ReadyPlanet.com
dot
dot dot
bulletBUDDHISM TO THE NEW WORLD ERA
bullet1 Thai-ไทย
bullet2.English-อังกฤษ
bullet3.China-จีน
bullet4.Hindi-อินเดีย
bullet5.Russia-รัสเซีย
bullet6.Arab-อาหรับ
bullet7.Indonesia-อินโดนีเซีย
bullet8.Japan-ญี่ปุ่น
bullet9.Italy-อิตาลี
bullet10.France-ฝรั่งเศส
bullet11.Germany-เยอรมัน
bullet12.Africa-อาฟริกา
bullet13.Azerbaijan-อาเซอร์ไบจัน
bullet14.Bosnian-บอสเนีย
bullet15.Cambodia-เขมร
bullet16.Finland-ฟินแลนด์
bullet17.Greek-กรีก
bullet18.Hebrew-ฮีบรู
bullet19.Hungary-ฮังการี
bullet20.Iceland-ไอซ์แลนด์
bullet21.Ireland-ไอร์แลนด์
bullet22.Java-ชวา
bullet23.Korea-เกาหลี
bullet24.Latin-ละติน
bullet25.Loa-ลาว
bullet26.Finland-ฟินแลนด์
bullet27.Malaysia-มาเลย์
bullet28.Mongolia-มองโกเลีย
bullet29.Nepal-เนปาล
bullet30.Norway-นอรเวย์
bullet31.persian-เปอร์เซีย
bullet32.โปแลนด์-Poland
bullet33.Portugal- โปตุเกตุ
bullet34.Romania-โรมาเนีย
bullet35.Serbian-เซอร์เบีย
bullet36.Spain-สเปน
bullet37.Srilanga-สิงหล,ศรีลังกา
bullet38.Sweden-สวีเดน
bullet39.Tamil-ทมิฬ
bullet40.Turkey-ตุรกี
bullet41.Ukrain-ยูเครน
bullet42.Uzbekistan-อุสเบกิสถาน
bullet43.Vietnam-เวียดนาม
bullet44.Mynma-พม่า
bullet45.Galicia กาลิเซียน
bullet46.Kazakh คาซัค
bullet47.Kurdish เคิร์ด
bullet48. Croatian โครเอเซีย
bullet49.Czech เช็ก
bullet50.Samoa ซามัว
bullet51.Nederlands ดัตช์
bullet52 Turkmen เติร์กเมน
bullet53.PunJabi ปัญจาบ
bullet54.Hmong ม้ง
bullet55.Macedonian มาซิโดเนีย
bullet56.Malagasy มาลากาซี
bullet57.Latvian ลัตเวีย
bullet58.Lithuanian ลิทัวเนีย
bullet59.Wales เวลล์
bullet60.Sloveniana สโลวัค
bullet61.Sindhi สินธี
bullet62.Estonia เอสโทเนีย
bullet63. Hawaiian ฮาวาย
bullet64.Philippines ฟิลิปปินส์
bullet65.Gongni-กงกนี
bullet66.Guarani-กวารานี
bullet67.Kanada-กันนาดา
bullet68.Gaelic Scots-เกลิกสกอต
bullet69.Crio-คริโอ
bullet70.Corsica-คอร์สิกา
bullet71.คาตาลัน
bullet72.Kinya Rwanda-คินยารวันดา
bullet73.Kirkish-คีร์กิช
bullet74.Gujarat-คุชราด
bullet75.Quesua-เคซัว
bullet76.Kurdish Kurmansi)-เคิร์ด(กุรมันซี)
bullet77.Kosa-โคซา
bullet78.Georgia-จอร์เจีย
bullet79.Chinese(Simplified)-จีน(ตัวย่อ)
bullet80.Chicheva-ชิเชวา
bullet81.Sona-โซนา
bullet82.Tsonga-ซองกา
bullet83.Cebuano-ซีบัวโน
bullet84.Shunda-ชุนดา
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet86.Sesotho-เซโซโท
bullet87.NorthernSaizotho-ไซโซโทเหนือ
bullet88.Somali-โซมาลี
bullet89.History-ประวัติศาสตร์
bullet90.Divehi-ดิเวฮิ
bullet91.Denmark-เดนมาร์ก
bullet92.Dogry-โดกรี
bullet93.Telugu-เตลูกู
bullet94.bis-ทวิ
bullet95.Tajik-ทาจิก
bullet96.Tatar-ทาทาร์
bullet97.Tigrinya-ทีกรินยา
bullet98.Check-เชค
bullet99.Mambara-มัมบารา
bullet100.Bulgaria-บัลแกเรีย
bullet101.Basque-บาสก์
bullet102.Bengal-เบงกอล
bullet103.Belarus-เบลารุส
bullet104.Pashto-พาชตู
bullet105.Fritian-ฟริเชียน
bullet106.Bhojpuri-โภชปุรี
bullet107.Manipur(Manifuri)-มณีปุระ(มณิฟูรี)
bullet108.Maltese-มัลทีส
bullet109.Marathi-มาราฐี
bullet110.Malayalum-มาลายาลัม
bullet111.Micho-มิโช
bullet112.Maori-เมารี
bullet113.Maithili-ไมถิลี
bullet114.Yidsdish-ยิดดิช
bullet115.Euroba-ยูโรบา
bullet116.Lingala-ลิงกาลา
bullet118.Slovenia-สโลวีเนีย
bullet119.Swahili-สวาฮิลี
bullet120.Sanskrit-สันสกฤต
bullet121.history107-history107
bullet122.Amharic-อัมฮาริก
bullet123.Assam-อัสสัม
bullet124.Armenia-อาร์เมเนีย
bullet125.Igbo-อิกโบ
bullet126.History115-ประวัติ 115
bullet127.history117-ประวัติ117
bullet128.Ilogano-อีโลกาโน
bullet129.Eve-อีเว
bullet130.Uighur-อุยกูร์
bullet131.Uradu-อูรดู
bullet132.Esperanto-เอสเปอแรนโต
bullet133.Albania-แอลเบเนีย
bullet134.Odia(Oriya)-โอเดีย(โอริยา)
bullet135.Oromo-โอโรโม
bullet136.Omara-โอมารา
bullet137.Huasha-ฮัวซา
bullet138.Haitian Creole-เฮติครีโอล
bulletคำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรแปล เช้า-เย็น
bulletChart Showing the Process
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี พ.ศ.2540 - 2566
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 1
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 2
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี บุคคลที่ 1 - 188 ปัจจุบัน
bulletหนังสือพิมพ์ดี
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 1
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 2
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 3
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 4
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 5
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 6
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 7
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 8
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 9
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 10
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 11
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 12
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 13
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 14
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 15
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 16
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 17
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 18
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 19
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 20
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 21
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 22
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 23
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 24
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 25
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 26
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 27
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 28
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 29
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 30
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 31
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 32
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 33
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 34
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 35
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 36
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 37
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 38
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 39
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 40
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 41
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 42
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 43
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 44
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 45
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 46
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 47
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 48
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 49
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 50
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 51
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 52
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 54
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 55
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 56
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 57
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 58
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 59
bulletTo The World
bulletENGLISH
bulletUSA
bulletChina
bulletIndia
bullet Mynmar
bullet Cambodia
bullet Loas
bulletSri Lanka
bulletMalaysia
bulletKorea
bulletA Sharp Turn of Believes : Iresearch Iwrite Iread
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 1
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 2
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 3
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 4
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 5
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 6
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 7
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 8
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 9
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 10
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 11
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 12
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 13
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 14
bulletMystery Report 15
bulletMystery Report 16
bulletMystery Report 17
bulletMystery Report 18
bulletMystery Report 19
bulletMystery Report 20
bulletMystery Report 21
bulletMystery Report 22
bulletMystery Report 23
bulletMystery Report 24
bulletMystery World Report 25
bulletศึกษาโลกลี้ลับ 26
bulletเฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว วิเคราะห์ทุกปัญหาในโลกมนุษย์ด้วยสติปัญญาและเหตุผลวิทยาศาสตร์จากนสพ.ดี
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2536
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2537
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2538
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2539
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2540
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2541
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2542
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2543-2545
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2545-2549
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2549-2550
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2550-ส.ค.2551
bulletเฝ้าดูฯ ส.ค.-ก.ย.2551
bulletเฝ้าดูฯ ก.ย.2551- ธ.ค. 2551
bulletเฝ้าดูฯสำนวนพัชรา กอปรทศธรรม
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 16-27
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 29
bulletบทความใหม่ เม.ย.-พ.ค.2552
bulletพุทธธรรมเพื่อทางดับทุกข์
bulletทฤษฎีการดับทุกข์ทางจิต วิปัสสนากรรมฐานโดยการทำงาน(สำนวนปรับปรุงใหม่)
bulletประวัติพัชรา กอปรทศธรรม
bulletประวัติการต่อสู้เพื่อการดับทุกข์ ของพัชรา กอปรทศธรรม
bulletอัลบั้มรูป history
bulletนิทานธรรมะประยุกต์ มานุสสาสุระสงคราม 4 ภาค และอื่น ๆ
bulletอัลบั้มรูป ภาพในอดีตและชีวประวัติศาสตร์ที่สวยงาม
bulletจากเวบบอร์ด พูดกันไม่รู้เรื่อง ประชาธิปไตยล้าหลัง
bulletศาสนาสากล การวิเคราะห์ความหมาย
bulletปลอบใจ
dot
รวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์ แนวปฏิรูปคณะสงฆ์อยู่ในบทวิเคราะห์นี้แล้ว
dot
bulletรวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์
dot
สากลจักรวาล สากลศาสนา แนวคิดศาสนาสำหรับคนยุคใหม่ ผู้ก้าวผิดทางไปสู่สิ่งไร้สาระโดยไม่รู้ตัว
dot
bulletสากล...ศาสนา 1
bulletสากล...ศาสนา 2
bulletสากล...ศาสนา 3
bulletสากล...ศาสนา 4
bulletสากล...ศาสนา 5
bulletสากล...ศาสนา 6
bulletสากล...ศาสนา 7
bulletสากล...ศาสนา 9
bulletสากล...ศาสนา 8
bulletสากล...ศาสนา 10
bulletสากล...ศาสนา 11
bulletสากล...ศาสนา 12
bulletสากล...ศาสนา 13
bulletสากล...ศาสนา 14
bulletสากล...ศาสนา 16
dot
ส่วนข้อมูลสำคัญเพื่อการวิจัยการเมืองไทยยุค คมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
dot
bulletข้อมูลสำคัญยุคคมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่1/26ส.ค.2551
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่2/27ส.ค.2551
bulletใบปลิว อีเมล์ ในหลวงทรงร้องไห้
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 1
bulletในหลวงเพิ่งทราบข่าวฆ่าประชาชน10เมย.53ทรงร้องไห้
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
dot
รวมข่าวม็อบการเมืองสนธิ-จำลอง-ปชป.มิ.ย.51-เม.ย.52 นสพ.
dot
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 2
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 3
bulletรวมข่าวม็อบ30มิ.ย.51-23มี.ค.52
bulletเลือดศรีสะเกษบันทึกเรื่องราวรอบด้านเกี่ยวกับเขาพระวิหาร
bulletรายงานการโฆษณาชวนเชื่อในประเทศไทยที่ล้มล้างรัฐบาลทักษิณ
bulletหนังสือพิมพ์ดี ของฟรีให้เปล่ามา20ปีแล้วทั้งเอกสารและอินเทอเนท
bulletหนังสือพิมพ์ดี ( อินเทอเนต ) เล่ม 1 - 44 - ล่าสุด
bulletหน้าที่เก็บไว้
bulletมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร)
bulletวัดมหาพุทธาราม ศรีสะเกษ บันทึกเหตุการณ์
bulletสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดศรีสะเกษแห่งที่ 1
bulletเกี่ยวกับเวบไซต์ของเรา เราทำเพื่อปัญญาชนโดยแท้
bulletรวมกระทู้เด็ดจากกระดานถามตอบ
bulletคาถาอาคมไสยศาสตร์
bulletกวีนิพนธ์ใหม่
bulletศูนย์ปฏิญญาณละเลิกอบายมุข บัญชีที่ 1- 4


ดี9 ฉบับทบทวน{คอลัมน์ประชาธิปไตยสงฆ์} จะปฏิรูปสงฆ์ไปทำไม

 {คอลัมน์ประชาธิปไตยสงฆ์}
จะปฏิรูปการปกครองสงฆ์ไปทำไม ?

 

 

ถาม:~ เราต้องการเห็นอะไรเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนในการดำเนินการปฏิรูปการปกครองสงฆ์โดยวิธีที่พยายามเสนอแนวคิดมาตามลำดับแล้วนั้น ในสถานการณ์ที่เป็นอยู่ปัจจุบัน รูปแบบการปกครองก็ดูมั่นคงเป็นปึกแผ่นอยู่แล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีอยู่ระดับหนึ่งแล้ว เราจะพัฒนาการไปได้หรือไม่ จะอธิบายให้เข้าใจได้อย่างไร ว่าหากไม่ใช้รูปแบบการปกครองอย่างที่เป็นอยู่แล้วเราจะพํฒนาไปได้อย่างไร ?

อนึ่งเคยมีประวัติศาสตร์สงฆ์ไทยเกี่ยวกับการปฏิรูปคณะสงฆ์นี้ เช่นคณะปฏิสังขรณ์ น่าจะนำแนวคิดของคณะปฏิสังขรณ์มาพิจารณาประกอบกับแนวคิดครั้งนี้ และควรเปรียบเทียบดูว่ามีความคิดแตกต่างกันหรือไม่เพียงใด ?

 

 

ตอบ:~ เมื่อผมได้วิเคราะห์ระบบการปกครองและการศึกษาสงฆ์มาถึงบรรทัดนี้ ก็มีปัญหาสอดแทรกเข้ามาว่า ความคิดปฏิรูปที่คิดอยู่นี้ จะเป็นอันเดียวกับความคิดเดิมเคยมีมาครั้งหนึ่ง ในราวปีพุทธศักราช ๒๔๗๗ หรือไม่ ครั้งนั้น ได้มีคณะสงฆ์กลุ่มหนึ่ง เรียกชื่อตนเองว่า คณะปฏิสังขรณ์กาสาวพัสตร์ เกิดขึ้น ขอบอกว่า ความคิดปฏิรูปครั้งนั้น ไม่เหมือนกันกับความคิดครั้งนี้เลย ความคิดของเราไม่ได้อยู่บนฐานความคิดอันนั้น เราจะไม่ทำในเรื่องที่คณะปฏิสังขรณ์ คิดทำ เพราะเป็นแนวคิดในกรอบเดิม ที่พยายามปกป้องผลประโยชน์ทางอำนาจของตนของฝักของฝ่าย ของลัทธินิกายในขณะนั้น

แต่ความคิดปฏิรูปครั้งนี้ มาจากตัวระบบการปกครองที่ไม่ชอบธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา เพราะไม่ดำเนินไปสู่เส้นทางของพระพุทธองค์ คือไม่มีมรรคผล นิพพาน เป็นเป้าหมาย แต่เป็นเพียงวิถีทางที่ไหลไปตามโลก ถูกกำหนดโดยกฎฝ่ายโลก อาศัยเครื่องไม้เครื่องมืออย่างโลก ๆ และเป็นไปอย่างโลก ๆ หากแม้กระนั้นก็เป็นระบบของโลกยุคดั้งเดิม คือระบบการปกครองยุคเจ้าขุนมูลนายที่ล้าหลังล้าสมัยไม่ถูกกับยุคสมัยที่เป็นอยู่ ทำให้ระบบไม่ประสานสอดคล้องกับระบบการปกครองทางฝ่ายราชอาณาจักรที่เป็นระบอบใหม่ทันสมัย จึงพลอยเป็นผลให้การวัฒนธรรมทางการปกครองตามระบอบใหม่ไม่อาจมีการพัฒนาการ และกลายเป็นตัวถ่วงทางการปกครองของชาติไปอีกอย่างหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม แนวคิดของคณะปฏิสังขรณ์ฯ ได้บ่งบอกถึงปัญหาภายในของคณะสงฆ์ ที่เกี่ยวกับความไม่เป็นธรรมทางการปกครองตามกฎหมายการปกครองคณะสงฆ์ ซึ่งยังคงเป็นอยู่ สืบเนื่องมาอยู่ทุกวันนี้ และเป็นปัญหาความบกพร่องประการหนึ่งของระบบการปกครองระบอบยศชั้นหรือเจ้าขุนมูลนาย(โปรดดู มาณพ พลไพรินทร์ ในคู่มือการบริหารกิจการคณะสงฆ์ หจก.ชุติมาการพิมพ์ ไม่บอก พ.ศ.หน้า ๓๗-๓๘)

บัดนี้ เราได้ทำการวิเคราะห์ปัญหาการปกครองคณะสงฆ์มาจนพอจะสรุปได้แล้วว่า ต้นเหตุของความบกพร่อง และทั้งความเสื่อมเนื่องมาจากระบบตำแหน่งและชั้นยศ ที่มีมากระดับชั้นจนเกินไป และไม่มีความประสานสอดคล้องและความสมดุลย์กับระดับทางภูมิปัญญาของบุคคลผู้เข้าสู่ตำแหน่ง ส่วนด้านการศึกษา ก็มิใช่การศึกษาในแบบที่พระพุทธองค์ประสงค์คือ คันถธุระและวิปัสนาธุระที่เป็นการศึกษาเพื่อมรรคผลนิพพานโดยตรง หากแต่ล้วนเป็นการศึกษาเพื่อการอาชีพ มีความมุ่งหมายเพื่อลาสิกขาออกไปประกอบอาชีพในภายหลังทั้งสิ้น และส่วนที่ยังค้างอยู่ในระบบสงฆ์ก็เป็นการศึกษาเพื่อความเจริญก้าวหน้าในยศ-ตำแหน่งทางการปกครอง และตำแหน่งทางการศึกษาตามระบบสงฆ์ที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ มิได้ปลูกฝังจิตวิญญาณแห่งธรรมทายาทที่แท้จริง ปัญหาทางการปกครองและปัญหาทางการศึกษาชนิดที่ไม่มีเป้าหมายทางศาสนาที่แท้จริง นี่เอง ได้ค่อยบ่อนทำลายระบบการพระพุทธศาสนาฝ่ายพรหมจรรย์ลงไป ๆ

หากแต่สิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจก็คือ สิ่งที่เป็นอันตรายหรือระบบอำนาจดังกล่าวนี้ มิได้เป็นมาแต่ดั้งเดิม การพระพุทธศาสนาที่ได้สืบสานมาจนตั้งมั่นลงในสุวรรณภูมินี้ มิได้อาศัยความมีสาระแห่งระบบอำนาจมาก่อนเลย หากแต่สามารถสืบสานและดำรงความเป็นพระพุทธศาสนามาได้ด้วยระบบคุณธรรม ที่สืบเนื่องมาแต่องค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า

ต่อเมื่อมีการใช้กฎหมายลักษณะการปกครองสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑ ในยุครัตนโกสินทร์นี้เอง ระบบอำนาจจึงได้เริ่มก่อตัวขึ้นในการปกครองสงฆ์สยาม และเมื่อมีการวิเคราะห์กฎหมาย และสร้างกฎเกณฑ์ใหม่ขึ้นมาอีก ๒ ฉบับคือพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๔๘๔ และ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ ที่ใช้อยู่ปัจจุบัน ก็หาได้พบความมีโทษหรือผลแห่งกฎหมายที่เป็นโทษต่อคณะสงฆ์ไม่ กลับเพิ่มเสริมความแข็งแกร่งแห่งระบบอำนาจในวงการสงฆ์ไทยยิ่งขึ้นไปอีก จนกลายเป็นว่า เห็นวงการสงฆ์เป็นวงการกีฬา เขียนกฎหมายขึ้นมาก็เป็นเพียงการกำหนดกติกาการแข่งขันชนิดหนึ่งสำหรับให้พระสงฆ์เล่นกัน คือกีฬาแข่งกันวิ่งไปตามขั้นวิ่งที่มีมากมายของระบบยศ-ตำแหน่ง แห่งฐานันดรสงฆ์ ได้เบี่ยงเบนทางเดินของสงฆ์ไปสู่ทิศทางใหม่ จากโลกุตตรธรรม ไปสู่โลกธรรมอย่างเต็มตัว ฉะนั้น ในแก่นกลางของระบบสงฆ์ทุกวันนี้ จึงมิใช่แก่นกลางแห่งระบบคุณธรรมอันเป็นมาแต่ดั้งเดิม หากแต่เป็นระบบอำนาจที่มีอยู่อย่างเป็นชนชั้นตามระบบอำนาจ มียศหรือสมณศักดิ์สงฆ์ที่กฎหมายกำหนดขึ้น อย่างไม่ชอบด้วยหลักการศึกษา หลักศีลสามัญญตา หรือหลักคุณธรรม ทุกวันนี้การมีระดับแห่งตำแหน่งถึง ๘ ตำแหน่งและมีชั้นยศกำกับถึง ๑๑ ชั้นยศ และยังมียศอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ฐานันดรที่แทรกในระหว่างระดับเหล่านั้นอีกมากมาย จึงเป็นเหตุให้ระบอบพรหมจรรย์แห่งการพระพุทธศาสนาเสื่อมทรามลงไป

กระนั้น ระบบคุณธรรมที่สืบสานมาแต่ยุคพระบรมศาสดา ก็ยังคงทรงคุณธรรมอยู่ระดับหนึ่ง และระบบคุณธรรมนี้ที่ได้แทรกเข้าไปกำกับอยู่ในระบบอำนาจทุกระดับได้พยายามประคับประคอง พอรักษาให้การพระพุทธศาสนาอยู่ไปได้และพอเป็นที่ชื่นชมของคนทั้งหลาย ระบบคุณธรรมนี้แหละที่สืบทอดต่อเนื่องมา ด้วยองค์กรสงฆ์ที่มีชื่อเรียกในขณะนี้ว่า อุปัชฌาย์ อันเป็นทั้งองค์กรกากรปกครองและองค์กรการศึกษาร่วมอยู่ในขณะเดียวกัน ที่นับว่าเป็นมรดกทายาทธรรมสืบโดยตรงมาจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และยังคงมั่นคงอยู่ทุกวันนี้ จนเราอาจกล่าวได้ว่า เพราะองค์กรนี้เองเท่านั้น ที่ทำให้สงฆ์ดำรงอยู่อย่างมั่นคงโดยตลอดมา หากปราศจากองค์กรนี้แล้ว โดยระบบการปกครองและระบบการศึกษาแบบใหม่ที่สร้างขึ้นมาใหม่ด้วยกฎหมายใหม่นั้นคงจะทำลายระบบสงฆ์ไปเสียทั้งสิ้นแล้ว

ในแง่การศึกษาอุปัชฌาย์หมายถึงครู-อาจารย์ผู้ให้การศึกษา แต่ในระบบสงฆ์สาวก การศึกษาหมายถึง ๒ อย่างเท่านั้น ที่เดินตามแบบอย่างองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ คันถธุระ กับวิปัสนาธุระ โดยมีเป้าหมายที่ดวงตาสติปัญญาอันสว่างไสวรู้แจ้งธรรมมรรคผลและพ้นทุกข์ ผู้เข้ามาเป็นนักบวชศึกษาธรรมจนรู้แจ้งเห็นจริงด้วยปัญญาตนเอง ในเรื่องทุกข์ บรรลุมรรคผลนิพพานแล้ว ช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปในหลักการศึกษา ๒ นี้ ตราบสิ้นชีพลงไปอย่างมีความสุขอันประเสริฐ

อุปัชฌาย์ ในความหมายทางการปกครองหมายถึงพ่อผู้ให้กำเนิดบุตรนั่นเอง ผู้สร้างความสัมพันธ์แบบพ่อผู้ให้กำเนิดกับสัทธวิหาริก ในแบบอย่างของพ่อกับลูก อันลึกซึ้งโดยความหมายผู้ให้กำเนิด ๒ ประการ ๆ แรก ให้ได้บวชเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา เรียกว่าให้กำเนิดเพศบรรพชิตขึ้นมา เป็นกำเนิดแบบโอปปาติกะ ระดับที่ ๑ และกำเนิดประการที่ ๒ ก็คือกำเนิดเป็นพระอริยบุคคล ๔-๘ ระดับในศาสนาพุทธ(คือเกิดใหม่เป็น พระโสดาปัตติมรรค พระโสดาปัตติผล พระสกิทาคามิมรรค พระสกิทาคามิผล พระอนาคามิมรรค พระอนาคามิผล พระอรหัตตมรรค พระอรหัตตผล) การให้กำเนิดประการแรก ก็เท่ากับบิดากับบุตรนั้นก็มีความลึกซึ้งเพียงดังกับมารดาบิดาผู้ร่วมกันให้กำเนิดบุตรแห่งตนของคนทั้งหลายนั่นเอง แต่ ก็ยังไม่ลึกซึ้งเท่าความให้กำเนิดเป็นพระอริยบุคคล เพราะเมื่อบรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลแล้วนั้น ก็เท่ากับกลายเป็นเนื้อธรรมเดียวกันระหว่างผู้ให้กำเนิดกับบุตรผู้กำเนิด เพราะอรหัตผลย่อมเป็นธรรมชาติอันหนึ่งอันเดียวกัน อรหันตบุคคลทั้งปวงย่อมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เนื้อธรรมเดียวกัน จึงมีความลึกซึ้งแนบแน่นกันเกินกว่าจะแบ่งแยกได้

ซึ่งหน้าที่ทั้งสองประการนี้ เป็นการสืบทอดโดยต่อเนื่องมาตั้งแต่องค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า นับแต่ทรงให้การอุปสมบท พระอัญญาโกณฑัญญะ ขึ้นเป็นภิกษุรูปแรกในบวรพุทธศาสนา ต่อมาพระสาวกที่สำเร็จอรหัตผลก็รับภาระหน้าที่พระอุปัชฌาย์สืบมา ๆ และท่านสามารถปฏิบัติหน้าที่พระอุปัชฌาย์ได้ดีบรรลุเป้าหมายก็เพราะพระอุปัชฌาย์สมัยเดิมนั้น ท่านล้วนทรงคุณธรรมเป็นพระอรหันต์กันทั้งสิ้น หากแต่ล่วงมาจนถึงปัจจุบันนี้พระอุปัชฌาย์ก็ยังคงต้องปฏิบัติหน้าที่ ๒ ประการนั้นสืบมา คือต้องคงไว้ซึ่งหน้าที่ของพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดแล้วเลี้ยงลูกของตนให้เติบใหญ่ แล้วให้การศึกษา ๒ ประการเพื่อการบรรลุมรรคผลนิพพาน ได้การศึกษา ได้สติปัญญา

เพราะพระอุปัชฌาย์ได้พยายามปฏิบัติหน้าที่ของท่านสืบมาอยู่ถึงทุกวันนี้ จึงส่งผลให้การพระพุทธศาสนาอยู่รอดมาได้ ในระบบการปกครองทุกวันนี้ อันไม่ชอบธรรม เพราะได้มีสาระแห่งคุณธรรมอุปัชฌาย์สอดแทรกไปอยู่ทุกระดับ จึงสามารถบรรเทาผลร้ายจากระบบอันบ่อนทำลายลงไปได้

กระนั้น ระบบอุปัชฌาย์ทุกวันนี้ ก็ได้ประสบปัญหาอย่างมากมาย

จนแทบไม่เหลือคงไว้ซึ่งความเป็นอุปัชฌาย์ในแบบดั้งเดิมอยู่เลย ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นผลมาจาก การก่อสร้างระบบอำนาจทางการปกครองตามกฎหมาย ในระยะหลัง ๆ มานี้เอง เพราะกฎหมายได้กำหนดตำแหน่ง ชั้นยศ และอำนาจขึ้น อำนาจก็ไประรานระบบคุณธรรม ผลที่ปรากฎก็คือ อุปัชฌาย์ก็กลายเป็นตำแหน่งชั้นยศอีกตำแหน่งหนึ่ง ที่อาจเอื้อให้ระบบโลกธรรมคือลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เจริญพอกพูนขึ้น และเป็นไปได้อย่างดีไม่แพ้ตำแหน่งทางการปกครองอื่น ๆ ปัญหาอย่างเดียวกันก็เกิดขึ้นในระบบอุปัชฌาย์นี้ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน(โปรดสังเกตคดีปลอมตราตั้งอุปัชฌาย์ที่ครึกโครมในปีพ.ศ. ๒๕๓๕)

เพราะระบบอำนาจไม่ได้สร้างสรรค์ความดีอันใดให้ระบบสงฆ์เลย เมื่อมีระบบอำนาจนี้ การบ่อนทำลายก็เริ่มขึ้นเป็นลำดับมา ตราบจนปัจจุบันนี้ ระบบที่ถูกทำลายไปแล้วคือระบบการศึกษาหลักคือการศึกษาเพื่อมรรค ผล และนิพพาน ที่ถูกปิดกั้นลงโดยสิ้นเชิง และทั้งยังไม่ส่งเสริมสอดคล้องระบบการศึกษาชนิดใด ๆ ของคณะสงฆ์ ไม่ว่าคันถธุระหรือวิปัสนาธุระ หรือแม้การศึกษาสายสามัญทุกระดับ มัธยมศึกษาหรืออุดมศึกษา และที่สุดทำลายระบบคุณธรรมในองค์กรอุปัชฌาย์อันเท่ากับเป็นการทำลายตัวเองของวงการสงฆ์ในขณะเดียวกันด้วย

ในการวิเคราะห์เพื่อมองปัญหาให้ชัดเจน จะต้องมองที่ประเด็นระบบอำนาจนี้ จะพบว่า ตั้งแต่มีระบบอำนาจ(ยศศักดิ์-ขุนนางพระ) ขึ้นอย่างมากมายเป็นระดับชั้นนี้แล้ว ก็หาได้มีคุณงามความดีอันใดที่ระบบนี้สร้างให้แด่บวรพุทธศาสนา มีแต่ค่อยบ่อนทำลายลงไปอย่างเดียวเท่านั้น สิ่งที่ไม่เคยเห็นในวงการสงฆ์ก็ได้เห็นได้ปรากฎ เช่นการแก่งแย่งชิงตำแหน่ง ชิงยศพระ มีทุกระดับตั้งแต่พระเล็กพระน้อยถึงพระใหญ่โต โดยเฉพาะระดับสูงสุดของสงฆ์ก็ได้เห็นมาอย่างอึกทึกครึกโครมมาแล้ว(กรณีอาสภมหาเถร เป็นเพียง ๑ ในหลาย ๆ กรณีเท่านั้น) พระเล็กพระน้อยก็แก่งแย่งตำแหน่งยศเล็ก ๆ น้อย ๆ ทั่วไปหมด แม้แต่เมื่อเริ่มแรกที่ระบบอำนาจได้ปรากฎขึ้นในวงการสงฆ์ ก็ได้มีหมู่กลุ่มผู้มองเห็นความไม่เป็นธรรมของระบบนี้ ตราบจนเกิดคณะปฏิสังขรณ์ฯ ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบยศพระอำนาจพระนี้ให้เป็นธรรมขึ้น

ในอีกด้านหนึ่งที่ลึกซึ้งลงไปอีก

เมื่อมองจากหลักพุทธธรรม ระบบอำนาจเป็นเหตุบ่อนทำลายคุณภาพภายในอย่างลึกซึ้ง เพราะระบบอำนาจเป็นต้นกำเนิดของกิเลสมารสำคัญคือ ความริษยา เมื่อเส้นทางเดินคือโลกธรรมมีชั้นมียศ มีขั้นวิ่งมากมายหลายระดับ ก็มีการแก่งแย่งแข่งขันกัน มารชนิดนี้ก็ถือกำเนิดขึ้นมาด้วย และมันเติบโตไปกับระบบชั้นยศนี้ด้วยโดยธรรมชาติอันชอบธรรม และอาการของมันก็คือการโหมเพลิงภายในจิต ดุจดังไฟสุมขอนที่คุกรุ่นอยู่เรื่อยไปไม่มีวันดับลง เมื่อใดได้เชื้อดีพิเศษ เพลิงมันก็คุพลุ่งโพลงขึ้นมาครั้งหนึ่งจนไหม้เชื้ออันเอร็ดอร่อยแล้วหลบไปกินเนื้อขอนต่อไป จึงย่อมเห็นอยู่โดยชัดเจนว่า ผู้เข้าสู่ระบบอำนาจนี้หามีความสุขสงบไม่ หากมีแต่อบอ้าวร้อนรุมอยู่ตลอดเวลา หาความเยือกเย็นลงมิได้เลย เป็นเหตุแห่งความเสื่อมทรามทางภูมิปัญญา ยิ่งก้าวหน้าไปในระดับชั้นยศเพลิงริษยายิ่งเติบโตใหญ่ขึ้นเรื่อยไป ผลเสียของความริษยานี้จึงมีมากมหาศาลและมหึมายิ่งกว่ากิเลสมารชนิดอื่นใดใด เพราะกิเลสมารชนิดนี้ทำหน้าที่ในการทำลายล้างอย่างเดียว จึงอาจทำลายโลก ทำลายสังคม ทำลายระบบคุณงามความดีทุกชนิดได้ ดังภาษิตบทหนึ่งอันนักปราชญ์ยุครัตนโกสินทร์รับรองไว้ว่า “อรติ โลกนาสิกา : ความริษยาเป็นเหตุให้โลกฉิบหาย” (ภาษิตของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระผู้ปฏิรูปการศึกษาสงฆ์ไทย) ซึ่งความจริงแล้ว พระสงฆ์ในระบบชั้นยศนี้ก็ได้สัมผัสกันอยู่ถ้วนทุกตัวตนแล้ว เพราะเส้นทางแห่งโลกธรรมไม่อาจสังหารมารชนิดนี้ได้เลย แม้ว่าโลกจะใช้หลัก มุทิตาธรรม หรือหลักความบูชา หรือธรรมปฏิบัติด้วยประการใดก็ตาม เพราะโลกเองเป็นตัวระบบอำนาจเอง เป็นตัวให้กำเนิด เป็นตัวเชื้อ ตัวบำรุงหล่อเลี้ยงความริษยา จึงไม่อาจสังหารเสียได้ โลกจึงทรงความทุกข์อยู่เสมอไป เพราะโลกคือทุกข์และทุกข์คือโลก เป็นอันเดียวกัน ต่อเมื่อหันทิศทางสู่โลกุตตรวิถี คือทางมรรคผลนิพพานเท่านั้น กิเลสมารนามว่าริษยา จึงจักค่อยอ่อนกำลังลงไปเรื่อย ๆ ตราบสิ้นไปได้เมื่อสำเร็จธรรมระดับพระอรหัตมรรคแล้ว เพราะที่ระดับนั้น เป็นที่ที่ไม่มีผู้ใดอยู่ล้ำไปกว่าอีกแล้ว กิเลสมารริษยาจึงดับสิ้นไปอย่างสนิท

ระบบอำนาจ อันเกิดมาด้วยตำแหน่งและชั้นยศ จึงไม่มีความดีเลยด้วยประการใดใดต่อระบบพรหมจรรย์ ไม่ว่ามองจากรูปธรรมหรือนามธรรม ระบบอำนาจในศาสนาพรหมจรรย์จึงมีแต่ความบ่อนทำลายอย่างเดียวเท่านั้น

ฉะนั้น ทางที่แก้ไขจึงมีอยู่ทางเดียว คือค่อยลดทอนระบบอำนาจลง จัดการให้ระดับแห่งอำนาจมีความสมดุลย์กับระดับคุณธรรมและ ภูมิปัญญาการศึกษา ในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมก็คือต้องลดระดับชั้นยศและตำแหน่งต่าง ๆ ลงมาให้เหลือน้อยที่สุด

เมื่อคำนึงหลักการแห่งพระพุทธศาสนา โดยหลักพระโอวาทปาฏิโมกข์ ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ว่า

๑. สพฺพปาปสฺส อากรณํ ความไม่กระทำบาปทั้งสิ้น (จงละเว้นการกระทำชั่ว) เมื่อระบบอำนาจไม่เคยให้คุณเลย มีแต่สร้างบาปกรรมแด่วิถีมรรคผลนิพพาน และจะไม่มีวันให้คุณแก่วิถีทางแห่งพรหมจรรย์ ก็ต้องหยุดระบบนี้เสีย หยุดทำแบบนี้เสียโดยพลันทันทีที่ได้รู้แจ้งในความผิดความบาป

๒. กุสลสฺสูปสมฺปทา ความยังกุศลให้ถึงพร้อม (จงทำแต่ความดี) เราก็กลับไปสู่ระบบคุณธรรมเหมือนเดิม คือคุณธรรมของบิดากับบุตร บิดาผู้ให้ความเมตตาเอ็นดู ทะนุถนอมเลี้ยงให้เติบใหญ่และให้การศึกษาที่ถูกต้องคือให้บุตรได้พ้นทุกข์โดยแท้จริง เป็นการศึกษาที่มุ่งสู่โลกุตตรธรรม ไม่ว่าคันถธุระหรือวิปัสนาธุระ และ

๓. สจิตฺตปริโยทปนํ ความทำจิตของตนให้ผ่องใส (จงชำระจิตใจให้บริสุทธิ์) ก็ถือเอาหลักความเสียสละหรือ จาคะ เป็นธรรมะแห่งการปกครอง หลักความไม่ยึดมั่นถือมั่นในตำแหน่งหรือยศ จิตใจก็จะบริสุทธิ์สะอาด เป็นไปในวิถีแห่งโลกุตตรธรรมได้

        โดยหลักการนี้

การปกครองสงฆ์จึงต้องจัดระบบใหม่ ให้เป็นไปในทิศทางที่ลดทอนอำนาจลงไปเสมอ ๆ กับคุณธรรม ปัญญา และการศึกษา ซึ่งจะเป็นผลในการระงับยับยั้งการเติบโตแห่งกิเลสมารริษยาในวงการสงฆ์ และผลของระบบตามแนวความคิดนี้จึงออกมาเป็นระบบสภาสงฆ์ ๓ ระดับ

ระดับที่ ๑ มีสภาสงฆ์ระดับตำบล ประกอบด้วยสงฆ์ในตำบล เป็นสมาชิกสภาสงฆ์ตำบล สภาสงฆ์เลือกคณะผู้บริหารสงฆ์ในท้องถิ่นตำบลขึ้นมา บริหารงานในตำบลสงฆ์

ระดับที่ ๒ มีสภาสงฆ์ระดับจังหวัด ประกอบด้วยตัวแทนสงฆ์ทั้งจังหวัดเป็นสมาชิก สภาสงฆ์จังหวัดเลือกคณะผู้บริหารสงฆ์ในท้องถิ่นจังหวัดขึ้นมาบริหารงานในจังหวัดสงฆ์

ระดับที่ ๓ มีสภาสงฆ์ระดับชาติ ประกอบด้วยตัวแทนสงฆ์ทั้งประเทศเป็นสมาชิก สภาสงฆ์ระดับชาติเลือกคณะผู้บริหารสงฆ์ขึ้นมาบริหารงานสงฆ์ทั้งหมดในประเทศไทย

และมีสภาสงฆ์สากล เมื่อสามารถประสานงานกับสงฆ์นิกายอื่น ๆ จากทั่วโลก เพื่อร่วมงานอันเดียวกันของการพระพุทธศาสนาให้เป็นไปในทิศทางที่พุทธองค์มีพระประสงค์

ในระดับการบริหารทุกระดับ กิจการสงฆ์ก็จะเดินไปด้วยระบบคุณธรรม ด้วยหลักอปริหานิยธรรม ๗ เป็นต้น มีองค์กรอุปัชฌาย์เป็นสาระเป็นแก่นกลางของระดับต่าง ๆ ทุกระดับ คุณธรรมแห่งพ่อผู้ให้กำเนิดแด่บุตร คุณธรรมแห่งครูอาจารย์ผู้นำลูกศิษย์ไปสู่โลกุตตระก็จะเริ่มฟูมฟัก เติบโตขึ้นมา ในขณะเดียวกัน ก็มองความสำคัญของพระสงฆ์ผู้มีเอตทัคคะ เพื่อทำหน้าที่ความริเริ่มใดใดที่สอดคล้องหลักพรหมจรรย์ให้ก้าวไปในสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ยุคใหม่ได้อย่างมั่นคงและก้าวหน้าในทิศทางแห่งมรรคผลและนิพพาน

การพระพุทธศาสนาทั้งปวงก็จะเป็นไปในเส้นทางการศึกษา การพัฒนาไปในเส้นทางมรรคผลนิพพาน มีการศึกษาที่มุ่งสู่มรรคผลนิพพานล้วน เพื่อประกาศสัจธรรมแห่งความอยู่รอดอย่างมีความสุขอันประเสริฐ ที่ศึกษาทุกข์แห่งโลก เรียนรู้ทุกข์แห่งโลก และหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งมวลในโลก และนำแด่ชาวโลกทั้งมวลไปสู่โลกุตตระแดนประเสริฐที่พ้นทุกข์ ฯ

 

 

ปัญญาธโรภิกขุ
สุสานสวามิภูติ (สันติพิมานนรเทพ) ศรีสะเกษ
ม.ค.๒๕๔๑

 

 

 

 

 ปฏิรูปการปกครองสงฆ์ไปทำไม(ต่อ)

 

เมื่อได้ทำความเข้าใจปัญหาการปกครองคณะสงฆ์มาตามลำดับแล้ว ก็สามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ ๒ ประการคือ ประการแรก เรื่อง อำนาจ อำนาจเป็นสิ่งที่ไม่พึงนำมาใช้ในระบอบพรหมจรรย์ หรือระบอบของนักบวช ไม่ว่าในระบบของศาสนาใดใด อันเป็นการสากล ประการที่ ๒ พึงพิจารณาหลักคุณธรรม ว่าเป็นหลักการสำคัญสำหรับการปกครองของระบบการศาสนาทั้งปวง ทั้งนี้ก็เพราะเหตุผล โดยได้แสดงมาซึ่งอาจสรุปได้ดังนี้

๑. หลักอำนาจ เมื่อใดเอาอำนาจมาใช้ในการปกครองของระบบศาสนา เมื่อนั้นก็หมายถึงความเสื่อมโทรม เพราะศาสนาทั้งหลาย ไม่อนุญาตให้มนุษย์ทรงอำนาจ ไม่ให้มีภาวะแห่งอำนาจในหมู่มนุษย์ อำนาจมีได้เฉพาะพระผุ้เป็นเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้น หลักศาสนาสากลจึงมองเรื่องอำนาจว่า มนุษย์ทั้งหลายย่อมเสมอกันหมด เพราะเหตุที่อยู่ใต้อำนาจเดียวกันคืออำนาจของพระผู้เป็นเจ้า ๆ ไม่อนุญาตให้มนุษย์ผุ้หนึ่งผู้ใดมีอำนาจเหนือผู้อื่น ฉะนั้น หากระบบการปกครองของศาสนาใด มีลักษณะการแบ่งระดับชนชั้นแห่งอำนาจขึ้นมา เฉกเช่นระดับการปกครองคณะสงฆ์ไทยปัจจุบันที่กำหนดระดับอำนาจ สายการบังคับบัญชาไว้อย่างมากมายหลายระดับชั้นนี้แล้ว นั้น หมายถึงว่ามนุษย์ทรยศต่อพระเจ้า ทรยศต่อพระธรรม การปกครององค์กรศาสนานั้น ๆ ก็ย่อมเกิดปัญหาขึ้นมาอย่างมากมาย

๒. ระบบคุณธรรม ศาสนาสากลย่อมวางหลักคุณธรรมลงบนความเชื่อที่ว่า พระเจ้านั้น ทรงเป็นผู้นำทางชีวิต ชีวิตมนุษย์พึงฝากไว้ในอุ้งหัตถ์ของพระผู้เป็นเจ้า ฉะนั้น มนุษย์เองจึงอยู่บนคุณธรรมของ ความยอม หรือ ความลดตัวลงเป็นผู้รับใช้ เป็นทาส ของพระเจ้าเสมอกันหมด คุณธรรมในที่นี้ก็คือ คุณธรรมของผู้รับใช้ คุณธรรมอย่างผู้รับใช้ ผู้ปวารณา ผู้ยอม หรือคุณธรรมแห่งทาส นั่นเอง เมื่อทุกคนอยู่ในระบบคุณธรรมชนิดนี้แล้ว ก็ย่อมมีความเสมอกันหมดใต้อำนาจของพระเจ้า หรือพระธรรม กิจการใดใดก็เดินไปโดยความซื่อสัตย์ ความจงรักภักดี ความประพฤติที่ตรงตามคำสั่งของผุ้สูงสุด คือพระเจ้าองค์เดียว บุคคลอื่นใดย่อมสั่งหรือบัญชาได้ก็โดยได้รับพระบัญชามอบหมายจากพระเจ้าและต้องเเป็นไปในทางที่ตรง ถูกต้องตามคำสั่งของพระเจ้าเท่านั้น

ในศาสนาพุทธ หลักคุณธรรมทางการปกครอง ก็คือหลักอย่างที่พ่อพึงมีให้แก่บุตรของตน อย่างที่ผู้ให้กำเนิดชีวิต มีให้แด่ชีวิต นั่นคือมีความรับผิดชอบที่จะต้องเลี้ยงดูบุตรที่ตนให้กำเนิดมาให้เติบโต พร้อมด้วยสุขภาพ พลานามัยอันสมบูรณ์ ทั้งทางกายและทางจิตใจ มีความรับผิดชอบที่จะต้องให้การศึกษาอย่างดีที่สุด และในศาสนาพุทธนั้นก็หมายถึงการศึกษา ๒ คือคันถธุระและวิปัสนาธุระ อันเป็นเส้นทางแห่งชีวิตที่ประเสริฐ เพราะนำไปสู่เป้าหมายสูงสุดของการพระพุทธศาสนาคือมรรคผล นิพพาน อันเป็นการศึกษาชนิดเดียวที่สามารถช่วยมนุษย์ดับทุกข์ได้

ฉะนั้น หลักการปกครองของศาสนาสากล จึงเป็นหลักการที่มองตรงกันในปัญหา ๒ อย่างคือ อำนาจ มองตรงกันว่าอำนาจไม่พึงนำมาใช้ในการปกครองของระบอบศาสนาใด เพราะมนุษย์ได้ปลดปล่อย สละอำนาจของตนทั้งสิ้นไปแล้ว และยอมอยู่ในอำนาจของพระเจ้าเพียงพระองค์เดียว ในเรื่อง คุณธรรม ศาสนาสากลมองตรงกันในความยอม ความที่อุทิศ การรับใช้ ความเป็นทาส แห่งความดีความงาม ความเป็นทาสของพระเจ้า โดยเท่าเทียมกันหมด การปฏิบัติใดใดทางการปกครองจึงเป็นไปในหลักการแห่ง ภราดรภาพ คือความเป็นพี่เป็นน้อง เสมอกัน ความเป็นบิดา ผู้ให้กำเนิด ผู้ให้อาหาร ผู้เลี้ยงให้เติบโตทางจิตวิญญาณ ผู้รู้ ผู้เป็นกัลยาณมิตร ผู้รู้ทางนำไปสู่สวรรค์ สู่มรรคผล และนิพพาน

ซึ่งโดยรูปธรรมที่ปรากฎก็คือ การใช้เหตุและผลในการปกครอง ใช้ความรัก ความเมตตา ความสละ ไม่เห็นแก่ตัว พร้อมด้วยความมุทิตา อุเบกขา เป็นหลักใหญ่ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิ หรือความเห็นที่นอกทางแห่งการพระศาสนา หากการปกครองสงฆ์ดำเนินไปในระบบคุณธรรมดังกล่าว ก็จะมีรูประบบการปกครองสากลแห่งศาสนาทั้งปวง ในองค์การปกครอง ก็สามารถเข้าร่วมประชุมกันได้ทุก ๆ ศาสนา และร่วมบริหารการศาสนาทั้งปวงไปได้ ภายใต้หลักการปกครองที่ใช้ระบบคุณธรรม ที่นำหรือมีความสมดุลย์กับระบบอำนาจ

สำหรับการพระพุทธศาสนาทั้งปวง เมื่อมองระบบคุณธรรมแล้ว ก็หมายถึงการมององค์กรพระอุปัชฌาย์นี้ ว่าจะต้องเป็นองค์กรหลัก เพราะเป็นทุกอย่างที่เพียงพอ ครบถ้วนที่จะนำไปสู่เป้าหมายของการพระพุทธศาสนา หรือทางที่เป็นพุทธประสงค์อันสูงสุด

เมื่อเป็นเช่นนี้ โดยหลักการปกครองด้วยคุณธรรมดังนี้ โครงสร้างการปกครองสงฆ์ก็จะออกมาอย่างนี้

๑. การปกครองวัด จะถูกกำหนดควบคุมโดยองค์กรอุปัชฌาย์และสภาสงฆ์

วัดจะมีลักษณะเป็นสากล โดยนัยความหมายที่ว่า วัดจะพ้นจากความหมายของความเป็นส่วนบุคคลหรือที่ว่าเป็น “วัดของฉัน” อย่างที่มีความรู้สึกอยู่ทุกวันนี้ มาเป็นความเข้าใจใหม่ วัดเป็นของทุก ๆ คน เป็นของพระทั้งสิ้น เป็นของประชาชนทั้งปวง ไม่ได้เป็นของผู้ใดผู้หนึ่งทั้งโดยหลักการและพฤติการ

โดยพื้นฐานนี้ พระสงฆ์จึงจะมีโอกาสจาริกท่องเที่ยวไปได้ทั่วทุกหนทุกแห่ง นั่นคือวิถีแห่งความประพฤติธรรมที่สามารถประพฤติได้ตลอดกาลอันเหมาะสม และพระสงฆ์สามารถเข้าพำนักในวัดใดใด ด้วยความรู้สึกว่าเป็นเจ้าของ ผู้มีสิทธิ์โดยสมบูรณ์ที่จะเข้าพำนักอาศัยในวัดใดใด ด้วยประการนี้ พระสงฆ์แม้จะเป็นเพียงผู้สัญจรมาถึงใหม่ ๆ ก็มีสิทธิอันสมบูรณ์ที่จะเข้าร่วมประชุมเสนอแนะชี้ข้อพระธรรมในสภาสงฆ์ระดับตำบลได้ ทุกหนทุกแห่งที่จาริกไปถึง สภาสงฆ์ระะดับตำบลนั่นเอง ที่จะคอยตรวจสอบความเป็นไปในวัดต่าง ๆ ของตำบลนั้นและคควบคุมดูแลให้การปกครองของวัดเป็นไปอย่างมีระเบียบเรียบร้อย
ในวัดจะมีกรรมการวัดเป็นผู้ดูแลความเรียบร้อยภายในวัด เจ้าหน้าทึ่ฝ่ายบ้านเมือง มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ครู ฯลฯ หรือในเขตเมืองก็มีหัวหน้าเขต หัวหน้าหน่วยงาน เจ้าหน้าที่ส่วนราชการต่าง ๆ ครูอาจารย์ จะเข้ามาเป็นกรรมการฝ่ายฆราวาส พระสงฆ์ทุกรูป เป็นกรรมการฝ่ายบรรพชิต ประธานกรรมการวัดเป็นพระสงฆ์

งานทุกชนิดทุกอย่างที่เป็นของวัดที่ทำอยู่ปัจจุบันนี้ ในระบบปัจจุบันนี้ จะถูกแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน เพื่อแบ่งกันทำ ระหว่างกรรมการฝ่ายบรรพชิต และฝ่ายฆราวาส โดยเฉพาะ เช่น งานการศึกษา พระธรรมวินัยของสงฆ์เองมีคันถธุระหรือวิปัสนาธุระ เป็นหน้าที่ของฝ่ายสงฆ์ งานการศึกษาสายสามัญทุกชนิด เป็นหน้าที่ของฝ่ายกรรมการฝ่ายฆราวาส

งานด้านสาธารณูปการ หรือการก่อสร้าง การบริหารการเงิน เป็นหน้าที่ของกรรมการฝ่ายฆราวาส (พระสงฆ์จะลดบทบาทส่วนนี้ลงไปเองโดยอัตโนมัติ เมื่อไม่มีระบบยศพระแล้ว) เป็นต้น

สำหรับวัดหรือพระอารามใหญ่มีประวัติศาสตร์และเป็นมรดกสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาติ เป็นหน้าที่ของรัฐบาลโดยตรงที่จะเข้ามาดูแลรับผิดชอบ ภายใต้ความเข้าใจของการที่จะต้องมีส่วนในการใช้ประโยชน์ระหว่างพระสงฆ์ ที่จะใช้เพื่อประโยชน์ของการบำเพ็ญพระกรรมฐานจากวัดที่ทรงคุณสมบัติพิเศษเช่นนั้น และสำหรับประชาชนและราชการที่จะใช้ประโยชน์อย่างฆราวาส

๒. พระสงฆ์ จะถูกกำหนดหน้าที่ให้เป็น อนาคาริก ผู้ไม่มีที่อยู่ของตนเองเป็นหลักแหล่ง ผู้บวชเรียน ผู้ถือสันโดษ และการเรียนสายหลักก็คือการเรียนพระธรรมวินัย การศึกษาสายคันถธุระและวิปัสนาธุระ อันหมายถึงการศึกษาเพื่อการปฏิบัติธรรมในความมุ่งหมายเพื่อการตัด การชำระกิเลส ชำระจิตใจให้สู่ความสะอาด สว่าง และสงบ ตามหลักธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเหตุนี้ พระสงฆ์จะไม่ผูกติดกับวัด กับสถานที่อยู่ กับตำแหน่งใดใด และไม่มีระบบยศ เมื่อบวชเรียน บทบาทของพระสงฆ์จะหนักไปในด้านการเคลื่อนไหว ไม่อยู่นิ่ง ไม่ผูกติดกับสถานที่หรือท้องถิ่นใดใด เป็นที่เฉพาะ ซึ่งลักษณะการไม่อยู่นิ่งนี้ เป็นเคล็ดลับวิถีทางแห่งการต่อสู้ชำระกิเลสวิธีสำคัญ ในการไม่อยู่นิ่ง มีการเคลื่อนไหวไปเเรื่อย ๆ นี้ ยังเป็นวิธีการตรวจสอบภายในของพระผู้ต่อสู้มารกิเลสมาร ว่าได้ประสบผลสำเร็จในส่วนวิปัสนาธุระหรือได้มีความก้าวหน้าไปในอริยภภูมิ อริยธรรมเพียงใดอีกด้วย(โปรดสังเกตหลักราชการของฆราวาส ไม่ว่ามหาดไทย กลาโหม พลเรือน หรือการเมือง ล้วนไม่ผูกติดกับสถานที่ มีการโยกย้ายประจำปี ตลอดอายุราชการที่ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ) ฉะนั้นสงฆ์จะมีการเดินทางไกล จาริกไป ตลอดเวลา เมื่อไปสู่วัดหรือสำนักปฏิบัติธรรมหรือสำนักเรียนต่าง ๆ ได้อย่างเสรี ระบบอายุพรรษาจะอาจใช้เป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการกำหนดความเคลื่อนไหวของพระสงฆ์ พระอุปัชฌาย์จะมีหน้าที่โดยตรงในการปกครองและการให้การศึกษาหรือแนะนำการศึกษาใดใดแก่สัทธวิหาริก หรืออันเตวาสิกแห่งตน ๆ เมื่อ สงฆ์จาริกไปถึงท้องถิ่นตำบลใด ต้องเข้ารายงานตัวต่อสภาสงฆ์ระดับตำบลนั้น ๆ และจะต้องเข้าร่วมประชุมดุจดั่งเป็นสมาชิกสภาสงฆ์ตำบลนั้นเสมอไปทุกแห่ง นอกจากนั้นสงฆ์ที่จาริกไปนี้ยังมีสิทธิ์ที่จะดำรงตำแหน่งใดใด ในวัดหรือในสถาบันสงฆ์อีกด้วย และบางกรณีจำเป็นจะต้องรับภาระหรือตำแหน่งงานตามที่ที่ประชุมมอบหมายให้อีกด้วย ในการประชุมสภาสงฆ์ สมาชิกมีสิทธิเต็มที่ที่จะเสนอความคิดเห็นใดใด หรือข้อตำหนิใดใดต่อสงฆ์รูปใดหรือวัดสถานธรรมหรือการปฏิบัติใดใดต่อสภาสงฆ์ได้

เมื่อสงฆ์ได้ผ่านอายุพรรษา ผ่านการศึกษาเบื้องต้นทางคันถธุระ และวิปัสนาธุระไปพอสมควรแล้ว พระอุปัชฌาย์ก็อาจอนุญาตให้จาริกไปได้ เพื่อการแสวงการปฏิบัติธรรมอย่างอิสระเสรีเพื่อรองรับการปฏิบัติวิปัสนาธุระในชั้นสูง ซึ่งมักจะต้องปฏิบัติกรรมฐานพิเศษเช่นธุดงค์ข้อต่าง ๆ และในภาคการศึกษาระดับสูงนี้ รัฐบาลควรอนุญาต และมีการตระเตรียมให้พระสงฆ์ที่เข้ากฎเกณฑ์ต่าง ๆ ดังกล่าวที่เหมาะแก่งานการศึกษาชั้นสูงนี้ได้มีโอกาศจาริกไปในป่า เขา ในอุทธยานแห่งชาติ ทุกแห่ง ในประเทศไทยได้ โดยเงื่อนไขอันเหมาะสม เช่น ไม่เป็นการเข้าไปสร้างที่พักสงฆ์เพื่อการอยู่อย่างถาวร ไม่ทำลายสภาพแวดล้อมเดิมของธรรมชาติ เป็นต้น หากแต่ต้องอยู่อย่างเป็นระบบธรรมชาติ อยู่ด้วยอนาคาริกวิสัย เมื่อเป็นเช่นนี้ก็สามารถจาริกไปในเขตอุทธยานแห่งชาติได้และจะเลือกที่พำนัก ที่เป็นป่า เขา ถ้ำ หรือหุบเหว ที่เป็นที่สัปปายะแก่การปฏิบัติธรรมจำเริญวิปัสนากรรมฐาน และทั้งเป็นการฝึกสร้างความอดทน อันสูงสุด ฝึกสร้างการเดินทางไกลที่ทุรกันดาร และสงฆ์สามารถอยู่ในสถานที่อันสัปปายะแก่การปฏิบัติธรรมเช่นนั้นได้นานเท่าที่ประสงค์ จนกว่าจักสำเร็จรู้แจ้งแสงธรรมกลับออกมา หรือไม่อาจกลับออกมาอีกเลย(อุทิศชีวิตเพื่อการศึกษาธรรมแล้ว)ก็ตาม การจาริกนี้ให้อนุญาตได้อย่างเป็นเอกเทศก็ได้ หรือเป็นคณะเป็นหมู่โดยมีพระอุปัชฌาย์ หรือครูอาจารย์ผู้รู้ผู้เป็นกัลยาณมิตรพาจาริกไปก็ได้

เมื่อสงฆ์ออกจาริกไปจะมีสภาพขาดจากเสนาสนะหรือวัดที่เคยอยู่ ตำแหน่งใดใดที่เคยมี จะขาดไปโดยอัตนมัติพร้อมกับการจาริกออกไป ฉะนั้น วัดทุกแห่งจึงพร้อมเปิดประตูรับสงฆ์ผู้จาริกมาถึง ระบบยศระบบตำแหน่งจึงไม่อาจมีได้ ในวิถีทางการศึกษาและคุณธรรมเช่นนี้ จึงจะสามารถ เสริมสร้างและพัฒนาการศึกษาที่อาจสามารถนำไปสู่เป้าหมายแห่งการพระพุทธศาสนาได้อย่างมีพลังและได้รับผลแห่งธรรมเต็มที่อันสูงสุดได้ อนึ่งโดยวิธีนี้ งานสงฆ์จะมีความสนุกในการปฏิบัติธรรมล้ำลึกไปโดยตลอด อริยภูมิก็ก่อเกิดขึ้นไปตามลำดับ ๆ แล้วก็ยิ่งมีกระแสเนื่องหนุนตามมาเรื่อย ๆ สถานการการศาสนาก็ดีขึ้นไป สู่มรรคผลนิพพานปรากฎ

ในการปกครอง วัดจะปกครองโดยระบบวัฒนธรรมพระ เริ่มด้วยกิจวัตร ๑๐ ประการ สงฆ์ทุกรูปจะต้องรู้ เข้าใจ และปฏิบัติโดยต่อเนื่องสม่ำเสมอ และเพิ่มเวลาให้ความสำคัญแก่ข้อที่ตนถนัดหรือได้รับผลการปฏิบัติเป็นพิเศษ ได้จนกลายเป็นกรรมฐานข้อพิเศษสำหรับประพฤติเฉพาะตนไปอย่างยิ่งก็ได้ แม้สงฆ์ที่จาริกไป สู่วัดใดใด ก็จะต้องปฏิบัติกิจวัตร ๑๐ นี้อย่างเคร่งครัด ไม่ยิ่งหย่อนกว่าสงฆ์ผู้อยู่มาก่อน และพระสงฆ์ทั้งปวงจะต้องเพ่งเล็งเพ่งโทษผู้ละเลยการปฏิบัติกิจทั้ง ๑๐ นี้อยู่ตลอดเวลา หากสงฆ์รูปใดปฏิบัติย่อหย่อนโดยแสดงให้เห็นว่าขาดความรับผิดชอบในภาระหน้าที่นี้แล้ว ผู้นั้นควรถูกตำหนิ ผู้เป็นประธานสงฆ์ ผู้อาวุโสกว่า หรือแม้พระภิกษุใด ก็มีสิทธิชี้ แนะ ตักเตือนได้ หากไม่เชื่อฟังก็ย่อมสามารถนำเรื่องเข้าที่ประชุมสภาสงฆ์ เพื่อชี้ขาด ตัดสินลงโทษได้

ด้านศาสนพิธีต่าง ๆ เช่นการฌาปนกิจศพ สงฆ์ทุกรูปต้องเข้าใจว่าเป็นภาระหน้าที่โดยตรงที่จะให้การอนุเคราะห์ มิใช่เป็นการอาชีพ ฉะนั้น การสวดหรือพิธีกรรมใดสงฆ์ทุกรูปสามารถไปร่วมพิธีได้ ตามใจประสงค์ ทั้งนี้โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการปฏิบัติธรรม เพื่อการปลงสังเวชบ้าง เพื่อปลงกรรมฐานใดใดบ้าง อันเหมาะแก่อารมณ์ขณะนั้นบ้าง หรือเพื่อการฟังพระธรรมเทศนาจากพระธรรมกถึก ที่ได้รับนิมนต์มาเทศน์ อันเป็นการฝึกอุปนิสัยการใฝ่แสวงหาความรู้ความจริงให้กว้างขวางทางทัศนะการมองเหตุการณ์รอบด้าน โดยประการนี้ สงฆ์จะมีการดำรงชีพเสมอเท่าเทียมกันไปทั้งนั้น ทั้งนี้เพราะโดยกิจวัตร ๑๐ ประการที่ต้องปฏิบัติโดยไม่มีข้อยกเว้นแด่สงฆ์ใด จึงเกิดมีความเคารพซึ่งกันและกันตามอาวุโส ตามภูมิรู้ ภูมิปัญญา มีพระอุปัชฌาย์เป็นศูนย์รวมจิตใจ เสมือนดั่งบิดามารดา มีความเป็นภราดรภาพ เป็นหลักการสัมพันธ์

โดยประการนี้ บุคลิกภาพและบทบาทของสงฆ์ทั้งปวงก็จะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีความหนักในกาม หนักในยศศักดิ์ ตำแหน่ง หนักในการสะสมทรัพย์ หนักในที่นั่งและที่นอน ที่อยู่ ที่กิน แม้กระทั่งความหนักในทิฎฐิ มานะ ฯลฯ มาเป็นพระผู้สันโดษ มีความเบา คล่องและเข้มแข็ง มีความสะอาด สว่าง และสงบ หนักในจาคะ หนักในไตรสิกขา และหิริโอตตัปปะแทน หนักในคุณวุฒิ หนักในการศึกษาทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ ทั้งทางโลกและทางธรรม หนักในความเข้าใจภาระหน้าที่ เข้าใจผู้อื่น เข้าใจตัวเราเองว่าเป็นผู้แตกต่างจากฆราวาสอย่างไร และเข้าใจฆราวาสว่าเป็นผู้แตกต่างจากเราอย่างไร รู้เขารู้เรา เช่นนี้ เป็นที่มาแห่งอริยภูมิ อริยวิถี พระอริยบุคคล อริยสงฆ์ก็จะปรากฎขึ้น เป็นหมู่ ๆ พรั่งพร้อมกันด้วยระบบแห่งมาตรฐานอันเดียวกันทั้งสิ้น เสมือนหน่อไม้ไผ่แตกกอในหน้าฝน ก็แทงยอดขึ้นเป็นหลาม ๆ คับคั่งไปทั้งกอ ก็ทำให้สังคมเยือกเย็น สงบ ระงับความวุ่นวาย นิ่งและมีความสุขจากวิถีสันโดษ และวิถีอริยธรรม ก็เป็นหลักอันมั่นคงของประเทศชาติ เป็นภาคภายในของสังคมที่สะอาดสะอ้าน มีพลังแห่งธรรมะเต็มเปี่ยม

สงฆ์วัยชราภาพ พ้นวิสัยแห่งการจาริกไปแล้ว จะอยู่ประจำที่ใดใดก็แล้วแต่อัธยาศัย และเมื่ออยู่ที่ใดสงฆ์ทั้งปวงต้องถือเป็นภาระหน้าที่ที่จะต้องเอาใจใส่ปฏิบัติบำรุงอุปัฏฐากอย่างดีที่สุดเพียงดังกับปฏิบัติบิดามารดา และจะถือว่าการปฏิบัติสงฆ์ผู้มีอายุวัยชราแล้วนั้น เป็นข้อประพฤติธรรมอันขาดมิได้อีกข้อหนึ่ง(แท้ที่จริงก็มีอยู่แล้วในกิจวัตร ๑๐) และสงฆ์อาวุโสเหล่านี้ก็จะมีสภาที่พูดคุยกันในระหว่างสงฆ์ผู้มีอาวุโสทั้งปวง สภานั้นก็คือ สภาสงฆ์อาวุโสระดับตำบล สภาสงฆ์อาวุโสระดับจังหวัด และสภาสงฆ์อาวุโสระดับชาติ

เมื่อสงฆ์ละสังขารแล้ว ภาระในการจัดการกับศพสังขารนั้นเป็นภาระของสงฆ์โดยตรง และมีการจัดการอย่างกับพระผู้เป็น อนาคาริก

๓. สภาสงฆ์  สภาสงฆ์เป็นที่ประชุมบรรดาสงฆ์นักปราชญ์ ผู้ทรงวัยวุฒิ คุณวุฒิ ประกอบด้วยสมาชิกสภาสงฆ์ระดับตำบล นับแต่พระภิกษุผู้เป็นอุปัชฌาย์ พระมหาเถระ พระเถระ และบรรดาพระมุตกะ รวมทั้งพระผู้จาริกมาจากที่ไกล หากมีอาวุโสพรรษาเข้าเกณฑ์ ก็ถือว่าเป็นสมาชิกโดยอัตโนมัติ มีสิทธินำข้อเสนอแนะหรือข้อปัญหาใดใด เข้าสภาได้ เสมอเหมือนสมาชิกผู้อื่น สภาสงฆ์ระดับตำบลเป็นที่ประชุมสงฆ์โดยหลักอปริหานิยธรรม ๗

สภาสงฆ์อาวุโส เป็นคล้ายที่ประชุม เป็นสโมสรที่พักผ่อนและการบันเทิงธรรมของพระสงฆ์อาวุโส มี ๓ ระดับเช่นเดียวกัน

สภาสงฆ์ระดับตำบล ทำหน้าที่เป็นที่ประชุมสงฆ์ทั้งมวลในตำบล ดูแลกำกับความประพฤติของพระภิกษุสงฆ์ให้อยู่ในร่องรอยของพระธรรมวินัย ให้เอาใจใส่สร้างอุปนิสัยที่พึงประสงค์ ส่งเสริมการศึกษาพระธรรมวินัย และการปฏิบัติกิจสงฆ์ให้ถูกต้อง ควบคุมการบริหารและการจัดการทุกอย่างของวัดในเขตตำบลให้เป็นไปโดยเรียบร้อย มีอำนาจพิจารณาอธิกรณ์สงฆ์ ระดับตำบล

สภาสงฆ์ระดับตำบลอาจแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นกี่คณะก็ได้ เพื่อดำเนินกิจการเฉพาะกิจของสงฆ์ในตำบล กรรมการจะประกอบด้วยบุคคลใดก็ได้ตามแต่ที่ประชุมสภาสงฆ์ระดับตำบลจะกำหนด จะพิจารณาการณ์ใดใดย่อมพิจารณาดำเนินการไปได้ด้วยมติที่ประชุม อันเป็นไปในวิถีที่เรียกว่า ประชาธิปไตยสงฆ์ นั่นเอง

สภาสงฆ์ระดับจังหวัด ประกอบด้วยสมาชิกเป็นตัวแทนที่มาจากสภาสงฆ์ระดับตำบลทุก ๆ แห่งในจังหวัด ระดับนี้ จะทำหน้าที่บริหารงานในวงกว้างออกไปอีก อะไรที่เกินกำลังของสภาสงฆ์ระดับตำบลจะได้รับการพิจารณาที่นี่ สภาสงฆ์จังหวัดจะเป็นจุดศูนย์กลางที่รับข้อปัญหาข่าวสารข้อมูลที่กำหนดหรือตรวจสอบนโยบายคณะสงฆ์ ทั้งจากส่วนล่างและจากส่วนบน คือระดับตำบลและระดับชาติ สามารถตั้งกรรมการบริหารขึ้นมารับผิดชอบงานได้หลายคณะ เช่นกรรมการการศึกษา กรรมการสาธารณูปการ กรรมการข่าวสาร กรรมการการเผยแผ่ เป็นต้น มีอำนาจพิจารณาอธิกรณ์สงฆ์ได้ในขอบเขตกว้างขวางขึ้น

สภาสงฆ์ระดับชาติ ประกอบด้วยตัวแทนจากสภาสงฆ์ระดับจังหวัด พระสงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีเอตทัคคะคือมีความชำนาญในสาขาวิชาเฉพาะอย่าง รวมทั้งพระสงฆ์ผู้จาริกมาจากทางไกลหรือต่างประเทศ สิ่งที่สภาสงฆ์ระดับชาติจะต้องพิจารณาโดยเร่งด่วนขณะนี้ก็คือการวางนโยบายการศึกษาสงฆ์ โดยพยายามลดทอนภาระความรับผิดชอบในการศึกษาฝ่ายโลก คือการศึกษาสามัญทั้งระดับมัธยมและอุดมศึกษา ออกไป ให้อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายบ้านเมือง สงฆ์เองจะเน้นนโยบายการจัดวางระบบการศึกษาที่เป็นเป้าหมายทางพระธรรมวินัยโดยเฉพาะ ไม่ว่าบาลีหรือนักธรรม ทั้งฝ่ายคันถธุระและวิปัสนาธุระเป็นหลักการสำคัญ และรวมไปถึงงานการมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลกที่มีเป้าหมายเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนาที่แท้จริงด้วย

สงฆ์ระดับชาติจะกำหนดนโยบายการเผยแผ่ การสาธารณูปการ การปกครอง และเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารที่พร้อมเพรียง งานในลักษณะกองเลขานุการของสภาสงฆ์ระดับชาติ ควรจะให้เป็นภาระหน้าที่ของฝ่ายฆราวาส เป็นต้นว่ากรมการศาสนาหรือกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ หรือหน่วยในสำนักนายกรัฐมนตรีที่ขึ้นตรงต่อฝ่ายบริหารสูงสุดของประเทศ ทั้งนี้ก็เพราะเป็นงานที่ต้องดำเนินการด้วยเท็คนิคสมัยใหม่ที่สงฆ์เรา ถึงอาจสามารถทำได้ แต่ก็จะเชื่องช้า ไร้ประสิทธิภาพ เพราะเราไม่ได้ร่ำเรียนมาและก็ไม่ใช่หน้าที่เราที่จะต้องไปร่ำเรียนวิชาอย่างนั้น ๆ จึงเป็นโอกาศที่จะได้ปลดปล่อยภาระหน้าที่ทุกประการใดของสงฆ์ที่ไม่เกี่ยวกับวิถีสันโดษและวิถีธรรมที่มุ่งหมายไปสู่เส้นทางแห่งพุทธประสงค์ คือมรรคผลนิพพานนั่นเอง เพราะในที่สุดแล้ว การบรรลุเป้าหมายคือ อรหัตผลธรรม จะปรากฏว่าทรงคุณค่ามหาศาลยิ่งใหญ่จนท่วมทับผลงานผลกิจกรรมใดใดอย่างโลก ๆ ทั้งสิ้น

ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันสงฆ์กับองค์พระประมุขของชาติ ก็ยังเป็นไปในลักษณะเดิม คือทรงประกอบราชพิธีใด ก็เป็นไปตามแบบราชพิธีนั้น และทรงเป็นผู้ทรงแต่งตั้งอุปัชฌาย์ และสมาชิกสภาสงฆ์ รวมทั้งตำแหน่งทางการบริหารที่สำคัญ ๆ และทรงเป็นมหาอุบาสก ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ และทรงเป็นมหามรรคนายก อย่างที่ทรงเป็นอยู่แล้วตลอดไปเสมอ ไม่มีอำนาจใดลบล้างพระจริยาวัตรอันดีงามล้ำเลิศของพระองค์ได้

รูปเค้าโครงสงฆ์ในส่วนรวมก็จะเป็น ภาพของความสันโดษ ภาพที่พระสงฆ์ถูกปลดปล่อยออกมาเป็นอิสระ จากตำแหน่งและยศฐาบรรดาศักดิ์ที่ถูกจองจำโดยกฎหมายไปตลอดชีพ ภาพการปลดปล่อยจากความหมักความดองอยู่ในน้ำแห่งอามิสสินทรัพย์สมบัติ การสะสมเงินทอง เครื่องประดับประดาต่าง ๆ อันเสมือนเป็นทรัพย์ที่ปู่โสมจะต้องอยู่เฝ้าไม่มีโอกาศได้ไปผุดไปเกิด ด้วยประการนี้ การเงิน การธุรกิจในวงการสงฆ์ก็จะค่อยสะพัดออกมาสู่สังคม เงินที่สะสม นิ่ง ไม่มีการหมุนเวียนโดยไม่ชอบด้วยการสร้างสรรค์เส้นทางแห่งมรรคผลนิพพานก็จะหมุนออกไปสู่การสร้างประโยชน์แด่สังคมและประเทศชาติ และการสร้างประโยชน์อันแท้จริงตามวิถีทางแห่งพระพุทธศาสนา ก็จะกลายเป็นสังคมพระศรีอาริย์ขึ้นมาได้ทันตาเห็น เมื่ออริยมรรค อริยผลบังเกิดขึ้นบนผืนแผ่นดินโลกอย่างล้นหลาม อาจเป็นไปได้ ด้วยการแก้ไขระบบการปกครองสงฆ์เสียใหม่ ดังพรรณนามาแล้วนี้

นี่เป็นเพียงภาพเค้าโครงร่างโดยรวมของแนวคิด ที่ประมาณการณ์โดยรวมเอาสาระแห่งธรรมทั้งหลายโดยรอบด้านมาวิเคราะห์ ทางที่จะประพฤติต่อไปให้เป็นผลสำเร็จมีรูปธรรมปรากฎก็คือการออกกฎหมายใหม่ และในเนื้อหากฎหมายก็จะเป็นไปตามลักษณะโครงร่างที่บรรยายมาแล้วนี้ กระนั้น ก็มีทางอื่นที่น่าจะเป็นไปได้เช่นเดียวกันกับวิธีการออกกฎหมายใหม่ และทั้งมีประสิทธิภาพไม่แพ้กัน หากมีความเหมาะสมด้วยกาลเวลาแล้วย่อมปรากฎสัมฤทธิผล อย่างไรก็ตามเพื่อความเข้าใจและเห็นผลคุณประโยชน์ของระบบสงฆ์อันใหม่นี้ก็ยังจำเป็นต้องอธิบายต่อไป ปานประหนึ่งว่าเป็นการเทศนาธรรมกัณฑ์ยาวยิ่ง ที่ไม่มีวันหยุด ตราบเอื้ออำนวยให้สำเร็จผลหรือสามารถบรรลุมีดวงตาเห็นแจ้งแสงธรรมไปด้วยกัน ๆ ฯ

และประการสำคัญที่ท่านผู้อ่านควรเข้าใจก็คือ ระบบคุณธรรมนี้ ใช่จะไร้ผู้ทรงภูมิปัญญามองเห็น หากแต่แท้ที่จริง ได้มีพระมหาเถรานุเถระหลายรูปเคยปรารภกันมาก่อน ในการที่จะปฏิรูปรูปแบบการคณะสงฆ์ โดยที่ได้เห็นความบกพร่องของระบบอำนาจที่เป็นอยู่นี้ว่าเป็นทางเสื่อมลง ผม ผู้วิเคราะห์ที่ได้ดำเนินการสำรวมจิตอธิบายมาตามลำดับแล้วนี้ ที่จริงก็เป็นการสนองความคิดส่วนสำคัญของพระมหาเถรานุเถระเหล่านั้น ที่เห็นพ้องต้องกันอยู่แล้วในระบบคุณธรรมในองค์กรหลักอันดั้งเดิมของสงฆ์ คือ ระบบอุปัชฌาย์ ที่สืบทอดมาแต่องค์สมเด็จพระบรมศาสดานานเท่านานมาตราบเท่าทุกวันนี้
อันปัญญาชนใด พึงสดับและพิจารณ์ด้วยสติปัญญาอันสุขุม เทอญ ฯ

 

 

ปญฺญาธโรภิกฺขุ
สุสานสวามิภูติ (สันติพิมานนรเทพ) ศรีสะเกษ
ม.ค. ๒๕๔๑

 

 

 

 

 

 




หนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 34

หน้าบอกสถานะของเรา ดีเล่มที่ 34
บทกวีนิพนธ์ แด่ คุณครูแสงเทียน article
บทความพิเศษ การพัฒนาประชาธิปไตย โดยพระเทพวรมุนี article
บทบก1 วิเคราะห์เพลงชาติไทยควรปรับปรุง
บทบก2 จำลอง ศรีเมืองต้านเบียร์ช้างเข้าตลาดหลักทรัพย์
บทบก3 บันทึกคนเก่งเด็กไทยชนะโอลิมปิกวิชาการ 4 เหรียญทอง
บทบก4 เตรียมเสนอร่างกฎหมายสงฆ์ 2 ฉบับเข้าสภา ผ่านรัฐบาลก่อน
บทบก5 โหราศาสตร์น่าสนใจในดีเล่มที่34
บทบก6 เสนอตั้งกระทรวงข่าวสาร และกรมโหร
บทบก7 สันตะปาปา สิ้นพระชนม์ อิรัคยังคงฆ่ากันหลังตั้งรัฐบาลได้แล้ว
บทบก8 อินเทอเนตของเราเป็นที่ลับสมองคมกริบเพียงอ่านบทวิเคราะห์ไปตามลำดับเท่านั้น
ร่างยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนา คำวิพากษ์และข้อเสนอแนะ
โหราศาสตร์ ดวงชะตาผู้นำชาติและดวงเมืองยุคปัจจุบัน ดี34:1 ส.ค.2548
ดี10 ฉบับทบทวน (คอลัมน์ประชาธิปไตยสงฆ์) จะปฏิรูปสงฆ์ไปทำไม ต่อ
ข้อคิดสันติกโรภิกขุ คนอเมริกันไม่น้อยคิดว่าตนเป็นชาวพุทธที่ดีกว่า



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
----- ***** ----- โปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate นี่คือเวบไซต์คู่ www.newworldbelieve.com กับ www.newworldbelieve.net เราให้เป็นเวบไซต์ที่เสนอธรรมะหรือ ความจริง หรือ ความคิดเห็นในเรื่องราวของชีวิต ตั้งใจให้ธัมมะเป็นทาน ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แด่คนทั้งหลาย ทั้งโลก ให้ได้รู้ความจริงของศาสนาต่าง ๆในโลกวันนี้ และได้รู้ศาสนาที่ประเสริฐเพียงศาสนาเดียวสำหรับโลกยุคใหม่ จักรวาลใหม่ เรามีผู้รู้ ผู้ตรัสรู้ ผู้วินิจฉัยสรรพธรรมสรรพวิชชา สรรพศาสน์ และสรรพศาสตร์ พอชี้ทางสู่โลกใหม่ ให้ความสุข ความสบายใจความมีชีวิตที่หลุดพ้นไปสู่โลกใหม่ เราได้อุทิศเนื้อที่ทั้งหมดเป็นเนื้อที่สำหรับธรรมะทั้งหมด ไม่มีการโฆษณาสินค้า มาแต่ต้น นับถึงวันนี้ร่วม 14 ปีแล้ว มาวันนี้ เราได้สร้างได้ทำเวบไซต์คู่นี้จนได้กลายเป็นแดนโลกแห่งความสว่างไสว เบิกบานใจ ไร้พิษภัย เป็นแดนประตูวิเศษ เปิดเข้าไปแล้ว เจริญดวงตาปัญญาละเอียดอ่อน เห็นแต่สิ่งที่น่าสบายใจ ที่ผสานความคิดจิตใจคนทั้งหลายด้วยไมตรีจิตมิตรภาพล้วน ๆ ไปสู่ความเป็นมิตรกันและกันล้วน ๆ วันนี้เวบไซต์นี้ ได้กลายเป็นโลกท่องเที่ยวอีกโลกหนึ่ง ที่กว้างใหญ่ไพศาล เข้าไปแล้วได้พบแต่สิ่งที่สบายใจมีความสุข ให้ความคิดสติปัญญา และได้พบเรื่องราวหลายหลากมากมาย ที่อาจจะท่องเที่ยวไปได้ตลอดชีวิต หรือท่านอาจจะอยากอยู่ณโลกนี้ไปชั่วนิรันดร ไม่กลับออกไปอีกก็ได้ เพียงแต่ท่านเข้าใจว่านี่เป็นแดนต้นเรื่องเป็นด่านข้ามจากแดนโลกเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง และซึ่งเป็นโลกหรือบ้านของท่านทั้งหลายได้เลยทีเดียว ซึ่งสำหรับคนต่างชาติ ต่างภาษาต่างศาสนา ได้โปรดใช้การแปลของ กูเกิล หรือ Google Translate แปลเป็นภาษาของท่านก่อน ที่เขาเพิ่งประสบความสำเร็จการแปลให้ได้แทบทุกภาษาในโลกมนุษย์นี้แล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้เอง นั้นแหละเท่ากับท่านจะเป็นที่ไหนของโลกก็ตาม ทั้งหมดโลกประมาณ 7.6 พันล้านคนวันนี้ สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในโลกของเราได้เลย เราไม่ได้นำท่านไปเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่การนำไปสู่ความจริง ความรู้เรื่องชีวิตใหม่ การอุบัติใหม่สู่ภาวะอริยบุคคล ไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปพ้นจากทุกข์ ทั้งหลายไปสู่โลกแห่งความสุขแท้นิรันดร คือโลกนิพพานขององค์บรมศาสดาพุทธศาสนา พระบรมครูพุทธะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ท่านโปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate ท่านก็จะเข้าสู่โลกนี้ได้ทันทีพร้อมกับคน7.6พันล้านคนทั้งโลกนี้. ----- ***** ----- • หมายเหตุ เอาขึ้นเวบไซต์ แทนของเดิม ทั้ง 2 เวบ .net .com วันที่ 21 เม.ย. 2565 เวลา 07.00 น. -----*****-----