ReadyPlanet.com
dot
dot dot
bulletBUDDHISM TO THE NEW WORLD ERA
bullet1 Thai-ไทย
bullet2.English-อังกฤษ
bullet3.China-จีน
bullet4.Hindi-อินเดีย
bullet5.Russia-รัสเซีย
bullet6.Arab-อาหรับ
bullet7.Indonesia-อินโดนีเซีย
bullet8.Japan-ญี่ปุ่น
bullet9.Italy-อิตาลี
bullet10.France-ฝรั่งเศส
bullet11.Germany-เยอรมัน
bullet12.Africa-อาฟริกา
bullet13.Azerbaijan-อาเซอร์ไบจัน
bullet14.Bosnian-บอสเนีย
bullet15.Cambodia-เขมร
bullet16.Finland-ฟินแลนด์
bullet17.Greek-กรีก
bullet18.Hebrew-ฮีบรู
bullet19.Hungary-ฮังการี
bullet20.Iceland-ไอซ์แลนด์
bullet21.Ireland-ไอร์แลนด์
bullet22.Java-ชวา
bullet23.Korea-เกาหลี
bullet24.Latin-ละติน
bullet25.Loa-ลาว
bullet26.Finland-ฟินแลนด์
bullet27.Malaysia-มาเลย์
bullet28.Mongolia-มองโกเลีย
bullet29.Nepal-เนปาล
bullet30.Norway-นอรเวย์
bullet31.persian-เปอร์เซีย
bullet32.โปแลนด์-Poland
bullet33.Portugal- โปตุเกตุ
bullet34.Romania-โรมาเนีย
bullet35.Serbian-เซอร์เบีย
bullet36.Spain-สเปน
bullet37.Srilanga-สิงหล,ศรีลังกา
bullet38.Sweden-สวีเดน
bullet39.Tamil-ทมิฬ
bullet40.Turkey-ตุรกี
bullet41.Ukrain-ยูเครน
bullet42.Uzbekistan-อุสเบกิสถาน
bullet43.Vietnam-เวียดนาม
bullet44.Mynma-พม่า
bullet45.Galicia กาลิเซียน
bullet46.Kazakh คาซัค
bullet47.Kurdish เคิร์ด
bullet48. Croatian โครเอเซีย
bullet49.Czech เช็ก
bullet50.Samoa ซามัว
bullet51.Nederlands ดัตช์
bullet52 Turkmen เติร์กเมน
bullet53.PunJabi ปัญจาบ
bullet54.Hmong ม้ง
bullet55.Macedonian มาซิโดเนีย
bullet56.Malagasy มาลากาซี
bullet57.Latvian ลัตเวีย
bullet58.Lithuanian ลิทัวเนีย
bullet59.Wales เวลล์
bullet60.Sloveniana สโลวัค
bullet61.Sindhi สินธี
bullet62.Estonia เอสโทเนีย
bullet63. Hawaiian ฮาวาย
bullet64.Philippines ฟิลิปปินส์
bullet65.Gongni-กงกนี
bullet66.Guarani-กวารานี
bullet67.Kanada-กันนาดา
bullet68.Gaelic Scots-เกลิกสกอต
bullet69.Crio-คริโอ
bullet70.Corsica-คอร์สิกา
bullet71.คาตาลัน
bullet72.Kinya Rwanda-คินยารวันดา
bullet73.Kirkish-คีร์กิช
bullet74.Gujarat-คุชราด
bullet75.Quesua-เคซัว
bullet76.Kurdish Kurmansi)-เคิร์ด(กุรมันซี)
bullet77.Kosa-โคซา
bullet78.Georgia-จอร์เจีย
bullet79.Chinese(Simplified)-จีน(ตัวย่อ)
bullet80.Chicheva-ชิเชวา
bullet81.Sona-โซนา
bullet82.Tsonga-ซองกา
bullet83.Cebuano-ซีบัวโน
bullet84.Shunda-ชุนดา
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet86.Sesotho-เซโซโท
bullet87.NorthernSaizotho-ไซโซโทเหนือ
bullet88.Somali-โซมาลี
bullet89.History-ประวัติศาสตร์
bullet90.Divehi-ดิเวฮิ
bullet91.Denmark-เดนมาร์ก
bullet92.Dogry-โดกรี
bullet93.Telugu-เตลูกู
bullet94.bis-ทวิ
bullet95.Tajik-ทาจิก
bullet96.Tatar-ทาทาร์
bullet97.Tigrinya-ทีกรินยา
bullet98.Check-เชค
bullet99.Mambara-มัมบารา
bullet100.Bulgaria-บัลแกเรีย
bullet101.Basque-บาสก์
bullet102.Bengal-เบงกอล
bullet103.Belarus-เบลารุส
bullet104.Pashto-พาชตู
bullet105.Fritian-ฟริเชียน
bullet106.Bhojpuri-โภชปุรี
bullet107.Manipur(Manifuri)-มณีปุระ(มณิฟูรี)
bullet108.Maltese-มัลทีส
bullet109.Marathi-มาราฐี
bullet110.Malayalum-มาลายาลัม
bullet111.Micho-มิโช
bullet112.Maori-เมารี
bullet113.Maithili-ไมถิลี
bullet114.Yidsdish-ยิดดิช
bullet115.Euroba-ยูโรบา
bullet116.Lingala-ลิงกาลา
bullet118.Slovenia-สโลวีเนีย
bullet119.Swahili-สวาฮิลี
bullet120.Sanskrit-สันสกฤต
bullet121.history107-history107
bullet122.Amharic-อัมฮาริก
bullet123.Assam-อัสสัม
bullet124.Armenia-อาร์เมเนีย
bullet125.Igbo-อิกโบ
bullet126.History115-ประวัติ 115
bullet127.history117-ประวัติ117
bullet128.Ilogano-อีโลกาโน
bullet129.Eve-อีเว
bullet130.Uighur-อุยกูร์
bullet131.Uradu-อูรดู
bullet132.Esperanto-เอสเปอแรนโต
bullet133.Albania-แอลเบเนีย
bullet134.Odia(Oriya)-โอเดีย(โอริยา)
bullet135.Oromo-โอโรโม
bullet136.Omara-โอมารา
bullet137.Huasha-ฮัวซา
bullet138.Haitian Creole-เฮติครีโอล
bulletคำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรแปล เช้า-เย็น
bulletChart Showing the Process
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี พ.ศ.2540 - 2566
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 1
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 2
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี บุคคลที่ 1 - 188 ปัจจุบัน
bulletหนังสือพิมพ์ดี
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 1
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 2
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 3
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 4
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 5
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 6
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 7
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 8
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 9
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 10
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 11
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 12
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 13
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 14
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 15
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 16
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 17
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 18
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 19
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 20
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 21
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 22
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 23
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 24
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 25
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 26
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 27
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 28
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 29
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 30
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 31
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 32
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 33
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 34
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 35
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 36
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 37
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 38
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 39
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 40
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 41
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 42
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 43
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 44
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 45
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 46
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 47
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 48
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 49
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 50
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 51
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 52
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 54
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 55
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 56
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 57
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 58
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 59
bulletTo The World
bulletENGLISH
bulletUSA
bulletChina
bulletIndia
bullet Mynmar
bullet Cambodia
bullet Loas
bulletSri Lanka
bulletMalaysia
bulletKorea
bulletA Sharp Turn of Believes : Iresearch Iwrite Iread
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 1
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 2
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 3
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 4
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 5
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 6
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 7
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 8
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 9
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 10
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 11
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 12
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 13
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 14
bulletMystery Report 15
bulletMystery Report 16
bulletMystery Report 17
bulletMystery Report 18
bulletMystery Report 19
bulletMystery Report 20
bulletMystery Report 21
bulletMystery Report 22
bulletMystery Report 23
bulletMystery Report 24
bulletMystery World Report 25
bulletศึกษาโลกลี้ลับ 26
bulletเฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว วิเคราะห์ทุกปัญหาในโลกมนุษย์ด้วยสติปัญญาและเหตุผลวิทยาศาสตร์จากนสพ.ดี
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2536
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2537
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2538
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2539
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2540
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2541
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2542
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2543-2545
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2545-2549
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2549-2550
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2550-ส.ค.2551
bulletเฝ้าดูฯ ส.ค.-ก.ย.2551
bulletเฝ้าดูฯ ก.ย.2551- ธ.ค. 2551
bulletเฝ้าดูฯสำนวนพัชรา กอปรทศธรรม
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 16-27
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 29
bulletบทความใหม่ เม.ย.-พ.ค.2552
bulletพุทธธรรมเพื่อทางดับทุกข์
bulletทฤษฎีการดับทุกข์ทางจิต วิปัสสนากรรมฐานโดยการทำงาน(สำนวนปรับปรุงใหม่)
bulletประวัติพัชรา กอปรทศธรรม
bulletประวัติการต่อสู้เพื่อการดับทุกข์ ของพัชรา กอปรทศธรรม
bulletอัลบั้มรูป history
bulletนิทานธรรมะประยุกต์ มานุสสาสุระสงคราม 4 ภาค และอื่น ๆ
bulletอัลบั้มรูป ภาพในอดีตและชีวประวัติศาสตร์ที่สวยงาม
bulletจากเวบบอร์ด พูดกันไม่รู้เรื่อง ประชาธิปไตยล้าหลัง
bulletศาสนาสากล การวิเคราะห์ความหมาย
bulletปลอบใจ
dot
รวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์ แนวปฏิรูปคณะสงฆ์อยู่ในบทวิเคราะห์นี้แล้ว
dot
bulletรวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์
dot
สากลจักรวาล สากลศาสนา แนวคิดศาสนาสำหรับคนยุคใหม่ ผู้ก้าวผิดทางไปสู่สิ่งไร้สาระโดยไม่รู้ตัว
dot
bulletสากล...ศาสนา 1
bulletสากล...ศาสนา 2
bulletสากล...ศาสนา 3
bulletสากล...ศาสนา 4
bulletสากล...ศาสนา 5
bulletสากล...ศาสนา 6
bulletสากล...ศาสนา 7
bulletสากล...ศาสนา 9
bulletสากล...ศาสนา 8
bulletสากล...ศาสนา 10
bulletสากล...ศาสนา 11
bulletสากล...ศาสนา 12
bulletสากล...ศาสนา 13
bulletสากล...ศาสนา 14
bulletสากล...ศาสนา 16
dot
ส่วนข้อมูลสำคัญเพื่อการวิจัยการเมืองไทยยุค คมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
dot
bulletข้อมูลสำคัญยุคคมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่1/26ส.ค.2551
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่2/27ส.ค.2551
bulletใบปลิว อีเมล์ ในหลวงทรงร้องไห้
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 1
bulletในหลวงเพิ่งทราบข่าวฆ่าประชาชน10เมย.53ทรงร้องไห้
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
dot
รวมข่าวม็อบการเมืองสนธิ-จำลอง-ปชป.มิ.ย.51-เม.ย.52 นสพ.
dot
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 2
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 3
bulletรวมข่าวม็อบ30มิ.ย.51-23มี.ค.52
bulletเลือดศรีสะเกษบันทึกเรื่องราวรอบด้านเกี่ยวกับเขาพระวิหาร
bulletรายงานการโฆษณาชวนเชื่อในประเทศไทยที่ล้มล้างรัฐบาลทักษิณ
bulletหนังสือพิมพ์ดี ของฟรีให้เปล่ามา20ปีแล้วทั้งเอกสารและอินเทอเนท
bulletหนังสือพิมพ์ดี ( อินเทอเนต ) เล่ม 1 - 44 - ล่าสุด
bulletหน้าที่เก็บไว้
bulletมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร)
bulletวัดมหาพุทธาราม ศรีสะเกษ บันทึกเหตุการณ์
bulletสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดศรีสะเกษแห่งที่ 1
bulletเกี่ยวกับเวบไซต์ของเรา เราทำเพื่อปัญญาชนโดยแท้
bulletรวมกระทู้เด็ดจากกระดานถามตอบ
bulletคาถาอาคมไสยศาสตร์
bulletกวีนิพนธ์ใหม่
bulletศูนย์ปฏิญญาณละเลิกอบายมุข บัญชีที่ 1- 4


รวมบทความเกี่ยวกับเขาพระวิหาร โดยเลือดศรีสะเกษ ฯลฯ

ไทยเสียดินแดนอีกแล้ว

 

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ไทยได้สูญเสียแผ่นดินที่ตั้งปราสาทเขาพระวิหาร ที่ตั้งอยู่บนชะง่อนผาสูงพนมดงรัก ( เขมรว่าพนมดงแรก แปลว่าภูเขาไม้คาน ) ตำบลบึงมะลู ( ปัจจุบันตำบลเสาธงชัย ) อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเขมร ที่ไทยสู้เขมรไม่ได้ก็เพราะว่าศาลโลกเชื่อตามแผนที่ที่ฝรั่งเศสจัดทำขึ้น สมัยเมื่อฝรั่งเศสยึดครองเอาประเทศเขมรเป็นเมืองขึ้น

ครั้นมาถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๑นี้ ประเทศเขมรได้ยื่นต่อองค์การยูเนสโก้ ขอจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารขึ้นเป็นมรดกโลก และคณะกรรมการมรดกโลกได้มีมติตัดสินให้เป็นมรดกโลกแล้ว ถือว่าได้เสียเกียรติภูมิไปอีกครั้งหนึ่ง ไม่แน่.......ถ้าไทยยังโง่เง่าประมาทอยู่อย่างนี้ อาจจะสูญเสียแผ่นดินที่ไหนให้แก่ใครอีกเป็นครั้งต่อไปก็ได้

ความจริง ศาลโลกตัดสินให้เขมรได้เฉพาะที่ตั้งตัวเขาพระวิหารเท่านั้น คือ ตั้งแต่หัวบันไดนาคขึ้นไปจนถึงปราสาทหลังที่ ๔ ส่วนพื้นที่ข้างล่างจากบันไดนาคออกมาเป็นของไทย แต่คนส่วนมากไม่เข้าใจ เพราะเมื่อศาลโลกตัดสินแล้ว ฝ่ายไทยได้ปักเสาล้อมลวดหนามใกล้ๆร่องน้ำ บริเวณตรงที่จะข้ามไปขึ้นบันไดปราสาทเขาพระวิหาร อ้างว่าเพื่อป้องกันไม่ให้เขมรเล็ดลอดข้ามมาฝั่งไทย

ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เขมรได้ส่งทหารและเจ้าหน้าที่ขึ้นไปประจำอยู่บนปราสาทเขาพระวิหารสร้างบ้านเรือนกระต๊อบกระแต๊บอยู่บนรอบๆตัวปราสาทโน่น ไม่ได้ลงมาอยู่ข้างล่างเลย

ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๔๓ จะด้วยเหตุผลใดไม่ทราบ ไทยกับเขมรได้เจรจากันเปิดจุดผ่อนปรนชั่วคราว คนไทยคนใดหรือหน่วยงานใดไม่รู้ ได้ไปสร้างร้านค้าให้เขมรลงมาขายสิ่งของ ติดกับล่องน้ำซึ่งเป็นแผ่นดินไทย จนเวลานี้มีประมาณ ๕๐ ร้านค้า มีประชาชนเกือบ ๕๐๐ คน และฝ่ายเขมรได้มาสร้างป้อมประตูขายบัตรให้แก่คนที่จะขึ้นไปชมตัวปราสาทเขาพระวิหาร กลายเป็นชุมชนเขมรในเขตแผ่นดินไทย แต่แปลก.....ที่ฝ่ายไทยอยู่เฉยๆ

ฝ่ายไทยบอกว่า เมื่อเขมรจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกแล้ว จะพยายาม

ผลักดันให้เขมรออกไป ซึ่งเป็นความคิดของคนวิกลจริตหรือปัญญาอ่อน ขอฟันธงได้เลยว่า ยาก...กๆ

ไม่มีทางที่จะไล่เขมรออกไปได้ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศไทยเอาตำแหน่งเป็นประกันนั้น ขี้โม้ขี้คุยชัดๆ

บริเวณพื้นที่ทับซ้อนประมาณ ๔.๖ ตารางกิโลเมตร เวลานี้ก็ยังไม่มีจัดแผนที่แบ่งเขตแดนกันเลย เวลามีการเจรจากับเขมร ไทยต้องเสียเปรียบอย่างแน่นอน เพราะเขาจะอ้างว่าเป็นพื้นที่บริเวณมรดกโลก คณะกรรมการมรดกโลก ๗ ประเทศ ก็จะต้องเห็นดีเห็นชอบเข้าข้างฝ่ายเขมรอย่างไม่ต้องสงสัย ไทยมีแต่เสียกับเสีย สมน้ำหน้า...

 

ไทยเสียดินแดนใครรับผิดชอบ

เอกสารบทความ “ไทยเสียดินแดนอีกแล้ว”โดยขะแมร์ลือ (๑) ได้ชี้ชัดลงไปว่า เมื่อปราสาทเขาพระวิหาร ได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว ไม่มีทางจะไปขับไล่ชาวเขมรที่ตั้งร้านค้าขายของอยู่ในเขตไทยออกไปได้ เพราะเสมือนไทยได้เสียดินแดนบริเวณตรงนั้นมานานแล้ว และฝ่ายไทยเราก็อยู่เฉยๆไม่ได้ทำอะไรตลอดมา จนชาวเขมรรู้สึกว่ามันเป็นแผ่นดินของเขาแล้ว

ส่วนพื้นที่ทับซ้อนประมาณ ๔.๖ ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่เขตอนุรักษ์ และจะให้คณะกรรมการมรดกโลกจาก ๗ ประเทศ ร่วมกันพัฒนาต่อไปนั้น ฝ่ายไทยต้องเสียเปรียบและเสียเกียรติภูมิอย่างแน่นอน อย่าลืมว่าบริเวณพื้นที่ทับซ้อนนั้น ยังไม่ได้จัดทำแผนที่และปักปันเขตแดนแต่อย่างใด ฝ่ายเขมรจะอ้างสถานะภาพความเป็นมรดกโลกขึ้นมาต่อรอง คณะกรรมการมรดกโลกก็จะเห็นดีเห็นชอบตามฝ่ายเขมรด้วย ไทยต้องเสียดินแดนส่วนนี้อีก

เอกสารบทความฉบับนี้ ขะแมร์ลือ (๒) ขอลำดับเรื่องนี้ว่า ก่อนแต่ที่นายนภดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบและลงนาม ในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชานั้น นายนภดล ปัทมะ ได้สอบถามหรือปรึกษาหารือไปยัง กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ และ กรมแผนที่ทหารแล้ว ทั้งสองหน่วยงานรับรองว่าถูกต้อง ไม่มีปัญหา ไทยไม่เสียหายอะไร แสดงว่านายนภดล ปัทมะ ไม่ได้ตัดสินใจโดยลำพัง แม้จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบก็ตาม

เมื่อปราสาทเขาพระวิหารได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว และไทยต้องเสียดินแดนอีกดังกล่าวแล้ว ใครต้องเป็นผู้รับผิดชอบ คนส่วนใหญ่พุ่งตรงไปที่นายนภดล ปัทมะ คณะรัฐมนตรีทั้งนั้น แต่ความจริงแล้ว กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และกรมแผนที่ทหาร ต้องรับผิดชอบด้วย

ความรับผิดชอบของนายนภดล ปัทมะ และ คณะรัฐมนตรีโทษมีเพียงลาออกจากตำแหน่งเท่านั้นหรือ ความผิดที่กระทำให้สูญเสียแผ่นดินของชาติ มีโทษเพียงแค่นี้หรือ ส่วนเจ้าหน้าที่กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และกรมแผนที่ทหาร เป็นข้าราชการประจำละ มีโทษแค่ไหน หรือจะปล่อยให้ลอยนวลไปเลย

เรื่องนี้ไทยเรารีบร้อนเกินไป นายนภดล ปัทมะ กลับเจรจากับเขมรก็สัมภาษณ์นักข่าวคล้ายๆจะอวดอ้างว่าเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของตน พอมีผู้คนหลายฝ่ายออกท้วงติงอย่างนั้นอย่างนี้ก็แสดงความไม่พอใจอย่างยิ่ง ถึงกับปรามว่ามีคนปลุกระดมให้ชาวศรีสะเกษคลั่งชาติ แต่บัดนี้เสียแผ่นดินแล้ว เอาชีวิตเป็นประกันได้ไหม..

 

 

เสถียรภาพทางการเมือง

ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มาเป็นระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ มาถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๑ นี้ก็เป็นเวลานาน ๗๖ ปีแล้ว แต่ประชาธิปไตยไทยไม่ก้าวหน้าไปถึงไหนเลยทั้งนี้ อาจมาจากสาเหตุหลายประการ ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้

๑.ไทยเราเปลี่ยนแปลงการปกครอง ตั้งแต่ประชาชนพลเมืองส่วนมากหรือทั่วไป ยังไม่มีการศึกษาเล่าเรียนอย่างทั่วถึง สมัยเมื่อ ๗๖ ปีโน้น ประชาชนส่วนใหญ่ตามชนบทบ้านนอกยังอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ จึงไม่รู้จักคำว่าประชาธิปไตยคืออะไร สื่อสารมวลชนไม่มีแพร่หลายดังปัจจุบันนี้ เราเอาประชาธิปไตยไปยัดเยียดให้ประชาชนเท่านั้น

ความจริงนั้น การปกครองในระบอบประชาธิปไตย มันเหมาะกับประเทศที่ประชาชนพลเมืองได้รับการศึกษาเล่าเรียนสูงและทั่วถึง

๒.เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ไทยเราก็ไม่มีการพัฒนาเรียนรู้ประชาธิปไตยดังจะเห็นว่าหนังสือหลักสูตรตำราเรียน เกือบจะเรียกว่าแทบไม่มีกันเลย เด็กที่เรียนชั้นประถมและมัธยม จึงไม่มีความรู้เรื่องประชาธิปไตย เราไปเรียนกันเป็นนิสิตนักศึกษาชั้นปริญญาตรีกันโน่น แต่บางคณะก็ไม่เน้นหนักเรื่องนี้ด้วยซ้ำ

ให้ลองคิดดูว่า มีเด็กและเยาวชนสักกี่เปอร์เซ็นต์ ที่จะได้เข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย ลูกตาสีตาสา ยายมียายมา ตามชนบทบ้านนอกแค่จะเรียนจบชั้นมัธยม มันก็ยากอยู่แล้ว มีไม่ถึง ๕ เปอร์เซ็นต์ด้วยซ้ำ คนไทยส่วนใหญ่จึงไม่รู้ไม่เข้าใจว่า ประชาธิปไตยคืออะไร พอจัดให้มีการเลือกตั้ง นักการเมืองก็ไปหาเสียงกันปาวๆให้ประชาชนไปเลือกตั้งให้แก่ตนเอง

๓.มีการยึดอำนาจปฏิวัติบ้าง รัฐประหารบ้าง นับครั้งไม่ถ้วน ฉีกกฎหมายรัฐธรรมนูญทิ้งเป็นว่าเล่น ร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ ใช้เงินทองหลายร้อยหลายพันล้านบาท แต่ใช้ได้ไม่กี่ปีฉีกทิ้งอีกแล้ว ต้องร่างแล้วร่างอีกทำกันมาอย่างนี้จนถือเป็นเรื่องธรรมดา เงินภาษีอากรของชาวบ้านที่เสียแก่รัฐบาล พากันเอาถลุงใช้ยกร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญซ้ำๆซากๆคณะกรรมการคณะไหนหรือคณะใดก็ตาม มักจะอวดอ้างว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ดีที่สุด บางครั้งบอกเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน แต่นำมาใช้กี่ปีก็ฉีกทิ้งเสียแล้ว

 การทำรัฐประหารหรือปฏิวัติหรือการยึดอำนาจรัฐ สรุปแล้วอาจมาจากสาเหตุ ๒ ประการ คือทหารอยากมีอำนาจเสียเอง อยากเป็นใหญ่นอกประชาธิปไตย เพราะทหารที่มีจิตวิญญาณแห่งประชาธิปไตยมีน้อย แทนที่จะเสียสละลาออกมาเล่นการเมือง ก็กลัวว่าตัวเองจะไม่ได้รับการเลือกตั้ง จึงใช้อำนาจเผด็จการในเครื่องแบบทหารยึดอำนาจ

อีกอย่างหนึ่งเพราะรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งล้มเหลว บริหารงานประเทศชาติไปในทางหาผลประโยชน์ใส่ตนเองและพรรคพวก มีการทุจริตคอรัปชั่นโกงกินบ้านเมือง สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ยุ่งยากสับสนวุ่นวาย บ้านเมืองไม่พัฒนาก้าวหน้า ประชาชนทุกข์ยาก ไม่มีความปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน ปัญหาสังคมต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ประชาชนเบื่อหน่ายต่อรัฐบาล คนในชาติแตกความสามัคคีกัน

เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองมันสุกหง่อม ทหารจำเป็นต้องออกมาแก้ไข โดยการยึดอำนาจรัฐประหาร ทั้งๆที่บางครั้งทหารไม่อยากทำ แต่ถ้าไม่ทำบ้านเมืองก็จะพังพินาศ ดังที่เราจะเห็นได้ว่ามีประชาชนจำนวนไม่น้อย นำเอาดอกไม้ไปแสดงความยินดีแก่ทหาร ที่ทำการปฏิวัติรัฐประหารเพราะเขาเบื่อหน่ายนักการเมืองและรัฐบาลเต็มทนแล้ว

อย่างไรก็ตาม ในสังคมโลกปัจจุบัน ทั่วโลกเขานิยมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมานานแล้ว โดยเฉพาะทางยุโรปและอเมริกา จะไม่ยอมรับรัฐบาลที่ได้มาโดยเผด็จการยึดอำนาจ ดังที่จะเห็นได้ว่าประเทศไทยยึดอำนาจรัฐได้ จัดตั้งรัฐบาลขึ้นมา ประเทศเหล่านั้นไม่ยอมรับไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วย ที่เคยให้ความช่วยเหลือก็ตัดความช่วยเหลือ บางประเทศไม่ยอมออกวีซ่าให้คนที่เป็นรัฐมนตรีเข้าประเทศ รัฐบาลที่มาจากเผด็จการทหาร จึงถูกโดดเดี่ยวในสังคมโลก ในที่สุดจึงต้องรีบจัดทำกฎหมายรัฐธรรมนูญ จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อจัดให้มีการจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

การเมืองของประเทศไทยมันเป็น วัฎจักรหมุนเวียนกันอยู่อย่างนี้ จึงเป็นการเมืองที่ไม่มีหลักที่เรียกว่า เสถียรภาพ ขาดการต่อเนื่อง มีรัฐบาลทีมาจากการเลือกตั้งไม่กี่ชุด ที่อยู่ครบเทอม ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง เพราะเปลี่ยนแปลงการปกครองมานาน ๗๖ ปีแล้ว ถ้าจะเทียบกับคน ก็เป็นคนแก่อายุมากแล้ว แต่ยังต้วมเตี้ยมเหมือนเด็กทารก อนิจจัง อนิจจาแท้ๆ

 

เขาพระวิหารใครผิดใครถูก

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๒ รัฐบาลประเทศกัมพูชา ได้ยื่นฟ้องต่อศาลโลกเพื่อให้ไทยคืนปราสาทแก่กัมพูชา ประเทศไทยได้แต่งตั้งให้ ม.ร.ว. เสนีย์  ปราโมช เป็นหัวหน้าทนายแก้ต่างช่วงนั้นรัฐบาลไทยได้ขอความร่วมมือให้คนไทยบริจาคเงินคนละ ๑ บาท เพื่อเป็นค่าว่าจ้างทนายความ ต่อสู้กันอยู่หลายปี

วันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๐๕ ศาลโลกได้ตัดสินให้ฝ่ายกัมพูชาเป็นฝ่ายชนะคดี หมายเอาว่าปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกัมพูชา ฝ่ายกัมพูชาได้ส่งทหารและเจ้าหน้าที่ขึ้นไปอยู่ เพื่อรักษาและพัฒนาปราสาทเขาพระวิหาร

การเสียปราสาทเขาพระวิหารให้แก่กัมพูชานี้ เพราะแผนที่แท้ๆคือ ถือแผนที่กันคนละฉบับศาลโลกเชื่อถือแผนที่ๆที่ฝรั่งเศสจัดทำขึ้น ไม่เชื่อแผนที่ๆไทยนำไปอ้างอิงยืนยัน แสดงให้เห็นว่าแผนที่ไทยใช้ไม่ได้

ที่น่าสนใจที่สุด คือ คำพิพากษาศาลโลก ให้กัมพูชาได้ไปเฉพาะตัวปราสาทเท่านั้น ซึ่งนับเอาตั้งแต่หัวบันไดนาคขึ้นไปถึง ปราสาทหลังที่ ๑ ถึงปราสาทหลังที่ ๔ ข้างล่างลงมาทั้งด้านหน้าและบริเวณรอบๆตัวปราสาทยังเป็นของไทย และทางขึ้นไปเขาพระวิหารต้องขึ้นทางฝั่งไทยเท่านั้นทางประเทศกัมพูชาไม่มีทางขึ้น เพราะเป็นหน้าผาสูงชันมาก

ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ประเทศกัมพูชาได้ยื่นต่อองค์การยูเนสโก้ ขอจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารขึ้นเป็นมรดกโลก และองค์การยูเนสโก้ได้อนุมัติให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกเรียบร้อยแล้ว และประชาชนชาวไทยไม่พอใจ ออกมาเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆจนทำให้คนในชาติแตกความสามัคคีกันเพิ่มขึ้น

ปัญหาสืบเนื่องต่อมา คือ ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๔๓ คนไทยหรือฝ่ายไหนไม่รู้ ได้ไปสร้างร้ายขายของให้เขมรลงมาอยู่ข้างล่าง ปัจจุบันเพิ่มมากขึ้นเกือบ ๕๐ ร้านแล้ว มีชาวกัมพูชาอยู่เกือบ ๕๐๐ คน และมีการสร้างวัดด้วย

ที่ตั้งร้านค้าของกัมพูชาดังกล่าว ห่างจากบันไดนาคประมาณ ๕๐ เมตร ซึ่งเป็นพื้นที่หรือดินแดนของไทย แสดงว่าไทยเสียดินแดนส่วนหนึ่งและพื้นที่ทับซ้อนให้แก่กัมพูชาอีกแล้ว เรียกว่าไทยเราโง่ซ้ำซากนั้นเอง

ในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ระบุชัดว่ากัมพูชาขอขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท ซึ่งเป็นของกัมพูชาเท่านั้น เมื่อจดทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว ไทยกับกัมพูชาจะเจรจากันและร่วมกันพัฒนาเขตพื้นที่ทับซ้อนประมาณ ๔.๖ ตารางกิโลเมตร ภายใน ๒ ปี

แต่จริงๆนั้นไทยได้เสียดินแดนให้แก่กัมพูชามาแล้ว ๑๐ กว่าปี คือ บริเวณที่ชาวกัมพูชาตั้งร้านขายของนั้นเอง ที่จะให้เขารื้อถอนร้านค้าออกไปนั้น ไม่มีทาง แต่ก่อนกัมพูชาอยู่บนตัวปราสาทโน้น อยู่ดีๆไปเชิญเขาลงมา เขาอยู่มา ๑๐ กว่าปีแล้ว ฝ่ายไทยเฉยๆไม่ว่าอะไรทั้งๆที่มีทหารและตำรวจไทยเฝ้าอยู่ที่นั่นมากมาย ตั้งด่านเก็บเงินขึ้นไปชมตัวปราสาทได้เงินสบายๆอยู่ๆจะไปไล่เขาออก มันไม่มีทางดอก จะหาว่าฝ่ายกัมพูชาเขาผิดอย่างไร เพราะฝ่ายไทยเรายินดีให้เขาลงมาอยู่ ใครหน้าไหนได้รับผลประโยชน์ก็ไม่รู้ ควรนำเอาตัวมาตัดคอประจานคนขายชาติเสียด้วยก็จะดี

การสูญเสียเขาพระวิหาร ทำให้หวนย้อนกลับไปในสมัยเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าเป็นครั้งสุดท้าย มันเป็นเป็นคนไทยแท้ๆที่เป็นไส้ศึกหรือเป็นหนอนบ่อนไส้นำเอาความลับไปบอกพม่านึกว่าคนไทยขายชาติจะหมดไปแล้ว แต่ยังมีอยู่อีก กรรมเวรแท้ๆ

บริเวณพื้นที่ทับซ้อนอันเป็นเขตอนุรักษ์ ประมาณ ๔.๖ ตารางกิโลเมตรนั้น เวลาเจรจากัน ไทยก็ต้องเสียเปรียบแก่พม่าอย่างแน่นอน เพราะฝ่ายกัมพูชาเขาจะอ้างความเป็นมรดกโลกขึ้นมาต่อรอง คณะกรรมการมรดกโลก ๗ ประเทศ ต้องเข้าข้างกัมพูชาอย่างไม่ต้องสงสัย เขาจับไพ่เหนือกว่า ดังที่เขาเคยชนะมาแล้ว ..........แล้วใครเป็นคนรับผิดชอบ.............

 

 

 

 

ไฮปาร์ค

ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๘ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีกลับจากการไปดูงานด้านการเมืองที่ยุโรปและอเมริกา ได้เปิดโอกาสให้นักการเมืองและประชาชนที่สนใจการเมือง ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมืองในที่สาธารณะ ที่เรียกว่า ไฮปาร์ค ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในอเมริกา คือ ใครมีความคิดเห็นอย่างไร ก็ไปเปิดเวทีในที่สาธารณะปราศรัยได้ จะมีคนฟังมากน้อยก็ตามแต่ความนิยมในเรื่องที่ปราศรัยหรือในตัวบุคคลที่ปราศรัย

เราอาจจะพูดก็ได้ว่าเป็นเวทีสาธารณะหรือการเมืองภาคประชาชน ถ้าเราไปในเมืองใหญ่ๆในอเมริกา จะได้เห็นคนเอาโต๊ะมาตั้งกลางสนามหญ้าเป็นเวที ถ้าไม่มีโต๊ะก็เอาลังไม้มาทำเป็นเวที ขึ้นยืนพูดหรือปราศรัย ส่วนมากจะพูดเรื่องการเมืองการปกครอง

จอมพล ป.พิบูลสงคราม เห็นว่ามันเป็นประชาธิปไตยดี จึงนำมาใช้ในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยให้เจริญแพร่หลาย ในกรุงเทพฯจะใช้สนามหลวงเป็นประจำ โดยจัดตั้งเวทีขึ้น ใช้เครื่องขยายเสียงปราศรัย มีผู้คนไปฟังมากมาย

สมัยนั้นมีนักพูดที่เป็นนักการเมืองฝีปากกล้าที่เรียกว่า ดาวสภา มาเป็น ดาวไฮปาร์ค หลายคน ที่เด่นดังที่สุด คือ นายพีร์  บุญนาค ส.ส.สุพรรณบุรี นายทองดี  อิสราชีวิน ส.ส.เชียงใหม่ และนายญวง  เอี่ยมศิลา ส.ส.อุดรธานี นายแคล้ว  นรปติ ส.ส.ขอนแก่น

แต่ไฮปาร์คของไทยไม่เหมือนของฝรั่ง พวกฝรั่งนั้นใครก็ได้อยากแสดงความคิดเห็น ก็จัดเวทีขึ้นที่สาธารณะที่ใดที่หนึ่ง ยืนปราศรัยอยู่อย่างนั้น คนเดินผ่านไปผ่านมาใครสนใจก็ฟัง ถ้าเห็นว่ามันไม่เข้าท่าก็เดินผ่านไป ถ้าเป็นเรื่องดีๆและคนปราศรัยเก่งๆก็มีคนฟังมาก

ส่วนไฮปาร์คไทยนั้นมันคือ การเมืองภาคประชาชนนั้นเอง เปิดไฮปาร์คทีไรมีแต่เรื่องดุเด็ดเผ็ดร้อน วิพากษ์วิจารณ์โจมตีรัฐบาลอย่างสาดเสียเทเสีย บางครั้งคล้ายๆเป็นการปลุกระดมและสร้างม็อบ ใช้คำพูดรุนแรงหยาบคาย และหลายครั้งมีการทะเลาะวิวาทยกพวกตบต่อยตีกัน จนก่อปัญหาในสังคมวุ่นวาย ไม่นานถึงหนึ่งปี รัฐบาลก็สั่งให้หยุดเวทีไฮปาร์ค

ที่จัดเวทีอภิปรายหรือปราศรัยกันอยู่ตลอดมาถึงเลานี้ ไม่ใช่ลักษณะไฮปาร์คแต่ใช้สิทธิ์ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยสิทธิ์ขั้นพื้นฐาน ซึ่งสามารถจัดชุมนุมได้โดยสันติและปราศจากอาวุธ แต่การจัดชุมนุมกลายเป็นการก่อม็อบนั้น มันน่าจะเกินเลยกรอบของกฎหมายไป

ความจริงไฮปาร์คหรือเวทีสาธารณะมันเหมาะกับประชาชนชาวยุโรป-อเมริกา เพราะเป็นคนเมืองหนาว อากาศเย็นจึงทำให้เขามีความเย็นทั้งด้านร่างกายและจิตใจ พูดจาหรืออภิปรายด่ากันรุนแรงอย่างไร เขาก็ทนได้ ไม่เลือดร้อน ถ้าเขาไม่อยากฟังก็จะเดินหนีไป บางเวทีพูดปราศรัยกันทั้งวัน แต่คนฟังเพียงไม่กี่คนและที่สำคัญที่สุดคือประชาชนเขามีการศึกษาสูง ไม่มีใครจะปลุกระดมชักชวนได้ง่ายๆ

ที่นำเอาเรื่องเก่ามาเล่าใหม่นี้ เพื่อจะชี้ให้เห็นว่าในการดำเนินการทางการเมืองที่ต่างประเทศเขาทำกันอยู่ ไม่ใช่จะนำมาใช้กับประเทศไทยได้เสมอ เพราะคนไทยมันเลือดร้อน นิดๆหน่อยๆก็ยกพวกตีกันแล้ว

 

 

วิเคราะห์กรณีพิพาทเขาพระวิหาร

โดย

เลือดศรีสะเกษ

 

ข้อความเบื้องต้น

                ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา มีข่าวว่าประเทศกัมพูชาหรือเขมร จะรายงานเสนอขอขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็น มรดกโลก ต่อยูเนสโก แห่งสหประชาชาติ ทำให้ประชาชนชาวไทยบางกลุ่มที่สนใจและมีความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์เขาพระวิหารและชาวจังหวัดศรีสะเกษมีความปริวิตกกังวลมาก

๑.เกรงกลัวว่าจะเหมือนกับเหตุการณ์เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๐๕ ที่ศาลโลกตัดสินให้เขาพระวิหารตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกัมพูชา แม้จะยอมรับกันไปแล้วก็ตาม แต่บริเวณรอบๆตัวปราสาทเขาพระวิหาร ประมาณ ๔.๖ ตารางกิโลเมตร มันยังเป็นเขตแดนหรือพื้นที่ทับซ้อนกันระหว่างไทยกับกัมพูชา ทางขึ้นไปตัวปราสาทเขาพระวิหารก็อยู่ในเขตพื้นที่ของประเทศไทย

ข่าวไม่ได้แจ้งชัดว่า การรายงานเสนอขอขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกดังกล่าวทางกัมพูชาได้แจ้งหรือปรึกษาหารือกับฝ่ายไทยทราบล่วงหน้าหรือไม่ เห็นมีแต่ออกมาภายหลังว่า เมื่อนายสมัคร  สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีไทย เดินทางไปเยี่ยมเยียนประเทศกัมพูชาเพื่อทำความรู้จักกับประเทศเพื่อนบ้าน ในฐานะขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีใหม่ และได้นำเรื่องนี้ขึ้นมาเจรจากันด้วย

 หลังจากนั้นไม่นาน นายนภดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้ข่าวต่อสาธารณะว่า ได้ติดต่อพูดจากับฝ่ายกัมพูชาแล้ว และได้ให้เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ ไปพูดจากับฝ่ายกัมพูชาด้วย ยืนยันว่าพื้นที่เขตทับซ้อนไม่มีปัญหา สรุปว่าไทยจะไม่เสียดินแดนแม้แต่ตารางนิ้วเดียว ต่อไปพื้นที่ทับซ้อนของไทยอาจจะได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกด้วยทำนองนั้น

๒.ปัญหาเรื่องเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนนี้แหละ เป็นเรื่องที่คนไทยมีความวิตกกังวลมาก การเจรจาตกลงกันไม่น่าเป็นเรื่องง่ายเลย เพราะในการปักปันเขตแดนระหว่างประเทศสยามกับฝรั่งเศส ที่เข้ายึดครองประเทศกัมพูชาสมัยนั้น ยังยึดถือแผนที่คนละฉบับเลย และที่ไทยต้องเสียตัวปราสาทเขาพระวิหารให้แก่กัมพูชามาแล้วก็เพราะแผนที่แท้ๆ

เรา......ประเทศไทยมั่นใจหรือแน่ใจได้มากน้อยแค่ไหนว่าที่ประเทศกัมพูชาเสนอขอขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกนี้ เป็นความคิดและเป็นการกระทำของกัมพูชาเองแท้ๆด้วยความบริสุทธิ์จริงใจ โดยไม่มีใครหรือประเทศมหาอำนาจใดอยู่เบื้องหลัง และเมื่อเขาพระวิหารได้เป็นมรดกโลกแล้ว การเจรจาตกลงเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนฝ่ายกัมพูชาจะยินยอมง่ายๆหรือเรื่องนี้ไทยต้องคิดให้ดีด้วย เพราะถ้ามีมือที่สามเข้ามายุ่งเกี่ยวด้วย จะเป็นปัญหายืดเยื้อแน่นอน สัมพันธไมตรีระหว่างไทยกับกัมพูชาก็จะไม่ราบรื่น ดังที่มีมาแล้วคำพังเพยโบราณภาคอีสานมีว่า “หนุ่งผ้าลายหมาเห่า เว้าความเก่าคนผิดกัน” เรื่องนี้มีความละเอียดอ่อนพอสมควร

 

ความเป็นมาของเขาพระวิหาร

เรื่องความเป็นมาในการสร้างเขาพระวิหาร ส่วนมากเราได้อ่านศึกษาจากหนังสือที่นักปราชญ์ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีหรือโบราณวัตถุ ที่เป็นชาวฝรั่งเขียนขึ้นและหนังสือแต่ละเล่มแต่ละคนเขียนขึ้น มีหลักฐานข้อมูลตรงกันบ้าง ไม่ตรงกันบ้าง และที่แตกต่างกันมากก็มาก แต่ถ้าจะพูดว่าไม่ควรเชื่อถือไม่ได้ก็ไม่ถูก  เพราะผู้เขียนแต่ละท่านมีเหตุผลและอ้างหลักฐานข้อมูลประกอบ

มันเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจเหมือนกัน เพราะเรื่องที่กล่าวถึงนี้เกิดขึ้นหรือมีมานานพันกว่าปีแล้ว เพิ่งจะนำมาเขียนพิมพ์เป็นหนังสือแพร่หลาย เมื่อประมาณ ๒๐๐ – ๓๐๐ ปีมานี้เอง ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นเวลาหลายร้อยปี จะมีใครบ้างที่มี ญาณวิเศษ หยั่งรู้อดีตกาลอันยาวนานได้การสำรวจขุดค้นโบราณวัตถุต่างๆก็ทำภายหลังเหมือนกัน

 

ปราสาทนครวัด-นครธม

ก่อนที่จะได้พูดถึงเรื่องความเป็นมาการสร้างปราสาทเขาพระวิหาร ควรย้อนไปกล่าวถึงชนชาติและการสร้างเมืองมหานคร คือ นครวัด  นครธม เสียก่อน เพื่อจะได้มองเห็นภาพรวมของกลุ่มชนสมัยโบราณในอาณาบริเวณนี้ ซึ่งเป็นการศึกษาด้านภูมิศาสตร์ควบคู่กับด้านประวัติศาสตร์ สรุปพอได้ใจความว่า

ผืนแผ่นดินอาณาบริเวณตั้งแต่ปากแม่น้ำโขงไหลตกทะเล เรื่อยไปตามฝั่งทะเลและขึ้นไปตามลำน้ำโขงจนถึงที่ราบสูง ใต้บริเวณที่เรียกว่า หลี่ผี หรือ คอนพะเพ็ง แขวงจำปาศักดิ์ประเทศลาวตอนใต้ มีชนเผ่าหนึ่งตั้งบ้านเมืองอยู่กระจัดกระจายทั่วไป แต่ดึกดำบรรพ์โน้นคงจะเป็นชนกลุ่มน้อย ชนเผ่าที่เรียกว่า จาม หรือ เจนละ พวกที่ตั้งเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่อยู่ทางทะเลชื่อ วิทยาปุระ เรียกว่า เจนละน้ำ พวกที่ตั้งเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่อยู่ที่ราบสูงบริเวณใต้หลี่ผีชื่อ กัมพูปุระ เรียกว่า เจนละบก ชนชาติเผ่าจามนี้จะเข้าไปตั้งถิ่นฐานบริเวณตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่มีหลักฐาน

ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ มีชนพวกหนึ่งอพยพโยกย้ายไปจาก แคว้นกัมโพชะซึ่งเป็นแคว้นหนึ่งในชมพูทวีปหรืออินเดียตอนใต้ในสมัยโบราณ ในจำนวน ๑๖ แคว้นที่ปรากฏในหนังสือพุทธประวัติ โดยชนพวกนี้โดยสารเรือล่องลอยตามมหาสมุทรอินเดียไปจนถึงทะเลจีนไปทางตอนใต้ประเทศญวนหรือเวียดนาม

แต่เดิมจริงๆผืนแผ่นดินอันกว้างใหญ่ไพศาล ตั้งแต่เหนือประเทศลาวไปทางตะวันตกเข้าประเทศพม่าเรื่อยไปทางใต้ถึงแหลมมลายู (มาเลเซีย) จนถึงเกาะชะวา (อินโดนีเซีย) ทางทิศตะวันออกจากประเทศลาวเรื่อยลงไปทางใต้ผ่านประเทศญวนไปถึงทะเลจีนผืนแผ่นดินดังกล่าวเรียกว่า สุวรรณภูมิ หรือ แหลมทอง ต่อมามักจะรียกว่า อินโดจีน

ความจริงชนชาติที่เรียกว่าอินเดียนี้ ได้อพยพเข้าสู่สุวรรณภูมิตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๒๘ หรือ๒๓๐แล้ว ในคราวที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งพระธรรมทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ประเทศศรีลังกา อาณาจักศรีวิชัย และอาณาจักรทวาราวดี แต่เชื่อว่าไม่ได้ไปถึงผืนแผ่นดินที่เป็นบริเวณทั้งหมดของประเทศกัมพูชาปัจจุบันนี้

ย้อนกลับไปที่พวกชาวอินเดียอพยพไปจากแคว้นกัมโพชะทางตอนใต้อินเดีย (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัด ทมิฬนาดู ฝั่งริมทะเลอินเดีย) เมื่อเข้าไปตั้งถิ่นฐานบ้านช่องแล้ว ก็สามารถก่อสร้างบ้านเมืองได้อย่างรวดเร็ว เพราะเผ่าชนพวกนี้มีความรู้ฉลาดศิลปะวิทยาการต่างๆเพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า อินเดียหรือชมพูทวีปในสมัยโน้นเป็น แหล่งอารยะธรรม ของโลกที่ยิ่งใหญ่ เจริญรุ่งเรืองด้วยศิลปวิทยาหลายสาขา ดังเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว

โดยทั่วไปมักจะเรียกว่าพวกที่อพยพจากประเทศอินเดียว่า พราหมณ์ เพราะเคารพนับถือศาสนาพราหมณ์ ซึ่งเป็นศาสนาที่มีอยู่ดั้งเดิมที่สุด เมื่อคนพวกนี้อพยพโยกย้ายไปตั้งถิ่นฐานที่ใดก็จะนำศาสนาพราหมณ์ไปด้วย

ลัทธิศาสนาพราหมณ์มีความเชื่อถือเรื่อง พระพรหม ถือว่าโลกและสรรพสิ่งในโลกนี้ มีพระพรหมเป็นเจ้าเป็นผู้สร้าง และพระพรหมเป็นเจ้าจะแบ่งออกเป็นภาค คือ

-          พระศิวะหรือพระอิศวร

-          พระวิษณุ

-          พระนารายณ์

ทั้ง ๓ องค์นี้เรียกว่าพระผู้สร้าง พระผู้รักษา และพระผู้ทำลาย และในจำนวน ๓ องค์นี้ พระศิวะสำคัญที่สุด พระเจ้าแผ่นดินหรือพระมหากษัตริย์ที่เคารพนับถือศาสนาพราหมณ์แต่ละพระองค์จึงทรงสร้างสถานที่สำหรับใช้ประกอบพิธีกรรมเพื่อสักการบูชาพระศิวะ จึงมักจะเรียกว่า เทวาลัย หรือ เทวสถาน ไม่ใช่วัดหรือวิหารทางพระพุทธศาสนา

ต้องเข้าใจด้วยว่า ศาสนาพราหมณ์เป็นอันเดียวกันกับศาสนา ฮินดู จึงมักจะเรียกรวมกันว่า พราหมณ์-ฮินดู ในประเทศอินเดียปัจจุบันก็เข้าใจกันและพูดกันอยู่อย่างนี้ ที่นำมากล่าวไว้นี้เพื่อป้องกันการเข้าใจสับสน

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า พวกพราหมณ์อินเดียที่อพยพไปจากแคว้นกัมโพชะนั้น มีวิชาความรู้ศิลปะวิทยาการต่างๆจึงสร้างเมืองเป็นหลักฐานได้อย่างรวดเร็ว เมืองใหญ่โบราณที่พากันสร้างขึ้นครั้งแรก อยู่ใกล้ๆทะเลจีน ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเวียดนามตอนใต้ คือทางทิศใต้ของจังหวัดปรีเวง - ตาแก้ว ของประเทศกัมพูชา เยื้องไปทางตะวันออก มีซากปรักหักพังตัวปราสาทอยู่ แต่ผู้คนทั่วไปไม่ค่อยไปถึงหรือพบเห็น เรียกว่า เมืองนครบุรี (อังกอร์บุไร) ยืนยันว่าเวลานี้ก็ยังมีอยู่จริง

 

คำว่าขอมหรือเขมร

พวกพราหมณ์อินเดียจากแคว้นกัมโพชะ เมื่อได้มาตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองขึ้นในบริเวณที่อยู่ของชนเผ่าจามดังกล่าวแล้วข้างต้น ในกาลต่อมาหลายสิบหลายร้อยปี ก็ได้ขับไล่รุกรานพวกจามถอยหนีไปทีละน้อยๆในที่สุดได้เข้ายึดพื้นที่เกือบทั้งหมด จึงได้ตั้งเมืองใหม่ขึ้นเป็นเมืองหลวงบริเวณพื้นที่ราบห่างจากทะเลทางทิศใต้ คือ ที่ตั้งหรือที่สร้าง นครวัด-นครธม โดยสร้างปราสาทเทวาลัยหรือเทวสถานและพระราชวังใหญ่โต และปราสาทบริเวณต่างๆหลายสิบองค์ ดังที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ เรียกว่า เมืองมหานคร เป็นโบราณสถานที่มหัศจรรย์ยิ่งใหญ่มาก ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดเสียมราฐ (เขมรออกเสียงว่าเสียมเรียบ) ในประเทศกัมพูชา

แต่จะด้วยเหตุใดไม่ทราบได้ ในกาลต่อมามีการเรียกชนเผ่าที่อยู่ทั่วไปใน อาณาจักรเมืองมหานคร นั้นว่า ขอม หรือ เขมร เรียกประเทศนั้นในปัจจุบันเป็นทางการว่า กัมพูชา หรือ ประเทศกัมพูชา หรือ ชาวกัมพูชา

ข้าพเจ้าผู้เขียนเคยได้อ่านหนังสือที่นักประวัติศาสตร์ไทยท่านหนึ่งเขียนว่า ขอม คือเผ่าชนโบราณเผ่าหนึ่งซึ่งได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ใจความก็คือว่า พวกขอมได้หมดชาติพันธุ์ไปนานแล้ว ข้าพเจ้าเชื่อตามอยู่นาน ครั้นต่อมาข้าพเจ้าได้มีความรู้ภาษาเขมรบ้าง และได้สอบถามท่านผู้รู้หลายท่าน โดยเฉพาะท่านผู้ที่รู้และเข้าใจภาษาเขมรดี จึงเลิกเชื่อตามนักประวัติศาสตร์ผู้นั้นและจะขอนำเรื่องของเขมรมาเล่าให้ทราบต่อไปในภายหลัง

ในอดีตกาล ชนชาติขอมหรือเขมรมีความเจริญรุ่งเรืองมาก เพียงแต่เราไปดูปราสาทนครวัด-นครธม (เมืองมหานคร) ซึ่งสร้างขึ้นด้วยหินทรายใหญ่โตมโหฬารและวิจิตรพิสดารมาก จนไม่เชื่อว่าคนเป็นผู้สร้างได้อย่างไร มันน่าอัศจรรย์จริงๆ

อาณาจักรขอมสมัยพันกว่าปีโน้นกว้างใหญ่ไพศาลหรือมีอาณาเขตกว้างขวางมากเกือบจะกินพื้นที่ทั้งหมดของแหลมทอง ทางเหนือขึ้นไปถึงเมืองละโว้ (ลพบุรี) ทางตะวันออกกินไปถึงประเทศลาว เรื่อยลงไปตามลำแม่น้ำโขงถึงปากนกแก้ว (ปากแม่น้ำโขงไหลลงทะเล) ทางทิศตะวันตกจากละโว้ผ่านไปกรุงศรีอยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี ไปนครปฐม เรื่อยไปจนถึงราชบุรี เพชรบุรีฯ

หลักฐานที่ยืนยันว่าอาณาจักรขอมมีอำนาจปกครองบริเวณที่ดังกล่าว คือ วัตถุขอมโบราณที่ค้นพบตามที่ต่างๆทั่วไป เช่น ปราสาท ปรางค์ กู่ หินสลักลวดลายเป็นรูปต่างๆที่ตั้งเป็นตัวปราสาทก็มี ที่ชำรุดทรุดโทรมไปก็มี ที่หักล้มถมอยู่ใต้ดินก็มาก มีการขุดค้นพบกันอยู่เสมอๆโดยเฉพาะในท้องที่ภาคอีสานมีมาก เฉพาะในจังหวัดศรีสะเกษจังหวัดเดียว มีโบราณสถานที่กรมศิลปากรที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๘ ถึง ๑๑ แห่งในจังหวัดอื่นๆก็มีมากเหมือนกัน

ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ชนชาติที่เป็นเผ่าพันธุ์หรือต้นกำเนิดของขอม (พราหมณ์) เคารพนับถือ พระศิวะหรือพระอิศวร (หลายร้อยปีต่อมานับถือศาสนาพุทธ) ไปปกครองที่ไหนแห่งใดจึงสร้างเทวาลัยหรือเทวสถานขึ้นใหญ่บ้าง เล็กบ้าง เพื่อเป็นที่ทำพิธีบวงสรวงพระศิวะ เช่น ที่ละโว้ ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ จนถึงปราสาทนครวัด-นครธม(ปราสาทพนมรุ้ง มักมีคนพูดว่าภูเขาใหญ่ซึ่งไม่น่าจะถูกเพราะคนแถวนั้นเขาออกเสียงเป็นภาษาถิ่นเขมรว่า พนมรูง แปลว่า ภูเขาที่มีถ้ำยาวๆลึก)

หนทางที่พระเจ้าแผ่นดินขอมเสด็จจากเมืองมหานคร คือ นครวัด นครธม ไปมาผ่านปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทหินพิมาย ปราสาทวัดภู นครจำปาศักดิ์ ประเทศลาวตอนใต้ ก็สร้างเป็นเทวสถานเหมือนกัน ดังที่จะได้ทราบต่อไปนี้

ที่นี้ คำว่าขอมหรือเขมรหมายถึงใครหรือชนเผ่าใดหรือมีที่มาจากไหน แท้จริงนั้นคำว่าขอมก็คือคนเขมรหรือชาวเขมรเดี๋ยวนี้นั่นเอง ไม่ได้สูญพันธุ์ไปไหนแต่อย่างใด คำว่าขอม ชาวเขมรหรือคนเขมร เขาพูดกันเอง คือ ขอม แปลว่า ทางใต้ หรือ คนทางใต้ เรื่องมีอยู่ว่า

สมัยที่เขมรอยู่ที่ลพบุรีหรือละโว้ เมื่อขึ้นไปติดต่อค้าขายกับชาวกรุงสุโขทัย มีใครถามเขาว่ามาจากไหน เขาจะตอบว่า มาจากใต้ ภาษาเขมรว่า โมปินา แปลว่า มาจากไหน ตอบว่า โมปิขอม แปลว่า มาจากใต้ เพราะว่าเมืองละโว้หรือลพบุรีอยู่ทางใต้กรุงสุโขทัยนั้นเอง

ทุกวันนี้ ประชาชนชาวจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ที่ยังพูดภาษาเขมรอยู่ เรียกชาวกัมพูชาว่า เขมรต่ำ หรือ เขมรใต้ เพราะประเทศกัมพูชาอยู่ต่ำหรือทางใต้ของไทย ถ้ามีคนเขมรขึ้นมาจากจังหวัดดังกล่าว จะเรียกพวกนั้นว่า ขะแมร์โกรม แปลว่า เขมรต่ำ และพวกที่พูดภาษาเขมรสูง (ชาวศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์) ออกเสียงว่า โกรม นี้มันเพี้ยนไปหน่อย ที่ถูก ต้องออกเสียงว่า ขอม หรือ กรอม อย่างถามคนเขมรต่ำหรือเขมรในกัมพูชาว่า โมปินา – มาจากไหน เขาจะตอบว่า โมปิขอม หรือ โมปิกรอม แปลว่า มาจากต่ำหรือใต้ คือมาจากประเทศกัมพูชานั้นเอง

 

ปราสาทวัดภูจำปาศักดิ์

ก่อนจะได้พูดถึงการสร้างปราสาทเขาพระวิหาร ควรได้กล่าวถึงปราสาทวัดภูที่นครจำปาศักดิ์ ประเทศลาวตอนใต้เสียด้วย เพราะเกี่ยวกับการเป็นเทวสถานหรือเทวาลัยเหมือนกัน และเป็นโบราณสถานหรือโบราณวัตถุที่ขอมสร้างด้วย

ปราสาทนครวัด-นครธม อันเป็นเมืองมหานคร จังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชานั้น มีการกล่าว (สันนิษฐาน) กันว่า สร้างขึ้นในระหว่างพุทธศตวรรษที่๑๔-๑๖ สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ จะก่อสร้างอยู่นานเท่าไร ไม่มีหลักฐานยืนยัน แต่ต้องก่อสร้างก่อนปราสาทวัดภูและปราสาทเขาพระวิหารอย่างแน่นอน

เมื่อหลายปีก่อน ผู้เขียนมีโอกาสได้เดินทางไปเที่ยวประเทศลาวตอนใต้ ไปจนถึง หลี่ผี คอนพะเพ็ง ไปดูน้ำตกใหญ่ที่มีบางคนพูดว่า น้ำตกไนแองการาแห่งเอเชีย สวยงามมาก และได้ข้ามแม่น้ำโขงไปดูวัดภู

ปราสาทวัดภูสร้างขึ้นที่เชิงเขา มีภูเขาสูงใหญ่อยู่ด้านหลัง (ตะวันตก) สร้างเป็นปราสาทคู่ (๒หลัง) หันหน้าไปทางทิศตะวันออกสู่แม่น้ำโขง (ปัจจุบันเมืองจำปาศักดิ์ตั้งอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำโขง ตัวปราสาทหันหน้าสู่เมืองจำปาศักดิ์) ลักษณะและศิลปะการก่อสร้างเหมือนกับปราสาทเขาพระวิหาร ดูเผินๆเหมือนตู้รถไฟคู้กันทั้งสองหลัง สภาพยังดีกว่าปราสาทเขาพระวิหาร

เราเดินตามบันไดเข้าไปจนเหนื่อยหอบ ก็จะถึงบนภูเขาด้านหลังปราสาท ตรงบริเวณข้างบนภูเขา จะมีสถานที่บูชาพระศิวะ มีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ มีศิวะลึงค์ และมีวัดในพระพุทธศาสนาเรียกว่า วัดภู ยังไม่ได้รับการพัฒนามากนัก

ผู้เขียนได้คุยสนทนากับทางเจ้าหน้าที่ (เข้าใจว่าเจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรลาว) เขาชี้แจงให้ฟังจับใจความได้ว่า ปราสาทวัดภูแห่งนี้สร้างก่อนปราสาทเขาพระวิหาร ๗ ปี และที่สร้างขึ้นที่เชิงภูเขานั้น เพราะพวกขอมมีความประสงค์จะให้คนทั้งหลายรู้ว่า ขอมมีอำนาจอิทธิพลไล่พวกจามแตกหนีไป เป็นการแสดงความยิ่งใหญ่ของขอมนั้นเอง

 

ปราสาทเขาพระวิหาร

ปราสาทเขาพระวิหารตั้งอยู่ที่ ชะง่อนหน้าผาสูง บนเทือกเขาพนมดงรัก ถ้าจะออกเสียงตามภาษาเขมรต้องว่า พนมดองแรก แปลว่า ภูเขาไม้คาน เพราะตลอดความขาวของภูเขาลูกนี้ มีลักษณะแอ่นขึ้นแอ่นลงเหมือนไม้คาน

ปราสาทเขาพระวิหารฝั่งประเทศไทย อยู่ในตำบลเขาธงชัย ( แต่ก่อนตำบลบึงมะลู ) อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ หมู่บ้านที่อยู่ใกล้ทางขึ้นเขาพระวิหารที่สุด คือ บ้านภูมิซรอล ห่างจากเขาพระวิหารประมาณ ๒ กิโลเมตร ก็จะถึงเชิงเขาขึ้นสู่เขาพระวิหาร

มีการเขียนบันทึกหรือพิมพ์เป็นหนังสือว่า ปราสาทเขาพระวิหารสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ พันกว่าปีมาแล้ว สร้างเป็นเทวสถานหรือเทวาลัยเพื่อประกอบการบวงสรวงบูชาพระศิวะหรือพระอิศวร เป็นสิ่งก่อสร้างที่น่ามหัศจรรย์มากจริงๆสร้างด้วยหินทั้งนั้นและสร้างบนหน้าผาสูง

ผู้เขียนเคยขึ้นไปดูไปชมปราสาทเขาพระวิหาร ๒ ครั้ง ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๑๔๙๙ ครั้งที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕ สมัยนั้นไม่มีการทำถนนหนทางเลย รถยนต์วิ่งไปตามถนนหนทางแคบๆ วิ่งไปขรุกขรักๆ สองข้างทางมีก้อนหินใหญ่เป็นระยะๆแต่สามารถขับรถขึ้นที่จอดที่ลาดหินหน้าทางขึ้นตัวปราสาทเขาพระวิหารได้

การไปเขาพระวิหารครั้งที่ ๒ (๒๕๐๕) เป็นปีที่ศาลโลกตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา และรัฐบาลกัมพูชาได้ส่งทหารขึ้นไปรักษาการบนปราสาทเขาพระวิหารแล้ว แต่มีจำนวนไม่มากนัก มีครอบครัวทหารสร้างบ้านเรือนหลังเล็กๆ มุงด้วยหญ้า ตามช่องว่างระหว่างตัวปราสาทแต่ละหลัง กระจัดกระจายอยู่ไม่เกิน ๑๐ หลัง มีการปักรั้วลวดหนามกั้นไว้ติดกับ ร่องน้ำเล็กๆตรงทางขึ้นไปตัวปราสาท ข้างในจะมีทหารกัมพูชาเดินไปเดินมา ด้านนอกเป็นลานหิน จะมีหน้าที่ (ทหาร) ไทยเดินไปมาอยู่เช่นเดียวกัน

ผู้เขียนได้พูดคุยสนทนากับหัวหน้าฝ่ายเขมร มียศเป็นร้อยโท หน้าตาดี ผิวขาว รูปร่างสมส่วน เขาบอกว่าเรียนจบด้านโบราณวัตถุและโบราณคดี จากพนมเป็ญ ไปศึกษาต่อที่ญี่ปุ่นและอังกฤษ สังเกตว่าเป็นคนสุภาพเรียบร้อย จึงได้สนทนากันเป็นเวลานาน

เราถามเขาว่าปราสาทเขาพระวิหารเขาสร้างกันอย่างไร เขาชี้แจงให้ฟังว่า ตั้งแต่สมัยก่อนโน้นขอมมีอำนาจมาก สามารถไปตีและยึดปกครองได้ ๑๖ นคร แต่นครอะไรบ้างเขาก็ไม่ทราบเหมือนกัน แรงงานคนที่นำมาสร้างคือ พวกเชลยศึก คือไปรบตีเอาเมืองใดหรือนครใดได้แล้ว ก็จะกวาดต้อนผู้คนมาเป็นจำนวนมาก และให้เชลยศึกจำนวนหมื่นๆแสนๆคนเป็นแรงงาน ส่วนการออกแบบก่อสร้าง ตลอดถึงลวดลายต่างๆพวกพราหมณ์ที่เก่งทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมเป็นผู้ควบคุมกำกับดูแล เหมือนสร้างปราสาทนครวัด นครธม

โดยที่ปราสาทเขาพระวิหารสร้างขึ้นด้วยหินล้วนๆ เสาปราสาทก็ดี กรอบประตูหน้าต่างก็ดี แผ่นหินที่ทำเป็นผาผนังเหมือนตู้รถไฟก็ดี และอื่นๆ เป็นหินทั้งนั้น แผ่นหินใหญ่ๆเอามาจากไหน และเอาขึ้นไปทำอาคารปราสาทได้อย่างไร

เรื่องนี้เคยอ่านหนังสือบางเล่ม มีนักโบราณวัตถุบางท่านกล่าวว่า ปราสาทของโบราณต่างๆที่เห็นว่าสร้างด้วยหินทรายนั้น ที่จริงสร้างด้วยดิน จะเห็นได้ว่าปราสาทบางแห่งจะมีสระน้ำอยู่ใกล้ๆ เขาขุดเอาดินที่นั้นจนลึกเป็นสระ เอาดินมาขย้ำจนเป็นดินเหนียว ทำเป็นแผ่นๆแล้วนำผงเปลือกต้นไม้มาโรยลงบนแผ่นดินเหนียว ตากแดดไว้หลายๆวัน ดินเหนียวก็จะกลายเป็นหิน เปลือกไม้ที่นำมาบดเป็นผงโรยดินนั้น ไม่รู้ว่าเป็นต้นไม้อะไร คนรุ่นหลังไม่รู้เลย เหมือนกับที่เขาดองศพมัมมี่ ที่ประเทศอียิป ไม่เน่าเปื่อยเหมือนคนเป็นๆจนทุกวันนี้ และไม่รู้ว่าเขานำยาทำมาจากอะไรมาดองศพ

แต่นายร้อยโททหารเขมรคนนั้นบอกว่า เขาตัดเอาหินบริเวณเขานี้แหละมาสร้าง ดังที่จะเห็นว่า มีแหล่งหินตัดตามหน้าผาโดยรอบจนถึงทุกวันนี้ เมื่อตัดหินได้แล้วก็ยกเอามาตกแต่งเป็นชิ้นๆเพื่อประกอบเป็นตัวอาคารปราสาท

ถามว่ายกขนขึ้นไปได้อย่างไร เพราะแต่ละชิ้นมันใหญ่และหนักเอามากๆเขาบอกว่าชิ้นใดพอแบกได้ก็ใช้วิธีการแบก ชิ้นใหญ่ๆและหนักใช้ วิธี ดีด ขึ้นไปทีละชิ้น ดังจะเห็นได้ว่า แผ่นหินฝาผนังแต่ละแผ่น เขาเจาะรูทั้งสองข้างเพื่อใช้เครื่องมือคีบหรือหนีบ ใช้ต้นไม้ขนาดพอดียาวๆเป็นกระเดื่องดีดขึ้น แสดงว่าวิชา คานดีด คานงัด มีมานานเป็นพันปีแล้ว

เขาบอกด้วยว่า ปราสาทเขาพระวิหารนี้ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง ๑๖ ปี มีคนงานล้มตายเป็นหมื่นๆคน แต่ก่อสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ ดังที่เราจะเห็นปราสาทหลังที่ ๔ ใกล้หรือติดกับชะง่อนหน้าผา เป้ยตาดี สร้างไม่เสร็จจริงๆทั้งนี้เพราะขอมเสื่อมอำนาจลง

 

อาณาจักรขอมเสื่อมอำนาจ

สรรพสิ่งทั้งหลายหนีสัจธรรม คือ ความเป็นอนิจจังไม่ได้ มีเกิดแล้วมีดับ มีเจริญแล้วมีเสื่อม อาณาจักรขอมเคยเจริญรุ่งเรืองสุดขีด วันหนึ่งต่อมาก็ถึงความเสื่อมสุดขีดเช่นเดียวกัน และเป็นการแน่นอนว่า ความเสื่อมของอาณาจักรขอม มันต้องมีหลายสาเหตุปัจจัย และเหตุปัจจัยที่สำคัญ คือ การแย่งชิงอำนาจซึ่งกันและกัน ในประวัติศาสตร์โลกเราได้ทราบกันว่า เจ้าผู้ปกครองประเทศหรือพระเจ้าแผ่นดิน ลูกฆ่าพ่อ น้องฆ่าพี่ พี่ฆ่าน้อง แตกกันเป็นก๊กเป็นเหล่า แย่งชิงแผ่นดินกันปกครอง สถาปนาตัวเองและพรรคพวกขึ้นเป็นใหญ่

ภายในอาณาจักรขอมโบราณก็ตกอยู่ในสัจธรรมดังที่กล่าวนี้ เมื่อผู้ปกครองประเทศอ่อนแอ การปกครองไม่มีประสิทธิภาพ ชนในชาติแตกสามัคคีกัน แย่งชิงกันเป็นใหญ่ เกิดความสับสนอลหม่าน อาณาจักรขอมก็ค่อยๆเสื่อมอำนาจลงตามลำดับ

ในขณะเดียวกันอาณาจักรสุโขทัยกำลังเจริญรุ่งเรือง จึงแต่ขยายอำนาจลงไปทางใต้จนถึงอาณาจักรขอม (เมืองมหานคร นครวัด-นครธม) ทางด้านตะวันตกก็แผ่พระราชไมตรีไปจนถึง อาณาจักรศรีวิชัย (นครศรีธรรมราช) ดังที่ประวัติศาสตร์กล่าวว่า พ่อขุนรามคำแหงได้อาราธนาพระภิกษุสงฆ์ชาวศรีลังกาที่นครศรีธรรมราช ขึ้นไปประดิษฐานพระพุทธศาสนา ฝ่ายเถรวาท ที่กรุงสุโขทัยถึงทุกวันนี้

เมื่ออาณาจักรขอมเสื่อมอำนาจ โอกาสที่จะได้บูรณะพัฒนาประเทศชาติในด้านต่างๆจึงไม่มี ปราสาทเทวสถานที่กษัตริย์ขอมโบราณสร้างขึ้นมากมาย ไม่ได้รับการบูรณะซ่อมแซม ไม่มีใครดูแลรักษา ชุมชนเมืองและหมู่บ้านปล่อยให้รกร้างไปนาน เทวสถานและศาสนาสถานต่างๆถูกทอดทิ้งไว้ตามดงตามป่า ต้นไม้เครือเขาเถาวัลย์ขึ้นไปปกคลุมไปหมด ปัจจุบันก็ยังมีอยู่มากในดงในป่า ตามเขตใกล้ชายแดนไทยตั้งแต่ตะวันออกถึงตะวันตกสุด

สมัยกรุงศรีอยุธยาไทยได้แผ่ขยายอำนาจ เข้าไปในกัมพูชาอย่างกว้างขวางและในบางครั้งได้ยกกองทัพไปปราบ เช่น ในสมัยสมเด็จพระนเรศวร เป็นต้น สรุปว่า อาณาจักรขอมหรือกัมพูชาเสื่อมอำนาจลงมานานแล้ว ในสมัยตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ) ปรากฏว่า มีหลายครั้งที่เชื้อพระวงศ์กษัตริย์กัมพูชา ได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทย และไทยมีอิทธิพลต่อกัมพูชามาก

 

 

 

ฝรั่งเศสยึดครองเขมร

เรื่องฝรั่งเศสมหาอำนาจล่าอาณานิคมนี้ จะไม่ขอกล่าวบรรยายอะไรให้มากนัก เพราะเห็นว่ามันไม่ใช่ประเด็นหลัก จะนำมากล่าวถึงเฉพาะที่เกี่ยวกับกรณีพิพาทเขาพระวิหารเท่านั้น เพราะถ้าไม่กล่าวถึงฝรั่งเศสบ้าง น้ำหนักของประเด็นก็จะอ่อนไป

ก่อนที่ประเทศมหาอำนาจฝรั่งทางยุโรปจะยกกองกำลังและอาวุธยุทโธปกรณ์ มาล่าอาณานิคม คือ ยึดครองประเทศต่างๆในแถบเอเชียเป็นเมืองขึ้น รวมทั้งประเทศกัมพูชาและประเทศลาวด้วย ประเทศสยามหรือไทยได้เข้าไปมีส่วนปกครองประเทศลาวเกือบทั้งหมดตั้งแต่ประเทศลาวแบ่งออกเป็น ๓ ราชอาณาจักร คือ หลวงพระบาง เวียงจันทน์และจำปาศักดิ์

ส่วนราชอาณาจักรกัมพูชา สยามหรือไทยก็ได้เข้าไปครอบครองเป็นบางส่วน ตั้งแต่ขอมเสื่อมอำนาจสุดขีด เรื่อยมาจนถึงสมัยราชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ ร.๕ดังที่จะเห็นได้ว่า เมื่อฝรั่งเศสยึดได้ประเทศกัมพูชาเป็นเมืองขึ้นแล้ว ได้มีการพิพาทเกี่ยวกับเมืองพระตะบอง เสียมราฐ (กินเนื้อที่จังหวัดพระวิหาร) ศรีโสภณ ซึ่งต่อมาฝรั่งเศสได้ขอคืนดินแดนส่วนนี้

แม้ว่าฝรั่งเศสจะได้เข้ามายึดครองประเทศในแหลมอินโดจีน คือ กัมพูชา ลาว และญวณหรือเวียดนามแล้ว แต่ที่ทำการข้าหลวงใหญ่ซึ่งเป็นผู้แทนของฝรั่งเศสอยู่ที่เมืองไซง่อน (เวียดนามใต้) แต่ศูนย์กลางการปกครองประเทศกัมพูชาอยู่ที่กรุงพนมเป็ญ คงมีเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยของฝรั่งเศสไม่กี่คนมาควบคุมดูแลร่วมกับรัฐบาลกัมพูชา และในระยะเวลาที่ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสอยู่นี้ รัฐบาลหรือคณะผู้ปกครองกัมพูชา คงไม่มีเวลาได้เข้าไปดูแลรักษาปราสาทเทวสถานต่างๆปราสาทนครวัด นครธม รวมทั้งปราสาทเขาพระวิหาร จึงถูกทอดทิ้งไว้จนต้นไม้ใบหญ้าเครือเถาวัลย์ขึ้นอยู่เต็มไปหมด และฝรั่งเศสยังจัดการอะไรไม่เรียบร้อย

 

เจ้านายไทยพบเขาพระวิหาร

พ.ศ. ๒๔๔๑ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พระโอรสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จไปเขาพระวิหาร เป็นเจ้านายไทยพระองค์แรกที่ทรงพบปราสาทเขาพระวิหาร เข้าใจว่าเสด็จจากเมืองอุบล เพราะพระองค์ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เป็นผู้ต่างพระเนตรพระกรรณปกครองมณฑลอุบลราชธานี ค่ายทหารที่อุบลและโรงพยาบาลประจำจังหวัดอุบล ใช้ชื่อตามพระนามของพระองค์มาจนถึงทุกวันนี้ การเดินทางคงใช้ม้าและเกวียนเป็นพาหนะ จากเชิงเขาขึ้นไปประทับเฉลี่ยง (คานหาม) ใช้เวลาเป็นแรมเดือนทั้งไปและกลับ

 

 

 

การทำแผนที่แบ่งเขตแดน

พ.ศ. ๒๔๔๗ ฝรั่งเศสได้เข้าครอบครองประเทศในอินโดจีน และจัดระเบียบการปกครองประเทศต่างๆแล้ว จึงตกลงร่วมกันจัดทำแผนที่แบ่งเขตแดน ระหว่างประเทศสยามกับกัมพูชา อาณานิคมฝรั่งเศส ในการจัดทำแผนที่แบ่งเขตแดนนี้ ได้ขีดเส้นแบ่งชัดเจนว่า ปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในดินแดนไทยหรือสยามชัดเจน เพราะใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งเขตแดน

แต่เพียง ๓ ปีต่อมา คือ พ.ศ. ๒๔๕๐ ฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่แบ่งเขตแดนสยาม-กัมพูชา ในอารักขาของฝรั่งเศสขึ้นมาใหม่ ปรากฏว่าการขีดแผนที่แบ่งเขตแดนครั้งนี้ ปราสาทเขาพระวิหารไปอยู่ในเขตพื้นที่ของกัมพูชา อาณานิคมของฝรั่งเศส แต่จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม รัฐบาลสยามในสมัยนั้น ไม่ทักท้วง ที่ศาลโลกตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหาร ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเขมรนั้นเพราะแผนที่ฉบับนี้แท้ๆดังที่จะได้ทราบต่อไป

 

คนไทยไม่เคยได้รับรู้แผนที่

แม้จะมีแผนที่แบ่งเขตแดน ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๕๐) แล้วก็ตาม แต่คนส่วนมากหรือส่วนใหญ่ ที่อยู่ตามหัวเมืองหรือชนบทบ้านนอก รวมประชาชนจังหวัดขุขันธ์( ศรีสะเกษ ) ไม่เคยรับรู้รับทราบเลย ประกอบกับสมัยโน้นเครื่องมือในการสื่อสาร เช่น วิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ ก็ยังไม่มีอีกด้วย

เมื่อเป็นเช่นนี้ ประชาชนคนไทยจึงเข้าใจและยึดถือว่า ปราสาทเขาพระวิหาร เป็นของสยามหรือไทย เหมือนที่เป็นมาแล้วนับร้อยๆปี โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ในจังหวัดชายแดน (อุบล ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์) จะเดินทางขึ้นลงอยู่เสมอๆ ที่อพยพย้ายครอบครัวไปตั้งถิ่นฐานอยู่ทางเขมรต่ำหลายร้อยครอบครัว ตั้งเป็นหมู่บ้านหลายสิบหมู่บ้าน บางคนเป็นเดถ้าแก่ (นายฮ้อย) ค้าขายเพชรพลอย ก็จะพาลูกน้องไปขุดพลอยที่ บ่อเวฬุ บ่อกำปาง (ปัจจุบันท้องที่อำเภอตระเปียงปราสาท จังหวัดพระวิหาร)

เมื่อประมาณ ๗๐ กว่าปีมาแล้ว สมัยที่ผู้เขียนยังเป็นเด็กอายุ ๖-๗ ปี จำได้แม่นยำว่า เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวในนาเสร็จ จะมีพวกผู้ใหญ่ชายฉกรรจ์เป็นฝูงๆหรือเป็นพวกๆขี่ม้าแบกหอกพากันลงไปล่าเนื้อที่เขมรต่ำ พวกใครพวกมันหลายสิบหมู่บ้าน ในท้องที่อำเภอโนนคูณ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี พวกที่ลงไปไล่ล่าเนื้อ คือ วัวป่า กระทิง กวาง เก้ง หรือแม้แต่ควายป่า จะแบ่งออกเป็น ๒ พวกคือ

พวกหมอม้า พวกนี้จะมีคนๆหนึ่งเป็นหัวหน้าเรียกว่า หมอเฒ่า ผู้ที่จะได้รับสมมุติเรียกชื่อเป็นหมอเฒ่านี้ ต้องผ่านการไล่ล่าเนื้อและฆ่าเนื้อมาแล้วไม่ต่ำกว่า ๑๐ ตัว เรียกหมอเฒ่า หมอเฒ่านี้ตามชื่อเดิม เช่น หมอเฒ่าเฮ้าบ้านม่วงเป หมอเฒ่าตันบ้านโนนคูณ หมอเฒ่าวันบ้านแก เป็นต้น พวกไหนหรือคนใดจะไปรวมกลุ่มกับหมอเฒ่าคนใดก็ตามแต่จะสมัครใจ พวกหนึ่งๆจะมีหมอม้าประมาณ ๑๕-๒๐ คน ขี่ม้าแบกหอกวิ่งตามกันเป็นฝูงๆ

หอกที่จะเอาไปแทงเนื้อจะทำด้วยเหล็กอย่างดี ลับหรือฝนด้วยหินหรือเอาเหล็กตะไบถูแหลมคมมาก ด้านหอกยาวประมาณ ๑ วา ที่ดีที่สุดคือใช้ลำต้นหวายเรียกว่า หวายกระบองเพชร หรือลำต้นไม้ไผ่น้อยลำแก่ๆเอามาลนไฟให้แห้ง ตัดให้ตรง เวลาเขาขี่ม้าเป็นฝูงๆไปเหมือนกับทหารออกศึก

ม้าตัวหนึ่งๆต้องมีเกวียน ๒ เล่มและลูกน้อง ๒-๓ คน ใช้เกวียนขนเสบียงอาหาร เช่น ข้าวสาร พริก ปลาแดง ปลาร้า หอม กระเทียม ไปหุงหรือนึ่ง เพราะต้องอยู่เป็นเดือนและเมื่อไล่ล่าเนื้อได้แล้ว ก็ใช้เกวียนบรรทุกเนื้อแห้ง หนัง หัววัวหรือเขาวัวขึ้นมา อาจจะตัดของป่า เช่นหวายป่าทำเป็นโค้งๆไม้ขะยุงทำเป็นด้ามขวาน ต้นแกแล (เขล)  เอามาต้มย้อมไหมด้วย

พวกหมอปืน พวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นคนมีอายุ ๕๐-๖๐ ปี ไปไล่ล่ายิงเนื้อพวกละไม่เกิน ๓-๔ คน มีลูกน้องหาบหามเสบียงไปด้วย ๓-๔ คนเท่านั้น ปืนที่ใช้มักจะทำเองทั้งนั้น เรียกว่าปืนแก๊ป หรือ ปืนเพลิง พวกหมอปืนกับพวกหมอม้าจะไม่ได้ไปด้วยกัน เพราะถือผีคนละอย่าง ถ้าไปด้วยกันหรือไปในกลุ่มเดียวกันจะผิด พิษณู ซึ่งไม่รู้ว่าอะไรเหมือนกัน

 

ลงตามช่องหรือซอกเขา

การลงไปไล่ล่าและยิงเนื้อที่เขมรต่ำ ก็จะหาทางลงไปตามช่องภูเขาพนมดงรัก ซึ่งมีอยู่หลายช่อง นับจากทางทิศตะวันออกไปตะวันตกมี ช่องอานม้า ปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ช่องโพย ช่องตาเฒ่า (อยู่ตะวันออกเขาพระวิหาร) ช่องแปดหลัก อยู่ในท้องที่อำเภอกันทรลักษ์ ช่องพระประลาย (หัวกะบือ) ช่องหัวเสา ในท้องที่อำเภอขุนหาญ ช่องชะงำ ในท้องที่อำเภอ๓สิงห์ ช่องจอม อยู่ในท้องที่อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ส่วนทางตะวันตกในจังหวัดบุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี ข้าพเจ้าไม่ทราบ

คนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟังว่า ช่องตาเฒ่า ตะวันออกใกล้เขาพระวิหาร เป็นช่องที่ลงง่ายกว่าช่องอื่นๆ (สำหรับคนศรีสะเกษ) คือ วัวและม้าสามารถจูงลงไปได้เลย แต่เกวียนต้องเอาชิ้นส่วนออกแบกหามลงไป เอาไปประกอบข้างล่างแล้วเดินทางตามดงตามป่าต่อไป บางพวกไปตั้งทัพ (กองม้า) ที่ใกล้ปราสาท เกาะเก เมืองพรหมเทพ เซลำเภา ซึ่งอยู่ในพื้นที่จังหวัดพระวิหาร ส่วนพวกหมอปืนบางพวกไปถึง ภูตะแบงหรือพนมตะแบง กำปวงทม ซึ่งลึกลงไปเกือบถึงจังหวัดกำปวงทมทุกวันนี้

ที่นำมาเขียนเรื่องบอกเล่านี้ไว้เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึง แม้ฝรั่งเศสจะได้เขียนแผนที่แบ่งเขตแดน ให้ปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของเขมรแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๕๐ แล้วก็ตาม แต่คนไทยยังไปตั้งบ้านเรือน และไปไล่ล่าเนื้อในจังหวัดพระวิหารเดี๋ยวนี้ทุกปี ก่อนข้าพเจ้าเกิดประมาณ ๘๐ กว่าปีมาแล้ว เพราะถือว่าเขาพระวิหารลึกลงไปทางใต้เป็นของไทย

ขอเพิ่มเติมในเรื่องคนไทยลงไปล่าฆ่าเนื้อที่เขมรต่ำอีกสักน้อย คือ บริเวณพื้นที่ใต้เขาพระวิหารลงไป นอกจากจะมีป่าดงดิบมีต้นไม้ใหญ่และเถาวัลย์หนาทึบแล้ว ยังมีป่าละเมาะเป็นทุ่งหญ้าหลายแห่ง ฝูงวัวป่า กระทิง เก้ง กวาง ควายป่า ก็จะออกจากป่าใหญ่ไปหากินทุ่งป่าละเมาะเป็นฝูงๆเขาก็จะขี่ม้าไปไล่ล่าให้แตกฝูง แล้วก็จะขี่ม้าไปไล่ตามตัวเดียว เมื่อเนื้อมันเหนื่อยเมื่อยล้า มันก็จะต่อสู้ คนขี่ม้าจะหาที่กำบังให้เหมาะสม ก็ใช้หอกวัวจนล้มตาย แล้วก็จะกลับไปบอกพวกเกวียนไปปาดแล่เนื้อขนมาที่ตั้งทัพ ทำเป็นเนื้อแห้ง (ซิ้นแส้) เอามาเก็บไว้กินนานหลายเดือน โดยเฉพาะที่เขาทำที่เรียก หม่ำ คือ เอาเนื้อมาซอยสับให้ละเอียดยัดใส่พุงหรือกระเพาะวัว ผสมด้วยเกลือ หัวหอม กระเทียม และข้าวสุก ขนาดเท่าผลฟักทองใหญ่ๆเก็บไว้กินเป็นอาหารกับข้าวอร่อยมาก เนื้อแห้งหรือซิ้นแส้ที่เก็บไว้ได้นานนั้น เพราะจะเก็บไว้ที่เล้าหรือยุ้งฉางข้าวเปลือก แมลงหรือมอดจะไม่กิน ส่วนหนังวัวที่ตากแห้งก็จะขาย หัวหรือเขาวัวใช้ประดับบ้าน สมัยข้าพเจ้าเป็นเด็กที่เสาเรือนบ้าน จะใช้ตาปูตีติดหัววัวป่าเกือบจะทุกต้น ทั้งขนาดใหญ่และเล็ก บ้านเรือนคนอื่นๆที่พวกขี่ม้าไปไล่เนื้อก็มีเหมือนกัน พี่เขยของผู้เขียนเป็นนักขี่ม้าล่าเนื้อเขมรต่ำคนหนึ่ง เกือบๆจะได้เป็นหมอเฒ่ากับเขาแล้ว ม้าที่ขี่ไปล่าเนื้อชื่อ ม้าเหลืองแย้ ผู้เขียนยังได้เลี้ยงมันด้วย

 

เขาพระวิหารไม่มีชุมชน

แม้ว่าฝรั่งเศสจะเขียนแผนที่แบ่งเขตแดน ให้ปราสาทเขาประวิหารอยู่ในเขตแดนของกัมพูชาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๕๐ แล้วก็ตาม แต่บริเวณทั่วไปของเขาพระวิหารไม่มีผู้คน ไม่มีชุมชนหรือหมู่บ้าน เรียกว่า โน แมนส์ แลนด์ มันเป็นป่าช้างดงเสือไปหมด น้าของผู้เขียนเป็นพรานใช้ปืนยิงเนื้อ ท่านเล่าให้คนทั้งหลายฟังว่า ก่อนจะลงช่องเขาลงไปหาเนื้อที่เขมรต่ำ คราวหนึ่งได้ขึ้นไปดูปราสาทเขาพระวิหาร เห็นสภาพตัวปราสาทชำรุดหักพัง โดยเฉพาะเสาหัวบัวที่ตั้งเรียงรายตามบันไดนาค โค่นล้มหักเสียหาย เพราะพวกช้างป่าขึ้นไปหากินหญ้าใบไม้เสียดสีไปมา

เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๗๓ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยและทรงเป็นนายกราชบัณฑิตสถานสยามด้วย ได้เสด็จไปเขาพระวิหารในการเสด็จไปเขาพระวิหารครั้งนี้ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิสมัย ดิศสกุล พระธิดา สมัยเป็นรุ่นๆหญิงสาวตามเสด็จด้วยไปพักที่พลับพลาต้อนรับเสด็จ ที่อำเภอกันทรลักษ์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนดำรงราชานุสรณ์อยู่ใกล้ๆสถานีตำรวจอำเภอกันทรลักษ์

ในการเสด็จขึ้นไปปราสาทเขาพระวิหารครั้งนี้ มีเจ้าหน้าที่ของฝรั่งเศสและกัมพูชา ได้ถวายการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ มีธงชาติฝรั่งเศสปกอยู่ให้เห็น แต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพไม่ได้ทรงทักท้วงแต่อย่างใด เรื่องนี้ศาลโลกได้ยกมาพิจารณาตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นกรรมสิทธิ์ของเขมรด้วย

ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพไม่ได้ทรงทักทวงนี้ มีการวิเคราะห์กันมาก แต่สรุปแล้วด้วยเหตุผล ๒ ประการ คือ

๑.  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ไม่ได้ไปในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย เพียงแต่พระองค์ขอพระบรมราชานุญาตจากพระเจ้าอยู่หัวเพื่อไปสำรวจโบราณสถานในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นนายกราชบัณฑิตสถานสยาม

๒. เพราะในสมัยนั้น ฝรั่งเศสได้เข้ามายึดครองประเทศในแหลมอินโดจีนแล้ว ใช้อำนาจบาตรใหญ่มาก กำลังจะเข้ายึดครองประเทศไทยให้ตกเป็นเมืองขึ้น  ถ้าสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ จะทรงทักท้วงหรือพูดจาอะไรมากไป ฝรั่งเศสก็จะไม่พอใจและอาจจะเกิดเหตุการณ์ขึ้นได้ ดังคำประทานสัมภาษณ์ของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศสมัย  ดิศสกุล ในเวลาต่อมา

“เป็นที่ทราบกันดีในขณะนั้น การประท้วงจะมีแต่ทางให้ฝรั่งเศสยกเป็นข้อแก้ตัว ที่จะยึดดินแดนมากขึ้น เหตุการณ์ต่างๆ ยังอยู่เหมือนเดิม ตั้งแต่ฝรั่งเศสได้นำกองเรือรบเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยาและยึดเมืองจันทบุรี”

จากที่กล่าวนี้จะเห็นได้ว่า สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระปรีชาเฉลียวฉลาดมาก จนทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส เสียส่วนน้อยเพื่อรักษาส่วนใหญ่ไว้

 

ประเพณีทำบุญสงกรานต์

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า เขาพระวิหาร เป็นพื้นที่ที่เรียกว่าโน แมนส์ แลนด์ คือไม่มีผู้คนไม่มีบ้านหรือชุมขนอยู่ เป็นดงเป็นป่าหนาทึบ มากไปด้วยช้างด้วยเสีย จะมีผู้ไปเห็นก็เฉพาะพวกพรานป่าเท่านั้น

ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๗๙ – ๒๔๘๐ ทางราชการจังหวัดขุขันธ์ (ศรีสะเกษ) ได้ให้นายเกลี้ยง  สุขเกษม ไปเฝ้ารักษาปราสาทเขาพระวิหาร เป็นคนแรก คนต่อมา คือ ขุนชัยชโนปกิต ปลัดขวา อำเภอกันทรลักษ์ โดยขึ้นไปอยู่ที่ปราสาทหลังที่ ๓

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓ กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเขาพระวิหาร ให้เป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ขุนชัยชโนปกิต ได้ลาออก นายเกลี้ยง  สุขเกษม ได้สมัครกลับมาเป็นผู้รักษาปราสาทเขาพระวิหารอีกครั้งหนึ่ง จนถึง พ.ศ. ๒๔๘๗ ต่อมากรมศิลปากร ได้จ้างให้ขุนศรีขุขันธ์เขต (ชม รัตนา) เป็นผู้รักษาจนถึง พ.ศ. ๒๕๐๑ อายุแก่มากจึงลาออก ขุนศรีขุขันธ์เขต ท่านไปอาศัยอยู่ในถ่ำใกล้ๆกับสระตราว คนทั้งหลายจึงเรียกถ้ำนั้นว่า ถ้ำขุนศรี ตลอดมา ต่อมานายเสวย ขุขันธ์เขต บุตรชายนายขุนศรีขุขันธ์เขต เป็นผู้รักษาจนถึงไทยแพ้คดีเขาพระวิหาร

สมัยตั้งแต่ฝ่ายไทยเราส่งคนไปเฝ้ารักษาปราสาทเขาพระวิหาร (พ.ศ. ๒๔๗๙ – ๒๔๘๐) พุทธศาสนิกชนชาวไทยที่อยู่ใกล้ๆเขาพระวิหาร หลายหมู่บ้านตำบล จะนิมนต์พระภิกษุสามเณรและนำข้าวปลาอาหาร เครื่องจตุปัจจัยไทยธรรม ขึ้นไปทำบุญประเพณีสงกรานต์เป็นประจำทุกปี ๓ คืน ๔ วัน โดยเดินทางเท้าไปที่หมู่บ้าน ภูมิซรอล ซึ่งอยู่ใกล้เชิงเขาพระวิหารที่ใกล้ที่สุด แล้วเดินทางขึ้นเชิงเขาไปจนถึงตัวปราสาทเขาพระวิหาร

ประเพณีทำบุญสงกรานต์นี้ แต่ละปีจะมีประชาชนชาวเขมรที่นับถือพระพุทธศาสนาจากหมู่บ้านต่างๆในพื้นที่อำเภอจะกระสัน – จอมกระสาน (ถ้าจะออกเสียงให้ถูกต้องตามภาษาของเขาต้องออกเสียงว่า เจียมกระสาน แปลเป็นภาษาลาวภาคอีสานว่า ซำปลากั้ง) ก็จะเดินทางมาร่วมทำบุญด้วยโดยหาบหามอาหารการกิน จตุปัจจัย ขึ้นทางช่องตาเฒ่า ฝั่งไทยแล้วขึ้นไปปราสาทเขาพระวิหารร่วมทำบุญด้วยกันอย่างมีความสุขสนุกสนาน

จากที่กล่าวมานี้แสดงให้เห็นว่า ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของไทย ทั้งโดยนิตินัยและพฤตินัย โดยนิตินัยคือ กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำหรับชาติ โดยพฤตินัย คือไทยจัดทำบุญประเพณีสงกรานต์ทุกปี

ปี พ.ศ. ๒๕๐๒ สหภูมิสงฆ์จังหวัดศรีสะเกษ ได้มอบหมายให้พระมหาบัวทอง โสริโย (เดือนโชติ) เลขาธิการสหภูมิสงฆ์จังหวัดศรีสะเกษ อันเชิญพระพุทธบาทจำลองจากกรุงเทพฯ ขึ้นไปประดิษฐานไว้ที่ปราสาทเขาพระวิหาร หลังที่ ๓ เพื่อเป็นที่สัการะของคนทั่วไป

ขอกล่าวถึงสหภูมิสงฆ์จังหวัดศรีสะเกษให้ทราบด้วย คือ ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๙ พระภิกษุที่เป็นชาวศรีสะเกษ ลงไปอยู่วัดต่างๆในกรุงเทพ-ธนบุรี ทั้งที่ได้เป็นเจ้าอาวาสก็มี เป็นพระมหาเปรียญก็มี เป็นพระเกจิอาจารย์ก็มี ได้ประชุมตกลงกันให้จัดตั้งสหภูมิสงฆ์จังหวัดศรีสะเกษขึ้น ได้จัดให้มีการประชุมกันปีละ ๒ ครั้ง เพื่อช่วยเหลือพระภิกษุสามเณรชาวศรีสะเกษ และช่วยเหลือกิจการคณะสงฆ์จังหวัดศรีสะเกษในด้านต่างๆ ในช่วงระยะปี พ.ศ. ๒๕๐๒ พระมหาบัวทอง เดือนโชติ ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่บ้านหนองบัวใหญ่ ตำบลหนองหว้า อำเภอกันทรลักษ์ (ปัจจุบันอำเภอเบญจลักษ์) ได้ขอความอุปถัมภ์จาก อาจารย์ดิส  นางน้อย  ร.อ.คำนวน  รงค์กระจ่าง สร้างพระพุทธบาทถวาย เพื่อนำไปขึ้นประดิษฐ์ที่ปราสาทเขาพระวิหาร ดังกล่าวแล้ว ปัจจุบันมหาบัวทอง  เดือนโชติ มีอายุ ๘๐ กว่าปีแล้ว มีภูมิลำเนาอยู่ที่หมู่บ้านเคหะชุม หนองหอย ในตัวเมืองเชียงใหม่

เมื่อศาลโลกตัดสินให้ไทยแพ้คดีปราสาทเขาพระวิหาร จึงมีคนไปนำเอาพระพุทธบาทจำลองลงมาไว้ในอุโบสถวัดศิริวราวาส ในเมืองกันทรลักษ์ เข้าใจว่าปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้นำพระพุทธบาทจำลองนี้ ขึ้นไปประดิษฐานไว้ที่ผามออีแดง จนทุกวันนี้

 

สงครามอินโดจีน

ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ เกิดสงครามอินโดจีน จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีไทยได้เรียกร้องขอดินแดนที่เสียไปคืนจากฝรั่งเศส ฝรั่งเศสยอมคืนดินแดนให้ คือ เมืองชัยบุรี นครจำปาศักดิ์ (ในประเทศลาว) เมืองพระตะบอง ศรีโสภณ (ในกัมพูชา) เมืองเหล่านี้เป็นของไทยมาก่อน

 

สงครามโลกครั้งที่ ๒

เมื่อเสร็จสิ้นสงครามอินโดจีน ก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๘๒) การเกิดหรือทำสงครามโลกครั้งที่๒นี้ แบ่งออกเป็น๒ฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตร ประกอบด้วยประเทศ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส รัสเซีย และ ฝ่ายอักษะ มีประเทศ เยอรมนี ญี่ปุ่นและอิตาลี เยอรมนีสมัยของฮิตเลอร์ ถือว่ามหาอำนาจทางตะวันตก ญี่ปุ่นถือว่ามหาอำนาจทางตะวันออก สงครามโลกครั้งนี้ถือว่าทารุณโหดร้ายที่สุด

แรก ๆ ประเทศไทยหรือรัฐบาลไทย ได้เข้าข้างฝ่ายอักษะ จึงยินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นยกพลเข้าไทย กระจัดกระจายกองกำลังทหารไปทั่วประเทศ และเปิดโอกาสให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทัพไปตีประเทศพม่า แล้วจะเรื่อยลงไปตีลังกา และอินเดีย จึงเกณฑ์ทหารและผู้คนไปสร้างทางรถไฟ และสะพานข้ามแม่น้ำแควน้อย อำเภอไทรโยก จังหวัดกาญจนบุรี มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก จนเรียกว่า ทางสายมรณะ และ สะพานวิปโยก จนทุกวันนี้

ในขณะที่รัฐบาลไทยเข้าข้างญี่ปุ่นหรือฝ่ายอักษะอยู่นี้ มีคนไทยผู้รักชาติกลุ่มหนึ่งประกอบด้วยฝ่ายทหารและพลเรือน ที่ได้รับการกล่าวขานมากที่สุด คือ ดร.ปรีดี  พนมยงค์ และม.ร.ว. เสนีย์  ปราโมช คนไทยกลุ่มนี้ไม่เห็นด้วยที่ไทยเข้าข้างญี่ปุ่น จึงได้รวบรวมสมาชิกต่อต้านหรือต่อสู้กับญี่ปุ่น มีทั้งในและนอกประเทศ เรียกคณะของตนว่า เสรีไทย

ในที่สุดฝ่ายอักษะแพ้สงครามอย่างย่อยยับ สหรัฐอเมริกาเอาเครื่องบินไปทิ้งระเบิดกองกำลังเยอรมันที่กำลังยกพลขึ้นบกที่ อ่าวนอร์มังดี ประเทศฝรั่งเศส ทหารเยอรมันตายเป็นเบือ ต่อจากนั้นสหรัฐอเมริกาเอาระเบิดไปทิ้งที่ เมือง ฮิโรชิมา และ นางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น มีผู้คนตายเป็นแสนๆ ทหารญี่ปุ่นที่ออกไปรบต่างถิ่นต้องทำ ฮาราคีรี คือ เอาดาบปลายปืนแทงคว้านท้องตัวเองตาย

เพราะผลของขบวนการเสรีไทยนี้เองทำให้สัมพันธมิตรเห็นว่าไทยไม่เป็นคู่สงคราม เพราะถ้าหากไทยไม่ปรับท่าทีเข้าข้างฝ่ายสัมพันธมิตร ประเทศไทยอาจต้องเสียค่าปฏิกรสงครามมหาศาลและผู้นำไทยอาจจะตกเป็นอาชญากรสงครามด้วย

 

ฝรั่งเศสไม่ปลดปล่อยอาณานิคม

แม้ว่าเยอรมันและญี่ปุ่น (ฝ่ายอักษะ) แพ้สงครามอย่างย่อยยับแล้ว แต่ฝรั่งเศสยังไม่ยอมปลดปล่อยประเทศอาณานิคม ประชาชนชาวเวียดนาม ลาว เขมร จึงได้พร้อมกันต่อสู้เพื่อกอบกู้เอกราช ทำการต่อสู้ทุกรูปแบบและยืดเยื้อเด็ดเดี่ยว โดยเฉพาะประชาชนชาวเวียดนาม ได้ต่อสู้ชนิดพลีชีพ

ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ฝรั่งเศสแพ้สงครามที่ เดียนเบียนฟู ทางตะวันตกเฉียงเหนือกรุงฮานอยเมืองหลวงเวียดนาม เขตติดต่อกับแขวงซำเหนือ พงสาลี ประเทศลาว จึงยอมคืนเอกราชให้แก่ ๓ ประเทศดังกล่าว แต่ฝรั่งเศสก็เหมือนกับประเทศมหาอำนาจล่าเมืองขึ้นทั้งหลาย คือ ก่อนจะถอนตัวออกจากอินโดจีน ฝรั่งเศสได้ วางหมากกล เอาไว้เพื่อให้ประชาชนชาติเดียวกันทะเลาะวิวาทแตกความสามัคคี ต่อสู้รบฆ่าฟันกันต่อไป ที่เห็นได้ชัดๆคือ แบ่งเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ ในประเทศลาว เขมร ก็แบ่งเป็นฝ่ายขวา – ฝ่ายซ้าย กว่าจะรวมชาติได้ต้องสูญเสียชีวิตเลือดเนื้อคนในชาติไปมากมาย

 

 

ไทยยึดเขาพระวิหารอีก

เมื่อมหาอำนาจฝรั่งเศสถอนตัวออกจากอินโดจีนแล้ว ประเทศไทยได้ส่งทหารขึ้นไปยึดปราสาทเขาพระวิหารอีกครั้งหนึ่ง เพราะมีความรู้สึกและความเคียดแค้นว่า ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของไทยมาแต่ไหนแต่ไร เพียงแต่ว่าในระยะนั้น ฝรั่งเศสใช้อำนาจบาตรใหญ่ข่มขู่ ข่มเหงรังแก ประเทศเล็กๆทั่วไป ไทยจึงต้องระวังตัวเองไม่กล้าปริปาก

 

เขมรได้เอกราช

ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เขมรได้เอกราช เมื่อได้รับเอกราชใหม่ๆเขมรเองก็มีความสับสนวุ่นวายเพราะมีการแก่งแย่งชิงอำนาจซึ่งกันและกัน จนต่อมาหลายสิบปี นายกรัฐมนตรีเขมรที่ชื่อว่า เจ้านโรดมสีหนุ ซึ่งครั้งหนึ่งได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของไทย ท่านเป็นนักศึกษานอกเรียนจบวิชากฎหมายจากฝรั่งเศส เป็นนักการเมืองที่โดดเด่น ได้ประกาศก้องโลกเรียกร้องเอาปราสาทเขาพระวิหาร กล่าวหาโจมตีผู้นำและรัฐบาลไทยสารพัดอย่าง ในที่สุดไทยกับเขมรได้สั่งปิดประตูพรมแดน เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๑

 

เขมรฟ้องศาลโลก

วันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๐๒ เจ้านโรดมสีหนุได้ฟ้องคดีต่อศาลโลกที่ กรุงเฮก ประเทศฮอลแลนด์หรือเนเธอแลนด์ เมื่อผู้เขียนได้ตระเวนยุโรป ปี ๒๕๔๕ ได้ไปดูศาลโลกมาแล้ว ปกติไปดูทีสำคัญแห่งใด มักจะถ่ายรูปไว้เป็นอนุสรณ์ แต่ที่ศาลโลกไม่ถ่ายรูปเลย เพราะเกลียดที่ตัดสินให้เราแพ้คดีเขาพระวิหาร

ที่เจ้านโรดมสีหนุฟ้องต่อศาลโลกนี้ เพื่อเรียกร้องให้ศาลโลกพิจารณาตัดสิน ให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของเขมร สร้างความเคียดแค้นเกลียดชังของคนไทยทั่วประเทศ รัฐบาลสมัยนั้นได้ขอความร่วมมือให้คนไทย บริจาคเงินคนละ ๑ บาท เพื่อเป็นค่าทนายว่าความ ซึ่งมี ม.ร.ว.เสนีย์  ปราโมช เป็นหัวหน้า ได้ทราบในภายหลังว่าฝ่ายเขมรได้แต่งตั้งให้นายดีน  แอจีสัน เนติบัณฑิตประจำศาลสูงอเมริกา เป็นหัวหน้าคณะทนายความ ต่างฝ่ายต่างหาพยานหลักฐานต่อสู้กันอย่างเต็มที่

 

ศาลโลกตัดสินให้ไทยแพ้

วันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๐๕ คณะตุลาการศาลโลกซึ่งมีนายวินิต  อาสะกิ เป็นหัวหน้าอ่านคำพิพากษาตัดสินให้ ปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกัมพูชา ด้วยคะแนนเสียง ๙ – ๓ เสียง ทำให้ไทยสูญเสียดินแดนไป ๑๕๐ ไร่ (เฉพาะที่ตั้งตัวปราสาท) ทำให้คนไทยทั่วประเทศ ปวดร้าวและเจ็บแค้นในหัวใจอย่างยิ่ง บางคนถึงกับหลั่งน้ำตา ถึงกับจอมพล สฤษฏ์  ธนรัตน์ นายกรัฐมนตรี ประกาศก้องว่า “สักวันหนึ่งเราจะเอาคืนมา”

 

ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๐๕นั้นเอง คณะรัฐมนตรีไทยได้มีมติประกาศยอมรับคำตัดสินของศาลโลก และให้กำหนดพื้นที่ห่างออกจากเขต ๑๕๐ ไร่ ดังกล่าวแล้ว ไปทางบันไดขึ้นตัวปราสาท ๒๐ เมตร ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วจะถึงแค่บันไดนาคเท่านั้นเอง นอกจากนี้เป็นเขตแดนหรือผืนแผ่นดินของไทย สรุปแล้วกัมพูชาได้เฉพาะตัวปราสาทเท่านั้น

หลังจากที่ศาลโลกตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหาร เป็นของกัมพูชาแล้ว เขมรก็ได้ส่งกองกำลังทหารและเจ้าหน้าที่ขึ้นไปอยู่ประจำ เห็นเขาสร้างบ้านเรือนหลังเล็กๆกระต๊อบ กระแต๊บ มุงหญ้าคา ตามช่องว่างระหว่างตัวปราสาทแต่ละหลัง มีประมาณ ๑๐ กว่าหลังคาเรือนเข้าใจว่าเป็นครอบครัวทหาร ไม่มีบ้านเรือนอยู่ทางบันไดขึ้นแต่อย่างใด

ทางฝั่งไทยมีการปักเสาล้อมด้วยลวดหนาม ริมฝั่งร่องน้ำเล็กๆไหลลงสระตราว ไม่ทราบว่าฝ่ายไหนเป็นคนทำรั้วลวดหนามนี้ และเพื่อประสงค์อะไร ถ้า (สมมุติ) ว่า ฝ่ายไทยเป็นคนสร้างก็แสดงว่าไม่รู้ไม่เข้าใจคำตัดสินของศาลโลกจริง เพราะความจริงผืนแผ่นดินไทยกินเนื้อที่ลึกข้ามร่องน้ำไปจนถึงหัวบันไดนาค

 

สหรัฐอเมริกาเข้ามายุ่มย่ามอินโดจีน

แม้ว่ามหาอำนาจฝรั่งเศสจะพ่ายแพ้สงคราม ที่เดียนเบียนฟูถอยกลับบ้านไปตั้งแต่ปี ๒๔๙๗แล้ว แต่ หมากกล ที่ฝรั่งเศสวางเอาไว้ได้ผล คือ ประเทศญวนหรือเวียดนาม แบ่งออกเป็น ๒ ส่วนต่างฝ่ายต่างมีลูกพี่หนุนหลัง

- เวียดนามเหนือ มีเมืองหลวงชื่อ กรุงฮานอย มีประธานาธิบดีชื่อ โฮจิมินห์ (ลุงโฮห์) เป็นประมุข ได้รับการสนับสนุนจากจีนแดงและสหภาพโซเวียต จึงนิยมการปกครองในแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์

- เวียดนามใต้ มีเมืองหลวงอยู่ที่ กรุงไซง่อน ประธานาธิบดีชื่อ โงดินเดียม ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ปกครองด้วยระบอบเสรีประชาธิปไตย

ประธานาธิบดีแห่งเวียดนามเหนือ ต้องการจะรวมชาติเวียดนามเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจึงได้จัดตั้งกองกำลัง เวียดมินห์ และ เวียดกง ขึ้นเป็นกองทัพประชาชน เข้ายึดตีเอาเวียดนามใต้โดยได้รับการสนับสนุนทางการเงิน อาวุธยุทโธปกรณ์ จากลูกพี่ใหญ่ทั้งสองชาติอย่างเต็มที่ เวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้สู้รบกันตายมากมาย

เวียดนามใต้เห็นว่าฝ่ายตนจะสู้ไม่ไหว จึงไปขอความสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ฝ่ายสหรัฐอเมริกากลัวฝ่ายคอมมิวนิสต์จะเข้าครอบครองอินโดจีนอยู่ จึงทุ่มเทสรรพกำลังทางบกทางเรือและทางอากาศสุดๆนำกองเรือรบไปจ่อไว้ที่กลางทะเลจีน จ่อปากปืนและจรวดประจันหน้าประเทศเวียดนาม ใช้ประเทศไทยหลายจังหวัดเป็นฐานทัพ ขับเครื่องบินไปถล่มเวียดนามเขตเหนือจนราบเรียบ มีทหารและผู้คนล้มตายเป็นแสนๆทหารอเมริกันตายเป็นหมื่น เรือรบถูกทำลาย เครื่องบินถูกยิงร่วง สู้รบกันอยู่นานเป็นสิบปี

ในที่สุดสู้กองทัพ เวียดมินต์ และ เวียดกง ไม่ได้ สหรัฐอเมริกาต้องถอยทัพกลับบ้าน ประธานาธิบดี โงดินเดียม และพรรคพวก ต้องหนีตายกันไปคนละทิศคนละทาง ลุงโฮจิมินห์สามารถรวมชาติเวียดนามได้จนทุกวันนี้

 

เหตุการณ์ในประเทศกัมพูชา

เจ้านโรดมสีหนุท่านเป็นนักการเมืองที่แพรวพราวมาก บางครั้งพระองค์ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินแทนพระราชบิดา บางครั้งท่านก็กลับลงเป็นนายกรัฐมนตรี ในด้านต่างประเทศก็มักจะเสด็จประเทศต่างๆเสมอๆ ทรงเป็นนักการทูตที่ยอดเยี่ยม

แต่ภายในประเทศกัมพูชาการเมืองไม่มั่นคงเลย ประกอบกับเศรษฐกิจไม่ดีด้วย ประชาชนส่วนมากขาดการศึกษาและมีความอดอยาก มีนักการเมืองหลายพวกหลายฝ่าย แต่ละฝ่ายพยายามแย่งชิงความเป็นใหญ่

ในช่วงที่เวียดนามเหนือต่อสู้กับสหรัฐอเมริกาและเวียดนามใต้อยู่นี้ กองกำลังเวียดมินห์และเวียดกงส่วนหนึ่ง ได้ทะลักเข้าสู่ประเทศกัมพูชาด้วยแล้ว จัดตั้งกองกำลังกระจัดกระจายไปตามเขตชนบท โดยเฉพาะบริเวณชายแดนติดกับประเทศไทย

ต้องเข้าใจด้วยว่าในช่วงนั้น การปกครองในระบอบเสรีประชาธิปไตย ที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นหัวโจก กับการปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ ที่มีสหภาพโซเวียตเป็นพี่เบิ้ม ได้พยายามต่อสู้เอาแพ้ชนะกันรุนแรง ต่างฝ่ายต่างแสวงหาพรรคพวก ดังจะเห็นได้ว่าแม้แต่ในประเทศลาว ก็มีฝ่ายขวาฝ่ายซ้าย ในประเทศกัมพูชาก็แบ่งกันเป็นฝ่ายๆ

คราวหนึ่ง เจ้านโรดมสีหนุ เสด็จไปราชการต่างประเทศ นายพล ลอน นอน นายทหารใหญ่ของกัมพูชา ได้ปฏิวัติทำการยึดอำนาจ โดยมีมหาอำนาจบางประเทศหนุนหลัง ทำให้เจ้านโรดมสีหนุ ต้องหลี้ภัยอยู่ต่างประเทศเป็นปีๆ

รัฐบาลนายพล ลอน นอน อยู่ได้ไม่นานกี่ปีก็ล้มครืนลง เพราะไม่สามารถควบคุมประชาชนได้ การบริหารราชการบ้านเมืองไม่ราบรื่น แตกความสามัคคีกันเป็นก๊กเป็นเหล่า ในที่สุดพรรคพวก เขมรแดง เข้ายึดครองอำนาจได้

ในช่วงที่เขมรแดงจัดตั้งรัฐบาลปกครองประเทศกัมพูชานี้ ได้ใช้อำนาจเผด็จการปกครองอย่างทารุณโหดร้ายที่สุด นอกจากไล่ล่าฆ่าฟันนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม ยังเข่นฆ่าประชาชนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ตายเกือบ ๓ ล้านคน เรียกว่าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เลยทีเดียว

ต่อมาพรรคพวกของสมเด็จฮุนเซ็นยึดอำนาจจากรัฐบาลเขมรแดง แต่พวกเขมรแดงไม่ยอมง่ายๆได้จัดกำลังต่อสู้ตามดงตามป่าติดชายแดนไทย ต่อสู้กันอยู่หลายปี สุดท้ายรัฐบาลสมเด็จฮุนเซ็นชนะเด็ดขาด และต่อมาได้จัดร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา ในการควบคุมดูแลของสหประชาชาติ

เมื่อรัฐบาลสมเด็จฮุนเซ็นจัดการบ้านเมืองเรียบร้อยแล้ว ได้อัญเชิญสมเด็จเจ้านโรดมสีหนุ ขึ้นเป็นพระประมุขของชาติมาจนถึงสองสามปีที่แล้ว พระองค์ทรงสละราชสมบัติ และทรงสถาปนาพระโอรส คือ สมเด็จนโรดมสีหโมนี ขึ้นเป็นประมุขแทนจนถึงทุกวันนี้

ถ้าจะพูดถึงความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่างไทยกับกัมพูชาตั้งแต่รัฐบาลสมเด็จเจ้านโรดมสีหนุ เป็นต้นมา ก็ต้องพูดว่าไม่ค่อยราบรื่นนัก ถ้าจะเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆไทย – กัมพูชา มีสัมพันธ์ไมตรีต่อกันหลวมๆ หรือเปราะบางมาก ส่วนมากมักจะมีปัญหาเรื่องเขตแดน ทั้งทางน้ำและทางบก ซึ่งจะมาวิเคราะห์กันตอนท้าย

 

ทางขึ้นไปเขาพระวิหาร

ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์หรือแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว ทางที่จะขึ้นไปปราสาทเขาพระวิหารอยู่ฝั่งประเทศไทยที่เดียว คือ เดินทางจากบ้านภูมิซรอลไปไม่ไกลก็จะถึงเชิงเขา แล้วเดินทางขึ้นไปเรื่อยๆจนถึงลานหินหน้าทางขึ้นตัวปราสาท ลานหินนี้กว้างขวางพอสมควร

ก่อน ๖๐ ปีย้อนหลังไม่มีถนนเข้าไป ใช้เดินเท้าข้นไปตามหนทางคนเดิน ต่อมามีคนไปขุดหินขยายทางพอรถเข้าไปได้ โดยขุดยกก้อนหินใหญ่ๆสองข้างทางออก ส่วนหินก้อนเล็กๆใช้ปูพื้นถนน รถยนต์วิ่งขึ้นไปขรุกๆขรักๆต้องค่อยๆขับไป เพราะมีความสูงชันพอสมควรขับขึ้นจอดที่ลานหินที่กล่าว

เวลาขากลับพอรถยนต์ลงมาถึง ห้วยตาเงิด ต้องให้คนลงจากรถ เพราะที่ต้องนั้นมันคดเลี้ยวเอียง ๔๐ องศา มกจะเกิดอุบัติเหตุอันตรายอยู่บ่อยๆ เป็นที่รู้กันโค้งชัน ๔๐ องศา และเชื่อกันว่าที่ตรงนั้นมีผีดุ รถยนต์ที่ดับเครื่องไว้แล้ว บางทีมันก็ไหลไปเอง

ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ เจ้าคุณพระรสสีลขันธ์ อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์นั่งรถยนต์ขึ้นไปดูปราสาทเขาพระวิหาร ตอนขากลับมาถึงห้วยตาเงิด ท่านไม่ยอมลงรถเหมือนคนอื่นๆท่านพูดว่า “เราไม่กลัวผีวิญญาณเขมรดอก พูดภาษากันรู้เรื่อง”เพราะท่านเป็นคนชาวสุรินทร์แท้แต่สักครู่หนึ่งรถยนต์ที่จอดอยู่คล้ายๆมีการสตาร์ทเครื่องเลื่อนไหลลงช้าๆท่านจึงกระโดลงจากรถ เคราะห์ดีหน่อยที่ข้างทางไม่สูง ท่านจึงไม่ได้รับอันตรายร้ายแรง เพียงแค่เจ็บขาข้างหนึ่ง ขาบวม นำท่านลงไปพักรักษาใช้ยาประคบ ที่วัดมหาพุทธาราม (วัดพระโต) ในเมืองศรีสะเกษหลายวัน เมื่อขาหายบวมแล้วท่านจึงขึ้นรถไฟกลับจังหวัดสุรินทร์

สมัยเมื่อยังไม่มีถนนลาดยาง เราสามารถขับขี่รถยนต์ขึ้นไปจอดที่ลานหิน ตรงหน้าทางขึ้นตัวปราสาท จอดรถยนต์ได้หลายคัน แต่เมื่อทำถนนลาดยางแล้วมีการกั้นด่านหรือตั้งด่านเก็บเงิน มีร้านค้าขายของ และต้องจอดรถไว้ข้างล่าง ต้องเดินเท้าขึ้นไปเกือบ ๒ กิโลเมตร จึงจะถึงลานหิน ข้ามร่องน้ำสระตราวไป ๒ เมตร มีร้านขายของที่ระลึกเขมร (อยู่ในพื้นที่ของไทย) ไม่ทราบว่าเป็นความคิดและเป็นการกระทำของใคร

ส่วนทางขึ้นฝั่งกัมพูชาไม่มี แต่มีช่องเล็กๆอยู่ช่องหนึ่งเรียกว่า ช่องบันไดหัก อยู่หน้าผาสูงชันมาก ถ้าคนจะขึ้นทางช่องบันไดหัก ต้องใช้เถาวัลย์หรือเชือกจับพยุงตัวห้อยโหนขึ้นไป เพราะชะง่อนเขาที่ตั้งปราสาทเขาพระวิหารสูงชันมาก ถ้าเราไปยืนที่ เป้ยตาดี ใกล้ๆปราสาทหลังที่ ๔ จะมองลงไปเห็นแผ่นดินกัมพูชาผ่านเมฆหมอกหลิวๆ

 

เขมรขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

ตามที่เราได้ทราบข่าวในภายหลังว่า เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๐ ประเทศเขมรได้รายงานเสนอต่อ องค์การยูเนสโก้ เพื่อขอจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก คณะกรรมการมรดกโลก (ประกอบด้วยผู้แทนต่างประเทศต่างๆ) ได้ประชุมที่เมืองไครเชิร์ซ ประเทศนิวซีแลนด์ แต่คณะกรรมการมรดกโลกยังไม่มีมติยอมรับ เพราะที่ตั้งตัวปราสาทเขาพระวิหาร มันคาบเกี่ยวทับซ้อนกับฝ่ายไทย ต้องให้ไทยเห็นชอบด้วย คือ ต้องไปทำการพิจารณากับฝ่ายไทย แล้วจัดทำแผนผังขึ้นให้ไทยร่วมลงนาม เรื่องนี้คนไทยส่วนมากไม่ได้รับรู้มากนักนอกจากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเท่านั้น

ครั้นอยู่ ๆ ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ข่าวที่ประเทศกัมพูชาจะเสนอขอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ก็ออกมาเป็นระยะ ๆ หรือเป็นช่วง ๆ เริ่มตั้งแต่นายสมัคร  สุนทรเวชนายกรัฐมนตรีไปเยือนเขมร ต่อมานายนภดล  ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย ได้ติดต่อกับฝ่ายกัมพูชาหลายครั้ง จนกระทั่งได้ไปประชุมตกลงกันที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จนถึงกลางเดือนมิถุนายน ๒๕๕๑ ได้นำเรื่องนี้เสนอความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐบาลไทยได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมเห็นชอบในแผนที่ (ที่จริงต้องแผนผัง) ตามที่ฝ่ายกัมพูชาจัดทำขึ้น และเรื่องนี้ นายนภดล  ปัทมะ ถือว่าเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของตนด้วย และคณะกรรมการมรดกโลก จะจัดให้มีการประชุมกันที่ เมืองควิเบก ประเทศแคนนาดา ในระหว่างวันที่ ๒-๙ กรกฎาคม ๒๕๕๑ นี้

เมื่อข่าวดังกล่าวแพร่ออกมาสู่สาธารณะ ทำให้คนไทยทุกภาคส่วนมีความวิตกกังวลมากเกรงว่าจะเป็นการเสียดินแดนในสถานที่เดียวกันนี้เป็นครั้งที่ ๒ นักวิชาการได้ออกมาแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง นักการเมืองฝ่ายค้านได้ไปอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรอย่างเผ็ดร้อน มีการยื่นต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอความคุ้มครองชั่วคราว ข่าวเกี่ยวกับปราสาทเขาพระวิหาร ขณะนี้สื่อมวลชนทุกแขนง ได้โหมประโคมต่อเนื่องทุกวัน

 

บทวิเคราะห์สรุป

นับตั้งแต่มหาอำนาจฝรั่งเศสเข้ามาล่าอาณานิคม และยึดเอาประเทศกัมพูชาเป็นเมืองขึ้น ประเทศสยามหรือประเทศไทย ได้มีการพิพาทบาดหมางกับฝรั่งเศสหลายครั้ง สมัยรัชกาลที่ ๕ ได้เสียดินแดนมณฑลบูรพา คือ เสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ เกาะกง เพื่อแลกเปลี่ยนเอาจังหวัดจันทบุรี ตราดไว้

การพิพาทดินแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส มีการพัฒนาตามลำดับ แม้ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว ก็ยังมีการพิพาทกันอยู่หลายครั้ง ได้ประชุมกัน จัดทำบันทึกข้อตกลงบ้าง อนุสัญญาบ้าง สนธิสัญญาบ้าง และสนธิสัญญาที่คนไทยสนใจมาก หรือน่าสนใจมาก คือ สนธิสัญญาโตเกียว (พ.ศ. ๒๔๔๗) และอนุสนธิสัญญาโตเกียวที่แก้ไขสนธิสัญญาดังกล่าว พ.ศ. ๒๔๕๐ ต่อจากนี้ก็ยังมีการทำอนุสนธิสัญญาอีกหลายครั้ง จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ฝรั่งเศสยอมคืนดินแดนมณฑลบูรพาให้แก่ไทยบางส่วน คือ จังหวัดพระตะบองและพิบูลสงคราม แต่ไทยต้องเสียดินแดนดังกล่าวอีกจนถึงทุกวันนี้

ในที่นี้ผู้เขียนไม่มีความประสงค์จะกล่าวถึง บันทึกข้อตกลง อนุสนธิสัญญา สนธิสัญญา ที่ล่วงเลยมาแล้ว ท่านผู้มีความต้องการอยากรู้ ให้ไปค้นหาอ่านเอง แต่ขอบอกว่าหาได้ยากมาก เพราะไม่มีการพิมพ์แพร่หลาย

ที่จะวิเคราะห์บทสรุป กรณีประเทศกัมพูชาเสนอต่อองค์การยูเนสโก้ เพื่อขอจดทะเบียนเป็นมรดกโลกนี้ (พ.ศ. ๒๕๕๑) ผู้เขียนขอย้ำคำพังเพยโบราณภาคอีสานอีกว่า

“หนุ่งผ้าลายหมาเห่า

เว้าความเก่าผิดกัน”

 

เรื่องเกี่ยวกับปราสาทเขาพระวิหารนี้ ไทยกับกัมพูชาได้พิพาทกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ที่ประเทศกัมพูชาฟ้องต่อศาลโลก และศาลโลกได้ตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหาร ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกัมพูชาในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ มันล่วงเลยหรือผ่านมานานเกือบ ๕๐ ปีแล้ว

ดังนั้นการนำเรื่องเก่ามาพูดกันอีก มันจะต้องทะเลาะกัน อย่างแน่นอน ถ้าทั้งสองฝ่ายพูดกันไม่รู้เรื่อง และไม่สามารถตกลงกันได้ สัมพันธไมตรีระหว่างไทย-กัมพูชา อาจจะถึงขาดสะบั้นลงได้ง่ายๆต้องคอยดูกันต่อไป

๑.กรณีชาวกัมพูชาเข้ามาตั้งร้านค้าขายของอยู่ในดินแดนไทย ตรงทางขึ้นบันไดปราสาทเขาพระวิหารมาหลายปีแล้วนั้น ใครหรือหน่วยงานใดเป็นผู้ยินยอมอนุญาต ชาวกัมพูชาสร้างร้านค้าเองหรือใครสร้างให้ ตั้งแต่เมื่อไร มีผลประโยชน์ซ่อนเร้นแอบแฝงหรือไม่

สมมุติว่า ปราสาทเขาพระวิหารได้จดทะเบียนขึ้นเป็นมรดกโลกแล้วจริง ฝ่ายไทยเราจะมีความสามารถผลักดัน ให้ชาวกัมพูชารื้อถอนร้านค้าย้ายออกไปได้หรือไม่ ผู้เขียนขอฟันธงลงไปเลยว่า ยากมาก ยังไงๆ เขาก็ต้องดื้อต่อสู้แน่นอน

๒.กรณีพื้นที่ทับซ้อน ๔.๖ ตารางกิโลเมตรบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร ที่นายนภดล  ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกแล้ว ต่อจากนั้น ๒ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๓) ไทยกับกัมพูชาจะร่วมกันพัฒนาพื้นที่นั้นเพื่อผลประโยชน์ทั้งสองประเทศ อันนี้ก็เป็นปัญหา

สมมุติว่า ปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกแล้ว จะแบ่งพื้นที่ทับซ้อนอย่างไร เพราะในพื้นที่ทับซ้อน ๔.๖ ตารางกิโลเมตรนั้น ยังไม่มีแผนที่แบ่งเขตแดน ยังไม่มีการปักหลักแบ่งเขตแดนเลย ในการเจรจาฝ่ายกัมพูชาเป็นต่อแน่ โดยเขาจะอ้างเป็นมรดกโลก

ถ้าหากรัฐบาลไทยดำเนินการ ๒ กรณีให้เสร็จสิ้นเรียบร้อย คือ ให้ชาวกัมพูชาที่ตั้งร้านค้าขายของออกไป และจัดทำแผนที่ปักหลักเขตแดนในพื้นที่ทับซ้อนเป็นที่แน่นอนเสียก่อนจะสนับสนุนให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ก็ไม่มีปัญหา

ที่ประชาชนชาวไทยหลายฝ่ายออกมาคัดค้าน เพราะมีความวิตกกังวล รัก หวงแหน ผืนแผ่นดิน บทเรียนจากการสูญเสียปราสาทเขาพระวิหาร มันทำให้คนไทยเจ็บปวดที่สุดแล้ว ไม่อยากให้มันเกิดซ้ำอีก

๓.มั่นใจหรือเชื่อได้มากน้อยแค่ไหนว่า กรณีที่กล่าวถึงอยู่นี้ ฝ่ายกัมพูชาคิดและดำเนินการเอง โดยไม่มีใครหรือประเทศใดเป็นมือที่สาม สนับสนุนช่วยเหลืออยู่เบื้องหลัง ที่ไทยเราต้องสูญเสียปราสาทเขาพระวิหาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕ นั้น ก็เพราะยึดถือแผนที่คนละฉบับมิใช่หรือ และประเทศมหาอำนาจใดอยู่เบื้องหลังก็รู้ๆอยู่มิใช่หรือ

ความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศเพื่อนบ้านเป็นสิ่งจำเป็นเหมือนกัน แต่อำนาจอธิปไตยเหนือเขตแดนสำคัญกว่า จึงจำเป็นที่ประชาชนชาวไทยต้องรวมตัวขึ้นต่อสู้ ผืนแผ่นดินไทยที่เรามีอยู่ จะให้สูญเสียไปแม้แต่ตารางนิ้วเดียวไม่ได้เด็ดขาด

๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๑

 

.................................................................

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 





ภาพเตรียมใช้
โครงการศาสนทายาท4ตำบล เตรียมงานวันบวช30มี.ค.2551
โครงการศาสนทายาท4ตำบลถวายเป็นพระราชกุศล
วัตถุมงคลไตรรัตนานุภาพ หลวงพ่อโตรุ่นโตรวย โตเศรษฐี
เรียงความออนไลน์กิติมศักดิ์ ของ อาจารย์พัชรา กอปรทศธรรม
สำนวนที่ 1 ของนายกวี เดชสมฤทธิ์ฤทัย ร.ร. กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
บทสวดมนต์แปล คำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรนเช้า ทำวัตรเย็น
บทสวดมนต์แปล คำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น 2
The Beginning ความเป็นมาของโครงการชมรมยุวพุโธโลยีเพื่อการศึกษาและปฏิบัติธรรม
จดหมายเปิดผนึกถึงเจ้าคณะตำบลทั่วประเทศ จากกองทัพธรรม
บันทึกความเคลื่อนไหวของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข article
ประชาธิปไตยสงฆ์ article
ประชาธิปไตย มาจากหลักพระพุทธศาสนา
ดวงชะตาประเทศไทยและดวงชะตาพล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชะ นักการเมือง นับแต่ ก.ย.2562 ไปนี้
ฮินดูมองพุทฅธศาสนาเป็๋นโจร
สืบทอดปณิธานพุทโธโลยีหลวงปู่เครื่อง โครงการศาสนทายาทคณะสงฆ์ศรีสะเกษ
สืบทอดปณิธานพุทโธโลยีหลวงปู่เครื่อง
การประชุมกลุ่มตำบลอี่หล่ำ กับ อีก 3 ตำบล
เรื่องเดิม การประชุม เรื่องยุทธศาสตร์ศาสนทายาท ปี 2552
ภาพเหตุการณ์ เรื่องราวเกี่ยวกับศาสนทายาท การประชุมคณะศิษยานุศิษย์ ฯลฯ
สถานการณ์ตึงเครียด ทุกฝ่ายต้องมีเหตุผล และรอบรู้ประวัติศาสตร์
รัฐประหารไทยผ่านมา 3 ปีประชาชนผู้รักประชาธิปไตยจะทำอย่างไรกับพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ?
ทำไมรัฐบาลอภิสิทธิ์และคณะผู้ปกครองไทยจึงไม่คิดใช้วิธีการประชาธิปไตยมาจัดการกับปัญหาทางการเมืองและการบริหารที่กำลังสับสนและเสี่ยงต่อหายนะของประเทศชาติอยู่ในขณะนี้ ?
กระทรวงศึกษาธิการทำอะไร? สอนอะไร?(มีแต่เพศสัมพันธ์ นักเรียนมั่วเต็มเมือง)
Chart Showing the Process
เบื้องต้นของโหราศาสตร์ ควรเข้าใจโหราศาสตร์อย่างไร?
รวมลิ้งค์คอลัมน์เฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้วHomepage
รวมลิ้งค์จากบทนำ Homepage
บันทึกแนวคิดโหราศาสตร์เรื่องประหลาดของข้าพเจ้า สิทธิชัย ทาสัก
นี่หรือทหาร?
ทหารยุคพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดาเป็น ผบ.ทบ.ได้ทำลายศักดิ์ศรีของทหารไทยลงอย่างราบเรียบ
หน้าทำการแปล ไทย- อังกฤษ ฯลฯ



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
----- ***** ----- โปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate นี่คือเวบไซต์คู่ www.newworldbelieve.com กับ www.newworldbelieve.net เราให้เป็นเวบไซต์ที่เสนอธรรมะหรือ ความจริง หรือ ความคิดเห็นในเรื่องราวของชีวิต ตั้งใจให้ธัมมะเป็นทาน ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แด่คนทั้งหลาย ทั้งโลก ให้ได้รู้ความจริงของศาสนาต่าง ๆในโลกวันนี้ และได้รู้ศาสนาที่ประเสริฐเพียงศาสนาเดียวสำหรับโลกยุคใหม่ จักรวาลใหม่ เรามีผู้รู้ ผู้ตรัสรู้ ผู้วินิจฉัยสรรพธรรมสรรพวิชชา สรรพศาสน์ และสรรพศาสตร์ พอชี้ทางสู่โลกใหม่ ให้ความสุข ความสบายใจความมีชีวิตที่หลุดพ้นไปสู่โลกใหม่ เราได้อุทิศเนื้อที่ทั้งหมดเป็นเนื้อที่สำหรับธรรมะทั้งหมด ไม่มีการโฆษณาสินค้า มาแต่ต้น นับถึงวันนี้ร่วม 14 ปีแล้ว มาวันนี้ เราได้สร้างได้ทำเวบไซต์คู่นี้จนได้กลายเป็นแดนโลกแห่งความสว่างไสว เบิกบานใจ ไร้พิษภัย เป็นแดนประตูวิเศษ เปิดเข้าไปแล้ว เจริญดวงตาปัญญาละเอียดอ่อน เห็นแต่สิ่งที่น่าสบายใจ ที่ผสานความคิดจิตใจคนทั้งหลายด้วยไมตรีจิตมิตรภาพล้วน ๆ ไปสู่ความเป็นมิตรกันและกันล้วน ๆ วันนี้เวบไซต์นี้ ได้กลายเป็นโลกท่องเที่ยวอีกโลกหนึ่ง ที่กว้างใหญ่ไพศาล เข้าไปแล้วได้พบแต่สิ่งที่สบายใจมีความสุข ให้ความคิดสติปัญญา และได้พบเรื่องราวหลายหลากมากมาย ที่อาจจะท่องเที่ยวไปได้ตลอดชีวิต หรือท่านอาจจะอยากอยู่ณโลกนี้ไปชั่วนิรันดร ไม่กลับออกไปอีกก็ได้ เพียงแต่ท่านเข้าใจว่านี่เป็นแดนต้นเรื่องเป็นด่านข้ามจากแดนโลกเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง และซึ่งเป็นโลกหรือบ้านของท่านทั้งหลายได้เลยทีเดียว ซึ่งสำหรับคนต่างชาติ ต่างภาษาต่างศาสนา ได้โปรดใช้การแปลของ กูเกิล หรือ Google Translate แปลเป็นภาษาของท่านก่อน ที่เขาเพิ่งประสบความสำเร็จการแปลให้ได้แทบทุกภาษาในโลกมนุษย์นี้แล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้เอง นั้นแหละเท่ากับท่านจะเป็นที่ไหนของโลกก็ตาม ทั้งหมดโลกประมาณ 7.6 พันล้านคนวันนี้ สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในโลกของเราได้เลย เราไม่ได้นำท่านไปเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่การนำไปสู่ความจริง ความรู้เรื่องชีวิตใหม่ การอุบัติใหม่สู่ภาวะอริยบุคคล ไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปพ้นจากทุกข์ ทั้งหลายไปสู่โลกแห่งความสุขแท้นิรันดร คือโลกนิพพานขององค์บรมศาสดาพุทธศาสนา พระบรมครูพุทธะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ท่านโปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate ท่านก็จะเข้าสู่โลกนี้ได้ทันทีพร้อมกับคน7.6พันล้านคนทั้งโลกนี้. ----- ***** ----- • หมายเหตุ เอาขึ้นเวบไซต์ แทนของเดิม ทั้ง 2 เวบ .net .com วันที่ 21 เม.ย. 2565 เวลา 07.00 น. -----*****-----