ReadyPlanet.com
dot
dot dot
bulletBUDDHISM TO THE NEW WORLD ERA
bullet1 Thai-ไทย
bullet2.English-อังกฤษ
bullet3.China-จีน
bullet4.Hindi-อินเดีย
bullet5.Russia-รัสเซีย
bullet6.Arab-อาหรับ
bullet7.Indonesia-อินโดนีเซีย
bullet8.Japan-ญี่ปุ่น
bullet9.Italy-อิตาลี
bullet10.France-ฝรั่งเศส
bullet11.Germany-เยอรมัน
bullet12.Africa-อาฟริกา
bullet13.Azerbaijan-อาเซอร์ไบจัน
bullet14.Bosnian-บอสเนีย
bullet15.Cambodia-เขมร
bullet16.Finland-ฟินแลนด์
bullet17.Greek-กรีก
bullet18.Hebrew-ฮีบรู
bullet19.Hungary-ฮังการี
bullet20.Iceland-ไอซ์แลนด์
bullet21.Ireland-ไอร์แลนด์
bullet22.Java-ชวา
bullet23.Korea-เกาหลี
bullet24.Latin-ละติน
bullet25.Loa-ลาว
bullet26.Finland-ฟินแลนด์
bullet27.Malaysia-มาเลย์
bullet28.Mongolia-มองโกเลีย
bullet29.Nepal-เนปาล
bullet30.Norway-นอรเวย์
bullet31.persian-เปอร์เซีย
bullet32.โปแลนด์-Poland
bullet33.Portugal- โปตุเกตุ
bullet34.Romania-โรมาเนีย
bullet35.Serbian-เซอร์เบีย
bullet36.Spain-สเปน
bullet37.Srilanga-สิงหล,ศรีลังกา
bullet38.Sweden-สวีเดน
bullet39.Tamil-ทมิฬ
bullet40.Turkey-ตุรกี
bullet41.Ukrain-ยูเครน
bullet42.Uzbekistan-อุสเบกิสถาน
bullet43.Vietnam-เวียดนาม
bullet44.Mynma-พม่า
bullet45.Galicia กาลิเซียน
bullet46.Kazakh คาซัค
bullet47.Kurdish เคิร์ด
bullet48. Croatian โครเอเซีย
bullet49.Czech เช็ก
bullet50.Samoa ซามัว
bullet51.Nederlands ดัตช์
bullet52 Turkmen เติร์กเมน
bullet53.PunJabi ปัญจาบ
bullet54.Hmong ม้ง
bullet55.Macedonian มาซิโดเนีย
bullet56.Malagasy มาลากาซี
bullet57.Latvian ลัตเวีย
bullet58.Lithuanian ลิทัวเนีย
bullet59.Wales เวลล์
bullet60.Sloveniana สโลวัค
bullet61.Sindhi สินธี
bullet62.Estonia เอสโทเนีย
bullet63. Hawaiian ฮาวาย
bullet64.Philippines ฟิลิปปินส์
bullet65.Gongni-กงกนี
bullet66.Guarani-กวารานี
bullet67.Kanada-กันนาดา
bullet68.Gaelic Scots-เกลิกสกอต
bullet69.Crio-คริโอ
bullet70.Corsica-คอร์สิกา
bullet71.คาตาลัน
bullet72.Kinya Rwanda-คินยารวันดา
bullet73.Kirkish-คีร์กิช
bullet74.Gujarat-คุชราด
bullet75.Quesua-เคซัว
bullet76.Kurdish Kurmansi)-เคิร์ด(กุรมันซี)
bullet77.Kosa-โคซา
bullet78.Georgia-จอร์เจีย
bullet79.Chinese(Simplified)-จีน(ตัวย่อ)
bullet80.Chicheva-ชิเชวา
bullet81.Sona-โซนา
bullet82.Tsonga-ซองกา
bullet83.Cebuano-ซีบัวโน
bullet84.Shunda-ชุนดา
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet86.Sesotho-เซโซโท
bullet87.NorthernSaizotho-ไซโซโทเหนือ
bullet88.Somali-โซมาลี
bullet89.History-ประวัติศาสตร์
bullet90.Divehi-ดิเวฮิ
bullet91.Denmark-เดนมาร์ก
bullet92.Dogry-โดกรี
bullet93.Telugu-เตลูกู
bullet94.bis-ทวิ
bullet95.Tajik-ทาจิก
bullet96.Tatar-ทาทาร์
bullet97.Tigrinya-ทีกรินยา
bullet98.Check-เชค
bullet99.Mambara-มัมบารา
bullet100.Bulgaria-บัลแกเรีย
bullet101.Basque-บาสก์
bullet102.Bengal-เบงกอล
bullet103.Belarus-เบลารุส
bullet104.Pashto-พาชตู
bullet105.Fritian-ฟริเชียน
bullet106.Bhojpuri-โภชปุรี
bullet107.Manipur(Manifuri)-มณีปุระ(มณิฟูรี)
bullet108.Maltese-มัลทีส
bullet109.Marathi-มาราฐี
bullet110.Malayalum-มาลายาลัม
bullet111.Micho-มิโช
bullet112.Maori-เมารี
bullet113.Maithili-ไมถิลี
bullet114.Yidsdish-ยิดดิช
bullet115.Euroba-ยูโรบา
bullet116.Lingala-ลิงกาลา
bullet118.Slovenia-สโลวีเนีย
bullet119.Swahili-สวาฮิลี
bullet120.Sanskrit-สันสกฤต
bullet121.history107-history107
bullet122.Amharic-อัมฮาริก
bullet123.Assam-อัสสัม
bullet124.Armenia-อาร์เมเนีย
bullet125.Igbo-อิกโบ
bullet126.History115-ประวัติ 115
bullet127.history117-ประวัติ117
bullet128.Ilogano-อีโลกาโน
bullet129.Eve-อีเว
bullet130.Uighur-อุยกูร์
bullet131.Uradu-อูรดู
bullet132.Esperanto-เอสเปอแรนโต
bullet133.Albania-แอลเบเนีย
bullet134.Odia(Oriya)-โอเดีย(โอริยา)
bullet135.Oromo-โอโรโม
bullet136.Omara-โอมารา
bullet137.Huasha-ฮัวซา
bullet138.Haitian Creole-เฮติครีโอล
bulletคำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรแปล เช้า-เย็น
bulletChart Showing the Process
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี พ.ศ.2540 - 2566
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 1
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 2
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี บุคคลที่ 1 - 188 ปัจจุบัน
bulletหนังสือพิมพ์ดี
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 1
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 2
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 3
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 4
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 5
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 6
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 7
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 8
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 9
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 10
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 11
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 12
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 13
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 14
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 15
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 16
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 17
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 18
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 19
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 20
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 21
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 22
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 23
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 24
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 25
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 26
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 27
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 28
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 29
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 30
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 31
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 32
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 33
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 34
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 35
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 36
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 37
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 38
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 39
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 40
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 41
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 42
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 43
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 44
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 45
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 46
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 47
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 48
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 49
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 50
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 51
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 52
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 54
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 55
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 56
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 57
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 58
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 59
bulletTo The World
bulletENGLISH
bulletUSA
bulletChina
bulletIndia
bullet Mynmar
bullet Cambodia
bullet Loas
bulletSri Lanka
bulletMalaysia
bulletKorea
bulletA Sharp Turn of Believes : Iresearch Iwrite Iread
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 1
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 2
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 3
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 4
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 5
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 6
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 7
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 8
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 9
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 10
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 11
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 12
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 13
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 14
bulletMystery Report 15
bulletMystery Report 16
bulletMystery Report 17
bulletMystery Report 18
bulletMystery Report 19
bulletMystery Report 20
bulletMystery Report 21
bulletMystery Report 22
bulletMystery Report 23
bulletMystery Report 24
bulletMystery World Report 25
bulletศึกษาโลกลี้ลับ 26
bulletเฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว วิเคราะห์ทุกปัญหาในโลกมนุษย์ด้วยสติปัญญาและเหตุผลวิทยาศาสตร์จากนสพ.ดี
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2536
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2537
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2538
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2539
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2540
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2541
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2542
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2543-2545
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2545-2549
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2549-2550
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2550-ส.ค.2551
bulletเฝ้าดูฯ ส.ค.-ก.ย.2551
bulletเฝ้าดูฯ ก.ย.2551- ธ.ค. 2551
bulletเฝ้าดูฯสำนวนพัชรา กอปรทศธรรม
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 16-27
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 29
bulletบทความใหม่ เม.ย.-พ.ค.2552
bulletพุทธธรรมเพื่อทางดับทุกข์
bulletทฤษฎีการดับทุกข์ทางจิต วิปัสสนากรรมฐานโดยการทำงาน(สำนวนปรับปรุงใหม่)
bulletประวัติพัชรา กอปรทศธรรม
bulletประวัติการต่อสู้เพื่อการดับทุกข์ ของพัชรา กอปรทศธรรม
bulletอัลบั้มรูป history
bulletนิทานธรรมะประยุกต์ มานุสสาสุระสงคราม 4 ภาค และอื่น ๆ
bulletอัลบั้มรูป ภาพในอดีตและชีวประวัติศาสตร์ที่สวยงาม
bulletจากเวบบอร์ด พูดกันไม่รู้เรื่อง ประชาธิปไตยล้าหลัง
bulletศาสนาสากล การวิเคราะห์ความหมาย
bulletปลอบใจ
dot
รวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์ แนวปฏิรูปคณะสงฆ์อยู่ในบทวิเคราะห์นี้แล้ว
dot
bulletรวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์
dot
สากลจักรวาล สากลศาสนา แนวคิดศาสนาสำหรับคนยุคใหม่ ผู้ก้าวผิดทางไปสู่สิ่งไร้สาระโดยไม่รู้ตัว
dot
bulletสากล...ศาสนา 1
bulletสากล...ศาสนา 2
bulletสากล...ศาสนา 3
bulletสากล...ศาสนา 4
bulletสากล...ศาสนา 5
bulletสากล...ศาสนา 6
bulletสากล...ศาสนา 7
bulletสากล...ศาสนา 9
bulletสากล...ศาสนา 8
bulletสากล...ศาสนา 10
bulletสากล...ศาสนา 11
bulletสากล...ศาสนา 12
bulletสากล...ศาสนา 13
bulletสากล...ศาสนา 14
bulletสากล...ศาสนา 16
dot
ส่วนข้อมูลสำคัญเพื่อการวิจัยการเมืองไทยยุค คมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
dot
bulletข้อมูลสำคัญยุคคมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่1/26ส.ค.2551
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่2/27ส.ค.2551
bulletใบปลิว อีเมล์ ในหลวงทรงร้องไห้
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 1
bulletในหลวงเพิ่งทราบข่าวฆ่าประชาชน10เมย.53ทรงร้องไห้
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
dot
รวมข่าวม็อบการเมืองสนธิ-จำลอง-ปชป.มิ.ย.51-เม.ย.52 นสพ.
dot
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 2
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 3
bulletรวมข่าวม็อบ30มิ.ย.51-23มี.ค.52
bulletเลือดศรีสะเกษบันทึกเรื่องราวรอบด้านเกี่ยวกับเขาพระวิหาร
bulletรายงานการโฆษณาชวนเชื่อในประเทศไทยที่ล้มล้างรัฐบาลทักษิณ
bulletหนังสือพิมพ์ดี ของฟรีให้เปล่ามา20ปีแล้วทั้งเอกสารและอินเทอเนท
bulletหนังสือพิมพ์ดี ( อินเทอเนต ) เล่ม 1 - 44 - ล่าสุด
bulletหน้าที่เก็บไว้
bulletมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร)
bulletวัดมหาพุทธาราม ศรีสะเกษ บันทึกเหตุการณ์
bulletสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดศรีสะเกษแห่งที่ 1
bulletเกี่ยวกับเวบไซต์ของเรา เราทำเพื่อปัญญาชนโดยแท้
bulletรวมกระทู้เด็ดจากกระดานถามตอบ
bulletคาถาอาคมไสยศาสตร์
bulletกวีนิพนธ์ใหม่
bulletศูนย์ปฏิญญาณละเลิกอบายมุข บัญชีที่ 1- 4


รวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์

 0 ประมวลบทวิเคราะห์กฎหมายคณะสงฆ์ปัจจุบัน

โดย พระพยับ ปญฺญาธโร

อดีตเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ

0

00

1          ความปรารภเรื่องกฎหมายคณะสงฆ์ปัจจุบัน

2          บทบรรณาธิการเสนอแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายคณะสงฆ์

3          ข้อเสนอในการสำรวจประชามติแก้ไขพรบ.คณะสงฆ์ของกรมการศาสนา

4          บทวิเคราะห์ร่างพ.ร.บ.คณะสงฆ์ฉบับใหม่ของกระทรวงศึกษาธิการ

5          กม.กับการปฏิรูประบบสงฆ์ : จะปฏิรูปการปกครองสงฆ์ไปทำไม?

6          บทวิเคราะห์ร่างพ.ร.บ.คณะสงฆ์ฉบับใหม่ของมหาเถรสมาคม

7          บทบก.วิเคราะห์แนวคิด ม.มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยต่อพ.ร.บ.คณะสงฆ์

8          พ.ร.บ.คณะสงฆ์กับประชาพิจารณ์ แนวคิดหนึ่งของประชาชนชาวพุทธ

9          ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้อ่านนสพ.ดีต่อการปรับปรุงพ.ร.บ.คณะสงฆ์

10         แผนภูมิประกอบร่างพ.ร.บ.คณะสงฆ์ ตามข้อเสนอของนสพ.ดี

11         แผนผังอุทยานพุทธเกษตร ตามแนวคิดของนสพ.ดี

12         จดหมายเปิดผนึกถึงวุฒิสมาชิก กรณีการศึกษาของคณะสงฆ์

13         นสพ.ดีรายงานประชาพิจารณ์ร่างพ.ร.บ.คณะสงฆ์ฉบับใหม่ของสภาผู้แทนราษฎร

14         คำวิพากษ์และข้อเสนอแนะร่างยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของวุฒิสภา

15         วิเคราะห์ร่างกม.สงฆ์ฉบับล่าสุดของสภาผู้แทนราษฎร

 

 เพิ่มเติม (ตกหล่น)

16.  กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 23 (2541) ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ และ  

 

 

 

 

 00 ประมวลบทวิเคราะห์กฎหมายคณะสงฆ์ปัจจุบัน

โดย พระพยับ ปญฺญาธโร

อดีตเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ

 

 

 

 1.   ความปรารภเรื่องกฎหมายคณะสงฆ์ปัจจุบัน

บันทึก(ความคิดเดิมเริ่มแรก)และบทวิเคราะห์ข่าวในวงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดภาคอีสานการร่างกฎหมายคณะสงฆ์ฉบับใหม่ (แทรกหนังสือเตรียมเดินทางไกล)เรื่องราวของฆราวาส ที่มาเกี่ยวข้องหรือก้าวก่ายการปกครองของสงฆ์ก็คือเรื่องพระราชบัญญัติคณะสงฆ์นั่นเอง ปัจจุบันนี้ กฎหมายที่ฝ่ายบ้านเมืองออกมากำหนดกฎเกณฑ์ จัดระบบระเบียบต่าง ๆ ให้กับพระสงฆ์องค์เจ้า โดยมีข้อแม้ว่า ไม่ขัดต่อพระธรรมวินัยนั้น มีอยู่ดังนี้คือ

๑.      พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๕๐๕ กำหนดให้มี มหาเถรสมาคม ให้มีอำนาจหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ ให้มีอำนาจตรากฎมหาเถรสมาคมออกใช้บังคับได้ ให้มีเขตการปกครองและผู้ปกครองสงฆ์เป็นระดับชั้น นับแต่ตำบล อำเภอ จังหวัด และภาค กำหนดเรื่อง ไวยาวัจกร กำหนดเรื่อง นิคหกรรม กำหนดเรื่องเจ้าอาวาส พร้อมอำนาจและหน้าที่ของเจ้าอาวาส เรื่องให้ลาสิกขา เรื่องพระต้องคดีอาญา กำหนดเรื่องวัด เรื่องอุปัชฌาย์ เป็นต้น และที่สำคัญ การจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ มหาเถรสมาคม (ม.๒๐)

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับนี้ ออกในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ปี พ.ศ.๒๕๐๕ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์เดิมคือ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔ ทั้งหมด

๒.      พระราชบัญญัติคณะสงฆ์(ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ออกเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๕ สมัยนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี ผู้รับสนองพระบรม ราชโองการ            แก้ไขเรื่องตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ให้ถือระบบอาวุโสโดยสมณศักดิ์ เป็นหลัก ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้เสนอนามสมเด็จฯ ผู้มีอาวุโส สูงสุดโดยสมณศักดิ์ ขึ้นทูลเกล้าสถาปนาเป็น สมเด็จพระสังฆราช (จะได้ไม่ต้องเถียง กันยังไง)

ในเรื่องการปกครอง มีเพิ่มมาตรา ๑๕ ตรี ที่ใช้กับยันตระ อมโรนี่แหละครับ โดยมาตรานี้ ให้ออกกฎมหาเถรสมาคม ออกคำสั่ง (เช่นคำสั่งมหาเถร-สมาคม ที่ ๑/๒๕๓๘) บังคับใช้ได้

เรื่องนิคหกรรมก็ตรามาตรา ๒๗ ใหม่ ยกเลิกของเก่า เรื่องอื่น ๆ เรื่องวัด เรื่องเจ้าอาวาส

นี่แหละครับ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันใช้ พร้อมกัน ๒ ฉบับ ซึ่งในทัศนะของผมเห็นว่า พระราชบัญญัติเหล่านี้ ไร้ทิศทาง หรือหากมีทิศทางก็เป็นทิศทางที่น่าวิตก เพราะมีแนวโน้ม ว่าจะบ่อนทำลายกัดกร่อนวงการพระพุทธศาสนา ให้เสื่อมไป ทีละ น้อย ๆ เพราะสิ่งที่กำหนดไว้ทั้งสิ้นนี้ ล้วนเป็นทิศทางแห่งโลกียธรรม ทั้งสิ้น มิได้มีการกำหนดทิศทางแห่งโลกุตตรธรรมเลยแม้แต่นิดน้อย

เพื่อน ๆ คงจะทราบและเข้าใจกันดีอยู่แล้วว่า เส้นทางของเรานั้นมิใช่เส้นทาง โลกียะ แต่เป็น โลกุตตระ แต่พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ทั้งสิ้นนั้น เขียนออกมา จากมันสมองของโยมหัวดำซึ่งไม่รู้ทิศทางแห่งโลกุตตรธรรมเลย พวกเขาบังคับให้พวก เรา พระสงฆ์องค์เจ้า หันกลับเดินไปบนเส้นทางแห่งโลกียธรรม ไปตาม ๆ กัน เป็น ทิวเป็นแถว เป็นทิวเป็นแถวอย่างไรก็เห็นกันอยู่ เหตุฉะนี้ ผมจึงว่าไร้ทิศทาง หรือทิศทางที่น่าวิตก และมีแนวโน้มว่าจะบ่อนทำลาย กัดกร่อนวงการพุทธศาสนา ให้เสื่อมไปทีละน้อย ๆ เนื่องจากได้กำหนดทิศทางอันเบี่ยงเบนไปเสียจากเส้นทางปกติของพระสงฆ์องค์เจ้า คือเส้นทางแห่งโลกุตตรธรรม ไปสู่โลกียธรรม โดยพระราชบัญญัติหรือกฎหมาย ย่อมบังคับให้ทุกคน ปฏิบัติตาม เราจึงออกนอกทางไปเพราะความบังคับตามกันเป็นทิวเป็นแถว เห็นไหมครับ ?

ผมว่าจะลองร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ฉบับปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ออกมาดูครับ เพื่อนมีความเห็นอย่างไร ? มีข้อเสนอแนะอย่างไรก็บอก ผมเองเข้าใจว่าเพื่อน ๆ แต่ละรูปก็คงจะเห็นอยู่เหมือนกันว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ ย่อมมีและมี ความหมายสำคัญมาก เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเกียรติหรือวัฒนธรรมของสงฆ์โดยตรง ซึ่งหมายความว่า เมื่อพระธรรมวินัยซึ่งเป็นพุทธบัญญัติแท้ ๆ ไม่อาจปกครองพระสงฆ์ได้ตามหลักการปกครองตนเอง โดยคุณธรรมแห่ง หิริโอตตัปป-ธรรมแล้ว คนอื่น ๆคนภายนอก แต่ในสังคมเดียวกัน ก็จำต้องปกครองแทน เพราะสังคมย่อมไม่ยอมปล่อยให้ใครคนใดคนหนึ่งกระทำการละเมิด หรือกระทำ ความผิดต่อสังคมและผู้อื่น โดยระรานบ่อนทำลายหรือก่อความเสียหายไม่ว่าโดยตรง หรือโดยอ้อม แต่คนอื่นในที่นี้ ก็เป็นเพียงคนธรรมดา ๆ คือฆราวาสญาติโยมผู้ถือศีล ๕ เท่านั้นเองที่พยายามเข้ามากำหนดกฎเกณฑ์การปกครองพระผู้ที่มีศีลถึง ๒๒๗ ข้อ นี่แหละคือความหมายของการตรากฎหมายคณะสงฆ์ออกมา (น่าอายไหม ?)

แต่คนทั้งหลายเขาก็มีเหตุผล นั่นก็คือ เดี๋ยวนี้พระขาดความละอายเกรงกลัวต่อ บาป ขาดคุณธรรมในการปกครองตนเอง ขาดความซื่อสัตย์ต่อตัวเอง และผู้อื่น ในที่ลับ และที่แจ้ง พระสมัยนี้จึงไม่สามารถปกครองตนเองได้ ไม่เคารพ ไม่เชื่อถือในพระธรรมวินัยที่องค์พระบรมศาสดาบัญญัติไว้เองโดยตรง อันแสดงให้เห็นว่าคุณธรรม เสื่อมไป ซึ่งมีผลให้สังคมระส่ำระสาย พวกเขาจึงต้องหาทางปกครองพระเสียเอง และย่อมเป็นไปตามมาตรการฝ่ายโลก ย่อมเป็นไปโดยมาตรการแห่งโลกียธรรมมาตรการโลกียธรรมอันดีที่สุดเท่าที่พวกเขามีอยู่ ซึ่งเพื่อนจะต้องไม่ลืมว่า มาตรการฝ่ายโลกยุคนี้ ล้ำพระบัญญัติในพระวินัยไปมากมาย เพราะโลกสมัยเก่าก่อนขาดความรู้ทางวิทยาศาสตร์แทบทุกสาขา เช่นสิ่งที่เรียกว่า เท็คโนโลยี่ ฉะนั้น สิ่งที่เรียกว่า เท็คโนโลยี่นี้ จึงไม่มีกล่าวถึงสักลักษณะในพระธรรมวินัย โลกจึงย่อมสามารถนำ เท็คโนโลยี่มาบัญญัติบังคับพระได้ เพราะถือได้ว่าไม่มีในพระวินัย ก็ย่อมไม่ขัดแย้ง ต่อพระวินัย เห็นได้จากกรณียันตระอมโรนี่เองหลายเรื่อง เช่น สลิปบัตรเครดิตเป็นต้น

ผมจะพยายามร่างกฎหมายใหม่ทั้งฉบับออกมา โดยเลิกกฎหมาย เก่าทั้งหมด และจะพยายามให้มีข้อความที่บ่งบอกแนวทิศทางแห่ง โลกุตตรธรรมว่าควรจะเป็นอย่างไรบ้าง แล้วเสนอเพื่อน ๆ พิจารณาแก้ไขกันในเร็ววันนี้ครับ หวังว่าเพื่อน ๆ คงจะเข้าใจความหมายของผมดีนะครับ ในเรื่องพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ 

  • พระพยับ ปญฺญาธโร,อดีตเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ
  • ดี2 วิเคราะห์ข่าวในวงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดภาคอีสาน เม.ย.2540

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 2.       บทบรรณาธิการ

เสนอแนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายคณะสงฆ์

 

ฉบับเดือน พฤษภาคม มีบทบรรณาธิการค่อนข้างยาวครับ และดูเหมือนทุกสิ่งทุกอย่างของเดือนนี้ รวมกันอยู่ในบทบรรณาธิการแทบทั้งหมด

ก็เป็นอันว่าบัดนี้ เพื่อนสหธรรมิกทั้งหลายทั้งปวงทั่วราชอาณาจักรได้ เห็นแล้วว่า แนวคิดในการปฏิรูปการคณะสงฆ์ไทยเป็นอย่างไร ตามเอกสารเล่มเล็กปกสีฟ้า ที่จ่าหัว ชื่อว่า

“ปฏิรูปการเมือง : ปัญหาประชาธิปไตย ประเด็นสำคัญที่ไม่มีผู้ใดพูด ถึงเลย”

และคงอ่านทราบใจความสำคัญตั้งแต่ต้นจนจบแล้ว อย่างสนใจยิ่ง เพราะดูเหมือนว่าเรื่องราวที่เสนอมาในหนังสือเล่มเล็กนั้น จะกระทบกระเทือนความรู้สึกของพวกเรา โดยตรง เพราะจริง ๆ แล้ว พวกเราล้วนเป็นและไปตามระบบที่ว่านี้แทบทุกตัวตนอยู่แล้ว

ข้อปฏิเสธจะมีบ้างไหม

ลองถามตัวเองดูครับว่า เรามีวิธีคิดเรื่องนี้อย่างไร ?

คือวิธีที่เราให้เหตุผลแก่ตัวเอง เพื่อที่จะตัดสินใจออกมาว่าผิดหรือถูกอย่างไรนั้น เป็นอย่างไร ?

เริ่มดูที่ข้อเท็จจริง (คือ fact) ตามหลักวิชาดูก่อนครับ ข้อเท็จจริงมีอะไรบ้าง ดูที่นั่นแล้วจะเห็นว่า เราปฏิเสธไม่ได้หรอกว่าระบบที่เราเป็นอยู่ บัดนี้ เป็นอย่างที่ผมวิเคราะห์มาจริง ๆ คือเป็นระบบเจ้าขุนมูลนายจริง ๆ และซึ่งเมื่อมองข้อเท็จจริงแห่งความเป็นไป ของยุคสมัยแล้ว ระบบที่เราเป็นเราไปอยู่คือเจ้าขุนมูลนายนั้น กำลังทำความเสื่อม ความ ล้าหลังให้ไม่ใช่เฉพาะวงการสงฆ์เอง แต่วงการประชาธิปไตยของชาติของประชาชนเลยที เดียว

ซึ่งนั่นหมายความว่า นอกจากระบบสงฆ์จะไม่สามารถเป็นที่พึ่งของ ประชาชนได้ ตามบาทคาถาว่า “สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ” แล้ว ระบบสงฆ์ยังพาสังคมไปในทิศทางที่ล้าหลังไม่ทันโลกยุคใหม่ไปอีก เป็นระบบที่ทำลายตัวเองไม่พอ ยังทำลายสังคมอีกด้วย 

เรามาดูกันตั้งแต่กฎหมายฉบับเก่าที่สุด คือ พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑ ที่ใช้มาถึงรัชกาลที่ ๖-๗ เห็นได้เลยว่า เขียนออกมาจากความคิดของ ฝ่ายการปกครองบ้านเมืองในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชสมัยนั้น ไม่ได้มีความคิดฝ่ายสงฆ์ชี้ นำทิศทางแต่อย่างใด

หากเป็นการนำการชี้ทิศทางของฝ่ายฆราวาสที่ไม่รู้ทิศทางแห่ง โลกุตตรธรรมเลย

ซึ่งจะเหมือนกับ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.๒๔๘๔ ที่แนวความคิดยังเหมือนเดิม ไม่มีแนวความคิดใหม่ คือไม่มีความคิดที่ถูกทางถูกทิศของสงฆ์อยู่ในนั้น กลับมีการลดทอนส่วนที่เคยเห็นว่ามีแนวแห่งสงฆ์อยู่บ้าง ไปอีกหลายส่วน

มาดูฉบับปัจจุบันที่เขียนขึ้นในยุคเผด็จการทหารเต็มตัว คือ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ (และ พ.ศ.๒๕๓๕) ยิ่งลดทอนส่วนดีลงไปจนกระทั่งอาจกล่าวได้ว่า กฎหมายคณะสงฆ์ที่ใช้ปกครองคณะสงฆ์ มาโดยตลอดกว่าศตวรรษมานี้ เป็นกฎหมายที่ไม่เอื้อต่อทิศทางของสงฆ์เลย จะมีความบกพร่องไม่เหมาะสมตามที่ผมได้ให้ความเห็นหรือ วิเคราะห์ไว้ในเรื่อง “การร่างกฎหมาย คณะสงฆ์ฉบับใหม่” ลงพิมพ์ฉบับที่แล้ว (เดือน เมษายน ๒๕๔๐)

 

เพื่อนสหธรรมิก มีวิธีที่จะมองความชอบ ไม่ชอบธรรมแห่งพระราชบัญญัติคณะ สงฆ์เหล่านี้อย่างไร คือมีวิธีคิดอย่างไร จึงจะสามารถเห็นได้โดยชัดเจนว่าเป็นกฎหมายที่ เขียนขึ้นมาอย่างผิด ๆ ผิดทิศทางของคณะสงฆ์

ดูที่สายการบังคับบัญชาครับ !

ตาม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑ น่าจะเป็นความคิดทหาร เอาแบบการบังคับบัญชาของทหารมาใช้ คือมีหมู่ หมวด กอง กองพัน กองพล กองทัพ อย่างนี้น่ะครับ

เพื่อนก็เห็นแล้วว่า นั่นเป็นการปกครองของทหารที่จำเป็นต้องปกครองอย่างนั้น เพราะเขามีภารกิจอย่างนั้น เพื่อให้เกิดการควบคุมพาพวกพาหมู่ไปรบรา ไปตีรันฟันแทงกับข้าศึกภายนอก จึ่งจะทำให้การรบของทหารชนะข้าศึก อันเป็นชัยชนะภายนอก

แต่ พระสงฆ์นั้นต้องต่อสู้กับกิเลสภายในตัวตน เรื่องงาน หรือภาระสำคัญ ภาระหลักของ พระสงฆ์เป็นภาระเฉพาะตน ซึ่งโดยหลักนี้แล้ว ตนต้องเป็นที่พึ่งแห่งตนให้ได้ ตนต้อง ปกครองตนเองให้ได้เท่านั้นจึงจะไปสู่เป้าหมายที่ แท้จริงได้

เมื่อเป็นเช่นนี้ ประสิทธิภาพประสิทธิผลทางการปกครองจึงมิได้ขึ้นอยู่ที่ การบังคับบัญชา อันมากมายหลายชั้นเช่นนั้น แต่อยู่ที่ระบบการอบรมตนเองของพระสงฆ์ ตามหลักการของนักบวชพุทธ ที่ต้องมุ่งมรรคผลนิพพาน

ที่สำคัญก็คือการดำรงตำแหน่งทางสงฆ์นั้นไม่ควรให้ถาวรเหมือนทางโลก เพราะการดำรงตำแหน่งหมายถึงนิวรณ์ สงฆ์ต้องอยู่ในระบบที่ไม่ผูกพันธ์หรือยึดมั่นถือมั่นในตำแหน่ง เพราะนิวรณ์หรือความยึดมั่นถือมั่นดังกล่าวนี้ เป็นกิเลสที่ปิดกั้นทางมรรค ผล และนิพพาน การดำรงตำแหน่งทางการปกครองของสงฆ์จึงต้องให้เป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น ไม่ใช่ตลอดไป หรือตลอดชีพ ตามที่เป็น อยู่ในระบบเจ้าขุนมูลนายปัจจุบัน 

ดูพระราชบัญญัติ ๒ ฉบับต่อมา ก็ดูที่เดียวกัน พบว่า แนวคิดอย่างเดียวกัน ฉบับหลัง ๆ มาคงได้ความรู้เรื่องวิชาการบริหารอย่างต่างประเทศมาใช้ ที่เขาเรียก ว่า chain of command หรือหลักรัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งยังคงดำรงสายการบังคับ บัญชาไว้หลายชั้นอยู่เหมือนเดิม ที่เห็นพระสงฆ์เป็นคนธรรมดาเช่นคนทั้งหลาย การ ปกครองจึงต้องใช้ระบบปกครองคนธรรมดาต้องมีการควบคุมบังคับบัญชาจากภาย นอกอย่างแน่นหนาถึง ๘-๙ ชั้นการบังคับบัญชา 

เรานึกไปดูว่าพระพุทธเจ้าสั่งไว้อย่างไร ในเรื่องการปกครองคณะสงฆ์

ประการแรก         พระองค์ปฏิเสธ (คือมีผู้เสนอแต่ไม่ทรงเห็นด้วย) ไม่ทรงแต่งตั้งรัชทายาท(ศาสนทายาท)

ประการที่ ๒         ทรงตรัสว่า พระธรรมวินัยจะเป็นศาสดาแทนเรา ท่านว่า อย่างนี้ เราต้องตีความ เมื่อไม่ทรงให้มีรัชทายาท นั่นก็หมายความว่า ไม่ทรงโปรดให้มีสายการบังคับบัญชา ไม่ทรงโปรดให้มีผู้ใดเป็น นาย หรือเป็น ราชา หรือเป็นเจ้าผู้ออกคำสั่ง ไม่ให้มีผู้ออกคำสั่ง ผู้รับคำสั่ง สงฆ์จะต้องปกครองตนเอง ต้องรับผิดชอบตนเองให้ได้

ระบบที่จำเป็นต้องสร้างขึ้นจึงต้องเป็นระบบการปกครองตนเอง นั่นก็ถูกตามประเพณีสงฆ์ คือถือหมู่สงฆ์เป็นใหญ่ เช่น หมู่ ๔ หมู่ ๕ หมู่ ๑๐หมู่ ๒๐ ที่ทรงกำหนดให้เป็นองค์แห่งสังฆกรรมแบบต่าง ๆ เป็นต้น

เมื่อเราจะจัดระบบการปกครองสงฆ์ทั้งหมดทั้งสิ้น เราก็ชอบที่จะถือหลักว่าด้วย “สภา”

เมื่อทรงกำหนดว่าพระธรรมวินัยเป็นศาสดาแทนท่าน นั่นก็หมายความว่า หมู่สงฆ์จะทำอะไรไปหรือความประพฤติจะเป็นไปอย่างใดแบบใด สงฆ์แต่ละรูปจะทำอะไรไป จะต้องถูกต้องตามพระธรรม วินัย ซึ่งหมายความว่าต้องถูกทางที่นำไปสู่มรรคผลนิพพาน เช่นไม่ละเมิดศีล ๒๒๗ ข้อ อันกำหนดไว้ในพระปาฏิโมกข์ และที่อื่นที่มีลักษณะเป็นวินัยสงฆ์ เป็นต้น

แนวคิดที่ว่าเหมือนกันของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ทั้งสิ้นนั้นก็คือ มองสงฆ์เช่นเดียวกับฆราวาส เช่นเดียวกับปุถุชนทั่วไป จึงต้องให้มีการปกครอง แบบมีขั้นการบังคับบัญชา มากมายหลายขั้นไป เช่นเดียวกับการปกครองของทหารในสนามรบ หรือฝ่ายบ้านเมืองในสมัยในยุคนั้น

ซึ่งเป็นแนวคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะสงฆ์หรือนักบวชนั้น ไม่เหมือนปุถุชนคนทั่วไป เพราะนักบวช หมายถึงผู้สละโลก ผู้ละการครองเรือน

ในพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา ย่อมเสมอกันด้วยศีลก็ดี ด้วยสมาธิก็ดี ด้วยปัญญาก็ดี เพียงศีลสิกขาอย่างเดียว มีจตุปาริสุทธิศีลคือศีลเป็นเหตุบริสุทธิ์ ๔ ประการได้แก่ปาฏิโมกขสังวรศีล ๑ อินทรียสังวรศีล ๑ อาชีวปาริสุทธิศีล ๑ และ ปัจจัยสันนิสิตศีล ๑ก็บ่งบอกแล้วว่าสงฆ์นั้นต่างจากคนธรรมดา ในแง่ที่ว่า ไม่พึงมีชนชั้นขึ้นในหมู่สงฆ์ เพราะขึ้นชื่อว่าสงฆ์แล้ว ย่อมเสมอกันหมดด้วยธรรม ด้วยวินัย มีศีลเป็นต้น

ไม่ว่าการยังชีพ สงฆ์ต่างยังชีพอยู่ด้วยชาวบ้านเหมือนกันและต่าง อยู่ใต้พระธรรมวินัยข้อเดียวกัน คือมีศีลสามัญญตา มีทิฏฐิสามัญญตา ถือศีลเป็นใหญ่ ถือความเห็นแจ้งเป็นใหญ่

หากจัดระบบชั้นอย่างชาวโลกขึ้นแล้วจะกลายเป็นว่า สงฆ์มีความแตกต่างกันเป็นชนชั้น โดยไม่ชอบด้วยหลักศีล สามัญญตา ไม่ชอบด้วยธรรม ด้วยวินัย  

ฉะนั้น การกำหนดให้เข้าสู่ตำแหน่งเป็นชั้น ๆอย่างมากมาย จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ยิ่งไปกว่านั้น ระบบชนชั้นยัง ทำให้ขัดหลักการตรวจสอบหรือหลักศรัทธาของประชาชน อันเป็นวัฒนธรรมการปกครองสงฆ์โดยประชาชนมาเนิ่นนาน ตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว ดังจะเห็นข้อเท็จจริงชัดเลยว่า ในชั้นสูง ๆ ไปเท่าไร ก็ยิ่งทำให้สงฆ์เหินห่างไกลไปจากประชาชนมากยิ่งขึ้นเท่านั้น นั่นคือห่างสายตาประชาชน ทำให้ขาดการดูแล ตรวจสอบจากประชาชน ทุกวันนี้ สงฆ์ในตำแหน่งบางตำแหน่ง เป็นต้นว่า เจ้าคณะภาค เจ้าคณะใหญ่หน นั้น ประชาชนในเขตปกครองของท่านแทบไม่รู้จักท่าน แทบไม่ได้สัมผัสท่านเลย

ไม่ได้เห็นว่าท่านมีศีลอย่างไร มีวัตรอย่างไร มีสมาธิอย่างไร มีปัญญาอย่างไร และเมื่อมาสู่ยุคปัจจุบัน ปัญหาการตรวจสอบยิ่งยากมากขึ้นไปจนสุดวิสัย เพราะตำแหน่งต่าง ๆ ทางการ ปกครอง ได้มีระบบยศพระเข้าไปกำกับอีกชั้นหนึ่งในทุกชั้นการบังคับบัญชา ยิ่งสูงก็ยิ่งยศสูง อันทำให้เกิดเป็นระบบเจ้าขุนมูลนายเต็มตัวขึ้นมา เมื่ออยู่ในระบบเจ้าขุนมูลนายเต็มตัว ก็ต้องมีการปรับตัว ปรับความเป็นอยู่ให้สมกับ ตำแหน่งและยศศักดิ์ที่ได้ เครื่องยังชีพมีปัจจัย ๔ ที่ประกอบก็พลอยเป็น ไปตามระบบนั้นด้วย คืออะไร ๆ ก็ต้องดีมีเกียรติศักดิ์ศรี ไม่ว่าอาหาร ก็ต้องดี ที่อยู่อาศัย ต้องดี โอ่อ่า เครื่องนุ่งห่ม ต้องดี (สบง จีวร ต้องชั้นเลิศ นุ่งห่มแล้วต้องออกแสงออกประกาย) ยารักษาโรค หมอประจำตัว ก็ต้องมี ก็ต้องให้สมฐานะสมชั้นยศอย่างเจ้าขุนมูลนาย ปัจจัยอย่างอื่นที่เรียกกันในยุคใหม่ว่า ปัจจัยที่ ๕-๖-๗-๘ ฯลฯ ก็ต้องมีเช่นรถเก๋ง ตู้เย็น ห้องปรับอากาศ วิทยุ โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ เป็นต้น

 

จึงยิ่งทำให้ห่างไกลไปจากประชาชนระดับพื้นฐานไปอีกมาก ๆ ก็ยิ่งทำให้การตรวจสอบพระสงฆ์ในชั้นยศสูง ๆ แทบเป็นไปไม่ได้เลย เพราะประชาชนคนธรรมดา ไหนเลยจะ กล้าไปตรวจสอบติติงท่านเจ้าขุนมูลนายตำแหน่งใหญ่ ยศใหญ่ได้

ฉะนั้น แนวคิดที่ถูกต้องนั้น ก็คือ จะต้องมีตำแหน่งทางการปกครองให้น้อยชั้นที่สุด (ให้มี chain of command สั้นที่สุด) โดยจะต้องให้สงฆ์ ทุกรูปสามารถสัมผัสกับประชาชนได้ตลอดกาล ตลอดชีพที่เป็นพระภิกษุอยู่

เพราะสงฆ์ทุกรูปต่างก็ถูกกำหนดด้วยวัตรปฏิบัติหลายอย่างที่เกี่ยวข้องสัมผัสประชาชนอยู่โดยปกติประจำวัน เป็นต้นว่า จะต้องเสมอกันในอาชีพ คือเลี้ยงชีพด้วยบิณฑบาตจากชาวบ้าน เสมอกันด้วยศีล คือศีลสามัญญตา (ไม่ใช่ เอายศฐาบรรดาศักดิ์มากำหนดความดีงาม)

กล่าวอย่างตรงประเด็นก็คือเสมอกันด้วยความเป็นนักบวช มีธรรมกับวินัย เป็นเครื่องวัดคุณงามความดีอันพึงตรวจสอบได้จากสายตาประชาชนตลอดเวลาและโดยระบบนี้ เพื่อน ๆจะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า มีความลม้ายคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับการปกครองฝ่ายโลก ตามหลักการของระบอบประชาธิปไตย คืออำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน

ฉะนั้น เมื่อกำหนดระบบการปกครองของคณะสงฆ์ให้ถูกทิศทางจริง ๆ แล้ว การปกครองคณะสงฆ์กับการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น สามารถไปด้วยกันได้ เป็นอย่างดี โดยที่ทั้งสองระบบต่างก็มีฐานสำคัญที่ปวงประชาชนของประเทศ

 

เราจึงพึงเห็นว่า ด้วยระบบสงฆ์ที่ผิดทิศทาง จึงได้เป็นอุปสรรคต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยของชาติอย่างยิ่ง ใหญ่ เมื่อเรามองให้ซึ้งไป ด้วยวิธีคิดอย่างนี้แล้ว หิริ โอตตัปปะ พึงกลับมาสู่หมู่สงฆ์เรา โดยด่วน !

และจึงมีความชอบธรรมทุกประการทุกด้าน ที่จำต้องร่วมกันดำเนินการต่อไป เพื่อให้ทั้งฝ่ายโลก และฝ่ายธรรม เป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยโลก และ ประชาธิปไตยสงฆ์

นี่คือแนวคิดในการมองว่า อย่างเดิมไม่ถูกต้องอย่างไร (รู้ทุกข์) แล้ว เรารู้วิธีที่จะแก้ไข (รู้สมุทัย) ว่าการปกครองสงฆ์จะต้องมี ขั้นการบังคับบัญชาที่สั้นที่สุด เพื่อให้สงฆ์ทุกรูปสามารถรับการตรวจสอบจากประชาชนพุทธบริษัททุกหมู่เหล่าได้ คือสงฆ์ทุกรูป ขึ้นชื่อว่าสงฆ์หรือนักบวชต้องอยู่ใกล้ ชิดติดฐานใหญ่ของมหาชนเสมอไป และต้องเป็นสงฆ์ธรรมดา ไม่มียศ ไม่มีระบบเจ้าขุนมูลนายให้เกรงขามโดยอำนาจอีกต่อไป

 

เรื่องระบบการบังคับบัญชา ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ที่ผ่าน ๆ มายังมีข้อที่ควรพิจารณาอยู่หลายอย่าง ที่สำคัญที่สุดก็คือ การที่มีสายการบังคับบัญชาหลายชั้นนั้นทำให้สิ้นเปลืองเวลา เพราะการคืบไปแต่ละชั้น ๆ นั้น ต้องมีช่วงเวลาคั่นอยู่เสมอ ฉะนั้น กว่าจะไปถึงชั้นสูงสุดก็เป็นเวลาที่วัยอันควรแก่การงานได้ล่วงเลยไปมากแล้ว

เห็นได้จากคณะสงฆ์ที่ทำงานสำคัญสูงสุด ในคณะสงฆ์ทุกวันนี้ คือมหาเถรสมาคม บุคคลในมหาเถรสมาคมล้วนมีวัยอันสูงทั้งสิ้น จนน่าคิดว่า ภายในหลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนานี้ วัยนั้นน่าจะ เป็นวัยที่ควรพักและตระเตรียมตัวเพื่อไปสู่โลกหน้า (เตรียมตัวตาย)ได้แล้ว เพราะวัยอันเกินไปจนไม่เหมาะแก่การงานนั่นเอง ภาระอันยิ่งใหญ่แห่งพระพุทธศาสนาในรูปรวม จึงไม่มีการคิดสร้างสรรค์คิดริเริ่มขึ้นมาเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรับผิดชอบในสถานการณ์ต่าง ๆ อันเป็นสถานการณ์ผิดปกติ ในวงการพุทธศาสนาก็ดี สถานการณ์ด้านวัฒนธรรมต่างระบอบ ที่มากระทบวัฒนธรรมพุทธศาสนาอย่างไร สถานการณ์ต่างศาสนา หรือการเผยแผ่ของ ต่างศาสนาว่ามากระทบพระพุทธศาสนา ในประเทศ นอกประเทศ หรือใน ประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นพุทธด้วยกันอย่างไร ไม่มีการมองดู ไม่มีการศึกษา ไม่เข้าใจกระทั่งว่าจำเป็นต้องเฝ้าเก็บติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างไร

ไม่มีสายตาเห็นหรือจมูกที่ดมกลิ่นแห่งอันตรายใดใดสมกับอยู่ในตำแหน่งความรับผิด ชอบสูงสุดแห่งการพระพุทธศาสนา ตลอดไปจนถึงการวางแผนงานโครงการ ต่าง ๆ เพื่อนำพระพุทธศาสนาธรรมไปเผยแผ่แด่ชาวโลก ในระบบ ในยุค โลกาภิวัตน์ ไม่มีการดำริให้ความสำคัญขึ้นมาทั้งสิ้น

และจนบัดนี้ เรายังไม่เห็นเลยว่า มหาเถรสมาคมหรือสมาคมไหนในพระพุทธศาสนาที่มีความรับผิดชอบในรูปรวมของวงการพุทธศาสนา จะได้มีความริเริ่มนำการพระพุทธศาสนาไปสัมพันธ์ประสานงานกับเพื่อนต่างศาสนา เพื่อร่วมแก้ปัญหาวิกฤตการณ์อันยิ่งใหญ่ในโลกยุคนี้ เราเห็นเพื่อนชาวคริสต์บางกลุ่มทำงานด้านนี้กันอย่างจริงจังจนน่าสรรเสริญ แต่ศาสนาพุทธไม่เคยคิดที่จะไปร่วมมือกับเขา ในการแก้ปัญหาของชาวโลกโดยหลักธรรมะเลย อันแสดงให้เห็นว่า วัยชราภาพนั้น ในตำแหน่งภาระอันสูงสุดของการพระพุทธศาสนานั้น ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งแก่ยุคสมัย

 

วิธีแก้ไข นั่นก็คือ ลดทอนสายการบังคับบัญชาให้สั้นเข้ามาจนเหลือน้อยที่สุด เท่าที่เหมาะสมตามหลักพระธรรมและพระวินัย ซึ่งด้วยวิธีนี้เราจะได้คนหนุ่มที่มีสายตาไกลเข้ามาทำงานการพระพุทธศาสนา เคียงบ่า เคียงไหล่ไปกับเพื่อนศาสนาอื่นในโลก เพื่อร่วมหล่อหลอมหลักธรรมแห่ง พระพุทธศาสนาเข้าเป็นศาสนาสากลของโลกยุคใหม่ 

อีกประเด็นหนึ่งที่เห็นง่าย เมื่อมีขั้นการบังคับบัญชาหลายชั้นเช่นนี้ การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อก้าวไปตามขั้นงาน ตามระบบยศ เจ้าขุนมูลนาย ก็ต้องมี สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ เมื่อเข้ามาสู่ระบบนี้ก็ต้องเป็นไปตามระบบนี้ การแก่ง แย่งชิงดีชิงเด่นกันก็ย่อมมีขึ้นเป็นธรรมดา ตกลงเราก็จะต้องแก่งแย่งชิงดี ชิงเด่นกันไปจนตลอดชีวิตไม่ต่างอย่างไรกับชาวโลกเขาที่ไม่ได้นุ่งเหลือง ห่มเหลืองผู้ที่ไม่ได้รู้ความหมายเลยว่ามรรคผลนิพพานคืออะไรมีความหมายอย่างไรในหมู่สงฆ์

เพื่อนลองคิดดูเองก็แล้วกันเถิดว่าเพื่อนจะทนอยู่ได้อย่างไร

เมื่อคนอื่นเขาเป็นชั้นโท ชั้นเอก ชั้นพิเศษกันไปหมดแล้ว ขณะที่ เพื่อนอยู่ในพระครูชั้นตรีมากว่า ๑๐ ปีเข้าไปแล้ว มันก็ต้องดิ้นรนไปทุกท่าใช่ไหม ? (ขนาดแก่จะเข้าโลงท่านยังแย่งกันเป็นสมเด็จ ก็เห็น ๆ อยู่) นั่นคือสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ เมื่อเข้ามาสู่ระบบนี้ อันต้องเป็นไปตามธรรมดาของระบบนี้ และนั่นแหละคือเหตุผลที่ว่า ระบบเจ้าขุนมูลนาย ได้ทำลายกัดกร่อนวงการ พระพุทธศาสนามาช้า ๆ ตราบบัดนี้ ได้เร่งภัยอันตรายไปเร็วรุดกว่าเดิมยิ่งนักแล้ว

 

ผมได้มองเห็นเหตุและผลเช่นนี้

ผมจึงชวนเพื่อน ๆ ทั้งหลาย มาร่วมใจกันปฏิรูปการระบบสงฆ์ของเราใหม่

เพื่อนเอาด้วย จงก้าวออกมา !

 

เราจะสร้างระบบสงฆ์ของเราใหม่ ที่ถูกธรรมถูกวินัย และพุทธประเพณีการปกครองคณะสงฆ์ซึ่งจะมีเพียงหลักการสำคัญ ๆ อยู่ ๔ ประการ คือ

๑.         หลักว่าด้วยการทำประโยชน์แด่พระพุทธศาสนาในส่วนรวม

๒.         หลักว่าด้วยครู อาจารย์ หรือ อุปัชฌาย์

๓.         หลักเพื่อน หรือ กัลยาณมิตร

๔.         หลักประชาชน

เราจะไม่มีคำว่า “การบังคับบัญชา” และ “ยศฐาบรรดาศักดิ์” เพราะ บัดนั้น เส้นทางของเราคือ มรรคผล เราจะบ่ายหน้าไปทางนั้น เราจะพาโลกไป ทางนั้น

  • ดี3 วิเคราะห์ข่าวในวงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดภาคอีสาน พ.ค.2540

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  3.        ข้อเสนอในการสำรวจประชามติแก้ไข พ.ร.บ.คณะสงฆ์

ของกรมการศาสนา

 

พิจารณาตามแนวทางที่กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการวางไว้ในแบบ สำรวจประชามติเพื่อแก้ไขพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ทางหนังสือพิมพ์ข่าวสด ๑๒ ก.พ. ๓๘ แล้ว มีข้อคิดเห็น ดังต่อไปนี้ 

๑.            การครองตำแหน่งใดใดใน พ.ร.บ.คณะสงฆฆ์ปัจจุบันโดยไม่มีการกำหนดอายุของการดำรงตำแหน่ง หรือเป็นตำแหน่งตลอดชีพนั้น ยังไม่เหมาะสมควรเปลี่ยนแปลงใหม่ดังนี้

๑.๑       ควรกำหนดตำแหน่งทั้งสิ้นลงในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ เพื่อง่าย แก่ การอ้างอิง

๑.๒       ควรมีกำหนดอายุของตำแหน่ง เจ้าอาวาส-เจ้าคณะจังหวัด รวมทั้งตำแหน่งอื่นใด โดยให้เกษียณอายุ ๕๕-๖๐ ปี หรือ

๑.๓       ให้มีการกำหนดอายุกากรดำรงตำแหน่ง โดยให้ดำรงตำแหน่งใดใดได้ คราวละ ๓-๕ ปี ให้อยู่ในตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกิน ๒ สมัย

เหตุผล : พระเป็นนักบวช ผู้มีหน้าที่สละ ไม่ยึดมั่นถือมั่น จึงจะชื่อว่าอยู่ในวิถีธรรม และมีสิทธิ์ไปถึงเป้าหมายแห่งธรรมได้ การอยู่ในตำแหน่งโดยไม่กำหนดเวลา หรือจนตลอดชีพ เป็นเหตุให้หลงอำนาจ ไม่ผิดอะไรกับการปกครองของฆราวาสฝ่ายบ้านเมืองเลย

อนึ่ง การอยู่ในตำแหน่งจนกระทั่งชราภาพแล้ว เป็นปัญหาสำคัญทางการปกครองสงฆ์ในปัจจุบันอย่างยิ่งเพราะพระที่อายุวัยชราแล้ว ไม่สามารถจะบริหารงานได้ เนื่องแต่เป็นวัยที่ต้องการความสงบและพักผ่อน และที่สำคัญก็คือ ทางพระสงฆ์ถือว่า การเตรียมตัวก่อนตายนั้น เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพระสงฆ์ ฉะนั้น จึงเป็นเวลาที่พระสงฆ์จะต้องปลอดจากภาระหน้าที่ เช่นเดียวกับข้าราชการบ้านเมืองที่เกษียณอายุราชการเมื่ออายุ ๖๐ เพื่อชีวิตได้พักผ่อน เพื่อการบุญ เพื่อการตระเตรียมการเดินทางไกล ไปสู่ปรโลกเช่นเดียวกัน นั่นหมายถึง การเปิดโอกาสให้พระสังฆาธิการได้มีเวลาช่วงหนึ่งในชีวิตที่ปลอดจากการผูกมัดภายนอก ให้ได้มีโอกาสในการทำจิตให้ไร้ภาระ ไร้กังวล และจิตที่ว่างจากความกังวลทั้งปวง นี่คือภาระของสิ่งที่เรียกว่า เตรียมตัวก่อนตายตามหลักของมรรคผล ซึ่งมีว่า หากทำจิตให้ว่างหรือไร้กังวลพ้นข้อผูกพันไม่ได้แล้ว ก็จะไม่สามารถบรรลุพระอริยสัจธรรมได้ ฉะนั้น หากออกกฎหมายใดมีผลให้เกิดความผูกพันหรือภาระแด่พระสงฆ์แล้ว นั่นจะเท่ากับขัดแย้งพระธรรม และกฎหมายขณะนี้ก็ขัดแย้งพระธรรมอยู่ จึงควรแก้ไขเสียให้เป็นไปตามธรรมโดยบริสุทธิ์ นั่นคือ กำหนดให้บั้นปลายชีวิตของพระสงฆ์ได้พบความอิสรภาพจากตำแหน่งหน้าที่ทุก ๆ รูปโดยไม่ละเว้น เพื่อการพ้นจากสถานะแห่งการจองจำโดยกฎหมาย โดยภาระหน้าที่ตำแหน่ง เป็นอิสระ และได้วิมุตจิตเพื่อการเตรียมตัวก่อนตายได้อย่างเต็มที่ นี่คือวิถีธรรม อีกประการหนึ่ง พระจะได้มีโอกาสตรวจสอบผลกรรมตัวเองก่อนตาย ว่าตลอดชีวิตที่ล่วงมาได้ประกอบกรรมใดไว้ กรรมสามารถเป็นที่พึ่งในปรโลกได้หรือไม่ เพราะกรรมเท่านั้นจะเป็นที่พึ่งได้ ไม่ใช่หลงยศ ตำแหน่งของจอมปลอมจนเคยตัว ตราบมัจจุราชมาเอาชีวิตก็ยังไม่รู้สึก น่าเสียดาย 

๒.     สมเด็จพระสังฆราชควรเป็นประธานมหาเถรสมาคม เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับมหาเถรสมาคม และมีฐานะเป็น ที่ประชุมพระสงฆ์ผู้ทรงวัยวุฒิและคุณวุฒิ แต่ไม่ควรมีหน้าที่ในการบริหารใดใด ให้มีหน้าที่อย่างเดียวคือการเผยแผ่หรือการสั่งสอนอบรม และการศาสนพิธีต่าง ๆ เพราะหน้าที่อันนี้พระสามารถทำได้ไปจวบจนวัยชราภาพแล้ว เพราะเป็นงานที่ปราศจากข้อขัดแย้งอยู่ในตัวเอง และระบบวัฒนธรรมทางศาสนาของไทย พระเป็นไปตามความศรัทธา เมื่อมีศรัทธาเกิดขึ้นจึงมีการสอนการเทศน์ หรือแม้มีการเผยแผ่โดยวิธีใดใด ก็ล้วนเนื่องมาจากความศรัทธาเป็นตัวกำหนดการเผยแผ่ ระดับมหาเถรสมาคม การเทศนาการสั่งสอนระดับนี้ ก็จะเป็นการสอนบุคคลระดับสำคัญ ๆ ของประเทศชาติ เช่นการสอนธรรมให้แก่คณะรัฐมนตรี หรือกลุ่มบุคคลในวงการชั้นสูงทางการอาชีพ รวมตลอดไปถึงงานกาดรเผยแผ่ต่างประเทศ จะเป็นผลจริงจังขึ้น ด้วยระบบงานของคณะผู้อาวุโสสูงสุดแห่งศาสนจักร เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันนี้ ระบบสงฆ์ของเรามิได้มีการแบ่งหรือกำหนดหน้าที่ให้สมแก่ชนชั้นและภูมิปัญญาของคนในสังคม หากได้กำหนดให้มหาเถรสมาคมทำหน้าที่อันนี้ เพียงอย่างเดียว ก็จะอำนวยประโยชน์แก่การนำธรรมะไปสู่นักการเมือง ข้าราชการ และชนชั้นในสังคมระดับสูง ๆ ได้ และกากรเผยแผ่ศาสนาพุทธในต่างแดนก็จะน่าศรัทธาเลื่อมใสมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 

๓.     งานบริหารการคณะสงฆ์ ควรแบ่งงานดังนี้

๓.๑       งานเกี่ยวกับการเงิน ฆราวาสสมควรเข้ามาเป็นผู้บริหาร จัดการให้ เพราะพระหรือนักบวช ถ้าแตะเงินแล้ว นั่นหมายถึงอันตราย ไม่ใช่วิสัย และไม่ใช่วิถีธรรมอยู่แล้ว ทุกวันนี้ ปัญหาเกิดจากเรื่องเงินทั้งสิ้น แต่เราสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามพระธรรมวินัยได้ยาก เพราะเหตุผลว่าด้วยสิ่งแวดล้อมในสังคมได้เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดความยากลำบากในการปฏิบัติตามวิถีธรรมนี้ นั่นคือ พระหรือผู้บวชที่อุทิศชีวิตให้พระศาสนาจริง ๆ มุ่งไปในวิถีทางแห่งศาสนาจริง ๆ นั้น แทบไม่มีแม้แต่สัก ๑ % ของผู้บวชทั้งหมด เว้นเสียแต่จำใจเท่านั้นเองจึงจะอยู่ในบวรพุทธศาสนา แต่อย่างไรก็ตาม หลักการในเรื่องการบริหารการเงิน ก็ควรให้เป็นไปในแนวทางนี้ไว้ ในระบบงานใหม่ ๆ บางระบบของคณะสงฆ์ปัจจุบัน ได้เป็นไปในลักษณะที่ไม่คำนึงถึงอันตรายที่จะเกิดจากการปล่อยให้สงฆ์จัดการเรื่องการเงินเองนี้ ที่เห็นชัดเจนว่าต่อไปหากไม่รีบแก้ไขเสียก็จะเกิดปัญหามากมายขึ้นตามมา นั่นก็คือ ปัญหาการจัดงบประมาณโรงเรียน หรือสำนักเรียนต่าง ๆ ไม่ว่า งบประมาณสำหรับแผนกธรรม บาลี หรือปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา หรืออุดมศึกษา มหาวิทยาลัยสงฆ์ก็ดี ไม่พึงถวายก้อนเงินลงมาให้คณะสงฆ์จัดการเองเป็นอันขาด อันตรายจะเกิดขึ้นในอนาคตไม่ช้าไม่นานแน่ ๆ ควรที่หน่วยงานงบประมาณจะจัดการให้เองโดยเรียบร้อย 

๓.๒          ผู้บริหารหรือคณะบริหาร ควรต้องเป็นผู้ที่รอบรู้ทั้งทางโลกและ ทางธรรม ควรเปิดโอกาสให้พระที่มีความรู้ทางฝ่ายโลกในระดับปริญญาตรีทางโลกขึ้นไป มีอาวุโสทางธรรม ได้มีส่วนในการบริหารอย่างทั่วถึง ทุกขั้นการบริหาร คณะสงฆ์หรือวงการศาสนาไม่พึงมองว่าการศึกษาฝ่ายโลกไร้คุณธรรมทางศาสนาไปเสียทั้งหมด แต่แท้จริง เมื่อเปรียบเทียบจริง ๆ แล้ว จะได้พบว่า แทบไม่มีความแตกต่างอะไรทางด้านคุณธรรมระหว่างพระผู้สำเร็จทางโลกมากับพระที่สำเร็จทางธรรมในสถาบันสงฆ์ เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ พระที่มาจากฝ่ายโลก ที่ผ่านการศ฿กษาระดับสูงมาแล้วนั้น เป็นผู้ที่ได้รู้สัจจะแห่งชีวิตมามากพอสมควร มีประสบการณ์จริงในเรื่องราวของชีวิตมามากพอสมควร จึงสามารถสละเข้ามาอยู่ในศาสนาได้ ฉะนั้นจึงควรเปิดโอกาสให้พระที่มาจากฝ่ายวิชาการทางโลก ได้เข้าไปบริหาดรกิจการคณะสงฆ์ ซึ่งเป็นปัญหาอยู่ทุกวันนี้เนื่องมาจากความนึกคิดที่ค่อนข้างคับแคบ และล้าหลัง เพราะสงฆ์มีความรู้น้อย รู้แคบเหลือเกินนั่นเอง และด้วยวิธีการนี้ จึงควรกำหนดอายุการอยู่ในตำแหน่งทุกตำแหน่งไว้ ควบคู่ไปกับการเปิดโอกาศให้พระทุกรูปมีโอกาสเท่าเทียมกัน 

๓.๓          ไม่ควรมีเจ้าคณะภาค ควรปล่อยให้ท้องถิ่นปกครองกันเองให้มากที่สุด กระจายอำนาจออกไปให้ท้องถิ่นให้มากที่สุด การตัดสินใจทางการปกครองควรต้องเป็นเรื่องของท้องถิ่นตามหลักประชาธิปไตย เพราะท้องถิ่นย่อมรู้ความต้องการของบุคคลในท้องถิ่นดี ฉะนั้น ทางที่ถูกก็คือ อย่าออกกฎหมายให้อำนาจ จึงไม่ควรมีเจ้าคณะภาค และเมื่อไม่มีเจ้าคณะภาคแล้ว จังหวัดก็สามารถบริหารงานของท้องถิ่นได้ ภายใต้การดูแลควบคุมเจริญศรัทธาของประชาชนในท้องถิ่นของผู้บริหารเองได้อย่างถูกต้องตรงข้อมูลข้อเท็จจริง 

อนึ่ง ระบบการตรวจราชการสงฆ์ มักสร้างความยากลำบากแก่พระผู้น้อย เนื่องแต่สงฆ์เรายังคงเป็นระบบเจ้าขุนมูลนายอยู่อย่างเต็มที่นั่นเอง และนี่แหละ ปัญหาประชาธิปไตยของชาติไทยเราละ ถ้าระบบเจ้าขุนมูลนายสงฆ์ยังแรงอยู่ อย่างทุกวันนี้ ประชาธิปไตยก็เจริญยาก เพราะสงฆ์เป็นต้นวัฒนธรรมการเมืองไทย ฉะนั้น เมื่อมีโอกาส ทำได้ เราต้องออกกฎหมายค่อย ๆ ลิดรอนระบบนี้ลงไปตามลำดับ เพราะแม้วิถีธรรมเอง ก็ยิ่งไม่ปรารถนาให้มีระบบเช่นนี้มาปิดกั้นความนึกคิดวิปัสนาญาณอิสระ อันเป็นของเฉพาะตน เพื่อการบรรลุสัจธรรมชั้นสูงสุด 

๓.๔         ใครควรเป็นผู้ปกครองสงฆ์ ตอบว่า ผู้มีความรู้ดีเป็นผู้ปกครอง รู้ดี หมายถึงรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม แต่เท่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เราได้คนที่มีความรู้ด้านเดียว ทั้งนี้ก็เพราะระบบการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย ให้การศึกษาพระสงฆ์แบบแคบ ๆ เช่นนั้น พระผู้จบ ป.๙ แทบไม่รู้อะไรเกี่ยวกับการปกครองการบริหารและแทบมืดบอดไม่เห็นความสำคัญอย่างไรของสิ่งแวดล้อมกับการบริหารเลยก็มี ทั้งนี้เพราะระบบการศึกษาหรือหลักสูตรการศึกษาที่บกพร่องอย่างมาก ๆ แล้วไม่มีการคิดแก้ไข แม้หลักปรัชญาในการศึกษาที่ผิดพลาดเห็น ๆ อยู่ ก็ไม่เคยมีการคิดแก้ไขเลย ฉะนั้น ผู้ปกครองสงฆ์ยุคใหม่นี้ จำเป็นจะต้องเป็นผู้ที่รู้ดีทั้งทางโลกและทางธรรม เพื่อนำคณะสงฆ์ไปสู่การบริหารการปกครองที่ทันกาลทันสมัยทันยุคโลกาภิวัตน์ และทันการเปลี่ยนแปลง และมีการเปลี่ยนแปลงในคณะสงฆ์เกิดขึ้น ในส่วนที่เป็นวิธีการทั้งหลาย 

๓.๕         การปกครองวัด ทุกวันนี้ เจ้าอาวาสมีอำนาจมากตามมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ เห็นได้ว่ามีอำนาจมาก แต่ในขณะเดียวกันสิทธิของพระลูกวัด ไม่มีการบัญญัติไว้ในกฎหมาย ในทางพระธรรมวินัยแล้ว ขึ้นชื่อว่าสงฆ์ ย่อมเสมอกันด้วยศีล ไม่ว่าพระใดเสมอกันหมดด้วยศีล แต่เมื่อมีกฎหมาย ๆ กำหนดให้เกิดความแตกต่างขึ้น ทำให้พระผู้ดำรงตำแหน่ง มีอะไรที่พิเศษขึ้นโดยไม่ชอบธรรมวินัย ขณะนี้กฎหมายไม่เป็นธรรมสำหรับพระลูกวัดและทุกวันนี้ปัญหาที่เกิดในวงการศาสนาพุทธที่เป็นพื้นฐานแห่งปัญหาทั้งสิ้นทั้งมวลนั้นก็คือ ปัญหาครอบครัวของพระ หรือปัญหาภายในวัด นั่นเอง ละม้ายคล้ายปัญหาทางโลก หรืออย่างเดียวกันก็ไม่ผิด หากถือว่า นี่คือ ปัญหาครอบครัว ในวัดทุกวันนี้ ผู้ที่อยู่ในวัดหามีความสุขไม่ พระอยู่ในวัดกันอย่างไม่มีความสุข นี่คือปัญหาที่สะท้อนให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่นปัญหาสำนักสงฆ์เถื่อน วัดเถื่อน ปัญหาการบุกรุกป่าของสำนักสงฆ์ ปัญหาสงฆ์มีที่อยู่ไม่เป็นที่เป็นทาง ซึ่งบัดนี้ ท่านรัฐมนตรีจะมาบังคับให้ออกบัตรประจำตัวโดยหวังว่าพระจะได้อยู่เป็นที่เป็นทางขึ้น นั่นมิใช่การแก้ปัญหา เพราะปัญหาแท้จริงคือ ครอบครัวสงฆ์ไม่มีความสุข เหตุที่ครอบครัวสงฆ์ไม่มีความสุข แล้วยังเป็นครอบครัวที่สมาชิกในครอบครัวมักจะทะเลาะเบาะแว้งเป็นศัตรูกัน ก็เนื่องมาจากขาดเป้าหมายแห่งชีวิต ไม่รู้เป้าหมายแห่งการที่ดำรงอยู่ไปวันหนึ่ง ๆ ไม่มีการ พัฒนาจิตใจ พัฒนาการทางจิตล้มเหลว เลยเห็นแก่เงิน แก่ลาภ แก่ยศ แก่สรรเสริญ แต่สิ่งเหล่านี้ ผู้ที่ได้มากก็ล้วนแต่เป็นเจ้าอาวาสทั้งสิ้น พระลูกวัดไม่มีสิทธิ์ เมื่อเห็นแก่เงิน ก็ไปคบหาประจบประแจงคหบดี ฆราวาส เอาใจใส่รับใช้ฆราวาส ไม่ดูแลสงฆ์ในปกครอง แม้เจ็บไข้ได้ป่วยก็ไม่มีเจ้าอาวาสไหนเอาใจใส่ เพราะมัวแต่ยุ่งกิจการชาวบ้านเพื่อเห็นแก่ลาภอยู่ตลอดเวลา และเมื่ออยากมียศ หรือเลื่อนยศ เจ้าอาวาสก็เร่งงานก่อสร้างต่าง ๆ เพื่อเสนอความดีงามแก่ตนไปเอายศ ส่วนลูกน้องทที่ช่วยงานแทบล้มตายไม่ได้อะไร ก็ค่อย ๆ เกิดความห่างเหินเมินหมางกันออกไป พอได้ยศก็วุ่นวายไปอีก ลูกนองในวัดก็วุ่นวายตามไป แต่ผลประโยชน์ไม่ได้ด้วย ก็ยิ่งห่างเหินไปอีก ทำให้ไม่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเกิดขึ้นภายในวัด คำว่าสงฆ์ ไม่มีความเสมอกันด้วยศีลเสียแล้ว เพราะมี ยศ ลาภ มาแบ่งชั้นวรรณะ ทำให้คุณค่า ความดีงาม ความประเสริฐของศีล ถูกบดบังเสียด้วยโลกียทรัพย์ คนก็มิได้มองที่คุณงามความดีของพระสงฆ์ แต่มองที่ทรัพย์ที่ยศของพระสงฆ์ ก็เกิดความเมินหมางกัน หรือเกิดระบบประจบประแจงแบบเจ้ากับทาสขึ้นในวงการสงฆ์ แต่ส่วนมากแล้วต่างก็คับแค้น แล้วโอกาสแก้แค้นก็มาถึง เมื่อเจ้าอาวาสเจ็บไข้ได้ป่วย ถึงแก่ชราภาพ เขาก็ไม่ไปดูแล บางองค์ เขาหามลงมาไว้ที่ห้องชั้นพื้นดิน ให้นั่งรอความตายอยู่ที่นั่น จะลาออกจากตำแหน่งก็ไม่ยอมลาออก ทำงานก็ทำงานไม่ได้ ก็เลยกลายเป็นวงจรแห่งความเคียดแค้นอันลึกซึ้งในวงการสงฆ์แบบนี้อยู่ทุกวันนี้ วงการสงฆ์จึงเป็นครอบครัวที่ไม่มีความสุขเสียเลยในทุกแห่งหนบนปถพีไทยยุคนี้ ขอให้สังเกตจากการลาสิกขาของพระที่มีความรู้สูง ๆ สงฆ์ทุกวันนี้จึงเป็นกลุ่มชนที่ประหลาดเพราะเกิดมาเพื่อชดใช้กรรม ต้องทนหน้าอมยิ้มใจอมทุกข์เวทนาไปตลอดชาติ ฉะนั้น เรื่องราวของวัด จำเป็นต้องมีบทบัญญัติที่ประกันสิทธิของพระลูกวัดไว้ด้วยประการต่าง ๆ เช่นสิทธในการที่จะปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้นเฉพาะตน คือสิทธิในการที่จะปฏิบัติภาวนา สมาธิ หรือจำเริญวิปัสนากัมมัฏฐานอันใด เพื่อประโยชน์ทางธรรมได้อย่างมั่นใจ และเห็นเป็นสิ่งสำคัญควรแก่การเชิดชูยกย่อง สิทธิในการที่จะเดินทาง การที่จะแสวงหาสัจธรรม ในแห่งหนตำบลใดใดตราบที่ยังไม่บรรลุมรรคผล สิทธิที่จะถือธุดงค์ หรือการที่จะมีที่อาศัย หรือการก่อสร้างสถานปฏิบัติธรรมอันเหมาะแก่ฐานะหรือกาละแห่งการประพฤติปฏิบัติธรรมของท่าน รวมทั้งสิทธิในการที่จะพักผ่อนแสวงหาหรือเสพความสงบสงัด และความสันโดษแห่งธรรมตามปรารถนา หรือเมื่อวัยชราเข้ามาเยือนแล้ว ก็มีสิทธิในการตระเตรียมตัว เพื่อการเดินทางไกลไปสู่ปรโลกได้เท่า ๆ กับผู้มีอำนาจสูงสุดในวัดนั้น 

๓.๖          เรื่องอื่น ๆ อีกมากมาย ก็คือเรื่องการตรวจสอบความประพฤติของพระสงฆ์อย่างเป็นระบบ ก็น่าที่จะกำหนดมาตรการเอาไว้ พร้อมทั้งบทกำหนดโทษให้ชัด เจน แต่เรื่องนี้มีปัญหามากเพราะรัฐมนตรีไม่กล้าตรวจสอบพระใหญ่ ๆ โต ๆ กล้าแต่ตรวจสอบพระกระจอกธรรมดา ๆ ดังจะเห็นจากผลงานที่ผ่านมา ล้วนแต่ทำกับพระลูกวัดธรรมดา ๆ เท่านั้น ส่วนพระใหญ่ เจ้าอาวาส เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัดขึ้นไป นึกหรือว่าบริสุทธิ์ นึกว่าสำเร็จเป็นพระโสดาบันกันหมดแล้วหรือ ? เปล่า ! ยิ่งเหมือนปุถุชน เจ้าขุนมูลนายไปไม่รู้กี่เท่า เมื่อเป็นเช่นนี้จะอาศัยมาตรการอะไร อย่างไร ไปตรวจสอบเขา ในวัดที่บ้านนอก ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ประชาชนเขาทำหน้าที่เขาเด็ดขาดอยู่แล้ว แต่รัฐมนตรี ผู้ที่จะต้องตรวจสอบสงฆ์มีระดับ วัดมีระดับ เช่นชั้นวรวิหาร ขึ้นไปเหมือนกันนั้น กล้าทำหรือไม่ ? มีศักดิ์ศรี มีคุณธรรมอะไรไปตรวจสอบท่านเจ้าคุณผู้ทรงยศฐาบรรดาศํกดิ์ใหญ่เหล่านั้นได้บ้าง ? เห็นเกิดเรื่องขึ้นมาไม่เคยจับได้ เหมือนหว่านแหได้แต่ปลาส้อยปลาซิว ฉะนั้น เมื่อจะออกกฎหมายมา ท่านก็ต้องคำนึงด้วยว่าการใช้กฎหมายนั้นจะต้องเสมอหน้าเท่าเทียมกันหมดไม่ละเว้น จึงจะได้ชื่อว่า ความยุติธรรมตามกฎหมาย และเพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาการศาสนวิถีโดยแท้จริง 

๔.      เรื่องด่วนในวงการศาสนาที่ควรป้องกันและแก้ไขก็คือ เรื่องเงิน ไม่ว่างานใดของคณะสงฆ์ไม่ควรให้สงฆ์จัดการการเงินเอง โดยเฉพาะงานการศึกษา ควรจัดการการเงินให้เรียบร้อย อย่าให้ท่านทำเอง ถ้ามิฉะนั้นจะเกิดเป็นปัญหาใหญ่โตในอนาคต อีกปัญหาหหนึ่งก็คือสตรี ปัญหานี้จะต้องรีบดำเนินการแก้ไข เนื่องมาจากระบบการศึกษาบางระบบที่เปิดโอกาสให้พระภิกษุสามเณรเข้าเรียนศึกษารววมกับฆราวาสทั่ว ๆ ไปได้ ทำให้เกิดการปะปน พระ-สามเณรมีโอกาสได้ใกล้ชิดสตรีมากขึ้น โดยนิตินัยคือเป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนกัน อยู่ในฐานะนักเรียน เรียนความรู้อย่างเดียวกัน แก้ปัญหาอย่างเดียวกัน และเมื่อเข้าโรงเรียนระบบนี้ ความมีวินัยตามพระธรรมวินัยก็จะถูกระรานไป ด้วยระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษา ทำให้เสียสมณสารูปไปส่วนหนึ่ง แต่ที่สำคัญก็คือ พระ-สามเณรที่ไม่มีทางออกในทางเพศ โดยวิถีทางของปุถุชน จะได้รับความกดดันมาก ก็ทำให้เกิดผลเสียยหายขึ้นได้ และนำไปสู่ปัญหาทางพระวินัยสงฆ์ต่อไป ในระยะยาว ปัญหาทั้งสองประการนี้จะทวีมากยิ่งขึ้นไปตามลำดับ จึงต้องรีบเร่งวิเคราะห์หาทางแก้ไขปัญหาเสียแต่เดี๋ยวนี้ 

๕.      ข้อคิดเห็นในการพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน 

๕.๑       รัฐบาลพึงเชื่อว่าคณะสงฆ์ต้องการกำลังจากภายนอกในการแก้ปัญหาภายในของตัวเอง เพราะในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ สงฆ์ไม่อยู่ในฐานะที่จะช่วยตัวเองได้ ไม่ว่าเรื่องใดใด (เช่นกรณียันตระเป็นต้น) ฉะนั้น ยุคนี้ หากจะคิดรักษาพระพุทธศาสนาแล้ว จะอยู่ที่ฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายฆราวาสญาติโยม อุบาสกอุบาสิกาทั้งสิ้นที่จะยื่นมือเข้าไปจัดการให้วงการสงฆ์มีกำลังวังชาขึ้นเสียก่อน แต่วิถีทางการจัดการให้นั้น จะต้องเป็นการจัดการให้พระสงฆ์ดำเนินไปในวิถีธรรมให้ได้เท่านั้น มิใช่จัดการให้ตามใจกิเลส 

๕.๒         การกำหนดมาตรการต่าง ๆ ทางกฎหมาย พึงกำหนดโดยเหตุผลและข้อเท็จจริงหรือข้อมูลที่ได้รวบรวมมา แล้วดำเนินการไปโดยเด็ดขาดตามนั้น ไม่ควรมีอคติในการตัดสินใจ ไม่ควรเกรงใจฝ่ายสงฆ์โดยไม่มีเหตุผล เพราะสงฆ์ทุกวันนี้ มิได้มีสถานะ แห่งสุขภาพของนักบวชอันสบูรณ์ หากแต่เหมือนคนไข้ จะต้องอาศัยคนภายนอกช่วยรักษาเยียวยาหรือรักษาผ่าตัดให้ ดังกล่าวแล้วในข้อต้น 

๕.๓         พยายามลิดรอนระบบเจ้าขุนมูลนายในคณะสงฆ์ลงไปตามลำดับ เพื่อเห็นแก่ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ทุกคนปรารถนา และเพื่อเกิดประชาธิปไตยในหมู่สงฆ์ด้วย เหตุผลในเรื่องนี้ก็คือเรื่องราวของวัฒนธรรม วัฒนธรรมสำหรับประชาธิปไตยก็ต้องเป็นวํฒนธรรมวิทยาศาสตร์ มิใช่วัฒนธรรมไสยศาสตร์หรือวัฒนธรรมเจ้าขุนมูลนายอีกต่อไป ประชาธิปไตยจะเจริญเติบโตไปไม่ได้ หากพื้นฐานวัฒนธรรมไสยศาสตร์หรือเจ้าขุนมูลนายยังคงดำเนินไปเช่นนี้ 

๕.๔            จะต้องศึกษาข้อมูลอย่างต่อเนื่องไปอีก เพื่อเตรียมการแก้ไขพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ในประมาณ ๕ ปีข้างหน้า เพื่อให้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์นั้น สามารถครอบคลุมวิถีธรรมได้ทั้งหมด เพราะวิธีการทางกฎหมายนั้น มีความจำเป็นสำหรับยุคสมัยนี้ เพื่อที่กฎหมายจะทดแทนพระวินัยได้โดยสมบูรณ์ จึงจำเป็น จะต้องทำหารศึกษาเก็บข้อมูลไปให้ละเอียดตั้งแต่บัดนี้ และจะต้องศึกษาทำความเข้าใจในวิธีการเขียนกฎหมายให้ทดแทนวิถีพระธรรมวินัยให้สมบูรณ์แบบ จึงจะสามารถ พิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้ แสดงความคิดเห็นมาข้างต้นด้วยบริสุทธิ์ใจ และประสงค์ให้ข้อมูลที่แท้จริงอย่างเต็มที่อย่างไม่มีอคติ เพื่อการแก้ไขมีประสิทธิภาพ. 

 

  • ขอให้ใช้ชื่อนี้ : “หิริ โอตตัปปะ” แทน พระพยับ ปญฺญาธโร                                                  อดีตเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ)  วัดมหาพุทธาราม จังหวัดศรีสะเกษ                                    ๑๙ ก.พ. ๒๕๓๙   
  • พระพยับ ปญฺญาธโร อดีตเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ                                               วัดมหาพุทธาราม ต.เมืองเหนือ อ.เมืองจ.ศรีสะเกษ ๓๓๐๐๐                                                           โทร.- โทรสาร (๐๔๕) ๖๒๒๔๕๕
  • ดี4 วิเคราะห์ข่าวในวงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดภาคอีสาน มิ.ย.40

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 4.       บทวิเคราะห์ ร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ฉบับใหม่

ของกระทรวงศึกษาธิการ

ก.    ร่าง พรบ.คณะสงฆ์ฉบับใหม่ : ร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. …….......

ข.    ร่าง พรบ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ……...........

(ฉบับ กระทรวงศึกษาธิการ) 

ร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ฉบับใหม่นี้ เป็นกฎหมายที่กำหนดโครงสร้างที่สำคัญของ คณะสงฆ์ และทั้งหมดเป็นโครงสร้างทางอำนาจแทบทั้งสิ้น มิได้มีโครงสร้างทางคุณธรรม จึง เป็นเรื่องที่ต้องศึกษาดูให้รู้ให้เข้าใจว่าอะไรเป็นอะไรอย่างทะลุ ปรุโปร่งให้รอบคอบที่สุด 

 

บทวิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ........ 

วิเคราะห์ประเด็นสำคัญ ร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ....

1.        ร่าง พรบ.ฉบับนี้ ตั้งตำแหน่งใหม่ขึ้นมา รวมกับตำแหน่งเดิมแล้วจำนวนมากมาย

1.1         ตำแหน่ง สกลมหาสังฆปริณายก สำหรับประมุขสูงสุดของหมู่สงฆ์ คือ สมเด็จพระสังฆราช มาจากสมเด็จ      พระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์,

1.2        ตำแหน่ง พระสังฆาธิการ :ซึ่งกำหนดตั้งแต่ กรรมการมหาเถรสมาคม, สังฆนายก, รองสังฆนายก, สังฆมนตรีว่าการ, สังฆมนตรีช่วยว่าการ, เจ้าคณะใหญ่, รองเจ้าคณะใหญ่, เจ้าคณะภาค, รองเจ้าคณะภาค, เจ้าคณะจังหวัด, เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร, รองเจ้าคณะจังหวัด, รองเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร เจ้าคณะอำเภอ, เจ้าคณะเขต, เจ้าคณะกิ่งอำเภอ, รองเจ้าคณะอำเภอ, รองเจ้าคณะเขต, เจ้าคณะตำบล, เจ้าคณะแขวง, เจ้าอาวาส, รองเจ้าอาวาส และ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส

1.3        ยังมีตำแหน่งอื่นที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มหาเถรสมาคมกำหนดอีกแล้วแต่ท่านจะกำหนดกี่ตำแหน่งก็ได้ตามความจำเป็น

1.4        มีตำแหน่ง กิตติมศํกดิ์ พระสังฆาธิการที่เกษียณเมื่ออายุ 80 แล้วทุกรูป ยังให้เป็นอยู่ในตำแหน่งชื่อเดิมแต่เป็น กิตติมศักดิ์

1.5       พระอุปปัชฌาย์

1.6        มีตำแหน่งที่มิใช่พระสังฆาธิการ ได้แก่ เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช, เลขาธิการมหาเถรสมาคม, รองเลขาธิการมหาเถรสมาคม, เลขานุการคณะสงฆ์ส่วนกลาง, พระธรรมธรชั้นสูงสุด, พระวินัยธรชั้นสูงสุด, เลขานุการเจ้าคณะภาค, เลขานุการรองเจ้าคณะภาค, ระดับจังหวัด มีตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิ มากมาย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการปกครอง, ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศาสนศึกษา, ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเผยแผ่, ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการต่างประเทศ, ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศาสนูปถัมภ์, ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพระธรรมวินัย, เลขานุการคณะสงฆ์ส่วนจังหวัด, ผู้ช่วยเลขานุการคณะสงฆ์ส่วนจังหวัด, เลขานุการเจ้าคณะจังหวัด, เลขานุการรองเจ้าคณะจังหวัด, เลขานุการเจ้าคณะอำเภอ, เลขานุการรองเจ้าคณะอำเภอ, เลขานุการเจ้าคณะตำบล, พระธรรมธรชั้นต้น,พระวินัยธรชั้นต้น, ระดับวัด นอกจากมีตำแหน่งพระสังฆาธิการคือ เจ้าอาวาส วัดละ 1 ตำแหน่ง,รองเจ้าอาวาสวัดละ หลายตำแหน่ง, ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดละหลายตำแหน่ง แล้ว ยังมีตำแหน่ง หัวหน้าสำนักแม่ชี สำหรับวัดที่มีแม่ชี 1 หรือหลายตำแหน่ง

*** สรุปแล้ว มีการจัดสรรตำแหน่งงานสำหรับพระภิกษุสงฆ์ทุกระดับ มากมายหลายตำแหน่ง จนกระทั่งน่าคิดว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ มองปัญหาการคณะสงฆ์ไปอย่างเดียวกับปัญหากรรมกรว่างงาน การออกพระราชบัญญัตินี้มา ก็เพื่อแก้ปัญหาพระสงฆ์ว่างงานอย่างนั้น กลาย เป็นเรื่องที่มิได้จริงใจจริงจังกับการแก้ไขปัญหาคณะสงฆ์ไปโดยอิงหลักพระธรรมวินัย ไม่ได้มองปัญหาด้านพระธรรมวินัยเป็นหลัก ดังเราจะได้วิเคราะห์ในหลักพระธรรมวินัยทีหลังว่าจะเป็นไปเช่น นั้นหรือไม่ เพียงใด

 

2.         มีการจัดระดับอำนาจเป็นส่วน ๆ ไป อีกหลายชั้น นับตั้งแต่ระดับสูงสุดคือ

2.1       สมเด็จพระสังฆราช เป็นระดับประมุขฝ่ายศาสนจักร เรียกว่า สกลมหาสังฆปริณายก ทรงใช้อำนาจเป็นแบบเอกเทศ ตามมาตรา 14 "สมเด็จพระสังฆราชทรงดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก ทรงบัญชาการคณะสงฆ์และทรงตราพระบัญชาโดยไม่ขัดหรือแย้งกับพระธรรมวินัย กฎหมาย และกฎมหาเถรสมาคม"

2.2       มหาเถรสมาคม พร้อม สำนักงานเลขาธิการมหาเถรสมาคม เป็นส่วนงาน มีหน้าที่เกี่ยวกับงานเลขานุการ งานประชุม งานธุรการ งานวิชาการ และงานบริหารทั่วไป เพื่อสนองงานมหาเถรสมาคมมี เลขาธิการมหาเถรสมาคม เป็นหัวหน้าสำนักงานนี้ และมี รองเลขาธิการ มหาเถรสมาคมเป็นผู้ช่วยบริหารงาน,

2.3.      ระดับ คณะสงฆ์ส่วนกลาง มี สังฆนายก เป็น ประธานกรรมการ มีรองสังฆนายก มี สังฆมนตรีว่าการ มี สังฆมนตรีช่วยว่าการ จำนวนไม่เกิน 24 รูป เป็นกรรมการ ให้มี เลขานุการ 1 รูป พร้อมกันนี้ ให้จัดตั้ง สำนักสงฆ์ส่วนกลาง เป็นส่วนงาน มีฐานะเป็นนิติบุคคลขึ้นมาทำหน้าที่บริหารงาน

*** เจ้าคณะใหญ่ - รองเจ้าคณะใหญ่ เจ้าคณะภาค- รองเจ้าคณะภาค สังกัดในคณะสงฆ์ส่วนกลางนี้ และจะให้มีหรือไม่มีก็ได้ (ม.26 และ ม.37 )

 

2.4       คณะสงฆ์ส่วนจังหวัด ประกอบด้วย เจ้าคณะจังหวัดซึ่งอาวุโสสูงสุดโดยพรรษา เป็นประธานกรรมการ เจ้าคณะจังหวัดซึ่งอาวุโสโดยพรรษารองลงมา เป็นรองประธานกรรมการ มีกรรมการ ฝ่ายสงฆ์ ประกอบด้วย รองเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะกิ่งอำเภอ และ ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการปกครอง การศาสนศึกษา การเผยแผ่ การต่างประเทศ การศาสนูปถัมภ์ และการพระธรรมวินัย ซึ่งเป็นพระภิกษุจำนวนไม่น้อยกว่า 10 รูปแต่ไม่เกิน 15 รูป เป็นกรรมการ

และ ให้ เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดซึ่งเป็นประธานกรรมการ เป็นเลขานุการคณะสงฆ์ส่วนจังหวัด เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดซึ่งเป็นรองประธานกรรมการ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

2.5        คณะสงฆ์ส่วนกรุงเทพมหานคร เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร เป็นประธานกรรมการ รองเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร เป็นรองประธาน มีกรรมการ ฝ่ายสงฆ์ ประกอบด้วย รองเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร เจ้าคณะเขต และ ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านต่าง ๆ คือ ด้านการปกครอง การศาสนศึกษา การเผยแผ่ การต่างประเทศ การศาสนูปถัมภ์ และการพระธรรมวินัย ซึ่งเป็น พระภิกษุ จำนวนไม่น้อยกว่า 10 รูปแต่ไม่เกิน 15 รูป เป็นกรรมการ

2.6       ระดับวัด : (วัด และ สำนักสงฆ์) วัดจะถูกควบคุมโดย พรบ.ว่าด้วยการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา

มาตรา 49           ในวัดมีเจ้าอาวาสเป็นพระภิกษุรูปหนึ่ง เป็นผู้แทนของวัด บังคับบัญชาศาสนบุคคล    และคฤหัสถ์ที่อาศัยอยู่ในวัด

            วัดใดมีสำนักชีอยู่ จะให้หัวหน้าสำนักแม่ชีคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้รับผิดชอบช่วยเหลือเจ้าอาวาสในส่วนของแม่ชีก็ได้

รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส และหัวหน้าสำนักแม่ชี มีอำนาจหน้าที่ตามคำสั่งที่เจ้าอาวาสมอบหมาย

4.         สถาบันพัฒนาพระสังฆาธิการ และสถาบันพัฒนาแม่ชี เป็นสถาบันกากรศึกษาและอบรมของคณะสงฆ์ เพื่อผลิตบุคคลากรด้านบริหาร วิชาการ เผยแผ่ สงเคราะห์ วิจัยและพัฒนา ครูวิทยากร และเฉพาะการอื่นใดในกิจการคณะสงฆ์

 

5. บทกำหนดโทษ

มาตรา 80           ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายสมเด็จพระสังฆราช ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

***ควรเพิ่ม         "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงการลบหลู่ หรือกระทำด้วยประการใดอันยังความเสื่อมเสียแก่พระพุทธศาสนา ศาสนบุคคล ศาสนธรรม อันเป็นที่เคารพสักการะสูงสุดทางพระพุทธศาสนา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" 

ข้อสังเกต           ระบบอำนาจพร้อม สำนักงานที่ตั้งขึ้นใหม่ตามร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ใหม่ของกระทรวงศึกษาธิการนี้ มิได้กล่าวถึงภาระหน้าที่ตามธรรมตามวินัยของหมู่สงฆ์ แต่เป็นภาระหน้าที่การบริหารงาน การดูแลจัดการในด้านวัตถุธรรมล้วน ๆ จึงมีลักษณะมิต่างจากการจัดตั้งหน่วยราชการขึ้นมาใหม่ ๆ แล้วจัดสรรกำลังคนบรรจุเข้าไปในตำแหน่งต่าง ๆ โดยถือเสมือนหนึ่งพระภิกษุสงฆ์เป็นคนธรรมดา มิได้คำนึงว่า พระสงฆ์นั้นเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ และขาดความรู้ความชำนาญทางการบริหาร จึงน่าจะเป็นการมองปัญหาที่ไม่ตรงความจริงเสียแล้วแต่เบื้องต้น 

 

 

บทวิเคราะห์ร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ.....

 วิเคราะห์ประเด็นสำคัญ ร่างพรบ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ.... 

1.        ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาใหม่ 3 คณะ ดังนี้

1.1.       คณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

(กอค.พช.) มี รัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ และกรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ปลัดกระทรวงต่าง ๆ ทุกกระทรวง เช่น ปลัดกระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม, ปลัดกระทรวงกลาโหม, ปลัดกระทรวงมหาดไทย, เป็นต้น หัวหน้าส่วนราชการ ส่วนงานเอกชนเช่น นายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, ประธานสภายุวพุทธิกสมาคมแห่งชาติในพระบรมราชูปถัมภ์, นอกจากนี้ มีกรรมการจากการแต่งตั้ง เรียกว่า ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจาก พระภิกษุ และหรือคฤหัสถ์จำนวนไม่น้อยกว่า 12 รูป/คนแต่ไม่เกิน 15 รูป/คน เป็นกรรมการ

*** ตามร่างนี้ ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับเลขาธิการ กอค.พช.บอกแต่ว่า "ให้ เลขาธิการ กอค.พช. เป็นเลขานุการ"

*** ประธาน กอค.พช. ควรจะเป็น นายกรัฐมนตรี และ เลขานุการ กอค.พช. ควรจะเป็น รัฐมนตรี

 

2.       คณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาส่วน จังหวัดแต่ละจังหวัด (กอค.พจ.)

            มี ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ, นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นรองประธานกรรมการ, นายกเทศมนตรี เป็นกรรมการ, หัวหน้าส่วนราชการ และ หัวหน้าสถานศึกษาในจังหวัดซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 9 คนแต่ไม่เกิน 12 คน เป็นกรรมการ, นายกพุทธสมาคมประจำจังหวัด, นายกยุวพุทธิกสมาคมประจำจังหวัด, ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจาก พระภิกษุ และหรือคฤหัสถ์ จำนวนไม่น้อย กว่า 12 รูป/คน แต่ไม่เกิน 15 รูป/คน เป็นกรรมการ 

3.         คณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาส่วน กรุงเทพมหานคร (กอค.พกท.)

มี ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานกรรมการ, ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม, ผู้แทนกองทัพบก, ผู้แทนกองทัพเรือ, ผู้แทนกองทัพอากาศ, ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ, ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, ผู้แทนกรมศิลปากร, ผู้แทนกรมการศาสนา, ผู้แทนกรมการศึกษานอกโรงเรียน, ผู้แทนกรมการปกครอง, ผู้แทนกรมการพัฒนาชุมชน, ผู้แทนกรมประชาสงเคราะห์ เป็นกรรมการ, หัวหน้าสถานศึกษา ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 9 คนแต่ไม่เกิน 12 คน เป็นกรรมการ, ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจาก พระภิกษุ และหรือคฤหัสถ์จำนวนไม่น้อย กว่า 12 รูป/คน แต่ไม่เกิน 15 รูป/คน เป็นกรรมการ

 

4.         อำนาจหน้าที่ กอค.พช. (ระดับชาติ)และอำนาจหน้าที่ กอค.พจ.- กอค.พกท. (ระดับจังหวัด) ที่น่าสังเกต ได้แก่

4.1        "มาตรา 28 ให้จัดสรรงบประมาณให้แก่วัดที่จัดศาสนศึกษาขั้นพื้นฐานตามแผนการศึกษาพระพุทธศาสนาแห่งชาติควบคู่กับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตาม กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ในส่วนสัดที่เท่ากับสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาในระดับเดียวกัน"

4.2         "มาตรา 43 การลงนิคหกรรมและการล่วงละเมิดพระธรรมวินัยในกรณีใด ถ้า กอค.พช. กอค.พจ. กอค.พกท. คณะสงฆ์หรือพระสังฆาธิการจำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ชำนาญการตรวจทดสอบข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานด้วยอุปกรณ์ เทคนิคแลและวิธีการพิเศษเพิ่มเติมจากขั้นตอนของคณะสงฆ์เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยกรณีดังกล่าวด้วย ก็ให้ดำเนินการได้เมื่อมีการร้องขอ และให้ถือว่าผู้ได้รับแต่งตั้งให้ตรวจทดสอบนั้นเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ และมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ในกรณีนั้นด้วย"

4.3        "มาตรา 56 ห้ามมิให้ผู้ใดหรือวัดจัดทำ สร้าง ปลุกเสก หรือโดยกรรมวิธีอื่นใดหรือสนับสนุนการกระทำดังกล่าว ที่ไม่เกื้อกูลต่อศาสนธรรมในพระพุทธศาสนาด้วยวิธีการซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ ให้เช่า ประดิษฐาน มีไว้เพื่อการสักการบูชา ใช้ประกอบพิธีกรรม พิธีไสยศาสตร์ อวดอิทธิปาฏิหาริย์ ใบ้หวย หลอกลวง เพื่อลาภสักการ ก่อให้เกิดภยันตราย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี เว้นแต่เป็นกรณีตามมาตรา 49 มาตรา 52 และมาตรา 53"

4.4        "มาตรา 38 ศาสนธรรมต้องได้รับการคุ้มครอง ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการบิดเบือน ฉ้อฉลเหยียดหยามหรือทำลาย

"มาตรา 78 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 38 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่สามหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

4.5       อำนาจหน้าที่ที่น่าสังเกต ตาม มาตรา 62 คือ

(3)     บำรุงรักษาวัด ควบคุมดูแลศาสนบุคคล แม่ชี ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ และ จัดการทรัพย์สินของวัด

(6)        รวบรวมเงินบริจาคและเงินรายได้สมทบทรัพย์สินส่วนพระพุทธศาสนา และอุปถัมภ์วัดในท้องถิ่น

(9)        แต่งตั้งคณะทำงาน และผู้ตรวจสอบทรัพย์สินของวัด

(10)      จัดทำบัญชีรายรับ รายจ่ายของวัดประจำปี และประกาศให้พุทธศาสนิกชนทราบโดยทั่วกัน

"มาตรา 63        การทำนิติกรรม สัญญา และการดำเนินคดีในการจ้าง จัดหา ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ เช่า ทรัพย์ เช่าซื้อเกี่ยวกับทรัพย์สิน และหรือการอื่นใดในกิจการคณะสงฆ์ พระสังฆาธิการและวัด ให้มอบหมาย คฤหัสถ์ เป็นตัวแทนเพื่อกระทำการดังกล่าว แล้วแต่กรณี"

"มาตรา 64        ในกรณีที่มีเหตุใด ๆ อันจะเกิดขึ้นก็ดี จะให้ผลพิบัติเป็นภยันตรายเกิดความเสียหายแก่พระพุทธศาสนาด้านศาสนธรรม ศาสนบุคคล ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ หรือศาสนศึกษาก็ดี คณะสงฆ์หรือพระสังฆาธิการไม่อาจระงับเหตุหรือขจัดกรณีที่เกิดขึ้นก็ดี หรือวิธีการและขั้นตอนการคุ้มครองนั้นไม่เหมาะสมกับสมณวิสัยหรือเกินความสามารถที่จะกระทำได้ก็ดี ให้ กอค.พช. มีอำนาจหน้าที่ให้การคุ้มครองขจัดปัญหา วินิจฉัยสั่งระงับเหตุ หรือดำเนินคดีในกรณีนั้นได้ และให้ถือว่า กอค.พช. เป็นผู้เสียหาย ในกรณีนั้นด้วย"  

4.6       ทรัพย์สินส่วนพระพุทธศาสนา

                       “มาตรา 91 ให้จัดตั้ง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระพุทธศาสนา และให้โอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน และเจ้าหน้าที่ศาสนสมบัติกลางไปเป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระพุทธศาสนา ภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

4.7      ทรัพย์สินส่วนพระพุทธศาสนาประกอบด้วย

(1) ศาสนสมบัติกลางตามกฎหมายคณะสงฆ์ที่ มหาเถรสมาคมและ อกค.พช. กำหนด

                       "มาตรา 68 ให้คณะกรรมการทรัพย์สินวางและถือไว้ซึ่ง ระบบการบัญชี ที่เหมาะสมแก่กิจการตามที่คณะกรรมการทรัพย์สินกำหนด แยกตามประเภทงานส่วนที่สำคัญ มีสมุดบัญชีลงรายรับและจ่ายเงินทรัพย์สินและหนี้สิน ที่แสดงกิจการที่เป็นอยู่ตามประเภทงาน และให้มีการตรวจสอบบัญชีภายในเป็นประจำ"

"มาตรา 69 ให้คณะกรรมการทรัพย์สินจัดทำงบดุลและบัญชีทำการ ส่งผู้ตรวจสอบบัญชีตรวจสอบภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันสิ้นปีบัญชีทุกปี

ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีของคณะกรรมการทรัพย์สิน แล้วทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอคณะกรรมการทรัพย์สิน"

"มาตรา 70 ให้คณะกรรมการทรัพย์สินเสนองบดุลแสดงฐานะการเงินโดยมีคำรับรองการตรวจสอบเงินแผ่นดิน เสนอรายงานประจำปีต่อ กอค.พช."

4.8        บทกำหนดโทษ

"มาตรา 86 ผู้ใดเสพเมถุนในขณะเป็นศาสนบุคคลหรือในขณะแต่งกายแสดงว่าตนเป็นศาสนบุคคล และ ผู้ร่วมเสพเมถุนกับบุคคลดังกล่าว ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

"มาตรา 91 ให้จัดตั้งสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระพุทธศาสนา และให้โอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน และเจ้าหน้าที่ศาสนสมบัติกลางไปเป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระพุทธศาสนา ภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ" 

4.9        สิ่งที่น่าสนใจบางเรื่อง

มาตรา 42 วรรคสอง "ภายใต้กฎหมายว่าด้วยชื่อบุคคล ชื่อสกุล ให้ใช้คำว่า "พระ" นำหน้าชื่อและต่อท้ายด้วย "ฉายา" ควบคู่ไปกับคำดังกล่าวหรือสมณศักดิ์สำหรับพระภิกษุ และให้ใช้คำว่า "สามเณร" นำหน้าชื่อและต่อท้ายด้วย "นามสกุล" สำหรับสามเณร แล้วแต่กรณี"

*** ควรเพิ่มเติม เมื่อพระสงฆ์ได้อายุพรรษาสูงถึงระดับ เถร มหาเถร แล้ว ควรสนธิคำว่า "เถร" หรือ "มหาเถร" เข้ากับ "ฉายา" เดิมด้วย เช่น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสน์ วาสนมหาเถร), สมเดํจพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร), พระธรรมปัญญาบดี (สวัสดิ์ กิตติสารเถร) หรือพระที่ไม่มีสมณศักดิ์ โดยสมมติ เช่น พระสรณิศย์ สรณิศยมหาเถร เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องหลักภราดรภาพตามธรรมตามวินัย 

 

ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะประเด็นสำคัญ  

1.         พระสงฆ์ที่มีตำแหน่งและสมณศักดิ์ชั้นสูงอยู่ตามกฎหมายเดิมแล้ว ก็คงจะชอบ เพราะเป็นโอกาศอันดีที่จะได้ตำแหน่งที่สูงขึ้น เพราะกฎหมายใหม่จัดสรรหน่วยงานและตำแหน่งเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย จนดูดั่งว่าเพื่อเอื้อประโยชน์แด่การได้ตำแหน่งและการเลื่อนตำแหน่งของพระสังฆาธิการโดยเฉพาะ

            ส่วนพระที่ไม่มีตำแหน่ง ไม่มีสมณศักดิ์ เป็นพระลูกวัดทั้งหลายคงจะไม่ชอบ เพราะได้จัดแบ่งระดับชนชั้นในหมู่สงฆ์เพิ่มขึ้นไปอีก และพระธรรมดา พระไม่มีตำแหน่งและไม่มีสมณศักดิ์ทั้งหลาย ก็จะอยู่ชั้นต่ำสุดของชนชั้นในหมู่สงฆ์

กฎหมายใหม่ จึงดูเหมือนมีเจตนาโดยตรงในการจัดระดับชนชั้นผู้ปกครองขึ้นมาอีกหลายชั้น เพื่อจะควบคุมปกครองพระสามัญชนทั่ว ๆ ไป ทำให้หมู่สงฆ์ถูกกำหนดชนชั้นเป็นสองชนชั้นใหญ่ ๆ คือ ชนชั้นผู้ปกครอง และ ชนชั้นผู้ถูกปกครอง ซึ่งไม่สอดคล้องหลักพระธรรมวินัยที่ถือหลักการแห่งภราดรภาพ หลักศีล ทำให้สงฆ์แตกแยกกันเป็นชนชั้นอย่างไม่ชอบด้วยธรรมด้วยวินัยเลย

2.       พระทีที่มีตำแหน่งมียศ-สมณศักดิ์อยู่แล้ว ก็จะเลือกชอบร่างกฎหมายนี้บางมาตรา และไม่ชอบบางมาตรา โดยมองจากกิเลสหรือผลประโยชน์ของตัวเองที่จะได้จากการออกกฎหมายนี้ มาตราที่ท่านชอบที่อำนวยประโยชน์ทางตำแหน่งและยศศักดิ์ท่านก็จะไม่คัดค้าน ก็จะยินดีสนับสนุนโดยไม่คำนึงเหตุผลทางพระธรรมวินัย ส่วนมาตราที่ท่านไม่ชอบ ก็จะคัดค้าน โดยไม่คำนึงเหดุผลที่ชอบตามธรรมตามวินัยอีกเช่นกัน และกฎหมายฉบับนี้ไม่คำนึงถึงหลักการการเข้าสู่ตำแหน่ง คงมองไปตามแบบเดิมอยู่ คือคำนึงอาวุโส และสมณศักดิ์ เป็นหลัก และซึ่งเท่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ การเข้าสู่ตำแหน่งต่าง ๆ ทางคณะสงฆ์มีข้อบกพร่องอย่างยิ่งใหญ่ที่ไม่คำนึงความรู้ความสามารถ ความมีสติปัญญาตามธรรมตามวินัย หากสิ่งสำคัญที่ให้ได้เข้าสู่ตำแหน่งหรือสมณศักดิ์ กลับเป็นเงิน อามิส ความมั่งคั่งของพระสงฆ์ ทำให้ได้คนในตำแหน่งที่ปราศจากความสามารถ ปราศจากภูมิปัญญา ปราศจากการเสียสละที่คิดมุ่งหวังอุทิศตนเพื่อทำประโยชน์ต่อการพระพุทธศาสนาในส่วนรวม ไม่สามารถมองกาลโดยรอบสถานการณ์แห่งโลกปัจจุบัน ไม่อาจคิดการป้องกันปกป้อง แก้ไขปัญหาปัญหาการพระพุทธศาสนาได้ดังหวัง

 

3.            พระที่จะไม่ได้ประโยชน์แต่จะเสียประโยชน์อย่างยิ่งก็คือ พระป่า พระฝ่ายปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ที่มุ่งศึกษากรรมฐานด้านสมถกรรมฐาน การธุดงค์กรรมฐาน และด้านวิปัสนาธุระ ซึ่งจะเดินตามหลักพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด นั่นก็คือ ท่านเหล่านี้จะวางโลกธรรมทั้ง 4 ลาภ ยศ สรรเสริญ และสุขลงเสีย จะไม่สนใจและแสวงหาตำแหน่งหรือสมณศักดิ์ใดใด อันเป็นวิถีทางที่แท้จริงตามธรรมตามวินัย หากแต่กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้กำหนดมาตรการใดใดที่จะช่วยอุปถัมภ์คุ้มครองให้การบำเพ็ญตนประพฤติตามธรรมตามวินัยนี้เป็นไปอย่างสะดวก สามารถประพฤติธรรมกรรมฐานที่จำเป็นได้ทุกแบบทุกชนิดมีในพระพุทธศาสนธรรม มีอิสรเสรีตามธรรมตามวินัย และปราศจากการรบกวน การแสดงอำนาจระรานจากพระระดับนักปกครองที่มีอำนาจจากตำแหน่งและสมณศักดิ์ ที่กฎหมายรับรองเหล่านั้นได้ และซึ่งแท้จริงกฎหมายควรจะเน้นความหมายในด้านการส่งเสริมให้การคณะสงฆ์เป็นไปตามธรรมตามวินัย ให้ความสำคัญแด่พระสงฆ์ผู้ประพฤติตนตามธรรมตามวินัย มากกว่าจะสร้างระบบที่ส่งเสริมให้การคณะสงฆ์เป็นไปตามวิถีทางโลกซึ่งจะเท่ากับไปส่งเสริมหรือเชิดชูยกย่องพระผู้แสวงหาโลกธรรม ให้อำนาจแด่พระผู้มีกิเลส เพื่อครอบงำบัญชาสั่งการพระผู้มักน้อยสันโดษ ผู้ประพฤติละเลิกโลกียวิสัยทั้งมวลเพื่อการก้าวหน้าไปตามธรรมตามวินัย คืออริยมรรคอริยผลอันเป็นหลักการสำคัญของพระพุทธศาสนาไปตามลำดับ เพราะนั่นคือการบ่อนทำลายอุดมการสูงสุดของพระพุทธศาสนา และบ่อนทำลายวิถีทางแห่งศาสนบุคคลผู้ประเสริฐสุดในพระพุทธศาสนา 

4.      ผลเสียในรูปรวมของคณะสงฆ์ก็คือ บรรดาพระที่ได้ตำแหน่งได้ยศศักดิ์ใหญ่โตเหล่านี้ จะไม่สนใจภาระหน้าที่ตามธรรมตามวินัย กล่าวคือการมุ่งหมายฝึกตนให้ละลดเสียจากกิเลส ราคะ ตัณหา อุปาทาน จะหลงตนไปกับอำนาจที่โลกหยิบยกให้นี้ และมักจะใช้อำนาจไปในทางที่กดขี่ ยกตนข่มท่าน แม้พระที่ท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ที่ท่านไม่มียศไม่มีตำแหน่งหรือสมณศักดิ์ใดใดก็จริง หากแต่ภูมิพื้นฐานทางธรรมทางวินัยนั้นสูงส่ง มีมรรคผลนิพพาน อันเป็นผู้ที่ดำรงตนชอบตามธรรมตามวินัยจริง ๆ เป็นเหตุให้ผู้ประพฤติธรรมประพฤติตนที่ถูกต้องตามธรรมตามวินัยถูกกดขี่ระราน จึงต้องมีมาตรการรับรองคุ้มครองมิให้ท่านผู้ประพฤติธรรมเหล่านี้ ได้ปลอดจากอำนาจบังคับบัญชาที่ไม่ชอบตามธรรมตามวินัย ที่จะระรานความประพฤติตามธรรมตามวินัยของท่านเหล่านี้อย่างมั่นคงอย่างยิ่งด้วย 

5.            ในด้านพระที่ดำรงตำแหน่งและมีสมณศักดิ์ ก็จะกลายเป็นพระราชการ ที่มีศํกดิ์ศรียิ่งกว่าข้าราชการในรัฐบาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในกระทรวงทบวงกรม เพราะเป้นข้าราชการที่พร้อมด้วยตำแหน่งสูงส่งและพร้อมด้วยสมณศักดิ์ มิแตกต่างจากเจ้าขุนมูลนายสมัยก่อนเลย และด้วยเหตุนี้ ตำแหน่งต่าง ๆ จะเป็นตัวการให้เกิดการปองหมายและเป็นเป้าหมายของชีวิตพระสงฆ์แต่ละรูปต่อไป จะพากันตั้งเป้าหมายแห่งการบวชเข้ามาสู่พระศาสนานี้ว่าจะต้องเป็นไปในทิศทางแห่งเกียรติศักดิ์มีตำแหน่งและสมณศักดิ์ดังกล่าว แทนที่จะตั้งเป้าหมายการสละ สันโดษ เพื่อมุ่งขัดเกลากิเลสเพื่อการรู้แจ้งทุกข์ตามรอยพระอริยเจ้า ก็จะมีแต่การแก่งแย่งตำแหน่งและสมณศักดิ์เหล่านี้มากยิ่งขึ้น ๆไปกว่าเดิมอีก ในวงการพระสงฆ์องค์เจ้าจะเต็มไปด้วยความอิจฉาริษยากันเอง คอยแต่ต้านทาน ปัดแข้งปัดขา หรือกีดกัน เป็นศัตรูต่อกันและกัน จนกลายเป็นว่าเกิดความแตกแยกขึ้นในหมู่สงฆ์อย่างถาวรขึ้นในวงการสงฆ์เพราะพระราชบัญญัตินี้เป็นต้นเหตุ กรณีเคยมีมาเป็นตัวอย่างแล้ว สมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ พระสงฆ์มีความอิจฉาริษยาแก่งแย่งตำแหน่งกันอยู่เป็นประจำ จนท้ายที่สุดแก่งแย่งตำแหน่ง สังฆนายก สังฆมนตรี กันจนเกิดกรณีพระพิมลธรรมขึ้น จอมพลสฤษดิ์ จึงให้ยกเลิกตำแหน่งเหล่านี้ ตัดทอนลงให้เหลือน้อยที่สุด ด้วยเหตุผลว่า พระสงฆ์องค์เจ้าผู้ทรงธรรมทรงวินัยไม่พึงยึดติดในตำแหน่ง ควรออกกฎหมายลดทอนตำแหน่งให้น้อยลงไปจึงจะสอดคล้องและเอื้อต่อธรรมต่อวินัย ฉะนั้นทุกวันนี้จึงเหลือแต่ระดับมหาเถรสมาคม และตำแหน่งพระสังฆาธิการระดับเจ้าคณะภาคลงมา ซึ่งนับว่าเป็นการวางแนวทางระบบสงฆ์ที่คล้อยไปในแนวทางพระธรรมวินัยไว้แล้ว มีแต่ต้องค่อยลดทอนตำแหน่งให้น้อยลงไปกว่านี้อีก กระนั้นปัญหาใหญ่ในวงการคณะสงฆ์ก็คือปัญหาการยึดมั่นถือมั่นในตำแหน่งและสมณศักดิ์นี่เอง อันเป็นต้นเหตุให้สงฆ์ใฝ่ไปในทางที่นอกทางพระธรรมพระวินัย จนละเลยการศึกษาตามธรรมตามวินัยไปแทบทั้งสิ้น บัดนี้กฎหมายใหม่จะเพิ่มเติมตำแหน่งขึ้นมาอีกมากมาย ก็จะนำไปสู่ปัญหาเดิม ๆ นั้นยิ่งไปกว่าเดิมอีก และต้องถือว่าเป็นการหลงผิด เป็นการร่างกฎหมายที่ไม่เอื้อและไม่สอดคล้องตามหลักพระธรรมพระวินัย ย่อมไม่บังควรอย่างยิ่ง

6.          เมื่อได้ตำแหน่งและสมณศักดิ์ ก็จะกระหยิ่มยิ้มย่องไม่สำนึกในภาระหน้าที่แห่งตำแหน่งหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบอยู่ จะอาศัยตำแหน่งและสมณศักดิ์นั้นแสวงหาแต่ประโยชน์ส่วนตน จะไม่เอาใจใส่ในการดูแลทำนุบำรุงและปกป้องภัยในพระพุทธศาสนา ไม่สนใจแก้ไขสถานการณ์สังคมที่เป็นไปอย่างปราศจากคติทางศาสนา และไม่สำนึกในความรับผิดชอบต่อส่วนรวม

จึงจำเป็นที่จะต้องให้มีมาตรการการตรวจสอบ โดยให้พุทธบริษัท 4 คือ อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุ และภิกษุณี เป็นส่วนบุคคลหรือหมู่ ร่วมทั้งสื่อมวลชนแห่งชาติ สามารถตรวจสอบดูแล ควบคุมการบริหารของคณะสงฆ์ และ พระสังฆาธิการ ทั้งหลายทุกระดับชั้นได้

และกำหหนดให้ตำแหน่งทั้งสิ้นมีการหมุนเวียนพระสงฆ์ทุกรูปให้สามารถเข้าไปสู่ตำแหน่งแต่ละตำแหน่งได้ไม่เป็นการผูกขาด โดยกำหนดอายุและวาระการอยู่ในตำแหน่งทุกตำแหน่ง เพื่อมิให้พระสงฆ์ถูกผูกติดตายกับตำแหน่งไปจนตลอดชีวิต อันจะเป็นเหตุให้เกิดการพอกพูนกิเลศตัณหา และเป็นการเปิดโอกาศให้พระสงฆ์ผู้ดำรงตำแหน่งได้มีเวลาสำหรับการศึกษาตามธรรมตามวินัย คือการศึกษาเพื่อความพ้นทุกข์ที่แท้ ซึ่งจะต้องประกอบด้วยการศึกษาฝ่ายคันถธุระและวิปัสนาธุระ อันเป็นการศึกษาหลักและเป็นหน้าที่หลักของพระสาวก และควรมีมาตรการการสับเปลี่ยน โยกย้ายตำแหน่งพระสังฆาธิการ เพื่อประโยชน์ในการไม่ยึดมั่นในตำแหน่ง ไม่ถูกผูกติดกับที่กับตำแหน่งไปจนตลอดชีวิต อันเป็นเหตุให้กิเลสพอกพูน ไม่สอดคล้องหลักธรรมวินัยดังกล่าวอีกมาตรการหนึ่ง 

7.      ต้องกำหนดมาตรการเพิ่มเติมเข้าไปในกฎหมายฉบับนี้ ในประเด็นสำคัญ ๆ เรื่องการควบคุมการบริหารและตรวจสอบการปฏิบัติงานตามตำแหน่งภาระหน้าที่ของพระสังฆาธิการทั้งหลาย และผู้ดำรงตำแหน่งงานทั้งหลาย ในกรณีต่าง ๆ ดังนี้

7.1       กรณีที่การบริหารไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของพระพุทธศาสนา

7.2       กรณีที่ละเว้น เพิกเฉยไม่ปฏิบัติหน้าที่สมควรแก่ตำแหน่งงานที่ตนสังกัดอยู่

7.3      กรณีทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ ใช้ตำแหน่งหน้าที่ สมณศักดิ์หลอกลวงหรือข่มขู่ประชาชน

7.4        การขาดความสำนึกรับผิดชอบ ประมาทเลินเล่อ ขาดความระมัดระวังเอาใจใส่ตามควรแก่เหตุ บกพร่องด้านภูมิธรรม ภูมิปัญญา เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายหรือน่าจะเกิดความเสียหายต่อคณะสงฆ์หรือการพระพุทธศาสนาในส่วนรวม

7.5        กรณีการอาศัยตำแหน่งและสมณศักดิ์ แสวงหาประโยชน์ส่วนตน ไม่อุทิศเวลาเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม หากแต่แสวงหาประโยชน์ส่วนตนโดยอาศัยตำแหน่งและสมณศักดิ์ที่ได้มานั้น 

8.     หากไม่มีมาตรการการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของพระสังฆาธิการดังกล่าวแล้ว ก็น่าที่จะเกิดการสูญเปล่าในด้านการบุคคลากร เพราะพระสังฆาธิการเหล่านั้นก็จะบริหารงานไปด้วยขาดความสำนึกรับผิดชอบ จะแสวงหาแต่ประโยชน์ส่วนตนโดยอาศัยตำแหน่งและสมณศักดิ์ จะไม่คำนึงถึงการอุทิศตนเพื่อการพระพุทธศาสนาและการคณะสงฆ์ในส่วนรวม ซึ่งหากการเป็นไปตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ก็จะสามารถคาดคะเนได้ว่าสงฆ์เหล่านี้ก็จะรับเฉพาะงานพิธีกรรม กิจนิมนต์ต่าง ๆ อันเป็นที่มาแห่งรายได้และผลประโยชน์ส่วนตัว เป็นเงินเป็นทอง ความมั่งคั่ง ความสะดวกสบาย และพอกพูนทรัพย์สมบัติต่าง ๆ ส่วนตัว อันจะนำไปสู่ยศศักดิ์และบริวารยิ่งขึ้นไปในภายหน้า เท่านั้น จะไม่ยอมอุทิศเวลาเพื่อการดูแลการบริหารการคณะสงฆ์ โดยวิสัยของสมณะ ผู้เป็นธรรมทายาท ผู้ทรงธรรมทรงวินัย กล่าวคือ การเสียสละผลประโยชน์ส่วนตัวเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมจักไม่มีขึ้นในหมู่สงฆ์อีกต่อไป ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวนี้ ก็เห็นกันชัดเจนอยู่แล้ว ภายใต้กฏหมายคณะสงฆ์ฉบับปัจจุบัน ที่ให้อำนาจ ให้ตำแหน่ง และสมณศักดิ์ แด่พระสงฆ์ชั้นผู้ปกครองอย่างมากมายโดยปราศจากมาตรการการตรวจสอบควบคุมการบริหารไปทั้งสิ้น 

       จึงต้องมีการเพิ่มเติมมาตรการควบคุมดูแลตรวจสอบเข้าไปในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ดังนี้

9.1        พุทธบริษัทสี่ มีอุบาสก อุบาสิกา ภิกษุ ภิกษุณี แม่ชี ก็ดี พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งหรือหมู่สงฆ์หมู่ใดก็ดี มีสิทธิ์จะจะฟ้องร้องกล่าวหาชี้ความผิดของพระสังฆาธิการเหล่านั้นทุกระดับ ต่อสาธารณะ และหากเห็นว่าพระสังฆาธิการเหล่านั้นรูปใดไม่ปฏิบัติหน้าที่ ขาดความรับผิดชอบ ต่อการทำประโยชน์ส่วนรวม ขาดสำนึกอันดีเพื่อการทำนุบำรุง ป้องกันพระพุทธศาสนา หรืออาศัยตำแหน่งและสมณศักดิ์แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว และพวกของตนแล้ว ย่อมมีสิทธิ์เสนอให้มีการปลดออก ให้ออก และไล่ออกจากตำแหน่งได้เสมอเหมือนข้าราชการฝ่ายบ้านเมืองได้

9.2        ให้สิทธิแก่สื่อมวลชน อุบาสก อุบาสิกา พระสงฆ์ ที่จะตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติงานในหน้าที่ในตำแหน่งพระสังฆาธิการทุกระดับ ซึ่งการวิพากษ์วิจารณ์นั้นต้องสอดคล้องหลักพระพุทธศาสนาหรือเอื้อด้วยหลักพระธรรมวินัย กฎหมาย หรือระเบียบแบบแผนอันดีทางสังคม ทั้งมีสิทธิที่จะขอทราบข่าวสารการเงิน การบริจาค หรือข่าวสารใดใดเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมได้

9.3          ต้องมีมาตรการรับรองปกป้องพระสงฆ์ระดับผู้ถูกปกครอง ผู้ไม่มีตำแหน่งและสมณศักดิ์ หรือศาสนบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะพระผู้อาวุโส อยู่ในพระธรรมวินัยมานานระดับพระเถระ มหาเถระ ผู้มีภูมิรู้ภูมิธรรม ให้มีสิทธิ์อย่างเต็มที่ในการที่จะปฏิบัติศาสนกิจ ศาสนพิธี และศาสนศึกษาที่เป็นไปโดยชอบตามธรรมตามวินัย นับแต่การมีสิทธิ์เต็มที่ที่จะประพฤติปฏิบัติธรรมกรรมฐานใดใดที่สอดคล้องอุปนิสัยเฉพาะแห่งบุคคลได้ โดยปราศจากการทัดทานคัดค้านหรือกลั่นแกล้งจากพระสังฆาธิการหรือพระฝ่ายชนชั้นผู้ปกครอง ที่คัดค้านทัดทานโดยไม่สอดคล้องหลักธรรมวินัย หรือหลักการศึกษาแห่งพระพุทธศาสนา มีมาตรการรับรองสิทธิ์ที่จะถือธุดงค์กรรมฐานใดใดตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ไว้อย่างเต็มที่ รวมทั้งการให้เกียรติย่กย่องตามสมควรแก่ภูมิรู้ภูมิธรรมของท่าน และการเข้าดำรงตำแหน่งตามธรรมตามวินัย เช่น อุปัชฌาย์ เป็นต้น เพราะพระสงฆ์ธรรมดากลุ่มนี้เอง แท้ที่จริงคือศาสนทายาท ผู้สละโลกียวิสัยที่แท้จริง และมุ่งเดินตามรอยบาทองค์บรมศาสดาจริง และครองธรรมครองวินัยที่แท้จริง 

ข้อเสนอแนะประเด็นสำคัญ

ฉะนั้น เพื่อการปกป้องอนุเคราะห์อุปถัมภ์พระสงฆ์ที่ไม่มีตำแหน่งพระสังฆาธิการ ไม่มีสมณศักดิ์ ให้มีสิทธิ์อย่างเต็มที่ในการประกอบกิจของท่านให้เป็นไปตามธรรมวินัยที่แท้จริง เพื่อประโยชน์เป้าหมายที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา จึงควรจัดส่วนงานทั้งส่วนกลางและส่วนจังหวัดขึ้นมาอีก 3 ระดับส่วนงาน ทำหน้าที่บริหารงานด้านการศึกษาส่วนคันถธุระและวิปัสนาธุระแยกจากพระสังฆาธิการออกไปโดยเฉพาะ ดังนี้

9.3.1     ให้มีสำนักงานกลางการวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อบริหารงานงานระดับชาติ

9.3.2     ให้มีสำนักงานกลางการวิปัสนากรรมฐานส่วนจังหวัด เพื่อบริหารงานระดับจังหวัด

9.3.3    ให้มีสำนักงานกลางการวิปัสนากรรมฐานส่วนตำบล เพื่อบริหารงานระดับตำบล

โดยมีกรรมการบริหาร อยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี กรรมการมาจากพระวิปัสนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ หรือพระผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เป็นเถระ มหาเถระแล้ว ที่ไม่มีฐานะเป็นพระสังฆาธิการ และ ไม่มีสมณศักดิ์ จำนวน 20 - 50 รูป ให้มีหน้าที่จัดหาจัดการเกี่ยวกับงานวิปัสนาธุระ วางแผนงานประจำปี ประจำเดือน ฯลฯ จัดสถานที่สำหรับการเจริญธุดงค์กรรมฐาน โดยการประสานงานกับรัฐบาล และรัฐบาลให้การสนับสนุนเครื่องมือ และสถานที่ที่ถูกหลักการเจริญธรรมเจริญวิปัสนากรรมฐานชั้นสูง ประสานงานให้มีการจัดหาสถานที่อันเป็นธรรมชาติ เช่น การอุทธยานแห่งชาติ เพื่อใช้เป็นที่สำหรับการเรียนการสอนกรรมฐานทุกแบบในพระพุทธศาสนา รัฐบาลต้องเปิดอุทธยานทุกแห่งเพื่อให้เป็นที่เข้าไปจำเริญวิปัสนากรรมฐานได้ตามหลักการพระธรรมวินัย นอกจากนี้ รัฐบาลควรสนับสนุนให้มีอุทธยาน สำหรับส่วนศาสนบุคคลโดยเฉพาะ เพื่อเป็นที่รวมการปฏิบัติธรรมทุกชนิดโดยหวังผลอย่างสูงสุด กล่าวคือ มีผู้สามารถพิสูจน์ผลธรรม คือบรรลุมรรคผลนิพพานตามธรรมตามวินัยได้จริง

 

บทสรุป

ถ้าจัดการคณะสงฆ์ไปตาม แนวร่างพระราชบัญญัตินี้กำหนดไว้แล้ว ผลที่ จะเกิดขึ้นก็คือ การแก่งแย่งตำแหน่งงานในหมู่สงฆ์ และงานจะนิ่งอยู่กับที่เหมือนเดิม ไม่มีอะไรเกิดขึ้น จะเลวลงไปกว่าสถานการณ์ที่เป็นอยู่ปัจจุบัน เพราะการแบ่งชนชั้นในหมู่สงฆ์มีมากยิ่งขึ้น ทำให้สถานะของพระสงฆ์ที่ตามปกติโดยธรรม โดยวินัย มีความเป็นภราดรภาพ คือพี่ ๆ น้อง ๆ ในอุปัชฌาย์อาจารย์เดียวกัน ตักเตือนกันได้ด้วยศีล เปลี่ยนแปลงไป เป็นระบบเจ้าขุนมูลนาย กับไพร่ฟ้า ข้าแผ่นดินมากขึ้น ก็ไม่อาจตักเตือนกันได้ด้วยศีลอีกต่อไป จะถืออำนาจเป็นใหญ่ พระราชบัญญัติอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา ที่กำหนดคณะบุคคลเข้าไปร่วมบริหารฝ่ายศาสนจักรโดยเป็นกรรมการระดับต่าง ๆ นั้น แท้จริงรูปแบบชนิดนี้ก็มีอยู่แล้ว โดยอิงหลักพระธรรมวินัย ว่าด้วย ปุคคลิกทาน และ สังฆทาน กล่าวคือ ทานของบริจาคในศาสนานี้มีสองส่วน ๆ หนึ่งทานให้เป็นการเฉพาะตัวพระภิกษุสงฆ์แต่ละรูป เรียกว่า ปุคคลิกทาน อีกส่วนหนึ่งทานให้เป็นของส่วนรวม เป็นของกลางของสาธารณะ เรียกว่าสังฆทาน คณะกรรมการวัดจึงต้องมีขึ้นมาเพื่อดูแลจัดการของที่เขาถวายไว้สร้างประโยชน์ส่วนรวม ที่เป็นของกลาง ของสาธารณะนี้ ในระบบวัดพระพุทธศาสนาจึงได้มีคณะบุคคลคืออุบาสกอุบาสิกาคณะหนึ่งมาคอยจัดการของที่ทานเป็นของส่วนรวมคือ สังฆทาน นั้น มาแต่โบราณกาลแล้ว และปัญหาจึงมิได้เกิดขึ้นเพราะไม่มีคณะกรรมการเช่นว่านี้ หากแต่ปัญหาเกิดจากฝ่ายอาณาจักร ไม่ค่อยเข้าใจระบบอันละเอียดอ่อนในศาสนานี้ โดยปกติวัดในชนบท ในระดับหมู่บ้าน ตำบล ประชาชนจะเข้าใจดี เพราะใกล้ชิดวัดวาอารามเป็นเอกอัครอุปถัมภ์อยู่เป็นปกติประจำวันแต่ในระดับสูงขึ้นมา ตามระบบการปกครองโดยกฎหมาย ข้าราชการชั้นสูงขึ้นมาห่างเหิน ไม่เข้าใจระบบและประเพณีสงฆ์ ทำให้เกิดปัญหาการประสานงานระหว่างบ้านกับวัดอยู่ตลอดมา โดยเฉพาะวัดในเขตเมืองและกรุงเทพมหานคร บัดนี้จะกำหนดให้ข้าราชการหัวหน้าหน่วยงานเข้ามาร่วมในกิจการวัด ผลก็จะเหมือนเดิม หากไม่เข้าใจเรื่องราววัฒนธรรมหรือแบบแผนการปฏิบัติประสานงานกับฝ่ายศาสนา กลับจะก่อให้เกิดความแตกแยกระหว่างวัดกับบ้านเมืองเพราะความไม่เข้าใจในสิ่งที่ละเอียดอ่อนหลาย ๆ ประการในวัดมากขึ้นไปอีก ด้วยความไม่เข้าใจสถานการณ์ของฝ่ายบ้านเมืองเอง แต่หากทางฝ่ายบ้านเมือง ข้าราชการชั้นสูงได้พยายามศึกษา ทั้งระบบประเพณีวัฒนธรรมสงฆ์ และพระธรรมวินัยให้ดีขึ้น ก็จะพบว่าตนเองนั้นมีสิทธิ์อยู่โดยธรรมโดยวินัยที่จะเข้ามาตรวจสอบอยู่แล้ว ระบบต่าง ๆ ที่เสนอมาในพระราชบัญญํติอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา บางอย่าง ก็แทบไม่จำเป็นต้องมีเลย เพราะมีอยู่แล้วตามธรรมตามวินัย หากแต่คนและฝ่ายบ้านเมืองยุคใหม่นี้ไม่ค่อยเข้าใจเท่านั่นเอง เหตุผลนี้ก็จะตรงกับคำกล่าวว่า เมื่อมีการปฏิวัติระบอบการปกครองในปี พ.ศ.2475 นั้น ฝ่ายปฏิวัติ ฝ่ายประชาธิปไตยมิได้รับเอามรดกทางศาสนาและวัฒนธรรมของเดิมมาด้วย ปล่อยไปกับระบบกษัตริย์แทบทั้งหมด ซึ่งความหมายก็คือ คนยุคหลัง นักปกครองยุคหลังมิได้เข้าใจศาสนธรรมกันเลยนั่นเอง เพราะไปรับเอาวัฒนธรรมต่างชาติมาด้วยความเห่อเหิม จึงไม่เข้าใจภูมิปัญญาบรรพบุรุษเท่าที่ควร

ฉะนั้น ในกรณีกฎหมายคณะสงฆ์ หากต้องการโครงสร้างนี้อยู่ ก็จะต้องเพิ่มมาตรการการควบคุมการบริหารในระดับผู้ปกครองให้เข้มขึ้น และกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพิ่มขึ้นตามที่เสนอ โดยเฉพาะมาตรการที่รับรองพระภิกษุสงฆ์ผู้มุ่งสละโลก ถือสันโดษ สละไม่ยินดีกับตำแหน่งและ สมณศักดิ์ ที่มุ่งเดินตามรอยบาทพุทธองค์และหมู่อริยสงฆ์ทั้งหลาย เพื่อการบรรลุธรรม บรรลุการศึกษาที่แท้จริง ในระบบของเสขบุคคล กับ อเสขบุคคลตามธรรมตามวินัยต่อไป ก็จะช่วยแก้ไขให้เกิดดุลระหว่างพระสงฆ์ฝ่ายผู้ปกครอง เจ้าขุนมูลนาย กับพระสงฆ์ฝ่ายใต้การปกครองให้ดีขึ้น อาจลดความรู้สึกแตกต่างทางชนชั้นลงไปได้ส่วนหนึ่ง

หากมิฉะนั้นแล้ว ไม่ควรออกกฎหมายฉบับนี้มาเลย น่าจะชั่งตรองให้ดีว่าจะเป็นผลดีไปกว่าการใช้กฎหมายฉบับปัจจุบันนี้หรือไม่ ควรจะปรับปรุงเพิ่มเติมไปจากกฎหมายฉบับปัจจุบันนี้ไป สักเล็กน้อย ก็น่าจะดีกว่า ที่สำคัญน่าระวังว่า หากมาตรการที่เสนอมาไม่อาจจะปฏิบัติได้ คือไม่มีผลทางปฏิบัติด้วยเหตุใดก็ดี เช่นระบบคณะสงฆ์ส่วนกลาง หรือระบบคณะสงฆ์ส่วนจังหวัด ไม่ทำงาน เป็นต้น จักเป็นผลเสียหายต่อการพระพุทธศาสนาในส่วนรวมยิ่งกว่าการจงใจทำลายพระพุทธศาสนาเสียอีก และขณะนี้ก็ยังมีแนวคิดการร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (โปรดดู มติชน 6-7 ก.ค. 42 หน้า 12 และ สยามรัฐ 6-7 ก.ค. 2542 หน้า 21) ซึ่งเสนอแนวทางไปในลักษณะที่มีการปฏิรูปหลักการสำคัญ 5 ประการคือ 1. พิจารณาว่าปรับปรุงการปกครองสงฆ์ไปทำไม? เพื่อใคร? 2. การปกครองเพื่อการศึกษาพัฒนาตนเองมิใช่การปกครองเพื่ออำนาจ 3. ยกให้พระธรรมวินัยเป็นใหญ่สำคัญเหนือกว่ากฎหมายหรือข้อบังคับใดใด 4. ยกให้สงฆ์เป็นใหญ่ในการบริหารจัดการ ไม่เผด็จการ และ 5. องค์กรปกครองสงฆ์ควรเป็นอิสระมีความสัมพันธ์กับรัฐเชิงสร้างสรรไม่ครอบงำ ที่น่าจะสอดคล้องและตรงแบบแผนทางพระธรรมวินัยยิ่งกว่า เอื้อต่อพระธรรมวินัยยิ่งกว่าฉบับที่กระทรวงศึกษาธิการร่างมานี้ จึงน่าจะได้รอดูต้นร่างนั้นมาศึกษาหาข้อดีข้อเสียเปรียบเทียบกันเสียก่อน เพื่อให้เกิดความรอบคอบ เพราะเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากผลงานการออกกฎหมายกระทำต่อพระพุทธศาสนาจะส่งผลเป็นวิบากกรรมระยะยาวในภายหลัง ต่อทั้งชาติ ประชาชน และพุทธศาสนิกทั้งโลกได้.

 

  • พระพยับ ปญฺญาธโร : อดีตเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ผู้วิเคราะห์                                   วัดมหาพุทธาราม อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ 33000 โทร. (045) 622455
  • ดี18, กย-ตค 42

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 5 กม.กับการปฏิรูประบบสงฆ์

จะปฏิรูปการปกครองสงฆ์ไปทำไม ?

ปัญหากฎหมายกับการปฏิรูปการระบบสงฆ์

คำถาม                 การร่างพระราชบัญญัติการพระพุทธศาสนา ตามแนวคิดว่าด้วยระบบสภาสงฆ์ ไปถึงไหน และอย่างไร ถ้าหากสังคมไม่อาจจะสามารถแก้ไขสถานการณ์ทางการปกครองสงฆ์ให้เป็นไปในทางที่ปฏิรูปไม่อาจสามารถแก้ไขอะไรให้ดีขึ้นเลย จะมีทางอื่นอีกหรือไม่ที่จะผลักดันให้การคณะสงฆ์กระเตื้องขึ้น ? พุทธทำนายเดือนสี่ปีกุนจะมองกันอย่างไร ? อุทธยาน พุทธเกษตร มีทางที่จะให้เป็นจริงขึ้นได้เพียงไหน ? มีข้อเสนอแนะสำหรับการ แก้ปัญหาดังกล่าวมานี้อย่างไร ?

 

คำตอบ                 จะแยกตอบเป็นเรื่อง ๆ เป็นประเด็นสำคัญ ๆ ไป ดังต่อไปนี้

1.            เกี่ยวกับกฎหมายคณะสงฆ์ กฎหมายใหม่จะต้องให้โอกาสแด่หมู่สงฆ์ผู้ประสงค์ออกจากราชการสงฆ์มุ่งสละเดินไปตามแนวทางพระธรรมวินัยที่แท้ นั่นคือ ต้องจัดองค์กร จัดระบบที่รับรองสิทธิที่จะเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบจากสงฆ์ฝ่ายราชการสงฆ์ ให้เป็นอิสระเฉพาะหมู่คณะที่เดินตามรอยพระพุทธองค์จริง ๆ กฎหมายจะต้องบ่งบอกถึงความเข้าใจในสาระสำคัญของความเป็นสงฆ์ที่แท้ที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ที่มุ่งหมายสู่การพัฒนาตนเองไปสู่ความหลุดพ้น คือพ้นทุกข์โดยวิถีมรรคผลนิพพานอันเป็นเป้าหมายสูงสุดอันเป็นหลักการแห่งพระพุทธศาสนา กฎหมายจะต้องเข้าใจวิถีทางการบำเพ็ญบารมีที่ถูกต้องของหมู่สงฆ์ในระบบสงฆ์ทั้งสิ้น โดยประเด็นสำคัญก็คือ หมู่สงฆ์ในระบบสายหลักตามกฎหมายปัจจุบันจะต้องเอาใจใส่ในการช่วยเหลือบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม โดยเฉพาะหมู่ชนผู้ยากไร้ให้มากขึ้น เพราะการบำเพ็ญประโยชน์เช่นนี้ เป็นวิธีการ หรืออุบายอันจำเป็นในการเรียนรู้อริยสัจธรรมว่าด้วยทุกข์ในพระพุทธศาสนา เมื่อเรียนรู้ทุกข์แล้วก็สามารถบรรลุความรู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจธรรมทั้งสิ้นได้ รูปปธรรมที่เสนอไว้แล้ว อันเป็นระบบที่สมบูรณ์ทุกประการ

นั้นก็คือ ระบบสภาสงฆ์ 4 ระดับ คือสภาสงฆ์ระดับตำบล สภาสงฆ์ระดับจังหวัด สภาสงฆ์ระดับชาติ และสภาสงฆ์ระดับสากล หากรัฐหรือคณะ สถาบันที่เกี่ยวข้องยังมิอาจ จัดการให้สถาปนาระบบสงฆ์อันสมบูรณ์ได้ตามที่เสนอไว้แล้วนี้เพราะสถานะสังคมปัจจุบันไม่อาจดำเนินการได้ หรือเพราะเหตุใดก็ตาม ก็ยังสามารถปรับปรุงระบบสงฆ์ไให้ดีขึ้นได้เล็กน้อย โดยให้เพิ่มงานส่วนสำคัญขึ้นในระบบสงฆ์ปัจจุบัน

โดยจัดให้มี ศูนย์กลางวิปัสนากรรมฐาน 3 ระดับ โดยบรรจุพระสงฆ์ผู้ไม่มีสมณศักดิ์ใดใด ไม่มีตำแหน่งใดใด เข้าสู่ระบบนั้น เพื่อให้เป็นระบบที่เกิดความคล่องเฉพาะตัวสงฆ์ทั้งสิ้นได้อย่างเต็มที่ พร้อมกันนี้ต้องปรับระบบการอยู่ในอำนาจการปกครองหรือตำแหน่งการงานการบริหารให้มีวาระการอยู่ในอำนาจนั้น บทบาทของสำนักงานกลางการวิปัสสนากรรมฐานระดับต่าง ๆ นั้นก็คือบทบาททางธรรมปฏิบัติ ที่จะต้องปลดปล่อยหมู่สงฆ์ออกเสียจากระบบราชการสงฆ์ ระบบสมณศักดิ์สงฆ์

เพราะมิฉะนั้นแล้ว สถานะแห่งความสันโดษ ความเหมาะแก่งานธรรมปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพาน จะมีขึ้นไม่ได้ นอกจากนี้ ยังจะต้องปลดปล่อยหรือชำระระบบวัฒนธรรมสงฆ์ที่ไม่ชอบด้วยธรรมวินัยที่ไม่เอื้อแด่วิถีทางที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา คือไม่เอื้อแด่การมุ่งสู่การบรรลุธรรม มีมรรค ผล นิพพาน เป็นเป้าหมาย

ซึ่งในการนี้สถาบันสงฆ์และรัฐจะต้องร่วมมือกันจัดให้มีสถานที่สำหรับการบำเพ็ญกรรมฐานทุกชนิด ที่เป็นธรรมชาติ เป็นอุทธยานพร้อมด้วยป่าเขาแม่น้ำ และทะเล พร้อมด้วยทำเลของธาตุทั้ง 4 โดยจัดให้มีเป็นระดับ ๆ คือระดับตำบล ระดับจังหวัด ระดับชาติ และระดับสากล หากถึงระดับสมบูรณ์สูงสุดของการปฏิรูปโดยกฎหมาย

กฎหมายใหม่ก็จะจัดระบบสงฆ์ออกมาเป็นสภาสงฆ์ 4 ระดับ คือ

สภาสงฆ์ระดับตำบล

สภาสงฆ์ระดับจังหวัด

สภาสงฆ์ระดับชาติ และ

สภาสงฆ์ระดับสากล

ตามรายละเอียดพร้อมเหตุผลที่ได้เสนอไว้แล้วใน น.ส.พ.ดี ตั้งแต่ฉบับต้น ๆ ตามลำดับมา

แนวการปรับปรุงดังกล่าวมานี้ แท้จริงก็คือ การปรับปรุงระบบการศึกษาล้วน ๆ นั่นเอง โดยปรับระบบการศึกษาสงฆ์ทั้งมวล ให้เป็นระบบตามธรรมตามวินัยให้ได้ นั่นก็คือ ระบบไตรสิกขา (มรรค 8) หรือ การปฏิบัติเหตุแห่ง นิโรธ ความดับทุกข์ ตามหลักอริยสัจ 4 นั่นเอง

หากปรับระบบการศึกษาสงฆ์ให้เดินตามหลักไตรสิกขาได้โดยแท้จริงแล้ว การศึกษาก็จะเป็นหน่วยนำการปกครอง อันจักเป็นผลให้การปกครองคณะสงฆ์ค่อยปรับเปลี่ยนไปในแนวทางพระธรรมวินัยยิ่งขึ้น หากเข้าใจหลักการศึกษาตามพระธรรมวินัยที่แท้จริง(ไตรสิกขา)แล้ว การปฏิรูประบบสงฆ์ก็จักเป็นไปได้ และง่ายขึ้น

 

2.            กรณีหากสังคมยังจะไม่อาจแก้ไขอะไรได้เลย เพราะสาเหตุใดก็ตาม หมู่สงฆ์อาจสามารถดำเนินการด้านการปฏิรูปการศึกษาก่อน โดยจัดการศึกษาให้เดินตามพระธรรมวินัย คือ การศึกษาตามหลัก ไตรสิกขา (มรรค 8) ดังนี้

2.1           ศีลสิกขา ต้องจัดการสิ่งแวดล้อม ให้สามารถที่จะเกื้อกูลต่อการประพฤติศีล ของพระสงฆ์ สามเณรได้ เริ่มมาจากการจัดการวิถีชีวิตประจำวันของพระสงฆ์ ในเรื่องปัจจัย 4 ได้แก่ จีวร-เครื่องนุ่งห่ม บิณฑบาต-อาหารการกิน เสนาสนะ-ที่อยู่อาศัย และ คิลานเภสัช-ยารักษาโรค ให้มีลักษณะของความสันโดษขึ้นมา จีวรควรให้มีน้อย เมื่อมีก็ควรให้มีอย่างถูกพระวินัย บิณฑบาต อาหารการกิน ไม่ควรเลือก หรือจัดการปรุง หุงหาเองตามใจ จะเสียสมณนิสัยสันดาน ภิกษุปัจเจกบุคคล ไม่พึงสะสมอาหารการกิน ไม่พึงใช้ตู้เย็น หรือเครื่องเก็บตุนอาหารไว้บริโภค เสนาสนะ ไม่พึงแข่งขันการสร้างกุฏิที่อยู่อาศัยเกินธรรมวินัยที่กำหนดไว้ ไม่พึงแสวงหาอย่างฆราวาสแสวงหา เช่นการประดับประดาตกแต่ง การเห่อเหิมในสิ่งที่มิใช่วิสัยของสมณะ เช่น ของสวย ๆ งาม ๆ ของประดับตกแต่ง เช่นม่านกั้นกำบัง กระจกเงา เครื่องประดับเกียรติยศ มีวิทยุ โทรทัศน์ มือถือ ไม่พึงแข่งขันในรสนิยมอย่างฆราวาสวิสัย เช่นแข่งกันอวดความมั่งมี อวดรถรายานพาหนะ อวดผ้าจีวร อวดเต้าน้ำชา ใบชา อวดเครื่องมือเครื่องใช้สมัยใหม่ เป็นต้น คิลานะเภสัช การรักษาโรค พยายามใช้หลักการทางธรรมปฏิบัติในไตรสิกขาให้เป็นประโยชน์ เน้นการป้องกันมากกว่าการรักษา นั่นคือพยายามวางตนอยู่ในศีล อย่างสม่ำเสมอ ไม่ทำอารมณ์ให้ขึ้น ๆ ลง ๆ ฟุ้งกระจาย และใช้วิธีการระงับด้วยการปฏิบัติด้านสมาธิ และวิปัสนาเข้าช่วยให้เป็นปกติวิสัย และหากจำเป็นในการรักษาตัว พยายามใช้ระบบธรรมชาติ มียาสมุนไพร เป็นต้น หลักการศึกษาในระดับศีล หากย่อลงก็ได้ 2 หลักการคือ พึงระวังสตรี 1 และพึง ระวัง สตังค์ อีก 1 อย่าให้ทั้ง 2 อย่างนี้เข้ามามีอิทธิพลเหนืออารมณ์จิตใจได้ และต้องจัดระบบชีวิตประจำวันหรือวัฒนธรรมสงฆ์ และหมั่นตรวจสอบให้เป็นไปโดยถูกธรรมวินัยอยู่ตลอดเวลา ในส่วนที่ไปเชื่อมต่อสัมพันธ์กับฝ่ายโลก ก็ต้องถือหลักการทั้ง 2 หลักการนี้ (สตรี กับ สตังค์) การศึกษาระบบสามัญศึกษา ทุกระดับ ต้องแยกพระสามเณรจากฆราวาสอย่างเด็ดขาด (ต้องถือเป็นหลักประจำใจของภิกษุสงฆ์นักเรียนนักศึกษาแต่ละรูป) แยกการเงิน ออกจากพระผู้บริหารการศึกษา จัดระบบวัตรประจำวันให้สม่ำเสมอ ลดภาระการบริหารการเงินและการก่อสร้างวัตถุลง จัดระบบวัฒนธรรมประเพณี หรือระบบศาสนพิธีใหม่ ให้เป็นไปในทางที่ลดละการสะสมเงินทองของเครื่องใช้ต่าง ๆ(ปัจจัย 4 สำหรับพระสงฆ์ให้ถูกธรรมวินัย) ของส่วนตัวสงฆ์แต่ละรูปลงไป ไปสู่ระบบสันโดษมากขึ้น ในระบบที่วัดและหมู่สงฆ์เป็นส่วนหนึ่งของสังคม ของวัฒนธรรมสังคมที่แนบแน่นกับสังคม มิอาจจะแยกจากกันได้ โดยเฉพาะสงฆ์ฝ่ายคามวาสี ต้องจัดระบบการประสานเสียใหม่ โดยวัดและหมู่สงฆ์ คงสามารถเดินตามธรรมวินัย มุ่งสู่มรรคผลนิพพานได้เหมือนกัน โดยต้องพยายามสร้างสมบารมีในสังคม ท่ามกลางสังคมนั่นเอง กล่าวโดยย่อวัดจะต้องเอาใจใส่หมู่คนผู้ยากไร้ อย่างเป็นภาระหน้าที่ที่ขาดไม่ได้ ต้องจัดระบบขึ้นเพื่อการนี้ และให้เดินไปโดยถูกธรรมวินัย เช่นเรื่องความศรัทธา ศรัทธาในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ศรัทธาในกรรม ศรัทธาในผลกรรม เป็นต้น โดยจัดระบบการสาธารณกุศล การช่วยเหลือผู้อื่น ที่มองความยากลำบากของผู้อื่น มองประชาชนทั้งหลาย มองคนยากคนไร้ คนที่มีปัญหาของสังคม เอาใจใส่ต่อปัญหาความยากไร้ของสังคม ช่วยเหลือสังคม และช่วยแก้ไขปัญหาส่วนรวมของสังคมและของคณะสงฆ์ให้เต็มที่ โดยความนึกคิดที่เป็นอิสระส่วนตน จึงจะเป็นวิถีทางการสร้างสมบารมีที่ถูกต้องตามวิถีทางพระธรรมวินัย ของหมู่พระสาวก ซึ่งจะมีผลในการเรียนรู้ ทุกข์อริยสัจ สร้างสมเมตตาบารมี 1 ในทศบารมีของพระพุทธเจ้า และยังเป็นวิธีการดับคายราคาทิตัณหาหรือจินตนาการแห่งกามวิตกลงไป ให้พระสงฆ์ที่อยู่ในตำแหน่งการปกครอง หรือตำแหน่งอื่นใด มีเวลาเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น เพื่อได้มีโอกาสของการศึกษาไตรสิกขามากขึ้น ฉะนั้น จึงควรให้การอยู่ในตำแหน่งเจ้าอาวาส หรือเจ้าคณะพระสังฆาธิการอื่น มีวาระ ไม่ควรให้ติดตายไปจนตลอดชีวิตอย่างทุกวันนี้ หรือมิฉะนั้น ไม่ควรให้ความสำคัญแก่ตำแหน่งเจ้าคณะ เจ้าอาวาสมากเกินไปกว่าตำแหน่งหรือบทบาททางการศึกษาไตรสิกขา การศึกษาต้องเป็นเครื่องนำทางของระบบทั้งสิ้นในหมู่สงฆ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การศึกษาจะต้องนำการปกครอง โดยจะต้องวางแบบแผนและควบคุมวิถีทางการปกครองให้เป็นไปตามแบบแผนนั้น

ระบบการเผยแผ่ ควรระวังจัดการให้การแสดงพระธรรมเทศนาโดยสื่อต่าง ๆ เป็นไปโดยถูกธรรมวินัยยิ่งขึ้น ควรจำแนกเป็นส่วน ๆ ว่าส่วนไหนควรเป็นของพระสงฆ์ส่วนไหนควรเป็นของฆราวาสอุบาสกอุบาสิกา เช่นบางวิธีการควรจะเป็นของฆราวาส ไม่ควรที่จะเป็นวิถีทางของฝ่ายสงฆ์ เพราะไม่เอื้อต่อพระธรรมวินัย เป็นต้นว่าการเทศน์แหล่ขวัญนาค การเทศน์เสียงยาวโหยหวลจนแทบว่าจะขาดใจตาย เช่นที่นิยมในภาคอีสานขณะนี้ เป็นต้น น่าที่ศิลปินฆราวาสจะเหมาะสมและทำได้ดีกว่า ไม่ควรเป็นกิจของสงฆ์โดยตรง ฉะนั้น แผนกงานวัฒนธรรมแห่งชาติ ศิลปินของชาติ น่าจะลองเข้ามาแทรกรับภาระกิจอันไม่เอื้อ ไม่สอดคล้องธรรมวินัยในหมู่สงฆ์นี้ไปเสีย จะเป็นการเอื้อต่อหมู่สงฆ์ต่อธรรมต่อวินัยอย่างยิ่ง และประชาชนชาวพุทธน่าจะได้รับการสอนธรรมวินัยให้เข้าใจ พอที่จะได้มีส่วนในการอุปถัมภ์ค้ำจุนระบบที่ดี ๆ ในหมู่สงฆ์ ไม่หลงชื่นชมและส่งเสริมสิ่งที่ไม่ชอบด้วยธรรมด้วยวินัย เห็นกงจักรเป็นดอกบัวโดยเขลารู้เท่าไม่ถึงการณ์

2.2           สมาธิสิกขา ต้องถือเป็นกิจจำเป็นของสงฆ์โดยแท้จริง ต้องจัดการสอนการนั่งสมาธิ ให้แก่พระสามเณรทุกรูป การบวช ไม่ว่าโดยเจตนารมณ์อย่างใด ให้หมายความถึงการเรียนสมาธิสิกขาได้ระดับหนึ่งเสมอไป และระดับดังกล่าวนั้นก็คือระดับที่สามารถนั่งเข้าสมาธิได้ ซึ่งสมาธิระดับนี้สามารถทำกาย วาจา และใจ ให้สงบ นิ่งได้และซึ่งจะสามารถนำจิตไปลิ้มรสความสุขจากความสงบในระดับสมาธิได้ส่วนหนึ่งแล้ว ทุกวันนี้การนั่งเข้าสมาธิ ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องที่ง่าย หรือไม่เกินวิสัยของคนธรรมดาทั่วไปไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ทุกวัยทุกเพศโดยเฉพาะเพศนักบวชจะทำได้ หากแต่ขาดการเรียนการสอนจากพระอุปัชฌาย์อาจารย์ หรือพระสังฆาธิการ หรือสถาบันพระพุทธศาสนาทั่ว ๆ ไป อย่างน่าฉงน ฉะนั้น เพื่อให้เกิดการปฏิรูปขึ้นในวงการสงฆ์ บัดนี้การศึกษาสมาธิควรต้องบรรจุลงไปในทุกหลักสูตรของการศึกษา ของทุกสถาบันสงฆ์ เมื่อผ่านการทดสอบภาคปฏิบัติการนั่งสมาธิ จึงจะถือว่าสำเร็จการศึกษา ผลที่คาดหมายก็คือ หลักสูตร นักธรรม เปรียญชั้นต้นไปถึงเปรียญชั้นสูง หลักสูตรการอบรมพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ฯลฯ ต้องมีการเรียนการสอนการปฏิบัติจนเข้าสมาธิได้เข้าสมาธิเป็น จึงจะถือว่าผ่านการศึกษา หรือผ่านการอบรมในแต่ละหลักสูตร ของสถาบันใดใดของคณะสงฆ์ การพิจารณาบรรจุบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งใดใด ไม่ว่าตำแหน่งทางการปกครอง หรือตำแหน่งทางการศึกษา เช่น ตำแหน่งเจ้าอาวาส เจ้าคณะพระสังฆาธิการทุกระดับ ตำแหน่งใดใดตามกฎหมายการคณะสงฆ์ ตำแหน่งทางการศึกษา เช่น ครูสอนพระปริยัติธรรม พระเปรียญอาสา หรือพระบัณฑิตอาสาพัฒนา พระปริยัตินิเทศ ที่สมควรแก่ตำแหน่งใดใด ครูบาอาจารย์ บุคคลากร ทุกคนทุกรูป ในมหาวิทยาลัยสงฆ์หรือมหาวิทยาลัยใดใดแห่งพระพุทธศาสนาจะต้องเข้าสมาธิได้ เข้าสมาธิเป็น มิฉะนั้นก็ไม่น่าจะให้ดำรงตำแหน่งใดทางการศึกษา หรือตำแหน่งใดใดในในสถาบันใดที่เกี่ยวกับการพระพุทธศาสนา รวมความถึงงานปฏิบัติในองค์การศึกษาพระพุทธศาสนาทั่วไปอีกด้วย ก็จำเป็นต้องเข้าสมาธิได้ เข้าสมาธิเป็น อันเป็นเครื่องหมายว่า ได้มีการศึกษาตามธรรมตามวินัย(ไตรสิกขา) พอสมควรแก่ตำแหน่ง พระนักเทศน์นักเผยแผ่ หากไม่สามารถเข้าสมาธิได้เข้าสมาธิเป็น นั้น กลับจะเป็นสิ่งที่ฟ้องตัวเองว่าเป็นประเภทที่ไม่รู้แก่นแห่งพระศาสนา ดีแต่จดจำคำของคนอื่นมาพูดเท่านั้น หาได้มีความรู้แจ้งจริงด้วยตนเองไม่ จึงไม่ควรให้มีสิทธิที่จะพูดจะเทศน์ด้วยประการใดใด ในระดับองค์การปกครองชั้นสูง หากพบว่ามีพระดำรงตำแหน่งโดย ขาดไตรสิกขา ไม่สามารถเข้าสมาธิได้ เข้าสมาธิไม่เป็นอยู่ ควรรีบพิจารณาปลดออกจากตำแหน่งโดยไว เพราะต้องถือว่าการศึกษาบกพร่องอย่างไม่อาจจะให้ซ่อมแก้ได้ ในด้านการศึกษาทุกระดับ หากพบว่าไม่สามารถเข้าสมาธิได้เข้าสมาธิเป็น ไม่น่าจะให้สำเร็จการศึกษาระดับใดใดออกมาได้ เหตุผลในเรื่องนี้ก็คือ การฝึกหัดในสิกขาระดับสมาธินี้ มิใช่สิ่งที่เกินวิสัย หากแต่เป็นของจำเป็นอย่างยิ่งยวด สำหรับการคืบไปตามเป้าหมายที่แท้จริงแห่งพระพุทธศาสนา คือมรรค ผล นิพพาน เมื่อจัดการในระบบสงฆ์ ในเรื่องไตรสิกขา ระดับสมาธิ พร้อมกันนี้ก็ ค่อยขยายการศึกษาสมาธินี้ออกไปนอกสถาบันสงฆ์ ไปสู่โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย และสถาบันต่าง ๆ ทุกสถาบัน แม้สถาบันการเมือง การปกครองระดับชาติ และต่างประเทศ ตั้งแต่ระดับรัฐบาล รัฐมนตรี ปลัดกระทรวงลงมาถึง ข้าราชการระดับเสมียน ลูกจ้างชั่วคราว ควรจะเข้าสมาธิได้ เข้าสมาธิเป็น ในระดับรัฐสภาแห่งชาติ ไม่ว่าวุฒิสภา หรือ สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกทุกคน น่าจะเข้าสมาธิได้ เข้าสมาธิเป็นคนทุกชาติ ทุกศาสนา สามารถสามารถเข้าสมาธิได้ เข้าสมาธิเป็น นักเรียน นิสิต นักศึกษา ครู อาจารย์ น่าทึ่จะเรียนฝึกการเข้าสมาธิได้เข้าสมาธิเป็นกันทั่วทุกตัวคน เพราะระดับที่เข้าสมาธิได้ เข้าสมาธิเป็น นี้ เป็นสิ่งที่อาจฝึกทำได้โดยง่ายดายโดยเพียงดูแบบอย่างจากพระพุทธรูปบูชา บนหิ้งพระที่บ้านเท่านั้นเอง ก็ทำได้ เพียงแต่หมั่นขยันทำไปบ่อย ๆ ทุก ๆ เวลา และเมื่อทำได้ ที่เรียกว่าเข้าสมาธิได้เข้าสมาธิเป็นนี้ก็คือ การได้พบ กายสงบ วาจาสงบ และใจสงบ จะได้ลิ้มรสแห่งความสุขที่แท้จริงอย่างง่าย ๆ ชนิดหนึ่ง อันเป็นเบื้องต้นของมรรคผล คือความสุขอันประเสริฐหรือนิพพาน (ความสุขที่ปราศจากราคะ ตัณหาหรือกิเลสใดใด)

การที่แนะนำภาคปฏิบัติโดยเริ่มที่สมาธิก็เพราะ สมาธินี้เป็นสิ่งจำเป็นต้องทำให้ได้ทำให้เป็นก่อน เพราะเป็นสิ่งที่เชื่อมภาคภายในกับภาคภายนอก เชื่อมรูปธรรมกับนามธรรม เชื่อมการปฏิบัติระหว่างภาคภายในเอง จากระดับล่างสุดไปสู่ระดับสูงสุด คือระดับวิปัสนาธุระได้ หากเข้าสมาธิไม่ได้เข้าสมาธิไม่เป็น ก็ยากที่จะเชื่อมภาคภายนอกไปสู่ภาคภายใน ยากที่จะเชื่อมระดับต่าง ๆ แห่งวิปัสนาธุระ เมื่อขาดสะพานเชื่อมเสียแล้ว มรรคผลก็ยากที่จะบรรลุได้ อนึ่ง การศึกษาวิจัยนามธรรมอันเป็นภาคภายในของบุคคล จักไม่อาจทำการศึกษาได้เลยหากปราศจากความสามารถทางสมาธิ จะใช้เพียงความคิดคาดเดาเอาต่าง ๆ นั้นเป็นการไม่สมเหตุผลแห่งประสิทธิภาพที่จะได้รับ จะต้องเข้าสมาธิพิจารณาอย่างละเอียด เฝ้ามองอาการเป็นไปภายในอย่างละเอียดเนิ่นนานจึงจะบังเกิดผล คือสามารถศึกษาเหตุผลความเป็นไปของภาคภายในได้อย่างเห็นแจ้งชัดเจน ปราศจากความสงสัย ฉะนั้นจะต้องฝึกให้มีความสามารถในการนั่งสมาธิได้นาน ๆ อย่างเป็นธรรมชาติ จะนั่งไปนาน 1 ชั่งโมง 2 ชั่วโมง 5-6 ชั่งโมงหรือเมื่อใดเท่าไรก็ได้เป็นอย่างยิ่งนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการทำการศึกษาวิจัยภาคภายใน ซึ่งหมายถึงการทำ ธัมมวิจัย ตามหลักโพชฌงค์ 7 นั่นเอง นี่คือส่วนที่ขาดไปอย่างน่าเสียดายอย่างยิ่งในการจัดการศึกษาสงฆ์ โดยไม่คำนึงหลักไตรสิกขาอันเป็นการศึกษาตามธรรมตามวินัยแท้ ๆ ที่จักให้ประโยชน์แท้ประโยชน์ตรงสู่การพ้นทุกข์ได้ จึงควรจะต้องรื้อฟื้นขึ้นมา โดยวัดทุกแห่ง และ สถาบันการศึกษา การปกครองสงฆ์ทุกแห่งเป็นผู้นำ โดยเฉพาะวัดทุกแห่ง ในวันสำคัญที่หมู่สงฆ์ลงรวมกันปฏิบัติศาสนากิจทั้งวัด เช่นวันธรรมสวนะเป็นต้น หมู่สงฆ์ควรปฏิบัติไตรสิกขาให้เป็นที่ปรากฎเป็นแบบอย่างแด่ญาติโยม โดยสงฆ์แต่ละรูปควรอยู่ในท่านั่งสมาธิตั้งแต่เริ่มลงสู่สถานที่ประกอบศาสนกิจ ผลก็คือ จักเกิดความสงบขึ้นในหมู่สงฆ์ สามเณร (ไม่คุยกันแข่งญาติโยมเขาอย่างที่เป็น ๆ อยู่ทั่วไปในวัดต่าง ๆ ขณะนี้) ภาพที่ออกมาก็จะดูสงบ น่าเลื่อมใส และเป็นการฝึกหัดปฏิบัติการศึกษาไตรสิกขาของเฉพาะตนไปโดยตรงนั่นเอง ทำได้เช่นนี้ทุกวัดทุกศาสนสถาน ทุกหนทุกแห่ง ก็จะเป็นการจุดชะนวนการปฏิรูปครั้งสำคัญให้เกิดขึ้นมาได้อย่างง่าย ๆ

2.3           ปัญญาสิกขา คือการพากเพียรในส่วนการเจริญวิปัสนาธุระ หรือการบำเพ็ญภาวนาธรรมกรรมฐานต่าง ๆ จะประกอบด้วยขั้นตอนการฝึกภาคปฏิบัติธรรมกรรมฐานชนิดต่าง ๆ หลายหลากชนิดและขั้นตอน เริ่มตั้งแต่ การบรรจุธุดงควัตร(ธุดงค์ 13 ชนิดในพระพุทธศาสนา)ลงในหลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ น่าจะเป็นสิ่งที่จำเป็น เมื่อเป็นเช่นนี้ ในรูปของสงฆ์ทั้งมวล จะต้องจัดหาที่รวมของสถานที่ที่รวมการฝึกหรือประพฤติกรรมฐานทุกชนิด เช่นตามที่เสนอนี้ก็คือระดับสภาสงฆ์ทั้ง 4 ระดับ จะต้องเตรียมสถานที่ที่เป็นส่วนกลางสำหรับการจำเริญวิปัสนากรรมฐาน ทั้งระดับตำบล จังหวัด ระดับชาติ ไปถึงระดับอันเป็นสากล นั่นคือ ในระดับตำบล และ ระดับจังหวัด จัดให้มีสถานที่อันเป็นส่วนกลางของหมู่สงฆ์แห่งท้องที่นั้น ๆ จังหวัดนั้น ๆ อันเป็นส่วนกลางสำหรับการบำเพ็ญพรตภาวนา ปฏิบัติธรรมกรรมฐานต่าง ๆ หลาย ๆ แห่งให้เลือกได้ และระดับชาติและระดับสากล จัดให้มีอุทธยานพุทธเกษตรขึ้นเป็นแหล่งฝึกเจริญกรรมฐานทุกชนิดในบวรพุทธศาสนา และเป็นขั้นอุดมศึกษาของไตรสิกขา นั่นคือการบรรลุมรรคผลขั้นอุดม (ระดับ อรหัตผล) มีขึ้นในสถานที่อันเป็นที่เหมาะสมหรือที่ สัปปายะแด่การประพฤติกรรมฐานต่าง ๆ ดังกล่าว เพราะงานวิปัสนาธุระจะขาดสถานที่อันเหมาะสมหรือที่สัปปายะอันสมบูรณ์มาประกอบไม่ได้ อุปมาก็เหมือนงานของนักศึกษาปริญญาเอกฝ่ายโลกนั่นเอง การทำวิจัยวิทยานิพนธ์นั้นจะต้องให้พร้อมทั้งภายนอกและภายในห้องเรียน หากเครื่องไม้เครื่องมือในการเรียนการสอน ในการวิจัยไม่มี หรือไม่พร้อมแล้ว ก็ไม่สามารถจะปฏิบัติงานการเรียนการสอนไปได้

วงการสงฆ์ที่เป็นอยู่ปัจจุบัน ทุกชาติ ทุกประเทศ หากสามารถบริหารและดำเนินการการศึกษาไตรสิกขา อันเป็นการศึกษาที่ตรงตามธรรมตามวินัยหรือมรรค 8 แห่งพระพุทธศาสนา ไปได้เช่นนี้ ก็อาจสามารถจะฉุดกระเตื้องการพระพุทธศาสนาไปสู่แนวทางที่ดีขึ้นได้ และย่อมเป็นขั้นต้นของการปฏิรูปไปสู่การปกครองแบบสภาสงฆ์ในกาลต่อไปอย่างอัตโนมัติ เพราะการศึกษาจะนำหน้าการปกครอง และการปกครองจะค่อยเดินตามวิถีทางพระธรรมวินัยยิ่งขึ้น หมู่สงฆ์และพุทธบริษัทก็จะเดินทางแม้จะยากลำบากเพียงใดแต่ก็มีความสุขและมีความหวังที่สดใสไปเรื่อย ๆ และแน่นอนมรรคผลนิพพานก็ย่อมปรากฎขึ้นแด่ผู้ที่ปฏิบัติธรรมมรรค 8 โดยถูกต้อง 

ในส่วนที่เป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบัน คือการปกครองคณะสงฆ์ ในวงการปกครองของคณะสงฆ์ ต้องถือหลักการว่า ภาระ ควรให้ลดน้อยลงไปตามลำดับ จึงจะถูกธรรม คือถูกตามหลัก ภารสุตตคาถา ที่สวดที่ท่องบ่นกันอยู่ทุกวันนั้นเอง และเมื่อวิเคราะห์แล้วจะเห็นว่า ระบบการปกครองสงฆ์ ที่เป็นราชการ เป็นเจ้าขุนมูลนาย นั่นเอง เป็นตัวปัญหาที่นำไปสู่ ภาระ การแบกหามภาระต่าง ๆ อย่างไม่มีวันลดน้อยถอยลงไปเลย จึงขัดหลักธรรม เพราะความจริงที่ว่า

ภารา ทานํ ทุกฺขํ โลเก        การแบกถือของหนักเป็นความทุกข์ในโลก

ภารนิกฺเขปนํ สุขํ               การสลัดของหนักทิ้งลงเสียเป็นความสุข และ

นิกฺขิปิตฺวา ครุง ภารํ           พระอริยเจ้าสลัดทิ้งของหนักลงเสียแล้ว

อญฺญํ ภารํ อนาทิย            ทั้งไม่หยิบฉวยเอาของหนักเกินอันอื่นขึ้นมาอีก

สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุย์ห          ก็เป็นผู้ถอนตัณหาขึ้นมาได้กระทั่งราก

นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโต           เป็นผู้หมดสิ่งปรารถนา ดับสนิทไม่มีส่วนเหลือ

                       (จาก ภารสุตฺตคาถา) 

ระบบเจ้าขุนมูลนายเป็นเหตุให้ใฝ่ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระ คือโลกธรรม 4 เป็นต้นเหตุแห่งภาระของหมู่สงฆ์ อันหนักและไม่รู้สิ้นสุด คือไม่มีเวลาที่จะวางภาระลงเลย หากแต่ภาระนั้นเป็นของไร้ประโยชน์ไร้สาระทางมรรคผลนิพพานโดยสิ้นเชิง จึงต้องตั้งอยู่บนหลักการที่ว่า ภาระใดที่ไม่เอื้อต่อมรรคผลนิพพานแล้ว แนวทางสงฆ์ต้องปฏิรูปเสียใหม่ ต้องวางภาระนั้นลง พุทธบริษัท 4 ต้องเอื้อเฟื้อ ด้วยการจัดการให้มีระบบอื่นขึ้นมารองรับภาระนั้น ๆ แทนเสีย โดยปลดปล่อยหมู่สงฆ์ไปเสียจากภาระอันเป็นของโลก ๆ นั้น เพื่อสร้างคนที่ดีที่สุดในพระพุทธศาสนาขึ้นมา นั่นย่อมหมายถึงความพยายามพาสังคมไปใกล้นิพพานยิ่งขึ้นแล้ว

ฉะนั้นหมู่สงฆ์ควรมารำลึกพร้อมกันว่าอย่ามัวแต่พยายามแข่งขันแข่งสร้างหรือแม้แต่คอยแก่งแย่งกันเอาตำแหน่งต่าง ๆ เอาสมณศักดิ์หรือยศพระกันอยู่เลย นั่นเป็นภาระ เป็นงานหนักไปจนตลอดชีวิต หากแต่ไร้สาระทางมรรคผลนิพพานโดยสิ้นเชิง ถ้าเป็นเช่นนี้ก็ไม่มีวันจะพ้นทุกข์ไปได้เลย น่าเสียดายชีวิตนักบวชเช่นนี้ที่มีแต่ความสูญเปล่าไปทั้งชีวิต นี่มิใช่หรือ โมฆบุรุษ ที่พุทธองค์ทรงประนาม เย้ยหยัน เพราะไม่อาจจะได้รับผลธรรมอันประเสริฐล้ำเลิศใดใดได้

 

อย่างไรก็ตาม การศึกษาระดับปัญญาสิกขา หรือการเจริญวิปัสนาธุระ ในระบบสงฆ์ที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ก็น่าที่จะสามารถทำไปได้อย่างไม่มีปัญหาอะไร ในระดับต้น ๆ ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็น นั่นก็คือ น่าจะสามารถศึกษากรรมฐานบางชนิดแล้วสามารถรักษาดูแลอารมณ์กรรมฐานนั้นไว้ได้ จะต้องสามารถใช้สติตามรู้เท่าทันอารมณ์กรรมฐานชนิดต่าง ๆ ได้ทุกขณะ สามารถใช้สติทำหน้าที่แยกอารมณ์ต่าง ๆ เหล่านั้น ถ้าสติที่สมบูรณ์ก็จะกันอารมณ์ที่ไม่สอดคล้องกับวิถีมรรคผลนิพพานออกไป เช่นอารมณ์กาม ราคะ ตัณหา เป็นต้น เมื่อสติตามรู้ว่าเกิดอารมณ์ลามกชั่วร้ายอะไรขึ้น สติที่สมบูรณ์บนพื้นฐานสมาธิที่สมบูรณ์ ก็จะกันอารมณ์ลามกชั่วร้ายนั้นออกไป แล้วนำไปสู่อารมณ์กรรมฐานชนิดที่อาจกำจัดกิเลสชนิดนั้น ๆ ได้ ด้วยเหตุนี้ สติก็จะทำหน้าที่นำพาไปสู่อารมณ์ที่สอดคล้องวิถีมรรคผลนิพพานอยู่ตลอดเวลา

สามารถอยู่ในอารมณ์กรรมฐานชนิดที่เราต้องการได้ตลอดเวลา

ฉะนั้นในระดับชั้นต้นนี้ สงฆ์น่าจะรู้จักการรักษาอารมณ์ รู้จักการที่จะอยู่ในอารมณ์ที่ไม่เป็นโทษ และรู้จักหลบหลีกไปจากอารมณ์ที่เป็นโทษ เป็นต้น จากนี้ไปก็จักเป็นพื้นฐานสำหรับเรียนรู้อารมณ์ระดับลึกที่เกิดจากการปฏิบัติกสิณชนิดต่าง ๆ ซึ่งจะนำไปสัมผัสอารมณ์หรือฌาน ที่มีสภาวะโดยธรรมชาติของมัน ที่ตัดกิเลสได้ เอง เหมือนน้ำใช้ดับไฟได้ฉะนั้น

ตัวอย่างอารมณ์ฌานที่ใช้ ตัดกิเลสเองตามธรรมชาติของมันก็คือ อารมณ์ที่ได้จากอสุภกสิณ ควรฝึกทำบ่อย ๆ และวางระบบวิถีชีวิตประจำวันให้ใกล้ชิดอสุภ ไม่พึงปล่อยสติให้แตกกระเจิงไปเกลือกกลั้วสิ่งสวย ๆ งาม ๆ หรือวัตถุแห่งกามเลย ฉะนั้นจึงต้องควบคุม รักษาอารมณ์กรรมฐานประเภทที่ได้จากอสุภกสิณนี้ไว้ให้ยั่งยืน

อาจสรุปสั้น ๆ ในส่วนที่พึงต้องการให้ปฏิบัติได้ระดับปัญญาสิกขาก็คือสติที่ตามรู้สภาวะของจิตใจตัวเองได้ตลอดเวลา ในมหาสติปัฏฐานสูตรเรียกว่า จิตตานุปัสนากรรมฐาน แล้วหลังจากนั้นก็เป็น ตามรู้ธรรม คือกรรมฐานชนิดต่าง ๆ ชั้นลึกที่เป็นอารมณ์ตัดกิเลสโดยธรรมชาติ หรือ ธรรมานุปัสนาสติปัฏฐาน นั่นเอง

 

2.4           ปัญหาพุทธทำนายเดือน 4 ปีกุน คำทำนายว่า พระพุทธศาสนาจะฟื้นขึ้นน่าจะเหมาะแก่สถานการณ์โลกขณะนี้ แต่ผลสำเร็จใดจะมีขึ้นโดยการดลบันดาล ไม่อาจเป็นไปได้ เพราะการดลบันดาลเป็นสิ่งที่ขัดหลักสัจธรรม และขัดหลักการของพระพุทธศาสนาเอง พุทธบริษัททั้งหลายจะต้องจัดทำด้วยมือเราเอง โดยการจัดการปฏิรูประบบทั้งมวล ให้เป็นไปอย่างสอดคล้อง ถูกธรรมถูกวินัย แต่ละคนเองเริ่มที่ตัวเองด้วยการทำหน้าที่พุทธบริษัทให้ถูกต้อง จัดการให้ตัวเองได้รับการศึกษาที่ถูกธรรมถูกวินัย (คือ ไตรสิกขา หรือขั้นตอนแห่งมรรค 8 เมื่อจัดขั้นตอนเป็นระดับต่าง ๆ ให้ง่ายแก่การศึกษาของคนทั่วไป) กล้าหาญ แน่วแน่ในการกระทำสิ่งที่ถูกต้องสิ่งที่จะเป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคม อันเป็นวิถีทางของสัตบุรุษ ต้องกล้าหาญในการเดินไปในวิถีทางที่จะสนับสนุนสิ่งที่ดี ๆ งาม ๆ ให้เกิดขึ้นแก่ตนเองและสังคม และแก่ชนผู้ยากไร้ทั้งหลาย

2.5           อุทธยานพุทธเกษตร สิ่งที่ประสงค์จริง ๆ ก็คือเขตป่าดงดิบ แม่น้ำ ลำธาร ฝั่งทะเล มหาสมุทร อันเป็นแดนธรรมชาติที่กว้างใหญ่ไพศาลส่วนหนึ่ง ที่ควรสงวนไว้สำหรับงานวิปัสนาธุระ งานธุดงค์กรรมฐานของหมู่สงฆ์ ในส่วนรวม ให้เป็นสถานที่สำหรับการศึกษาระดับสูงสุดของพระพุทธศาสนา(ปัญญาสิกขา)สำหรับบวรพุทธศาสนิกชนทั่วโลก

อุทธยานพุทธเกษตร ควรมีหลาย ๆ แห่งในประเทศพระพุทธศาสนา ในระยะเริ่มแรกน่าจะเป็นไปได้ว่ารัฐบาลไทย หมู่สงฆ์ และพุทธบริษัททั้งสิ้นทั้งมวลเองเป็นผู้ริเริ่มสร้างขึ้น แล้วขยายแนวคิดออกไปยังประเทศพุทธศาสนาอื่น ๆ เช่นพม่า ลังกา ลาว เวียตนาม ฟิลปปินส์ อินโดนีเซีย กัมพูชา อินเดีย จีน อินโดนีเซีย แม้ในออสเตรเลีย อาฟริกา ยุโรปและสหรัฐอเมริกาเองก็น่าจะเป็นสิ่งที่ชื่นชอบของประชาชนแห่งทวีปและประเทศนั้น เพราะแนวคิดนี้จะสอดคล้องกับแนวคิดการอนุรักษ์ป่าไม้ต้นน้ำลำธาร เพียงดังว่าเป็นอย่างเดียวกัน โครงการร่วมมือระหว่างไทย พม่า รัฐหรือพุทธบริษัททั้งสองประเทศ เพื่อร่วมสร้างอุทธยานพุทธเกษตรไทย-พม่าขึ้นบริเวณแดนต่อแดนของสองประเทศ คือบริเวณด้ามขวานไทย จังหวัดประจวบคีรีขันธิ์ ที่เชื่อมทะเลอันดามันของพม่ากับทะเลในอ่าวไทย น่าจะเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่งสำหรับชาติและประชาชนชาวไทยและพม่า ที่ต่างก็นับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติมาเป็นเวลานาน สำหรับประเทศลาว บริเวณหลี่ผี เช่นเดียวกับบริเวณทะเลสาบเขมร ในกัมพูชา และ บริเวณนครวัตนครธม น่าจะเป็นสถานที่อันเหมาะสมอย่างยิ่ง ในการสร้างเป็นอุทธยานพุทธเกษตร ในประเทศตะวันตกและสหรัฐอเมริกา อุทธยานพุทธเกษตรจะหมายถึงการทดสอบกรรมฐานของหมู่สงฆ์ ในสถานที่อันเปลี่ยนแปรไปจากเดิม จักอำนวยประโยชน์อย่างสูงสุดไม่แพ้อุทธยานพุทธเกษตรในประเทศแถบเอเซียเอง ทั้งนี้โดยหวังว่าอุทธยานพุทธเกษตรจะเป็นสถานที่สำหรับการศึกษาอันอุดมสมบูรณ์ของการพระพุทธศาสนาโลก

 

 

 

จะปฏิรูปการปกครองสงฆ์ไปทำไม ? (2)

ร่างแผนการปฏิบัติ แนวทางการปฏิรูประบบทั้งมวลของหมู่สงฆ์

 

ต่อไปนี้คือข้อเสนอแนะ เป็นแนวทางที่วางสำหรับภาคปฏิบัติทั้งมวลอันอาจเกิดผลเป็นการปฏิรูประบบสงฆ์ขึ้นมาได้โดยปกติ บอกบทสรุปที่สำคัญภาคปฏิบัติให้เป็นผลออกมาเป็นรูปธรรมจริง สรุปเป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้

1.            หมู่สงฆ์ป่า ที่เคยเรียกแต่เดิมตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานีไทยว่า ฝ่ายอรัญญวาสี หรือหมู่ใดก็ตามที่เชื่อตนเองว่าเป็นหมู่กลุ่มผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มุ่งหมายโดยแท้จริงจักดำรงมรรคผลแห่งพระพุทธศาสนา พยายามอุทิศตนเพื่อมรรคผลในพระพุทธศาสนา ดำรงตนเป็นหลักแห่งแนวทางปฏิรูป ถือเป็นหมู่กลุ่มที่เป็นเสาหลัก หรือ กองทัพหลวง เพียงแต่อยู่นิ่งสงบ ไม่เคลื่อนไหวใดใด ไม่ไหลไปตามกระแสใดใดของโลก หรือโลกาภิวัต หากแต่ดำรงมั่นต่อหลักมรรคผลในพระพุทธศาสนา มุ่งมั่นบำเพ็ญมรรคผลสืบไปอย่างเหนียวแน่น พาหมู่กลุ่มมุ่งพัฒนาตนเองให้ถึงที่สุดอย่างเดียว โดยไม่สนใจใฝ่สิ่งใดอันเป็นโลกธรรมทั้งหลาย ไม่ใฝ่ในราชการสงฆ์ ไม่ใฝ่ในตำแหน่งและยศศักดิ์ เพียงเท่านี้ก่อน หากก้าวหน้า ท่านที่มีสมณศักดิ์ พึงสละสมณศักดิ์ เพื่อบูชาองค์บรมศาสดา พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อแสดงความเป็นทายาทโดยแท้จริงขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มิใช่ทายาทของผู้ใดอื่นในโลกนี้

2.            ฟึกฟื้นงานธรรมปฏิบัติให้หนาแน่นขึ้นทุกหนแห่งในแดนพระพุทธศาสนา

2.1           งานบวชชีพราหม-ธรรมปฏิบัติ 7 วันบ้าง 9 วันบ้าง 15 วันบ้าง 20 วันบ้าง พาหมู่ทั้งปวงปฏิบัติธรรมบำเพ็ญศีลบารมี สวดมนต์ทำวัตรแปลเช้าเย็น

2.2           งานปริวาสกรรมจำลอง อันเป็นงานที่หมู่สงฆ์เคลื่อนไหวไปมาทั่วประเทศ เพื่อหาโอกาศปฏิบัติธรรมกรรมฐาน โดยมีวัดต่าง ๆ เป็นเจ้าการจัดงานปริวาสธรรมกรรมฐานนี้ขึ้น ควรเพิ่มงานเข้าปริวาสกรรมจำลอง หรืองานเข้าปริวาสกรรมจริง ๆ ตามพระธรรมวินัย เนื่องด้วยอาบัติสังฆาทิเสส ก็ตาม น่าจะจัดให้มากขึ้น วัดต่าง ๆ สำนักวัดต่าง ๆ ควรพยายามจัดงานชนิดนี้ให้มากขึ้น ให้รับกันไปโดยไม่ขาดการต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาศให้หมู่สงฆ์ได้ฝึกหัดปฏิบัติธรรมกรรมฐานกันตลอดปี ควรส่งเสริมให้มีขึ้นที่ประเทศพระพุทธศาสนาอื่น ๆ และเปิดทางให้หมู่สงฆ์เคลื่อนไหวไปมาระหว่างประเทศได้ หากแต่พึงระวังวัตถุประสงค์ในการจัดงาน ไม่พึงให้เป็นการจัดงานเพื่อหารายได้เข้าวัดเป็นหลัก หากแต่เพื่อเอื้อแด่การปฏิบัติธรรมของหมู่สงฆ์เป็นหลัก และฆราวาสพุทธบริษัทอื่นได้โอกาศปฏิบัติธรรมตามไปบ้าง

2.3           งานปลุกเสกต่าง ๆ หรืองานพิธีพุทธาภิเษกต่าง ๆ ควรแน้นการบำเพ็ญตะปะ ฌาน การนั่งสมาธิชั้นสูงให้มากขึ้น เกจิอาจารย์ทั้งหลายควรแสดงผลของสมาธิจิต ตะปะ หรือ ฌาน ให้มากขึ้น ให้เห็นผลของสมาธิ ตะปะ ฌาน ความสุขสงบแห่งไตรทวารอันบ่งบอกความปิติสุขมากกว่ารูปธรรมอันเป็นผลทางไสยศาสตร์ เกจิอาจารย์ ขึ้นชื่อว่าเกจิอาจารย์ ควรงดพิธีกรรมที่เฉียด ๆ ไปในทางไสยศาสตร์เสียให้หมด งานชนิดนี้ ควรถือว่าเป็นสุดยอดของพุทธธรรมกรรมฐานระดับสมาธิ ฉะนั้น ควรจะได้ระดมมาเฉพาะเกจิอาจารย์ผู้สามารถเท่านั้น ไม่ควรเอาเรื่องตำแหน่ง หรือสมณศักดิ์ใดเข้ามาปะปน จริงอยู่มีสมณศักดิ์ ยศใหญ่ ตำแหน่งใหญ่โต แต่ตะปะ สมาธิ ฌาน กลับอ่อนเยาว์ไร้เดียงสา ก็ไม่ควรนิมนต์ท่านให้เข้ามาร่วมในงานเช่นนี้ สนามนี้ควรเป็นสนามวีรบุรุษนักรบหน่วยหนึ่งทางวิญญาณโดยแท้จริง โดยพยายามให้โน้มเอียงเข้าหาธรรมวินัยให้มากขึ้น ให้ผลของการสำเร็จไตรสิกขาปรากฎออกมามากขึ้น คือผลที่เป็นความสุข ปิติ ฌาน ปัญญา ฯลฯ ปรากฎมากขึ้นในวงการนี้

2.4           งานบวชในโอกาศพิเศษ เชิญข้าราชการ พ่อค้าประชาชน อุทิศตัวเองบวชในโอกาศพิเศษให้มากขึ้น และพระอุปัชฌาย์อาจารย์ควรเปิดโอกาศให้ได้ประพฤติวัตรปฏิบัติธรรมอย่างสมบูรณ์เต็มที่อันเป็นแนวทางมรรคผล ให้มีโอกาศปฏิบัติธรรมกรรมฐาน หรือแม้ธุดงค์บางข้อบางประการก็ควรให้โอกาศ โดยเฉพาะการเดินทางไกล อันเป็นเหตุจำเป็นต้องถือธุดงค์ข้อต่าง ๆ

และที่สำคัญ ไม่ว่าการบวชเพื่อประโยชน์ชั่วคราวหรือประโยน์อันยาวไกล ควรต้องให้สำเร็จการศึกษาไตรสิกขาระดับสมาธิ ระดับหนึ่ง คือระดับที่เข้าสมาธิได้ เข้าสมาธิเป็น เสียก่อนการลาสิกขาทุกราย ๆ ไป หากทำไม่ได้ควรถือว่าเป็นข้อบกพร่องของอุปัชฌาย์โดยตรง ควรพิจารณาจัดการอบรมอุปัชฌาย์เสียใหม่

2.5           งานบวชสามเณรภาคฤดูร้อน ควรจัดให้มโหฬาร ยิ่งใหญ่ทุกหนทุกแห่ง รัฐบาล ราชการหน่วยที่เกี่ยวข้องคือกระทรวงศึกษาธิการ ควรจะถือเป็นนโยบายหลักสำหรับเยาวชนโดยเฉพาะ ประสานโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย สถานศึกษา ประสานวัด ประสานสถานที่ ประสานครูบาอาจารย์ ผู้ที่จะพาสามเณรฝึกฝนไปในแนวทางพระพุทธศาสนา เพื่อการประทับใจในระยะเวลาสั้น ๆ แด่เยาวชนของชาติ และแน่นอน ควรให้สามเณรเหล่านี้ได้เรียนสมาธิ และสำเร็จการศึกษาด้านสมาธิในระดับที่สามารถเข้าสมาธิได้ เข้าสมาธิเป็นกันถ้วนทั่วทุกตัวตน

2.6           หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับการพระพุทธศาสนา ควรจัดประชุมสัมนาทางวิชาการ ทั้งในด้านการศาสนธรรมและโลกธรรมที่เกี่ยวข้อง มากขึ้น โดยมีเป้าหมายที่พระสงฆ์ระดับปัญญาชน พระนักวิชาการ พระสังฆาธิการชั้นสูง และกรรมการมหาเถรสมาคม ร่วมกับปัญญาชนฝ่ายฆราวาส มากขึ้น และจัดให้มีมีการถ่ายทอดการประชุมสัมนาออกไปอย่างกว้างขวาง ในการประชุมสัมนา ควรหยิบยกปัญหาพระธรรมวินัยขึ้นเป็นหลัก เพื่อให้ความสำคัญแด่พระธรรมวินัย จนเป็นการให้ความรู้ทางพระพุทธศาสนาอีกวิธีหนึ่งที่คนทั่วไปสามารถเลือกศึกษาได้

2.7           วัดวาอารามคามวาสีโดยทั่วไปควรลดละการสร้างวัตถุขนาดใหญ่โตมโหฬารลง โดยลดละความพยายามฝักใฝ่เรื่องตำแหน่งและยศลง ก็จักดับความกระหายในการก่อสร้างวัตถุลงไปได้ แล้วดำเนินการทางภาคปฏิบัติ ได้แก่จัดเตรียมสถานที่ให้เหมาะแก่ธรรมปฏิบัติ การสร้างวัดที่เหมาะแก่ภาคปฏิบัติธรรมกรรมฐานมากขึ้น เช่นจัดสร้างสถานที่สำหรับนั่งสมาธิ ถือสันโดษ สำหรับการภาวนา ที่ปลงกรรมฐานชนิดต่าง ๆ สถานที่หรือทางเดินจงกรม สถานที่ฝึกทำกสิณ เข้าฌาน ที่พักผ่อนหย่อนอารมณ์โดยธรรมชาติ ที่สำหรับการพิจารณาธาตุทั้ง 4 เป็นต้น ในวันสำคัญ ๆ ทางพระพุทธศาสนา วัดควรเปิดโอกาศแด่พระภิกษุสามเณรได้มีโอกาศปฏิบัติธรรม ทำกรรมฐานไปตามอิสระภายในวัดตนเองบ้าง และพาญาติโยมบำเพ็ญกรณีฝ่ายปฏิบัติ มีสวดมนต์ภาวนา นั่งสมาธิ เจริญอานาปานสติ ฯลฯ อันเป็นภาคปฏิบัติ ให้มากขึ้น ให้วัดเป็นที่สงบเย็นทางจิตใจอย่างแท้จริง วัดฝ่ายคามวาสีหรือวัดบ้านที่มีภาระส่วนสำคัญเกี่ยวกับกิจกรรมของชาวบ้านและสังคมอ่างขาดเสียไม่ได้ เช่นเป็นสถานศึกษา ศุนย์ฝึกอาชีพ ศูนย์วัฒนธรรม และ ประเพณีต่าง ๆ ควรพาหมู่พระสามเณรสร้างบารมีให้แก่ตนโดยวิถีทางที่ถูกต้อง นั่นคือการเอาใจใส่ต่อคนยากคนจน เอาภาระปัญหาต่าง ๆ ของสังคม ไม่ดูดาย เมินเฉยโดยต้องถือเป็นภาระหน้าที่ที่จำเป็นของวัดบ้าน อันเป็นการสร้างบารมีเพื่อมรรคผลของวัดฝ่ายคามวาสีโดยแท้ เพราะเหตุให้เรียนรู้สัจธรรมเกี่ยวแก่ทุกข์ของบุคคลและสังคม โดยตรงอันเป็นเหตุแห่งการดับทุกข์วิธีหนึ่ง การใกล้ชิดกับความยากไร้ ความไม่สบายเป็นโรค เป็นเหตุดับคายราคะตัณหาไปได้อีกวิธีหนึ่ง นี่จักเป็นเหตุแห่งความศรัทธาเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนา และเจริญเมตตาบารมีต่อไป และต้องถือว่าวัดเป็นหน่วยนำแห่งการปฏิรูปมีสัญญลักษณ์ที่ธรรมปฏิบัติการนั่งสมาธิ ถือการนั่งสมาธิเป็นวิถีรูปธรรมทางปฏิบัติเป็นหลัก จะต้องฝึกฝนเรื่องสมาธิ เข้าสมาธิให้ได้ ให้เป็นทุกหนแห่ง และทุกรูปแห่งความเป็นสงฆ์สาวก

2.8           สื่อมวลชนทั้งหลายพิเคราะห์แนวทางว่า จะสนับสนุนการปฏิรูปไปสู่ระบบที่ถูกต้องตามธรรมตามวินัยเท่านั้น ต่อต้านการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามธรรมตามวินัย แก้กฎหมาย วิพากษ์กฎหมายที่ไม่เอื้อแด่ธรรมวินัยแห่งศาสนานี้ ที่ไม่เอื้อ หรือเป็นอุปสรรคแด่เส้นทางมรรคผลในพระพุทธศาสนา ต้องให้วิถีทางกฎหมายเอื้อแด่วิถีทางมรรคผลเป็นหลักสำคัญ ค่านิยมของสังคม จะต้องต่อต้านบำราบปราบปรามพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องธรรมวินัย มีมาตรการที่ยกย่องสงฆ์ผู้ปฏิบัติชอบตามธรรมตามวินัย และให้ความสำคัญสูงสุดแก่สงฆ์ผู้ประพฤติตามธรรมตามวินัย ไม่ควรถือเอายศถาบรรดาศํกดิ์ ตำแหน่ง วัตถุ เงินหรือลาภปัจจัย เป็นเครื่องตัดสินความดีของพระสงฆ์ เพราะแท้ที่จริง พระสงฆ์ที่ดีจริง ๆ นั้น ย่อมจะสามารถอยู่กับความยากความจนได้อย่างมีความสุข พระสงฆ์ที่ไม่สามารถจะอยู่กับความยากความจน ความลำบากต่าง ๆ ได้ ต้องแสวงหาเงินทอง ของบำรุงต่าง ๆ แสวงหายศ ตำแหน่ง อยู่ตลอดเวลา นั้นคือพระสงฆ์ผู้ไร้ความดีในจิตใจ เป็นผู้ไร้ธรรมะในจิตใจ เพราะไม่สามารถบำเพ็ญตน สร้างธรรมะให้เป็นที่พึ่งของตนตามหลักการพระพุทธศาสนาได้

2.9           หมู่สงฆ์ในตำแหน่งงานราชการสงฆ์ พยายามวางมือจากงานที่ควรเเป็นของฆราวาสวิสัยมากขึ้น เช่นการเงิน การสาธารณูปการ เป็นต้น ในการนี้ควรปรับปรุงกฎมหาเถรสมาคมหรือระเบียบว่าด้วย ไวยาวัจกรเสียใหม่ ให้มีความเหมาะสมและเป็นระบบที่น่าไว้วางใจน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น โดยที่ไวยาวัจกรไม่พึงอยู่ในตำแหน่งตลอดชีพ ควรกำหนดวาระเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการเงินและผลประโยชน์ของวัด และหมู่สงฆ์ควรเอาตัวออกมาสู่ความสันโดษโดยสละตำแหน่งและยศพระเสีย มุ่งไปสู่การปฏิบัติธรรม เพื่อบรรลุมรรคผลอย่างเอาจริงเป็นการอุทิศตนแด่พระบรมศาสดามากขึ้น โดยหลักการก็คือ พยายามลดภาระต่าง ๆ ลงไปเสีย ตามหลักใน ภารสุตตคาถา การฝักใฝ่ในตำแหน่งและยศศักดิ์ นั้นเอง เป็นต้นเหตุแห่งภาระที่ไม่รู้จบสิ้น จึงทำให้ชีวิตสงฆ์เจ้าคณะพระสังฆาธิการ เป็นโมฆะ สูญเปล่าไปทั้งชีวิต นี่คือ โมฆบุรุษโดยแท้จริง ฉะนั้น ต้องให้โอกาศแด่ตนเอง มีธรรมปฏิบัติมากขึ้น ปฏิบัติกิจวัตร 10 ให้สมบูรณ์ขึ้น ปลีกตัว ถือธุดงค์ ปฏิบัติกรรมฐานมากขึ้น ฯลฯ

2.10         ระบบราชการสงฆ์ทั้งหมดหยุดการวิ่งเต้นช่วงชิงตำแหน่ง อันดูขวักไขว่ไม่งาม มาสู่ความสงบสันโดษ ควร ลดปริมาณตำแหน่งงาน และสมณศักดิ์ลงให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ลดขั้นวิ่งทางสมณศักดิ์ลงโดยไม่เสนอให้สมณศักดิ์ในขั้นวิ่งนั้น ไม่เสนอตำแหน่งให้มากขึ้น ฯลฯ ควรสับเปลี่ยนปล่อยวาง สละให้เกิดการหมุนเวียนในการครองตำแหน่ง เริ่มแต่ตำแหน่งระดับตำบลขึ้นไป และในที่สุดแม้ตำแหน่งเจ้าอาวาส ก็พึงให้มีการสับเปลี่ยนได้โดยความเต็มใจยินดีลาออกเอง โดยสำนึก ไม่พึ่งกฎหมายใดใดก็ได้ ทั้งนี้เพื่อให้โอกาศแด่ตนเองและผู้อื่นแลกเปลี่ยนประสบการณ์สำคัญ ๆ บ้าง

2.11         ระบบการศึกษาสงฆ์ปัจจุบัน เป็นระบบที่ไม่สมบูรณ์ แทบทุกระบบ เช่นนักธรรม และบาลี เป็นเพียงระบบให้ท่องจำ มีความรู้ท่วมหัวแต่เอาตัวไม่รอด(จากกิเลส) ให้เสริมระบบไตรสิกขาเข้าไปทุกหลักสูตร และมีจุดหมายสำคัญอยู่ที่ระดับกลางคือสมาธิ เพราะระดับนี้เป็นเสมือนสะพานเชื่อมต่อที่ขาดเสียไม่ได้ จำเป็นที่สงฆ์ทุกรูปจะต้องเข้าสมาธิได้เข้าสมาธิเป็น หากไม่เช่นนั้น ไม่ควรให้สำเร็จการศึกษา แม้ขั้นต่ำที่สุดคือ นักธรรมตรี เจ้าคณะพระสังฆาธิการ จะได้รับเสนอตำแหน่งไม่ได้ หากไม่สามารถนั่งสมาธิได้นั่งสมาธิเป็น และไม่พึงเสนอสมณศักดิ์แด่พระที่นั่งเข้าสมาธิไม่ได้ เข้าสมาธิไม่เป็น ให้ระบบการศึกษานำระบบการปกครองโดยระบบการปกครองต้องอนุวรรตตามระบบไตรสิกขา ถือเอาผลสำเร็จทางการศึกษาไตรสิกขานี้เป็นแก่นกลางของการวินิจฉัยสำหรับตำแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์ สงฆ์และพุทธบริษัททั้งปวงต้องยืนยันค่านิยมที่ถูกต้อง นั่นคือ ยืนหยัดการศึกษาไตรสิกขาเป็นตัวนำการปกครอง พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มีการศึกษาไตรสิกขาสมบูรณ์ สมควรได้รับการบูชายกย่องเทิดทูนกราบไหว้สมกับความเป็นสงฆ์ที่แท้ ยิ่งกว่าพระเจ้าขุนมูลนาย ผู้มีลาภและยศศักดิ์ใหญ่ แต่หาไตรสิกขามิได้ แม้แต่ชั้นการนั่งสมาธิก็ยังทำไม่ได้ทำไม่เป็น เป็นต้น

2.12         เมื่อแนวคิดการปฏิรูป หรือการปฏิวัติระบบทั้งมวลในหมู่สงฆ์ได้รับการเผยแผ่ออกไปในระดับชั้นของประชาชนทุกหมู่เหล่าอย่างกว้างขวาง ย่อมก่อเกิดกระแสสังคมขึ้นมาได้ในระดับหนึ่ง และน่าจะเป็นชนวนแห่งการระเบิดพรึบพร้อมของความคิดไปสู่ภาคปฏิบัติการปฏิรูปหรือการปฏิวัติระบบอันสมบูรณ์โดยสันติวิธีต่อไป ฯ

  • ดี20ม.ค.-พ.ค.2543


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 6.      บทวิเคราะห์ร่างพ.ร.บ.คณะสงฆ์ฉบับใหม่ของมหาเถรสมาคม

 

ที่มหาเถรสมาคมเสนอผ่านรัฐบาล ๆ ให้คณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจแก้ไข แล้ว มีทั้งสิ้น 88 มาตรา(จากเดิม80 มาตรา)

(จากวารสาร ธรรมลีลา ประจำเดือน เมษายน 2545 หน้า 4-7)

 

การพิจารณาในรูปรวม จะพบว่า มหาเถรสมาคม ผู้อนุมัติร่าง พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ร่างใหม่นี้ ได้เห็นชอบในหลักการ การตั้งองค์กรสงฆ์ระดับการบริหารนโยบายรวมของคณะสงฆ์ขึ้นมา ย่อมเห็นอยู่ว่า มหาเถรสมาคมยอมรับว่า จุดอ่อนในการบริหารงานระดับสูง ซึ่ง มหาเถรสมาคมเป็นผู้บริหารอยู่แต่เดิม ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และ พระราชบัญญํติคณะสงฆ์(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นมีจุดอ่อน

เนื่องจาก กรรมการมหาเถรสมาคม แต่งตั้งมาจากพระสงฆ์ระดับสมเด็จพระราชชาคณะ ๆ มีตำแหน่งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมโดยอัตโนมัติ และมีกรรมการจากการเลือกของสมเด็จพระสังฆราชอีกจำนวนหนึ่ง ไม่เกิน 13 รูป จุดอ่อนก็คือ ท่านเหล่านี้เป็นผู้ชราภาพแล้ว เป็นวัยที่เหมาะแก่การพักผ่อน หรือเหมาะแก่งานที่เหมาะสมทางด้านสติปัญญาล้วน ๆเท่านั้น

ฉะนั้น คณะสงฆ์จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการที่จะต้องมีองค์กรที่รับใช้ความคิด รับใช้สติปัญญาของคณะสงฆ์ผู้อยู่ในสถานะสูงสุดนี้ และทั้งจำเป็นต้องทำงานด้านการศึกษาและวิจัยสถานการณ์รอบด้านเพื่อวางนโยบายสำคัญทางการปกครองการศึกษาและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ไปในแนวทางอุดมการณ์สูงสุดของพระพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์ของคนยุคใหม่ เพื่อคณะสงฆ์ในองค์รวมขึ้นมาให้กิจการงานของหมู่สงฆ์ และการพระพุทธศาสนาพร้อมต่อการเอื้อประโยชน์อันสูงสุดทันโลกยุคการข่าวและการคมนาคมที่เป็นโลกาภิวัตน์หรือ โกบอลไลเซชั่นให้ได้

การมีมหาคณิสสร เป็นคณะกรรมการขึ้นมา จึงน่าเป็นแนวคิดที่จำเป็น และน่าจะรับได้ เมื่อมองจากองค์รวม อย่างไรก็ดี ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ก็ยังคงมีจุดอ่อน ที่ควรเพิ่มเติมเข้าไปให้ได้ความสมดุล และ สมบูรณ์ ในความหมายของการคณะสงฆ์ และในความหมายของ อุดมการณ์สูงสุดของพระพุทธศาสนา ดังประเด็นสำคัญของการพิจารณาต่อไปนี้

 

การพิจารณาหมวดต่อหมวด ร่างพรบ.ฉบับนี้ กำหนดหมวดงานไว้ 12 หมวด มีข้อพิจารณาตามลำดับไป ดังต่อไปนี้

 

หมวดหลักการ

-           คำว่า คณะสงฆ์อื่น ตาม มาตรา 4 น่าจะพิจารณาให้รอบคอบ เพื่อประโยชน์ในรูปรวมของการพระพุทธศาสนา ในแง่ที่เป็นการประสานความสัมพันธ์ในหมู่กลุ่มอุดมการณ์เดียวกันที่อยู่ร่วมในสังคมเดียวกันของการพระพุทธศาสนาให้เรียบร้อยเป็นตัวอย่างเสียก่อน จึงจะสามารถประสานกับคนต่างกลุ่มต่างลัทธิอุดมการณ์ได้ต่อไป ในภาพรวมก็จะเห็นความมั่นคงเป็นปึกแผ่นต่อการพระพุทธศาสนา และ เป็นการยอมรับ การส่งเสริมให้กำลังใจแด่คณะหมู่กลุ่มผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามหลักการพระพุทธศาสนา ควรมองพระพุทธศาสนาโดยองค์รวมของสังคมทั้งหมด ส่วนไหนของสังคมควรเข้ามาร่วมสร้างสรรค์จรรโลงพระพุทธศาสนาได้ก็ควรที่ จะเปิดโอกาสให้ตามกาละอันสมควรเช่นนี้

 

หมวด 1 สมเด็จพระสังฆราช

-           มาตราใดที่มาจาก กฎหมายเดิม แสดงว่าเป็นที่ยอมรับแล้ว ควรยุติลงได้โดยผลของการได้ผ่านการใช้มาโดยเรียบร้อยแล้ว เช่น มาตรา 9 แต่ถ้อยคำในมาตรา 9 ควรสลับคำว่า "กฎหมาย พระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม" เป็น "พระธรรมวินัย กฎหมาย และกฎมหาเถรสมาคม" และควรมีการแก้ไขมาตราอื่น ๆ ให้เรียงลำดับความสำคัญ เช่นนี้ด้วย จะได้มาตรา 9 ดังนี้

"มาตรา 9            สมเด็จพระสังฆราชทรงดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก ทรงบัญชาการคณะสงฆ์ และทรงตราพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช โดยไม่ขัดหรือแย้งพระธรรมวินัย กฎหมาย และกฎมหาเถรสมาคม"

 

หมวด 2 มหาเถรสมาคม

-           เลขาธิการมหาเถรสมาคม น่าจะคงไว้เหมือนเดิมตามกฎหมายปัจจุบัน นั่นคือ คงกรมการศาสนาไว้ และคงให้ อธิบดีกรมการศาสนา เป็น เลขาธิการมหาเถรสมาคม เหมือนเดิม หากให้ พระราชาคณะรูปหนึ่ง เป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคม ตามร่าง มาตรา 14 น่าจะมีปัญหามาก ในเรื่องบุคคลากร เครื่องมือเครื่องใช้ และการประสานงานกับรัฐบาล การมีกรมการศาสนาอยู่ แสดงอยู่แล้วว่า ทางรัฐบาลพร้อมที่จะรับใช้คณะสงฆ์ ด้วยบุคคลากรและเครื่องมือทุกอย่างที่รัฐบาลมี ไม่ควรที่สงฆ์จะปฏิเสธ และขันอาสาทำเอง  ทั้ง ๆ ที่มือเปล่า และสมองว่างเปล่า (ต่อสถานการณ์โลกยุคใหม่) เพราะหากเป็นเช่นนั้นก็สามารถคาดได้เลยว่า ความอืดอาดล่าช้า ลังเล ขาดการข่าว วิเคราะห์ วิจัย ตัน และล่าช้าของบทบาทมหาเถรสมาคม จะไปยิ่งกว่าเดิมอีก

ฉะนั้น ควรใช้ มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ต่อไป ดังนี้

"มาตรา 13          ให้อธิบดีกรมการศาสนาเป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง และให้กรมการศาสนาทำหน้าที่สำนักงานเลขาธิการมหาเถรสมาคม"

-           มาตรา 13 วรรคหนึ่ง          ควรตัด "และพระราชาคณะซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งอีกจำนวน ไม่เกินสิบสามรูป" โดยเหตุผล

1.         เพื่อให้เกิดความคล่องตัว ป้องกันความลักลั่นในฐานะบุคคล ป้องกันความสับสนล่าช้าในการพิจารณาแต่งตั้งเข้าสู่ตำแหน่งของสมเด็จพระสังฆราช (เพราะท่านมักจะไม่ได้พิจารณาเอง) และ

2.         มีที่ ๆ พระราชาคณะจำนวนไม่เกินสิบสามรูปดังกล่าวจะอยู่ก็คือ มหาคณิสสร หรือ เป็นพระสังฆาธิการระดับที่เหมาะสม

-           มาตรา 13 วรรคสอง          ก็ต้องตัดทิ้งไปทั้งหมด

 

 

-          มาตรา14             เลขาธิการมหาเถรสมาคม น่าจะคงให้ อธิบดีกรมการศาสนา เป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคมเหมือนเดิม (แนะไว้แต่ต้นแล้ว) เพราะมีบุคคลากร เครื่องมือเครื่องใช้ ในฐานะหน่วยงานของรัฐที่บริการรับใช้หมู่สงฆ์เป็นอย่างดีอยู่แล้ว หากเป็นไปตามหลักการใหม่ที่ให้ พระราชาคณะรูปหนึ่งเป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคม จะมีปัญหามาก เพราะขาดบุคคลากร ขาดเครื่องมือเครื่องใช้ จะขาดการประสานงานระหว่างมหาเถรสมาคม กับรัฐบาล (พระกับโยมจะพูดกันไม่รู้เรื่อง) น่าที่จะให้คงกรมการศาสนาเอาไว้ เพราะเป็นหน่วยงานรัฐ ที่ยินดีเต็มใจมารับใช้หมู่สงฆ์อยู่แล้ว และมีบุคคลากรที่ได้สั่งสมอบรม มีความชำนาญงานการพระศาสนามาเป็นเวลานานจนเชี่ยวชาญแล้ว งานบริหารส่วนที่ไปเชื่อมโยงกับโลกธรรมเช่นนี้พระสงฆ์ไม่พึงอาสาทำงานเอง อันจะเป็นภาระไปสู่เครื่องกังวลของวิถีธรรมแห่งนักบวชเสีย

-           อย่างไรก็ตาม หลักการในมาตรา 14 วรรคสอง ถือว่าเป็นหลักการที่ดี คือการอยู่ในตำแหน่งอย่างมีวาระ มีอายุของตำแหน่ง แต่ควรจะให้ชัดเจนลงไปเลยว่า "ให้อยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระ ๆ ละ 4 ปี" เพื่อเน้นเจตนาให้ชัดเจนว่า สงฆ์ไม่พึงยึดติดในตำแหน่ง เพื่อให้มีสติรำลึกถึงการพึ่งธรรม หรือมี ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ พระธรรมเป็นที่พึ่งอยู่ตลอดเวลา (ไม่คิดพึ่งอำนาจทางโลก) จึงจะเป็นเส้นทางของพระธรรมวินัย ทางมรรคทางผล นิพพาน และเป็นแบบอย่างแห่งความเสียสละ และแบบอย่างของความศรัทธาในพระธรรมวินัยโดยแท้จริงแก่นักบวชทั้งหลาย และการอยู่ในตำแหน่ง ตามพระราชบัญญัตินี้ ที่มีบัญญัติไว้เช่นนี้ ก็ควรจะให้เป็นอย่างเดียวกันคือ "ให้อยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระ ๆ ละ 4 ปี" ทุกตำแหน่งด้วย

-           มาตรา15 มาตรา 16 และ มาตรา 17 ตัดทั้งหมด

-           มาตรา 18 อำนาจหน้าที่ของมหาเถรสมาคม ควรเพิ่ม

(7)        มหาเถรสมาคม มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งภายในและต่างประเทศ รวมทั้งการแสดงพระธรรมเทศนาแด่ประชาชนโดยใช้ระบบการสื่อสารมวลชนทุกชนิด และรับผิดชอบในการบริหารคลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์ของกิจการฝ่ายสงฆ์ทั้งสิ้น

(8)        พิจารณาให้ความเห็นชอบนโยบายและแผนการวิปัสนาธุระตามที่คณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระเสนอ

(9)        พิจารณาให้ความเห็นชอบกฎมหาเถรสมาคมตามที่คณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระเสนอ

 

 

หมวด 3 มหาคณิสสร

-มาตรา 22 วรรคหนึ่ง         ควรแก้จำนวนกรรมการ จาก "ไม่น้อยกว่ายี่สิบรูป และไม่เกินสามสิบรูป" เป็น "ไม่น้อยกว่าห้ารูป และไม่เกินยี่สิบรูป" วรรคสอง ควรตัด "ตั้งแต่เจ้าอาวาสขึ้นไป" และใส่ข้อความว่า "และผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา" เข้าแทน ดังนี้

-มาตรา 22 วรรคหนึ่ง         "ให้มีมหาคณิสสรคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการ รองประธานกรรมการสองรูป และกรรมการอื่นไม่น้อยกว่าห้ารูปและไม่เกินยี่สิบรูป ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งจากพระราชาคณะโดยคำแนะนำของมหาเถรสมาคม

พระราชาคณะซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการมหาคณิสสร มาจากพระสังฆาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา"

-มาตรา 23 วรรคสอง การอยู่ในตำแหน่งของ เลขาธิการมหาคณิสสร และ รองเลขาธิการมหาคณิสสร และ

-มาตรา 24                      การอยู่ในตำแหน่งของ ประธานกรรมการมหาคณิสสร รองประธานกรรมการมหาคณิสสร และ กรรมการมหาคณิสสร ควรให้ขาดเมื่อครบวาระ 2 ตามหลักการที่ว่า สงฆ์ไม่พึงยึดติดในตำแหน่ง เพื่อให้มีสติรำลึกถึงการพึ่งธรรม หรือมี ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ พระธรรมเป็นที่พึ่งอยู่ตลอดเวลา (ไม่คิดพึ่งอำนาจทางโลก) และเพื่อมิให้เหลิงอำนาจ ตามหลักว่า อตฺตานํ นาติวตฺเตยฺย : บุคคลไม่ควรลืมตน จึงจะเป็นเส้นทางของพระธรรมวินัย ทางมรรคผล นิพพาน และกำหนดวาระควรจะเป็นวาระละ 4 ปี ทั้งมาตรา 23 วรรคสอง และ มาตรา 24 ฉะนั้นจึงเห็นควรตัดคำว่า "ให้อยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้" (มาตรา 23 วรรคสอง) และ "ให้อยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้" (มาตรา 24) ออกเสีย และใช้คำแทนคือ "ให้อยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกินสองวาระ ๆ ละสี่ปี" เพื่อให้มีความชัดเจน เด็ดขาดในทางที่สละตำแหน่งจริง ๆ โดยไม่มีเงื่อนไขใดใด

 

 

*** ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

 

1.         มหาคณิสสร       ควรมีจำนวนกรรมการน้อยที่สุด ควรมีจำนวนระหว่าง ภิกขุปัญจวรรค เป็นอย่างน้อย กับ วีสติวรรค เป็นอย่างมาก ในที่นี้ขอเสนอให้มี 5-20 รูป (เวลาญาติโยมนิมนต์ไปทำบุญตักบาตรจะได้คณะพอดี ผู้ที่น่าจะต้องนิมนต์พระมหาคณิสสร ไปทำบุญตักบาตร หรือบุญอื่น ๆ เป็นประจำก็น่าจะได้แก่โยมระดับรัฐบาล หน่วยงานรัฐบาล องค์กรธุรกิจ องค์กรท้องถิ่น พ่อค้า วาณิช องค์กรบริษัทต่างประเทศ คนต่างประเทศ โรงเรียน สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัย หรือบริษัท ห้างร้าน หรือองค์กรเอกชนใดๆ เมื่อได้คณะที่เหมาะก็จะเป็นการสะดวก )

 

2.         มหาคณิสสร ควรมาจากวงการศึกษา มิใช่มาจากวงการปกครอง ตามร่างที่กำหนดนี้ มหาคณิสสร มาจากวงการปกครองทั้งสิ้น จึงได้เสนอแก้ มาตรา 22 วรรคสอง คำว่า "ตำแหน่งกรรมการมหาคณิสสรต้องเป็นพระสังฆาธิการตั้งแต่เจ้าอาวาสขึ้นไป" เพราะคำว่า "พระสังฆาธิการตั้งแต่เจ้าอาวาสขึ้นไป" เป็นข้อจำกัดเฉพาะวงการปกครองเกินไป ควรแก้เป็น "ตำแหน่งกรรมการมหาคณิสสรมาจากพระสังฆาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา" (คือควรรวมเอา รองเจ้าอาวาส และผู้ช่วยเจ้าอาวาส ซึ่งอยู่ในฐานะพระสังฆาธิการด้วย เพราะผู้ช่วยเจ้าอาวาส มีอยู่เป็นจำนวนมากที่มีความรู้ความสามารถอย่างนักวิชาการฝ่ายธรรมะยุคใหม่ก็มีมากมาย) หากมิฉะนั้นผลเสียจะเกิดขึ้นก็คือ คนมากก็จะเหมือนคนน้อย พระ 30 รูป ก็จะเหมือนพระ 1 รูป เพราะวงการปกครองสงฆ์ไทยคุ้นเคยกับระบบอำนาจชนชั้นมานาน นักปกครองสงฆ์มีสติปัญญาเพียงกล่าวคำว่า "ครับผม" ได้อย่างเดียว (อันเป็นผลของระบบอันเป็นข้อบกพร่องอยู่ขณะนี้) แต่มหาคณิสสร ต้องการกรรมการสงฆ์ที่มีหัวคิดอ่านกว้างขวางลุ่มลึกแบบนักวิชาการ ต้องมีความชำนาญการต่างประเทศและโลกาภิวัฒน์ มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย ไม่ยึดมั่นถือมั่นกับความคิดอ่านของตนเพียงคนเดียว จะต้องมีเหตุผลตามผลงานการศึกษา วิจัย ที่ตนหรือผู้อื่นทำมา และจะเกี่ยวข้องอยู่กับเรื่อง การข่าว การวิเคราะห์ และการวิจัย มีความเข้าใจทันสถานการณ์โลกอย่างสูง ต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศหลายหลากภาษาเป็นอย่างดี จนสามารถอ่านเข้าใจภาษาสากลหรือภาษาในพระคัมภีรศาสนาและลัทธินิกายทางศาสนาอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี กรรมการแต่ละคนมีความเป็นอิสระภาพอย่างสูงในการศึกษาวิจัยค้นคว้าไปตามแขนงต่าง ๆ ที่ตนมีความชอบและถนัด จนสามารถเสนอเรื่องราวเพื่อสร้างเป็นนโยบายคณะสงฆ์ไทยเพื่อประโยชน์แด่การเผยแผ่ขยายกิจการพระพุทธศาสนาไปได้อย่างกว้างขวางเป็นสากลทั่วโลก และในขณะเดียวกัน กรรมการมหาคณิสสร จะต้องมีอุเบกขาธรรมสูงส่ง และรู้ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์เป็นอย่างดีมีพื้นฐานทางธรรม ไตรสิกขา วิปัสนาธุระ และทรงธรรมหนักแน่นระดับเอาตัวรอดได้

 

3.         เมื่อมีมหาคณิสสร ก็มีเหตุผลแห่งความชอบธรรม ที่จะลดชั้นตำแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์ลงไปอีก 2 ชั้น คือตำแหน่ง เจ้าคณะใหญ่(จญ.) และตำแหน่ง เจ้าคณะภาค (จภ.) หากมิฉะนั้น จะสร้างความลำบากให้แก่หมู่สงฆ์ระดับล่างเพิ่มขึ้นอีกหลายประการ เพราะเมื่อมีมหาคณิสสร กรรมการมหาคณิสสร ก็จะทำหน้าที่คล้าย ๆ เจ้าคณะใหญ่ และ เจ้าคณะภาคอีกกลุ่มตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องทำหน้าที่ซ้ำซ้อนกันลงไป ให้เป็นภาระหนักแก่ผู้ใต้ปกครองในพื้นที่ ควรให้ระดับจังหวัดรับนโยบายมหาคณิสสรโดยตรง จึงจะเข้าหลักการกระจายอำนาจตามพระธรรมวินัย และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

อนึ่ง ตามร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ....ร่างของกระทรวงศึกษาธิการที่ได้มีการพิจารณาและให้หยุดไว้คราวก่อนนั้น ก็มีหลักการให้มีหรือไม่ให้มีเจ้าคณะใหญ่ และ เจ้าคณะภาค ไว้เหมือนกัน (ดู มาตรา26 และ มาตรา 37 "เจ้าคณะใหญ่ รองเจ้าคณะใหญ่ เจ้าคณะภาค รองเจ้าคณะภาค สังกัดในคณะสงฆ์ส่วนกลางนี้ และจะให้มีหรือไม่มีก็ได้" (โปรดดูจาก ร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ...ฉบับกระทรวงศึกษาธิการ)

 

 

 

หมวด 4 การปกครองคณะสงฆ์

-มาตรา 34          ว่าด้วยเจ้าคณะใหญ่

-มาตรา 35          การปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค ควรยกเลิกหลักการ เจ้าคณะใหญ่ และ เจ้าคณะภาคเสีย (เสนอไว้แล้วข้างต้น) จะเป็น

"มาตรา 35 การปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค ให้จัดแบ่งเขตการปกครอง ดังนี้

(1)        จังหวัด

(2)        อำเภอ

(3)        ตำบล

จำนวนและเขตปกครองตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม"

-มาตรา 36                      ตัดคำว่า "เจ้าคณะภาค" ออก

-มาตรา 37วรรคหนึ่ง          ตัด "รองเจ้าคณะภาค"        วรรคสอง            ตัด "เจ้าคณะใหญ่และรองเจ้าคณะใหญ่"        และตัดวรรคสี่ "ในสำนักงานตามวรรคสามจะกำหนดหรือยินยอมให้บุคคลอื่นใดนอกจากพระภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่มิได้" ออกทั้งหมด เพราะไม่จำเป็นต้องกำหนดเงื่อนไขที่ผูกมัดตัวเองอย่างแน่นหนาเช่นนี้ เพราะโดยความหมายของภาษาก็บอกอยู่ชัดเจนแล้วว่า ไม่มีคนอื่นใดนอกจากภิกษุ และยังทำการผูกมัดตัวเองโดยไม่จำเป็น

***       ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

*          เรื่อง ไวยาวัจกร ปัจจุบัน ตาม พรบ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 45 ไวยาวัจกร เป็นเจ้าพนักงาน โดยพระธรรมวินัย ไวยาวัจกร เป็นเจ้าหน้าที่ของวัดของชุมชนในวัด เพื่อดูแลจัดการทรัพย์สินสิ่งของเงินทองของบริจาคที่มีผู้ศรัทธาถวายไว้เป็นของส่วนรวม ควรกำหนดไว้ใน มาตรา 38 วรรคสอง นี้ หรือกำหนดไว้ในมาตราใดหนึ่งของ หมวด 6 วัด ในประเด็นสำคัญ 2 ประเด็นคือ

1.         ไวยาวัจกร ควรมีจำนวนมากกว่า 1 คน โดยให้เป็นคณะไวยาวัจกร เพื่อการตรวจสอบซึ่งกันและกันระหว่างไวยาวัจกรด้วยกันเอง จำนวนควรกำหนดให้มี 2- 4 คน (ควรนำความหมายของ ร่าง พรบ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ.....ฉบับกระทรวงศึกษาธิการ ที่ให้ความหมายเชิงการบริหารโดยคณะกรรมการไว้อย่างดีแล้ว มาให้ความหมายแก่งานของคณะไวยาวัจกรนี้ด้วย เพื่อให้วัดมีการบริหารการเงินทรัพย์สินที่สามารถตรวจสอบได้ โดยป้องกันการทุจริตทางการเงินของตัวไวยาวัจกรเอง ให้ทำงานกันเป็นหมู่ เป็นคณะกรรมการ เพื่อการตรวจสอบกันเอง โดยกำหนดให้มีไวยาวัจกร จำนวนมากกว่า 1คน (โปรดดู มาตรา 62 ร่าง พรบ.อุปถัมภ์ฯ ที่กำหนดให้ : มีคณะทำงานและผู้ตรวจสอบทรัพย์สินของวัด จัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายของวัดประจำปี และประกาศให้พุทธศาสนิกชนทราบ เป็นต้น)

2.         ไวยาวัจกรควรจะต้องมีอายุการอยู่ในตำแหน่ง ต้องไม่ผูกติดกับตำแหน่งตลอดไป และควรเหมาะสมที่ วาระละ 4 ปี แต่ไม่เกิน 2 วาระ เมื่อครบวาระการอยู่ในตำแหน่งแล้วให้เตรียมมอบหลักฐานการบัญชีของทรัพย์สินวัดทุกอย่างให้ไวยาวัจกรคณะใหม่ หรือ คนใหม่รับช่วงปฏิบัติงานต่อไป ควรบัญญัติไว้ในตัวพระราชบัญญัติ ดังนี้

"มาตรา 38 การแต่งตั้งและถอดถอนพระอุปัชฌาย์ พระสังฆาธิการ และไวยาวัจกรให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม

ไวยาวัจกรให้มีจำนวนไม่น้อยกว่า 2 คน แต่ไม่เกิน 4 คน และอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระ ๆ ละ 4 ปี"

 

 

หมวด 5 นิคหกรรมและการสละสมณเพศ

-มาตรา 39 - มาตรา46       เห็นควรยืนไว้ตามต้นร่างนี้

 

 

หมวด 6 วัด

-มาตรา 55          หน้าที่ของเจ้าอาวาส

***       ข้อเสนอเพิ่มเติม

                        ควรเพิ่มหน้าที่เจ้าอาวาสอีก 4 ข้อ คือ

1.         "บำรุง อุปัฏฐากพระเถรานุเถระในวัดให้ดำรงวิถีชีวิตนักบวชอย่างสงบ ตามพระธรรมวินัย และตามอัธยาศัยของพระเถระนั้น ให้เอาใจใส่ดูแลความเป็นอยู่ดุจ ผู้เป็นบูรพาจารย์ของวัดและผู้มีพระคุณในพระศาสนา"

2.         ดูแลงานฝ่ายวิปัสนาธุระ หรือการธุดงค์กรรมฐาน ให้การอุปถัมภ์สำนักวิปัสนากรรมฐานในวัด ให้สามารถดำเนินกิจการไปได้โดยต่อเนื่องไม่ติดขัด ให้การสนับสนุน ในด้านสถานที่ บุคคล และอำนวยความสะดวกเครื่องมือเครื่องใช้ให้เพียงพอเหมาะสมแก่งาน และถือเป็นภาระหน้าที่หลักของเจ้าอาวาส

3.         บำรุงรักษาวัด ควบคุมดูแลศาสนบุคคล แม่ชี ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ และจัดการทรัพย์สินของวัด ให้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาแก่คนทั่วไป

4.         แต่งตั้งคณะทำงาน และผู้ตรวจสอบทรัพย์สินของวัด จัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายของวัดประจำปี และประกาศให้พุทธศาสนิกชนทราบโดยทั่วกัน

** สิ่งที่ควรเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ไวยาวัจกร ควรกำหนด จำนวนไวยาวัจกร และวาระการอยู่ในตำแหน่ง ให้เป็นคณะที่ตรวจสอบกันเองได้ เสนอไว้แล้วใน หมวด4 การปกครองคณะสงฆ์ มาตรา 38

 

 

หมวด 7 ศาสนสมบัติและสำนักงานศาสนสมบัติกลาง

- มาตรา 59         ควรสับเปลี่ยนถ้อยคำ จากร่างเดิมนี้ที่ว่า "ตามนโยบายและหลักเกณฑ์ที่มหาคณิสสรกำหนด" เป็น "ตามนโยบายและหลักเกณฑ์ที่มหาเถรสมาคมกำหนด" เพราะปรากฎว่าที่มหาเถรสมาคมดูแลศาสนสมบัติกลางมาจนกระทั่งบัดนี้ ปรากฎว่ามีผลดี การเงินและศาสนสมบัติกลางไม่ตกหล่นสูญหาย ควรดำเนินนโยบายนี้สืบต่อไป จึงให้ มหาเถรสมาคม เป็นผู้กำหนด หาก มหาคณิสสร มีความเห็นจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็สามารถเสนอ อนุมัติจากมหาเถรสมาคมได้ (ตามแก้คำนี้ใน มาตรา 64 ด้วย)

- มาตรา 62         ประธานกรรมการศาสนสมบัติกลาง ควรแก้ให้อยู่เพียง 2 วาระ ๆ ละ 4 ปี คำว่า "อาจได้รับแต่งตั้งอีก" จะก่อปัญหาในทางปฏิบัติ(เช่นเดียวกับที่เป็นอยู่ขณะนี้) ควรตัดออก ใช้คำแทนใหม่ว่า "อยู่ในตำแหน่งไม่เกินสองวาระ ๆละสี่ปี"

-มาตรา 64          ตัด "มหาคณิสสร" ใช้ "มหาเถรสมาคม" แทนทุกคำที่มี (อ้างแล้วข้างต้น)

 

 

หมวด 8 สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

-           ประเด็นยังไม่ชัดเจน ว่าตั้งขึ้นมาทำไม แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อคิดจะตั้ง ก็ต้องมอบงานที่สำคัญอย่างยิ่งยวดให้ โดยเฉพาะงานการเผยแผ่พระพุทธศาสนาออกไปทั่วโลก และนั่นจะบ่งไปถึงคุณสมบัติของผู้บริหารของสำนักงานนี้ ที่จะคล้าย ๆ กับคุณสมบัติของมหาคณิสสร ซึ่งต้องเน้นคุณสมบัติ ระดับสูงของการบริหารที่ความทันสถานการณ์ทางโลกสากล ทางศาสนาสากล และทางด้านการรุกเพื่อการพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และที่สำคัญ มีหน้าที่ในการส่งเสริมงานด้านวิปัสนาธุระ การธุดงค์กรรมฐาน งานไตรสิกขา และการบริหารการศึกษาของหมู่สงฆ์และพุทธศาสนิกชนในระดับสากลทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาระในการจัดหาสถานที่สำหรับส่วนงานการศึกษาฝ่ายวิปัสนาธุระ เช่น อุทธยานแห่งชาติ ที่เป็นสถานที่เฉพาะของหมู่สงฆ์ เพื่อเป็นที่รวมการปฏิบัติธรรมกรรมฐานทุกรูปแบบในพระพุทธศาสนา เป็นต้น

 

 

หมวด 9 บทกำหนดโทษ

- มาตรา 74         ควรยืนเอาไว้

- มาตรา 76         ควรเพิ่มคำว่า "หรือ สถาบันพุทธศาสนา " ดังนี้

"มาตรา 76 ผู้ใดกระทำหรือแสดงให้ปรากฎแก่ประชาชน ด้วยการกล่าว ไขข่าวแพร่หลาย หรือด้วยการโฆษณา หรือกระทำให้ปรากฎด้วยประการใดๆ อันเป็นการฝ่าฝืนความจริง หรือมีลักษณะเป็นการจงใจให้เกิดความเสื่อมเสียหรือเสียหายแก่พุทธศาสนา หรือสถาบันพุทธศาสนา จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

 

 

หมวด 10 เบ็ดเตล็ด

*** ข้อเสนอเพิ่มเติม

สิ่งที่น่าสนใจบางเรื่อง ดังนี้

มาตรา....            ภายใต้กฎหมายว่าด้วยชื่อบุคคล ชื่อสกุล ให้ใช้คำว่า "พระ" นำหน้าชื่อและต่อท้ายด้วย "ฉายา" ควบคู่ไปกับคำดังกล่าวหรือสมณศักดิ์สำหรับพระภิกษุ และให้ใช้คำว่า "สามเณร" นำหน้าชื่อและต่อท้ายด้วย "นามสกุล" สำหรับสามเณร แล้วแต่กรณี

เมื่อพระสงฆ์ได้อายุพรรษาสูงถึงระดับ เถร มหาเถร แล้ว ให้สนธิคำว่า "เถร" หรือ "มหาเถร" เข้ากับ "ฉายา" ด้วย"

เหตุผลในเรื่องนี้ ก็คือ เพื่อเป็นการยกย่องพระภิกษุ ผู้บวชเรียนศึกษาพระธรรมวินัยมานานจนได้อายุพรรษาสูงพอตามธรรมตามวินัย โดยเฉพาะพระสงฆ์ที่ไม่ปรารถนาสมณศักดิ์ หรือ ไม่มีสมณศักดิ์ แต่อายุพรรษาสูงแล้ว เมื่อได้รับแต่งตั้งให้เป็น กรรมการคณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ หรือกรรมการอื่นในวงงานวิปัสนาธุระ ให้ยกย่องด้วยการสนธิคำว่า "เถร" หรือ "มหาเถร" เข้ากับฉายา เช่น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสน์ วาสนมหาเถร), สมเดํจพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร), พระธรรมปัญญาบดี (สวัสดิ์ กิตติสารเถร) หรือพระที่ไม่มีสมณศักดิ์ โดยสมมติ เช่น พระสรณิศย์ สรณิศยมหาเถร เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องหลักภราดรภาพตามธรรมตามวินัย

 

 

บทเฉพาะกาล

-มาตรา 84 "การยุบกรมการศาสนา"              ตัดออกทั้งหมด ให้คงมีกรมการศาสนาอยู่ในฐานะ    สำนักงานเลขาธิการมหาเถรสมาคมต่อไป

*** ข้อเสนอเพิ่มเติม

"มาตรา....          ให้จัดตั้งสำนักวิปัสนากรรฒฐานแห่งชาติ จังหวัด ตำบล ตามมาตรา..... ภายใน 5 ปี นับแต่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ"

 

 

 

ข้อสรุปประเด็นสำคัญ

 

แนวคิดของ ร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ....ฉบับมหาเถรสมาคม นี้ มองการแก้ปัญหาของคณะสงฆ์ว่า จะต้องมีองค์กรขึ้นมา 3 องค์กร คือ มหาเถรสมาคม มหาคณิสสร และ สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ แต่แนวคิดในทางปฏิบัติยังไม่ค่อยชัดเจน ว่าจะช่วยแก้ไขปัญหา และ พาหมู่คณะสงฆ์เดินไปตามทางพระธรรมวินัยอย่างไร เราได้วิเคราะห์ว่า มหาคณิสสร หากได้บุคคลากรที่ไม่ตรงคุณสมบัติแล้ว ก็ยากที่จะนำพาหมู่สงฆ์ไปสู่ความก้าวหน้าตามพระธรรมวินัย และก้าวไปกับโลกยุคใหม่ได้ ร่างพระราชบัญญัติ นี้ ยังคงมองไม่ครบถ้วน มองเอียงเข้าตัวเอง ผู้ร่างอยู่ แท้จริงเราควรมองผลประโยชน์โดยรวมของการพระพุทธศาสนาเป็นหลัก โดยมองไปถึงเป้าหมายสูงสุดและอุดมการณ์สูงสุดของพระพุทธศาสนาเป็นใหญ่ ฉะนั้น ร่างนี้ยังไม่ให้ความสำคัญแก่งานในด้านการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ยังคงมองจากมุมมองของ "สงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์" คือรับใช้ชนชั้นในหมู่สงฆ์ ฝ่ายเดียวอยู่ ไม่มองสงฆ์ในฐานะ "สงฆสาวก" หรือหมู่สงฆ์ตามธรรมตามวินัย (ตามบทนมการคาถา : สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ..) กล่าวอีกนัยหนึ่ง มองโดยวิสัยทัศน์ของฝ่ายเดียว คือแนวคิดเชิงอำนาจ เพื่อประโยชน์ทางตำแหน่งและสมณศักดิ์(ที่มาเองตามตำแหน่งตามระบบสงฆ์ปัจจุบัน) ที่ชาวโลกเอามาครอบให้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ทำให้เกิดช่องว่าง คือความไม่เป็นธรรม ขึ้นในกฎหมายฉบับนี้ จึงยังไม่เป็นการแก้ปัญหาของหมู่สงฆ์ที่ถูกทาง และจะยังไม่อาจเอื้อแด่การพระพุทธศาสนาได้แต่อย่างใดเลย กลับจะเกิดการแบ่งแยกเป็นชนชั้น และเป็นฝักฝ่าย ระหว่างสงฆ์ฝ่ายผู้ปกครองซึ่งได้อำนาจจากกฎหมายฉบับนี้ แล้วกลายเป็นชนชั้นสูงขึ้นมา ส่วนหมู่สงฆ์อื่นที่ชอบธรรมตามธรรมตามวินัย กลับถูกกดขี่ลงไปเป็นชนชั้นผู้ถูกปกครอง อันเป็นชนชั้นที่ต่ำสุดในระบบสงฆ์ปัจจุบันนี้ ผู้ไม่ยึดฐานะทางอำนาจ ไม่ยินดีในตำแหน่งและสมณศักดิ์ อันเป็นวิถีทางของพระอริยสงฆ์สาวกที่แท้จริงขององค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็จะเป็นเหตุให้วิถีทาง 2 วิถีทางในพระพุทธศาสนาขัดกันอย่างแรง ต่อไปอีก จึงควรจัดตั้งองค์กรขึ้นมาคู่กับมหาคณิสสรอีกองค์กรหนึ่ง ให้เป็นเสมือนตัวแทนอีกข้างหนึ่งของวงการสงฆ์ นั่นคือ คณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ มีฐานะเทียบเท่ามหาคณิสสร เพื่อเอื้อแด่งานเจริญวิปัสนากรรมฐานของหมู่สงฆ์ทั้งสิ้นในฐานะนักบวชผู้มีวิถีทางเดินตามวิถีทางพระธรรมวินัยที่แท้จริง เอื้อแด่วิถีทางการศึกษาเพื่อการรู้แจ้ง บรรลุธรรมจริง ๆ ตามเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา ให้มีหน้าที่จัดหาจัดการเกี่ยวกับงานวิปัสนาธุระ วางแผนงานประจำปี ประจำเดือน จัดสถานที่สำหรับการเจริญธุดงค์กรรมฐาน โดยการประสานงานกับรัฐบาล และรัฐบาลให้การสนับสนุนเครื่องมือ และสถานที่ที่ถูกหลักการเจริญวิปัสนากรรมฐานชั้นสูง ประสานงานให้มีการจัดหาสถานที่อันเป็นธรรมชาติ เช่น การอุทธยานแห่งชาติ เพื่อใช้เป็นที่สำหรับการเรียนการสอนกรรมฐานทุกแบบในพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นที่รวมการปฏิบัติธรรมทุกชนิดโดยหวังผลอย่างสูงสุด กล่าวคือ มีผู้สามารถพิสูจน์ผลธรรม คือบรรลุมรรคผลนิพพานได้จริง เป็นที่กำเนิดพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนาได้จริง อันจะเป็นมูลเหตุใหญ่ของความศรัทธาในวงกว้างขวางไปทั่วโลกได้

และควรจัดส่วนงานทั้งส่วนกลางและส่วนจังหวัดขึ้นมาอีก 3 ระดับส่วนงาน ทำหน้าที่ดำเนินงานวิปัสนาธุระของคณะสงฆ์ ตามนโยบายของ คณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ ดังนี้

 

1                         สำนักวิปัสนาธุระระดับชาติ

 

2                         สำนักวิปัสนาธุระระดับจังหวัด

 

3                         สำนักวิปัสนาธุระระดับตำบล

 

 

สิ่งที่ควรคิดในเรื่องการร่างพระราชบัญญัติใดใดก็ตาม แม้การร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ก็ตาม ก็คือ พระราชบัญญัตินั้น ส่งผลที่กระทบหรือเอื้อประโยชน์อย่างใดแด่ประชาชนบ้าง

บางที องค์กรที่ออกกฎหมายเอง คือสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือแม้ รัฐบาลเองก็ดี อาจจะไม่ทันคิดด้วยซ้ำ ในกรณี พระราชบัญญํติคณะสงฆ์ แม้สมาชิกรัฐสภา ทั้ง สส.และ สว. หรือรัฐบาล ผู้มีอำนาจโดยตรงในการออกกฎหมาย

ควรจะคิดพิจารณาถึงสถานการณ์ว่า ระบบวัดวาอารามทุกวันนี้ ระบบการบวชเรียนทุกวันนี้ สามารถจะเอื้อประโยชน์ทางธรรมทางวินัยแก่เราได้อย่างไรบ้างหรือไม่

หากเราใฝ่ในทางธรรม ประสงค์สละฆราวาสวิสัยเข้าไปในบวรพุทธศาสนา เคยสำรวจหรือไม่ว่า สถานะภาพของวัดวาอารามปัจจุบัน สามารถจะรองรับคนยุคใหม่ที่มีการศึกษาสูง ผ่านประสบการณ์ชีวิตและกิจการงานมามาก ๆ เช่น เรา ๆ นี้ได้ขนาดไหน ระบบของวัดวาอาราม ที่เป็นระบบเจ้าขุนมูลนาย จะเอื้อแก่เรา ๆ ผู้ต้องการเข้าวัดไปเพื่อการศึกษาและปฏิบัติธรรมเพื่อการหลุดพ้น เพื่อความสุขสงบตามอุดมการณ์ที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา หรือการเดินตามรอยพระอรหันต์ องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เพียงใด

 

ถ้าลองคิดดูบ้างก็จะเห็นว่า ระบบวัดปัจจุบันไม่สามารถรองรับความคิดของคนยุคใหม่ได้เท่าที่ควรเลย จึงควรร่างพระราชบัญญัติที่อาจจัดการให้การปกครองของวัด ของการคณะสงฆ์สามารถเอื้อแด่บุคคลรุ่นใหม่ ยุคใหม่ โดยเอื้อให้ การบวช ได้ประโยชน์ทางการศึกษาพระสัทธรรมตามแบบอย่างองค์บรมศาสดาจริง ๆ คือ เพื่อความสุขสงบ เพื่อความหลุดพ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดระบบการปกครองของสงฆ์ ให้สามารถโน้มน้าวให้คนผู้มีการศึกษาดี ผู้มีปริญญาการศึกษาระดับต่าง ๆ หรือลูกคนมีสกุล มีทรัพย์ ได้มีโอกาสเข้าไปบวชเรียนศึกษาธรรมกรรมฐาน ได้หลายหลากรูปแบบยิ่งขึ้น โดยมีเป้าประสงค์หลักตามอุดมการณ์สูงสุดของการพระพุทธศาสนาและคนมีการศึกษายุคนี้ จะได้มีส่วนในการปกครองคณะสงฆ์ตามธรรมตามวินัยต่อไป

 

ฉะนั้น การมีสำนักวิปัสนาธุระขึ้นมา เพื่อมีการจัดการให้เกิดระบบการศึกษา ไตรสิกขา วิปัสนากรรมฐาน ขึ้นตามหลักการศึกษา 2 คือ คันถธุระ และ วิปัสนาธุระ จะเอื้อแด่หมู่สงฆ์เองและคนยุคใหม่ได้ดี เพราะเป็นทางเลือกของการศึกษาพระพุทธศาสนาที่แท้จริง ที่เหมาะแก่บุคคลผู้มีพื้นฐานการศึกษาสูง เยาวชน นิสิตนักศึกษายุคใหม่ ผู้ชราภาพ ผู้พ้นวัยเด็กไปแล้ว เกินที่จะไปนั่งท่องบ่นบาลีนักธรรมตามระบบการเรียนของคณะสงฆ์ขณะนี้ ซึ่งยังคงเน้นการเรียนแบบท่องจำกันทั่วไปอยู่ และการศึกษาก็ไม่มีให้เลือกได้อย่างหลายหลาก ที่เหมาะแก่พื้นฐานความรู้ประสบการณ์ และ วัยของนักบวช

 

 

ลองคิดดูว่า ระบบสงฆ์ปัจจุบันได้เปิดโอกาสให้ได้ศึกษาทางหลุดพ้นอันเป็นอุดมการณ์สูงสุดของพระพุทธศาสนาเช่นว่านี้อย่างไร หรือไม่ ? ถ้าไม่มีการบัญญัติ บังคับเอาไว้ในพระราชบัญญัติให้มี ให้จัดตั้งขึ้น ก็นับวันจะยากลำบากไปในวันหน้า

เพราะแม้พระสงฆ์ในวัดป่าเอง ซึ่งเป็นแดนสำคัญ ที่ดำรงอุดมการณ์การศึกษาที่เป็นแก่นแห่งการพระพุทธศาสนามาตลอด คือ วิปัสนาธุระ หรือแม้กระทั่งความคิดในการปฏิรูปการคณะสงฆ์ไปสู่วิถีทางพระธรรมวินัยโดยตั้งคณะธรรมยุติกนิกายขึ้น โดยพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ในชั้นเดิมแท้ ๆ ทรงมุ่งหมายให้บรรลุผลตามพระธรรมวินัย แต่กลับค่อยคลายหย่อนยานลงไปตามลำดับ จนในปัจจุบันนี้ ก็มิได้มุ่งประสงค์ทางหลุดพ้นกันแล้ว ด้วยเหตุแห่งปัญหาชนชั้นในระบบสงฆ์ที่มิได้คิดแก้ไขมาจนถึงทุกวันนี้เป็นกระแสแรงที่เบนทิศทางของคณะสงฆ์

มีแต่มุ่งหวังก้าวหน้าไปตามฐานะยศศักดินาเจ้าขุนมูลนายสงฆ์ไปตาม ๆ กัน จนพากันเดินทางเข้าคิวออกมาจากป่าไปตาม ๆ กัน เท่านั้น ฉะนั้น ระบบการศึกษาสงฆ์ทุกวันนี้ จึงไม่สามารถสร้างบุคคลากรผู้มีความสามารถในเชิงพุทธที่แท้จริงขึ้นมาได้ การพระพุทธศาสนาจึงก้าวหน้าออกไปสู่ความเป็นสากลไม่ได้

 

 

ฉะนั้นข้อสรุปในการร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับใหม่ก็คือ ควรทำความเข้าใจงานสองฝ่ายให้ดี คืองานฝ่ายการปกครอง ควรต้องเป็นเพียงคณะผู้จัดการเกี่ยวกับการศึกษาเท่านั้น เหตุผลก็คือ แม้ผู้ปกครองสงฆ์ ไม่ว่ามีสถานะสูงส่งทางตำแหน่งและยศศักดิ์เพียงใดก็ตาม ก็ยังคงต้องทำการศึกษาต่อไปตลอดชีวิต จนกว่าจะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์

หากยังไม่สำเร็จเป็นพระอรหันตบุคคลแล้ว การศึกษาก็ไม่อาจจบสิ้นลงไปได้เลย ฉะนั้น ไม่ว่าบุคคลใดในองค์กรใดของการพระพุทธศาสนา ต้องยกเรื่องการศึกษาให้เป็นสิ่งสำคัญสูงสุด และการวิปัสนาธุระ ต้องเป็นการศึกษาหลักของหมู่สงฆ์  ผู้ปกครองสงฆ์  ผู้อยู่ในตำแหน่งใดใด จึงต้องมีโอกาส มีเวลาสำหรับการศึกษาวิปัสนาธุระนี้ได้เท่ากับสงฆ์รูปอื่น การอยู่ในตำแหน่งใดใด จึงต้องมีกำหนดวาระ และวันสิ้นอายุ และที่จำเป็นต้องพิจารณาอย่างจริงจังขณะนี้ก็คือ การศึกษาส่วนที่เป็นระบบฝ่ายวิปัสนาธุระ ยังขาดอยู่ ทั้ง ๆ ที่เป็นหัวใจการศึกษาอันสูงสุดของการพระพุทธศาสนา จึงต้องมีการจัดองค์กรเพื่อการศึกษา ขึ้นมา เป็น สำนักวิปัสนาธุระ3ระดับ คือระดับชาติ ระดับจังหวัด และ ระดับตำบล และ กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติคณะสงฆ์นี้

 

 

 

โดยสรุป องค์กรสงฆ์ที่สำคัญตามร่าง พ.ร.บ.นี้ จึงควรมีดังนี้

 

1.         มหาเถรสมาคม              ทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เป็นสากล เพราะงานการเผยแผ่ ต้องการพระเถรานุเถระผู้ทรงภูมิปัญญา ประชาชนน่าจะมองและเข้าใจว่างานปรากฎตัวทางเครือข่ายสื่อมวลชน โดยเฉพาะงานโทรทัศน์ หรือสื่อมวลชนยุคใหม่ นั้นควรจะต้องเป็นภาระหน้าที่ของผู้ทรงภูมิธรรมปัญญาสูงสุด ในหมู่สงฆ์ เป็นอันดับแรก และนั่นควรต้องเป็นกรรมการในองค์กรสูงสุดของพุทธศาสนา คือ กรรมการมหาเถรสมาคมทุกรูป ต้องรับภาระการเผยแผ่พระพุทธศาสนา อย่างเป็นหน้าที่อันจำเป็น ในกฎหมายจึงต้องมีบทบัญญัติบังคับเอาไว้ และมีการตรวจสอบการปฏิบัติงานหรือภาระหน้าที่เพื่อการพระพุทธศาสนาอย่างไรหรือไม่

 

2.         มหาคณิสสร                   ทำหน้าที่บริหารงานอย่างทันสถานการณ์ เราต้องได้บุคคลที่รู้งานการวิจัย รู้การข่าว การวิเคราะห์ มีเหตุมีผลเชิงวิชาการเป็นอย่างสูง สามารโต้แย้งในเชิงวิชาการได้ชัดเจน เพื่อสร้างนโยบายทางปฏิบัติที่สอดคล้องสัจธรรม และเพื่อการบริหารดูแลระบบสงฆ์ทั้งระบบอย่างทั่วถึง และทั่วถ้วนอย่างสมบูรณ์ ปราศจากอคติหรือความลำเอียง ไม่ว่าด้วยเหตุแห่งฉันทาคติ โมหคติ ภยาคติ หรือ โทสะคติ ใด ๆ ในการนี้จะต้องให้ความสำคัญในการบริหารงาน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายตามธรรมตามวินัยเป็นหลัก และเพื่อการป้องกันไว้ในชั้นต้นมิให้เกิดการยึดติดในตำแหน่งเพื่อลาภ เพื่อสักการะ ควรกำหนดอายุการดำรงตำแหน่ง วาระละ4 ปี แต่ไม่เกิน 2 วาระ เพื่อเปิดโอกาศให้ สมาชิกมหาคณิสสร ได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมเพื่อตนเอง

 

 

3.         คณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ                 จะต้องเป็นคณะสงฆ์ที่ ไม่มีสมณศักดิ์ และไม่มีตำแหน่งทางการปกครอง หรือมีก็ไม่เกินตำแหน่งสมภารเจ้าวัด เจ้าสำนัก หรือเจ้าอาวาส มีวาระการอยู่ในตำแหน่ง 2 วาระ ๆ 4 ปี เช่นเดียวกันกับคณะกรรมการอื่น ๆ ในพระราชบัญญัตินี้ ความศรัทธาของประชาชนอย่างแท้จริง จะเกิดขึ้นจากงานด้านวิปัสนากรรมฐานเช่นนี้

ฉะนั้น ควรเพิ่มอีก 1 หมวดที่จำเป็นดังกล่าว คือ คณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ

 

หมวด...คณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ

 

มาตรา 22/พ...     ให้มีคณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ 2 รูป และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่า 10 รูป และไม่เกิน 20 รูป ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้ง

กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งต้องเป็นพระอุปัชฌาย์ หรือพระผู้ทรงคุณวุฒิเชี่ยวชาญในการวิปัสนาธุระ ผู้เป็นเถระ มหาเถระแล้ว ไม่มีฐานะเป็นพระสังฆาธิการ หรือ พ้นจากฐานะพระสังฆาธิการแล้ว และไม่มีสมณศักดิ์

 

มาตรา 23/พ...     ให้คณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ แต่งตั้ง กรรมการคณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ รูปหนึ่ง เป็นเลขาธิการคณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ และให้ผู้อำนวยการสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นรองเลขาธิการคณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ โดยตำแหน่ง และจะให้มีรองเลขาธิการคณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระเพิ่มด้วยก็ได้ตามมติของคณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ

เลขาธิการและรองเลขาธิการคณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระที่ได้รับแต่งตั้ง ให้อยู่ในตำแหน่งคราวละไม่เกิน 2 วาระ ๆ ละ 4 ปี

ให้มีสำนักงานเลขาธิการคณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ ตั้งอยู่ที่พุทธมณฑล

 

 

มาตรา 24/พ...     ประธานกรรมการคณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ รองประธานกรรมการคณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ และกรรมการคณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ อยู่ในตำแหน่งคราวละไม่เกิน 2 วาระ ๆ ละ 4 ปี

 

มาตรา 25/พ...     นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ประธานกรรมการคณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ รองประธานกรรมการคณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ และกรรมการคณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

(1)        มรณภาพ

(2)        พ้นจากความเป็นพระภิกษุ

(3)        ลาออก

(4)        สมเด็จพระสังฆราชทรงมีพระบัญชาให้ออก

(5)        ได้รับแต่งตั้งหรือดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการมหาคณิสสร หรือกรรมการมหาเถรสมาคม

ในกรณีที่ประธานคณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ รองประธานกรรมการคณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระหรือกรรมการคณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ สมเด็จพระสังฆราชจะได้ทรงแต่งตั้งประธานกรรมการรองประธานกรรมการ หรือกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่าง

ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ หรือกรรมการ ซึ่งได้รับแต่งตั้งตามวรรคสอง ให้อยู่ในตำแหน่งตามวาระของผู้ซึ่งตนแทน

 

 

มาตรา 26/พ...     การแต่งตั้งประธานคณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ รองประธานกรรมการคณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ หรือกรรมการคณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ ตามมาตรา 22 วรรคหนึ่ง และการให้ประธานคณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ รองประธานกรรมการคณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ หรือกรรมการคณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ พ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง (4) ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช

 

มาตรา 27/พ...     คณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ มีอำนาจ หน้าที่ดังต่อไปนี้

(1)        ดำเนินงานการศึกษาวิปัสนาธุระของคณะสงฆ์ ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย

(2)        กำหนดการศึกษาและให้การศึกษาวิปัสนาธุระแด่สามเณร และภิกษุบวชใหม่

(3)        ควบคุมและส่งเสริมการศึกษาวิปัสนาธุระของคณะสงฆ์

(4)        กำหนดกิจการเกี่ยวกับงานวิปัสนาธุระและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

(5)        กำหนดระเบียบ และแผนงานการศึกษาและการฝึกอบรมวิปัสนาธุระของคณะสงฆ์

(6)        จัดหาสถานที่สำหรับการเจริญธุดงค์กรรมฐานและวิปัสนาธุระชั้นสูง ประสานงานกับรัฐบาลเพื่อให้การสนับสนุนอุทธยานแห่งชาติ หรือสถานที่อันเหมาะสมสำหรับการเรียนการสอนกรรมฐานทุกแบบในพระพุทธศาสนา

(7)        จัดและอำนวยการกิจการวิปัสนาธุระ ธุดงค์ กรรมฐานประจำปี สำหรับพระภิกษุสงฆ์ทุกรูป ทุกระดับสมณศักดิ์ และทุกตำแหน่งมาร่วมปฏิบัติ ปีละ 1 ครั้ง

(8)        พิจารณาเสนอแนะต่อมหาเถรสมาคมเพื่อตรากฎมหาเถรสมาคม

(9)        วางนโยบายและหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งสำนักวิปัสนากรรมฐาน

(10)      ดูแลและจัดการวิปัสนาธุระ และการส่งเสริมการปฏิบัติธรรมกรรมฐานทั่วไป

(11)      ให้คำแนะนำในการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในสำนักวิปัสนากรรมฐาน

(12)      ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่น หรือตามที่มหาเถรสมาคมมีมติมอบหมาย

ทั้งนี้ตามนโยบายและแผนการฝ่ายวิปัสนาธุระที่มหาเถรสมาคมให้ความเห็นชอบแล้วตามมาตรา 18(....)

เพื่อการนี้ให้คณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระมีอำนาจออกข้อบังคับ ระเบียบ หรือมีคำสั่งหรือมติใดโดยไม่ขัดหรือแย้งกับพระธรรมวินัย กฎหมาย หรือกฎมหาเถรสมาคม ใช้บังคับได้ และจะมอบให้พระภิกษุรูปใดหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา 31 เป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่ตามวรรคหนึ่งก็ได้

 

 

มาตรา 28/พ...     เพื่อรักษาหลักพระธรรมวินัยและเพื่อความเรียบร้อยดีงามของคณะสงฆ์ คณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระจะเสนอเสนอให้มีกฎมหาเถรสมาคมเพื่อกำหนดนโยบายหรือวิธีดำเนินการทางการวิปัสนาธุระสำหรับ พระภิกษุและสามเณรที่ประพฤติตนไม่สมควรหรือก่อให้เกิดความเสียหายก็ได้

การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง อาจกำหนดถึงขั้นให้สละสมณเพศก็ได้

 

 

มาตรา 29/พ...     การประชุมคณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม

การประชุมคณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ ให้เป็นไปตามข้อบังคับคณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ

 

 

มาตรา 30/พ...     ในกรณีที่ยังไม่มีการแต่งตั้งกรรมการคณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระแทนตำแหน่งที่ว่างตามมาตรา 25 วรรค....ให้ถือว่าคณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระมีกรรมการเท่าจำนวนที่เหลืออยู่

 

มาตรา31/พ...      คณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระจะวางระเบียบเพื่อให้มีคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ เพื่อกระทำกิจการตามที่คณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระมอบหมายก็ได้

ระเบียบคณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดวิธีการแต่งตั้ง การพ้นจากตำแหน่ง วิธีการประชุม และการดำเนินการไว้ด้วย และเมื่อได้รับความเห็นชอบจากมหาเถรสมาคมแล้วให้ใช้บังคับได้

 

 

มาตรา 32/พ...     ให้จัดตั้งสำนักวิปัสนากรรมฐานขึ้นเป็น 3 ระดับ คือ

1          สำนักวิปัสนากรรมฐานระดับชาติ ประกอบด้วยคณาจารย์ฝ่ายบริหาร และ คณาจารย์ฝ่ายฝึกอบรม ระดับชาติ

2          สำนักวิปัสนากรรมฐานดับจังหวัด ประกอบด้วยคณาจารย์ฝ่ายบริหาร และ คณาจารย์ฝ่ายฝึกอบรม ระดับจังหวัด และ

3          สำนักวิปัสนากรรมฐานระดับตำบล ประกอบด้วยคณาจารย์ฝ่ายบริหาร และ คณาจารย์ฝ่ายฝึกอบรมระดับตำบล

ให้คณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระออกระเบียบการต่าง ๆ เพื่อให้สำนักวิปัสนากรรมฐานตามวรรคหนึ่งดำเนินการไปตามครรลองพระธรรมวินัย

ระเบียบคณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดวิธีการแต่งตั้ง การพ้นจากตำแหน่ง วิธีการประชุม การดำเนินการไว้ด้วย และเมื่อได้รับความเห็นชอบจากมหาเถรสมาคมแล้วให้ใช้บังคับได้

 

 

 

4.       สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นระบบราชการที่รองรับงานของการพระพุทธศาสนา มิใช่เพียงการรองรับงานของคณะสงฆ์เท่านั้น (แนวคิดในการจัดตั้งองค์กรระดับสูงของชาวพุทธเช่นนี้ คงจะยังไม่ชัดเจนนัก อาจจะพิจารณาให้เป็นองค์กรอื่น ที่มีลักษณะเป็นราชการสูงสุดที่เป็นของชาวพุทธโดยเฉพาะและมีลัษณะมั่นคงก็ได้) ฉะนั้น สำนักงานการพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จะต้องประกอบด้วยบุคคลากรผู้ทรงคุณวุฒิ ปรีชาวุฒิ และวัยวุฒิ และทั้งจะต้องรู้ทันสถานการณ์โลก สถานการณ์การศาสนาสากล และรู้วิถีทางที่จะนำการพระพุทธศาสนาไปสู่โลกยุคใหม่ จะต้องเชี่ยวชาญชำนาญและคล่องตัวอย่างสูงในการใช้การสื่อสารยุคใหม่ รวมทั้งการรู้ภาษาต่างประเทศหลายหลากภาษาอย่างเชี่ยวชาญ และในสำนักงานการพระพุทธศาสนาแห่งชาติจะต้องประกอบด้วยนักภาษาศาสตร์ชั้นเชี่ยวชาญอย่างสูงอยู่ทุกภาษาทั่วโลก โดยรัฐบาลซึ่งมีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ควรต้องให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่

 

 

ก็จะลงตัว เป็นร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ 12 หมวด ดังต่อไปนี้

1.         หลักการ

2.         หมวด 1              สมเด็จพระสังฆราช

3.         หมวด 2              มหาเถรสมาคม

4.         หมวด 3              มหาคณิสสร

5.         หมวด 4             คณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ

6.         หมวด 5              การปกครองคณะสงฆ์

7.         หมวด 7              วัด

8.         หมวด 8              ศาสนสมบัติ และสำนักงานศาสนสมบัติกลาง

9.         หมวด 9              สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

10.        หมวด 10            บทกำหนดโทษ

11.        หมวด 11            เบ็ดเตล็ด

12.        บทเฉพาะกาล

 

 

ข้อควรระวัง     คุณสมบัติของ คณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ ตาม มาตรา 22/พ...ที่ว่า "ไม่มีฐานะเป็นพระสังฆาธิการ หรือพ้นจากฐานะพระสังฆาธิการแล้ว และไม่มีสมณศักดิ์" เป็นเงื่อนไขที่สำคัญทั้งหมดทั้งสิ้น หากไม่มีเงื่อนไขตามนี้แล้ว คณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระก็จะกลายเป็นเพียงชนชั้นในระบบสงฆ์เพิ่มไปอีกหนึ่งเท่านั้น ซึ่งนอกจากไม่บรรลุวัตถุประสงค์ทางพระธรรมวินัยแล้ว ยังเพิ่มปัญหาไปอีก ฉะนั้น คณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ ตาม ม.22/พ... คณาจารย์ฝ่ายบริหาร และ คณาจารย์ฝ่ายฝึกอบรม ตาม ม.32/พ..... จึงต้องมีคุณสมบัติ "ไม่มีฐานะเป็นพระสังฆาธิการ หรือพ้นจากฐานะพระสังฆาธิการแล้ว และไม่มีสมณศักดิ์"

 

  • พระพยับ ปญฺญาธโร : อดีตเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ผู้วิเคราะห์
  • วัดมหาพุทธาราม อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ 33000 โทร. (045) 622455

หนังสือพิมพ์ดี  THE GOOD PAPER 

www.newworldbelieve.com  

  • ดี26 เม.ย.-ก.ย.2545

 

 

 

 

 

 

 

 

  7.    บทบก.วิเคราะห์ แนวคิดม.มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

ต่อพ.ร.บ.คณะสงฆ์

 

 

บทบรรณาธิการ

 

นี่คือ หนังสือพิมพ์ดี : วิเคราะห์ข่าวในวงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัด และ สหธรรมิก ฉบับที่ ๒๗ ประจำเดือน ตุลาคม - พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๕ เป็นฉบับ เทศกาลออกพรรษา ปีพุทธศักราช 2545 ซึ่งเริ่มวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 21 ตุลาคม 2545 ฉบับนี้เป็นปีที่ ๖ 

 

เราจะบินบินบินและบินไป    สู่ขอบฟ้าสดใสในเบื้องหน้า

 

หนังสือพิมพ์ดีที่ท่านสมาชิกถืออยู่ในมือขณะนี้ ท่านผู้อ่านก็คงจะทราบว่า ได้ออกมาตาม ลำดับ ๆ มา เป็นเวลานาน สมาชิกท่านหนึ่ง ๆ ได้อ่านติดต่อกันมาโดยตลอดเป็นระยะเวลายาว นาน ถึง 6 ปีแล้ว และเล่มนี้เป็นเล่มที่ 27

 

 

หนังสือพิมพ์ดี มีจุดประสงค์ที่เป็นแกนหลักของตนเอง โดยเฉพาะ กล่าวโดยกว้าง ๆ ก็คือ เพื่อช่วยบริหารความคิดอ่านสติปัญญานำไปสู่ความดีงามและ เพื่อความเข้าใจพระพุทธศาสนาและการศาสนาสากล ซึ่งหนังสือพิมพ์ดี ได้ดำเนินการแบบค่อย ๆนำทางท่านผู้อ่านไปทีละเล็กละน้อย อุปมาเหมือนมัคคุเทศก์ในการเดินป่า ค่อยพาผ่านไปในทางสะบาย ๆ ไปก่อนในระยะแรก ๆ พอให้คุ้นเคยและมีพื้นฐานสำคัญ เรื่องที่นำมาพูด และวิธีพูดก็ พยายามให้เริ่มด้วยเรื่องง่าย ๆ ที่เป็นธรรมดา-สามัญ ไปก่อน แล้วค่อยลุ่มลึกลงไปตามลำดับ

ตราบจนถึงปัจจุบันนี้ เราได้พูดถึงเรื่องราวที่ลึกซึ้งมากทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิงเรื่องราวเกี่ยวกับ พระธรรมวินัย อันเป็นแก่นแท้ของศาสนา และศาสนาสากล

ซึ่งขณะนี้ก็เป็นประเด็นของพระราช บัญญัติคณะสงฆ์ ที่หลายฝ่ายกำลังพิจารณากันอยู่อย่างรอบคอบ เพื่อให้บทบัญญัติในกฎหมาย ออกมาสอดคล้องพระธรรมวินัยและเพื่อการศาสนาสากลที่สมบูรณ์

ฉะนั้น เมื่อท่านผู้อ่านได้ติด ตามเรามาแต่แรกอย่างต่อเนื่องแล้วก็จะค่อยเข้าใจเรื่องราวทางธรรมและความหมายของพระ พุทธศาสนาและศาสนาสากลดีขึ้นทั้งทางรูปธรรมและนามธรรม ที่อาจใช้วินิจฉัยกรณีเกี่ยวกับพระธรรมวินัย โดยเฉพาะการออกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับใหม่ได้ดีขึ้น แต่หากมีท่านใดท่านหนึ่ง ไม่เคยอ่านหนังสือพิมพ์ดีมาแต่ต้นหรือแต่แรก ๆ หรือไม่เคยอ่านเลย ลัดมาอ่านเอาเล่มนี้ก็อาจจะไม่เข้าใจทั่วในความหมายแห่งถ้อยคำของหนังสือพิมพ์ดีเท่าที่ควร ควรจะตามอ่านเรื่องราวที่เป็นมาแต่ต้นจากหนังสือพิมพ์ดีเล่มต้น ๆ อีกทีหนึ่งจักช่วยสานสร้างพื้นฐานทางธรรมและครรลองธรรมที่สูงส่งขึ้นไปเรื่อย ๆ ได้

 

และเรื่องสำคัญในขณะนี้ ก็คือเรื่องการปรับปรุงกฎหมายคณะสงฆ์ไทยใหม่

 

ในระหว่างที่ หนังสือพิมพ์ดีได้เสนอแนวคิด และเร่งเร้าให้มีการปรับปรุงปฏิรูป หรือแม้ปฏิวัติระบบการคณะสงฆ์ โดยการจะต้องออกกฎหมาย หรือปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์เสียใหม่ ก็ได้มีแนวความคิดในการร่างกฎหมายใหม่ออกมาหลายแนวความคิด ที่น่าสนใจก็ได้แก่แนวคิดของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (โปรดดู มติชน 6-7 ก.ค. 42 หน้า12 และ สยามรัฐ 6-7 ก.ค. 2542 หน้า 21) ซึ่งเสนอแนวทางปฏิรูป โดยยึด หลักการสำคัญ 5 ประการคือ

1.       พิจารณาว่าปรับปรุงการปกครองสงฆ์ไปทำไม? เพื่อใคร?

2.       การปกครองเพื่อการศึกษาพัฒนาตนเองมิใช่การปกครองเพื่ออำนาจ

3.       ยกให้พระธรรมวินัยเป็นใหญ่สำคัญเหนือกว่ากฎหมายหรือข้อบังคับใดใด

4.         ยกให้สงฆ์เป็นใหญ่ในการบริหารจัดการ ไม่เผด็จการ และ

5.        องค์กรปกครองสงฆ์ควรเป็นอิสระมีความสัมพันธ์กับรัฐเชิงสร้างสรรค์ ไม่ครอบงำ

ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นแนวคิดที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ในเชิงการจัดการเพื่อประโยชน์ของการพระพุทธศาสนาในส่วน รวม  โดยเฉพาะประเด็นในข้อ 2 การปกครองเพื่อการศึกษาพัฒนาตนเอง มิใช่การปกครองเพื่อ อำนาจและ ข้อ 3 ยกให้พระธรรมวินัยเป็นใหญ่สำคัญเหนือกว่ากฎหมาย หรือข้อบังคับใดใด ซึ่งมุ่งหมายต่อการพัฒนาคุณภาพบุคคลในองค์กรสงฆ์ คือพระสงฆ์เองในฐานะธรรมทายาทโดย ตรง ไปในแนวทางพระธรรมวินัยเพื่อเป้าหมายทางพระธรรมวินัยโดยตรง

แต่แนวความคิดนี้ยัง ไม่มีการจัดทำเป็นรูปของร่างกฎหมายใดใดออกมา แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าแนวคิดใดใด หากมุ่งในการรับใช้พระพุทธศาสนาหรือ รับใช้พระธรรมวินัยที่แท้จริง ก็จะออกมาเป็นหลักการเหมือน ๆ กันเช่นนี้ แต่ กระนั้นในเวลาต่อมาก็ได้มีร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ออกมาฉบับหนึ่ง โดยมีพื้นฐานความคิด ความรู้ วิชาการ ที่ไม่สอดคล้องกับแนวคิดดังกล่าว นั่นหมายถึงความไม่สอดคล้องพระธรรม วินัย ด้วย แต่เอาหลักการ ปกครองและบริหารแบบตะวันตกล้วนมาตราร่างพระราชบัญญัติขึ้น มุ่งหมายจัดการหมู่คณะสงฆ์ไป ตามคติโลก คือมองหมู่สงฆ์เหมือนหมู่ฆราวาส ไม่ คิดว่าหมู่สงฆ์ คือกลุ่มผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทางศาสนาพุทธ

เพราะไม่ได้นำเอาเป้าหมายของหมู่สงฆ์ตามธรรมตามวินัยมาพิจารณาเลย ทั้งไม่ ระวัง ไม่เข้าใจว่าโดยมาตรการที่เสนอ เพื่อการ จัดการกับคณะสงฆ์นั้น จะพาหมู่สงค์ออกไปนอกลู่นอกทางของพระธรรมวินัยหรือไม่อย่างไร

 

นั่นก็คือ ร่าง พระราช บัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ......ที่ออกมาควบคู่กับ ร่างพระราชบัญญัติอุปถัมภ์และ คุ้มครอง พระพุทธศาสนา พ.ศ...... ของ กระทรวงศึกษาธิการ และโดยที่มีแนวความคิดเชิง อำนาจเบ็ดเสร็จ โดยมุ่งจัดระบบหมู่สงฆ์ ด้วยระบบราชการอย่างเข้มงวด ตามแนวความคิดเดิม ๆ ตั้งแต่มีการใช้กฎหมายเกี่ยวกับคณะสงฆ์มา ตั้งแต่เดิม คือ โดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121, พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484, พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 และ พระราชบัญญัตคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535อันเป็นเหตุให้วิถีทางสงฆ์ เบี่ยงเบน ออกไปนอกวิถีทางพระธรรมวินัยโดยตลอดมา เพราะมิได้มอง หรือมิได้มีความเข้าใจ ความคิด เชิงพระธรรมวินัยอันเป็นมาตรการหลักสำหรับหมู่สงฆ์แต่อย่างใดเลยทำให้พระราชบัญญัติเหล่านี้ไร้ทิศทาง หรือเป็นทิศทางที่น่าวิตกเพราะมีแนวโน้มว่าจะบ่อนทำลายกัดกร่อนวงการพระพุทธศาสนา ให้เสื่อมไปทีละน้อย ๆ เพราะสิ่งที่กำหนดไว้ทั้งสิ้นนี้ ล้วนเป็นทิศทางแห่งโลกียธรรมทั้งสิ้น มิได้มีการกำหนดทิศทางแห่งโลกุตตรธรรมและแนวคิดแนวพระธรรมวินัยไว้ในร่างกฎหมายทั้งสองฉบับนี้เลยแม้แต่น้อย

จึงได้รับการต่อต้านจากชาวพุทธหลายกลุ่มอย่างรุนแรง จนต้องถอนกลับไป หนังสือพิมพ์ดีได้เคยวิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับนี้ไว้แต่คราว นั้น แล้ว(โปรดดูดีเล่มที่18 ประจำเดือน กันยายน-ตุลาคม 2542 หน้า 5-18)

ในการวิเคราะห์นั้น หนังสือพิมพ์ดี ได้มีข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไข ให้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์กำหนดกฎเกณฑ์ที่สอดคล้องพระธรรมวินัยอย่างไร ได้นำมาเสนออีกครั้งหนึ่งใน ดี เล่มนี้ เพื่อเป็นการทบทวนและยืนยันว่า การนำ ระบบอำนาจชนชั้นมาใช้ปกครองคณะสงฆ์ เป็นสิ่งที่ไม่ชอบด้วยพระธรรมวินัย โปรดติดตามอ่านในหน้า 21

ต่อมาในระยะปัจจุบัน ที่กำลังหมาด ๆ อยู่ก็ได้มี ร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.....ฉบับของมหาเถรสมาคม ออกมาอีกหนึ่งฉบับ และได้รับการต่อต้านจากหมู่สงฆ์ฝ่าย อรัญญวาสี(สงฆ์และศิษยานุศิษย์พระเดชพระคุณท่านพระธรรมวิสุทธิมงคล หรือ หลวงตา มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน)อย่างรุนแรง เนื่องจากการให้มีมหาคณิสสรพิ่มเข้าไปในระดับสูงของระบบ สงฆ์อีก องค์กรหนึ่ง ทำให้ระบบราชการสงฆ์เน้นหนักไปในเชิงอำนาจชนชั้นเจ้าขุนมูลนายเพิ่มขึ้น และยัง เป็นแนวคิด การมองจากฝ่ายสงฆ์สมณศักดิ์ฝ่ายเดียวอยู่ล้วน ๆ จนต้องถอนกลับไปอีก

 

หนังสือ พิมพ์ดีก็ ยังคงติดตามสถานการณ์การปรับปรุงองค์กรสงฆ์ต่อมา โดยได้ทำการวิเคราะห์ วิจัยแยก แยะผลดีผล เสียเชิงวิชาการออกมาพร้อมข้อเสนอแนะในแนวทางพระธรรมวินัย ว่าการกำหนด กฎเกณฑ์อย่าง ไรจึงจะ สอดคล้องหลักพระธรรมวินัย (โปรดดู ดี เล่มที่26 ประจำ เดือน เมษายน-พฤษภาคม-มิถุนายน-กรกฎาคม-สิงหาคม-กันยายน 2545 คือดีฉบับที่แล้วหน้า 6-24)และ ยังได้นำบทวิเคราะห์นั้นมาลงอีกครั้งหนึ่งในดีเล่มนี้ (โปรดดูหน้า 32)

 

 

 

และบัดนี้เราขอเสนอว่าการร่างพระราชบัญญํติคณะสงฆ์ มาสู่ระดับที่ทั้งฝ่ายสงฆ์ และฝ่าย ฆราวาสผู้มีหน้าที่ออกกฎหมายโดยตรงว่า ควรจะได้พิจารณาอย่างจริง ๆ จัง ๆ อีกครั้งหนึ่งเพื่อ ประโยชน์ของการพระพุทธศาสนาในส่วนรวม โดยยึดแนวทางพิจารณา 4 ประการคือ

 

1.         หลักว่าด้วยการทำประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาในส่วนรวม

2.         หลักว่าด้วยครู - อาจารย์ หรือ อุปัชฌาย์

3.         หลักเพื่อน หรือ กัลยาณมิตร และ

4.         หลักประชาชน

(โปรดดู (หนังสือพิมพ์ดี) วิคราะห์ข่าวในวงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดภาคอีสาน ประจำเดือนพฤษภาคม 2540 หน้า บรรณาธิการ)

หรือหลักการของ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย 5 ข้อดังกล่าวมาแล้วข้างต้น และน่าจะลงตัวในบัดนี้ได้ว่า ควรจัดตั้งองค์กรเพิ่ม เติม มา 2 องค์กรใหญ่ คือ มหาคณิสสร และ คณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ

 

มหาคณิสสรมีเครือข่ายเดิมอยู่แล้วคือเครือข่ายเจ้าคณะพระสังฆาธิการ ระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล ส่วน เครือข่ายของคณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ ยังไม่มี จึงต้องจัดตั้งขึ้นเป็น 3 ระดับ คือ

1.         สำนักวิปัสนากรรมฐานระดับชาติ

2.         สำนักวิปัสนากรรมฐานระดับจังหวัด และ

3.         สำนักวิปัสนา กรรมฐานระดับระดับตำบล



นี่คือ วิถีทางที่กฎหมายอาจรับใช้ พระธรรมวินัยได้โดยมีเหตุผลตามพระธรรมวินัยอย่างค่อนข้างเหมาะเจาะอยู่ระดับหนึ่ง และครั้นเมื่อนำเอามาตรฐาน ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 5 ประการมาตรวจสอบ ก็จะสามารถตอบปัญหาทั้ง 5 ข้อได้ คือ

1.       พิจารณาว่าปรับปรุงการปกครองสงฆ์ไปทำไม? เพื่อใคร? คำตอบคือ เพื่อปรับปรุง ระบบสงฆ์ที่เป็นอยู่ปัจจุบันให้ดีขึ้นโดยสอดคล้องวิถีทางพระธรรมวินัยเพราะระบบวิถีทาง หมู่สงฆ์ ไทยได้เบนออกไปนอกทิศทางพระธรรมวินัยมาเป็นเวลานานโดยไม่มีสายตาใดท้วงติงได้ ตราบจนขณะนี้ยิ่งไปเร็วรุดขึ้นด้วยกาลสมัยของโลกานุวัต ทำให้สถานการณ์น่าเป็นห่วงว่าจะหยุด ยั้งได้ยากหากไม่รีบจัดการแก้ไขเสียแต่บัดนี้ เราจะเห็นได้จากการสร้างระบบการปกครอง และการ ศึกษา สงค์ที่มิได้รับใช้พระธรรมวินัย เป็นระบบการปกครองและการศึกษาทางเจือด้วยยศศักดิ์ มุ่งหมายรับใช้ระบบชนชั้นในหมู่สงฆ์ และระบบอำนาจและการเมืองในหมู่สงฆ์เท่านั้น แล้วพาหมู่สงฆ์เบน ออกไปนอกทิศทางพระธรรมวินัยตามลำดับ อันเป็นพฤติกรรมของระบบที่ค่อยบ่อนทำลายอุปนิส สัยสันโดษของหมู่สงฆ์ในพระพุทธศาสนาลงไปทีละน้อย ๆตามลำดับกาลเวลาจนสถานการณ์ขณะนี้หมู่สงฆ์ทั้งปวงล้วนบ่ายหน้าไปสู่เส้นทางแห่งโลกธรรมในหมู่สงฆ์ทวีขึ้นอย่างหลายหลาก

ส่วนปัญหาการปฏิรูปเพื่อใคร คำตอบก็คือ เพื่อหมู่สงฆ์เอง จะได้มีความสุขและพ้นทุกข์ จากการอยู่ใต้ระบบเผด็จการอำนาจสงฆ์ การมีกฎหมายรองรับฐานะของสงฆ์ฝ่ายพระธรรมวินัย ผู้ที่ สละ มักน้อยสันโดษตามวิถีทางระธรรมวินัย ผู้ไม่ปรารถนาตำแหน่งทางการปกครองและสมณ ศักดิ์ อันเป็นวิถีทางที่แท้จริงตามอุดมการณ์พระพุทธศาสนา ทำให้ได้โอกาสในการศึกษาพระ ธรรมกรรมฐานฝ่ายวิปัสนาธุระกันอย่างเต็มที่ตามสิทธิอันชอบธรรมของนักบวชในพระพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์ทางการบรรลุธรรมเฉพาะตน เป็นหมู่สงฆ์ผู้เป็นธรรมทายาทที่แท้จริง และแล้ว สามารถพิศูจน์หลักธรรมอันล้ำเลิศประเสริฐของศาสนาพุทธได้ในยุคใหม่นี้ ก็จะเป็นพื้นฐานแห่ง ความศรัทธาที่แท้จริง ที่เอื้อให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนธรรมไปในวงกว้างขวางทั่วโลกได้

2.      การปกครองเพื่อการศึกษาพัฒนาตนเองมิใช่การปกครองเพื่ออำนาจ คำ ตอบคือ ปัจจุบัน สงฆ์มิได้มีระบบที่ถาวรมั่นคงเพื่อการศึกษาพัฒนาตนเองเพื่อการบรรลุมรรค ผลนิพพาน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของการพระพุทธศาสนา เพราะหมู่สงฆ์มิได้มีความเป็นอิสระทาง การศึกษาด้านวิปัสนากรรมฐานอย่างเต็มที่ เนื่องจากถูกระรานจากระบบอำนาจชนชั้นในหมู่สงฆ์ ด้วย ประการต่างๆ การปกครองสงฆ์เป็นการปกครองเพื่ออำนาจ มิใช่การปกครองเพื่อจัดการการ ศึกษาให้หมู่บรรลุธรรมตามจุดมุ่งหมายของการบวช

ฉะนั้นพระสงฆ์ทั่วไปขณะนี้จึงเป็นเพียงผู้รับใช้ ระบบชนชั้นในวงการสงฆ์เท่านั้น มิได้รับใช้พระพุทธศาสนา และทั้งมิได้รับใช้การศึกษาของตนเอง เพื่อประโยชน์ทางมรรคผลนิพพานแต่อย่างใดเลย เมื่อมีการปรับปรุงระบบให้มีองค์กรระดับสูงฝ่ายวิปัสนาธุระในฐานะผู้รู้ผู้ชี้ทางอันสูงสุดของหมู่สงฆ์ตามธรรมตามวินัย รวมทั้งเป็นผู้จัดการมาตรฐานแห่งการศึกษาฝ่ายวิปัสนาธุระอย่างเป็นระบบมีแบบแผนทันสมัยขึ้น พร้อมกับจัดให้มีสำนักวิปัสนากรรมฐาน หรือสำนักเรียนไตรสิกขา 3 ระดับเพื่อดำเนินการฝึกอบรมงานด้านวิปัสนาธุระโดยเฉพาะอย่างกว้างขวางทั่วถึงในหมู่สงฆ์ขึ้นแล้ว ก็จะมีสิทธิในการแสวงหาความหลุดพ้นได้อย่างเต็มที่ อย่างเป็นอิสรภาพ และ มีความสุข

3.         ยกให้พระธรรมวินัยเป็นใหญ่ สำคัญเหนือกว่ากฎหมายหรือข้อบังคับใดใด คำตอบ ก็คือ การกำหนดให้มีองค์กรสงฆ์ระดับสูง ซึ่งในที่นี้คือ คณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ คณาจารย์ฝ่ายบริหาร และ คณาจารย์ฝ่ายฝึกอบรม ในองค์กรฝ่ายวิปัสนากรรม ฐาน 3 ระดับนั้น ต้องมาจากสงฆ์ผู้ทรงธรรมทรงวินัยบริสุทธิ์ล้วน ไม่มีเจือด้วยโลกียธรรมใดใดนั่นคือ หมู่สงฆ์ไม่มีสมณศักดิ์และไม่มีตำแหน่งทางการปกครองตามกฎหมาย แต่มาจากผู้รู้ คณาจารย์ อุปัชฌาย์ เถร มหาเถรผู้ทรงธรรมผู้สอนศิษย์ ด้วยเอาความรู้วิชาการเป็นใหญ่เอาคุณธรรม ส่วนตนที่มีตามธรรมตามวินัย คือศีล สมาธิ ปัญญา มรรค ผล นิพพาน เป็นใหญ่เป็นหลักการ เป็นเครื่องมือการสอนมาสอนศิษย์ ไม่มีการครอบด้วยยศ ตำแหน่ง หรืออำนาจ ที่ได้มาจากกฎ หมายและวัฒนธรรมสงฆ์ปัจจุบัน

4.         ยกให้สงฆ์เป็นใหญ่ในการบริหารจัดการ ไม่เผด็จการ คำตอบที่ใกล้เคียงที่สุดขณะนี้ก็คือ การกำหนดให้ทุกตำแหน่งตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ มีวาระการอยู่ในตำแหน่ง ไม่เกิน 2 วาระ ๆ 4 ปี เพื่อมีการหมุนเวียนในหมู่สงฆ์ทั้งปวงเข้าไปร่วมรับผิดชอบ บริหารและจัดการ ก็จะ ได้ชื่อว่า ไม่เผด็จการ สอดคล้องหลักประชาธิปไตยสงฆ์อยู่ระดับหนึ่ง และน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นไปสู่ ระบบ การปกครองโดยสภาสงฆ์อันสมบูรณ์ต่อไป ฉะนั้น การกำหนดวาระการอยู่ในตำแหน่ง จึงมี ความหมายถึงการปกครองโดยธรรมวินัยอยู่ส่วนหนึ่ง พอที่อาจจะส่งเสริมให้การศึกษาสงฆ์ตาม ธรรมตามวินัย คือไตรสิกขา วิปัสนาธุระ เป็นสิ่งสำคัญที่สุดและเป็นสิ่งที่สงฆ์ทุกรูป ไม่ว่าฝ่ายการ ปก ครองหรือฝ่ายการศึกษาทุกชั้นทุกระดับเองก็ตาม ได้มีโอกาสใฝ่ใจศึกษาอย่างเต็มที่ อย่างไม่มีข้อจำกัดจากระบบชนชั้นในหมู่สงฆ์อีกต่อไป จนกว่าจะบรรลุผลในการศึกษาเป็นเสขบุคคลบ้าง อเสขบุคคลบ่าง ต่อเมื่อการศึกษาถึงที่สุดเป็นอเสขบุคคลจึงจะหยุด จบสิ้นการศึกษา และ

5.         องค์กรปกครองสงฆ์ควรเป็นอิสระมีความสัมพันธ์กับรัฐเชิงสร้างสรรค์ไม่ ครอบงำ คำตอบก็ คือเมื่อจัดการให้ระบบสงฆ์เป็นไปตามพระธรรมวินัยหรืออย่างน้อยก็ สอดคล้องพระ ธรรมวินัย ตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ก็ย่อมเป็นอิสระจากการปกครองของรัฐอยู่เองโดยอัตโนมัติแล้วทันที เพราะธรรมดาโลก กับธรรม ไม่อาจปนกัน ย่อมแยกกัน อุปมาเหมือนความสว่างกับความมืด ฉะนั้น

แต่ขณะนี้ ฝ่ายสงฆ์กลับยินดีในโลกยินดีในระบบตำแหน่งชนชั้น มีแนวคิดที่จะนำ ระบบโลกมาครอบวงการสงฆ์ เช่นแนวคิดร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ......... ดังกล่าว เช่นนี้ จึงไม่อาจเป็นอิสระจากโลกได้ (ต่างก็มองความก้าวหน้าของตนไป ตามระบบ ชั้นของตำแหน่งและสมณศักดิ์ไปตาม ๆ กันก็เลยถูกครอบจนหลงแข่งแย่งกันไปตลอดชีวิตนักบวชสงฆ์แล้วยังหลงเทิดทูนว่าเป็นเป้าหมายชีวิตอันประเสริฐ ทำให้ภาพรวมของพระพุทธศาสนาเลอะ เลือนไปเช่นนี้ สงฆ์หาเป็นอิสรภาพได้ไม่ และแท้จริง หมู่สงฆ์เองต่างหากที่มีความยินดีถูกครอบ งำ หรือพอใจในความเป็นทาสโลกีย์เอง)

ฉะนั้น เมื่อจัดการให้กฎหมายรับใช้หรือสอด คล้องพระธรรมวินัย ก็ย่อมเป็นอิสระ เช่นเมื่อมีองค์กรใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ ที่กำหนดให้กรรมการปราศจาก ตำแหน่งการปกครองและสมณศักดิ์ใด ๆ ใช้ความรู้ทางวิปัสนากรรมฐานไปดำเนินการ ล้วน ๆ ก็ กลายเป็นระบบที่ต้องการ คือโลกมาครอบไม่ได้ และโดยกฎหมาย อาจกำหนดความ สัมพันธ์ในเชิงสร้างสรรค์ไว้ โดยสอดคล้องธรรมเนียมประเพณีชาวพุทธ อย่างใด ประการใดก็ได้อยู่แล้ว เช่น รัฐย่อมบำรุงอุปการะหมู่สงฆ์ด้วยประการใดใด ตามที่กำหนดในกฎหมาย และ องค์กร สงฆ์ย่อม มีส่วนในการปกครอง-การศึกษา-การวัฒนธรรมของฝ่ายบ้านเมือง โดยประการใดใดก็ ย่อม กำหนดเอาได้โดยมาตรการกฎหมายที่เอื้อหรือรับใช่พระธรรมวินัยอยู่แล้ว

อนึ่ง เมื่อเป็นไป ตามพระธรรมวินัย โดยหลักศีลสามัญตา ทิฏฐิสามัญตา ให้สงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนกันเองได้ ไม่ว่า ชน ชั้นใด องค์กรปกครองสงฆ์ย่อมได้ความสัมพันธ์กันเชิงการประสานงาน เชิงคุณธรรมหรือ ประสานทางแนวขนาน ไม่ใช่ ประสานทางอำนาจ หรือแนวตั้ง ด้วยการกำหนดให้มีวาระการอยู่ ในตำแหน่ง เพื่อมิให้ยึดติดในตำแหน่งนานเกินไปจนเป็นบ่อเกิดแห่งอำนาจและลุ่มหลงยึดติดใน อำนาจขึ้นมา

และโดยที่องค์กรฝ่ายวิปัสนากรรมฐาน โดยคุณสมบัติปกติธรรมดาของการวิปัสนา กรรมฐาน ย่อมดำเนินความประพฤติปฏิบัติใดใดไปตามครรลองพระธรรมวินัยล้วน ๆ อันเป็นวิถี ทางแห่งคุณธรรม ล้วนๆ คือมีภราดรภาพ มี ศีลสามัญญตา และ ทิฏฐิสามัญตา มีไตรสิกขา เป็นเครื่องว่ากล่าวตักเตือนกันและกันได้ มิใช่วิถีทางแห่งอำนาจอยู่แล้ว

เพราะฉะนั้นส่วนสำคัญในการปรับปรุงหรือกำหนดระบบคณะสงฆ์จึงอยู่ที่การจัดให้มีองค์กรทางฝ่ายการศึกษา วิปัสนากรรมฐาน ให้มี คณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ เป็นระดับนโยบายการ บริหารการจัดการ และมีคณาจารย์ฝ่ายบริหาร คณาจารย์ฝ่ายฝึกอบรม ในสำนัก วิปัสนากรรมฐานทั้ง 3 ระดับที่เป็นเครือข่ายสนองนโยบายด้านวิปัสนาธุระอยู่ทั่ว ประเทศนั่นเองเป็นองค์กรหลักตามร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ใหม่ที่เสนอนี้ และซึ่ง ต่อไปก็จะเป็นพื้นฐานให้เกิดการพัฒนาการไปสู่ระบบธรรมชาติการปกครองของหมู่สงฆ์ คือระบบ สภาสงฆ์ ไปเองโดยอัตโนมัติ

ฉะนั้นหากได้กำหนดองค์กรไว้ในกฎหมายคณะสงฆ์ไว้โดยชอบธรรมแล้ว การพระพุทธศาสนาที่แท้จริงและการพัฒนาการทางวัฒนธรรมของหมู่สงฆ์ไปตามแนวทาง พระธรรมวินัยที่แท้จริงก็จะเกิดขึ้นอย่างเป็นมาตรฐานเพียงพอที่จะมีความหมายต่อการเปลี่ยนแปลงการนำหมู่สงฆ์ทั้งสิ้นไปสู่เป้าหมายที่เป็นอุดมการณ์ที่แท้จริงสูงสุดของการพระพุทธศาสนา นั่นคือ มรรคผล นิพาน ย่อมเป็นสิ่งที่หวังได้ในยุคนี้สมัยนี้ อันเป็นยุคโลกาภิวัฒน์

ก็จักสามารถผลิตสร้าง หมู่พระอริยสงฆ์เกิดขึ้นได้จริง และจะเป็นศูนย์กลางแห่งการแสวงหาความสุขและสัจธรรมแห่งชีวิต ที่แท้จริงของประชาชนพลโลกทั้งปวง และการพระพุทธศาสนามาสู่ความเจริญอย่างสูง


 

 

อนึ่ง เราได้เสนอบทวิเคราะห์พิเศษ ร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ...ฉบับมหาเถรสมาคม ในหนังสือพิมพ์ดี ฉบับที่ 26 คือฉบับที่แล้วไปยัง

1.         สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ประธานกรรม การมหาเถรสมาคม

2.         พระธรรมวิสุทธิมงคล หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน วัดป่าบ้านตาด

3.         อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

4.         อธิบดีกรมการศาสนา เลขาธิการมหาเถรสมาคม

5.         ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร

6.         ฯพณฯ ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานรัฐ สภา

7.         ฯพณฯ ประธานวุฒิสภา

8.         ฯพณฯ ประธานกรรมการการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สภา ผู้แทนราษฎร และ

9.         ฯพณฯ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และประธานพรรคฝ่ายค้าน

เพื่อกรุณา พิจารณาในส่วนที่ชอบที่ควรแด่พระธรรมวินัยต่อไป และหวังว่า สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกจะ ทรงพระกรุณาเป็นพิเศษ และให้การสนับสนุน เพื่อเป็นประโยชน์แด่หมู่สงฆ์ พระธรรมวินัยและการพระพุทธ ศาสนาโดยรวมต่อไป และ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า รัฐบาล รัฐสภา ทั้งสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา คณะกรรมาธิ การการศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม ตลอดจนหมู่สงฆ์และพุทธบริษัททั้งปวงจะพิจารณา โดยยึดพระ ธรรมวินัยเป็นหลัก และสนับสนุน ดำเนินการต่อไปจนกว่าจะประสบผลสำเร็จ

เรายังได้นำบทความในหนังสือพิมพ์รายวัน 2 ฉบับ คือบทความเรื่อง สงฆ์กับ ประชาพิจารณ์ โดย สมผล ตระกูลรุ่ง กลุ่มวิชาการชาวพุทธ ในมติชนรายวัน ประจำ วันที่ 19 ต.ค. 2545 หน้า 14 กับ อัฐบริขาร 8 ของ ฉลามเขียว คอลัมนิสต์ชื่อดังในไทยรัฐ ประจำวันที่ 4 พ.ค. 2545 หน้า 6

โดยที่เราเห็นว่าบทวิเคราะห์ทั้งสองบทนี้ มีนัยสำคัญที่ควรมองโดยเฉพาะ ทัศนะต่อการออกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับใหม่ และเราได้มีการบันทึกวิจารณ์แถมท้ายบท ความนั้น ๆ เพื่อขยายความหมายทางพระธรรมวินัยให้ชัดเจนขึ้นโปรดอย่าพลาด คอลัมน์ อื่น ๆ นอกนั้นโปรดดูได้จากสารบาญตามอัธยาศัย

เรายังมีเรื่องที่เนื่องด้วยการออกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์อีกเรื่องหนึ่ง คือเราได้ แนบซองมาพร้อมกับหนังสือพิมพ์ดี ฉบับที่ 27 นี้ด้วย 1 ซอง ภายในซองจะเป็นแบบสอบถาม เพียง 4 ข้อขอความกรุณาได้โปรดกรอกแบบสอบถามทันทีแล้วใส่ซองเหมือนเดิมส่งกลับไปยังสำนักงานหนังสือพิมพ์ดี คือ มูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร) ด้วย จะขอขอบพระคุณและอนุโมทนาอย่างสูง และคงจะรายงานผลการสำรวจได้ทันในหนังสือพิมพ์ดีฉบับหน้า ซึ่งจะเป็นฉบับสิ้นปีพุทธศักราช 2545 ในเรื่องการต่างประเทศ เราไม่ได้วิเคราะห์ลงในบทบรรณาธิการ เพราะมีคอลัมน์ที่เหมาะตรงกับสถานการณ์ขณะนี้ โปรด ติดตามในคอลัมน์ สากลจักรวาล สากลศาสนา ส่วนเรื่อง อื่น ๆ โปรดเลือกอ่านได้ตาม อัธยาสัยจากหน้าสารบาญ เนื่องจากมีข้อผิดพลาดในการพิมพ์ชื่อ สกุลของ ฯพณฯ อดีตนายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย ในความหมายสำคัญ ในดีเล่มที่แล้ว หน้า 37 บรรทัดที่ 17 จากด้านล่าง หนังสือพิมพ์ดีจึงขออภัยต่อ ฯพณฯ ชวน  หลีกภัย มา ณ ที่นี้ เป็นอย่างสูง

ขอขอบพระคุณ ขออนุโมทนาและ สวัสดี.


บรรณาธิการ

25 พ.ย.45 

  • ดี27 ต.ค.-พ.ย.2545

 



 

 

 

 

 8.     พ.ร.บ.สงฆ์กับประชาพิจารณ์ แนวคิดหนึ่งของประชาชนชาวพุทธ

 

 

บทความพิเศษจากคอลัมน์ กระแสทรรศน์,

มติชน 19 ต.ค.2545 หน้า 14

ระเทศไทยเป็นเมืองพุทธ ประชากรประมาณ 95% นับถือพระพุทธศาสนา แม้ รัฐธรรมนูญ มิได้ระบุว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ความจริงที่ชัดเจนและปฏิเสธไม่ ได้คือ พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย ฉะนั้น พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณา ปรับปรุงของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จึงยังคงเป็นปัญหาที่ชาวพุทธทุกคนต้องให้ความสนใจและน่าถือโอกาสนี้ สังคายนาเนื้อหาในกฎหมายให้ตรงตามพระธรรมวินัยให้มากที่สุด โดยต้อง กระทำอย่างเปิดเผยและทั่วถึง ต้องให้พระทั้งประเทศมีโอกาสรับรู้ถึงเนื้อหาในกฎหมาย มิใช่ถือตามพระกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ไม่ว่าพระกลุ่มนั้นจะมียศถาบรรดาศักดิ์หรือตำแหน่งทางปกครองอย่างไรก็ตาม เพราะพุทธศาสนา มิใช่ระบบตัวแทน มิใช่ระบบถือตามเสียงข้างมาก แต่พระพุทธองค์ทรง กำหนดไว้แล้วว่า ให้ถือตามพระธรรมวินัยเป็นหลัก เป็นการกำหนดโดยไม่มีข้อยกเว้น ไม่ยกเว้นแม้เวลาจะล่วงเลยไปนานเท่าใดแล้วก็ตาม

การปรับปรุง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับผิดชอบอยู่นี้ เมื่อ พิจารณาถึงคณะกรรมการผู้รับผิดชอบ ก็ปรากฎว่าเป็นชาวพุทธทั้งนั้น จึงควรถือเป็นโอกาสที่จะ ได้ปฏิบัติเป็นพุทธบูชา ด้วยการปรับปรุงเนื้อหาในกฎหมายให้เป็นไปตามพระธรรมวินัยให้มากที่สุด เพื่อรักษาพระศาสนาให้คงอยู่ในแนวทางที่ถูกต้อง ความจริงอย่างหนึ่งที่ควรคำนึงถึงให้มากคือ หากทำด้วยความถูกต้อง ให้เนื้อหาตรงตามพระธรรมวินัย พระท่านก็จะปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ไม่ผิดเพี้ยน บุญกุศลที่ท่านทั้งหลายได้กระทำก็จะมีอานิสงส์มาก แต่ในทางกลับกัน หากทำให้ เนื้อหาของกฎหมายไม่เป็นไปตามพระธรรมวินัย อันจะมีผลกระทบถึงการดำรงอยู่ของพระศาสนา บาปทั้งหลายที่จะได้รับก็จะมากเช่นกัน

ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้จัดทำประชาพิจารณ์ ร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ มาครั้งหนึ่ง แล้ว โดยจัดที่หอสมุดแห่งชาติ การประชาพิจารณ์ในครั้งนั้น ต้องถือว่าล้มเหลว เพราะการจัดไม่ครอบคลุม ไม่มีการกำหนดหัวข้อให้พิจารณ์ จึงทำให้ผู้เข้าร่วมพูดโดยไม่มีขอบ เขต ที่สำคัญผู้ควบคุมการพิจารณาในครั้งนั้น ไม่ควบคุมผู้คิดเห็นให้อยู่ในประเด็น ปล่อยให้มีการ พูด ในลักษณะที่ไม่เหมาะสม กระทบถึงสถาบันเบื้องสูงและพระสังฆราช ซึ่งไม่ควรจะเกิดขึ้น บรรยากาศในการประชาพิจารณ์ มีลักษณะเป็นการจัดตั้ง การโห่ฮา ในขณะที่มีผู้แสดงความ คิด เห็น นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาก็มิได้สรุปผลของการทำประชาพิจารณ์ ว่าเป็นอย่างไร การประชาพิจารณ์ในลักษณะนี้ ไม่อาจถือเป็นข้อสรุปที่จะนำไปใช้ในการปรับปรุง เนื้อหา ของกฎหมายได้เลย

การทำประชาพิจารณ์กฎหมายที่เกี่ยวกับพระภิกษุ จะต้องประชาพิจารณ์โดยยึดถือ พระธรรมวินัยเป็นหลัก ต้องหาข้อยุติในทุกปัญหาด้วยพระธรรมวินัย การทำประชา พิจารณ์ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ไม่อาจถือเสียงข้างมากได้ เพราะเสียงข้างมากอาจขัดกับพระธรรมวินัยได้ การทำ ประชาพิจารณ์ พ.ร.บ. คณะสงฆ์จึงไม่เหมือนการทำประชาพิจารณ์กฎหมายอื่น ที่ถือเสียงข้างมาก ได้ พระสงฆ์มีธรรมวินัยเป็นกฎหมายสูงสุดอยู่แล้ว สำหรับพระภิกษุสงฆ์แล้วพระธรรมวินัยเป็นกฎที่ไม่อาจลบล้างได้ ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งไม่อาจตั้งกฎใดๆขึ้นใหม่ได้

จึงใคร่เสนอแนวทางการปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ว่า หากจะทำประชาพิจารณ์จะต้องทำอย่างกว้างขวาง ให้พระทั้งประเทศมีส่วนร่วม จะต้องกำหนดหัวข้อในการพิจารณ์ และต้องยึด พระธรรมวินัยเป็นกรอบสูงสุดที่จะต้องปฏิบัติตาม การพิจารณ์ต้องเพื่อให้ได้ข้อยุติให้เป็นไปตาม พระธรรมวินัย ไม่ใช่สรุปจากเสียงข้างมาก

ที่สำคัญต้องควบคุมการพิจารณ์ให้เรียบร้อยให้สมกับเป็นชาวพุทธที่รับฟังเหตุผลของกัน และกัน อย่าด่วนสรุปเนื้อหา หรือเร่งรัดเพื่อออกกฎหมายโดยเร็ว แม้ไม่มี พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พระภิกษุยังสามารถอยู่ได้ แต่หาก พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ไม่เป็นไปตาม พระธรรมวินัย จะทำให้พระพุทธศาสนาของแท้หมดสิ้นไปจากแผ่นดินไทย

เป็นโอกาสของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว ที่จะได้สร้างบุญหรือจะทำบาป

สมผล ตระกูลรุ่ง                                                                                              กลุ่มวิชาการชาวพุทธ

 

หมายเหตุ บก.   

ท่านผู้เขียนต้องการให้ระวัง เรื่องการประชาพิจารณ์ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ไม่ ควรถือความคิดเห็นของคนส่วนมากต่อประเด็นแต่ละประเด็น แต่ต้องสอบทานก่อนว่าตรงกับพระธรรมวินัยหรือไม่ หากไม่ตรงต่อพระธรรมวินัย ขัด หรือ แย้งพระธรรมวินัยแล้วก็ถือว่าใช้ไม่ได้ นี่คือ ประเด็นที่ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง เพราะสัจธรรมก็คือศาสนาพุทธ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ พระธรรมวินัย พระธรรมวินัย คือ ศาสนาพุทธ ผู้บัญญัติพระธรรมวินัยคือศาสดาของศาสนาพุทธ พระพุทธองค์ทรงประกาศศาสนาพุทธครั้งนั้นทรงประกาศว่า พระธรรมวินัยนี้ คือศาสนาพุทธ

และเมื่อก่อนจะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ทรงตรัสว่า พระธรรมวินัยจะเป็นศาสดาของพวกเราชาว พุทธทั้งหลายสืบมา

เพราะฉะนั้น หากบัญญัติวิถีปฏิบัติใดไม่ตรงพระธรรมวินัย ไม่สอดคล้องไม่ เอื้อแด่พระธรรมวินัย นั่นก็เท่ากับบัญญัติมาตรการที่บ่อนทำลายพระพุทธศาสนานั่นเอง เรื่องการบัญญัติกฎหมายจึงน่าระวังเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากบัญญัติกฎหมายในทางขัด แย้งพระธรรมวินัย ก็จะกลายเป็นความผิดและความบาปอย่างมโหฬารยิ่งใหญ่มากต่อพระพุทธศาสนา  

แต่การทำ ความเข้าใจพระธรรมวินัยนั้นเป็นการยาก กล่าวคือ ผู้ที่จะบัญญัติกฎหมายให้สอดคล้องพระธรรมวินัยที่สุดได้นั้นก็ต้องมีสติปัญญารู้แจ้งทั่วธรรมะในพระพุทธศาสนา โดยบุคคลาธิษฐานก็คือ พระ อรหันต์มีอยู่ย่อมฟังท่านพระอรหันต์นั้น ฟังเหตุและผลของท่าน เพราะพระอรหันต์คือพระธรรม ทายาทที่แท้จริง ผู้ได้รับผลหรือปฏิเวธธรรมทั้งสิ้นแห่งพระพุทธศาสนา และหากมิฉะนั้นก็จำเป็นต้องรับฟังข้อวิจารณ์ของผู้รู้ หรือผู้ได้รับการศึกษามามาก โดยต้องใช้สติใช้ปัญญาในการพิจารณาเหตุผลทางโลกและทางธรรมให้ประสานกันเป็นประโยชน์แด่พระพุทธศาสนาในส่วนรวม อย่าเอา แนวความคิดของตนเองเป็นหลัก ในเมื่อผู้มีอำนาจพิจารณายังเป็นปุถุชน มีอวิชชาอยู่ ย่อมพลาด ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมองกาลไกล ไม่ถึงที่สุด ฉะนั้น การประชาพิจารณ์ จึงน่าระวัง ควร ดำเนินการในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับพระธรรมวินัย เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาร่วมกับสวนที่ เป็นพระธรรมวินัย สมตามบทความข้างต้น และขอชื่นชมในบทความของท่านผู้นี้ ที่แสดง ความหมายที่ถูกต้องตามครรลองพระธรรมวินัยให้ปรากฎ.       บรรณาธิการ.

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 9.    ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้อ่านหนังสือพิมพ์ดี
ต่อ พ.ร.บ.คณะสงฆ์

การสำรวจความคิดเห็นของท่านผู้อ่านหนังสือพิมพ์ดี ต่อการปกครองคณะสงฆ์ ตามที่ได้แจ้งขอความร่วมมือมายังผู้อ่านหนังสือพิมพ์ดีเล่มที่แล้ว(ดีเดือน ตุลาคม- พฤศจิกายน 2545) นั้น บัดนี้ จำนวนแบบสอบถามส่งออกทั้งสิ้น 293 ฉบับ เท่ากับจำนวนแจกจ่ายของหนังสือพิมพ์ดี ได้รวบรวมแบบสอบถามกลับมา 43 ฉบับ (คิดเป็น 14.6 %) ขอรายงาน โดยสรุป ดังต่อไปนี้

1. คำถามข้อที่ 1 "การปกครองคณะสงฆ์" มีคำตอบทั้งหมด 63 คำตอบ ดังนี้

1.1        "ควรให้ปกครองตามพระธรรมวินัย 39 คำตอบ เป็น 61.9 % ของคำตอบทั้งหมด

1.2        "ควรให้ปกครองตามกฎหมาย" 10 คำตอบ เป็น 15.9 % ของคำตอบทั้งหมด

1.3        "ไม่มีความคิดเห็น" 0 คำตอบเป็น 0.0 % ของคำตอบทั้งหมด

1.4       "อื่น ๆ" 14 คำตอบเป็น 22.2 % ของคำตอบทั้งหมด ได้แก่

1.4.1     ตามพระธรรมวินัยในด้านการครองตน-ปฏิบัติตน แต่ถ้าทำผิดควรตามกฎหมาย

1.4.2     การปกครองตามพระธรรมวินัยและตามกฎหมายต้องประสานกัน และควร คำนึงถึงพระธรรมวินัยเป็นหนึ่ง

1.4.3     ควรให้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย โดยมีกฎหมายบ้านเมืองสนับสนุน

1.4.4     ควรมีกฎหมายที่สอดคล้องกับพระธรรมวินัย

1.4.5     เพราะสังคมพระสงฆ์นั้นอยู่ใน2สถานะจึงควรใช้ทั้ง2อย่าง

1.4.6     ยึดหลักพระธรรมวินัยแต่ไม่ขัดกับกฎหมายบ้านเมือง

1.4.7     ประเด็นนี้ต้องมีพระผู้รู้จริง จึงจะปฏิบัติได้ถูกต้องตามธรรมวินัยจริง

1.4.8     แม้ตามกฎหมายแต่ต้องตามพระธรรมวินัย

1.4.9     ควรให้พระสงฆ์ปกครองพระสงฆ์เองจะดีกว่า

1.4.10   ปกครองตามพระธรรมวินัยและตามนัยกฎหมายบ้านเมือง

1.4.11   ทั้งธรรมวินัยและกฎหมายต่างก็มีความจำเป็นคนละสถานการณ์เหมาะทั้ง 2 อย่าง

1.4.12   จารีตประเพณี

1.4.13   เห็นด้วยอย่างยิ่ง ควร แต่จัดองค์กรเป็น 2 สายคือคันถธุระ และวิปัสนาธุระ ส่วนองค์กรสูงสุดจะต้องประกอบด้วย 2 องค์กรที่ดูแลคณะสงฆ์ จะเรียกอะไรก็ได้แต่ไม่ควรเรียกมหาคณิสสรหรือมหาเถรสมาคม เพราะบ่งบอกอำนาจการปกครอง

1.4.14   ควรให้พระสงฆ์มีส่วนร่วมในเวทีอภิปราย หาข้อเสนอแนะแนวทางให้ กว้างขวางมาก ๆ ยิ่งขึ้น จนกระทั่งเป็นมติที่สงฆ์ส่วนใหญ่ยอมรับได้

2.         คำถามข้อที่ 2 "ท่านพอใจองค์กรใด" คำตอบทั้งหมด 42 คำตอบ

2.1        มหาคณิสสร 14 คำตอบเป็น 33.3 % ของคำตอบทั้งหมด

2.2        คณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ 11 คำตอบเป็น 26.2 % ของคำตอบทั้งหมด

2.3        ไม่มีความคิดเห็น 5 คำตอบเป็น 11.9 % ของคำตอบทั้งหมด

2.4       อื่น ๆ 12 คำตอบเป็น 28.6 % ของคำตอบทั้งหมด  ได้แก่

2.4.1     องค์กรใหม่หรือเก่า มันสำคัญที่การพัฒนาบุคคลากรให้มีคุณธรรมต่างหาก

2.4.2     องค์กรของสงฆ์ที่ได้รับการยอมรับทุกฝ่าย

2.4.3     มหาเถรสมาคมแห่งประเทศไทย

2.4.4     องค์กรควรมีความเหมาะสมในแต่ละเรื่องและควรพิจารณาถึงประโยชน์ เป็นสำคัญ

2.4.5     องค์กรไหนก็ได้ที่ทำงานมีอุดมการณ์ ไม่เห็นแก่ยศ ลาภ กิน

2.4.6     เผยแผ่ธรรมอย่างสวนโมกข์และวัดสวนแก้ว(พระพยอม) ประชาชนจะเกิด สัมมาทิฏฐิ

2.4.7     งานบริหารพระพุทธศาสนาจะต้องมีผู้รับผิด ไม่ใช่งานฝากดังที่เป็นอยู่

2.4.8     ควรจัดองค์กรทั้งฝ่ายวิปัสนาธุระแลคันถธุระพร้อม ๆ กัน

2.4.9     องค์กรสงฆ์(สังฆะ) ที่มีการนับถืออาวุโส แต่ทำงานให้พิจารณาความถนัด(เอตทัคคะ)

2.4.10   ถ้าเป็นไปได้ ดิฉันอยากจะเห็นการปกครองของหมู่สงฆ์เป็นระบบสภาสงฆ์

2.4.11   ฝ่ายคันถธุระและฝ่ายวิปัสนาธุระไม่ควรแยกกัน

2.4.12   ควรจัดองค์กรคู่ขนานคือฝ่ายคันถธุระและวิปัสนาธุระ

2.4.13   พอใจคณะสงฆ์ในคณะกรรมการมหาเถรสมาคม และคณาจารย์ฝ่ายวิปัสนาธุระ


3.         คำถามข้อที่ 3 ให้ผู้ตอบ"บันทึก"ความคิดเห็นได้โดยอิสระ ต่อไปนี้เป็นข้อมูลที่ได้ จากบันทึกโดยอิสระของผู้ตอบมาจำนวน 42 คน เลขใน (.....) หมายถึงรหัสผู้ตอบ แบบสอบถาม

3.1 (1)

- เรายังมัวแต่เถียงกันอยู่เลย ศาสนาอื่น ๆ พยายามรุกคืบถึงคนของเรามากต่อมาก ฉะนั้น ควรปรับปรุงให้พระสงฆ์ตื่นตัวขึ้น ทำหน้าที่ของตน ๆ ให้เข้มแข็ง โดยเฉพาะชาวบ้าน ยังมัวแต่ยากจนหาเช้ากินค่ำอยู่มาก ต้องช่วยกันให้มากขึ้น จึงจะป้องกันปัญหาต่าง ๆ ได้ พระสงฆ์ต้องทำงานช่วยสังคม พัฒนาให้เป็นแบบอย่างมากขึ้น

3.2 (2)

- คณะสงฆ์อยู่ในการปกครองตามกฎหมาย พรบ.คณะสงฆ์และพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัด

- ควรมีการคัดสรรผู้ที่จะบวชให้มีคุณภาพ และเมื่อบวชแล้วควรมีการกำกับดูแลอบรม และศึกษาปฏิบัติตามพระธรรมวินัย เป็นหลักทางการพระศาสนาได้

- เน้นการปฏิบัติพัฒนาจิตใจ มากกว่าวัตถุหรือการแสวงหาลาภ ยศ เงินทอง ซึ่งนับวันบุคคลากรทางการพระศาสนาเสื่อมลงไปอย่างเห็นได้ชัด บุคคลากรทางการพระศาสนาอ่อนแอขาดทักษะด้านการศาสนาซึ่งเป็นโอกาสเหมาะที่ศาสนาอื่นจะประกาศศาสนาและเพิ่มจำนวนศาสนิกชนมากขึ้น

3.3 (3)

- การปกครองใด ๆ ก็ได้ที่ทำให้พระภิกษุสงฆ์พ้นจากระบบศักดินาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ อันเต็ม ไปด้วยการซื้อขายตำแหน่ง และยศถาบรรดาศักดิ์ต่าง ๆ

3.4 (4)

- ในฐานะผู้ปฏิบัติงานให้คณะสงฆ์มากว่า 20 ปี เห็นว่าระบบการคณะสงฆ์ 4 ด้าน คือการ ปกครอง การศึกษา การเผยแผ่ และ การสาธารณูปการ มีหลักการและวิธีการ เน้นไปในทาง โลกียะมาก การปกครองมุ่งเน้นที่แสวงหาอำนาจทางโลกเช่นตำแหน่ง ยศ บรรดาศักดิ์ ขุนนางพระ ฯลฯ การศึกษาหลักสูตรธรรม-วินัย-บาลี ไม่เคยปรับปรุงให้ทันสมัย แต่ไปว่าตามโลก ใน มหาวิทยาลัยสงฆ์สาขาพุทธศาสตร์ มีพระเณรเรียนน้อยมาก แต่จะสนใจเรียนรัฐศาสตร์ สังคม ศาสตร์ การบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น สาขาเหล่านี้เป็นการสร้างวิสัยทัศน์ในด้านสะสม กิเลส(โลภ โกรธ หลง) ตัณหา อุปาทานมากมาย การเผยแผ่ก็ตั้งหน้าตั้งตาแข่งขันกันบอกบุญ ในลักษณะต่าง ๆ แข่งขันกันสร้างถาวรวัตถุ ฯลฯ การสาธารณูปการก็มีแต่ขอและรับอย่างเดียว มีการให้น้อยมาก วัดส่วนใหญ่มีแต่ขอ ไม่มีให้ ฯลฯ นี่คือปัญหาใหญ่ของคณะสงฆ์ เป็นเหตุให้ พระพุทธศาสนาล่มสลายในอนาคต

3.5 (9)

- การปรับปรุงของคณะสงฆ์ซึ่งมีผลกระทบด้านจิตใจของพุทธศาสนิกชนมาก จึงใคร่ขอความกรุณาผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ที่คิดจะเข้ามาเกี่ยวข้อง โปรดดำเนินการอย่างใคร่ครวญ ไตร่ตรองให้ดี ไม่ควร ใช้ทิฐิหรืออคติต่อกัน เท่าที่ปรากฎอยู่ในขณะนี้ ฆราวาสทั่วไปจะได้รับทราบว่า

1.         ทำไมวินัยของสงฆ์จึงอ่อนลง ไม่เข้มแข็ง หรือน่าเคารพยำเกรงเหมือนก่อน

2.         ทำไมพระสงฆ์ส่วนใหญ่ จึงไม่ค่อยมีส่วนพัฒนาจิตใจของชาวบ้าน หรือว่าไม่มีใครไว้วางใจเสียแล้ว

3.         ทำอย่างไร จึงจะทำให้สถานะของสงฆ์ไม่สั่นคลอน ไร้ผู้ที่เข้ามาแฝงแอบอิงอยู่ บาง ครั้งก็จะได้รับรู้ว่าพระสงฆ์ต้องการศึกษาถึงปริญญาแล้วก็สึกไป

4.         ทำอย่างไรจึงจะให้การดำเนินกิจกรรมของพระสงฆ์ทันสมัย ไม่อืดอาดล่าช้า ไม่พูดมาก   ฉะฉาน ได้เรื่อง ฯลฯ

3.6 (10)

- สมาชิกมหาคณิสสร ควรอยู่เป็นกลุ่มบุคคล หรือองค์กรอยู่ใต้กฎหมายเหมือน ปชช.ทั่วไป ที่เป็นบุคคลสาธารณะ สามารถถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้

- การได้มาซึ่งมหาคณิสสร ควรเป็นไปตาม กม. ไม่ใช่พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่เลือกมา ควรมาจากการเห็นชอบของ ปชช. + หน่วยราชการ ด้วย

- องค์กรมหาคณิสสร มีอำนาจมากไป(ดูตาม พรบ.สงฆ์) ควรลดอำนาจลงกว่านี้

3.7 (11)

- เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลง พรบ. สงฆ์ล่าสุด ที่ถูกวิพากษณ์วิจารณ์นั้น อันที่จริงถ้าดูให้ดี ๆ (ปรับปรุงเพิ่มเติมอีกนิดที่ติดขัดความรู้สึกของผู้ถูกบังคับใช้และผู้ใช้ ก็น่าจะใช้ได้ เพราะถึงเวลา แล้วที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง เพราะถ้าไม่เปลี่ยนแปลงแล้ว มันก็เสมือนน้ำบึงหรือหนองน้ำ ไม่มีการถ่ายเทก็เกิดเน่าเหม็นได้ฉันใด ก็ฉันนั้น ถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่การเปลี่ยนแปลงต้องเป็นไปด้วยเหตุปัจจัย ความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างนิกาย ถ้าผลประโยชน์ลงตัวก็ ไม่น่าจะทะเลาะกัน ฯลฯ

3.8 (12)

- ควรนำ พ.ร.บ. 2484 มาใช้

3.9 (14)

- พระสงฆ์เป็นบุรุษที่สละแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติในศีลธรรมตามพระธรรมวินัย ไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับทาง การเมืองจนดูน่าเกียจ เช่น รวมกลุ่มโพกศีรษะออกมานั่งที่ถนนเพื่อประท้วง(สามารถแสดงความคิดเห็นได้ แต่ต้องสงบ หมายถึงใช้สมาธิและปัญญาให้มากกว่าคนทั่วไป) การออกมาเรี่ยไรเอาเงิน เข้ากองทุนช่วยชาติ ไม่ใช่กิจของสงฆ์ และเมื่อให้แล้วไม่ควรเข้าไปชี้นำ เป็นภาพที่ ไม่งามและ ผิดวินัยสงฆ์ ควรมีมาตรการที่เข้มงวดในการลงโทษกับสงฆ์ที่นอกรีต เช่น เสพเมถุน / ดื่ม-ใช้ของที่ไม่ใช่อัฐบริขาร พูด-แสดงพฤติกรรมที่หยาบคายหรือไม่สำรวม ทำตัวไม่เหมาะที่จะให้ประชาชนกราบไหว้

3.10 (15)

- การปกครอง, การบริหารจัดการ, กฎหมาย ควรมีผู้ทรงคุณวุฒิและทรงธรรมจริง ๆ ช่วยกัน คิดและกำหนด

- การเผยแผ่ ควรได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจัง และประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัย

- การส่งเสริมการศึกษาของสงฆ์ ควรปรับปรุงและขยายให้มากขึ้น

- การส่งเสริมด้านวิปัสนากรรมฐาน ควรได้รับความสำคัญ และส่งเสริมย่างจริงจังจากคณะสงฆ์และภาครัฐ

- กิจของสงฆ์ ควรมีกรอบและทิศทางที่ชัดเจน และก่อประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม

- ลาภ, ยศ. ควรหาวิธีการควบคุมที่เหมาะสมที่สุด

- สมณสารูป. ควรปรับปรุงอย่างจริงจัง

3.11 (17)

- ชาวพุทธควรจะปฏิบัติ ถือเคร่งครัดตามพระธรรมวินัย เพราะศาสนาพุทธจะเจริญรุ่งเรืองขึ้นอยู่กับพุทธบริษัท จึงควรเน้นด้านการศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรมวินัย

3.12 (18)

- ควรได้มีการปฏิรูปคณะสงฆ์ให้เอื้อเฟื้อต่อการปฏิบัติตามพระธรรมวินัย

3.13 (19)

- การปรับปรุงคณะสงฆ์จะทำอย่างไรก็แล้วแต่ แต่สุดท้ายต้องให้ประชาชนเกิดศรัทธา ต่อสถาบัน สงฆ์ เพราะขณะนี้ เขามองสงฆ์เป็นอย่างไรย่อมรู้ และสงฆ์ต่างจากคนธรรมดา คือเพียงห่มเหลือง เท่านั้นไม่พอ ใจต้องสะอาด ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง เหมือนคนธรรมดา หรือหากมีอยู่บ้างก็ควรจะให้เหลือน้อยที่สุด ขอให้มีองค์กรตรวจสอบสงฆ์เป็นประจำ

3.14 (20)

- ขอให้ทำอย่างไรก็ได้ ให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ รวมกับกรมการศาสนา ไม่ควรแยก กัน และกลับมาสังกัดกระทรวงวัฒนธรรมเหมือนเดิม คนทำงานระดับภูมิภาคลำบากใจ ไม่ทราบว่าจะแยกไปเพื่อให้ได้อะไรขึ้นมา หรือถ้าไม่อยากสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ก็ให้สังกัดกระทรวง อะไรก็ได้ ที่รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

3.15 (21)

- ท้อใจ มันต้องพังพินาศไปตามกฎของวัฎฎะ

3.16 (22)

- การแต่งตั้งพระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาส-เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ ควรมีการคัดเลือกให้เหมาะสมกับตำแหน่ง โดยเฉพาะระดับเจ้าอาวาส - เจ้าคณะตำบล ก่อนมีการแต่งตั้งควร มีการอบรม มีการทดสอบ ทั้งภาคความรู้ ทั้งภาคปฏิบัติ

- พระสังฆาธิการทุกระดับ ควรอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระ ๆ ละ 4 ปี หรืออายุมากเกิน 70 ปีก็ควรปลดเกษียณเสีย

- การแต่งตั้งไวยาวัจกร ก็ควรให้อยูในตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระ ๆ ละ 4 ปี หรือถ้าอายุเกิน 70 ปีก็ควรปลดเกษียณ ฯลฯ

3.17 (23)

- คณะสงฆ์ควรให้ปกครองตามพระธรรมวินัย เมื่อพ้นจากสมณเพศไปแล้ว จึงให้เป็นหน้าที่ของกฎ หมายบ้านเมือง

3.18 (24)

- ตามข้อที่ 1 ผมเห็นว่า "การปกครอง" คณะสงฆ์สามเณรจำเป็นต้องยึดถือ "พระธรรมวินัย" ตามหลักธรรมาธิปไตย แต่ต้องนำมาประยุกต์ ปรับให้เข้ากับระบอบการปกครองประชาธิปไตย ที่ยึดถือธรรม-ความถูกต้อง-ความชอบธรรมเป็นเกณฑ์-ทั้งนี้ควรไปดูงานการปกครองในรัฐหรือประเทศ ทางพุทธศาสนาเช่นสิกขิม, ภูฐาน, มองโกเลีย และประเทศอีก 5 สาธารณรัฐพุทธในเทือกเขา คอเคซัส

- ตามข้อที่ 2 รูปแบบมหาคณิสสร เห็นว่าเป็นแบบไปก่อน ปัญหาการแบ่งงาน,คนยังเป็นเรื่อง ทะเลาะกันอยู่มากยังต้องแบ่งสัดส่วนมหาคณิสสร เป็นประชาธิปไตยตามภาคเขตจังหวัดอีกด้วย

3.19 (25)

- ประเด็นนี้ต้องมีพระผู้รู้จริง จึงจะปฏิบัติได้ถูกต้องตามธรรมวินัยจริง

- คณะสงฆ์ควรเข้มแข็งในการชี้นำพุทธศาสนิกชนให้มีสัมมาทิฏฐิในความเชื่อทั้งปวง ซึ่งขณะนี้มี มิจฉาทิฏฐิปนอยู่ในศาสนาพุทธจนชาวพุทธต่างเข้าใจผิด ไม่ว่าจะเป็นการใบ้ หวย เล่นเครื่องราง ชวนเชื่อนานาสารพัด เผยแพร่สิ่งที่ถูกต้องและกำจัดอลัชชี เพื่อไม่ให้ศาสนามัวหมอง คณะสงฆ์จะต้องมีโลกวิทู รู้เท่าทันสิ่งที่เกิดขึ้นในโลก และสามารถนำสิ่งนั้นมาใช้ประโยชน์กับคนรุ่นใหม่ได้ไม่ ยากนัก คำสอนต้องง่ายแก่การเข้าใจ หากมีภาษาบาลีต้องแปลเป็นไทยให้ฟังได้ชัดเจน พ.ร.บ.สงฆ์ต้องเอื้ออวยต่อการเผยแพร่ธรรมทุกรูปแบบ ขึ้นชื่อว่าพุทธศาสนาไม่ควรถูกแบ่งแยก ขอให้อย่ากระทำเสื่อมเสียและอย่าปิดกั้นผู้เลื่อมใสพุทธ แม้จะไม่ตรงใจผู้บัญญัติก็ตาม

3.20 (26)

1.         ควรให้พระสงฆ์มีสิทธิในทางการเมืองใด้ เรียกอะไรต่างๆได้

2.         การบริหารงานของคณะสงฆ์ทุกระดับตั้งแต่สูงสุดลงมาถึงล่างสุดควรให้พระสงฆ์เป็นผู้บริหารงานเองทั้งหมด

3. ควรมีมหาคณิสสร ถ้าเห็นว่าไม่เหมาะสมก็แก้ที่กฏหมายได้

3.21 (27)

-           เพราะพรบ.ฉบับ 2505 โดยควรให้ปกครองตามพระธรรมวินัย

3.22 ( 28 )

-           การใช้องค์กรแบบมหาคณิตสร ก็ดี แต่กระบวนการคัดเลือกผู้มาทำงาน หรือ ดำรงตำแหน่งในองค์กรณ์มหาคณิสสร ต้องใช้กฏระเบียบที่แน่นอน มิเช่นนั้นก็ไม่มีอะไรที่แตกต่างกัน บุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งใหม่นี้ ต้องมีคุณสมบัติที่ถูกต้องจริงๆ เพื่อวัตถุประสงค์ของมหาคณิสสร

3.23 ( 29 )

1.         อำนาจการปกครองควรเป็นของคณะสงฆ์ไม่ใช่บุคคลเพียงคณะเดียวเป็นผู้รับผิดชอบการทั้ง 6 จะต้องมีผู้รับผิดชอบโดยตรง ไม่ใช่รวมอำนาจมาไว้กับการปกครองอย่างเดียว

2.         มหาเถระเป็นพระผู้เฒ่าควรต้องมีที่ปรึกษางานผู้เชี่ยวชาญแต่ละเรื่อง หรือไม่ ก็ควรยกเป็นที่ ปรึกษาดีกว่า เพราะไม่เหมาะสมจะมาบริหารงานพระพุทธศาสนา

3.         มหาคณิสสร จะต้องเป็นสภาของพระที่มาจากหลากหลายสายงาน เชี่ยวชาญต่างกัน แต่มาจากต่างจังหวัดไม่ใช่ตัวแทนมหาเถระอย่างเดียว

3.24 ( 30 )

-           ควรให้คณะสงฆ์ได้ปกครองตนเองอย่างจริงจัง ไม่ควรเลียนแบบทางโลก ควรเน้นบทบาทของ พระอุปัชฌาย์ ในการกำกับดูแลพระภิกษุจนครบ 5 พรรษา ควรเน้นเรื่องการศึกษาคณะสงฆ์ โดยแบ่งออกเป็น

1.         แผนกบาลี - นักธรรม ให้มีกาศึกษาอย่างจริงจังสำหรับผู้ที่จะเผยแผ่ศาสนาโดยตรง จรถ ภิกขเว จาริก ฯ รัฐควรให้ความอุปถัมภ์ศาสนบุคคลประเภทนี้ เริ่มตั้งแต่เข้าศึกษาจนออกไปเผยแผ่ศาสนา

2.         แผนกปริยัตธรรมสายสามัญถึงมหาวิทยาลัยสงฆ์ เน้นเฉพาะผู้ที่ประสงค์จะ ศึกษาพระพุทธศาสนาควบคู่ทางโลกไปด้วย เพื่อเป็นพุทธบริษัทที่มีคุณภาพ ในการสืบสานพระพุทธศาสนา

3.         แผนกวิปัสสนาธุระ เน้นเรื่องผู้ที่จะทำหน้าที่วิปัสสนาจารย์ ในและต่างประเทศ รัฐควรจัดสำนักปฏิบัติธรรมให้กระจายทั่วประเทศ และรวมพลังในด้านต่างประเทศ

3.25 (31)

-           ควรมีกฎหมายที่สอดคล้องกับพระธรรมวินัย

-           ควรบัญญัติกฏหมายให้ระบบการปกครองและระบบการศึกษาทุกระดับชั้นเกี่ยวเนื่องอยู่ในองค์กรเดียวกันซึ่งจะมีต่อการปกครองมากโดยให้คณะสงฆ์ในแต่ละจังหวัดสามารถจะตัดสินอธิกรณ์ได้ เด็ดขาดภายในองค์กรของตนเอง ตลอดจนสามารถจะจัดการศึกษาได้ในเวลาที่รวดเร็วและ ประหยัดเวลาและงบประมาณต่างๆ การจัดการศึกษาของคณะสงฆ์ทุกระดับชั้น จะต้องมีกฏหมายออกมารองรับถึงแม้ว่าหลักสูตรที่เรียนนั้นจะมุ่งตรงไปสู่พระนิพานก็ตาม

3.26 (32)

-           ควรให้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย โดยมีกฎหมายบ้านเมืองสนับสนุน

-           สมควรปรับปรุงการบริหารจัดการพระพุทธศาสนาโดยรวมให้เหมาะสมกับสังคมสมัยใหม่ที่ เปลี่ยนแปลงไป โดยยึดพระธรรมวินัยเป็นหลัก

-           จัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทต่าง ๆ (ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา) ให้ เหมาะสม โดยยึดพระธรรมวินัยเป็นหลัก

-           จัดระบบการใช้ทรัพยากรทางศาสนาเพื่อ

1          พัฒนาบุคลลากรทางศาสนา ( การศึกษาและปฏิบัติ )

2          การเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างมีประสิทธิภาพ

3          บูรณะปฏิสังขร ศาสนวัตถุสถานต่างๆ

4.         อื่น ๆ อีกมากมาย

3.27 (33)

-           พรบ.พระสงฆ์พึงมีการเปลี่ยนแปลง และในการเปลี่ยนแปลงนั้น ต้องยึดทั้งข้อกฎหมายและ พระธรรมวินัยด้วย โดยกำหนดรูปแบบองค์กรให้มีอำนาจที่ไม่อุ้ยอ้ายเหมือนปัจจุบัน มหาคณิสสร พึงมี แต่ถามว่าใครจะยอมลดอำนาจตนเองนอกจากพระโพธิสัตว์เท่านั้น ต้องให้เวลาอีก 2 ทศวรรษคงจะได้ แต่ต้องค่อย ๆ เพาะต้นกล้าแยกยีนส์ไปเรื่อย ๆ คงกลายพันธุ์ได้ อย่าท้อ ทำต่อไป แม้ไม่เห็นฝั่งต้องพยายาม

3.28 (34)

-           การปกครองหมู่สงฆ์ หรือการปรับปรุงของคณะสงฆ์ ตาม พรบ.ของสงฆ์ตามที่หนังสือพิมพ์ดี เขียนนั้นเป็นสิ่งที่ดี ปัญหาอยู่ตรงที่ว่าจะกระทำได้หรือไม่เท่านั้นเอง

3.29 (35)

-           อยากให้มีการปรับ เรื่องเกี่ยวกับการกระทำความผิดของพระภิกษุสงฆ์สามเณร ให้อยู่ในกฎ ระเบียบของพระธรรมวินัย ให้ทางคณะสงฆ์ได้จัดการในรูปคดีกันเองให้เสร็จก่อน หลังจากนั้นจึงให้กฎหมายบ้านเมืองดำเนินคดีต่อไป(ถ้าคดีนั้นร้ายแรงถึงปาราชิก) และอยากให้คณะสงฆ์ปรับปรุงเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาให้พระสงฆ์-สามเณร มีความรู้ความสามารถเพื่อที่จะได้มีกำลังสำคัญในการปกป้องพระพุทธศาสนา อาตมาเองใน ฐานะพระนิสิตนักศึกษาได้เคยเที่ยวไปเผยแพร่ธรรมในช่วง เวลาหยุดเรียน ได้ไปพักตามวัดต่าง ๆ ก็ได้เห็นพระภิกษุบางวัดกินเหล้า-เล่นไพ่ อาตมาแจ้งเรื่องนี้ให้ผู้ใหญ่ได้รับ ทราบแต่ก็นิ่งเฉย จึงอยากให้คณะสงฆ์ปรับปรุงให้มีการเคร่งครัดเอาความผิด เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ นี้ด้วย

3.30 (36)

-           พระเถระบางรูปยังมีอัตตาสูงเกินขอบเขต สังคมไทยก็ยึดติด ยากที่จะแก้ไขได้ : ไม่ปล่อยวาง : สร้างภาพ : บาปหนา

-           พระผู้ใหญ่ ผู้น้อย ถ้าประพฤติปฏิบัติตนตามครรลองคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว สังคมสงฆ์+สังคมโลก จะไม่มีความสับสนวุ่นวายเหมือนที่เป็นอยู่

-           ยึดติด+กิเลสหนา : พระถือปืน M 16 ยืนจังก้าก็มีนี่แหละหนอ การปกครองของคณะสงฆ์ไทย ใจเหี้ยมหาญ

-           สังคมโลกร่มเย็นดับเข็ญได้ด้วยศาสนา : พัฒนาจิตใจคณะสงฆ์ : คณะประชาชน : ทุกคณะทั้ง พระและโยม ให้เข้าถึงธรรมะถึงสัจจะประพฤติตน ทำความดีหนีความชั่ว ทำตัวให้บริสุทธิ์ แค่นี้ไม่ต้องดิ้นรนยึดติด สังคมโลกร่มเย็น......ครับ

3.31 (37)

-           การปรับปรุงขอให้ทำด้วยใจ ถูกต้อง เพื่อพุทธศาสนา อย่าทำเพื่อแทรกแซงต้องการเป็นใหญ่ มักดี มักได้

3.32 (39)

1.         ควรจะได้ปรับปรุงงานระหว่างงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กับงานกรมการศาสนา ให้สอด คล้องและมีจุดเชื่อมโยงซึ่งกันและกันอย่างเหมาะสม

2.         หากจัดไม่เหมาะสม งานกรมการศาสนาจะมีพลังในทางสร้างสรรค์มากกว่า จึงควรจะได้หา จุดเชื่อมโยงให้ได้

3.         มีใบปลิวเถื่อนส่งไปที่สภาการศึกษาแหงชาติ และได้สำเนามาเพื่อท่านจะได้วิเคราะห์อีกทางหนึ่ง

4.         หากมีประเด็นความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับศาสนาประการใด กรุณาแจ้งให้ผมทราบด้วยครับ จะ เป็นพระคุณอย่างยิ่ง

5.         ระหว่างวันที่ 8-12 มกราคม 46 ผมเดินทางไปบังคลาเทศเพื่อปฏิบัติงานขององค์การพสล. ที่ นั่น แล้วคงจะเล่าสู่ฟัง

3.33 (41)

-           การปกครองตามพระธรรมวินัยและตามกฎหมายต้องประสานกัน และควรคำนึงถึงพระธรรม วินัยเป็นหนึ่ง

-           การปรับปรุงคณะสงฆ์ ควรศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันให้ถ่องแท้ก่อนที่จะตัดสินใจและควรศึกษาพระราชบัญญัติของศาสนาอื่น ๆ ประกอบด้วยเพื่อจะได้ทราบและแก้ไข อันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนาได้

3.34 (42)

-           ตามพระธรรมวินัยในด้านการปกครองตน-ปฏิบัติตน แต่ถ้าทำผิดควรตามกฎหมาย.

-           การปกครองพระสงฆ์ไทย ควรใช้วิธีสรรหา เพื่อให้ได้ฝ่ายปกครองที่มีคุณสมบัติ(ความรู้+การ ครองตน) เหมาะสม

-           ไม่ควรให้พระที่แก่เกินไปปกครอง เพราะขาดความคล่องตัว คิดไม่ทันความเปลี่ยนแปลงของ โลก ทำให้เกิดปัญหามากในองค์กรสงฆ์

-           ปัญหาที่ควรแก้ไขอย่างเร่งด่วนคือ การกลั่นกรองผู้ที่จะบวชและการลงโทษผู้ที่บวชแล้วแต่ทำผิด ศีลธรรมอย่างรุนแรงกว่าคนที่เป็นฆราวาส เพราะผ้าเหลืองเป็นสัญญลักษณ์ที่จะทำให้ชาวพุทธ ศรัทธาหรือเสื่อมศรัทธา ทุกวันนี้ศรัทธาเสื่อมมากจนไม่ อยากไหว้พระเกรงว่าจะไหว้ผัวชาวบ้าน

จิตตกขนาดนี้ จะเห็นว่า เราไม่หวังว่าพระจะเป็นเนื้อนาบุญอีกแล้ว.... ชาวพุทธแท้ ๆ


4.        บทวิเคราะห์

มีความแตกต่างอย่างค่อนข้างมากระหว่างความเห็น 2 ฝ่าย ๆ ที่เห็นว่าการปกครองควร เป็นไปตามพระธรรมวินัยมีถึง 69.9 % ขณะที่เห็นว่าการปกครองควรเป็นไปตามกฎหมายมีเพียง 15.9 % ไม่มีคำตอบในช่อง ไม่มีความคิดเห็น คำตอบเป็น 0.00 % มีคำตอบในช่อง อื่นๆ 22.2 % ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าคนโน้มเอียงไปทางไหน กับทั้งบอกถึงความมั่นใจในการเลือกอะไรได้ชัดเจน ในขณะเดียวกันเมื่อถามถึงความพอใจในองค์กร ปรากฎว่าคะแนนไล่เลี่ยกันมากระหว่าง มหาคณิสสร กับ คณาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ มหาคณิสสร มีคำตอบ 33.3 % คณาจารย์ ใหญ่ฝ่ายวิปัสนาธุระ 26.2 % คำตอบ อื่นๆ 28.6 % ไม่มีความคิดเห็น 11.9 % แต่สิ่งที่น่า สังเกตก็คือถ้ารวมคำตอบ อื่นๆ และ ไม่มีความคิดเห็น จะได้ถึง 40.5 % กลายเป็นความเห็นส่วนใหญ่ที่บอกความหมายว่ายังไม่กล้าชี้ชัดลงไปว่าจะเอามหาคณิสสร คณาจารย์ใหญ่ฝ่าย วิปัสสนาธุระ หรือ เอาทั้งสองสถาบันหรือไม่ เป็นความหมายของความลังเลใจอยู่ ว่าอะไรเป็น อะไร ไม่เด็ดขาด ไม่มั่นใจ ไม่กล้าตัดสินใจ

และที่สำคัญ จะเห็นว่าความคิดอ่านของผู้ให้ข้อมูลขัดกันเอง ในขณะที่เสียง ส่วนใหญ่ถึง 69.9% ต้องการการปกครองตามพระธรรมวินัย แต่เมื่อถามถึงองค์กร ปรากฎว่าเสียงส่วนใหญ่ 33.3 % เลือกมหาคณิสสร ซึ่งมิใช่องค์กรที่จัดตั้งตามหลัก พระธรรมวินัยแต่อย่างใด การที่ปรากฎความขัดแย้งกันเองเช่นนี้แสดงให้เห็นความที่ไม่เข้าใจว่าสิ่งที่กำลังพูดถึงอยู่คืออะไรกันแน่ เมื่อเลือกพระธรรมวินัย แต่ก็ไม่เข้าใจว่าพระธรรมวินัยคืออะไร กระบวนการทางพระธรรมวินัยจะต้องเป็นไปอย่างไร ฯลฯ แสดงให้ เห็นสภาวะการเสี่ยงกับการคิดทำในสิ่งที่ตัวเองไม่รู้ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ และในกรณี ของกฎหมายคณะสงฆ์ ผู้บริหารจึงควรต้องพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อนว่า เป็นไปตามพระธรรมวินัยที่เราต้องการหรือไม่ เพียงใด

ข้อมูลส่วนใหญ่คือ ความคิดเห็นโดยอิสระ ล้วนบ่งบอกถึงความต้องการให้มี การปรับปรุงปฏิรูปการคณะสงฆ์ นั่นก็คือสถานะของการคณะสงฆ์ที่เป็นอยู่ขณะนี้ ไม่ใช่สถานะที่ดี เป็นที่พอใจของประชาชนอย่างใดเลย หากไม่คิดการปฏิรูปต่อไปโดยต่อ เนื่องเสียแล้ว อาจจะเป็นทางแห่งความประมาท อาจก่อความเสียหายแด่การพระพุทธ-ศาสนาในส่วนรวมได้ ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องทำการเก็บข้อมูลและศึกษาพระธรรมวินัยที่ เกี่ยวข้องให้แตกฉานลงรอยกันทุกๆฝ่าย จนมั่นใจว่าสิ่งที่เราต้องการคือ การปกครอง ตามพระธรรมวินัย คืออย่างไร

ผู้ที่ให้ข้อมูลมาทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นนักอ่านหนังสือพิมพ์ดี และเป็นบุคคลระดับปัญญาชน ทั้งสิ้น เพราะหนังสือพิมพ์ดีแจกจ่ายไปเฉพาะสมาชิกปัญญาชนสูงสุด ทั้งฝ่ายอาณาจักร และศาสนจักร เมื่อได้ทราบข้อมูลและผลการสำรวจออกมาอย่างนี้ จะประเมินผลหาข้อสรุปในประเด็นใดเพิ่มเติมไปก็ได้ และน่าจะลองตอบคำถามว่า พอใจในคำตอบหรือความคิดเห็นของตนเองที่ ออกมาอย่างนี้เพียงใด การจะคิดปฏิรูปการคณะสงฆ์จำเป็นจะต้องคิดการต่อไปอย่างไร จึงจะถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ประสงค์.

 

  • หนังสือพิมพ์ดี :วิเคราะห์ข่าว ในวงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดและสหธรรมิก
  • เล่มที่ ๒๘ เดือน ธันวาคม-มกราคม-กุมภาพันธ์-มีนาคม-เมษายน  ปีที่ ๗ พุทธศักราช ๒๕๔๖

 

 

 

 

 

 

 

 10.   แผนภูมิประกอบร่างพ.ร.บ.คณะสงฆ์ ตามข้อเสนอแนะของนสพ.ดี

 

 

(ขออภัยยังไม่มีข้อมูล)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 11   แผนผังอุทธยานพุทธเกษตร ตามแนวคิดของนสพ.ดี

 

 

(ขออภัย ยังไม่มีข้อมูล)

 

 

 

ฉะนั้น ในวันนี้ พวกเราได้มีโอกาสวันนี้ขึ้นมา จึงนับเป็นการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงระบบชีวิตคณะสงฆ์เราใหม่ ให้ชีวิตและหมู่ของเราหวลกลับคืนสู่บ้านเกิดเมืองนอนเสียที ผมหมายถึงการกลับคืนสู่ธรรมชาติและเดินไปโดยวิถีทางแห่งธรรมชาติ อย่างที่พวกเราได้เริ่มสัมผัสในชั่วเวลาผ่านมาระยะหลังที่เราได้มี พระราชบัญญัติการพระพุทธศาสนาขึ้นมากำหนดระบบที่เป็นไปนำพวกเรากลับคืนสู่ธรรมชาตินี้ 


ผมเกริ่นมาเนิ่นนาน ก็เพื่อให้พวกเราได้รับทราบว่า แท้ที่จริงระบบสภาสงฆ์ โดยเฉพาะระบบระดับ ชาตินี้ ได้เปิดโอกาสให้เราได้มีอิสระมากขึ้นกว่าเดิม งานของพวกเรา ในส่วนที่ไร้สาระ จะลดน้อยลงไป หรือลดไปแทบทั้งหมด และเราจะได้รู้สึกเอา ณ บัดนี้เองว่า พวกเราได้ไปวุ่นวายอยู่กับภาระการงานอัน ไร้สาระมาเป็นเวลาเนิ่นนานเป็นศตวรรษเลยทีเดียว โดยที่เราไม่รู้ว่ามันเป็นสิ่งที่ไร้สาระ และเราไม่รู้ว่าเราถูก ครอบงำเพียงดังตาข่าย จึงไม่มีอิสรภาพ เราเหมือนปลาที่อยู่ในร่างแหหรือคอกเลี้ยงของชาวประมง ทำให้ชีวิตอ่อนเปลี้ยเพลียแรง ไร้กำลังวังชา ไร้สุขภาพแข็งแรง เรามุดไปมุดมาอยู่แต่ในตาข่าย ไร้ความหวังไร้พลังที่จะฝ่าจะฟัน และจำยอมเป็นทาสความอ่อนแอของเราเอง จึงไม่อาจหาญพอที่จะกล้าคิดถึงสิ่งที่ประเสริฐเช่นมรรคผลนิพพาน เลย แม้ว่าโดยแท้จริงแล้ว เรามีภาระหน้าที่ทั้งทางกายกรรมวจีกรรมและมโนกรรมที่จะคิดจะทำจะใฝ่ไปทางมรรคผลนิพพานที่ประเสริฐนั้น บัดนี้เราได้สะสางตาข่ายทั้งสิ้นแล้ว และพวกเราก็พลันได้สัมผัส ด้วยตัวเอง ณ บัดนี้ ณ ที่นี่เดี๋ยวนี้เองว่า เรามีความหวังเกิดขึ้นแล้ว คือความหวังที่เกิดขึ้นพร้อมสุขภาพกายและสุขภาพใจอันสมบูรณ์ เมื่อเราได้กลับคืนมาสู่ธรรมชาติอันเป็นบ้านเกิดบ้านใหม่ของเราอีกครั้งหนึ่งอยาก สรุปดั่งนี้ เมื่อเราพูดถึงระบบการคณะสงฆ์ใหม่ของเรา เป็นระบบที่กลับคืนสู่บ้านเกิดเมืองนอนเดิมของเรา คือระบบธรรมชาตินั่นเอง


ฉะนั้น เมื่อมาอยู่ด้วยกันที่นี่ เราเป็นไปตามธรรมชาติ เช้าก็ออกหากิน ด้วยบิณฑบาต เหมือนนก เหมือนปลา เอาพอเพียงแก่การที่จะมีกำลังแรงเดินตามรอยของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็พอแล้ว พอได้กลิ่นแห่งมรรคผลนิพพานไปตาม ๆ กันอยู่แล้ว เพราะระบบธรรมชาติที่เหมาะเจาะ ที่ได้ออกแบบไว้อย่างพร้อมสมบูรณ์ ณ ที่นี้ ได้ทำให้ได้ลิ้มกลิ่นของมรรคผลนิพพานอยู่บ้างแล้ว อาศัยความคงแก่เรียน ความ มีวิสัยปราชญ์อยู่ในหัวจิตหัวใจของทุก ๆ ท่าน อาศัยความทรหดอดทนพากเพียรอุทิศชีวิตแด่พระพุทธศาสนามาตราบชั่วชีวิต ตั้งแต่เด็ก ๆ เท้าถึงแก่ชรา เมื่อธรรมชาติเปิดออกให้แล้วเช่นนี้ ก็น่าจะได้สัมผัส ได้เห็นได้ลิ้มรสพระนิพพานที่แท้จริงได้โดยไม่ยากเย็นอะไร อุปมาเหมือนหมู่ปลาที่พ้นจากตาข่ายชาวประมงไปได้แล้ว ทะเลเบื้องหน้าอันกว้างใหญ่ไพศาลย่อมเป็นที่หวังได้ เมื่อถึงมรรคถึงผลถึงนิพพาน นั่นก็หมายถึงชีวิตได้จบลงอย่างมีคุณค่า อย่างมีความอิ่มความปราโมทย์อย่างมีความเย็นสบาย ไร้ศัตรูไร้กิเลสของชีวิตอีกต่อไปแล้ว ไม่พึงหวังพึงพูดถึงสิ่งอื่นใดในโลกอีก


ผมพูดมาดั่งนี้ ก็เพื่อสรุปให้ทราบว่าระบบสงฆ์ใหม่ของเรามีทางเดินไปอย่างนี้ ซึ่งพวกเราจักได้รู้สึก เองว่า เราเปรียบเสมือนได้ชีวิตใหม่ บ้านใหม่ 


ชีวิตที่ปลอดโปร่งสบาย และระบบสงฆ์ทั้งสิ้นจะเป็นวิถีทางแห่งความสุข การงานที่ทำไปจักเป็นการงานแห่งความสุข ความพยายามที่ลงไปจักเป็นความพยายามที่เป็นสุข การแบกการขนภาระใดใด จักเป็น การแบกการขนที่เป็นสุข การอุทิศ การเสียสละใดใดจักเป็นการอุทิศการเสียสละที่เป็นสุข การงานทุกอย่างเป็นสิ่งที่มีความสุขอยู่ในตัวเองเสมอ แม้กระทั่งการต่อสู้กับศัตรูคือกิเลสไม่ว่ากิเลสภายนอกกิเลสภายในก็จัก เป็นการต่อสู้ที่เป็นสุข และในที่สุดความกล้าหาญในการต่อสู้กับอธรรม และกิเลสใดใดก็จักเป็นความ กล้าหาญที่เป็นสุข และแม้ความตายก็เป็นความตายที่เป็นสุข

 

  • สมเด็จพระพุทธปรานีอริยวงศ์ ประธานสภาสงฆ์ระดับชาติ,
  • ดี เล่มที่ 24 พ.ศ. 2544 
  • สมเด็จพระพุทธปรานีอริยวงศ์ = ชื่อสมมติ ในเค้าโครงนิทานประกอบการบรรยายเรื่อง สภาสงฆ์แห่งชาติ

 

 

 

 

 

    

 

 

                                       

 

 12.  จดหมายเปิดผนึกถึงวุฒิสมาชิก
เรื่องการศึกษาของคณะสงฆ์

 

มูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญญาวชิโร)                                                                                      167/1ถนนขุขันธ์ ตำบลเมืองเหนือ
วัดมหาพุทธาราม
อำเภอเมือง จ.ศรีสะเกษ 33000
โทร. 0-45622455

.www.newworldbelieve.com

                14 สิงหาคม 2546 

เจริญพร                ท่านวุฒิสมาชิกผ่อง เล่งอี้
                           ท่านวุฒิสมาชิกชงษ์ วงศ์ขันธ์ 

 

ตามที่รายการมองรัฐสภา มีนนธวัช พรหมจินดา เป็นพิธีกร ได้เชิญท่านวุฒิสมาชิกทั้งสองท่าน คือท่านผ่อง เล่งอี้ ในฐานะประธานกรรมการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมวุฒิสภา กับ ท่านชง วงษ์ขันธ์ ในฐานะประธานอนุกรรมการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา มาออกรายการเรื่อง การปรับปรุงการศึกษาของคณะสงฆ์ ในวันที่ 22 ก.ค. 2546 ทางช่อง 11 เวลา 09.00 น. นั้น  

อาตมภาพได้รับชมทางโทรทัศน์โดยตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ และเห็นว่าการนำเรื่องการศึกษาของคณะสงฆ์มาพูดนั้น เป็นการริเริ่มที่ดี ที่บุคคลระดับชาติจะได้ให้ความสนใจ ในการปรับปรุงการศึกษาของสงฆ์ให้ดีขึ้น

และคณะกรรมการศาสนา ฯ วุฒิสภา ยังจะได้นิมนต์ พระเถรานุเถระในวงการบริหารสงฆ์ระดับสูงคือ เจ้าคณะภาค และเจ้าคณะจังหวัดทุกจังหวัด มาประชุม ร่วมให้ข้อคิดเห็นในการปรับปรุงการศึกษาของคณะสงฆ์ ณ พุทธมณฑลในไม่ช้านี้ด้วย นั้น

อาตมภาพมีความยินดีเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง เพราะขณะนี้สถานการณ์การศึกษาของคณะสงฆ์ไทย มีปัญหามากและมีประสพการณ์ในวิถีทางที่ไม่เอื้อแด่การพระพุทธศาสนาในรูปรวม อย่างน่าเป็นห่วงมาโดยตลอด หรือแม้กระทั่งบางลักษณะที่ดูว่าเจริญขึ้นทางการศึกษา แต่ความจริงเป็นการเป็นไปที่ไม่ถูกต้อง เฉเบี่ยงเบนไปนอกทางการศึกษาที่แท้จริงของการพระพุทธศาสนา อันจะเป็นผลเสียหาย หากไม่มีการปรับปรุงแก้ไขให้มีการเสริมเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ความสมบูรณ์ความตรงทางการศึกษาที่แท้จริงตามหลักการพระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ยิ่งขึ้น

 

กล่าวโดยสรุป การศึกษาสงฆ์มีประเด็นที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้

 

1.            ประเด็นการศึกษาของสงฆ์  ประเด็นหลัก ประเด็นสำคัญ คือ ประเด็นความหมายของนักบวช เพราะศาสนามีความหมายถึงศาสดา และ สาวก สาวกคือผู้สืบทอดการศาสนามา และมีผู้เข้าไปสู่ศาสนาเพื่อดำรงความเป็นสาวกด้วยการบวช

การบวชคืออะไร?

การศึกษาของนักบวชคืออะไร ?

เรามีจุดมุ่งหมายอย่างไรจึงออกบวช?

นี้เป็นประเด็นโดยตรงของการพิจารณา เรื่อง การศึกษาของคณะสงฆ์ หรือ นักบวชในศาสนาอื่น ๆ ก็จะพบคำตอบในศาสนา อันเป็นศาสนา สากลนั้นว่า การออกบวชก็เพื่อศึกษาพระธรรมของพระเจ้า บ้าง เพื่อยอมตัวเป็นทาสที่ทำงานของพระเจ้า บ้าง รับใช้พระประสงค์ของพระเจ้าบ้าง เพื่อการบำเพ็ญตนสำหรับการกลับคืนสู่ พระเจ้า บ้าง

สำหรับศาสนาพุทธ การออกบวชมีความหมายถึงการศึกษาโดยตรง แต่เป็นการ ศึกษาที่มีจุดประสงค์และวิธีการที่คนไม่ค่อยจะเข้าใจ จึงเป็นปัญหาขึ้นมาอยู่ในขณะนี้

 

 

แต่กล่าว โดยกว้าง ๆ แล้ว พอจะกล่าวได้ว่า การบวชก็เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย และปฏิบัติธรรมจนสำเร็จเป้าหมายของพระธรรมวินัย คือบรรลุความรู้แจ้ง พ้นไปจากอวิชชา จนเรียกว่า พุทธะ คือผู้รู้ ขึ้นมาได้

การศึกษาของพุทธสาวก จะมี 3 ระดับ ซึ่งเรารู้จักกันดีว่า ปริยัติ(ศึกษาทฤษฎี)ที่ ถูกต้อง ปฏิบัติ(ปฏิบัติตามทฤษฎี)ที่ถูกต้อง และ ปฏิเวธ(การบรรลุผลการศึกษา) ที่ถูกต้อง

แต่การศึกษาสงฆ์ทุกวันนี้ มีความเอาใจใส่ และมีความเข้าใจด้านปริยัติ ปฏิบัติ และ ปฏิเวธ น้อย ขาดการวิเคราะห์วิจัย ปริยัติ ที่ถูกต้องตรงไปสู่มรรคผล ขาดการปฏิบัติที่ที่ถูกต้องและขาดปฏิเวธธรรมที่ถูกต้อง คือ มิใช่การปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ ที่ตรงไปสู่มรรคผล นิพพาน

รูปธรรมที่เห็นชัดเจนในวงการศึกษาคณะสงฆ์ไทยขณะนี้ก็คือ การศึกษาด้านคันถธุระ มีมากมาย สงฆ์ไทยสร้างระบบการศึกษาคันธุระแบบต่าง ๆ นับตั้งแต่มีหลักสูตรนักธรรม(มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส องค์สกลมหาสังฆปริณายก ขณะนั้น รับพระบรมราชโองการกษัตริย์มาจัดตั้งขึ้น)

และมีหลักสูตรบาลี เพิ่มเติมมาภายหลัง และในระยะปัจจุบันก็มี โรงเรียนพระปริยัติ-ธรรมแผนกสามัญศึกษา และมีมหาวิทยาลัยสงฆ์ขึ้นมาทั้งของฝ่ายมหานิกาย และ ฝ่ายธรรมยุติ ขึ้นมารองรับพระสงฆ์สามเณรที่ต้องการศึกษาเล่าเรียนวิชาการทางโลก ตามแบบฆราวาส

ซึ่งจะ เห็นว่า การศึกษาแบบนี้ มิได้ศึกษาเรื่องราวของพระพุทธศาสนา แต่เป็นการศึกษาทางโลกเป็น คันถธุระที่ไม่ตรงทางมรรคผล นิพพาน โดยมีจุดมุ่งหมายทางอามิส คือหวังได้เข้ารับราชการทั้งฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายสงฆ์เองไปทั้งสิ้น ขาดความมุ่งหมายในปริยัติ และปฏิบัติศาสนาที่แท้จริง ระบบการศึกษาชนิดนี้ จึงไม่สามารถนำหมู่สงฆ์ไปสู่ปฏิเวธศาสนาคือมรรคผลนิพพานได้

 

 

นอกจากนั้น ในด้านการศึกษาฝ่ายวิปัสนาธุระ ระบบสงฆ์ก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล ที่อยู่นอกการคุ้มครองปกป้องของกฎหมายทั้งตัวบุคคลและระบบ  การศึกษาด้านวิปัสสนาธุระจึงเป็นไปตามยถากรรม ตามสถานการณ์ และได้รับการมองอย่างไร้คุณค่าในสายตาของคณะสงฆ์ไทยเอง มาตลอดระยะเวลาร่วมศตวรรษมาแล้ว (เริ่มตั้งแต่มีกฎหมายคณะสงฆ์เกิดขึ้นในประมาณรัชกาลที่5 เป็นต้นมา)

ตราบจนปัจจุบันนี้ คณะสงฆ์แทบสูญเสียความเป็นสัมมาทิฏฐิในเรื่องการศึกษาด้านวิปัสสนาธุระ คือมิได้เชื่อในมรรคผล นิพพาน ว่ามีอยู่จริง มิได้เชื่อว่าการศึกษาวิปัสสนาธุระจักพาไปสู่มรรคผลนิพานได้จริง ตามที่ท่านพุทธทาสภิกขุ ให้ความเห็นไว้ว่า หมู่พระสงฆ์พากันเดินไปผิดทาง "ที่เป็นมาแล้ว และที่กำลังเป็นอยู่ ไม่เป็นทางที่จะพบพระพุทธเจ้าได้" การศึกษาคณะสงฆ์ทุกวันนี้ จึงเป็น ระบบด้วน (การศึกษาแบบหมาหางด้วน)

เพราะมีการจัดระบบการศึกษาและหลักสูตรการศึกษาใดใดของหมู่สงฆ์มีลักษณะด้วน ขาดไปจากมรรคผลนิพพานทั้งสิ้น มีแต่เอื้อเพื่อโลกาวิถี คือการอาชีพ การได้ยศถาบรรดาศักดิ์ฝ่ายสงฆ์ เพื่อยศ และตำแหน่ง ตามระบบการปกครองสงฆ์ที่เป็นแบบขุนนางพระ หรือระบบ เจ้าขุนมูลนายอยู่ เป็นการศึกษาทางเจือด้วยยศศักดิ์ ทั้งสิ้น

 

ท่านพุทธทาสได้กล่าวสัจธรรมเกี่ยวกับการศึกษาสงฆ์ ในประเด็นที่น่าจะต้องมองดู หลายประเด็น ว่า


"ครั้งพุทธกาลนั้นข้าพเจ้าค้นไม่พบว่า ได้มีการเรียนคันถธุระกันดาดดื่นเหมือนในบัดนี้ แต่พบเหตุผลที่ทำให้เชื่อว่ามีวิปัสสนาธุระดาดดื่นแทน ที่เป็นดังนี้ก็เพราะครั้งนั้นพระพุทธเจ้าทรงพระชนม์อยู่ พระอรหันต์ปรากฎอยู่ เพียงแต่ท่านสอนว่าทำตามที่ท่านทำ ก็ดู เหมือนจะพอเสียแล้วผู้ทำตามได้รับผลเช่นเดียวกับผู้เป็นตัวอย่าง"


"จงมองดูความระหกระเหินของมนุสส์ในโลก กำลังได้รับ ความยากแค้นจากสงครามและ เศรษฐภัย และที่ได้รับประจำอยู่ทุก วันก็คือ ความทรมานใจเพราะความอยากไม่มีสิ้นสุด ไม่มีหวังว่าจะสิ้นสุด นี่เป็นผลเกิดจากการที่วิปัสสนาธุระตามแบบของพระองค์ไม่มีในโลก"


"ท่านทั้งหลาย จงมองดูเหล่าพุทธบริษัททั้งสิ้น ถุงกำลังป่องเบ่งเต็มที่เพราะเต็มไปด้วยลม กล่าวคือ การศึกษาที่กำลังรอการปฏิบัติอยู่"


"ข้าพเจ้าถือสิทธิพูดฐานพี่น้องตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อมว่า ถึงเวลาแล้วที่เราจะเปลี่ยนลมนั้น ให้กลายเป็นตัวความสุขที่แท้จริง ยิ่งขึ้น จะได้กลับเป็นยุคแห่งถุงเงินถุงทองอย่างเดิม"



ฉะนั้น ปัญหาการศึกษาของคณะสงฆ์ ที่เป็นประเด็นสำคัญยิ่งใหญ่ มีความหมายมาก ก็คือขาดการศึกษาฝ่ายวิปัสสนาธุระ อย่างเป็นระบบ เป็นหลักสูตร และมีสถาบันที่รับผิดชอบ อย่างไร โดยมีสังคม บ้านเมืองที่อุปถัมภ์ หรือมีกฎหมายฝ่ายราชอาณาจักรรองรับอย่างไร

การศึกษาฝ่ายวิปัสนาธุระ กำลังจะถูกเบียดให้ตกไปนอกขอบการศึกษาของคณะสงฆ์ ยุคใหม่ เพราะผลของการส่งเสริมคันถธุระชนิดที่ไม่ถูกต้อง จนเกินสมดุล หมู่สงฆ์ทั้งสิ้น แทนที่จะใช้เวลาของชีวิตนักบวชที่ยังหนุ่มอยู่ฝ่าฟันต่อสู้กับกิเลสอย่างเต็มที่กับวิถีทางวิปัสนาธุระ เพื่อหาทางพ้นทุกข์ มุ่งตามรอยพระอรหันต์กันจริง ๆ กลับใช้เวลาแห่งชีวิตไปศึกษาในหลักสูตรแบบ โลก ๆ และเล่าเรียนไปอย่างไม่มีวันจบสิ้น จนตลอดชีวิต เป็นการพร่าผลาญเวลาแห่งความเป็นนักบวช เพื่อศึกษาทางพ้นทุกข์ที่แท้จริง ไปอย่างน่าเสียดาย



 

2.    การทำความเข้าใจการศึกษาในระบบรวมของพระพุทธศาสนา

ต้องมองมาตั้งแต่ยุค สมัยพุทธองค์ ว่า ทรงวางต้นแบบเอาไว้อย่างไร ก็จะพบว่า เดิมการปกครองและการศึกษาสงฆ์ร่วมกันเป็นอันเดียวกัน อยู่ในระบบเดียวกัน โดยการปกครองเป็นเพียงเครื่องมือของการศึกษาเท่านั้น กล่าวคือ เป็นระบบการจัดการและการบริหารงานบุคคลอย่างหนึ่งของการศึกษาเท่านั้น จะ เห็นได้จากการบวช กรณีที่พระพุทธองค์ทรงบวชเอง เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา ทรงอนุญาตให้หมู่สงฆ์เป็นคณะ 5 บ้าง คณะ เกิน 5 บ้างดำเนินการบวช เรียกว่า ญัตติจตุตถกรรม (เป็นแบบแผนการบวชอยู่ปัจจุบันนี้) ไม่ว่าการบวชโดยพระองค์เองหรือโดยพระสาวก เป้าหมายของการบวชก็คือให้การศึกษา

และยุคพุทธองค์ การศึกษาที่ให้ก็คือ ปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ ที่มุ่งสู่การบรรลุมรรคผล เป็นผู้พ้นทุกข์ คือ คันถธุระ ภาคทฤษฎี ที่เป็นเรื่องราวของการพ้นทุกข์ และ วิปัสนาธุระ ที่เป็นภาคปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์ และปฏิเวธศึกษา ก็เป็นเรื่องการตรงไปสู่มรรค ผล นิพพาน เท่านั้น

รูปธรรมที่เห็นก็คือ การบรรลุธรรม เป็นพระโสดาบันบ้าง สกิทาคามีบ้าง อนาคามีบ้าง และที่สุดของการศึกษาสงฆ์ ก็คือการบรรลุเป็นพระอรหันต์ ดังประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ที่ เริ่มตั้งแต่มีพระสาวกองค์แรก คือ พระอัญญาโกญทัญญะ ที่ได้สำเร็จการศึกษาขั้นต้น ด้วยบรรลุ เป็นพระโสดาบัน มีหลักสูตรคือ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ที่เรารู้จักกันดีแล้ว แต่กระนั้น ปัญจวัคคีย์ทั้งห้าก็ยังไม่สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุด ฉะนั้น ใน 7 วันต่อมา จึงทรงแสดง พระธรรมเทศนา (บรรยายหรือเลคเชอร์) เรื่อง อนัตตลักขณสูตร ทำให้พระอัญญาโกญทัญญะพร้อมด้วย พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และ พระอัสสชิ (ปัญจวัคคีย์) สำเร็จเป็น พระอรหันต์ ก็เป็นอันจบการศึกษาในหลักสูตรของพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น

หลังจากนั้น องค์ พระบรมศาสดา ก็เสด็จดำเนินไปให้การศึกษาต่อไป เพื่อให้ได้มีคนเก่งที่มีภูมิปัญญาสูงสุดเพิ่มขึ้นในโลก โดยมิหยุดหย่อน นับจากเสด็จไปโปรด อุรุเวลกัสสปะ ทรงแสดง อาทิตตปริยายสูตร

ทำให้ชฎิลทั้ง 500 สำเร็จการศึกษา โดยได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด ต่อไปทรงโปรดแด่ชฎิลผู้น้องทั้งสองพร้อมคณะ ทำให้ได้สำเร็จผลการศึกษา โดยบรรลุพระอรหัตผลทั้งหมดทั้งสิ้นอีก 500 องค์

และตลอดชีวิตขององค์พระบรมศาสดา ก็ทรงสอน ให้การศึกษาอย่างมีเป้าหมายเช่นนี้ แม้เมื่อวันจะเสด็จสู่มหาปรินิพพาน ก็ทรงโปรดให้ นักบวชพราหมณ์ ชื่อ สุภัททะ เข้าเฝ้าในพระที่และทรงแสดงธรรมไปจนกระทั่ง สุภัททะ ได้สำเร็จมรรคผลเป็นพระอรหันต์องค์สุดท้าย ของพระองค์ขึ้นมา

ซึ่งในมุมมองของการศึกษา จะเรียกสงฆ์ที่สำเร็จการศึกษานี้ว่า พระอริยบุคคล และ พระอริยบุคคลก็แบ่งออกไปเป็น 2 ระดับ ระดับต้น ได้แก่พระโสดาบันมรรค ไปจนถึงพระอรหัตมรรค เรียกชื่อพระอริยบุคคลชั้นนี้ว่า เป็น เสโข หรือ เสขบุคคล หรือ Sekha ซึ่งโดยนิรุกติศาสตร์แปลว่า "พระผู้ยังต้องศึกษา" ในความหมายว่า แม้จะสำเร็จธรรมเหนือโลก คือเป็นพระอริยบุคคลแล้ว ก็ยังต้องศึกษาต่อไปอยู่

อธิบายว่า พระอริยบุคคล 7 เบื้องต้น (รวมเอาพระอรหัตมรรคด้วย) เพราะเป็นผู้ที่ยังต้องปฏิบัติเพื่อมรรคผลเบื้องสูงขึ้นไป

ฉะนั้น ในระดับ เสโข หรือ เสขบุคคล นี้ ทางศาสนาพุทธถือว่ายังไม่พึงหยุดทำการศึกษา จะต้องศึกษาวิปัสนาธุระต่อไปจนกว่าจะรู้แจ้งจบจนสิ้นอวิชชา คือเป็นระดับที่ 2

คือเป็นพระอรหันต์แล้วเท่านั้นจึงจะหยุดหรือสิ้นสุดการศึกษาลงโดยอัตโนมัติ ได้ และเมื่อสงฆ์ใดได้บรรลุพระอรหัตผล เป็น พระอรหันต์แล้ว ก็จะบรรลุความรู้แจ้งเป็นพุทธะขึ้นมา ในความหมายว่า รู้ทุกสิ่งทุกอย่างจนจบสิ้นความสงสัยใดใด นั่นหมายถึง เป็นผู้ไม่มีปัญหาใดใดอีกเลยเป็นผู้พ้นทุกข์โดยสมบูรณ์ จนไม่มี ความจำเป็นใดใดที่จะไปศึกษาต่อวิชาใดใดอีก ไม่ว่าทางโลกหรือทางธรรม ซึ่งนี่คือ การศึกษา สูงสุดของฝ่ายสงฆ์

และเพราะเหตุนี้ ผู้บรรลุธรรมสูงสุดเป็นพระอรหันต์ จึงได้ชื่อว่า สำเร็จ การศึกษาโดยสมบูรณ์ ในมุมมองของการศึกษาจึงเรียกว่า อเสขบุคคล, อเสโข หรือ อเสกฺโข

(Asekho, Asekkho one who is no longer a Sekha, one who has nothing to learn,who is perfect in knowledge, an Arahant.)


และ นี่คือเป้าหมายการศึกษาสงฆ์ที่แท้จริง การศึกษาจึงเป็นทั้งหมดทั้งสิ้นของงานการพระพุทธศาสนา (การปกครองเป็นเพียงเครื่องมือของการศึกษา เท่านั้น)  ดังมีพุทธฎีกา ตรัสในการอนุญาตกุลบุตรถือบวชในธรรมวินัยของพระองค์ ว่า

“เอหิ ภิกฺขุ สฺวากฺขาโต ธมฺโม จร, พฺรหฺมจริยํ สมฺมา ทุกฺขสฺส อนฺตกิริยาย"

“ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด" (ถ้าทรงโปรดแล้วสำเร็จอรหันต์ก่อน จะไม่ทรงตรัสคำว่า "เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ" )

คำว่า เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ (คือสำเร็จพระอรหัตผลเป็นพระอรหันต์แล้ว) นั่นคือเป้าหมายของการศึกษาของสงฆ์ที่แท้จริง เพื่อประโยชน์จริงแด่ผู้ศึกษาและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น


ฉะนั้น ถ้าการศึกษาใด มิได้มีเป้าหมายเพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ คือเพื่อการศึกษาไปเพื่อความพ้นทุกข์ เป็นพระเสขบุคคล และ อเสขบุคคลแล้ว ก็ไม่นับ ว่าเป็นการศึกษาที่ถูกต้องของหมู่สงฆ์

การศึกษา เพื่อให้สำเร็จธรรมเป็นเสขบุคคล และ อเสขบุคคล ตามพุทธฎีกามี 2 อย่างคือ

(1.)       คันถธุระ ซึ่งหมายถึงการศึกษาภาคทฤษฎีของการบรรลุธรรมเป็น สัมมาทิฏฐิสงฆ์ เป็นต้นไปจนถึงเป็น เสขบุคคล บ้าง และเพื่อไปสูงสุด คือเป็น อเสขบุคคล พระอรหันต์ ผู้ ประเสริฐด้วยการศึกษาสงฆ์ที่สูงสุดและอุดมสมบูรณ์

คันถธุระนี้ จะบอกหลักการและเหตุผล แห่งการที่มนุษย์จะสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อ การพ้นทุกข์ได้อย่างไร เพื่อความเป็นสัมมาทิฏฐิสงฆ์ได้อย่างไร เป็นต้นไป ถึงความเป็น เสขบุคคล และ อเสขบุคคล อย่างไร หากเป็นภาคทฤษฎีที่ไม่บอกไม่สอนหลักการ เพื่อการบรรลุธรรม ดังกล่าว ก็ถือว่า เป็นคันถธุระที่ไม่ถูกต้อง และไม่ถือว่าเป็นคันถธุระ และไม่ถือว่าเป็นการศึกษา สงฆ์

 

(2.)       วิปัสนาธุระ หมายถึง ภาคปฏิบัติ ที่ศึกษา อบรมตนทุกวิถีทาง เพื่อ ให้เกิด "ปัญญาเครื่องเห็นแจ้ง", "ความเห็นชัด" "ปรีชาพิเศษ"; [ปัญญาอันเห็นตามเป็นจริง กำหนดสามัญลักษณะทั้ง 3 มีวิปัสสนาญาณเกิดขึ้น คือ วิสุทธิ 5 อย่าง คือ ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนวิสุทธิ

(seeing clearly,spiritual insight, insight on three characteristics;

[the five purifications: purification of view, purification by overcoming doubt, purification by knowledge, and vission of what is the path and is not the path, purification by knowledge and vision of the way, and purification by knowledge and vision, are the "trunk" (of vipasyana)]

               อันเป็นคุณภาพของความเป็น พระอรหันต์

ทั้งคันถธุระและวิปัสนาธุระนี้ จะเป็นวิถีทางการศึกษาที่อยู่ในวิถีทางพระธรรมวินัยทั้งหมด และทั้งระบบวัฒนธรรมสงฆ์ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นวิถีทางธรรมชาติการศึกษา ของหมู่สงฆ์อย่างไร มีวิธีการปฏิบัติและขั้นตอนปฏิบัติ อันเป็นหลักการทั้งหมดทั้งสิ้น ตามหลักมรรค 8 ในอริยสัจ 4นั่นเอง

ซึ่งท่านจัดไว้เป็น 3 ระดับการศึกษา คือ ระดับศีลสิกขา, ระดับสมาธิสิกขา และ ระดับปัญญาสิกขา คือ การศึกษา 3 หรือไตรสิกขา ที่ได้มีการจัดวางไว้อย่างเป็นหลัก ทั้งเป็นหลักการศึกษาโดยตรง และหลักวัฒนธรรมสงฆ์สืบมาในวัดวาอาราม และระบบการปกครองสงฆ์ในศาสนาพุทธทุกแห่งมาตราบเท่าทุกวันนี้

หากแต่สถานการณ์ไตรสิกขา ได้ค่อยด้อยความสำคัญลงไปในระบบสงฆ์ ด้วยสาเหตุที่มาจากทั้งระบบการปกครอง และการศึกษาของหมู่สงฆ์ ในส่วนปัญหาด้านการศึกษาเอง เป็นเหตุ

เมื่อสงฆ์ได้เริ่มต้นส่งเสริมการศึกษาครั้งใหญ่ โดยเน้นไปด้านคันถธุระด้านเดียว และครั้นมีการพัฒนาการศึกษามาเรื่อย ๆ ก็มีการพัฒนาด้านการศึกษาฝ่าย คันถธุระล้วน ๆ ที่พาหมู่สงฆ์ออกนอกทางแห่งมรรคผลนิพพาน

จนกระทั่งการศึกษาขาดด้วนไปจากมรรคผล นิพพานไปตาม ๆ กัน นับแต่การศึกษาฝ่ายปริยัติสามัญ และ มหาวิทยาลัยสงฆ์ เป็นต้น ก็ได้ทำ ให้สมดุลทางการศึกษา ระหว่างคันถธุระ กับ วิปัสสนาธุระ สูญหายไป การวิปัสนาธุระจึงเสื่อมลง จนกระทั่ง ความหมายของมรรคผล นิพพานไม่เป็นที่รู้จักในวงการปกครองของสงฆ์ ระบบขุนนางพระ หรือเจ้าขุนมูลนายปัจจุบัน ถึงมองไปผิด ๆ ว่ามรรคผลนิพพานเป็นสิ่งเหลือวิสัยสำหรับหมู่สงฆ์ยุคนี้ และเมื่อมีการพูดถึง จะได้รับการมองอย่างประหลาด ๆ

ปรากฏจากการปรารภของท่านพุทธทาสภิกขุ ว่า

"มรรคผล เป็นของเหลือวิสัยหรือ? มรรคผลคืออะไร ถ้าตอบไม่ได้ ทำไมจะรู้ ว่า เหลือวิสัยหรือไม่เหลือวิสัย ? ข้อนี้แม้จะมีหลักว่า ถ้ายังไม่บันลุมรรคผล จะรู้จักมรรคผล ไม่ได้ก็จริง แต่เรารู้ได้ด้วยเหตุผลและการอนุมาน ตามแนวแห่งกฎธรรมชาติ ที่ใครก็พอพิสูจน์ได้"


"มรรคคือความฉลาดที่บันเทาความโง่ให้หมดลง ผลคือ ความสุขที่ได้รับเพราะ ปราศจากความโง่นั้น เมื่อทำได้ถึงขีด เรียกว่าโสดาปัตติมรรคบ้าง สกิทาคามิมรรค, อนาคามิมรรคและ อรหัตตมรรคบ้าง" 

 

3.            เรื่องราวการศึกษาสงฆ์ในยุคปัจจุบัน น่าจะไม่สามารถปฏิรูป หรือจัดการฟื้นฟูไป โดยระบบการศึกษาโดด ๆ แต่ต้องมององค์รวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์อันแนบแน่น ระหว่าง ระบบการศึกษา กับ ระบบการปกครองของคณะสงฆ์ไทย ที่ต้องจัดการให้สอดคล้อง และมีความเป็นเหตุและเป็นผลซึ่งกันและกันโดยตลอดทุกเรื่องราว โดยมุ่งสู่ เป้าหมายปลายทางคือให้ทุกระบบมีการศึกษาเป็นหน่วยนำ เป็นเป้าหมาย และเป็นหลักการพัฒนา ของคณะสงฆ์ทั้งหมดทั้งสิ้น

เพราะเหตุผลที่ว่า มรรคผลนิพพาน ไม่อาจ บรรลุ ได้ด้วยวิธีการอื่นใด นอกจากโดยวิธีการศึกษาทุกระดับคือ ปริยัติ ปฏิบัติ และ ปฏิเวธ ที่ตรงไปสู่มรรค ผล นิพพาน เท่านั้น

 

ฉะนั้น ในรูปรวม ควรมองไปถึงการปฏิรูปหรือการปฏิวัติครั้งใหญ่ในวงการสงฆ์ โดยอาศัยเครื่องมือสำคัญ ๆ 2 ด้าน คือด้านกฎหมาย และ วัฒนธรรมสงฆ์  

ด้านกฎหมาย       เพื่อใช้กำหนดระบบการปกครองสงฆ์ให้เอื้อแด่การศึกษาด้านวิปัสนาธุระ และให้ยอมรับในความสำคัญ ของการศึกษาด้านวิปัสนาธุระ ว่าเป็นระดับสูงสุดของการศึกษา ที่เป็นเป้าหมายของพระธรรมวินัยและโดยอำนาจกฎหมายที่จัดตั้งหน่วยงานสงฆ์ฝ่ายวิปัสนาธุระขึ้นมา ให้ได้ดุลกับฝ่ายปกครองสงฆ์ที่เป็นระบบขุนนางมีชนชั้นอยู่ทุกวันนี้  

ซึ่งเมื่อเราจะสร้างกฎหมายและวัฒนธรรมสงฆ์ขึ้นมาใหม่ ให้สอดคล้องหลักปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ แห่งศาสนาพุทธ อันหมายถึง มรรค ผล นิพพาน หรือโลกุตตรวิถี แห่งหมู่สงฆ์อันประเสริฐสูงสุด มีพระอริยบุคคล เป็นเป้าหมาย เป็นรูปธรรมทางการศึกษาแล้ว

เราจะต้องคำนึงว่า เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน สุขุม คัมภีรภาพ ซึ่งจำเป็นต้องทำการศึกษาโครงสร้าง ทางเป้าหมาย และนโยบาย หรือวิธีการที่จะให้บรรลุเป้าหมายที่แท้จริง ให้ถูกต้อง ลึกซึ้งรอบด้าน

มิฉะนั้น อาจก่อให้เกิดความผิดพลาด และก่อความเสียหายอย่าง มหาศาล โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้ อันย่อมส่งผลเสียหายต่อพระพุทธศาสนาในส่วนรวม หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ สร้างความเสียหาย จากความปรารถนาดีของเรานั่นเอง นั่นก็คือ การ มองเพียงด้านเดียว ซึ่งในขณะนี้ ก็เป็นสิ่งที่น่าจับตาสังเกต

เพราะเมื่อพูดถึงการศึกษาสงฆ์ แม้หมู่สงฆ์เองก็มองเพียงด้านเดียว คือด้านคันถธุระ และเรียกร้องให้พัฒนาระบบคันถธุระไปฝ่ายเดียว และเมื่อเป็นสถาบัน เป็นโรงเรียนนักธรรม โรงเรียนบาลี โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ ขึ้นมา

ก็ดูดั่งว่า สังคมจะเห็นความสำคัญในด้านนี้ อย่างท่วมท้น (โดยมิเคยมองดูสิ่งที่เป็นจริง ว่ามหาวิทยาลัยสงฆ์สอนอะไร เป็นคันถธุระอย่างไร ตรงเรื่อง มรรค ผล นิพพาน อย่างไร) และหลงไปให้การสนับสนุน ให้ความสำคัญขึ้นฝ่ายเดียว

ส่วนการศึกษาสงฆ์ที่แท้จริง ที่เป็นเป้าหมายตรงของพระธรรมวินัยของการพระพุทธศาสนา คือการวิปัสนาธุระที่สร้างสงฆ์ให้เป็นคนดี ประเสริฐ เป็นพระอริยบุคคล ให้พ้นทุกข์ ตามแนวทางที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา ไม่มีการมอง มองข้าม หรือ มองไม่เห็นความสำคัญ ก็ไม่ส่งเสริม ไม่เข้าใจ ไม่รู้วิถีทางที่จะพัฒนาไปอย่างไร ไม่มีการตั้งเป็นหลักสูตร เป็นสถาบันขึ้นมา

หรือแม้มีสถาบันอยู่ เช่นสำนักวัดป่า หรือฝ่ายอรัญวาสี ที่มีการสอนวิปัสนาธุระ ก็มิได้มีกฎหมายคุ้มครอง ให้อำนาจ

ทำให้ถูกกลืนโดยระบบขุนนางสงฆ์ฝ่ายราชการ

เมื่อมีการสนับสนุนโดยไม่สมดุล หรือไม่มีการสนับสนุนเลย สนับสนุนด้านเดียวเช่นนี้ ฝ่ายที่ไม่ชอบธรรม ไม่ถูกต้อง ก็ได้อำนาจ ก็แผ่อำนาจครอบคลุมไปทั้งหมด ฝ่ายที่ชอบธรรมที่ถูกต้องตามหลักการพระพุทธศาสนาที่แท้จริงก็เสื่อมลงไป โดยการสนับสนุนที่ผิด แล้วไปกีดกั้นสิ่งที่ถูก จึงเป็นการบ่อนทำลายอย่างลึกซึ้ง โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เข้าลักษณะที่ว่า ความปราถนาดีโดยเขลานั่นเองที่ทำลายสิ่งที่ดีไป

เมื่อเราคิดจะบำรุงการศึกษาหรือปฏิรูปการศึกษาสงฆ์ จึงต้องมองรูปธรรมที่เป็นอยู่ในวัดวาอาราม และสถาบันศาสนาในปัจจุบัน ว่าเป็นอย่างไรบ้าง มีอะไรที่เป็นปัญหาและอุปสรรคอันยิ่งใหญ่ที่ลดทอนวิถีทางการศึกษาไตรสิกขาลงไป จนเป็นปัญหาการศึกษาขึ้นมาอย่างยิ่งใหญ่ ในปัจจุบันนี้

และในการปฏิรูปการศึกษา จำเป็นต้องมองโดยรอบด้าน และด้านที่เป็นหลัก ที่เป็น ตัวปัญหา สำคัญ 2 ประการ ก็คือ

ด้านการปกครองคณะสงฆ์ปัจจุบัน ที่ในตัวของระบบการปกครองปัจจุบันนี้เอง ที่ต้องการการปฏิวัติหรือปฏิรูปโดยเร่งด่วนอยู่ในตัวเองแล้ว เพราะตัวระบบการปกครองสงฆ์นี้เอง ที่ก่อความเสียหายแด่ระบบธรรมชาติการศึกษาของหมู่สงฆ์แทบทั้งหมด โดยเหตุผลประการต้น ๆ ก็คือ เป็นเพราะระบบการปกครองสงฆ์มิได้รับใช้การศึกษาของหมู่สงฆ์แต่เป็นตัวกำเนิดความวิปริตต่าง ๆ ในการปกครองและการศึกษาสงฆ์ จนค่อยนำสงฆ์ไปสู่ปัญหายิ่งขึ้นไปดังกล่าว นั่นคือ นำหมู่สงฆ์ห่างไกลไปนอกวิถีทางมรรคผลนิพพานไปตลอด ๆ นั่นก็คือนำไปสู่ความหายนะทางการศึกษาที่แท้จริงของหมู่สงฆ์โดยตลอดมา ซึ่ง เป็นต้นเหตุสำคัญของการที่มรรคผล ไม่อาจบรรลุได้

 

 

 

 

4.            แม้การศึกษาฝ่ายคันถธุระเอง คือ นักธรรม (ธรรมศึกษา) บาลี ปริยัติธรรมแผนก สามัญศึกษา โรงเรียนการกุศลของวัด และ มหาวิทยาลัยสงฆ์ ก็มีความบกพร่องเป็นอย่างยิ่ง โดยที่มีปัญหาสำคัญที่สุดคือเรื่องประสิทธิภาพประสิทธิผลของการเรียนการสอน ที่ส่งผลออกมา เป็นคุณภาพของการศึกษานั้น    เป็นเรื่องใหญ่

 

แต่ที่น่าให้ความสนใจที่สุดในขณะนี้ ก็ คือ หลักสูตรบาลี ที่ ไม่มีวิชาภาษาไทย และวรรณคดีไทย อยู่ในตัวหลักสูตรเลย ทั้ง ๆ ที่ นักบวชส่วนมากไม่มีพื้นฐานความรู้ภาษาไทยมาก่อน และไม่เคยเรียนวรรณคดีไทย ที่มาแห่งสำนวนภาษาไทยในการใช้ภาษาให้ถูกต้อง ถูกความนิยม หรือถูกกับสถานการณ์สังคมวัฒนธรรมไทย

 

ฉะนั้น การแปลบาลีเป็นไทยแปลไทยเป็นบาลี ของนักบาลี (หรือพระที่มีเปรียญธรรม) แปลออกมาแล้ว มักเป็น ภาษาไทยที่คนทั่วไป ไม่ค่อยเข้าใจความหมาย อ่านไม่ค่อยรู้เรื่องเสมอไป (ทำให้พูดกันก็ไม่ค่อยรู้เรื่องไปด้วย) เดิมสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ ท่านปรารภว่า บาลีเหมาะสำหรับผู้มีพื้นฐานความรู้ ภาษาไทยชั้นสูงที่จะเรียน

แต่ทุกวันนี้ ให้เรียนกันตั้งแต่เด็ก ๆ สามเณร หรือพระก็ตามที่มีพื้นความรู้ เพียง ป.4 ป.6 ซึ่งหมายถึงพื้นฐานความรู้ภาษาไทยอ่อนมาก และเป็นการเรียนแบบท่องบ่นตำราเป็นเล่ม ๆ ไปเรื่อย ๆ มีวิธีการแปล 2 แบบคือแปลโดยอรรถ กับ แปลโดยพยัญชนะ  แต่ผล ไม่ว่าการแปลแบบไหน ก็ยังไม่ใช่ภาษาไทย อยู่ดี การเรียนในวงการสงฆ์จึงเป็นคนละแบบกับทางโลก เด็กหรือสามเณรวันนี้จะมีแนวทิศทางมันสมองและจินตนาการไปคนละด้านกับเด็กไทยส่วนใหญ่ ที่มีการสอนแบบธรรมชาติ ทำให้จินตนาการสามเณร หรือเด็กในกลุ่มวัดนี้คับแคบ และล้าหลัง เป็นปมด้อยของเด็ก เมื่อออกมาสู่โลกภายนอก ก็จะตามโลกไม่ทัน

วิธีการเรียนการสอนก็เป็นแบบเก่า ที่ไม่สอดคล้องกับวิถีทางการศึกษาภายนอก ทำให้รับกันไม่ได้กับมันสมอง ของคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาสู่การศึกษาของคณะสงฆ์ ระบบการจัดการตามหลักสูตรบาลีทุกวันนี้ ก็สิ้นเปลืองมา เป็นการลงทุนที่มีแนวโน้มสูงขึ้นไปโดยตลอด

ในด้านคุณภาพการแปลที่ไม่ได้มาตรฐานภาษาไทย เห็นได้จากตัวอย่างต่อไปนี้

                           ตัวอย่างที่ 1 ระดับ ป.ธ. 2-3 :-

"เรื่องแห่งพระนางสามาวดีอันเราจะกล่าวฯ
อ. พระศาสดา เมื่อเสด็จเข้าไปอาศัย ซึ่งพระนครชื่อว่าโกสัมพี ประทับอยู่ในพระวิหารชื่อว่า โฆสิตาราม ทรงปรารภซึ่งความตาย และความฉิบหายอันส่ายเสียซึ่งความ เจริญให้พินาศแห่ง ร้อยแห่งหญิง ท. ห้า มีพระอัครมเหสีพระนามว่าสามาวดีเป็นหน้าโดยความเป็นประธานด้วย แห่งร้อยแห่งญาติ ท. ห้า แห่งพระอัครมเหสีพระนามว่ามาคันทิยานั้น มีพระอัครมหเหสีพระนามว่ามาคันทิยาเป็นหน้าโดยความเป็นประธานด้วย ตรัสแล้ว ซึ่งพระธรรมเทศนานี้ มีคำว่า อปฺปมาโท อมตํ ปทํ ดังนี้เป็นต้น ฯ อ. วาจาเป็นเครื่องกล่าวโดยลำดับ (อ.คาถามีในลำดับ) ในเรื่องแห่งพระอัครมเหสีพระนามว่าสามาวดีนั้น นี้" :-

- มาจาก พระธัมมปทัฏฐกถา ภาค 2 แปลโดยพยัญชนะ แม่กองบาลีดำเนินการให้ แปลขึ้นเป็นแบบอย่างวิธีการแปลโดยพยัญชนะ การแปลในหลักสูตรบาลีคณะสงฆ์ไทยสำนวนนี้สำหรับเป็น คู่มือ หรือแม่แบบการแปลระดับ ป.ธ.3 ท่านจะเห็นว่า อ่านแล้วไม่เข้าใจความหมายอย่างไทย คนไทยจะงงเมื่ออ่านข้อความว่า "มีพระอัครมเหสีพระนามว่าสามาวดีเป็นหน้าโดยความเป็น ประธานด้วย แห่งร้อยแห่งญาติ ท. ห้า แห่งพระอัครมเหสีพระนามว่ามาคันทิยานั้น มีพระอัครมหเหสีพระนามว่ามาคันทิยาเป็นหน้าโดยความเป็นประธานด้วย" เพราะอ่านไม่รู้ความหมายเลย ไม่สละสลวยตามสำนวนไทยที่ดี

 

ตัวอย่างที่ 2 ระดับ ป.ธ. 4

"ก็แม้เหล่าชนมีบุตร และ นัดดาเป็นต้น ของญาติเหล่านั้น ตลอดชั่วสกุลที่ 7 ชื่อว่าเป็นญาติของภิกษุทั้งนั้น เพราะเป็นผู้ที่เนื่องด้วยญาตินั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงรวมบุตรและนัดดาเป็นต้นแม้ เหล่านั้นเข้าใน คำว่า ทส ญาตกา นี้ ฯ ก็ภิกษุกระทำเภสัชแก่ชนแม้เหล่านั้นควรอยู่ ฯ เหล่าชนมีอาทิอย่างนี้คือ พี่สะใภ้ น้องสะใภ้ พี่เขย น้องเขย น้าเขย และอาสะใภ้ เป็นไข้ หากเขาเป็นญาติ กระทำเภสัชแก่ญาติแม้เหล่านั้นก็ควร หากเขาไม่ได้เป็นญาติ พึงกระทำให้แก่ญาติมีพี่น้องชายเป็นต้น ด้วยสั่งว่า จงให้ในที่ปฏิบัติของท่าน หรือพึงให้แก่บุตรของเขา ด้วยสั่งว่า จงให้แก่มารดาบิดาของเจ้า ฯ แต่คนอื่นจากคนตามที่กล่าวมาแล้วเหล่านั้น ชื่อว่าชนอื่น เภสัชที่กระทำแก่ชนอื่นนั้น ชื่อว่าเวชชกรรมที่กระทำแก่คนต้องห้าม ฯ อนึ่ง ภิกษุ แม้เมื่อกระทำแก่คนที่ทรงอนุญาต พึงกระทำแก่คน 10 จำพวก ข้างต้น ด้วยวัตถุของเขา เมื่อวัตถุของเขาไม่มี พึงกระทำด้วยวัตถุของตน แม้เมื่อวัตถุของตนไม่มี พึงแสวงหาด้วยภิกขาจารวัตร เมื่อไม่ได้ด้วยอาการอย่างนี้ พึงแสวงหาแต่ที่แห่งชนผู้เป็นญาติ และคนที่ประวารณาไว้ของตน หรือของชนเหล่านั้น เมื่อไม่ได้แม้ด้วยอาการอย่างนี้พึงแสวงหาแม้ด้วยอกตวิญญัติ ฯ การขอในที่ ๆ เขาไม่ได้ กระทำปวารณาอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ท่านมีความต้องการปัจจัย ขอจงบอก ดังนี้ ชื่อว่า อกตวิญญัติ ฯ แต่เมื่อจะกระทำให้แก่ญาติที่เหลือ พึงกระทำด้วยวัตถุของเขาเท่านั้น เมื่อของเขาไม่มี พึงให้ของ ๆ ตนเป็นของยืม ถ้าเขาใช้ให้ พึงรับ ถ้าเขาไม่ใช้ให้ ไม่พึงทวง ด้วยว่า ภิกษุแม้ของ ๆ พวกญาติแล้วถือเอาก็ควร เพราะเหตุนั้น ย่อมไม่เป็นอกตวิญญัติ แก่ภิกษุผู้ให้นำ ปัจจัย 4 ของญาติเหล่านั้นมา หรือย่อมไม่เป็นเวชชกรรม แก่ภิกษุผู้กระทำเภสัชแก่ญาติเหล่านั้น หรือย่อมไม่เป็นอาบัติ เพราะประทุษร้ายสกุล แก่ภิกษุผู้ให้เพื่อต้องการสงเคราะห์สกุลแก่ญาติ เหล่านั้น ๆ แต่ภิกษุผู้ไม่หวังตอบแทน พึงกระทำแก่ชน 5 จำพวกมีชนจรมาเป็นต้น แม้ด้วยของ ๆ ตน ฯ"

- จาก กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ปัญหาและเฉลยบาลีสนามหลวง ป.ธ.4-5 พ.ศ.2478-2528 หน้า 101 ซึ่งจะเห็นว่า อ่านไปแล้ว ไม่แน่ใจว่าเรื่องอะไร  ไม่ทราบเนื้อความว่าอย่างไรแน่ อะไรเป็นอะไร ไม่ลองคิดูว่า ถ้าให้คะแนนเรียงความภาษาไทยแล้วจะได้หรือตก

 

ตัวอย่างที่ 3 ระดับ ป.ธ.7 :-

อีกตัวอย่างหนึ่ง จากเฉลยวิชาแปลมคธเป็นไทย ป.ธ.7

"วาจาที่พูดซึ่งมาในพระบาลี มีอาทิอย่างนี้ว่า สัททชาติอันบุคคลกล่าว สัททชาติ อันบุคคล เปล่ง ถ้อยคำเป็นคลอง และว่า วาจาหาโทษมิได้ สะดวกหู ดังนี้ ชื่อว่า วาจา ฯ ก็วิญญัติที่มาโดยศัพท์ว่า วาจา อย่างนี้ว่า ถ้าว่า กรรมอันบุคคลทำแล้วด้วยวาจาไซร้ ดังนี้ก็ดี วิรัติที่มาโดยศัพท์ว่า วาจา อย่างนี้ว่า ถ้าว่า กรรม อันบุคคลทำแล้วด้วยวาจาไซร้ ดังนี้ก็ดี วิรัติที่มาโดยศัพท์ว่า วาจาอย่างนี้ว่า การงด ฯลฯ จากวจีทุจริต 4 ใด นี้บัณฑิตกล่าวว่า สัมมาวาจาดังนี้ก็ดี เจตนาที่ มาโดยศัพท์ว่า วาจา อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วาจาหยาบ อันบุคคลเสพนักแล้ว ให้เป็นแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังนรกให้เป็นไป ดังนี้ก็ดี ในวาจา ใด วาจานั้น ท่านไม่ประสงค์ในพระสูตรนี้ ฯ เพราะเหตุไร ฯ เพราะไม่ใช่วาจา อันบุคคลพูด ดังนี้ ฯ"

- จาก กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ปัญหาและเฉลยบาลีสนามหลวง ป.ธ. 6-7 พ.ศ. 2478-2528 หน้า 488 ซึ่งจะเห็นว่า อ่านแล้วไม่เข้าใจความหมายเหมือนเดิม คำที่ไม่ถูกต้องตามสำนวนภาษาไทย เช่น ถ้อยคำเป็นคลอง วาจาสะดวกหู นั่นคือยังอ่านไม่ค่อยชัดเจนว่าอะไรเป็นอะไร ซ้ำใช้คำซ้ำไปซ้ำมา ทั้ง ๆ ที่เป็น เฉลยข้อสอบ ไม่ใช่คำตอบข้อสอบของนักเรียน ประโยคท้าย ๆ ที่ว่า "วาจาหยาบ อันบุคคลเสพนักแล้ว ให้เป็นแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อม ยังนรกให้เป็นไป ดังนี้ก็ดี ในวาจาใด วาจานั้น ท่านไม่ประสงค์ในพระสูตรนี้ ฯ เพราะเหตุไรฯ เพราะไม่ใช่วาจา อันบุคคลพูด ดังนี้ ฯ" เป็นภาษาที่ไม่ถูกต้องตามสำนวนไทย คนไทย อ่านไม่รู้เรื่อง


 

ตัวอย่างที่ 4 แปลเป็นบทกวีไทย ระดับ ป.ธ.7

  มากมวลทั่วเทพทั้ง. . .            มนุษยชน
  หวังประโยชน์โสตถิผล. . . . .    แน่แท้
  ใฝ่จิตคิดมงคล. . .. . . . . . . . . มิว่าง เว้นแฮ
  ขอโปรดดำรัสแก้. . . . . . . . . . ซึ่งข้อมงคล อุดมนา ฯ

 ไม่เสพสมคบด้วย . . .. . . . . .   เหล่าพาล
 เสพแต่บัณฑิตชาญ . .. . . . . ..  เชี่ยวรู้
 บูชาวัตถุสถาน . . . . .. . . . .   . ควรที่ บูชาแล
 สามสิ่งพิเศษผู้ . . . .. . . . . . .   ปราชญ์พร้อมมงคล อุดมแล ฯ

-พระศรีสมโพธ วัดมหาธาตุ ร้อยกรอง
 พระพรหมมุนี ตรวจ

- จาก เล่มเดียวกัน หน้า 463

 

ซึ่งจะเห็นว่าบทกวีทั้งสองบท ที่เป็นมาตรฐานสำหรับตรวจข้อสอบบาลี นั้น จะเห็นว่า บาทที่ 3 ของบทที่ 2 และ บาทสุดท้ายของทั้ง 2 บท ไม่ถูกต้องตามหลักฉันทลักษณ์ไทย โคลงสี่สุภาพไทยมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีฉันทลักษณ์เฉพาะของตน (มี เอกเจ็ด โทสี่ และ ฯลฯ)จึงน่าระวังผลงานบาลี ที่ออกมาในรูปฉันทลักษณ์ไทย

เมื่อออกมาผิดฉันทลักษณ์เช่นนี้ ก็ทำให้ ความน่าเชื่อถือเชิงวิชาการ ลดไป ไม่น่าจะเป็นมาตรฐานเฉลยข้อสอบบาลีได้ (เพราะคำเฉลยเองไม่ถูกต้องเสียแล้ว)


 

ตัวอย่างที่ 5

ในข้อสอบแต่ละวิชา ท้ายข้อสอบ จะมีภาษาบอกไว้ว่า "ให้เวลา 4 ชั่วนาฬิกา กับ 15 นาที"


แม้กระทั่งบัดนี้ท่านก็ใช้คำว่า "ชั่วนาฬิกา" อยู่ ซึ่งไม่ถูกกับสำนวนไทยที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน คนไทยทั่วไปฟังแล้วจะไม่ เข้าใจ ไม่เลื่อมใส ทำให้เห็นว่า คร่ำครึยึดมั่นถือมั่นโดยไร้เหตุผล ล้าสมัยเกินไป ไม่เป็นที่มาแห่งความศรัทธา ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็น ทัศนะของคณะสงฆ์ว่า ไม่เอาใจใส่ในการแปลให้ถูกต้องทันสมัยอย่างไร การแปลมีความสำคัญในการเผยแผ่อย่างไร

 

 

 

ตัวอย่างที่ 6         หนังสือแปลบาลี-ไทย

การแปลหนังสือที่เป็นหลักการพระพุทธศาสนา หรือชาดกต่าง ๆ ซึ่งนักปราชญ์ใน คณะสงฆ์ปัจจุบันแปลออกมา และจัดพิมพ์เป็นเล่มออกแจกจ่ายมากมาย กรณีการแปลชาดก แม้ชาดกนั้นจะเป็นนิทานที่สนุกสนาน น่าติดตามอ่านเรื่องราวอย่างยิ่งแต่จะพบว่า เรื่องใดก็ตาม สำนวนแปลอ่านยาก ยืดยาด คร่ำครึ ล้าสมัย น่าเบื่อหน่าย ใช้คำหรือประโยคซ้ำไปซ้ำมา อย่างไม่มีวิธีที่จะตัดทอนลงให้กระทัดรัด ถูกตามหลักไวยากรณ์ไทย สำนวนไทย หรือวิชาการ ประพันธ์ไทยสากลอย่างใดเลย ผลก็คือ ผู้อ่านต้องสำรวมความพยายามและสมาธิในการอ่าน อย่างมาก ทำให้เสียพลังงานและเสียเวลาในการอ่านสูง แล้วเข็ดหลาบไปในที่สุด ทำให้การ เผยแผ่ล้มเหลวลงเสียแต่ต้น ไม่คุ้มค่าแก่การลงทุน ไปทุกเรื่องราวที่เป็นเรื่องแปลบาลี

นี่คือปัญหาที่เกิดจากระบบการเรียนการสอนบาลีในปัจจุบันนี้

 

เพราะการเรียนบาลี หลักสูตรบาลีปัจจุบันนี้ มิได้คำนึงว่า บาลีก็เป็นเพียงภาษาต่างประเทศภาษาหนึ่ง

จุดมุ่งหมายของการเรียนก็เพื่อให้รู้ให้เข้าใจภาษาบาลีอย่างถูกต้อง แปลออกมาให้คนอ่านรู้เรื่องสมภูมิชั้นที่เรียนอยู่ หรือสมกับฐานะ ตำแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์ของผู้แปล เช่นเดียวกับภาษาอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เยอรมัน เขมร ลาว ฝรั่งเศส ฯลฯ นั่นเอง

การเรียนระบบปัจจุบัน คล้ายจะเป็นการสงวนสิทธิไว้พิเศษ เฉพาะพระสงฆ์ สามเณร เพื่อการก้าวไปสู่ความมียศถาบรรดาศักดิ์ ความเป็นเจ้าขุนมูลนาย (เป็นการศึกษาทางเจือด้วยยศศักดิ์) เท่านั้น จึง มิได้คำนึงถึงประโยชน์ทางภาษาที่แท้จริง อันเป็นสากลที่ภาษาพึงอำนวยให้ เมื่อจบหลักสูตรก็ใช้ ประโยชน์จริง ๆ ในการเผยแผ่พระศาสนาไม่ได้ เพราะไม่มีความเข้าใจด้านสาระความหมายและ ด้านการใช้ภาษาไทยอย่างที่เป็นจริงในสังคม ทำให้สังคมไม่ได้ประโยชน์จากสาระของภาษา


ฉะนั้น บาลีจึงควรจะปรับปรุงไปเป็นการเรียนในระบบธรรมชาติ เช่นเดียวกับการเรียน ภาษาต่างประเทศภาษาหนึ่งนั่นเอง ในปัจจุบันนี้ ศาสตร์และศิลปในการแปลภาษาต่างประเทศมีความก้าวหน้าไปไกลมาก นักภาษาไทยที่เชี่ยวชาญสามารถแปลภาษาต่างประเทศได้อย่าง สมบูรณ์ และรวดเร็ว ทันกาล (เช่นแปลเรื่อง แฮรี่ พ๊อตตอร์ ที่กำลังดังอยู่ขณะนี้ เป็นต้น)

ไม่ว่าจะเป็นภาษาวิชาการขนาดไหน เช่นวิชาการสื่อสาร เรื่องไฮเทค คอมพิวเตอร์ หรือ อินเทอเนตนักแปลก็สามารถแปลออกมาฟังเป็นมาตรฐานภาษาไทยได้ ให้รู้เรื่องราวและเข้าใจในหลักวิชาเป็นอย่างดีได้ สามารถนำวิชาการที่ล้ำยุคมาเรียนมาสอนในภาคภาษาไทยได้หมด ถ้าจัดการให้บาลี เป็นการเรียนการสอนโดยระบบธรรมชาติ ก็จะสามารถแปลออกมาได้ ในรูปภาษาไทยที่ถูก มาตรฐานโดยสมบูรณ์เช่นกัน

 

 

แบบอย่างที่นักบาลีควรจะมองดู ก็คือ ชาวต่างประเทศ 2 คน จากประเทศอังกฤษ

คนที่ 1 คือ นายโรเบิร์ต ซีซาร์ ชิลเดอร์

และอีกคนหนึ่งคือ ศาสตราจารย์ ที.ดับบลิว. รีดส์ เดวิดส์

ซึ่งท่านทั้งสองนี้ได้ทำการศึกษาบาลีแตกฉาน จนสามารถนำเรื่องราวของ พระพุทธศาสนา ไปประดิษฐานขึ้นในประเทศอังกฤษได้อย่างมั่นคงเป็นครั้งแรก

 ท่านเหล่านี้เรียนภาษาบาลีอย่างไร สำหรับ นายโรเบิร์ต ซีซาร์ ชิลเดอร์ส (Robert Caesar Childers) มีอายุอยู่ เพียง 38 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2381-2419 เป็นชาวอังกฤษที่ได้มาเรียนรู้บาลีที่ประเทศศรีลังกา และเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา

ภายหลังกลับอังกฤษแล้วได้ทำการแปลขุททกปาฐ บาลี ออกเป็นภาษาอังกฤษ ลงพิมพ์ในวารสาร The Journal of the Royal Asiatic Society เมื่อ พ.ศ. 2412 นี้เป็นหนังสือบาลี เรื่องแรกที่ได้พิมพ์ในประเทศอังกฤษ

ต่อมานายชิลเดอร์ ได้แต่งปทานุกรมบาลี-อังกฤษ และจัดพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2415 เป็นเหตุให้วงการศึกษาชั้นมหาวิทยาลัยในอังกฤษแตกตื่นเห็นคุณค่าของพระพุทธศาสนา และยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ (University Colledge) มหาวิทยาลัยลอนดอน ได้ตั้งตำแหน่งพิเศษสำหรับนายชีลเดอรส์ โดย เฉพาะ ให้เป็น ศาสตราจารย์ภาษาบาลีและวรรณคดีทางพุทธศาสนา มีหน้าที่สอนวิชาบาลี และวรรณคดีพุทธศาสนาโดยเฉพาะ (นั่นก็หมายความว่า พระพุทธศาสนาได้รับการประดิษฐานขึ้นอย่างมั่นคงโดยประสิทธิภาพของภาษาอังกฤษ ที่แปลมาจากบาลีนั่นเอง)

ต่อมาในปี พ.ศ. 2418ศาสตราจารย์ชีลเดอรส์ ยังได้แต่งปทานุกรม บาลี-อังกฤษ เล่ม 2 ที่มี ข้อความบริบูรณ์กว่า เล่มแรก จนสถาบันการศึกษาแห่งฝรั่งเศสมอบรางวัล Voney Prize ให้ ในฐานะเป็นหนังสือนิรุกติศาสตร์ที่แต่งดีที่สุดในรอบปี (นั่นก็หมายความว่า ศาสนาพุทธถูกนำไปประดิษฐานอย่าง มั่นคงขึ้นในประเทศฝรั่งเศส โดยประสิทธิภาพของการแปลภาษาเช่นกัน) ผลงานของ ชิลเดอร์สที่นักการศึกษาบาลีไทยน่าจะรู้จักดีขณะนี้ก็คือ ปทานุกรมบาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต ฉบับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาท (จัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2513)

 

 

ส่วนศาสตราจารย์ รีดส์ เดวิดส์ นั้นก็เป็นผู้เชี่ยวชาญภาษาบาลีและตะวันออกที่มีชื่อเสียงตามมา ได้จัดตั้งสมาคมบาลีปกรณ์แห่งประเทศอังกฤษ เป็นนายกสมาคมนี้ เป็นผู้ริเริ่มแปล พระไตรปิฎกและคัมภีร์พระพุทธศาสนาเล่มสำคัญ ๆ เป็นภาษาอังกฤษ ที่พิมพ์เผยแพร่อยู่ใน ประเทศอังกฤษขณะนี้ (นั่นก็หมายความว่า ศาสนาพุทธลงรากลึกในระดับปัญญาชนของอังกฤษมาตั้งแต่บัดนั้นแล้ว)

ศาสตราจารย์รีดส์ เดวิดส์ นี้ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ รู้จักกันในประเทศไทยเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ในฐานะนักปราชญ์ทางภาษา และพระพุทธศาสนาผู้ยิ่งใหญ่ หนังสือที่รู้จักกันดีเล่มหนึ่งในประเทศไทย ก็คือ พระพุทธศาสนาในชมพูทวีป (แปลเป็นไทยโดย สมัย สิงหสิริ 2515)  

ด้านที่น่ามองจากศาสตราจารยชาวอังกฤษ์สองท่านนี้ก็คือ ท่านเรียนบาลีอย่างไร ท่านสามารถวิเคราะห์นิรุกติศาสตร์แห่งบาลีออกมาได้อย่างไร จึงแตกฉานในบาลีและภาษาตะวันออกอย่างหาตัวจับยาก สามารถมองได้ว่าการแปลข้อความบาลีออกมา แปลโดยวิธีการอย่างใด เชื่อถือได้ หรือไม่เพียงใด ดังเช่นศาสตราจารย์รีดส์ เดวิดส์ ได้ให้ข้อสังเกตไว้ สำหรับนักแปลบาลีว่า การแปลโดยอาศัยคำอธิบายของพระอรรถกถาจารย์ ไม่ดีอย่างไร จึงเลิกใช้ มาใช้วิธีการแปลแบบ วิลสัน ที่น่าจะสังเกตและน่าพิจารณาเพื่อเอามาเป็นแบบอย่างปรับปรุงบาลี แปลบาลีเป็นไทย ของคณะสงฆ์

ตัวอย่างบุคคลในประวัติศาสตร์ ที่ไม่มีวุฒิเปรียญเลย แต่มีความรู้แตกฉาน มีผลงาน แปลชาดก ที่ได้รับประทานคำนำยกย่องจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพนายกราชบัณฑิตยสภาในสมัยนั้น ไว้อย่างสูงว่า "ทรงแต่งดีกว่าผู้เป็นเปรียญที่เคยแปลมาแล้ว เห็นจะหลายสำนวน" ก็คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาท ที่ทรงมีพื้นฐานการศึกษาภาษาไทยและภาษาอังกฤษดีมาก่อน โดยได้สำเร็จการศึกษาชั้นสูงมาจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ เป็นผู้ที่ทรงนำเอางานปทานุกรม บาลี-อังกฤษ ของศาสตราจารย์ชีลเดอรส์ มาสืบสานต่อ โดยทรงจัดทำเป็นปทานุกรมสี่ภาษาขึ้น ดังที่ปรากฎในขณะนี้คือ ปทานุกรมบาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต ฉบับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาท ดังอ้างมาแล้ว ข้างต้นนั่นเอง ซึ่งนับเป็นผลงานระดับนักปราชญ์ทางภาษาโดยแท้จริง


หรือแม้คนยุคปัจจุบัน ก็มีตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือท่านพุทธทาสภิกขุ ท่านเรียนบาลีได้สำเร็จตามหลักสูตรคณะสงฆ์เพียง เปรียญธรรม 3 ประโยคเท่านั้น (ก่อนที่ท่านจะเบื่อการเรียน การสอนของหลักสูตรคณะสงฆ์ กลับไปเรียนต่อด้วยตนเอง โดยประสงค์ต่อวิชาการและความรู้ ทางภาษาล้วน ๆ ท่านก็ทำได้สำเร็จอย่างน่าทึ่งอย่างไรโดยไม่อาศัยหลักสูตรคณะสงฆ์) ก็จะ เห็นว่าท่านสามารถ เรียนด้วยตนเอง ด้วยวิธีการที่เป็นธรรมชาติ เช่นเดียวกับการเรียนภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาสากลอื่น ๆ จนมีความสามารถอ่านบาลีได้อย่างดี และหนังสือที่บอกไปถึงภูมิรู้ด้านบาลีของท่านก็คือ พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ที่ท่านค้นคว้าเรียบเรียงจากพระไตรปิฎกฉบับบาลีโดยตรง



หนังสือที่แปลได้มาตรฐานสำนวนไทย จนได้รับยกย่องว่า แปลและเรียบเรียงได้อย่างดี ถึงขนาด มีสำนวนโวหารไพเราะเพราะพริ้ง "เป็นวรรณกรรมที่ถึงขั้นเป็นวรรณคดีไทยชั้นเยี่ยม ของชาติยุครัตนโกสินทร์เรื่องหนึ่ง" ก็คือ กามนิต ซึ่ง เสฐียรโกเศศ และ นาคะประทีป [ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน (อักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) กับพระสารประเสริฐ ป.ธ.7) มิได้แปลจากบาลีโดยตรง แต่แปลต่อจากฉบับภาษาอังกฤษ ของ John E Logie จอห์น อี โลยี แปลต่อมาจากฉบับภาษาเยอรมัน อันเป็นต้นฉบับของผู้ ประพันธ์ดั้งเดิมสำนวนแรก คือ Karl Adolph Gjellerup

 คาร์ล อดอล์ฟ เจลลิรูป มี พื้นฐานเดิมเป็นกวีและนักเขียนนวนิยายที่มีชื่อเสียง ชาวเดนมาร์ก สามารถใช้ภาษาต่างประเทศ เขียนนวนิยายได้หลายภาษา มีผลงานเขียนภาษาเยอรมันเป็นจำนวนมาก รวมทั้งเล่มที่กล่าวถึงนี้กามนิต สำนวนเดิมของ เจลลิรูป มีชื่อเป็นภาษาเยอรมันว่า Der Pilger Kamanita จอห์น อี โลยี นักปราชญ์อังกฤษแปลมาคำต่อคำว่า The Pilgrim Kamanita

เมื่อมาถึง ไทย ชื่อเหลือ เพียง กามนิต (ดูเหมือนภาษาไทยจะขาดความหมายของคำว่า Pilgrim คำนี้จะแปลว่า อนาคาริก ก็ดูจะไม่ตรงนัก ท่านผู้แปลก็คงมีเหตุผลทำนองนี้จึงตัดคำ The pilgrim ออก เอาเพียงกามนิต ซึ่งน่าเสียดายอยู่เหมือนกัน)


ที่น่าสังเกตก็คือ ทั้งสามสำนวน คือ เยอรมัน อังกฤษ และไทย ล้วนเป็นสำนวนชั้น เยี่ยมในเชิงภาษาและวรรณคดีทั้งสิ้น ซึ่งแน่ละ ย่อมหมายถึงศิลปการแปลดีถึงขนาดทั้งสาม สำนวน ทั้งสามภาษา สำนวนเดิมคือภาษาเยอรมัน ดีถึงขนาดเป็นวรรณกรรมชั้นเยี่ยมอีกเล่ม หนึ่งของตะวันตก ที่มีส่วนทำให้ เจลลิรูป ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมเมื่อ ปีพ.ศ. 2460


หนังสือแปลอีกเล่มหนึ่งในวงการบาลี ที่มีสำนวนแปลทันสมัย อ่านเข้าใจไปทั้งหมด ถูกหลักภาษาไทย และสำนวนไทย สมควรเอาเป็นแบบอย่าง ก็คือ สัทธรรมปุณทรีกสูตร (คือหลักพุทธฝ่ายมหายาน ที่แพร่หลายในจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี) แปลโดย ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ (ขณะ เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) โดยแปลจากฉบับ ภาษา อังกฤษของอาจารย์เคิร์น อาจารย์เคิร์น แปลจากต้นฉบับเก่าแก่ที่สุดในภาษาสันสกฤต ซึ่งเขียนบนใบปาล์มไว้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1582 มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2525



ตัวอย่างความสำเร็จของหนังสือเหล่านี้ เกิดจากคุณภาพการแปลทั้งสิ้น และหนังสือ แปลที่มีคุณค่า ได้รับความนิยมในตลาดหนังสือ หรือได้รับยกย่องเกียรติคุณชั้นสูง ล้วนเป็น ผลงานแปลของนักแปล จากสถาบันแปลสากลทั้งสิ้น ในขณะที่หลักสูตรบาลีของคณะสงฆ์ไทยยังไม่สามารถสร้างคุณภาพเช่นนี้ขึ้นมาได้เลย ทั้ง ๆ ที่เป็นสถาบันงานแปลที่ทั้งฝ่ายบ้านเมือง คณะสงฆ์ และประชาชนชาวพุทธทั้งปวง ทุ่มเทการสนับสนุนอย่างแข็งแรงมาโดยตลอด (ให้ทั้ง เงิน ตำแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์ คำย่องยอสรรเสริญประการต่าง ๆ ยังหาอาจสร้างผลงานแปลมี มาตรฐานได้ไม่)

บาลีจึงควรจัดการศึกษาแบบธรรมชาติ โดยมุ่งหมายที่คุณภาพให้สามารถแปลบาลีได้ดี เช่นเดียวกับนักการศึกษาชาวเยอรมันอย่าง เจลลิรูป หรือชาวอังกฤษอย่าง ศาสตราจารย์ ชิลเดอร์ส และ รีดส์ เดวิดส์ ที่ทั้งสามท่านนำไปแปลให้คนต่างประเทศได้อ่าน แล้วมีผลดีทาง การเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างมากมาย เพราะการแปลถูกสำนวนภาษาท้องถิ่นประเทศนั้น ที่ยังรักษาความหมายที่ลึกซึ้งของภาษาเดิมไว้ได้อย่างดี นั่นเอง พุทธศาสนาจึงได้รับการยอมรับ นับถือในสถาบันการศึกษาชั้นสูงของประเทศตะวันตก มีเยอรมัน อังกฤษ และฝรั่งเศส เป็นต้นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2412 ตราบจนปัจจุบันนี้


นอกจากนี้การจัดหลักสูตรแบบธรรมชาติภาษาสากล ยังจะสามารถช่วยให้คนทั่วไป ชายหญิง เด็ก ผู้ใหญ่ คนชราภาพ คนทุกชั้นวรรณะสามารถเล่าเรียนได้ ทั้งในหลักสูตร และการเรียนด้วยตน เอง ด้วยสื่อการเรียนระบบใหม่ ๆ เช่นโดยการผลิตสร้างสื่อประเภท E learning ขึ้นมา ก็จะสามารถนำมาใช้ได้อย่างหลายหลากวิธี เช่นเดียวกับการสอนภาษาต่างประเทศในปัจจุบันนี้ สามารถจะใช้เป็นวิชาเลือกวิชาหนึ่งในกระบวนวิชาพระพุทธศาสนาระดับมัธยมต้นขึ้นไป ซึ่ง จะเป็น วิธีการปลูกฝังคุณค่าทางศาสนาได้เป็นอย่างดีแก่เด็กและเยาวชนอีกด้วย

ฉะนั้น ไม่พึงไปยึดมั่นถือมั่นว่า บาลี เป็นภาษาที่ศักดิ์สิทธิ์ แก้ไขเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนการสอนไม่ได้ เพราะ นั่นคือทิฏฐิที่ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นการเอาความยึดมั่นถือมั่นโดยเขลา มาพร่าผลาญประโยชน์ที่ ควรมีควรได้อย่างน่าเสียดาย

อย่างไรก็ตาม บาลีเดิม มี เปรียญ ที่ตีค่าเป็นตำแหน่งการ ปกครอง ยศ สมณศักดิ์ และเทียบระดับกับการศึกษาฝ่ายโลกได้ หากไม่จัดการที่ปัญหานี้โดยเหมาะสมรอบคอบ การปรับปรุงก็อาจสะดุดได้ง่าย ๆ จึงต้องมีวิธีการอลุ่มอล่วย เพื่อให้การจัดตั้งระบบ เสร็จสิ้นลงเสียก่อน แล้ว ค่อยหวลกลับมาจัดระเบียบบุคคลเพิ่มเติมไปทีหลัง

และน่าจะศึกษาถึงความเป็นไปได้เพียงไร ที่จะให้มีการดำเนินการร่วมไปกับการปรับปรุงการศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง

 

5.            บทสรุปในเรื่องการศึกษาสงฆ์

ในชั้นต้นนี้พอสรุปได้ว่า คันถธุระขณะนี้มีการส่ง เสริมอย่างมากอยู่แล้ว และ ล้วนเบี่ยงเบนไปจากหลักปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ที่ตรงสู่มรรคผลนิพพาน เป้าหมายสูงสุดของการศึกษาพระพุทธศาสนาไปทั้งสิ้น

แม้กระทั่งมหาวิทยาลัยสงฆ์เองก็น่าสังเกตว่า นอกจากเบี่ยงเบนไปนอกทางพระธรรมวินัยแล้ว ยังเบี่ยงเบนไปจากเป้าหมายการศึกษา ตามข้อกำหนดในกฎหมายด้วย

(โปรดดู พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ-ราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 มาตรา 6 วรรค 2 ว่า

"ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาและวิจัย มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา วิจัย ส่งเสริม และให้บริการทางวิชาการพระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ รวมทั้งการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม")

ในขณะเดียวกันการศึกษาด้านวิปัสสนาธุระ ไม่ได้รับการเอาใจใส่ และขาดการวิเคราะห์วิจัยหลักวิธีการสอนใหม่ ๆ ออกมาให้ทันยุคสมัย จึงทำให้เกิดละเลยลืมเลือน ไม่เป็นที่เอาใจใส่ของคณะสงฆ์ ตราบกาลล่วงมา ถึงขนาดเสื่อมไปจนกระทั่งหมู่สงฆ์ไม่รู้จักความหมายของมรรค ผล นิพพาน อันเป็นปฏิเวธธรรมสูงสุดแห่งการศึกษาของพระพุทธศาสนา ก็ก่อเกิดความเสียหายอย่างล้ำลึกต่อการพระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์เอง

จึงควรจัดการให้มีระบบการศึกษาฝ่ายวิปัสนาธุระขึ้นมา ให้เป็น สถาบันที่ตรงหลักการหลักธรรมโลกุตตระ ในพระพุทธศาสนา

โดยการจัดตั้งเป็นสถาบันใน คณะสงฆ์ขึ้นมา อีกสถาบันหนึ่ง

และสร้างสายงานขึ้นมาอีกสายงานหนึ่งต่างหากจากสายงานการปกครอง

และในขณะเดียวกัน ก็คิดเตรียมงานที่สมบูรณ์ไปกว่า โดยการจัดปรับปรุงปฏิรูป ปฏิวัติระบบสงฆ์ทั้งหมดในรูปสภาสงฆ์ ให้มีระดับสภาสงฆ์ตำบล สภาสงฆ์จังหวัด สภาสงฆ์แห่งชาติ ในรายละเอียด จะต้องทำการเก็บข้อมูลและทำการศึกษาอย่างละเอียดอ่อน โดยอาจใช้มาตรการ เพื่อจัดการกับปัญหาการศึกษาสงฆ์ที่อาจทำได้ในปัจจุบัน โดยมาตรการ 2 ประการ คือ การจัดการโดยกฎหมาย และ โดยวัฒนธรรมสงฆ์เอง กล่าวคือ

 

5.1.       ด้านกฎหมาย ทำการแก้ไขกฎหมายคณะสงฆ์เสียใหม่ กำหนดรูปแบบ การ ปกครองใหม่ ให้การปกครองสงฆ์เป็นเพียงระบบที่คอยจัดการการศึกษาสงฆ์ มิใช่ ระบบ อำนาจและระบบชนชั้น ที่ละเมิดหลักทิฏฐิสามัญตา หลักศีลสามัญตาของหมู่สงฆ์ ที่กลับเป็นเป้าหมาย แห่งการแก่งแย่งแข่งขันกันตลอดชีวิตของพระสงฆ์รูปหนึ่งไปตลอดชีวิต ระบบการปกครองสงฆ์จะต้องสอดคล้องพระธรรมวินัย และไม่ขัดแย้งพระธรรมวินัย การปรับปรุงโดยกฎหมายนี้ จะต้อง ระวังว่า การเขียนกฎหมายอย่างไรให้สอดคล้องพระธรรมวินัย ไม่ขัดและแย้งพระธรรมวินัย จะต้องทำความเข้าใจประเด็นการศึกษาและการปกครองตามพระธรรมวินัยให้แจ่มแจ้ง รอบคอบทุกมุมมองเสียก่อน และดำเนินไปย่างมีขั้นตอนที่ตรวจสอบได้จากผู้เกี่ยว ข้องทุกฝ่าย

 

5.2.       ด้านวัฒนธรรมสงฆ์ ต้องจัดการที่เรื่องพิธีกรรม ความเชื่อต่าง ๆ ในหมู่สงฆ์ และประชาชน ให้เป็นวิถีพุทธที่แท้จริงขึ้นมา นั่นคือ ปรับปรุงพิธีกรรมใดที่เป็นความเชื่องมงายล้าหลัง ไร้เหตุผล หรือพิธีกรรมที่ไร้สาระ ไร้ประโยชน์ รวมถึงจารีตประเพณี และความเชื่อที่ ล้าหลังงมงายต่าง ๆ ในสังคมทั้งหมดทั้งมวล โดยต้องแก้ไขให้มองตรงความเป็นจริง ตามเหตุผลเป็น วัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ และ เป็นระบบวิทยาศาสตรพุทธที่แท้จริง ทั้งด้านภายนอกและด้านภายใน

ซึ่งในการดำเนินการด้านวัฒนธรรมนี้ รัฐควรเป็นผู้จัดการโดยเป็นผู้นำการปฏิวัติ หรือปฏิรูปวัฒนธรรมนี้ จัดให้มีการอบรมคนของรัฐทั้งสิ้นให้เข้าใจพิธีกรรม(หรือศาสนพิธี) ที่เป็น วิทยาศาสตร์ ที่เป็นวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ คือให้สังคมสร้างอุปนิสัยการมองอะไร ทำอะไรตรงตามความเป็นจริง มีเหตุผล มีการปฏิบัติไปโดยซื่อตรงต่อความเป็นจริงนั้น

และ สร้างอุปนิสัยความเป็นมนุษย์ขึ้นมา นั่นก็คือมีความเคารพในตนเอง ในผู้อื่น โดยเหตุผล และ มีความเป็นอิสระในความคิดเชิงวิชาการของใครของมันอย่างสูง

 

การปฏิรูปสงฆ์ทั้งระบบ โดยมีเป้าหมายทั้งสิ้นไปสู่ การศึกษาที่แท้จริงของหมู่สงฆ์ นั่นคือความรู้แจ้ง เป็นพุทธะ เพื่อ ให้เกิด ปัญญาเครื่องเห็นแจ้ง, ความเห็นชัด, ปรีชาพิเศษ ได้แก่ปัญญาอันเห็นตามเป็นจริง, กำหนดสามัญลักษณะทั้ง 3, มีวิปัสสนาญาณเห็นแจ้งในวิสุทธิ 5อย่าง คือ ทิฏฐิวิสุทธิ, กังขาวิตรณวิสุทธิ, มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ, ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ และ ญาณทัสสนวิสุทธิ

[the five purifications: purification of view, purification by overcoming doubt, purification by knowledge, and vission of what is the path and is not the path, purification by knowledge and vision of the way, andpurification by knowledge and vision]

อันเป็นคุณภาพของความเป็นอรหันต์ ผู้ได้ชื่อว่า อเสขบุคคล อเสโข หรือ อเสกฺโข

(Asekho, Asekkho one who is no longer a Sekha, one who has nothing to learn, who is perfect in knowledge, an Arahant.)  

จึงเป็นเรื่อง ใหญ่ และมีความสลับซับซ้อน ละเอียดอ่อนมาก จะต้องมีการศึกษาอย่างทั่วถึง ลึกซึ้ง และทะลุไปถึงแก่นธรรมทั้งสิ้นของศาสนาพุทธ และการให้น้ำหนักความสำคัญยิ่งกว่าการศึกษาคันถธุระแบบโลก ๆ ในคณะสงฆ์ ต้องให้เป็นการศึกษานำในคณะสงฆ์ เมื่อปฏิรูปเสร็จลงแล้วผลของการศึกษาจึงจะยิ่งใหญ่ เพราะจะเป็นการนำหิตานุหิตประโยชน์อันยิ่งใหญ่ โดยเหมาะกับกาลสมัยไปสู่ ชาวโลก โดยแท้จริงและหมายถึงโลกได้รับความคิดแบบอย่างวิถีพุทธของระบบการศึกษาของ ศาสนาพุทธอย่างกว้างขวางเป็นประวัติการณ์ 

 

อาตมภาพได้เล็งเห็นปัญหานี้มาก่อนแล้ว จึงได้ออกหนังสือพิมพ์ดี(วิเคราะห์ข่าวในวงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดและสหธรรมิก) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ตลอดมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ ในนามมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร) เป็นรายคาบ จนได้ครบ 28 คาบ 28 เล่มแล้ว ขอท่านวุฒิสมาชิก และสมาชิกรัฐสภา ผู้มีสายตาคม ยาวไกล ภูมิปัญญาแจ่มแจ้ง ได้ติดตาม
อ่านหนังสือพิมพ์ดีทั้ง 28 เล่ม ซึ่งทางผู้จัดทำได้แจกจ่ายสมาชิกรัฐสภาจำนวนหนึ่งมาตั้งแต่ต้นแล้ว


อย่างไรก็ตาม บัดนี้เราได้นำเอาหนังสือพิมพ์ดีทั้ง 28 เล่ม ออกในเวบไซท์ของเราแล้ว สามารถดูได้ทางอินเทอเนต ท่านวุฒิสมาชิกสามารถติดตามอ่านทีเดียว พร้อมกันทั้ง 28 เล่มได้จากเวบไซท์ของเรา คือ www.newworldbelieve.com


ท่านจะได้พบว่า หนังสือพิมพ์ดีทั้ง 28 เล่ม ได้ทำการวิเคราะห์ปัญหา และทั้งข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนาการการคณะสงฆ์และพระพุทธศาสนา ออกไปเป็นสากล อย่างไรไว้ค่อนข้างละเอียดทุกแง่ทุกมุมอยู่แล้ว โปรดอย่าพลาดอ่าน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ใน การร่วมกันแก้ปัญหาการศึกษาคณะสงฆ์ อย่างถูกต้อง ตามพระธรรมวินัย เป้าหมายการศึกษาที่แท้จริงของ ศาสนาพุทธ ต่อไป


ที่สุด ขออนุโมทนา การเอาใจใส่ติดตามปัญหาของคณะสงฆ์และขอให้กำลังใจดำเนิน การตามบทบาทหน้าที่ของวุฒิสมาชิกไปจนกว่าจะประสบความสำเร็จ อาตมภาพจะได้นำสำเนา จดหมายฉบับนี้ลงในหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 29 ซึ่งกำลังจะออกมา เร็ว ๆ นี้ พร้อมทั้ง ออกทางอินเทอเนตด้วย โปรดติดตาม.

                                                                        ขอเจริญพร

พระพยับ ปญญาธโร
อดีตเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ
เลขาธิการมูลนิธิพระเทพวรมุนี (เสน ปญญาวชิโร)
บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ดี
ผู้อำนวยการเวบไซท์
www.newworldbelieve.com

  • ดี29 ก.ย.2546

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 13.   นสพ.ดีรายงานประชาพิจารณ์

ร่างพ.ร.บ.คณะสงฆ์ฉบับใหม่ของสภาผู้แทนราษฏร

 

คณะกรรมการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร เตรียมเสนอร่าง พระราชบัญญัติคณะสงฆ์(ฉบับที่ ...) พ.ศ..... กับ ร่างพระราชบัญญัติอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ........ออกไปทำประชาพิจารณ์ที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย สาขาอุบลราชธานี  ได้รับการสนับสนุนท่วมท้น

 

   บทวิเคราะห์จากบทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 34

สำหรับหน้าบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ดีฉบับนี้ เรามีข่าวที่เพื่อสหธรรมิกควรทราบก็ คือ  เรื่องคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร เตรียมเสนอร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่...) พ.ศ...  โดยควบกับร่างพระราชบัญญัติอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ...

ในขณะเดียวกัน คณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา ก็ได้ทำการประชุมร่างยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ได้มีการประชุมครั้งสุดท้ายของคณะทำงาน ในวันที่ 8 กรกฎาคม  2548  เพื่อฟังข้อวิพากษ์วิจารณ์ก่อนเสนอไปยังรัฐบาลเพื่อให้การสนับสนุนดำเนินการต่อไป 

ทางหนังสือพิมพ์ดี ได้มีข้อเสนอเข้าสู่ที่ประชุมในวันที่ 8 กรกฎาคม 2548นี้  โดยผนวกแนบไปกับข้อเสนอของดร.นันทสาร สีสลับ  ซึ่งเป็นฝ่ายรับผิดชอบในการร่างยุทธศาสตร์ ดังกล่าวนี้โดยตรงด้วย โปรดดู คำวิพากษ์และข้อเสนอแนะร่างยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของคณะกรรมาธิการการศึกษาศิลปะและวัฒนธรรม    วุฒิสภา โดยดร.นันทสาร สีสลับ และ พระพยับ ปัญญาธโร หน้า 10

 
สำหรับประเด็นสำคัญในวันนี้ก็คือ ร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่...) พ.ศ....... กับ ร่างพระราชบัญญัติอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ......ซึ่งคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมสภาผู้แทนราษฎร นำโดย ร.ท. ดร.กุเทพ ใสกระจ่าง ประธานคณะกรรมาธิการฯ และคณะ ได้ทำการร่างขึ้นบนหลักการใหม่  และได้นำไปเปิดการวิพากษ์ ฟังข้อคิดเห็นของหมู่สงฆ์ และชาวพุทธ ณ   มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี ในวันที่ 28 ก.ค.2548 

ซึ่งในการประชุมและสัมมนา ในวันนั้น   ทางคณะกรรมาธิการการศึกษา ศิลปะและวัฒนธรรม  สภาผู้แทนราษฎร ได้อาราธนานิมนต์  พระเดชพระคุณท่าน เจ้าคุณ ดร.พระเทพวรมุนี(วิบูล กลฺยาโณ) เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษไปเป็นองค์ปาฐกนำเรื่อง  และในที่ประชุมมี ท่านเจ้าคุณพระศรีวรเวที รองอธิการบดี มจร.วิทยาเขตอุบลราชธานี  ฝ่ายนัก ปราชญ์ฆราวาสก็มีอาจารย์สุบรรณ จันทบุตร เป็นต้น และพระพยับ ปญฺญาธโร  บก.นสพ.ดี ก็ได้รับนิมนต์ไปร่วมในงานครั้งนี้ด้วย มีพระเถรานุเถระหมู่สงฆ์อุบลราชธานี-ศรีสะเกษและอีสานเข้าร่วมประชุมประมาณ 200 รูป ฆราวาสประมาณ 150 คน


 และโดยหลักการแล้ว  เห็นว่าที่ประชุมสงฆ์ ชาวพุทธในวันนั้น เห็นชอบในหลักการทั้ง 2 ร่าง โดยองค์ปาฐกได้เสนอสำหรับการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาไว้หลายวิธี  นับแต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ  ให้มีบทบัญญัติรับรองว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย และให้มีกระทรวงพระพุทธศาสนาขึ้นดูแลศาสนาพุทธไทยโดยตรง และดูเหมือนว่าที่ประชุมเห็นด้วยและยอมรับเป็นอย่างดีในเรื่องร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์(ฉบับที่...) พ.ศ. .... ที่ประชุมดูจะมีความพอใจ โดยมองว่า  แต่ดั้งเดิมมา การออกกฎหมายเพื่อ การคณะสงฆ์ล้วนแต่ออกโดยรัฏฐาธิปัตย์ คืออำนาจรัฐ มาครั้งนี้ก็เป็นที่น่ายินดี ที่ได้เนื้อหาสาระตรงกับความต้องการของหมู่สงฆ์ด้วย และที่ประชุมสงฆ์ไม่มีปัญหาข้อโต้แย้งแต่อย่างใด

 

ข้อพิจารณา


สำหรับหนังสือพิมพ์ดี เราพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับแล้ว  มีความพอใจ  อย่างไรก็ตาม  ในด้านการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนานั้น  ควรจะมีบทบัญญัติปรามหรือป้องกันลัทธิ พิธีกรรมหรือความเชื่อที่งมงาย ไว้ในมาตราใดมาตราหนึ่งด้วย  เพราะเดิมมาตลอดถึงเวลานี้นั้น  เรามักจะมีข้อกำหนดควบคุมเฉพาะชาวพุทธหรือหมู่สงฆ์ฝ่ายเดียว  เมื่อทำผิดก็เป็นความผิดของประชาชนและหมู่สงฆ์ แต่ลัทธิ พิธีกรรมงมงายหลายอย่าง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งลัทธิทรงเจ้าและพิธีกรรมไสยศาสตร์ต่างๆซึ่งแอบแฝงมาในรูปของวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นและต่างชาติได้มีมากขึ้นในสังคมไทยทุกวันนี้  หากปล่อยให้เป็นไปอยู่ตามปกติอย่างนี้แล้ว ก็เท่ากับไม่อุปถัมภ์ค้ำจุนพระพุทธศาสนา  เพราะปล่อยให้สิ่งที่ผิดธรรมของพระพุทธศาสนาเจริญไปได้ โดยไม่มีการปราบปรามเลย  คนก็จักไหลไปเข้าข้างฝ่ายผิด ฝ่ายงมงายไปหมด เราจึงขอให้คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร, สภาผู้แทนราษฎร,     รัฐสภา หรือรัฐบาล ได้กรุณาพิจารณาเพิ่มเติมไปอีกหนึ่งประเด็นสำคัญด้วย

 

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม


ในเรื่อง  ร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ เรามีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมไป ดังนี้

 


 1.        สายการบังคับบัญชาของมหาคณิสสร ที่มีถึง 7 ระดับ  ค่อนข้างยาวไป  จะไม่สอดคล้องกับมหาสังฆสมาคม  ที่มีเพียง 2 ระดับ  การที่มีระดับยาวเกินไปจะขัดหลักการมหาสังฆสมาคมอยู่ในตัวเอง ที่เน้นความเสมอกันในคุณธรรม ความรู้และวิชาการ มากกว่าจะไปเน้นระบบอำนาจ และ ไม่รับกับการบริหาราชการฝ่ายบ้านเมือง  จึงควรตัดระดับหรือสายการบังคับบัญชาของมหาคณิสสรลงไปอีก  ให้เหลือ น้อยลงไปอีก โดยให้ประสานกับฝ่ายบ้านเมืองได้พอดีกัน     เพื่อลดระดับอำนาจลงมาอีก

 


2.         ควรจะให้ความสำคัญกับงานฝ่ายวิปัสนาธุระอย่างสูงพอ ๆ กับมหาคณิสสร ในที่นี้เราขอเสนอให้เพิ่มเติม โดยอยู่ในสายงานของมหาสังฆสมาคมไปพลาง ๆ ก่อน  และให้มี 2 ระดับคือ ศูนย์วิปัสนาธุระระดับชาติ  กับศูนย์วิปัสนาธุระระดับจังหวัด  โดยมีคณาจารย์ใหญ่วิปัสนาธุระระดับชาติ  กับ  คณาจารย์ วิปัสนาธุระระดับจังหวัด เป็นคณะกรรมการบริหาร 

 

การรับรองความสำคัญของงานฝ่ายวิปัสนาธุระเท่ากับเป็นระบบอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาโดยตรง ที่มีความหมายถึงปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ แห่งพระพุทธธรรมทั้งสิ้น ทำให้เกิดความสมบูรณ์ในการจัดระบบงานทางพระพุทธศาสนา ที่จะอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาได้ตรงประเด็นขึ้น 

 

อย่างไรก็ตาม ในระบบงานวิปัสนากรรมฐานนี้ควรระวังการแบ่งชนชั้นโดยระบบอำนาจให้ดีด้วย


เรามีความหวังว่า ร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ร่างนี้ จักได้รับความเห็นชอบจากหมู่สงฆ์ไทย และรัฐบาลเห็นชอบดำเนินการต่อไป ภายในหลักการนี้

 

  • ดี34 พ.ค.-ก.ย.2548

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 14.             คำวิพากษ์และข้อเสนอแนะ

ร่าง ยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

ของ คณะกรรมาธิการการศึกษา ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา


โดย   ดร.นันทสาร สีสลับ  

พระพยับ ปัญญาธโร



ร่างแผนยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนา 
โดย  คณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา


คำวิพากษ์และข้อเสนอแนะร่างยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ของ     คณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา

โดย       ดร.นันทสาร สีสลับ
-ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการศาสนาและวัฒนธรรมวุฒิสภา
-ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก
-อดีตเลขาธิการองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
-อดีตรองอธิการบดี และรักษาการณ์อธิการบดี มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก


 

 

1.        ความนำ
 


ประเทศไทยได้รับการยอมรับให้เป็นผู้นำและศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาของโลก โดยมี   พุทธมณฑลเป็นที่ตั้งศูนย์อำนวยการการเผยแผ่และแลกเปลี่ยนทางพระพุทธศาสนาของโลก ตามมติ  ที่ประชุมนานาชาติ ว่าด้วยวันวิสาขบูชาสากลประจำปี 2548 ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ ศาลา สันติธรรมกรุงเทพมหานคร
 


การที่คณะกรรมาธิการ การศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมวุฒิสภา ได้ริเริ่มจัดทำแผน   ยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ซึ่ง เป็นศาสนาประจำชาติ จึงนับว่าทันกาลและเหมาะสมกับสถานการณ์ของไทยและของโลกในปัจจุบัน  และอนาคตเป็นอย่างยิ่ง
 


ผมได้รับการมอบหมายจากคณะกรรมาธิการ การศึกษา ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมวุฒิสภา ให้วิพากษ์เนื้อหาสาระสำคัญของแผนยุทธศาสตร์ฯ หมวดที่ ว่าด้วยบทนำเกี่ยวกับความเป็นมาของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย และความสำคัญและการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในประเทศไทย และหมวดที่ ว่าด้วย การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ปัญหา และอุปสรรคในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในการนำเสนอแบบองค์รวมที่ครอบคลุมไปถึงองค์ประกอบทั้ง หมดของยุทธศาสตร์ฯ จึงได้จัดทำเป็นเอกสาร คำวิพากษ์และข้อเสนอแนะ แผนยุทธศาสตร์ เพื่อ    ประกอบการพิจารณาของที่ประชุมสัมมนา และเพื่อประหยัดเวลาในการนำเสนอในส่วนที่เกี่ยวกับหมวดที่ 1 และหมวดที่ 2 ตามที่ได้รับมอบหมายด้วย
 


เป็นที่ยอมรับว่า แผนยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาฉบับนี้ ได้สะท้อนถึงองค์ความรู้  ทางพระพุทธศาสนาที่สมบูรณ์ค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นผลพวงจากการยกร่างโดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิของ   คณะกรรมาธิการฯวุฒิสภา และได้รับการปรับปรุงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยคณะอนุกรรมาธิการศาสนา   และวัฒนธรรมวุฒิสภามาตามลำดับ  ต่อจากนั้นจึงได้มีการจัดประชาพิจารณ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งฝ่าย  สงฆ์และฝ่ายฆราวาส ก่อนที่จะถูกนำเสนอต่อที่ประชุมสัมมนาในวันที่ 8 กรกฎาคม 2548         พุทธมณฑล ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาของโลกในวันนี้


กล่าวโดยสรุปถือได้ว่า ร่างแผนยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ฉบับนี้ ค่อนข้างจะสมบูรณ์แล้ว แต่เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์มากที่สุดและเพื่อการมีส่วนร่วมจากผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค  จึงได้จัดประชุมสัมมนาในเชิงประชาพิจารณ์อีกครั้ง หนึ่ง เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ตกผลึกไปบูรณาการในแผนยุทธศาสตร์ฯก่อนจัดพิมพ์เผยแผ่และนำเสนอรัฐบาลพร้อมองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปใช้เป็นกรอบและทิศทางในการเผยแผ่และแลกเปลี่ยนทางพระพุทธศาสนาทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกต่อไป


เป็นที่ยอมรับว่านับแต่เกิดเหตุการณ์โศกนาฏกรรม 11 กันยายน (NINE ELEVEN) ที่ตึก     เวิรลเทรด ที่กรุงนิวยอร์ค  สหรัฐอเมริกา  ถูกผู้ก่อการร้ายถล่มและมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนพัน รวมทั้งคนไทยด้วย สถานการณ์ของโลกทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการศาสนา ได้เปลี่ยนไป  โดยสิ้นเชิง ผู้นำของโลกตกอยู่ในสภาพมึนงงและได้ร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์ในการแก้วิกฤตและฟื้นฟูสถานการณ์ให้กลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็ว  โดยเน้นนโยบายปราบปรามผู้ก่อการร้ายเป็นสำคัญ และ  ได้ใช้หลักอิทัปปจยตา เป็นฐานวิเคราะห์สถานการณ์ของโลกว่า บุคคลและสังคมตั้งแต่ระดับรากหญ้า  จนถึงระดับโลกจะต้องอาศัยและพึ่งพาซึ่งกันและกัน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม  และการเมือง โดยถือว่า โลกนี้เป็นหมู่บ้านเดียวกัน (Global Village) ภายใต้ยุคโลกาภิวัฒน์ (สังคมข้อมูลข่าวสาร) เมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งมีผลกระทบย่อมส่งผลกระทบไปทั่วโลก  ดังเช่น  การปรับขึ้นราคาน้ำมันโลกในปัจจุบัน  

 

ดังนั้น ทั่วโลกทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรศาสนา จึงต้องปรับยุทธศาสตร์ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับวิถีชีวิต วิถีคิด และวิถีการเรียนรู้ใหม่  จึงจะก้าวทันโลก และอยู่ร่วมกับผู้อื่น(เพื่อนร่วมโลก)ได้อย่างมี    ความสุข และเอื้ออาทรซึ่งกันและกันฉันญาติ ตามหลักพรหมวิหารธรรม ซึ่งก็สอดคล้องกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง
 


ดังนั้น  ยุทธศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จึงควรจะได้เน้นถึงการนำธรรมะสู่สังคมไทยและสังคมโลก  ทั้งในลักษณะเชิงรุก(การเผยแผ่) และเชิงรับ(การแลกเปลี่ยน) จึงจะทำให้บุคคลและ  สังคมเกิดการเรียนรู้หลักพุทธธรรมทั้งในด้านปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ  ซึ่งเป็ฯขั้นตอนสำคัญใน     หลักการจัดการศึกษาทางพระพุทธศาสนา เรียกว่า ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา 

 

ทั้งนี้โดย   คำนึงยุทธศาสตร์ด้านเนื้อหาของธรรมะ(ข้อ 2) ที่จะนำมาถ่ายทอดและเผยแผ่  ตามที่ปรากฎใน  ภาคผนวกแบบแสดงความคิดเห็นแนบท้าย ซึ่ง พระพยับ ปญญาธโร   เลขาธิการมูลนิธิพระเทพวรมุนี   (เสน ปญฺญาวชิโร)  วัดมหาพุทธาราม จังหวัดศรีสะเกษ  และ ผู้ทรงคุณวุฒิเครือข่ายมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก เป็นผู้นำเสนอ  เพราะจะทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ตามยุทธศาสตร์ ได้อย่างเป็นรูปธรรม  จึงได้นำเสนอเป็นส่วนหนึ่งของคำวิพากษ์และข้อเสนอแนะด้วย


 


2.         คำวิพากษ์และข้อเสนอแนะ 
 


เนื้อหาสาระในหมวดที่ 1  บทนำ  

 

มีเนื้อหาสาระจำกัดอยู่เฉพาะในประเทศไทย  ซึ่งความจริง สถานการณ์ของโลกใน  ปัจจุบัน ได้เปลี่ยนปรับไปสู่ความเป็นหมู่บ้านโลกเดียวกัน (Global Village)  ดังกล่าวแล้ว จึงควรปรับ เพิ่มหัวข้อดังนี้
 


1.         ปรับหัวข้อที่ 1 จากความเป็นมาของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย เป็นความเป็นมาองพระพุทธศาสนา เพื่อให้มองเห็นภาพเชิงองค์รวม โดยมีหัวข้อดังนี้


 1.1       ความเป็นมาของพระพุทธศาสนาในโลก 
อาจลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยเฉพาะกุศโลบายในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ พระพุทธองค์ประทานแก่พระสาวก 60 รูปก่อนออกเดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนาและควรยึดเป็น   แผนแม่บทหรือ Road Map ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของไทยและของโลกในปัจจุบัน โดยนำทั้ง ภาษาบาลีและคำแปลมาจารึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ดังนี้ 


 "จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย อตฺถาย หิตาย สุขาย
เทวมนุสฺสานํ เทเสถ ภิกฺขเว ธมฺมํ อาทิกลฺยานํ มชฺเชกลฺยานํ ปริโยสานกลฺยานํ สวตฺถํ สพยญฺชนํ      เกวลปริปุณฺณํ ปริสุทฺธํ พรฺหมฺจริยํ ปกาเสถ"
 


"ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่คนหมู่มาก  เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลกเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย"
 


"ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น(ศีล) งามในท่ามกลาง(สมาธิ)    งามในที่สุด(ปัญญา) จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ และพยัญชนะอันบริสุทธิ์บริบูรณ์ โดยสิ้นเชิงเถิด"
 


จากพุทธกุศโลบายข้างต้น  จะทำให้หน่วยงาน    และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการเผยแผ่พระพระพุทธศาสนา ให้คำนึงถึงศาสนบุคคล ที่จะทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาต้องมีคุณสมบัติสมบูรณ์และมีความรู้พระไตรปิฎกอย่างแตกฉานทั้งอรรถและพยัญชนะ ดังนั้น พระพุทธองค์จึงได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายเพื่อการเผยแผ่ไว้โดยเฉพาะ จึงได้เลือกพระสาวกซึ่งล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังได้กำหนดเป้าหมายในการเผยแผ่ได้อย่างชัดเจนอีกด้วย
 


ต่อจากนั้น จึงลำดับความเป็นมาถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช การแบ่งพระพุทธศาสนาโดยแบ่งเป็น 9 สายไปสู่ดินแดนต่าง ๆ ทั่วโลกในปัจจุบัน ผลจากความพยายามของชาวพุทธไทยและพุทธโลก ได้มีผลให้สหประชาชาติได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา และชาวโลกได้มอบให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาของโลกตามมติที่ประชุมนานาชาติเนื่องในวันวิสาขบูชาสากลปี 2448
 


                        1.2        ความเป็นมาของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย 

โดยมีเนื้อหาสาระตามต้นฉบับร่างโดยอาจเติมข้อความในหน้า15 ในหัวข้อสมัยรัชกาลที่ 9 ว่าปี พ.ศ.2548 ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากชาวโลกให้เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก โดยมีพุทธมณฑลเป็นศูนย์อำนวยการเผยแผ่และแลกเปลี่ยนทางพระพุทธศาสนาของโลกตามอุดมการณ์วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลกและสหประชาชาติ
 


เนื้อหาสาระในหมวดที่ 2
 


ปัจจับด้านวัตกรรมเทคโนโลยี ตามที่ปรากฎในหน้า 29 ข้อ 1 ปัจจัยที่เป็นโอกาสให้เอื้อต่อ  การเผยแผ่ ควรจะเพิ่มคำว่า พุทโธโลยี ลำดับไว้วรรคท้าย เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจผู้ใช้เทคโนโลยี ไม่ให้ เป็นไปเพื่อสนองกิเลสของตนเป็นส่วนใหญ่อย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบัน  พุทโธโลยี เป็นการใช้เทคโนโลยี   เผยแผ่หลักธรรมะสำหรับการปฏิบัติ เพื่อให้สังคมโดยรวมดีขึ้นและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ไม่แก่งแย่งกัน ไม่เบียดเบียนกันจนเกิดกลียุค หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม กล่าวว่า พุทโธโลยี เป็น ปัญญาภายใน ใช้สำรวจความถูกต้องของตนเองและสังคมบนพื้นฐานแห่งธรรม 

 

ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัย  พระพุทธศาสนาแห่งโลก กำลังริเริ่มโครงการพัฒนาศูนย์     พุทโธโลยี เพื่อการศึกษาและปฏิบัติธรรม ซึ่ง จะขยายผลงานพุทโธโลยีให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลกต่อไป
 


กล่าวโดยสรุป  การใช้สื่ออีเลคโทรนิค ในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ รวมทั้งข้อมูลข่าวสาร ควรใช้    เทคโนโลยีในมิติของทางโลก และพุทโธโลยี ในมิติของทางธรรมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มิฉะนั้นความเป็นอกาลิโกของพุทธธรรมจะขาดความทันสมัย โดยที่ชาวพุทธมิได้สำเหนียกเท่าที่ควรในเรื่องนี้   ส่วนปัจจัยที่กล่าวถึงด้านอื่น ๆ ในหมวดนี้ นับว่าเหมาะสม
 


            เนื้อหาสาระในหมวดที่ 3 


ที่ว่าด้วยวิสัยทัศน์ พุทธกิจ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์  เห็นควรเพิ่มพันธกิจและยุทธศาสตร์  เป็น 9 พันธกิจ หน้า 50 และยุทธศาสตร์ หน้า 54 โดยมีข้อความดังนี้
 


                        พันธกิจที่ 9 (หน้า 50) พัฒนาพุทโธโลยีเพื่อการศึกษาให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม
                        ยุทธศาสตร์ที่ 9 (หน้า 54) พัฒนาพุทโธโลยีเพื่อการศึกษาให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม
 

มีมาตรการดังนี้ 


มาตรการที่ 9.1  มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก ร่วมกับสถาบันเครือข่ายและ    นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาและการศึกษา ทั้งในและต่างประเทศ ระดมความคิด เพื่อพัฒนาพุทโธโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย 


มาตรการที่ 9.2  มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลกร่วมกับหน่วยงานและองค์การที่เกี่ยวข้อง คัดสรรนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาเพื่อทำหน้าที่พระธรรมทูต ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  ผ่านกระบวนการพุทโธโลยีเพื่อการศึกษา โดยยึดหลักไตรสิกขา ทั้งในด้านปริยัติ  ปฏิบัติ  และปฏิเวธ
 


มาตรการที่ 9.3 จัดตั้งศูนย์พุทโธโลยีเพื่อการศึกษาและปฏิบัติธรรมตามวัดต่าง ๆ และ       เครือข่ายองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกและยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก รวมทั้งมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก เพื่อถ่ายทอดพุทธธรรมตามอุดมการณ์พุทโธโลยี
 


มาตรการที่ 9.4   ตั้งกองทุนพุทโธโลยี เพื่อการศึกษาและปฏิบัติธรรมด้วยความร่วมมือของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

 

การที่ได้กำหนดให้มีพันธกิจ และยุทธศาสตร์ 9 ข้อ ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา นอกจาก จะสอดคล้องกับอุดมการณ์แบ่งสายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาออกเป็น 9 สายในสมัยอโศกมหาราช  แล้วยังสอดคล้องกับค่านิยมและความเชื่อของคนไทยและสังคมไทยโดยรวมอีกด้วย

 

  • ดร.นันทสาร สีสลับ


 

 

 

ภาคผนวกแบบแสดงความคิดเห็นแนบท้าย

โดย พระพยับ ปญฺญาธโร

 

ผนวกแบบแสดงความคิดเห็นจากการประชุมเสวนา
แผนยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ของคณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา



ความนำ 

 

คณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา   ได้จัดให้มีการ    ประชุมเสวนาพิจารณา "ร่างแผนยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนา"   หลายครั้ง 

 

โดยมีเป้าหมายให้ ผู้ทรงคุณวุฒิ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ประชาชน จำนวน  150 คน   ร่วมสัมมนาวิพากษ์แผนยุทธศาสตร์ที่ปรับปรุงแล้วอีกครั้งในวันที่ 8 กรกฎาคม 2548

 

ต่อไปนี้เป็นส่วนผนวกความคิดเห็น ที่เพิ่มเติมไปพิเศษจากแบบแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ ของคณะกรรมาธิการ ฯ  เนื่องจากได้พิจารณายุทธศาสตร์ทั้ง 8 ข้อแล้วเห็นว่ายังไม่ครอบคลุม เนื่องจากขาดเนื้อหาสาระบางประเด็น จึงขอเสนอแนะเพิ่มเติม คือ

 


1.    ยุทธศาสตร์การสื่อสารยุคใหม่

 


1.1        โทรทัศน์   ควรเปิดช่องโทรทัศน์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาขึ้นมาเป็นการเฉพาะ 1-3 ช่อง       เพื่อให้การเผยแผ่ต่อเนื่องไม่ขาดระยะ และควรเป็นการสื่อสารไปทั่วโลก ผ่านดาวเทียมสื่อสารที่มีทั้ง  หมดในโลก  การสื่อทางโทรทัศน์ค่อนข้างมีอิทธิพลต่อกลุ่มเป้าหมาย เพราะง่าย ไม่สลับซับซ้อน       ผู้ชม สามารถรับชมได้ง่ายและความคมชัด ขนาดจอกว้างขวางไม่จำกัด  จะทำให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทันสถานการณ์  

 


1.2        อินเทอเนต   อินเทอเนตสามารถไปทั่วโลกก็จริง  แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม เพราะการเข้าสู่        อินเทอเนต มีข้อจำกัดแตกต่างกันไป  มักล่าช้าไม่ทันใจ  การลงทุนของผู้ชมทั่วไปค่อนข้างแพง  ถ้า   เรื่องราวไม่เป็นที่สนใจ อินเทอเนตก็แทบว่าไร้ค่า เพราะไม่มีคนดู  แต่อินเทอเนตสามารถทำได้ใน      ลักษณะวิชาการ และเข้าถึงกลุ่มปัญญาชนในวงกว้าง และเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปไม่จำกัดเข้าชมได้   อินเทอเนตจะมีอิทธิพลต่อผู้ชมที่มีฐานะ ตำแหน่งทางสังคมระดับสูงเป็นลูกค้าประจำขึ้นมา 

 


1.3        เอกสาร ควรจัดทำให้หลายหลาก  เพื่อให้เกิดความน่าอ่าน  น่าเลื่อมใสในเนื้อหาที่ปรากฎในเอกสาร     นั้น  และรวมไปถึงแนวคิดใหม่ ๆ ในการจัดทำเอกสารสมัยใหม่  เช่นการ์ตูน  แต่ควรระวังให้   เป็นการ์ตูนที่ประณีต และต้องแสดงหลักธรรมที่ถูกต้องเสมอไป

 


1.4        ภาพยนตร์  ควรลงทุนหรือสนับสนุนเอกชนสร้างภาพยนต์หลายประเภท  เช่นภาพยนต์นิทานธรรมะ     ภาพยนต์ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาที่น่าสนใจ  เช่นอโศกมหาราช ที่อินเดียสร้างขึ้นและเผยแผ่ไป     ทั่วโลก เป็นต้น  รวมถึงภาพยนต์สารคดีการท่องเที่ยวไปในแดนพระพุทธศาสนาทั่วโลก  เช่นเรื่อง        ตามรอยพระพุทธเจ้า (ที่ออกทุกวันอังคารช่อง 9 เวลา 2030 น. ตั้งแต่ 7 มิ.ย.2548) และควรสร้าง     ภาพยนต์การ์ตูน เพราะการ์ตูนสามารถสะท้อนนามธรรมได้ไม่จำกัด  และเป็นที่นิยมสูง  และในกรณี     ที่ขาดแคลนนักแสดงผู้มีความสามารถสูง เราก็ใช้ฝีมือการ์ตูนมาแทดแทนได้ และประเทศไทยก็มี          นักเขียนการ์ตูนที่มีฝีมือสูงอยู่มาก

 


1.5        การแสดงหรือละครธรรมะ เช่นละครของภัทราวดีเธียร์เตอร์ เป็นต้น (ของภัทราวดี มีชูธน)  ในมหาวิทยาลัยหรือสถานศึกษา ควรส่งเสริมให้มีการแสดงละครธรรมะ เป็นการฝึกหัดในสาขากิจกรรมเวทีทั่ว ๆ ไป

 


1.6        อื่น ๆ  ที่มีประสิทธิภาพ  เช่นวิทยุ  ควรเลือกพิจารณาใช้โดยมองที่ความเหมาะสม แก่สถานที่           บุคคล และกาลเวลา

 

 


2.         ยุทธศาสตร์ด้านเนื้อหาของธรรมะ


ควรนำหัวข้อธรรมะที่สามารถอธิบายเนื่องกันไปในขณะเดียวกันตลอด 3 ระดับ คือ ระดับปริยัติ  ปฏิบัติ  และปฏิเวธ   ได้แก่

 


2.1        อริยสัจ 4   คือ  ทุกข์    สมุทัย   นิโรธ   มรรค


2.2        อริยสัจ ในรูป ไตรสิกขา   คือ  ศีล  สมาธิ  ปัญญา

 


2.3        โอวาทปาฏิโมกข์

 


2.4        โพชฌงค์ 7   สามารถอธิบายในความหมายเดียวกันกับ อริยสัจและ             ไตรสิกขาได้ คือ


สติ + ธัมมวิจัย              เป็นปัญญาสิกขา 

วิริยะ + สมาธิ               เป็นสมาธิสิกขา 

ปิติ +  ปัสสัทธิ  + อุเบกขา  เป็น ทั้งศีลสิกขา   ฌาน และ ปัญญาสิกขา (มีข้อเน้นคือ ฌาน)

 


2.5   หลักธรรมข้อที่เป็นสากลทั้งฝ่ายสงฆ์ นักบวช  และฆราวาส ผู้หวังมรรคผลนิพพาน ต้องปฏิบัติพอ ๆ กัน  คือ  มงคล 38  ทิศ อบายมุข ฯลฯ

 


2.6   สัปปุริสธรรม 7   ขาดไม่ได้

 


2.7   เนื้อหาของธรรมะ ควรนำมาอธิบายแบบสัมพันธ์ หรือประยุกต์กับสถานการณ์ทางสังคมโลกที่  เป็นอยู่ในขณะเผยแผ่นั้น   นั่นคือ วิเคราะห์สถานการณ์ทางโลกโดยมีหลักพระพุทธศาสนา เป็นบรรทัดฐานอ้างอิง  เพื่อให้เห็นว่าหลักธรรมของพระพุทธศาสนาเป็นสัจธรรมทั้งโลกธรรมและโลกุตตรธรรมอย่างไร  ทางออก หรือทางแก้ปัญหา เพื่อพ้นทุกข์ตามหลักพระพุทธศาสนาอย่างไรต้องชัดเจนมีเหตุผลทันสมัย

 


 
           3.         ยุทธศาสตร์ด้านบุคคลากร  


โดยหลักเดิมแล้ว การเผยแผ่เป็นหน้าที่ของพระอรหันตบุคคล  ถ้าไม่มีพระอรหันตบุคคลจึงเป็นหน้าที่ ของพระอริยบุคคลระดับรอง ๆ ลงมา คือพระอนาคามี  พระสกิทาคามี และ พระโสดาบัน  ในยุคปัจจุบันควรมองที่คุณสมบัติของนักเผยแผ่  ทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาส  ดังนี้

 


3.1        ต้องมีวุฒิภาวะ  ระวังว่า สอนคนอื่นอย่างไร  ตนก็ต้องปฏิบัติตามอย่างนั้นด้วย

 


3.2        ควรปรับเปลี่ยนวิธีการให้ทันสมัย  เช่นจากการเทศน์  มาเป็น  สนทนา  (หรือ จาก Preach   มาเป็น Dialoque)  บ้าง (ตามกาละเทศะ เหตุผล บุคคล เวลา) 

 

ในระยะยาวข้างหน้า  ควร    ฝึกใช้วิธีสนทนา(Dialoque)นี้ เป็นหลัก  จึงจะทันสมัยทันยุค

 


3.3        บุคคลิกภาพของนักเผยแผ่ควรเป็นประชาธิปไตย  และมีสำนึกเป็นประชาธิปไตย  ไม่ใช่เอาสำนึกเชิงอำนาจไปเผยแผ่ (หมายความว่าอย่าไปบังคับให้เขาเชื่อเรา)

 


3.4        เผยแผ่อย่างจริงใจ หวังประโยชน์แท้จริงแด่ผู้ฟัง โดยให้เข้าใจสาระหรือหลักวิชาอันบริสุทธิ์


 

ให้คนได้สัมผัสว่างานของนักเผยแผ่เป็นประโยชน์แก่คนทั้งหลายโดยส่วนเดียวล้วน ๆ

 


3.5        มีความมั่นใจ เชี่ยวชาญในการโต้แย้งกับคนต่างลัทธิ   ใฝ่ศึกษาให้เข้าใจลัทธิศาสนาอื่น เห็นจุดอ่อนและจุดแข็งของลัทธิอื่น  และเห็นจุดเข้มแข็งของศาสนาพุทธ ที่เป็นอริยสัจธรรมเชิงวิทยาศาสตร์อย่างไร  เข้าใจวิทยาศาสตร์ และ  ไม่ใช่วิทยาศาสตร์

 


3.6        นักเผยแผ่ ควรเผยแผ่ด้วยการพาปฏิบัติได้ด้วย  สอนอย่างไร  พาปฏิบัติอย่างนั้น และควรนำงานท่องเที่ยวทัศนาจรเชิงธรรมะเข้ามาร่วมกับงานเผยแผ่  เช่นพาปฏิบัติสมาธิ  พาเดินป่า    พาปฏิบัติธุดงค์  พาเดินทางไปต่างประเทศ โดยเฉพาะเนปาล และอินเดีย  แดนสังเวชนีย      สถานทั้งสี่ที่เกี่ยวข้องกับองค์พระบรมศาสดา โดยตรง  หรือพาชาวต่างประเทศมาเที่ยวเมืองไทย โดยพาไปวัดที่มีความศรัทธานิยมสูงทางธรรมะ  ฯลฯ

 


3.7  มีความคล่องตัวในการใช้เครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ  การใช้ภาษา ควรเพิ่มภาษาสากลคือภาษาอังกฤษ  นักเผยแผ่ผู้มองกาลไกลจำเป็นต้องริเริ่มนำภาษาเผยแผ่เป็นภาษาต่างประเทศมาใช้ฝึกฝนตนเองอย่างขาดไม่ได้ 

 


4.    ยุทธศาสตร์การสนับสนุนด้านการเงินและการคลัง
ต้องให้เพียงพอ โดยให้พอ ๆ กับการสนับสนุนด้านการสาธารณูปการ มีแหล่งเงินทุนหลายหลาก 

 

มีการเน้นข่าวสารข้อมูลที่ทำความเข้าใจในความสำคัญของงานการเผยแผ่ลงไปสู่ชาวพุทธอย่างทั่วถึง 

 

ในขณะที่ชาวพุทธยังไม่ค่อยให้การสนับสนุนด้านการเผยแผ่นี้  ควรมีรัฐบาลเป็นแหล่งสนับสนุนที่มั่นคง

 

 

 

บทสรุป            ยุทธศาสตร์ 4 ประการคือการสื่อสารที่ยอดเยี่ยม  หลักธรรมที่ยอดเยี่ยม  บุคคลากรที่ยอดเยี่ยม  และการสนับสนุนที่ยอดเยี่ยม  จะช่วยให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาครบถ้วนสมบูรณ์ มี  ประสิทธิภาพเต็มที่

 

 

 


ลงชื่อ
(พระพยับ ปญญาธโร) 
เลขาธิการมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญญาวชิโร)
วัดมหาพุทธาราม  อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
โทร.  045 622455
หนังสือพิมพ์ดี(อินเทอเนต) : 
www.newworldbelieve.com


รายละเอียดอื่น ๆ โปรดติดตามในภาคผนวกแนบท้าย

 

  • ดี34 พ.ค.-ก.ย.2548  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 15.    บทวิเคราะห์ร่างพ.ร.บ.คณะสงฆ์ไทย2ฉบับล่าสุดของสภาผู้แทนราษฎร

ร่างพระราชบัญญัติอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ. ....

ร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์(ฉบับที่....) พ.ศ. ....

 

โดย  คณะกรรมการการศึกษา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร

ซึ่งเป็นร่างพรบ.เกี่ยวกับการคณะสงฆ์ ฉบับสุดท้าย

ก่อนที่รัฐบาลทักษิณ จะถูกยึดอำนาจ เมื่อ 19 ก.ย. 2549

 

 

 

 

 

บทวิเคราะห์

ร่างพระราชบัญญัติอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ......

 

1.         กำหนดให้มี คณะกรรมการพระพุทธศาสนาแห่งชาติ  ตามมาตรา  8 

ซึ่งกำหนดให้นายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน

2.         กำหนดให้มีสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ  ตามมาตรา 10

                        ซึ่งกำหนดให้มีเลขาธิการเป็นหัวหน้าสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

3.        ให้มีกองทุนพระพุทธศาสนาแห่งชาติ  ตามมาตรา 12  และกำหนดที่มาของกองทุนจากแหล่งเงินทุน  5      รายการ ตามมาตรา 13  มี 

3.1     เงินอุดหนุนจากรัฐบาล 

3.2     ศาสนสมบัติกลาง

3.3     เงินหรือทรัพย์สินที่วัด หรือผู้มีจิตศรัทธาบริจาค

3.4     ดอกผลของกองทุน

3.5     เงินหรือทรัพย์สินที่เกิดจากการบริหารกองทุน

4.        ให้มีคณะกรรมการกองทุนพระพุทธศาสนาแห่งชาติ  ตามมาตรา 14 

4.1        มีพระภิกษุซึ่งเป็นผู้แทนคณะสงฆ์จำนวนสามรูปเป็นที่ปรึกษา

4.2        มีเลขาธิการสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นประธาน

4.3     มีกรรมการมาจากกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ ธนาคารแห่งประเทศไทย ฯลฯ

5.        ให้มีสำนักงานกองทุนพระพุทธศาสนาแห่งชาติ  ตามมาตรา 16 โดยมี

5.1       เลขาธิการสำนักงานกองทุนพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นผู้กำกับดูแล

5.2        ผู้จัดการกองทุนสำนักงานกองทุนพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นผู้บังคับบัญชาบุคคลากรของสำนักงานกองทุน

 

ข้อสังเกต            การออกพระราชบัญญัตินี้ นับว่าเป็นการตรงความต้องการของพุทธบริษัท   นับว่ามีความจำเป็นอยู่แล้ว  ควรรีบเร่งออกโดยเร็ว

 

ข้อพิจารณา        สำหรับหนังสือพิมพ์ดี เราพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับแล้ว  มีความ  พอใจ 

อย่างไรก็ตาม  ในด้านการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนานั้น  ควรจะมีบทบัญญัติปรามหรือป้องกันลัทธิ พิธีกรรมหรือความเชื่อที่งมงาย ไว้ในมาตราใดมาตราหนึ่งด้วย  เพราะเดิมมาตลอดถึงเวลานี้นั้น  เรามักจะมีข้อกำหนดควบคุมเฉพาะชาวพุทธหรือหมู่สงฆ์ฝ่ายเดียว  เมื่อทำผิดก็เป็นความผิดของประชาชนและหมู่สงฆ์ แต่ลัทธิ พิธีกรรมงมงายหลายอย่าง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งลัทธิทรงเจ้าและพิธีกรรมไสยศาสตร์ต่างๆซึ่งแอบแฝงมาในรูปของวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นและต่างชาติได้มีมากขึ้นในสังคมไทยทุกวันนี้  หากปล่อยให้เป็นไปอยู่ตามปกติอย่างนี้แล้ว ก็เท่ากับไม่อุปถัมภ์ค้ำจุนพระพุทธศาสนา  เพราะปล่อยให้สิ่งที่ผิดธรรมของพระพุทธศาสนาเจริญไปได้ โดยไม่มีการปราบปรามเลย  คนก็จักไหลไปเข้าข้างฝ่ายผิด ฝ่ายงมงายไปหมด เราจึงขอให้คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร, สภาผู้แทนราษฎร,     รัฐสภา หรือรัฐบาล ได้กรุณาพิจารณาเพิ่มเติมไปอีกหนึ่งประเด็นสำคัญด้วย

 

 

 

 

         วิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์(ฉบับที่...)  พ.ศ. .....

 

1.        กำหนดโครงสร้างการปกครองของคณะสงฆ์

1.1        ให้มีสมเด็จพระสังฆราช  

1.2        ให้มีมหาเถรสมาคม   

1.3        ให้มีมหาสังฆสมาคม 

1.3.1     สังฆสมาคมจังหวัด

1.4        ให้มีมหาคณิสสร

1.4.1     มี ภาค  จังหวัด  อำเภอ  และ วัด (ไม่มีตำบล)

                               1.5        ให้มีมหาวินัยธร 

                                                       1.5.1     วินัยธรจังหวัด

1.6        ให้มีกองงานหลักหรือสำนักงานเลขาธิการกลางเพื่อบริหารจัดการเรื่องราวของคณะสงฆ์ตาม   นโยบาย คำสั่งหรือ แผนงานของคณะสงฆ์ ได้แก่ 

1.6.1   คณะกรรมการพระพุทธศาสนาแห่งชาติ  

 1.6.2   สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ  และ

 1.6.3   กองทุนพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

 

2.                  การบริหารงานวัด มีหลักการตามมาตรา 40

“มาตรา 40          การบริหารวัดให้จัดในรูปคณะกรรมการ ต้องเป็นไปตามพระธรรมวินัย มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้ตามวิธีการที่กำหนดในสังฆาณัติ โดยคำนึงถึงการสร้างบริเวณวัดให้เป็นรมณียสถาน”

 

3.                  การบรรพชาอุปสมบท

 

4.                  อื่น ๆ

 

 

 

ข้อพิจารณา

 

            1.         เดิมก่อนที่จะมีการร่างกฎหมาย 2 ฉบับนี้  มีร่างที่เคยผ่านการพิจารณามาแล้ว

            3  ฉบับ  คือ

 

1.1        ร่างพระราชบัญญัติอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ. ....ร่างของระทรวงศึกษาธิการ

1.2        ร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์(ฉบับที่....)พ.ศ. ...ร่างของกระทรวงศึกษาธิการ

                        1.3        ร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์(ฉบับที่....) พ.ศ. ....ร่างของมหาเถรสมาคม 

 

ซึ่งทั้ง 3 ร่างนี้ได้มีการทำประชาพิจารณ์ และได้บทสรุปว่ายังไม่เหมาะสม  จึงยังไม่ถึงขั้นเสนอเข้าสภาผู้แทนราษฎร  รอคอยการปรับปรุงให้เหมาะสมต่อมา  ตราบคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร มี ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง เป็นประธานคณะกรรมาธิการ  ได้นำมาปรับปรุงใหม่  เป็นครั้งล่าสุด และมีหลักการเปลี่ยนไปจากของกระทรวงศึกษาธิการอย่างสำคัญ  ครั้นเมื่อได้ร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับแล้วก็เริ่มนำออกให้มีการประชาพิจารณ์  โดยได้นำสู่การประชาพิจารณ์ของหมู่สงฆ์และประชาชนครั้งแรก ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย  วิทยาเขตอุบลราชธานี

 

ตามที่เรา หนังสือพิมพ์ดีได้รายงานข่าวในหน้าบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ดีฉบับที่ 34 พร้อมคำวิจารณ์ของเรา ไปแล้ว และยังรอผลการปรับปรุงอยู่ตราบในที่สุดเกิดการปฏิวัติรัฐบาลทักษิณเสียก่อน ทำให้น่าเสียดายที่ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการคณะสงฆ์ทั้ง 2 ฉบับใหม่นี้ไม่ทันเข้าสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาอนุมัติออกมาเป็นกฎหมาย  

 

2.         ผู้ร่าง  คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร  นำโดย ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง ประธานคณะกรรมาธิการฯ  โดยนำเอา ร่างพระราชบัญญัติเดิมของกระทรวงศึกษาธิการ ชื่อเดิมทั้ง 2 ฉบับ มาปรับปรุงแก้ไขใหม่  โดยแก้โครงสร้างระบบอำนาจในร่างเดิม และเพิ่มระบบคุณธรรมเข้าไปอีก(ดูบทวิเคราะห์ใน นสพ.ดี เล่ม 34 และดูบทวิเคราะห์ในเวบไซท์  https://www.newworldbelieve.net)

 

3.         สำหรับหนังสือพิมพ์ดี เราพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับแล้ว  มีความพอใจ  และเห็นว่าร่างทั้ง 2 ฉบับนี้ตรงกับความต้องการของหมู่สงฆ์และตรงเป้าหมายของพระธรรมวินัยอยู่ส่วนหนึ่งแล้ว มีประเด็นสำคัญที่ทำให้เกิดความหมายประชาธิปไตยในหมู่สงฆ์ก็คือ  การกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้าสู่ตำแหน่ง ทั้งในระดับมหาเถรสมาคม มหาคณิสสร  มหาสังฆสมาคม  และมหาวินัยTi  มีเหตุมีผลสอดคล้องทันยุคสมัยนอกจากนั้น เมื่อมองจากกรอบความคิดของการออกร่าง พรบ.ใหม่นี้  เห็นว่า  เจตนาของการออกพรบ.ทั้ง 2 ฉบับนี้  ตามกรอบความคิดหลักของคณะกรรมการฯ มีไว้ดีนับว่าตรงหลักการพระพุทธศาสนา ตรงหลักธรรม  มีจุดมุ่งหมายตรง ที่อาจเอื้อให้การนำหมู่สงฆ์ไปสู่โลกุตตระมรรค ผลนิพพาน  ตามเป้าหมายของพระพุทธศาสนา  ควรดำรงกรอบความคิดนี้ไว้ตลอดไป  ได้แก่

“(๑)      ให้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์เป็นกลไกสำคัญในการบริหารงานคณะสงฆ์ภายใต้กรอบของพระธรรมวินัย  จึงจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการเขียนบทบัญญัติในลักษณะขัดต่อหลักธรรมวินัย และมีบทบัญญัติเชิดชูคุ้มครองพระธรรมวินัยไว้ด้วย

(๒)   ให้อำนาจการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ อยู่ที่ประชุมสงฆ์ตามพระธรรมวินัย  จึงหลีกเลี่ยงการเขียนบทบัญญัติกำหนดตายตัวให้บุคคลใดมีอำนาจกระทำการใดโดยพลการ

(๓)       มุ่งส่งเสริมการศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัดและสม่ำเสมอตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา จึงกำหนดเป็นหน้าที่สำคัญของผู้บริหารงานคณะสงฆ์ที่ต้องถือเป็นนโยบายให้พระภิกษุและสามเณรได้ศึกษาและปฏิบัติตามพระธรราวินัยอย่างต่อเนื่องตราบเท่าที่ยังครองเพศบรรพชิต

(๔)      มุ่งส่งเสริมให้คณะสงฆ์ได้ประชุมกันเนืองนิตย์ตามหลักอปริหานิยธรรม  จึงมีบทบัญญัติให้มีที่ประชุมสงฆ์เป็นการถาวร ทั้งในระดับประเทศและระดับจังหวัด

(๕)       มุ่งส่งเสริมให้คณะสงฆ์สามารถพิจารณาอธิกรณ์ของพระภิกษุซึ่งละเมิดพระธรรมวินัยให้จบเสร็จอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ  จึงมีบทบัญญัติให้มีกลไกพิจารณาเรื่องนี้ ทั้งในระดับประเทศและระดับจังหวัด

(๖)     มุ่งให้คณะสงฆ์ทั่วไปมีส่วนร่วมในการบริหารงานคณะสงฆ์  จึงมีบทบัญญัติให้มีการอุปโลกน์ผู้เหมาะสมตามพระธรรมวินัย

(๗)       ส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่ามีส่วนร่วมในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา  จึงมีบทบัญญัติให้มีเวทีที่พุทธศาสนิกชนจะได้แสดงบทบาทในการสนับสนุนการบริหารงานคณะสงฆ์อย่างเป็นระบบ  

(๘)    มุ่งเห็นการป้องกันและลงโทษอลัชชีอย่างมีประสิทธิภาพ   จึงมีบทบัญญัติเน้นเรื่องการศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรมวินัย  ระบุโทษผู้มีส่วนร่วมในการกระทำผิดของพระอลัชชี  จึงมีบทบัญญัติให้คณะสงฆ์ทำหน้าที่ผู้สอนผู้เผยแผ่อย่างแท้จริง

(๙)       ส่งเสริมให้มีการนำพระพุทธธรรมไปแก้ปัญหาและเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชน จึงมีบทบัญญัติให้คณะสงฆ์ทำหน้าที่ผู้สอนผู้เผยแผ่อย่างแท้จริง”

 

4.       พิจารณาในรูปรวมถึงหลักการที่สำคัญในร่าง พ.ร.บ. 2 ฉบับ คณะกรรมการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร  ดังนี้

 

4.1     มีเป้าหมายการศาสนาที่สอดคล้องพระธรรมวินัย  เช่นกำหนดไว้ในมาตรา 5 ร่างพรบ.อุปถัมภ์ฯและมาตรา 7 ร่าง พรบ.คณะสงฆ์ฯ  ว่า

 

มาตรา 5    การอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องเป็นไปเพื่อความมั่นคงสถาพรแห่งสถาบันพระพุทธศาสนาตามแนวทางส่งเสริมและพัฒนาพุทธศาสนิกชนให้เจริญในหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

 

มาตรา 7    การบริหารงานคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องเป็นไปตามพระธรรมวินัย กฎหมาย และสังฆาณัติ  มีเป้าหมายสำคัญในการทำให้พระภิกษุสามเณรประพฤติปฏิบัติเหมาะสมกับสมณสารูปเป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธาและทำให้พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่าเจริญในหลักไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิ ปัญญา

 

4.2      มีระบบสภาสงฆ์เกิดขึ้น           สภานี้เองจะเป็นผู้บริหารอำนาจให้เป็นไปโดยถูกต้องตามพระธรรมวินัย

 

 

 

5.      อย่างไรก็ตามในร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์(ฉบับที่...)พ.ศ.  เราได้มีข้อพิจารณาในส่วนโครงสร้างนี้ไว้แล้วใน หนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 34  ขอเสนอย้ำอีก ณ ที่นี้ว่า

 

5.1.          สายการบังคับบัญชาของมหาคณิสสร ที่มีถึง 7 ระดับ  ค่อนข้างยาวไป  จะไม่สอดคล้องกับมหาสังฆสมาคม  ที่มีเพียง 2 ระดับ  การที่มีระดับยาวเกินไปจะขัดหลักการมหาสังฆสมาคมอยู่ในตัวเอง ที่เน้นความเสมอกันในคุณธรรม ความรู้และวิชาการ มากกว่าจะไปเน้นระบบอำนาจ และ ไม่รับกับการบริหาราชการฝ่ายบ้านเมือง  จึงควรตัดระดับหรือสายการบังคับบัญชาของมหาคณิสสรลงไปอีก  ให้เหลือ น้อยลงไปอีก โดยให้ประสานกับฝ่ายบ้านเมืองได้พอดีกัน     เพื่อลดระดับอำนาจลงมาอีก

 


5.2.       ควรจะให้ความสำคัญกับงานฝ่ายวิปัสนาธุระอย่างสูงพอ ๆ กับมหาคณิสสร      ในที่นี้        เราขอเสนอให้เพิ่มเติม โดยอยู่ในสายงานของมหาสังฆสมาคมไปพลาง ๆ ก่อน  และให้มี 2 ระดับคือ

 

5.2.1     ศูนย์วิปัสนาธุระระดับชาติ  โดยมีคณาจารย์ใหญ่วิปัสนาธุระระดับชาติ บริหาร

5.2.2     ศูนย์วิปัสนาธุระระดับจังหวัด  โดยมีคณาจารย์วิปัสนาธุระระดับจังหวัด บริหาร 

 

เพราะหากไม่มีหน่วยงานฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน  2 ระดับนี้ขึ้นแล้ว  ก็จักนำกรอบความคิดกรอบที่ (๓)  ที่ว่า “มุ่งส่งเสริมการศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัดและสม่ำเสมอตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา จึงกำหนดเป็นหน้าที่สำคัญของผู้บริหารงานคณะสงฆ์ที่ต้องถือเป็นนโยบายให้พระภิกษุและสามเณรได้ศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างต่อเนื่องตราบเท่าที่ยังครองเพศบรรพชิต”    ไปใช้ได้อย่างไร  อย่างเป็นมาตรฐาน และถาวร

 

การรับรองความสำคัญของงานฝ่ายวิปัสนาธุระเท่ากับเป็นระบบอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาโดยตรง ที่มีความหมายถึงปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ แห่งพระพุทธธรรมทั้งสิ้น ทำให้เกิดความสมบูรณ์ในการจัดระบบงานทางพระพุทธศาสนา ที่จะอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาได้ตรงประเด็นขึ้น 

 

นอกจากนั้นยังต้องระวังว่า ในระบบงานวิปัสสนากรรมฐานนี้ควรระวังการแบ่งชนชั้นโดยระบบอำนาจให้ดีด้วย

 


บทสรุป

 

เรามีความหวังว่า ร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ร่างนี้ จักได้รับความเห็นชอบจากหมู่สงฆ์ไทย รัฐบาล และรัฐสภาเห็นชอบดำเนินการต่อไป ภายในหลักการนี้

 

 

 

 

 

บรรณาธิการ

ดี(อินเทอเนต) เล่มที่37

https://www.newworldbelieve.net

22 ต.ค.2549

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



 

16.      รายงานข่าวเชิงวิเคราะห์พิเศษ

           เกษียณอายุพระที่ 80 เพิ่มโทษละเมิดจริยาพระสังฆาธิการหนัก

 

 

 

 มหาเถรสมาคม อาศัยอำนาจตามความแห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พุทธศักราช 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ออกกฎมหาเถรสมาคมใหม่ 2 ฉบับ ที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการปรับปรุงปฏิรูปการปกครองคณะสงฆ์ ที่น่าสนใจ คือ

 

1. กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 23 (พ.ศ.2541) ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ ให้ยกเลิกกฎฯ15(พ.ศ.2535) ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ โครงสร้างเดิม แต่มีข้อที่เพิ่มเติมเป็นเรื่องใหม่เฉพาะที่น่าสนใจ ก็คือ

       1. ให้มี เลขานุการรองเจ้าคณะจังหวัด [ข้อ 18 (เดิมมีเฉพาะเลขานุการเจ้าคณะจังหวัด)]

       2. ให้มี เลขานุการรองเจ้าคณะอำเภอ [ข้อ 23(เดิมมีเฉพาะเลขานุการเจ้าคณะอำเภอ)]

       3. ให้มี เลขานุการเจ้าคณะตำบล [ข้อ 28 (เดิมไม่มี)]

 

           ผลของกฎฯ 23 ที่เห็นชัดเจนก็คือ ทำให้เจ้าคณะพระสังฆาธิการทุกระดับ มีเลขานุการเจ้าคณะช่วยงานมากขึ้น นับแต่มีเลขานุการเจ้าคณะภาค-เลขานุการรองเจ้าคณะภาค, เลขานุการเจ้าคณะจังหวัด-เลขานุการรองเจ้าคณะจังหวัด, เลขานุการเจ้าคณะอำเภอ-เลขานุการรองเจ้าคณะอำเภอ และ เลขานุการเจ้าคณะตำบล

          โดยเจตนารมณ์ของกฎหมายก็เห็นชัดว่า ต้องการมือช่วยงานเจ้าคณะพระสังฆาธิการให้เพียงพอ เพื่ออำนวยให้กิจการงานเดินไปได้ดีขึ้น และทำให้กลุ่มหรือชมรมเลขานุการเจ้าคณะเพิ่มบทบาททางกิจการสงฆ์ขึ้นไปอีกมาก

 

 

 

2.      กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24(พ.ศ.2541) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ ให้ยกเลิก กฎฯ16(พ.ศ.2535) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ และ กฎฯ20(2536) แก้ไขเพิ่มเติมกฎฯ16(พ.ศ.2535)ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ

 

        กฎฯ 24 มีข้อที่เพิ่มเติมเป็นเรื่องใหม่ ก็คือ

        1. การแต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ กำหนดให้รวบรัดกว่าเดิม โดยให้ที่ประชุมมีเจ้าคณะอำเภอ 1 รองเจ้าคณะอำเภอ 1 เจ้าคณะตำบล 1 และ รองเจ้าคณะตำบล 1 รวมเป็นคณะผู้ดำเนินการ 4 รูป มาพิจารณาร่วมกัน แล้วกำหนดตัวผู้จะเป็นเจ้าอาวาส เสนอไปจังหวัด เพื่อเจ้าคณะจังหวัดแต่งตั้ง (ข้อ 27วรรค แรก) ซึ่งเดิมเจ้าคณะอำเภอจะออกไปประชุมประชาชนในพื้นที่ แล้วให้มีประชามติ หรือออกเสียงเลือกตั้ง แล้วนำเสนอเจ้าคณะจังหวัด ผู้มีอำนาจเต็มในการแต่งตั้งเจ้าอาวาสโดยที่เจ้าคณะจังหวัดจะเอาตามเสียงประชาชนหรือไม่ก็ได้ แต่ตามกฎฯใหม่ จะไม่เกี่ยวข้องกับประชาชนในพื้นที่เลย ไม่ต้องออกไปประชุมราษฎรและให้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเหมือนเดิม เพียงพระ 4 รูปนั้นพบประชุมกันพิจารณาเลือกพระสงฆ์ที่จะให้เป็นเจ้าอาวาส แล้วรายงานเข้าจังหวัด ให้จังหวัดแต่งตั้ง ก็เสร็จสิ้นขั้นตอนของอำนาจ

        2. การแต่งตั้งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง เป็นหน้าที่เจ้าคณะจังหวัดแต่เพียงผู้เดียวที่จะพิจารณาคัดเลือกตัวบุคคล แล้วเสนอไปตามลำดับชั้นและสิ้นสุดที่ มหาเถรสมาคม ๆ เป็นผู้อนุมัติ (ข้อ 31)

        3. มีระบบเกษียณอายุราชการสงฆ์ พระสังฆาธิการระดับเจ้าคณะภาค - รองเจ้าคณะภาค, เจ้าคณะจังหวัด - รองเจ้าคณะจังหวัด, เจ้าคณะอำเภอ - รองเจ้าคณะอำเภอ, เจ้าคณะตำบล -รองเจ้าคณะตำบล เมื่ออายุครบ 80 ให้ยกเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะในชั้นนั้น ๆ แต่มหาเถรสมาคมอาจให้ต่ออายุไปได้อีกไม่เกิน 3 ปี ตามความเหมาะสม(ข้อ 34 วรรค 2)

          มีข้อปลีกย่อยอีกหลายข้อ เช่นข้อ 29 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการแต่งตั้งเจ้าอาวาสพระอารามหลวงในกรุงเทพมหานคร และข้อ 40 พระสังฆาธิการดำรงตำแหน่งเจ้าคณะหรือรองเจ้าคณะได้เพียงตำแหน่งเดียว และอื่น ๆ อีกเล็กน้อย

          กฎฯ 24 มีหมวดที่พิถีพิถันมากเป็นพิเศษ ก็คือหมวด 4 จริยาพระสังฆาธิการ แบ่งเป็น 3 ส่วน เพื่อความชัดเจนและกระจ่างในทางปฏิบัติ โทษฐานละเมิดจริยาที่ร้ายแรงที่สุด 2 ข้อแรกที่น่าสังเกตให้ดี ก็คือ

         1.   ถอดถอนจากตำแหน่งหน้าที่ [ข้อ 54 (1)]

         2.   ปลดจากตำแหน่งหน้าที่ [ข้อ 54 (2)]

หากพระสังฆาธิการรูปใดต้องโทษข้อใดข้อหนึ่ง หรือทั้ง2ข้อ ไม่ว่าข้อ 54(1) หรือ 54(2) ต้องพ้นจากตำแหน่งพระสังฆาธิการทุกตำแหน่ง(ข้อ 57) ซึ่งรวมไปถึงการพ้นจากตำแหน่งอุปัชฌาย์ด้วย(เพราะอุปัชฌาย์ต้องมีตำแหน่งพระสังฆาธิการรองรับ) จึงนับว่ากฎฯ 24 เข้มงวดเอากับโทษฐานละเมิดจริยาพระสังฆาธิการมากเป็นพิเศษ

         การละเมิดจริยาพระสังฆาธิการนั้น มีดังนี้

         1.   ทุจริตต่อหน้าที่

         2.   ละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเกินกว่า 30 วัน

       3.  ขัดคำสั่งอันชอบด้วยการคณะสงฆ์และการขัดคำสั่งนั้นเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่การคณะสงฆ์

       4.  ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่การคณะสงฆ์

       5.  ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง (ข้อ 55)

 

          กรณี ธูปยักษ์วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม ถล่มเมื่อ 2 พ.ย.41 น่าจะเป็นกรณีตัวอย่างสำหรับการละเมิดจริยา ตามกฎฯใหม่นี้ โดย น่าพิจารณา ว่ากรณีเข้าข่ายละเมิดจริยาพระสังฆาธิการ ตาม ข้อ 55(3) และ 55(4) หรือไม่ มองจากองค์ประกอบความผิด 2 ประการคือ เจตนา กับ การกระทำ น่าจะเป็นดังนี้

        1. มีเจตนาขัดคำสั่งตามข้อ 55(3) [เคยมีมติ สั่งการไว้ตั้งแต่เกิดกรณีอุบัติเหตุกระเช้าวัดพระธาตุดอยสุเทพ ต้นปี 41 ว่าการดำเนินการก่อสร้าง วัดจะต้องประสานงานกับวิศวกรของกรมโยธาธิการ หรือ สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) หรือ เทศบาล] หรือ ปฏิบัติหน้าที่เจ้าอาวาสอย่างประมาท ตามข้อ 55(4) ซึ่งหมายถึง กระทำไปโดยใช้ความระมัดระวังไม่เพียงพอสมเหตุสมผลแก่งานที่ทำนั้น กรณีนี้ มิได้ใช้เท็คนิคโดยเหมาะแก่งานที่ทำนั้น รู้อยู่มีเจตนาอยู่ว่าเป็นการก่อสร้างขนาดใหญ่ ที่มุ่งหมายให้เป็นที่สุดของโลก แต่ถ้ามิได้ใช้หลักวิชาทางวิศวกรรมศาสตร์ หรืออาศัยช่างเท็คนิควิศวกรรมศาสตร์ ให้สมกับขนาดความสำคัญของงานเลย การอาศัยประสบการณ์ของไวยาวัจกรวัดที่มิได้มีความรู้ทางนี้เลย นับว่าเป็นการใช้ความระมัดระวังที่ไม่เพียงพอ ถือว่ากระทำไปโดยประมาท ตามกฎฯ24 ข้อ 55(4) นี้ได้

       2. เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่การคณะสงฆ์ ในที่นี้เหตุที่เกิดขึ้นก็คือประชาชน เสียชีวิตทันที 5 คนอย่างน่าอนาถ บาดเจ็บอีกเป็นจำนวนมาก เสียทรัพย์สินของประชาชน วัด และแผ่นดิน ไปเป็นจำนวนไม่น้อย เป็นเหตุแห่งความเสื่อมศรัทธาในพระศาสนา เพราะมีการแถลงข่าวไปทั่วโลก

        นอกจากนี้คำว่า “ความเสียหายอย่างร้ายแรง” จะต้องรวมความถึงเหตุที่กระทำ มีผลทางพระธรรมวินัยหรือไม่ อย่างไรด้วย อย่างกรณีนี้ การกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้คนตายถึง 5 คนต่อหน้าสถานที่อันศาสนิกชนทั้งหลายเคารพบูชานั้น ต้องนับว่าเป็นปาณาติบาตอันมีผลมาจากความประมาทเลินเล่อ (หากมีเจตนาต้องถึงปาราชิกทันที) นั้น น่าสะท้อนคุณธรรมชนิดใดของพระสังฆาธิการรูปนั้น นอกจากขาดความสังวรตามควรแก่สมณวิสัย ขาดหลักพรหมวิหารธรรม โดยนิสัยสันดารหรือไม่ ?

        เมื่อองค์ประกอบความผิดดังกล่าวชัดเจนก็อาจถูกพิจารณาโทษถึงถอดถอนจากตำแหน่งหน้าที่ตามข้อ 54(1) หรือ ปลดจากตำแหน่งหน้าที่ ตามข้อ 54(2) และหากเป็นเช่นนั้นข้อใดข้อหนึ่ง เจ้าอาวาสจะต้องพ้นจากตำแหน่งพระสังฆาธิการทุกตำแหน่ง หากดำรงตำแหน่งมากกว่า 1 ตำแหน่งขึ้นไปกี่ตำแหน่งก็ตาม เช่นเป็นเจ้าคณะอำเภอด้วยเป็นเจ้าอาวาสด้วย (ตามข้อ 57) และหากเป็นอุปัชฌาย์ก็ต้องพ้นด้วยโดยอัตโนมัติ

       ในกรณีนี้ ยังมีบทกำหนดความรับผิดชอบไปถึงผู้บังคับบัญชาด้วย ว่า “ผู้บังคับบัญชารูปใด ไม่จัดการลงโทษผู้อยู่ในบังคับบัญชาที่ละเมิดจริยาหรือจัดการลงโทษโดยไม่สุจริต ให้ถือว่าผู้บังคับบัญชารูปนั้นละเมิดจริยา” (ข้อ 52 วรรค 2) ข้อ 52วรรค 2 มีความหมาย 2 ประการ ๆ ที่1 ไม่จัดการลงโทษ และประการที่ 2 จัดการลงโทษโดยไม่สุจริต เช่นลงโทษโดยอคติ เป็นต้นนี้ ก็ถือว่าผู้บังคับบัญชารูปนั้นละเมิดจริยาด้วย มีความผิดตามไปด้วย ฉะนั้น กรณีธูปยักษ์นี้ น่าระวังว่าจะลามไปถึงผู้บังคับบัญชา หากมีอคติไม่จัดการลงโทษผู้กระทำผิด (ฐานละเว้นการกระทำ) หรือลงโทษผู้กระทำผิดโดยอคติ ไม่สุจริตจริงใจ

       ฉะนั้น จึงน่าจะมองเห็นเจตนารมณ์ของกฎมหาเถรสมาคมฉบับใหม่นี้ว่า วางอยู่บนหลักการอะไร โดยจะเห็นชัดเจนจากส่วนที่ว่าด้วยจริยาพระสังฆาธิการนี้เอง ที่มองการคณะสงฆ์เป็น ระบบราชการ ชัดเจนขึ้น ฉะนั้นพระสังฆาธิการจึงต้องมีหน้าที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งงานของตน และต้องรับผิดชอบในหน้าที่-ตำแหน่งของตนนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เฉกเช่นเดียวกับข้าราชการ-ฆราวาสทั้งหลาย และบทที่ลงโทษที่กำหนดไว้ในกฎฯใหม่นี้ ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารงานในหน้าที่-ตำแหน่งราชการสงฆ์ มิได้วางอยู่บนพื้นฐานพระธรรมวินัยโดยตรง

      และเมื่อมองระบบสงฆ์ ณ บัดนี้ วันนี้ ก็จะเห็นได้ว่า ระบบ ได้จำกัดความมีอิสรภาพของสงฆ์ไปอย่างมากมาย กล่าวคือ ได้ทำให้ความเป็นสงฆ์ลดน้อยลงไป ตามลำดับ ความเป็นข้าราชการเข้ามาแทนที่เพิ่มขึ้น ๆ แต่ดูเหมือนว่าสงฆ์ไทยจะนิยมชมชอบเช่นนั้น คือนิยมความเป็นข้าราชการ มีตำแหน่ง พร้อมยศศักดิ์ที่โก้หรู หานึกไม่ว่า หากจะเป็นข้าราชการจริง ๆ แล้ว ต้องมีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบในหน้าที่ รับผิดชอบต่อประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย(ประชาชนต้องตรวจสอบการบริหาร-การเงินฯลฯ รวมทั้งให้มีการวิพากษ์วิจารณ์งานของสงฆ์ได้ตามสิทธิของเขา) มีคุณที่จะให้เป็นรางวัล และโทษที่จะให้เมื่อกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ไม่มีสิทธิ์ที่จะนั่งนอนยิ้มหัวเราะ รอรับประเคนลูกเดียว น่าสำนึกอย่างนี้จักคืนมาสู่ความริเริ่มปรับระบบสงฆ์เราเสียใหม่ให้เป็นสงฆ์จริง ๆที่อิงอยู่กับแกนหลักอันล้ำเลิศของพระบรมศาสดา คือพระธรรมวินัย เป็นใหญ่ กันเสียที

       กฎฯ23 และกฎฯ24 ทั้ง 2 ฉบับมีผลบังคับใช้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม พุทธศักราช 2541 เป็นต้นมา โปรดศึกษาจากแถลงการณ์คณะสงฆ์ ฉบับพิเศษ เล่มที่ 86 วันที่ 3 ตุลาคม พุทธศักราช 2541.  

* 001/รายงาน

 

  • ดีเล่มที่ 13  ต.ค.-พ.ย.2541

 

 

 

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
----- ***** ----- โปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate นี่คือเวบไซต์คู่ www.newworldbelieve.com กับ www.newworldbelieve.net เราให้เป็นเวบไซต์ที่เสนอธรรมะหรือ ความจริง หรือ ความคิดเห็นในเรื่องราวของชีวิต ตั้งใจให้ธัมมะเป็นทาน ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แด่คนทั้งหลาย ทั้งโลก ให้ได้รู้ความจริงของศาสนาต่าง ๆในโลกวันนี้ และได้รู้ศาสนาที่ประเสริฐเพียงศาสนาเดียวสำหรับโลกยุคใหม่ จักรวาลใหม่ เรามีผู้รู้ ผู้ตรัสรู้ ผู้วินิจฉัยสรรพธรรมสรรพวิชชา สรรพศาสน์ และสรรพศาสตร์ พอชี้ทางสู่โลกใหม่ ให้ความสุข ความสบายใจความมีชีวิตที่หลุดพ้นไปสู่โลกใหม่ เราได้อุทิศเนื้อที่ทั้งหมดเป็นเนื้อที่สำหรับธรรมะทั้งหมด ไม่มีการโฆษณาสินค้า มาแต่ต้น นับถึงวันนี้ร่วม 14 ปีแล้ว มาวันนี้ เราได้สร้างได้ทำเวบไซต์คู่นี้จนได้กลายเป็นแดนโลกแห่งความสว่างไสว เบิกบานใจ ไร้พิษภัย เป็นแดนประตูวิเศษ เปิดเข้าไปแล้ว เจริญดวงตาปัญญาละเอียดอ่อน เห็นแต่สิ่งที่น่าสบายใจ ที่ผสานความคิดจิตใจคนทั้งหลายด้วยไมตรีจิตมิตรภาพล้วน ๆ ไปสู่ความเป็นมิตรกันและกันล้วน ๆ วันนี้เวบไซต์นี้ ได้กลายเป็นโลกท่องเที่ยวอีกโลกหนึ่ง ที่กว้างใหญ่ไพศาล เข้าไปแล้วได้พบแต่สิ่งที่สบายใจมีความสุข ให้ความคิดสติปัญญา และได้พบเรื่องราวหลายหลากมากมาย ที่อาจจะท่องเที่ยวไปได้ตลอดชีวิต หรือท่านอาจจะอยากอยู่ณโลกนี้ไปชั่วนิรันดร ไม่กลับออกไปอีกก็ได้ เพียงแต่ท่านเข้าใจว่านี่เป็นแดนต้นเรื่องเป็นด่านข้ามจากแดนโลกเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง และซึ่งเป็นโลกหรือบ้านของท่านทั้งหลายได้เลยทีเดียว ซึ่งสำหรับคนต่างชาติ ต่างภาษาต่างศาสนา ได้โปรดใช้การแปลของ กูเกิล หรือ Google Translate แปลเป็นภาษาของท่านก่อน ที่เขาเพิ่งประสบความสำเร็จการแปลให้ได้แทบทุกภาษาในโลกมนุษย์นี้แล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้เอง นั้นแหละเท่ากับท่านจะเป็นที่ไหนของโลกก็ตาม ทั้งหมดโลกประมาณ 7.6 พันล้านคนวันนี้ สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในโลกของเราได้เลย เราไม่ได้นำท่านไปเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่การนำไปสู่ความจริง ความรู้เรื่องชีวิตใหม่ การอุบัติใหม่สู่ภาวะอริยบุคคล ไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปพ้นจากทุกข์ ทั้งหลายไปสู่โลกแห่งความสุขแท้นิรันดร คือโลกนิพพานขององค์บรมศาสดาพุทธศาสนา พระบรมครูพุทธะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ท่านโปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate ท่านก็จะเข้าสู่โลกนี้ได้ทันทีพร้อมกับคน7.6พันล้านคนทั้งโลกนี้. ----- ***** ----- • หมายเหตุ เอาขึ้นเวบไซต์ แทนของเดิม ทั้ง 2 เวบ .net .com วันที่ 21 เม.ย. 2565 เวลา 07.00 น. -----*****-----