ReadyPlanet.com
dot
dot dot
bulletBUDDHISM TO THE NEW WORLD ERA
bullet1 Thai-ไทย
bullet2.English-อังกฤษ
bullet3.China-จีน
bullet4.Hindi-อินเดีย
bullet5.Russia-รัสเซีย
bullet6.Arab-อาหรับ
bullet7.Indonesia-อินโดนีเซีย
bullet8.Japan-ญี่ปุ่น
bullet9.Italy-อิตาลี
bullet10.France-ฝรั่งเศส
bullet11.Germany-เยอรมัน
bullet12.Africa-อาฟริกา
bullet13.Azerbaijan-อาเซอร์ไบจัน
bullet14.Bosnian-บอสเนีย
bullet15.Cambodia-เขมร
bullet16.Finland-ฟินแลนด์
bullet17.Greek-กรีก
bullet18.Hebrew-ฮีบรู
bullet19.Hungary-ฮังการี
bullet20.Iceland-ไอซ์แลนด์
bullet21.Ireland-ไอร์แลนด์
bullet22.Java-ชวา
bullet23.Korea-เกาหลี
bullet24.Latin-ละติน
bullet25.Loa-ลาว
bullet26.Finland-ฟินแลนด์
bullet27.Malaysia-มาเลย์
bullet28.Mongolia-มองโกเลีย
bullet29.Nepal-เนปาล
bullet30.Norway-นอรเวย์
bullet31.persian-เปอร์เซีย
bullet32.โปแลนด์-Poland
bullet33.Portugal- โปตุเกตุ
bullet34.Romania-โรมาเนีย
bullet35.Serbian-เซอร์เบีย
bullet36.Spain-สเปน
bullet37.Srilanga-สิงหล,ศรีลังกา
bullet38.Sweden-สวีเดน
bullet39.Tamil-ทมิฬ
bullet40.Turkey-ตุรกี
bullet41.Ukrain-ยูเครน
bullet42.Uzbekistan-อุสเบกิสถาน
bullet43.Vietnam-เวียดนาม
bullet44.Mynma-พม่า
bullet45.Galicia กาลิเซียน
bullet46.Kazakh คาซัค
bullet47.Kurdish เคิร์ด
bullet48. Croatian โครเอเซีย
bullet49.Czech เช็ก
bullet50.Samoa ซามัว
bullet51.Nederlands ดัตช์
bullet52 Turkmen เติร์กเมน
bullet53.PunJabi ปัญจาบ
bullet54.Hmong ม้ง
bullet55.Macedonian มาซิโดเนีย
bullet56.Malagasy มาลากาซี
bullet57.Latvian ลัตเวีย
bullet58.Lithuanian ลิทัวเนีย
bullet59.Wales เวลล์
bullet60.Sloveniana สโลวัค
bullet61.Sindhi สินธี
bullet62.Estonia เอสโทเนีย
bullet63. Hawaiian ฮาวาย
bullet64.Philippines ฟิลิปปินส์
bullet65.Gongni-กงกนี
bullet66.Guarani-กวารานี
bullet67.Kanada-กันนาดา
bullet68.Gaelic Scots-เกลิกสกอต
bullet69.Crio-คริโอ
bullet70.Corsica-คอร์สิกา
bullet71.คาตาลัน
bullet72.Kinya Rwanda-คินยารวันดา
bullet73.Kirkish-คีร์กิช
bullet74.Gujarat-คุชราด
bullet75.Quesua-เคซัว
bullet76.Kurdish Kurmansi)-เคิร์ด(กุรมันซี)
bullet77.Kosa-โคซา
bullet78.Georgia-จอร์เจีย
bullet79.Chinese(Simplified)-จีน(ตัวย่อ)
bullet80.Chicheva-ชิเชวา
bullet81.Sona-โซนา
bullet82.Tsonga-ซองกา
bullet83.Cebuano-ซีบัวโน
bullet84.Shunda-ชุนดา
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet86.Sesotho-เซโซโท
bullet87.NorthernSaizotho-ไซโซโทเหนือ
bullet88.Somali-โซมาลี
bullet89.History-ประวัติศาสตร์
bullet90.Divehi-ดิเวฮิ
bullet91.Denmark-เดนมาร์ก
bullet92.Dogry-โดกรี
bullet93.Telugu-เตลูกู
bullet94.bis-ทวิ
bullet95.Tajik-ทาจิก
bullet96.Tatar-ทาทาร์
bullet97.Tigrinya-ทีกรินยา
bullet98.Check-เชค
bullet99.Mambara-มัมบารา
bullet100.Bulgaria-บัลแกเรีย
bullet101.Basque-บาสก์
bullet102.Bengal-เบงกอล
bullet103.Belarus-เบลารุส
bullet104.Pashto-พาชตู
bullet105.Fritian-ฟริเชียน
bullet106.Bhojpuri-โภชปุรี
bullet107.Manipur(Manifuri)-มณีปุระ(มณิฟูรี)
bullet108.Maltese-มัลทีส
bullet109.Marathi-มาราฐี
bullet110.Malayalum-มาลายาลัม
bullet111.Micho-มิโช
bullet112.Maori-เมารี
bullet113.Maithili-ไมถิลี
bullet114.Yidsdish-ยิดดิช
bullet115.Euroba-ยูโรบา
bullet116.Lingala-ลิงกาลา
bullet118.Slovenia-สโลวีเนีย
bullet119.Swahili-สวาฮิลี
bullet120.Sanskrit-สันสกฤต
bullet121.history107-history107
bullet122.Amharic-อัมฮาริก
bullet123.Assam-อัสสัม
bullet124.Armenia-อาร์เมเนีย
bullet125.Igbo-อิกโบ
bullet126.History115-ประวัติ 115
bullet127.history117-ประวัติ117
bullet128.Ilogano-อีโลกาโน
bullet129.Eve-อีเว
bullet130.Uighur-อุยกูร์
bullet131.Uradu-อูรดู
bullet132.Esperanto-เอสเปอแรนโต
bullet133.Albania-แอลเบเนีย
bullet134.Odia(Oriya)-โอเดีย(โอริยา)
bullet135.Oromo-โอโรโม
bullet136.Omara-โอมารา
bullet137.Huasha-ฮัวซา
bullet138.Haitian Creole-เฮติครีโอล
bulletคำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรแปล เช้า-เย็น
bulletChart Showing the Process
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี พ.ศ.2540 - 2566
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 1
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 2
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี บุคคลที่ 1 - 188 ปัจจุบัน
bulletหนังสือพิมพ์ดี
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 1
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 2
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 3
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 4
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 5
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 6
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 7
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 8
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 9
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 10
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 11
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 12
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 13
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 14
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 15
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 16
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 17
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 18
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 19
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 20
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 21
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 22
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 23
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 24
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 25
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 26
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 27
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 28
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 29
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 30
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 31
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 32
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 33
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 34
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 35
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 36
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 37
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 38
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 39
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 40
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 41
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 42
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 43
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 44
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 45
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 46
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 47
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 48
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 49
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 50
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 51
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 52
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 54
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 55
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 56
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 57
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 58
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 59
bulletTo The World
bulletENGLISH
bulletUSA
bulletChina
bulletIndia
bullet Mynmar
bullet Cambodia
bullet Loas
bulletSri Lanka
bulletMalaysia
bulletKorea
bulletA Sharp Turn of Believes : Iresearch Iwrite Iread
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 1
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 2
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 3
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 4
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 5
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 6
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 7
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 8
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 9
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 10
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 11
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 12
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 13
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 14
bulletMystery Report 15
bulletMystery Report 16
bulletMystery Report 17
bulletMystery Report 18
bulletMystery Report 19
bulletMystery Report 20
bulletMystery Report 21
bulletMystery Report 22
bulletMystery Report 23
bulletMystery Report 24
bulletMystery World Report 25
bulletศึกษาโลกลี้ลับ 26
bulletเฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว วิเคราะห์ทุกปัญหาในโลกมนุษย์ด้วยสติปัญญาและเหตุผลวิทยาศาสตร์จากนสพ.ดี
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2536
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2537
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2538
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2539
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2540
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2541
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2542
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2543-2545
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2545-2549
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2549-2550
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2550-ส.ค.2551
bulletเฝ้าดูฯ ส.ค.-ก.ย.2551
bulletเฝ้าดูฯ ก.ย.2551- ธ.ค. 2551
bulletเฝ้าดูฯสำนวนพัชรา กอปรทศธรรม
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 16-27
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 29
bulletบทความใหม่ เม.ย.-พ.ค.2552
bulletพุทธธรรมเพื่อทางดับทุกข์
bulletทฤษฎีการดับทุกข์ทางจิต วิปัสสนากรรมฐานโดยการทำงาน(สำนวนปรับปรุงใหม่)
bulletประวัติพัชรา กอปรทศธรรม
bulletประวัติการต่อสู้เพื่อการดับทุกข์ ของพัชรา กอปรทศธรรม
bulletอัลบั้มรูป history
bulletนิทานธรรมะประยุกต์ มานุสสาสุระสงคราม 4 ภาค และอื่น ๆ
bulletอัลบั้มรูป ภาพในอดีตและชีวประวัติศาสตร์ที่สวยงาม
bulletจากเวบบอร์ด พูดกันไม่รู้เรื่อง ประชาธิปไตยล้าหลัง
bulletศาสนาสากล การวิเคราะห์ความหมาย
bulletปลอบใจ
dot
รวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์ แนวปฏิรูปคณะสงฆ์อยู่ในบทวิเคราะห์นี้แล้ว
dot
bulletรวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์
dot
สากลจักรวาล สากลศาสนา แนวคิดศาสนาสำหรับคนยุคใหม่ ผู้ก้าวผิดทางไปสู่สิ่งไร้สาระโดยไม่รู้ตัว
dot
bulletสากล...ศาสนา 1
bulletสากล...ศาสนา 2
bulletสากล...ศาสนา 3
bulletสากล...ศาสนา 4
bulletสากล...ศาสนา 5
bulletสากล...ศาสนา 6
bulletสากล...ศาสนา 7
bulletสากล...ศาสนา 9
bulletสากล...ศาสนา 8
bulletสากล...ศาสนา 10
bulletสากล...ศาสนา 11
bulletสากล...ศาสนา 12
bulletสากล...ศาสนา 13
bulletสากล...ศาสนา 14
bulletสากล...ศาสนา 16
dot
ส่วนข้อมูลสำคัญเพื่อการวิจัยการเมืองไทยยุค คมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
dot
bulletข้อมูลสำคัญยุคคมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่1/26ส.ค.2551
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่2/27ส.ค.2551
bulletใบปลิว อีเมล์ ในหลวงทรงร้องไห้
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 1
bulletในหลวงเพิ่งทราบข่าวฆ่าประชาชน10เมย.53ทรงร้องไห้
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
dot
รวมข่าวม็อบการเมืองสนธิ-จำลอง-ปชป.มิ.ย.51-เม.ย.52 นสพ.
dot
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 2
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 3
bulletรวมข่าวม็อบ30มิ.ย.51-23มี.ค.52
bulletเลือดศรีสะเกษบันทึกเรื่องราวรอบด้านเกี่ยวกับเขาพระวิหาร
bulletรายงานการโฆษณาชวนเชื่อในประเทศไทยที่ล้มล้างรัฐบาลทักษิณ
bulletหนังสือพิมพ์ดี ของฟรีให้เปล่ามา20ปีแล้วทั้งเอกสารและอินเทอเนท
bulletหนังสือพิมพ์ดี ( อินเทอเนต ) เล่ม 1 - 44 - ล่าสุด
bulletหน้าที่เก็บไว้
bulletมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร)
bulletวัดมหาพุทธาราม ศรีสะเกษ บันทึกเหตุการณ์
bulletสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดศรีสะเกษแห่งที่ 1
bulletเกี่ยวกับเวบไซต์ของเรา เราทำเพื่อปัญญาชนโดยแท้
bulletรวมกระทู้เด็ดจากกระดานถามตอบ
bulletคาถาอาคมไสยศาสตร์
bulletกวีนิพนธ์ใหม่
bulletศูนย์ปฏิญญาณละเลิกอบายมุข บัญชีที่ 1- 4


หนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 2

 

วิเคราะห์ข่าวในวงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดภาคอีสาน

เล่มที่ 2

ประจำเดือน เมษายน ๒๕๔๐

 

 

 

 

2.         คอลัมน์ระดมความคิด        จดหมายถึงบรรณาธิการ

3.         ท่านพุทธาสภิกขุเขียนไว้ว่า 

4.         เพื่อประชาธิปไตยเบ่งบาน

5.         ธรรมะก่อนนอน  โดย ทศพล ใยมุง

6.         [คอลัมน์วิจารณ์] กฎหมายคณะสงฆ์ปัจจุบัน

7.         คอลัมน์ยิ้มสำรวม  หลวงพ่อเล่าให้ฟัง

8.         (คอลัมน์กัลยาณมิตร) สำเนาหนังสือจาก ส.ส.ร.

9.         การร่างรัฐธรรมนูญอย่างไรก็ไม่ดี...ถ้าคนไม่พร้อม โดย วิบูลรัตน์ กัลป์ยาณวัตร

10.        ประชาธิปไตยสงฆ์

11.        บันทึกข่าวล่า

12.        หน้าบอกสถานะของเรา

13.        บทกวีปฏิวัติ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 1.         บทบรรณาธิการ

รายงาน : อนุสนธิ์จากเอกสารวิเคราะห์ข่าวในวงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดภาคอีสาน ประจำเดือนที่แล้ว คือประจำเดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐ ได้มีเสียงสะท้อนโต้ตอบ เข้ามาสู่ตัวบรรณาธิการโดยตรงที่เฉียบคมน่าสนใจยิ่ง ได้นำลงในวิเคราะห์ข่าวฉบับนี้แล้ว ไม่ควรเพื่อนสหธรรมิกพลาดอ่าน และเพื่อความเป็นธรรมและเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของ วงการสื่อสารมวลชน ก็จำต้องมีเสียงตอบชี้แจงจากบรรณาการออกไป แต่ด้วยบริสุทธิ์ใน ธรรมะ โปรดพลิกไปดูหน้า ๕

เรื่องในวงการเลขานุการฯเรื่องนี้แหละ ที่ผมได้เสนอขอความร่วมมือจากเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดภาคอีสานตลอดทั้งเพื่อนสหธรรมิกทั่วประเทศ เพื่อให้ สสร.กำหนดลงในรัฐธรรมนูญว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทยนั้น ขอรายงานขอบพระคุณเพื่อนสหธรรมิกผู้ให้ความร่วมมือ ซึ่งมีอยู่จำนวน ๕ ท่าน แต่ผมจะไม่ขอเอ่ยนาม แต่สำหรับเรื่องนี้ ผมจะไม่ดำเนินการต่อไป เพราะไม่มีเวลาพอเอาใจใส่อย่างถี่ถ้วน เพราะจะต้องรอบคอบมีขั้นการประสานงานกับอีกหลายฝ่าย เดิมผมมีเจตนาเพียงแต่แจ้งให้เพื่อน ๆ สหธรรมิก ได้ข้อสังเกตในเรื่องที่เป็นประเด็นสำคัญ ๆ แล้วดำเนินไปอย่างเป็นเอกเทศเท่านั้น และ บัดนี้ หากเพื่อน ๆ จะได้เห็นว่ายังคงเป็นปัญหาที่สำคัญต่อพระพุทธศาสนาของเราอยู่ ก็ ขอเสนอแนะว่าควรจะให้ชมรมเลขาฯอีสานเรา ซึ่งมีศูนย์เลขาฯอีสานอยู่ที่ขอนแก่น ท่าน พระมหาหนูเต็ม วัดวุฒาราม ได้ดำเนินการต่อไปในรูปรวม หากเห็นสมควร

ในหน้า ๙ ได้นำเสนอแนวความคิดในการร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ใหม่ ที่ผม เคยเสนอเพื่อนเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดภาคอีสานไว้แต่สมัยเกิดกรณีปัญหา ยันตระอมโรได้นำมาลงพิมพ์ในเล่มนี้อีกครั้ง เพื่อประโยชน์ในการทบทวนปัญหากว้าง ๆ ที่เป็นอยู่ของ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ไทยปัจจุบัน ที่เขียนขึ้นโดยฝ่ายบ้านเมืองล้วน ๆ ผมเคยเรียนไว้ในคราวนั้นว่า ผมจะลองร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ ขึ้นมาเสนอเพื่อน สหธรรมิก แต่บัดนี้ จะมิใช่การลองแล้ว ในฉบับต่อ ๆ ไปเพื่อนจะได้พบ ร่างพระราช บัญญัติการพระพุทธศาสนา พุทธศักราช ๒๕๔๐เพื่อเสนอไปยังฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องนับตั้งแต่ สภา สสร. รัฐสภา รัฐบาล พรรคการเมือง และ นสพ. ฯลฯ ต่อไป

พระราชบัญญัติการพระพุทธศาสนานี้แหละ ควรจะเข้ามาแทน พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ เดิมต่อไป

บัดนี้ เราจึงคิดว่าเราจะทำเอกสาร วิเคราะห์ข่าวในวงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดภาคอีสานให้มีขอบเขตกว้างขวางไปกว่าเดิม คือจะไม่จำกัดตามชื่อ เฉพาะวงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดภาคอีสาน เท่านั้น แต่จะให้ครอบคลุม ครบทุก บริษัทพุทธตลอดไปถึงประชาชนทั่วไป เราจะทำง่าย ๆ พอเพื่อให้เป็นหนังสือที่สื่อสาร สาระธรรมแนวคิดแห่งการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ฯลฯ ภายในเล่มที่ดูง่าย ๆ พอเป็นสื่อ อย่างที่จับต้องอยู่ขณะนี้แหละครับ มีเป้าหมายพิเศษแน่นอน คือเพื่อเสนอแนวคิดตลอด ไปเกี่ยวกับการพยายามที่จะทำอะไร ๆ ให้ดีขึ้น อะไร ๆ ในที่นี้ ก็คือการปฏิรูประบบอัน จำเป็นเพื่อความอยู่รอดของสังคม ซึ่งปัญหาและแนวทางแก้ไข ที่ค่อนข้างจะทำความเข้าใจยากนี้เอง ที่จำเป็นต้องมีวิเคราะห์ข่าวในวงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดภาค

อีสานออกมา เพื่อทำหน้าที่สื่อความคิดของพระภิกษุสงฆ์ในระดับวงการปกครองจังหวัด เป็นหลักคือ กลุ่มเพื่อนสหธรรมิกระดับเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดเป็นแก่นกลาง นั่นเองและเพื่อให้เป็นงานทางความคิดอันต่อเนื่องไม่ละเลิก ตราบจนประสบผลสำเร็จลง โดย พลังแห่งหมู่ แห่งกลุ่ม แห่งธรรมะ ความถูกต้อง และความเป็นธรรมในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พลังความชอบธรรมของประชาชนผู้รักประชาธิปไตย

เพื่อนสหธรรมิก ได้รับการบอกกล่าวล่วงหน้าแล้วว่า

อีกไม่นาน เพื่อนสหธรรมิก จะได้รับเอกสารสำคัญเล่มหนึ่ง ซึ่งเอกสาร เล่มนั้นจะ เสนอแนวคิดสำคัญ ในการปฏิรูปการคณะสงฆ์เราใหม่ และขอไว้แต่ เดี๋ยวนี้ว่า เราควรพร้อมที่จะรับข้อเสนอแนะใดใด ด้วยใจเป็นธรรม มีอุเบกขาญาณในการพินิจ

บัดนี้ เพื่อนจะได้เห็นแล้ว นั่นคือเอกสารเล่มเล็ก ๆ ปกสีฟ้า ชื่อว่า :-

ปฏิรูปการเมือง : ปัญหาประชาธิปไตย

ประเด็นสำคัญที่ไม่มีผู้ใดพูดถึงเลย

เสนอ สภา สสร. รัฐสภา รัฐบาล และพรรคการเมือง

และสิ่งที่สภาสสร.ได้สะท้อนกลับมา โปรดดูสำเนาที่หน้า ๑๓ ประกอบครับ

และนั่น มีความหมายสำคัญมากสำหรับเรา เพราะได้บอกถึงความเข้าใจเรา และพร้อมที่จะร่วมมือกับเรา และไปด้วยกับเรา!

เมื่อได้อ่านแล้ว ขอให้แสดงความคิดเห็นหรือสะท้อนกลับมาให้ เราทราบบ้าง

เราได้ตั้งใจทำงานนี้แล้ว ก็พร้อมเสมอที่จะรับฟังความคิดเห็นในทางสร้างสรรค์จากทุก ๆ คน ทุก ๆ รูป ทุก ๆ ฝ่าย โดยหลักสันติธรรม

แต่บัดนี้ เราขอยืนยันว่า จำเป็นต้องทำงานชิ้นนี้ ไปจนกว่าจะเป็นผลสำเร็จ

ผู้ใดพร้อมที่จะไปกับเรา ก็จง ก้าวออกมา !

 

บรรณาธิการ

เม.ย. 40

 

 

 

 

 

 

 

 

 

[คอลัมน์ระดมความคิด]

 2.         จดหมายถึงบรรณาธิการ

 

จากดุสิต

จดหมายตีตราไปรษณีย์ดุสิต วันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๐ หน้าซองเขียนด้วยปากกาสีน้ำเงินตัวโตเท่าหม้อแกง ตัวหนังสือข้างในก็โตเท่าหม้อแกง เหมือนกัน เขียนข้อความในกระดาษยาว ๑๑ นิ้วถึง ๔ แผ่น (ทั้ง ๆ ที่น่าจะเพียงแผ่นเดียวก็พอ) ว่าดังนี้

กราบเรียน เจ้าประคุณพระพยับ ปญฺญาธโร

อดีตเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ

วัดมหาพุทธาราม อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ

๓๓๐๐๐

วิเคราะห์ข่าว

กราบเรียนท่านอดีตเลขา จ.ศรีสะเกษ กระผมได้รับหนังสือวิเคราะห์ข่าวของท่านประจำเดือนมีนาคม ๒๕๔๐ ที่ได้รับก็เพราะเป็นสมาชิกมูลนิธิพระเทพวรมุนี ผมไม่เคยคิดว่าท่าน อดีตเลขาจะมีความคิดไปไกลถึงขนาดนั้น จึงขอกราบชมเชยไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยความเคารพ ฯ ก่อนที่จะวิเคราะห์ก็ขอออกตัว ไม่บอกที่อยู่ ไม่บอกชื่อเสียงเรียงนาม ไม่บอกที่อยู่ เพราะกลัวว่าตัวเองจะไม่ปลอดภัย ถือว่าเป็นบัตรสนเท่ก็แล้วกัน ฯ ผมขอวิเคราะห์เลย ท่านอดีตเลขา ได้แสดงความคิดเห็นและขอความร่วมมือจากเลขาเจ้าคณะจังหวัดทั้ง ๑๙ จังหวัดภาคอีสานให้มีหนังสือถึงประธาน สสร. ขอให้ท่านประธาน ใส่ข้อความลงในรัฐธรรมนูญใหม่ประเด็นสำคัญว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย ฯ ข้อนี้ขอวิเคราะห์ว่า ท่านกำลังแบ่งประเทศไทยเป็นสามประเทศคือ ๔ จังหวัดภาคใต้ จะเป็นประเทศปัตตานี มุสลิมฯ จังหวัดนครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี สมุทรสงคราม เพชรบุรี จะเป็นคริสต์ จังหวัดนอกนั้นจะเป็นประเทศไทยมีพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ คนในประเทศไทยก็จะรบกันเอง เพราะศาสนาเป็นเหตุ และท่านอดีตเลขาเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ เป็นแก่นนำก็จะได้ชื่อว่า มีส่วนยุให้ประเทศชาตเกิดการแตกแยกความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ท่านเคยคิดบ้างไหมว่า ทำไมบรรพบุรุษของไทยไม่ใส่ ข้อความนี้ลงในรัฐธรรมนูญ ท่านคิดว่าบรรพบุรุษไทยนี้โง่ สู้สติปัญญาของท่านพระพายับ ปัญญาธโร อดีตเลขาเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษไม่ได้ ท่านคิดบ้างไหมว่า ท่านชักจูงเลขา เจ้าคณะจังหวัดทั้ง ๑๙ จังหวัดในทางยุให้รำตำให้รั่ว ท่านอดีตเลขารู้จักประเทศอินเดียไหม เขาแยกกันปกครอง เป็นประเทศปากีสถาน เป็นบังคลาประเทศ เนปาล สิขิม ธิเบต เพราะศาสนาแท้ ๆ เลย เพียงยกตัวอย่างประเทศอินเดียมาเป็นสักขีพยาน ผมก็มั่นใจว่าท่าน อดีตเลขาก็มีปัญญาศึกษาสูงก็คงจะเข้าใจดี ด้วยข้อความเพียงย่อ ๆ แค่นี้ ขอย้ำอีกว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย ข้อความนี้เป็นข้อความที่ยุคนไทยทั้งชาติให้ลุกฮือรบกันเอง เป็นคำที่ทำให้คนไทยนองเลือดฯ ผมขออวยพรให้อดีตเลขา จงเจริญรุ่งเรืองใน

พระพุทธศาสนายิ่ง ๆ ขึ้นไป ขอให้ความคิดของท่านจงสำเร็จ จงสำเร็จ เทอญ

 

ตอบ

บทความของผม มักไม่ค่อยมีการกระท้อนกลับมาอย่างชัดเจนเหมือนครั้งหนึ่งที่กระท้อนมาจากสานุศิษย์ของท่านยันตระ อมโร ที่รุนแรง หยาบคาย และคมเฉียบมาก และซึ่งผมเคยถ่ายสำเนาให้ท่านเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดภาคอีสานได้ร่วมรับเอาความรู้สึกอันนั้นไปด้วย จดหมายฉบับนี้ไม่มีลักษณะอย่างนั้น แต่อ่านแล้วรู้สึกถึงความมีไมตรีจิตอยู่ลึก ๆ ในน้ำเสียงแห่ง จดหมาย ผมเองไม่ค่อยเข้าใจนักเมื่อท่านเจ้าของจดหมายบอกว่าไม่บอกที่อยู่ ไม่บอกชื่อ เสียงเรียงนาม เพราะกลัวว่าตัวเองจะไม่ปลอดภัยคงไม่ใช่ผม ผมหรือ กลัวผมโกรธเอา หรือ? เปล่าเลย ที่จริง ๆ แล้วผมรู้สึกขอบคุณเป็นอย่างยิ่งที่ท่านได้สะท้อนความรู้สึก ความคิดสติปัญญาของท่านออกมาให้ผมได้รู้ มันเป็นสิ่งที่บอกว่าท่านเป็นผู้ที่มีภูมิปัญญาทีเดียว ฉะนั้น ผมจึงขอนำจดหมายของท่านลงในคอลัมน์นี้ ลองมาร่วมพิจารณากันต่อไปปัญหาที่ว่า หากกำหนดให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทยแล้ว คนในประเทศ ไทยก็จะรบกันเอง นั้น ผมว่าไกลเกินไปหน่อย อะไรจะขนาดนั้น ! ผมเชื่อครับว่าคนส่วน ใหญ่มีสิทธิ์ แต่ต้องไม่ข่มเหงคนส่วนน้อย เพราะนี่คือหลักประชาธิปไตย เมืองไทยเป็นเมืองพุทธถ้าไม่เข้าใจหลักประชาธิปไตยว่าด้วยคนส่วนใหญ่ปกครองและว่าด้วยสิทธิคนส่วนน้อยแล้ว เราก็อย่าเรียกร้องประชาธิปไตยเลย และเมื่อเราปรารถนาประชาธิปไตยก็อย่าคิดว่าการที่คนใดคน หนึ่งเรียกร้องอะไรนั้นจะเป็นการกระทำผิด และยิ่งเป็นเสียงส่วนมากด้วยแล้ว ก็ยิ่งหมายถึง ความมีสิทธิอันชอบธรรมอีกด้วย และเราเรียกร้องสิทธิที่จะปกครองโดยเราไม่ข่มเหงหรือย่ำยี สิทธิความเป็นพลเมืองของคนส่วนน้อย เมื่อตั้งอยู่บนหลักการเช่นนี้แล้ว จะเกิดการรบราฆ่าฟันกันขึ้นอย่างไร เพราะเราก็ยอมรับอยู่แล้วว่ากฎกติกาประชาธิปไตยเป็นอยู่เช่นนี้เต็มที่แล้วสิ่งที่ชาวพุทธจะต้องทราบและมั่นใจนั่นก็คือ พุทธศาสนาและชาติไทยได้มีประวัติศาสตร์การสร้างชาติมาด้วยกัน ไทยจึงเป็นเมืองพุทธ แล้วเราจะต้องสะดุ้งทำไม แม้สักเล็กน้อย ต่อการที่เราจะเขียนอะไร ๆ ลงไปในรัฐธรรมนูญของเราเอง และการที่เราเขียนลงไปตามสิทธิ์ของ เราที่มีมาชั่วประวัติศาสตร์ นั้น คนส่วนน้อยที่ไหนจะตำหนิได้เล่า เพราะนี่คือกติกาสากลโลก เพียงแต่ว่าชนส่วนน้อยนั้นเขาจะต้องไม่ถูกข่มเหงย่ำยี เขาจะต้องได้สิทธิของความเป็นพลเมืองอยู่เช่นเดิมที่ว่าผม ยุ นั้น ไม่ถูกครับ ทำเช่นนั้นไม่ได้หรอก คิดดูดี ๆ คำ ๆ นี้ คำว่า ยุนี้ หมายถึงปั้นเหตุผลขึ้นมาโดยไม่มีความจริง (คือโกหกนั่นเอง) และโดยมีเจตนาร้าย ผมเป็นพระทำเช่นนั้นไม่ได้หรอก อนึ่ง เพราะเราต่างโต มีหัวคิดด้วยกันทั้งนั้น อย่างที่ผมทำนี้ เรียกว่าวิเคราะห์ประเด็นปัญหา มีเหตุผลมาอ้างประกอบ เพื่อให้เห็นข้อสรุปแนวทางแก้ไขปัญหาชัดแจ้งขึ้น ซึ่งเป็นวิธีการเสนอข้อมูลในแบบธรรมดา ๆ ของโลกยุคนี้ เขาจึงเรียกว่ายุคสื่อสารสนเทศ (ต้องตามยุคให้ทันนะครับถึงจะอยู่ได้) และที่ควรรู้ก็คือ ใช่ว่าเสนอแนะเข้าไปแล้ว เขาจำต้องรับฟังเรา เปล่า ! แล้วแต่เหตุผลของแต่ละคน เพราะคนอื่นเขาก็มีฐานข้อมูลอยู่ เหมือนกัน หากมาสอดคล้องกันก็รับกันได้ หากไม่สอดคล้องก็เสนอเหตุผลออกมา เจือจานกันก็จะได้เหตุผลใหม่ที่หลายหลากกว่าเหตุผลของคน ๆ เดียว ฉะนั้น ที่ผมทำนื้ ไม่ ยุ ผมว่าคำ ๆ นี้ อย่าใช้ต่อไปอีกเลยครับ ผมว่าเป็นคำเชย ๆ ไปแล้วประเด็นสำคัญ เราน่าจะมองเห็นอะไร ๆ ที่เป็นข้อเท็จจริงหลายหลากพอเกี่ยวกับเพื่อนต่างศาสนาบางศาสนาว่ากระทำการงานศาสนาของตนไปอย่างไม่ค่อยจะชอบธรรมไปทุกทีอยู่แล้ว ขณะนี้พุทธ เจ้าของประเทศมีลักษณะเป็นม้าอารี อีกหน่อยจะไม่มีที่อยู่ เราจะคอยดู ๆ ความคืบหน้าของเขาเข้ามารุกรานสิทธิต่าง ๆ ของเราโดยไม่ชอบธรรมอย่างนั้นหรือ ? คอยแผ่ เมตตา อย่างนั้นหรือ ? เขาทำอะไร เราจะไม่รู้สึกเลยอย่างนั้นหรือ ? คิดดูดี ๆ ว่าทำไมเราจะ ต้องหดหัวลงไปในกระดอง เมื่อที่นี่คือบ้านเมืองเรา หรือท่านว่าไม่ใช่ ลองมองปัญหาการเผยแผ่ของพวกคริสต์ดูให้ดี อย่าให้บอกเลย หากไม่ใช่คริสต์แล้วก็จะต้องนึกรู้ไปทีละอย่างสองอย่าง ตัวอย่างขณะนี้ที่น่าดูก็คือ ดูว่ากระเหรี่ยงคริสต์ คำว่า กระเหรี่ยงคริสต์ เกิดขึ้นมาได้ อย่างไรและดูต่อไปว่า ทำไม แล้วดูต่อไปอีกว่า เมื่อไร คิดบ้างเถอะ เดี๋ยวนี้ พวกคริสต์เพียงแต่นั่งออกแบบว่าจะประดิษฐ์ค่านิยมอะไรออกมา สู่สังคมไทยเท่านั้นเอง เมืองไทยพุทธก็รับไป เต็ม ๆ ไหลตามไปเป็นแถว ๆ แล้ว ดูประเพณีวันคริสต์มาส ๒๕ ธ.ค. มีซานตาคลอส ออกมาแจกของเด็กเต็ม ดูจอโทรทัศน์ก็รู้ กับประเพณีวันวาเลนไท ๑๔ ก.พ. จะเห็นชัด เจน เดิมเขาก็เอาค่านิยมแขวนไม้กางเขนมา วัยรุ่นไทยก็นิยมสวมคล้องคอด้วยไม้กางเขนตามไปหมด จนเราต้องเสริมสร้างค่านิยมวัตถุมงคลขึ้นมาเกทับ และจนกระทั่งบัดนี้ก็เตลิดไปกัน ใหญ่ เรื่องวันวาเลนไท ก็ดูที่ ที่ว่าการอำเภอบางรักก็แล้วกัน มีคู่บ่าวสาวเห่อไปคอยแย่งเอาหมายเลขที่ ๑ ของวัน ให้ได้ตั้งแต่ตีสามตีสี่ ปีนี้ที่อำเภอบางรักแห่งเดียว แต่งกันเข้าถึง ๒๐๐ คู่ เราก็ว่าดี อย่างไม่สอดคล้องหลักพุทธธรรม พวกคริสต์ก็นั่งหัว ที่สามารถปั่นคนไทยได้ง่าย ๆ พวกเขาทำงานด้วยหัว [head] แต่เราทำงานด้วยอะไร ? สู้กันได้ไหม หรือมีแต่ยิ้ม เหมือนเม็กซิโกซิตี้ กรณีประเทศอินเดีย ดูเหมือนนี่จะแสดงหลักฐานว่าเรารู้เรื่องราวของเขาอื่นดีแสนดี แต่เรื่องของตัวเองหารู้ไม่ เรื่องพระพุทธศาสนาสิ้นชาติพันธุ์ไปหมดเกลี้ยงจากประเทศอินเดีย แม้ว่าอินเดียนั้นเป็นแดนเกิดแท้ ๆ ช่วยอธิบายหน่อย ! จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ บัดนี้ ยังไม่ เห็นมีงานการศึกษาที่ทันสมัย ไม่เห็นมีบทวิเคราะห์วิจัยปัญหาพุทธศาสนาหายสาบสูญไป จากอินเดียเมืองแม่อย่างไร?” ออกมาเลย นี่หมายความว่ากระไร เราชาวพุทธไม่สนใจอะไร เลยหรืออย่างไร ? ท่องคาถาอยู่อย่างเดียวโดยไม่ลืมหูลืมตามองโลกภายนอกเลยอย่างนั้นหรือ ? หลายปัญหาครับ ที่ระดมเข้ามาสู่สถานการณ์พุทธปัจจุบัน น่าที่จะไม่อยู่เฉยแล้ว ทั้ง ๆ ที่ขึ้นต้นคัดค้าน แต่ลงท้ายสนับสนุนผมขออวยพรให้อดีตเลขาจงเจริญรุ่งเรืองในพระพุทธศาสนายิ่ง ๆ ขึ้นไป ขอให้ความคิดของท่านจงสำเร็จ จงสำเร็จ จงสำเร็จเทอญเป่ามนต์ จงสำเร็จให้ผมถึง ๓ ฟอดก็เลยเป็นงง ไม่เข้าใจว่าอย่างไร นี่คือสองบุคคลิกภาพในคน ๆ เดียว อย่างที่คุณหมอประเดิษฐ์ท่านวิเคราะห์ยันตระ อมโร หรือเปล่า จะเป็นฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาลกันแน่ ให้ชัดออกมาอีกหน่อยซิ !แต่ทั้งหมดทั้งมวลนี้ นับเป็นสิ่งที่สร้างสรรค์ครับ เป็นการสร้างสรรค์ภายในระบบที่ถูกขอขอบพระคุณมาก ๆเลยมาร่วมกันสร้างสรรค์ต่อไปครับคอลัมน์จดหมายถึงบรรณาธิการนี้ ตอบทุกปัญหาครับ รวมทั้งปัญหาธัมมะ ชั้นไหนก็ได้มีในโลกนี้ ถามมาเลย จะตอบให้ดู (ผิดถูกไม่รับประกันนะครับ !)

      • บรรณาธิการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 3.         ท่านพุทธาสภิกขุเขียนไว้ว่า 

 

เป็นเจ้าคุณ

 

เป็นเจ้าคุณ          เขาว่าบุญ            ใหญ่หลวงนัก

พากันปัก            ใจใคร่                ใฝฝันหา

ฉันสุขใจ             ในยุค                 พระศาสดา

เป็นเจ้าคุณ          กันหรือหนา         ท่าไหนกัน

พัดใบตาล           ยังไม่มี               นี้พัดยศ

นิยภัตต์              มีหมด                กระโถนขัน

สัญญาบัตร          ไตรประธาน         งานสำคัญ

ฉลองกัน             หรูหรา               จนบ้าใจ

 

เป็นพระเมือง

 

เป็นพระเมือง       เรื่องมาก             ด้วยอยากเด่น

ต้องเขม่น            กันไป                จนใหลหลง

ต้องแบกทรัพย์     เรื่องณรงค์          ด้วยจงใจ

งานใต้ดิน            ใต้น้ำ                 ก็ทำเป็น

ถึงฆ่าเข่น            กันพินาศ            ไม่หวาดไหว

คอยแข่งขัน         มิให้ใคร                         ดีกว่าใคร

ไม่เย็นใจ            เย็นใจ                มัวขึ้นลง ฯ

 

จาก หัวข้อธรรมในคำกลอน

ของ พุทธทาส อินทฺปญฺโญ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 4.         เพื่อประชาธิปไตยเบ่งบาน

ข้อเสนอแนะ 3 ประการ

โดย มหาเก่า เข่าขี้เหมี่ยง เซียงบ้านนอก

 

สังมามัดตัดเกี้ยวปลายเฮียวหนามแหน่งไผ่

ตัดท่อใดแฮ่งปงซ้อนซอนขึ้นพุ้มใหญ่หนา

แตกสาขาหนามเกี้ยวอิลุงตุงยุ่งบักใหญ่

ถางท่อใดส่ำแก้งแหนงอ้งแห่งปงซอน

สังบ่ถอนขุดง้างถางไถ่ไง้กื่ง

เอาแทรคเตอร์แล่นตึ้งดึงขึ้นฮอดฮากฝอยพุ้นน๊อ

 

เสนอ     ประธาน สสร. นายอุทัย พิมพ์ใจชน รายการ สสร. พบประชาชนชาวศรีสะเกษ ณ โรงแรมเกษศิริ 

อ.เมือง จ. ศรีสะเกษ   เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2540

ข้อเเสนอแนะควรปรับปรุงพยุงให้ประชาธิปไตยเบ่งบา

ควรแก้ไขด้วยวิธี 3 ประการ คือ

 

 

ประการที่ 1         ผู้ที่มีบทบาทหน้าที่ในการเผยแพร่สั่งสอนอบรม ทั้งในฝ่ายโลกและในฝ่ายธรรม ต้องรณรงค์ส่งเสริมชี้แนะแนวทางสั่งสอน

ป้อนวิทยายุทธ อย่าสอนให้เป็นเฉพาะ เพียงทางผิวเผิน สอนให้เดินตามหลังอย่างเดียว ต้องพัฒนาริเริ่มส่งเสริมวัฒนธรรมให้ผู้ฟังผู้พูด ผู้อ่านผู้เขียน จำต้องคิดได้วิจัยเป็น กล้าพูดกล้าทำกล้าแสดงออก ด้วยความรู้ความคิดประสบการณ์ของตนเองอย่างมีเหตุผล สามารถคิดค้นคว้าตัดสินใจมีไหวพริบสติปัญญาเฉียบแหลมด้วยปัญญาของตนเอง

ประการที่ 2         ต้องปฏิวัติตัดแปลงแซงไปข้างหน้าผ่าเครื่องเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีที่ไม่ดีไม่งามให้สูญสิ้นไป อย่าเห่อเหิม

เลียนแบบที่ไม่ดีดังบางสังคมในปัจจุบันต้องอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมไทยแท้แต่โบราณให้คงอยู่ คู่บ้านคู่เมืองเราต่อไป

ประการที่ 3         จุดล่อแหลมอันตรายระบบประชาธิปไตย ควรต้องปฏิวัติตัดเสี้ยนหนาม ขจัดขัดเกลา ปัดเป่าโรคมะเร็งร้ายต้องยับยั้ง

ขวางขัดขจัดระบอบการปกครองคณะสงฆ์ให้มีระบบแบบแผนแปลนร่างอย่างชาวโลก เลิกระบบแบ่งชั้นวรรณะ ฐานันดรทรลักษ์ศักดินาให้ลดน้อย ถอยลง หรือหมดสิ้นไปเสีย จะได้เลิกเห่อยศเกียรติศักดิ์ตระเกียกตระกายเวียนว่ายหมายศักดิ์เผื่อจะได้มีผู้มาสวามิภักดิ์ พินอบพิเทาเอาอกเอาใจเหมือนทุกวันนี้. ฯ

-          มหาเก่า เข่าขี้เหมี่ยง เซียงบ้านนอก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 5.         ธรรมะก่อนนอน

โดย ทศพล ใยมุง

อุปนายกพุทธสมาคมจังหวัดศรีสะเกษออกอากาศทางวิทยุ

กระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดศรีสะเกษ

 

ไม่เชื่อพระพุทธเจ้าก็ไม่ผิด

ท่านผู้ฟังครับ พระพุทธเจ้าว่าอะไรแล้วเชื่อเลยนี่ ผิดนะ อย่างน้อยพระพุทธเจ้าก็ตำหนิว่างมงาย ทางที่ถูก    จึงต้องปฏิบัติทดลองดูก่อน ต้องสัมผัสธรรมด้วยตนเองก่อน ผลออกมาจึงค่อยเชื่อไปตามนั้นหากผลออกมาแล้ว ไม่ตรงตามที่พระพุทธเจ้าว่า ก็ไม่ต้องเชื่อพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงว่าพระพุทธเจ้าต้องการให้หมู่มนุษย์เอาปัญญามาเป็นตัวนำในการเชื่อหรือไม่เชื่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด

มีเรื่องอ้างอิงเกี่ยวกับเรื่องนี้ในพระคัมภีร์ธรรมบทขุทกนิกายว่า วันหนึ่ง ขณะ พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในเชตวันมหาวิหาร มีพระป่าประมาณ 30 รูปเฝ้าอยู่ ทรงหยั่งทราบว่าพระทั้ง 30 รูปนั้น มีอุปนิสัยอรหัต พร้อมปฏิสัมภิทา คืออาจสามารถพฟังธรรมบรรลุอรหัตผลได้แตกฉาน จึงทรงโปรดโดยอุบายที่แยบคายยิ่ง โดยตรัสถามพระสารีบุตร เอกอัครสาวกผู้ยอดเยี่ยมทางปัญญาว่า "นี่สารีบุตร เธอเชื่อไหมว่าคนเจริญศัทธาอย่างเอาจริงเอาจัง ในที่สุดจะได้ บรรลุถึงอมตะ ?"

พระสารีบบุตรกราบทูลว่า    "ไม่เชื่อพระเจ้าข้า"

พระป่า 30 รูปนั้นก็พากันประหลาดใจ ที่ได้ยินเอกอัครสาวกกล้าปฏิเสธไม่ เชื่อพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า

ทรงเห็นอาการพระป่าดั่งนั้น จึงตรัสว่า  "เราถามสารีบุตร เชื่อไหมว่าคนที่เจริญในอินทรีย์ 5 คือสัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ไม่เจริญสมถวิปัสนา แต่สามารถบรรลุมรรคผลได้นั้น มีอยู่ แต่ สารีบุตรไม่เชื่อว่าจะมีคนบรรลุมรรคผลด้วยวิธีง่าย ๆ แบบนั้น สารีบุตรไม่เชื่อผลของ ทาน ที่ตนไม่ได้ให้ด้วยตนเอง หรือผลของกรรมใด ๆ ที่ไม่ได้ทำด้วยตนเอง แบบนี้จะ ถือว่า ไม่เชื่อคุณของอริยบุคคล มีพระพุทธเจ้าก็หาไม่ สารีบุตรไม่เชื่อผู้อื่นด้วย ฌาน วิปัสนา และมรรคผลที่ตนได้บรรลุแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงไม่ควรติเตียนสารีบุตร" 

ครั้นแล้ว ทรงตรัสพระคาถา ใจความว่า

"คนใดไม่เชื่อผู้อื่น ด้วยคุณธรรมที่ตนได้บรรลุแล้ว รู้จักนิพานที่ไม่มีปัจจัยใด ๆ สร้างขึ้น ตัดที่ต่อแห่งสังสารวัฎฎ์เสียได้ หมดเชื้อที่จะทำให้เกิดอีก และล่วงพ้นความหวังทั้งหมด ได้แล้ว คนนั้นแหละคือยอดคน"

ครั้นเมื่อทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบลงพระป่าประมาณ 30 รูปนั้นก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา คือแตกฉานในอรรถธรรม และปฏิภาณโวหารดี

ท่านผู้ฟังครับ ถ้าพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ทำอย่างโน้นอย่างนี้ ทุกข์จึงจะดับละก็ อย่าเพิ่งเชื่อ จงทดลองปฏิบัติตามพุทธพจน์นั้นเสียก่อน ได้ผลอย่างไรแล้วจึงค่อยเชื่อ ตามผลที่ได้นั้นจึงจะถูกใจพระพุทธเจ้า 

คนที่คิดว่า ถ้าเชื่อพระพุทธเจ้ายาก แล้วจะบาป นั่นแหละครับ จะเจอบาปโดยไม่รู้ตัว สวัสดีครับ.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

[คอลัมน์วิจารณ์]

 6.         กฎหมายคณะสงฆ์ปัจจุบัน

 

บันทึก(ความคิดเดิมเริ่มแรก)และบทวิเคราะห์ข่าวในวงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดภาคอีสาน

การร่างกฎหมายคณะสงฆ์ฉบับใหม่ (แทรกหนังสือเตรียมเดินทางไกล)

เรื่องราวของฆราวาส ที่มาเกี่ยวข้องหรือก้าวก่ายการปกครองของสงฆ์ก็คือเรื่องพระราชบัญญัติคณะสงฆ์นั่นเอง ปัจจุบันนี้ กฎหมายที่ฝ่ายบ้านเมืองออกมากำหนดกฎเกณฑ์ จัดระบบระเบียบต่าง ๆ ให้กับพระสงฆ์องค์เจ้า โดยมีข้อแม้ว่า ไม่ขัดต่อพระธรรมวินัยนั้น มีอยู่ดังนี้คือ

๑.         พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๕๐๕ กำหนดให้มี มหาเถรสมาคม ให้มีอำนาจหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ ให้มีอำนาจตรากฎมหาเถรสมาคมออกใช้บังคับได้ ให้มีเขตการปกครองและผู้ปกครองสงฆ์เป็นระดับชั้น นับแต่ตำบล อำเภอ จังหวัด และภาค กำหนดเรื่อง ไวยาวัจกร กำหนดเรื่อง นิคหกรรม กำหนดเรื่องเจ้าอาวาส พร้อมอำนาจและหน้าที่ของเจ้าอาวาส เรื่องให้ลาสิกขา เรื่องพระต้องคดีอาญา กำหนดเรื่องวัด เรื่องอุปัชฌาย์ เป็นต้น และที่สำคัญ การจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ มหาเถรสมาคม (ม.๒๐)

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับนี้ ออกในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ปี พ.ศ.๒๕๐๕ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์เดิมคือ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔ ทั้งหมด

๒.         พระราชบัญญัติคณะสงฆ์(ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ออกเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๕ สมัยนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี ผู้รับสนองพระบรม ราชโองการ แก้ไขเรื่องตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ให้ถือระบบอาวุโสโดยสมณศักดิ์ เป็นหลัก ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้เสนอนามสมเด็จฯ ผู้มีอาวุโส สูงสุดโดยสมณศักดิ์ ขึ้นทูลเกล้าสถาปนาเป็น สมเด็จพระสังฆราช (จะได้ไม่ต้องเถียง กันยังไง)

ในเรื่องการปกครอง มีเพิ่มมาตรา ๑๕ ตรี ที่ใช้กับยันตระ อมโรนี่แหละครับ โดยมาตรานี้ ให้ออกกฎมหาเถรสมาคม ออกคำสั่ง (เช่นคำสั่งมหาเถร-สมาคม ที่ ๑/๒๕๓๘) บังคับใช้ได้

เรื่องนิคหกรรมก็ตรามาตรา ๒๗ ใหม่ ยกเลิกของเก่า เรื่องอื่น ๆ เรื่องวัด เรื่องเจ้าอาวาส

นี่แหละครับ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันใช้ พร้อมกัน ๒ ฉบับ ซึ่งในทัศนะของผมเห็นว่า พระราชบัญญัติเหล่านี้ ไร้ทิศทาง หรือหากมีทิศทางก็เป็นทิศทางที่น่าวิตก เพราะมีแนวโน้ม ว่าจะบ่อนทำลายกัดกร่อนวงการพระพุทธศาสนา ให้เสื่อมไป ทีละ น้อย ๆ เพราะสิ่งที่กำหนดไว้ทั้งสิ้นนี้ ล้วนเป็นทิศทางแห่งโลกียธรรม ทั้งสิ้น มิได้มีการกำหนดทิศทางแห่งโลกุตตรธรรมเลยแม้แต่นิดน้อย

เพื่อน ๆ คงจะทราบและเข้าใจกันดีอยู่แล้วว่า เส้นทางของเรานั้นมิใช่เส้นทาง โลกียะ แต่เป็น โลกุตตระ แต่พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ทั้งสิ้นนั้น เขียนออกมา จากมันสมองของโยมหัวดำซึ่งไม่รู้ทิศทางแห่งโลกุตตรธรรมเลย พวกเขาบังคับให้พวก เรา พระสงฆ์องค์เจ้า หันกลับเดินไปบนเส้นทางแห่งโลกียธรรม ไปตาม ๆ กัน เป็น ทิวเป็นแถว เป็นทิวเป็นแถวอย่างไรก็เห็นกันอยู่ เหตุฉะนี้ ผมจึงว่าไร้ทิศทาง หรือทิศทางที่น่าวิตก และมีแนวโน้มว่าจะบ่อนทำลาย กัดกร่อนวงการพุทธศาสนา ให้เสื่อมไปทีละน้อย ๆ เนื่องจากได้กำหนดทิศทางอันเบี่ยงเบนไปเสียจากเส้นทางปกติของพระสงฆ์องค์เจ้า คือเส้นทางแห่งโลกุตตรธรรม ไปสู่โลกียธรรม โดยพระราชบัญญัติหรือกฎหมาย ย่อมบังคับให้ทุกคน ปฏิบัติตาม เราจึงออกนอกทางไปเพราะความบังคับตามกันเป็นทิวเป็นแถว เห็นไหมครับ ?

ผมว่าจะลองร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ฉบับปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ออกมาดูครับ เพื่อนมีความเห็นอย่างไร ? มีข้อเสนอแนะอย่างไรก็บอก ผมเองเข้าใจว่าเพื่อน ๆ แต่ละรูปก็คงจะเห็นอยู่เหมือนกันว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ ย่อมมีและมี ความหมายสำคัญมาก เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเกียรติหรือวัฒนธรรมของสงฆ์โดยตรง ซึ่งหมายความว่า เมื่อพระธรรมวินัยซึ่งเป็นพุทธบัญญัติแท้ ๆ ไม่อาจปกครองพระสงฆ์ได้ตามหลักการปกครองตนเอง โดยคุณธรรมแห่ง หิริโอตตัปป-ธรรมแล้ว คนอื่น ๆคนภายนอก แต่ในสังคมเดียวกัน ก็จำต้องปกครองแทน เพราะสังคมย่อมไม่ยอมปล่อยให้ใครคนใดคนหนึ่งกระทำการละเมิด หรือกระทำ ความผิดต่อสังคมและผู้อื่น โดยระรานบ่อนทำลายหรือก่อความเสียหายไม่ว่าโดยตรง หรือโดยอ้อม แต่คนอื่นในที่นี้ ก็เป็นเพียงคนธรรมดา ๆ คือฆราวาสญาติโยมผู้ถือศีล ๕ เท่านั้นเองที่พยายามเข้ามากำหนดกฎเกณฑ์การปกครองพระผู้ที่มีศีลถึง ๒๒๗ ข้อ นี่แหละคือความหมายของการตรากฎหมายคณะสงฆ์ออกมา (น่าอายไหม ?)

แต่คนทั้งหลายเขาก็มีเหตุผล นั่นก็คือ เดี๋ยวนี้พระขาดความละอายเกรงกลัวต่อ บาป ขาดคุณธรรมในการปกครองตนเอง ขาดความซื่อสัตย์ต่อตัวเอง และผู้อื่น ในที่ลับ และที่แจ้ง พระสมัยนี้จึงไม่สามารถปกครองตนเองได้ ไม่เคารพ ไม่เชื่อถือในพระธรรมวินัยที่องค์พระบรมศาสดาบัญญัติไว้เองโดยตรง อันแสดงให้เห็นว่าคุณธรรม เสื่อมไป ซึ่งมีผลให้สังคมระส่ำระสาย พวกเขาจึงต้องหาทางปกครองพระเสียเอง และย่อมเป็นไปตามมาตรการฝ่ายโลก ย่อมเป็นไปโดยมาตรการแห่งโลกียธรรมมาตรการโลกียธรรมอันดีที่สุดเท่าที่พวกเขามีอยู่ ซึ่งเพื่อนจะต้องไม่ลืมว่า มาตรการฝ่ายโลกยุคนี้ ล้ำพระบัญญัติในพระวินัยไปมากมาย เพราะโลกสมัยเก่าก่อนขาดความรู้ทางวิทยาศาสตร์แทบทุกสาขา เช่นสิ่งที่เรียกว่า เท็คโนโลยี่ ฉะนั้น สิ่งที่เรียกว่า เท็คโนโลยี่นี้ จึงไม่มีกล่าวถึงสักลักษณะในพระธรรมวินัย โลกจึงย่อมสามารถนำ เท็คโนโลยี่มาบัญญัติบังคับพระได้ เพราะถือได้ว่าไม่มีในพระวินัย ก็ย่อมไม่ขัดแย้ง ต่อพระวินัย เห็นได้จากกรณียันตระอมโรนี่เองหลายเรื่อง เช่น สลิปบัตรเครดิตเป็นต้น

ผมจะพยายามร่างกฎหมายใหม่ทั้งฉบับออกมา โดยเลิกกฎหมาย เก่าทั้งหมด และจะพยายามให้มีข้อความที่บ่งบอกแนวทิศทางแห่ง โลกุตตรธรรมว่าควรจะเป็นอย่างไรบ้าง แล้วเสนอเพื่อน ๆ พิจารณาแก้ไขกันในเร็ววันนี้ครับ หวังว่าเพื่อน ๆ คงจะเข้าใจความหมายของผมดีนะครับ ในเรื่องพระราชบัญญัติคณะสงฆ์

 

พระพยับ ปญฺญาธโร

(อดีต)เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ

๓ เมษายน ๒๕๓๘

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คอลัมน์ยิ้มสำรวม

 7.         หลวงพ่อเล่าให้ฟัง

 

 

พระธรรมรัตนากรณ์ (ชื่อสมมติ ) ไปเยี่ยมพระเทพวรมุนี ศรีสะเกษ

แล้วกลับรถด่วน มีลูกศิษย์ติดตามรูปหนึ่ง เมื่อขึ้นบนรถด่วนแล้ว เจ้าหน้าที่การรถไฟ

มาตรวจหนังสือหลักฐานการเดินทาง ตรวจแล้วก็พาพระธรรมรัตนากรณ์ซึ่งเป็น

พระราชาคณะชั้นธรรมไปตู้ชั้นสองปรับอากาศ เอนนอนได้ แล้วพาพระลูกศิษย์

นามว่า พระมหาบุญเที่ยง ควาสโย เปรียญธรรม 4 ประโยค ไปตู้รถปรับอากาศชั้น 1

ท่านทราบเหตุผลที่จำต้องแย้ม หรือจำต้องยิ้มอย่างสำรวมสักหน่อยหรือไม่ ?

เพราะเจ้าหน้าที่การรถไฟคนนั้นมาใหม่ ไม่เคยรู้ว่ามีระบบศักดินาหรือยศพระใน วงการนักบวช จึงเข้าใจว่า พระธรรมรัตนากรณ์ เป็นพระธรรมดา ชื่อว่า พระธรรม

นามสกุล รัตนากรณ์ ส่วนพระลูกศิษย์ มีคำว่ามหานำหน้าชื่อ จึงมีวุฒิสูงกว่าควรได้

ตู้นอนชั้น 1 ปรับอากาศ ส่วนพระธรรมดา นั่งเอนนอนชั้น 2 ปรับอากาศก็ดีถมไปแล้ว

(พระธรรมดามีสิทธิแค่ชั้น 3) เจ้าหน้าที่การรถไฟคิดว่าอย่างนั้น ก่อนจะได้รับคำอธิบายจากพระสงฆ์ระดับ พระราชาคณะชั้นธรรม ว่า ท่านแตกต่างจากพระมหา 4 ประโยคอย่างลิบลับเพียงใด ฯ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(คอลัมน์กัลยาณมิตร) 

 8.         สำเนาหนังสือจาก ส.ส.ร.

 

ด่วนที่สุด รัฐสภา

 

ที่ สผ. ๐๐๑๗ (สสร.) ว. ๘๐                                               สภาร่างรัฐธรรมนูญ

ถนนอู่ทองใน กท ๑๐๓๐๐

๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐

เรื่อง ขอขอบคุณ

เรียน มูลนิธิพระเทวรมุนี (เสน ปญฺญาวชิโร)

ตามที่ท่านได้แสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนะกี่ยวกับหลักการ และแนวทางในการจัดทำรัฐธรรมนูญให้กระผมเพื่อเป็นแนวทางในการแสดงความคิดเห็นต่อการจัดทำ รัฐธรรมนูญให้กับสภาร่างรัฐธรรมนูญ นั้น

ในการนี้ กระผมได้พิจารณาแล้วเห็นว่าความคิดเห็นหรือข้อสนอแนะของท่านเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ในอันที่จะใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในการร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดความรอบคอบยิ่งขึ้น ซึ่งกระผมจะได้ส่งให้คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องรับไป พิจารณาดำเนินการต่อไป จึงเรียนมาเพื่อทราบ และขอขอบคุณท่านที่ได้ให้ข้อมูลอันเป็นปรโยชน์ต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญ

 

ขอแสดงความนับถือ

ลงนาม

(นายอุทัย พิมพ์ใจชน)

ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ

 

สำนักงานเลขาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ

โทร. ๒๔๔๑๒๘๕, ๒๔๔๑๓๐๖-๗

โทรสาร ๒๔๔-๑๒๘๖

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คอลัมน์นานาทัศนะ

 9.         การร่างรัฐธรรมนูญอย่างไรก็ไม่ดี...ถ้าคนไม่พร้อม

โดย วิบูลรัตน์ กัลป์ยาณวัตร

 

ต้องยอมรับกันว่า ในทางการเมืองขณะนี้ คนไทยเรากำลังให้ความสนใจสภาร่าง รัฐธรรมนูญ มากที่สุด จนทำให้สภาผู้แทนราษฎรลดอันดับลงไป ประกอบกับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งหลัง ๆ มานี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เล่นเกมการเมืองกันมาก ทำให้ประชาชนเบื่อหน่าย ผู้แทนขาดการประชุมกันมาก นับองค์ประชุมทีไรวุ่นวายทุกที ทีวีถ่ายทอดออกไปเห็นแต่เก้าอี้เปล่า ๆ ในห้องประชุมรัฐสภาอันทรงเกียรติ มันน่าละอายในห้องเรียนเด็กประถม จึงทำให้คนไม่สนใจฟังการประชุมสภาผู้แทนราษฎร

นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นประชาชนหรือประชาวิจารณ์มากที่สุด เพื่อจะได้นำไปประกอบการบรรจุหรือเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ ให้มันสมกับสโลแกนที่ว่า ประชาธิปไตยโดยประชาชน ของประชาชน และเพื่อประชาชน มีการออกไปรับฟังความคิดเห็นประชาชนตามจังหวัดต่าง ๆ แต่ละ จังหวัดให้ความสนใจและแสดงความคิดเห็นกันมาก

ความจริงนั้น นับตั้งแต่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาแต่ปี พ.ศ.2475 ได้มีกฎหมายรัฐธรรมนูญใช้มาแล้วหลายสิบฉบับ จนมีคำกล่าวกันว่า ประเทศไทยใช้รัฐธรรมนูญเปลืองที่สุดประเทศหนึ่ง ในประเทศที่ด้อยพัฒนาทั้งหลาย

ถ้าเราตรวจดูรายชื่อสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้ จะเห็นว่าเกือบครึ่งหนึ่ง ล้วน แต่เคยคร่ำหวอดอยู่กับการร่างรัฐธรรมนูญมาแล้ว หรือได้ผ่านรัฐธรรมนูญมาแล้วเกือบทุกฉบับ ย่อมรู้ดีว่าอะไรดีอะไรไม่ดี ประเด็นที่ประชาชนแสดงความคิดเห็นส่วนมาก ก็ไม่มี อะไรแตกต่างกันมากนัก ซ้ำ ๆ ซาก ๆ กันทุกจังหวัด ซึ่งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเข้า ใจดีอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าจะเขียนอย่างไร จึงจะมีผลในทางปฏิบัติเท่านั้น

แต่ข้อเท็จจริงนั้น มันสำคัญอยู่ที่คนใช้รัฐธรรมนูญต่างหากว่า มีความสำนึกใน ด้านคุณธรรมขนาดไหน รัฐธรรมนูญก็ดี กฎหมายเลือกตั้งก็ดี ห้ามไม่ให้ซื้อสิทธิ์ขาย เสียง แต่ทำผิดโครม ๆ ไม่ใช่หรือ ?

ปัญหาจึงอยู่ที่คน ทำอย่างไรจึงจะให้คนไทยเรามีจิตสำนึก มีคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง เปลี่ยนค่านิยมในทางที่ผิด ๆ อย่าเห็นแก่อามิสสินจ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ

นักการเมืองเอง ต้องมีความละอายแก่ใจ อย่าเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว ต้องเห็นแก่ ประเทศชาติเป็นสำคัญ ต้องทำการเมืองอย่างบริสุทธิ์ ฯ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 10.       ประชาธิปไตยสงฆ์

 

๑.         คำว่าประชาธิปไตย โดยรูปแบบคือฐานของหน่วยทุกหน่วยที่ประกอบกันเป็นสังคมทั้งหมดทั้งสิ้น คือประชากร ทุกชั้นวรรณะ ทุกอาชีพ ทุกระดับการศึกษา ทุกเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ทุกศาสนา ฉะนั้น จึงมีประเด็นการมองที่สำคัญอยู่ ๓ ประเด็น เป็นอย่างน้อย

ประเด็นที่ ๑         อิสรเสรีภาพภายในความคิดความนึก ปราศจากการครอบครองหรือคุกคาม หรือการบัญชาของผู้อื่น

ประเด็นที่ ๒         วิธีการสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าของสังคม ที่มาจากความคิดสติปัญญาของประชาชนทั้งชาติ

สังคมใดที่มีคนจำนวนมากช่วยกันทำงานทำการ ช่วยกันออกหัวคิดสติปัญญา สังคมนั้นย่อมชนะ ย่อมก้าวหน้าไปเร็วกว่าสังคมอื่น ประชาธิปไตยจึงแตกต่างจากเผด็จการ หรือ เจ้าขุนมูลนาย ตรงที่คนทั้งหมดช่วยกันทำ ทั้งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ส่วน เผด็จการหรือเจ้าขุนมูลนายจะมีคนเก่งเฉพาะหัวหน้า กับคนรอบ ๆ อยู่ไม่กี่คน นอกนั้น ล้วนคอยนั่งรับคำสั่งตาปริบ ๆ เพราะไร้ความคิดอ่านไปทั้งสิ้น ไปทั้งแผ่นดิน

ประเด็นที่ ๓         ระบอบประชาธิปไตยมีข้อได้เปรียบอันสำคัญก็คือ ย่อมจะส่งเสริมให้ประชาชนทั้งชาติใฝ่ใจ และริเริ่มในการศึกษาการพัฒนาการ ด้านความคิดโดยอัตโนมัติ เพราะเหตุที่ประชาชนจำต้องปกครองตนเอง มีการฝึกอุปนิสัยให้รู้จักคิด รู้จักใช้สติปัญญาให้รู้จักแก้ปัญหาด้วยตนเอง มาแต่เริ่มต้นแห่งชีวิตสังคมอยู่เป็นปกติประจำวัน ธรรมะชั้นสูงสุดของพระพุทธศาสนาคือวิปัสนาญาณหรือปัญญา ก็จะสามารถไปได้เป็นอย่างดีกับ ระบอบประชาธิปไตยนี้ ต่างจะเอื้อซึ่งกันและกันและอยู่ด้วยกัน

ถ้าระบบสังคมใดเป็นเผด็จการ หรือเจ้าขุนมูลนายอยู่ ระบบสังคมนั้นย่อมพาประชาชนไปในทิศทางที่ล้าหลัง ไม่ทันโลกทันยุคอย่างแน่นอน เพราะประเทศที่เป็นเผด็จการนั้น จะมีคนเก่งน้อยกว่า มีคนใฝ่การศึกษาและมีคุณวุฒิทางการศึกษาน้อยกว่า มีคน ช่วยเอาภาระของสังคมน้อยกว่า ที่สำคัญ เป็นระบอบที่ปิดกั้นความเจริญทางความคิดและสติปัญญาของประชาชนในสังคมนั้น ทั้งสองด้านคือทั้งฝ่ายโลกและทั้งฝ่ายธรรมะเอง

๒.         สงฆ์ เป็นระบอบโดยธรรมชาติที่มีเป้าหมายสูงสุดที่ สติปัญญา คือ มรรค ผล และนิพพาน อันหมายถึงอิสรภาพอย่างสมบูรณ์ อิสรภาพอย่างสมบูรณ์นั่นแหละคือ ความหมายของสติปัญญาอันสมบูรณ์ การปกครองระบอบใดที่ไม่มีทิศทางการสร้างเสริม สติปัญญาเช่นนี้ ย่อมไม่สอดคล้องหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ย่อมขัดและแย้งต่อพระธรรมและพระวินัย

ฉะนั้น สังคมสมัยใหม่ที่มีหูตากว้างไกลจึงเลือกใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตย เมื่อประชาชนเข้ามามีส่วนในการแก้ไขปัญหาของสังคมโดยส่วนรวม ก็หมายถึงการใช้มันสมองสติปัญญามากขึ้นในประเทศนั้น หมายถึงการปลุกให้ตื่นทางสติปัญญาของประชาชาติทั้งมวล เมื่อสังคมเดินไปด้วยสติปัญญาเป็นอันมาก ก็ย่อมมีการสร้างสรรค์ความเจริญไปมาก มีความก้าวหน้า รู้เท่ารู้ทันความคิดของสังคมอื่นไปมาก ก็สามารถเป็นสังคมผู้นำ โลกได้

หากสังคมยุคใหม่เป็นเผด็จการหรือเป็นเจ้าขุนมูลนายอยู่ ก็ต้องหมายถึงขั้นตอน ๒ ขั้นตอนคือ หยุดการสร้างสรรค์ทั้งสิ้นทั้งมวล และแล้วเริ่มเสื่อมทรามลงไปอย่างรวดเร็ว

ถามตัวเองเสียตั้งแต่บัดนี้ว่า เราต้องการอะไร ?

ความเจริญก้าวทันโลกยุคใหม่ หรือ ความล้าหลังไปอย่างสุด ๆ?

ด้วยระบบเจ้าขุนมูลนายสงฆ์ !

ที่ยังคงเดินไปอย่างสุดกำลังแห่งระบบอยู่ในขณะนี้ !

-          ปธร.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 11.       บันทึกข่าวล่า

 

 

สสร. เคลื่อนที่มาศรีสะเกษ

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2540 เวลา 0830 น. มีการประชุมสสร.ศรีสะเกษ โดย สสร.ใหญ่ มีนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธาน สสร. ท่านศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรโณ

เลขานุการคณะกรรมการเลขานุการยกร่างรัฐธรรมนูญ นายประสพพร พาทยกุล สสร. ศรีสะเกษ ขึ้นเวทีอภิปราย รับฟังความคิดเห็นของปรชาชนศรีสะเกษ มีวิทยุเอฟเอ็ม ศรีสะเกษ ถ่ายทอดตลอดเวลา เว้นแต่ช่วงหนึ่ง ประชาาชนร้องทุกเรื่องเจ้าหนน้าที่ตำรวจ กับคดีสังหาร ... วิทยุเกิดขัดข้อง เสียการถ่ายทอดไปหลายนาทีท่านศาสตราจารย์ บวรศักดิ์ มีปราถนาดีมาก บอกวิธีเอาชนนะความยากจน โดยเฉพาะศรีสะเกษ ซึ่งท่านว่า เป็นจังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศไทย อันตอกเข้าไปในปมด้อยของชาวเมือง อีกครั้งหนึ่งในรอบปีใหม่ ครั้งก่อนมีท่านโฆษกรัฐบาล นายวราเทพ วรากร ออกทางทีวี ข่าว 11 หกทุ่มวันที่ 20 ก.พ.40 ว่า จังหวัดศรีสะเกษ ล้าหลังมากที่สุด ก็ล้วนเป็นเรื่องที่ท่าน ปรารถนาดีนั่นแหละ แต่ชาวเมืองไม่อยากฟังคำพูดนี้ คนไม่ชอบให้ใครมาเปิดเผยหรือจี้ ปมด้อยของตน จริงไหม ? และจริงๆแล้วหากจะช่วยพัฒนาการศรีสะเกษอย่างจริงใจ จงส่งบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์มาบริหารงานที่นี้บ้าง เรามีปัญหา

บุคลากรทุกระดับที่นี่ ที่ศรีสะเกษ ดูเหมือนว่าราชการเข้าใจ แต่จงใจ ที่จะให้ที่นี่เป็นเวที ฝึกหัดบุคลากร ทุกระดับ ทุกวงการ มานานแสนนานแล้วด้วยซ้ำ มีข้อเท็จจริงฟ้อง แต่ท่านเองก็พูดเสียคนฟังเหนื่อย เขาไม่รู้จะทำอย่างไงเพราะล่วงไปกว่าชั่วโมงแล้ว ท่านศาสตรา-จารย์ยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดพูด ทางผู้เนินรายการก็เหมือนหุ่น ประชาชนประท้วงจึง เหมาะสม และเห็นไหมว่าประชาชนชาวศรีสะเกษมีจิตใจประชาธิปไตย ที่กล้าท้วงท่าน ศาสตราจารย์ว่าพูดนานเกินไปแล้ว ที่เขาว่านักวิชาการบ้าน้ำลาย ให้คนอื่นเขาพูดบ้างซี และหนึ่งในประชาชนในห้องศรีพฤตเฒศวรวันนั้น ที่พลาดโอกาสไม่มีเวลาพอที่จะพูด ก็มี มหาเก่า ที่มีข้อเสนอสามข้อได้ นำลงพิมพ์ในเล่มนี้แล้ว ที่น่าฟังคือคำพูด ท่านประธาน อุทัย พิมพ์ใจชน ว่า ฝ่ายประชาธิปไตยไม่เคยแพ้ มีแต่ชนะ

 

สงฆ์สองจังหวัด อุบลราชธานี อำนาจเจริญ

ประชุมพิจารณาหัวข้อฝ่ายปัญหาฝ่ายศาสนจักรเพื่อเสนอ สสร.

ณ อาคารโกมุท วิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ซึ่งเป็นสถานที่วิทยาลัยมอบให้เป็นที่ทำงานชั่วคราวของ สสร. จังหวัดอุบลราชธานี วันที่ 24 มีนาคม 2540 ได้มีการนัดหมายพิเศษ เพราะแทนที่จะเป็นประชาชนคนธรรมดากลับเป็นพระภิกษุสงฆ์มาจากสองจังหวัด คืออุบลราชธานี กับอำนาจเจริญ   ประมาณ 70รูปโดยได้รับอุปถัมภ์จาก แผนงานโครงการขององค์การพระผู้นำพัฒนาตามอุดมการแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง จังหวัดอุบลราชธานีและอำนาจเจริญ มีท่านอาจารย์สุบรรณ จันทบุตร   ผู้มีบทบาทสำคัญในการนำและบริหารโครงการแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองมา แต่ต้นจนถึงปัจจุบันในนามผู้ประสานงานสภาสังคมสงเคราะห์จังหวัดอุบลราชธานี เป็นผู้ประสาน งานการประขุมและอภิปราย ผู้ดำเนินโครงการ เป็นพระภิกษุสงฆ์ ล้วน คือ พระครู ศรีรัตนโสภณ ประธาน พระครูสุนทรสุตกิจ พระครูสังฆรักษ์ชาญวุฒิ อภิวํโส พระครูสมุห์สมาน วชิรญาโณ เป็นกรรมการ และ พระอาจารย์ณัฐพล ปัญญาวโร เป็นกรรมการ และเลขานุการ ประเด็นสำคัญคือปัญหาในวงการสงฆ์เองมีอะไรบ้างและเสนอสสร. อย่างไร ซึ่งในการประชุมวันนี้พระชั้นผู้ใหญ่ (ระดับเจ้าคณะอำเภอ) ไม่มาเลยมีข่าวกระเส็นกระสายว่า เกรงเป็นเรื่องการเมือง จึงมาน้อย และในการประชุมคราวนี้ทางผู้ดำเนินรายการได้นิมนต์พระอาจารย์พยับ ปญฺญาธโร อดีตเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ เจ้าของข้อเสนอ ปฏิรูปการเมือง ปัญหาประชาธิปไตยประเด็นสำคัญที่ไม่มีผู้ใด พูดถึงเลย กับอีกหลายประเด็นในเอกสาร วิเคราะห์ข่าวในวงการเจ้าคณะจังหวัดภาค อีสาน ประจำเดือน มีนาคม 2540 ไปร่วมชี้แจงปัญหาในวงการสงฆ์ด้วย ซึ่งพระอาจารย์พยับ ได้ร่วมอภิปรายตลอดภาคเช้า ภายหลังเพลได้อำลากลับก่อนมีข้อสรุปการประชุม / 001 รายงาน /

 

สสร. ศรีสะเกษสรุปประเด็น

รายงานว่า สสร. ศรีสะเกษ ได้นัดประชุมสรุปประเด็น วันที่ 29 มีนาคม2540 มีสสร. ส่วนหนึ่ง นำโดย ดร. นันทสาร สีสลับ กรรมาธิการรับฟังความคิดเห็น และ ประชาสัมพันธ์ สสร.ศรีสะเกษ พยายามนำข้อความที่เกี่ยวข้องกับวงการคณะสงฆ์ ข้อ ความว่า รัฐพึงส่งเสริมประชาชนให้เข้าใจและเลื่อมใสศรัทธาศาสนา ลิทธิ พิธีกรรม และประเพณีทางศาสนาอย่างมีเหตุผลสอดคล้องและเอื้อต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยและให้มีข้อความเกี่ยวกับการวัฒนธรรมแห่งชาติอีกบางข้อความ แต่ยังไม่ทราบผลเพราะ สสร. ยังประชุมกันอยู่ / 002 รายงาน /

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 12.       หน้าบอกสถานะของเรา

 

วิเคราะห์ข่าวในวงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดภาคอีสาน          รายคาบ

วัตถุประสงค์        เพื่อการนำความคิดไปสู่ความดีงาม

ประจำเดือน         เมษายน พุทธศักราช 2540

คณะที่ปรึกษา      ดร.นันทสาร สีสลับ*

กรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ สสรศรีสะเกษ

อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

บรรณาธิการ :      พระพยับ ปญฺญาธโร**

อดีตเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ

อดีต ร.อ.พยับ เติมใจ กองบัญชาการทหารสูงสุด สนามเสือป่า

กองบรรณาธิการ   มหาเก่า เข่าขี้เมี่ยง เชียงบ้านนอก

ผู้ร่วมอุมการณ์     อดีตมหาเก่า เข่าขี้เมี่ยง เซียงอิสาน

พิมพ์ที่ :             มูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร)

วัดมหาพุทธาราม ถนนขุขันธ์ อำเภอเมืองศรีสะเกษ

                                    จังหวัดศรีสะเกษ ๓๓๐๐๐

โทร-โทรสาร : (๐๔๕) ๖๒๒๔๕๕

การแจกจ่าย

-           เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดทั่วประเทศ

-           วงการสงฆ์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 13.       บทกวีปฏิวัติ

อันใดคือโคตรเพชร                       เผล็ดพลังธรรมรุ่งฉาน

กลับทิศผิดทางเนิ่นนาน                  โคตรเพชรจึ่งสาดแสงแรงร้าย

เพียงกลับทิศทางให้ถูก                  โลกวิปริตจักพลันหาย

เพียงกลับทิศถูกทุกข์ก็คลี่คลาย       สบาย ชุ่มเย็น เป็นคุณ

ใครเล่าอาจทำให้ได้                      หากไม่ออกแรงเองหมุน

สู่อุปถัมภ์ค้ำจุน                             ประชาราษฎร์ชาติประชาธิปไตย

ปธร.

(ปัญญาธโรภิกฺขุ)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  14.    ปฏิรูปการเมือง : ปัญหาประชาธิปไตย ประเด็นสำคัญที่ไม่มีผู้ใดพูดถึงเลย

         เสนอ   สภา สสร. รัฐสภา รัฐบาล และ พรรคการเมือง

 

 

1.         การปกครองของประเทศไทยนั้น ควรคำนึงอย่างยิ่งว่า ทั้งหมดทั้งมวลได้ขึ้นอยู่

            กับระบบการปกครองใหญ่ ๆ อยู่ถึง 2 ระบบที่ซ้อนกันอยู่ แต่ละระบบนั้นก็มีความ      สำคัญทางการปกครองของประเทศไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันเลย คือ

 

1.1        ระบบการปกครองของราชอาณาจักร หรือฝ่ายบ้านเมือง ใช้มาตรการสำคัญคือ    กฎหมาย

 

1.2        ระบบการปกครองศาสนจักร หรือฝ่ายคณะสงฆ์ไทย ใช้มาตรการสำคัญ คือวัฒนธรรม

 

 

 

2.         การปกครองทั้งสองระบบนี้ มีความใกล้ชิดและความเป็นมาละม้ายคล้ายคลึงกันมากตั้งแต่อดีตในช่วงหลังแห่งประวัติศาสตร์ ทั้งสองระบบนี้มีรูปแบบอย่างเดียวกัน ที่เรียกว่าะบบเจ้าขุนมูลนาย หรือราชาธิปไตย    หากแต่มีการวิวัฒนาการมาต่างกัน ดังนี้

 

            แต่เดิม ฝ่ายราชอาณาจักร ได้ปรากฎชัดเจนว่ามีความเป็นเจ้าขุนมูลนายจัด มีวีฒนธรรมสำคัญ ที่กำหนดบุคคลิกภาพ อุปนิสัยใจคอของคนในชาติในลักษณะ เจ้ากับข้า นายกับบ่าว อย่างชัดแจ้ง   เป็นเหตุให้เกิดวัฒนธรรมแบบ passive ขึ้นในประชาชนทั้งชาติ เมื่อโลกเข้าสู่ยุคใหม่ได้มีผลเสียหายต่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติในส่วนรวมอย่างมากมาย และ ซึ่งอุปนิสัยนี้ได้สืบต่อมาตราบจนกระทั่งบัดนี้

 

            ต่อมาเมื่อถึงรัชกาลที่ 4 ราชวงศ์จักรีนี้ ได้ทรงติดต่อกับฝรั่งต่างประเทศ จึงได้ค่อยลดเลิกวัฒนธรรมเจ้ากับข้า นายกับบ่าว วัฒนธรรมพินิบพิเทาไปเสีย รูปร่างของเผด็จการกษัตริย์ค่อยหายไป เมื่อถึงรัชกาลที่ 5 ทรงเลิกทาสในแผ่นดินไทยเป็นผลสำเร็จ ประชาชนในภาพรวมก็มีลักษณะที่เป็นอิสระมากขึ้น และเมื่อ ถึง พ.ศ. 2475 ก็ถึงเวลาปฏิวัติใหญ่ในแผ่นดินโดยมีคณะผู้ก่อการปฏิวัติระบบการปกครองเดิมเสียเป็นระบอบใหม่ คือ ระบอบประชาธิปไตย ที่มีเป้าหมายให้การปกครองเป็นของประชาชนโดยประชาชนมีอำนาจ ปกครองตนเอง ที่มีคติว่าการปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน ประชาชนเป็นผู้กุม  อำนาจการปกครองของประเทศ         มาถึงปีนี้ แนวคิดทางการปกครองได้เปลี่ยนไปจากเดิม อย่างตรงกันข้ามก็คือ เดิม กษัตริย์   ข้าราชการ และผู้ปกครองเป็นนาย เป็นเจ้าชีวิตของ  ประชาชน บัดนั้นได้เปลี่ยนไป โดยที่ ประชาชนกลับเป็นนาย ข้าราชการและผู้ปกครองกลับเป็นผู้รับใช้    ในไทยกษัตริย์ก็อยู่ใต้กฎหมาย         เช่นเดียวกับสามัญชน การปกครองแบบใหม่    ต้องไม่มีประชาชนคนใดเป็นเจ้า หรือ เป็นข้า หรือเป็น เจ้าชีวิตผู้ใด หากแต่เสมอกันหมด           ในด้านการปกครอง ทุกคนมีสิทธิ์ในการปกครองในการ เป็นเจ้าของประเทศเท่าเทียมกันหมด และเพื่อการปกครองจะได้เป็นไปในระบบระดมความคิดมันสมองของคนทั้งแผ่นดิน ให้ชาติและประชาชนไทยเร่งฟื้นฟูคุณลักษณะจากความเป็นผู้ตาม ผู้ไร้ความคิด        สติปัญญาทางการปกครอง มาเป็นผู้นำ ผู้กล้าใช้วิจารณญาณโดยอิสระแห่งปัจเจกบุคคล ที่ เปี่ยมด้วยความคิด รู้เหตุ และรู้ผล ด้วยเหตุนี้ชาวไทย จึงได้รับเอาการปกครองระบอบ           ประชาธิปไตยเข้ามาใช้         

 

กระนั้น นับมาจนถึงบัดนี้เป็นเวลา 64 ปีเข้าไปแล้วแนวคิดประชาธิปไตยนี้ดูคลับคล้ายจะไม่ประสบผลสำเร็จตามอุดมการณ์ที่หวัง จนกระทั่งในระยะหลังที่สุด ก่อนจะมีแนวคิดเรื่องการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินขึ้น ดั่งว่าประชาธิปไตยจะล้มเหลวลงไป แต่ฝ่ายต่าง ๆทั้งองค์การเอกชน ก็ได้พยายามศึกษาหาสาเหตุกระนั้นก็ยังมิได้มีการเอาใจใส่พิจารณาปัญหาการปกครองฝ่ายศาสนจักร อันเป็นการปกครองอีกระบบหนึ่งที่ซ้อนลงไปในระบอบการปกครอง  ฝ่ายราชอาณาจักรโดยตลอดมานั่นเอง เพราะแม้ฝ่ายราชอาณาจักรจะได้เปลี่ยนแปลงปฏิวัติ  ระบบเดิมไปแล้ว หากแต่ฝ่ายศาสนจักรหาได้มีการเปลี่ยนไปจากเดิมแต่อย่างใดไม่ ซ้ำยังกลับมีการส่งเสริมระบบเดิม ๆ ทั้งการดิ้นรนใฝ่คว้าแสวงหาอำนาจของหน่วยในระบบศาสนจักร มีการต่อสู้แย่งชิงกันเพื่อเป้าหมายอย่างเดิม ๆนั้นทวียิ่งขึ้นไปกว่าแต่ก่อนอีก       มาตราบจนกระทั่งทุกวันนี้ ระบบการปกครองฝ่ายศาสนจักร ได้กลายเป็นตัวต้นตอสาเหตุหลักอันสำคัญใหญ่โตมาก       ที่ขัดขวางต้านแนวทางแห่งระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนต้องการ         เพราะ    ระบบการปกครองฝ่ายศาสนจักร ได้กลายเป็นระบบเจ้าขุนมูลนาย ศักดินา เต็มตัว     เต็มรูปแบบ จนไม่มีเหลือ ร่องรอยของคณะสงฆ์ที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่เจริญรอย ตามทางแห่งพระอรหันต์หรือรอยบาทองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เลยแม้แต่น้อย

 

 

 

3.         สถานการณ์ฝ่ายศาสนจักรเป็นสถานการณ์ที่คนสำคัญทางการปกครองและชาวไทยส่วนใหญ่  ยังไม่เข้าใจ ชนชาวไทย แม้กระทั่งระดับผู้ปกครองประเทศ ก็ยังหามีความเข้าใจที่แท้จริงถ้วนถี่ในความหมายแห่งระบบการปกครองของฝ่ายศาสนจักรหรือคณะสงฆ์ไทยใหม่ ดังนี้

 

3.1        ระบบสมณศักดิ์ หรือ ยศพระ มีระบบยศพระหลายชั้นหลายขั้นวิ่ง ดังต่อไปนี้คือพระครูฐานานุกรม - พระครูสัญญาบัตร - (4 ระดับ คือชั้นตรี-โท-เอก-พิเศษ) - พระ   ราชาคณะ

ชั้นสามัญ - ชั้นราช - ชั้นเทพ - ชั้นธรรม- ชั้นรองหิรัญบัตร - ชั้นรองสมเด็จสุพรรณบัฏ ชั้น   สมเด็จ และ- สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ชาวไทยพุทธไม่เข้าใจว่า นี่แหละ     ระบบเจ้าขุนมูลนายหรือศักดินาที่แท้จริง อันเป้นระบบการปกครองฝ่ายโลก หรือโลกียะ   โดยชัดแจ้ง         และที่บัดนี้ นับว่าล้าหลังที่สุด ในการปกครองของโลกทั้งสิ้นไปแล้วนั่นก็    หมายความว่า ได้กลายเป็นระบบที่ขัดแย้ง ไม่เกื้อหนุนสอคล้อง ต่อระบอบประชาธิปไตยที่ ต้องการ \และที่สำคัญก็พลอยขัดแย้งต่อวิถีทางแห่งศาสนธรรมอันแท้จริงโดยสิ้นเชิง    มิได้มีความหมายส่วนใดของวิถีชีวิตระบบเจ้าขุนมูลนายในพระสงฆ์ที่สอดคล้อง หรือสนองต่อวิถีทางที่องค์ บรมศาสดา หรือเหล่าพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมาแต่เดิมเลยแม้แต่นิดเดียว เพราะเส้นทางของระบบสงฆ์แบบเจ้าขุนมูลนายนี้ แท้ที่จริงก็คือราชการ   เป็นเส้นทางฝ่ายโลกมิใช่ทางธรรมคือ มรรค ผล และนิพาน อันเป็นเป้าหมายที่แท้จริงเลย

 

3.2        ระบบตำแหน่ง ตั้งแต่ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาส - รองเจ้าอาวาส - เจ้าอาวาส - รองเจ้าคณะตำบล - เจ้าคณะตำบล - รองเจ้าคณะอำเภอ - เจ้าคณะอำเภอ - รองเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะจังหวัด - รองเจ้าคณะภาค - เจ้าคณะภาค- รองเจ้าคณะหนใหญ่ เจ้าคณะหน       ใหญ่ และ - สกลมหาสังฆปริณายกประชาชนไม่เข้าใจว่า ตำแหน่งเหล่านี้ ที่มีเป็นขั้น ๆ     เป็น ชั้น ๆ โดยมีความสัมพันธ์กับระบบยศพระหรือสมณศักดิ์ ของพระอย่างใกล้ชิดนั้น มาก   จนเกินไปอย่างไร             และระบบตำแหน่งเหล่านี้ได้ส่งผลเสียหายอย่างไร ต่อวงการสงฆ์ สากลบ้าง    และที่สำคัญก็คือการเข้าสู่ตำแหน่งและการออกจากตำแหน่งมิได้เป็นไป     อย่างถูกหลักการบริหาร หรือหลักการปกครอง ที่มีเป้าหมายที่ประสิทธิภาพ เป็น       ตำแหน่งผูกขาด เมื่อเข้าสู่ตำแหน่งแล้วก็เป็นไปตลอดชีวิต ซึ่งเป็นผลเสียหาย ทั้งต่อ         ประสิทธิผล และ ประสิทธิภาพทางการบริหารเอง ทั้งทางธรรมะโดยตรง เพราะระบบนี้ได้    กลายเป็นบ่อเกิดที่มา แห่งการมักใหญ่ใฝ่สูงในทางที่ไม่ชอบธรรม เป็นที่มาแห่งการดิ้นรนเพื่อเข้าสู่อำนาจโดยไม่ชอบธรรม และเป็นบ่อเกิดแห่งความแตกสามัคคีธรรมในหมู่สงฆ์           เป็นเครื่องบั่นรอนจริยธรรมในหมู่สงฆ์ ให้ค่อยหยาบกระด้างขึ้น

 

และเป็นผลร้ายต่อ     อุปนิสัยที่เกื้อกูลต่อระบอบประชาธิปไตยโดยตรง ดังนี้

 

3.2.1     ระบบเจ้าขุนมูลนาย เป็นระบบที่สังคมโลกประนามว่าล้าหลัง ไม่ทันสมัย ไม่ถูกหลักสากลประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนานาประเทศได้ต่อต้าน และเลิกล้มไปหมดแทบทั่วโลกแล้ว แต่คณะสงฆ์ไทยยังคงใช่ ยังคงเป็นระบบนี้อยู่ จึงเป็นระบบที่สร้างแนวความคิดเดิม ๆ ที่ล้าหลัง      คือ        เจ้ากับทาส นายกับข้า ศักดินาสงฆ์อยู่ต่อไป ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศที่ล้วนอยู่ใต้การปกครองของคณะสงฆ์ ซึ่งเคยชินกับระบบนี้มานาน และแม้ฝ่ายราชอาณาจักรจะละเลิกไปแล้ว แต่ฝ่ายศาสนจักรยังคงพาถอยหลังย้อนยุคต่อไปอีก จึงมีผลในการสร้างพื้นฐานวัฒนธรรมสังคมที่ล้าหลังอยู่ต่อไป ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบอบใหม่ คือ ประชาธิปไตยยิ่งขึ้น เพราะระบบเจ้าขุนมูลนาย มิได้สร้างคนให้มีพัฒนาการทางความคิด แต่สร้างคนให้มีลักษณะนิสัยพินินอบพิเทา เป็นทาสความคิดผู้อื่นคอยรับความคิดของชนชั้นเหนือกว่า ทำให้เป็นสังคมที่ตื้นตันทาง ปัญญาความคิด ให้เป็นสังคมผู้ตาม ผู้นิยมยกย่องความเป็นผู้ตาม ขาดความกระตือรือร้นมักรอคอยการชักนำ หรือคำสั่ง มักคล้อยไปในทางประนีประนอมอย่างไร้เหตุผล ตามที่มีผลงานการวิจัยของนักวิชาการศาสนาชาวตะวันตกยืนยันเสริมเพิ่มเติมไว้ โดยเรียก วัฒนธรรมชนิดนี้ว่า Subbordinate คือ      "พร้อมที่จะ ถูกจูง" หรือ พินอบพิเทา มีความเป็นผู้ตามสูง ซึ่งลักษณะอุปนิสัยเช่นนี้เป็นพื้นฐานวัฒนธรรมที่เอื้อโดยตรงต่อระบบเผด็จการราชาธิปไตย หรือ เจ้าขุนมูลนายดังกล่าวนี้ หากแต่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับระบอบประชาธิปไตยที่มีแนวความคิดใหม่ คือประชาชนปกครองตนเอง ด้วยความคิดสติปัญญาตนเอง จึงไม่อาจส่งเสริมสังคมให้เป็นประชาธิปไตยได้

 

3.2.2     ประชาชนไม่เข้าใจว่า ระบบเจ้าขุนมูลนายในคณะสงฆ์ เป็นระบบที่ไม่ถูกวิถีทางนักบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้า เพราะวิถีเช่นนี้เป็นวิถีโลกโดยแท้จริง เมื่อระบบสงฆ์เป็นไปในทางโลกเช่นนี้ หน่วยย่อย ๆ ในระบบใหญ่ก็จะคล้อยตามไป พยายามแสวงหาอำนาจมากขึ้น ๆ  ก็จะพาหมู่เหล่าจำเริญรอยไปในทิศทางโลกธรรม 4 มากขึ้น ๆ จนกระแสทั้งหมดทั้ง มวลของสงฆ์ถูกครอบไว้ด้วยระบบนี้ ก็เท่ากับการทำลายศาสนาทั้งหมดทั้งสิ้น เพราะระบบนี้พาสานุศิษย์พระพุทธองค์ย้อนทิศทางแห่งมรรคผล นั่นเอง

 

3.2.3     ประชาชนไม่เข้าใจว่า เดิมระบบเจ้าขุนมูลนายยังเป้ฯเพียงระบบเทียม ๆ ที่ค่อนข้างไร้ความหมายในหมู่สงฆ์ ถึงโลกมีกษัตริย์เป็นต้น จะพยายามยัดเยียดให้ ก็ได้ปรากฏดุจดังสภาวะที่ไร้ค่า         และมีตำแหน่ง ยศฐาบรรดาศักดิ์ในวงการสงฆ์อยู่น้อยมาก แต่บัดนี้ ระบบเจ้าขุนมูลนายสงฆ์ได้ปกแผ่ไปทั่วประเทศ ไม่ละเว้น แม้ฝ่ายสงฆ์ ที่ได้ชื่อว่ามุ่งทางธรรมปฏิบัติสายเดียว ย่างเด็ดเดี่ยว  คือ ฝ่ายอรัญวาสี เป็นต้นนั้น ก็ได้ทำให้สังคมสงฆ์เป็นสังคมระบบเจ้าขุนมูลนายไปทั้งสิ้น วงการสงฆ์บัดนี้ จึงกลายเป็นชนชั้นซึ่งอาจสามารถแบ่งออกได้ เป็น 2 ชั้นวรรณ คือสงฆ์มีบรรดาศักดิ์ เป็นเจ้านาย กับ สงฆ์ชั้นธรรมดา หรือ ทาส   ชั้นเจ้าขุนมูลนายก็คือ พระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์เป็นพระครู เป็นเจ้าคณะฯ ขึ้นไป   ส่วนชั้นทาสก็คือ พระสงฆ์ระดับเจ้านายคอยรับใช้ คอยพินอบพิเทา คอยประจบประแจง เต็มรูปแบบระบบเจ้าขุนมูลนายของฝ่ายราชอาณาจักรดั้งเดิมนั่นเอง   มิได้มีอิสระในการปฏิบัติธรรม    ตามเหตุผลแห่งวิถีธรรมเหมือนแต่ก่อน          เพราะแม้จะเดินทางธุดงค์ไป แห่งหนใดก็ไม่สามารถ      หลีกเลี่ยงพระเจ้าขุนมูลนาย ที่ล้วนมีมาดเป็น "เจ้านาย" หรือ "เจ้าคนนายคน" ไปได้พ้น

 

3.2.4     พระสงฆ์ที่เข้าบวชในศาสนาปัจจุบันนี้ ส่วนมากที่สุดมาจากครอบครัวชาวนาชาวไร่ หรือกรรมกรที่ยากจน เมื่อเข้ามาบวชนานเข้า ก็ได้พบช่องทาง โดยบังเอิญบ้าง หรือโดยได้มี การศึกษามาล่วงหน้าบ้างว่า วิถีทางนักบวชปัจจุบันนี้สามารถพาตัวไปสู่เป้าหมายสำคัญที่     ใฝ่ฝันได้ คือ การเป็น "เจ้าคนนายคน" จึงพยายามทุกวิถีทางที่จะให้ได้มาซึ่งจุดหมายปลายทางดังกล่าว ฉะนั้น จึงเป็นการเข้าใจความหมายของการบวชคลาดเคลื่อนมาตั้งแต่ต้น และครั้นด้วยวิธีการใดก็แล้วแต่ เมื่อได้เข้ามาสู่ตำแหน่งแห่งอำนาจ แห่งความเป็นเจ้าขุนมูลนาย พระเหล่านี้ก็จะสามารถรับหรือซับซาบเอามา หรือท่าทางความเป็นเจ้าคนนายคนของตน อย่างรวดเร็วที่สุดและแน่นอน นั่นทำให้หลงไปในวิถีทางแห่งอำนาจเสียตั้งแต่ต้นแล้ว การปกครองประชาชนภายใต้พระที่เมาหลงอำนาจเช่นนี้ จึงกลายเป็นบ่อเกิดแห่งวัฒนธรรม passiveของประชาชนไปดังกล่าว และซึ่งเป็นต้นตอที่ขัดขวาง ค้านครรลองแห่งการก้าวหน้าพัฒนาการประชาธิปไตยไทยทั้งชาติ และผลเสียหายที่เกิดขึ้นในวงการสงฆ์ทั้งปวงในบัดนี้ร้ายแรงยิ่งนัก เพราะในวงการนักบวชมิได้มีวิถีทางที่จำเริญธรรมะเหมือนแต่ก่อน หากแต่ได้กลับมาจำเริญรอยของโลก มุ่งต่อยศฐาบรรดาศักดิ์ มุ่งต่อความเป็นเจ้าคนนายคนทางลัด อันกลับกลายมาเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระสงฆ์รูปหนึ่งตาม ๆ กันไปเช่นนี้ทั้งหมดทั้งระบบทั้งสิ้น

 

3.2.5     ประชาชนทั่วไป ระดับชั้นต่าง ๆ เช่นในหมู่บ้านก็นับถือพระครูสัญญาบัตรว่าเป็นเจ้า เป็นนาย ตัวเอง เป็นข้า เป็นทาส อย่างเขลาอย่างซื่อ โยแท้จริง ในระดับจังหวัด ประชาชนใน  จังหวัด   ก็นับถือเชื่อฟังพระมีสมณศักดิ์สูงขึ้นมาอีก เช่นเป็นถึงพระราชาคณะ ชั้นราชบ้าง ชั้น เทพบ้าง ว่าเป็นเจ้าเป็นนาย และตนก็ปฏิบัติตนเป็นข้าเป็นทาสอย่างเขลาอย่างซื่อวื่อ   คนในกรุงก็เชื่อฟังพระระดับสูงไปกว่า เช่นเป็นพระชั้นธรรม ชั้นสมเด็จ ว่าเป็นเจ้าเป็นนาย และตนเองก็ปฏิบัติตนเป็นข้าเป็นทาส อย่างเขลาอย่างซื่อซื่อเช่นนี้ ก็ได้เห็นอยู่แล้วว่า มีลักษณะแห่งการเสริมการสร้างวัฒนธรรมที่เป็น Passive อย่างที่ว่าอย่างไร ล้าหลังเพียงไหน เป็นการตอกย้ำเข้าไปในวัฒนธรรม Subordinate แน่นแฟ้นขึ้น และนั่น ก็คือความหมายที่ว่าประชาชนทั้งปวง ได้รับการปลูกฝัง ตอกย้ำ ไปในวิถีทางที่ล้าหลังอย่างสุด ๆ จนกลายเป็นอุปสรรคในการปกครองตนเองตามวิถีทางประชาธิปไตย อุปมาดั่งทาสที่ปล่อยไม่ยอมไป เพราะถูกอบรมมาให้ถนัดในการเป็นผู้ตาม คอยแต่พินอบพิเทา รับคำสั่ง ไร้การฝึกฝนทางสติปัญญา ไร้หัวคิด เมื่อปล่อยแล้วก็ไม่รู้ทาง      ไม่สามารถ จะไปทำมาหาเลี้ยงชีพ ด้วยความคิดสติปัญญาตนเองได้

 

 

 

4.         ผลที่กระทบต่อปัญหาประชาธิปไตยไทยในระยะปัจจุบัน

 

4.1  การตื่นตัวไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ด้วยความคิดเป็นอิสระของตนเองมีน้อย ส่วนมากหรือจังหวัดที่มี เปอร์เซ็นการไปใช้สิทธิ์สูง ล้วนมีผลมาจากการจูงใจ หรือเกิดจากการที่มีผู้นำ ผู้ออกคำสั่งผู้ชักจูง ซึ่งล้วนบ่งบอกว่าเป็นผลมาจากวัฒนธรรมระบบเจ้าขุนมูลนาย นั่นเอง โดยมีความเชื่อถือ และเชื่อฟัง เป็นสิ่งกำหนดพฤติกรรมของระบบ เจ้าขุนมูลนายนั้น

 

4.2        การใช้เงินในการเลือกตั้ง ก็ล้วนเป็นผลมาจากรบอบเก่า ๆ คือศักดินา หรือ เจ้าขุน   มูลนาย ข้าทาสซึ่งเป็นระบอบที่ทำให้คนชิน คุ้นกับหลักความกตัญญู ความซื่อตรง การไม่ปฏิเสธ หรือ Subordinate นั่นเอง มีความระแวงระวังโทษจากความบาปสูง และเข็ดหลาบกับโทษที่ลงแก่ผู้ทรยศคดโกงอย่างหนักและโหดเหี้ยม ฉะนั้น เมื่อมีผู้แจกเงิน หรือซื้อเสียง ประชาชนที่คุ้นกับระบบเก่า ๆ เช่นนี้ จึงมิได้มองไปไกลเกินกว่าจะเห็นอะไร ๆ โดยรอบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง     การอบรมสั่งสอนในระบบเก่า ที่มิได้ฝึกสร้างความคุ้นเคยกับการใช้ความคิด สติปัญญา เช่นตัวอย่าง แม้ในระบบการศึกษาของคณะสงฆ์ไทยทุกระบบในปัจจุบันนี้ ซึ่งล้วนเป็นระบบการ    ท่องจำไปล้วน      ๆ ทั้งสิ้น จึงมิได้ส่งเสริมให้เกิดการทำงานทางสติปัญญากันอย่างเป็นอุปนิสัย หรือวัฒนธรรมสำคัญที่อาจเอื้อให้มนุษย์พึ่งตนเองได้ อันเป็นหลักพื้นฐานวัฒนธรรมที่จำเป็น ไม่เฉพาะต่อระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเท่านั้น แต่จำเป็น ต่อการพัฒนาสติปัญญาทางธรรมะชั้นสูงโดยตรง

 

      4.3        การที่ได้ปรากฏชัดเจนแล้วบัดนี้ว่า คณะสงฆ์ไทย ได้มีบทบาทอันสำคัญยิ่งในการปกครองประเทศ ในระบบราชการสงฆ์อันเป็นรูปแบบทางโลก คือราชการบ้านเมือง โดยได้ก่อตั้งองค์กรทุกระดับชั้นขึ้นครอบครองพื้นที่ทั่วประเทศทุกตารางนิ้ว จึงมีอิทธิพลต่อระบบวัฒนธรรมของชาติทั้งสิ้นอย่างยิ่งใหญ่ แต่ด้วยมาตรการการปกครอง ที่สวนทางกันกับฝ่ายราชอาณาจักร เมื่อฝ่ายราชอาณาจักรและประชาชนทั้งปวงปรารถนาระบอบ    ประชาธิปไตย เพราะต้องการปลดปล่อยให้ประชาชนมีอิสรภาพ มีการปกครองตนเอง ให้ใช้  หัวคิดสติปัญญาตนเอง อย่างเต็มที่ หากแต่ฝ่ายศาสนจักรกลับดำเนินการปกครองย้อนยุคไปสู่ระบอบดั้งเดิม คือ เจ้าขุนมูลนาย หรือ ตามเนื้อแท้จริง คือราชาธิปไตยสงฆ์ อัน  เป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามกับฝ่ายราชอาณาจักร ผลจึงปรากฏออกมาอย่างสับสน   และผิดหวังอย่างที่เป็นปัญหาสำคัญของชาติิบ้านเมืองอยู่ในเวลานี้

 

 

5          สรุปประเด็นสำคัญ

 

            ระบบประชาธิปไตย ต้องมีพื้นฐานของประชาชนที่มีอิสระทางความคิด ปราศจากการ ครอบครองทางวัฒนธรรม subordinate หรือวัฒนธรรมเผด็จการประชาชน หรือวัฒนธรรมเจ้า  ขุนมูลนายดังกล่าว   แต่ประเทศไทยมิได้มองระบอบการปกครองอีกระบอบหนึ่งที่ซ้อนเข้ามาในระบอบการเมืองของชาติอย่างแน่นแฟ้น นั่นคือระบอบการปกครองของคณะสงฆ์ ที่เป็น ศักดินา หรือระบบเจ้าขุนมูลนายเดิมอยู่อย่างเต็มที่ ฉะนั้น แม้ฝ่ายบ้านเมืองจะทำการปฏิวัติระบอบเดิมไปแล้ว         ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่ง คือส่วนการปกครองฝ่ายราชอาณาจักรเท่านั้นระบบเดิมส่วนหนึ่งคือ เผด็จการเจ้าขุนมูลนาย หรือราชาธิปไตยสงฆ์ จึงยังคงครอบครองจิตสำนึกอันลึกซึ้งของประชาชนชาวไทยอยู่ต่อไป และนับวันจะทวีความเป็นเผด็จการเข้มข้นขึ้นไปเรื่อย ๆ อันเป็นการสวนทางกับ ฝ่ายราชอาณาจักรปัจจุบันอย่างชัดแจ้ง และเป็นไปอย่างไม่ชอบด้วยธรรมะหลักใดใดทั้งทางโลกและ ทางธรรมเอง     ฉะนั้น แม้ว่าฝ่ายราชอาณาจักรจะคิดปฏิวัติ ปฏิรูป หรือเปลี่ยนแปลงมาตรการใดให้สอดคล้องหลักระบอบใหม่คือ ประชาธิปไตย เพียงใดก็ตาม ผลอันน่าพอใจก็จะหาเกิดเป็นรูปธรรมขึ้นได้ไม่ จนกว่าจะหันมามองระบบเผด็จการ หรือ ศักดินาเจ้าขุนมูลนายในคณะสงฆ์ที่ยังคงนำประชาชนสวนทางกับระบอบใหม่อยู่ทุกวันนี้การปฏิรูปการเมือง จึงต้องหมายถึง 2 ทางพร้อมกันไป อย่างขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้ คือ การเมืองและวัฒนธรรมจะต้องปฏิรูปไม่พร้อมกันในคราวเดียวกัน

 

            อนึ่ง สถานการณ์โลกทั้งมวลปัจจุบันนี้ เริ่มบีบบังคับให้สังคมโลก หันมามองทางออกด้านศาสนา   หรือ Spiritual culture มากขึ้น โลกได้มาถึงทางตันในการพัฒนาการ ทาง      วิทยาศาสตร์ เพราะผลการพัฒนาการทางวัตถุได้ก่อพิษร้ายขึ้นทั่วโลก จนเกิดกระแส            ความคาดการ สิ่งที่เรียกว่า a massive transformation in human society" ขึ้นใน   ศตวรรษที่ 21 นี้ ศาสนาพุทธจำเป็นต้องเตรียมรับกระแสการเรียกร้องเช่นนี้ และควรเป็น      ศูนย์การนำโลกทางวัฒนธรรมดังกล่าว เนื่องจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ได้เป็นที่ยอมรับโดยเฉพาะชนชั้นผู้นำโลกทางวิทยาศาสตร์มาก ยิ่งขึ้น ๆ จึงพึงเป็นความจำเป็นอย่างพิเศษอีกส่วนหนึ่ง ที่สังคมพุทธไทยจะต้องรีบเร่งปฏิวัติ  องค์การสงฆ์ ให้กลับคืนมาสู่ภาระหน้าที่ และ ความรับผิดชอบที่เหมาะสมแก่การต้อนรับโลกยุคใหม่ ให้สามารถเป็นพื้นฐานอันมั่นคงสมบูรณ์ พอรองรับระธรรมอันสูงสุดที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์สูงสุดแด่มนุษย์ชาติยุคสมัยนี้ได้

 

 

6.         แนวทางแก้ไข

 

6.1        ปฏิวัติความคิดทางการศาสนาพุทธไทยเสียใหม่ ให้เป็นศาสนาเพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา ยิ่งกว่าการเน้นบุญทานการกุศล ให้เน้นวิชาการมากกว่าวัตถุ เน้นคุณธรรมมากกว่าโลกธรรม     เน้นชาตินี้ยิ่งกว่าชาติหน้า และจะต้องดำเนินการอย่างเป็นแผนการระยะยาว เพราะจะต้องเป็นงานปฏิวัติเพื่อรับกับสภาวะแวดล้อมโลกยุคใหม่ได้ด้วย

 

6.2        ดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนเพื่อลดระบบเจ้าขุนมูลนายในคณะสงฆ์ลงไป

 

6.2.1     ลดตำแหน่งทางการปกครองลง ให้เหลือน้อยที่สุด ไปจนกระทั่งไม่มีเลย ในระยะปัจจุบัน น่าจะสามารถลดตำแหน่งเจ้าคณะหนใหญ่ และเจ้าคณะภาคได้โดยดำเนินการแก้ไขกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2506) ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ เป็นต้น

 

6.2.2     เพิ่มความสำคัญให้ระบบอุปัชฌาย์ไปจนถึงที่สุด เอาใจใส่ในระบบนี้ให้รอบด้าน ต่อไปควรแก้ไขพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ให้ความสำคัญต่อระบบอุปัชฌาย์อย่างเต็มที่ โดยพยายามนำมาใช้ทดแทนระบบทั้งหมดของสงฆ์ที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ อันถูกต้องตามประเพณีการปกครอง แห่งพระบรมศาสดาจริง

 

6.2.3     กำหนดอายุการดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ทุกตำแหน่ง นับตั้งแต่ตำแหน่งเจ้าอาวาส ไปจนถึงสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก เช่นควรกำหนดให้มี "เกษียณอายุราชการสงฆ์"    ระดับล่างเมื่อ 55 ปี ระดับสูงเมื่อ 65 ปี เป็นต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์โดยตรงสำหรับพระสงฆ์เอง เพื่อการแสวงโอกาสในการศึกษาธรรมชั้นสูงได้ เพราะเหตุทำนิวรณ์(ความกังวลใจ) ทั้งหลาย ให้สิ้นไปได้โดยชอบ

 

6.2.4     ต้องกำหนดสมัยของการอยู่ในตำแหน่ง 2 สมัยเท่านั้น จึงจะสอดคล้องกับหลักการใหม่ที่ว่านี้ ในกรณีที่มีการผลัดกันเข้าดำรงตำแหน่งเป็นครั้ง ๆ

 

6.3        ส่งเสริมสงฆ์ต่างนิการหรือนานาสังวาส ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ คือปฏิบัติตามหลักธรรมวินัยที่แท้จริง และโดยตรงต่อพระธรรมวินัย เพื่อให้เป็นทางเลือกของชาวพุทธ ไม่ให้ต้องผูกมัดอยู่   กับระบบสงฆ์ไทย ที่มีทิศทางอันไม่สอดคล้องหลักพระพุทธศาสนา และเพื่อชดเชยหรือหลีกห่างไป   หรือพ้นจากการถูกครอบงำจากระบบเจ้าขุนมูลนายในคณะสงฆ์ไทยปัจจุบัน

 

6.4        ส่งเสริมสนับสนุน ยกย่อง เชิดชู พระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในทางที่ถูกต้องตามพรธรรม    วินัย       ไม่ควรส่งเสริมยกย่องเชิดชูในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น ให้ยศฐาบรรดาศักดิ์ต่าง ๆ อัน   เป็นวิถีทางอย่างโลก ๆ ใฝ่อย่างโลก ๆ อันเป็นการไม่ชอบไม่ควร เพราะการส่งเสริม  อย่างนั้น ไม่ถูกธรรมเท่ากับทำลายศาสนาโดยเขลา มีบาปมาก หลักการนี้ควรจะศึกษา จาก อโศกมหาราชยุคเฟื่องฟูแห่งพระพุทธศาสนาในอินเดียและทั่วโลก เพราะชี้แนว  ทางการบำรุงพระพุทธศาสนาที่เป็นแบบอย่างของคนรุ่นหลังที่ถูกธรรม ถูกหลักมรรคผล       นิพพานอันเป็นวิถีทางพัฒนาการศาสนาโดยแท้จริง

 

6.5        ส่งเสริมสถานภาพของแม่ชีไทยให้เป็นสถานะ ที่อาจสามารถเล่าเรียนศึกษาและปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาได้อย่างเต็มที่ โดยถูกต้อง หรือไม่ขัดแย้งพระธรรมวินัย เพื่อให้โอกาสแด่สตรี   ในยุคที่มนุษยชนหญิงชาย ย่อมเสมอกันด้วยสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน

 

6.6        ในขั้นการหวังผลอันอุดมสมบูรณ์ ต้องดำเนินขั้นตอนเพื่อปฏิวัติระบบสงฆ์ทั้งระบบ ให้กลับทิศทางใหม่ให้ถูกต้อง ในระยะปัจจุบัน อาจทำได้ด้วยการปฏิวัติความคิดเก่าบางประการ เช่นแนวการสอน การเทศนาธรรม การเรียนการศึกษา รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติธรรม ควรเน้นการสอนระดับสติปัญญาให้มาก เน้นการสอนการฝึก ให้คนคิดเป็น รู้จักการสร้างระบบความคิดที่ถูกต้อง  การสอนศีลธรรมควรให้ถูกต้องตามสถานการณ์ ตามยุคสมัยโยชอบธรรม โดยมีสติปัญญากำกับเรื่องศีลธรรมไปตลอด เพราะเหตุผลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในโลกยุคใหม่ ที่จำเป็นต้องอาศัยสติปัญญามาทดแทนศีลธรรมมากขึ้น

 

6.7        ในรัฐธรรมนูญใหม่ ควรมีมาตราที่กำหนดกรอบความคิดในการปฏิวัติระบบสงฆ์เอาไว้ โดยให้  ระบุข้อความ (ในหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา 69)

 

                  

 

                       

คือถูกแบบแผนที่องค์พระบรมศาสดา พาประพฤติปฏิบัติ(สละมงกุฎกษัตริย์ ยศถาบรรดาศักดิ์  เสียแล้วออกบวช ซึ่งสวนทางกับการปฏิบัติของสงฆ์ยุคนี้ เพราะสงฆ์ยุคนี้ต่างบวชเพื่อให้ได้มี ได้เป็นได้เอา ได้แสวงหาลาภยศ และตำแหน่งจนกลายเป็นระบบอัตโนมัติไปทั้งหมด)

 

6.8        แก้ไขปรับปรุง หรือยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับการคณะสงฆ์ขึ้นใหม่โดยด่วน และหลักการในกฎหมายคณะสงฆ์ใหม่ ควรจะต้องเป็นหลักการใหม่จากหลักการเดิมตามพระราชบัญญัติคณะ สงฆ์ทั้งสิ้น โดยนัยที่ได้เสนอแนะมาข้างต้น เพื่อให้สามารถสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประเทศในส่วนรวมได้ ซึ่งจะเป็นหลักการอันเดียวกับการแก้ไขความผิดพลาดไม่ถูกธรรมของการปกครองคณะสงฆ์ในปัจจุบัน(ทำเหมือนกับการร่าง    รัฐธรรมนูญใหม่ขณะนนี้ ซึ่งจะต้องยกเลิกกฎหมายเดิมเสียทั้งหมด ทำขึ้นใหม่ล้วน ๆ)

 

6.9        ควรมีคณะกรรมการแห่งชาติถาวร มีหน้าที่เอาใจใส่ และดำเนินการปฏิวัติระบบการปกครองคณะสงฆ์ไทย เป็นการต่อเนื่องถาวร เพราะระบบสงฆ์มีความสลับซับซ้อน และมีความลึกซึ้ง    ละเอียดอ่อน ที่คาบเกี่ยวไปถึงข้อปัญหาทางธรรมะทุกระดับในพระพุทธศาสนา ทั้งคาบ เกี่ยวกับ  ตัวบุคคลในวงการศาสนาเองที่มีบุคลิกภาพพิเศษแตกต่างจากคนทั่วไป ทั้งโดยนัยแห่ง + และนัยแห่ง -   เช่นทิฏฐิมานะอันมิใช่ธรรมดาในหมู่สงฆ์ อำนาจอันมิใช่ธรรมดาในหมู่สงฆ์ เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษารวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลอย่างครบถ้วนและ  ต่อเนื่อง โดยให้มีการดำเนินการ หลายหลากวิธีการ เท่าที่มีความจำเป็นต้องให้ได้ข้อมูลมาปรกอบการพิจารณา และที่สำคัญควรจะต้องได้รับความสนับสนุนจากหลายฝ่าย       หลายองค์การ โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรเปิดโอกาสให้  ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น  อย่างหลายหลากกว้างขวางโดยตลอด จึงจะประสบ   ผลสำเร็จเป็นคุณานุคุณต่อชาติ ต่อ    ศาสนา และต่อมนุษยชาติทั้งปวงในโลกนี้

 

 

 

 

หิริ โอตตัปปะ

ผู้วิเคราะห์/เสนอ สสร.

5 ก.พ. 40

โปรดใช้นาม "หิริ โอตตัปปะ" แทน

พระพยับ ปญฺญาธโร (ปญฺญาธโรภิกฺขุ) โทร-โทรสาร (045) 622455

คุณพี่สนิท-คุณเสรี ทองตัน อุปถัมภ์การพิมพ์ ครั้งที่ 3

ผู้ใดจะอุปถัมภ์การพิมพ์ครั้งต่อไปนี้ โปรดแจ้งตามที่อยู่ข้างต้น

 

 

 

 

 

"รัฐพึงถือเป็นภาระหน้าที่ ที่จะต้องดูแลเอาใจใส่การปกครองคณะสงฆ์อย่างทั่วถึง จัด           ให้ดำเนินการรวบรวมข้อมูล ปัญหาต่าง ๆ ทางการคณะสงฆ์อย่างต่อเนื่องรัฐพึงส่งเสริมสนับสนุนให้การปกครองคณะสงฆ์มีความสอดคล้องและเอื้อต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยรัฐพึงส่งเสริมประชาชนให้เข้าใจ และเลื่อมศรัทธาการปกครองคณะสงฆ์แต่โดยทางที่สอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย ไม่ขัดแย้งพระธรรมวินัยและไม่ขัดแย้งพุทธประเพณีทางการปกครอง   รัฐพึงส่งเสริมประชาชนให้เข้าใจและเลื่อมใสศรัทธาในศาสนา ลัทธิ พิธีกรรมและประเพณีทางศาสนาอย่างมีเหตุผล และสอดคล้องหลักการทางวิทยาศาสตร์"

 

 

14.     “ปฏิรูปการเมือง : ปัญหาประชาธิปไตยประเด็นสำคัญที่ไม่มีผู้ใดพูดถึงเลย

           เสนอ สภา สสร. รัฐสภา รัฐบาล และพรรคการเมือง

 

 

1.         บทบรรณาธิการ 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
----- ***** ----- โปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate นี่คือเวบไซต์คู่ www.newworldbelieve.com กับ www.newworldbelieve.net เราให้เป็นเวบไซต์ที่เสนอธรรมะหรือ ความจริง หรือ ความคิดเห็นในเรื่องราวของชีวิต ตั้งใจให้ธัมมะเป็นทาน ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แด่คนทั้งหลาย ทั้งโลก ให้ได้รู้ความจริงของศาสนาต่าง ๆในโลกวันนี้ และได้รู้ศาสนาที่ประเสริฐเพียงศาสนาเดียวสำหรับโลกยุคใหม่ จักรวาลใหม่ เรามีผู้รู้ ผู้ตรัสรู้ ผู้วินิจฉัยสรรพธรรมสรรพวิชชา สรรพศาสน์ และสรรพศาสตร์ พอชี้ทางสู่โลกใหม่ ให้ความสุข ความสบายใจความมีชีวิตที่หลุดพ้นไปสู่โลกใหม่ เราได้อุทิศเนื้อที่ทั้งหมดเป็นเนื้อที่สำหรับธรรมะทั้งหมด ไม่มีการโฆษณาสินค้า มาแต่ต้น นับถึงวันนี้ร่วม 14 ปีแล้ว มาวันนี้ เราได้สร้างได้ทำเวบไซต์คู่นี้จนได้กลายเป็นแดนโลกแห่งความสว่างไสว เบิกบานใจ ไร้พิษภัย เป็นแดนประตูวิเศษ เปิดเข้าไปแล้ว เจริญดวงตาปัญญาละเอียดอ่อน เห็นแต่สิ่งที่น่าสบายใจ ที่ผสานความคิดจิตใจคนทั้งหลายด้วยไมตรีจิตมิตรภาพล้วน ๆ ไปสู่ความเป็นมิตรกันและกันล้วน ๆ วันนี้เวบไซต์นี้ ได้กลายเป็นโลกท่องเที่ยวอีกโลกหนึ่ง ที่กว้างใหญ่ไพศาล เข้าไปแล้วได้พบแต่สิ่งที่สบายใจมีความสุข ให้ความคิดสติปัญญา และได้พบเรื่องราวหลายหลากมากมาย ที่อาจจะท่องเที่ยวไปได้ตลอดชีวิต หรือท่านอาจจะอยากอยู่ณโลกนี้ไปชั่วนิรันดร ไม่กลับออกไปอีกก็ได้ เพียงแต่ท่านเข้าใจว่านี่เป็นแดนต้นเรื่องเป็นด่านข้ามจากแดนโลกเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง และซึ่งเป็นโลกหรือบ้านของท่านทั้งหลายได้เลยทีเดียว ซึ่งสำหรับคนต่างชาติ ต่างภาษาต่างศาสนา ได้โปรดใช้การแปลของ กูเกิล หรือ Google Translate แปลเป็นภาษาของท่านก่อน ที่เขาเพิ่งประสบความสำเร็จการแปลให้ได้แทบทุกภาษาในโลกมนุษย์นี้แล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้เอง นั้นแหละเท่ากับท่านจะเป็นที่ไหนของโลกก็ตาม ทั้งหมดโลกประมาณ 7.6 พันล้านคนวันนี้ สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในโลกของเราได้เลย เราไม่ได้นำท่านไปเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่การนำไปสู่ความจริง ความรู้เรื่องชีวิตใหม่ การอุบัติใหม่สู่ภาวะอริยบุคคล ไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปพ้นจากทุกข์ ทั้งหลายไปสู่โลกแห่งความสุขแท้นิรันดร คือโลกนิพพานขององค์บรมศาสดาพุทธศาสนา พระบรมครูพุทธะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ท่านโปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate ท่านก็จะเข้าสู่โลกนี้ได้ทันทีพร้อมกับคน7.6พันล้านคนทั้งโลกนี้. ----- ***** ----- • หมายเหตุ เอาขึ้นเวบไซต์ แทนของเดิม ทั้ง 2 เวบ .net .com วันที่ 21 เม.ย. 2565 เวลา 07.00 น. -----*****-----