ReadyPlanet.com
dot
dot dot
bulletBUDDHISM TO THE NEW WORLD ERA
bullet1 Thai-ไทย
bullet2.English-อังกฤษ
bullet3.China-จีน
bullet4.Hindi-อินเดีย
bullet5.Russia-รัสเซีย
bullet6.Arab-อาหรับ
bullet7.Indonesia-อินโดนีเซีย
bullet8.Japan-ญี่ปุ่น
bullet9.Italy-อิตาลี
bullet10.France-ฝรั่งเศส
bullet11.Germany-เยอรมัน
bullet12.Africa-อาฟริกา
bullet13.Azerbaijan-อาเซอร์ไบจัน
bullet14.Bosnian-บอสเนีย
bullet15.Cambodia-เขมร
bullet16.Finland-ฟินแลนด์
bullet17.Greek-กรีก
bullet18.Hebrew-ฮีบรู
bullet19.Hungary-ฮังการี
bullet20.Iceland-ไอซ์แลนด์
bullet21.Ireland-ไอร์แลนด์
bullet22.Java-ชวา
bullet23.Korea-เกาหลี
bullet24.Latin-ละติน
bullet25.Loa-ลาว
bullet26.Finland-ฟินแลนด์
bullet27.Malaysia-มาเลย์
bullet28.Mongolia-มองโกเลีย
bullet29.Nepal-เนปาล
bullet30.Norway-นอรเวย์
bullet31.persian-เปอร์เซีย
bullet32.โปแลนด์-Poland
bullet33.Portugal- โปตุเกตุ
bullet34.Romania-โรมาเนีย
bullet35.Serbian-เซอร์เบีย
bullet36.Spain-สเปน
bullet37.Srilanga-สิงหล,ศรีลังกา
bullet38.Sweden-สวีเดน
bullet39.Tamil-ทมิฬ
bullet40.Turkey-ตุรกี
bullet41.Ukrain-ยูเครน
bullet42.Uzbekistan-อุสเบกิสถาน
bullet43.Vietnam-เวียดนาม
bullet44.Mynma-พม่า
bullet45.Galicia กาลิเซียน
bullet46.Kazakh คาซัค
bullet47.Kurdish เคิร์ด
bullet48. Croatian โครเอเซีย
bullet49.Czech เช็ก
bullet50.Samoa ซามัว
bullet51.Nederlands ดัตช์
bullet52 Turkmen เติร์กเมน
bullet53.PunJabi ปัญจาบ
bullet54.Hmong ม้ง
bullet55.Macedonian มาซิโดเนีย
bullet56.Malagasy มาลากาซี
bullet57.Latvian ลัตเวีย
bullet58.Lithuanian ลิทัวเนีย
bullet59.Wales เวลล์
bullet60.Sloveniana สโลวัค
bullet61.Sindhi สินธี
bullet62.Estonia เอสโทเนีย
bullet63. Hawaiian ฮาวาย
bullet64.Philippines ฟิลิปปินส์
bullet65.Gongni-กงกนี
bullet66.Guarani-กวารานี
bullet67.Kanada-กันนาดา
bullet68.Gaelic Scots-เกลิกสกอต
bullet69.Crio-คริโอ
bullet70.Corsica-คอร์สิกา
bullet71.คาตาลัน
bullet72.Kinya Rwanda-คินยารวันดา
bullet73.Kirkish-คีร์กิช
bullet74.Gujarat-คุชราด
bullet75.Quesua-เคซัว
bullet76.Kurdish Kurmansi)-เคิร์ด(กุรมันซี)
bullet77.Kosa-โคซา
bullet78.Georgia-จอร์เจีย
bullet79.Chinese(Simplified)-จีน(ตัวย่อ)
bullet80.Chicheva-ชิเชวา
bullet81.Sona-โซนา
bullet82.Tsonga-ซองกา
bullet83.Cebuano-ซีบัวโน
bullet84.Shunda-ชุนดา
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet86.Sesotho-เซโซโท
bullet87.NorthernSaizotho-ไซโซโทเหนือ
bullet88.Somali-โซมาลี
bullet89.History-ประวัติศาสตร์
bullet90.Divehi-ดิเวฮิ
bullet91.Denmark-เดนมาร์ก
bullet92.Dogry-โดกรี
bullet93.Telugu-เตลูกู
bullet94.bis-ทวิ
bullet95.Tajik-ทาจิก
bullet96.Tatar-ทาทาร์
bullet97.Tigrinya-ทีกรินยา
bullet98.Check-เชค
bullet99.Mambara-มัมบารา
bullet100.Bulgaria-บัลแกเรีย
bullet101.Basque-บาสก์
bullet102.Bengal-เบงกอล
bullet103.Belarus-เบลารุส
bullet104.Pashto-พาชตู
bullet105.Fritian-ฟริเชียน
bullet106.Bhojpuri-โภชปุรี
bullet107.Manipur(Manifuri)-มณีปุระ(มณิฟูรี)
bullet108.Maltese-มัลทีส
bullet109.Marathi-มาราฐี
bullet110.Malayalum-มาลายาลัม
bullet111.Micho-มิโช
bullet112.Maori-เมารี
bullet113.Maithili-ไมถิลี
bullet114.Yidsdish-ยิดดิช
bullet115.Euroba-ยูโรบา
bullet116.Lingala-ลิงกาลา
bullet118.Slovenia-สโลวีเนีย
bullet119.Swahili-สวาฮิลี
bullet120.Sanskrit-สันสกฤต
bullet121.history107-history107
bullet122.Amharic-อัมฮาริก
bullet123.Assam-อัสสัม
bullet124.Armenia-อาร์เมเนีย
bullet125.Igbo-อิกโบ
bullet126.History115-ประวัติ 115
bullet127.history117-ประวัติ117
bullet128.Ilogano-อีโลกาโน
bullet129.Eve-อีเว
bullet130.Uighur-อุยกูร์
bullet131.Uradu-อูรดู
bullet132.Esperanto-เอสเปอแรนโต
bullet133.Albania-แอลเบเนีย
bullet134.Odia(Oriya)-โอเดีย(โอริยา)
bullet135.Oromo-โอโรโม
bullet136.Omara-โอมารา
bullet137.Huasha-ฮัวซา
bullet138.Haitian Creole-เฮติครีโอล
bulletคำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรแปล เช้า-เย็น
bulletChart Showing the Process
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี พ.ศ.2540 - 2566
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 1
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 2
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี บุคคลที่ 1 - 188 ปัจจุบัน
bulletหนังสือพิมพ์ดี
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 1
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 2
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 3
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 4
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 5
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 6
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 7
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 8
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 9
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 10
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 11
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 12
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 13
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 14
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 15
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 16
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 17
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 18
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 19
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 20
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 21
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 22
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 23
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 24
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 25
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 26
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 27
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 28
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 29
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 30
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 31
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 32
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 33
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 34
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 35
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 36
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 37
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 38
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 39
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 40
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 41
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 42
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 43
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 44
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 45
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 46
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 47
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 48
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 49
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 50
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 51
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 52
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 54
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 55
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 56
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 57
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 58
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 59
bulletTo The World
bulletENGLISH
bulletUSA
bulletChina
bulletIndia
bullet Mynmar
bullet Cambodia
bullet Loas
bulletSri Lanka
bulletMalaysia
bulletKorea
bulletA Sharp Turn of Believes : Iresearch Iwrite Iread
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 1
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 2
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 3
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 4
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 5
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 6
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 7
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 8
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 9
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 10
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 11
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 12
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 13
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 14
bulletMystery Report 15
bulletMystery Report 16
bulletMystery Report 17
bulletMystery Report 18
bulletMystery Report 19
bulletMystery Report 20
bulletMystery Report 21
bulletMystery Report 22
bulletMystery Report 23
bulletMystery Report 24
bulletMystery World Report 25
bulletศึกษาโลกลี้ลับ 26
bulletเฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว วิเคราะห์ทุกปัญหาในโลกมนุษย์ด้วยสติปัญญาและเหตุผลวิทยาศาสตร์จากนสพ.ดี
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2536
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2537
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2538
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2539
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2540
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2541
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2542
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2543-2545
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2545-2549
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2549-2550
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2550-ส.ค.2551
bulletเฝ้าดูฯ ส.ค.-ก.ย.2551
bulletเฝ้าดูฯ ก.ย.2551- ธ.ค. 2551
bulletเฝ้าดูฯสำนวนพัชรา กอปรทศธรรม
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 16-27
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 29
bulletบทความใหม่ เม.ย.-พ.ค.2552
bulletพุทธธรรมเพื่อทางดับทุกข์
bulletทฤษฎีการดับทุกข์ทางจิต วิปัสสนากรรมฐานโดยการทำงาน(สำนวนปรับปรุงใหม่)
bulletประวัติพัชรา กอปรทศธรรม
bulletประวัติการต่อสู้เพื่อการดับทุกข์ ของพัชรา กอปรทศธรรม
bulletอัลบั้มรูป history
bulletนิทานธรรมะประยุกต์ มานุสสาสุระสงคราม 4 ภาค และอื่น ๆ
bulletอัลบั้มรูป ภาพในอดีตและชีวประวัติศาสตร์ที่สวยงาม
bulletจากเวบบอร์ด พูดกันไม่รู้เรื่อง ประชาธิปไตยล้าหลัง
bulletศาสนาสากล การวิเคราะห์ความหมาย
bulletปลอบใจ
dot
รวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์ แนวปฏิรูปคณะสงฆ์อยู่ในบทวิเคราะห์นี้แล้ว
dot
bulletรวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์
dot
สากลจักรวาล สากลศาสนา แนวคิดศาสนาสำหรับคนยุคใหม่ ผู้ก้าวผิดทางไปสู่สิ่งไร้สาระโดยไม่รู้ตัว
dot
bulletสากล...ศาสนา 1
bulletสากล...ศาสนา 2
bulletสากล...ศาสนา 3
bulletสากล...ศาสนา 4
bulletสากล...ศาสนา 5
bulletสากล...ศาสนา 6
bulletสากล...ศาสนา 7
bulletสากล...ศาสนา 9
bulletสากล...ศาสนา 8
bulletสากล...ศาสนา 10
bulletสากล...ศาสนา 11
bulletสากล...ศาสนา 12
bulletสากล...ศาสนา 13
bulletสากล...ศาสนา 14
bulletสากล...ศาสนา 16
dot
ส่วนข้อมูลสำคัญเพื่อการวิจัยการเมืองไทยยุค คมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
dot
bulletข้อมูลสำคัญยุคคมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่1/26ส.ค.2551
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่2/27ส.ค.2551
bulletใบปลิว อีเมล์ ในหลวงทรงร้องไห้
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 1
bulletในหลวงเพิ่งทราบข่าวฆ่าประชาชน10เมย.53ทรงร้องไห้
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
dot
รวมข่าวม็อบการเมืองสนธิ-จำลอง-ปชป.มิ.ย.51-เม.ย.52 นสพ.
dot
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 2
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 3
bulletรวมข่าวม็อบ30มิ.ย.51-23มี.ค.52
bulletเลือดศรีสะเกษบันทึกเรื่องราวรอบด้านเกี่ยวกับเขาพระวิหาร
bulletรายงานการโฆษณาชวนเชื่อในประเทศไทยที่ล้มล้างรัฐบาลทักษิณ
bulletหนังสือพิมพ์ดี ของฟรีให้เปล่ามา20ปีแล้วทั้งเอกสารและอินเทอเนท
bulletหนังสือพิมพ์ดี ( อินเทอเนต ) เล่ม 1 - 44 - ล่าสุด
bulletหน้าที่เก็บไว้
bulletมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร)
bulletวัดมหาพุทธาราม ศรีสะเกษ บันทึกเหตุการณ์
bulletสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดศรีสะเกษแห่งที่ 1
bulletเกี่ยวกับเวบไซต์ของเรา เราทำเพื่อปัญญาชนโดยแท้
bulletรวมกระทู้เด็ดจากกระดานถามตอบ
bulletคาถาอาคมไสยศาสตร์
bulletกวีนิพนธ์ใหม่
bulletศูนย์ปฏิญญาณละเลิกอบายมุข บัญชีที่ 1- 4


พระพุทธเจ้า ศึกษาจากวันวิสาขบูชา วันสำคัญของโลก

พระพุทธเจ้า ;
ศึกษาจากวันวิสาขบูชา วันสำคัญของโลก

วันเพ็ญเดือน ๖  เป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญ ๓ อย่างเกิดขึ้นตรงกัน

โดย  อรบุศป์ ละอองธรรม

 

 

        


 

คำปรารภ

 

คำว่า พระพุทธเจ้า ไม่ใช่ชื่อบุคคล แต่เป็นชื่อ สถาบัน  ที่เป็นภูมิปัญญาอันสูงสุดในศาสนาสากล   ในวัน วิสาขบูชานี้ เป็นวันที่เกี่ยวกับการเกิด ๒ ครั้ง  คือครั้งที่ ๑ เป็นการเกิดของมนุษย์ ราชโอรสแห่งกษัตริย์ในชมพูทวีปองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ  สิทธัตถะนี่แหละเป็นชื่อของบุคคลชื่อหนึ่ง  แต่ชื่อนี้มิใช่ชื่อในความหมายเดียวกับ พระพุทธเจ้า   ต่อเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะนี้ได้บำเพ็ญตนทางธรรมะในป่าจนได้บรรลุแจ้งซึ่งภูมิปัญญาอันสูงสุดที่รู้แจ้งโลกทั้งสากล หรือที่เรียกว่า โพธิญาณแล้วจึงได้ชื่อว่าพระพุทธเจ้า  วันสำคัญอีกวันหนึ่งคือวันที่ พระพุทธเจ้าในร่างของเจ้าชายสิทธัตถะจากโลกไป ถ้าเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ คนไทยเราจะพูดด้วยราชาศัพท์ว่า สวรรคต  แต่ในที่นี้เจ้าชายสิทธัตถะได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เราจึงพูดว่า ปรินิพพาน  หรือเป็นประโยคเต็มว่า  พระพุทธเจ้าปรินิพพาน บ้าง  พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานบ้าง  เนื่องจาก วันที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงมีพระราชสมภพ  และวันที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงบรรลุพระโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า  และวันที่เจ้าชายสิทธัตถะผู้ทรงเป็นพระพุทธเจ้าแล้วเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน นี้ เป็นวันเดียวกันคือวันเพ็ญเดือน ๖ จึงเป็นเครื่องหมายที่พิเศษจริง ๆ ของพระพุทธเจ้า  ยากที่จะมีบุคคลใดใดเหมือนหรือคล้ายคลึง 

ชาวพุทธทั่วโลกจะกล่าวสรรเสริญความดีของพระพุทธเจ้าด้วยประการต่าง ๆ สำหรับชาวพุทธไทยนั้นมีบทสวดเวลาเช้าและเวลาเย็น ที่เป็นภาษามคธ  โดยเฉพาะที่นิยมทั่วไปก็คือบทสวดมนต์ที่มีคำแปลไทยกำกับด้วย ที่บ่งบอกไปถึงความหมายของพระพุทธเจ้าอย่างไร  ในทางธรรมปฏิบัติจะถือว่าการสวดมนต์เป็นกรรมฐานข้อสำคัญสำหรับเจริญขั้นต้นคือสมถกรรมฐาน และสำหรับเป็นพื้นฐานความเข้าใจในวิปัสสนากรรมฐานในเวลาต่อไป อีกด้วย ดังจะขอนำบทสวดมนต์ทำวัตรเย็นแปลของพุทธบริษัททั่วไปมาพิจารณา เป็นบทเป็นตอนไปตามลำดับ เพื่อให้เข้าใจเรื่องราวของพระพุทธเจ้าดียิ่งขึ้น ดังต่อไปนี้ 

 

 

 

 

 

 

         

 

บททำวัตรเย็น เขียนตามสำเนียงภาษาไทย

 

บทนำบูชาพระรัตนตรัย
(หัวหน้านำ-ว่าตาม)



 

 

วรรคที่  ๑.   โยโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทฺโธ,  
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์ใด,  เป็นพระอรหันต์,  ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง



 

อธิบายคำที่สำคัญ

๑.      คำว่า  ภะคะวา    ในที่นี้แปลว่า  พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นชื่อ ๆ หนึ่งของ พระพุทธเจ้า  โดยคำแปลของคำว่า  ภควา;

ท.   ภควา
   ชนผู้มีสมบัติอันบุคคลพึงเสพ ( พระพุทธเจ้า ),  ปูช (ผู้ควรบูชา), ชิน (พระพุทธเจ้า) ; พระผู้มีพระภาค   สํ. ภควนฺตฺ 

         E.   Bhagava    worshipful, venerable, blessed, holy; the Buddha  Skt. Bhagavant  (จาก ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต ฉบับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พิมพ์พ.ศ.๒๕๑๒ หน้า ๕๖๘)

ความหมายของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า โดยความหมายของ พระพุทธเจ้า ในวรรณคดีเล่มสำคัญ ๆ ของไทย เช่น  กามนิต  มีตอนหนึ่งว่า

“ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้  สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเสด็จลงมาตรัสในโลกมนุษย์แล้ว ถึง   วาระอันควรจะเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน  พระองค์ได้เสด็จสู่ที่จาริกไปในคามนิคมชนบทราชธานีต่าง ๆ แห่งแคว้นมคธจนบรรลุกรุงราชคฤห์มหานคร” (จาก กามนิต “ฉบับสมบูรณ์”  โดยเสถียรโกเศศ และ นาคะประทีป พิมพ์ พ.ศ.๒๕๑๕ หน้า ๑)

 

        จะเห็นว่า  ใช้คำขานนามพระพุทธเจ้าว่า  พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า  โดยความหมายของคำบูชานี้คือ    คำว่า  ภะคะวา   นี่เป็นการยกคำขานนาม พระพุทธเจ้า ให้สูงส่งของนักประพันธ์

 

ใน พระปฐมสมโพธิกถา พุทธประวัติ ฉบับพิสดาร  พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรถ  ยกย่องไว้ตอนที่ทรงชนะมารดังนี้

“สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคเปล่งพระพุทธสีหนาทประภาษทักตัณหาแล้ว มีพระพุทธดำริสืบไปว่า แต่ตถาคตบริจาคบุตรทาระทานธนสารมังสโลหิตกับทั้งองค์ชีวิตสิ้นกาลนานถึง ๔ อสงไขยแสนกัลป์ ก็เพราะเหตุประโยชน์ด้วยโพธิบัลลังก์อันนี้  กาลบัดนี้ตถาคตก็ยังกิเลส ๑พันห้าร้อยให้สูญสิ้นจากสันดาน ได้พระโลกุตตรธรรมสำเร็จมโนรถประสงค์แล้ว.....อันแรกได้วิมุตติเศวตฉัตร  ตรัสรู้พระพุทธอนาวรญาณฯ”  (จาก พระปฐมสมโพธิกถา  พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรถ   พิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๔ หน้า ๑๕๕- ๕๘)

 

 

จะเห็นว่า นักประพันธ์ใช้คำขานนามพระพุทธเจ้าว่า  สมเด็จพระผู้ทรงพระภาค  ซึ่งมีนัยความหมายที่ยกย่องเชิดชูนามพระพุทธเจ้าให้ได้อย่างสูงขึ้นไปอีก โดยมีคำว่า สมเด็จ เพิ่มเข้าไปหน้าคำ ความหมาย  ภะคะวา

 

แต่แท้ที่จริง พระพุทธเจ้า ทรงมีความหมายถึง ภะคะวา ซึ่งมีความหมายถึง  ชนผู้มีสมบัติอันบุคคลพึงเสพ ( พระพุทธเจ้า ),  ปูช (ผู้ควรบูชา), ชิน (พระพุทธเจ้า) ; พระผู้มีพระภาค   สํ. ภควนฺตฺ  E.   Bhagava      worshipful, venerable, blessed, holy; the Buddha  Skt. Bhagavant     เป็นต้น


๒.     คำว่า  อะระหัง  (อรหํ) หรือคำที่ชาวพุทธคุ้นเคยที่สุดคือ  อรหันต์  นั่นเอง ซึ่งเป็นคำบอกความหมายของพระพุทธเจ้าที่สมบูรณ์ที่สุดคำหนึ่ง  ในบทสวดมนต์แปลว่า “ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง”  ซึ่งหมายความว่า  พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง เช่นเดียวกับพระสาวกอรหันต์ทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง พระพุทธเจ้ากับบรรดาพระอรหันต์สาวกจึงมีความเหมือนกัน เท่ากันก็คือ มีความสิ้นกิเลส คือดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิงเหมือนกัน  อย่างนี้เรียกว่า  อรหันต์ (อรหํ) คำว่าพระอรหันต์ หมายถึง ผู้สิ้นกิเลส  คือดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง แล้วได้พบความสุข คือนิพพาน เพียงแต่ พระพุทธเจ้าทรงมีวิชชามากกว่าพระสาวกทั้งหลาย ทรงรอบรู้โลกมากกว่าพระสาวกทั้งหลาย โดยพระโพธิญาณ ที่ทรงมีข่ายพระญาณกว้างขวาง ลุ่มลึกกว่าพระสาวกทั้งปวง  จึงทรงเป็นศาสดา แห่งพระพุทธศาสนา  

 

 

๓.     คำว่า สัมมาสัมพุทโธ   ในบทสวดแปลว่า ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ในปทานุกรมฯ มีคำแปลไว้ว่า 

ท.    สมฺมาสมฺพุทโธ  ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ (ผ) 

E.     Sammasambuddho  one who is truly and perfectly enlightened, who has true and perfect knowledge of the Truth, who is fully enlightened, i.e., has discovered all things rightly and by himself; a Supreme Buddha ( จาก ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต ดังอ้างครั้งก่อน หน้า ๘๐๖ )

 

ซึ่งจะเห็นว่า ภาษาอังกฤษให้คำแปลที่มีความหมายเฉียบ ชัด และกว้างขวางลุ่มลึกกว่า

และนี่คือความหมายของ พระพุทธเจ้า จากบทสวดบทแรกนี้
ท่านลองออกเสียงวรรคแรกนี้ โดยทำนองสวดช้าแบบสรภัญญะ หยุดตรงวรรคตอนที่กำหนดให้(/)แล้ว  ก็จะสามารถสวดมนต์แปลด้วยท่วงทำนองที่ไพเราะไปได้ด้วยตนเอง  ลองดู


โยโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทฺโธ,/  
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์ใด,/  เป็นพระอรหันต์,/  ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง,/ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง/ 

 

 

 

 

           



วรรคที่  ๒.   สฺวากฺขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม ,  
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด,  ตรัสไว้ดีแล้ว,  

 


อธิบายคำที่สำคัญ

 

๑.    คำว่า ธัมโม คำที่สำคัญในวรรคที่ ๒ นี้ คือ คำว่า ธัมโม บาลีเป็น ธมฺโม ซึ่งชาวพุทธทั่วไปคงเข้าใจความหมายพื้น ๆ ดีอยู่แล้ว  แต่ในเชิงสัจธรรมอันลึกซึ้งและในความหมายเฉพาะแห่งพระพุทธศาสนา ลองศึกษาจากปทานุกรมฯ ดังนี้

ธมฺโม,-มํ    สภาพอันสัตว์ควรทรง( ธรรม )[]; บุญ [ชิน. ๘๕/๒๕]; ธรรมารมณ์ [ชิน. ๙๔/๒๗]; เป็นไปในอรรถคือ ๑. สภาว (ความเป็นเอง, ธรรมดา )  ๒. ปริยตฺติ [บาลีพระไตรปิฎก] ๓.  ปญฺญา(ญาณ) ๔. ญาย (ยุติธรรม, ความถูกต้อง หรือสัมมาปฏิปทามีมรรคเป็นต้น) ๕.  สจฺจ   ๖. ปกติ  ๗. ปุญฺญ  ๘. เญยฺย (วัตถุอันจะพึงรู้ มี๕อย่าง คือ สังขาร, วิการ, ลักษณะ, นิพพาน, บัญญัติ)  ๙. คุณ  ๑๐. อาจาร  ๑๑. สมาธิ   ๑๒. นิสฺสตฺตตา (ความไม่เป็นสัตว์ ไม่เป็นบุคคล)  ๑๓. อาปตฺติ (อาบัติมีปาราชิกาบัติ เป็นต้น)   ๑๔.  การณาทิ (เหตุ เป็นต้น)  [ชิน. ๗๘๔/๒๔๕].  สํ. ธรฺม. 

E. Dhammo, -mam     nature,  condition,  quality, property,   characteristic; function, practice,   duty; object, thing, idea, phenomenon, doctrine, Law; virtue,  piety;  justice;  the Law of truth of Buddha;  the Buddhist scriptures; religion,  Skt. dharma. (จาก ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต ดังอ้างครั้งก่อน หน้า ๓๘๑)

จะเห็นว่า คำแปลภาษาอังกฤษจะอ่านเข้าใจง่ายกว่า คำแปลภาษาไทยเป็นอย่างมาก  ถ้ามีความรู้ภาษาอังกฤษ อ่านคำแปลภาษาอังกษจะเข้าใจได้ทันที  ส่วนคำแปลภาษาไทย อ่านจบแล้วจะแทบไม่รู้อะไรเลย  ยังไม่รู้เลยว่าธัมมะ คืออะไร   โดยทั่วไปคนไทยจะเข้าใจว่า ธรรมะ หรือ ธัมโม คำนี้ว่าเป็น   the Buddhist scriptures  หรือแปลกลับไปเป็นไทยอีกทีก็คือ  คำสอนในพระคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาพุทธ  [the sacred writings of Buddhism]

 

๒.    แปลคำว่า  สฺวากฺขาโต 
สฺวากฺขาโต  
อัน.....กล่าวดีแล้ว (ผ). 
E.    Svakkhato    well-expounded,  well-explained. 

 

ในบทสวดวรรคที่ ๒ นี้ จึงเป็นดังนี้
สฺวากฺขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม ,/  
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด,/  ตรัสไว้ดีแล้ว,/

 

 

 

 

 

          

 

 

วรรคที่ ๓  สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า  พระองค์ใด,  ปฏิบัติดีแล้ว 

 

อธิบายคำที่สำคัญ

วรรคที่ 3 นี้ มีคำที่ชาวพุทธทั่วไปเข้าใจกันดีอยู่แล้วทั้งสิ้น   มีคำที่ลึกซึ้งอยู่ก็คือคำว่า  สาวะกะสังโฆ  คือ  พระสงฆ์สาวก  ซึ่งหมายถึง สงฆ์ 2 พวกคือ  สงฆ์ปุถุชน  กับสงฆ์ที่เป็นพระอริยบุคคล ตั้งแต่พระโสดาบัน ถึงพระอรหันต์  ซึ่งในบทสวดมนต์ตอนต่อไป จะมีการอธิบายถึง สงฆ์ 8 จำพวก  ที่ขยายความหมายจากตอนนี้ไปอีกทีหนึ่ง

 

คำว่า สาวก มีคำแปลว่า
ท.   สาวโก   สราพก (ผ) ; สาวก ( ค.ธ.ป. ๔๔/๒๒) ;  ผู้ฟังถ้อยคำ, ศิษย์ ( อ.ก. ๒/๓๘๕ )
E.   Savako    a hearkener, listener, pupil; a disciple. (จาก ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต ดังอ้างครั้งก่อน หน้า ๘๒๖)



ฉะนั้นวรรคที่ ๓ จึงลงอย่างนี้

 

สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,/
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า  พระองค์ใด,/  ปฏิบัติดีแล้ว/

 

 

 

 

 

         

 

 


วรรคที่ ๔    ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง,  อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ,
ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอบูชาอย่างยิ่ง, ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น, พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์, ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้, อันยกขึ้นตามสมควรแล้วอย่างไร,   

 

 

อธิบายคำที่สำคัญ 

คำว่า อภิปูชะยามะ ขอบูชาอย่างยิ่งนั้น เป็นลักษณะการแสดงความเลื่อมใสอย่างยิ่งต่อพระรัตนตรัย  ลักษณะความเลื่อมใสอย่างยิ่งปรากฏในวรรณกรรมไทยชิ้นสำคัญครั้งได้เกิดมีปฐมอุบาสกขึ้นในพระพุทธศาสนา ปรากฏในพระปฐมสมโพธิกถาว่า

 

“กาลเมื่อเสวยเสร็จแล้ว  ตปุสสะ  ภัลลิกะ  พาณิชทั้ง ๒ กราบทูลว่า  “ข้าแต่พระผู้ทรงพระภาคเจ้า  ข้าพระพุทธเจ้าทั้ง ๒ นี้ ถึงซึ่งพระบรมครูเป็นที่พึ่ง ถึงซึ่งพระธรรมเป็นที่พึ่ง และพระพุทธองค์จงทรงทราบว่าข้าพระบาททั้ง ๒ นี้เป็นอุบาสกในพระพุทธศาสนา ตั้งแต่กาลวันนี้เป็นต้นไป ข้าพระองค์ก็ตั้งอยู่ในปาณุเปตะสรณคมน์ตราบเท่าถึงทำลายชีพ   แล้วก็ทูลขอสิ่งอันใดอันหนึ่งซึ่งควรจะอภิวันทนาการจำเดิมแต่วันนี้ต่างองค์พระชินสีห์สืบไปในภายหน้า”  สมเด็จพระศาสดาก็ทรงยกพระทักษิณหัตถ์ขึ้นปรามาส เหนือพระอุตตมังคศิโรตม์  ลำดับนั้น  พระเกศธาตุทั้ง ๘ เส้น มีสีดุจแก้วอินทนิลและปีกแมลงภู่  มิฉะนั้นดุจสีดอกอัญชันและอุมมารบุปผาชาติก็หล่นลงประดิษฐานในฝ่าพระหัตถ์  จึงโปรดพระราชทานเกศธาตุทั้ง ๘ นั้นแก่พาณิชทั้ง ๒ ๆ รับพระเกศธาตุ  ประกอบด้วยประสาทโสมนัส  ครุวนาดุจได้โสรจสรงด้วยอมฤตยรสวารีถวายอภิวาททูลลาพระนราสภมุนี  แล้วก็หลีกออกไปจากที่นั้น  ในกาลนั้นพาณิชทั้ง ๒ ได้เป็นปฐมอุบาสกในศาสนา ตั้งอยู่ในทเววาจิกสรณคมน์ ถึงซึ่งพระพุทธสรณะแต่ ๒ ประการเท่านั้น  เหตุพระอภิสงฆ์ยังมิได้บังเกิดปรากฏในโลก ฯ”  ( จาก พระปฐมสมโพธิกถา อ้างแล้วข้างต้น หน้า ๑๖๙ )

 

 

 

ฉะนั้นวรรคที่ ๔ จึงได้กล่าวสรรเสริญด้วยบทสวดมนต์ดังกล่าวนี้  ว่า

 

ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง,/  อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ,/
ข้าพเจ้าทั้งหลาย,/ ขอบูชาอย่างยิ่ง,/ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,/ พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์,/ ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้,/ อันยกขึ้นตามสมควรแล้วอย่างไร,/   

 

 

 

 

           

 

 

 

วรรคที่  ๕.   สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ,  
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ, พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานนานแล้ว, ทรงสร้างคุณอันสำเร็จประโยชน์ไว้แด่ข้าพเจ้า, 

 

 

อธิบายคำที่สำคัญ 

สุจิระปะรินิพพุโตปิ  พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานนานแล้ว

ความหมายสำคัญคือ  ศัพท์  ปรินิพพาน  ซึ่งหมายถึงสิ้นชีพชนม์สังขาร (ตาย) เป็นคำที่ชาวไทย หรือหลักภาษาไทย บัญญัติให้ใช้สำหรับพระพุทธเจ้าองค์เดียวเท่านั้น  แม้พระสาวกที่เป็นอรหันต์ ก็ใช้คำ ปรินิพพาน ไม่ได้  พระสาวกอรหันต์ หลักภาษาไทยให้ใช้ได้เพียง นิพพาน  เท่านั้น  ดังเช่นตัวอย่างที่ยกไว้แล้วว่า  พระพุทธเจ้าปรินิพพาน,  พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน  เป็นต้น  ในปทานุกรมฯ มีคำว่า  ปรินิพพุโต  ว่าดังนี้

 

ท.   ปรินิพุโต    ดับรอบแล้ว ( ผ ) ;  ดับสนิท ( ค.ธ.ป. ๗๐/๓๓)

E.   Parinibbuto  [ p.p. of parinibbbatti ]  completely extinquished, extinct; having attained Nirvana  or  complete extinction of being;  dead [ of an Arahant ]

 

จะเห็นว่า ปทานุกรมฯภาษาอังกฤษ ไม่ระบุว่า คำปรินิพพาน ใช้กับพระพุทธเจ้าองค์เดียว  แต่ใช้กับ พระอรหันต์องค์ใดก็ได้ โดยให้คำแปลที่ว่า  dead [ of an Arahant ]  : ความตายของพระอรหันต์

 

 

มีตัวอย่างจากวรรณคดีไทยชิ้นสำคัญคือกามนิตว่า

 

“ แม้เมื่อพระองค์เสด็จประทับยืนอยู่ขณะนั้น  ก็ได้ทรงจินตนาการอันเกิดขึ้นด้วยพระปริวิตกถึงที่ได้เสด็จมาโดดเดี่ยวตลอดวันว่า “ถึงเวลาแล้ว ในไม่ช้าเราก็จะละสังขารนี้ไป คือสังสารที่เราได้ถ่ายถอนตนหลุดพ้นแล้ว ตลอดจนยังผู้ที่มาในภายหลังให้หลุดพ้นด้วย แล้วเข้าสู่ความดับสนิทด้วยอำนาจแห่งพระปรินิพพานธาตุ”   (จาก กามนิต “ฉบับสมบูรณ์”  ดังอ้างแล้ว หน้า ๕-๖)

 

ในพระปฐมสมโพธิกถา ว่า
“กาลเมื่อพระอานนท์ไปจากที่นั้นแล้ว  ขณะนั้นพระยาวัสสวดีมารผู้ใจบาปก็เข้ามาสู่สำนักพระทศพลญาณ  แล้วนิสีทนาการในที่ควรข้างหนึ่งกราบทูลอาราธนาว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค  ขออัญเชิญพระองค์ จงเข้าสู่พระปรินิพพานกาลบัดนี้   ดังจะรู้มา  จำเดิมแต่กาลปฐมาภิสมโพธิปางเมื่อพระพุทธองค์ทรงสถิตอยู่ ณ อัชปาลนิโครธรุกขมูลใน ๗ วัน  เป็นคำรบคราวหลัง ครั้นเมื่อทรงรับอาราธนาท้าวมหาพรหมอันมาทูลขอให้แสดงธรรมแล้ว  จึงพระยาวัสสวดีมารก็มากราบทูลว่า  พระองค์ทรงบำเพ็ญพระบารมีมาเพื่อปรารถนาพระสัพพัญญู  บัดนี้ก็สำเร็จมโนปณิธานแล้ว  และกระทำประโยชน์แก่สัตว์โลกให้ลำบากพระวรกายไปไยเล่า  ขอเชิญเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานเถิดในวันนี้   กาลนั้นพระชินสีห์ได้ทรงเสวนาการซึ่งคำพระยามารกราบทูล  จึงตรัสห้ามว่าดูกรมารผู้ใจบาป  ต่อเมื่อใดสาวกทั้งหลายของตถาคตคือภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก  อุบาสิกา  เป็นพหุสูตอันฉลาด  อาจทรงไว้ได้ซึ่งพระธรรมวินัยและปฏิบัติศึกษาเล่าเรียนบอกกล่าวกันสืบไป  และสำแดงธรรมเทศนาโปรดเวไนยนิกรสัตว์  เทพยดามนุษย์ให้สำเร็จมรรคผลพระอมตมหานิพพานได้  ยังศาสนมรรคพรหมจรรย์  ให้แผ่ไพศาลไปทั่วโลกธาตุกาลเมื่อใดแล้ว  ตถาคตจึงจะรับอาราธนาท่านเข้าสู่พระปรินิพพานในกาลเมื่อนั้น   ตรัสห้ามบ่มิได้รับนิมนต์พระยามารด้วยประการฉะนี้  และพระยาวัสสวดีก็ติดตามพระองค์มาคอยซึ่งโอกาส  ตราบเท่าถึงกาลนั้นเสด็จมาสถิต ณ ปาวาลเจดีย์จึงเข้ามากราบทูลอาราธนาพระชินสีห์  ให้ปรินิพพานในกาลครั้งนั้นอีกเล่า  เมื่อพระสัพพัญูเจ้า ได้ทรงสดับอาราธนากถาแห่งพระยามารในกาลครั้งนั้น  จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า  ดูกรมาร  ท่านอย่าได้ทุกข์โทมนัสเลย ไม่ช้าตถาคตก็จักปรินิพพาน  กำหนดแต่นี้ล่วงไปอีก ๓ เดือนเท่านั้น  ครั้นพระยามารได้สดับก็รับพุทธฎีกาว่าสาธุ ๆ  มีจิตโสมนัสยินดี แล้วก็อันตรธานจากสถานที่นั้น ฯ” ( จาก พระปฐมสมโพธิกถา อ้างแล้วข้างต้น หน้า ๓๗๔-๗๕ )

 

 

วรรคที่ ๕ จัดวรรคตอนอย่างนี้
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ,/  
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ,/ พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้ว,/ ทรงสร้างคุณอันสำเร็จประโยชน์ไว้แด่ข้าพเจ้า,/ 

 

 

 

 

 

       

 

 

 

วรรคที่  ๖.   ปัจฉิมา ชะนะตานุกัมปมานะสา,  
ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์แด่พวกข้าพเจ้าอันเป็นชนรุ่นหลัง, 

 

อธิบายคำที่สำคัญ 
วรรคที่6 นี้ ไม่มีคำศัพท์ที่ลึกซึ้งอะไร  และคำแปลก็ฟังเข้าใจดีแล้ว นั่นคือ

ปัจฉิมา ชะนะตานุกัมปมานะสา,/  
ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์แด่พวกข้าพเจ้าอันเป็นชนรุ่นหลัง,/

 

 

 

 

 

 

 

วรรคที่  ๗.   อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ,
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับเครื่องสักการะ,  อันเป็นบรรณาการของคนยากทั้งหลายเหล่านี้, 

 

อธิบายคำที่สำคัญ 

ทุคคะตะปัณณาการะภูเต :  อันเป็นบรรณาการของคนยากทั้งหลาย  คำว่าคนยากทั้งหลายเหล่านี้  หมายถึงมนุษย์ทั้งหลาย   เชื้อชาติต่าง ๆ ในโลกนี้  ไม่ว่าเศรษฐี มหาเศรษฐี ถึงยาจกวนิพกทั้งหมดทั้งมวล  ทางพระพุทธศาสนาถือว่า  เป็นคนยากคนจนทั้งสิ้น เนื่องจากมนุษย์ทั้งหลายย่อมมีความหิวโหยอยู่ตลอดเวลา  ไม่มีความอิ่ม ไม่มีความพอ  มีความพร่องอยู่เป็นนิตย์  โดยเปรียบเทียบกับคนผู้ร่ำรวย อุดมสมบูรณ์คือ พระอรหันต์ ลงมาถึงพระโสดาบัน ที่เป้นเหล่าผู้พ้นทุกข์ นั่นแหละคือกลุ่มผู้ร่ำรวยอย่างแท้จริง  เพราะฉะนั้นเมื่ออยู่ต่อหน้าพระพุทธเจ้าแล้ว และถวายสักการะอันใดแด่พระองค์ คำที่ควรกล่าวอย่างถ่อมเจียมตนที่สุดก็คือคำในวรรคที่ ๗ นี้ ที่จัดวรรคตอนแล้ว เป็นดังนี้

อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ,/
  ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับเครื่องสักการะ,/  อันเป็นบรรณาการของคนยากทั้งหลายเหล่านี้,/ 

 

 

 

 

 

 

 

         

 

 

วรรคที่  ๘.   อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ,  
เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย,  ตลอดกาลนานเทอญ, 

 

อธิบายคำที่สำคัญ 

 

หิตายะ  สุขายะ    เพื่อประโยชน์หนึ่ง  และเพื่อความสุขหนึ่ง   นี่คือเป้าหมายของการประพฤติธรรม และเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา 

ท.  หิตายะ   เพื่อประโยชน์เกื้อกูล ( ป.ธ. ๑/๔๒๗ ).  สํ  หิตาย.
E.   Hitaya   [ dat. ] for the benefit.  Skt.  Hitaya.   ( จาก ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต ดังอ้างครั้งก่อน หน้า ๘๗๔ )

ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนถึงการได้ประโยชน์และความสุขของการปฏิบัติธรรมก็คือพระอรหันต์ทั้งหลาย และหนึ่งในพระอริยสงฆ์เหล่านั้นในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาก็คือ  พระยามิลินท์  กษัตริย์สาคลนคร(นครใหญ่แห่งหนึ่งข้างชมพูทวีปยุคนั้น) ผู้สละราชบัลลังก์ออกบวช และได้สำเร็จธรรมเป็นพระอรหันต์  ประมาณ 500 พรรษาแห่งพระพุทธศาสนกาล มีใน มิลินทปัญหา ฉบับพิสดาร ดังนี้

“ส่วนสมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี เห็นโทษลามกมิติในโลกียกามคุณ อันเป็น อนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตา  มิตั้งอยู่จิรังกาลนานช้า จะพาให้อาลัยหลงอยู่ในวัฏฏสงสารแสนเทวษยิ่ง  ทรงพระรำพึงจะหาที่พึ่ง  หนีภพทั้ง ๓ คือ  กามภพ ๑   รูปภพ ๑  อรูปภพ ๑  สิริเป็นภพสาม พิเคราะห์ดูกามภพทั้ง ๑๑ ชั้น คือ อบายภูมิ ๔  มนุษยโลก ๑  เทวโลก ๖  ชั้นตั้งแต่จาตุมหาราชิกาไปจนชั้นปรนิมมิตวสวัดดี  แล้วพิจารณาดูชั้นพรหม ๑๖ ชั้นซึ่งมีรูปกาย  พิเคราะห์ดูชั้นอรูปพหรหม อันหารูปมิได้ทั้ง ๔ นั้นก็ดี    ก็ไม่เห็นว่าจะเป็นที่พึ่งได้  เหตุภพทั้งสามนี้ไซร้  ยังจะให้เวียนเกิดเวียนตายกลับกลายได้  ไม่เป็นที่แน่นอน  เหมือนกรุงแก้วอันกล่าวแล้ว  คือพระอมตมหานครนฤพาน  อันเกษมสำราญสุขสบาย มิได้เวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป  ท้าวเธอมีพระหฤทัยผูกพันในที่จะได้สำเร็จพระนฤพาน  ตัดกันดารเสียให้ขาดเด็ดแต่ในปัจจุบัน  ขณะนั้นก็ทรงสละเสียซึ่งมานะ  เสด็จออกจากพระราชเคหา  ทรงบรรพชาเพศเป็นอนาคาริยบรรพชิต บำเพ็ญสมณกิจเจริญพระวิปัสสนาไป  ก็ได้สำเร็จแก่พระวิมุตติอันประเสริฐสิ้นกิเลส  “เตน วุตตํ”  เหตุดังนั้นพระคันถรจนาจารย์ จึงนิพนธ์ผูกคาถาสรรเสริญคุณแห่งปัญญาไว้ในที่สุดนี้ว่า

 

ปญฺญา ปสฏฺฐา โลกสฺมึ                     คตา สทฺธมฺมฐีติยา
ปญฺญาย วิมตึ  หนฺตฺวาน                    สนฺตึ ปปฺโปนฺติ ปณฺฑิตา
ตสฺมึ ขนฺเธ ฐิตา ปญฺญา                     สติ ยตถ อนูนกา
ปูชาวิเสสสฺส ธีโร                             อคฺโค โสว อนุตฺตโร
ตสฺมา หิ ปณฺฑิโต โปโส                    สุขํ  สมฺปสฺสมตฺตโน
ปญฺญวนฺตาภิปูเชยย                          เจติยํ วิย ปูชิตํ

 

มีความว่า ปัญญานี้เป็นที่โลกสรรเสริญ เพราะเป็นที่บรรลุถึงความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม  นักปราชญ์จะสิ้นสงสัย  สำเร็จแก่ธรรมาภิสมัยก็เพราะปัญญา  อนึ่ง สติตั้งบริบูรณ์ไม่บกพร่องในขันธ์ใด  ปัญญาก็ตั้งอยู่ได้ในขันธ์นั้น  ผู้ประกอบด้วยปัญญาเป็นผู้ควรรับบูชาอันวิเศษ  และเป็นผู้เลิศประเสริฐ หาผู้ใดจะเสมอเหมือนมิได้  เหตุดังนั้นแล  บุรุษผู้มีปัญญา  ดุจหนึ่งว่าบูชาพระเจดีย์อันเป็นที่สักการะฉะนั้น   ดังนี้”    [  จาก มิลินทปัญหา ฉบับพิสดาร พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ.๒๕๑๖ หน้า ๑๑๙๐-๙๑  ] 



แก่นแท้เดิมมาจากพุทธดำรัสว่า

 

จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย อตฺถาย หิตาย สุขาย เทวมนุสฺสานํ เทเสถ ภิกฺขเว ธมฺมํ อาทิกลฺยานํ มชฺเชกลฺยานํ ปริโยสานกลฺยานํ สาตฺถํ สพยญชนํ เกวลปริปุณฺณํ ปริสุทฺธํ พรฺหมฺจริยํ ปกาเสถ


ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย  ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงแสดงธรรมอันดีงามในเบื้องต้น (ศีล) งามในท่ามกลาง(สมาธิ)งามในที่สุด(ปัญญา) จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ และพยัญชนะอันบริสุทธิ์โดยสิ้นเชิงเถิด

 

 

 

ชนผู้ประพฤติธรรม ก็มุ่งหมายว่าการปรพฤติธรรมของตนจักได้ 2 อย่างนี้คือ  ประโยชน์ และ ความสุข  ฉะนั้น วรรคที่ ๘ นี้จึงลงตัวว่า

 

อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ,/  
เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย,/  ตลอดกาลนานเทอญ,/ 

 

 

 

 

 

         

 

 

วรรคที่  ๙.   อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,  
พระผู้มีพระภาคเจ้า,  เป็นพระอรหันต์,  ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง, 

พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ,  
เข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน;

 

วรรคที่  ๑๐.   สฺวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม,   
พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า,  ตรัสไว้ดีแล้ว,   

ธัมมัง  นะมัสสามิ,
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม,

 

 

วรรคที่ ๑๑.    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า,  ปฏิบัติดีแล้ว,

สังฆัง นะมามิ,
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์,

 

 

 

 

 

 

 

 

          

 

 

 

 

 

 

รวมเป็นคำบูชาพระรัตนตรัยที่สมบูรณ์

โปรดลองกล่าวคำบูชานี้ด้วยตนเอง  ด้วยท่วงทำนองสรภัญญะ ช้า  ออกเสียงดังพอดี  บางแห่งที่ลับเฉพาะควรออกเสียงเต็มเสียง จะเป็นประโยชน์ทางการฝึกเสียงได้อย่างดีด้วย  หยุดตามวรรคตอนที่กำหนดให้  แล้วจะเห็นได้ว่าสามารถทำไปได้ด้วยตนเองเป็นอย่างดี  ดังนี้

บทนำบูชาพระรัตนตรัย
(หัวหน้านำ-ว่าตาม)

 

 

วรรคที่  ๑.   โยโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทฺโธ,/  
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์ใด,/  เป็นพระอรหันต์,/  ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง,/ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง/ 

วรรคที่  ๒.   สฺวากฺขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม ,/  
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด,/  ตรัสไว้ดีแล้ว,/

 

วรรคที่  ๓.   สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,/
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า  พระองค์ใด,/  ปฏิบัติดีแล้ว/


วรรคที่  ๔.   ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง,/  อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ,/
ข้าพเจ้าทั้งหลาย,/ ขอบูชาอย่างยิ่ง,/ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,/ พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์,/ ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้,/ อันยกขึ้นตามสมควรแล้วอย่างไร,/   

 

วรรคที่  ๕.   สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ,/   
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ,/ พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้ว,/ ทรงสร้างคุณอันสำเร็จประโยชน์ไว้แด่ข้าพเจ้า,/ 

 

วรรคที่  ๖.   ปัจฉิมา ชะนะตานุกัมปมานะสา,/  
ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์แด่พวกข้าพเจ้า,/ อันเป็นชนรุ่นหลัง,/ 

 

วรรคที่  ๗.   อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ,/
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับเครื่องสักการะ,/ อันเป็นบรรณาการของคนยากทั้งหลายเหล่านี้,/ 

 

วรรคที่  ๘.   อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ,/  
เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย/  ตลอดกาลนานเทอญ,/ 

 

 

วรรคที่  ๙.   อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,/  
พระผู้มีพระภาคเจ้า,/  เป็นพระอรหันต์,/  ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง,/ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,/ 

พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ,/  
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า,/ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน;/   [ จบวรรคแล้วกราบ พระพุทธเจ้า]
 

วรรคที่  ๑๐.   สฺวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม,/  
พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า,/  ตรัสไว้ดีแล้ว,/  

 ธัมมัง  นะมัสสามิ,/
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม,/   [ จบวรรคแล้วกราบ พระธรรมเจ้า ]

 

วรรคที่ ๑๑.    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,/
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า,/  ปฏิบัติดีแล้ว,/

สังฆัง นะมามิ,/
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์,/    [ จบวรรคแล้วกราบ พระสังฆเจ้า]

 

 

 

 

 

 

 

         

 

 

ลำดับต่อจากนี้โปรดศึกษาจากบทสวดมนต์แปล คือบทสวดทำวัตรเช้า-เย็นแปล ที่ทั้งพระสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกาใช้สวดไปพร้อม ๆ กัน ปฏิบัติไปด้วยกันได้  บทที่เสนอนี้ ยังไม่มีคำอธิบาย ขอให้ใช้ไปพลาง ๆ ก่อน  เป็นต้นฉบับของวัดมหาพุทธาราม อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ ซึ่งเป็นสำนักปฏิบัติธรรมของคณะสงฆ์จังหวัดศรีสะเกษแห่งที่ 1 ในสังกัดมหาเถาสมาคม ใช้อยู่ในปัจจุบัน    และยังมีบทพิเศษและคำแปล ที่น.ส.แพรวทิพย์ บุราณบริรักษ์เป็นผู้รวบรวม

 

 

 

         

 

 




พระพุทธเจ้า




Copyright © 2010 All Rights Reserved.
----- ***** ----- โปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate นี่คือเวบไซต์คู่ www.newworldbelieve.com กับ www.newworldbelieve.net เราให้เป็นเวบไซต์ที่เสนอธรรมะหรือ ความจริง หรือ ความคิดเห็นในเรื่องราวของชีวิต ตั้งใจให้ธัมมะเป็นทาน ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แด่คนทั้งหลาย ทั้งโลก ให้ได้รู้ความจริงของศาสนาต่าง ๆในโลกวันนี้ และได้รู้ศาสนาที่ประเสริฐเพียงศาสนาเดียวสำหรับโลกยุคใหม่ จักรวาลใหม่ เรามีผู้รู้ ผู้ตรัสรู้ ผู้วินิจฉัยสรรพธรรมสรรพวิชชา สรรพศาสน์ และสรรพศาสตร์ พอชี้ทางสู่โลกใหม่ ให้ความสุข ความสบายใจความมีชีวิตที่หลุดพ้นไปสู่โลกใหม่ เราได้อุทิศเนื้อที่ทั้งหมดเป็นเนื้อที่สำหรับธรรมะทั้งหมด ไม่มีการโฆษณาสินค้า มาแต่ต้น นับถึงวันนี้ร่วม 14 ปีแล้ว มาวันนี้ เราได้สร้างได้ทำเวบไซต์คู่นี้จนได้กลายเป็นแดนโลกแห่งความสว่างไสว เบิกบานใจ ไร้พิษภัย เป็นแดนประตูวิเศษ เปิดเข้าไปแล้ว เจริญดวงตาปัญญาละเอียดอ่อน เห็นแต่สิ่งที่น่าสบายใจ ที่ผสานความคิดจิตใจคนทั้งหลายด้วยไมตรีจิตมิตรภาพล้วน ๆ ไปสู่ความเป็นมิตรกันและกันล้วน ๆ วันนี้เวบไซต์นี้ ได้กลายเป็นโลกท่องเที่ยวอีกโลกหนึ่ง ที่กว้างใหญ่ไพศาล เข้าไปแล้วได้พบแต่สิ่งที่สบายใจมีความสุข ให้ความคิดสติปัญญา และได้พบเรื่องราวหลายหลากมากมาย ที่อาจจะท่องเที่ยวไปได้ตลอดชีวิต หรือท่านอาจจะอยากอยู่ณโลกนี้ไปชั่วนิรันดร ไม่กลับออกไปอีกก็ได้ เพียงแต่ท่านเข้าใจว่านี่เป็นแดนต้นเรื่องเป็นด่านข้ามจากแดนโลกเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง และซึ่งเป็นโลกหรือบ้านของท่านทั้งหลายได้เลยทีเดียว ซึ่งสำหรับคนต่างชาติ ต่างภาษาต่างศาสนา ได้โปรดใช้การแปลของ กูเกิล หรือ Google Translate แปลเป็นภาษาของท่านก่อน ที่เขาเพิ่งประสบความสำเร็จการแปลให้ได้แทบทุกภาษาในโลกมนุษย์นี้แล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้เอง นั้นแหละเท่ากับท่านจะเป็นที่ไหนของโลกก็ตาม ทั้งหมดโลกประมาณ 7.6 พันล้านคนวันนี้ สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในโลกของเราได้เลย เราไม่ได้นำท่านไปเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่การนำไปสู่ความจริง ความรู้เรื่องชีวิตใหม่ การอุบัติใหม่สู่ภาวะอริยบุคคล ไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปพ้นจากทุกข์ ทั้งหลายไปสู่โลกแห่งความสุขแท้นิรันดร คือโลกนิพพานขององค์บรมศาสดาพุทธศาสนา พระบรมครูพุทธะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ท่านโปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate ท่านก็จะเข้าสู่โลกนี้ได้ทันทีพร้อมกับคน7.6พันล้านคนทั้งโลกนี้. ----- ***** ----- • หมายเหตุ เอาขึ้นเวบไซต์ แทนของเดิม ทั้ง 2 เวบ .net .com วันที่ 21 เม.ย. 2565 เวลา 07.00 น. -----*****-----