ReadyPlanet.com
dot
dot dot
bulletBUDDHISM TO THE NEW WORLD ERA
bullet1 Thai-ไทย
bullet2.English-อังกฤษ
bullet3.China-จีน
bullet4.Hindi-อินเดีย
bullet5.Russia-รัสเซีย
bullet6.Arab-อาหรับ
bullet7.Indonesia-อินโดนีเซีย
bullet8.Japan-ญี่ปุ่น
bullet9.Italy-อิตาลี
bullet10.France-ฝรั่งเศส
bullet11.Germany-เยอรมัน
bullet12.Africa-อาฟริกา
bullet13.Azerbaijan-อาเซอร์ไบจัน
bullet14.Bosnian-บอสเนีย
bullet15.Cambodia-เขมร
bullet16.Finland-ฟินแลนด์
bullet17.Greek-กรีก
bullet18.Hebrew-ฮีบรู
bullet19.Hungary-ฮังการี
bullet20.Iceland-ไอซ์แลนด์
bullet21.Ireland-ไอร์แลนด์
bullet22.Java-ชวา
bullet23.Korea-เกาหลี
bullet24.Latin-ละติน
bullet25.Loa-ลาว
bullet26.Finland-ฟินแลนด์
bullet27.Malaysia-มาเลย์
bullet28.Mongolia-มองโกเลีย
bullet29.Nepal-เนปาล
bullet30.Norway-นอรเวย์
bullet31.persian-เปอร์เซีย
bullet32.โปแลนด์-Poland
bullet33.Portugal- โปตุเกตุ
bullet34.Romania-โรมาเนีย
bullet35.Serbian-เซอร์เบีย
bullet36.Spain-สเปน
bullet37.Srilanga-สิงหล,ศรีลังกา
bullet38.Sweden-สวีเดน
bullet39.Tamil-ทมิฬ
bullet40.Turkey-ตุรกี
bullet41.Ukrain-ยูเครน
bullet42.Uzbekistan-อุสเบกิสถาน
bullet43.Vietnam-เวียดนาม
bullet44.Mynma-พม่า
bullet45.Galicia กาลิเซียน
bullet46.Kazakh คาซัค
bullet47.Kurdish เคิร์ด
bullet48. Croatian โครเอเซีย
bullet49.Czech เช็ก
bullet50.Samoa ซามัว
bullet51.Nederlands ดัตช์
bullet52 Turkmen เติร์กเมน
bullet53.PunJabi ปัญจาบ
bullet54.Hmong ม้ง
bullet55.Macedonian มาซิโดเนีย
bullet56.Malagasy มาลากาซี
bullet57.Latvian ลัตเวีย
bullet58.Lithuanian ลิทัวเนีย
bullet59.Wales เวลล์
bullet60.Sloveniana สโลวัค
bullet61.Sindhi สินธี
bullet62.Estonia เอสโทเนีย
bullet63. Hawaiian ฮาวาย
bullet64.Philippines ฟิลิปปินส์
bullet65.Gongni-กงกนี
bullet66.Guarani-กวารานี
bullet67.Kanada-กันนาดา
bullet68.Gaelic Scots-เกลิกสกอต
bullet69.Crio-คริโอ
bullet70.Corsica-คอร์สิกา
bullet71.คาตาลัน
bullet72.Kinya Rwanda-คินยารวันดา
bullet73.Kirkish-คีร์กิช
bullet74.Gujarat-คุชราด
bullet75.Quesua-เคซัว
bullet76.Kurdish Kurmansi)-เคิร์ด(กุรมันซี)
bullet77.Kosa-โคซา
bullet78.Georgia-จอร์เจีย
bullet79.Chinese(Simplified)-จีน(ตัวย่อ)
bullet80.Chicheva-ชิเชวา
bullet81.Sona-โซนา
bullet82.Tsonga-ซองกา
bullet83.Cebuano-ซีบัวโน
bullet84.Shunda-ชุนดา
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet86.Sesotho-เซโซโท
bullet87.NorthernSaizotho-ไซโซโทเหนือ
bullet88.Somali-โซมาลี
bullet89.History-ประวัติศาสตร์
bullet90.Divehi-ดิเวฮิ
bullet91.Denmark-เดนมาร์ก
bullet92.Dogry-โดกรี
bullet93.Telugu-เตลูกู
bullet94.bis-ทวิ
bullet95.Tajik-ทาจิก
bullet96.Tatar-ทาทาร์
bullet97.Tigrinya-ทีกรินยา
bullet98.Check-เชค
bullet99.Mambara-มัมบารา
bullet100.Bulgaria-บัลแกเรีย
bullet101.Basque-บาสก์
bullet102.Bengal-เบงกอล
bullet103.Belarus-เบลารุส
bullet104.Pashto-พาชตู
bullet105.Fritian-ฟริเชียน
bullet106.Bhojpuri-โภชปุรี
bullet107.Manipur(Manifuri)-มณีปุระ(มณิฟูรี)
bullet108.Maltese-มัลทีส
bullet109.Marathi-มาราฐี
bullet110.Malayalum-มาลายาลัม
bullet111.Micho-มิโช
bullet112.Maori-เมารี
bullet113.Maithili-ไมถิลี
bullet114.Yidsdish-ยิดดิช
bullet115.Euroba-ยูโรบา
bullet116.Lingala-ลิงกาลา
bullet118.Slovenia-สโลวีเนีย
bullet119.Swahili-สวาฮิลี
bullet120.Sanskrit-สันสกฤต
bullet121.history107-history107
bullet122.Amharic-อัมฮาริก
bullet123.Assam-อัสสัม
bullet124.Armenia-อาร์เมเนีย
bullet125.Igbo-อิกโบ
bullet126.History115-ประวัติ 115
bullet127.history117-ประวัติ117
bullet128.Ilogano-อีโลกาโน
bullet129.Eve-อีเว
bullet130.Uighur-อุยกูร์
bullet131.Uradu-อูรดู
bullet132.Esperanto-เอสเปอแรนโต
bullet133.Albania-แอลเบเนีย
bullet134.Odia(Oriya)-โอเดีย(โอริยา)
bullet135.Oromo-โอโรโม
bullet136.Omara-โอมารา
bullet137.Huasha-ฮัวซา
bullet138.Haitian Creole-เฮติครีโอล
bulletคำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรแปล เช้า-เย็น
bulletChart Showing the Process
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี พ.ศ.2540 - 2566
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 1
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 2
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี บุคคลที่ 1 - 188 ปัจจุบัน
bulletหนังสือพิมพ์ดี
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 1
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 2
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 3
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 4
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 5
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 6
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 7
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 8
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 9
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 10
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 11
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 12
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 13
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 14
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 15
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 16
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 17
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 18
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 19
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 20
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 21
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 22
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 23
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 24
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 25
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 26
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 27
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 28
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 29
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 30
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 31
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 32
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 33
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 34
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 35
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 36
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 37
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 38
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 39
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 40
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 41
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 42
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 43
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 44
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 45
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 46
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 47
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 48
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 49
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 50
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 51
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 52
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 54
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 55
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 56
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 57
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 58
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 59
bulletTo The World
bulletENGLISH
bulletUSA
bulletChina
bulletIndia
bullet Mynmar
bullet Cambodia
bullet Loas
bulletSri Lanka
bulletMalaysia
bulletKorea
bulletA Sharp Turn of Believes : Iresearch Iwrite Iread
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 1
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 2
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 3
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 4
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 5
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 6
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 7
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 8
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 9
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 10
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 11
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 12
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 13
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 14
bulletMystery Report 15
bulletMystery Report 16
bulletMystery Report 17
bulletMystery Report 18
bulletMystery Report 19
bulletMystery Report 20
bulletMystery Report 21
bulletMystery Report 22
bulletMystery Report 23
bulletMystery Report 24
bulletMystery World Report 25
bulletศึกษาโลกลี้ลับ 26
bulletเฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว วิเคราะห์ทุกปัญหาในโลกมนุษย์ด้วยสติปัญญาและเหตุผลวิทยาศาสตร์จากนสพ.ดี
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2536
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2537
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2538
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2539
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2540
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2541
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2542
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2543-2545
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2545-2549
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2549-2550
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2550-ส.ค.2551
bulletเฝ้าดูฯ ส.ค.-ก.ย.2551
bulletเฝ้าดูฯ ก.ย.2551- ธ.ค. 2551
bulletเฝ้าดูฯสำนวนพัชรา กอปรทศธรรม
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 16-27
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 29
bulletบทความใหม่ เม.ย.-พ.ค.2552
bulletพุทธธรรมเพื่อทางดับทุกข์
bulletทฤษฎีการดับทุกข์ทางจิต วิปัสสนากรรมฐานโดยการทำงาน(สำนวนปรับปรุงใหม่)
bulletประวัติพัชรา กอปรทศธรรม
bulletประวัติการต่อสู้เพื่อการดับทุกข์ ของพัชรา กอปรทศธรรม
bulletอัลบั้มรูป history
bulletนิทานธรรมะประยุกต์ มานุสสาสุระสงคราม 4 ภาค และอื่น ๆ
bulletอัลบั้มรูป ภาพในอดีตและชีวประวัติศาสตร์ที่สวยงาม
bulletจากเวบบอร์ด พูดกันไม่รู้เรื่อง ประชาธิปไตยล้าหลัง
bulletศาสนาสากล การวิเคราะห์ความหมาย
bulletปลอบใจ
dot
รวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์ แนวปฏิรูปคณะสงฆ์อยู่ในบทวิเคราะห์นี้แล้ว
dot
bulletรวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์
dot
สากลจักรวาล สากลศาสนา แนวคิดศาสนาสำหรับคนยุคใหม่ ผู้ก้าวผิดทางไปสู่สิ่งไร้สาระโดยไม่รู้ตัว
dot
bulletสากล...ศาสนา 1
bulletสากล...ศาสนา 2
bulletสากล...ศาสนา 3
bulletสากล...ศาสนา 4
bulletสากล...ศาสนา 5
bulletสากล...ศาสนา 6
bulletสากล...ศาสนา 7
bulletสากล...ศาสนา 9
bulletสากล...ศาสนา 8
bulletสากล...ศาสนา 10
bulletสากล...ศาสนา 11
bulletสากล...ศาสนา 12
bulletสากล...ศาสนา 13
bulletสากล...ศาสนา 14
bulletสากล...ศาสนา 16
dot
ส่วนข้อมูลสำคัญเพื่อการวิจัยการเมืองไทยยุค คมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
dot
bulletข้อมูลสำคัญยุคคมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่1/26ส.ค.2551
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่2/27ส.ค.2551
bulletใบปลิว อีเมล์ ในหลวงทรงร้องไห้
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 1
bulletในหลวงเพิ่งทราบข่าวฆ่าประชาชน10เมย.53ทรงร้องไห้
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
dot
รวมข่าวม็อบการเมืองสนธิ-จำลอง-ปชป.มิ.ย.51-เม.ย.52 นสพ.
dot
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 2
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 3
bulletรวมข่าวม็อบ30มิ.ย.51-23มี.ค.52
bulletเลือดศรีสะเกษบันทึกเรื่องราวรอบด้านเกี่ยวกับเขาพระวิหาร
bulletรายงานการโฆษณาชวนเชื่อในประเทศไทยที่ล้มล้างรัฐบาลทักษิณ
bulletหนังสือพิมพ์ดี ของฟรีให้เปล่ามา20ปีแล้วทั้งเอกสารและอินเทอเนท
bulletหนังสือพิมพ์ดี ( อินเทอเนต ) เล่ม 1 - 44 - ล่าสุด
bulletหน้าที่เก็บไว้
bulletมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร)
bulletวัดมหาพุทธาราม ศรีสะเกษ บันทึกเหตุการณ์
bulletสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดศรีสะเกษแห่งที่ 1
bulletเกี่ยวกับเวบไซต์ของเรา เราทำเพื่อปัญญาชนโดยแท้
bulletรวมกระทู้เด็ดจากกระดานถามตอบ
bulletคาถาอาคมไสยศาสตร์
bulletกวีนิพนธ์ใหม่
bulletศูนย์ปฏิญญาณละเลิกอบายมุข บัญชีที่ 1- 4


ร่างยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนา คำวิพากษ์และข้อเสนอแนะ

คำวิพากษ์และข้อเสนอแนะ
ร่างยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

ของ คณะกรรมาธิการการศึกษา ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา

 

โดย

ดร. นันทสาร  สีสลับ

พระพยับ  ปัญญาธโร

 

 

 

 

 

คำวิพากษ์และข้อเสนอแนะ

ร่างยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

ของ คณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา

 

โดย
ดร.นันทสาร  สีสลับ

-ที่ปรึกษา คณะอนุกรรมาธิการศาสนาและวัฒนธรรมวุฒิสภา

-ที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก

-อดีต  เลขาธิการองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก

-อดีต  รองอธิการบดี และรักษาการณ์อธิการบดี มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก

 

 

 

 

 

1. ความนำ

           

ประเทศไทยได้รับการยอมรับให้เป็นผู้นำและเป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาของโลก โดยมีพุทธมณฑลเป็นที่ตั้งศูนย์อำนวยการการเผยแผ่และแลกเปลี่ยนทางพระพุทธศาสนาของโลก ตามมติที่ประชุมนานาชาติ ว่าด้วยวันวิสาขบูชาสากลประจำปี 2548 ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ ศาลาสันติธรรม กรุงเทพมหานคร     


การที่คณะกรรมาธิการ การศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมวุฒิสภา ได้ริเริ่มจัดทำแผนยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ จึงนับว่าทันกาลและเหมาะสมกับสถานการณ์ไทยและของโลกปัจจุบันละอนาคตเป็นอย่างยิ่ง


ผมได้รับการมอบหมายจากคณะกรรมาธิการ การศึกษาศาสนาศิลปะและวัฒนธรรมวุฒสภาให้วิพากษ์เนื้อหาสาระสำคัญของแผนยุทธศาสตร์ฯ หมวดที่ 1 ว่าด้วยบทนำเกี่ยวกับความเป็นมาของพระพุทธศาสนาในประเทศไทยและหมวดที่ 2 ว่าด้วย การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ปัญหาและอุปสรรค ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในการนำเสนอแบบองค์รวมที่ครอบคลุมไปถึงองค์ประกอบทั้งหมดของยุทธศาสตร์ฯจึงได้จัดทำเป็นเอกสาร คำวิพากษ์และข้อเสนอแนะ แผนยุทธศาสตร์เพื่อประกอบการพิจารณาของที่ประชุมสัมนา และเพื่อประหยัดเวลาในการนำเสนอในส่วนที่เกี่ยวกับหมวดที่ 1 และหมวดที่ 2 ตามที่ได้รับมอบหมายด้วย

           
เป็นที่ยอมรับว่า แผนยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาฉบับนี้ ได้สะท้อนถึงองค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่สมบูรณ์ค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นผลพวงจากการยกร่างโดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมาธิการฯวุฒิสภา และได้รับการปรับปรุงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยคณะอนุกรรมาธิการศาสนาและวัฒนธรรมวุฒิสภาตามลำดับ ต่อจากนั้นจึงได้มีการจัดประชาพิจารณ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาส ก่อนที่จะถูกนำเสนอต่อที่ประชุมสัมมนาในวันที่ 8 กรกฎาคม 2548 ณ พุทธมณฑลซึ่งเป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาของโลกในวันนี้


กล่าวโดยสรุปถือได้ว่า ร่างยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ฉบับนี้ค่อนข้างจะสมบูรณ์แล้ว แต่เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์มากที่สุดและเพื่อการมีส่วนร่วมจากผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งกระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จึงได้จัดประชุมสัมมนาในเชิงประชาพิจารณ์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ตกผลึกไปบูรณาการในแผนยุทธศาสตร์ฯก่อนจัดพิมพ์เผยแผ่และนำเสนอรัฐบาลพร้อมองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปใช้เป็นกรอบและทิศทางในการเผยแผ่และแลกเปลี่ยนทางพระพุทธศาสนาทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกต่อไป

  
เป็นที่ยอมรับว่านับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์โศกนาฎกรรม 11 กันยายน (
NINE ELEVEN )ที่ตึกเวิรลเทรด ที่กรุงนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ถูกผู้ก่อการร้ายถล่มและมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก รวมทั้งคนไทยด้วย สถานการณ์ของโลกทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการศาสนาได้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ผู้นำของโลกตกอยู่ในสภาพมึนงงและได้ร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์ในการแก้วิกฤตและฟื้นฟูสถานการณ์ให้กลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็ว โดยเน้นนโยบายปราบปรามผู้ก่อการร้ายเป็นสำคัญและใช้หลักอิทัปปจยตา เป็นฐานวิเคราะห์สถานการณ์ของโลกว่า บุคคลและสังคมตั้งแต่ระดับรากหญ้าจนถึงระดับโลกจะต้องอาศัยและพึ่งพาซึ่งกันและกัน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง โดยถือว่า โลกนี้เป็นหมู่บ้านเดียวกัน ( Global Village )ภายใต้ยุคโลกาภิวัฒน์ ( สังคมข้อมูลข่าวสาร ) เมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งมีผลกระทบไปทั่วโลก ดังเช่น การปรับขึ้นราคาน้ำมันโลกในปัจจุบัน


ดังนั้นทั่วโลกทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรศาสนา จึงต้องปรับยุทธศาสตร์ทั้งในส่วนกับวิถีชีวิต วิถีคิด และวิถีการเรียนรู้ใหม่ จึงจะก้าวทันโลก และอยู่ร่วมกับผู้อื่น( เพื่อนร่วมโลก ) ได้อย่างมีความสุข และเอื้ออาทรซึ่งกันและกันฉันญาติ ตามหลักพรหมวิหารธรรม ซึ่งก็สอดคล้องกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง


ดังนั้น ยุทธศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จึงควรจะได้เน้นถึงการนำธรรมะสู่สังคมไทยและสังคมโลก ทั้งในเชิงรุก(การเผยแผ่) และเชิงรับ(การแลกเปลี่ยน)จึงจะทำให้บุคคลและสังคมเกิดการเรียนรู้หลักพุทธธรรมทั้งในด้านปริยัติ และปฎิเวธ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในหลักการจัดการศึกษาทางพระพุทธศาสนา เรียกว่า ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญาทั้งนี้ 
โดยคำนึงยุทธศาสตร์ด้านเนื้อหาของธรรมะ(ข้อ2)ที่จะนำมาถ่ายทอดและเผยแผ่ ตามที่ปรากฏในภาคผนวกแบบแสดงความคิดเห็นแนบท้าย ซึ่งพระพยับ ปญฺญาธโร เลขาธิการมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน  ปญญาวชิโร) วัดมหาพุทธาราม จังหวัดศรีสะเกษและผู้ทรงคุณวุฒิเครือข่ายมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาโลก เป็นผู้นำเสนอ เพราะจะทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ตามยุทธศาสตร์ได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงได้นำเสนอเป็นส่วนหนึ่งของคำวิพากษ์และข้อเสนอแนะด้วย

 



2.  คำวิพากษ์และข้อเสนอแนะ

           
เนื้อหาสาระในหมวดที่ 1


บทนำ มีเนื้อหาสาระจำกัดอยู่เฉพาะในประเทศไทยซึ่งความจริง สถานการณ์ของโลกในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนไปสู่ความเป็นหมู่บ้านโลกเดียวกัน (
Global Village ) ดังกล่าวแล้ว จึงควรปรับเพิ่มหัวข้อดังนี้


1. ปรับหัวข้อที่1 จากความเป็นมาของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย เป็นความเป็นมาของพระพุทธศาสนาเพื่อให้เห็นภาพองค์รวม โดยมีหัวข้อดังนี้


1.1 ความเป็นมาของพระพุทธศาสนาในโลก


อาจลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยเฉพาะกุศโลบายในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่พระพุทธองค์ประทานแก่พระสาวก 60 รูปก่อนออกเดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนาและควรยึดเป็นแผนแม่บทหรือ (
Road Map )ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในไทยและของโลกในปัจจุบัน โดยนำทั้งภาษาบาลีและคำแปลมาจารึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ดังนี้


จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย อตฺถาย หิตาย สุขาย เทวมนุสฺสานํ เทเสถ ภิกฺขเว ธมฺมํ อาทิกลฺยานํ มชฺเชกลฺยานํ ปริโยสานกลฺยานํ สวตฺถํ สพยญชนํ เกวลปริปุณฺณํ ปริสุทฺธํ พรฺหมฺจริยํ ปกาเสถ


“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”


“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงแสดงธรรมอันดีงามในเบื้องต้น (ศีล) งามในท่ามกลาง(สมาธิ)งามในที่สุด(ปัญญา)”


“จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ และพยัญชนะอันบริสุทธิ์โดยสิ้นเชิงเถิด”


จากพุทธกุศโลบายข้างต้น จะทำให้หน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้คำนึงถึงศาสนาบุคคล ที่จะทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาต้องมีคุณสมบัติสมบูรณ์และมีความรู้พระไตรปิฎกอย่างแตกฉานทั้งอรรถและพยัญชนะดังนั้นพระพุทธองค์จึงได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายเพื่อการเผยแผ่ไว้โดยเฉพาะ จึงได้เลือกพระสาวกซึ่งล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังได้กำหนดเป้าหมายในการเผยแผ่ได้อย่างชัดเจนอีกด้วย


ต่อจากนั้นจึงลำดับความเป็นมาถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช การแบ่งพระพุทธศาสนาโดยแบ่งเป็น 9 สายไปสู่ดินแดนต่างๆ ทั่วโลกในปัจจุบัน ผลจากความพยายามของชาวพุทธไทยและพุทธโลก ได้มีผลให้สหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา และชาวโลกได้มอบให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาของโลกตามมติที่ประชุมนานาชาติเนื่องในวันวิสาขบูชาสากลปี 2448



1.2 ความเป็นมาของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย


โดยมีเนื้อหาสาระตามต้นฉบับร่างโดยอาจเติมข้อความในหน้า 15 ในหัวข้อสมัยรัชกาลที่ 9 ว่าปี พ.ศ.2548 ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากชาวโลกให้เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก โดยมีพุทธมณทลเป็นศูนย์อำนวยการเผยแผ่และแลกเปลี่ยนทางพระพุทธศาสนาของโลกตามอุดมการณ์วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลกและสหประชาชาติ



เนื้อหาสาระในหมวดที่ 2


ปัจจัยด้านวัตกรรมเทคโนโลยี ตามที่ปรากฏในหน้า 29 ข้อ 1 ปัจจัยที่เป็นโอกาสให้เอื้อต่อการเผยแผ่ ควรจะเพิ่มคำว่า พุทธโธโลยี ลำดับไว้วรรคท้าย เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจผู้ใช้เทคโนโลยีไม่ให้เป็นไปเพื่อสนองกิเลสของตนเป็นส่วนใหญ่อย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบัน พุทธโธโลยี เป็นการใช้เทคโนโลยีเผยแผ่หลักธรรมะสำหรับการปฏิบัติเพื่อให้สังคมโดยรวมดีขึ้นและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขไม่แก่งแย่งกัน ไม่เบียดเบียนกันจนเกิดกลียุค หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมมฺโม กล่าวว่า พุทธโธโลยี เป็น ปัญญาภายใน ใช้สำรวจความถูกต้องของตนเอง และสังคมบนพื้นฐานแห่งธรรม ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก กำลังริเริ่มโครงการพัฒนาศูนย์พุทโธโลยี เพื่อการศึกษาและปฏิบัติธรรมซึ่งจะขยายผลงานพุทโธโลยีให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลกต่อไป


กล่าวโดยสรุป


การใช้สื่ออิเลคโทรนิค ในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ รวมทั้งข้อมูลข่าวสาร ควรใช้เทคโนโลยีในมิติของทางโลก และพุทโธโลยี ในมิติของทางธรรมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มิฉะนั้นความเป็นอกาลิโกของพุทธธรรมจะขาดความทันสมัย โดยที่ชาวพุทธมิได้สำเหนียกเท่าที่ควรในเรื่องนี้


ส่วนปัจจัยที่กล่าวถึงด้านอื่นๆในหมวดนี้พบว่าเหมาะสม



เนื้อหาสาระในหมวดที่ 3


ที่ว่าด้วยวิสัยทัศน์ พุทธกิจ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ เห็นควรเพิ่มพันธกิจและยุทธศาสตร์เป็น 9 พันธกิจ หน้า 50 และยุทธศาสตร์ หน้า 54 โดยมีข้อความดังนี้


พันธกิจที่9 (หน้า50) พัฒนาพุทโธโลยีเพื่อการศึกษาให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม


ยุทธศาสตร์ที่ 9 (หน้า 54) พัฒนาพุทโธโลยีเพื่อการศึกษาให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม
มีมาตรการดังนี้


มาตรการที่ 9.1 มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก ร่วมกับสถาบันเครือข่ายและนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาและการศึกษา ทั้งในและต่างประเทศ ระดมความคิดเพื่อพัฒนาพุทโธโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย


มาตรการที่ 9.2 มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลกร่วมกับหน่วยงานและองค์การที่เกี่ยวข้อง คัดสรรนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาเพื่อทำหน้าที่พระธรรมทูต ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ผ่านกระบวนการพุทโธโลยีเพื่อการศึกษา โดยยึดหลักไตรสิกขา ทั้งในด้านปริยัติ ปฏิบัติ และปฎิเวธ


มาตรการที่ 9.3 จัดตั้งศูนย์พุทโธโลยีเพื่อการศึกษาและปฏิบัติธรรมตามวัดต่างๆและเครือข่ายองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกและยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก รวมทั้งมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก เพื่อถ่ายทอดพุทธธรรมตามอุดมการณ์พุทโธโลยี


มาตรการที่ 9.4 ตั้งกองทุนพุทโธโลยี เพื่อการศึกษาและปฏิบัติธรรมด้วยความร่วมมือของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย


การที่ได้กำหนดให้มีพันธกิจ และยุทธศาสตร์ 9ข้อในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา นอกจากจะสอดคล้องกับอุดมการณ์แบ่งสายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาออกเป็น 9 สายในสมัยอโศกมหาราชแล้วยังสอดคล้องกับค่านิยมและความเชื่อของคนไทยและสังคมไทยโดยรวมอีกด้วย


รายละเอียดอื่นๆ โปรดติดตามในภาคผนวกแนบท้าย

 

 

 

 

 

 

 


ผนวก

แบบแสดงความคิดเห็นจากการประชุมเสวนา

แผนยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

ของคณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา

 

โดย
พระพยับ ปญฺญาธโร

-ผู้ทรงคุณวุฒิเครือข่ายมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก

 

 


ความนำ    คณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา ได้จัดให้มีการประชุมเสวนาพิจารณา “ร่างแผนยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนา” หลายครั้งโดยมีเป้าหมายผู้ทรงคุณวุฒิ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ประชาชน ร่วมประชุมสัมมนาเพื่อวิพากษ์ร่างแผนการเผยแผ่จำนวน 150 คน เพื่อประชุมสัมมนาวิพากษ์แผนยุทธศาสตร์ที่ปรับปรุงแล้วอีกครั้งในวันที่ 8 กรกฎาคม 2548 ต่อไปนี้เป็นส่วนผนวกความคิดเห็นที่เพิ่มเติมไปพิเศษจากแบบแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการ ฯ เนื่องจากได้พิจารณายุทธศาสตร์ทั้ง 8 ข้อแล้วเห็นว่ายังไม่ครอบคลุม เนื่องจากขาดเนื้อหาสาระบางประเด็น จึงขอเสนอแนะเพิ่มเติมคือ

 

 


1. ยุทธศาสตร์การสื่อสารยุคใหม่


1.1    โทรทัศน์ ควรเปิดช่องโทรทัศน์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาขึ้นมาเป็นการเฉพาะ 1 – 3 ช่อง เพื่อให้การเผยแผ่ต่อเนื่องไม่ขาดระยะ และควรเป็นการสื่อสารไปทั่วโลก ผ่านดาวเทียมสื่อสารที่มีทั้งหมดในโลก การสื่อสารทางโทรทัศน์ค่อนข้างมีอิทธิพลต่อกลุ่มเป้าหมาย เพราะง่ายไม่สลับซับซ้อนผู้ชม สามารถรับชมได้ง่ายและความคมชัด ขนาดจอกว้างขวางไม่จำกัดจะทำให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาทันสถานการณ์


1.2    อินเทอเนต อินเทอเนตสามารถไปทั่วโลกก็จริง แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม เพราะการเข้าสู่อินเทอเนต มีข้อจำกัดแตกต่างกันไป มักล้าช้าไม่ทันใจ การลงทุนของผู้ชมทั่วไปค่อนข้างแพง ถ้าเรื่องราวไม่น่าสนใจ อินเทอเนตก็แทบไร้ค่า เพราะไม่มีคนดู แต่อินเทอเนตสามารถทำได้ในลักษณะวิชาการ และเข้าถึงกลุ่มปัญญาในวงกว้าง และเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปไม่จำกัดเข้าชมได้อินเทอเนตจะมีอิทธิพลต่อผู้ชมที่มีฐานะ ตำแหน่งทางสังคมระดับสูงเป็นลูกค้าประจำขึ้นมา


1.3    เอกสาร ควรจัดทำให้หลายหลาก เพื่อให้เกิดความน่าอ่าน น่าเลื่อมใสในเนื้อหาที่ปรากฏในเอกสารนั้น และรวมไปถึงแนวคิดใหม่ เช่นการ์ตูน แต่ควรระวังให้เป็นการ์ตูนที่ประณีต และต้องแสดงหลักธรรมถูกต้องเสมอไป


1.4    ภาพยนตร์ ควรลงทุนหรือสนับสนุนเอกชนสร้างภาพยนตร์หลายประเภท เช่นภาพยนตร์นิทานธรรมะ ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาที่น่าสนใจ เช่นอโศกมหาราช ที่อินเดียสร้างขึ้นและเผยแผ่ไปทั่วโลก เป็นต้น รวมถึงภาพยนตร์สารคดีการท่องเที่ยวไปในแดนพระพุทธศาสนาทั่วโลก เช่นเรื่องตามรอยพระพุทธเจ้า (ออกทุกวันอังคารช่อง 9 เวลา 20.30 น. ตั้งแต่ 7 มิ.ย. 2548) และควรสร้างภาพยนตร์การ์ตูน เพราะการ์ตูนสามารถสะท้อนนามธรรมได้ไม่จำกัด และเป็นที่นิยมสูง และในกรณีที่ขาดแคลนนักแสดงผู้มีความสามารถสูง เราก็ใช้ฝีมือการ์ตูนมาทดแทนได้ และประเทศไทยก็มีนักเขียนการ์ตูนที่มีฝีมือสูงอยู่มาก


1.5    การแสดงหรือละครธรรมะ เช่นละครของภัทรวดีเธียร์เตอร์ เป็นต้น (ของภัทรวดี มีชูธน) ในมหาวิทยาลัยหรือสถานศึกษา ควรส่งเสริมให้มีการแสดงละครธรรมะ เป็นการฝึกหัดในสาขาจิตรกรรมเวทีทั่วๆไป


1.6    อื่นๆที่มีประสิทธิภาพ เช่นวิทยุ ควรเลือกพิจารณาใช้โดยมองที่ความเหมาะสม แก่สถานที่ บุคคล และกาลเวลา



2. ยุทธศาสตร์ด้านเนื้อหาของธรรมะ


ควรนำหัวข้อธรรมะที่สามารถอธิบายเนื่องกันไปในขณะเดียวกันตลอด 3 ระดับ คือ ระดับปริยัติ ปฏิบัติ ปฎิเวธ ได้แก่


2.1    อริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค


2.2    อริยสัจ ในรูป ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา


2.3    โอวาทปาฎิโมกข์


2.4    โพชฌงค์ 7 สามารถอธิบายในความหมายเดียวกันกับ อริยสัจ 4 และไตรสิกขาได้ คือ สติ + ธัมมวิจัย เป็นปัญญาสิกขา วิริยะ + สมาธิ เป็นสมาธิสิกขา ปิติ + ปัสสัทธิ + อุเบกขา เป็น ทั้งศีลสิกขา ฌาน และ ปัญญาสิกขา ( มีข้อเน้นคือ ฌาน)


2.5    หลักธรรมข้อที่เป็นทั้งสากลทั้งฝ่ายสงฆ์ นักบวช และฆราวาส ผู้หวังมรรคผลนิพพานต้องปฏิบัติพอๆ กัน คือ มงคล 38 ทิศ 6 อบายมุข 6 ฯลฯ


2.6    สัปปุริสธรรม 7 ขาดไม่ได้


2.7    เนื้อหาของธรรมะ ควรนำมาอธิบายแบบสัมพันธ์ หรือประยุกต์กับสถานการณ์ทางโลกโดยมีหลักพระพุทธศาสนา เป็นสัจธรรมทั้งทางโลกธรรมและโลกุตตรธรรมอย่างไร ทางออก หรือทางแก้ปัญหา เพื่อพ้นทุกข์ตามหลักพระพุทธศาสนาอย่างไรต้องชัดเจนมีเหตุผลทันสมัย

 

 

 

3. ยุทธศาสตร์ด้านบุคคลากร


โดยหลักเดิมแล้ว การเผยแผ่เป็นหน้าที่ของพระอรหันต์บุคคล ถ้าไม่มีพระอรหันต์บุคคลจึงเป็นหน้าที่ของพระอริยบุคคลระดับรองๆ ลงมา คือพระอนาคามี พระสกิทาคามี และ พระโสดาบัน ในยุคปัจจุบัน ควรมองที่คุณสมบัติของนักเผยแผ่ ทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาส ดังนี้


3.1    ต้องมีวุฒิภาวะ ระวังว่า สอนคนอื่นอย่างไร ตนก็ต้องปฏิบัติตามอย่างนั้นด้วย


3.2    ควรปรับเปลี่ยนวิธีการให้ทันสมัย เช่นจากการเทศน์ มาเป็น สนทนา (หรือ จากPreach มาเป็น Dialoque) บ้าง ( ตามกาลเทศะ เหตุผล บุคคล เวลา ) ในระยะยาวข้างหน้า ควรฝึกใช้วิธีสนทนา (Dialoque ) นี้ เป็นหลักจึงจะทันสมัยทันยุค


3.3    บุคลิกภาพของนักเผยแผ่ควรเป็นประชาธิปไตย และมีสำนึกเป็นประชาธิปไตย ไม่ใช่เอาสำนึกเชิงอำนาจไปเผยแผ่ ( หมายความว่าอย่าไปบังคับให้เขาเชื่อเรา )


3.4    เผยแผ่อย่างจริงใจ หวังประโยชน์แท้จริงแด่ผู้ฟัง โดยให้เข้าใจสาระหรือหลักวิชาอันบริสุทธิ์ ให้คนได้สัมผัสว่า งานของนักเผยแผ่เป็นประโยชน์แก่คนทั้งหลายโดยส่วนเดียวล้วนๆ


3.5    มีความมั่นใจ เชี่ยวชาญในการโต้แย้งกับคนต่างลัทธิ ใฝ่ศึกษาให้เข้าใจลัทธิศาสนาอื่น เห็นจุดอ่อนและจุดแข็งของลัทธิอื่น และเห็นจุดเข้มแข็งของศาสนาพุทธ ที่เป็นอริยสัจธรรมเชิงวิทยาศาสตร์อย่างไร เข้าใจวิทยาศาสตร์ และ ไม่ใช่วิทยาศาสตร์


3.6    นักเผยแผ่ ควรเผยแผ่ด้วยการพาปฏิบัติได้ด้วย สอนอย่างไร พาปฏิบัติอย่างนั้นและควรนำงานท่องเที่ยวทัศนาจรเชิงธรรมะเข้ามาร่วมกับงานเผยแผ่ เช่นพาปฏิบัติสมาธิ พาเดินป่า พาปฏิบัติธุดงค์ พาเดินทางไปต่างประเทศ โดยเฉพาะเนปาล และอินเดียแดนสังเวชนียสถานทั้งสี่ที่เกี่ยวข้องกับองค์พระบรมศาสดาโดยตรง หรือพาชาวต่างประเทศมาเที่ยวเมืองไทย โดยพาไปวัดที่มีความศรัทธานิยมสูงทางธรรมะ ฯลฯ


3.7    มีความคล่องตัวในการใช้เครื่องมือสื่อสารต่างๆการใช้ภาษาควรเพิ่มภาษาสากลคือภาษาอังกฤษ นักเผยแผ่ผู้มองกาลไกลจำเป็นต้องริเริ่มนำภาษาเผยแผ่เป็นภาษาต่างประเทศใช้ฝึกฝนตนเองอย่างขาดไม่ได้



4.     ยุทธศาสตร์การสนับสนุนด้านการเงินและการคลัง ต้องให้เพียงพอ โดยให้พอๆกับการสนับสนุนด้านการสาธารณูปการ มีแหล่งเงินทุนหลากหลาย มีการเน้นข่าวสารข้อมูลที่ทำความเข้าใจในความสำคัญของงานการเผยแผ่ลงไปสู่ชาวพุทธอย่างทั่วถึง ในขณะที่ชาวพุทธยังไม่ค่อยให้การสนับสนุนด้านการเผยแผ่นี้ ควรมีรัฐบาลเป็นแหล่งสนับสนุนที่มั่นคง



บทสรุป ยุทธศาสตร์ 4 ประการคือการสื่อสารที่ยอดเยี่ยม หลักธรรมที่ยอดเยี่ยม บุคคลากรที่ยอดเยี่ยม และการสนับสนุนที่ยอดเยี่ยม จะช่วยให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาครบถ้วนสมบูรณ์ มีประสิทธิภาพเต็มที่

 

 

 

  • พระพยับ ปญฺญาธโร
    ผู้ทรงคุณวุฒิเครือข่ายมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก



หนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 34

หน้าบอกสถานะของเรา ดีเล่มที่ 34
บทกวีนิพนธ์ แด่ คุณครูแสงเทียน article
บทความพิเศษ การพัฒนาประชาธิปไตย โดยพระเทพวรมุนี article
บทบก1 วิเคราะห์เพลงชาติไทยควรปรับปรุง
บทบก2 จำลอง ศรีเมืองต้านเบียร์ช้างเข้าตลาดหลักทรัพย์
บทบก3 บันทึกคนเก่งเด็กไทยชนะโอลิมปิกวิชาการ 4 เหรียญทอง
บทบก4 เตรียมเสนอร่างกฎหมายสงฆ์ 2 ฉบับเข้าสภา ผ่านรัฐบาลก่อน
บทบก5 โหราศาสตร์น่าสนใจในดีเล่มที่34
บทบก6 เสนอตั้งกระทรวงข่าวสาร และกรมโหร
บทบก7 สันตะปาปา สิ้นพระชนม์ อิรัคยังคงฆ่ากันหลังตั้งรัฐบาลได้แล้ว
บทบก8 อินเทอเนตของเราเป็นที่ลับสมองคมกริบเพียงอ่านบทวิเคราะห์ไปตามลำดับเท่านั้น
โหราศาสตร์ ดวงชะตาผู้นำชาติและดวงเมืองยุคปัจจุบัน ดี34:1 ส.ค.2548
ดี10 ฉบับทบทวน (คอลัมน์ประชาธิปไตยสงฆ์) จะปฏิรูปสงฆ์ไปทำไม ต่อ
ดี9 ฉบับทบทวน{คอลัมน์ประชาธิปไตยสงฆ์} จะปฏิรูปสงฆ์ไปทำไม
ข้อคิดสันติกโรภิกขุ คนอเมริกันไม่น้อยคิดว่าตนเป็นชาวพุทธที่ดีกว่า



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
----- ***** ----- โปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate นี่คือเวบไซต์คู่ www.newworldbelieve.com กับ www.newworldbelieve.net เราให้เป็นเวบไซต์ที่เสนอธรรมะหรือ ความจริง หรือ ความคิดเห็นในเรื่องราวของชีวิต ตั้งใจให้ธัมมะเป็นทาน ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แด่คนทั้งหลาย ทั้งโลก ให้ได้รู้ความจริงของศาสนาต่าง ๆในโลกวันนี้ และได้รู้ศาสนาที่ประเสริฐเพียงศาสนาเดียวสำหรับโลกยุคใหม่ จักรวาลใหม่ เรามีผู้รู้ ผู้ตรัสรู้ ผู้วินิจฉัยสรรพธรรมสรรพวิชชา สรรพศาสน์ และสรรพศาสตร์ พอชี้ทางสู่โลกใหม่ ให้ความสุข ความสบายใจความมีชีวิตที่หลุดพ้นไปสู่โลกใหม่ เราได้อุทิศเนื้อที่ทั้งหมดเป็นเนื้อที่สำหรับธรรมะทั้งหมด ไม่มีการโฆษณาสินค้า มาแต่ต้น นับถึงวันนี้ร่วม 14 ปีแล้ว มาวันนี้ เราได้สร้างได้ทำเวบไซต์คู่นี้จนได้กลายเป็นแดนโลกแห่งความสว่างไสว เบิกบานใจ ไร้พิษภัย เป็นแดนประตูวิเศษ เปิดเข้าไปแล้ว เจริญดวงตาปัญญาละเอียดอ่อน เห็นแต่สิ่งที่น่าสบายใจ ที่ผสานความคิดจิตใจคนทั้งหลายด้วยไมตรีจิตมิตรภาพล้วน ๆ ไปสู่ความเป็นมิตรกันและกันล้วน ๆ วันนี้เวบไซต์นี้ ได้กลายเป็นโลกท่องเที่ยวอีกโลกหนึ่ง ที่กว้างใหญ่ไพศาล เข้าไปแล้วได้พบแต่สิ่งที่สบายใจมีความสุข ให้ความคิดสติปัญญา และได้พบเรื่องราวหลายหลากมากมาย ที่อาจจะท่องเที่ยวไปได้ตลอดชีวิต หรือท่านอาจจะอยากอยู่ณโลกนี้ไปชั่วนิรันดร ไม่กลับออกไปอีกก็ได้ เพียงแต่ท่านเข้าใจว่านี่เป็นแดนต้นเรื่องเป็นด่านข้ามจากแดนโลกเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง และซึ่งเป็นโลกหรือบ้านของท่านทั้งหลายได้เลยทีเดียว ซึ่งสำหรับคนต่างชาติ ต่างภาษาต่างศาสนา ได้โปรดใช้การแปลของ กูเกิล หรือ Google Translate แปลเป็นภาษาของท่านก่อน ที่เขาเพิ่งประสบความสำเร็จการแปลให้ได้แทบทุกภาษาในโลกมนุษย์นี้แล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้เอง นั้นแหละเท่ากับท่านจะเป็นที่ไหนของโลกก็ตาม ทั้งหมดโลกประมาณ 7.6 พันล้านคนวันนี้ สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในโลกของเราได้เลย เราไม่ได้นำท่านไปเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่การนำไปสู่ความจริง ความรู้เรื่องชีวิตใหม่ การอุบัติใหม่สู่ภาวะอริยบุคคล ไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปพ้นจากทุกข์ ทั้งหลายไปสู่โลกแห่งความสุขแท้นิรันดร คือโลกนิพพานขององค์บรมศาสดาพุทธศาสนา พระบรมครูพุทธะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ท่านโปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate ท่านก็จะเข้าสู่โลกนี้ได้ทันทีพร้อมกับคน7.6พันล้านคนทั้งโลกนี้. ----- ***** ----- • หมายเหตุ เอาขึ้นเวบไซต์ แทนของเดิม ทั้ง 2 เวบ .net .com วันที่ 21 เม.ย. 2565 เวลา 07.00 น. -----*****-----