ReadyPlanet.com
dot
dot dot
bulletBUDDHISM TO THE NEW WORLD ERA
bullet1 Thai-ไทย
bullet2.English-อังกฤษ
bullet3.China-จีน
bullet4.Hindi-อินเดีย
bullet5.Russia-รัสเซีย
bullet6.Arab-อาหรับ
bullet7.Indonesia-อินโดนีเซีย
bullet8.Japan-ญี่ปุ่น
bullet9.Italy-อิตาลี
bullet10.France-ฝรั่งเศส
bullet11.Germany-เยอรมัน
bullet12.Africa-อาฟริกา
bullet13.Azerbaijan-อาเซอร์ไบจัน
bullet14.Bosnian-บอสเนีย
bullet15.Cambodia-เขมร
bullet16.Finland-ฟินแลนด์
bullet17.Greek-กรีก
bullet18.Hebrew-ฮีบรู
bullet19.Hungary-ฮังการี
bullet20.Iceland-ไอซ์แลนด์
bullet21.Ireland-ไอร์แลนด์
bullet22.Java-ชวา
bullet23.Korea-เกาหลี
bullet24.Latin-ละติน
bullet25.Loa-ลาว
bullet26.Finland-ฟินแลนด์
bullet27.Malaysia-มาเลย์
bullet28.Mongolia-มองโกเลีย
bullet29.Nepal-เนปาล
bullet30.Norway-นอรเวย์
bullet31.persian-เปอร์เซีย
bullet32.โปแลนด์-Poland
bullet33.Portugal- โปตุเกตุ
bullet34.Romania-โรมาเนีย
bullet35.Serbian-เซอร์เบีย
bullet36.Spain-สเปน
bullet37.Srilanga-สิงหล,ศรีลังกา
bullet38.Sweden-สวีเดน
bullet39.Tamil-ทมิฬ
bullet40.Turkey-ตุรกี
bullet41.Ukrain-ยูเครน
bullet42.Uzbekistan-อุสเบกิสถาน
bullet43.Vietnam-เวียดนาม
bullet44.Mynma-พม่า
bullet45.Galicia กาลิเซียน
bullet46.Kazakh คาซัค
bullet47.Kurdish เคิร์ด
bullet48. Croatian โครเอเซีย
bullet49.Czech เช็ก
bullet50.Samoa ซามัว
bullet51.Nederlands ดัตช์
bullet52 Turkmen เติร์กเมน
bullet53.PunJabi ปัญจาบ
bullet54.Hmong ม้ง
bullet55.Macedonian มาซิโดเนีย
bullet56.Malagasy มาลากาซี
bullet57.Latvian ลัตเวีย
bullet58.Lithuanian ลิทัวเนีย
bullet59.Wales เวลล์
bullet60.Sloveniana สโลวัค
bullet61.Sindhi สินธี
bullet62.Estonia เอสโทเนีย
bullet63. Hawaiian ฮาวาย
bullet64.Philippines ฟิลิปปินส์
bullet65.Gongni-กงกนี
bullet66.Guarani-กวารานี
bullet67.Kanada-กันนาดา
bullet68.Gaelic Scots-เกลิกสกอต
bullet69.Crio-คริโอ
bullet70.Corsica-คอร์สิกา
bullet71.คาตาลัน
bullet72.Kinya Rwanda-คินยารวันดา
bullet73.Kirkish-คีร์กิช
bullet74.Gujarat-คุชราด
bullet75.Quesua-เคซัว
bullet76.Kurdish Kurmansi)-เคิร์ด(กุรมันซี)
bullet77.Kosa-โคซา
bullet78.Georgia-จอร์เจีย
bullet79.Chinese(Simplified)-จีน(ตัวย่อ)
bullet80.Chicheva-ชิเชวา
bullet81.Sona-โซนา
bullet82.Tsonga-ซองกา
bullet83.Cebuano-ซีบัวโน
bullet84.Shunda-ชุนดา
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet86.Sesotho-เซโซโท
bullet87.NorthernSaizotho-ไซโซโทเหนือ
bullet88.Somali-โซมาลี
bullet89.History-ประวัติศาสตร์
bullet90.Divehi-ดิเวฮิ
bullet91.Denmark-เดนมาร์ก
bullet92.Dogry-โดกรี
bullet93.Telugu-เตลูกู
bullet94.bis-ทวิ
bullet95.Tajik-ทาจิก
bullet96.Tatar-ทาทาร์
bullet97.Tigrinya-ทีกรินยา
bullet98.Check-เชค
bullet99.Mambara-มัมบารา
bullet100.Bulgaria-บัลแกเรีย
bullet101.Basque-บาสก์
bullet102.Bengal-เบงกอล
bullet103.Belarus-เบลารุส
bullet104.Pashto-พาชตู
bullet105.Fritian-ฟริเชียน
bullet106.Bhojpuri-โภชปุรี
bullet107.Manipur(Manifuri)-มณีปุระ(มณิฟูรี)
bullet108.Maltese-มัลทีส
bullet109.Marathi-มาราฐี
bullet110.Malayalum-มาลายาลัม
bullet111.Micho-มิโช
bullet112.Maori-เมารี
bullet113.Maithili-ไมถิลี
bullet114.Yidsdish-ยิดดิช
bullet115.Euroba-ยูโรบา
bullet116.Lingala-ลิงกาลา
bullet118.Slovenia-สโลวีเนีย
bullet119.Swahili-สวาฮิลี
bullet120.Sanskrit-สันสกฤต
bullet121.history107-history107
bullet122.Amharic-อัมฮาริก
bullet123.Assam-อัสสัม
bullet124.Armenia-อาร์เมเนีย
bullet125.Igbo-อิกโบ
bullet126.History115-ประวัติ 115
bullet127.history117-ประวัติ117
bullet128.Ilogano-อีโลกาโน
bullet129.Eve-อีเว
bullet130.Uighur-อุยกูร์
bullet131.Uradu-อูรดู
bullet132.Esperanto-เอสเปอแรนโต
bullet133.Albania-แอลเบเนีย
bullet134.Odia(Oriya)-โอเดีย(โอริยา)
bullet135.Oromo-โอโรโม
bullet136.Omara-โอมารา
bullet137.Huasha-ฮัวซา
bullet138.Haitian Creole-เฮติครีโอล
bulletคำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรแปล เช้า-เย็น
bulletChart Showing the Process
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี พ.ศ.2540 - 2566
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 1
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 2
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี บุคคลที่ 1 - 188 ปัจจุบัน
bulletหนังสือพิมพ์ดี
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 1
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 2
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 3
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 4
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 5
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 6
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 7
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 8
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 9
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 10
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 11
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 12
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 13
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 14
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 15
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 16
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 17
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 18
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 19
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 20
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 21
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 22
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 23
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 24
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 25
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 26
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 27
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 28
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 29
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 30
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 31
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 32
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 33
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 34
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 35
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 36
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 37
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 38
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 39
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 40
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 41
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 42
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 43
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 44
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 45
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 46
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 47
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 48
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 49
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 50
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 51
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 52
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 54
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 55
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 56
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 57
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 58
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 59
bulletTo The World
bulletENGLISH
bulletUSA
bulletChina
bulletIndia
bullet Mynmar
bullet Cambodia
bullet Loas
bulletSri Lanka
bulletMalaysia
bulletKorea
bulletA Sharp Turn of Believes : Iresearch Iwrite Iread
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 1
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 2
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 3
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 4
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 5
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 6
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 7
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 8
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 9
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 10
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 11
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 12
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 13
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 14
bulletMystery Report 15
bulletMystery Report 16
bulletMystery Report 17
bulletMystery Report 18
bulletMystery Report 19
bulletMystery Report 20
bulletMystery Report 21
bulletMystery Report 22
bulletMystery Report 23
bulletMystery Report 24
bulletMystery World Report 25
bulletศึกษาโลกลี้ลับ 26
bulletเฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว วิเคราะห์ทุกปัญหาในโลกมนุษย์ด้วยสติปัญญาและเหตุผลวิทยาศาสตร์จากนสพ.ดี
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2536
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2537
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2538
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2539
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2540
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2541
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2542
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2543-2545
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2545-2549
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2549-2550
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2550-ส.ค.2551
bulletเฝ้าดูฯ ส.ค.-ก.ย.2551
bulletเฝ้าดูฯ ก.ย.2551- ธ.ค. 2551
bulletเฝ้าดูฯสำนวนพัชรา กอปรทศธรรม
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 16-27
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 29
bulletบทความใหม่ เม.ย.-พ.ค.2552
bulletพุทธธรรมเพื่อทางดับทุกข์
bulletทฤษฎีการดับทุกข์ทางจิต วิปัสสนากรรมฐานโดยการทำงาน(สำนวนปรับปรุงใหม่)
bulletประวัติพัชรา กอปรทศธรรม
bulletประวัติการต่อสู้เพื่อการดับทุกข์ ของพัชรา กอปรทศธรรม
bulletอัลบั้มรูป history
bulletนิทานธรรมะประยุกต์ มานุสสาสุระสงคราม 4 ภาค และอื่น ๆ
bulletอัลบั้มรูป ภาพในอดีตและชีวประวัติศาสตร์ที่สวยงาม
bulletจากเวบบอร์ด พูดกันไม่รู้เรื่อง ประชาธิปไตยล้าหลัง
bulletศาสนาสากล การวิเคราะห์ความหมาย
bulletปลอบใจ
dot
รวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์ แนวปฏิรูปคณะสงฆ์อยู่ในบทวิเคราะห์นี้แล้ว
dot
bulletรวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์
dot
สากลจักรวาล สากลศาสนา แนวคิดศาสนาสำหรับคนยุคใหม่ ผู้ก้าวผิดทางไปสู่สิ่งไร้สาระโดยไม่รู้ตัว
dot
bulletสากล...ศาสนา 1
bulletสากล...ศาสนา 2
bulletสากล...ศาสนา 3
bulletสากล...ศาสนา 4
bulletสากล...ศาสนา 5
bulletสากล...ศาสนา 6
bulletสากล...ศาสนา 7
bulletสากล...ศาสนา 9
bulletสากล...ศาสนา 8
bulletสากล...ศาสนา 10
bulletสากล...ศาสนา 11
bulletสากล...ศาสนา 12
bulletสากล...ศาสนา 13
bulletสากล...ศาสนา 14
bulletสากล...ศาสนา 16
dot
ส่วนข้อมูลสำคัญเพื่อการวิจัยการเมืองไทยยุค คมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
dot
bulletข้อมูลสำคัญยุคคมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่1/26ส.ค.2551
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่2/27ส.ค.2551
bulletใบปลิว อีเมล์ ในหลวงทรงร้องไห้
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 1
bulletในหลวงเพิ่งทราบข่าวฆ่าประชาชน10เมย.53ทรงร้องไห้
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
dot
รวมข่าวม็อบการเมืองสนธิ-จำลอง-ปชป.มิ.ย.51-เม.ย.52 นสพ.
dot
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 2
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 3
bulletรวมข่าวม็อบ30มิ.ย.51-23มี.ค.52
bulletเลือดศรีสะเกษบันทึกเรื่องราวรอบด้านเกี่ยวกับเขาพระวิหาร
bulletรายงานการโฆษณาชวนเชื่อในประเทศไทยที่ล้มล้างรัฐบาลทักษิณ
bulletหนังสือพิมพ์ดี ของฟรีให้เปล่ามา20ปีแล้วทั้งเอกสารและอินเทอเนท
bulletหนังสือพิมพ์ดี ( อินเทอเนต ) เล่ม 1 - 44 - ล่าสุด
bulletหน้าที่เก็บไว้
bulletมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร)
bulletวัดมหาพุทธาราม ศรีสะเกษ บันทึกเหตุการณ์
bulletสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดศรีสะเกษแห่งที่ 1
bulletเกี่ยวกับเวบไซต์ของเรา เราทำเพื่อปัญญาชนโดยแท้
bulletรวมกระทู้เด็ดจากกระดานถามตอบ
bulletคาถาอาคมไสยศาสตร์
bulletกวีนิพนธ์ใหม่
bulletศูนย์ปฏิญญาณละเลิกอบายมุข บัญชีที่ 1- 4


คอลัมน์ประชาธิปไตยสงฆ์ บทสรุปการปฏิรูปปกครองสงฆ์

 

 

 

คอลัมน์ประชาธิปไตยสงฆ์
จะปฏิรูปการปกครองสงฆ์ไปทำไม ? (ต่อ)
บทสรุปของการปฏิรูปการปกครองคณะสงฆ์

 

 

ก่อนที่จะกล่าวถึงถึงบทสรุปของการปฏิรูปการปกครองคณะสงฆ์ ขอนำปัญหาเดิมที่เคยนำลงในดีฉบับก่อน (โปรดดู : ดี เดือน มี.ค.-เม.ย.-พ.ค. 2542) มาเพื่อทบทวนและขยายความออกไปเพื่อให้เกิดเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ดังนี้

 

 

ถาม : ป้าหมายของการปฏิรูปการปกครองสงฆ์ คืออะไร ? ต้องการคำตอบที่สั้นและชัดเจน และ ตรงไปตรงมา ตรงกับใจของผู้คิดการปฏิรูปนี้.

 

 

ตอบ : ระบบที่สามารถผลิตสร้าง อริยบุคคล ระดับพระอรหันต์ให้ได้หลายหลากมากมาย มีการศึกษาและบรรลุธรรมชั้นพระอรหันต์กันตามลำดับ ๆ หรือพรั่งพร้อมกันทีเดียวเป็นหมู่ ๆ กลุ่ม ๆ (โดยระบบการศึกษาที่ทันสมัย ประการหนึ่ง โดยเป้าหมาย และวิธีการตามหลักมรรค 8 หรือไตรสิกขา อีกประการหนึ่ง คนทั้งหลายย่อมสามารถบรรลุธรรมได้พร้อมกันเป็นหมู่กลุ่มขนาดใหญ่ได้โดยไม่ยากไม่เกินวิสัย/บก.ขยายความ)

 

 

เมื่อมีพระอรหันต์เกิดขึ้น สังคมจะได้ประโยชน์ล้วน ๆ โดยแทบไม่ต้องลงทุนอะไรเลย เพราะพระอรหันต์ ท่านทำงานให้สังคมโดยไม่หวังค่าตอบแทนใดใดเลย และผลงานของท่านนั้น ยี่งใหญ่ล้ำเลิศ เพราะท่านจะเป็นครูผู้บริสุทธิ์ ที่สอนวิชา ให้คนบรรลุอรหันต์เหมือนเช่นท่าน ถ้าสังคมเห็นความสำคัญของ การสร้างคน ระบบสงฆ์ใหม่นี้ จะเน้นเรื่อง การสร้างคนโดยเฉพาะ และช่วยสร้างคนเป็นคนดีที่สุด ล้ำเลิศในโลก เพราะเป็นการสร้างพระอรหันต์

เมื่อมีพระอรหันต์เพียง 5- 10 องค์เท่านั้นเอง โลกก็จะได้ประโยชน์อันสูงสุด การพระพุทธศาสนาก็จะแผ่ผายไปได้เร็วทั่วโลก แต่ระบบที่ปฏิรูปแล้ว จะสามารถผลิตสร้างพระอรหันต์ได้มากมายหลายร้อยหลายพันองค์เลยทีเดียว(โดยพร้อม ๆ กันเป็นหมู่เป็นกลุ่ม เช่นกรณีชฎิลสามพี่น้อง ที่สำเร็จพร้อมกันทีละ 500 องค์ 300 องค์ และ 200 องค์ในเวลาเดียวกัน/บก.ขยายความ)

 

 

เราจะสามารถทำได้สำเร็จหรือไม่ ? ทำได้ หากจัดระบบให้ถูกต้องตามธรรมตามวินัยได้จริง การจัดระบบธรรมชาติ เปรียบเสมือนจัดตั้งมหาวิทยาลัย มีห้องเรียนมี อุปกรณ์และห้องปฏิบัติการ ห้องทดลองให้พร้อมสมบูรณ์ และแล้ว ให้เดินไปตามธรรมชาติ ๆ จะช่วยสร้างเอง


 

เพราะการบรรลุธรรม เป็นผลผลิตของธรรมชาติ ระบบที่วางให้ถูกครรลองธรรมชาติ จะเป็นทั้งเป้าหมายและอุบายวิธีอยู่ในตัวเอง (ตัวอย่างเช่น เมื่อมนุษย์สามารถบำเพ็ญไตรสิกขา ละเอียดอ่อนโยนลงไปจนเจริญฌานที่ต้องการได้ เช่นฌานที่เกี่ยวกับความว่าง ที่เกี่ยวกับอสุภ เป็นต้น ฌานก็จะตัดกิเลสให้เอง เหมือนน้ำที่ดับไฟเองโดยธรรมชาติของน้ำฉันนั้น ก็เกิดปัญญาขึ้นมา อีกทางหนึ่ง บำเพญทางเจริญสติให้แก่กล้า จนสามารถตามรู้ ตามเห็น ตามวิเคราะห์ ตามวิจัย ปรากฎการณ์ภายในจิต ได้แจ่มแจ้งทะลุปรุโปร่ง ปราศจากข้อสงสัยใดใด ก็เกิดปัญญาความรู้แจ้งกิเลสขึ้นเข้าถึงอารมณ์ฌานระดับนั้น ๆ ฌานกับปัญญาจึงเป็นของคู่กัน ฌานอาจจะเกิดก่อนเป็นเหตุ ปัญญาเป็นผล หรือปัญญาอาจจะเกิดก่อนเป็นเหตุ ฌานเป็นผล ก็ได้ตามแต่ประสบการณ์เฉพาะของแต่ละคน แต่ฌานกับปัญญาจะต้องมีต้องบังเกิดขึ้นพร้อมกันจึงจะหมายถึงมรรคผลที่แท้จริงได้/บก.-ขยายความ)


เมื่อคนยุคใหม่ที่พร้อมด้วยสติปัญญาความคิดและการศึกษาสูงอยู่แล้ว เดินไปตามวิถีทางที่ระบบวางไว้อย่างถูกต้องตามธรรมวินัย การบรรลุธรรมระดับพระอรหันต์นั้น ก็ง่ายนิดเดียว
และเมื่อวางระบบได้ พุทธทำนาย เดือนสี่ปีกุน(พ.ศ.2550) ก็มีความหมายที่น่าตื่นตะลึง (คือการบรรลุผลสำเร็จอันล้ำเลิศประเสริฐเหมือนความฝันเช่นนั้นสามารถเป็นความจริงได้อย่างแน่นอนเพราะเมื่อมีพระอรหันต์บังเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากพระอรหันต์เหล่านั้นจะต่างองค์ต่างทำงานเป็นประโยชน์ที่ ยิ่งใหญ่ได้มากเพราะพระอรหันต์ทำงานด้วยจิตไม่มีกิเลส ไม่มีความเห็นแก่ตัว และสังคมก็แทบไม่ต้องลงทุนสำหรับบุคคลากรเช่นพระอรหันต์/บก.ขยายความ)

 

แต่หากวางระบบลงไม่ได้ อย่าหวังเลย และพระอรหันต์ก็จะเริ่มหมดไป ๆ ตั้งแต่บัดนี้จะไม่มีเดือนสี่ปีกุนรอบใหม่อีกแล้ว (เพราะการพัฒนาการทางวัตถุนิยมขณะนี้เป็นไปอย่างรวดเร็วมากและโลกเองก็มองไม่เห็นภัยนั้น มีบางสิ่งบางอย่างที่เป็นภัยอันกว้าง ใหญ่แต่โลกกลับส่งเสริมโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หากฝ่ายธรรมะไม่สามารถสร้างปราการด้านธรรมะขึ้นให้ทันได้ภายในปี พ.ศ.2550 รอบปีกุนนี้แล้ว การจะต้องรอไปอีก 12 ปี ถึงรอบปีกุนต่อไปซึ่งจะตรงกับ พ.ศ. 2562 นั้น น่ากลัวจะไม่ทันการณ์ วัตถุนิยมจะครองโลกลงรากลึกเสียก่อนจนเกินจะแก้ไข นั่นหมายถึงสัญชาติญาณเถื่อนของมนุษย์มาครองสังคมหนาแน่นขึ้นและเริ่มทำลายโลกและสังคมลงไปอย่างขนาดใหญ่เกินจะแก้แล้ว โลกก็จะตกต่ำ พบมหาภัย พบความทุกข์หนักและจะเกิดสงครามเพราะสัญชาติญาณเถื่อนดิบที่เข้าครอบครองโลกทุกแห่งหนเสียแล้ว/บก.ขยายความ "


ฉะนั้น บทสรุปของการปฏิรูประบบสงฆ์ ก็คือ การสร้างระบบที่มีจุดมุ่งหมายในการสร้างหมู่สงฆ์และคนดีที่สุดในโลกขึ้นมา เป็นพระอรหันต์
ซึ่งในการนี้จะต้องมองสถานการณ์ในวงการสงฆ์ที่เป็นอยู่ขณะนี้ให้เข้าใจโดยมองการปกครองและการศึกษาสงฆ์เป็นหลัก

ในด้านการศึกษา การศึกษาจะต้องมีบทบาทนำการปกครอง การปกครองจะต้องเดินตามการศึกษา กล่าวคือมองในความหมายที่ว่า ทั้งการศึกษาและการปกครอง ต้องเป็นไปตามพระธรรมวินัย ซึ่งหมายถึงการศึกษาหลัก ดั้งเดิมที่มุ่งสู่เป้าหมายสูงสุดของการพระพุทธศาสนา คือ การบรรลุธรรมระดับพระอรหันต์ ตามหลักอริยสัจ 4 ส่วนของ มรรค 8 หรือการศึกษา 8 อย่าง ที่เมื่อจัดเป็นระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูงแล้วก็คือ ไตรสิกขา ได้แก่ ศีล (สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ) สมาธิ (สัมมาวายามะ, สัมมาสติ, สัมมาสมาธิ) และ ปัญญา (สัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะ) นั่นเอง ไตรสิกขา จึงเป็นการศึกษาดั้งเดิมที่สุด และการศึกษาดั้งเดิมที่สุด ระบบการศึกษากับระบบการปกครองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีระบบการศึกษาเป็นเป้าหมายและนโยบายของการคณะสงฆ์ทั้งหมด และในสมัยดั้งเดิมได้ผลิตนักศึกษาผู้สำเร็จธรรมขั้นสูงสุดคือพระอรหันต์ออกมาสู่โลกได้เป็นจำนวนมหาศาล และ ด้วยเหตุนี้ทีเดียวที่สามารถตั้งพระพุทธศาสนาขึ้นได้มั่นคงในโลกมาตราบเท่าทุกวันนี้ โดยนัยนี้ ก็เพื่อจะส่งผลดีต่อธรรมวินัยในด้านการส่งเสริม ภราดรภาพในหมู่สงฆ์ ขึ้น กล่าวคือถือพะระธรรมพระวินัยเป็นหลัก ระบบอื่นในหมู่สงฆ์ควรใช้เป็นเพียงสิ่งเสริมเป็นเพียงบริวาร

ฉะนั้น การปกครองโดยธรรมโดยวินัย จึงให้พระธรรมวินัยเดินหน้า กฎหมายเดินตามหลัง การออกกฎหมายใด ต้องไม่ส่งเสริมให้ระบบสงฆ์เป็นชนชั้น ไม่เป็นวัตถุนิยม หรือเอาวัตถุนิยมเป็นเป้าหมาย หรือแม้คิดจะเอาวัตถุนิยมเป็นเครื่องกระตุ้นโดยหวังว่าหมู่สงฆ์จะเจริญในธรรมได้ด้วยการกระตุ้นด้วยวัตถุนิยม เพราะนี่คือ สิ่งที่ไม่ชอบด้วยพระธรรมวินีย จะสร้างอุปนิสัยความมักง่าย ความเห็นแก่ตัวให้เกิดขึ้น ในขณะเดียวกันก็บั่นรอนอุปนิสัยความเป็นนักสู้นักรบ นักต่อสู้กับกิเลสให้ลดน้อยถอยลงไป จุดอ่อนของการศึกษาหลักสูตรใดใดของคณะสงฆ์ปัจจุบันนี้ ควรเสริมด้วยการปรับหลักไตรสิกขาเข้าไปเป็นแกนกลาง ในหลักสูตรทั้งหลายใดใดเหล่านั้น ให้เพียงพอจนเป็นแก่นหลักของการศึกษาในหลักสูตรนั้น ๆ ได้ และ เอาหลักไตรสิกขาเป็นเนื้อหาสำหรับประเมินผลการศึกษาร่วมด้วยอย่างขาดไม่ได้ หากการศึกษาไตรสิกขาไม่สำเร็จก็ไม่ควรให้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนั้น ๆ ด้วย การเสริมสาระ เนื้อหาวิชาที่เหมาะสมลงไปในหลักสูตร ก็ย่อมเป็นสิ่งที่ต้องทำ เพื่อให้การศึกษาเกิดความเป็น อุดมศึกษา ขึ้นมาเพื่อสร้างคนให้สมบูรณ์ด้วยวิสัยทัศน์ที่ตามทันยุคสมัยได้ แต่ควรให้ความสำคัญในระดับรอง ไม่ควรให้ความสำคัญอย่างเป็นตัวหลัก กล่าวคือ ถือการสร้างวิชาการฝ่ายศาสนาเป็นตัวนำ การสร้างวิชาการฝ่ายโลกเป็นตัวเสริมเท่าที่จำเป็นเพื่อให้เกิดภาวะ อุดมศึกษา ขึ้นในวงการสงฆ์ เท่านั้น


และที่สำคัญ การศึกษาไตรสิกขาเอง ควรจัดวางระบบเฉพาะ สำหรับบุคลและสถาบันอันเป็นสากล ให้เป็นระบบการศึกษาสากลที่ร่วมศึกษากันได้
โดยไม่มีการแตกต่างในพื้นฐานชีวิต คือไม่จำกัดพื้นฐานอายุ วัย การศึกษา ฐานะ อาชีพ และเพศ คนทั้งหลายแม้จะแตกต่างกัน ไม่ว่าโดยอายุ โดยอาชีพ โดยการเงินการคลัง โดยฐานะ โดยเพศ โดยการศึกษาที่แตกต่าง แต่สามารถมาอยู่ร่วมปฏิบัติไตรสิกขาได้พร้อม ๆ กันโดยมีสิทธิ์ที่จะบรรลุธรรมได้ด้วยกันทั้งหมดโดยไม่เกี่ยวกับพื้นฐานต่าง ๆ ดังกล่าวเลย แต่ต้องเกี่ยวกับหลักการการปฏิบัติ ธรรมชาติ หรือ เทกนิกไตรสิกขาที่ทุกคนเข้าใจและสามารถปฏิบัติไปได้ เป็นการเฉพาะตัว


ซึ่งหน่วยงานที่จะจัดการของฝ่ายสงฆ์ก็คือ ระบบการปกครองสงฆ์นั่นเอง
การปกครองสงฆ์ทั้งระบบ จึงสมควรปรับเป็นระบบเพื่อการศึกษาไตรสิกขาโดยตรง อุปมาก็คือ วัดต่าง ๆ จะต้องเป็นโรงเรียนไตรสิกขา ผู้ปกครองสงฆ์จะต้องเล่นบทบาทเป็นเป็นผู้อำนวยการของสถานศึกษา วิชาหลักสูตรไตรสิกขาโดยตรง นับตั้งแต่พาลูกวัดทำกิจวัตร 10 วางแผนการอบรมศีลธรรมแก่ภิกษุ สามเณร นักเรียนนักศึกษา ฝึกหัดสมาธิ พาประพฤติกรรมฐานต่าง ๆ ทั้งสมถะ และวิปัสสนากรรมฐาน สอนหรือพาปฏิบัติการธุดงค์ให้แด่ลูกวัด สัทธิวิหาริกหรืออันเตวาสิกแห่งตน จัดการหรือจัดสร้างสถานที่ให้เหมาะแก่งานศึกษากรรมฐานธุดงค์ชนิดต่าง ๆ และโดยนัยเดียวกันนี้ ขยายกิจการสอนไตรสิกขาออกไปสู่มวลชน ให้วัดเป็นศูนย์กลางการศึกษาไตรสิกขาของมวลชน อย่างน้อยก็เป็นที่สวดมนต์เช้าสวดมนต์เย็นของประชาชนทั้งปวงได้อย่างเสรีเพียงดังอยู่กับบ้านตนเอง ผลงานการพระพุทธศาสนาโดยรวมก็จักพร้อมเพียงกันขึ้นทั่วแผ่นดิน และพร้อมรับสถานการณ์โลกที่เกรี้ยวกราด


และ สิ่งสำคัญอันเป็นสิ่งประกอบการศึกษาไตรสิกขายุคนี้ก็คือ เครื่องมือในการศึกษา ซึ่งแท้จริง ไตรสิกขาไม่ต้องการเครื่องมือใด นอกจากเครื่องมือธรรมชาติ
ในระดับการศึกษาขั้นสูงสุดของไตรสิกขา เครื่องมือที่ต้องการก็คือ อุทธยานพุทธเกษตร ที่ประกอบด้วยพื้นที่ป่าเขาแม่น้ำเป็นแดนธรรมชาติที่พร้อมด้วยธาตุทั้ง4คือ ธาตุดิน คือ ป่า และภูเขาที่พอเพียงเหมาะสม ธาตุน้ำ คือบึง บ่อ ทะเล แม่น้ำ ที่พอเพียงเหมาะสม ธาตุลม ที่โล่งแจ้งที่ราบกว้างใหญ่ อันพอเพียงเหมาะสม ไฟ คือธาตุความอบอุ่น อุณหภูมิ ร้อน หนาว เย็น ที่พอเพียงเหมาะสม รวมเป็นดินแดนอันกว้างใหญ่พอจะเป็นอาณาจักรสันโดษลี้ลับเฉพาะกิจ เป็นแดนเฉพาะของหมู่พระสงฆ์ หรือนักศึกษาไตรสิกขาผู้ปฏิบัติธรรมโดยเฉพาะได้แห่งหนึ่ง เพื่อเป็นที่รามสถานที่อันเหมาะพร้อมสำหรับการปฏิบัติธรรมกรรมฐานทุกชนิด อันเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมาตั้งแต่ยุคสมัยพระบรมศาสดา หากแต่สมัยเดิมนั้นป่าเขาทะเลมีอยู่ทั่วไป มีความกว้างใหญ่ไพศาล อาจเลือกได้มากมายหลายแห่ง เพราะไม่มีใครเป็นเจ้าของ หมู่นักบวชจึงสามารถท่องเที่ยวไปได้โดยอิสรภาพ


แต่สมัยนี้ ดินแดนป่า เขา ทะเล ล้วนถูกจับจองเป็นเจ้าของไปหมดแล้ว โดยมีประเทศเป็นขอบเขตแสดงความเป็นเจ้าของ จึงควรที่จะมีที่สงวนสำหรับบวรพุทธศาสนาโดยเฉพาะเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาไตรสิกขาระดับสูงสุด
อุทธยานพุทธเกษตร จะเป็นสิ่งที่เริ่มต้นที่บ่งบอกว่า การพระพุทธศาสนาในส่วนรวมกำลังหวลกลับคืนมาสู่พระธรรมวินัยอย่างไร มาสู่ระบบธรรมชาติอย่างไร การศึกษาที่แท้จริง เพื่อสร้างคุณภาพด้านคุณธรรมอันสูงสุด คือคุณธรรมแห่งอรหัตมรรคอรหัตผลกำลังจะเริ่มต้นขึ้นอย่างไร และเป้าหมายสูงสุดของการพระพุทธศาสนาที่แท้จริงกำลังเริ่มที่จะก่อกำเนิดขึ้นแล้วอย่างไร และแท้จริง อุทธยานพุทธเกษตร ไม่จำเป็นต้องสร้างขึ้นด้วยเงิน เพราะที่แห่งนี้ไม่ต้องการสร้างวัตถุสิ่งใดเลย ตรงกันข้าม จะต้องพยายามมิให้มีการก่อสร้างสิ่งใดขึ้นมาเป็นการถาวรเลย ให้เป็นแดนธรรมชาติยุคดั้งเดิมจริง ๆ เพียงกำหนดให้เป็นแดนธรรมชาติ เป็นอย่างที่ธรรมชาติเป็นอยู่ แต่ผู้มีอำนาจกำหนดให้เป็นที่เฉพาะของหมู่สงฆ์เพื่อการศึกษาไตรสิกขาระดับสูงสุดเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว การบริหารอุทธยานพุทธเกษตร ก็เป็นเรื่องของรัฐตามปกติที่มี เป็นไปอยู่แล้ว เช่นการดูแลของกรมป่าไม้ กรมประมง เป็นต้น เมื่อรัฐบาลชี้กำหนดเขตให้แล้ว ก็ร่างระเบียบที่เอื้อแด่เป้าหมายในการใช้ของฝ่ายสงฆ์ และกำหนดให้พระสงฆ์ นักธุดงค์กรรมฐานทั้งหลายมาใช้สถานที่แห่งนี้ อย่าเที่ยวไปบุกรุกป่าเขตหวงห้ามที่ใด เท่านั้นก็แทบว่าเป็นการสมบูรณ์ของโครงการอุทธยานพุทธเกษตรแล้ว.


ในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่มีการริเริ่มปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาคณะสงฆ์อยู่ ควรจะมองไปว่าการศึกษาสามารถสร้างบุคคลิกภาพผู้นำขึ้นมาอย่างไร เพื่อเป็นแนวในการจัดวางหลักสูตร
โดยที่ผลของหลักสูตรที่สามารถสร้างภาวะผู้นำสังคมขึ้นมาได้ระดับหนึ่ง ในการนี้ควรมององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นแบบอย่าง ทั้งในทางนามธรรมและรูปธรรม เมื่อมองจากนามธรรม พระพุทธเจ้า หมายถึง ความรอบรู้สรรพสิ่ง รู้โลกทั้งหมด รู้สากลจักรวาลทั้งหมด ในด้านรูปธรรม ก่อนที่เจ้าชายสิทธัตถะจะเสด็จออกผนวชและสำเร็จธรรมเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ทรงได้รับการศึกษามาแบบรอบด้าน ทั่วถึง เจนจัด เพราะนอกจากทรงผ่านการศึกษามาทุกศาสตร์ที่มีอยู่ในชมพูทวีปขณะนั้น ที่เรียกว่า ศิลปศาสตร์ 18 ประการ แล้ว ยังทรงมีประสบการณ์ทางโลกอย่างช่ำชองรอบด้าน นี่แหละน่าจะใช้เป็นแนวคิดพื้นฐานสำหรับวงการสงฆ์ ในการพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาคณะสงฆ์ สิ่งที่ควรคิดอีกต่อไปก็คือมองแบบเปรียบเทียบ(comparative study) ลองมองปัญหาปัจจุบัน เปรียบเทียบดู นั่นก็คือ หลักสูตรการศึกษาคณะสงฆ์ขณะนี้ สร้างบุคคลออกมาอย่างไร ในด้านนามธรรม ให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ตามเป้าหมายหลักของพระพุทธศาสนาหรือไม่ ในด้านรูปธรรม ให้สามารถเข้าใจ-ตามทันสถานการณ์สังคมยุคใหม่เพียงไร ? ให้ความสามารถด้านการนำมวลชนขนาดไหน ? แล้วคงจะเห็นและยอมรับกันเสียทีว่า หลักสูตรการศึกษาที่แคบเฉพาะด้านนั้นเองที่สร้างปัญหา เพราะไม่สามารถสนองเป้าหมายด้านนามธรรม และรูปธรรม ไม่ว่าการปกครองหมู่สงฆ์เอง การศึกษาเอง และที่สำคัญการประสานกิจกรรมกับมวลชน ความสามารถที่คับแคบย่อมไม่อาจประสานกับมวลชนได้ จักบกพร่องต่อภาวะผู้นำ เพราะจักขยาดต่อมวลชน ยิ่งมวลชนขนาดใหญ่เพียงไร หากขาดความสามารถในการประสานกับมวลชนเสียแล้ว ก็หมายถึงการเผยแผ่พระพุทธศาสนาถูกจำกัดในวงคับแคบไปเพียงนั้น ฉะนั้น ทั้งรูปธรรมและนามธรรมที่เราเรียนจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงสอดคล้องลงกันในประเด็นที่ว่า หลักสูตรการศึกษาคณะสงฆ์ควรจะเป็นอย่างไร จึงจะสามารถสร้างคนสร้างพระสงฆ์ที่เป็นผู้นำของสังคมยุคนี้ได้ ทั้งในด้านนามธรรมและรูปธรรม



จะปฏิรูปการปกครองสงฆ์ไปทำไม ?
การปฏิรูประบบไตรสิกขา

( ตอนที่ 5 ต่อจากคราวที่แล้ว )

 

 

ในตอนนี้ จะขอย้อนไปทบทวนเรื่องเดิมในเล่มที่ 22 (ดีเดือน ก.ย.-ต.ค.-พ.ย.-ธ.ค.2543 หน้า 49 บรรทัดที่ 14 จากด้านบน) เสียก่อน มีข้อความสำคัญที่ตกหล่นไปคือ ".......ในที่แจ้งและที่ลับ ภาคภายในจึงบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว และเริ่มเห็นเงาแห่งกายทิพย์ นามธรรม นามกาย หรือ......" ข้อความทั้งหมดในตอนนั้นจะสำเร็จรูปลงว่า

"ศีลระดับสูง เป็นระดับที่ทรงศีลบริสุทธิ์ ไม่รั่วและไม่ด่างพร้อย มีความละเอียดอ่อนทั้งไตรทวารคือ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม แม้แต่มโนกรรมก็มีการประพฤติศีลด้วย คือแม้ความนึกคิดก็ล้วนแต่เป็นกุศลกรรม จะปราศจากความคิดที่เป็นอกุศลกรรมไปโดยสิ้นเชิง มีความบริสุทธิ์ทั้ง ในที่แจ้งและที่ลับ ภาคภายในจึงบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว และเริ่มเห็นเงาแห่งกายทิพย์ นามธรรมนามกายหรือ ธรรมกาย ซ้อนตัวอยู่ในรูปกาย ซึ่งแท้จริงก็เป็นเพียงความรู้สึกขึ้นมาก่อน และนักศึกษาศีลสิกขา จะต้องได้ความรู้สึกนี้มาให้ได้ ต่อเมื่อสำเร็จสมาธิสิกขาระดับหนึ่งจึงจะสามารถมองนามธรรม และทำการแปรนามธรรมนั้นเป็นรูปธรรมขึ้นมาได้ จึงจะเห็นเป็นกายทิพย์ปรากฎขึ้น (การมองมโนภาพ ให้เห็นชัดเจนเป็นรูปกาย) และกายทิพย์นี้จักทำหน้าที่บงการฝ่ายรูปกายทุกอย่าง การเกิดขึ้นของกายทิพย์ เกิดขึ้นจากการประพฤติศีลโดยเคร่งครัดมาตามลำดับ ตั้งแต่ประพฤติศีลระดับต้น ระดับกลางมาจนถึงระดับสูง เมื่อมีกายทิพย์นั้นก็หมายความว่าศีลใจ คือแม้มโนกรรมก็บริสุทธิ์ในศีล มีแต่ความคิดในทางกุศล ตัดความคิดอกุศลในจิตใจไปได้ เกิดขึ้นแล้ว และวิถีชีวิตจักเป็นไปตาม หลัก มโนปุพฺพํคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโน มยา ตามที่อ้างแล้วแต่คราวที่แล้ว การที่ได้ เห็นกายทิพย์ของตนเองและสามารถสั่งการได้ดั่งใจปรารถนาโดยมีความทุกข์และทนน้อยลง เพราะเหตุที่ทางฝ่ายกายเองก็ยินดีรับใช้ยินดีประพฤติความดีตามที่ใจสั่งอย่างไม่บิดพลิ้ว ก็กลายเป็นความวิเศษในตัวตนที่ตนเองมองเห็นแล้วเกิดความท้าทาย เกิดความสนุกความพอใจขึ้นมาและเห็นเส้นทางชีวิตสะอาดมีคุณค่าสูงส่ง การประพฤติตนให้บริสุทธิ์ขึ้นไปเรื่อย ๆ ก็เป็นสิ่งที่สนุก จะมีปกติเพียรพยายามซักฟอกตนเองให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอ ๆ การต่อสู้กับความชั่ว เอาชนะความชั่วด้วยความดี ก็เป็นสิ่งที่สนุก เอาชนะความตระหนี่ด้วยการให้ ก็เป็นสิ่งสนุก การทำสิ่งใดมีอุปสรรคมาก ๆ ยิ่งสนุก เชื่อมั่นในคติว่า อสาธุ สาธุนา ชิเน ธรรมะย่อมชนะอธรรม อันเป็นพุทธภาษิตอย่างไม่สงสัย การต่อสู้เพื่อความดี ถือว่าเป็นสิ่งที่เพิ่มรสชาติ เพิ่มพลังให้แก่ชีวิต เป็นสิ่งที่ทดสอบความวิเศษของจิตใจ คือกายทิพย์ หรือนามกาย หรือธรรมกายที่ได้มาแล้ว จะแสวงหาความสุขและซาบซึ้งในคติธรรมที่ว่า การบรรลุความสุขความอุดมสมบูรณ์สูงสุดของชีวิตก็คือ ขณะใดก็ตามที่ได้ประพฤติตนดีที่สุด ถูกต้องที่สุด สะอาดที่สุดนั่นแหละ คือความอุดมสมบูรณ์ที่สุดของชีวิต และการที่มีมารมาผจญ ยิ่งใหญ่เพียงไร นั่นหมายถึงความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่เพียงนั้น นี่คือคุณภาพของศีลระดับสูงสุด"



จะเห็นว่า ข้อความข้างต้นบอกหลักการของศีลขั้นสูงสุดว่า แม้ใจก็ต้องอยู่ในศีล นั่นก็คือ ไตรทวารจะตรงกันหมด
การประพฤติขั้นตอนนี้ ให้เข้าใจความสำคัญของประเด็นที่ว่า กาย วาจา ใจ ต้องบริสุทธิ์ แม้แต่มโนกรรมก็ต้องมีการปรพฤติศีลด้วย ฉะนั้น แม้จะเป็นสิ่งที่ยากลำบาก จนแทบว่าเกินวิสัยก็ตาม ก็ต้องพยายามเอาให้ได้เป็นครั้ง ๆ คราว ๆ เพื่อประโยชน์ของการมองเห็น เพื่อประโยชน์ทางการสัมผัส ได้รู้สึกด้วยตนเองว่า ความอ่อนโยน เป็นอย่างไร และเพื่อการลองชิมลิ้มรสสิ่งที่วิเศษ ๆ ทางอารมณ์ จิตใจ ให้ได้ไว้ก่อน


ในทางปฏิบัติ การประพฤติ
3 สิ่งให้ตรงกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คือ ใจ ความคิด ๆ อย่างไร วาจา คือคำพูด เมื่อจะพูด ต้องพูดให้ตรงกับที่ใจคิด กาย คือการกระทำ เมื่อกระทำก็ให้ตรงกับที่วาจาพูดและใจคิดไว้ ซึ่งจะเป็นเหตุให้ กาย วาจา ใจ ตรงเป็นเส้นเดียวกัน นักศึกษาไตรสิกขาจะต้องลองทำดูเอง อย่างน้อยก็ให้ได้กายอยู่ในศีลให้ได้ วาจาแม้จะอยู่ในขั้นยากขึ้นมา ก็พยายาม ใจ หรือมโนกรรมที่อยู่ในศีล ซึ่งเป็นความยากที่สุด ก็ต้องลองพยายามดูบ่อย ๆ จนกว่า สภาวะแห่งอารมณ์จิตใจทั้งสิ้น (คือสิ่งที่เรียกว่า ฌาน) อ่อนโยนลงไป ละเอียดอ่อนเป็นเนื้อเดียวกัน อันเป็นจุดมุ่งหมายของศีลสิกขา ที่อยู่ในระดับที่จะบันดาลผล คือมีอานิสงส์ที่จะก่อเกิดคุณภาพชนิดที่ พระพุทธศาสนาต้องการให้เกิดขึ้นมาได้ และรวมถึงคุณภาพที่พระพุทธศาสนาไม่ต้องการให้เกิดขึ้น แต่ก็ย่อมเกิดขึ้นมาได้เช่นเดียวกัน หากไปให้ความสำคัญขึ้นมา อันเป็นความหมายที่สำคัญ ที่จะต้องแยกแยะให้เข้าใจ และคุณภาพเช่นที่กล่าวไว้ข้างต้น คือถ้อยคำสำคัญที่ตกไปคือถ้อยคำที่ว่า "ภาคภายในจึงบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว และเริ่มเห็นเงาแห่งกายทิพย์ นามธรรม นามกายหรือ ธรรมกาย ซ้อนตัวอยู่ในรูปกาย" นั้น แท้จริงก็เป็นเพียงคุณภาพชนิดหนึ่ง ในหลาย ๆ คุณภาพที่อาจเกิดขึ้นได้ในบุคคลคนเดียวในขณะเดียวกันก็ได้ แต่จุดประสงค์ที่ต้องการก็คือ จะต้องควบคุมคุณภาพเหล่านี้ไว้ให้ได้ ตามหลักพระบาลี(พระคัมภีร์)กล่าวไว้ว่า มโนปุพฺพํคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโน มยา, มนสา เจ ปทุฏฺเฐน ภาสติ วา กโรฺติ วา, ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ จกฺกํว วหโต ปทนฺติ [ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ เสร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจชั่วแล้ว พูดอยู่ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม(ก็ชั่ว) เพราะความชั่วนั้น ทุกข์ย่อมตามบุคคลผู้นั้นไป ดุจล้อตามรอยเท้าแห่งโค ผู้นำแอกไปอยู่ ฉ ะนั้น /สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงแปล]


ในที่นี้ จึงเอาเพียงว่า การปฏิบัติโดยประการใด ให้พอเข้าใจความหมายของคำว่าบริสุทธิ์ในศีลคือบริสุทธิ์อย่างไร พอมองออก พอรู้จัก ว่าอย่างไร เรียกว่า ศีลใจ
แม้มโนกรรมก็อยู่ในศีล อย่างไร ให้ได้ก่อน โดยลองปฏิบัติดู และให้ได้ผล โดยกำหนดช่วงเวลาปฏิบัติไว้เพียงสั้น ๆ เพื่อลองทำไตรทวารให้อยู่ในศีล อย่างตรงเป็นเส้นเดียวกัน กาย-วาจา-ใจ ดูสักครั้ง จะได้หรือไม่ จะเห็นหรือไม่ว่า เป็นอย่างไร เพราะสิ่งดังกล่าวนี้จะต้องให้ได้เห็น ให้ได้รู้จัก ด้วยตัวของตัวเอง เพื่อการที่จะสามารถพัฒนาให้งอกงามได้ในกาลข้างหน้า แต่เมื่อใดมาถึงคุณภาพดังกล่าวคือ เห็นกายทิพย์ ก็ดี เห็นธรรมกายก็ดี เห็นนามธรรมก็ดี แล้ว นั่นก็จักเป็นการเดินทางเข้าไปสู่เส้นทางภาคภายใน ที่มีความสนุกท้าทายอย่างยิ่งใหญ่ และเมื่อมีมโน คือใจเป็นใหญ่เป็นผู้ควบคุมแล้ว ก็เป็นประกันได้ว่า จะไม่หลงไปในทางผิด ไม่ออกนอกลู่นอกทางแห่งพระพุทธศาสนา


คุณภาพแห่งศีลขั้นตอนนี้ จะไปเป็นพื้นฐานต่อไป ร่วมกับคุณภาพของสมาธิในระดับที่สร้างภวังคจิตขึ้นมาได้ และเมื่อไปร่วมกับคุณภาพแห่งปัญาสิกขาในระดับที่สามารถสร้างฌานขึ้นมาได้ระดับหนึ่ง
(คือสามารถบังคับตนเองให้อยู่ในอารมณ์ชนิดใดชนิดหนึ่ง ควบคุมได้ ตามหลัก มโนปุพฺพํคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโน มยา, มนสา เจ ปทุฏฺเฐน ภาสติ วา กโรฺติ วา, ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ จกฺกํว วหโต ปทนฺติ [ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ เสร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจชั่วแล้ว พูดอยู่ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม(ก็ชั่ว) เพราะความชั่วนั้น ทุกข์ย่อมตามบุคคลผู้นั้นไป ดุจล้อตามรอยเท้าแห่งโค ผู้นำแอกไปอยู่ ฉ ะนั้น] ก็จะกลายเป็นเรื่องราวพิสดารเกิดขึ้นในภาคภายในได้ต่าง ๆ เพียงดังว่าเป็นเรื่องจริง ไปสุด ๆ ผู้ทำได้ก็จะเป็นใหญ่ขึ้นมาในโลกแห่งวิญญาณโดยแท้จริง แต่ต้องระวัง ต้องแยกออกว่าระดับนี้ยังมิใช่ของจริงที่สุดยอดแห่งพระพุทธศาสนา โดยในเบื้องต้นต้องนำหลัก อัตตา ทิฏฐิ มานะ มาเป็นตัววัด ตัวสอบคุณภาพเสมอไป เมื่อใดสิ้นไปจากอัตตา ทิฏฐิ มานะ อวิชชา แล้ว ที่สุดได้พบ ทั้งฌาน และ ปัญญา อยู่พร้อมกัน ตามพระบาลีว่า นตํถิ ฌานํ อปญฺญสฺส นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน (ฌานย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา ปัญญาย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน/พระธรรมบท ภิกขุวรรคที่5) จึงจะหมายถึงความสำเร็จ ตามหลักสูตร ไตรสิกขาที่แท้จริง



สิ่งที่จำเป็นต้องมีคำอธิบายต่อไปในเรื่องไตรสิกขา ก็ยังมีเรื่องเทกนิกเฉพาะของแต่ละระดับ ศีล สมาธิ ปัญญา ในประการสำคัญสุดยอด โดยเฉพาะ ระดับปัญญา เทกนิกกของมหาสติ ตาม มหาสติปัฏฐานสูตร ที่ควรอธิบายออกมาให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมและเหมาะแก่คนยุคใหม่ ซึ่งท่านผู้รู้ใดใดควรจะได้ช่วยกันอธิบายออกมาให้ชัดเจน เพื่อประโยชน์แด่การศึกษา ในแบบการศึกษาด้วยตนเอง ที่เหมาะสมสำหรับคนยุคใหม่ต่อไป




หนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 24

พระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเมื่อ 11 ส.ค.2544
บทบก.1 ปรารภเรื่องระบบเศรษฐกิจ วัตถุนิยม เห่อฟุตบอลกีฬาวัตถุนิยม
บทบก.2 การศึกษาที่หลงทาง พุทธิศึกษาที่ตามก้นพลศึกษา
บทบก.3 การก่อการร้าย 11 ก.ย.2544 (September 11,2001)ที่สะเทือนโลก
บทบก.4 ทินวัฒน์ มคพิทักษ์ ส.ว.ลาออกจากวุฒิสมาชิกเพราะดูหมิ่นอิสลาม??????
บทบก.5 ชมรมภิกษุต่างจังหวัด พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติกับอนาคตของพระพุทธศาสนา
เฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว ดี24
เฝ้าดูฯ รายการฒไม่เฒ่า พลังจักรวาล พลังคอสมิก ทำให้หนุ่ม
เฝ้าดูฯ รายการทุ่งแสงตะวัน ชมโรงงานทำกระดาษด้วยเยื่อสับปะรด
เฝ้าดูฯ โทรทัศน์ทุกช่อง สด ปิดคดีซุกหุ้น ทักษิณ ชินวัตร
เฝ้าดูฯ สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 2545
เฝ้าดูฯ ขอคิดด้วยคน บทบาทของสตรีในพระพุทธศาสนา(ตอนจบ)
เฝ้าดูฯ บ้านเลขที่ 5 มาเยี่ยมมาเยือนจากคนไทยมลรัฐฮุสตัน สหรัฐอเมริกา
เฝ้าดูฯ ภาพยนต์ล้อเลียนศาสนา วิญญาณอมตะ The Memory of Mark Patrick
เฝ้าดูฯ ข่าว 11 ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินทักษิณชนะ คดีซุกหุ้น
เฝ้าดูฯ ธรรมะส่องโลก ปนัดดา วงศ์ผู้ดี นางสาวไทย2543เป็นพิธีกร
เฝ้าดูฯ บ่ายนี้มีคำตอบ โครงการกองทุนหมู่บ้าน ๆ ละ 1 ล้านบาท
เฝ้าดูฯ ภาพยนต์ช่อง3 ไซ๋ว ศึกเทพอสูรสะท้านฟ้า
เฝ้าดูฯ ข่าวหนังใหญ่เรื่อง สุริโยไท ทุ่ม 500 ล้านบาทสร้าง
เฝ้าดูฯ หนังช่อง7 ฉุดนรกสยองโหด Fallen เอาเค้าเรื่องนครบาบิโลนล่มในไบเบิลมาสร้าง
เฝ้าดูฯ พบดร.รุ่ง แก้วแดง ปฏิรูปการศึกษาอย่างไร ไอทีวีทอลก
เฝ้าดูฯ รายงานสดโทรทัศน์ทั่วโลก โบอิ้งยักษ์2ลำบินชนถล่มตึกเวิร์ลเทรดเซนเตอร์สหรัฐอเมริกา บุชประกาศภาวะสงคราม
เฝ้าดูฯ เอเซียน-เกอมิลังเกมส์ 2544 ไทยสุดยอดมวยและฟุบอลเอเซีย
เฝ้าดูฯ ก้าวไกลไปกับการศึกษา การร่างกฎหมาย 23 ฉบับเพื่อการปฏิรูป
เฝ้าดูฯ รายการแสงธรรม มีชัย กิจบุญชู แห่งสภาคริสต์ไทยต่อต้านทำแท้ง
เฝ้าดูฯ ชุมทางเสียงทอง ทำประเทศไทยน่าอยู่ที่สุดในโลก
หนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 29
หนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 28
หนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 27
หนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 26
หนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 25
สากลจักรวาล สากลศาสนา 8 ต้นตำหรับการโฆษณาชวนเชื่อในหมู่มนุษยชาติ



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
----- ***** ----- โปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate นี่คือเวบไซต์คู่ www.newworldbelieve.com กับ www.newworldbelieve.net เราให้เป็นเวบไซต์ที่เสนอธรรมะหรือ ความจริง หรือ ความคิดเห็นในเรื่องราวของชีวิต ตั้งใจให้ธัมมะเป็นทาน ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แด่คนทั้งหลาย ทั้งโลก ให้ได้รู้ความจริงของศาสนาต่าง ๆในโลกวันนี้ และได้รู้ศาสนาที่ประเสริฐเพียงศาสนาเดียวสำหรับโลกยุคใหม่ จักรวาลใหม่ เรามีผู้รู้ ผู้ตรัสรู้ ผู้วินิจฉัยสรรพธรรมสรรพวิชชา สรรพศาสน์ และสรรพศาสตร์ พอชี้ทางสู่โลกใหม่ ให้ความสุข ความสบายใจความมีชีวิตที่หลุดพ้นไปสู่โลกใหม่ เราได้อุทิศเนื้อที่ทั้งหมดเป็นเนื้อที่สำหรับธรรมะทั้งหมด ไม่มีการโฆษณาสินค้า มาแต่ต้น นับถึงวันนี้ร่วม 14 ปีแล้ว มาวันนี้ เราได้สร้างได้ทำเวบไซต์คู่นี้จนได้กลายเป็นแดนโลกแห่งความสว่างไสว เบิกบานใจ ไร้พิษภัย เป็นแดนประตูวิเศษ เปิดเข้าไปแล้ว เจริญดวงตาปัญญาละเอียดอ่อน เห็นแต่สิ่งที่น่าสบายใจ ที่ผสานความคิดจิตใจคนทั้งหลายด้วยไมตรีจิตมิตรภาพล้วน ๆ ไปสู่ความเป็นมิตรกันและกันล้วน ๆ วันนี้เวบไซต์นี้ ได้กลายเป็นโลกท่องเที่ยวอีกโลกหนึ่ง ที่กว้างใหญ่ไพศาล เข้าไปแล้วได้พบแต่สิ่งที่สบายใจมีความสุข ให้ความคิดสติปัญญา และได้พบเรื่องราวหลายหลากมากมาย ที่อาจจะท่องเที่ยวไปได้ตลอดชีวิต หรือท่านอาจจะอยากอยู่ณโลกนี้ไปชั่วนิรันดร ไม่กลับออกไปอีกก็ได้ เพียงแต่ท่านเข้าใจว่านี่เป็นแดนต้นเรื่องเป็นด่านข้ามจากแดนโลกเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง และซึ่งเป็นโลกหรือบ้านของท่านทั้งหลายได้เลยทีเดียว ซึ่งสำหรับคนต่างชาติ ต่างภาษาต่างศาสนา ได้โปรดใช้การแปลของ กูเกิล หรือ Google Translate แปลเป็นภาษาของท่านก่อน ที่เขาเพิ่งประสบความสำเร็จการแปลให้ได้แทบทุกภาษาในโลกมนุษย์นี้แล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้เอง นั้นแหละเท่ากับท่านจะเป็นที่ไหนของโลกก็ตาม ทั้งหมดโลกประมาณ 7.6 พันล้านคนวันนี้ สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในโลกของเราได้เลย เราไม่ได้นำท่านไปเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่การนำไปสู่ความจริง ความรู้เรื่องชีวิตใหม่ การอุบัติใหม่สู่ภาวะอริยบุคคล ไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปพ้นจากทุกข์ ทั้งหลายไปสู่โลกแห่งความสุขแท้นิรันดร คือโลกนิพพานขององค์บรมศาสดาพุทธศาสนา พระบรมครูพุทธะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ท่านโปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate ท่านก็จะเข้าสู่โลกนี้ได้ทันทีพร้อมกับคน7.6พันล้านคนทั้งโลกนี้. ----- ***** ----- • หมายเหตุ เอาขึ้นเวบไซต์ แทนของเดิม ทั้ง 2 เวบ .net .com วันที่ 21 เม.ย. 2565 เวลา 07.00 น. -----*****-----