พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ มหาราชไทยลำดับที่เก้าแห่งราชวงศ์จักรี ประเทศไทย เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2489 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เสวยราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์โลก [ซึ่งกษัตริย์องค์รอง ลำดับการครองราชย์นานเป็นรอง ที่ 2 ก็คือ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เอลิซาเบธ ที่ 2 (Queen Elizabeth 2 )แห่งสหราชอาณาจักร และเครือจักรภพ ที่ทรงครองราชย์มาถึงวันเดียวกันนี้ 64 ปี]
ทรงมีพระราชสมภพเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2470, เคมบริดจ์, รัฐแมสซาชูเซตส์, ประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559, เวลา 15.52 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช, กรุงเทพมหานครขณะทรงพระชนมายุ 88 พรรษาและครองราชย์มา 70 ปี ท่ามกลางความเศร้าโศกของพสกนิกรชาวไทย และชาวพุทธทั่วโลก
นี่คือบทนำแห่งธรรมะ ในพระพุทธศาสนา รจนาแด่การเสด็จสวรรคต ของพระองค์
ปัญจักขันธา
รูปักขันโธ, เวทนากขันโธ, สัญญากขันโธ, วิญญานักขันโธ, สังขารักขันโธ
คนเรานี้คือกองสังขาร5 กองประกอบกันเป็นหนึ่ง การได้เป็นคน มีชีวิตขึ้นมา จนอยู่ไปตามลำดับแห่งชีวิต ตามหลักพระพุทธศาสนานั้น ได้มาเพราะการประกอบกันของกองขันธ์ 5 กอง คือ
1. รูปขันธ์ ได้แก่ รูป ร่างกาย พร้อมอวัยวะ 32 อย่าง อวัยวะภายนอก และ อวัยวะภายใน(นับแต่ หัว หู หน้า ตา หน้าผาก คอ บ่าไหล่ แขน ลงมาถึงหน้าอก ท้อง ขา เท้า และทั้งอวัยวะภายใน มีตับ ปอด หัวใจ ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะอาหาร อวัยวะเพศ ฯลฯ หรือในยุควิทยาศาสตร์ ด้วยวิชาวิทยาศาสตร์จะทราบรายละเอียดของร่างกายคนนี้อย่างมากมายกว่า32อย่าง เป็น 100 เป็น 1000 อย่าง ...แต่ก็เป็นรูปขันธ์เหมือนกัน) ทางภาษาสากลให้ความหมายว่า the body, natural state, form, figure, shape, image, characteristic. Skt. rupa
2. เวทนากขันโธ เวทนาขันธ์ กองแห่งเวทนา ธรรมชาติอันเสวยอารมณ์ ความเสวย คือรู้รสอารมณ์ ได้แก่ความรู้สึกต่าง ๆ มาทางอารมณ์ ที่เป็นทั้งสุข และทุกข์ ทั้งความเจ็บปวดและความสุขใจ อิ่มใจ the aggregate of feeling, pain, suffering, sensation, perception
3. สัญญากขันธโธ ได้แก่ ความคิด ความจำได้ หมายรู้, ความจงใจ ตั้งใจ, นึกคิด, จำ, สำคัญ, ชื่อ, ในสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต thought, sense, memory, perception, intellect, sign, gesture, name
4. วิญญานักขันโธ ได้แก่ความรู้สึก ใจ ที่ผ่านมาทางอายตน 6 คือ หู ตา จมูก ลิ้น สัมผัสทางกาย และ สัมผัสทางใจ intelligence, knowledge, consciousness, thought, mind (ในพุทธธรรม คำว่าวิญญาณนี้ ไม่ใช่ดวงวิญญาณ ที่ล่องลอยออกไปจากร่างเมื่อเวลาสิ้นชีวิต หรือสิ่งที่เป็นดวงจิตที่อาจจะล่องลอยไปไหนมาไหนก็ได้ และไม่ได้หมายถึงภูติ ผี ปีศาจ เทพ หรือ เทวดา)
5. สังขารักขันโธ ธรรมอันปัจจัยตกแต่ง, ความแต่ง, ความอบรม, สังขาร, ปัจจัยประชุมเกิด ได้แก่ความคิดปรุงแต่งจิตใจให้เป็นไป ทั้งดี ทั้งชั่ว หรือเป็นกลาง ๆ ไม่ดีไม่ชั่ว เป็นปัจจัยตกแต่ง ความปรุง ความอบรม การปรุงแต่งของภาคนามธรรมกับรูปธรรม constructing, preparing, perfecting, embellishing, aggregation, matter, Karma
กองทั้ง 5 กองขันธ์นี้ ก็แบ่งเป็น 2 ลักษณะ มีลักษณะ 2 อย่างที่แตกต่างกัน ดังนี้คือ มีรูปธรรมหนึ่ง กับ นามธรรมหนึ่ง คือ
1. รูปธรรม กองที่เป็นรูปร่าง เป็นตัวตน มองเห็นได้ สัมผัสถูกต้องได้ คือ รูปักขันโธ นั่นเอง หรือเรียกว่า ส่วนกาย (ตรงกับภาษาสากลว่า body )
2. นามธรรม คือ เวทนาขันโธ, สัญญาขันโธ, วิญญานขันโธ, สังขารขันโธ 4 รวมกัน เป็นส่วนที่มองด้วยตาไม่เห็น สัมผัสถูกต้องไม่ได้ เรียกว่า นามธรรม ( mind)
รูปธรรม1กอง ฝ่ายกาย[body] และนามธรรม4กองที่ประสานกันเป็นฝ่ายจิตใจ[mind]นี้แหละ ประกอบกันแล้ว เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังขาร คือร่างกาย จิตใจ และรูปธรรมนามธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น เกิดเป็นคน ที่มีรูปร่าง หน้าตา และจิตใจขึ้นมา
.jpg)
สัจธรรมตรงนี้ก็คือ คน ไม่ว่าคนใด คนไหน คนอย่างไร คนใหญ่ คนโต คนล้นด้วยบารมี อำนาจ คนจนต่ำต้อย คนด้อยวาสนา คนรวย เศรษฐี มหาเศรษฐี ข้าราชการ กรรมกร ชาวนา ประชาชนหรือกษัตริย์ มหากษัตริย์ มหาราช นายกรัฐมนตรี นายพลเอก นายพลโท หรือพลทหาร ก็เหมือนกัน ในแง่ที่ว่า เกิดมา อยู่ เป็น ไปได้ด้วยปัญจักขันธา รวม 5 องค์ประกอบนี้ ....เหมือนกัน เป็นคนเหมือนกันหมด
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสสิ่งที่เป็นความรู้อย่างยิ่ง(อุตตริมนุสสธรรม)ก็คือตรัสเกี่ยวกับเรื่องรูปธรรมนามธรรม หรือ กองขันธ์ทั้ง 5 หรือสังขาร หรือคนเรานี้เอง ให้คนรู้ว่า สัจธรรมของสังขาร หรือ คน เรานั้นคืออะไร สัจธรรมที่ควรรู้คืออะไร อย่างไร หากหมั่นพิจารณาอยู่บ่อย ๆ เป็นประจำ ก็จะเกิดปัญญาแจ่มแจ้ง นำไปสู่ความพ้นทุกข์ได้
ดังตัวอย่างหมู่พระสาวก สงฆ์ สามเณร ที่มีวัตรสวดมนต์เช้า สวดมนต์เย็น เป็นประจำทุกวัน ๆ ตลอดชีวิตนักบวช เน้นลงไปที่สัจธรรมที่ทรงบอกไว้ นั้น ๆ ล้วนแต่เพื่อชี้ นำทางคนทั้งหลาย ไปสู่มรรคผล นิพพาน เป็นทางไปสู่ความพ้นทุกข์ทั้งสิ้น ทั้งทางกายและทางใจ หรือหากนับเป็นทรัพย์ นั่นคือ อริยทรัพย์ ที่ประมาณค่าไม่ได้ (คือได้ความเป็นอริยชนผู้ประเสริฐ ผู้เสวยซึ่งมรรค ผล นิพพาน แล้วอิ่มไปนิรันดร)
ตัวอย่างเช่นที่ปรากฎในธัมมะนิยามะสุตตัง ว่า
สัพเพ สังขารา อนิจจาติ สังขารคือร่างกายจิตใจ, แลรูปธรรม นามธรรม ทั้งหมดทั้งสิ้น มันไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไป มีแล้วหายไป unstable, not lasting, transitory, perishable
สัพเพ สังขารา ทุกขาติ ลำบาก นำมาซึ่งทุกข์ สังขารคือร่างกายจิตใจ, แลรูปธรรม นามธรรม ทั้งหมดทั้งสิ้น มันเป็นทุกข์ทนยาก, เพราะเกิดขึ้นแล้ว, แก่ เจ็บ ตายไปpainful, grievous, unpleasant, difficult
สัพเพธัมมา อนัตตาติ ใช่อาตมา, ใช่ของอาตมา, สิ่งทั้งหลายทั้งปวง, ทั้งที่เป็นสังขาร แลมิใช่สังขารทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน, ไม่ควรถือว่าเรา ว่าของเรา ว่าตัวว่าตนของเรา not a self, not a soul
ดังมีส่วนขยายความเข้าใจออกไปอีกโดยการเจริญวิปัสนาตามไปตามบทสวดของพระสาวก ว่า ....
ชาติปิ ทุกขา (แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์)
ชะราปิ ทุกขา (แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์)
มะระณัมปิ ทุกขัง, (แม้ความตายก็เป็นทุกข์)
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา, (แม้ความแห้งใจ ความพิไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความเสียใจและคับแค้นใจก็เป็นทุกข์)
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข (ความประสบความเห็นสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์)
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง (ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นสมหวังก็เป็นทุกข์)
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา (ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้งห้าเป็นตัวทุกข์...... การยึดขันธ์ห้าว่าเป็นเราก็เป็นทุกข์)
เสยยะถีทัง ได้แก่สิ่งเหล่านี้.......นี้อย่างไร
รูปูปาทานักขันโธ, (การหลงยึดเอารูปว่าเป็นของเรา)
เวทะนูปาทานักขันโธ,( การหลงยึดเอาเวทนาว่าเป็นของเรา)
สัญญูปาทานักขันโธ, (การหลงยึดเอาสัญญาว่าเป็นของเรา)
สังขารูปาทานักขันโธ,( การหลงยึดเอาสังขารว่าเป็นของเรา...ปรุงแต่งอะไรขึ้นมาก็ว่าเป็นของเรา)
วิญญาณูปาทานักขันโธ ( การหลงยึดเอาวิญญาณว่าเป็นของเรา)
[อุปาทานํ ความถือมั่น, ความเข้าไปถือเอา, ถือมั่น(ผ); เชื้อไฟ หรือฟืน(ชิน.๓๖/๑๒); ตัณหา (ม.นิท. อ/กาม ๘) สํ. อุปาทาน. attachment, clinging to existence; firewood, fuel.] ทำความเข้าใจโดยหลักสนธิไทย รูป+อุปาทาน+ก = รูปูปาทานักขันโธ
เยสังปริญญายะ, ธะระมาโนโส ภะคะวา, เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ,
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังดำรงพระชนม์อยู่ ย่อมแนะนำสาวกทั้งหลาย เพื่อให้รู้ซึ่งอุปาทานขันธ์(เพื่อให้รู้ซึ่งการหลงยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของเรา) ทั้งหลายอย่างนี้ เป็นอันมาก
เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ,
ก็แลการพร่ำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีส่วนอย่างนี้ เป็นไปมากในหมู่สาวกทั้งหลาย
รูปัง อะนิจจัง, (รูปไม่เที่ยง)
เวทะนา อนิจจา, (เวทนาไม่เที่ยง)
สัญญา อะนิจจา, (สัญญาไม่เที่ยง)
สังขารา อะนิจจา, (สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง...ปรุงแต่งเป็นนั่นเป็นนี่แล้วก็ไม่เที่ยงหรอก)
วิญญาณัง อะนิจจัง, (วิญญาณไม่เที่ยง)
รูปัง อะนัตตา, (รูป ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน, ไม่ควรถือว่าเรา ว่าของเรา ว่าตัวว่าตนของเรา
เวทะนา อะนัตตา, (เวทนา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน, ไม่ควรถือว่าเรา ว่าของเรา ว่าตัวว่าตนของเรา
สัญญา อะนัตตา, (สัญญาไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน, ไม่ควรถือว่าเรา ว่าของเรา ว่าตัวว่าตนของเรา
สังขารา อะนัตตา, (สังขารทั้งหลายไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน, ไม่ควรถือว่าเรา ว่าของเรา ว่าตัวว่าตนของเรา
วิญญาณัง อะนัตตา, วิญญาณไม่ใช่ตัวตน, ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน, ไม่ควรถือว่าเรา ว่าของเรา ว่าตัวว่าตนของเรา
สัพเพ สังขารา อนิจจา,(สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง...มันเปลี่ยน แปรไปตลอดเวลา)
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ, (ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นของมิใช่ตัวมิใช่ตนของเรา[...มันไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของของใครเลย] ดังนี้แล)
(2).jpg)
เมื่อเราเจริญความคิด เจริญวิปัสสนาไป จนเห็นความจริงว่า ตัวเราเอง เป็นเพียงปัญจักขันธา รูปธรรม นามธรรม หรือ กองขันธ์ทั้ง 5 มารวมกันเป็นหนึ่ง ที่เรียกว่าคน หรือ มนุษย์ รูปธรรม นามธรรมนี้ ก็ย่อมไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของเราเลย (มันไม่อยู่ในอาณัติของเราเลย ถึงเวลาของมัน ๆ ก็เป็นไป ตามธรรมชาติของมัน เช่นมีเกิด มีแก่ มีเจ็บ มีตาย ลำดับไปเองเป็นธรรมดา) ก็จะพ้นทุกข์ เกิดวิปัสสนาญาณ นำไปสู่มรรคผล ทางสู่โลกนิพพาน ตามคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้
จิระปะริพิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา ,
เราทั้งหลายผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้วพระองค์นั้น เป็นสรณะ
ธัมมัญจะ สังฆัญจะ , ถึงพระธรรมด้วย ถึงพระสงฆ์ด้วย
ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาสะติ ยะถาพะลัง มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ ,
จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตามสติกำลัง
สา สา โน ปะฏิปัตติ ,
ขอให้ความปฏิบัตินั้น ๆ ของเราทั้งหลาย
อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ ,
จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้เทอญ
พระครูพุทธิพงศานุวัตร
วัดมหาพุทธาราม พระอารามหลวง
อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
17 ต.ค. 2559 เวลา 20:30:30 น.
· เอกสารอ้างอิง ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต PALI – THAI – ENGLISH – SANSKRIT – DICTIONARY ฉบับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พิมพ์ในคราวอายุครบ ๕ รอบ หม่อมหลวงบัว กิติยากร ในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๒
.jpg)