croatian โครเอเซีย
bullet49.Czech เช็ก
bullet50.Samoa ซามัว
bullet51.Nederlands ดัตช์
bullet52 Turkmen เติร์กเมน
bullet53.PunJabi ปัญจาบ
bullet54.Hmong ม้ง
bullet55.Macedonian มาซิโดเนีย
bullet56.Malagasy มาลากาซี
bullet57.Latvian ลัตเวีย
bullet58.Lithuanian ลิทัวเนีย
bullet59.Wales เวลล์
bullet60.Sloveniana สโลวัค
bullet61.Sindhi สินธี
bullet62.Estonia เอสโทเนีย
bullet63. Hawaiian ฮาวาย
bullet64.Philippines ฟิลิปปินส์
bullet65.Gongni-กงกนี
bullet66.Guarani-กวารานี
bullet67.Kanada-กันนาดา
bullet68.Gaelic Scots-เกลิกสกอต
bullet69.Crio-คริโอ
bullet70.Corsica-คอร์สิกา
bullet71.คาตาลัน
bullet72.Kinya Rwanda-คินยารวันดา
bullet73.Kirkish-คีร์กิช
bullet74.Gujarat-คุชราด
bullet75.Quesua-เคซัว
bullet76.Kurdish Kurmansi)-เคิร์ด(กุรมันซี)
bullet77.Kosa-โคซา
bullet78.Georgia-จอร์เจีย
bullet79.Chinese(Simplified)-จีน(ตัวย่อ)
bullet80.Chicheva-ชิเชวา
bullet81.Sona-โซนา
bullet82.Tsonga-ซองกา
bullet83.Cebuano-ซีบัวโน
bullet84.Shunda-ชุนดา
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet86.Sesotho-เซโซโท
bullet87.NorthernSaizotho-ไซโซโทเหนือ
bullet88.Somali-โซมาลี
bullet89.History-ประวัติศาสตร์
bullet90.Divehi-ดิเวฮิ
bullet91.Denmark-เดนมาร์ก
bullet92.Dogry-โดกรี
bullet93.Telugu-เตลูกู
bullet94.bis-ทวิ
bullet95.Tajik-ทาจิก
bullet96.Tatar-ทาทาร์
bullet97.Tigrinya-ทีกรินยา
bullet98.Check-เชค
bullet99.Mambara-มัมบารา
bullet100.Bulgaria-บัลแกเรีย
bullet101.Basque-บาสก์
bullet102.Bengal-เบงกอล
bullet103.Belarus-เบลารุส
bullet104.Pashto-พาชตู
bullet105.Fritian-ฟริเชียน
bullet106.Bhojpuri-โภชปุรี
bullet107.Manipur(Manifuri)-มณีปุระ(มณิฟูรี)
bullet108.Maltese-มัลทีส
bullet109.Marathi-มาราฐี
bullet110.Malayalum-มาลายาลัม
bullet111.Micho-มิโช
bullet112.Maori-เมารี
bullet113.Maithili-ไมถิลี
bullet114.Yidsdish-ยิดดิช
bullet115.Euroba-ยูโรบา
bullet116.Lingala-ลิงกาลา
bullet118.Slovenia-สโลวีเนีย
bullet119.Swahili-สวาฮิลี
bullet120.Sanskrit-สันสกฤต
bullet121.history107-history107
bullet122.Amharic-อัมฮาริก
bullet123.Assam-อัสสัม
bullet124.Armenia-อาร์เมเนีย
bullet125.Igbo-อิกโบ
bullet126.History115-ประวัติ 115
bullet127.history117-ประวัติ117
bullet128.Ilogano-อีโลกาโน
bullet129.Eve-อีเว
bullet130.Uighur-อุยกูร์
bullet131.Uradu-อูรดู
bullet132.Esperanto-เอสเปอแรนโต
bullet133.Albania-แอลเบเนีย
bullet134.Odia(Oriya)-โอเดีย(โอริยา)
bullet135.Oromo-โอโรโม
bullet136.Omara-โอมารา
bullet137.Huasha-ฮัวซา
bullet138.Haitian Creole-เฮติครีโอล
bulletคำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรแปล เช้า-เย็น
bulletChart Showing the Process
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี พ.ศ.2540 - 2566
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 1
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 2
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี บุคคลที่ 1 - 188 ปัจจุบัน
bulletหนังสือพิมพ์ดี
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 1
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 2
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 3
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 4
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 5
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 6
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 7
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 8
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 9
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 10
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 11
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 12
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 13
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 14
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 15
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 16
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 17
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 18
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 19
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 20
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 21
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 22
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 23
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 24
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 25
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 26
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 27
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 28
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 29
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 30
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 31
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 32
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 33
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 34
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 35
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 36
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 37
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 38
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 39
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 40
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 41
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 42
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 43
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 44
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 45
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 46
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 47
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 48
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 49
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 50
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 51
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 52
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 54
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 55
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 56
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 57
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 58
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 59
bulletTo The World
bulletENGLISH
bulletUSA
bulletChina
bulletIndia
bullet Mynmar
bullet Cambodia
bullet Loas
bulletSri Lanka
bulletMalaysia
bulletKorea
bulletA Sharp Turn of Believes : Iresearch Iwrite Iread
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 1
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 2
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 3
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 4
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 5
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 6
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 7
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 8
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 9
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 10
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 11
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 12
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 13
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 14
bulletMystery Report 15
bulletMystery Report 16
bulletMystery Report 17
bulletMystery Report 18
bulletMystery Report 19
bulletMystery Report 20
bulletMystery Report 21
bulletMystery Report 22
bulletMystery Report 23
bulletMystery Report 24
bulletMystery World Report 25
bulletศึกษาโลกลี้ลับ 26
bulletเฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว วิเคราะห์ทุกปัญหาในโลกมนุษย์ด้วยสติปัญญาและเหตุผลวิทยาศาสตร์จากนสพ.ดี
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2536
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2537
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2538
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2539
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2540
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2541
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2542
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2543-2545
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2545-2549
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2549-2550
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2550-ส.ค.2551
bulletเฝ้าดูฯ ส.ค.-ก.ย.2551
bulletเฝ้าดูฯ ก.ย.2551- ธ.ค. 2551
bulletเฝ้าดูฯสำนวนพัชรา กอปรทศธรรม
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 16-27
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 29
bulletบทความใหม่ เม.ย.-พ.ค.2552
bulletพุทธธรรมเพื่อทางดับทุกข์
bulletทฤษฎีการดับทุกข์ทางจิต วิปัสสนากรรมฐานโดยการทำงาน(สำนวนปรับปรุงใหม่)
bulletประวัติพัชรา กอปรทศธรรม
bulletประวัติการต่อสู้เพื่อการดับทุกข์ ของพัชรา กอปรทศธรรม
bulletอัลบั้มรูป history
bulletนิทานธรรมะประยุกต์ มานุสสาสุระสงคราม 4 ภาค และอื่น ๆ
bulletอัลบั้มรูป ภาพในอดีตและชีวประวัติศาสตร์ที่สวยงาม
bulletจากเวบบอร์ด พูดกันไม่รู้เรื่อง ประชาธิปไตยล้าหลัง
bulletศาสนาสากล การวิเคราะห์ความหมาย
bulletปลอบใจ
dot
รวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์ แนวปฏิรูปคณะสงฆ์อยู่ในบทวิเคราะห์นี้แล้ว
dot
bulletรวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์
dot
สากลจักรวาล สากลศาสนา แนวคิดศาสนาสำหรับคนยุคใหม่ ผู้ก้าวผิดทางไปสู่สิ่งไร้สาระโดยไม่รู้ตัว
dot
bulletสากล...ศาสนา 1
bulletสากล...ศาสนา 2
bulletสากล...ศาสนา 3
bulletสากล...ศาสนา 4
bulletสากล...ศาสนา 5
bulletสากล...ศาสนา 6
bulletสากล...ศาสนา 7
bulletสากล...ศาสนา 9
bulletสากล...ศาสนา 8
bulletสากล...ศาสนา 10
bulletสากล...ศาสนา 11
bulletสากล...ศาสนา 12
bulletสากล...ศาสนา 13
bulletสากล...ศาสนา 14
bulletสากล...ศาสนา 16
dot
ส่วนข้อมูลสำคัญเพื่อการวิจัยการเมืองไทยยุค คมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
dot
bulletข้อมูลสำคัญยุคคมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่1/26ส.ค.2551
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่2/27ส.ค.2551
bulletใบปลิว อีเมล์ ในหลวงทรงร้องไห้
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 1
bulletในหลวงเพิ่งทราบข่าวฆ่าประชาชน10เมย.53ทรงร้องไห้
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
dot
รวมข่าวม็อบการเมืองสนธิ-จำลอง-ปชป.มิ.ย.51-เม.ย.52 นสพ.
dot
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 2
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 3
bulletรวมข่าวม็อบ30มิ.ย.51-23มี.ค.52
bulletเลือดศรีสะเกษบันทึกเรื่องราวรอบด้านเกี่ยวกับเขาพระวิหาร
bulletรายงานการโฆษณาชวนเชื่อในประเทศไทยที่ล้มล้างรัฐบาลทักษิณ
bulletหนังสือพิมพ์ดี ของฟรีให้เปล่ามา20ปีแล้วทั้งเอกสารและอินเทอเนท
bulletหนังสือพิมพ์ดี ( อินเทอเนต ) เล่ม 1 - 44 - ล่าสุด
bulletหน้าที่เก็บไว้
bulletมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร)
bulletวัดมหาพุทธาราม ศรีสะเกษ บันทึกเหตุการณ์
bulletสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดศรีสะเกษแห่งที่ 1
bulletเกี่ยวกับเวบไซต์ของเรา เราทำเพื่อปัญญาชนโดยแท้
bulletรวมกระทู้เด็ดจากกระดานถามตอบ
bulletคาถาอาคมไสยศาสตร์
bulletกวีนิพนธ์ใหม่
bulletศูนย์ปฏิญญาณละเลิกอบายมุข บัญชีที่ 1- 4


หนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 3

วิเคราะห์ข่าวในวงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดและสหธรรมิก

THE GOOD PAPER

เล่มที่ 3

ประจำเดือน พฤษภาคม ๒๕๔๐

 

1.      บทบรรณาธิการ วิเคราะห์ กม.คณะสงฆ์ทุกฉบับ

1.1        เรื่องราวของเพื่อนนักการศาสนาต่างลัทธิ

1.2        หนังสือจากวัดหลวงพ่อสดธรรมกายยาราม

1.3.       ใครคือวิบูลรัตน์ กัลยาณวัตร

2.      ท่านพุทธทาสภิกขุเขียนไว้ว่า

3.      จดหมายถึงบรรณาธิการ ; งานนี้ไม่มีทางสำเร็จ : ถาม ตอบ

4.      แผนภูมิเปรียบเทียบระบบสงฆ์ เจ้าขุนมูลนาย กับ ประชาธิปไตยสงฆ์ 

5.      นานาทัศนะ การเมือง ธาตุแท้หรือหลอกลวง

6.      สัจธรรมสงฆ์ ความเห็นของหลวงปู่

7.      อุเบกขาญาณ  นักการเมืองจำเป็นต้องรู้ธรรมบ้างไหม ?

8.      ยิ้มสำรวม :เสียท่ามันจริง ๆ

9.      วิจารณ์หนังสือการบริหารวัด

10.     บันทึกข่าวล่า เพื่อประชาธิปไตยเบ่งบาน

11.     หน้าบอกสถานะของเรา

12.     เจ้าภาพประจำเดือน

13.     หน้าโฆษณาประชาสัมพันธ์

14.     ปกหลัง : ในธงประชาธิปไตยสงฆ์และบทกวีปฏิวัติ

 

 

 

 

 

 

 

 1.         บทบรรณาธิการ

 

ฉบับเดือน พฤษภาคม มีบทบรรณาธิการค่อนข้างยาวครับ และดูเหมือนทุกสิ่งทุกอย่างของเดือนนี้ รวมกันอยู่ในบทบรรณาธิการแทบทั้งหมด

ก็เป็นอันว่าบัดนี้ เพื่อนสหธรรมิกทั้งหลายทั้งปวงทั่วราชอาณาจักรได้ เห็นแล้วว่า แนวคิดในการปฏิรูปการคณะสงฆ์ไทยเป็นอย่างไร ตามเอกสารเล่มเล็กปกสีฟ้า ที่จ่าหัว ชื่อว่า

ปฏิรูปการเมือง : ปัญหาประชาธิปไตย ประเด็นสำคัญที่ไม่มีผู้ใดพูด ถึงเลย

และคงอ่านทราบใจความสำคัญตั้งแต่ต้นจนจบแล้ว อย่างสนใจยิ่ง เพราะดูเหมือนว่าเรื่องราวที่เสนอมาในหนังสือเล่มเล็กนั้น จะกระทบกระเทือนความรู้สึกของพวกเรา โดยตรง เพราะจริง ๆ แล้ว พวกเราล้วนเป็นและไปตามระบบที่ว่านี้แทบทุกตัวตนอยู่แล้ว

ข้อปฏิเสธจะมีบ้างไหม ?

ลองถามตัวเองดูครับว่า เรามีวิธีคิดเรื่องนี้อย่างไร ?

คือวิธีที่เราให้เหตุผลแก่ตัวเอง เพื่อที่จะตัดสินใจออกมาว่าผิดหรือถูกอย่างไรนั้น เป็นอย่างไร ?

เริ่มดูที่ข้อเท็จจริง (คือ fact) ตามหลักวิชาดูก่อนครับ ข้อเท็จจริงมีอะไรบ้าง ดูที่นั่นแล้วจะเห็นว่า เราปฏิเสธไม่ได้หรอกว่าระบบที่เราเป็นอยู่ บัดนี้ เป็นอย่างที่ผมวิเคราะห์มาจริง ๆ คือเป็นระบบเจ้าขุนมูลนายจริง ๆ และซึ่งเมื่อมองข้อเท็จจริงแห่งความเป็นไป ของยุคสมัยแล้ว ระบบที่เราเป็นเราไปอยู่คือเจ้าขุนมูลนายนั้น กำลังทำความเสื่อม ความ ล้าหลังให้ไม่ใช่เฉพาะวงการสงฆ์เอง แต่วงการประชาธิปไตยของชาติของประชาชนเลยที เดียว

ซึ่งนั่นหมายความว่า นอกจากระบบสงฆ์จะไม่สามารถเป็นที่พึ่งของ ประชาชนได้ ตามบาทคาถาว่า สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิแล้ว ระบบสงฆ์ยังพาสังคมไปในทิศทางที่ล้าหลังไม่ทันโลกยุคใหม่ไปอีก เป็นระบบที่ทำลายตัวเองไม่พอ ยังทำลายสังคมอีกด้วย

เรามาดูกันตั้งแต่กฎหมายฉบับเก่าที่สุด คือ พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑ ที่ใช้มาถึงรัชกาลที่ ๖-๗ เห็นได้เลยว่า เขียนออกมาจากความคิดของ ฝ่ายการปกครองบ้านเมืองในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชสมัยนั้น ไม่ได้มีความคิดฝ่ายสงฆ์ชี้ นำทิศทางแต่อย่างใด หากเป็นการนำการชี้ทิศทางของฝ่ายฆราวาสที่ไม่รู้ทิศทางแห่ง โลกุตตรธรรมเลย ซึ่งจะเหมือนกับ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.๒๔๘๔ ที่แนวความคิดยังเหมือน เดิม ไม่มีแนวความคิดใหม่ คือไม่มีความคิดที่ถูกทางถูกทิศของสงฆ์อยู่ในนั้น กลับมีการลดทอนส่วนที่เคยเห็นว่ามีแนวแห่งสงฆ์อยู่บ้าง ไปอีกหลายส่วน มาดูฉบับปัจจุบันที่เขียนขึ้นในยุคเผด็จการทหารเต็มตัว คือ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ (และ พ.ศ.๒๕๓๕) ยิ่งลดทอนส่วนดีลงไปจนกระทั่งอาจกล่าวได้ว่า กฎหมายคณะสงฆ์ที่ใช้ปกครองคณะสงฆ์ มาโดยตลอดกว่าศตวรรษมานี้ เป็นกฎหมายที่ไม่เอื้อต่อทิศทางของสงฆ์เลย จะมีความบกพร่องไม่เหมาะสมตามที่ผมได้ให้ความเห็นหรือ วิเคราะห์ไว้ในเรื่องการร่างกฎหมาย คณะสงฆ์ฉบับใหม่ลงพิมพ์ฉบับที่แล้ว (เดือน เมษายน ๒๕๔๐)

เพื่อนสหธรรมิก มีวิธีที่จะมองความชอบ ไม่ชอบธรรมแห่งพระราชบัญญัติคณะ สงฆ์เหล่านี้อย่างไร คือมีวิธีคิดอย่างไร จึงจะสามารถเห็นได้โดยชัดเจนว่าเป็นกฎหมายที่ เขียนขึ้นมาอย่างผิด ๆ ผิดทิศทางของคณะสงฆ์

ดูที่สายการบังคับบัญชาครับ !

ตาม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑ น่าจะเป็นความคิดทหาร เอาแบบการบังคับบัญชาของทหารมาใช้ คือมีหมู่ หมวด กอง กองพัน กองพล กองทัพ อย่างนี้น่ะครับ เพื่อนก็เห็นแล้วว่า นั่นเป็นการปกครองของทหารที่จำเป็นต้องปกครองอย่างนั้น เพราะเขามีภารกิจอย่างนั้น เพื่อให้เกิดการควบคุมพาพวกพาหมู่ไปรบรา ไปตีรันฟันแทงกับข้าศึกภายนอก จึ่งจะทำให้การรบของทหารชนะข้าศึก อันเป็นชัยชนะภายนอก แต่ พระสงฆ์นั้นต้องต่อสู้กับกิเลสภายในตัวตน เรื่องงาน หรือภาระสำคัญ ภาระหลักของ พระสงฆ์เป็นภาระเฉพาะตน ซึ่งโดยหลักนี้แล้ว ตนต้องเป็นที่พึ่งแห่งตนให้ได้ ตนต้อง ปกครองตนเองให้ได้เท่านั้นจึงจะไปสู่เป้าหมายที่ แท้จริงได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ประสิทธิภาพประสิทธิผลทางการปกครองจึงมิได้ขึ้นอยู่ที่ การบังคับบัญชา อันมากมายหลายชั้นเช่นนั้น แต่อยู่ที่ระบบการอบรมตนเองของพระสงฆ์ ตามหลักการของนักบวชพุทธ ที่ต้องมุ่งมรรคผลนิพพาน ที่สำคัญก็คือการดำรงตำแหน่งทางสงฆ์นั้นไม่ควรให้ถาวรเหมือนทางโลก เพราะการดำรงตำแหน่งหมายถึงนิวรณ์ สงฆ์ต้องอยู่ในระบบที่ไม่ผูกพันธ์หรือยึดมั่นถือมั่นในตำแหน่ง เพราะนิวรณ์หรือความยึดมั่นถือมั่นดังกล่าวนี้ เป็นกิเลสที่ปิดกั้นทางมรรค ผล และนิพพาน การดำรงตำแหน่งทางการปกครองของสงฆ์จึงต้องให้เป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น ไม่ใช่ตลอดไป หรือตลอดชีพ ตามที่เป็น อยู่ในระบบเจ้าขุนมูลนายปัจจุบัน

ดูพระราชบัญญัติ ๒ ฉบับต่อมา ก็ดูที่เดียวกัน พบว่า แนวคิดอย่างเดียวกัน ฉบับหลัง ๆ มาคงได้ความรู้เรื่องวิชาการบริหารอย่างต่างประเทศมาใช้ ที่เขาเรียก ว่า chain of command หรือหลักรัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งยังคงดำรงสายการบังคับ บัญชาไว้หลายชั้นอยู่เหมือนเดิม ที่เห็นพระสงฆ์เป็นคนธรรมดาเช่นคนทั้งหลาย การ ปกครองจึงต้องใช้ระบบปกครองคนธรรมดาต้องมีการควบคุมบังคับบัญชาจากภาย นอกอย่างแน่นหนาถึง ๘-๙ ชั้นการบังคับบัญชา

เรานึกไปดูว่าพระพุทธเจ้าสั่งไว้อย่างไร ในเรื่องการปกครองคณะสงฆ์

ประการแรก         พระองค์ปฏิเสธ (คือมีผู้เสนอแต่ไม่ทรงเห็นด้วย) ไม่ทรงแต่งตั้งรัชทายาท(ศาสนทายาท)

ประการที่ ๒         ทรงตรัสว่า พระธรรมวินัยจะเป็นศาสดาแทนเรา ท่านว่า อย่างนี้ เราต้องตีความ เมื่อไม่ทรงให้มีรัชทายาท นั่นก็หมายความว่า ไม่ทรงโปรดให้มีสายการบังคับบัญชา ไม่ทรงโปรดให้มีผู้ใดเป็น นาย หรือเป็น ราชา หรือเป็นเจ้าผู้ออกคำสั่ง ไม่ให้มีผู้ออกคำสั่ง ผู้รับคำสั่ง สงฆ์จะต้องปกครองตนเอง ต้องรับผิดชอบตนเองให้ได้

ระบบที่จำเป็นต้องสร้างขึ้นจึงต้องเป็นระบบการปกครองตนเอง นั่นก็ถูกตามประเพณีสงฆ์ คือถือหมู่สงฆ์เป็นใหญ่ เช่น หมู่ ๔ หมู่ ๕ หมู่ ๑๐หมู่ ๒๐ ที่ทรงกำหนดให้เป็นองค์แห่งสังฆกรรมแบบต่าง ๆ เป็นต้น เมื่อเราจะจัดระบบการปกครองสงฆ์ทั้งหมดทั้งสิ้น เราก็ชอบที่จะถือหลักว่าด้วย สภา เมื่อทรงกำหนดว่าพระธรรมวินัยเป็นศาสดาแทนท่าน นั่นก็หมายความว่า หมู่สงฆ์จะทำอะไรไปหรือความประพฤติจะเป็นไปอย่างใดแบบใด สงฆ์แต่ละรูปจะทำอะไรไป จะต้องถูกต้องตามพระธรรม วินัย ซึ่งหมายความว่าต้องถูกทางที่นำไปสู่มรรคผลนิพพาน เช่นไม่ละเมิดศีล ๒๒๗ ข้อ อันกำหนดไว้ในพระปาฏิโมกข์ และที่อื่นที่มีลักษณะเป็นวินัยสงฆ์ เป็นต้น

แนวคิดที่ว่าเหมือนกันของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ทั้งสิ้นนั้นก็คือ มองสงฆ์เช่นเดียวกับฆราวาส เช่นเดียวกับปุถุชนทั่วไป จึงต้องให้มีการปกครอง แบบมีขั้นการบังคับบัญชา มากมายหลายขั้นไป เช่นเดียวกับการปกครองของทหารในสนามรบ หรือฝ่ายบ้านเมืองในสมัยในยุคนั้น ซึ่งเป็นแนวคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะสงฆ์หรือนักบวชนั้น ไม่เหมือนปุถุชนคนทั่วไป เพราะนักบวช หมายถึงผู้สละโลก ผู้ละการครองเรือน ในพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา ย่อมเสมอกันด้วยศีลก็ดี ด้วยสมาธิก็ดี ด้วยปัญญาก็ดี เพียงศีลสิกขาอย่างเดียว มีจตุปาริสุทธิศีลคือศีลเป็นเหตุบริสุทธิ์ ๔ ประการได้แก่ปาฏิโมกขสังวรศีล ๑ อินทรียสังวรศีล ๑ อาชีวปาริสุทธิศีล ๑ และ ปัจจัยสันนิสิตศีล ๑ก็บ่งบอกแล้วว่าสงฆ์นั้นต่างจากคนธรรมดา ในแง่ที่ว่า ไม่พึงมีชนชั้นขึ้นในหมู่สงฆ์ เพราะขึ้นชื่อว่าสงฆ์แล้ว ย่อมเสมอกันหมดด้วยธรรม ด้วยวินัย มีศีลเป็นต้น ไม่ว่าการยังชีพ สงฆ์ต่างยังชีพอยู่ด้วยชาวบ้านเหมือนกันและต่าง อยู่ใต้พระธรรมวินัยข้อเดียวกัน คือมีศีลสามัญญตา มีทิฏฐิสามัญญตา ถือศีลเป็นใหญ่ ถือความเห็นแจ้งเป็นใหญ่ หากจัดระบบชั้นอย่างชาวโลกขึ้นแล้วจะกลายเป็นว่า สงฆ์มีความแตกต่างกันเป็นชนชั้น โดยไม่ชอบด้วยหลักศีล สามัญญตา ไม่ชอบด้วยธรรม ด้วยวินัย ฉะนั้น การกำหนดให้เข้าสู่ตำแหน่งเป็นชั้น ๆอย่างมากมาย จึงเป็นการไม่ถูกต้อง

ยิ่งไปกว่านั้น ระบบชนชั้นยัง ทำให้ขัดหลักการตรวจสอบหรือหลักศรัทธาของประชาชน อันเป็นวัฒนธรรมการปกครองสงฆ์โดยประชาชนมาเนิ่นนาน ตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว ดังจะเห็นข้อเท็จจริงชัดเลยว่า ในชั้นสูง ๆ ไปเท่าไร ก็ยิ่งทำให้สงฆ์เหินห่างไกลไปจากประชาชนมากยิ่งขึ้นเท่านั้น นั่นคือห่างสายตาประชาชน ทำให้ขาดการดูแล ตรวจสอบจากประชาชน ทุกวันนี้ สงฆ์ในตำแหน่งบางตำแหน่ง เป็นต้นว่า เจ้าคณะภาค เจ้าคณะใหญ่หน นั้น ประชาชนในเขตปกครองของท่านแทบไม่รู้จักท่าน แทบไม่ได้สัมผัสท่านเลย ไม่ได้เห็นว่าท่านมีศีลอย่างไร มีวัตรอย่างไร มีสมาธิอย่างไร มีปัญญาอย่างไร และเมื่อมาสู่ยุคปัจจุบัน ปัญหาการตรวจสอบยิ่งยากมากขึ้นไปจนสุดวิสัย เพราะตำแหน่งต่าง ๆ ทางการ ปกครอง ได้มีระบบยศพระเข้าไปกำกับอีกชั้นหนึ่งในทุกชั้นการบังคับบัญชา ยิ่งสูงก็ยิ่งยศสูง อันทำให้เกิดเป็นระบบเจ้าขุนมูลนายเต็มตัวขึ้นมา เมื่ออยู่ในระบบเจ้าขุนมูลนายเต็มตัว ก็ต้องมีการปรับตัว ปรับความเป็นอยู่ให้สมกับ ตำแหน่งและยศศักดิ์ที่ได้ เครื่องยังชีพมีปัจจัย ๔ ที่ประกอบก็พลอยเป็น ไปตามระบบนั้นด้วย คืออะไร ๆ ก็ต้องดีมีเกียรติศักดิ์ศรี ไม่ว่าอาหาร ก็ต้องดี ที่อยู่อาศัย ต้องดี โอ่อ่า เครื่องนุ่งห่ม ต้องดี (สบง จีวร ต้องชั้นเลิศ นุ่งห่มแล้วต้องออกแสงออกประกาย) ยารักษาโรค หมอประจำตัว ก็ต้องมี ก็ต้องให้สมฐานะสมชั้นยศอย่างเจ้าขุนมูลนาย ปัจจัยอย่างอื่นที่เรียกกันในยุคใหม่ว่า ปัจจัยที่ ๕-๖-๗-๘ ฯลฯ ก็ต้องมีเช่นรถเก๋ง ตู้เย็น ห้องปรับอากาศ วิทยุ โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ เป็นต้น จึงยิ่งทำให้ห่างไกลไปจากประชาชนระดับพื้นฐานไปอีกมาก ๆ ก็ยิ่งทำให้การตรวจสอบพระสงฆ์ในชั้นยศสูง ๆ แทบเป็นไปไม่ได้เลย เพราะประชาชนคนธรรมดา ไหนเลยจะ กล้าไปตรวจสอบติติงท่านเจ้าขุนมูลนายตำแหน่งใหญ่ ยศใหญ่ได้

ฉะนั้น แนวคิดที่ถูกต้องนั้น ก็คือ จะต้องมีตำแหน่งทางการปกครองให้น้อยชั้นที่สุด (ให้มี chain of command สั้นที่สุด) โดยจะต้องให้สงฆ์ ทุกรูปสามารถสัมผัสกับประชาชนได้ตลอดกาล ตลอดชีพที่เป็นพระภิกษุอยู่ เพราะสงฆ์ทุกรูปต่างก็ถูกกำหนดด้วยวัตรปฏิบัติหลายอย่างที่เกี่ยวข้องสัมผัสประชาชนอยู่โดยปกติประจำวัน เป็นต้นว่า จะต้องเสมอกันในอาชีพ คือเลี้ยงชีพด้วยบิณฑบาตจากชาวบ้าน เสมอกันด้วยศีล คือศีลสามัญญตา (ไม่ใช่ เอายศฐาบรรดาศักดิ์มากำหนดความดีงาม) กล่าวอย่างตรงประเด็นก็คือเสมอกันด้วยความเป็นนักบวช มีธรรมกับวินัย เป็นเครื่องวัดคุณงามความดีอันพึงตรวจสอบได้จากสายตาประชาชนตลอดเวลาและโดยระบบนี้ เพื่อน ๆจะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า มีความลม้ายคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับการปกครองฝ่ายโลก ตามหลักการของระบอบประชาธิปไตย คืออำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน

ฉะนั้น เมื่อกำหนดระบบการปกครองของคณะสงฆ์ให้ถูกทิศทางจริง ๆ แล้ว การปกครองคณะสงฆ์กับการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น สามารถไปด้วยกันได้ เป็นอย่างดี โดยที่ทั้งสองระบบต่างก็มีฐานสำคัญที่ปวงประชาชนของประเทศ

เราจึงพึงเห็นว่า ด้วยระบบสงฆ์ที่ผิดทิศทาง จึงได้เป็นอุปสรรคต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยของชาติอย่างยิ่ง ใหญ่ เมื่อเรามองให้ซึ้งไป ด้วยวิธีคิดอย่างนี้แล้ว หิริ โอตตัปปะ พึงกลับมาสู่หมู่สงฆ์เรา โดยด่วน !

และจึงมีความชอบธรรมทุกประการทุกด้าน ที่จำต้องร่วมกันดำเนินการต่อไป เพื่อให้ทั้งฝ่ายโลก และฝ่ายธรรม เป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยโลก และ ประชาธิปไตยสงฆ์

นี่คือแนวคิดในการมองว่า อย่างเดิมไม่ถูกต้องอย่างไร (รู้ทุกข์) แล้ว เรารู้วิธีที่จะแก้ไข (รู้สมุทัย) ว่าการปกครองสงฆ์จะต้องมี ขั้นการบังคับบัญชาที่สั้นที่สุด เพื่อให้สงฆ์ทุกรูปสามารถรับการตรวจสอบจากประชาชนพุทธบริษัททุกหมู่เหล่าได้ คือ

สงฆ์ทุกรูป ขึ้นชื่อว่าสงฆ์หรือนักบวชต้องอยู่ใกล้ ชิดติดฐานใหญ่ของมหาชนเสมอไป และต้องเป็นสงฆ์ธรรมดา ไม่มียศ ไม่มีระบบเจ้าขุนมูลนายให้เกรงขามโดยอำนาจอีกต่อไป

เรื่องระบบการบังคับบัญชา ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ที่ผ่าน ๆ มายังมีข้อที่ควรพิจารณาอยู่หลายอย่าง ที่สำคัญที่สุดก็คือ การที่มีสายการบังคับบัญชาหลายชั้นนั้นทำให้สิ้นเปลืองเวลา เพราะการคืบไปแต่ละชั้น ๆ นั้น ต้องมีช่วงเวลาคั่นอยู่เสมอ ฉะนั้น กว่าจะไปถึงชั้นสูงสุดก็เป็นเวลาที่วัยอันควรแก่การงานได้ล่วงเลยไปมากแล้ว เห็นได้จากคณะสงฆ์ที่ทำงานสำคัญสูงสุด ในคณะสงฆ์ทุกวันนี้ คือมหาเถรสมาคม บุคคลในมหาเถรสมาคมล้วนมีวัยอันสูงทั้งสิ้น จนน่าคิดว่า ภายในหลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนานี้ วัยนั้นน่าจะ เป็นวัยที่ควรพักและตระเตรียมตัวเพื่อไปสู่โลกหน้า (เตรียมตัวตาย)ได้แล้ว เพราะวัยอันเกินไปจนไม่เหมาะแก่การงานนั่นเอง ภาระอันยิ่งใหญ่แห่งพระพุทธศาสนาในรูปรวม จึงไม่มีการคิดสร้างสรรค์คิดริเริ่มขึ้นมาเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรับผิดชอบในสถานการณ์ต่าง ๆ อันเป็นสถานการณ์ผิดปกติ ในวงการพุทธศาสนาก็ดี สถานการณ์ด้านวัฒนธรรมต่างระบอบ ที่มากระทบวัฒนธรรมพุทธศาสนาอย่างไร สถานการณ์ต่างศาสนา หรือการเผยแผ่ของ ต่างศาสนาว่ามากระทบพระพุทธศาสนา ในประเทศ นอกประเทศ หรือใน ประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นพุทธด้วยกันอย่างไร ไม่มีการมองดู ไม่มีการศึกษาไม่เข้าใจกระทั่งว่าจำเป็นต้องเฝ้าเก็บติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างไร ไม่มีสายตาเห็นหรือจมูกที่ดมกลิ่นแห่งอันตรายใดใดสมกับอยู่ในตำแหน่งความรับผิด ชอบสูงสุดแห่งการพระพุทธศาสนา ตลอดไปจนถึงการวางแผนงานโครงการ ต่าง ๆ เพื่อนำพระพุทธศาสนาธรรมไปเผยแผ่แด่ชาวโลก ในระบบ ในยุค โลกาภิวัตน์ ไม่มีการดำริให้ความสำคัญขึ้นมาทั้งสิ้น และจนบัดนี้ เรายังไม่เห็นเลยว่า มหาเถรสมาคมหรือสมาคมไหนในพระพุทธศาสนาที่มีความรับผิดชอบในรูปรวมของวงการพุทธศาสนา จะได้มีความริเริ่มนำการพระพุทธศาสนาไปสัมพันธ์ประสานงานกับเพื่อนต่างศาสนา เพื่อร่วมแก้ปัญหาวิกฤตการณ์อันยิ่งใหญ่ในโลกยุคนี้ เราเห็นเพื่อนชาวคริสต์บางกลุ่มทำงานด้านนี้กันอย่างจริงจังจนน่าสรรเสริญ แต่ศาสนาพุทธไม่เคยคิดที่จะไปร่วมมือกับเขา ในการแก้ปัญหาของชาวโลกโดยหลักธรรมะเลย อันแสดงให้เห็นว่า วัยชราภาพนั้น ในตำแหน่งภาระอันสูงสุดของการพระพุทธศาสนานั้น ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งแก่ยุคสมัย

วิธีแก้ไข นั่นก็คือ ลดทอนสายการบังคับบัญชาให้สั้นเข้ามาจนเหลือน้อยที่สุด เท่าที่เหมาะสมตามหลักพระธรรมและพระวินัย ซึ่งด้วยวิธีนี้เราจะได้คนหนุ่มที่มีสายตาไกลเข้ามาทำงานการพระพุทธศาสนา เคียงบ่า เคียงไหล่ไปกับเพื่อนศาสนาอื่นในโลก เพื่อร่วมหล่อหลอมหลักธรรมแห่ง พระพุทธศาสนาเข้าเป็นศาสนาสากลของโลกยุคใหม่

อีกประเด็นหนึ่งที่เห็นง่าย เมื่อมีขั้นการบังคับบัญชาหลายชั้นเช่นนี้ การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อก้าวไปตามขั้นงาน ตามระบบยศ เจ้าขุนมูลนาย ก็ต้องมี สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ เมื่อเข้ามาสู่ระบบนี้ก็ต้องเป็นไปตามระบบนี้ การแก่ง แย่งชิงดีชิงเด่นกันก็ย่อมมีขึ้นเป็นธรรมดา

ตกลงเราก็จะต้องแก่งแย่งชิงดี ชิงเด่นกันไปจนตลอดชีวิตไม่ต่างอย่างไรกับชาวโลกเขาที่ไม่ได้นุ่งเหลือง ห่มเหลืองผู้ที่ไม่ได้รู้ความหมายเลยว่ามรรคผลนิพพานคืออะไรมีความหมายอย่างไรในหมู่สงฆ์ เพื่อนลองคิดดูเองก็แล้วกันเถิดว่าเพื่อนจะทนอยู่ได้อย่างไรเมื่อคนอื่นเขาเป็นชั้นโท ชั้นเอก ชั้นพิเศษกันไปหมดแล้ว ขณะที่ เพื่อนอยู่ในพระครูชั้นตรีมากว่า ๑๐ ปีเข้าไปแล้ว มันก็ต้องดิ้นรนไปทุกท่าใช่ไหม ? (ขนาดแก่จะเข้าโลงท่านยังแย่งกันเป็นสมเด็จ ก็เห็น ๆ อยู่) นั่นคือสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ เมื่อเข้ามาสู่ระบบนี้ อันต้องเป็นไปตามธรรมดาของระบบนี้ และนั่นแหละคือเหตุผลที่ว่า ระบบเจ้าขุนมูลนาย ได้ทำลายกัดกร่อนวงการ พระพุทธศาสนามาช้า ๆ ตราบบัดนี้ ได้เร่งภัยอันตรายไปเร็วรุดกว่าเดิมยิ่งนักแล้ว

ผมได้มองเห็นเหตุและผลเช่นนี้

ผมจึงชวนเพื่อน ๆ ทั้งหลาย มาร่วมใจกันปฏิรูปการระบบสงฆ์ของเราใหม่

เพื่อนเอาด้วย จงก้าวออกมา !

เราจะสร้างระบบสงฆ์ของเราใหม่ ที่ถูกธรรมถูกวินัย และพุทธประเพณีการปกครองคณะสงฆ์

ซึ่งจะมีเพียงหลักการสำคัญ ๆ อยู่ ๔ ประการ คือ

๑.         หลักว่าด้วยการทำประโยชน์แด่พระพุทธศาสนาในส่วนรวม

๒.         หลักว่าด้วยครู อาจารย์ หรือ อุปัชฌาย์

๓.         หลักเพื่อน หรือ กัลยาณมิตร

๔.         หลักประชาชน

เราจะไม่มีคำว่า การบังคับบัญชาและ ยศฐาบรรดาศักดิ์เพราะ บัดนั้น เส้นทางของเราคือ มรรคผล เราจะบ่ายหน้าไปทางนั้น เราจะพาโลกไป ทางนั้น

 

 1.1.         เรื่องราวของเพื่อนนักการศาสนา

เรื่องราวของเพื่อนนักการศาสนาของเรา มาเผยแผ่พลังฝ่ามือในไทยระหว่างวันที่ ๒ เม.ย. ถึง วันที่ ๕ เม.ย. ๔๐ โดยเริ่มจากวัดแม่พระมหาทุกข์ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ไปถึง อาสนวิหารพระมารดานิจจานุเคราะห์ อ.เมือง จ.อุดรธานี แล้วไป สักการสถานพระ มารดาแห่งมรณสักขี อ.เมือง จ.มุกดาหาร บาทหลวงชื่อ คอร์ซี่ เลอแกสปี้ วัย ๔๔ มาจากฟิลิปปินส์ ขณะนี้เหินฟ้ากลับไปแล้ว มีรายงานข่าวอย่างละเอียดในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ ๔-๕-๖-๗ เม.ย. ๔๐

นี่คือตัวอย่างที่ไม่ชอบธรรมในการเผยแผ่ของชาวคริสต์ ที่ย้อนหลักธรรมของพระ พุทธศาสนาอีกกรณีหนึ่ง เพราะพระพุทธศาสนาไม่อนุญาตให้อวดแสดงเรื่องราวเช่นนี้ แต่ศาสนาคริสต์นั้น ศาสดาเขาพาทำมาเป็นตัวอย่าง เขาจึงสามารถทำได้และนั่นแหละ เราจะกล่าวว่าแท้จริงหลักการศาสนาคริสต์เป็นความเชื่อที่งมงายก็ได้เหมือนกัน ทำให้การ เผยแผ่เช่นนี้ไม่ชอบธรรม สำหรับเมืองพุทธ

คำว่า  สังฆมณฑล   สภาพระสังฆราช   สังฆราช  ของเขา บอกความหมาย อะไรก็น่าที่เราชาวพุทธจะเข้าใจได้ว่าบอกความหมาย การก้าวร้าวยกตน ข่มหยาม อย่างมีเจตนากระทำความผิด อย่างไม่มีสิทธิ์ และไม่ชอบธรรมที่สุด เพราะภาษาที่พวกเขาใช้ ไม่ใช่ภาษาของพวกเขาเอง แต่เป็น ภาษาพุทธ คำว่า สังฆะ เป็นภาษาพุทธะ คริสต์ ไม่มีสิทธิ์นำไปใช้เลยไม่ว่ากรณีใดใด แต่นี่ นอกจากเอาภาษาพุทธไปใช้โดยพลการแล้ว ยังเอาไปใช้อย่างข่มหยามสถาบันสงฆ์สูงสุดของไทยอีกด้วย

เช่นนี้ จะให้เข้าใจเป็นอย่างอื่นได้อย่างไร

จึงจำเป็นต้องกำหนดลงในรัฐธรรมนูญเสียว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ไทย ซึ่งเมื่อกำหนดอย่างนี้แล้ว เราก็สามารถกำหนดมาตรการในกฎหมายลูกได้หลาย หลาก ที่จะให้เพื่อน ๆ ต่างศาสนาของเราเดินไปในกฎ

ยังมีอีกหลายเรื่องราว เกี่ยวกับเพื่อนนักศาสนาคริสต์นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องวัฒนธรรมของชาติ ทางปฏิบัติของเขาเป็นผลให้สูญเสียความสมบูรณ์แห่งวัฒนธรรมอันดีของชาติ ผมเชื่อว่าคงมีสักท่านหนึ่งที่รู้เรื่องราวนี้ อธิบายหรือเขียนเป็นบทความออกมาบ้าง

เพื่อการเรียนรู้เท่าทันทางปัญญา

 

 1.2.      ได้รับหนังสือจำนวนหนึ่ง จาก วัดหลวงพ่อสดธรรมกายยาราม

ได้รับหนังสือจำนวนหนึ่ง จาก วัดหลวงพ่อสดธรรมกายยาราม อันเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย อำเภอดำเนินสดวก จังหวัดราชบุรี คนทั่วไป ชาวพุทธทั่วไปคงจะได้ยินชื่อเสียงวัดหลวงพ่อสด นี้ดีอยู่แล้ว สำหรับพระภิกษุ ในสำนักปกครองจังหวัดต่าง ๆ ภาคอีสานก็คงจะรู้จักเป็นอย่างดีอีกเช่นเดียวกัน เพราะในแต่ละปี มีพระภิกษุเดินทางไปรับการอบรม วิชชาธรรมกายจากสถาบัน อยู่เสมอไม่มากก็น้อยส่วนสำนักปกครองจังหวัดในภาคอื่น ก็คงจะคาดคะเนได้ในทำนองเดียวกับภาคอีสาน สถาบันนี้ มีองค์สถาบันคือสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศฯ ส่วนอาจารย์พระมหาเสริมชัยชยมคงฺโล ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสด ฯ ท่านเป็นผู้จัดส่งหนังสือชุดมาให้ เป็นการสนองตอบต่อเรื่องราวใน .วิเคราะห์ข่าวในวงการเจ้าคณะจังหวัดภาคอีสาน ทั้ง 2 ฉบับ หนังสือเหล่านี้จัดพิมพ์อย่างดี มีค่า จำนวน 5 เล่มดังนี้

1.         หลักการเจริญภาวนาสมถวิปัสนากรรมฐานเบื้องต้น โดยเฉพาะเจ้าประคุณมงคลเทพมุนี ( สด จนฺทสโร)

2.         ทำวัตร-อาราธนา สำหรับอุบาสก-อุบาสิกา วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม

3.         อริยสัจ 4 ( ลักษณะและอาการแทงตลอด ) โดยพระมหาเสริมชัย ชยมงคฺโล ป.ธ.6

4.         ธรรมกาย นิตยสารเพื่อการเผยแพร่พระสัจธรรม ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2540

5.         การบริหารวัด โดยพระมหาเสริมชัย ชยมงคฺโล ป.ธ.6

ซึ่งหนังสือทั้ง 5 เล่มนี้ มีเนื้อหาสาระสำคัญ ที่จะใช้ประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับใหม่ ที่ผมใช้ชื่อว่า

พระราชบัญญัติการพระพุทธศาสนาปี พุทธศักราช 2540

หนังสือเหล่านี้มีความน่าสนใจพอๆ กับประวัติของท่านอาจารย์เสริมชัย ชยมงฺคโล แม้ เพียงย่อๆ ที่เห็นปกหลังหนังสือที่ท่านเขียนขึ้นเรื่อง การบริหารวัดเล่มนี้เป็นเล่มพิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2539 เดิมท่านเป็นฆราวาส การศึกษา รปม.ธรรมศาสตร์ หรือนิด้าขณะนี้ นับว่า เป็นบุคคลที่หายาก แล้วยังเคยมีตำแหน่งการงานที่สำคัญมากในทางโลก เพราะอยู่ใน สำนักข่าวสารอเมริกัน เป็น Research Specialist ผู้ชำนาญการพิเศษทางด้านการวิจัย ลาออกจากตำแหน่งเมื่ออายุ 57 ปี เพื่ออุปสมบท ณ พุทธสีมาวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2529 เป็นผู้สร้า้งวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม ในเนื้อที่ ดิน ร่วมร้อยไร่

เรื่องวิชาธรรมกายก็เป็นเรื่องชั้นสูงละเอียดอ่อน ผู้รู้ทางนี้อาจพยากรณ์สถานการณ์โลก ที่มีฐานการปรากฏการณ์คล้ายคลึงกันได้ อย่างเช่นกรณีลัทธิสุริยพิหาร หรือประตูสวรรค์ ที่อเมริกา พากันปลงชีชิตตายหมู่ 39 ศพเมื่อเร็วๆนี้ มีหลักปฏิิบัติภาคภายในอย่างไร เกิดอะไรขึ้นจึงเป็นไปอย่างนั้น ฯลฯ คงจะสามารถพยากรณ์ ไขความลับอันลึกซึ้งออกมาโดยหลักวิชาธรรมกายนี้ได้ แต่ที่น่าคิดยิ่งกว่านั้นก็คือ เราท่านทั้งหลายในยุคนี้และด้วยการศึกษาธรรมะอันบริสุทธิ์ ก็มีโอกาสที่จะเป็นอย่างเขาได้ วิชาการทางพระพุทธศาสนาคงจะสามารถพยากรณ์มองเหตุการทุกชนิดในโลกได้ จึงจะสมกับซื่อว่า ศาสนาของผู้รู้ คือรู้ปรากฏการณ์ทุกชนิดในโลก เรียกว่ารู้โลก

ข้อพิเศษสำหรับหนังสือ ที่เขียนโดยอาจารย์พระมหาเสริมชัย ชยมงฺคโล ก็คือมีลักษณะ เป็นงานค้นคว้าวิจัยอย่างลึกซึ้ง โดยเจาะเข้าถึงแก่นแห่งพุทธธรรม ตามสมมติฐานที่ตั้งเอาไว้ เป็นงานเอกสารที่ค่อนข้างระมัดระวังด้วยการอ้างอิงจากหนังสือพระไตรปิฏกไว้อย่างสมบูรณ์มาก(ทั้งนี้ก็เพราะในอดีตที่เป็นฆาวาสได้ใช้วิชาการด้านนี้มาเป็นอย่างดีนั่นเอง)  สำหรับพระฝ่ายปฏิบัติิ ที่ขี้เกียจค้นตำหรับตำราน่าจะได้ประโยชน์ที่จะหยิบยกไปอ้างอิงได้โดยสดวก แต่ความหมายคงมีมากกว่านี้ ได้นำส่วนหนึ่งลงในคอลัมน์ กัลยาณมิตร จึงขอขอบพระคุณท่านมา ณ ที่นี้

 

 1.3.      วิบูลรัตน์ กัลยาณวัตร

คอลัมน์ นานาทัศนะ ฉบับนี้ สะท้อนความคิดหรือการมองจากฝ่ายสงฆ์ต่อเหตุการณ์บ้านเมือง วิบูลรัตน์ กัลยาณวัตร เป็นใครในวงการหนึ่งรู้จักดี ท่านคุ้นเคยอย่าง มากกับพวกเรา เราพยายามที่จะไม่ให้มีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่เมื่อคิดว่าเป็นการสะท้อนจากมุมมองหนึ่ง วงการหนึ่งที่ความหมายสำคัญต่อการเมืองวัฒนธรรมของชาติ ผู้ที่ น่าจะได้ประโยชน์กลับมิใช่ เรา หากแต่จะน่าจะเป็นวงการเมืองเอง วิบูลรัตน์ กัลยาณวัตร ได้บ่งบอกความคิดอ่านในปัญหาเหตุการณ์บ้านเมืองมาแต่ฉบับที่แล้ว ฉบับนี้ อ่านด้วย ความเป็นปกติภายในจิตใจ จะได้ประโยชน์เช่นเดียวกับคอลัมน์ ธรรมะ-ปัญญา อ่าน นักการเมืองควรมีธรรมะหรือไม่ กับหลักธรรมสำหรับนักการเมืองและผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดิน อุเบกขาญาณ ทางปฏิบัติ ทั้งระดับสูง และระดับธรรมดาสามัญชน เขียนโดย ธรรมสามี

เช่นเดียวกับคอลัมน์ กัลยาณมิตร ไกลกิเลส เป็นผู้เขียน วิเคราะห์

คอลัมน์เพื่อประชาธิปไตยเบ่งบาน อ่านข่าวล่า ที่บงบอกว่าแนวคิดการปฏิรูปการ เมืองได้เป็นไปอย่างไร และการปฏิรูปคณะสงฆ์เป็นไปด้วย หรือไม่ อย่างไร หลายวงการเริ่มเพ่งมอง?

ชั่วเวลาขณะนี้ แนวคิดในการปฏิรูปการคณะสงฆ์ จากปกซื่อ "ปฏิรูปการเมือง : ปัญหาประชาธิปไตย ประเด็นสำคัญที่ไม่ผู้ใดพูดถึงเลย" ได้ตกไปทั่วทุกเขตจังหวัดของประเทศแล้ว โดยการอุปถัมภ์การจัดพิมพ์ประเดิมเริ่มแรกด้วยความวีระอาจหาญยิ่ง ของ เลี่ยม ธรรมบุตร กับคณะลูกหลานและตกไปทุกกลุ่มชนทั้งวงการสงฆ์และฆราวาส แต่ก็ยัง ไม่เพียงพอ และเรายังต้องเผยแผ่ความคิดนี้ออกไปอยู่เรื่อยๆ เพื่อให้มหาชนได้ร่วมรับรู้สิ่งที่เรารู้ และรู้สึกอยู่ทุกประการ ในการจัดพิมพ์หนที่ 2 ได้รับอุปถัมภ์การพิมพ์จาก มูลนิธิพัฒนาวัดและหมู่บ้านโนนเปลือยโนนค้อ ศรีสะเกษ โดยช่วยสนับสนุนการจัดพิมพ์เผยแผ่ ในวาระที่จัดงานฉลองผูกพัทธสีมาวัดโนนเปลือยโนนค้อ จำนวน 2.000 เล่ม หนที่ 3 มีเจ้าภาพคณะของโยมพี่สนิท ทองตัน ท่านเสรีทองตัน ผู้อ่านแล้ววางไม่ลง และยังมีเจ้าภาพที่แสดงความประสงค์ช่วยจัดพิมพ์หนที่ 4 โดยเฉพาะเพื่อเผยแผ่ต่อไปอยู่อีกหลายราย เสียงที่เริ่มสะท้อนเข้ามาแว่วๆ คือ พระพยับ ปญฺญาธโร หรือ ปญฺญาธโรภิกฺขุ เป็น ใครมาจากไหน มีประวัติเป็นอย่างไรบ้างซึ่งก็ขอตอบว่าปญฺญาธโรภิกขุ เป็นเพียงพระธรรมดา เมื่อมองดูจากรูปภายนอก แต่ถ้าจะดูภายในดูสติปัญญาของท่าน ก็ดูที่ ตัวหนังสือที่ ท่านเขียน อีกสักหน่อย คงมีเสียงสะท้อนเข้ามาอย่างหลายหลากความคิดเห็นกว่านี้ ซึ่งเราจะรายงานออกไป ภายในปกหนังสือวิเคราะห์ข่าวในวงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดภาค อีสาน นี้ พร้อมกับยืนยันว่าเป็นงานที่พวกเราจำเป็นต้องร่วมมือกันทำอย่างจำเป็น เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม

ในเรื่องนี้ ไม่มีประโยชน์ส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง ขอยืนยัน

เป็นเรื่องประโยชน์ของพระพุทธศาสนาล้วนๆ โปรดคอยติดตามแนวความคิดในการแก้ไขปัญหาและช่วยระดมความคิดเข้ามาให้มากๆ

ร่างพระราชบัญญัติการพระพุทธศาสนา พ.ศ.2540 คงจะได้ปรากฏโฉมให้เห็น ภายหลังเนอบทวิเคราะห์พระราชบัญญัติเดิมๆเสร็จสิ้นลงแล้ว,

 

บรรณาธิการ

พ.ค. ๔๐

 

 

 

 2.         ท่านพุทธทาสภิกขุเขียนไว้ว่า

 

เดี๋ยวนี้เขาแบ่งเป็นเหลือ 2 ศาสนาแล้วในโลกนี้ คือพวก creationist เชื่อพระเจ้าพระเจ้าสร้าง เชื่อพระเจ้านี้เป็น creationistมีกี่ศาสนาก็ลอองไปนับดูเอาเอง นี้ศาสนาอีกพวกหนึ่งเป็น evolutionist เชื่อวิวัฒนาการตามธรรมชาติมีอยู่กี่ศาสนาก็ลองไปนับดูเอาเองเท่าที่เห็นชัดๆอยู่พุทธศาสนาถือความเป็นไปตามกฏของธรรมชาติตามเหตุปัจจัยของธรรมชาต.ิ""แต่พุทธบริสัทส่วนมากยังโง่อยู่ ว่าสุขทุกข์เป็นไปตามกรรม แต่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าสุขทุกข์ไม่ใช่เป็นผลของกรรมเก่า แต่เป็นผลของ อิทัปปัจจยตา.....นี่ พุทธศาสนามีลักษณะเป็น evolutionistอย่างนี้ ไม่มีลักษณะเป็น creationist.”

·         จากศาสนาเปรียบเทียบแห่งสากลโลกของ พุทธทาส อินทฺปณฺโญฺ

 

 

 

 

 3.         จดหมายถึงบรรณาธิการ

 

ถาม               งานนี้ไม่มีทางสำเร็จ

ตอบ               สำเร็จหรือไม่สำเร็จไม่ใช่ประเด็น ประเด็นคือเราเห็นแล้วว่าอะไรบกพร่อง เราไม่นิ่งดูดาย เราพยายามอย่างสุดความสามารถอย่างตลอดไปตราบที่ปัญหายังมีอยู่ เราจะทำสงครามที่ไม่มีวันสิ้นสุดอีกหนหนึ่ง ในอดีตเราเคยทำสงครามชนิดนี้และผ่านสงครามชนิดนี้คือ สงครามที่ไม่มีวันสิ้นสุดให้สิ้นสุดลงได้มาแล้ว หากจะลองสู้ดูอีกหน ก็ไม่ใช่เรื่องยิ่งใหญ่ เกินไปสำหรับเราและหากไม่สำเร็จ ภายหลังพยายามอย่างเต็มที่แล้ว ตายไปพบพระพุทธเจ้าท่านก็ไม่ตำหนิ

อนึ่งการมีงานใหญ่ ก็ต้องมีแผนงาน ในระดับต้น ๆ ยังมองไม่เห็นหรอก ว่าจะทำอย่างไร

ถาม               ควรจะทำอย่างท่านพุทธทาสภิกขุ สอนธรรมะให้โด่งดังไปก่อนแล้วจึงทำ

ตอบ               ท่านพุทธทาสท่านดังแล้วแต่ท่านก็ไม่ได้ทำ ถ้าท่านยังอยู่ ผมจะไม่โผล่ออกมาเลย เพราะผมอยู่สบายของผมแล้ว เมื่อท่านผู้โด่งดังไม่ทันได้ทำแต่ความคิดท่านนั้นยังอยู่ เราก็ตามความคิดท่านไป ผู้ไม่โด่งไม่ดังก็ต้องช่วยกันทำ ก็ใช่จะทำอะไรมาก เพียงออกมาป่าวประกาศ ให้คนเก่งมาทำเท่านั้นเอง เดี๋ยวนี้ก็ประกาศไปยังคนเก่งคนดีทุกหนทุกแห่งไปแล้ว แม้กระทั่งเทวดามาเข้าทรงตามสำนักเจ้าพ่อก็ไม่เว้น คนดีอยู่ไหน คนเก่งอยู่ไหน ขอให้บอกผมด้วย

เรื่องนี้ทำอะไรไม่ได้ ก็อย่าไปคิดอะไรมากเลย ประสาทเสียเปล่าน่ะ !

ถาม               งานนี้ไม่ใช่เรื่องตื้น ๆ ถ้าทำผิดจะหมายถึงความล่มจมไปเลย

ตอบ               ไม่เห็นหรือว่ากำลังจะล่มจมอยู่แล้ว ผมยังไม่ทันได้ทำอะไรเลย มันจะ

ล่มจมไปแล้ว ใครทำเอาไว้ก่อน มาร่วมศตวรรษแล้ว

ถาม               เคยอ่านทฤษฎีธรรมิกสังคมนิยมของท่านพุทธทาสหรือไม่น่าจะจับ หลักนั้น

ตอบ               เรื่องธรรมิกสังคมนิยม เห็นลูกศิษย์ของท่าน เช่น ศ.ศิวรักษ์ วิพากษ์ วิจารณ์แล้วว่ายังไม่อาจสรุปทางปฏิบัติได้ ก็เพราะท่านคิดสร้างสังคมอุดมการณ์เกินโลกไปมากนั่นเอง แต่ที่ผมคิดนี้ เป็นความคิดตามความจริง คือมองคนทั้ง ปวงว่าเป็นคนธรรมดา เราจะทำเรื่องราวของสังคมคนธรรมดา ๆ คนที่มีกิเลสอยู่แต่ให้เป็นไปในทิศทางที่เอื้อเฟื้อต่อธรรม และเพื่อธรรมเอื้อเฟื้อต่อพวกเขา เราจะไม่ไปคิดทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ คืออยู่ ๆ เราจะไปคิดสร้างระบบไกลกิเลสขึ้นมาใช้ ในสังคมที่เต็มไปด้วยกิเลสนั้น เป็นไปไม่ได้ เป็นเรื่องเพ้อฝันเท่านั้นเอง อย่าง เราคิดเรื่องประชาธิปไตยสงฆ์ นี้ เป็นไปได้โดยไม่ขัดและแย้งพระธรรมวินัย และไปกับโลกได้ เพราะว่าโลกเขาก็ต้องการอย่างนี้ เราก็สามารถไปได้อย่างนี้ ต่อ เมื่อพระสงฆ์บรรลุธรรมชั้นพระอรหันต์กันหมดก่อน เราค่อยเป็นธรรมิกสังคมนิยม

ถาม               หากทำสำเร็จผลที่จะเกิดขึ้นคืออะไร ?

ตอบ               มีองค์กรที่รับผิดชอบพระพุทธศาสนาในส่วนรวมที่เข้มแข็งเฉลียวฉลาด เส้นทางใหม่ของสงฆ์จะเกิดขึ้น ในส่วนรวมจะดีขึ้น สังคมสงบสุข การเมืองการปกครองทั้งฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายสงฆ์จะมีประสิทธิภาพ ด้านการเผยแผ่ระบบการทำงานเป็นหมู่เป็นกลุ่มจะเกิดขึ้นจะไม่เหมือนสมัยก่อนที่โลกแคบและพระอรหันต์แต่ละท่านแยกย้ายกันไป องค์หนึ่งไปทางหนึ่ง ไปโดด แต่สมัยนี้จะทำอย่างเดิมไม่ได้ เพราะเป็นยุควิวัฒนาการทางด้านการสื่อสารอย่างสูงมากการจะทำอะไร เราอาศัยสื่อได้ โดยเราไม่ต้องเดินทางไปที่ไหน หากแต่การวิเคราะห์สถานการณ์ ต้องทำอย่างละเอียดรอบคอบ จะต้องมีทีมงานติดตามเหตุการณ์ ตามเก็บรวบรวมข้อมูลทางสังคมการเมืองทุกชนิด มีระบบการวิเคราะห์ข่าวสารที่มีประสิทธิภาพ แล้วเราจะเอาสิ่งที่เรากลั่นกรอง แล้วนี้ออกไปทางสื่อ ทีเดียวไปได้ทั้งโลก เราทั้งหมดทั้งระบบจะทำเพื่อส่วนรวมคือพระพุทธศาสนาเท่านั้น จะไม่มีการทำงานเพื่อเอาประโยชน์เข้าตัว และการทำงานคือการปฏิบัติธรรม การปฏิบัติธรรมอยู่ในการทำงาน จะมีการเดินทางของพระภิกษุสงฆ์จาริก ไปยังสถานธรรมปฏิบัติ ป่า เขา อุทธยานแห่งชาติ ฯลฯ ทำได้ในระบบนี้ ศาสนาพุทธจะเจริญมากในแผ่นดินไทย และไทยจะนำโลกในด้านความคิด โลกก็จะมาสู่ยุคศาสนาสากล ที่มีความคิดพุทธเป็นหลัก โลกจะสงบลง และน่าจะมาถึงสิ่งที่พากันคาดการณ์กันไว้นะ ที่ว่าเป็นยุคการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่กำลังจะ เกิดขึ้น (การเปลี่ยนแปลง ในด้าน spiritual culture)

ถาม               แนวทางการต่อสู้ทำอย่างไร ?

ตอบ               ต่อสู้ทางระบอบรัฐสภา กระบวนการนิติบัญญัติแห่งชาติ ต้องประสานงานระดับชาติ รัฐบาล พรรคการเมือง และที่สำคัญ ประชาชน และที่สำคัญ

ยิ่งไปกว่าก็คือ คณะสงฆ์ เราจะไม่ทำงานไปคนเดียว ไปไหนจะต้องไปด้วยกัน เอาหมู่เอาพวกไปด้วยให้ได้

 

บรรณาธิการ

 

 

 

 

 4.         แผนภูมิเปรียบเทียบระบบสงฆ์ เจ้าขุนมูลนาย กับ ประชาธิปไตยสงฆ์ 

เจดีย์ 9 ชั้น เจดีย์ 3 ชั้น

 

 

 

 

 

 5.         นานาทัศนะ

ธาตุแท้หรือหลอกลวง

โดย วิบูลรัตน์ กัลยานวัตร

 

กรณี พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งให้คืนเบี้ยหวัดบำนาญแก่ พ.อ.ณรงค์ กิจติขจร โดยการปกปิดข่าวมาหลายเดือน เมื่อถูกเปิดเผยออกมา ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางและเมื่อมีกระแสต่อต้านจากหลายฝ่าย อย่างจริงจังพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ตัดสินใจยกเลิกคำสั่งนั้นทันทีกรณีดังกล่าวนี้ เห็นจะต้องนำมาพูดกันต่อไปอีกนาน เชื่อว่าฝ่ายค้านจะต้องทำเป็นญัติเสนอเข้าสู่สภาผู้แทนราษฏรอย่างแน่นอน

เหตุผลที่ต้องออกคำสั่งให้คืนเบี้ยหวัดแก่ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร อ้างว่าได้รับการร้อง

เรียนขอความเป็นธรรมมานานแล้ว แต่รัฐบาลที่ผ่านมาหลายรัฐบาลไม่ได้ให้ความสนใจทั้งๆที่การร้องเรียนนั้นได้ผ่านความเห็นชอบมาจากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องถูกต้องแล้ว นอกจาก พ.อ. ณรงค์ จะไม่มีความผิดในเหตุการณ์มหาวิปโยค 14 ตุลาคม 2516 แล้ว ยังอ้างด้วยว่า พ.อ. ณรงค์ ได้ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติมากมาย

ครั้นเมื่อถูกกระแสสังคมต่อต่านจนต้องถอนคำสั่งกลับอ้างเหตุผลสั้นๆหลายฝ่ายไม่เห็นด้วย เกรงว่าจะก่อให้เกิดการแตกแยกของคนในชาติ มองในแง่มุมหนึ่ง เป็นไปได้ว่าพลเอก ชวลิต ต้องกการจะให้ถูกใจฝ่ายทหารหรือกองทัพ ในฐานะที่ท่านเคยเป็นนายทหารใหญ่มาก่อน ซึ่งถ้าสำเร็จโดย ความราบรื่น ก็จะต้องได้ค่านิยมจากกองทัพอย่างแน่นอน

พลเอก ชวลิต ต้องคิดไว้แล้วเหมือกันว่า ถ้าหากมีกระแสคัดค้าน เมื่อถอนคำสั่งของตนเอง ก็จะได้ความนิยมจากประชาชนทั่วไปว่า เราเป็นทหารประชาธิปไตย ต้องฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งมีหลายคนเข้าใจอย่างนั้นแต่มองอีกมุมหนึ่งพลเอก ชวลิต ไม่ได้อะไรเลย กลับเสียกับเสียเท่านั้น มันเป็นการแสดงให้เห็นว่าท่านประเมินสถานการณ์ที่ผิดพลาดมาก ถ้า พลเอก ชวลิต ลงสมัครับเลือกตั้งสมัยหน้า ฝ่ายตรงกันข้ามจะนำจุดบอดนี้ขึ้นมากล่าวหาโจมตีอย่างรุนแรง ซึ่งจะกลายเป็นจุดดับในทางการเมืองของ พลเอก ชวลิต ได้ด้วยอย่างน่าเสียดายยิ่ง ถึงหากว่า พลเอก ชวลิต จะทำเป็นกลลวงเพื่อหยั่งเสียงของประชาชนมันก็ไม่คุ้มกับความเสี่ยงที่ทำไปแล้ว เป็นการยากอย่างยิ่งที่จะทำให้คนท่วไปมองในแง่ดี ผู้นำประเทศที่ขาดวิจารณก็มักจะลงท้ายแบบปลาตายน้ำตื้นอย่างนี้เอง

ฝ่าย พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร เองก็ออกมาตีโพยตีพาย อ้างว่าตัวเองไม่รับความเป็นธรรมจากสังคมต่างๆ นานา เรียกร้องอย่างนั้นอย่างนี้ กล่าวหาโจมตีว่ากฏหมู่อยู่เหนือกฏหมาย รัฐบาลก็ไม่สามารถให้ความยุติธรรมได้

ความจริงนั้น ประชาชนทั่วไปไม่ได้เสียดายเงินเบี้ยหวัดที่จะต้องจ่ายให้พ.อ ณรงค์ แค่เดือนละ สามพันกว่าบาทดอก แต่เขายังไม่ลืมเหตุการณ์ 14 ตุตาคม 2516 ต่างหาก

ถ้า พ.อ. ณรงค์ จะย้อนกับไปสมัยเมื่อตนเองมีอำนาจ ไม่แสดงบทบาทใช้อำนาจเป็นธรรม ก็คงไม่ออกมาเดือดร้อนวุ่นวายอย่างนี้ เลิกเสียทีเถอะชาตินี้ทั้งชาติคนไทยส่วนใหญ่เขาไม่ลืมเหตุการณ์มหาวิปโยคนั้นดอก สิ่งที่จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดสืบต่อกรณีนี้ ก็คือ ปากว่าจะต้องทำให้สำเร็จ ถึงการสร้างอนุสาวรีย์ วีรชน ให้แก่ผู้เสียชีวิต ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งพลเอกชวลิต รับปากว่าจะต้องทำให้สำเร็จ ถึงกับมีมติให้รัฐมนตรี ทบวงมหาวิทยาลัยเป็นประธาน

คราวนี้แหละจะได้เห็นชัด ๆ เป็นธาตุแท้บริสุทธิ์ของรัฐบาลจริงๆหรือว่าเป็นแต่เพียงกลลวง เพื่อจะลดกระแสที่กำลังก่อตัวขึ้น ไม่ให้ลุกลามขยายวง กว้างออกไป อย่างน้อย

ตัวเองก็จะอยู่ไปได้ระยะหนึ่ง

การประวิงเวลาให้อยู่รอดไปได้ระยะหนึ่ง เคยมีมาแล้วเป็นห้วง ๆ ขัดข้องเรื่องสถานที่บ้างละ อ้างว่าจะก่อให้เกิดความแตกแยกในชาติบ้างละในที่สุดก็เลยตามเลย

เวลานี้สถานที่ก่อสร้างมีแล้ว คือที่ตั้งกรมประชาสัมพันธ์เก่า เดี๋ยวนี้เรียกว่า สวนสันติพร

แม้จะถูกเฉือนเนื้อที่ไปเป็นถนนบ้าง ก็ยังมีบริเวณกว้างขวางพอ เงินทุนในการก่อสร้างก็มีแล้วถึงแปดล้านบาทถ้าจะทำจริงๆ ต้องสำเร็จ

แต่...ต้องไม่ลืมว่าพอจะเริ่มเรื่องนี้ขึ้นมาทีไร มักจะมีคนกลุ่มหนึ่งออกมาเคลื่อนไหวคัดค้าน อ้างว่าถ้าสร้างขึ้นจะทำให้ชนในชาติแตกแยกพวกประเภทขวาพิฆาตซ้ายหรือพวกรักชาติแต่ฝ่ายตนจนน้ำลายยืดจะยื่นคัดค้านทันทีออกกมาแสดงอาการข่มขู่ทันที รัฐบาลเองก็กล้าๆ กลัวๆ อีกไม่นานเท่าไร ก็เปลี่ยนรัฐบาลอีกแล้ว ในที่สุดก็ไม่ได้สร้างดังที่เป็นมาแล้ว

กระดูกของวีระชนประชาธิปไตยก็ร้องไห้ต่อไป.

 

 

 

 

 

 6.         สัจธรรมสงฆ์

 

ตามความเห็นของหลวงปู่เห็นว่า บุญคือประโยชน์ ประโยชน์คือบุญทำสิ่งใดเป็นประโยชน์มากถือว่าได้บุญมาก เป็นประโยชน์น้อยได้บุญน้อย ทำไปแล้วไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย ก็ไม่ได้บุญเลย ท่านผู้ใดเห็นด้วยหรือไม่ ก็สุดแต่ดุลพินิจของท่านเถิด หลวงปู่ไม่ได้โฆษณาชวนเชื่อแต่ประการใด

หลวงปู่ธัมมา พิทักษา วัดใหม่ยายมอญ บางกอกน้อย กทม. ผู้นำประชาชนสร้าง พระธาตุเรืองรอง ณ วัดบ้านสร้างเรือง ต. หญ้าปล้อง อ. เมือง จ. ศรีสะเกษ

·         จากหนังสือพิมพ์ถวายของตระกูล สวัสดิทัต

 

 

 

 

 

 

 7.         อุเบกขาญาณ  นักการเมืองจำเป็นต้องรู้ธรรมบ้างไหม ?

 

นักการเมืองจำเป็นต้องรู้ธรรมบ้างไหม ?

จำเป็นอย่างยิ่ง จำเป็นโดยธรรมชาติ เพราะธรรมะเป็นเรื่องของบุคคลผู้เฉลียวฉลาด ผู้มีภูมิปัญญา อุเบกขาญาณ เป็นยอดธรรมที่จำเป็นเพื่อใช้ในการมองปัญหาอย่างเป็นกลาง ไม่

ลำเอียงมองผลประโยชน์แท้ ผลประโยชน์จริง ได้ชัดเจนแจ่มแจ้งได้แล้ว ก็สามารถจะตัดสินใจ ตรงเฉียบขาด ไม่ลังเลผลที่ออกมาก็ให้คุณจริงต่อสังคมในส่วนรวม อุเบกขาญาณ เป็นธรรมที่จำเป็นสำหรับผู้ใหญ่ผู้เป็นประธานในการเมืองการบริหารแห่งชาติ จำเป็นสำหรับนักการเมืองทั้งหลายโดยเฉพาะ

นักการเมืองโดยจิตสำนึกอันลึกซึ้งแล้ว ล้วนแต่มีธาตุของความเสียสละความริเริ่ม ความเมตตากรุณา พร้อมทั้งคุณธรรมกกการพัฒนาสังคมไปสู่ความก้าวหน้าอยู่เต็มเปลี่ยม คุณธรรมดังกล่าวนี้ นักการเมืองมากก่าวคนธรรมดาทั้งหลายอยู่โดยธาตุแท้อยู่แล้ว เพราะนักการเมืองเป็นระบบธรรมชาติ ที่ต้องมีการพัฒนาการเป็นการพัฒนาในภาคภายในโดยแท้ จริงจึงจะมาสู่ความเป็นนักการเมือง สู่จิตใจนักการเมือง ที่แท้จริงได้

แต่การพัฒนาหรือวิวัฒนาการนั้น หากไม่มีธรรมะที่ถูกต้องเช่น อุเบกขาญาณ นี้กำกับมาด้วย ก็อาจกลายเป็นว่าเข้าลักษณะ มีเจตตนาดี แต่การกระทำเป็นร้ายไปก็ได้ ซึ้งจะทำให้นักการเเมืองนั้นเสียไปอย่างน่าเสียดาย

ทางปฏิบัติ เพื่อเข้าสู่อุเบกขาญาณนั้น จะต้องทำใจให้สงบก่อน แล้วแล้วเข้าสมาธิไปแล้วเข้าญาณไปจนถึงระดับอุเบกขาญาณ ( ญาณและญาเสมอกัน ) แล้วก็เริ่มทำงานมันสมอง คือนำปัญหามาพิจารณาขบคิดไป อย่างที่ทำอยู่โดยปกติบนโต๊ะทำงานนั้นแหละ หากแต่บัดนี้ มีอุเบกขาญาณ มากำกับอยู่ด้วยผลก็จะออกมาดี อย่างเป็นกลาง ไม่มีคติ และเราเชื่อตัวเองได้อย่างไม่มีเคลือบแคลงสงสัยหรือตนก ว่าเราทำดี ดีที่สุดแล้ว

และเราก็จะเห็นคุณค่าของพระธรรมอย่างลึกซึ้ง แต่ถ้าเราไม่สามารถทำอุเบกขาญาณได้โดยวิธีที่แนะนำมานี้ ก็อย่าลืมสัปปุริสธรรม 7 อันเป็นหลักการใช้วินิจฉัยปัญหาของคนปุถุชนธรรมดาทั่วไป มี 7 ประการคือ รู้เหตุ ( เหตุในที่นี้ตรงกับคำว่า cause)

รู้ผล ( ผลในที่นี้ตรงกับคำว่า effect ) ซึ่งจะตรงกับหลักธรรม และกลักวิทยาศาสาตร์ )

รู้ตน ( คือรู้ตัวเองหรือรู้ว่าเรามี calibre ขนาดไหนและ calibre ขนาดเราอย่างเราทำอะไร

พูดอะไร จึงจะเหมาะสม) รู้บุคคล ( คือรู้คนอื่น รู้เขา-รู้เราตามหลักทหารนั้นเอง) รู้กาล

( คือกาละเทศะ ตรง timing ของฝรั่งนั่นแหละ อันนี้สำคัญมากทั้งคติไทยคติฝรั่ง ไทยมักว่าตีเหล็กกำลังร้อน นี้ก็เป็นตัวอย่าง timing ที่ชัดเจน) นี่ยิ่งสำคัญมากสำหรับสถานการณ์

การเมืองการเศรษฐกิจของชาติขณะนี้ นโยบายของรัฐบาลจึงต้องระวังเรื่องการรู้ประมาณตนเองให้มากที่สุด เช่นเราจน แล้วยังจะคิดการเศรษฐกิจให้ฟุ่มเฟือยหรูหราอย่างประเทศที่เขารวยนั้นไม่ได้ นี่เรียกว่ารู้ประมาณ) และสุดท้ายรู้ชุมชน อันนี้บางกรณีก็คือรู้ทุกข์ของเขาเช่น สมัชชาคนจน เราต้องรู้ทุกข์ืของเขาให้ลึกซึ้ง ถูกต้อง แล้วจะรู้วิธีแก้ปัญหาเองตามหลักว่ารู้ทุกข์แล้วรู้เหตุแห่งทุกข์ย่อมรู้วิธีแก้ทุกข์และย่อมบรรลุมรรคผล )

หากไม่อาจนำหลักสัปปุริสธรรม 7 มาใช้ อย่างน้อยก็ต้องมีหลัก อคติ 4

อยู่ในหัวบ้างคือพิจารณาตัดสินปัญหาใด ๆให้ปราศจากอคติทั้ง 4คือ ฉันทาคติ ( ลำเอียงเพราะรัก ) โทสาคติ (ลำเอียงเพราะชัง ) โมหคติ ( ลำเอียงเพราะหลงหรือเขลาหรือเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ) และ ภยาคติ ( ลำเอียงเพราะกลัว )

นักการเมืองจำเป็นต้องมีธรรมะเหล่านี้ในหัวใจ อย่างขาดเสียไม่ได้ควบคู่กับหลักวิชาการในเรื่องในปัญหานั้น ๆด้วยเสมอ

แต่ มีกรณีหนึ่ง เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่วงการนักการเมืองได้ทำให้วงการศาสนาปริวิตกว่า นักการเมืองอาจละเลยข้อธรรมะสำคัญๆ ที่คู่กับสังคมไทยมานานแสนนานเสียแล้ว อาจทำไปเพราะความเขลาหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ทางธรรมะหรือไม่ ?

นั้นก็คือ หลักสังควัตถุ 4 มีธรรมะ 4 ประการที่ทำให้สังคมไทย ชาติไทย ประชาชนไทย มีความผูกพัน รักใคร่กลมเกลียว รู้รัก รู้สามคี และทั้งเป็นหลักสากลของสังคมทุกชีวิต แม้กระทั้งสังคมของสัตว์ทวิชาจตุบาททั้งหลายก็จะต้องมี นั่นก็คือหลัก

ทาน               การให้ โดยเฉพาะผู้ที่มีเงินมีทอง มีทรัพย์สินมากควรต้องบริจาคให้ทาน ออกไปช่วยเหลือสังคม และในสังคมไทยคนทั้งหลาย คนมั่งมี คนมั่งคั่ง ได้ถือปฏิบัติมาเช่นนี้เท่านานแล้ว และสังคมเรายกย่องชมเชยคนเช่นนี้ จึงผูกพันให้สังคมดำรงอยู่ ให้สังคมมีการสร้างสรรค์

นี่เป็นหลักความรักผูกพันของสังคมอย่างขาดเสียไม่ได้ แม่นก พ่อต้น หากไม่รู้จักหาอาหารมาป้อนลูกแดงๆ แล้วนกก็คงไม่รู้รักผูกพันกันและคงไม่รอดอยู่เป็นสังคมนกมาตราบนี้ ( น่าจะลองอ่านคติว่าด้วยเศรษฐีของท่านพุทธทาสภิกขุดูบ้าง ว่าท่านพูดเรื่องนี้ไว้อย่างไร )

ปิยวาจา           วาจาน่ารัก วาจาเป็นที่รัก คำพูดน่ารัก ไม่เปล่งคำพูดที่ตรงกันข้ามไม่ควรอย่างยิ่งที่จะกล่าวคำดูถูกเหยียบหยามภูมิปัญญาของกันและกันอันเป็นทางตัดสัมพันธ์ ตัดไม่ตรีทางจิตวิญญาณกันเสียง่าย ๆ พูดอะไร ๆ ตั้งอยู่บนหลักเหตุและผลและอริยสัจธรรม ควรหลักสากลว่ามีคำพูดที่สังคมมนุษย์ไม่ควรพูดกันอยู่ 4 อย่าง คือ พูดโกหกหลอกลวง พูดหยาบคาย พูดส่อเสียด ยุยงให้แตกกัน เป็นนกมีหูหนูมีปีก ให้เกิดความร้าวรานแตกแยกในสังคม และไม่ควรพูดเพ้อเจ้อ คือไร้หลักฐานข้อมูล ไร้เหตุผล พูดสักแต่ว่าพูดเหมือนหมูมันรู้จักร้องมันก็ร้องไป

อัตถจริยา        ประพฤติตนเป็นประโยชน์ ทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กันและกันยิ่งทำก็ยิ่งให้รัก ผูกพัน รู้สามคี คือหลัก กตัญญูกตเวทิตา นั่นเอง ต่างทำบุญคุณแก่กันและกันดีกว่าทำความเสียหายให้แก่กันและกัน เป็นไหน ๆ เขาทำบุญคุณแก่เราเท่านี้ เราทำกลับไปยิ่งกว่า แข่งกันไปแบบนี้สังคมยิ่งเจริญ

สมานัตตา        หลักนี้เข้าลักษณะอุเบกขาญาณอยู่ คือ ความเสมอต้นเสมอปลาย ใจนั้นดำรงคงมั่น ไม่ตื่นไปตามโลกธรรม 8 เสมอต้นเสมอปลายได้ตลอดไป เมื่อก่อนเป็น สส. ประพฤติอย่างไร พอเป็น ก็ประพฤติเสมอต้นเสมอปลายไป อย่างนั้น จึงเรียกว่ามีคุณธรรมข้อ

สมานัตตา นี้ เพื่อนก็รัก ประชาชนก็ชอบ หลักสังคหวัตถุ 4 เป็นหลักสายใยแห่งน้ำจิตน้ำใจในสังคมทุกชีวิต เป็นธรรมสำ

หรับสังคมที่ประเสริฐและเป็นสากล ดูซิเวลาประมุขของประเทศต่าง ๆทั่วโลกไปเยี่ยมเยียนกันและกันเขาก็ต้องมีอะไรติดไม้ติดมือไปเสมอ เวาลาพูดกันก็พูดอย่างมีถ้อยทีถ้อยอาศัยตามคติว่า มาพบกันครึ่งทางนั่นอย่างไร ถ้าไม่อย่างนี้แล้ว จะมีอะไรเป็นสายใยผูกพันกันเล่า ?

กรณี ท่าน รมว. ศึกษาธิการ รัฐบาลปัจบัน กับกรณีคุณหญิง ในพรรคนำฝ่ายค้านนั้น นักการเมืองวิเคราะห์ไปในทิศทางที่นาวิตกว่าจะไม่สอดคล้องหลักสังคหวัตถุธรรมนี้

พึงระวังให้มากกว่าพฤติการอันจะทำลายหลักธรรมสำคัญของสังคมลงนั้นจะเท่ากับการทำลายสังคมโดยตรง จึงน่าจะใช้ อุเบกขาญาณ นี้ พินิจพิจารณาดูให้ละเอียดรอบคอบอีกสักครั้งหนึ่ง

ธรรมสามี

พ.ค. 40

 

 

 

 

 8.         ( ยิ้มสำรวม)

เสียท่ามันจริง ๆ

 

วันนั้น กว่าจะได้ฉันเพลก็เกือบ 11 ครึ่งเข้าไปแล้ว เจ้าคุณท่าน

รออาหารโปรดที่ไม่ได้ลิ้มรสมานานแล้ว นึกถึงทีไรก็ชีดปากทุกที ท่านโปรดกระเพาะปลาปรุงพิเศษมีไข่นกกระทาและเครื่องในไก่ ต้องมีมือภัตตาคารหม้อหนึ่งราคา 150 บาท วันนั้นท่านเจ้าคุณอุตสาห์ควักเงินส่วนตัวให้โยมรู้ใจไปจัดการให้ บังเอิญวันนั้นมีลูกศิษย์มาจากบ้านนอก มาอยู่รับใช้แทนลูกศิษย์คนเดิม ที่ลาออกไป พอโยมมาถึงก็เลยเที่ยงวันไปมากแล้ว

ท่านเกรงว่าอาจเป็นเหตุเสียสัทธาจึงพยักพะเยิดให้โยมเอากระเพาะปลาที่เพิ่งซื้อมาไปเก็บ

ในตู้เย็น ในห้องฉันรวมเสียก่อน ท่านกะว่าสักราว ๆ 1 ทุ่มจึงจะย่องเข้าไปดู วันนั้นท่าน

เจ้าสคุณมีอาการสดชื่น กระหยิ่มยิ้มย่องอารมณ์ดีเป็นพิเศษตลอดเวลา แต่ก็ไม่เกินเวลาประมาณทุ่มเศษ ๆ เมื่อท่านค่อยโผล่ออกมาจากห้องอาหาร หน้าตาที่เคยยิ้มแย้มกลับดูบึ้ง

อย่างหน้าเพราะกระเพาะปลาชามพิเศษหายไปหมดเกลี้ยงหม้อ ลูกศิษย์ใหม่ยิ้มแหะพนมมือ

บอกว่า ผมเองแหละครับหลวงพ่อ เห็นเลยเพลแล้วหลวงตาที่นอกบอกว่าอาหารค้างคืน

พระฉันเป็นอาบัติ ผมเลยซัดเกลี้ยงหม้อเลย อร่อยจริง ๆ ครับ หลวงพ่อ ภัตตาคารมาถวายหรือครับ .

มันย่อนถามเจ้าคุณหน้าตาเฉยเสียอีกน่ะ . เสียท่ามันจริง ๆ

ท่านนึกอย่างนั้น.        

โหน่งเขียนให้ยิ้ม

 

 

 

 

 9.         การบริหารวัด หนังสือที่สท้อนปัญหาระบบสงฆ์ปัจจุบัน

เขียนโดย พระมหาเสริมชัย ชยมงฺคโล ป.ธ. 6

 

หนังสือการบริหารวัด จัดพิมพ์ด้วยกระดาษปอนด์อย่างดี มีความหนาถึงกว่า 264 หน้า พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2539 โดยมูลนิธิภาวนาวิชาธรมกาย เรารู้อะไรหลายอย่างเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการจัดทำหนังสือและประวัติบางส่วนของผู้เขียนจากย่อหน้าต้น ๆ ในคำนำจากประสบการณ์ที่ข้าพเจ้าได้ผ่านพบมา ตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นคฤหัสถ์ได้ทำงานเป็นนักวิจัยและประเมินผลโดยอาชีพ ในสำนักงานของรัฐบาลต่างประเทศ และเป็นผู้บรรยายพิเศษชั้นปริญญาตรี มากกว่า 20 ปี และเป็นผู้บรรยายชั้นปริญญาโทมาประมาณ 3-4 ปี ก่อนสละชีวิตคฤหัสถ์เขัาบวชเป็นพระภิกษุในพระธรรมวินัยของสมเด็จพระสัมพุทธเจ้านี้เมื่ออายุได้ 57 ปีเต็ม ( บวชเมื่อ 6มีนาคม 2529 ) นั้นได้พบว่าพระภิกษุสงฆ์ไทยเรายังได้รับการศึกษาอบรมทั้งปริยัติสัทธรรม และ ตามหลักการบริหารสากล ที่จะสามารถนำมาประยุคต์ใช้ สำหรับการบริหารการปกครอง และการจัดการ ไม่เพียงพอเมื่อท่านผู้เขียน นิยามคำว่า บริหาร คือ การดูแลรักษาตนเองหนังสือเล่มนี้จึงมีเนื้อหาสาระส่วนใหญ่เกี่ยวกับธรรมะ และหลักปฏิบัติต่างๆ ที่มีมาในพระไตรปิฏก รวมทั้ง หลักและรายละเอียดของวิชชาธรรมกาย หรือแนววิชชาสมาธิของวัดปากน้ำ โดยเห็นว่า เมื่อพระได้ปฏิบัติธรรมเป็นประโยชน์แก่ตน ตนได้บรรลุผลทางธรรมปฏิบัติแล้ว เป็นผลดีต่อการบริหารหมู่คณะไปด้วยซึ่งเป็นหลักการปกครองตนเอง โดยคุณธรรมของสงฆ์นั้นเอง

ประเด็นปัญหาในวงการสงฆ์ที่น่าสนใจ ที่หนังสือเล่มนี้เสนอมา กลับประเด็นเกี่ยวกับการศึกษาของคณะสงฆ์ ทุกระดับ ที่มีลักษณะ

..........มุ่งเน้นแต่เฉพาะภาคปริยัติธรรม

..........โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การอบรมภาวนาธรรม หรือการอบรมสมถววิปัสสนากรรมฐานแทบทุกสถาบันการศึกษา ต่างให้ความสำคัญน้อยมาก ไม่สนใจการอบรมกายอบรมศีลอบรมจิตและอบรมปัญญาโดยสัทธรรม 3คือทั้งปริยัติสัทธรรม ทั้งปริยัติสัทธรรม และปฏิเวธสัทธรรม ให้เห็นแจ้งรู้จริงตามที่ได้ปฏิญญาไว้เมื่อขอบรรพชาอุปสมบท

ส่วนสถาบันการศึกษาที่สูงถึงระดับอุดมศึกษาซึ้งเป็นสถาบันหลัก กลับให้ความสำคัญกับภาคปฏิบัติสัทธรรมน้อยมาก และบางสถาบัน การศึกษาในระดับสูง ยังมีนโยบาย ใจคับแคบ ไม่สมกับเป็นสถาบันชั้นสูง ระดับอุดมศึกษาสากลยิ่งหลักสูตรการศึกษาในปัจจุบัน ยิ่งมุ่ง คือมีแนวโน้มที่จะให้วิชชาความรู้หนักไปทางโลกเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้สามารถเทียบคุณวุฒิกับคุณวุฒิการศึกษาทางโลกเป็นสิ่งล้อใจแก่พระภิกษุสามเณรให้พากันมาเรียนมากๆโดยไม่คำนึงถึงการอบรมสิกขา 3 และสัทธรรม3 อันเป็นธรรมนูญการบริหารการปกครองตนและหมู่คณะพระภิกษุที่ประพฤติพระธรรมวินัย สามเณรที่ประพฤติผิดศีล ที่เห็น ๆ กันอยู่โดยทั่วไปในปัจจุบันนี้ ถ้าจะพูดกันอย่างตรงๆ แล้วคงจะไม่ต่ำกว่าอัตตราของผู้ติดโรคเอดส์จริงๆ ที่มิได้ออกเป็นข่าวจริงๆ นั่นแหละ และนี่เองเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงในวงการศาสนาของเรามากที่สุด

ข้อวิจารณ์                  ท่านผู้เขียน พระมหาเสริมชัย ชยมงฺคโล เน้นเป้าหมายการศึกษาเพื่อมรรคผลและนิพานว่าเป็นเส้นทางเป้าหมายของภิกษุสงฆ์สามเณรผู้ปฏิญญาณขอบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้า แต่ในความเป็นจริง พระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนาปัจจุบันนี้หาได้เอาใจใส่แม้แต่น้อยไม่ ผู้ประพฤติผิดพระธรรมวินัยมีอยู่มากมายเหมือนอัตตราการเป็นโรคเอดส์ของประชาชนไทยนั่นก้เพราะทิศทางของระบบสงฆ์ที่แปลเปลี่ยนไป   การศึกษา จึงมิได้เป็นไปในหลักปรัชญาการศึกษา หากแต่เป็นการศึกษา เพื่อรับใช้ระบบ คือระบบเจ้าขุนมูลนาย อันเป็นระบบที่ใฝ่ประโยชน์ส่วนตัวไปล้วนๆ เมื่อเฟืองตัวใหญ่หมุนไปผิดทิศทาง ระบบหรือหน่วยย่อย ๆ ทั้งมวลก็ย่อมถูกพากพาตามไปในทิศทางที่ผิดนั้นด้วย

ทิศทางของระบบเจ้าขุนมูลนายสงฆ์ จึงห่างไกลจากมรรค ผล นิพพานหากแต่เดินไปตรงข้ามคือ ลาภ กับ ยศ - ตำแหน่ง เป็นที่หวังใฝ่คว้ากันทุกตัวตน ฉะนั้น ชนทั้งหลายผู้ถึงแล้วซึ้งสัมมาทิฏฐิ จงก้าวออกมาเถิด มาทำประโยชน์ส่วนรวม เพือชาติไทย

และพระพุทธศาสนา ไปในเส้นทางปฏิรูป ปฏิวัติระบบเก่า ไปในเส้นทาง ประชาธิปไตย

สงฆ์ประชาธิปไตยประชาชน และ ชาติประชาธิปไตย

ไกลกิเลส

พ.ค. 40

 

 

 

 

 

 

 

 10.        บันทึกข่าวล่า

                        (เพื่อประชาธิปไตยเบ่งบาน)

 

ศรีสะเกษสรุปประเด็น

ศรีสะเกษ โดย คณะกรรมาธิการววิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ ประจำจังหวัดศรีสะเกษ มี ประสพพร พาทยกุล ประธานคณะ ฯ ฉัฐมงคล อังคสกุลเกียรติ ทรงเกียรติ โรจนวรเกียจติ ทองดี ทองผาย ทิวา รุ้งแก้ว นพดล จันทร์พวง นรังสันต์ พีรกิจ น.ส. นฤมล สัมฤทธิ์ผล นันทสาร สีสลับ บุญโชติ จันทร์สุพัฒน์ ประพันธ์ ดอกไม้ไพบูลย์ นาคสีหราช สุเทพ ขันทอง สุนทร เสนะเกตุ อาลัย หงษ์ทอง รวม 15 คน พร้อมคณะอนุกรรมการ 5 คณะ  สรุปประเด็นออกมารายงานเล่มหนาพอสมควรปรากฏในหมวดต่างๆ ที่สำคัญคือ เรื่องคดีอาญา การส่งเสริมประชาธิปไตย การเกษตรกรรม เกษตรกรและปัจจัยการผลิต การศึกษาแบบให้เปล่า อันตรงกับปัญหาที่มองเห็นอยู่ทั่วไปในศรีสะเกษ

ในเรื่องระบบการปฏิรูประบบการปกครองสงฆ์ มีข้อสรุปที่ชัดเจนมากในหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐ ดังนี้

2.39      รัฐควรเร่งสังคายนาคณะสงฆ์ ทั้งด้านการบริหารของมหาเถรสมาคม การบริหารงานบุคคล ในคณะสงฆ์ ตรวจสอบการใช้ที่ดินเพื่อจัดสร้างวัดให้ถูกต้องเป็นปัจจุบัน ให้รัฐส่งเสริมสนับสนุนให้คณะสงฆ์มีความสอดคล้องและเอื้อต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย ( รายงานฯหน้า 26 )

จากการพิจารณาสรุปประเด็นเฉพาะศรีสะเกษ ก็มองเห็นแล้วว่านี่ เป็นหลักการระดมความคิดแล้วกลั่นกรองออกมาได้อย่างเข้มข้น น่าเลื่อมใส หากประมวลมาทุกจังหวัดแล้วก็คงจะเห็นความคิดเน้นย้ำซ้ำเข้าไปในประเด็นสำคัญๆ ที่จะส่งเสริมแนวพัฒนาการแห่งประชาธิปไตยของชาติให้จำเริญไปอย่างแน่นอน

ศรีสะเกษยังเตรียมการศึกษาพฤติกรรมและทัศนะต่อการเลือกตั้ง ของประชาชนชาวศรีสะเกษ เพื่อเจาะลึกเข้าไปถึงแก่นแห่งการใช้เงินซื้อเสียงเลือกตั้งในจังหวัดนี้ ว่ามาจากสาเหตุอะไร ล่าสุด วันที่ 11 เมษายน 40 คณะผู้ดำเนินงาน โครงการนัดประชุมวางแผนงานซั้นเก็บข้อมูล ณ ห้องทำงาน บุญโชติ จันทร์สุพัฒน์ ศธ.ศก. ในฐานผู้รับผิดชอบโครงการ มี สุเทพ ขันทอง เป็นหัวเรือใหญ่ฝ่ายทำงานวิจัย มีพระอาจารย์ พยับ ปญฺญาธโรร่วมให้คำปรึกษาหารือในที่ประชุมด้วยกำหนดเวลาปฏิบัติงานโครงการ 4 เดือนตั้งแต่ 1 เม.ย - 30 ก.ค. 40  งบประมาณ 200,000 บาท เป็นที่น่าสังเกษว่าโครงการเจาะลึกการเลือกตั้งนี้สนใจและน่าสนับสนุนเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะที่จังหวัดศรีสะเกษเอง และรวมไปถึงจังหวัดที่มีซื่อเสียงทางการใช้เงินเพื่อการเลือกตั้งทั่วไปด้วย เพราะการวิจัยอาจให้ได้ข้อมูลบางชนิดที่เกี่ยวข้อกับพฤติกรรมทางการเมืองของประชากรในในแต่ละวัฒนธรรม ที่อาจแตกต่างกันไปอย่างมาก ๆ กันเกี่ยวข้องไปถึงวิธีการแก้ปัญหาที่ต้องแตกต่างหันไปในแต่ละท้องถิ่น ( 001 รายงาน )

 

สายงานการวัฒนธรรมแห่งชาติประชุมใหญ

ผู้บริหารวัฒนธรรมทั่วประเทศขอมีส่วนในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน

รายงานข่าวว่า ผู้แทนศูนย์วัฒนธรรมต่างๆ ทั่วประเทศ มีผู้แทนสภาวัฒนธรรมจังหวัด ผู้แทนวัฒนธรรมอำเภอ ผู้แทนวัฒนธรรมตำบล ผู้แทนสภาวัฒนธรรมหมู่บ้าน ผู้แทนสมาคม- มลูนิธิ ผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม ผู้แทนบริหารงานวัฒนธรรมระดับสูง ทั้งในส่วนกลางและสส่วนภูมิภาค และผู้แทนองค์กรเครือข่ายเครือญาติทางวัฒนธรรมอื่นๆ จำนวนประมาน 300 คนได้เข้าร่วมประชุมสัมนาให้ข้อคิดเห็นสาระสำคัญเพื่อเสนอเข้า สสร. ร่วมกำหนดวิธีชีวิตไทยในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยได้จัดให้มีการประชุม ณ โรงแรมเรดิสัน กทม. ระหว่างวันที่ 18-19 มีนาคม 2540

ผลการประชุมได้สรุปประเด็นสำคัญๆ ตามกรอบที่ สสร.กำหนดให้ ดังนี้

กรอบที่ 1       สิทธิหน้าที่และการมีส่านรวมของพลเมือง

1.1        สิทธิทางวัฒนธรรมในการใช้มิติวัฒนธรรมนำการพัฒนาและการได้รับการคุ้มครองทางภูมิปัญญาไทยจากการปฏิบัติอันไม่ชอบธรรม

1.2        รัฐพึงส่งเสริม ประชาชนให้เข้าใจและเลื่อมใสศรัทธาในศาสนาลัทธิ พิธีกรรม และประเพณีทางศาสนาอย่างมีเหตุผลและสอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิไตย (อาจไม่ตรงกรอบ แต่ขอผนวกในกรอบนี้ )

1.3        รัฐพึงถือเป็นภาระหน้าที่ในการส่งเสริม และพัฒนาวัฒนธรรมประ๙าธิปไตยจนเป็นวิถี ชีวิตในสังคมไทย

กรอบที่ 2 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

2.1        ให้มีผู้ตรวจการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมของรัฐสภา

กรอบที่ 3 สถาบันการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง

3.1        ให้กำหนดการเลือกตั้งเป็นระบบผสมระหว่างบัญชีรายซื่อที่พรรคการเมืองเสนอ100คนและระบบเสียงข้างมากรอบเดียวเขตละคน( เขตเดียวคนเดียว ) 400 คน

3.2        การเลือกตั้งวุฒธิสมาชิกวุฒิสภาให้มาจาก ตัวแทนทางภูมิศาสตร์ จังหวัดละ 1 คน   76 จังหวัดโดยประชาชนท้องถิ่นเป็นผู้เลือกตั้ง และจากตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์อย่างน้อย 9 กลุ่ม

3.3        สนับสนุนการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอย่างจริงจัง โดยปรับโครงสร้างการปกครองให้ มีเพียงส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นเท่านั้น

3.4        ให้ผู้ดำรงตำแหน่งฝ่ยผู้บริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายตุลาการทุกตำแหน่งปฏิบัติตน แบบอย่างแก่สังคมและเป็นผู้นำทางจริยธรรม อันได้แก่ ความซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบ รักษาคำพูดมีระเบียบวินัย มีพฤติกรรมเป็นประชาธิปไตยซึ้งประกอบด้วยสามคี ธรรม คารวธรรม และปัญญาธรรม โดยยึดหลักจริยธรรมใน

เมื่อการประชุมสัมนาสิ้นสุดลงแล้ว ที่ประชุมได้มอบหมายให้ ดร.นันทสาร สีสลับ ผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม เลขาธิการสมัชชาศิลปวัฒนธรรมไทย ซึ้งเป็นผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เป็นผู้นำเสนอข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้จากการประชุมสมนาดังกล่าว ต่อประธานคณะอนุกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็น สสร.ต่อไป ( 002 รายงาน )

 

 

 

 

 11.       หน้าบอกสถานะของเรา

 

วิเคราะห์ข่าวในวงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดภาคอีสาน รายคาบ

บรรณาธิการ           พระพยับ ปญฺญาธโร อดีตเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ

พิมพ์ที่                  มูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร) วัดมหาพุทธาราม ถนนขุขันธ์ อำเภอเมืองศรีสะเกษ   จังหวัดศรีสะเกษ ๓๓๐๐๐

โทร-โทรสาร : (๐๔๕) ๖๒๒๔๕๕

การแจกจ่าย

-           เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดทั่วประเทศ

-           วงการสงฆ์

 

 

 

 

 12.       เจ้าภาพประจำเดือน

วิเคราะห์ข่าวในวงการเจ้าคณะจังหวัด ภาคอีสาน

ประจำเดือน พฤษภาคม 2540

เจ้าภาพประจำฉบับนี้ : อาจารย์ประทิน แก้วจันทร์ทรา กับคณะ

เจ้าภาพประจำเดือน มิถุนายน 2540 : คุณพี่สนิท คุณเสรี ทองตัน กับคณะ

เจ้าภาพประจำเดือน กรกฎาคม 2540 : อาจารย์ไพรัช เติมใจ กับคณะ

-โปรดสมัคเป็นเจ้าภาพประจำเดือนต่อ ๆไป

-โปรดช่วยกัยเผยแผ่ออกไป

 

 

 

 

 13.       หน้าโฆษณาประชาสัมพันธ์

คอยพบกับ เฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว พ.ศ. 2540

วิเคราะห์โดย ปัญญาธโรภิกขุ เร็วๆ นี้

 

คอยพบ เฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว พ.ศ. 2540

วิเคราะห์การเฝ้าดูโดย ปญฺญาธโรภิกฺขุ เร็ว ๆ นี้ 

 

 

 

 

 

 

 14.       ปกหลัง : ในธงประชาธิปไตยสงฆ์และบทกวีปฏิวัติ

อันใดคือโคตรเพชร                    เผล็ดพลังธรรมรุ่งฉาน

กลับทิศผิดทางเนิ่นนาน               โคตรเพชรจึ่งสาดแสงแรงร้าย

เพียงกลับทิศทางให้ถูก               โลกวิปริตจักพลันหาย

เพียงกลับทิศถูกทุกข์ก็คลี่คลาย    สบาย ชุ่มเย็น เป็นคุณ

ใครเล่าอาจทำให้ได้                   หากไม่ออกแรงเองหมุน

สู่อุปถัมภ์ค้ำจุน                          ประชาราษฎร์ชาติประชาธิปไตย

ปธร.

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
----- ***** ----- โปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate นี่คือเวบไซต์คู่ www.newworldbelieve.com กับ www.newworldbelieve.net เราให้เป็นเวบไซต์ที่เสนอธรรมะหรือ ความจริง หรือ ความคิดเห็นในเรื่องราวของชีวิต ตั้งใจให้ธัมมะเป็นทาน ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แด่คนทั้งหลาย ทั้งโลก ให้ได้รู้ความจริงของศาสนาต่าง ๆในโลกวันนี้ และได้รู้ศาสนาที่ประเสริฐเพียงศาสนาเดียวสำหรับโลกยุคใหม่ จักรวาลใหม่ เรามีผู้รู้ ผู้ตรัสรู้ ผู้วินิจฉัยสรรพธรรมสรรพวิชชา สรรพศาสน์ และสรรพศาสตร์ พอชี้ทางสู่โลกใหม่ ให้ความสุข ความสบายใจความมีชีวิตที่หลุดพ้นไปสู่โลกใหม่ เราได้อุทิศเนื้อที่ทั้งหมดเป็นเนื้อที่สำหรับธรรมะทั้งหมด ไม่มีการโฆษณาสินค้า มาแต่ต้น นับถึงวันนี้ร่วม 14 ปีแล้ว มาวันนี้ เราได้สร้างได้ทำเวบไซต์คู่นี้จนได้กลายเป็นแดนโลกแห่งความสว่างไสว เบิกบานใจ ไร้พิษภัย เป็นแดนประตูวิเศษ เปิดเข้าไปแล้ว เจริญดวงตาปัญญาละเอียดอ่อน เห็นแต่สิ่งที่น่าสบายใจ ที่ผสานความคิดจิตใจคนทั้งหลายด้วยไมตรีจิตมิตรภาพล้วน ๆ ไปสู่ความเป็นมิตรกันและกันล้วน ๆ วันนี้เวบไซต์นี้ ได้กลายเป็นโลกท่องเที่ยวอีกโลกหนึ่ง ที่กว้างใหญ่ไพศาล เข้าไปแล้วได้พบแต่สิ่งที่สบายใจมีความสุข ให้ความคิดสติปัญญา และได้พบเรื่องราวหลายหลากมากมาย ที่อาจจะท่องเที่ยวไปได้ตลอดชีวิต หรือท่านอาจจะอยากอยู่ณโลกนี้ไปชั่วนิรันดร ไม่กลับออกไปอีกก็ได้ เพียงแต่ท่านเข้าใจว่านี่เป็นแดนต้นเรื่องเป็นด่านข้ามจากแดนโลกเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง และซึ่งเป็นโลกหรือบ้านของท่านทั้งหลายได้เลยทีเดียว ซึ่งสำหรับคนต่างชาติ ต่างภาษาต่างศาสนา ได้โปรดใช้การแปลของ กูเกิล หรือ Google Translate แปลเป็นภาษาของท่านก่อน ที่เขาเพิ่งประสบความสำเร็จการแปลให้ได้แทบทุกภาษาในโลกมนุษย์นี้แล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้เอง นั้นแหละเท่ากับท่านจะเป็นที่ไหนของโลกก็ตาม ทั้งหมดโลกประมาณ 7.6 พันล้านคนวันนี้ สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในโลกของเราได้เลย เราไม่ได้นำท่านไปเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่การนำไปสู่ความจริง ความรู้เรื่องชีวิตใหม่ การอุบัติใหม่สู่ภาวะอริยบุคคล ไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปพ้นจากทุกข์ ทั้งหลายไปสู่โลกแห่งความสุขแท้นิรันดร คือโลกนิพพานขององค์บรมศาสดาพุทธศาสนา พระบรมครูพุทธะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ท่านโปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate ท่านก็จะเข้าสู่โลกนี้ได้ทันทีพร้อมกับคน7.6พันล้านคนทั้งโลกนี้. ----- ***** ----- • หมายเหตุ เอาขึ้นเวบไซต์ แทนของเดิม ทั้ง 2 เวบ .net .com วันที่ 21 เม.ย. 2565 เวลา 07.00 น. -----*****-----