ReadyPlanet.com
dot
dot dot
bulletBUDDHISM TO THE NEW WORLD ERA
dot
พระพุทธเจ้า
dot
bulletบทศึกษาพิเศษ:พระพุทธเจ้า ศึกษาจากวันวิสาขบูชา วันสำคัญของโลก
bulletคำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรนแปล เช้า- เย็น
bulletคำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรแปล เช้า-เย็น อัพเดต
dot
พุทโธโลยี
dot
bulletสมาคมศิษย์หลวงปู่เครื่อง จัดประกวดเรียงความออนไลน์มัธยมศึกษาในวันวิสาขบูชา คลิกดูรายละเอียดและรางวัลที่นี่
dot
ชมรมยุวพุทโธโลยีเพื่อการศึกษาและปฏิบัติธรรม
dot
bulletThe Beginning ความเป็นมาของโครงการชมรมยุวพุโธโลยีเพื่อการศึกษาและปฏิบัติธรรม
bulletChart Showing the Process
dot
บุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี พ.ศ.2540 - 2566
dot
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 1
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 2
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี บุคคลที่ 1 - 188 ปัจจุบัน
bulletหนังสือพิมพ์ดี
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 1
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 2
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 3
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 4
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 5
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 6
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 7
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 8
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 9
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 10
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 11
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 12
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 13
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 14
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 15
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 16
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 17
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 18
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 19
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 20
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 21
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 22
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 23
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 24
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 25
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 26
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 27
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 28
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 29
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 30
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 31
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 32
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 33
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 34
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 35
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 36
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 37
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 38
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 39
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 40
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 41
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 42
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 43
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 44
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 45
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 46
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 47
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 48
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 49
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 50
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 51
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 52
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 54
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 55
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 56
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 57
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 58
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 59
dot
To The World
dot
bulletENGLISH
bulletUSA
bulletChina
bulletIndia
bullet Mynmar
bullet Cambodia
bullet Loas
bulletSri Lanka
bulletMalaysia
bulletKorea
bulletA Sharp Turn of Believes : Iresearch Iwrite Iread
dot
Buddhism How? บันทึกของนักปฏิบัติธรรมผู้ถวายชีวิตพิศูจน์สัจธรรมพุทธให้รู้แจ้งเห็นจริงถึงระดับมรรคผลนิพพานแท้
dot
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 1
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 2
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 3
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 4
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 5
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 6
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 7
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 8
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 9
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 10
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 11
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 12
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 13
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 14
bulletMystery Report 15
bulletMystery Report 16
bulletMystery Report 17
bulletMystery Report 18
bulletMystery Report 19
bulletMystery Report 20
bulletMystery Report 21
bulletMystery Report 22
bulletMystery Report 23
bulletMystery Report 24
bulletMystery World Report 25
bulletศึกษาโลกลี้ลับ 26
dot
เฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว วิเคราะห์ทุกปัญหาในโลกมนุษย์ด้วยสติปัญญาและเหตุผลวิทยาศาสตร์จากนสพ.ดี
dot
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2536
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2537
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2538
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2539
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2540
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2541
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2542
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2543-2545
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2545-2549
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2549-2550
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2550-ส.ค.2551
bulletเฝ้าดูฯ ส.ค.-ก.ย.2551
bulletเฝ้าดูฯ ก.ย.2551- ธ.ค. 2551
dot
เฝ้าดูฯสำนวนพัชรา กอปรทศธรรม
dot
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 16-27
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 29
bulletบทความใหม่ เม.ย.-พ.ค.2552
bulletพุทธธรรมเพื่อทางดับทุกข์
bulletทฤษฎีการดับทุกข์ทางจิต วิปัสสนากรรมฐานโดยการทำงาน(สำนวนปรับปรุงใหม่)
bulletประวัติพัชรา กอปรทศธรรม
bulletประวัติการต่อสู้เพื่อการดับทุกข์ ของพัชรา กอปรทศธรรม
bulletอัลบั้มรูป history
bulletนิทานธรรมะประยุกต์ มานุสสาสุระสงคราม 4 ภาค และอื่น ๆ
bulletอัลบั้มรูป ภาพในอดีตและชีวประวัติศาสตร์ที่สวยงาม
bulletจากเวบบอร์ด พูดกันไม่รู้เรื่อง ประชาธิปไตยล้าหลัง
bulletศาสนาสากล การวิเคราะห์ความหมาย
bulletปลอบใจ
dot
รวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์ แนวปฏิรูปคณะสงฆ์อยู่ในบทวิเคราะห์นี้แล้ว
dot
bulletรวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์
dot
สากลจักรวาล สากลศาสนา แนวคิดศาสนาสำหรับคนยุคใหม่ ผู้ก้าวผิดทางไปสู่สิ่งไร้สาระโดยไม่รู้ตัว
dot
bulletสากล...ศาสนา 1
bulletสากล...ศาสนา 2
bulletสากล...ศาสนา 3
bulletสากล...ศาสนา 4
bulletสากล...ศาสนา 5
bulletสากล...ศาสนา 6
bulletสากล...ศาสนา 7
bulletสากล...ศาสนา 9
bulletสากล...ศาสนา 8
bulletสากล...ศาสนา 10
bulletสากล...ศาสนา 11
bulletสากล...ศาสนา 12
bulletสากล...ศาสนา 13
bulletสากล...ศาสนา 14
bulletสากล...ศาสนา 16
dot
ส่วนข้อมูลสำคัญเพื่อการวิจัยการเมืองไทยยุค คมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
dot
bulletข้อมูลสำคัญยุคคมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่1/26ส.ค.2551
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่2/27ส.ค.2551
bulletใบปลิว อีเมล์ ในหลวงทรงร้องไห้
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 1
bulletในหลวงเพิ่งทราบข่าวฆ่าประชาชน10เมย.53ทรงร้องไห้
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
dot
รวมข่าวม็อบการเมืองสนธิ-จำลอง-ปชป.มิ.ย.51-เม.ย.52 นสพ.
dot
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 2
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 3
bulletรวมข่าวม็อบ30มิ.ย.51-23มี.ค.52
bulletเลือดศรีสะเกษบันทึกเรื่องราวรอบด้านเกี่ยวกับเขาพระวิหาร
dot
การโฆษณาชวนเชื่อล้มรัฐบาลทักษิณ
dot
bulletรายงานการโฆษณาชวนเชื่อในประเทศไทยที่ล้มล้างรัฐบาลทักษิณ
dot
หนังสือพิมพ์ดี ของฟรีให้เปล่ามา20ปีแล้วทั้งเอกสารและอินเทอเนท
dot
bulletหนังสือพิมพ์ดี ( อินเทอเนต ) เล่ม 1 - 44 - ล่าสุด
bulletหน้าที่เก็บไว้
bulletมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร)
bulletวัดมหาพุทธาราม ศรีสะเกษ บันทึกเหตุการณ์
bulletสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดศรีสะเกษแห่งที่ 1
bulletเกี่ยวกับเวบไซต์ของเรา เราทำเพื่อปัญญาชนโดยแท้
bulletรวมกระทู้เด็ดจากกระดานถามตอบ
bulletคาถาอาคมไสยศาสตร์
bulletกวีนิพนธ์ใหม่
bulletศูนย์ปฏิญญาณละเลิกอบายมุข บัญชีที่ 1- 4


บทสวดมนต์แปล คำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรนเช้า ทำวัตรเย็น

 

คำบูชาพระรัตนตรัย

§§§§§§§§§§§§§§§§§§§§§§§§

 

 

โย  โส  ภะคะวา  อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ ,

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น  พระองค์ใด , เป็นพระอรหันต์ , ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง  ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

สวากขาโต  เยนะ  ภะคะวะตา  ธัมโม ,

พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า  พระองค์ใด , ตรัสไว้ดีแล้ว 

สุปะฏิปันโน  ยัสสะ  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ ,

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า  พระองค์ใด , ปฏิบัติดีแล้ว

ตัมมะยัง  ภะคะวันตัง  สะธัมมัง  สะสังฆัง , อิเมหิ  สักกาเรหิ  ยะถาระหัง  อาโรปิเตหิ  อะภิปูชะยามะ ,

ข้าพเจ้าทั้งหลาย , ขอบูชาอย่างยิ่ง , ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น , พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ , ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้ , อันยกขึ้นตามสมควรแล้วอย่างไร

สาธุ  โน  ภันเต  ภะคะวา  สุจิระปะรินิพพุโตปิ ,

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ , พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานนานแล้ว , ทรงสร้างคุณอันสำเร็จประโยชน์ไว้แก่ข้าพเจ้า

ปัจฉิมา  ชะนะตานุกัมปะมานะสา ,

        ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์แก่พวกข้าพเจ้าอันเป็นชนรุ่นหลัง

อิเม  สักกาเร  ทุคคะตะปัณณาการะภูเต  ปะฏิคคัณหาตุ ,

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า  จงรับเครื่องสักการะ  อันเป็นบรรณาการของคนยากทั้งหลายเหล่านี้

อัมหากัง  ทีฆะรัตตัง  หิตายะ  สุขายะ ,

        เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายตลอดกาลนานเทอญ

อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  ภะคะวา ,

พระผู้มีพระภาคเจ้า , เป็นพระอรหันต์ , ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง , ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

พุทธัง  ภะคะวันตัง  อะภิวาเทมิ ,

        ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า  ผู้รู้  ผู้ตื่น  ผู้เบิกบาน

(กราบ)

สวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม ,

        พระธรรม  เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า , ตรัสไว้ดีแล้ว

ธัมมัง  นะมัสสามิ ,

        ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม

(กราบ)

สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ ,

        พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า , ปฏิบัติดีแล้ว

สังฆัง  นะมามิ ,

        ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์

(กราบ)

 

 

 

ทำวัตรเช้า

§§§§§§§§§§§§§§§§§§§§§§§§§§§§

 

(หันทะ  มะยัง  พุทธัสสะ  ภะคะวะโต  ปุพพะภาคะนะมะการัง  กะโรมะ  เส)

 

นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต ,               ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

                                                                        พระองค์นั้น

อะระหะโต ,                                 ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส

สัมมาสัมพุทธัสสะ ,                                ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

(   ครั้ง)

 

 

๑. พุทธาภิถุติง

( หันทะ  มะยัง  พุทธาภิถุติง  กะโรมะ  เส )

โย  โส  ตะถาคะโต ,                   พระตถาคตเจ้านั้น  พระองค์ใด

อะระหัง ,                                เป็นผู้ไกลจากกิเลส

สัมมาสัมพุทโธ ,                                เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

วิชชาจะระณะสัมปันโน ,              เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

สุคะโต ,                                  เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี

โลกะวิทู ,                                 เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง

อนุตตะโร  ปุริสะทัมมะสาระถิ ,      เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้

                                                                  อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า

สัตถา  เทวะมะนุสสานัง ,             เป็นครูผู้สอน  ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

พุทโธ ,                                   เป็นผู้รู้  ผู้ตื่น  ผู้เบิกบานด้วยธรรม

ภะคะวา ,                                        เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่ง

                                                                  สั่งสอนสัตว์

โย  อิมัง  สะเทวะกัง  สะมาระกัง  สะพรหมมะกัง , สัสสะมะณะ

พราหมะณิง  ปะชัง  สะเทวะมะนุสสัง  สะยัง  อะภิญญา  สัจฉิกัตวา  ปะเวเทสิ ,

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด , ได้ทรงทำความดับทุกข์ให้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว , ทรงสอนโลกนี้พร้อมทั้งเทวดา , มาร , พรหม  และหมู่สัตว์  พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ , พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม

โย  ธัมมัง  เทเสสิ ,                     พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด , ทรงแสดงธรรมแล้ว

อาทิกัลยาณัง ,                           ไพเราะในเบื้องต้น

มัชเฌกัลยาณัง ,                         ไพเราะในท่ามกลาง

ปะริโยสานะกัลยาณัง ,                 ไพเราะในที่สุด

สาตถัง  สะพยัญชะนัง  เกวะละปะริปุณณัง  ปะริสุทธัง  พรหมะจะริยัง  ปะกาเสสิ ,

ทรงประกาศพรหมจรรย์  , คือแบบแห่งการปฏิบัติ  , อันประเสริฐบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง , พร้อมทั้งอรรถ (คำอธิบาย)  , พร้อมทั้งพยัญชนะ (หัวข้อ)

ตะมะหัง  ภะคะวันตัง  อะภิปูชะยามิ ,

      ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง  เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ตะมะหัง  ภะคะวันตัง  สิระสา  นะมามิ ,

       ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ด้วยเศียรเกล้า

 

(กราบระลึกพระพุทธคุณ)

 

๒. ธัมมาภิถุติง

( หันทะ  มะยัง  ธัมมาภิถุติง  กะโรมะเส )

โย  โส  สวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม ,

พระธรรมนั้นใด , เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว

     สันทิฏฐิโก ,              เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง

อะกาลิโก ,               เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้  และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล

เอหิปัสสิโก ,             เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า  ท่านจงมาดูเถิด

โอปะนะยิโก ,            เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว

ปัจจัตตัง  เวทิตัพโพ  วิญญูหิ ,               เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน

ตะมะหัง  ธัมมัง  อะภิปูชะยามิ ,             ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง  เฉพาะพระธรรมนั้น

ตะมะหัง  ธัมมัง  สิระสา  นะมามิ ,          ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้น  ด้วยเศียรเกล้า

 

(กราบระลึกพระธรรมคุณ)

 

.สังฆาภิถุติง

( หันทะ  มะยัง  สังฆาภิถุติง  กะโรมะ  เส )

โย  โส  สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ ,

            สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า  หมู่ใด , ปฏิบัติดีแล้ว

อุชุปฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ ,

            สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า  หมู่ใด , ปฏิบัติตรงแล้ว

ญายะปฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ ,

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า  หมู่ใด , ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว

สามีจิปฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ ,

            สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า  หมู่ใด , ปฏิบัติสมควรแล้ว

ยะทิทัง ,                        

    ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ

จัตตาริ  ปุริสะยุคานิ  อัฏฐะ  ปุริสะปุคคะลา ,

            คู่แห่งบุรุษ คู่* นับเรียงตัวบุรุษ  ได้ บุรุษ

เอสะ  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ ,     

      นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

อาหุเนยโย ,                      เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา

ปาหุเนยโย ,                     เป็นสฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ

ทักขิเณยโย ,                     เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน

อัญชลีกะระณีโย ,               เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี

อะนุตตะรัง  ปุญยักเขตตัง  โลกัสสะ ,      

เป็นเนื้อนาบุญของโลก , ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

ตะมะหัง  สังฆัง  อะภิปูชะยามิ ,            

ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง  เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น

ตะมะหัง  สังฆัง  สิระสา  นะมามิ ,     

     ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้น  ด้วยเศียรเกล้า

 

( กราบระลึกพระสังฆคุณ )

 

{{{{{{{{

 

* คู่  คือ  โสดาปัตติมรรค , โสดาปัตติผล , สกิทาคามิมรรค , สกิทาคามิผล  อนาคามิมรรค , อนาคามิผล ,  อรหัตตมรรค , อรหัตตผล

 

{{{{{{{{

 

๔.รตนัตตยัปปณามคาถา

( หันทะ  มะยัง  ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย  เจวะ

สังเวคะปะริกิตตะนะปาฐัญจะ  ภะณามะ  เส )

พุทโธ  สุสุทโธ  กะรุณามะหัณณะโว ,

        พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์  มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณนพ

โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน ,

        พระองค์ใด  มีตาคือญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด

โลกัสสะ  ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก ,

        เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาป  และอุปกิเลสของโลก

วันทามิ  พุทธัง  อะหะมาทะเรนะตัง ,

        ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น  โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ

ธัมโม  ปะทีโป  วิยะ  ตัสสะ  สัตถุโน ,

        พระธรรมของพระศาสดา  สว่างรุ่งเรืองเปรียบดวงประทีป

โย  มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก ,

        จำแนกประเภทคือ  มรรค  ผล  นิพพาน  , ส่วนใด

โลกุตตะโร  โย  จะ  ตะทัตถะทีปะโน ,

        ซึ่งเป็นตัวโลกุตตระ , และส่วนใดที่ชี้แห่งแนวโลกุตระนั้น

วันทามิ  ธัมมัง  อะหะมาทะเรนะ  ตัง ,

        ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น  โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ

สังโฆ  สุเขตตาภยะติเขตตะสัญญิโต ,

        พระสงฆ์เป็นนาบุญอันยิ่งใหญ่กว่านาบุญอันดีทั้งหลาย

โย  ทิฏฐะสันโต  สุคะตานุโพธะโก ,

        เป็นผู้เห็นพระนิพพาน , ตรัสรู้ตามพระสุคต , หมู่ใด

โลลัปปะหีโน  อะริโย  สุเมธะโส ,

        เป็นผู้ละกิเลสเครื่องโลเล  เป็นพระอริยเจ้า  มีปัญญาดี

วันทามิ  สังฆัง  อะหะมาทะเรนะตัง ,

        ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น  โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ

อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง , วัตถุตตะยัง  วันทะยะตาภิสังขะตัง , ปุญญัง  มะยา  ยังมะมะ  สัพพุปัททะวา , มา  โหนตุ  เว  ตัสสะ  ปะภาวะสิทธิยา ,

บุญใด  ที่ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งวัตถุสาม , คือพระรัตนตรัย  อันควรบูชายิ่งโดยส่วนเดียว ,ได้กระทำแล้วเป็นอย่างยิ่งเช่นนี้ , ขออุปัทวะทั้งหลาย , จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย , ด้วยอำนาจความสำเร็จอันเกิดจากบุญนั้น

 

.  สังเวคปริกิตตนปาฐะ

อิธะ  ตะถาคะโต  โลเก  อุปปันโน ,

        พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้

อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ ,

        เป็นผู้ไกลจากกิเลส , ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

ธัมโม  จะ  เทสิโต  นิยยานิโก ,

        และพระธรรมที่ทรงแสดง  เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์

อุปะสะมิโก  ปะรินิพพานิโก ,

        เป็นเครื่องสงบกิเลส , เป็นไปเพื่อปรินิพพาน

สัมโพธะคามี  สุคะตัปปะเวทิโต ,

        เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม , เป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ

มะยันตัง  ธัมมัง  สุตวา  เอวัง  ชานามะ ,

        พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว , จึงได้รู้อย่างนี้ว่า

ชาติปิ  ทุกขา  ,                             แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์

ชะราปิ  ทุกขา ,                             แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์

มะระณัมปิ  ทุกขัง ,                                แม้ความตายก็เป็นทุกข์

โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ  ทุกขา ,

แม้ความโศก  ความร่ำไรรำพัน  ความไม่สบายกายความไม่สบายใจ  ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์

อัปปิเยหิ  สัมปะโยโค  ทุกโข ,            ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่  พอใจ  ก็เป็นทุกข์

ปิเยหิ  วิปปะโยโค  ทุกโข ,                ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่                                                                                                พอใจ  ก็เป็นทุกข์

ยัมปิจฉัง  นะ  ละภะติ  ตัมปิ  ทุกขัง , 

มีความปรารถนาสิ่งใด  ไม่ได้สิ่งนั้น

นั่นก็เป็นตัวทุกข์

สังขิตเตนะ  ปัญจุปาทานักขันธา  ทุกขา ,      

                                        ว่าโดยย่อ  อุปาทานขันธ์ทั้ง   เป็นตัวทุกข์

เสยยะถีทัง ,                         ได้แก่สิ่งเหล่านี้  คือ

รูปูปาทานักขันโธ ,                  ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือรูป

เวทะนูปาทานักขันโธ ,             ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือเวทนา

สัญญูปาทานักขันโธ ,              ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือสัญญา

สังขารูปาทานักขันโธ ,             ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือสังขาร

วิญญาณูปาทานักขันโธ ,           ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ  วิญญาณ

เยสัง  ปะริญญายะ ,               

เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์ เหล่านี้เอง

ธะระมาโน  โส  ภะคะวา ,        

จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น  เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่

เอวัง  พะหุลัง  สาวะเก  วิเนติ , 

        ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลายเช่นนี้  เป็นส่วนมาก

เอวัง  ภาคา  จะ  ปะนัสสะ  ภะคะวะโต  สาวะเกสุ  อะนุสาสะนี  พะหุลา ปะวัตตะติ ,

อนึ่ง  คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น , ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย , ส่วนมากมีส่วนคือการจำแนกอย่างนี้ว่า

รูปัง  อนิจจัง ,                               รูปไม่เที่ยง

เวทะนา  อนิจจัง ,                          เวทนาไม่เที่ยง

สัญญา  อนิจจา ,                            สัญญาไม่เที่ยง

สังขารา  อะนิจจา ,                         สังขารไม่เที่ยง

วิญญาณัง  อะนิจจัง ,                      วิญญาณไม่เที่ยง

รูปัง  อะนัตตา ,                             รูปไม่ใช่ตัวตน

เวทะนา  อะนัตตา ,                         เวทนาไม่ใช่ตัวตน

สัญญา  อะนัตตา ,                          สัญญาไม่ใช่ตัวตน

สังขารา  อะนัตตา ,                         สังขารไม่ใช่ตัวตน

วิญญาณัง  อะนัตตา ,                      วิญญาณไม่ใช่ตัวตน

สัพเพ  สังขารา  อะนิจจา ,                สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง

สัพเพ  ธัมมา  อะนัตตาติ ,                ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน  ดังนี้

เต (ตา) มะยัง  โอติณณามหะ ,          พวกเราทั้งหลายเป็นผู้ถูกครอบงำ แล้ว

ชาติยา ,                                      โดยความเกิด

ชะรามะระเณนะ ,                           โดยความแก่และความตาย

โสเกหิ  ปะริเทเวหิ  ทุกเขหิ  โทมะนัสเสหิ  อุปายาเสหิ ,

โดยความโศก  ความร่ำไรรำพัน  ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ  ความคับแค้นใจทั้งหลาย

ทุกโขติณณา ,                               เป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้ว

ทุกขะปะเรตา ,                              เป็นผู้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว

อัปเปวะนามิมัสสะ  เกวะลัสสะ  ทุกขักขันธัสสะ  อันตะกิริยา

ปัญญาเยถาติ ,                                

ทำไฉน  การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้  จะพึงปรากฏชัดแก่เราได้

จิระปะริพิพพุตัมปิ  ตัง  ภะคะวันตัง  สะระณัง  คะตา ,

เราทั้งหลายผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า  แม้ปรินิพพานนานแล้วพระองค์นั้น  เป็นสรณะ 

ธัมมัญจะ  สังฆัญจะ ,    

        ถึงพระธรรมด้วย  ถึงพระสงฆ์ด้วย

ตัสสะ  ภะคะวะโต  สาสะนัง  ยะถาสะติ  ยะถาพะลัง  มะนะสิกะโรมะ  อะนุปะฏิปัชชามะ ,

จักทำในใจอยู่  ปฏิบัติตามอยู่  ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น  ตามสติกำลัง

สา  สา  โน  ปะฏิปัตติ ,          

ขอให้ความปฏิบัตินั้น ของเราทั้งหลาย

อิมัสสะ  เกวะลัสสะ  ทุกขักขันธัสสะ  อันตะกิริยายะ  สังวัตตะตุ ,

        จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้เทอญ

 

(จบคำทำวัตรเช้า)

 

{{{{{{{{{{

 

(สำหรับภิกษุสามเณรสวด)

จิระปะรินิพพุตัมปิ  ตัง  ภะคะวันตัง  อุททิสสะ  อะระหันตัง  สัมมาสัมพุทธัง ,

เราทั้งหลายอุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาค , ผู้ไกลจากกิเลส , ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง  แม้ปรินิพพานนานแล้วพระองค์นั้น

สัทธา  อะคารัสมา  อะนะคาริยัง  ปัพพะชิตา ,

        เป็นผู้มีศรัทธา  ออกบวชจากเรือน  ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว

ตัสมิง  ภะคะวา  พรหมะจะริยัง  จะรามะ ,

        ประพฤติอยู่ซึ่งพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ภิกขูนัง  สิกขาสาชีวะสะมาปันนา ,

        ถึงพร้อมด้วยสิกขาและธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิตของภิกษุทั้งหลาย

ตัง  โน  พรหมะจะริยัง  อิมัสสะ  เกวะลัสสะ  ทุกขักขันธัสสะ  อันตะกิริยายะ  สังวัตตะตุ ,

ขอให้พรหมจรรย์ของเราทั้งหลายนั้น  จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้เทอญ

 

บทสวดมนต์แปล  ตังขณิกปัจจเวกขณปาฐะ

(หันทะ  มะยัง  ตังขะณิกะปัจจะเวกขะณะปาฐัง  ภะณามะ  เส)

ข้อว่าด้วยจีวร

ปะฏิสังขา  โยนิโส  จีวะรัง  ปะฏิเสวามิ ,

        เราย่อมพิจารณาโดยแยบคาย  แล้วนุ่งห่มจีวร

ยาวะเทวะ  สีตัสสะ  ปะฏิคาตายะ ,

        เพียงเพื่อบำบัดความหนาว

อุณหัสสะ  ปฏิคาตายะ ,

        เพื่อบำบัดความร้อน

ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง  ปะฏิคาตายะ ,

เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ  ยุง  ลม  แดด  และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย

ยาวะเทวะ  หิริโกปินะปะฏิจฉาทะนัตถัง ,

        และเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะ  อันให้เกิดความละอาย

 

ข้อว่าด้วยบิณฑบาต

ปฏิสังขา  โยนิโส  ปิณฑะปาตัง  ปะฏิเสวามิ ,

        เราย่อมพิจารณาโดยแยบคาย  แล้วฉันบิณฑบาต

 

เนวะ  ทะวายะ ,

        ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลิน  สนุกสนาน

นะ  มะทายะ ,

        ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเมามัน  เกิดกำลังพลังทางกาย

นะ  มัณฑะนายะ ,

        ไม่ให้เป็นไปเพื่อประดับ

นะ  วิภูสะนายะ ,

        ไม่ให้เป็นไปเพื่อตกแต่ง

ยาวะเทวะ  อิมัสสะ  กายัสสะ  ฐิติยา ,

        แต่ให้เป็นไปเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้

ยาปะนายะ ,

        เพื่อความเป็นไปได้แห่งอัตตภาพ

วิหิงสุปะระติยา ,

        เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย

พรหมพจะริยานุคคะหายะ ,

        เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์

อิติ  ปุรานัญจะ  เวทะนัง  ปะฏิหังขามิ ,

ด้วยการทำอย่างนี้  เราย่อมระงับเสียได้  ทุกขเวทนาเก่า  คือ  ความหิว

นะวัญจะ  เวทะนัง  นะ  อุปปาเทสสามิ ,

        และไม่ทำทุกขเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น

ยาตรา  จะ  เม  ภะวิสสะติ  อะนะวัชชะตา  จะ  ผาสุวิหาโร  จาติ ,

อนึ่ง , ความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตตภาพนี้ด้วย  ความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วยและความเป็นอยู่อย่างผาสุกด้วย , จักมีแก่เรา , ดังนี้

 

 

 

ข้อว่าด้วยเสนาสนะ

ปะฏิสังขา  โยนิโส  เสนาสนะ  ปะฏิเสวามิ ,

        เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สอยเสนาสนะ

ยาวะเทวะ  สีตัสสะ  ปะฏิคาตายะ ,

        เพียงเพื่อบำบัดความหนาว

อุณหัสสะ  ปะฏิคาตายะ ,

        เพื่อบำบัดความร้อน

ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง  ปะฏิฆาตายะ ,

เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ  ยุง  ลม  แดด  และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย

ยาวะเทวะ  อุตุปะริสสะยะวิโนทะนัง  ปะฏิสัลลานารามัตถัง ,

เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายอันจะพึงมีจากดินฟ้าอากาศ  และเพื่อความเป็นผู้ยินดีอยู่ได้ในที่หลีกเร้นสำหรับภาวนา

 

ข้อว่าด้วยคิลานเภสัช

ปะฏิสังขา  โยนิโส  คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขารัง  ปะฏิเสวามิ ,

เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วบริโภคเภสัชบริขารอันเกื้อกูลแก่คนไข้

ยาวะเทวะ  อุปปันนานัง  เวยยาพาธิกานัง  เวทะนานัง  ปะฏิฆาตายะ ,

        เพียงเพื่อบำบัดทุกขเวทนาอันบังเกิดขึ้นแล้ว  มีอาพาธต่าง เป็นมูล

อัพยาปัชฌะปะระมะตายาติ ,

        เพื่อความเป็นผู้ไม่มีโรคเบียดเบียน  เป็นอย่างยิ่ง  ดังนี้

 

ËËËËËËË

 

 

Ñทำวัตรเย็นÒ

(คำบูชาพระและปุพพภาคนมการ  ใช้อย่างเดียวกับคำทำวัตรเช้า)

 

.  พุทธานุสสติ

(หันทะ  มะยัง  พุทธานุสสตินะยัง  กะโรมะ  เส)

ตัง  โข  ปะนะ  ภะคะวันตัง  เอวัง  กัลยาโณ  กิตติสัทโท  อัพภุคคะโต ,

        ก็กิตติศัพท์อันงามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ได้ฟุ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า

อิติปิ  โส  ภะคะวา ,                เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

อะระหัง ,                            เป็นผู้ไกลจากกิเลส

สัมมาสัมพุทโธ ,                    เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

วิชชาจะระณะสัมปันโน , เป็นผู้ถึงพร้อทด้วยวิชชาและจะระณะ

สุคะโต ,                              เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี

โลกะวิทู ,                            เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง

อนุตตะโร  ปุริสะทัมมะสาระถิ , 

เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า

สัตถา  เทวะมนุสสานัง ,           เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

พุทโธ ,                               เป็นผู้รู้  ผู้ตื่น  ผู้เบิกบานด้วยธรรม

ภะคะวาติ ,                          เป็นผู้มีความจำเริญ  จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์  ดังนี้

 

 

 

 

 

 

.  พุทธาภิคีติ

(หันทะ  มะยัง  พุทธาภิคีติง  กะโรมะ  เส )

 

พุทธวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต ,

        พระพุทธเจ้าประกอบด้วยคุณ มีความประเสริฐแห่งอรหันตคุณ

เป็นต้น

สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ  สะมาคะตัตโต ,

        มีพระองค์อันประกอบด้วยพระญาณ  และพระกรุณาอันบริสุทธิ์

โพเธสิ  โย  สุชะนะตัง  กะมะลังวะ  สูโร ,

        พระองค์ใด  ทรงกระทำชนที่ดีให้เบิกบาน  ดุจอาทิตย์ทำบัวให้บาน

วันทามะหัง  ตะมะระณัง  สิระสา  ชิเนนทัง ,

        ข้าพเจ้าไหว้พระชินสีห์  ผู้ไม่มีกิเลส  พระองค์นั้น  ด้วยเศียรเกล้า

พุทโธ  โย  สัพพะปาณีนัง  สะระณัง  เขมะมุตตะมัง ,

        พระพุทธเจ้าพระองค์ใด  เป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย

ปะฐะมานุสสะติฏฐานัง  วันทามิ  ตัง  สิเรนะหัง ,

ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น  อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึก  องค์ที่หนึ่งด้วยเศียรเกล้า

พุทธัสสาหัสมิ  ทาโส  (ทาสี)  วะ  พุทโธ  เม  สามิกิสสะโร ,

ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า  พระพุทธเจ้าเป็นนาย  มีอิสระเหนือข้าพเจ้า

พุทโธ  ทุกขัสสะ  ฆาตา  จะ  วิธาตา  จะ  หิตัสสะ  เม ,

        พระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกำจัดทุกข์ และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า

พุทธัสสาหัง  นิยยาเทมิ  สะรีรัญชีวิตัญจิทัง ,

        ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระพุทธเจ้า

วันทันโตหัง  (วันทันตีหัง)  จะริสสามิ  พุทธัสเสวะ  สุโพธิตัง ,

        ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม  ซึ่งความตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้า

นัตถิ  เม  สะระณัง  อัญญัง  พุทโธ  เม  สะระณัง  วะรัง ,

สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี  พระพุทธเจ้าเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า

เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ  วัฒเฒยยัง  สัตถุสาสะเน ,

        ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา

พุทธัง  เม  วันทะมาเนนะ  (วันทะมานายะ)  ยัง  ปุญญัง  ปะสุตัง  อิธะ ,

        ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระพุทธเจ้า  ได้ขวนขวายบุญใด  ในบัดนี้

สัพเพปิ  อันตะรายา  เม  มะเหสุง  ตัสสะ  เตชะสา ,

        อันตรายทั้งปวง  อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าเลย  ด้วยเดชแห่งบุญนี้

 

{{{{{{{{

 

กาเยนะ  วาจายะ  วะ  เจตะสา  วา ,

        ด้วยกายก็ดี  ด้วยวาจาก็ดี  ด้วยใจก็ดี

พุทเธ  กุกัมมัง  ปะกะตัง  มะยา  ยัง ,  

        กรรมน่าติเตียนอันใด  ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว  ในพระพุทธเจ้า

พุทโธ  ปะฏิคัณหะตุ  อัจจะยันตัง ,

        ขอพระพุทธเจ้า  จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น

กาลันตะเร  สังวะริตุง  วะ   พุทเธ ,

        เพื่อการสำรวมระวัง  ในพระพุทธเจ้า  ในกาลต่อไป

 

{{{{{{{{

 

 

 

.  ธัมมานุสสติ

( หันทะ  มะยัง  ธัมมานุสสะตินะยัง  กะโรมะ  เส )

สวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม ,        

พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า  ได้ตรัสไว้ดีแล้ว

สันทิฏฐิโก ,

        เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง

อะกาลิโก ,

        เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้  และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล

เอหิปัสสิโก ,

        เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า  ท่านจงมาดูเถิด

โอปะนะยิโก ,

        เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว

ปัจจัตตัง  เวทิตัพโพ  วิญญูหิติ ,

        เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน  ดังนี้

 

.  ธัมมาภิคีติ

( หันทะ  มะยัง  ธัมมาภิคีติง  กะโรมะ  เส )

สวากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ  เสยโย ,

พระธรรม  เป็นสิ่งที่ประเสริฐ  เพราะประกอบด้วยคุณ  คือความที่พระผู้มีพระภาคเจ้า  ตรัสไว้ดีแล้วเป็นต้น

โย  มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท ,

        เป็นธรรมอันจำแนกเป็น  มรรค  ผล  ปริยัติ  และนิพพาน

ธัมโม  กุโลกะปะตะนา  ตะทะธาริธารี ,

        เป็นธรรมทรงไว้ซึ่งผู้ทรงธรรม  จากการตกไปสู่โลกที่ชั่ว

วันทามะหัง  ตะมะหะรัง  วะระธรรมมะเมตัง ,

ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมอันประเสริฐนั้น  อันเป็นเครื่องขจัดเสียซึ่งความมืด

ธัมโม  โย  สัพพะปาณีนัง  สะระณัง  เขมะมุตตะมัง ,

        พระธรรมใด  เป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย

ทุติยานุสสะติฏฐานัง  วันทามิ  ตัง  สิเรนะหัง ,

ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น  อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึก  องค์ที่สองด้วยเศียรเกล้า

ธัมมัสสาหัสมิ  ทาโส  (ทาสี)  วะ  ธัมโม  เม  สามิกิสสะโร ,

ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระธรรม  พระธรรมเป็นนาย  มีอิสระเหนือข้าพเจ้า

ธัมโม  ทุกขัสสะ  ฆาตา  จะ  วิธาตา  จะ  หิตัสสะ  เม ,

        พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดทุกข์  และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า

ธัมมัสสาหัง  นิยยาเทมิ  สะรีรัญชีวิตัญจิทัง ,

        ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้  แด่พระธรรม

วันทันโตหัง  (วันทันตีหัง)  จะริสสามิ  ธัมมัสเสวะ  สุธัมมะตัง ,

        ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม  ซึ่งความเป็นธรรมดีของพระธรรม

นัตถิ  เม  สะระณัง  อัญญัง  ธัมโม  เม  สะระณัง  วะรัง ,

สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี  พระธรรมเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า

เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ  วัฑเฒยยัง  สัตถุสาสะเน ,

ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้  ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา

ธัมมัง  เม  วันทะมาเนนะ  (วันทะมานายะ)  ยัง  ปุญญัง  ปะสุตัง  อิธะ ,

        ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระธรรม  ได้ขวนขวายบุญใด  ในบัดนี้

สัพเพปิ  อันตะรายา  เม  มะเหสุง  ตัสสะ  เตชะสา ,

        อันตรายทั้งปวง  อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า  ด้วยเดชแห่งบุญนั้น

 

{{{{{{{{

 

กาเยนะ  วาจายะ  วะ  เจตะสา  วา ,

        ด้วยกายก็ดี  ด้วยวาจาก็ดี  ด้วยใจก็ดี

ธัมเม  กุกัมมัง  ปะกะตัง  มะยา  ยัง ,

        กรรมน่าติเตียนอันใด  ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระธรรม

ธัมโม  ปะฏิคคัณหะตุ  อัจจะยันตัง ,

        ขอพระธรรม  จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น

กาลันตะเร  สังวะริตุง  วะ  ธัมเม ,

        เพื่อการสำรวมระวัง  ในพระธรรม  ในกาลต่อไป

 

{{{{{{{{

 

.  สังฆานุสสติ

( หันทะ  มะยัง  สังฆานุสสตินะยัง  กะโรมะ  เส )

สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ ,

            สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า  หมู่ใด , ปฏิบัติดีแล้ว

อุชุปฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ ,

            สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า  หมู่ใด , ปฏิบัติตรงแล้ว

ญายะปฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ ,

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า  หมู่ใด , ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว

สามีจิปฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ ,

            สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า  หมู่ใด , ปฏิบัติสมควรแล้ว

ยะทิทัง ,                         ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ

จัตตาริ  ปุริสะยุคานิ  อัฏฐะ  ปุริสะปุคคะลา ,

            คู่แห่งบุรุษ คู่ นับเรียงตัวบุรุษ  ได้ บุรุษ

เอสะ  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ ,

              นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

อาหุเนยโย ,                      เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา

ปาหุเนยโย ,                     เป็นสฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ

ทักขิเณยโย ,                     เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน

อัญชลิกะระณีโย ,               เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี

อะนุตตะรัง  ปุญญักเขตตัง  โลกัสสาติ ,    

เป็นเนื้อนาบุญของโลก , ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า  ดังนี้

 

.  สังฆาภิคีติง

(  หันทะ  มะยัง  สังฆาภิคีติง  กะโรมะ  เส )

สัทธัมมะโช  สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต ,

พระสงฆ์ที่เกิดโดยพระสัทธรรม  ประกอบด้วยคุณมีความประพฤติดี

เป็นต้น

โยฏฐัพพิโธ  อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ ,

        เป็นหมู่แห่งพระอริยบุคคลอันประเสริฐ  แปดจำพวก

สีลาทิธัมมะปะวะราสกายะจิตโต ,

        มีกายและจิต  อันอาศัยธรรมมีศีลเป็นต้น  อันบวร

วันทามะหัง  ตะมะริยานะคะณัง  สุสุทธัง ,

        ข้าพเจ้าไหว้พระอริยเจ้าเหล่านั้น  อันบริสุทธิ์ด้วยดี

สังโฆ  โย  สัพพะปาณีนัง  สะระณัง  เขมะมุตตะมัง ,

        พระสงฆ์หมู่ใด  เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด  ของสัตว์ทั้งหลาย

ตะติยานุสสะติฏฐานัง  วันทามิ  ตัง  สิเรนะหัง ,

ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์นั้น  อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึก  องค์ที่สามด้วยเศียรเกล้า

สังฆัสสาหัสมิ  ทาโส  (ทาสี)  วะ  สังโฆ  เม  สามิกิสสะโร ,

ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระสงฆ์  พระสงฆ์เป็นนาย  มีอิสระเหนือข้าพเจ้า

สังโฆ  ทุกขัสสะ  ฆาตา  จะ  วิธาตา  จะ  หิตัสสะ  เม ,

        พระสงฆ์เป็นเครื่องกำจัดทุกข์  และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า

สังฆัสสาหัง  นิยยาเทมิ  สะรีรัญชีวิตัญจิทัง ,

        ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้  แด่พระสงฆ์

วันทันโตหัง  (วันทันตีหัง)  จะริสสามิ  สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง ,

        ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม  ซึ่งความปฏิบัติดีของพระสงฆ์

นัตถิ  เม  สะระณัง  อัญญัง  สังโฆ  เม  สะระณัง  วะรัง ,

สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี  พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า

เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ  วัฑเฒยยัง  สัตถุสาสะเน ,

ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา

สังฆัง  เม  วันทะมาเนนะ  (วันทะมานายะ)  ยัง  ปุญญัง  ปะสุตัง  อิธะ ,

        ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระสงฆ์  ได้ขวนขวายบุญใด  ในบัดนี้

สัพเพปิ  อันตะรายา  เม  มาเหสุง  ตัสสะ  เตชะสา ,

        อันตรายทั้งปวง  อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า  ด้วยเดชแห่งบุญนั้น

 

{{{{{{{{

 

กาเยนะ  วาจายะ  วะ  เจตะสา  วา ,

        ด้วยกายก็ดี  ด้วยวาจาก็ดี  ด้วยใจก็ดี

สังเฆ  กุกัมมัง  ปะกะตัง  มะยา  ยัง ,

        กรรมน่าติเตียนอันใด  ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระสงฆ์

สังโฆ  ปะฏิคคัณหะตุ  อัจจะยันตัง ,

        ขอพระสงฆ์  จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น

กาลันตะเร  สังวะริตุง  วะ  สังเฆ ,

        เพื่อการสำรวมระวัง  ในพระสงฆ์  ในกาลต่อไป

 

{{{{{{{{

 

จบทำวัตรเย็น

 

{{{{{{{{

 

บทสวดมนต์แปล  อตีตปัจจเวกขณปาฐะ

( หันทะ  มะยัง  อะตีตะปัจจะเวกขะณะปาฐัง  ภะณามะ  เส )

 

ข้อว่าด้วยจีวร

อัชชะ  มะยา  อะปัจจะเวกขิตวา  ยัง  จีวะรัง  ปะริภุตตัง ,

        จีวรใดอันเรานุ่งห่มแล้ว  ไม่ทันพิจารณาในวันนี้

ตัง  ยาวะเทวะ  สีตัสสะ  ปะฏิฆาตายะ ,

        จีวรนั้นเรานุ่งห่มแล้ว  เพียงเพื่อบำบัดความหนาว

อุณหัสสะ  ปะฏิฆาตายะ ,

        เพื่อบำบัดความร้อน

ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง  ปะฏิคาตายะ ,

เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ  ยุง  ลม  แดด  และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย

ยาวะเทวะ  หิริโกปินะปะฏิจฉาทะนัตถัง ,

        และเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะ  อันให้เกิดความละอาย

 

ข้อว่าด้วยบิณฑบาต

อัชชะ  มะยา  อะปัจจะเวกขิตวา  โย  ปิณฑะปาโต  ปะริภุตโต ,

        บิณฑบาตใด  อันเราฉันแล้ว  ไม่ทันพิจารณาในวันนี้

โส  เนวะ  ทะวายะ ,

บิณฑบาตนั้น  เราฉันแล้ว  ไม่ใช่เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลิน  สนุกสนาน

นะ  มะทายะ ,

        ไม่ใช่เป็นไปเพื่อความเมามัน  เกิดกำลังพลังทางกาย

นะ  มัณฑะนายะ ,

        ไม่ใช่เป็นไปเพื่อประดับ

นะ  วิภูสะนายะ ,

        ไม่ใช่เป็นไปเพื่อตกแต่ง

ยาวะเทวะ  อิมัสสะ  กายัสสะ  ฐิติยา ,

        แต่ให้เป็นไปเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้

ยาปะนายะ ,

        เพื่อความเป็นไปได้แห่งอัตตภาพ

วิหิงสุปะระติยา ,

        เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย

พรหมะจะริยานุคคะหายะ ,

        เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์

อิติ  ปุรานัญจะ  เวทะนัง  ปะฏิหังขามิ ,

ด้วยการทำอย่างนี้  เราย่อมระงับเสียได้  ซึ่งทุกขเวทนาเก่า  คือ  ความหิว

นะวัญจะ  เวทะนัง  นะ  อุปปาเทสสามิ ,

        และไม่ทำทุกขเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น

ยาตรา  จะ  เม  ภะวิสสะติ  อะนะวัชชะตา  จะ  ผาสุวิหาโร  จาติ ,

อนึ่ง , ความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตตภาพนี้  ด้วยความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วยและความเป็นอยู่อย่างผาสุกด้วย , จักมีแก่เรา , ดังนี้

 

ข้อว่าด้วยเสนาสนะ

อัชชะ  มะยา  อะปัจจะเวกขิตวา  ตัง  เสนาสะนัง  ปะริภุตตัง ,

เสนาสนะใด  อันเราใช้สอยแล้ว  ไม่ทันพิจารณาในวันนี้  เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สอยเสนาสนะ

ตัง  ยาวะเทวะ  สีตัสสะ  ปะฏิคาตายะ ,

        เสนาสนะนั้น  เราใช้สอยแล้ว  เพียงเพื่อบำบัดความหนาว

อุณหัสสะ  ปะฏิคาตายะ ,

        เพื่อบำบัดความร้อน

ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง  ปะฏิฆาตายะ ,

เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ  ยุง  ลม  แดด  และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย

ยาวะเทวะ  อุตุปะริสสะยะวิโนทะนัง  ปะฏิสัลลานารามัตถัง ,

เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายอันจะพึงมีจากดินฟ้าอากาศ  และเพื่อความเป็นผู้ยินดีอยู่ได้ในที่หลีกเร้นสำหรับภาวนา

 

ข้อว่าด้วยคิลานเภสัช

อัชชะ  มะยา  อะปัจจะเวกขิตวา  โย  คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขารัง  ปะริภุตโต ,

        เภสัชบริขารใด  อันเราบริโภคแล้ว  ไม่ทันพิจารณาในวันนี้

โส  ยาวะเทวะ  อุปปันนานัง  เวยยาพาธิกานัง  เวทะนานัง  ปะฏิฆาตายะ ,

คิลานะเภสัชบริขารนั้น  เราบริโภคแล้ว   เพียงเพื่อบำบัดทุกขเวทนา  อันบังเกิดขึ้นแล้ว  มีอาพาธต่าง เป็นมูล

อัพยาปัชฌะปะระมะตายาติ ,

        เพื่อความเป็นผู้ไม่มีโรคเบียดเบียน  เป็นอย่างยิ่ง  ดังนี้

 

ภาค 

สวดมนต์พิเศษ  บางบท

.  เขมาเขมสรณทีปิกคาถา

( หันทะ  มะยัง  เขมาเขมะสะระณะทีปิกะคาถาโย  ภะณามะ  เส )

พะหุง  เว  สะระณัง  ยันติ                        ปัพพะตานิ  วะนานิ  จะ

อารามะรุกขะเจตยานิ                               มะนุสสา  ภะยะตัชชิตา

มนุษย์เป็นอันมาก  เมื่อเกิดมีภัยคุกคามแล้ว  ก็ถือเอาภูเขาบ้าง  ป่าไม้บ้าง  อาราม   และรุกขเจดีย์บ้าง  เป็นสรณะ

เนตัง  โข  สะระณัง  เขมัง                        เนตัง  สะระณะมุตตะมัง

เนตัง  สะระณะมาคัมมะ                           สัพพะทุกขา  ปะมุจจะติ

นั่นมิใช่สรณะอันเกษมเลย  นั่นไม่ใช่สรณะอันสูงสุด  เขาอาศัยสรณะนั้นแล้ว  ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

โย  จะ  พุทธัญจะ  ธัมมัญจะ                     สังฆัญจะ  สะระณัง  คะโต

จัตตาริ  อะริยะสัจจานิ                              สัมมัปปัญญายะ  ปัสสะติ

ส่วนผู้ใดถือเอาพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์  เป็นสรณะแล้ว  เห็นอริยสัจ  คือ  ความจริงอันประเสริฐสี่  ด้วยปัญญาอันชอบ

ทุกขัง  ทุกขะสะมุปปาทัง                          ทุกขัสสะ  จะ  อะติกกะมัง

อะริยัญจัฏฐังคิกัง  มัคคัง                          ทุกขูปะสะมะคามินัง

คือ  เห็นความทุกข์  เหตุให้เกิดทุกข์  ความก้าวล่วงทุกข์เสียได้  และหนทางอันประเสริฐมีองค์แปด  เครื่องถึงความดับทุกข์

 

เอตัง  โข  สะระณัง  เขมัง                         เอตัง  สะระณะมุตตะมัง

เอตัง  สะระณะมาคัมมะ                           สัพพะทุกขา  ปะมุจจะติ

นั่นแหละเป็นสรณะอันเกษม  นั่นเป็นสรณะอันสูงสุด  เขาอ่ศัยสรณะนั้นแล้ว  ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

 

๒.               อริยธนคาถา

( หันทะ  มะยัง  อะริยะธะนะคาถาโย  ภะณามะ  เส )

ยัสสะ  สัทธา  ตะถาคะเต                  อะจะลา  สุปะติฏฐิตา

        ศรัทธา  ในพระตถาคตของผู้ใด  ตั้งมั่นอย่างดี  ไม่หวั่นไหว

สีลัญจะ  ยัสสะ  กัลยาณัง                  อะริยะกันตัง  ปะสังิตัง

        และศีลของผู้ใดงดงาม  เป็นที่สรรเสริญที่พอใจ  ของพระอริยเจ้า

สังเฆ  ปะสาโท  ยัสสัตถิ                   อุชุฏตัญจะ  ทัสสะนัง         

        ความเลื่อมใสของผู้ใดมีในพระสงฆ์  และความเห็นของผู้ใดตรง

อะทะลิทโทติ  ตัง  อาหุ                    อะโมฆันตัสสะ  ชีวิตัง

        บัณฑิตเรียกเขาผู้นั้นว่า  คนไม่จน  ชีวิตของเขาไม่เป็นหมัน

ตัสมา  สัทธัญจะ  สีลัญจะ                 ปะสาทัง  ธัมมะทัสสะนัง

อะนุยุญเชถ  เมธาวี                         สะรัง  พุทธานะสาสะนัง

เพราะฉะนั้น  เมื่อระลึกได้  ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอยู่  ผู้มี ปัญญา   ควรก่อสร้างศรัทธา  ศีล  ความเลื่อมใส  และความเห็นธรรมให้เนือง

 

๓.ติลักขณาทิคาถา

(หันทะ  มะยัง  ติลักขะณาทิคาถาโย  ภะณามะ  เส )

สัพเพ  สังขารา  อะนิจจาติ                ยะทา  ปัญญายะ  ปัสสะติ

    เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า  สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง

อะถะ  นิพพินทะติ  ทุกเข                  เอสะ  มัคโค  วุทธิยา

เมื่อนั้น  ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์  ที่ตนหลง  นั่นแหละ  เป็นทางแห่งพระ นิพพาน  อันเป็นธรรมหมดจด

สัพเพ  สังขารา  ทุกขาติ                   ยะทา  ปัญญายะ  ปัสสะติ

        เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญว่า  สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์

อะถะ  นิพพินทะติ  ทุกเข                  เอสะ  มัคโค  วิสุทธิยา

เมื่อนั้น  ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์  ที่ตนหลง  นั่นแหละ  เป็นทางแห่งพระนิพพาน  อันเป็นธรรมหมดจด

สัพเพ  ธัมมา  อะนัตตาติ                  ยะทา  ปัญญายะ  ปัสสะติ

        เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า  ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ  นิพพินทะติ  ทุกเข                  เอสะ  มัคโค  วิสุทธิยา

เมื่อนั้น  ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์  ที่ตนหลง  นั่นแหละ  เป็นทางแห่งพระนิพพาน  อันเป็นธรรมหมดจด

อัปปะกา  เต  มะนุสเสสุ                   เย  ชะนา  ปาระคามิโน

        ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย  ผูที่ถึงฝั่งพระนิพพานมีน้อยนัก

อะถายัง  อิตะรา  ปะชา                    ตีระเมวานุธาวติ

        หมู่มนุษย์นอกนั้น  ย่อมวิ่งเลาะอยู่ตามฝั่งในนี่เอง

เย  จะ  โข  สัมมะทักขาเต                 ธัมเม  ธัมมานุวัตติโน

        ก็ชนเหล่าใดประพฤติสมควรแก่ธรรม  ในธรรมที่ตรัสไว้ชอบแล้ว

เต  ชะนา  ปาระเมสสันติ                  มัจจุเธยยัง  สุทุตตะรัง

ชนเหล่านั้นจักถึงฝั่งพระนิพพาน  ข้ามพ้นบ่วงแห่งมัจจุราชที่ข้ามได้ยากนัก

กัณหัง  ธัมมัง  วิปปะหายะ               สุกกัง  ภาเวถะ  ปัณฑิโต

        จงเป็นบัณฑิตละธรรมดำเสีย  แล้วเจริญธรรมขาว

โอกา  อะโนกะมาคัมมะ                    วิเวเก  ยัตถะ  ทูระมัง

ตัตราภิระติมิจเฉยยะ                       หิตวา  กาเม  อะกิญจะโน

จงมาถึงที่ไม่มีน้ำ  จากที่มีน้ำ  จงละกามเสีย  เป็นผู้ไม่มีความกังวล  จงยินดีเฉพาะต่อพระนิพพานอันเป็นที่สงัด  ซึ่งสัตว์ยินดีได้โดยยาก

 

๓.                ภารสุตตคาถา

( หันทะ  มะยัง  ภาระสุตตะคาถาโย  ภะณามะ  เส )

ภารา  หะเว  ปัญจักขันธา             ขันธ์ทั้งห้าเป็นของหนักหนอ

ภาระหาโร  จะ  ปุคคะโล            บุคคลแหละ  เป็นผู้แบกของหนักพาไป

ภาราทานัง  ทุกขังโลเก             การแบกถือของหนัก  เป็นความทุกข์ในโลก

ภาระนิกเขปะนัง  สุขัง             การสลัดของหนัก  ทิ้งลงเสีย  เป็นความสุข

นิกขิปิตะวา  คะรุง  ภารัง          พระอริยะเจ้า  สลัดทิ้งของหนัก  ลงเสียแล้ว

อัญญัง  ภารัง  อะนาทิยะ              ทั้งไม่หยิบฉวยของหนักเกินอันอื่นขึ้นมาอีก

สะมูลัง  ตัณหัง  อัพพุยหะ                    ก็เป็นผู้ถอนตัณหาขึ้นมาได้  กระทั่งราก

นิจฉาโต  ปะรินิพพุโต              เป็นผู้หมดสิ่งปรารถนา  ดับสนิทไม่มีส่วนเหลือ

 

๔.                ภัทเทกรัตตคาถา

( หันทะ  มะยัง  ภัทเทกะรัตตะคาถาโย  ภะณามะ  เส )

อะตีตัง  นานวาคะเมยยะ                          นัปปะฏิกังเข  อะนาคะตัง

บุคคลไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว  ด้วอาลัย  และไม่พึงพะวงถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง

ยะทะตีตัมปะหีนันตัง                               อัปปัตตัญจะ  อะนาคะตัง

    สิ่งที่เป็นอดีตก็ละไปแล้ว  สิ่งเป็นอนาคตก็ยังไม่มา

ปัจจุปปันนัญจะ  โย  ธัมมัง                       ตัตถะ  ตัตถะ  วิปัสสะติ

อะสังหิรัง  อะสังกุปปัง                             ตัง  วิทธา  มะนุพ์รูหะเย

ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าในที่นั้น อย่างแจ่มแจ้ง  ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน   เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้

อัชเชวะ  กิจจะมาตัปปัง                    โก  ชัญญา  มะระณัง  สุเว

    ความเพียรเป็นกิจที่ต้องทำวันนี้  ใครจะรู้ความตาย  แม้พรุ่งนี้

นะ  หิ  โน  สังคะรันเตนะ                 มะหาเสเนนะ  มัจจุนา

    เพราะการผัดเพี้ยนต่อมัจจุราชซึ่งมีเสนามาก  ย่อมไม่มีสำหรับเรา

เอวังวิหาริมาตาปิง                          อะโหรัตตะมะตันทิตัง

ตัง  เว  ภัทเทกะระตโตติ                   สันโต  อาจิกขะเต  มุนิ

มุนี  ผู้สงบ  ย่อมกล่าวเรียก  ผู้มีความเพียรอยู่เช่นนั้น  ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืนว่า  “ผู้เป็นอยู่แม้เพียงราตรีเดียวก็น่าชม”

       

๕.               โอวาทปาติโมกขคาถา

( หันทะ  มะยัง  โอวาทะปาติโมกขะคาถาโย  ภะณามะ  เส )

สัพพะปาปัสสะ  อะกะระณัง                       การไม่ทำบาปทั้งปวง

กุสะลัสูปะสัมปะทา                                 การทำกุศลให้ถึงพร้อม

สะจิตตะปะริโยทะปะนัง                            การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ

เอตัง  พุทธานะสาสะนัง                            ธรรม