ดี เล่มที่ 53
**********************************************************************************************************************
ก.เรื่องในเล่ม
1. หน้าปก ดี 53
2. พุทธทำนายเดือน 4 ปีกุน
3. สารบาญ
4. บทบรรณาธิการ
4.1 นี่คือหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53 ปีที่ 21
4.2 ส.ค.ส.2561 สู่เพื่อนร่วมโลก
4.3 The Excellent Phenomenon
4.3.1 The Excellent Phenomenon Section 1
4.3.2 The Excellent Phenomenon Section 2
4.3.3 The Excellent Phenomenon Section 3
4.3.4 The Excellent Phenomenon Section 4
4.3.5 The Excellent Phenomenon Section 5
4.4 ส.ค.ส.ส่งท้ายปีเก่า 2560 โอวาทธรรมในเรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ
4.5 บทนำแห่งธรรมะ ชุดที่ 1 ปัญจักขันธา 1,2,3 ถวายแด่วันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช วันที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559
4.5.1 ปัญจักขันธา 1
4.5.2 ปัญจักขันธา 2
4.5.3 ปัญจักขันธา 3
4.6 บทนำแห่งธรรมะ ถวายแด่วันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช วันที่ 26 ตุลาคม พุทธศักราช 2560
4.7 บุคคลแห่งปี ของหนังสือพิมพ์ดี พุทธศักราช 2560
4.7.1 บุคคลที่ 130 นายราม ณัฐ โกวินทร์ [ Ram Nath Kovind] ประธานาธิบดี คนที่ 14 ของอินเดีย
4.7.2 บุคคลที่ 131 นายสิทธิชัย ศิษย์สองพี่น้อง (Sitthichai Sitsongpeenong)
4.7.3 บุคคลที่ 132 พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี คนที่ 29 ประเทศไทย
5. เฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว
5.1 ชาวอินเดียหลายหมื่นคนชุมนุมประกาศตัดไม่เคารพเทพเจ้าฮินดู วันที่ 26 ธันวาคม พุทธศักราช 2560 ชาวอินเดียที่เมืองนาคปุระและนครบอมเบย์ จำนวนหลายหมื่นคน ชุมนุมตัวประกาศแนวยคิดละตนจากศาสนาฮินดูมานับถือพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น ตามแนวคิดอุดมการณ์ของผู้นำของเขา ดร.อัมเบดการ์ และประกาศจุดยืน 22 ข้อ
6. ภาคพิเศษ โหราศาสตร์
6.1 ดวงชะตาประเทศไทย การจรของดาวอังคาร(๓) สู่ราศีพิจิก และ ราศีมังกร ปี พ.ศ.2561 นี้
ข.เรื่องนอกเล่ม
1. โลกอิสลาม บทวิเคราะห์พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ฮามัสประกาศล้างชาวอิสราเอลจนหมดทั้งประเทศ
2. ธัมมกาย - ธัมมชโย จุดจบ พุทธพาณิช ผิดพุทธธรรมคนมองไม่เห็น จนผิดกฎหมายถึง 350 คดี คนจึงตาสว่างขึ้น จึงถึงจุดจบ บทวิเคราะห์โดยเหตุผลทางพุทธศาสนา ที่รอบคอบ รอบด้าน ด้วยหลักปริยัติ ปฏิบัติ และ ปฏิเวธ ที่มีเหตุผลโดยธรรมวิจัย.
1. หน้าปก ดี 53
ปีที่ 21 เล่มที่ 53
มูลนิธิพระเทพวรมุนี ( เสน ปญฺญาวชิโร )
วัดมหาพุทธาราม ถนนขุขันธ์ ต.เมืองเหนือ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ 33000
หนัง สือ พิมพ์ ดี ( อินเทอเนต )
http:// www.newworldbelieve.net
http://www.newworldbelieve.com
fb phyap panyatharo
เพื่อการนำความคิดไปสู่ความดีงาม
เพื่อความกลมกลืนแห่งสากลศาสนา
For all good For all thought
เราจะบินบินบินและบินไป สู่ขอบฟ้าสดใสในเบื้องหน้า
แม้วันนี้มีเมฆร้ายมหิมา ก็ไม่หวาดไม่ผวาคณาภัย
ถึงเขาใหญ่สูงเงื้อมตระหง่านฟ้า ก็จะฝ่าฤาพรั่นนึกหวั่นไหว
มหาสมุทรสุดสายลมไกว จะเอื้อมไปให้ถึงซึ่งฝั่งดิน
ถึงแห้งเหือดเลือดหมดหยดสุดท้าย แล้วก็หมายชนหลังยังถวิล
สัจธรรมนี้ไว้ในธรณิน กว่าจะสิ้นกัปกัลป์พุทธันดร
ปีที่ 21 เล่มที่ 53
เดือน ส.ค. 2560 – มี.ค. 2561
2.พุทธทำนายเดือน 4 ปีกุน
พุทธทำนายเดือน๔ปีกุน
เรื่องพุทธทำนายนี้มีปรากฏอยู่ในภาษาบาลีพระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ 27 หน้า 24 ขึ้นต้นว่า อุสุภา รุกฺขา คาวิโย ฯลฯ และอธิบายไว้ในอรรถกถาเอกนิบาต ภาค 2 และเคยแปลเป็นภาษาไทยไว้ในชาดก ฉบับหอสมุดวชิรญาณ เล่ม 1 อาจารย์ศิลา วีรวงศ์ ได้แต่งเป็นกลอนลำอีสาน ประมาณ พ.ศ. 2490”
มีข้อความตอนสำคัญดังนี้ :-
“๑๑. ข้อสิบเอ็ด
พระฝันเห็นท่อนไม้แก้วแก่นจันทน์แดง ของมันราคาแพงค่าสูงแสนตื้อ เขาเลยเอาไปซื้อขายกินแลกไก่ เอาจันทน์แดงใส่กระชาน้อยแขวนห้อยเที่ยวขาย อันนี้แล้วเพิ่นว่าภายหน้าพู้นเคิ่งศาสนาพุทธ มนุษย์มีโลภามืดมัวเมากุ้ม ชุมหมู่ถือศีลสร้างเป็นจัวเจ้าหัวบ่าว เห็นผู้สาวแล้วเอิ้นเสินเว้าดั่งสหาย นอกจากนั้นกะซิเป็นผู้ฮ้ายขายศาสนาพุทธ เอาพระธรรมลงมุดจายขายกินจ้าง ตั้งเป็นตึกเป็นห้างขายกินปิ้นไป่ ทังพระสูตรพระวินัยเอาลงใส่กระช้าโซนผ้าเที่ยวขาย นี้จั่งแม่นต่อนฮ้ายขายฮูปพุทธองค์ สงฆ์บ่ถือวินัยไพร่เมืองบ่อยำอย้าน มีแต่คนพาลกล้าโกธาเขี้ยวขุ่น ศาสนาเกิดวุ่นสูญเส้ามุ่นทะลาย สงฆ์ซิเป็นผู้ฮ้ายขายศาสนากู สัพพัญญูเล็งเห็นหน่ายสะอางผางฮ้าย คันแม่นกายไปหน้าศาสนาของเฮาจั่งสิฟื้นขึ้นใหม่ ในปีกุนล่วงแล้วซิแววขึ้นลื่นหลัง ครั้งนั้นแหล้วคนสิอยู่เป็นสุข จั่งสิหายความทุกข์หมู่ภัยไกลเนื้อ ใผผู้ยังเหลือค้างซิเห็นทางฟ้าล่วง คนสิพ้นจากห่วงฝูงหมู่มารบาปฮ้ายเมื่อฟ้าอยู่กะเสิม เริ่มแต่ค้าเดือนสี่ปีกุน ใผมีบุญจั่งสิเห็นหน่อพระธรรมเดอป้า พากันถือศีลห้าภาวนาเดอแม่ หยังกะเห็นเที่ยงแท้บ่มีเว้นหว่างใด๋”
- จาก กลอนลำเรื่องพุทธทำนาย ชมรมวรรณกรรมอีสาน จัดพิมพ์ โดย ร.พ.ไพศาลศิริ ท่าพระจันทร์ กทม. 2527 หน้า 7
หมายเหตุ บก.
เรื่องพุทธทำนายนี้ มีการระบุถึงเดือนสีปีกุน แต่ไม่ได้ระบุแน่ชัดว่าเป็นปีกุนรอบไหน พ.ศ.อะไร ระบุไว้กว้าง ๆ ว่าหลังยุคกึ่งพุทธกาลไปแล้ว คือหลังปีพุทธศักราช 2500 ไปแล้ว เมื่อมาถึงปีกุน พ.ศ.2502,2514,2526,2538 และ พ.ศ.2550 ตามลำดับมาแล้วยังไม่มีทีท่าว่าจะมีอะไรเป็นที่น่ายินดีสำหรับพระพุทธศาสนา ก็น่าจะเป็นปีกุนรอบต่อไปในอีก 12 ปีข้างหน้าคือ พ.ศ. 2562 จะเป็นปีกุนที่ตรงกับพุทธทำนายอีกครั้งหนึ่ง อีก 12 ปีข้างหน้าก็ไม่นานเกินรอ และน่าจะเหมาะสมดีมากหากเราจะมานับเวลาเริ่มต้นทำงานเพื่อพระพุทธศาสนากันใหม่ และใน 12 ปีข้างหน้า เมื่อพุทธบริษัททั้งหลายตั้งใจก็ย่อมเป็นผลสำเร็จ และเตรียมการรับความเจริญรุ่งเรืองแห่งพระพุทธศาสนากันในปี 2562 นั้น
3. สารบาญ
สารบาญ
1. หน้าปก ดี 53
2. พุทธทำนายเดือน 4 ปีกุน
3. สารบาญ
4. บทบรรณาธิการ
4.1 นี่คือหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53 ปีที่ 21
4.2 ส.ค.ส.2561 สู่เพื่อนร่วมโลก
4.3 The Excellent Phenomenon
4.3.1 The Excellent Phenomenon Section 1
4.3.2 The Excellent Phenomenon Section 2
4.3.3 The Excellent Phenomenon Section 3
4.3.4 The Excellent Phenomenon Section 4
4.3.5 The Excellent Phenomenon Section 5
4.4 ส.ค.ส.ส่งท้ายปีเก่า 2560 โอวาทธรรมในเรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ
4.5 บทนำแห่งธรรมะ ชุดที่ 1 ปัญจักขันธา 1,2,3 ถวายแด่วันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช วันที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559
4.5.1 ปัญจักขันธา 1
4.5.2 ปัญจักขันธา 2
4.5.3 ปัญจักขันธา 3
4.6 บทนำแห่งธรรมะ ถวายแด่วันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช วันที่ 26 ตุลาคม พุทธศักราช 2560
4.7 บุคคลแห่งปี ของหนังสือพิมพ์ดี พุทธศักราช 2560
4.7.1 บุคคลที่ 130 นายราม ณัฐ โกวินทร์ [Ram Nath Kovind] ประธานาธิบดี คนที่ 14 ของอินเดีย
4.7.2 บุคคลที่ 131 นายสิทธิชัย ศิษย์สองพี่น้อง (Sitthichai Sitsongpeenong)
4 .7. 3 พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี คนที่ 29 ประเทศไทย
5. เฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว
5.1 ชาวอินเดียหลายหมื่นคนชุมนุมประกาศตัดไม่เคารพเทพเจ้าฮินดู วันที่ 26 ธันวาคม พุทธศักราช 2560 ชาวอินเดียที่เมืองนาคปุระและนครบอมเบย์ จำนวนหลายหมื่นคน ชุมนุมตัวประกาศแนวยคิดละตนจากศาสนาฮินดูมานับถือพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น ตามแนวคิดอุดมการณ์ของผู้นำของเขา ดร.อัมเบดการ์ และประกาศจุดยืน 22 ข้อ
6. ภาคพิเศษ โหราศา่สตร์
6.1 การจรของดาวอังคาร สู่ราศีพิจิก และ ราศีมังกร ปี พ.ศ.2561 นี้
ข. เรื่องนอกเล่ม
1. โลกอิสลาม บทวิเคราะห์พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ฮามัสประกาศล้างชาวอิสราเอลจนหมดทั้งประเทศ
2. ธัมมกาย - ธัมมชโย จุดจบ พุทธพาณิช ผิดพุทธธรรมคนมองไม่เห็น จนผิดกฎหมายถึง 350 คดี คนจึงตาสว่างขึ้น จึงถึงจุดจบ บทวิเคราะห์โดยเหตุผลทางพุทธศาสนา ที่รอบคอบ รอบด้าน ด้วยหลักปริยัติ ปฏิบัติ และ ปฏิเวธ ที่มีเหตุผลโดยธรรมวิจัย.
4. บทบรรณาธิการ
บทบรรณาธิการ
4.1 นี่คือหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53
ในหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53 นี้ เป็นเล่มที่ออก ประจำช่วงเวลา ระหว่าง เดือน ส.ค.-ก.ย.-ต.ค.-พ.ย.-ธ.ค.2560 –ม.ค.-ก.พ-มี.ค.2561 หนังสือพิมพ์ ดี เป็นหนังสือพิมพ์รายคาบที่เราได้ออกมาตลอด ไม่ขาด โดยเริ่มเล่มที่ 1 ในเดือน มีนาคม พุทธศักราช 2540 มาถึงเล่มที่ 53 เล่มนี้ โดยไม่มีการขาดปี หรือ ขาดวาระลงไปเลยแม้แต่ครั้งเดียว จนถึงเล่มนี้ เดือน มีนาคม 2561 เป็นเวลาครบ 21 ปีแล้วที่เราได้ทำผลงานอันนี้ขึ้นไว้ในโลกมนุษย์ หนังสือพิมพ์ดีของเรา เป็นหนังสือที่มีแต่การให้ สิ่งที่เราให้นั้น เป็นการให้ฟรี ให้เปล่า และเป็นการให้ธรรมะล้วน ๆ ซึ่งคำว่าธรรมะในที่นี้ เราหมายความถึง ความรู้และสัจธรรม ซึ่งเป็น นามธรรมล้วน ๆ สิ่งที่เรามุ่งหมายนั้นก็คือ ให้ได้บอกสัจธรรมแด่คนทั้งหลาย ได้บอกสิ่งที่เราได้พบได้เห็น ได้รู้ ให้รู้สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ชีวิต และที่สุดของความรู้นั้น ก็คือ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เป็นธรรมะของพระองค์เท่านั้น ไม่มีธรรมะของใครอื่น ที่อาจนำไปสู่มรรคผล นิพพาน โลกที่มีแต่ความสุขที่แท้จริง เป็นนิรันดร นอกจากพุทธธรรมแล้วไม่มี และเราจะเดินต่อไปไม่หยุด จนกว่าจะบรรลุจุดมุ่งหมายของการให้นี้ อันสูงสุด โดยที่เราจะต่อสู้ไปตลอด ตามคติของเราที่ว่า
เราจะบินบินบินและบินไป สู่ขอบฟ้าสดใสในเบื้องหน้า
แม้วันนี้มีเมฆร้ายมหิมา ก็ไม่หวาดไม่ผวาคณาภัย
ถึงเขาใหญ่สูงเงื้อมตระหง่านฟ้า ก็จะฝ่าฤาพรั่นนึกหวั่นไหว
มหาสมุทรสุดสายลมไกว จะเอื้อมไปให้ถึงซึ่งฝั่งดิน
ถึงแห้งเหือดเลือดหมดหยดสุดท้าย แล้วก็หมายชนหลังยังถวิล
สัจธรรมนี้ไว้ในธรณิน กว่าจะสิ้นกัปกัลป์พุทธันดร
และเนื่องจากดีฉบับนี้ ออกมาตรงกับวาระปีใหม่ พุทธศักราช 2561 พอดี ซึ่งในวาระปีใหม่ พุทธศักราช 2561 นี้ นอกจากเรื่องประเพณี การอำนวยพรปีใหม่แล้ว เริ่มแรกแล้ว เราก็จะขอนำสิ่งที่เป็นความรู้ใหม่ หรือ สัจธรรม ที่เราได้ตั้งชื่อให้ว่า The Excellent Phenomenon 5 ตอน ที่บอกสิ่งที่เป็นปรากฎการณ์พิเศษ น่าอลังการสุดวิเศษ 5 เรื่อง ตามที่เราได้นำลงไปในเฟสบุ๊คแล้ว ซึ่งเราหมายความว่า เฟสบุ๊ค เป็นสื่อไกลสุด ทีสามารถนำเรื่องราวไปสู่มนุษย์ได้ทั้งโลก เราจึงได้ใช้ภาษากลาง สากล ดังปรากฎเป็นลำดับต่อไปในหน้าบรรณาธิการนี้ แล้ว ยังคงเป็นเรื่องพรปีใหม่ต่อไปอีก 1 เรื่อง คือ เรื่องที่เราได้ไปอำนวยพรให้แด่ชาวคุก ในเรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ ก็จะได้นำมามอบให้ ในหน้าบรรณาธิการ ต่อไปเลย และที่สุดก็จะจบลงในหน้าบรรณาธิการนี้ด้วย ก็คือ บุคคลแห่งปี พุทธศักราช 2560 ของหนังสือพิมพ์ดี ซึ่งจะเป็นบุคคลที่ 130 – 132 โปรดติดตามต่อไปได้ตามลำดับต่อไปนี้
4.2 ส.ค.ส.2561 สู่เพื่อนร่วมโลก
ส.ค.ส. 2561
สู่เพื่อนร่วมโลก
Phayap Panyatharo
NEW YEAR 2561 [2018]
I WISH : Love is eternal. For the world in the old year was full of hatred. It was long time in the darkness. I wish new year 2561 [2018] to come out of the darkness, to the light, to the new fine world. So I wish love, to be eternal and hatred destroyed from the ugly world. Because only love could help the world. It could lead us, humanbeing to pass through the darkness to the gentle glorious light. And the light is the world of love with eternal happiness, the noble edgeless place where BUDDHA live.
ข้าพเจ้าขออำนวยพรให้ ความรักนั้นนิรันดร เพราะเหตุที่โลกนี้,ในปีเก่านั้น เต็มไปด้วยความเกลียดชังซึ่งกันและกัน,และมันได้อยู่ในช่วงเวลาอันยาวนานแสนนาน,ที่ตกอยู่ในความมืดมิด. ข้าพเจ้าขออำนวยพรปีใหม่นี้, ให้หลุดพ้นออกมาจากความมืดสนิท, มาสู่แสงสว่าง, มาสู่โลกใหม่ที่สว่างสดใส. ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงขออำนวยพร ให้ความรักนั้น จงเป็นนิรันดร และความเกลียดชังกันนั้นจงสลายหายไปจากโลกขี้เหร่ใบนี้ เพราะด้วยความรักเท่านั้น ที่อาจนำพวกเราทั้งหลาย ที่เป็นมนุษย์ ไปพ้นจากความมืดมิด, สู่แสงสว่างอันนุ่มนวลสุดประเสริฐได้ และแสงสว่างนั้นแหละคือโลกแห่งความรักและ ความสุขอมตะ นิรันดร และเป็นสถานที่อันประเสริฐสูงส่ง ไร้ขอบเขต ที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงสถิตอยู่.
*****
4.3 The Excellent Phenomenon
The Excellent Phenomenon
ปรากฎการณ์โออ่าอลังการวิเศษสุด
และเราขอนำ เรื่องราวที่เราเรียกว่า The Excellent Phenomenon ปรากฎการณ์โออ่าอลังการวิเศษสุด ที่ได้นำลงไปใน เฟสบุ๊ค 5 ตอนแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับโลกนิพพาน และ พระพุทธเจ้า ดังต่อไปนี้
4.3.1 The Excellent Phenomenon
Section 1
The Excellent Phenomenon
Section 1
Phayap Panyatharo
23 กันยายน 2016 •
To a stillness with a silence of mind. Then the reaching of a gentle light. And the world opens. And the world smiles. The sun smiles. The moon and all the stars smile. Everything smiles.
When the day passes, the night comes with no darkness. The darkness of the night becomes bright. And it smiles.
Would you like to be the man in the story? Who is: To a stillness with a silence of mind. Then the reaching of a clever gentle light. And the world opens.
Take the real rest in the bottom of one’s heart. And see this is the nature of mind, of one’s mind. Not the inspiration of god, any god at all.
ไปสู่ความนิ่งสงัด พร้อมดวงจิตที่สงบเงียบกริบ แล้วบังเกิดแสงสว่างรุ่งโรจน์ขึ้นอย่างนุ่มนวล และแล้วโลกทั้งโลกก็สว่างไสวเบิกบาน ดวงตะวันยิ้มแย้ม ดวงเดือนและดวงดาวทั้งหลายก็ยิ้มแย้ม ทุกสิ่งทุกอย่างยิ้มแย้มแจ่มใส
เมื่อกลางวันผ่านไปแล้ว เวลากลางคืนผ่านเข้ามา แต่ในเวลากลางคืนนั้น ไม่มีความมืด ความมืดของเวลากลางคืนนั้นก็สว่างไสวเช่นกัน และมันก็ยิ้มแย้ม
ท่านอยากจะเป็นคน ๆ นั้นในเรื่องนี้หรือไม่เล่า ? ผู้ที่ ไปสู่ความนิ่งสงัด พร้อมดวงจิตที่สงบเงียบกริบ แล้วบังเกิดแสงสว่างคมสะอาดรุ่งโรจน์ขึ้นอย่างนุ่มนวล และแล้วโลกทั้งโลกก็สว่างไสวเบิกบาน
จงเอาเถิดซึ่งการพักผ่อนอย่างแท้จริง ในก้นบึ้งแห่งดวงจิตของคน ๆ หนึ่ง และจงมองดู ว่าสิ่งนี้เป็นเรื่องธรรมชาติของจิตใจของคนแต่ละคน ไม่ใช่การดลบันดาลของพระเจ้า, พระเจ้าองค์ใดเลยแม้แต่น้อย.
*****
4.3.2 The Excellent Phenomenon
section 2
The Excellent Phenomenon
Section 2
Phayap Panyatharo
4 ตุลาคม 2017
To get a life. To live together in the same world, in the same society, or in the same family, FRIENDSHIP is the all of a happy life. ENEMY is what in the contrary, what is trying to make damages. But the wise told that the real cause is to make friend even with our enemies. Buddha tells that this is the way for the one to arrive NIRVANA. [face,lines: October 4,2017]
การได้มีชีวิตชีวิตหนึ่งขึ้นมาได้, การมีชีวิตอยู่ร่วมกันในโลกใบเดียวกัน, ในสังคมเดียวกัน, หรือในครอบครัวเดียวกัน, ความเป็นเพื่อน, นั้น เป็นทั้งหมดของชีวิตที่มีความสุข. แต่ความเป็นศัตรูเป็นอะไรที่อยู่ฝั่งตรงกันข้าม, มันเป็นอะไรที่มุ่งสู่การทำลายล้างผลาญอยู่เสมอ. แต่ผู้ฉลาดได้บอกไว้ว่า; จงสร้างเหตุที่แท้จริง, นั่นคือจงสร้างมิตรภาพให้เกิดขึ้น, แม้กับศัตรูของเรา. พระพุทธเจ้าตรัสว่า; นี่แหละเป็นเส้นทางสำหรับบุคคลหนึ่งบุคคลใดก็ตาม, เดินทางไปสู่โลกนิพพานได้. [face,lines:4 ต.ค.2560]
*****
4.3.3 The Excellent Phenomenon
Section 3
The Excellent Phenomenon
Section 3
There is the one who has been from NIRVANA. What he speaks is : There is not a friend, there is not a foe in NIRVANA. No friend and no enemy in NIRVANA. No people in NIRVANA. No thing in NIRVANA. There is no land, There is no water, There is no wind, There is no fire in NIRVANA. No sun, no moon, no star and no god. No happiness with no sickness. There is nothing in Nirvana. And, Buddha and the one from NIRVANA are the same with NIRVANA. Buddha is NIRVANA. The one from NIRVANA is NIRVANA.
Aren’t you interesting with what is now called NIRVANA? [face, lines:October 6,2017]
มีบุคคลหนึ่ง ผู้ที่ได้มาจาก นิพพาน, ได้บอกว่า; ในนิพพานนั้น ไม่มีคนรัก, และไม่มีผู้คิดร้าย, ไม่มีมิตร, ไม่มีศัตรู, ไม่มีคน ในนิพพาน, ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดในนิพพาน, ไม่มีดิน, ไม่มีน้ำ, ไม่มีลม, ไม่มีไฟ, ไม่มีดวงอาทิตย์, ไม่มีดวงจันทร์, ไม่มีดวงดาว, และไม่มีเทวดา, ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า; ความสุข, ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า; ความเจ็บไข้ได้ทุกข์, ไม่มีอะไรเลยในนิพพาน, และพระพุทธเจ้ากับบุคคลหนึ่งที่มาจากนิพพานนั้น, เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับนิพพาน. พระพุทธเจ้าคือ นิพพาน. บุคคลหนึ่งที่มาจากนิพพานนั้น ก็คือ นิพพาน.
ท่านกำลังสนใจกับสิ่งที่บอกขณะนี้ว่า นิพพาน แล้วรึยัง? [face,lines:6 ต.ค.2560]
*****
4.3.4 The Excellent Phenomenon
Section 4
The Excellent Phenomenon
Section 4
What is true? What is untrue?
These are the highest knowledge.
When you know what is the truth, you enter in it, live with it, and be the same with it, the truth.
But man is hard to learn the truth,
and man gets used with the untruth,
lives with it, be the same with it, the untruth.
If the truth is the light, the untruth is the darkness.
The world is darkness because it lives with the untruth.
So, the coming to the world of Buddha, is what an excellent phenomenon,
because Buddha is both the light and the truth. [face,lines:October 16, 2017:2560]
อะไรจริง? อะไรไม่จริง?
สองสิ่งนี้แหละเป็นความรู้อันสูงสุด.
เมื่อคุณรู้ว่าอะไรคือความจริงแล้ว, คุณก็จะเดินทะลุเข้าไปในความจริงนั้น, อาศัยอยู่กับความจริงนั้น, เป็นอยู่กับความจริงนั้น, และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับความจริงนั้น
แต่คนเรานั้น ยากที่จะเรียนรู้ความจริง, และกลับคุ้นเคยกับความไม่จริง, อาศัยอยู่กับมัน, เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับมัน, กับความไม่จริงนั้น.
ถ้าหากว่าความจริงคือแสงสว่าง, ความไม่จริงก็คือความมืด. โลกเรานี้มืดก็เพราะโลกเราอยู่กับความไม่จริง.
เพราะฉะนั้น การมาสู่โลกของพระพุทธเจ้า, จึงเป็นปรากฏการณ์ที่สุดแสนวิเศษ, เพราะพระองค์เป็นทั้งแสงสว่างและ ความจริง. [face,lines:16 ต.ค.2560]
*****
4.3.5 The Excellent Phenomenon
Section 5
The Excellent Phenomenon
Section 5
Phayap Panyatharo
6 พฤศจิกายน 2017 •
The world has no END or edge.
It has only INFINITY.
The world is humanbeing, and humanbeing has no END or edge.
Human has only INFINITY.
For example, human goes through the sky.
He never know the END of the sky.
He knows only the INFINITY of the universe.
Human has a brain to think. But it thinks of only the INFINITY.
Human has eyes to see.
But he can not see the END of the universe.
It is an excellent phenomenon. For the one from NIRAVANA,
who thinks and sees the END of the world,
and the end of the universe, and the end of all things.
He knows what is the END and what is the INFINITY.
The END or the edge is true and the INFINITY is false.
The false is what a man supposes. INFINITY is supposed.
And the END is the superb, fine, glorious NIRAVANA of BUDDHA.
[face, line : November 6,2017, 10:30:30 pm.]
โลกไม่มีที่สุด, หรือ ขอบสุด.
มันมีแต่ความไม่สิ้นสุด เท่านั้น
โลกคือมนุษย์, และมนุษย์ไม่มีที่สุด, ไม่มีขอบสุด.
มนุษย์มีแต่ ความไม่สิ้นสุดเท่านั้น
ตัวอย่าง; เมื่อมนุษย์ไปในท้องฟ้า, มนุษย์ไม่รู้หรอกซึ่ง จุดจบ ของท้องฟ้า, เขารู้แต่สิ่งเดียว; คือ ความไม่สิ้นสุดของจักรวาล.
มนุษย์มีมันสมองสำหรับการคิด, แต่สมองนั้นคิดได้เพียงแต่เรื่องเดียว. คือ เรื่องความไม่สิ้นสุด.
มนุษย์มีตาสำหรับดู,
แต่เขาสามารถดูเห็นได้เพียงเรื่องเดียว, คือ ความไม่สิ้นสุดของจักรวาล
มันจึงเป็นปรากฏการณ์ที่สุดแสนวิเศษ. สำหรับบุคคลผู้หนึ่ง,
ผู้ที่มาจากนิพพาน, ผู้ซึ่งคิด, และ มองเห็น ที่สุดของโลก, และ ที่สุดของจักรวาล, และ ที่สุดของสรรพสิ่งทั้งหลาย. เขารู้จักว่า ; อะไรคือ จุดจบ, หรือ ที่สุด, และ อะไรที่เป็น ความไม่สิ้นสุด, หรือ อินฟินิตี้.
จุดจบ;ที่สุด หรือขอบสุด นั้นเป็น ความจริง. แต่, จุดที่ไม่สิ้นสุด, หรือ อินฟินิตี้นั้น, เป็นความผิดพลาด
ความผิดพลาดนั้นคือ สิ่งที่มนุษย์สมมติขึ้น, ความไม่สิ้นสุด, หรือ อินฟินิตี้ จึงเป็นเพียงสิ่งสมมติเท่านั้นเอง.
และ จุดจบ, หรือ ที่สุด, นั้นเอง คือ พระมหานิพพาน, อันประเสริฐ, บรมสุข, ของ พระพุทธเจ้า.
[face, line : November 6,2017, 10:30:30 pm.].
*****
*****
และในลำดับต่อไปนี้ เราขอนำธรรมโอวาท ของท่านพระครูพุทธิพงศานุวัตร ที่ได้ให้ในเรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ เป็นการส่งท้ายปีเก่า พุทธศักราช 2560 ต้อนรับปีใหม่ พุทธศักราช 2561 ดังต่อไปนี้
4.4 ส.ค.ส.ส่งท้ายปีเก่า 2560
โอวาทธรรมในเรือนจำจังวัดศรีสะเกษ
ส.ค.ส.ส่งท้ายปีเก่า 2560
โอวาทธรรมในเรือนจำจังวัดศรีสะเกษ
28 ธ.ค. 2560
ขอเจริญพร ท่านผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ วันนี้ทางเรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ ได้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์จำนวน 7 รูปมาจากวัดมหาพุทธารามพระอารามหลวง มาที่เรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ ทั้งนี้โดยประสงค์การบุญกุศลเบื้องต้น ก็ตามหลักมงคลสูตรข้อหนึ่ง ที่ว่า ด้วยการได้พบเห็นสมณะนั้น เป็นมงคลอันสูงสุดข้อหนึ่ง คือข้อที่ 29: "สมณานญฺจ ทสฺสนํ" การได้เห็นสมณะ
ได้แก่การได้เห็นด้วยตาได้สัมผัสรูปร่าง หน้าตา การนุ่งห่มของท่าน เห็นผ้ากาสายะของท่านนุ่งห่มเท่านั้นก็นับว่าเป็นมงคลสูงสุดของชีวิตข้อหนึ่งในมงคล 38 ข้อแล้ว ซึ่งพวกท่านทั้งหลายในที่นี้ โดยปกติวิถีทางชีวิตพวกเรานั้น ไม่ค่อยจะได้เห็นอะไรภายนอกกำแพงเรือนจำ ที่อยู่อาศัยของพวกเรา การได้พบเห็นสมณะ ก็ยากที่จะได้พบเห็น ในวันนี้ การที่ได้พบเห็นสมณะ จึงถือเป็นมงคลแก่ชีวิตอย่างหนึ่งจริง ๆ
และที่เป็นประเพณีของเรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ ทุกปี ๆ มาก็คือการจัดให้ท่านทั้งหลาย ทั้งฝ่ายผู้ปกครอง ผู้ดูแลบริหารเรือนจำ นำโดยท่านผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ ไปจนถึงท่านทั้งหลายที่เป็นเจ้าหน้าที่หรือผู้คุม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งได้เปิดโอกาสให้ท่านทั้งหลายผู้ที่ได้ชื่อว่า ผู้ต้องขัง หรือ คำพูดที่แรงไปกว่านั้นหน่อยว่า ผู้ต้องโทษ หรือ นักโทษ ซึ่งในปีนี้ทราบจากท่านเจ้าหน้าที่มาก่อนแล้วว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นไปถึง 1,500 คนไปแล้ว ได้มีโอกาสทำบุญประจำปี นั่นคือ การจัดงานส่งท้ายปีเก่า พุทธศักราช 2560 ต้อนรับปีใหม่ พุทธศักราช 2561 ขึ้นที่เรือนจำแห่งนี้ และได้นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพุทธูมนต์ ในพิธีทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทาน เหมือนเช่นที่เคยทำมาทุก ๆ ปี และบัดนี้ท่านทั้งหลายก็ได้ทำบุญสังฆทาน ตักบาตรไปแล้ว ในลำดับต่อไปก็เป็น วาระที่ทางฝ่ายสงฆ์จะได้ให้คำอนุโมทนา หรือแท้จริงก็คือคำขอบคุณ ขอบใจ ที่พวกท่านทั้งหลายได้ทำการมอบ ให้ทานมาแล้วซึ่งภัตตาหาร ข้าวสาร อาหารแห้ง จากพวกท่านทั้งหลายนับ พัน ๆ คน จนได้อาหารมากมายหลายกระสอบ อาตมภาพในฐานะประธานของหมู่สงฆ์ ก็จะขออำนวยพร แต่ก่อนการอำนวยพรตามหลักการบาลี ที่เป็นวัฒนธรรมสงฆ์โดยปกตินั้น ก็จะขอให้สัมโมทนียกถาธรรม 2 เรื่องก่อน
เรื่องที่ 1 เรื่องข้าวของที่ท่านทั้งหลายร่วมกันทำบุญได้หลายกระสอบนั้น ทางฝ่ายสงฆ์วัดมหาพุทธาราม พระอารามหลวงนี้ จะขอมอบให้ทางเรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อท่านจะได้นำไปช่วยแจกจ่าย ช่วยเหลืออุปการะแด่ประชาชนผู้ที่ประสบความเดือดร้อน หรือแม้กระทั่งพวกเราเอง ซึ่งเป็นผู้ต้องขัง ต้องโทษอยู่ที่เรือนจำนี้เองก็ตาม ตามแต่ทางท่านผู้บัญชาการเรือนจำท่านจะได้พิจารณาต่อไปซึ่งทางฝ่ายสงฆ์ก็จะมีความสุขใจ ชื่นชมยินดีตามไปด้วย
และอีกข้อหนึ่ง เป็นข้อที่ 2 ก็จะขอให้ข้อคิดเตือนใจโดยธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงสอนเอาไว้ ซึ่งอาตมภาพอยากจะขอเตือนพวกเราทั้งหลายในที่นี้ ในที่ประชุมเรือนจำนี้ ว่า พวกเราในที่นี้ ไม่ว่าใครก็ตาม ตั้งแต่ท่านผู้บัญชาการเรือนจำ ท่านเจ้าหน้าที่ระดับผู้ใหญ่ หัวหน้า ผู้บังคับบัญชาควบคุม ลงมาจนนถึงพวกท่านทั้งหลายผู้ได้ชื่อว่า ผู้ต้องขัง หรือผู้ต้องโทษ หรือแม้คำแรง ๆ ว่า นักโทษร่วม 1500 คนในที่นี้ โดยธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้ว พวกเราทั้งหลาย ไม่ว่าใครก็ตาม ชื่อว่าอะไรก็ตาม ไม่ว่าท่านผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งในวันนี้ท่านก็อยู่ในฐานะผู้ตรวจราชการเรือนจำภาคอีสานนี้ด้วย ผู้คุม หรือเจ้าหน้าที่ ไม่ว่าผู้ต้องขัง ผู้ต้องโทษ หรือ นักโทษ ก็ตาม มีความเสมอภาคกันหมดในเรื่องหนึ่ง ตามธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นคือ พวกเราทั้งหมดเสมอกันในฐานะของความเป็นทาส มีความเป็นทาสเหมือนกันหมดทุกคน ไม่แตกต่างเลย ถูกบังคับ กดขี่ บังคับบัญชาจากผู้เป็นนายทาสเหมือน ๆ กันหมด เสมอกันหมด ไม่มีใครหลีกพ้นไปได้ นี่คือสิ่งที่พวกเรายังมองไม่เห็น จึงขอบอกว่านายทาสของเราทั้งหลายตามหลักธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ว่านั้นมีอยู่ 3 นาย ที่มีอำนาจเหนือเรา ที่บังคับกดขี่เราทุกคนอยู่ตลอดไปตราบมีชีวิต ตลอดชีวิตนี้ นายทาสทั้ง 3 นายก็คือ 1. อนิจจัง 2. ทุกขัง และ 3. อนัตตา ตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเตือนสาวกของพระองค์ให้ศึกษา พิจารณาติดตาม ความเคลื่อนไหวของนายทาส ดูให้เห็น ให้รู้ความจริง ในเรื่อง 3 เรื่อง ตามที่ทรงตรัสว่า
สัพเพ สังขารา อนิจจา สังขารไม่เที่ยงหนอ
สัพเพ สังขารา ทุกขา สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์หนอ
สัพเพธรรมา อนัตตา ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
ซึ่งธรรม 3 หมวด 3 ข้อนี้ พุทธองค์ทรงสอนปัญจวัคคีย์เป็นเรื่องแรก นั่นคือ ธัมมจักกัปปวัตนะสูตร นั่นเอง เป็นผลให้รู้แจ้ง มองเห็นนายทาสทั้ง 3 ได้ชัดเจน จึงได้สำเร็จโสดาบันกันทั้งหมด พ้นไปได้จากนายทาส อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สำหร็จโสดาบันไปได้
เพราะฉะนั้น ในวันนี้ จึงขอฝากธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ให้พวกท่านทั้งหลายนำไปพิจารณา ติดตามศึกษา หรือวิปัสสนาอยู่เนือง ๆ ก็จะสามารถทำความเข้าใจได้ซึ่งนายทาสทั้ง 3 คือ อนิจจัง ว่าคืออะไร ทุกขัง ว่าคืออะไร และอนัตตา ว่าไม่มีตัวตนอย่างไร ก็จะได้บรรลุธรรมขององค์พุทธเจ้า สำเร็จโสดาบันได้
ฉะนั้น โอกาสนี้จึงขอฝากให้เป็นข้อคิดพิจารณาสำหรับท่านทุก ๆ คนในเรือนจำ ที่คุมขังผู้ต้องโทษทั้งหลาย ว่าเราเสมอกันหมดในด้านที่ว่าต่างเป็นทาสของ อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา ขอให้เอาใจใส่ศึกษา อย่าได้ทอดทิ้ง พิจารณาอยู่เนือง ๆ ไปตลอดชีวิต ให้ได้ทราบสัจธรรมว่า อนิจจัง คือความไม่เที่ยง สังขารของเราไม่อาจจะอยู่เที่ยง ตรงเหมือนเดิมได้ แต่จะมีการแปรเปลี่ยนไปตลอด ทุก ๆ เวลานาที ให้เรารู้เราเห็นทันความจริงนี้ ด้วยการหมั่นพิจารณาจากสังขารตนเองนี่เอง ทุกขัง ความเป็นทุกข์ นั่นคือชีวิตเราทุกคนเกิดมาแล้ว ก็พบแต่ปัญหาของชีวิตอยู่ตลอด ไม่ว่าใคร ทำหน้าที่อะไร ไม่เคยมีคนหนึ่งคนใดพ้นไปจากปัญหา ทุก ๆ คนเป็นทุกข์กันทั้งสิ้น เจอปัญหากันทั้งสิ้น แต่ทุกข์กันไปคนละแบบ ท่านผู้บัญชาการเรือนจำ ท่านก็มีปัญหา มีทุกข์ของท่านที่ท่านต้องแก้ไขของท่าน ท่านผู้ต้องขังก็มีทุกข์ มีปัญหาของตนไปคนละอย่าง และที่สำคัญที่เห็นง่าย ๆ ก็คือ เกิด แล้วแก่ แล้วเจ็บ แล้วก็ตายกันทุกคน ไม่มีใคร ผู้ใดหลีกพ้น พ้นอำนาจนายทาสตนนี้ไปได้ แม้กระทั่งเรื่องที่ประชาชนชาวไทยเราได้พบได้เห็นมาเมื่อคราวองค์พระบิดา พระมหากษัตริย์ ที่เรารักเคารพบูชา พระองค์ก็มิได้พ้นไปได้ ต้องจากพวกเราไปตามบัญชานายทาส ที่ชื่อว่าทุกขังนี่เอง นี่แหละทุกข์ที่เห็นกันง่าย ๆ ด้วยตาภายนอกนี่เอง ไม่มีใครพ้นไปได้ จึงบอกว่านี่แหละเจ้านาย นายทาสของเราจริง ๆ และ อนัตตา ความที่ไม่มีตัวตนหรอก ที่เราเห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู ได้กลิ่นด้วยจมูก ได้รสด้วยลิ้น ได้สัมผัสด้วยอวัยวะทางกาย และทางใจ นั้น ที่ทำเรานึกว่าเป็นตัวเป็นตนนั้น ที่จริงไม่มีตัวตนเลย ให้ศึกษาไปเถอะ จนกว่าจะรู้แจ้งความจริงนี้แล้ว จักได้เข้าสู่เส้นทางอริยมรรคขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เส้นทางแห่งความสุขอันประเสริฐที่ พ้นทุกข์ทั้งปวงได้.
สำหรับเรือนนักโทษหญิง ที่หลวงพ่อมีโอกาสมาเยี่ยมเยียน ในวันปีเก่าต่อปีใหม่นี้ ก็มาแล้วได้พบล้วนผู้หญิงที่ต้องโทษอยู่ในเรือนจำหญิงแห่งนี้ ก็ขอให้ได้เข้าใจจริง ๆ ว่าพวกเรา เป็นผู้หญิง แต่สิ่งที่จะต้องมองให้เห็นความสำคัญอย่างยิ่งใหญ่นั้นก็คือ พวกเราผู้หญิงนี้ ทุกคนนั้นแหละ มีความเป็นแม่อยู่ทุกคน ทุกคนในที่นี้ จะต้องไม่ลืมตนว่า เราไม่ได้เป็นผู้หญิงธรรมดาทุกคน จะต้องเป็นแม่ ผู้ซึ่งจะมีลูกออกมา ทั้งลูกผู้หญิงและลูกผู้ชาย และเราจะต้องคิดต่อไปได้ว่าการเป็นแม่นั้น บอกถึงหน้าที่สำคัญของเรา 2อย่าง ตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระบรมศาสดาของเรา ทรงสอนไว้ นั่นคือ แม่จะต้องสอนลูกทุกคน 2 อย่างเป็นเบื้องต้น ตามที่พุทธองค์ทรงสอน สิงคาลมาณพ ตามหลักสิงคาลสูตร เรื่อง ทิศเบื้องหน้า แม่ต้องสอนลูก 2 อย่าง นั่นคือ 1. สอนไม่ให้ลูกกระทำกรรมชั่วใดใด 2. สอนให้ลูกกระทำแต่ความดี ด้วยเหตุที่เราต้องมีหน้าที่อย่างนี้ พวกเราจึงต้องเข้าใจตนเองให้ดีว่า เราไม่ได้เป็นเพียงสตรีธรรมดา แม้ว่าในวันนี้ เราจะได้เข้ามาอยู่ในสถานที่แห่งนี้ และเราได้ชื่อว่า ผู้ต้องขัง หรือ ผู้ต้องโทษ หรือ นักโทษหญิงก็ตาม แต่เราก็ยังคงดำรงสถานะความเป็นแม่ อยู่ตลอดเวลาที่เราเป็นผู้หญิง ซึ่งหมายถึง หน้าที่สำคัญ คือการสอนลูก ๆ ทั้งหลายของเราผู้เป็นแม่ ใน 2 ประการเป็นเบื้องต้น นั่นคือ เราจะต้องสอนเขาให้เป็นคนดี ให้ละเว้นจากการกระทำชั่ว ฉะนั้น เมื่อเราจะต้องสอนลูก ๆ เราอย่างนี้แล้ว หากเราเอง ไม่ยอมประพฤตตนเป็นคนดี แล้วเราจะได้ชื่อว่าเป็นแม่ได้อย่างไร หลวงพ่อจึงมาเน้นให้รำลึกตนเอง รำลึกความเป็นผู้หญิง ผู้ที่จะต้องเป็นแม่ ผู้ที่มีหน้าที่ของความเป็นแม่อยู่กับตัวตลอดเวลา แล้ว เราก็จะต้องระวังตัวเองนั่นเอง มีสติรู้ตัวตนเองเสมอว่าจะสอนลูกให้เป็นคนดีได้อย่างไร หากเราไม่ทำความดี หากเราไม่ละความชั่ว ไม่ทำความดี จะสอนลูกให้ละความชั่ว ให้ทำแต่ความดีได้อย่างไร ฉะนั้น วันนี้ จึงขอฝากธรรมะเตือนใจของเรา นักโทษหญิงทั้งหลาย ว่าเรานั้นไม่ใช่หญิงธรรมดา แต่เป็นแม่ ผู้ที่มีหน้าที่สอนลูกของเราให้เป็นคนดี เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้เป็นแม่นี้เอง จะต้องทำความดี ละเว้นการกระทำชั่ว เป็นแบบอย่างแด่ลูกที่รักของเราต่อไป และโทษของเราที่รับอยู่ เมื่อเราได้มารำลึกอย่างที่อาตมภาพบอกไปถึงความเป็นแม่แล้ว ก็คงจะไดัรับการอภัยโทษและได้ออกไปสู่โลกของเรา โลกอิสรภาพได้ในไม่ช้าไม่นาน และที่สำคัญ หวังว่าจะเข้าใจหลักธรรมข้อสำคัญของความเป็นหญิง ความเป็นแม่ แล้วนำไปคิด พิจารณาตรึกตรองดูตลอดไป อย่าได้ทอดทิ้ง วันหนึ่งก็จะบรรลุความดีสูงสุด ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ตามรอยองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าไปได้ ขอเจริญพร
· พระครูพุทธิพงศานุวัตร
ผจล.วัดมหาพุทธาราม พระอารามหลวง
28 ธ.ค.2560
*****
และในลำดับต่อไป เราจะนำพระธรรมที่ได้เทศนาถวายแด่การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช มหาราช 2 วาระ คือ วาระที่ทรงสวรรคต กับ วาระที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพ ตามที่ได้นำลงแล้ว ในหนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 51 และ เล่มที่ 52 ไปแล้ว ซึ่งเราเอามารวมไว้ในเล่มที่ 53 อีกที่หนึ่ง ตามลำดับ ต่อไปนี้
4.5 บทนำแห่งธรรมะ ชุดที่ 1
ปัญจักขันธา 1,2,3
บทนำแห่งธรรมะ
ชุดที่ 1
ปัญจักขันธา 1,2,3
ถวายแด่วันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภูมิพลอดุลยเดช มหาราชชาติไทย
วันที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559 เวลา 15.23 น.
ณ ร.พ.ศริริราช กรุงเทพมหานคร
เราจะขออุทิศเรื่องราวในส่วนที่เกี่ยวกับการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระปรมินทรมหาภูมิภล อดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงสวรรคตไปเมื่อ วันที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559 เวลา 15.20 น. และทางราชการ รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา ประชาชนไทยทั้งชาติ ได้ปฏิบัติงานหนักกันต่อมา เพื่อจัดพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พุทธศักราช 2560
ซึ่งหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 51 ประจำวันเดือน มกราคม – กันยายน พุทธศักราช 2559 ของเรา ได้ถวายบทเทศนาธรรมะ แด่การสวรรคตของพระองค์ ไปแล้ว เป็นเรื่องแรก นั่นคือ ปัญจักขันธา 1-2-3 ซึ่งเราคิดว่า เราได้ทำความดีถวายแด่พระองค์ผู้ทรงล่วงลับไป ด้วยการเสนอธรรมะที่สุดอลังการ สมกับการถวาย มหาราช ผู้จากไป ของประเทศไทย
และเนื่องจาก มาถึงวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระองค์ วันที่ 26 ตุลาคม พุทธศักราช 2560 หนังสือพิมพ์ดี ก็ไม่มีอะไรจะถวายพระองค์ นอกจาก พระธรรมเทศนา หรือ บทนำแห่งธรรมะอีก 1 ชุด เป็นพิเศษ สุดอลังการ ที่มีเนื้อความต่อเนื่อง ขยายความเข้าใจธรรมะ เพิ่มเติมไปอีก ฉะนั้น ในหนังสือพิมพ์ดี ฉบับที่ 53 นี้ เราจึงจะรวมเอาบทนำแห่งธรรมะ ที่ท่านพระครูพุทธิพงศานุวัตร ผจล.วัดมหาพุทธาราม พระอารามหลวง จังหวัดศรีสะเกษรจนาถวายแด่การจากไปของพระองค์ มารวมลงในหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53 นี้ จึงขอให้ท่านผู้อ่าน ผู้ติดตามหนังสือพิมพ์ดี ได้ รับฟังบทนำแห่งธรรมะ ทั้ง 2 เรื่อง(2 ชุด) ติดต่อกันไปเลยในหน้าบรรณาธิการ ทั้ง 2 เรื่อง ตามลำดับไป ดังต่อไปนี้
บทนำแห่งธรรมะ
ชุดที่ 1
ปัญจักขันธา 1,2,3
ถวายแด่วันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภูมิพลอดุลยเดช มหาราชชาติไทย
วันที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559 เวลา 15.23 น.
ณ ร.พ.ศริริราช กรุงเทพมหานคร
********************************
4.5.1 ปัญจักขันธา 1
ปัญจักขันธา 1
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ มหาราชไทยลำดับที่เก้าแห่งราชวงศ์จักรี ประเทศไทย เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2489 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เสวยราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์โลก [ซึ่งกษัตริย์องค์รอง ลำดับการครองราชย์นานเป็นรอง ที่ 2 ก็คือ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เอลิซาเบธ ที่ 2 (Queen Elizabeth 2 )แห่งสหราชอาณาจักร และเครือจักรภพ ที่ทรงครองราชย์มาถึงวันเดียวกันนี้ 64 ปี]
ทรงมีพระราชสมภพเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2470, เคมบริดจ์, รัฐแมสซาชูเซตส์, ประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช2559, เวลา 15.52 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช, กรุงเทพมหานคร ขณะทรงพระชนมายุ 88 พรรษาและครองราชย์มา 70 ปี ท่ามกลางความเศร้าโศกของพสกนิกรชาวไทย และชาวพุทธทั่วโลก
นี่คือบทนำแห่งธรรมะ ในพระพุทธศาสนา รจนาแด่การเสด็จสวรรคต ของพระองค์
ปัญจักขันธา รูปักขันโธ, เวทนากขันโธ, สัญญากขันโธ, วิญญานักขันโธ, สังขารักขันโธ
คนเรานี้คือกองสังขาร5 กองประกอบกันเป็นหนึ่ง การได้เป็นคน มีชีวิตขึ้นมา จนอยู่ไปตามลำดับแห่งชีวิต ตามหลักพระพุทธศาสนานั้น ได้มาเพราะการประกอบกันของกองขันธ์ 5 กอง คือ
1. รูปขันธ์ ได้แก่ รูป ร่างกาย พร้อมอวัยวะ 32 อย่าง อวัยวะภายนอก และ อวัยวะภายใน(นับแต่ หัว หู หน้า ตา หน้าผาก คอ บ่าไหล่ แขน ลงมาถึงหน้าอก ท้อง ขา เท้า และทั้งอวัยวะภายใน มีตับ ปอด หัวใจ ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะอาหาร อวัยวะเพศ ฯลฯ หรือในยุควิทยาศาสตร์ ด้วยวิชาวิทยาศาสตร์จะทราบรายละเอียดของร่างกายคนนี้อย่างมากมายกว่า32อย่าง เป็น 100 เป็น 1000 อย่าง ...แต่ก็เป็นรูปขันธ์เหมือนกัน) ทางภาษาสากลให้ความหมายว่า the body, natural state, form, figure, shape, image, characteristic. Skt. rupa
2. เวทนากขันโธ เวทนาขันธ์ กองแห่งเวทนา ธรรมชาติอันเสวยอารมณ์ ความเสวย คือรู้รสอารมณ์ ได้แก่ความรู้สึกต่าง ๆ มาทางอารมณ์ ที่เป็นทั้งสุข และทุกข์ ทั้งความเจ็บปวดและความสุขใจ อิ่มใจ the aggregate of feeling, pain, suffering, sensation, perception
3. สัญญากขันธโธ ได้แก่ ความคิด ความจำได้ หมายรู้, ความจงใจ ตั้งใจ, นึกคิด, จำ, สำคัญ, ชื่อ, ในสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต thought, sense, memory, perception, intellect, sign, gesture, name
4. วิญญานักขันโธ ได้แก่ความรู้สึก ใจ ที่ผ่านมาทางอายตน 6 คือ หู ตา จมูก ลิ้น สัมผัสทางกาย และ สัมผัสทางใจ intelligence, knowledge, consciousness, thought, mind (ในพุทธธรรม คำว่าวิญญาณนี้ ไม่ใช่ดวงวิญญาณ ที่ล่องลอยออกไปจากร่างเมื่อเวลาสิ้นชีวิต หรือสิ่งที่เป็นดวงจิตที่อาจจะล่องลอยไปไหนมาไหนก็ได้ และไม่ได้หมายถึงภูติ ผี ปีศาจ เทพ หรือ เทวดา)
5. สังขารักขันโธ ธรรมอันปัจจัยตกแต่ง, ความแต่ง, ความอบรม, สังขาร, ปัจจัยประชุมเกิด ได้แก่ความคิดปรุงแต่งจิตใจให้เป็นไป ทั้งดี ทั้งชั่ว หรือเป็นกลาง ๆ ไม่ดีไม่ชั่ว เป็นปัจจัยตกแต่ง ความปรุง ความอบรม การปรุงแต่งของภาคนามธรรมกับรูปธรรม constructing, preparing, perfecting, embellishing, aggregation, matter, Karma
กองทั้ง 5 กองขันธ์นี้ ก็แบ่งเป็น 2 ลักษณะ มีลักษณะ 2 อย่างที่แตกต่างกัน ดังนี้คือ มีรูปธรรมหนึ่ง กับ นามธรรมหนึ่ง คือ
1. รูปธรรม กองที่เป็นรูปร่าง เป็นตัวตน มองเห็นได้ สัมผัสถูกต้องได้ คือ รูปักขันโธ นั่นเอง หรือเรียกว่า ส่วนกาย (ตรงกับภาษาสากลว่า body )
2. นามธรรม คือ เวทนาขันโธ, สัญญาขันโธ, วิญญานขันโธ, สังขารขันโธ 4 รวมกัน เป็นส่วนที่มองด้วยตาไม่เห็น สัมผัสถูกต้องไม่ได้ เรียกว่า นามธรรม ( mind)
รูปธรรม1กอง ฝ่ายกาย[body] และนามธรรม4กองที่ประสานกันเป็นฝ่ายจิตใจ[mind]นี้แหละ ประกอบกันแล้ว เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังขาร คือร่างกาย จิตใจ และรูปธรรมนามธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น เกิดเป็นคน ที่มีรูปร่าง หน้าตา และจิตใจขึ้นมา
สัจธรรมตรงนี้ก็คือ คน ไม่ว่าคนใด คนไหน คนอย่างไร คนใหญ่ คนโต คนล้นด้วยบารมี อำนาจ คนจนต่ำต้อย คนด้อยวาสนา คนรวย เศรษฐี มหาเศรษฐี ข้าราชการ กรรมกร ชาวนา ประชาชนหรือกษัตริย์ มหากษัตริย์ มหาราช นายกรัฐมนตรี นายพลเอก นายพลโท หรือพลทหาร ก็เหมือนกัน ในแง่ที่ว่า เกิดมา อยู่ เป็น ไปได้ด้วยปัญจักขันธา รวม 5 องค์ประกอบนี้ ....เหมือนกัน เป็นคนเหมือนกันหมด
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสสิ่งที่เป็นความรู้อย่างยิ่ง(อุตตริมนุสสธรรม)ก็คือตรัสเกี่ยวกับเรื่องรูปธรรมนามธรรม หรือ กองขันธ์ทั้ง 5 หรือสังขาร หรือคนเรานี้เอง ให้คนรู้ว่า สัจธรรมของสังขาร หรือ คน เรานั้นคืออะไร สัจธรรมที่ควรรู้คืออะไร อย่างไร หากหมั่นพิจารณาอยู่บ่อย ๆ เป็นประจำ ก็จะเกิดปัญญาแจ่มแจ้ง นำไปสู่ความพ้นทุกข์ได้
ดังตัวอย่างหมู่พระสาวก สงฆ์ สามเณร ที่มีวัตรสวดมนต์เช้า สวดมนต์เย็น เป็นประจำทุกวัน ๆ ตลอดชีวิตนักบวช เน้นลงไปที่สัจธรรมที่ทรงบอกไว้ นั้น ๆ ล้วนแต่เพื่อชี้ นำทางคนทั้งหลาย ไปสู่มรรคผล นิพพาน เป็นทางไปสู่ความพ้นทุกข์ทั้งสิ้น ทั้งทางกายและทางใจ หรือหากนับเป็นทรัพย์ นั่นคือ อริยทรัพย์ ที่ประมาณค่าไม่ได้ (คือได้ความเป็นอริยชนผู้ประเสริฐ ผู้เสวยซึ่งมรรค ผล นิพพาน แล้วอิ่มไปนิรันดร)
ตัวอย่างเช่นที่ปรากฎในธัมมะนิยามะสุตตัง ว่า
สัพเพ สังขารา อนิจจาติ สังขารคือร่างกายจิตใจ, แลรูปธรรม นามธรรม ทั้งหมดทั้งสิ้น มันไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไป มีแล้วหายไป unstable, not lasting, transitory, perishable
สัพเพ สังขารา ทุกขาติ ลำบาก นำมาซึ่งทุกข์ สังขารคือร่างกายจิตใจ, แลรูปธรรม นามธรรม ทั้งหมดทั้งสิ้น มันเป็นทุกข์ทนยาก, เพราะเกิดขึ้นแล้ว, แก่ เจ็บ ตายไปpainful, grievous, unpleasant, difficult
สัพเพธัมมา อนัตตาติ ใช่อาตมา, ใช่ของอาตมา, สิ่งทั้งหลายทั้งปวง, ทั้งที่เป็นสังขาร แลมิใช่สังขารทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน, ไม่ควรถือว่าเรา ว่าของเรา ว่าตัวว่าตนของเรา not a self, not a soul
ดังมีส่วนขยายความเข้าใจออกไปอีกโดยการเจริญวิปัสนาตามไปตามบทสวดของพระสาวก ว่า ....
ชาติปิ ทุกขา (แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์)
ชะราปิ ทุกขา (แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์)
มะระณัมปิ ทุกขัง, (แม้ความตายก็เป็นทุกข์)
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา, (แม้ความแห้งใจ ความพิไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความเสียใจและคับแค้นใจก็เป็นทุกข์)
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข (ความประสบความเห็นสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์)
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง (ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นสมหวังก็เป็นทุกข์)
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา (ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้งห้าเป็นตัวทุกข์...... การยึดขันธ์ห้าว่าเป็นเราก็เป็นทุกข์)
เสยยะถีทัง ได้แก่สิ่งเหล่านี้.......นี้อย่างไร
รูปูปาทานักขันโธ, (การหลงยึดเอารูปว่าเป็นของเรา)
เวทะนูปาทานักขันโธ,( การหลงยึดเอาเวทนาว่าเป็นของเรา)
สัญญูปาทานักขันโธ, (การหลงยึดเอาสัญญาว่าเป็นของเรา)
สังขารูปาทานักขันโธ,( การหลงยึดเอาสังขารว่าเป็นของเรา...ปรุงแต่งอะไรขึ้นมาก็ว่าเป็นของเรา)
วิญญาณูปาทานักขันโธ ( การหลงยึดเอาวิญญาณว่าเป็นของเรา)
[อุปาทานํ ความถือมั่น, ความเข้าไปถือเอา, ถือมั่น(ผ); เชื้อไฟ หรือฟืน(ชิน.๓๖/๑๒);ตัณหา (ม.นิท. อ/กาม ๘) สํ. อุปาทาน. attachment, clinging to existence; firewood, fuel.] ทำความเข้าใจโดยหลักสนธิไทย รูป+อุปาทาน+ก = รูปูปาทานักขันโธ
เยสังปริญญายะ, ธะระมาโนโส ภะคะวา, เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ,
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังดำรงพระชนม์อยู่ ย่อมแนะนำสาวกทั้งหลาย เพื่อให้รู้ซึ่งอุปาทานขันธ์(เพื่อให้รู้ซึ่งการหลงยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของเรา) ทั้งหลายอย่างนี้ เป็นอันมาก
เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ,
ก็แลการพร่ำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีส่วนอย่างนี้ เป็นไปมากในหมู่สาวกทั้งหลาย
รูปัง อะนิจจัง, (รูปไม่เที่ยง)
เวทะนา อนิจจา, (เวทนาไม่เที่ยง)
สัญญา อะนิจจา, (สัญญาไม่เที่ยง)
สังขารา อะนิจจา, (สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง...ปรุงแต่งเป็นนั่นเป็นนี่แล้วก็ไม่เที่ยงหรอก)
วิญญาณัง อะนิจจัง, (วิญญาณไม่เที่ยง)
รูปัง อะนัตตา, (รูป ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน, ไม่ควรถือว่าเรา ว่าของเรา ว่าตัวว่าตนของเรา
เวทะนา อะนัตตา, (เวทนา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน, ไม่ควรถือว่าเรา ว่าของเรา ว่าตัวว่าตนของเรา
สัญญา อะนัตตา, (สัญญาไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน, ไม่ควรถือว่าเรา ว่าของเรา ว่าตัวว่าตนของเรา
สังขารา อะนัตตา, (สังขารทั้งหลายไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน, ไม่ควรถือว่าเรา ว่าของเรา ว่าตัวว่าตนของเรา
วิญญาณัง อะนัตตา, วิญญาณไม่ใช่ตัวตน, ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน, ไม่ควรถือว่าเรา ว่าของเรา ว่าตัวว่าตนของเรา
สัพเพ สังขารา อนิจจา,(สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง...มันเปลี่ยน แปรไปตลอดเวลา)
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ, (ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นของมิใช่ตัวมิใช่ตนของเรา[...มันไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของของใครเลย] ดังนี้แล)
เมื่อเราเจริญความคิด เจริญวิปัสสนาไป จนเห็นความจริงว่า ตัวเราเอง เป็นเพียงปัญจักขันธา รูปธรรม นามธรรม หรือ กองขันธ์ทั้ง 5 มารวมกันเป็นหนึ่ง ที่เรียกว่าคน หรือ มนุษย์ รูปธรรม นามธรรมนี้ ก็ย่อมไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของเราเลย (มันไม่อยู่ในอาณัติของเราเลย ถึงเวลาของมัน ๆ ก็เป็นไป ตามธรรมชาติของมัน เช่นมีเกิด มีแก่ มีเจ็บ มีตาย ลำดับไปเองเป็นธรรมดา) ก็จะพ้นทุกข์ เกิดวิปัสสนาญาณ นำไปสู่มรรคผล ทางสู่โลกนิพพาน ตามคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้
จิระปะริพิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา ,
เราทั้งหลายผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้วพระองค์นั้น เป็นสรณะ
ธัมมัญจะ สังฆัญจะ , ถึงพระธรรมด้วย ถึงพระสงฆ์ด้วย
ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาสะติ ยะถาพะลัง มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ ,
จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตามสติกำลัง
สา สา โน ปะฏิปัตติ ,
ขอให้ความปฏิบัตินั้น ๆ ของเราทั้งหลาย
อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ ,
จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้เทอญ
· พระครูพุทธิพงศานุวัตร
วัดมหาพุทธาราม พระอารามหลวง
อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
17 ต.ค. 2559 เวลา 20:30:30 น.
· เอกสารอ้างอิง ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต PALI – THAI – ENGLISH – SANSKRIT – DICTIONARY ฉบับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พิมพ์ในคราวอายุครบ ๕ รอบ หม่อมหลวงบัว กิติยากร ในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๒
*****
4.5.2 ปัญจักขันธา 2
ปัญจักขันธา ๒
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ มหาราชไทยลำดับที่เก้าแห่งราชวงศ์จักรี ประเทศไทย เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2489 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เสวยราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์โลก [ซึ่งกษัตริย์องค์รอง ลำดับการครองราชย์นานเป็นรอง ที่ 2 ก็คือ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เอลิซาเบธ ที่ 2 (Queen Elizabeth 2 )แห่งสหราชอาณาจักร และเครือจักรภพ ที่ทรงครองราชย์มาถึงวันเดียวกันนี้ 64 ปี]
ทรงมีพระราชสมภพเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2470, เคมบริดจ์, รัฐแมสซาชูเซตส์, ประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559, เวลา 15.52 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช, กรุงเทพมหานครขณะทรงพระชนมายุ 88 พรรษาและครองราชย์มา 70 ปี ท่ามกลางความเศร้าโศกของพสกนิกรชาวไทย และชาวพุทธทั่วโลก
นี่คือบทนำแห่งธรรมะ ในพระพุทธศาสนา รจนาแด่การเสด็จสวรรคต ของพระองค์
ปัญจักขันธา ๒
เรื่องราวของชีวิต ซึ่งแท้จริงคือสังขารที่ประกอบกันขึ้นจาก ขันธ์ทั้ง 5 ดังกล่าวมาแล้วนั้น เป็นมนุษย์ เป็นคน มีรูปธรรม นามธรรมประกอบกันเป็นสังขารนั้น แท้จริงคือ เรื่องราวของธรรมชาติ ธรรมดา ๆ ที่มีอยู่เอง เป็นอยู่เองแปรเปลี่ยนไปเองของมัน มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว แม้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงตรัสไว้อย่างตรงความจริง ที่ว่า
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จักเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม ธาตุคือสิ่งทรงตัวเองอยู่ได้อันนั้น ดำรงอยู่ได้โดยธรรมดาของมันอย่างนั้น สิ่งที่ถูกกำหนดมาตามธรรมดาของมันว่า จะเป็นอย่างนั้น มันเป็นอย่างนั้นของมันเอง มีพระพุทธเจ้าหรือไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดมา มันก็เป็นของมันเองอย่างนั้น และประเด็นที่คนทั้งหลายไม่เคยรู้มาก่อนเลยก็คือ“สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งหลายทั้งปวง(คือสิ่งของทั้งหลายในโลกรวมเรียกว่าสรรพสิ่งนั้น) เป็นอนัตตา(ไม่ใช่ของใครคนใดเลย ไม่มีใครคนใดคนหนึ่งอาจยึดเอาเป็นของตนได้)”
ดังปรากฏใน ธัมมะนิยามะสุตตัง ต่อไปนี้
ยัง เว นิพพานะญาณัสสะ ญานัง ปุพเพ ปะวัตตะเต
ตัสเสวะ วิสะยีภูตา ยายัง ธัมมะนิยามะตา
อะนิจจะตา ทุกขะตะ จะ สัพเพสัง จะ อะนัตตะตา
ตัสสา ปะกาสะกัง สุตตังยัง สัมพุทเธนะ ภาสิตัง
สาธูนัง ญาณะจาเรนะ ยะถา พุทเธนะ เทสิตัง
โยนิโส ปะฏิปัตยัตถัง ตัง สุตตันตัง ภะณามะเส ฯ
กฎ ธรรมชาติที่กำหนดแน่นอน สำหรับสรรพสัตว์ที่ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เป็นวิสัยแห่งผู้ได้ญาณหยั่งรู้พระนิพพาน ที่มีมาแล้วในกาลก่อน พวกเราทั้งหลายจงร่วมกันสวดพระสูตรนี้ อันประกาศสิ่งที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงไว้ซึ่งญาณอันพิเศษแก่เหล่าสาธุชน เพื่อประโยชน์ในการที่จะนำไปปฏิบัติ โดยอุบายอันแยบคายต่อไปเทอญ
อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง ฐิตา วะ สา ธาตุ ธัมมัฏฐิตะตา ธัมมะนิยามะตา สัพเพ สังขารา อะนิจจาติฯ ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ อะภิสัมพุชฌิตวา อะภิสะเมตวา อาจิกขะติ เทเสติปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ วิวะระติ วิภะชะติ อุตตานีกะโรติ สัพเพ สังขารา อะนิจจาติฯ
ภิกษุ ทั้งหลาย ทั้งที่พระตถาคต คือ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จักเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม ธาตุคือสิ่งทรงตัวเองอยู่ได้อันนั้น ดำรงอยู่ได้โดยธรรมดาของมันอย่างนั้น สิ่งที่ถูกกำหนดมาตามธรรมดาของมันว่า จะเป็นอย่างนั้น พระพุทธองค์ผู้ทรงเป็นตถาคต ตรัสรู้ธาตุนั้น ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่ง เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีใครรู้มาก่อนว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง
อนิจฺโจ ไม่เที่ยง (ค.ธ.ป. ๒๐๔/๑๐๑) สํ อ + นิตฺย.
Annicco (adj.) unstable, not lasting, transitory, perishable. Skt. A + nitiya.
ธาตุ กระดูก (ชิน. ๒๗๘/๘๓ ) ; เป็นไปในอรรถคือ ๑. เสมฺหาทิ (โทษมีเสลดเป็นต้น) ๒. รสรตฺตาทิ (รโส-รส, รตฺตํ-โลหิต, มํสํ – เนื้อ, เมโท-น้ำมันข้น, อฏฺฐิ-กระดูก, สุกฺกํ – น้ำสัมภวะ, มิญฺชํ-เยื่อ ) ๓. มหาภูติ ( มหาภูตรูป) ๔. ปภาทิ (วิสยธาตุ มีรูปธาตุ คือ แสงสว่างเป็นต้น ) ๕. อัฐิธาตุ ๖. จกํขาทิ ( วิสยีธาตุมีจักษุเป็นต้น ) ๗. ภวาทิ ( ธาตุมีดินสอพองหรือแร่ต่าง ๆเป็นต้น ) ( ชิน. ๘๑๗/๒๕๗ ). สํ. ธาตุ
Dhatu (m..& f.) primary or elementary ; principle, element, material; a property of a primary substance as colour, teste, sound; an organ of sense; a bodily principle or humour of which there are three, phlegm, wind and bile; a constituent of the body such as flesh, blood, bones; a sacred relic; a fosil; a metal. Skt. Dhatu.
อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง ฐิตา วะ สา ธาตุ ธัมมัฏฐิตะตา ธัมมะนิยามะตา สัพเพ สังขารา ทุกขาติฯ ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ อะภิสัมพุชฌิตวา อะภิสะเมตวา อาจิกขะติ เทเสติปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ วิวะระติ วิภะชะติ อุตตานีกะโรติ สัพเพ สังขารา ทุกขาติฯ
ภิกษุ ทั้งหลาย ทั้งที่พระตถาคต คือ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จักเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม ธาตุคือสิ่งทรงตัวเองอยู่ได้อันนั้น ดำรงอยู่ได้โดยธรรมดาของมันอย่างนั้น สิ่งที่ถูกกำหนดมาตามธรรมดาของมันว่า จะเป็นอย่างนั้น พระพุทธองค์ผู้ทรงเป็นตถาคต ตรัสรู้ธาตุนั้น ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่ง เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีใครรู้มาก่อนว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์
ทุกฺขํ ธรรมชาติอันบุคคลทนยาก (ผ) ; ทุกข์ ( ชิน. ๘๙/๒๖). สํ. ทุขะ.
Dukkham unsatisfactoriness, pain, suffering, trouble, distress, difficulty. Skt. Duhkha.
อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง ฐิตา วะ สา ธาตุ ธัมมัฏฐิตะตา ธัมมะนิยามะตา สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติฯ ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ อะภิสัมพุชฌิตวา อะภิสะเมตวา อาจิกขะติ เทเสติปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ วิวะระติ วิภะชะติ อุตตานีกะโรติ สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติฯ
อนตฺตา ใช่อาตมา ใช่ของอาตมา ( บา.๖๘). สํ. อนุ + อาตฺมนฺ.
Anatta not a self, not a soul. Skt. An + atman.
ภิกษุ ทั้งหลาย ทั้งที่พระตถาคต คือ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จักเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม ธาตุคือสิ่งทรงตัวเองอยู่ได้อันนั้น ดำรงอยู่ได้โดยธรรมดาของมันอย่างนั้น สิ่งที่ถูกกำหนดมาตามธรรมดาของมันว่า จะเป็นอย่างนั้น พระพุทธองค์ผู้ทรงเป็นตถาคต ตรัสรู้ธาตุนั้น ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่ง เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีใครรู้มาก่อนว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา
อิทะมะโว จะ ภะคะวาฯ อัตตะมะนา เต ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุนติฯ
ครั้ง พระพุทธองค์ผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณ ได้ตรัสแสดงดังกล่าวมานี้ ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นมีความซาบซึ้ง ยินดีเพลิดเพลินพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดง
ครั้นหมู่พระสาวก หมู่ชนใด ได้บรรลุวิปัสสนาญาณ รู้แจ้งสัจธรรมแห่งไตรลักษณ์ ดังกล่าวนั้นแล้ว ย่อมบรรลุธรรม ตั้งแต่ขั้นล่าง ถึงขั้นสูงสุด คือ โสดาปัตติมรรคญาณ ไปถึง อรหัตตผลญาณ สูงสุด เข้าสู่โลกวิมุตติ เข้าสู่โลกนิพพาน พ้นทุกข์ไปชั่วนิรันดร โดยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ และ ความเป็นธรรมดานั้นไปชั่วนิรันดร
จึงทรงตรัสบอกพระภิกษุทั้งหลาย ดังปรากฏใน โอวาทปาฏิโมกขคาถา ไม่เพียงพระองค์โคดมพุทธเจ้า พระมหาศาสดาของพวกเราเท่านั้น ที่ทรงตรัสบอก ว่า นิพพานํ ปะระมัง วะทันฺติ พุทธา ผู้รู้ทั้งหลาย (คือพระพุทธเจ้าทั้งหลาย กี่หมื่นกี่ล้านพระองค์ก็ตาม) กล่าวตรงกันว่า พระนิพพานเป็นธรรมอันยิ่ง(ธรรมะที่สูงสุดเหนือธรรมะอื่นใด)
และในพระสูตรต่าง ๆมากมาย มีว่า นิพพานํ ปะระมัง สุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง (เหนือความสุขของสวรรค์ชั้นใดใดในเทวภพทั้งสิ้น) และแท้จริงที่ควรรู้ ก็คือ มนุษย์และเทพเทวดา แม้กระทั่งพวกมาร จึงต่างบำเพ็ญเพียร เพื่อเข้าสู่โลกสูงสุดด้วยกันทั้งนั้น คือ โลกนิพพาน นั่นเอง
· พระครูพุทธิพงศานุวัตร
วัดมหาพุทธาราม พระอารามหลวง
ถนนขุขันธ์ ต.เมืองเหนือ
อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ 33000
· เอกสารอ้างอิง ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต PALI –THAI –ENGLISH – SANSARIT DICTIONARY ฉบับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พิมพ์ในคราวอายุครบรอบ ๕ รอบ หม่อมหลวงบัว กิติยากร ในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ วันที่ ๒๕ พฤสจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๒
*****
4.5.3 ปัญจักขันธา 3
ปัญจักขันธา 3
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ มหาราชไทยลำดับที่เก้าแห่งราชวงศ์จักรี ประเทศไทย เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2489 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เสวยราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์โลก [ซึ่งกษัตริย์องค์รอง ลำดับการครองราชย์นานเป็นรอง ที่ 2 ก็คือ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เอลิซาเบธ ที่ 2 (Queen Elizabeth 2 )แห่งสหราชอาณาจักร และเครือจักรภพ ที่ทรงครองราชย์มาถึงวันเดียวกันนี้ 64 ปี]
ทรงมีพระราชสมภพเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2470, เคมบริดจ์,รัฐแมสซาชูเซตส์, ประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559, เวลา 15.52 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช,กรุงเทพมหานครขณะทรงพระชนมายุ 88 พรรษาและครองราชย์มา 70 ปี ท่ามกลางความเศร้าโศกของพสกนิกรชาวไทย และชาวพุทธทั่วโลก
นี่คือบทนำแห่งธรรมะ ในพระพุทธศาสนา รจนาแด่การเสด็จสวรรคต ของพระองค์
ปัญจักขันธา 3
ขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือ รูปธรรมและนามธรรม 2 หมู่ นั้น ก่อเกิดรวมกันเป็น สังขาร คือร่างกายจิตใจของมนุษย์ขึ้นมา แต่สัจธรรมที่พวกมนุษย์เราไม่เข้าใจ ไม่รู้มาก่อนก็คือ สัพเพ สังขารา อนิจจาติ สัพเพสังขารา ทุกขาติ สัพเพธัมมา อนัตตาติ พระพุทธเจ้า ทรงให้พระสาวกของพระองค์รำลึกสัจธรรมนี้บ่อย ๆ เป็นประจำ ดังปรากฏมาว่า พระสาวกได้นำบทไตรลักษณ์มาสวดบ่อย ๆ เป็นประจำ โดยจัดให้มีการสวด(ทำวัตร)เช้า (ทำวัตร)เย็น ทุกวัน ตราบที่ป็นสงฆ์อยู่ และมีบทพิเศษ เช่น ติลักขณะคาถา ซึ่งเป็นบทหนึ่ง ที่พระสงฆ์ในวัดใช้สวดประจำในงานศพของชาวพุทธ ก่อนจะมีพิธีการเผาศพ (เป็นบทหนึ่งในบทสวดธรรมนิยาม)ทั่วประเทศพุทธศาสนา ทั่วโลก โดยมีข้อความสำคัญ เป็นบทสวด พร้อมคำแปลว่า
สัพเพ สังขารา อะนิจจาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด
สัพเพ สังขารา ทุกขาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคล เห็นด้วยปัญญาว่า, สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด
ซึ่งตามบทสวดติลักขณะคาถานี้ มีบทเน้นไปตลอด ให้เข้าใจรู้แจ้งในลักษณะ 2 ประการ
ประการที่ 1 ย่อมเหนื่อยหน่าย ดังบทสวดว่า
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,
เมื่อใดบุคคล เห็นด้วยปัญญาว่า, สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
ประการที่ 2 อานิสงส์ของการรู้แจ้ง และเหนื่อยหน่าย นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด ดังที่ปรากฏว่ามีบท เน้น ทบทวนบ่อย ๆ ดังนี้
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด
เมื่อใดบุคคล เห็นด้วยปัญญาว่า, สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด
พระนิพพานคืออะไร ?
พระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย ชาวพุทธไทยย่อมคุ้นกับภาษา คำว่า ปรินิพพาน และ คำว่า นิพพาน ซึ่งหมายถึง การตายของพระพุทธเจ้า(ใช้คำว่า ปรินิพพาน การตายของพระอรหันต์ ใช้คำว่า นิพพาน)
ในตอนที่แล้วคือ ปัญจักขันธา 2 เราได้ลงสัจธรรมบทจบไว้แล้วว่า
“ครั้นหมู่พระสาวก หมู่ชนใด ได้บรรลุวิปัสสนาญาณ รู้แจ้งสัจธรรมแห่งไตรลักษณ์ ดังกล่าวนั้นแล้ว ย่อมบรรลุธรรม ตั้งแต่ขั้นล่าง ถึงขั้นสูงสุด คือ โสดาปัตติมรรคญาณ ไปถึง อรหัตตผลญาณ สูงสุด เข้าสู่โลกวิมุตติ เข้าสู่โลกนิพพาน พ้นทุกข์ไปชั่วนิรันดร โดยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ และ ความเป็นธรรมดานั้นไปชั่วนิรันดร
จึงทรงตรัสบอกพระภิกษุทั้งหลาย ดังปรากฏใน โอวาทปาฏิโมกขคาถา ไม่เพียงพระองค์โคดมพุทธเจ้า พระมหาศาสดาของพวกเราเท่านั้น ที่ทรงตรัสบอก ว่า นิพพานํ ปะระมัง วะทันฺติ พุทธา ผู้รู้ทั้งหลาย (คือพระพุทธเจ้าทั้งหลาย กี่หมื่นกี่ล้านพระองค์ก็ตาม) กล่าวตรงกันว่า พระนิพพานเป็นธรรมอันยิ่ง(ธรรมะที่สูงสุดเหนือธรรมะอื่นใด)
และในพระสูตรต่าง ๆมากมาย มีว่า นิพพานํ ปะระมัง สุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง (เหนือความสุขของสวรรค์ชั้นใดใดในเทวภพทั้งสิ้น) และแท้จริงที่ควรรู้ ก็คือ มนุษย์และเทพเทวดา แม้กระทั่งพวกมาร จึงต่างบำเพ็ญเพียร เพื่อเข้าสู่โลกสูงสุดด้วยกันทั้งนั้น คือ โลกนิพพาน นั่นเอง
นิพพาน นั้นจึงเป็นสัจธรรมที่อยู่เหนือโลกทั้งปวง เหนือโลกมนุษย์ เหนือโลกเทพ เหนือโลกพรหม ...เป็นโลกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และโลกของพระอรหันต์ทั้งปวงนิพพาน นั้นจึงเป็นสัจธรรมที่อยู่เหนือโลกทั้งปวง เหนือโลกมนุษย์ เหนือโลกเทพ เหนือโลกพรหม ...เป็นโลกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และโลกของพระอรหันต์ทั้งปวง
บทสวด ติลักขณะคาถา จึงล้วนบอกทางไปสู่โลกนิพพานทั้งสิ้น ไม่ได้บอกเราไปโลกมนุษย์อีก ไม่ได้บอกเราไปโลกเทวดา และไม่ได้บอกเราไปโลกพรหม มหาพรหมแดนทวยเทพทั้งหลายนั้นเลย
ฉะนั้น การรู้แจ้งในเรื่อง ปัญจักขันธา รูปธรรม-นามธรรม หรือสังขารว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนิจจัง สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งหลายทั้งปวง(คือสิ่งที่เป็นสังขารทั้งหมดทั้งสิ้น รวมทั้ง คน สัตว์ พืช และสรรพสิ่ง) เป็นอนัตตา จึงเป็นทางไปสู่ที่ประเสริฐ เหนือสวรรค์ชั้นเทพ เหนือสวรรค์ชั้นพรหม มหาพรหม เลยทีเดียว ดังพุทธดำรัสว่า นิพพานํ ปะระมัง วะทันฺติ พุทธา ผู้รู้ทั้งหลาย (คือพระพุทธเจ้าทั้งหลาย กี่หมื่นกี่ล้านพระองค์ก็ตาม) กล่าวตรงกันว่า พระนิพพานเป็นธรรมอันยิ่ง(ธรรมะที่สูงสุดเหนือธรรมะอื่นใด=เรื่องราวที่สูงสุดเหนือเรื่องราวอื่นใด) นิพพานํ ปะระมัง สุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง (เหนือความสุขของสวรรค์ชั้นใดใดในเทวภพในพรหมภพ มหาพรหมภพทั้งสิ้น) และแท้จริงที่ควรรู้ ก็คือ มนุษย์และเทพเทวดา พรหม แม้กระทั่งพวกมาร จึงต่างบำเพ็ญเพียร เพื่อมุ่งเข้าสู่โลกสูงสุดด้วยกันทั้งนั้น คือ โลกนิพพาน นั่นเอง
มาดูเรื่องสวรรค์กันบ้าง
ตามคัมภีร์ของศาสนาคริสต์และอิสลาม กล่าวถึงสวรรค์ว่ามี 7 ชั้นเท่านั้นเอง สวรรค์ชั้นที่ 7 เป็นสวรรค์ชั้นสูงสุด ซึ่งตามคัมภีร์อิสลาม อัลกุรอาน พระเจ้าอัลเลาะห์ทรงประทับอยู่ที่สวรรค์ชั้นที่ 7 นั้น ส่วนคัมภีร์ไบเบิล ระบุว่า ชั้นสูงสุดของสวรรค์นั้น มีพระเจ้ายะโฮวา นั่งบนอาสนบัลลังก์ แล้วมีพระเยซู ซึ่งเป็นพระบุตรองค์เดียวที่ทรงโปรดปรานมากนั่งเคียงอยู่ข้าง ๆ ส่วนคัมภีร์ของพระพุทธศาสนา( ธัมมจักกัปปวัตนสูตร) ระบุสวรรค์ไว้ถึง 21 ชั้นตามชื่อ ดังนี้
1.จาตุมมะหาราชิกา เทวา
2.ตาวะติงสา เทวา
3.ยามา เทวา
4.ตุสิตา เทวา
5. นิมมานะระตี เทวา
6. ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา
7. พรัหมะปาริสัชชา เทวา
8. พรัหมะปะโรหิตา เทวา
9. มะหาพรัหมา เทวา
10. ปะริตตาภา เทวา
11. อัปปะมาณาภา เทวา
12. อาภัสสะรา เทวา
13. ปะริตตะสุภา เทวา
14. อัปปะมาณะสุภา เทวา
15. สุภะกิณหะกา เทวา
16. เวหัปผะลา เทวา
17. อะวิหา เทวา
18. อะตัปปา เทวา
19. สุทัสสา เทวา
20. สุทัสสี เทวา
21. อะกะนิฏฐะกา เทวา
ชั้นที่ 1- 5 เป็นชั้นเทพ
ชั้นที่ 6-12 เป็นชั้นพรหม
ชั้น 13- 21 เป็นชั้นมหาพรหม
ท่านจะเห็นว่า เทพพรหมทั้ง 21 ชั้นนี้ ครั้นได้ทราบว่า พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมะ เรื่องแรกคือ ธัมมจักกัปปวัตนสูตรแด่ปัญจวัคคีย์ เป็นผลให้ อัญญาโกณฑัญญะ บรรลุโสดาบัน ซึ่งเป็นระดับต้นของมรรคผลแห่งโลกนิพพานเท่านั้นเอง
โลกนิพพานมี 9 ชั้น 9 ระดับ คือ
1. โสดาบันมรรค-
2. โสดาบันผล,
3. สกิทาคามีมรรค
4. สกิทาคามีผล,
5. อนาคามีมรรค
6. อนาคามีผล,
7. อรหันต์มรรค
8. อรหันตผล, และ สูงสุด
9. พุทธภูมิ หรือ พุทธภาวะ
เทพเทวา พรหม มหาพรหมทั้ง 21 ชั้นก็ตื่นเต้นยินดีกันทั้งสวรรค์ 21 ชั้น(ตื่นเต้นที่ได้เห็นมนุษย์ หรือคน ๆ แรก ได้ดวงตาเห็นธรรม เห็นทางแห่งมรรคผล ซึ่งจักนำไปสู่โลกนิพพาน คนละเส้นทางกับพวกเทพ พรหม มหาพรหมเหล่านั้น) ปรากฏในพระคัมภีร์ ธัมมจักกัปปวัตนสูตรว่า
อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิฯ อะยันจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ
สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิฯ อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ
ทั้งหมื่นโลกธาตุได้หวั่นไหว สะเทือนสะท้าน เสียงดังสนั่นลั่นไป ทั้งแสงสว่างอันหาประมาณมิได้ ได้ปรากฏขึ้นในโลก เหนือกว่าอานุภาพของเหล่าพรหม
อะถะโข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญติ อิติหิทัง อายัสมะโต
โกณฑัญญัสสะ อัญญาโกณฑัญโญ เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ
ต่อจากนั้นพระพุทธองค์ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณ ได้ทรงเปล่งอุทานออกมาว่า "โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญทั้งหลาย" เพราะเหตุนี้ ท่านโกณฑัญญะจึงได้นามว่าอัญญาโกณฑัญญะ.
จะเห็นสัจธรรมว่า พระอัญญาโกญฑัญญะ เมื่อสำเร็จโสดาบัน ไม่ได้เดินทางขึ้นสวรรค์ 21 ชั้นนั้น แต่เดินทางสู่โลกนิพพาน 9 ชั้น คือ โสดาบันมรรค, โสดาบันผล, สกิทาคามีมรรค, สกิทาคามีผล, อนาคามีมรรค, อนาคามีผล, อรหันต์มรรค, อรหันต์ผล และสูงสุด พุทธภูมิ หรือ พุทธภาวะ การที่ได้เห็นพระอัญญาโกณฑัญญะ เดินทางเข้าสู่มรรคผลนี่แหละที่ เทพ พรหม ในสวรรค์ทั้ง 21 ชั้นพากันตื่นเต้น ปิติกันทั้งสวรรค์(เพราะไม่เคยเห็นมาก่อน และทั้งที่เทพ เทวา พรหม ทุกเหล่า ต่างก็บำเพ็ญเพื่อบรรลุอรหันตธรรม อรหันตโลก โลกนิพพาน นี้เช่นเดียวกันกับพระสาวก และชาวพุทธในโลกมนุษย์)
ซึ่งข้อเท็จจริง ก็คือ เทพ พรหมในสวรรค์ชั้นเทพ โลกพรหม มหาพรหมกี่ชั้นก็ตาม 7 ชั้น หรือ 21 ชั้นก็ตาม เป็นโลกที่ยังไม่หมดสิ้นกิเลส แต่โลกนิพพานเป็นโลกที่สิ้นไปจากกิเลสทุกชนิด จึงตรงพุทธดำรัสว่า นิพพานํ ปรมํ สุขํ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ผู้สร้างบุญ บารมีมาสูงสุด สิ้นกิเลส จึงจะสามารถเข้าสู่โลกนิพพานได้.
โปรดแปลคำบูชาของเรา และหมั่นคิดตีความหมาย วิปัสนาตลอด ที่บูชาว่า
อระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลส (ขจัดกิเลสทุกชาติพันธ์แห่งกิเลสสิ้นไปจากใจ ไกลกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย) เพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้, ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน.
จบปัญจักขันธา 3
· พระครูพุทธิพงศานุวัตร
วัดมหาพุทธาราม พระอารามหลวง
ถนนขุขันธ์ ต.เมืองเหนือ
อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ 33000
เอกสารอ้างอิง
1. ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต PALI – THAI – ENGLISH – SANSKRIT – DICTIONARY ฉบับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พิมพ์ในคราวอายุครบ ๕ รอบ หม่อมหลวงบัว กิติยากร ในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๒
2. THE HOLY BIBLE containing the Old and New TESTAMENTS The revised Berkelely Version in Modern English A Complely New Translation from the Original Languages THE GIDEONS INTERNATIONAL 1947 EDITION
3. พระมหาคัมภีร์อัล – กุรอาน ฉบับ แปลความหมาย และ ขยายความ โดย นายต่วน สุวรรณศาสน์ (ฮัจยีอิสมาแอล บินฮัจยียะห์ยา) อดีตจุฬาราชมนตรี สงวนลิขสิทธิ์
*****
4.6 บทนำแห่งธรรมะ
ถวายแด่วันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระองค์
วันที่ 26 ตุลาคม พุทธศักราช 2560
บทนำแห่งธรรมะ
ถวายแด่วันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระองค์
วันที่ 26 ตุลาคม พุทธศักราช 2560
บทเทศนาหลักพุทธธรรม งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ราชวงศ์จักรี
ณ พระเมรุมาศ สนามหลวง กรุงเทพมหานคร
ประเทศไทย 26 ต.ค.2560
ใน หนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53/
www.newworldbelieve.net
www.newworldbelieve.com
**********************
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
ปัญจักขันธา: รูปักขันโธ, เวทนากขันโธ, สัญญากขันโธ, วิญญานักขันโธ, สังขารักขันโธ
คนเรานี้คือกองสังขาร 5 กองประกอบกันเป็นหนึ่ง การได้เป็นคน มีชีวิตขึ้นมา จนอยู่ไปตามลำดับแห่งชีวิต ตามหลักพระพุทธศาสนานั้น ได้มาเพราะการประกอบกันของกองขันธ์ 5 กอง ต่อไปนี้
1. รูปขันธ์ หมายถึง รูป ร่างกาย พร้อมอวัยวะ 32 อย่าง หรือมากกว่านี้ ประกอบด้วย อวัยวะภายนอก และอวัยวะภายในร่างกายของคน ๆ หนึ่ง มีลักษณะเป็นรูปร่าง ที่มองเห็น สัมผัสได้
2. เวทนากขันโธ หมายถึง อารมณ์ต่าง ๆ ธรรมชาติอันเสวยอารมณ์ ความเสวย ความที่สัมผัสรู้รสอารมณ์ ได้แก่ความรู้สึกต่าง ๆ ที่เป็นทั้งสุข และทุกข์ ทั้งความเจ็บปวดและความสุขใจ อิ่มใจ
3. สัญญากขันธโธ หมายถึง กองแห่งความคิด ความจำได้ หมายรู้, ความจงใจ ความตั้งใจ,
4. วิญญานักขันโธ หมายถึง กอง หรือหมู่แห่งความรู้สึกต่าง ๆ ทางจิตใจ ที่ผ่านมาทางอายตน 6 คือ หู ตา จมูก ลิ้น สัมผัสทางกาย และ สัมผัสทางใจ
5. สังขารักขันโธ หมายถึง กองแห่งธรรมอันเกิดจากการรวมกันของปัจจัยตกแต่ง, ความแต่ง, ความอบรม, ปัจจัยต่าง ๆ ที่มาประชุมกันเกิดเป็นรูปร่างขึ้น
กองขันธ์ทั้ง 5 นี้ ก็แบ่งเป็น 2 กองใหญ่ คือ
1. รูปธรรม กองที่เป็นรูปร่าง เป็นตัวตน มองเห็นได้ สัมผัสถูกต้องได้ คือ รูปักขันโธ หรือ รูปขันธ์นั่นเอง หรือเรียกว่า ส่วนกาย (ตรงกับภาษาสากลว่า body)
2. นามธรรม คือ เวทนากขันโธ, สัญญากขันโธ, วิญญานักขันโธ, สังขารักขันโธ 4 กองรวมกันเป็น 1 คือ นามธรรม เป็นส่วนที่มองด้วยตาไม่เห็น สัมผัสถูกต้องไม่ได้ เรียกว่า นามธรรม (mind)
รูปธรรม 1 กอง ซึ่งได้แก่ฝ่ายกาย[body] และนามธรรม 4 กองที่ประสานกันเป็นฝ่ายจิตใจ[mind]นี้แหละ ที่ชาวพุทธทั่วไปรู้จักและเข้าใจกันว่า รูปธรรม นามธรรม หรือ body & mind นั่นเอง
และกองขันธ์ทั้ง 5 คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ สังขารขันธ์ นี้ หรือ รูปธรรม นามธรรม นี้ เมื่อ ประกอบกันแล้ว เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังขาร คือร่างกาย จิตใจ และรูปธรรมนามธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น เกิดเป็นคน ที่มีรูปร่าง หน้าตา และจิตใจขึ้นมา
สัจธรรมที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือ เรื่องคนเรา ไม่ว่าคนใด คนไหน ก็เหมือนกันหมด ในแง่ที่ว่า เกิดมา อยู่ เติบโต ไป ด้วยปัญจักขันธา รวม 5 องค์ประกอบนี้ หรือ รูปธรรม นามธรรม รวมกันเป็นสังขาร ที่ประกอบด้วย Body & Mind ....เหมือนกัน เป็นคนเหมือนกันหมด ไม่มีความแตกต่างกันไปอย่างใดเลย ฉะนั้น กรณี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดช ที่ได้สวรรคตในวันที่ 13 ตุลาคม 2559 นั้น โดยหลักการพระพุทธศาสนาแล้ว ก็คือ ปัญจักขันธา ที่ประกอบกันเข้าเป็นสังขาร เป็นมนุษย์ขึ้นมาคนหนึ่งนั่นเอง ซึ่งเหมือนกันกับคนอื่น ๆ หรือสังขารอื่น ๆ ทั้งสิ้น เราจึงควรทำการศึกษาเพื่อให้รู้แจ้งสัจธรรมเกี่ยวกับ สังขาร ปัญจักขันธานี้ ตามหลักคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือตามหลักในพระสูตรต่าง ๆ แล้ว ก็จะช่วยให้รู้สัจธรรม และนำไปสู่การแก้ปัญหา แก้ทุกข์ และให้พ้นทุกข์ ล่วงสู่โลกสงบ เย็น คือโลก นิพพานได้
เนื่องในหมายกำหนดการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ณ พระบรมเมรุมาศ ท้องสนามหลวง ในวันพฤหัสบดี ที่ 26 ตุลาคม 2560 เวลา 17.30 น. โดยเป็นงานการกุศลครั้งยิ่งใหญ่ของชาติและประชาชนชาวไทย ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพวรางกูร พร้อมพระราชวงศ์ ทรงเป็นองค์ประธานเจ้าภาพ ร่วมกับรัฐบาล พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา และประชาชนชาวไทยทั่วโลก โดยมีราชวงศ์ กษัตริย์ และประมุขจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก มาร่วมในพระราชพิธีครั้งนี้อย่างคับคั่ง ตามที่ทางกระทรวงการต่างประเทศรายงานดังนี้
<<< วันที่ 24 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.บุษฎี สันติพิทักษ์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าว ว่า มีสมาชิกราชวงศ์ ผู้นำและผู้แทนต่างประเทศทั้งหมด 42 ประเทศ ยืนยันเข้าร่วมในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ดังนี้
พระประมุข ประมุข และพระราชวงศ์ รวม 24 ประเทศ
1) สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งเลโซโท
2) สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งภูฏาน
3) สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งตองกา
4) นายติน จ่อ ประธานาธิบดีเมียนมา และภริยา
5) นายบุนยัง วอละจิด ประธานประเทศ แห่งสปป.ลาวและภริยา
6) นางฮาลิมห์ ยาค็อบ ประธานาธิบดีสิงคโปร์ และคู่สมรส
7 ) สมเด็จพระราชินีซิลเวียแห่งสวีเดน
8) สมเด็จพระราชินีแม็กซิมาแห่งเนเธอร์แลนด์
9) สมเด็จพระราชินีมาธิลด์แห่งเบลเยียม
10) สมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งสเปน
11) นายปีเตอร์ คอสโกรฟ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ฯ แห่งออสเตรเลียและภริยา
12) มาดามจูลี พาแย็ต ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ฯ แห่งแคนาดา
13) นางเมกาวาตี ซูการ์โนบุตรี อดีตประธานาธิบดีอินโดนีเซีย
14) นายโจเซฟ ไดสส์ อดีตประธานาธิบดีแห่งสมาพันธรัฐสวิส
15) นายคริสเตียน วูล์ฟฟ์ อดีตประธานาธิบดีสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
16 ) เจ้าชายคอลิฟะห์ บิน ซัลมาน อัล คอลิฟะห์ นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรบาห์เรน
17) มกุฎราชกุมารเฟรเดอริกแห่งเดนมาร์ก
18) มกุฎราชกุมารฮากอน แม็กนุส แห่งนอร์เวย์
19) แกรนด์ดยุก กีโยม ฌอง โจเซฟ มารี รัชทายาทแห่งลักเซมเบิร์ก
20) รองสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซียและสุลต่านแห่งรัฐเประ และพระชายา
21) เจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก แห่งสหราชอาณาจักร
22) เจ้าชายอะกิชิโนะ และพระชายา แห่งญี่ปุ่น
23) เจ้าชายธานี บิน ฮาหมัด บิน คาลิฟา อัล-ธานี พระอนุชาของเจ้าผู้ครองรัฐแห่งกาตาร์
24) เจ้าหญิงมาร์กาเรตาแห่งลิกเตนสไตน์
รองประมุข หัวหน้ารัฐบาล และผู้แทนพิเศษ รวม 18 ประเทศ
25) นางดัง ธิ ง็อก ธินห์ รองประธานาธิบดีเวียดนาม
26) นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา
27) นายบาร์นาบาส ซิบูซิโว ดลามินี นายกรัฐมนตรีสวาซิแลนด์
28) นายเจมส์ โบลเจอร์ อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งนิวซีแลนด์
29) นายฌอง-มาร์ก อายโรลต์ อดีตนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส และภริยา
30) นายจาง เกาลี่ รองนายกรัฐมนตรีจีน
31) นายฟีครี อึดชึค รองนายกรัฐมนตรีแห่งตุรกี
32) นายพัก จูซุน รองประธานรัฐสภาแห่งสาธารณรัฐเกาหลี
33) นางโอลกา อีพิฟาโนวา รองประธานสภาดูมาแห่งรัสเซีย
34) นายลิม จ็อค เส็ง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้า คนที่ 2 แห่งบรูไน
35) นายเจมส์ แม็ตติส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา
36) นายอลัน ปีเตอร์ แคเยตาโน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์และภริยา
37) นายทิลัก มาราพานา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงนโยบายและแผนศรีลังกา และภริยา
38) นายภิมเสน ดาส ปราธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งเนปาลและภริยา
39) นายอวาอิส อาห์เหม็ด คาน เลการี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานปากีสถาน
40) นายโมฮัมเหม็ด ชาห์ริอะร์ อะลาม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งบังกลาเทศ
41) นาย เอ็ม.เจ.อัคบาร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย
42) อาร์กบิชอป กิอัมบัตติสตา ดีควัตโตร เอกอัครสมณทูตนครรัฐวาติกันประจำสาธารณรัฐอินเดียและสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล>>> (จาก สื่อทั่วไป)
และรวมทั้งบุคคลสำคัญและประชาชนต่างชาติต่างศาสนาทั่วสารทิศมาร่วมพระราชพิธี บำเพ็ญกุศลกันอย่างคับคั่ง เพื่อส่งจิตใจ ไว้อาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ด้วยความรำลึกอาลัยอย่างสุดซึ้ง
ในส่วนที่เกี่ยวกับหลักพระพุทธธรรม หรือหลักการสำคัญแห่งพระราชพิธีครั้งนี้ หรือพระราชพิธีของราชวงศ์กษัตริย์ไทยนั้น ก็จะเป็นไปตามหลักธรรมของพุทธศาสนาล้วน ๆ โดยเฉพาะหลักธรรมสากลในเรื่องการตาย หรือการสิ้นพระชนม์ของกษัตริย์ หลักพิธีกรรมพุทธศาสนาจะดำเนินไปตามหลักพระธรรมข้อที่ว่าด้วย ทิศ 6 นั่นเอง หลักทิศ 6 ซึ่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงสอนสิงคาลมานพไว้ โดยให้เป็นหลักการว่าด้วยหน้าที่ของคน ของมนุษย์ ผู้เป็นมนุษย์ ไม่ว่าอยู่ในสถานะอะไรก็เป็น เรื่อง ปัญจักขันธา เหมือนกันหมด นั้น ต่างมีหน้าที่ของตนที่จะปฏิบัติตอบต่อกันอย่างไร ให้สังคมมีความเป็นระเบียบแบบแผนอันดี และมุ่งสู่เป้าหมายแห่งธรรมะอันสูงสุด
สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชนั้น เนื่องจากทรงดำรงฐานะอันสูงสุด ที่สำคัญหลายฐานะซึ่งหมายถึงภาระหน้าที่ของพระองค์นั้นมีหลายหน้าที่ ที่ทรงปฏิบัติได้ครบถ้วนสมบูรณ์ทุกฐานะทุกหน้าที่ของพระองค์ ที่เป็นหลักสำคัญที่พระองค์ทรงทำหน้าที่มาตลอดก็มี 2 ฐานะใหญ่ ก็ คือ
1. ฐานะผู้เป็นใหญ่ หรือ สถานะ พรหม ผู้ทรงปกครองโลก ทรงตรวจตราดูแลทั้ง 4 ทิศรอบตัวพระองค์ ซึ่งตามหลักพระพุทธศาสนา ก็ได้ทรงบำเพ็ญธรรม 4 ข้อมาตลอดอย่างไม่ขาดไปในความสมบูรณ์แห่งภาระหน้าที่ของพระองค์ในฐานะนี้ นั่นก็คือพรหมวิหารธรรม 4 คือ (1.) ทรงมีพระเมตตา (2.) ทรงมีพระกรุณา (3.) ทรงมีพระมุทิตา และ (4.) ทรงมีพระอุเบกขาธรรม ซึ่งทรงปฏิบัติได้ครบถ้วนสมบูรณ์ จนเป็นที่จงรัก และภักดีของประชาชนไทยทั้งชาติ
2. ฐานะที่ 2 คือสถานะของราชา กษัตริย์ หรือ มหาราช ของปวงชนชาวไทย ซึ่งตามสถานะนี้ ก็ได้ทรงถือธรรมว่าด้วย ทศพิธราชธรรมมาอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ มาตลอด นั่นคือ ธรรมสำหรับกษัตริย์ 10 ข้อ ตามหลักพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่มีกษัตริย์องค์ใดในโลกยุคนี้ จักดำรงทศพิธราชธรรมนี้ได้สมบูรณ์เทียบเท่าพระองค์ ผู้ทรงเป็นกษัตริย์พุทธ นั่นก็คือ
๑. ทาน หรือการให้ หมายถึงการพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ การทรงเสียสละพระกำลังในการปกครอง แผ่นดิน การพระราชทานพระราชดำริอันก่อให้เกิดสติปัญญาและพัฒนาชาติ การพระราชทานเสรีภาพอันเป็นหัวใจแห่งมนุษย์
๒. ศีล หรือการตั้งและทรงประพฤติพระราชจรรยานุวัตร พระกาย พระวาจา ให้ปราศจากโทษ ทั้งในการปกครอง อันได้แก่ กฎหมายและนิติราชประเพณี และในทางศาสนา อันได้แก่ เบญจศีลมาเสมอ
๓. บริจาค ได้แก่ การที่ทรงสละสิ่งไม่เป็นประโยชน์หรือมีประโยชน์น้อยเพื่อสิ่งที่ดีกว่า คือ เมื่อถึง คราวก็สละได้ แม้พระราชทรัพย์ ตลอดจนพระโลหิต หรือแม้แต่พระชนม์ชีพ เพื่อรักษาธรรมและพระราชอาณาจักรของ พระองค์
๔. อาชชวะ ความซื่อตรง ได้แก่ การที่ทรงซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อ พระราชสัมพันธมิตร และอาณาประชาราษฎร
๕. มัททวะ ความอ่อนโยน หรือเคารพในเหตุผลที่ควร ทรงมีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอ่อนโยนต่อบุคคลที่ เสมอกันและต่ำกว่า
๖. ตบะ ความเพียร หรือความเพียรที่แผดเผาความเกียจคร้าน คือ การที่พระมหากษัตริย์ทรงตั้งพระราชอุตสาหะปฏิบัติพระราช กรณียกิจให้เป็นไปด้วยดี โดยปราศจากความเกียจคร้าน
๗. อักโกธะ ความไม่โกรธ หรือความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฎ ไม่พยายามมุ่งร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล และสำหรับ พระมหากษัตริย์นั้นต้องทรงมีพระเมตตาไม่ทรงก่อเวรแก่ผู้ใด ไม่ทรงพระพิโรธโดยเหตุที่ไม่ควร และแม้จะทรงพระพิโรธ ก็ทรงข่มเสียให้สงบได้
๘. อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียน คือ ทรงมีพระราชอัธยาศัย กอปรด้วยพระมหากรุณา ไม่ทรงก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น ทรงปกครอง ประชาชนดังบิดาปกครองบุตร
๙. ขันติ ความอดทน คือ การที่ทรงมีพระราชจริยานุวัตร อันอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาพระราชหฤทัย และพระอาการ พระกาย พระวาจา ให้เรียบร้อย
๑๐. อวิโรธนะ ความเที่ยงธรรม คือ การที่ทรงตั้งอยู่ในขัตติยราชประเพณี ไม่ทรงประพฤติผิดจากพระราชจริยานุวัตร นิติศาสตร์ ราชศาสตร์ ไม่ทรงประพฤติให้คลาดจากความยุติธรรม ทรงอุปถัมภ์ยกย่องคนที่มีความชอบ ทรงบำราบคนที่มีความผิดโดย ปราศจากอำนาจอคติ ๔ ประการ และไม่ทรงแสดงให้เห็นด้วยพระราชหฤทัยยินดียินร้าย
ซึ่งทศพิธราชธรรม ทั้ง 10 ข้อขององค์สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรีนี้ ก็ได้มีนักปราชญ์ ผู้รู้ทางพุทธศาสนา คนแล้วคนเล่า ได้นำมากล่าวถึง ยกย่อง ชมเชย สรรเสริญตลอดมาว่า องค์สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช ได้ทรงประพฤติมาอย่างสมบูรณ์ไม่ขาดตกบกพร่องเลย ตลอดการครองราชย์ 68 ปีของพระองค์ และนั่นคือที่มาของความรัก ความอาลัย ความสวามิภักดิ์ต่อพระองค์อย่างลึกซึ้งของประชาชนทุกหมู่เหล่า ที่ได้เห็นในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ นั้นเอง
3. ทิศ 6
ซึ่งตามหลักทิศ 6 นี้ ก็คือหลักทิศ 6 ตามพระสูตร สิงคาลสูตร นั่นเอง
ตามที่พุทธองค์ทรงตรัสสอน สิงคาลมาณพ ไว้ว่า
1. มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า
2. อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา
3. บุตรและภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง
4. มิตรและอำมาตย์เป็นทิศเบื้องซ้าย
5. ทาสและกรรมกรเป็นทิศเบื้องต่ำ
6. สมณพราหมณ์เป็นทิศเบื้องบน ฯ
เนื่องจากพวกเราประชาชนไทยทั้งหลายทั่วไทยทั่วโลก ที่ได้มาร่วม หรือเข้าร่วมรำลึกในวันถวายพระเพลิงพระบรมศพ วันนี้ ล้วน เป็นชาวพุทธที่ใกล้ชิดพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ในเรื่องที่เกี่ยวกับพ่อ หรือ บิดา ในที่นี้วันถวายพระเพลิงพระบรมศพวันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์พระมหาปรมินทร์ มหาภูมิพลอดุลยเดช นั้น ก็แท้จริงทรงเป็นพระบิดาของชนชาวไทย ชนชาวไทยทั้งประเทศ ชนชาวไทยทั้งประเทศถือว่าเป็นลูก ๆ ของพระองค์ ตามหลักธรรม ทิศ 6 ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ถือว่าพระองค์ทรงเป็นพระบิดา ทรงเป็นพ่อ เป็นทิศเบื้องหน้า ตามสิงคาลสูตร นั้นเอง ซึ่งในส่วนหน้าที่ของพระองค์นั้น ก็ได้ทรงปฏิบัติตามหลักสิงคาลสูตรมาอย่างไม่บกพร่องอีกเช่นเคย ดังที่สิงคาลสูตรกำหนดหน้าที่ให้ว่า ผู้เป็นทิศเบื้องหน้า มารดา บิดานั้น พึงปฏิบัติต่อบุตรอย่างไร ดังปรากฏในสิงคาลสูตรว่า
มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้า ย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๕ คือ
1. ห้ามจากความชั่ว ๑
2. ให้ตั้งอยู่ในความดี ๑
3. ให้ศึกษาศิลปวิทยา ๑
4. หาภรรยาที่สมควรให้ ๑
5. มอบทรัพย์ให้ในสมัย ๑ ฯ
แล้วพระพุทธองค์ทรงตรัสบอกผู้ที่เป็นบุตร คือพวกเราทั้งหลายไว้ว่า การบำรุงบิดามารดา ทิศเบื้องหน้านั้น ทำอย่างไร เราก็รู้ ก็ได้ร่ำเรียนมาจากเรื่อง ทิศ 6 ตามพระสูตรชื่อ สิงคาลสูตร ดังกล่าว เราจะมาทบทวนกันและรำลึกถึงคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และนำเอาคำสอนนี้แหละไปปฏิบัติตาม ไม่ควรที่จะละเลย หรือ มองไปนอกคำสอนของพระพุทธเจ้า ตามที่ทรงตรัสสอนไว้ว่า
[๑๙๙] ดูกรคฤหบดีบุตร
มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้า อันบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ [คำในวงเล็บ เป็นคำอธิบายของผู้เทศน์/ผู้เขียน]
1. ตั้งใจไว้ว่าท่านเลี้ยงเรามา เราจักเลี้ยงท่านตอบ ๑ ........ [โดยที่เมื่อเราได้ดิบได้ดี มีฐานะการงานดีแล้ว เราก็ควรหวลไปเลี้ยงท่านที่แก่ชราลงไปแล้ว บำรุงท่านตอบแทน อย่างที่ท่านบำรุงเราเมื่อวัยเด็ก นั่นคือปฏิบัติกตัญญูกตเวทิตาธรรมนั่นเอง ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศ ในฐานะบุตรของพระองค์ จึงต้องคำนึงในคุณธรรมข้อที่ว่าด้วย กตัญญูกตเวทิตาธรรม นี้อย่างเต็มที่]
2. จักรับทำกิจของท่าน ๑ ........ [โดยที่เมื่ออยู่เรือน อยู่บ้าน อยู่ในครอบครัวเดียวกัน ก็ควรต้องช่วยทำการทำงานในบ้าน ในครอบครัวท่านทุกอย่าง ซึ่งเมื่อเป็นประชาชนไทย อยู่ในแผ่นดินนี้ ก็ต้องทำหน้าที่ประชาชนให้ดีที่สุด โดยที่ช่วยงานการของประเทศชาติ ช่วยดูแลรักษาความสงบ ความปลอดภัยของประเทศชาติ เป็นต้น ]
3. จักดำรงวงศ์สกุล ๑ ......[โดยที่ลูก ๆ ทั้งหลายจะต้องนึกและทำแต่สิ่งที่ดี เพื่อให้สกุลของท่านเป็นที่เคารพเชื่อถือของคนทั้งหลาย และเป็นสกุลวงศ์ที่ดีและมีเกียรติ์ และเมื่อเป็นประชาชนไทย ก็ต้องช่วยกันรักษาเกียรติยศชื่อเสียงของความเป็นคนไทยไว้ ให้เป็นที่นับถือของคนทั่วโลก]
4. จักปฏิบัติตนให้เป็นผู้สมควรรับทรัพย์มรดก ๑..... [เราต้องคิดทุกทีเมื่อรับเงินจากท่าน ว่าเราต้องปฏิบัติตนให้สมกับเป็นผู้รับ ไม่ว่ารับ เงินเพียงสิบบาท ร้อยบาท ก็ตาม หรือระดับเงินแสน เงินล้านก็ตาม ต้องนึกในทางที่ว่าเราต้องประพฤตตนให้สมกับที่ได้รับเงิน และทรัพย์ หรือมรดกจากท่าน ในฐานะประชาชน เราก็ต้องช่วยพิทักษ์ทรัพย์สินสมบัติอันเป็นของแผ่นดินเราไว้ให้ตกทอดไปสู่รุ่นลูกหลานเหลนโหลนผู้สืบทอดครองแผ่นดินไทยตลอดไปในภายภาคหน้า]
5. เมื่อท่านละไปแล้ว ทำกาลกิริยาแล้ว จักตามเพิ่มให้ซึ่งทักษิณา ๑ [ นั่นก็เป็นวาระสุดท้าย ที่เราได้ทดแทนพระคุณบิดามารดาท่าน คือเมื่อท่านสิ้นไปแล้วก็มีการทำบุญอุทิศให้ท่าน ซึ่งชาวพุทธทั้งหลาย ต่างประพฤติกันไม่เคยขาดมาจนเท่าทุกวันนี้ และเราก็จะประพฤติตามไปตลอดกาลนาน ฯ ในกรณีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชนี้ก็เช่นเดียวกัน เราในฐานะของลูก ๆ ทั้งหลาย ต้องร่วมปฏิบัติในข้อนี้อย่างไม่มีบ่ายเบี่ยง นั่นก็คือ . เมื่อท่านละไปแล้ว ทำกาลกิริยาแล้ว จักตามเพิ่มให้ซึ่งทักษิณา]
ฉะนั้น การที่มีพิธีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพวรางกูร พร้อมพระราชวงศ์ ในฐานะพระราชบุตร พระราชบุตรี พระประยูรญาติทั้งสิ้น โดยมีรัฐบาลที่นำโดยนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา พร้อมข้าราชการทหาร พลเรือน ตำรวจ กระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ และ ประชาชนชาวไทย ทุกหมู่เหล่า ได้ร่วมกัน ได้ร่วมสามัคคีธรรมกันอย่างยิ่งใหญ่ ให้การประกอบพิธีงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ ให้เป็นไปตามหลักธรรม และหลัก ประเพณี พุทธศาสนา ..........โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช พระองค์ท่านละไปแล้ว ตามที่กำหนดในข้อ 5 นั้น ....เมื่อท่านละไปแล้ว ทำกาลกิริยาแล้ว จักตามเพิ่มให้ซึ่งทักษิณา
คำว่าทักษิณานี่แหละ คือหลักการที่พุทธศาสนากำหนดให้เราชาวพุทธได้กระทำต่อศพ ไม่ว่าศพของใคร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บิดามารดา ที่เคารพรัก ที่ถูกกำหนดว่า เมื่อท่านละไปแล้ว ทำกาลกิริยาแล้ว จักตามเพิ่มให้ซึ่งทักษิณา เป็นบุญที่ถูกกำหนดสำหรับชาวพุทธทั้งหลาย ให้กระทำต่อบิดา มารดา ลุง ป้าน้าอาว์ ตลอดถึงลูกหลาน ญาติมิตร ผู้ล่วงลับ ผู้สิ้นชีวิตลงไปแล้ว
จึงเป็นสิ่งที่ชาวพุทธและชาวโลก จะได้ทำความเข้าใจให้ดีพอสมควรในความหมายของคำว่า ทักษิณา นี้
ทักษิณาคืออะไร ?
คำว่า ทักษิณา ทำความเข้าใจจาก ปทานุกรม 4 ภาษา(หน้า 348)
ทักษิณา มาจากบาลีว่า ทกฺขิณา ดังนี้ :
ทกฺขิณา ทานสมบัติอันบุคคลพึงให้, ทานสมบัติเครื่องยังผลให้สำเร็จ ( ผ ) ; เป็นไปในอรรถคือ ทานเภท (กมฺมผลํ สทฺทหิตฺวา ทาตพฺพทานํ, ทักษิณาทาน) (ชิน. 986/327). สํ. ทกฺษิณา.
Dakkhina (f.) a gift; a present or donation given to a holy person with reference to unhappy being in Peta existence. Skt. Daksina.
ทักษิณา (แปลว่า) alms given to Buddhist monks,
ทักษิณาทาน (แปลว่า) [N] giving alms to the dead, See also: alms-giving,
และ ศัพท์วิเคราะห์ ทางภาษาบาลี (หน้า 306) ดังนี้
ทกฺขิณา ของทำบุญ, ทักษิณาทาน, ปัจจัย 4
- กมฺมผลํ สทฺทหิตวา ทาตพฺพทานํ ทก์ขิณา ทานที่คนเชื่อผลกรรมแล้วให้ ชื่อว่าทักษิณา
ทกฺขนฺติ วฑฺฒนฺติ สตฺตา เอตาย ยถาธิปฺเปตาหิ สมฺปตฺตีหีติ ทกฺขิณา เหตุเป็นเครื่องเจริญด้วยสมบัติตามที่ปรารถนา (ทกฺข ธาตุในความหมายว่าเจริญ อิณ ปัจจัย อา อิตฺ,)
จึงพอเข้าใจ ได้ความหมายว่า ทักษิณา หมายถึง ดำเนินในกุศลธรรม และการอุทิศส่วนบุญ(อุทิศความดี)ให้แก่บิดามารดาท่านเมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว โดยมีพระสงฆ์สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นนาบุญของการทำบุญอุทิศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากว่าท่านผู้ตาย ได้ประกอบผลบาปจนตกต่ำไปเกิดเป็นเปรต วิญญาณไปเกิดเป็นเปรต ในโลกเปรตชน ตามนิยามภาษาอังกฤษที่ว่ามานั้น ที่ว่า Dakkhina (f.) a gift; a present or donation given to a holy person with reference to unhappy being in Peta existence. [ซึ่งแปลเป็นไทยว่า : ทักษิณา หมายถึงของขวัญ ของฝาก หรือ ของให้ทาน ที่มอบให้บุคคลผู้ศักดิ์สิทธิ์(คำว่า holy person หมายถึงพระสงฆ์สาวก) เพื่อให้ตกทอดไปสู่ ชีวิตที่อยู่อย่างทุกข์ทรมานเจ็บปวด ที่ไม่มีความสุขเลย ในภพของพวกเปรตทั้งหลาย] ก็จะได้รับอานิสงส์ผลบุญที่อุทิศให้ ในงานพิธีฌาปนกิจศพนี้อย่างเต็มที่ นี่กล่าวตามหลักการพระพุทธศาสนา แต่หากว่าท่านผู้ล่วงลับไป ได้ประกอบกรรม ความดี ประกอบบุญบารมีไว้สูงส่ง บุญบารมีท่านเองนั้นแหละจะส่งท่านเองไปที่สูงส่ง นั่นคือสวรรค์ 21 ชั้น ชั้นเทพ ชั้นพรหม ชั้นมหาพรหม ตามคัมภีรของพระพุทธศาสนา แต่หากท่านตายลงพร้อมกับสำเร็จเป็นอริยบุคคล, เป็นพระโสดาบัน, สกิทาคมี, อนาคามี, หรืออรหันตบุคคล, ก็ไม่มีอะไรจะส่งให้ท่านได้ เพราะท่านสูงพอด้วยบุญบารมีตนเอง จนเข้าสู่โลกนิพพานไปเองแล้ว แต่ผลบุญที่ทำนั้นก็จะไม่หายไปไหน ก็ยังจะตกแก่ผู้เป็นผู้ให้ ผู้เป็นทานบดี หรือในครั้งนี้ ก็คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพวรางกูร พร้อมพระราชวงศ์ และทั้งรัฐบาล ที่นำโดยท่านพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี คณะข้าราชการทุกกระทรวงทบวงกรม และประชาชนไทย ทุกหมู่เหล่ าและพวกเราทั้งหลายที่ได้มาร่วมทำบุญทักษิณาทานกันในพระราชพิธีวันนี้ ก็จะได้รับผลบุญครั้งนี้ไปด้วยกันอย่างยิ่งใหญ่
ซึ่งการที่พระบรมราชวงศ์ มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณบดินทร เทพวรางกูร และ พระราชวงศ์ คณะรัฐบาล มีท่าน พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำทำบุญทักษิณาทานครั้งยิ่งใหญ่คราวนี้ รวมทั้งข้าราชการทุกหมู่เหล่า ทั้งทหาร ตำรวจ และพลเรือน ทุกกระทรวงทบวงกรม รวมทั้งประชาชนไทยทั้งชาติ ทุกหมู่เหล่า ซึ่งอยู่ในฐานะ เจ้าภาพงานทักษิณานี้ก็ดี และทั้งชาวพุทธทั้งหลายทั่วไป ทั่วโลกได้จัดพิธีกรรมต่องานศพอย่างถูกต้องเช่นนี้ โดยเป็นการกระทำที่ถูกต้องทั้งตามหลักพระพุทธธรรม และหลักวัฒนธรรม ประเพณีพุทธ มายาวนาน นั้นแหละหมายถึงการสืบทอด การดำรงหลักธรรม ดำรงพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนต่อไปภายหน้า จึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม สมแก่ความเป็นชาวพุทธ ผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา ที่น่าชื่นชม ยินดี และน่าอนุโมทนา สาธุการอย่างยิ่ง
และยังมีสิ่งที่พวกเราชาวพุทธ ควรจะรู้อยู่สิ่งหนึ่งเกี่ยวกับงานพระราชทานเพลิงศพครั้งนี้ก็คือทางด้านพระสงฆ์สาวก ที่ได้รับอาราธนานิมนต์ไปประกอบพิธี ซึ่งประกอบด้วยพระมหาเถระสูงสุดในศาสนจักร ตั้งแต่ระดับสูงสุดคือระดับสมเด็จพระสังฆราช ลงมา พระสมณศักดิ์ ทุกระดับ ไปถึงสงฆ์ธรรมดา ๆ ทั้งศาสนจักรทุกรูป ที่ทุกศาสนพิธีนั้นจบลงที่การทำบุญ ทักษิณาทาน นั้น ฝ่ายสงฆ์สาวกนั้น ถือเป็นโอกาสที่สำคัญในการให้ธรรมะ ครั้งสำคัญ ยิ่งใหญ่แด่คนทั้งหลาย โดยบทที่ท่านสวดในงานศพนั้นล้วน เป็น ธรรมะในพระพุทธศาสนาระดับสำคัญสุดยอดของพระธรรมทั้งสิ้น ซึ่งจะมีเนื้อความสำคัญสำหรับผู้ฟังได้รู้ได้เข้าใจวิถีทางแห่งมรรคผล อันสูงสุดทั้งสิ้น โดยบทหลักคือ พระอภิธรรม 7 คัมภีร์ ได้แก่ (1.) พระสังคิณี; กุสลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา, (2.) พระวิภังค์;ปัญจักขันธา รูปักขันโธ, (3.) พระธาตุกะถา;สังคะโห อะสังคะโห, (4.) พระปุคคะละปัญญัติ;ฉะ ปัญญัตติโย, (5.) พระกะถาวัตถุ;ปุคคะโล อุปะลัพภะติ, (6.) พระยะมะกะ;เย เกจิ กุสะลา ธัมมา, และ (7.) พระมหาปัฏฐาน;เหตุ ปัจจะโย.) และ ธรรมนิยามสูตร 8 บท ได้แก่ (1.) ปัพพะโตปะมะคาถา;ยะถาปิเสลา, (2.) อะริยะธะนะคาถา;ยัสสะ สัทธา ตะถาคะเต, (3.) ธัมมะนิยามะสุตตัง;อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง, (4.) ติลักขะณาทิคาถา;สัพเพ สังขารา อะนิจจาติ, (5.) ปะฏิจจะสะมุปปาทะปาฐะ;อะวิชชาปัจจะยา, (6.) พุทธะอุทานะคาถา;ยะทา หะเว ปาตุภะวันติ ธัมมา, (7.) ภัทเทกะรัตตะคาถา;อะตีตัง นานวาคะเมยยะ, (8.) ปะฐะมะพุทธะวะจะนะ;อะเนกะชาติสังสารัง) เป็นธรรมะคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ตกทอดมาสู่โลก นับ 2560 ปีเข้าแล้ว เป็นธรรมะข้อสำคัญที่พระสงฆ์ในพิธีกรรมท่านสวดให้รับฟัง เพื่อเข้าใจสาระสำคัญ ระดับปัญญา สว่างไสวสูงสุด เพื่อการบรรลุมรรคผล นิพพาน การบรรลุพระอริยบุคคล โดยแท้จริง
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสสิ่งที่เป็นความรู้อย่างยิ่ง หรืออุตตริมนุสสธรรมสูงส่ง ก็คือตรัสเกี่ยวกับเรื่องธรรมชาติ หรือ ธรรมดา ของรูปธรรมนามธรรม หรือ กองขันธ์ทั้ง 5 หรือสังขาร หรือคนเรานี้เอง ให้คนรู้ว่า สัจธรรมของสังขาร หรือ คน เรานั้นคืออะไร สัจธรรมที่ควรรู้คืออะไร อย่างไร หากหมั่นพิจารณา ใช้ปัญญาคิดตรึกตรองข้อธรรมนั้นอยู่บ่อย ๆ เป็นประจำเนือง ๆ ก็จะเกิดปัญญาแจ่มแจ้ง นำไปสู่ความรู้ สติ ปัญญา ที่นำไปสู่หนทางแห่งความพ้นทุกข์อย่างสนิท เด็ดขาด หรือ การบรรลุมรรคผล นิพพาน สำเร็จพระอริยมรรค อริยผลได้
สัจธรรมเกี่ยวกับความตายที่พุทธองค์ทรงสอนไว้ และที่พระสาวกนำมาสวดตลอดในพระราชพิธีครั้งนี้ (ที่จริงเป็นบทสวดในงานศพทั่ว ๆ ไปอยู่แล้ว) ก็คือเรื่องราวของชีวิต นั้น แท้จริงคือ เรื่องราวของธรรมชาติ เป็นสิ่งที่เป็นไปเองตามธรรมชาติ หรือ ธรรมดา ๆ ที่มีอยู่เอง เป็นอยู่เองแปรเปลี่ยนไปเองของมัน มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว แม้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงตรัสไว้อย่างไม่ทรงปกปิด ตรงความจริง ดังปรากฏใน ธัมมะนิยามะสุตตํ คือ ธรรมนิยามสูตร ที่พระสงฆ์สวดมาตลอดในงานบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงล่วงลับไปนี้เอง เริ่มด้วยบทขัด แล้ว มีสาระธรรม 3 วรรคความหมายสำคัญ ที่ว่า
<<< ยัง เว นิพพานะญาณัสสะ ญานัง ปุพเพ ปะวัตตะเต
ตัสเสวะ วิสะยีภูตา ยายัง ธัมมะนิยามะตา
อะนิจจะตา ทุกขะตะ จะ สัพเพสัง จะ อะนัตตะตา
ตัสสา ปะกาสะกัง สุตตังยัง สัมพุทเธนะ ภาสิตัง
สาธูนัง ญาณะจาเรนะ ยะถา พุทเธนะ เทสิตัง
โยนิโส ปะฏิปัตยัตถัง ตัง สุตตันตัง ภะณามะเส ฯ (แปลว่า)
กฎ ธรรมชาติที่กำหนดแน่นอน สำหรับสรรพสัตว์ที่ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เป็นวิสัยแห่งผู้ได้ญาณหยั่งรู้พระนิพพาน ที่มีมาแล้วในกาลก่อน พวกเราทั้งหลายจงร่วมกันสวดพระสูตรนี้ อันประกาศสิ่งที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงไว้ซึ่งญาณอันพิเศษแก่เหล่าสาธุชน เพื่อประโยชน์ในการที่จะนำไปปฏิบัติ โดยอุบายอันแยบคายต่อไปเทอญ >>>
(1.) วรรคที่ 1 <<< อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง ฐิตา วะ สา ธาตุ ธัมมัฏฐิตะตา ธัมมะนิยามะตา สัพเพ สังขารา อะนิจจาติฯ ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ อะภิสัมพุชฌิตวา อะภิสะเมตวา อาจิกขะติ เทเสติปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ วิวะระติ วิภะชะติ อุตตานีกะโรติ สัพเพ สังขารา อะนิจจาติฯ แปลว่า
ภิกษุ ทั้งหลาย ทั้งที่พระตถาคต คือ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จักเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม ธาตุคือสิ่งทรงตัวเองอยู่ได้อันนั้น ดำรงอยู่ได้โดยธรรมดาของมันอย่างนั้น สิ่งที่ถูกกำหนดมาตามธรรมดาของมันว่า จะเป็นอย่างนั้น พระพุทธองค์ผู้ทรงเป็นตถาคต ตรัสรู้ธาตุนั้น ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่ง เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีใครรู้มาก่อนว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง >>>
(2.) วรรคที่ 2 <<< อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง ฐิตา วะ สา ธาตุ ธัมมัฏฐิตะตา ธัมมะนิยามะตา สัพเพ สังขารา ทุกขาติฯ ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ อะภิสัมพุชฌิตวา อะภิสะเมตวา อาจิกขะติ เทเสติปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ วิวะระติ วิภะชะติ อุตตานีกะโรติ สัพเพ สังขารา ทุกขาติฯ (แปลว่า)
ภิกษุ ทั้งหลาย ทั้งที่พระตถาคต คือ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จักเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม ธาตุคือสิ่งทรงตัวเองอยู่ได้อันนั้น ดำรงอยู่ได้โดยธรรมดาของมันอย่างนั้น สิ่งที่ถูกกำหนดมาตามธรรมดาของมันว่า จะเป็นอย่างนั้น พระพุทธองค์ผู้ทรงเป็นตถาคต ตรัสรู้ธาตุนั้น ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่ง เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีใครรู้มาก่อนว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์
(3.) วรรคที่ 3 <<< อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง ฐิตา วะ สา ธาตุ ธัมมัฏฐิตะตา ธัมมะนิยามะตา สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติฯ ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ อะภิสัมพุชฌิตวา อะภิสะเมตวา อาจิกขะติ เทเสติปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ วิวะระติ วิภะชะติ อุตตานีกะโรติ สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติฯ (แปลว่า)
ภิกษุ ทั้งหลาย ทั้งที่พระตถาคต คือ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จักเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม ธาตุคือสิ่งทรงตัวเองอยู่ได้อันนั้น ดำรงอยู่ได้โดยธรรมดาของมันอย่างนั้น สิ่งที่ถูกกำหนดมาตามธรรมดาของมันว่า จะเป็นอย่างนั้น พระพุทธองค์ผู้ทรงเป็นตถาคต ตรัสรู้ธาตุนั้น ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่ง เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีใครรู้มาก่อนว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา >>>
ซึ่งธัมมนิยามสุตตํ 4 วรรคนี้ ยังไม่ได้อธิบายวิถีธรรมสมบูรณ์ จึงมีบทอธิบายขยายความเข้าใจต่อไปอีก ใน ติลักขะณาทิคาถา โปรดฟัง ติลักขะณาทิคาถา 3 วรรคต่อไปอีก ดังนี้
(1.) (วรรคที่ 1) <<< สัพเพ สังขารา อะนิจจาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา ( แปลว่า)
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด
(2.) (วรรคที่ 2) สัพเพ สังขารา ทุกขาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา แปลว่า
เมื่อใดบุคคล เห็นด้วยปัญญาว่า, สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด
(3.) (วรรคที่ 3) สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา (แปลว่า)
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด >>>
ซึ่งตามบทสวดติลักขะณาทิคาถา 3 วรรคนี้ มีบทเน้นไปตลอด ให้เข้าใจรู้แจ้งในลักษณะ 2 ประการ
ประการที่ 1 เมื่อรู้แล้วย่อมเหนื่อยหน่าย รังเกียจเดียดฉันท์ สมเพช เวทนา ในสิ่งที่เราหลง เรามัวเมาอยู่
ประการที่ 2 เมื่อรู้แล้วย่อมได้สัมผัสกลิ่นเย็น ชื่นแห่งพระนิพพาน รู้ทางแห่งพระนิพพาน กระหายที่จะเร่งรุดไปตามทางพระนิพพานนั้น
ฉะนั้น การรู้แจ้ง ได้รู้ ในเรื่อง ปัญจักขันธา รูปธรรม-นามธรรม หรือสังขารในสัจธรรมที่ว่าว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนิจจัง สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา จึงเป็นทางไปสู่โลกที่ประเสริฐ คือโลกนิพพาน เหนือสวรรค์ชั้นเทพ เหนือสวรรค์ชั้นพรหม มหาพรหม เลยทีเดียว
แต่ประเด็นสำคัญ ของ ความรู้ คือรู้และเห็นจริง ๆ ว่า
อนิจจัง คืออะไร ?
ทุกข์ คืออะไร ? และ
อนัตตา คืออะไร ?
บทสรุป ข้อพระธรรมที่อ้างมาจาก ธัมมนิยามสูตร ก็ดี ติลักขณะคาถา ก็ดี นั้น ที่จริงก็มาจาก พระสูตรที่พุทธองค์ทรงแสดงเป็นพระสูตรแรก หรือปฐมเทศนาของพระองค์ หลังการตรัสรู้ นั้นเอง ที่ทรงแสดงแด่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 คือ ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสูตรนั่นเอง ที่เมื่อทรงแสดงแล้ว เปิดดวงเนตรของปัญจวัคคีย์ รูปแรกคือ ท่านอัญญาโกญฑัญญะ ให้สว่าง สำเร็จอริยธรรมเป็นพระโสดาบันได้เป็นพระสงฆ์สาวกองค์แรกของพระพุทธศาสนา
ซึ่งเรื่อง ทุกข์ หรือเรื่องปัญหาของชีวิตนี้ รวมทั้งที่พุทธองค์ทรงบอกเรื่องการแก้ทุกข์ แก้ปัญหานั้นต้องใช้หลักการว่าด้วยเหตุและผล นั้นเองพุทธองค์ทรงสอนเป็นเรื่องแรก หรือเป็นปฐมโอวาทเลย ทำให้พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้เข้าใจเรื่องทุกข์ และสำเร็จโสดาบันก่อนองค์อื่น โดยเข้าใจสัจธรรม ดังปรากฏในธัมมจักกัปปวัตนสูตร ที่ว่า
- ชาติปิทุกขา แม้ความเกิดก็เป็นทกข์
- ชะราปิทุกขา แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์
- มะระณัมปิ ทุกขัง แม้ความตายก็เป็นทุกข์
- โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา แม้ความแห้งใจ ความพิไรรำพัน ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ความเสียใจ และความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์
- อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์
- ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์
- ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์
- สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ว่าโดยย่อ อุปปาทานขันธ์ทั้ง5เป็นตัวทุกข์ การยึดขันธ์ 5 ว่าเป็นเราก็เป็นทุกข์
ซึ่งโดยสรุปสัจธรรมเรื่องทุกข์ ทุกข์เป็นสิ่งที่มีประจำ เป็นของคู่กับโลก คู่กับคน คู่กับสังขาร สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ว่าโดยย่อ อุปปาทานขันธ์ทั้ง5เป็นตัวทุกข์ การยึดขันธ์ 5 ว่าเป็นเราก็เป็นทุกข์
เมื่อมาเกิดเป็นคน หรือได้สังขารขึ้น นั้นก็หมายความว่า มาพร้อมกับทุกข์ นั้นเอง ขาดไม่ได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เมื่อมีการเกิด ก็จึง มีทุกข์ ตามมา เป็นเรื่องธรรมดา ฉะนั้น คนเราแต่ละคน ในแต่ละวัน ไม่ว่าทำหน้าที่อะไร เป็นใคร เป็นนายหรือลูกน้อง ต่างก็จะต้องเผชิญทุกข์ไปทุกคน ไม่ต่างกัน แต่ละคนต้องเผชิญทุกข์ของเฉพาะตนไปทุกคนไม่มีว่างเว้น และท่านอัญญาโกณฑัญญะได้สำเร็จโสดาบันด้วยพระคาถาที่เข้าใจเรื่องทุกข์นี้เอง ที่ว่า
<<< ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ....... สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้นทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา>>>
แล้ว ในลำดับต่อมาพระมหานามะ พระวัปปะ และพระภัททิยะ ก็สำเร็จตามด้วยพระคาถาเดียวกัน
และที่สุด พระอัสสชิ สำเร็จเป็นรูปสุดท้าย แต่ด้วยพระคาถาว่า
<<< เย ธัมมา เหตุ ปพฺพวา เตสํ เหตุงฺ ตถาคโต เตสัญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณ ธรรมเหล่าใด เกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น >>>
ก็ล้วนสำเร็จระดับ โสดาบันทั้ง 5 องค์ จากการได้สดับปฐมเทศนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ต่อมา 7 วัน จึงทรงแสดงอะนัตตะลักขะณะสูตรแด่พระสาวก ที่ได้โสดาบันแล้ว ทั้ง5 พระองค์ พระอริยสาวก คือปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 สดับอะนัตตะลักขะณะสูตรจบลงแล้ว จึงได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์พร้อมกันทั้ง 5 องค์ และที่จริง ติลักขณะคาถา 3 วรรค ที่อ้างมา นั้น ก็อ้างมาจาก อนัตตะลักขะณะสูตร นั้นเอง ที่ว่าบทพิเศษ ใน ติลักขะณาทิคาถา 3 วรรค ดังนี้
<<< เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด
เมื่อใดบุคคล เห็นด้วยปัญญาว่า, สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอะนัตตา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด >>>
จึงเป็นอริยสัจธรรมข้อสำคัญยิ่ง สำหรับชาวมนุษย์จักได้นำไปพิจารณา นำไปวิปัสสนา และเจริญปัญญาต่อไปจนได้พบความจริงในพระคาถานั้น อันจะส่งผลได้ไปถึงความสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ถึงความสิ้นทุกข์ทั้งปวงได้
เรื่องของปัญจักขันธาตัวอย่างที่เห็น ในงานพระราชทานพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช จึงเป็นเรื่องที่ทำให้พวกเรา ผู้ที่อยู่ มีชีวิตต่อไป ไม่ว่าคฤหัสถ์ บรรพชิต หรือ ที่ได้ชื่อว่าสาวกของพระพุทธเจ้าอย่างพวกเราทั้งหลายนี้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาชนชาวพุทธ หรือแม้ชาวโลก คุณยายมารดา สามี ญาติ พี่น้อง มิตรสหาย ที่รัก เคารพ นับถือกันมาแต่ครั้งมีชีวิตอยู่ ที่ได้มาร่วมไว้อาลัย ในวันนี้ ในเวลานี้ จะได้ถือเป็นทางเจริญสติปัญญา ว่าด้วย กฎไตรลักษณ์ นี้ ต่อไปเนือง ๆ และที่สำคัญที่สุดก็คือ ปัญญาที่ให้ได้รู้ สว่างแจ้งแสงธรรมแห่งความหลุดพ้น ไปสู่โลกแห่งความพ้นทุกข์ คือ นิพพาน ระดับปัญญาอันสูงสุดขอให้ได้รำลึกสัจธรรม จึงควรที่จะหมั่นคิดตีความหมาย ทำการวิปัสสนาไปตลอด ทำการพิจารณาอยู่เนือง ๆ ไม่ว่างเว้น ที่มีชีวิตอยู่ ตามหลักพระอนัตตะลักขะณะสูตร ที่ว่า
สัพเพ สังขารา อนิจจา สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ ซึ่งความไม่เที่ยงนั้น หมายถึง สังขารทั้งหลายย่อมมีการเปลี่ยนสภาพไปตลอดเวลา ไม่คงอยู่ในสภาพหรือรูปเดิมไปได้เลย จนที่สุดเปลี่ยนไปสู่ความสลาย หรือความตายลงไป คำว่าสังขาร ไม่ว่าสังขารอะไร ขนาดไหน เล็ก ใหญ่ หรือมโหฬาร ก็ตาม แม้กระทั่งดวงดาว ดวงอาทิตย์ หรือท้องฟ้า มหาสมุทรใหญ่โต หรือโลกเราทั้งโลก ก็ไม่พ้นไปจากสภาวะแห่ง อนิจจัง ไปได้ นั้น เป็นลักษณะของตาญาณที่ได้รู้แจ้งซึ่งสัจธรรมว่าด้วย อะนิจัง ของ สังขารทั้งหลาย แล้วเกิดเบื่อหน่ายขึ้น
สัพเพ สังขารา ทุกขา สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์หนอ คำว่าทุกข์ หมายถึงสังขารนั้นย่อมมีการเกิดขึ้นมา เติบโตแล้ว ก็อยู่ยั่งยืนไปไม่ได้ มีแต่ค่อยเสื่อมสลายลงไปตามลำดับ ๆ ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ซึ่งสภาวะรูปธรรมของทุกข์นั้นก็คือ มีเกิด แล้วมีเติบโตขึ้นมา แล้วก็หยุดการเติบโตลงไป ไปสู่การเสื่อมชราภาพของสังขาร แล้วไปสู่ภาวะแห่งความแก่ แล้วย่อมไปสู่การป่วยเจ็บ และแล้วก็มีการตายลงไป ซึ่งสภาวะของการตายนั้น โดยรูปธรรมที่เห็นก็จะเห็นการแตกออกไปของธาตุทั้ง 4 ส่วนที่เป็นธาตุดิน ก็คืนสลายกลายไปสู่ดิน ส่วนที่เป็นธาตุน้ำ ก็คืนสลายกลายสู่น้ำ ส่วนที่เป็นธาตุลม ก็กลายสลายคืนไปสู่ลม ส่วนที่เป็นธาตุไฟ ก็เช่นเดียวกัน กลายสลายไปสู่ไฟ และครั้นมีตายแล้ว มองดูด้วยปัญญา ก็จะเห็นว่า ก็มีวนเวียนกลับมาเกิดใหม่ เมื่อเกิดใหม่ ก็เติบโตไป สู่การเจ็บ การตายอีก วนไปอยู่อย่างนี้ โดยเริ่มจากการรวมธาตุทั้ง 4 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ เข้ากับกองขันธ์ทั้ง 5 อีกครั้งหนึ่ง ก็เกิดอีกครั้งหนึ่ง เหมือนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ของเรานี่เอง ที่พระองค์ท่านได้สังขารเกิดเป็นมา พัฒนาไปตามหลักทุกขัง จนสู่การล่วงลับไปแล้ว เมื่อพระองค์ท่านล่วงลับไปแล้ว นั้นก็หมายความว่ากองขันธ์ทั้ง 5 แตกดับไป ธาตุทั้ง 4 ที่ประกอบกันเป็นสังขาร มีธาตุดิน สลายลงไป ดินก็กลับคืนไปสู่ดินเหมือนเดิม ลม ก็กลับคืนไปสู่ลมเหมือนเดิม น้ำก็กลับคืนสู่น้ำเหมือนเดิม ไฟก็กลับคืนสู่ไฟเหมือนเดิม ไปไหน ไปตามความเชื่อ หรือสัจธรรมของชาวพุทธที่ว่า ไปตามกรรมนั้นแหละ ฉะนั้นมาเข้าใจต่อว่า เมื่อสังขารสลายไปแล้ว แล้วก็ ก็ใช่ว่าจะหยุดอยู่ ก็คงหมุนเวียนไปตามหลักสัจธรรมว่าด้วย สัพเพ สังขารา ทุกขา นี่เอง วันหนึ่งข้างหน้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช พระองค์ท่านก็อาจจะหมุนวนมาเกิดใหม่ เมื่อขันธ์ทั้ง 5 ธาตุทั้ง 4 ได้จังหวะเวลารวมตัวกันอีกครั้ง ก็เกิดใหม่อีกครั้ง แล้วก็จะเห็นสัจธรรมว่า ทุกข์นั้น มาจาก การเกิด นั้นเอง มีการเกิดอยู่เมื่อไร ก็มีทุกข์ตามเมาเมื่อนั้น ไม่รู้จบรู้สิ้น
ฉะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช จึงอาจจะรวมธาตุขันธ์มาเกิดใหม่ที่ประเทศไทยเราหรือที่ไหน ๆอีกก็ได้ ตามผลกรรมของพระองค์ท่านเอง(หมายความถึงสภาพการแปรของขันธ์ทั้ง5ธาตุทั้ง4 ลงตัวกัน แบบไหน อย่างไร ก็นำไปสู่การเกิดแบบนั้น) หรืออย่างดีที่เราทั้งหลายเชื่อมั่นในพระองค์ ก็คงจะทรงไปจุติเบื้องบน ได้เกิดเป็นเทพ ชั้นเทพ ชั้นพรหม มหาพรหม ตามบุญบารมีที่พระองค์ท่านทรงสร้างไว้ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย การตาย เกิด แก่ เจ็บ จึงเป็นสิ่งที่หมุนวนไปไม่รู้จบ นับร้อยปีร้อยโกฏิชาติ ไปจนถึงโกฏิโกฏิชาติก็ไม่จบ จึงเป็นวัฏฏะสงสารที่น่าเบื่อหน่าย น่าหนีไปเสียโดยเร็วจริง ๆ
แต่สิ่งที่ต้องเข้าใจเกี่ยวกับคำว่าทุกข์ นั้น คำว่าทุกข์นั้น จึงต้องทำความเข้าใจให้ดี รู้สัจธรรมของทุกข์ ที่ว่า เรามีชีวิตเกิดออกมาจากท้องแม่ ก็เจอมันทันที และเจออยู่ตลอดชีวิตเรานั้นเลย มองจากสภาวะสังคมยุคใหม่นี้ ทุกข์ก็หมายความถึง ปัญหาชีวิตนี่เอง ที่คนทุกระดับคนรวย กระยาจก, กษัตริย์ ถึง วณิพก, แม้พระโสดาบัน ถึง พระอรหันต์, ก็ต้องเผชิญไปตลอดที่เราเดินไปในวิถีชีวิต, เมื่อชีวิตเกิดขึ้น, เป็นอยู่มีอยู่ หรือเมื่อมีการเกิด ไม่ว่าเกิดในโลกมนุษย์เรา หรือเกิดในโลกเทวดา โลกมาร อสูร ชาตินี้ หรือ ชาติหน้า หากมีการเกิด ก็มีทุกข์เกิด, เผชิญทุกข์ไปตลอด, เผชิญปัญหาไปตลอด, เป็นระยะ ๆ ไปเป็นวัน ๆ ไป, เป็นชั่วโมง ๆ ไป, เป็นปี ๆ ไป ตายแล้วก็ต่อไปในชาติหน้า หากยังมีการเกิดอยู่ ก็ไม่มีที่จะว่างเว้นไปจากปัญหา, ไม่มีที่ว่างเว้นไปจากทุกข์, จึงมีสัจธรรมว่า: โลกเรานี้มีสิ่งเดียว คือมีแต่ทุกข์, เป็นทุกข์ล้วน ๆ, ไม่มีสิ่งอื่นเลย นอกจากทุกข์อย่างเดียว, แม้สิ่งที่เราว่าสุขนั้น ก็ล้วนเป็นของจอมปลอมทั้งสิ้น, ไม่มีสุขที่แท้จริงเลย,
สัพเพ ธัมมา อนัตตา คำว่าอนัตตา หมายถึง ไม่มีตัวตน ภาษาอังกฤษใช้คำว่า not a self, not a soul คำว่า self ก็คือ รูปธรรม คำว่า soul คือนามธรรม ดูจากภาษาอังกฤษ ที่ปราชญ์อังกฤษเขาแปลไว้แล้ว เข้าใจง่ายและชัดเจนกว่า ภาษาไทย จึงนำมาพูดให้ฟังในที่นี้ อนัตตานั้นก็คือ สรรพสิ่งทั้งหลายไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนเลย ไม่มีตัว ไม่มีตนเลย ก็หมายเตือนให้สติเราว่าอย่าพึงไปหลงยึดมั่นว่า นั่นของเรา นั่นของเขาเลย เพราะแท้จริงคือ อนัตตา ไม่ใช่สิ่งที่จะยึดมั่นว่าเป็นของเรา ของเขาได้ ไม่ใช่สิ่งที่จะยึดเอาอย่างมีตัวมีตนได้เลย คำว่าสรรพสิ่ง นั้นหมายถึง สิ่งทั้งหลายที่ธรรมชาติให้เกิดเป็นมา ธรรมชาติสร้างมา เป็นธรรมชาติ เล็กหรือใหญ่ เช่นโลกทั้งโลก ดวงดาวทั้งจักรวาล หรือทั้งจักรวาลเอง ล้วนแต่ไม่มีตัวตนเลย เราเพียงมาหลงยึดว่ามีตัวมีตน ก็เลยกลายเป็นรังแห่ง กิเลส ตัณหา อุปาทาน ให้หลงไปในวัฏฏะสงสารไกลไปทุกที ซึ่ง นี่แหละที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่า เป็นสิ่งที่คนทั้งหลายไม่เคยรู้มาก่อน
ซึ่งเมื่อนำไปวิปัสสนา หรือพิจารณาไปบ่อย ๆ เนือง ๆ ก็ย่อมจะเข้าใจ รู้ความจริงและเมื่อได้รู้ความจริงแล้ว รู้ละเอียดทั่วถึง แล้วก็ จะนำไปสู่ความหน่ายในสังขารทั้งหลาย ได้เป็นความน่าสมเพช เวทนาแห่งการหมุนวนไปของวัฏฏะสงสาร ที่ไม่รู้จบรู้สิ้น ทำให้ละคลายไปจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน และคลายจากความรุ่มร้อนแห่งกามารมณ์แห่งกามตัณหา กามภพได้ และครั้นเห็นความจริงของไตรลักษณ์เห็นสิ่งที่เรียกว่า วัฏฏะสงสาร คือดุจสายน้ำใหญ่ที่หมุนวนไปชั่วนาตาปีไม่มีวันหยุดไปโกฏิปีโกฏิชาติ ซึ่งในวัฏฏะสงสารนั้น เป็นวัฏฏะแห่งทุกข์ล้วน ๆ น่าเบื่อหน่ายแท้ ๆ แล้วก็ย่อมจะจุดประกายปัญญาธรรมแห่งมรรคผลนิพพานขึ้นได้ นับแต่โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล เป็นเบื้องต้นไป ถึง อรหัตมรรค อรหัตตผล เลยสู่พุทธภาวะ หรือ พุทธภูมิอันสูงสุดต่อไป แม้ในชาตินี้ ปีนี้ เดือนนี้ วันนี้ ที่นี่และเดี๋ยวนี้เอง ภพนี้เองเลย โดยการที่ได้เริ่มสัมผัสกับสิ่งที่เรียกว่า ความสุขที่แท้จริง ที่แตกต่างไปอย่างลิบลับจากความสุขที่ได้พบใน วัฏฏะสงสาร
ในที่สุดนี้ก็มาถึงตอนจบลง อาตมภาพก็ขอชื่นชมยินดีต่อราชวงศ์ มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วชิราลงกรณ บดินทรเทพวรางกูร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี พระบรมราชวงศ์ทั้งสิ้น รัฐบาล นำโดยท่าน พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พลเรือน ทุกกระทรวงทบวง กรม และประชาชนชาวไทยทั้งประเทศ ที่ได้ร่วมพลังสามัคคีจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรมินทร์มหาภูมิพลอดุลเดช อันเป็นงานทำบุญทักษิณาทาน ครั้งยิ่งใหญ่ ในวันนี้ ท่านผู้ฟังทั้งหลาย ว่าการที่เราเป็นชาวพุทธ เป็นผู้ที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนานั้น นับเป็นการประเสริฐแล้ว อันเนื่องจากทำให้ได้โอกาสการรู้แจ้งสัจธรรมของชีวิต และบรรลุสู่โลกที่สงบ สิ้นทุกข์ สิ้นร้อน คือ โลกนิพพาน ได้
ก็ขอจบวาทะแห่งธรรมที่ควรระลึก ควรนำไปวิปัสสนา ไตร่ตรองพิจารณาเนือง ๆ เนื่องในงานพระราชทานเพลิงพระศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันนี้ ลงแต่เพียงนี้ ขอกุศลผลบุญ ที่ท่านเจ้าภาพ และมิตรสนิทมิตรสหายที่มาร่วมกันไว้อาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ในวันนี้ จงได้พบความสว่างใจ ได้เข้าใจรู้แจ้งในสัจธรรมของสังขาร ได้อานิสงส์กุศลผลบุญที่พากันร่วมมือกันกระทำทักษิณาทานอุทิศแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ตามสมควรแก่เหตุที่กระทำ โดยเฉพาะการได้สดับรับฟัง พระภิกษุมาสวดอภิธรรม มาทุก ๆ วันเป็นเวลา ปีเศษ ๆ นับแต่ทรงเสด็จสวรรคต เพราะนั่นคือการให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง และธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรื่องชีวิต ปัญจักขันธา ที่มีแต่ความไม่เที่ยง ความทุกข์ และ ความไม่มีตัวตน ขอได้พบความสำเร็จในธรรม ได้ปัญญาเห็นวงเวียน ที่หมุนวนไม่รู้จบสิ้นแห่งทุกข์ ในวัฏฏะสงสาร และหน่ายเสียในที่สุด จนได้กลิ่นอันชื่นเย็น แห่งพระนิพพาน จงบังเกิดมีแด่ท่านเจ้าภาพ เพื่อน ๆ มิตร สหายทั้งหลายที่มาร่วมไว้อาลัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ถ้วนทุกคนทุกท่าน เทอญ
เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้
• พระครูพุทธิพงศานุวัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
วัดมหาพุทธาราม พระอารามหลวง
26 ต.ค. 2560 ขอเจริญพร
แฟ้ม : A ปัญจักขันธา 14 พระบรมศพ ร.9 26 ต.ค.2560
*****
4.7 บุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี พุทธศักราช 2560
บุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี
พุทธศักราช 2560
บุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดีปีพุทธศักราช 2560 เราได้มอบให้ บุคคลนี้....
4.7.1 บุคคลที่ 130 นายราม ณัฐ โกวินทร์ [Ram Nath Kovind]
บุคคลที่ 130 นายราม ณัฐ โกวินทร์ [Ram Nath Kovind] ประธานาธิบดี คนที่ 14 ของ สาธารณรัฐอินเดีย
ราม ณัฐ โกวินทร์ มีประวัติ ตามที่ บีบีซี ไทย และสถานีข่าวการเมืองสากล รายงานไว้ว่า ราม ณัฐ โกวินทร์ อายุ 71 ปี เขาได้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 14 ของ สาธารณรัฐอินเดีย โดยที่พรรคชาตินิยมฮินดู ภารติยะ ชนะตะ [Bharatiya Janata Party] หรือบีเจพี ของนายกรัฐมนตรี นเรนทรา โมดี ประกาศส่ง ราม ณัฐ โกวินทร์ เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ และเขาชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกสภาแต่ละรัฐรวมเกือบ 4,900 คนทั่วประเทศ ลงคะแนนเมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2560 เขาชนะอย่างขาดลอย และได้เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 25 ก.ค.2560 ทำให้เขาเป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ของอินเดีย ที่อยู่ในสถานะสังคมในวรรณะต่ำสุดของอินเดีย โดย เป็น นักการเมือง "จัณฑาล" คนที่ 2 ในประวัติศาสตร์อินเดียที่ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี โดยที่มีประธานาธิบดี จัณฑาล คนแรกของอินเดียคือ นาย เค.อาร์. นารายานัณ ซึ่งได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอินเดียที่เป็นคนชนชั้นจัณฑาลคนแรก ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ 5 ปีระหว่าง ค.ศ. 1997-2002 [พ.ศ.2540-2545]
หนังสือพิมพ์ New York Times รายงานประวัติที่ต้อยต่ำของเขาไว้ น่าสนใจ ดังต่อไปนี้ (เราให้สีที่คำมีความหมายต่ำทรามที่สุด)
The New York Times: A Dalit was elected India’s 14th president on Thursday, a rare achievement for a member of a community once known as “untouchables” and one of the most deprived groups in India. Ram Nath Kovind, 71, an understated politician from Prime Minister Narendra Modi’s governing Bharatiya Janata Party, was selected as his party’s candidate for the largely ceremonial position in an effort to secure the Dalit vote in future elections. That is a critical step in the expansion of the party, known as BJP.
หลังจากที่ชนะเลือกตั้ง นายราม ณัฐ โควินทร์ ได้ประกอบพิธีรับตำแหน่งแล้วได้เดินทางไปสักการะสถานที่น่านับถือหลายแห่ง เช่น อนุสาวรีย์มหาตม คานธี ถนนเนลสัน เมนเดลา เมือง Djibouti และได้ไปบูชาสถานที่ตรัสรู้ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยา รัฐพิหาร ซึ่งได้มีพระเถระจากนิกายต่างๆ ในพระพุทธศาสนาร่วมเจริญชัยมงคลคาถา ในจำนวนนี้มีสมเด็จพระอัครมหาสังฆราชาธิบดีเทพวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช ประเทศกัมพูชารวมอยู่ด้วย
ในด้านการเมือง โกวินทร์เป็นสมาชิกกลุ่มชาตินิยมฮินดูขวาจัด หรือ อาร์เอสเอส (Rashatriya Swayasevak Sangh) ซึ่งเป็นแบบอย่างทางอุดมการณ์ให้พรรคบีเจพี ที่เป็นรัฐบาลอยู่ขณะนี้ โดยมีนายนเรนทรา โมดี[Narendra Modi] เป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนี้ ในอดีต เขาทำงานเป็นทนายและเป็นสมาชิกวุฒิสภา 2 สมัยด้วยกัน เขายังเคยเป็นโฆษกของพรรค และเป็นผู้นำองค์กรชนชั้นจัณฑาลในพรรคบีเจพีด้วย
สิ่งที่น่าสนใจในเรื่องของคน จัณฑาล ของอินเดียคนนี้ ปรากฏจากการให้สัมภาษณ์ของนาย ซันเจ ปาสวาน ผู้นำชนชั้นจัณฑาลอาวุโสในพรรคบีเจพี กล่าวว่า
โกวินทร์มีส่วนช่วยสำคัญในการสร้างสิ่งก่อสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์หลายที่แก่ บี.อาร์. อัมเบดการ์ [คนชั้นจัณฑาล ที่ได้ปฏิญญาณตนเป็นพุทธสาวก ละจากฮินดู อย่างเด็ดขาดเมื่อ ปี พ.ศ. 2549 แล้วยังความศรัทธาอย่างมากมายแด่คนอินเดีย ที่เมืองนาคปุระ ผู้นำการเคลื่อนไหวเพื่อชนชั้นจัณฑาลคนดังผู้ถูกขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งรัฐธรรมนูญอินเดีย] เขายังเป็นคนทำให้เกิดการเปลี่ยนชื่อ "กระทรวงสวัสดิการสังคม" ให้กลายเป็น "กระทรวงความยุติธรรมทางสังคมและการเพิ่มขีดความสามารถ" ซึ่งเป็นชื่อที่บ่งบอกถึงการทำงานของกระทรวงที่แท้จริง เขาทำงานหลาย ๆ อย่างเพื่อชนชั้นจัณฑาล
ซึ่งการที่นายโกวินทร์ มีส่วนให้การสนับสนุนงานในอุดมการณ์ของ ดร. บี อาร์ อัมเบดการ์ นี้แล้วก็ทำให้เห็นได้ว่า นายโกวินทร์ ที่ ในฐานะทางศาสนาพรหมณ์-ฮินดู เขาเกิดในตระกูลของชนชั้นที่ต่ำ จนหลุดไปจากความเป็นมนุษย์ เพราะโดยปกติในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นั้น ได้แบ่งคนออกเป็นระดับชนชั้นอยู่แล้วถึง 4 ระดับตระกูลมนุษย์ มีสูงสุด มีต่ำสุด แล้วยังมีระดับที่เรียกว่า จัณฑาล ที่มิใช่มนุษย์ มิใช่คน เป็นระดับล่างสุด มีคน หรือ ตำแหน่งของคน 4 ระดับเท่านั้น ที่กำหนดโดยครูอาจารย์ศาสนาพรหมณ์-ฮินดู รู้จักกันไปทั่วโลกว่า วรรณะ ว่ามี 4 วรรณะ 4 ชั้นของวรรณะนั้น คือ
-วรรณะที่ 1 วรรณะพราหมณ์ กำหนดให้เป็นชนชั้นพรหม ผู้ได้ฐานะที่ทรงเกียรติยศสูงสุด เหนือมนุษย์ใดใดเสมือนตัวแทนเทพเจ้าทั้ง3องค์ของอินเดีย มีอำนาจหน้าที่ออกคำสั่งในฐานะเทพเจ้าให้คนทั้งหลาย นับแต่กษัตริย์ลงมา ปฏิบัติศาสนพิธีด้วยประการต่าง ๆ ตามแต่พราหมณ์จะสั่งหรือพาทำไป โดยอ้างอำนาจ เทพเจ้าทั้ง 3 คือ พรหม, อิศวร, นารายณ์ แม้ชนชั้นกษัตริย์ ในเรื่องศาสนพิธีแล้ว กษัตริย์ ก็ยังต้องฟังคำสั่งพราหมณ์นี้,
-วรรณะที่ 2 ชั้นกษัตริย์ เป็นชนชั้นผู้ปกครอง ทรงอำนาจบารมีเด็ดขาดดุจเจ้าชีวิตคน เดิมมาจากสถานะของนักรบ ผู้นำทัพปกป้องแผ่นดิน ปกป้องประชาชนจากผู้รุกราน จากศัตรู ทำให้ได้ชื่อว่า กษัตริย์ของประชาชนทั้งปวง โดยประชาชนหวังเป็นที่พึ่ง
-วรรณะที่ 3 แพศ ชนชั้นกลาง ซึ่งจะมีมีอาชีพทางการค้าขายกันเป็นส่วนมากเป็นพวก ทำมาหากินด้วยการเดินทางขนสินค้าไปขายยังดินแดนต่าง ๆ เอาสินค้าจากแดนต่าง ๆ เข้ามา ทำการแลกเปลี่ยนสินค้า ธุรกิจ การเศรษฐกิจของสังคม และ
-วรรณะที่ 4 ที่ต่ำสุดแห่งความเป็นคนตามหลักศาสนาพราหมณ์-ฮินดู คือ วรรณะศูทร ซึ่งเป็นกลุ่มชนจำนวนมากที่สุดของแผ่นดิน ซึ่งถูกบัญญัติให้ ไร้อำนาจวาสนาใดใด มีหน้าที่อย่างเดียวคือการฟังคำสั่ง และการรับใช้ ศูทร์ ชนชั้นล่างสุดได้แก่ชนชั้นชาวนา ชาวไร่ ชาวประมง และชนชั้นที่ใช้แรงงาน เป็นกรรมกร ที่มีจำนวนมาก มหาศาลที่สุดของประเทศ แต่กลับถูกบัญญัติให้เป็นกลุ่มคนที่มีฐานะเยี่ยงทาส หรือเสมือนทาสของแผ่นดิน ที่ไร้เกียรติ์ ไร้อำนาจ วาสนาใดใดไปอย่างสิ้นเชิงโดยการกำหนดของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู อย่างไร้เหตุผล
แต่กระนั้นชนชั้นที่ 4 ชนชั้นในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นี้ ก็ยังไม่ใช่ชนชั้นต่ำสุด มีชนชั้นต่ำกว่านั้นไปอีก ซึ่งพราหมณ์-ฮินดูเป็นผู้กำหนดอย่างไร้เหตุผลของความเป็นมนุษย์ไปอีก โดยที่กำหนดว่า ในเมื่อเกิดกระทำผิดข้อบัญญัติของศาสนา ในเรื่องการสมรส โดยที่มีข้อบัญญัติเด็ดขาด ให้ชาวฮินดูในวรรณะทั้ง 4 สมรสกันเฉพาะชนชั้นในวรรณะเดียวกันเท่านั้น หรืออีกอย่างหนึ่งก็คือ ห้ามอย่างเด็ดขาด เรื่องความรักต่างวรรณะ หากมีคนต่างชั้นวรรณะสมรสกันแล้ว จะถือว่าเป็นความผิดที่ต่ำช้าสามานย์มาก จนทางศาสนาฮินดูจะต้องลงโทษ ประณามอย่างหนัก โดยมีบทบัญญัติพิเศษ ที่กำหนดให้ให้ลูกที่เกิดมาจากการสมรสต่างวรรณะนี้ เป็นชนอีกชั้นหนึ่ง ที่มีฐานะเท่ากับคนบาป เป็นคนบาปทันทีที่เกิดมาในโลกของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยให้ชื่อว่า จัณฑาล หรือ ภาษาอังกฤษจะเห็นความหมายชัดกว่าคือคำว่า The Untouchable ซึ่งเราได้ทราบจากประวัติของท่าน มหาตม คานธี มาว่า ท่านได้นำการต่อสู้มาตลอดเพื่อปกป้องยกระดับ คนจัณฑาล นี้ตลอดชีวิตท่าน เพราะแท้จริงแล้ว จัณฑาล เป็นสถานะที่ต่ำกว่า ความเป็นคน ที่ชนชั้นจัณฑาล จะต้องยอมรับฐานะนั้นอย่างปฏิเสธไม่ได้ นั่นคือก้มหน้าก้มตารับฐานะตนเองโดยเป็นฐานะที่ ไม่ใช่คน นั่นเอง และในเมื่อเป็นชนชั้นคนบาปที่คนทั้งหลายที่ถูกกำหนดให้มีวรรณะสูงกว่า จะไปคบหาสมาคม แม้การเดินผ่านไปถูกต้องตัวตนคนบาปนี้เข้าแล้ว ก็จะกลายเป็นบาปไปด้วยทันที จึงไม่สามารถจะคบหาสมาคมกับหมู่ชนคนไหนไหนได้ นอกจากหมู่คนบาปด้วยกัน ในยุคองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั้น ชนจัณฑาล เวลาออกจากบ้านที่อาศัย เดินไปตามถนน หรือ ที่ดิน นา ป่า ไร่ก็ตาม จะต้องเอาแผงกวาดดิน ที่ทำด้วยหางนกยูง หรือขนห่าน หรือแผงไม้ไผ่ที่ทำแบบไม้กวาด มาผูกเอวเดิน เพื่อว่าเมื่อเดินไปรอยของเท้าจะได้ถูกแผงหางนกยูงกวาดลบออก เพราะคนอินเดียให้ตราบาปแด่จัณฑาลไว้ ว่า แม้เหยียบไปดินแดนไหน รอยเท้าก็จะฝากตราบาปลงไว้บนแผ่นดินนั้น จะต้องทำการลบตราบาปจากรอยเท้าคนบาป คนจัณทาล ออกไปให้เกลี้ยงแผ่นดินตลอดเวลา จึงได้ทำแผงหางนกยูงแขวนเอวไปตลอดเวลาที่ออกจากที่พักอาศัย นอกจากนี้ เขาจะไม่ให้คนจัณฑาลนี้ เดินเงยหน้า ห้ามสบตา ห้ามคุยกับคนอื่น ให้อยู่ หรือไปไหนได้เฉพาะแต่พวกเดียวกัน ในสมัยที่ ดร.บี.อาร์.อัมเบดการ์ ซึ่งเป็นคนในตระกูลจัณฑาล ผู้ซึ่งได้เป็นประธานร่างรัฐธรรมนูญอินเดียยุคพ้นจากนาย เจ้าเมืองขึ้น อังกฤษมาเป็นเอกราช ประชาธิปไตย เริ่มเป็นประชาธิปไตย นั้น ดร.อัมเบดการ์ เป็น จัณฑาล เหมือนกัน เวลาไปเรียนหนังสือ เขาไม่ให้นั่งเก้าอี้เหมือนเด็กคนอื่น แต่ให้นั่งกับพื้น ให้ก้มหน้าเรียนหนังสือ ไม่ให้สบตา หรือ มองดูเด็กคนอื่น กินอาหารร่วมกับคนอื่นไม่ได้ ในยุคคานธี ก็เหมือนกัน คานธีเคยถูกหิ้วลงมาจากรถไฟ ฐานที่เป็นคนชั้นต่ำ ที่เขาไม่ให้ขี่รถไฟร่วมกับเขาได้ วรรณะทั้ง 4 นี้ จึงผิดหลักการของความเป็นมนุษย์ และนั่นคือผิดหลักการของพระพุทธเจ้า จึงทรงให้เลิกเสีย โดยหลักธรรมว่า กมฺมุนา วตฺตตี โลโก คนในโลกดีหรือชั่วย่อมเป็นไปตามกรรมหรือการกระทำของตนเอง และหลักการของพระพุทธศาสนาของพุทธองค์ นั้น การบรรลุธรรมสูงสุดระดับพ้นทุกข์ สู่ภาวะอรหันตบุคคลนั้ สำเร็จด้วย เสรีภาพ ส่วนตัวทั้งสิ้น ไม่อาจสำเร็จจากการบังคับด้วยปากกระบอกปืน คนเราดีหรือชั่ว เพราะกรรม ไม่ใช่สกุล หรือ ชั้นวรรณะ
ฉะนั้น การที่ประชาชนอินเดีย (โดยผู้แทนราษฎรอินเดีย จำนวน 4,900 คนทั่วประเทศ) ได้เลือกตั้ง ประธานาธิบดี จากคนชั้น จัณฑาล เป็นคนที่ 2 เป็นประธานาธิบดีของเขา จึงให้ความหมายในเชิงหลักธรรมพุทธ โดยให้นัยยะความหมายที่น่าหวัง น่าชื่นชมยินดีกับนายราม ณัฐ โกวินทร์ ว่าจะส่งเสริมธรรมะที่ดี และเมื่อเขาไปร่วมในอุดมการณ์ของ ดร.อัมเบดการ์ ซึ่งเป็นนักปฏิวัติอินเดีย ทั้งเชิงการเมือง(เขาเป็นประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญอินเดียยุคสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย เขียนรัฐธรรมนูญอินเดียไว้ ให้เลิกชนชั้น โดยเหตุผลว่า เพราะการกำหนดของพรามหณ์-ฮินดูให้มีชนชั้นเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรมแก่มนุษย์ และไม่ถูกหลักการเมืองของประชาชน แต่ในทางประเพณี ความเชื่อทางศาสนาชาวอินเดีย เรื่องพระเจ้าสูงสุดผู้ทรงอำนาจศักดิ์สิทธิ์เหนือคนทั้งหลายมีมานาน จึงยังไม่อาจจะเลิกได้ง่าย ๆ เหมือนยุคอเมริกา ยุคต้น ๆ ที่มีการค้าทาส นั้นเอง แต่อเมริกาไม่ยอมให้มีการลดฐานะมนุษย์ลงไปเป็นทาสเช่นนั้น สปิริตของเสรีชนในอเมริกามีสูงส่งมาก เมื่อพูดกันไม่สำเร็จ จึงเกิดสงครามกลางเมืองขึ้น เพื่อเลิกทาส และฝ่ายเสรีประชาธิปไตย อเมริกา ชนะ ทาสจึงหมดไปจากอเมริกาได้ไวในทันทีที่เสร็จสงครามก็ว่าได้ เพราะฝ่ายที่ชนะสงครามสั่งให้ฝ่ายที่แพ้สงครามเลิกทาส หากไม่เลิก ก็เอาไปสังหารหมด ฝ่ายที่แพ้สงครามก็จำต้องยอมทันที แต่อินเดียช้า เพราะไม่มีใครกล้าทำจริงเหมือนอเมริกา ไม่มีใครฉลาดทรงปัญญามองเห็นสิ่งที่ผิด ว่าผิด อธรรม ว่า อธรรม เมื่อมีชนชั้นจัณฑาล ได้เป็นประธานาธิบดีมา เป็นคนที่ 2 บัดนี้ จึงน่ามีความหมายที่ดีขึ้น และน่ามีการก้าวไปอีกก้าวใหญ่ เชิงศาสนา และวัฒนธรรม ที่เมืองนาคปุระที่เป็นแบบอย่างคนอินเดียยุคใหม่ จึงน่ามีความหวังว่า Sri Ram Nath Kovind (ท่านศรีรามนาถโกวินด์) ประธานาธิบดีอินเดีย คนล่าสุดคนที่ 14 นี้ จักได้มุ่งเดินหน้านำอุดมการณ์ศาสนาพุทธขึ้นในอินเดีย และนำเดินตาม หลัง ดร. บี. อาร์. อัมเบดการ์ จัณฑาล ผู้ประกาศสัจธรรม 22 ข้อ ผู้กล้าหาญทางพุทธธรรมจนกล้าประกาศตรงไปตรงมาว่า จะไม่บูชาพระพรหม พระศิวะ พระวิษณุ นารายณ์ ต่อไป จะเลิกนับถือศาสนาฮินดู ที่ทำให้สังคมเลวทราม แบ่งชั้นวรรณะ เชื่อในศาสนาพุทธเท่านั้นที่เป็นศาสนาที่แท้จริง ฯลฯ นับแต่ ผู้ปฏิรูปฮินดูมาเป็นพุทธ จากที่ไม่มีคนพุทธเลย มาบัดนี้ มีคนพุทธร่วมกว่า 11 ล้านคนเข้าแล้ว และโดยการวิวัฒนาการทุกด้านในอินเดียแรงขึ้น กำลังมีการปลุกให้ชนชั้นต่ำสุด คือ แพศ ศูทร และ จัณฑาล ซึ่งเป็นประชาชนคนจำนวนมหาศาล หมู่มากที่สุดใน สาธารณรัฐอินเดีย (เฉพาะชนชั้นบาปจัณฑาลในอินเดียมีการสำรวจล่าสุดพบว่ามีจัณฑาลอยู่ในอินเดียถึงกว่า 200 ล้านคน) ที่โดยระบบการเมืองใหม่ ที่เจ้าประเทศราชอินเดีย คือ จักรภพอังกฤษ ให้อินเดียนำมาใช้ คือประชาธิปไตย ประชาชนทุกคนมีอำนาจ 1 คน 1 เสียงอำนาจปกครองประเทศนั้น กำลังถูกปลุกขึ้นมาด้วย ระบบการเมืองยุคใหม่ ยุค ประชาธิปไตย ที่คน ประชาชน พลเมือง ทุกคน ชาย หญิง ไม่มี เพศ ไม่มีชั้นวรรณะ(หมายความว่า วรรณะทั้ง 5 วรรณะ ในอินเดีย ตามคำสั่งศาสนาพราหมณ์-ฮินดู อย่างไม่ยุติธรรม อย่าง อธรรม นั้น จะต้องเลิกไปเสียทันที รวมถึงเลิกการนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูทั้งอินเดียไปด้วย มิฉะนั้นประชาธิปไตยอินเดีย และ สาธารณรัฐอินเดียจะก้าวเดินไปไม่ได้เลย)) แต่ทุกคนมีอำนาจปกครองเท่ากันหมดคนละ 1 เสียง ในอุดมการณ์ของ คือ เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ [Liberty, Equality, Fraternity] ความเป็นพี่น้องเดียวกัน อันเป็นหลักการขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลักการที่นำไปสู่มรรค ผล นิพพาน ได้ โดยเริ่มที่เมือง นาคปุระ และ นครมุมใบ และ ท่านศรีรามนาถโกวินด์ กล่าวคำเดียวกับ ดร. บี.อาร.อัมเบดการ์ ที่ว่า "ข้าพเจ้าเกิดมาจากตระกูลที่นับถือศาสนาฮินดู แต่ข้าพเจ้าจะขอตายในฐานะพุทธศาสนิกชน” สำนักข่าวฮินดูสถาน ไทมส์ ยังรายงานเน้นไปอีกถึงความเชื่อ ความคิดทางศาสนาของท่านประธานาธิบดี ราม นาถ โกวินทร์ ว่า โกวินทร์ยังได้กล่าวว่า ศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์เป็น'สิ่งแปลกปลอมในประเทศอินเดีย ซึ่งนั่น แสดงถึงการมองศาสนาได้ชอบธรรมแล้ว เพราะแท้ที่จริง ศาสนาในโลกนี้ มีเพียงศาสนาเดียวเท่านั้น อย่างอื่น ไม่ใช่ศาสนา อย่างที่ บี.อาร์. อัมเบดการ์ ระบุไว้ในคำปฏิญญาณข้อที่ 20 แล้วว่า พุทธศาสนาเท่านั้นเป็นศาสนาที่แท้จริง
และในเมื่อปีนี้ ได้มีการรวมตัวของชาวพุทธ ชาวอินเดียเพื่อปฏิญญาณตนเป็นชาวพุทธ แน่นขึ้น ตามที่มีข่าวมา
เมื่อ 26ธค.2560 ชาวอินเดียหลายหมื่นคน ทำพิธีเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ ที่เมืองนาคปุระและนครมุมไบ แคว้นมหาราษฎร์ เป็นการปฏิณาณตนแบบ ดร..บี.อาร์.อัมเบดการ์ เป็นต้นแบบมีดังนี้
๑.ข้าพเจ้าจะไม่บูชาพระพรหม พระศิวะ พระวิษณุต่อไป
๒.ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อว่าพระราม พระกฤษณะ เป็นพระเจ้า ข้าพเจ้าจะไม่เคารพต่อไป
๓.ข้าพเจ้าจะไม่เคารพบูชาเทวดาทั้งหลายของศาสนาฮินดูต่อไป
๔.ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อลัทธิอวตารต่อไป
๕.ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อว่า พระพุทธเจ้าคืออวตารของพระวิษณุ การเชื่อเช่นนั้น คือคนบ้า
๖.ข้าพเจ้าจะไม่ทำพิธีสารท และบิณฑบาตแบบฮินดูต่อไป
๗.ข้าพเจ้าจะไม่ทำสิ่งที่ขัดต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า
๘.ข้าพเจ้าจะไม่เชิญพราหมณ์มาทำพิธีทุกอย่างไป
๙.ข้าพเจ้าเชื่อว่าทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้มีศักดิ์ศรีและฐานะเสมอกัน
๑๐.ข้าพเจ้าจะต่อสู้เพื่อความมีสิทธิเสรีภาพเสมอกัน
๑๑.ข้าพเจ้าจะปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ โดยครบถ้วน
๑๒.ข้าพเจ้าจะบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ โดยครบถ้วน
๑๓.ข้าพเจ้าจะแผ่เมตตาแก่มนุษย์และสัตว์ทุกจำพวก
๑๔.ข้าพเจ้าจะไม่ลักขโมยคนอื่น
๑๕.ข้าพเจ้าจะไม่ประพฤติผิดในกาม
๑๖.ข้าพเจ้าจะไม่พูดปด
๑๗.ข้าพเจ้าจะไม่ดื่มสุรา
๑๘.ข้าพเจ้าจะบำเพ็ญตนในทาน ศีล ภาวนา
๑๙.ข้าพเจ้าจะเลิกนับถือศาสนาฮินดู ที่ทำให้สังคมเลวทราม แบ่งชั้นวรรณะ
๒๐.ข้าพเจ้าเชื่อว่าพุทธศาสนาเท่านั้นที่เป็นศาสนาที่แท้จริง
๒๑.ข้าพเจ้าเชื่อว่าการที่ข้าพเจ้าหันมานับถือพระพุทธศาสนานั้นเป็นการเกิดใหม่ที่แท้จริง
๒๒.ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าจะปฏิบัติตน ตามคำสอนของพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด
หลังจากปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะแล้ว ท่านกล่าวว่า "ข้าพเจ้าเกิดมาจากตระกูลที่นับถือศาสนาฮินดู แต่ข้าพเจ้าจะขอตายในฐานะพุทธศาสนิกชน https://youtu.be/YMJFe66sGHw
เราเห็นว่า ศรีราม ณัฐ โกวินทร์ ประธานาธิบดี คนที่ 14 ของ สาธารณรัฐอินเดีย คงจะกล่าวถ้อยคำเดียวกันกับ ดร.อัมเบดการ์ ในที่สุดที่ว่า "ข้าพเจ้าเกิดมาจากตระกูลที่นับถือศาสนาฮินดู แต่ข้าพเจ้าจะขอตายในฐานะพุทธศาสนิกชน” เราจึงขอยกย่องว่า เป็นบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี ประจำปี พุทธศักราช 2560 ขอให้ท่านได้เป็นชาวพุทธที่ดีต่อไป และยึดมั่นในคำปฏิญญาณ 22 ข้อข้างต้น
*****
4.7.2 บุคคลที่ 131 สิทธิชัย ศิษย์สองพี่น้อง
(Sitthichai Sitsongpeenong)
บุคคลที่ 131 นายสิทธิชัย ศิษย์สองพี่น้อง
(Sitthichai Sitsongpeenong)
สิทธิชัย ศิษย์สองพี่น้อง มีความโด่งดังในฐานะนักมวยไทยผู้ที่มีฝีมือเชิงมวยไทยอย่างสมบูรณ์ ครบเครื่องอาวุธมวยไทยอย่างแท้จริง ในการจัดมวยไทย เคหนึ่ง 71 กก. ที่จีน วันที่ 4 พฤศจิกายน 2560 นี้เอง สิทธิชัยพบ อี้หลง ซึ่งเป็นนักมวยกังฟู ซุเปอรสตาร์จีน ซึ่งเป็นที่นิยมของคนจีนอย่างสูงสุดในประวัติมวยจีนกำลังภายในแบบกังฟู และซึ่งเอาชนะนักมวยไทย อย่าง บัวขาว มาแล้ว ในการพบกันบนเวทีกับสิทธิชัย ศิษย์สองพี่น้องในวันนี้ สิทธิชัย เตะอี้หลง นักมวยกังฟูสลบคาเท้า การชกที่เมืองจีน สิ่งที่เราให้คะแนนนักมวยไทยคนนี้ มีเหตุผลหลายประการ
ประการแรกก็คือ เขามีเจตนาในการที่จะแก้แค้นแทนมวยไทย ในลักษณะ ยกย่อง เชิดชูศักดิ์ศรีมวยไทย หรือ ศิลปะมวยไทย ที่เขาเองมองโดยหลักการต่อสู้ทางหมัดมวยว่า ไม่มีทางที่จะแพ้กังฟู อย่างเช่น อี้หลง นี้เลย ซึ่งโดยปกติแล้ว การมวยไทยนี้ จะเห็นเองอยู่แล้ว(โดยการวิจัยเชิงอาวุธและศิลปมวย)ว่า ศิลปะมวยไทย ไม่อาจจะแพ้มวยจีนกังฟู แบบที่ อี้หลง ที่ใช้มาแบบหนังจีนกำลังภายในเลย และเมื่อสิทธิชัย ศิษย์สองพี่น้อง จะต้องมาสู้กับมวยกังฟูเช่นนี้ เขาก็ได้มองเห็นช่องโหว่ ของกังฟู อี้หลง มองเห็นแนวทิศทางของอาวุธกังฟู ทุกหมัด ทุกอาวุธ จากกังฟู ว่าจะสามารถหลบโดยศิลปะมวยไทยได้ทุกหมัด ทุกอาวุธของกังฟู และสามารถจะแทรกเข้าประชิดวางอาวุธมวยไทยลงสู่จุดอันตรายของฝ่ายคู่ต่อสู้ได้ และเขาก็ทำได้ตามแผนและตามประสบการณ์นักสู้มวยไทยครบเครื่องของเขา ดังจะเห็นว่า อีหลง ไม่สามารถใช้อาวุธกังฟูของเขาทำอะไรสิทธิชัยได้เลย เริ่มตั้งแต่เริ่มยก 1 ที่มีเพียงครั้งเดียวเท่านั้นที่อี้หลงถีบสิทธิชัยกระเด็นไปขอบเชือก แล้วเขาก็ออกวิ่งเข้าหากะจะถล่มทะลวงรุกอย่างเฉียบขาด แบบกังฟูหนังจีนกำลังภายในที่หลอกลวงคนดูมาตลอด แต่แล้ว สิ่งที่เขาเจอกลับเป็นลำเท้าทั้งลำของสิทธิชัย สวนเข้าที่ปลายคางและแก้ม อย่างเต็มแบบเท้ามวยไทยเลยทีเดียว ซึ่งแท้จริง เท้าใบนั้น ไม่ตาย ก็เลี้ยงไม่โตอยู่แล้ว อี้หลงน่าจะไปตั้งแต่เท้าลำนั้นแล้ว ล้มลงไปกลิ้งทั้งตัว แต่ไม่อยู่ ลุกขึ้นยืนได้ และออกรอยยิ้มเยาะมวยไทยเสียอีก ซึ่งนี่คือ สิ่งที่คนจีนเชื่อในตัวเขา ว่ามีพลังแบบพลังกำลังภายใน ไม่มีใครจะคว่ำ หรือ น๊อค เขาได้ แต่นั่นแหละ ในหลักการมวยไทย มวยไทย จะค่อยลดพลังของคู่ต่อสู้ลงไปทีละน้อย ๆ และสิทธิชัย ใช้หลักยุทธศาสตร์นี้ ทำให้อี้หลง ค่อยอ่อนลงไป ตั้งแต่ต้นยกที่ 1 ด้วยฝ่าเท้าหนักฝ่าแรกนี่เอง และที่เห็น ๆ จากนี้ไป อี้หลงชกสะเปะสะปะไปเหมือนที่คนไทยว่า มวยวัด จริง ๆ เขาไม่รู้แม้กระทั่งการตั้งการ์ด และเมื่อไม่มีการตั้งการ์ด ไม่มีการฝึกศิลป์ด้านนี้โดยที่ไม่ระวังยุทธศาสตร์ว่าด้วย รู้เขา รู้เราเลย ไม่รู้เรื่องฝ่าเท้ามวยไทยเลย จึงเปิดคอและแก้ม ให้สิทธิชัยใช้โจมตีมาตลอดเวลา ซ้ำเข้าที่คาง คอ ติดต่อกันไปได้ถึง 5 ครั้ง แต่ก็ แสดงความทนทานแบบพลังกำลังภายในหนังจีน แบบที่ว่าโง่ แต่อวดดี จนถูกเตะไป 5 ครั้ง ซ้ำเข้าไป ครั้งที่ 5 จึงทนไม่ไหว สลบคาเท้ามวยไทยไปเลย (ศิลปการสู้มวยไทยนั้นค่อยลดพลังคู่ต่อสู้ลงไปเรื่อย ๆ ๆเสมอไป แม้ไม่อาจจะน๊อคทันที ก็ลดพลังลงไปเรื่อย ๆ จนที่สุด คู่ต่อสู้ที่สิ้นพลัง ก็จะเหมือนกระสอบทรายให้มวยไทยทำฝ่ายเดียว)อ่อนระทวยลงไปแบบสิ้นฤทธิ์กังฟูไปเต็มที่ไปเลย แต่แท้จริง น่าไม่ถึงยก 2 ด้วยซ้ำ น่าไปตั้งแต่โดนฝ่าเท้าแรก ยก 1 นั้นเลย และ ปลายยกก่อนระฆังช่วย ก็โดนสิทธิชัยถีบช่องท้องเต็มที่ ล้มลงแบบไม่อยากลุกด้วยซ้ำ ก็แทบว่าจะไปไม่ไหวแล้ว ระฆังช่วยพอดี จึงรอดไปถึงยกที่ 2 และขณะเดียวกัน สิทธิชัยส่งอาวุธเข้าช่องว่างของมวยกังฟูได้อย่างหนักหน่วงอันตรายทุกหมัด ทุกเข่าทุกเท้า ของเขา อย่างมั่นใจ แม้กระทั่งยังได้ออกมาดมวยไทย เชิงโน้มคอตีเข่าซ้ำไป 2 ครั้ง ให้คนจีนดูอีก ถึง 2 ครั้ง(ให้รู้ว่ามวยไทยเต็ม ๆ คู่ต่อสู้อาจสลบคาเข่า แบบกอดคอตีเข่าซ้ำได้อย่างไร) แม้ว่าครั้งแรกกรรมการห้ามมวยจะเตือนก็ตาม สิทธิชัยอยากให้คนจีนเห็น (เพราะเขาไม่ให้ใช้แม่มวยไทยหลายอย่างที่อันตราย ๆ โดยเฉพาะเขาห้ามศอก ห้ามกอดคอตีเข่าซ้ำ โดยใช้กติกา kikboxing ที่ลดอาวุธมวยไทยอันตรายไป ดังกล่าว ) ก็ทำให้ดูอีกเป็นครั้งที่ 2 จนที่สุด หลังจากใช้เท้าเน้นเข้าไป 5 ครั้ง ติดต่อกัน ที่ต้นคอและใบหน้า จุดเดียวกัน อี้หลงก็สิ้นกำลังภายในลง พิสูจน์ว่า กำลังภายในนั้น ก็เป็นเพียงกำลังภายในในหนังจีนกำลังภายใน ที่เป็นเพียงการแสดงหลอกคนดูหนัง มวย เป็นเรื่องศิลปะการต่อสู้ที่เป็นรูปธรรมเห็นชัดจากมวยไทยครั้งนี้ เหตุผลประการที่ 2. เขามีแผนที่จะน๊อคมวยกังฟูคนนี้ด้วยเท้า และเขาก็ทำได้ โดยกระหน่ำเท้าเข้าใส่ปลายคาง และต้นคอของอี้หลงไปตลอดยกแรกจนเกือบจะน๊อคได้ตั้งแต่ปลายยกแรกอยู่แล้ว พอต่อยกที่ 2 ไม่กี่อึดใจ ก็วาดเท้าเข้าปลายคางอี้หลงติดต่อกัน เข้าครั้งที่ 5 สลบลงคาเท้า ตามแผน และยกที่สอง จึงสำเร็จ เป็นเหตุให้อี้หลง โดนเท้าซ้ำเข้าไปติดต่อกันถึง 5 เท้า หมัดและเข่าซ้ำเข้าไปอีกไม่หยุดหย่อน และทำให้ความทนทานอย่างกังฟู กำลังภายในต้องหดหายลงไปและทนทานไม่ได้ โดยโดนเท้าสุดท้ายอย่างแรง สลบคาเท้านักมวยไทยไปเลย กังฟู อี้หลง ที่มีความมั่นใจจากหลักกังฟูแบบเพ้อเจ้อในหนังจีนกำลังภายในนั่นเอง คือฝึกตนให้ได้อย่างในหนัง ซึ่งเป็นเพียงการแสดงเท่านั้น ไม่ใช่หลักนักสู้อะไรเลยเมื่อมาพบมวยไทย จึงแท้จริงเหมือนเด็กกับผู้ใหญ่ ดังที่เห็นมาแล้วจากการชกกับ สุดสาครแต่สุดสาครก็ไม่สามารถน๊อคยี่หลงลงได้ ชนะคะแนนไปใสสะอาดอยู่ อี้หลงจึงมีอย่างเดียวคือความทนทาน ที่ได้ฝึกมาให้ทนและทานได้ และความทนทานนี้ก็ได้รับการนับถือจากคนจีน ที่เชื่อเรื่องกำลังภายในว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ที่ทำให้ทนทานต่อพลังหมัด เท้าได้ตลอดและคนจีนก็มองว่า ความทนทานนี้แหละเป็นตัวตัดสินให้ชนะ ไม่ว่าจะโดนหมัดโดนเข่า โดนเท้า ขนาดไหน หากทนทานได้ ไม่แสดงออกถึงความอันตราย เขาก็นิยมยกให้ว่าเป็นประเด็นสำคัญของการต่อสู้ เป็นประเด็นแห่งการตัดสินให้ชนะของมวยกังฟูไปเลยทีเดียว เพราะฉะนั้น ในการชกกับบัวขาว ครั้งที่2 ที่อี้หลงขอแก้มือที่เมืองจีน แม้จะโดนทั้งเข่า ศอก หมัด เท้า ทกอาวุธมวยไทยจากยอดมวยไทยอย่างบัวขาว บัวขาวไม่สามารถน๊อคอี้หลงได้ และเห็นได้ว่า บัวขา่ว ลดพลังที่กระทำลงไปถึง20% โดยเหตุผลส่วนตัวของบัวขาว คือมองว่าอี้หลงเป็นพระ ก็เลยไม่กล้าทำแรงกับพระ เอาบุญไป บัวขาวคิดเช่นนั้นตั้งแต่พบอี้หลงครั้งแรกแล้ว ดังจะเห็นว่า พอได้รับการประกาศว่าบัวขาวชนะ เขาก็ขอลดตัวลงกราบอี้หลง...อย่างที่เขาไม่น่าจะคิดเช่นนั้นเพราะจริง นี่ไม่ใช่พระแต่อย่างไร เป็นเพียงนักฝึกวรยุทธแบบตำนานกำลังภายในหนังจีน ที่มีชื่อวัดว่า วัดเส้าหลินเท่านั้น)ก็เลยถูกตัดสินให้แพ้ไป ทั้ง ๆ ที่ตลอด 3 ยก บัวขาวประเคนเข้าให้ทุกอาวุธมวยไทย บอบช้ำไป เพียงแต่ศิลปะที่บัวขาวใช้ไปทุกรูปแบบ แต่ล้มอี้หลง กำลังภายในไม่ได้ นั้นบอกถึงชัยชนะอย่างอี้หลง กังฟูกำลังภายใน ความสามารถทนได้ จึงบอกถึงวิชากำลังภายในของอี้หลงสูงส่ง กรรมการจีน จึงให้ชนะบัวขาวไทยไปได้ แบบที่คน นักวิจารณ์ทั้งหลาย บอกว่าเป็นการโกงมวยอย่างไม่น่าละอายใจเลย และยังขัดสายตาคนชมทั้งโลก ที่คนทั้งโลก เขาไม่ได้มองกังฟูกำลังภายในว่าเป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ มีฤทธิ์เกินหลักวิชามวยไปได้อย่างไร และนี่เองเป็นเหตุให้มีการเรียกร้องศักดิ์ศรีมวยไทยกลับมา และนั้นแหละอยู่ในแผนการของ สิทธิชัย ศิษย์สองพี่น้องอย่างแรง (แม้ว่าจะมีธุรกิจมวยครั้งนี้มหาศาล สิทธิชัยชนะได้ 100,000 เหรียญสหรัฐ 3.4 ล้านบาทไทย) โดยแผนน็อคมวยจีนคนนี้ด้วยอาวุมวยไทยให้ได้ และแผนเขาก็บรรลุผลสำเร็จไปตามลำดับ เริ่มแต่ยกแรก แม้กระทั่งเท้าแรกที่เข้าปลายคางต้นยก นั้นก็แทบทำให้อี้หลงสลบไปแล้ว แต่นั้นแหละพลังกำลังภายในของอี้หลง คนบวชวัดเส้าหลิน แล้ว สิทธิชัยก็ทำสำเร็จ นั่นคือ ทำลายวิชากำลังภายในของกังฟู สลบลงคาเท้าอาวุธมวยไทยลงได้ โดนในจังหวะบวก คอเขาเอียงลงมารับเท้าพอดี เป็นแรงบวกเข้าไป สลบคาเท้า ลงนอนไร้สติ นับ 6 จึงฟื้น พยายามลุกยืนขึ้นมาแต่ล้มลงไปอีก ในอ้อมแขนของกรรมการตัดสิน....แท้จริง หากทนต่อไปได้ถึงยกที่ 3 ก็น่าจะเห็นชัดเจนลงไปเลยว่า มวยกังฟูอี้หลงนี้ จะเป็นกระสอบทรายอย่างชัด ๆ ที่ทนได้ด้วยกำังภายใน กว่าจะโดนสลบคาเท้าในปลายยกที่ 3 (แทนยกที่ 2) พิศูจน์ถึงมวยไทยสะท้านภิภพ จริง ๆ ชนะมวยทุกสกุลมวยโลกลงอย่างราบคาบจริง ๆ เราจึงพอใจยกคะแนนบุคคลแห่งปี พุทธศักราช 2560 แด่นักมวยไทยคนนี้ สิทธิชัย ศิษย์สองพี่น้อง และหวังว่าโดยความยังหนุ่ม อายุเพียง 26 ปีของเขา จะเดินหน้าพิศูจน์ฝีเท้า ฝีมือมวยไทย สะท้านพิภพ ต่อไปอีกนาน
*****
4.7.3 บุคคลที่ 132 พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา
บุคคลที่ 132 พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา [General Prayuth Chan - ocha, Thailand Prime Minister 29th.]นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 29
ผลงานที่ พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 29 นั้น มีหลายประการที่น่าชื่นชมยินดี แต่สิ่งที่หนังสือพิมพ์ดีเห็นสมควรแก่การยกย่อง เทิดทูน ให้เป็นบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี พ.ศ.2560 นั้น ก็เนื่องจากผลงานการพระพุทธศาสนา เราเห็นว่า ความเป็นนายทหาร ระดับผู้บัญชาการทหารสูงสุด คือระดับผู้บัญชาการ โดยที่ได้อยู่ในวิสัยทหารไทยมาตลอด นับแต่เข้าโรงเรียนนายทหาร จปร. มาถึงระดับผู้บัญชาการกองทัพ โดยอยู่ในวิสัยทหารไทยมาตลอดชีวิต สะท้อนถึงอุดมการณ์อันสูงส่งของทหารไทยสืบต่อมาไม่เบี่ยงเบน นั่นคือคำว่า ชาติ ศาสนา(พุทธ) และพระมหากษัตริย์ อยู่ในจิตใจของคนที่เป็นทหารไทยมานานนับพันปีแล้ว ในยุคที่ พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา เข้ารับภาระกิจการบริหารราชการแผ่นดินไทย ได้พิศูจน์ผลงานของท่านครบทั้ง 3 สถาบัน คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ดังปรากฎว่าชาติไทย ได้ประสบภาวะปั่นป่วน วุ่นวาย จนแทบเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในยุคนี้ ก็สงบลงได้ ไม่ลุกลามไปใหญ่โต ก็เนื่องด้วยขณะนั้น มีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คสช. นำโดย พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา พาทหารรักษาแผ่นดินอยู่ ในด้านศาสนานั้น เรามองว่า กรณีศาสนาหลายกรณี ทั้งศาสนาอื่น และศาสนาพุทธไทยเราเอง ที่ได้รับการจัดการระงับยับยั้งสิ่งที่จะเป็นภัยต่อศาสนาพุทธไทยเอง สำหรับศาสนาพุทธไทยนั้นก็มีกรณีธรรมกาย ที่เป็นกรณีที่มีความละเอียดอ่อน ลึกซึ้ง ที่ยากที่จะมีสายตาปัญญาชนมองเห็นอันตรายอันลึกซึ้งนั้นแม้กระทั่งสมเด็จพระญาณสังวรณ์ สมเด็จพระสังฆราช ในฐานะประมุขสงฆ์ตามพระธรรมวินัย จะทรงปฏิบัติหน้าที่ของท่าน ตามธรรมตามวินัย ได้ทรงตัดสินว่า ธัมมชโย เป็นปาราชิก แต่พระองค์กลับถูกละเมิด ดูแคลน เพราะหมู่สงฆ์ใต้การปกครอง ไม่เคารพในคำตัดสินโดยธรรมโดยวินัยนั้น แสดงอาการตอบโต้ใส่ร้ายพระองค์เสียอีก เท่ากับไม่เคารพธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำให้ธรรมกาย เหิมเกริมไปกว่าเดิมอีีก แต่การที่รัฐบาลประยุทธ สามารถดำเนินการระงับยับยั้ง นั้นแสดงถึงสติปัญญา และความกล้าหาญทางจริยธรรมอย่างสูงส่ง จึงสามารถจัดการปัญหาธรรมกายลงได้ ทำให้ระบบงานพุทธพาณิชย์ของธรรมกาย ที่มีขนาดใหญ่โตมโหฬารที่ประกอบด้วยการโฆษณาชวนเชื่อไปอย่างสุด ๆ เพื่อแสวงหาเงินตราและพณิชยการอย่างโลก ๆ ในระดับมโหฬาร ยิ่งใหญ่ ทรงพลัง อำนาจ ที่ยังไปมีส่วนกับการเมืองระบบเบี่ยงเบนไปนอกทางอันตรายเบื้องหลังอย่างลึกซึ้งไปอีก อันนำระบบสงฆ์ไทยเบี่ยงเบนไปนอกทางปกติของความเป็นสงฆ์สาวก นอกทางมรรคผลนิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สามารถจัดการระงับยับยั้งธรรมกายพาณิชย์ลงไป และนำวิถีทางพุทธธรรมกลับมา เข้าสู่เส้นทางที่ถูกต้อง นี่นับเป็นบทบาทอันน่าชื่นชมยินดีของพล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในด้านการศาสนา และที่เด่นชัดเจนในบทบาทผลงาน พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี คนที่ 29 ไปอีกก็คือ ผลงานด้าน พระมหากษัตริย์ รวมเป็น ชาติ, ศาสนา, พระมหากษัตริย์ อย่างครบสมบูรณ์ ซึ่งในด้านพระมหากษัตริย์นั้น ก็คือส่วนที่เกี่ยวกับการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559 นั้นเอง ซึ่งรัฐบาลประยุทธ อยู่ในฐานะผู้รับผิดชอบอย่างเต็มที่ และได้ปรากฎว่ารัฐบาลได้บริหาร จัดการงานพระบรมศพ ตั้งแต่ต้นจนจบลงไปอย่างสมบูรณ์ ที่ปรากฎผลงานที่ดีออกไปทั้งโลก โดยที่สุดในการถวายพระเพลิงพระบรมศพ วันที่ 26 ตุลาคม พุทธศักราช 2560 นั้น ได้มีกษัตริย์ทั่วโลก ทุกส่วนของทวีปต่าง ๆ เสด็จมาร่วมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพอย่างคับคั่ง และงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ เสร็จสิ้นลงอย่างดี มีพระเกียรติยศแผ่ฟุ้งขจรไปทั่วโลก ทั้ง 3 ผลงานของพล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 29 ด้านสถาบันสูงสุด ชาติ ศาสนา(พุทธ) และ พระมหากษัตริย์ ปรากฎว่าเห็นเด่นชัด สมควรที่หนังสือพิมพ์ดี จะได้ยกย่องเทิดทูนให้เป็นบุคคลแห่งปีพุทธศักราช 2560 ของหนังสือพิมพ์ดีต่อไป จึงขอยกย่องท่านพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 29 ไว้ ณ ที่นี้
จากนี้โปรดติดตามเรื่อง อื่น ๆ จากหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53 ได้ต่อไป
บรรณาธิการ
20 ม.ค. 2561
*****
5. เฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว
เฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว
5.1 ชาวอินเดียนับหมื่นชุมนุมปฏิญญาณตนเป็นพุทธ ปฏิเสธฮินดูอย่างเด็ดขาด
มีข่าวอินเทอเนตทั่วไปว่า วันที่ 26 ธันวาคม พุทธศักราช 2560 ชาวอินเดียที่เมือง นาคปุระ และ เมืองบอมเบย์ จำนวนหลายหมื่นคน ได้รวมตัวกันประกาศตนยืนยันศาสนาพุทธ ตามแนวคิดของ ดร.อัมเบดการ์ มีคติไว้ 10 ข้อ คือ
เมื่อ 26ธค.2560 ชาวอินเดียหลายหมื่นคน ทำพิธีเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา
ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ
ที่เมืองนาคปุระและนครมุมไม แคว้นมหาราษฎร์
เป็นการปฏิณาณตนแบบ ดร..บี.อาร์.อัมเบดการ์ เป็นต้นแบบมีดังนี้
๑.ข้าพเจ้าจะไม่บูชาพระพรหม พระศิวะ พระวิษณุต่อไป
๒.ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อว่าพระราม พระกฤษณะ เป็นพระเจ้า ข้าพเจ้าจะไม่เคารพต่อไป
๓.ข้าพเจ้าจะไม่เคารพบูชาเทวดาทั้งหลายของศาสนาฮินดูต่อไป
๔.ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อลัทธิอวตารต่อไป
๕.ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อว่า พระพุทธเจ้าคืออวตารของพระวิษณุ การเชื่อเช่นนั้น คือคนบ้า
๖.ข้าพเจ้าจะไม่ทำพิธีสารท และบิณฑบาตแบบฮินดูต่อไป
๗.ข้าพเจ้าจะไม่ทำสิ่งที่ขัดต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า
๘.ข้าพเจ้าจะไม่เชิญพราหมณ์มาทำพิธีทุกอย่างไป
๙.ข้าพเจ้าเชื่อว่าทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้มีศักดิ์ศรีและฐานะเสมอกัน
๑๐.ข้าพเจ้าจะต่อสู้เพื่อความมีสิทธิเสรีภาพเสมอกัน
๑๑.ข้าพเจ้าจะปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ โดยครบถ้วน
๑๒.ข้าพเจ้าจะบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ โดยครบถ้วน
๑๓.ข้าพเจ้าจะแผ่เมตตาแก่มนุษย์และสัตว์ทุกจำพวก
๑๔.ข้าพเจ้าจะไม่ลักขโมยคนอื่น
๑๕.ข้าพเจ้าจะไม่ประพฤติผิดในกาม
๑๖.ข้าพเจ้าจะไม่พูดปด
๑๗.ข้าพเจ้าจะไม่ดื่มสุรา
๑๘.ข้าพเจ้าจะบำเพ็ญตนในทาน ศีล ภาวนา
๑๙.ข้าพเจ้าจะเลิกนับถือศาสนาฮินดู ที่ทำให้สังคมเลวทราม แบ่งชั้นวรรณะ
๒๐.ข้าพเจ้าเชื่อว่าพุทธศาสนาเท่านั้นที่เป็นศาสนาที่แท้จริง
๒๑.ข้าพเจ้าเชื่อว่าการที่ข้าพเจ้าหันมานับถือพระพุทธศาสนานั้นเป็นการเกิดใหม่ที่แท้จริง
๒๒.ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าจะปฏิบัติตน ตามคำสอนของพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด
หลังจากปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะแล้ว ท่านกล่าวว่า "ข้าพเจ้าเกิดมาจากตระกูลที่นับถือศาสนาฮินดู แต่ข้าพเจ้าจะขอตายในฐานะพุทธศาสนิกชน
https://youtu.be/YMJFe66sGHw
ข้อ 1 ถึงข้อ 5 นั้น เห็นได้ชัดเจนว่า ท่านอัมเบดการ์ นั้น ท่านเข้าใจศาสนาพราหมณ์-ฮินดูอย่างไร ชาวอินเดียรุ่นนำนี้ ปฏิเสธอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม ตามภาษาตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อมเลย ว่า ไปเลยว่า ไม่บูชาเทพเจ้า มหาเทพทั้ง 3 คือ พรหม ศิวะ วิษณุ ซึ่งเชื่อว่าเป็นเทพเจ้าผู้สร้างผู้ปกป้องคุ้มครองและผู้ทำลาย เท่ากับเลิกนับถือศาสนาฮินดูไปอย่างแท้จริง โดยเหตุผลว่า ฮินดู พราหมณ์ เป็นเรื่องโกหก และไปเน้นย้ำในข้อ 4 – 5 ว่า พระพุทธเจ้าเป็นองค์อวตารของพระวิษณุ นั้น เป็นเรื่องคนบ้า คนโง่เขลาเบาปัญญาอย่างแท้จริง ตามที่ ระบุไว้ด้วยภาษาที่ให้เข้าใจตรงไปตรงมาเลย ว่า
๑.ข้าพเจ้าจะไม่บูชาพระพรหม พระศิวะ พระวิษณุต่อไป
๒.ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อว่าพระราม พระกฤษณะ เป็นพระเจ้า ข้าพเจ้าจะไม่เคารพต่อไป
๓.ข้าพเจ้าจะไม่เคารพบูชาเทวดาทั้งหลายของศาสนาฮินดูต่อไป
๔.ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อลัทธิอวตารต่อไป
๕.ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อว่า พระพุทธเจ้าคืออวตารของพระวิษณุ การเชื่อเช่นนั้น คือคนบ้า
นอกจากนี้ ข้อที่ 3 ที่ว่า ข้าพเจ้าจะไม่เคารพบูชาเทวดาทั้งหลายของศาสนาฮินดูต่อไป...นั้นก็หมายถึงเทวดา ที่มีอยู่ 3 หมื่นกว่าองค์ที่ว่าไว้ในศาสนาพราหมณ์ ฮินดูนั้น ท่านอัมเบดการ์ ได้พาประชาชน มากกว่า 5 ล้านคน เลิกนับถือไปแล้ว ยังผลให้พากันนำเอาเทวรูป มหาเทพ และเทวรูปอื่น ๆ ในฐานะเป็นเทพ ไปโยนทิ้งลงหนองคลองบึงไปหมด สืบมาถึงวันนี้ ที่ 26 ธ.ค. 2560 ชาวอินเดียเดิมก็เพิ่มพูน ชุมนุมกันแน่นไปกว่าเดิมอีก ที่นาคปุระ และ ขยายออกไปในนครมุมใบ ไปอีก และที่ปรากฏผลออกมาชัดเจน ก็เป็นเรื่องการเมือง นั่นเอง โดยที่ปี 2560 นี้ ทางพรรครัฐบาล ได้ส่ง ราม ณัฐ โกวินทร์ ลงเลือกตั้ง ในนามพรรครัฐบาล คือพรรค พรรคชาตินิยมฮินดู ภารติยะ ชนะตะ [Bharatiya Janata Party] หรือบีเจพี ของนายกรัฐมนตรี นเรนทรา โมดี ประกาศส่ง ราม ณัฐ โกวินทร์ เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 14 และเขาชนะการเลือกตั้งครั้งนี้ จากการลงคะแนนเสียงของ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกสภาแต่ละรัฐรวมเกือบ 4,900 คนทั่วประเทศ ลงคะแนนเมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2560 เขาชนะอย่างขาดลอย และได้เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 25 ก.ค.2560 ทำให้เขาเป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ของอินเดีย ที่อยู่ในสถานะสังคมในวรรณะต่ำสุดของอินเดีย โดย เป็น นักการเมือง "จัณฑาล" คนที่ 2 ในประวัติศาสตร์อินเดียที่ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี โดยที่มีประธานาธิบดี จัณฑาล คนแรกของอินเดียคือ นาย เค.อาร์. นารายานัณ ซึ่งได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอินเดียที่เป็นคนชนชั้นจัณฑาลคนแรก ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากกระแสการเมืองอินเดียยุคใหม่นี้เอง ลงแข่งเลือกตั้ง ทั้ง ๆ ที่ โกวินทร์ นั้นอยู่ในตระกูล จัณฑาล แต่แล้ว กลับได้ชนะในการเลือกตั้ง วันที่ 17 กรกฎาคม 2560
และ ประธานาธิบดี จัณฑาล อินเดีย ทั้ง 2 ท่านนี้ ก็น่าจะได้ร่วมในอุดมการณ์ของ ดร.บี.อาร.เบดการ์ คนนี้ด้วย เพราะ ดร.บี.อาร.เบดการ์ เองนั้น ก็เกิดมาเป็น จัณฑาล เช่นเดียวกัน และต่างก็ได้เป็น จัณฑาล ที่สร้างตนเองขึ้นมาได้ตามหลักการของพระพุทธเจ้า ที่ว่า อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งของตน จนผ่านชีวิตการศึกษา ด้านการสติ ปัญญา ไปสู่ระดับสูงสุดของการศึกษาโลกสากลได้ ได้เข้าสู่วงการเมืองระดับสูงสุดของประเทศอินเดียได้ โดยที่ท่านอัมเบดการ์นั้นได้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ ขั้นปริญญาเอก แล้วได้เข้ามาสู่วงการเมือง และโอกาสที่ท่านประสงค์ก็มาถึง นั่นคือทางรัฐบาลได้มอบหมายให้ท่านเป็นประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยอินเดียขึ้น ท่านได้บัญญัติบทยกเลิกระบบชั้นวรรณะในอินเดียเสีย ด้วยเหตุผลที่ว่า การบัญญัติเช่นนั้นของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นความไม่เป็นธรรม และไม่ชอบธรรมแด่มนุษย์ และ ได้ต่อสู้เพื่อจัณฑาล โดยนำคนพวกนี้เข้าสู่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 11 ปีมาแล้ว รัฐธรรมนูญและกฏหมายของอินเดียได้พยายามคุ้มครองดาลิต โดยมีมาตราที่สำคัญอาทิ มาตรา 4 เพื่อสร้างความเท่าเทียมกันก่อนกฏหมายเพื่อประกันความเท่าเทียมให้แก่พลเมืองอินเดีย มาตรา 15 เพื่อป้องกันการเลือกปฏิบัติจากพื้นฐานของศาสนา ชาติพันธุ์ วรรณะ เพศ และสถานที่กำเนิด มาตรา 17 ได้ระบุชัดเจนในการยกเลิกคำว่า "จัณฑาล" ในสังคม มาตรา 46 เพื่อส่งเสริมการศึกษาและเศรษฐกิจ โดยรัฐต้องจัดการศึกษาพิเศษเพื่อยกระดับดาลิตและกลุ่มชาติพันธุ์ นี่คือคนดี ที่ฝึกฝนตนเองไปจนได้ดี โดยการพึ่งพาตนเอง ตามหลัก กรรมมุนา วตฺตตี โลดโก สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมของตนเอง ไม่ใช่โดยอำนาจของพระเจ้า ในลำดับต่อมา ก็ท่านประธานาธิบดีจัณฑาลคนแรกของอินเดีย ท่าน เค. อาร์ นารายานัณ เคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอินเดียอยู่ 5 ปี ระหว่างปี ค.ศ. 1997 – 2002 (2540 -2545) ก็เป็น จัณฑาล คนแรกที่ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอินเดีย แล้วต่อมาวันนี้ จัณฑาลคนที่ 2 ก็เริ่มการต่อสู้พัฒนาตนเอง ทั้งทางวิชาความรู้และการเมืองมาตามลำดับ จนกระทั่งที่สุดได้เป็น ผู้ว่าการรัฐวิหาร ของสาธารณรัฐอินเดีย แล้วบรรลุสู่ระดับสูงสุด โดยได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี คนที่ 14 ของสาธารณรัฐอินเดีย และเนื่องจาก เป็นผู้ที่มีความเข้าใจในสถานะของคนจัณฑาลในอินเดียดี ซึ่ง จำนวนจัณฑาลในอินเดีย มีถึง 200 ล้านคน จึงน่าหวังว่า ประธานาธิบดี จัณฑาล คนนี้ จะได้ยึดแนวทางของ ดร.บี.อาร์ อัมเบดการ์ เป็นแนวทางแห่งชาติอินเดียต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วาทะสุดท้ายของท่าน ดร.บี.อาร์. อัมเบดการ์ ที่พาชาวพุทธนาคปุระ และ มุมใบ กล่าวคำว่า "ข้าพเจ้าเกิดมาจากตระกูลที่นับถือศาสนาฮินดู แต่ข้าพเจ้าจะขอตายในฐานะพุทธศาสนิกชน” นั่นหมายถึง ละล้าง คติ อาธรรม ที่เกิดจากการแบ่งวรรณะชนชั้นในพรามหมณ์-ศาสนาฮินดูเสีย กลับมาเทิดทูนศาสนาพุทธ ให้กลับคืนสู่สังคมอินเดีย อีกครั้งหนึ่ง
*****
6. ภาคพิเศษ โหราศาสตร์
ภาคพิเศษ โหราศาสตร์
การจรของดาวอังคาร(๓) สู่ราศีพิจิก และ ราศี มังกร ปี พ.ศ. 2561 นี้
ดวงที่ 1 ดวงกำเนิด
ดวงชะตาประเทศไทย
ดวงที่ 1 ดวงกำเนิด
ดวงชะตาประเทศไทย
วัน อาทิตย์ ที่ 21 เมษายน 2325 เวลา 06.54 น.
(จาก อ.ประมวลวิทย์)
วันนี้ (17 ม.ค.2561) ประเทศไทยมีอายุ ได้ 235 ปี 8 เดือน 27 วัน
มีประเด็นทางโหราศาสตร์ที่สำคัญก็คือ จะมีอะไรเกิดขึ้น ในช่วงที่ดาวอังคาร(๓)ซึ่้งเป็นดาว ตนุลักคณ์ ของดวงชะตาประเทศไทย(ดาวประจำชาติไทย) จรสู่ราศีมังกร ในวันที่ 26 เมษายน 2561 และ อยู่ในราศีมังกรต่อไป ในฐานะ ดาวมหาอุจ ไปจนถึงวันที่ 6 พ.ย. 2561 ประเทศไทยจะมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ อย่างไร ในขณะที่ดาวอังคาร จรเข้า่สู่ภพ กัมมะ หรือ ภพที่ 10 ของดวงชะตาประเทศ และซึ่งน่าจะได้เห็นสิ่งบอกเหตุ ตั้งแต่วันนี้ วันที่ 17 ม.ค. 2561 ที่ดาวอังคารจรสู่ราศีพิจิก เป็นเกษตร
ดวงที่ 2 ดวงชะตากำเนิด และ ดาวจร
ดวงที่ 2 ดวงชะตากำเนิดและ ดาวจร
วงใน ดวงชะตาประเทศไทย
วงนอก ดาวอังคาร(๓)จรสู่ราศีพิจิก(เป็นเกษตรจร) และ ราศีมังกร(เป็น มหาอุจจร) ดาวอังคารโดยรูปธรรมแล้ว หมายถึงคนในเครื่องแบบ(ทหาร) โดยนามธรรม วันนี้แล้ว เป็นเครื่องหมายของการพัฒนาก้าวหน้า การเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่ ในทางที่ดี ของประเทศไทย
*****
จบดีเล่มที่53