ReadyPlanet.com
dot
dot dot
bulletBUDDHISM TO THE NEW WORLD ERA
bullet1 Thai-ไทย
bullet2.English-อังกฤษ
bullet3.China-จีน
bullet4.Hindi-อินเดีย
bullet5.Russia-รัสเซีย
bullet6.Arab-อาหรับ
bullet7.Indonesia-อินโดนีเซีย
bullet8.Japan-ญี่ปุ่น
bullet9.Italy-อิตาลี
bullet10.France-ฝรั่งเศส
bullet11.Germany-เยอรมัน
bullet12.Africa-อาฟริกา
bullet13.Azerbaijan-อาเซอร์ไบจัน
bullet14.Bosnian-บอสเนีย
bullet15.Cambodia-เขมร
bullet16.Finland-ฟินแลนด์
bullet17.Greek-กรีก
bullet18.Hebrew-ฮีบรู
bullet19.Hungary-ฮังการี
bullet20.Iceland-ไอซ์แลนด์
bullet21.Ireland-ไอร์แลนด์
bullet22.Java-ชวา
bullet23.Korea-เกาหลี
bullet24.Latin-ละติน
bullet25.Loa-ลาว
bullet26.Finland-ฟินแลนด์
bullet27.Malaysia-มาเลย์
bullet28.Mongolia-มองโกเลีย
bullet29.Nepal-เนปาล
bullet30.Norway-นอรเวย์
bullet31.persian-เปอร์เซีย
bullet32.โปแลนด์-Poland
bullet33.Portugal- โปตุเกตุ
bullet34.Romania-โรมาเนีย
bullet35.Serbian-เซอร์เบีย
bullet36.Spain-สเปน
bullet37.Srilanga-สิงหล,ศรีลังกา
bullet38.Sweden-สวีเดน
bullet39.Tamil-ทมิฬ
bullet40.Turkey-ตุรกี
bullet41.Ukrain-ยูเครน
bullet42.Uzbekistan-อุสเบกิสถาน
bullet43.Vietnam-เวียดนาม
bullet44.Mynma-พม่า
bullet45.Galicia กาลิเซียน
bullet46.Kazakh คาซัค
bullet47.Kurdish เคิร์ด
bullet48. Croatian โครเอเซีย
bullet49.Czech เช็ก
bullet50.Samoa ซามัว
bullet51.Nederlands ดัตช์
bullet52 Turkmen เติร์กเมน
bullet53.PunJabi ปัญจาบ
bullet54.Hmong ม้ง
bullet55.Macedonian มาซิโดเนีย
bullet56.Malagasy มาลากาซี
bullet57.Latvian ลัตเวีย
bullet58.Lithuanian ลิทัวเนีย
bullet59.Wales เวลล์
bullet60.Sloveniana สโลวัค
bullet61.Sindhi สินธี
bullet62.Estonia เอสโทเนีย
bullet63. Hawaiian ฮาวาย
bullet64.Philippines ฟิลิปปินส์
bullet65.Gongni-กงกนี
bullet66.Guarani-กวารานี
bullet67.Kanada-กันนาดา
bullet68.Gaelic Scots-เกลิกสกอต
bullet69.Crio-คริโอ
bullet70.Corsica-คอร์สิกา
bullet71.คาตาลัน
bullet72.Kinya Rwanda-คินยารวันดา
bullet73.Kirkish-คีร์กิช
bullet74.Gujarat-คุชราด
bullet75.Quesua-เคซัว
bullet76.Kurdish Kurmansi)-เคิร์ด(กุรมันซี)
bullet77.Kosa-โคซา
bullet78.Georgia-จอร์เจีย
bullet79.Chinese(Simplified)-จีน(ตัวย่อ)
bullet80.Chicheva-ชิเชวา
bullet81.Sona-โซนา
bullet82.Tsonga-ซองกา
bullet83.Cebuano-ซีบัวโน
bullet84.Shunda-ชุนดา
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet86.Sesotho-เซโซโท
bullet87.NorthernSaizotho-ไซโซโทเหนือ
bullet88.Somali-โซมาลี
bullet89.History-ประวัติศาสตร์
bullet90.Divehi-ดิเวฮิ
bullet91.Denmark-เดนมาร์ก
bullet92.Dogry-โดกรี
bullet93.Telugu-เตลูกู
bullet94.bis-ทวิ
bullet95.Tajik-ทาจิก
bullet96.Tatar-ทาทาร์
bullet97.Tigrinya-ทีกรินยา
bullet98.Check-เชค
bullet99.Mambara-มัมบารา
bullet100.Bulgaria-บัลแกเรีย
bullet101.Basque-บาสก์
bullet102.Bengal-เบงกอล
bullet103.Belarus-เบลารุส
bullet104.Pashto-พาชตู
bullet105.Fritian-ฟริเชียน
bullet106.Bhojpuri-โภชปุรี
bullet107.Manipur(Manifuri)-มณีปุระ(มณิฟูรี)
bullet108.Maltese-มัลทีส
bullet109.Marathi-มาราฐี
bullet110.Malayalum-มาลายาลัม
bullet111.Micho-มิโช
bullet112.Maori-เมารี
bullet113.Maithili-ไมถิลี
bullet114.Yidsdish-ยิดดิช
bullet115.Euroba-ยูโรบา
bullet116.Lingala-ลิงกาลา
bullet118.Slovenia-สโลวีเนีย
bullet119.Swahili-สวาฮิลี
bullet120.Sanskrit-สันสกฤต
bullet121.history107-history107
bullet122.Amharic-อัมฮาริก
bullet123.Assam-อัสสัม
bullet124.Armenia-อาร์เมเนีย
bullet125.Igbo-อิกโบ
bullet126.History115-ประวัติ 115
bullet127.history117-ประวัติ117
bullet128.Ilogano-อีโลกาโน
bullet129.Eve-อีเว
bullet130.Uighur-อุยกูร์
bullet131.Uradu-อูรดู
bullet132.Esperanto-เอสเปอแรนโต
bullet133.Albania-แอลเบเนีย
bullet134.Odia(Oriya)-โอเดีย(โอริยา)
bullet135.Oromo-โอโรโม
bullet136.Omara-โอมารา
bullet137.Huasha-ฮัวซา
bullet138.Haitian Creole-เฮติครีโอล
bulletคำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรแปล เช้า-เย็น
bulletChart Showing the Process
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี พ.ศ.2540 - 2566
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 1
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 2
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี บุคคลที่ 1 - 188 ปัจจุบัน
bulletหนังสือพิมพ์ดี
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 1
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 2
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 3
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 4
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 5
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 6
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 7
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 8
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 9
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 10
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 11
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 12
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 13
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 14
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 15
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 16
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 17
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 18
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 19
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 20
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 21
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 22
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 23
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 24
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 25
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 26
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 27
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 28
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 29
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 30
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 31
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 32
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 33
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 34
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 35
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 36
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 37
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 38
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 39
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 40
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 41
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 42
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 43
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 44
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 45
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 46
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 47
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 48
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 49
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 50
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 51
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 52
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 54
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 55
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 56
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 57
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 58
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 59
bulletTo The World
bulletENGLISH
bulletUSA
bulletChina
bulletIndia
bullet Mynmar
bullet Cambodia
bullet Loas
bulletSri Lanka
bulletMalaysia
bulletKorea
bulletA Sharp Turn of Believes : Iresearch Iwrite Iread
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 1
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 2
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 3
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 4
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 5
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 6
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 7
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 8
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 9
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 10
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 11
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 12
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 13
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 14
bulletMystery Report 15
bulletMystery Report 16
bulletMystery Report 17
bulletMystery Report 18
bulletMystery Report 19
bulletMystery Report 20
bulletMystery Report 21
bulletMystery Report 22
bulletMystery Report 23
bulletMystery Report 24
bulletMystery World Report 25
bulletศึกษาโลกลี้ลับ 26
bulletเฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว วิเคราะห์ทุกปัญหาในโลกมนุษย์ด้วยสติปัญญาและเหตุผลวิทยาศาสตร์จากนสพ.ดี
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2536
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2537
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2538
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2539
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2540
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2541
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2542
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2543-2545
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2545-2549
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2549-2550
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2550-ส.ค.2551
bulletเฝ้าดูฯ ส.ค.-ก.ย.2551
bulletเฝ้าดูฯ ก.ย.2551- ธ.ค. 2551
bulletเฝ้าดูฯสำนวนพัชรา กอปรทศธรรม
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 16-27
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 29
bulletบทความใหม่ เม.ย.-พ.ค.2552
bulletพุทธธรรมเพื่อทางดับทุกข์
bulletทฤษฎีการดับทุกข์ทางจิต วิปัสสนากรรมฐานโดยการทำงาน(สำนวนปรับปรุงใหม่)
bulletประวัติพัชรา กอปรทศธรรม
bulletประวัติการต่อสู้เพื่อการดับทุกข์ ของพัชรา กอปรทศธรรม
bulletอัลบั้มรูป history
bulletนิทานธรรมะประยุกต์ มานุสสาสุระสงคราม 4 ภาค และอื่น ๆ
bulletอัลบั้มรูป ภาพในอดีตและชีวประวัติศาสตร์ที่สวยงาม
bulletจากเวบบอร์ด พูดกันไม่รู้เรื่อง ประชาธิปไตยล้าหลัง
bulletศาสนาสากล การวิเคราะห์ความหมาย
bulletปลอบใจ
dot
รวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์ แนวปฏิรูปคณะสงฆ์อยู่ในบทวิเคราะห์นี้แล้ว
dot
bulletรวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์
dot
สากลจักรวาล สากลศาสนา แนวคิดศาสนาสำหรับคนยุคใหม่ ผู้ก้าวผิดทางไปสู่สิ่งไร้สาระโดยไม่รู้ตัว
dot
bulletสากล...ศาสนา 1
bulletสากล...ศาสนา 2
bulletสากล...ศาสนา 3
bulletสากล...ศาสนา 4
bulletสากล...ศาสนา 5
bulletสากล...ศาสนา 6
bulletสากล...ศาสนา 7
bulletสากล...ศาสนา 9
bulletสากล...ศาสนา 8
bulletสากล...ศาสนา 10
bulletสากล...ศาสนา 11
bulletสากล...ศาสนา 12
bulletสากล...ศาสนา 13
bulletสากล...ศาสนา 14
bulletสากล...ศาสนา 16
dot
ส่วนข้อมูลสำคัญเพื่อการวิจัยการเมืองไทยยุค คมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
dot
bulletข้อมูลสำคัญยุคคมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่1/26ส.ค.2551
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่2/27ส.ค.2551
bulletใบปลิว อีเมล์ ในหลวงทรงร้องไห้
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 1
bulletในหลวงเพิ่งทราบข่าวฆ่าประชาชน10เมย.53ทรงร้องไห้
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
dot
รวมข่าวม็อบการเมืองสนธิ-จำลอง-ปชป.มิ.ย.51-เม.ย.52 นสพ.
dot
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 2
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 3
bulletรวมข่าวม็อบ30มิ.ย.51-23มี.ค.52
bulletเลือดศรีสะเกษบันทึกเรื่องราวรอบด้านเกี่ยวกับเขาพระวิหาร
bulletรายงานการโฆษณาชวนเชื่อในประเทศไทยที่ล้มล้างรัฐบาลทักษิณ
bulletหนังสือพิมพ์ดี ของฟรีให้เปล่ามา20ปีแล้วทั้งเอกสารและอินเทอเนท
bulletหนังสือพิมพ์ดี ( อินเทอเนต ) เล่ม 1 - 44 - ล่าสุด
bulletหน้าที่เก็บไว้
bulletมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร)
bulletวัดมหาพุทธาราม ศรีสะเกษ บันทึกเหตุการณ์
bulletสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดศรีสะเกษแห่งที่ 1
bulletเกี่ยวกับเวบไซต์ของเรา เราทำเพื่อปัญญาชนโดยแท้
bulletรวมกระทู้เด็ดจากกระดานถามตอบ
bulletคาถาอาคมไสยศาสตร์
bulletกวีนิพนธ์ใหม่
bulletศูนย์ปฏิญญาณละเลิกอบายมุข บัญชีที่ 1- 4


จะปฏิรูปการปกครองสงฆ์ ปัญหา1-2และแบบการประชุมสภาตำบลโคกคำ

{คอลัมน์ประชาธิปไตยสงฆ์}

จะปฏิรูปการปกครองสงฆ์ไปทำไม ?

 

 

 

 

 

สารบาญ

จะปฏิรูปการปกครองสงฆ์ไปทำไม?

 

 

 

1.   ปัญหา จะปฏิรูปการปกครองสงฆ์ไปทำไม?

2.   หลักสำคัญ4ประการเพื่อการปฏิรูป

3.   จะปฏิรูปการปกครองสงฆ์ไปทำไม ? (ต่อ)

      ปัญหาคือ ระบบไม่ใช่บุคคล

4.   สถานการณ์เมื่อเริ่มระบบสภาสงฆ์

5.   แบบตัวอย่างการประชุมสภาสงฆ์ระดับตำบล

      นี่คือการประชุมสภาสงฆ์ตำบลโคกคำ

     อันเป็นสภาสงฆ์ระดับตำบล ตามพระราชบัญญัติการพระพุทธศาสนา พุทธศักราช 2545

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 {คอลัมน์ประชาธิปไตยสงฆ์}

จะปฏิรูปการปกครองสงฆ์ไปทำไม ?

 

 

 

ปัญหา:      

 

การเขียน การวิเคราะห์ปัญหาใดใดก็ตาม ควรจะมองดูที่มันเป็นจริง ๆ ว่าจริง ๆ มัน

เป็นอยู่อย่างไร เช่นเรื่องวัดนี่ จริง ๆ มันไม่ง่ายอย่างที่เสนอแนะมา เรื่องสภาสงฆ์ก็เหมือนกัน ไม่ดูว่าเดี๋ยวนี้เราก็มีสภา อะไร ๆ ก็มีการประชุม ๆ มีทุกระดับอยู่แล้ว ประชุมกันจนเหนื่อย ประชุมพระสังฆาธิการนี่มีเป็นประจำปี ประจำเดือน มีทุกระดับ แล้วก็มีประชุมพระฝ่ายบริหารการศึกษา ฝ่ายเลขานุการ การอบรมสัมนานี่มีเสียพร่ำเพรื่อ แต่มันเป็นผลดีอะไรขึ้นมาบ้างหรือไม่

 

นอกจากความสิ้นเปลือง ความเหน็ดเหนื่อย ความไร้สาระ ลองดูที่ตรงนี้บ้างซิ ดูที่ลาวที่เขมร ดูกว้าง ๆ บ้างว่าจริง ๆ แล้วเป็นอย่างไร ใช่ว่ากางตำราว่าไปเสียเพลิน นึกว่าจะเป็นไปได้หรือยุคพระศรีอาริย์ที่ว่า มองไม่เห็นว่าคนมีสติปัญญาธรรมดา ๆ จะทำให้เป็นจริงขึ้นมาได้

 

 

 

 

ตอบ     

 

ปัญหาทางศาสนาเป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อน ความสลับซับซ้อนนั้นก็เพราะมีกันเป็นชั้น ๆ แห่งปัญหา ในศาสนาพุทธ ความสลับซับซ้อนและชั้นแห่งปัญหานี้ จะมีมากกว่าศาสนาอื่น ๆไปอีก เพราะศาสนาอื่น ๆ มีเพดานแห่งปัญหาในระดับเดียวกันคือ ที่พระเจ้า เลยจากนั้นไปก็แล้วแต่พระเจ้า คนไม่มีสิทธิ์คิด ซึ่งจะต่างจากศาสนาพุทธ ที่เราต้องมองความสลับซับซ้อนทั้งหลายให้กระจ่างแจ้งออกมาทุกระดับชั้น หมายความว่า เรามองเข้าไปในระดับที่เป็นเขตแดนของพระเจ้า ที่ว่านั้นด้วย และทำความเข้าใจปัญหาทุกระดับนั้นอย่างทะลุปรุโปร่ง แต่บุคคลที่มองปัญหาทั้งหมดเช่นนี้ได้นั้นแหละคือพระผู้รู้จบในเรื่องพระพุทธศาสนา คือมวลหมู่พระอรหันต์ทั้งหลายนั่นเองเมื่อเราต้องมีการจัดการกำหนดกฎเกณฑ์ใดใดทางการปกดรองอันสมบูรณ์ เพื่อให้การพระพุทธศาสนาดำเนินไปสู่เป้าหมายสูงสุด หรือเป็นไปในทิศทางที่ไปสู่เป้าหมายอันถูกต้องของพระพุทธศาสนา เราจึงจำเป็นต้องมองปัญหาให้ทั่วถึง และทะลุปรุโปร่งไปในชั้น ขั้นตอนแห่งความสลับซับซ้อนทั้งสิ้นนั้น การกำหนดกฎเกณฑ์ใดใด ต้องมองความสัมพันธ์ของระดับชั้นต่าง ๆ ทั้งระดับแห่งแนวตั้งและแนวนอนให้เห็นชัดเจนว่า สิ่งเหล่านั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร เป็นไปตามกฎอิทัปปัจยตาอย่างไร จึงต้องอาศัยปัญญาที่รอบรู้ ที่ทั่วถึงที่ต้องสามารถตีความหมายปัญหาทุกขั้นตอนได้ หมายความว่ามองตั้งแต่โลกธรรมทะลุปรุโปร่งไปถึงโลกุตตรธรรมทั้งสิ้น จึงจักให้การกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการคณะสงฆ์ได้เป็นไปอย่างถูกทางและมีผล มีอานิสงส์ในทางมรรคผลนิพพาน อันเป็นเป้าหมายทางพระพุทธศาสนาได้อย่างแท้จริง และซึ่งเมื่อเป็นเช่นนั้น ผลอันยิ่งใหญ่ตระการมหัศจรรย์ดังหวังก็จักเกิดขึ้นมาได้จริง มิใช่เพียงความเพ้อฝันอย่างแน่นอน เพราะเราได้กระทำไปอย่างถูกเหตุปัจจัย มีที่มาที่ไปอย่างถูกต้องแล้วนั่นเอง ผลก็เกิดขึ้นเป็นธรรมดา ใช่ว่าจะต้องอาศัยการดลบันดาลหรือโชคชะตา หาได้ไม่

 

ปัญหาที่เกิดขึ้นในวงการพระพุทธศาสนาทุกวันนี้ ก็เนื่องมาจากปัญหา ที่ผู้กำหนด ผู้ออกกฎเกณฑ์ ผู้ออกกฎหมาย ออกมาตามอำเภอใจ ตามสติปัญญาอันรู้ไม่รอบคอบไม่ทั่วถึงนั่นเอง ในประเทศเราหรือประเทศพระพุทธศาสนาอื่น ๆในโลก ขณะนี้ ปัญหาเกิดจากผู้ออกกฎหมายที่ไม่รอบรู้ในทางพระพุทธศาสนาอย่างพอเพียง ในรัสเซีย ในจีน ในลาว และกัมพูชา เราได้เห็นภาพอันมักน้อยของสงฆ์ นั่นก็เพราะกฎเกณฑ์ถูกกำหนดด้วยภูมิปัญญาระดับนั้น เอาความเข้าใจเพียงระดับนั้นไปกำหนดกฎเกณฑ์ระบบการพระศาสนาทั้งสิ้น กฏเกณฑ์จึงออกมาในลักษณะที่ไม่สมบูรณ์ ถ้ามีความดีอยู่ก็เป็นเพียงความดีระดับนั้น ซึ่งไม่สามารถคลีคลายขยายการปฏิบัติธรรมออกไปให้ลุ่มกว้างมีพลังไปสู่มรรคผลได้พอ ได้ถึง ยังไม่มีกฎเกณฑ์กำหนดให้เดินไปในชั้นสูง ระดับสูงที่เอื้อให้อย่างยิ่งต่อการศึกษาภาคภายในของมนุษย์ ที่สอดคล้องพื้นฐานแห่งธรรมชาติภายในที่แท้จริงของมนุษย์ ที่เอื้อเพื่อประโยชน์ทางการเจริญกรรมฐานใดใดที่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการอันเพียงพอที่อุดม สมบูรณ์ ครบถ้วน ที่เอื้อให้แด่ภาคปฏิบัติการ เพื่อการฝึกตน เพื่อการจำเริญกรรมฐานใด เพื่อบริหารสมาธิ ฌาน และการวิปัสนาญาณชั้นสูงสุด ทั้งนี้โดยสอดคล้องสิ่งแวดล้อมแห่งยุคสมัยใหม่

 

ซึ่งเมื่อเราพูดมาถึงประเด็นนี้ หากนักการเมืองผู้ออกกฎหมายทั้งหลายมิได้รู้มิได้มีความเข้าใจปัญหาตามความจำเป็นแล้ว ก็จักก่อเกิดอันตราย เกิดการปิดกั้น มีอุปมาเหมือนปิดกั้นแม่น้ำลำธาร มิให้ไหลล่วงสู่ทะเลใหญ่คือมรรคผล นั่นเอง การศาสนาพุทธในแดนคอมมิวนิสต์มักมีลักษณะเช่นนี้ มีมาตรการที่ดีอยู่เพียงระดับต้น ๆ แล้วกักกันกระแสธรรมให้หยุดอยู่เพียงมาตรการนั้น จึงไม่ก่อเกิดเป็นกระแสอันลุ่มกว้างใหญ่ที่เลื่อนไหลไปและค่อยแรงลึกล้ำไปตามลำดับตราบสู่พระมหานิพพานอันสุดขอบเขตได้

 

เราจึงควรมองดูประเทศไทยเรา และด้วยการมองนั้นก็มีความหวังว่ายังมีพื้นฐานแห่งการฝ่ายสงฆ์เองพร้อมด้วยสิ่งที่แวดล้อมทั้งปวง ไม่ว่าการเมือง การเศรษฐกิจการสังคมและวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่พอจักสร้างรังสรรค์โดยอาจสามารถดำเนินการนำมาตรการอันอุดมสมบูรณ์ทุกระดับที่สามารถก่อเกิดกระแสแห่งมรรคผลนิพพาน เกิดการเลื่อนไหลและกินความลึกกว้างไปตามลำดับไม่ถูกกักกันในระยะหรือขั้นตอนใด แต่หากให้ไหลหลั่นไปไม่หยุดหย่อนตราบลงสู่ทะเลมหาสมุทรใหญ่ที่ใคร ๆ มิอาจกักกั้นได้ต่อไปแล้ว ไม่ว่ามาตรการใดแห่งอำนาจใดใดของบุคคลใดใดแล้ว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 หลักสำคัญ 4 ประการเพื่อการปฏิรูประบบสงฆ์

 

มาตรการนั้นทั้งหมดก็คือ การดำเนินการให้ระบบการพระพุทธสาสนาทั้งปวงเป็นไปอย่างถูกต้องตามพระธรรมพระวินัยทุกระะดับขั้นตอนที่จำเป็นนั่นเองและที่ได้นำเสนอแนะมาทั้งสิ้นแล้ว ไม่ว่าการจัดการระบบวัด ระบบสงฆ์ และระบบการปกครองรวมของคณะสงฆ์ว่าด้วยสภาสงฆ์ 3 - 4 ระดับนั้น ซึ่งทั้งหมดจักเป็นการสนองต่อหลักการสำคัญ ๆ ๔ ประการ คือ

 

            ๑.   หลักว่าด้วยการทำประโยชน์แด่พระพุทธศาสนาในส่วนรวม

            ๒.   หลักว่าด้วยครู อาจารย์ หรือ อุปัชฌาย์

            ๓.   หลักเพื่อน หรือ กัลยาณมิตร

            ๔.   หลักประชาชน(หลักความศรัทธา)

 

หลักข้อ 1 หลักว่าด้วยการทำประโยชน์แด่พระพุทธศาสนาในส่วนรวม ทางปฏิบัติก็คือ สงฆ์ต้องพระพฤติตนละโลภโกรธหลงลงไปตามคติ “ความเป็นพระคือสละละกิเลส” นั่นเอง ใช่สิ่งที่เข้าใจยากเย็นอะไรเลย ภาพที่เราต้องการเห็นก็คือ ไม่เห็นภาพของพระร่ำรวย ดูจากปัจจัย 4 หากมีปัจจัยเกิน 4 ก็ถือว่าเกินจำเป็นสำหรับพระผู้มุ่งหมายเอามรรคผลนิพพานเป็นสรณะแห่งชีวิต เมื่อเป็นเช่นนี้ พระก็จะมาสู่ความสันโดษ การใดใดก็เดินไปในหลักความสันโดษ สังคมก็จักร่วมพิจารณา ว่าอะไรบ้างที่เป็นกิจของสงฆ์ และอะไรที่มิใช่กิจของสงฆ์ ส่วนที่มิใช่กิจของสงฆ์แต่สงฆ์จำเป็นต้องแบกต้องรับอยู่อย่างมากมายเหลือหลายเกินกำลังอยู่ขณะนี้ ก็จะสามารถทำความเข้าใจกับสังคมได้ และมอบภาระส่วนที่มิใช่กิจของสงฆ์คืนไปให้สังคมเสีย โดยที่สังคมตระหนักชัดเจนถูกต้องว่าสงฆ์พึงได้พึงมีเวลาอย่างเพียงพอเพื่อทำกิจของสงฆ์ และกิจของสงฆ์นั้นย่อมนำสงฆ์และสังคมไปสู่ความสงบสุขได้พร้อม ๆ กันไปอย่างแน่นอน เพราะเมื่อเราเอาพระนิพพาน คือมรรคผล ที่จักบังเกิดในวงการสงฆ์เป็นแก่นกลางเสียได้ แล้ว อะไร ๆ ในสังคมก็จักปริวรรตไป โดยมีธรรมะเป็นแก่นกลาง นั่นก็หมายถึงสังคมสงบสังคมที่มีความเมตตา กรุณาต่อกันและกันอย่างสูง ในแง่ที่คนทั้งหลายต่างก็พากันเห็นดีเห็นงามและพากันชื่นชมในคุณธรรมแห่งการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งคุณธรรมนี้อาจสร้างขึ้นมาได้ในสังคมไทย-สากล ด้วยการส่งเสริมให้ฝ่ายสงฆ์เติบโต จำเริญขึ้นด้วยคุณธรรมแห่งมรรคผลคือสละความเห็นแก่ตัวเสียก่อน แล้วคุณธรรมนี้ก็ค่อยแผ่ผายออกไปรอบข้าง ไปสู่สังคมโดยรอบ ก็ได้อานิสงส์ไปตาม ๆ กัน สังคมก็สงบ มีความสุขขึ้นได้ด้วยประการนี้

 

แต่เมื่อมองระบบสงฆ์ปัจจุบัน ที่ถูกกำหนดให้เคลื่อนไหวเป็นไปตามหลักการแห่งอำนาจแล้ว ยิ่งจะเห็นชัดเจนไปว่าเป็นระบบที่ไม่คำนึงไม่เอื้อต่อพฤติกรรมที่จักสร้างสรรค์ประโยชน์ส่วนรวมเป็นใหญ่เป็นเป้าหมายเลย กลับเสริมสร้างความเห็นแก่ตัวชัดเจนยิ่งขึ้น ๆ(มีข้อเท็จจริงที่อาจสังเกตเห็นได้ง่ายดาย คือ เมื่อพระสงฆ์ได้ยศ:สมณศักดิ์ หรือตำแหน่งชั้นหนึ่งชั้นใดมาแล้ว ทุกท่านหาพอใจหยุดอยู่ ณ ที่นั้นไม่ ล้วนแต่จะตั้งหน้าตั้งตาหาทางถีบตัวเองให้เลื่อนขึ้นไป ๆแทบไม่หยุดหย่อน ไม่ยอมมองคนอื่น ๆนอกจากตัวเองผู้เดียวแท้ ๆจริง ๆ ซึ่งก็เป็นธรรมดาเช่นนั้น เพราะระบบนี้เป็นระบบการแข่งขัน ชิงดีชิงเด่นกัน ท่านจะใช้เวลาทั้งชีวิตเพื่อเลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่งให้แก่ตนเองเท่านั้นไปตลอดชีวิต ซึ่งนี่ มิใช่กิจของสงฆ์เลยแม้แต่น้อย นี่เป็นกิจอันไร้สาระของระบบสงฆ์ที่เห็นชัดเจนอยู่ทุกวันนี้ อันบ่งบอกความเห็นแก่ตัวจัดจ้าน จึงเป็นระบบที่ไม่สร้างสรรคประโยชน์ส่วนรวมเลย) และที่สุดทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง คือปิดกั้นตนเองจากผลประโยชน์อันประเสริฐเที่ยงแท้ คือมรรคผล และทำลายหลักการและประโยชน์ของพุทธบริษัทอื่น แม้กระทั่งหลักการแห่งความศรัทธา อันเป็นวิถีที่เอื้อต่อฝ่ายฆราวาส ให้ฆราวาสได้ไปสัมผัสกระแสบุญ อันลุ่มเย็น อันเป็นวิถีที่นำฝ่ายฆราวาสไปสัมผัสมรรคผลได้ไม่แพ้ฝ่ายบรรพชิต นักบวชใดใด อีกประการหนึ่งด้วย

 

หลักข้อ 2 หลักว่าด้วยครูอาจารย์หรืออุปัชฌาย์ อันเป็นหลักการดั้งเดิม เมื่ออุปัชฌาย์สามารถแป็นแกนทั้งการปกครองและการศึกษาได้ ก็ยังมีความจำเป็นต้องมาตกลงกัน เพื่อให้การบริหารการศาสนาอันเป็นส่วนรวมเดินไปอย่างมีมาตรฐานอันเดียวกัน ก่อเกิดเอกภาพของแนวความคิดซึ่งมีพระธรรมและพระวินัยเป็นหลักยึดเหนี่ยว สภาสงฆ์จักเป็นสถานที่ตักเตือนสติซึ่งกันและกันให้มั่นคงในเส้นทางที่ถูก ตักเตือนกระตุ้นความพยายามในมรรคในผล ในหน้าที่ อย่าให้ประมาท เป็นที่กำหนดกฎเกณฑ์กลางที่คล่องตัวของการพระศาสนาในส่วนรวม โดยแบ่งภาระยากง่ายไปเป็นระดับ ๆ 4 ระดับดังกล่าว สภาสงฆ์แม้ความหมายจักดูคล้ายเป็นแหล่งกลางแห่งอำนาจการปกครอง แต่แท้จริงแล้ว จักทำหน้าที่หนักไปในด้านการเป็นศูนย์รวมกลางการปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์ทั้งสิ้น ทั้งนี้ตามคุณธรรม ความสามารถฉลาดในเรื่องมรรคผล หรือแม้ด้วยความมีมรรคมีผลของประธานสงฆ์ในหมู่ ในสภาแห่งนั้น

 

หลักข้อ 3 หลักเพื่อนหรือกัลยาณมิตร นั่นคือ ภราดรภาพ ในหมู่สงฆ์ เราจะมีความเสมอกันแต่ด้วยศีล 227 ข้อเป็นต้น นั่นก็หมายความว่า ไม่มีชนชั้นในหมู่สงฆ์อีกต่อไป แล้วเราจักมีมุทิตาจิตอันสะอาด อันเปี่ยมด้วยความศรัทธาที่แท้จริงเมื่อเพื่อนประสบความสำเร็จอันประเสริฐคือมรรคผล เราจักมีมรรคผลเป็นเครื่องรู้ใจกัน เครื่องที่กำหนดความยำเยงกัน เครื่องที่ทำความเคารพนับถือ บูชา ที่สนิทสนมรักใคร่กันอย่างเป็นกฎธรรมชาติ แล้วการอนุเคราะห์ซึ่งกันและกันโดยสุจริตใจก็จักเป็นไปอย่างเต็มที่และเต็มจิตเต็มใจ ความรักอันประเสริฐก็บังเกิดขึ้นในสังคม เป็นสังคมแห่งความปรารถนาดีต่อกันและกันอันบริสุทธิ์ เป็นสังคมแห่งพรหมวิหารธรรมไปทั้งสิ้น

 

หลักข้อ 4 หลักประชาชน นั่นคือความศรัทธาที่แท้จริง บังเกิดเมื่อเห็นรูปแบบวัตถุประสงค์อันชัดเจนของสงฆ์ ว่ามุ่งสู่ความเป็นพระผู้มุ่งตามรอยพระอรหันต์จริง ๆ มุ่งสู่ความหลุดพ้นจริง ๆ เป็นพระผู้สันโดษจริง ๆ มีความเป็นอันเดียวกับหมู่ชนผู้ยากไร้จริง ๆ มีความร่วมทุกข์ร่วมสุขในทุกสถานการณ์จริง ๆ มีปัจจัย 4 ที่ไม่เอาเปรียบสังคม แต่สามารถเป็นอยู่อย่างรับเศษเดนของสังคมได้โดยแท้จริง โดยความหมายหลักการอยู่ยังชีพของพระสาวกทั้งหลายในหลักว่าด้วยของ “บังสุกุล” นั่นเอง(ภาพกุฏิอันใหญ่โตโอ่อ่าริมกำแพงวัดที่ตัดกับบ้านไม้เซ ๆ ของคนผู้ยากจนไม่มีอันจะกิน ภาพพระสงฆ์นั่งรถเก๋งที่โอ่อ่าทุกระดับของเศรษฐีมหาเศรษฐี จะหมดไป ภาพพระสงฆ์ผู้รื่นเริง นั่งคุยหัวเราะกันอย่างไม่รับรู้สถานการณ์ที่แวดล้อม ก็คงจะเปลี่ยนแปรไปเป็นสงฆ์ผู้พูดน้อย ผู้ตรึกในทุกข์ในธรรมมาก ผู้ที่เอาความสงบเป็นเพื่อนใจ ผู้ราบคาบแล้ว รู้พินิจพิจารณาธรรมแห่งความสันโดษ)

 

ประชาชนผู้ศรัทธา เมื่อเห็นระบอบการปกครองสงฆ์โดยสภาสงฆ์ที่เป็นเสรี ที่เอื้อต่อความคิดเสรี ที่ปราศจากคำว่า “การบังคับบัญชา” หรือแม้คำว่า “การปกครอง” ที่ปราศจากภาพเคลื่อนไหวแห่งความประจบประแจงเอาอกเอาใจ(subbodinate) อันเสมือนข้าทาส หรือบ่าวกับนาย ในวงการสงฆ์ระบบเจ้าขุนมูลนาย หากแต่เป็นสภาที่รับผิดชอบต่อหลักพระธรรม ทรงคุณธรรมอันมั่นคงสม่ำเสมอ คืออปริหานิยธรรม อันสม่ำเสมอ ที่ทุกคนสมาชิกรู้ภาระหน้าที่ของตน รู้แนวทางแห่งกระแสธรรม รู้เรื่องที่เป็นกิจของสงฆ์และเรื่องที่ไม่ใช่กิจของสงฆ์ รู้เหตุและผล และรู้หลักสัตตบุรุษธรรม7 ที่จักอำนวยให้การเดินไปแห่งสภาสงฆ์เป็นไปอย่างมีกระแสธรรมอันแรงใหญ่ที่พัดพาหมู่สงฆ์ มุ่งมรรคผลนิพพาน

 

ซึ่งจักเห็นว่า แนวความคิดปฏิรูปการคณะสงฆ์ที่ได้เสนอมาแต่ต้นแล้วนั้น ล้วนลงกันได้กับหลักทั้ง 4 ประการนี้อย่างไม่พร่อง และหมายความว่ารูปแบบการปกครองสงฆ์ที่เสนอมาแล้วนี้เป็นรูปแบบที่มองตัวแปรหรือองค์ประกอบทั้งหมดทั้งสิ้น เท่าที่จำเป็นต้องนำมาประกอบกันให้การพระพุทธศาสนาสามารถเป็นแกนนำไปสู่เป้าหมายที่แท้จริงของพระพุทธศาสนาได้ นั่นก็คือสามารถนำไปสู่มรรคผลนิพพานได้ จักอาจเอื้อให้ มีการบรรลุธรรมหลากหลายด้วยปริมาณและระดับชั้นแห่งมรรคผล นับตั้งแต่พระโสดาปัตติมรรค พระโสดาปัตติผล พระสกิทาคามิมรรค พระสกิทาคามิผล พระอนาคามิมรรค พระอนาคามิผล พระอรหัตตมรรค และพระอรหัตตผล เป็นที่สุด พระพุทธศาสนาที่แท้ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยหลักการศึกษาสามคือปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธธรรมก็ย่อมปรากฎขึ้น ได้รับการพิศูจน์ว่าทรงคุณค่าจริงในสังคมมนุษย์ และโลกย่อมจำเริญรอยตาม

 

ผลการบรรลุรู้แจ้งธรรมย่อมทรงคุณค่ายิ่งใหญ่จริง เพราะระดับอรหัตตผลนั้นสามารถรู้แจ้งแทงตลอดไปได้ปรุโปร่ง ผ่านความสลับซับซ้อนของเครื่องกีดกั้นทั้งหลาย แม้เครื่องกีดกั้นอันยิ่งใหญ่ที่เรียกว่าแดนพระเจ้านั้นด้วยทั้งหมดทั้งมวลอันเป็นภูมิปัญญาแท้ ๆ ของมนุษย์ล้วน จึงเป็นเครื่องหมายแห่งมนุษย์ การบรรลุมรรคผลเป็นเครื่องหมายแห่งคุณภาพมนุษย์

 

มนุษย์ผู้อุดมสมบูรณ์ก็คือมนุษย์ผู้บรรลุมรรคผลสูงสุดในพระพุทธศาสนา ๆ จึงเป็นศาสนาที่ทรงคุณค่ายิ่งสำหรับมนุษย์ จนควรกล่าวว่า ผู้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว ไม่อาจได้รับคุณแห่งมรรคผลในพระพุทธศาสนาแล้ว นับว่าเสียชาติเกิดมาเป็นมนุษย์โดยแท้จริง ชาวพุทธทั้งหลายจึงน่าที่จะได้ตระหนักในความจริงแห่งคุณค่าอันประเสริฐนี้ และร่วมมือกันสถาปนามาตรการใดใดที่ถูกต้อง ที่จักเชิดชูพระพุทธศาสนาให้มีโอกาสโปรดประชากรโลกได้โดยทั่วหน้า

 

เริ่มด้วยการปฏิรูปการปกครองคณะสงฆ์ของเราใหม่

 

เพียงถอนสิ่งที่เป็นเสี้ยนหนามออกไปเท่านั้นเอง กำลังวังชาแห่งการคณะสงฆ์ที่แท้จริงก็จักกลับคืนมา อุปมาเหมือนพญาช้างสารถูกหนามทิ่มตำที่อุ้งเท้า พญาช้างสารนั้นก็แทบสิ้นพลกำลังลงไปโดยสิ้นเชิง แต่เมื่อใดหนามถูกถอนออกเสียแล้วเท่านั้นเอง พญาช้างสารนั้นก็คืนสู่พลังอันมหาศาลดั่งเดิม แต่ทั้งหลายนี้ โชคชะตามิอาจช่วยได้ เราต้องร่วมมือกันทำเอาเอง นี่เป็นหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 ปฏิรูปสงฆ์ไปทำไม(ต่อ)

ประเด็นปัญหาข้อที่ 2

 

 

ปัญหา 2

 

ปัญหาในวงการสงฆ์มีอยู่อย่างไรก็ตาม ถือเป็นเรื่องธรรมดาของคนหมู่มาก ย่อมปะปนไปทั้งคนดีคนชั่วบ้างเป็นธรรมดา พระสงฆ์ที่ท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบก็มีมาก ที่ท่านทำประโยชน์แก่สังคมก็มีมาก สงฆ์ส่วนใหญ่ก็ยังคงเป็นที่พึ่งทางจิตใจของประชามหาชนได้อยู่ ส่วนน้อยเท่านั้นที่มีปัญหา

 

 

 

 

 คำตอบ

 

ปัญหาพื้นฐานที่เป็นต้นเหตุแห่งปัญหาทั้งปวง มิใช่ปัญหาสงฆ์แต่ละรูป ตามที่เข้าใจมานี้ และที่ได้วิเคราะห์มาแต่ต้น ผลก็สรุปลงเอยว่ามิใช่ความผิดของสงฆ์ในลักษณะส่วนตัว หากแต่เป็นปัญหาของระบบสงฆ์ ระบบที่ผิดพลาดย่อมพาหมู่สงฆ์เดินไปผิดพลาดด้วย เราไม่ได้โจมตีพระสงฆ์ แต่เราโจมตีระบบสงฆ์ที่ไม่ถูกต้อง

 

ในด้านส่วนตัว สงฆ์ทุกวันนี้ต่างทำงานกันอย่างเอาใจใส่ อย่างหนักจนเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า แบกภาระหนักไปตาม ๆ กัน หากแต่การพยายาม แบกภาระหนักดังกล่าวนั้น ไม่ได้เป็นประโยชน์ทางมรรคผลนิพพานแด่สงฆ์แต่อย่างใดเลย เป็นการสูญเปล่าด้วยถูกหลอก ลองวิเคราะห์ดูว่าในชีวิตประจำวันทุกวันนี้ของหมู่สงฆ์ เราได้พบความสุข หรือพบชีวิตที่มีความสุขกันหรือไม่ ก็เปล่าเลย สงฆ์ทุกวันนี้มีชีวิตอยู่อย่างไร้ความสุขเสียจริง ๆ ต้องเผชิญความกดดันอยู่รอบด้าน สำหรับพระสังฆาธิการ และพระที่มีตำแหน่งทางการปกครอง และทางการศึกษา สิ่งที่ทำให้หนัก ก็คืองานที่ทำไม่สอดคล้องกับพื้นฐานความรู้-การศึกษาและอุปนิสัยของสงฆ์เรานั่นเอง เพราะส่วนมากแบกเอาภาระอย่างโลก ๆ ที่ควรจะปล่อยให้ฆราวาสญาติโยมรับผิดชอบไปแทนเสีย เมื่อรับทำไปอย่างขาดความรู้ความชำนาญ และไม่เหมาะแก่สมณวิสัยงานก็หนักเหน็ดเหนื่อย ล่าช้า เสียเวลามาก งานน้อย ๆ ก็กลายเป็นงานมาก ๆ งานเล็ก ๆ ก็กลายเป็นงานใหญ่ ๆ แทนที่จะใช้เวลาน้อยก็ใช้เวลามาก แทนที่จะใช้คนน้อยก็ใช้คนมาก แล้วใช่จะได้คุณภาพ ก็เปล่ากลับสับสนไปกันใหญ่อีก เช่นงานตัวเลข บวก ลบ คูณ หาร หรือสถิติต่าง ๆ งานหนังสือ การข่าวสาร  สรุปแล้วงานทุกชนิดที่หมู่สงฆ์ทำอยู่ ล้วนสิ้นเปลือง สูญเปล่าอย่างน่าใจหาย และแม้สงฆ์เองก็หารู้สึกเสียดายไม่ เพราะมองไม่เข้าใจ ไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบเลย

 

แม้งานพิมพ์ ร่างหนังสือราชการ ที่แม้ระดับอำเภอ จังหวัดคณะสงฆ์ก็ยังเป็นเรื่องใหญ่มาก ๆ งานประสานงานกับราชการภายนอกก็เป็นเรื่องใหญ่และทำไปอย่างสับสน เพราะไม่เข้าใจระบบราชการ ไม่เข้าใจระบบการประสานงาน ไม่เข้าใจระบบงานสารบรรณ อย่างราชการเขาเข้าใจ เข้าใจไปคนละทางเสมอ

 

 

นอกจากนั้นก็ยังมีงานที่ต้องประสานกับราชการท้องถิ่น หรือราชการระดับชาติ ที่ฝ่ายราชการก็ไม่เข้าใจฝ่ายสงฆ์ ฝ่ายสงฆ์ก็ไม่เข้าใจฝ่ายราชการ เช่นฝ่ายราชการต้องการให้สงฆ์ช่วยประชาสัมพันธ์ต่อต้านเอดส์ ให้ช่วยรณรงค์ ช่วยเทศน์บอกชาวบ้านว่าธรรมชาติโรคเอดส์เป็นอย่างไร แพร่ไปอย่างไร จะป้องกันโรคเอดส์ได้อย่างไร การจะเสพความสุขทางเพศควรใช้เครื่องมืออะไร เป็นต้น (ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นอันตรายต่อความนึกคิดของนักบวช)

 

ชีวิตประจำวันของสงฆ์จึงหมดไปกับงานภายนอกที่ไม่ค่อยเกี่ยวกับ กิจของสงฆ์นักเลย และนอกจากนี้ อันเป็นเรื่องสำคัญยิ่งใหญ่ ก็คือกิจเพื่อผลประโยชน์สุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์แห่งความหลุดพ้น เพื่อประโยชน์แห่งการพ้นทุกข์ เพื่อถอนรากถอนโคนแห่งทุกข์เสียให้สิ้น ตามเป้าหมายแห่งการเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา กลับแทบไม่ได้ปฏิบัติ หรือปฏิบัติอยู่บ้าง แต่แทบไม่รู้เหตุผลว่าทำไปทำไม จะต้องทำไปอย่างฉลาดรอบรู้อย่างไร หามีใครแนะนำไม่ และการประพฤติธรรมนั้น ที่มีอยู่บ้างนั้น เป็นการประพฤฒิอยู่ในระดับ ขั้นตอนไหนของการศึกษา และจะมีการก้าวหน้าไปอย่างไร ด้วยซ้ำ

 

 

จนกระทั่งเมื่อพูดถึงมรรคผลนิพพาน สงฆ์ทุกวันนี้ก็แทบไม่เข้าใจ แทบไม่เหลือความเชื่อ ความศรัทธาว่ามรรคผลเป็นสิ่งที่ย่อมจะเป็นไปได้เสมอทุกกาลเวลา ถ้ามีความพยายาม หากจะพากันยิ้มหยันเมื่อผู้กล่าวถึงเรื่องนี้ขึ้นมา และแล้วก็กลายเป็นเรื่องขัดทาง ขัดผลประโยชน์กันไป แล้วมาตรการทางอำนาจก็มักจะถูกเอามาเป็นเครื่องมือตัดสินว่าอะไรถูกอะไรผิด แทนที่จะใช้หลักพระธรรมพระวินัยเป็นสิ่งชี้ขาด ด้วยระบบที่ผิดพลาดไปนี้ก็มีผลให้หน่วยย่อยในระบบ คือสงฆ์ทั้งสิ้นถูกพาปริวรรตตามไปด้วย มีอุปมาเหมือนเฟืองตัวใหญ่หมุนไป เฟืองตัวเล็กทั้งหลายก็ปริวรรตตามไป แม้จะขืน ๆ อยู่ตอนแรก แต่แล้วในที่สุดก็ขืนไว้ไม่ไหว ก็ต้องตามเขาไป ตามระบบไป

 

ขณะนี้ระบบสงฆ์เป็นอยู่อย่างนี้ เป็นมาถึงระดับที่ระบบอำนาจ อยู่เหนือระบบคุณธรรมและครอบวงการสงฆ์ไว้หมดสิ้น ไม่ว่าวงการสงฆ์ฝ่ายบ้านหรือวงการสงฆ์ฝ่ายป่าต่างก็ไหลไปตามเส้นทางโลก คือมีระบบตำแหน่งและยศ:สมณศักดิ์ ฐานันดรสงฆ์เป็นแกนกลาง ไปตาม ๆ กัน อันเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่า หมู่สงฆ์ได้เดินผิดทางไปจากเดิมอย่างเต็มตัวเสียแล้ว และเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม กับเส้นทางอันเป็นจุดหมายปลายทางแห่งพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธศาสนาต้องการพาพระสาวกไปสู่มรรคผลนิพพาน พาก้าวหน้าไปตามลำดับ สู่แดนพระอริยบุคคลทั้ง 8 หมู่ คือ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค และ อรหัตตผล ซึ่งการดำเนินไปในเส้นทางนี้ ได้ด้วยเพียงการขจัดความเห็นแก่ตัวออกไป สงฆ์จักต้องถือสันโดษ ต้องดำเนินชีวิตไปด้วยความสันโดษจนกว่าจะเอาชนะกิเสมารได้อย่างสมบูรณ์ (เมื่อใดละไปเสียจากวิถีสันโดษ นั่นหมายถึงความพ่ายแพ้แก่มารเสียแล้ว)อุปมาเหมือนทหารที่เข้าทำการศึก จักต้องเตรียมตัวให้ปราศจากภาระอื่นใดนอกจากเตรียมพร้อมเพื่อการรบข้าศึก แต่เพียงอย่างเดียว เมื่อพระสงฆ์ต้องถือสันโดษก็หมายถึงว่า พระสงฆ์ต้องเตรียมตัวเข้าสู้รบกับมารทั้งหลาย คือกิลส ตัณหา และอุปาทาน นั่นเอง

 

 

เมื่อเป็นเช่นนี้สงฆ์ก็จำเป็นต้องสละโลกเสีย นั่นก็คือ โลกธรรมทั้งหลายมี ลาภ ยศ สรรเสริญ และ สุข จักต้องวางลง นี่คือแนวพระธรรมวินัย วิถีที่สงฆ์พึงเดิน อันอิงอยู่ตามหลักพระธรรมวินัย หากแต่ทุกวันนี้ กฎหมายกลับกำหนดให้สงฆ์เดินไปในเส้นทางแห่งมารนี้อย่างชัดเจน ด้วยการสร้างระบบอำนาจคือระบบตำแหน่งทางการปกครองและระบบสมณศักดิ์ หรือยศพระ ขุนนางพระ เจ้าขุนมูลนายพระ อันเป็นโครงสร้างอย่างโลก ๆ ขึ้นมาครอบหมู่สงฆ์ทั้งสิ้น

 

 

ขณะนี้เป็นระยะที่กระแสโลกนี้แรงขึ้น จนกระทั่งสงฆ์ทั้งปวงหาอาจต้านทานไม่ ไม่อาจยึดเหนี่ยวทางพระธรรมวินัย ก็ละจากวิถีสันโดษ ปล่อยตัวไปตามวิถีโลก ยอมเสพราคะ ตัณหา อุปาทาน คือครบถ้วนแห่งโลกธรรม 8 อันมี ลาภ แสวงหาลาภกันทั้งหมดทั้งสิ้น เป็นเป้าหมายแห่งชีวิตสงฆ์ ไม่ว่าสงฆ์ในเมืองหรือสงฆ์ในป่า สงฆ์นวกะ หรือมหาเถรานุเถร ยศ คือตำแหน่งและสมณศักด์ ที่โลกบังคับหยิบยื่นให้อย่างเต็มที่นั้น ก็กลายเป็นเป้าหมายความก้าวหน้าอันสูงสุดแห่งชีวิตสงฆ์ เพราะด้วยกิเลสตัวนี้ได้ขับให้สงฆ์ใฝ่ไต่ขึ้นไปตามขั้นแห่งตำแหน่งชั้นยศ เพื่อความเป็นใหญ่ของตน เพื่อเพิ่มอำนาจแห่งตนตามที่โลกคือกฎหมายรับรองไว้ และเมื่อสงฆ์อื่น ต่างก็ปรารถนา การแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นเรื่องลาภ ยศ ตำแหน่งเหล่านี้ก็เกิดขึ้น ผู้ที่ผิดหวัง หรือเสื่อมจากลาภ ยศ ก็วุ่นวาย ไร้ความสุขสงบ พอกพูนความอิจฉาริษยาเรื่อยไป เมื่อผิดหวังก็เสียใจร้องห่มร้องไห้มิผิดอะไรกับปุถุชนคนทั้งหลาย ที่สมหวังก็ดีใจ จัดฉลองยศถาบรรดาศักดิ์กันไม่เว้นว่าง เป็นเหตุเดือดร้อนของญาติโยม ทำให้วงการสงฆ์ตกต่ำ ฉุดสังคมและพระพุทธศาสนาให้เสื่อมลงไปตามลำดับ ๆ เพราะพระพุทธศาสนาอยู่ได้ด้วยพระสาวก

 

 

เมื่อพระสาวกไร้คุณภาพ ผู้จะเชิดชูพระพุทธศาสนาก็ไม่มี มีแต่ผู้เชิดชูมารกิเลสให้เฟื่องฟู ในรูปรวม จิตวิญญาณของชาติไทยก็ระส่ำระสาย สังคมไร้หลักที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ

 

เพราะในใจกลางหรือแก่นกลางแห่งหมู่สงฆ์ทั้งปวง มิใช่แก่นแท้แห่งสัจธรรมเสียแล้ว หากแต่เป็นแก่นแท้แห่งอสัทธรรมที่ซ่อนอยู่อย่างสนิท เป็นบัณฑิตโจร ผู้สวมหน้ากากอันหลอกลวงคนทั้งหลาย ทำให้ไม่อาจพัฒนาการทางการเมืองที่ต้องการได้ เพราะระบบเจ้าขุนมูลนายสงฆ์ที่ครอบสังคมไทยอยู่ทั้งสิ้น ไม่อาจสร้างสรรค์วัฒนธรรมทางการเมืองที่ต้องการได้ เพราะประชาธิปไตย ที่รับรองสิทธิในการพูด การคิดเห็นและการกระทำอย่างอิสระเสรีอันเป็นวิถีทางพัฒนาปัญญานั้น เป็นสิ่งที่ไม่ถูกไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมเจ้าขุนมูลนาย และวัฒนธรรมเช่นว่านี้ แม้จะหมดไปจากระบบราชการฝ่ายบ้านเมืองไปส่วนใหญ่แล้ว แต่ระบบวัฒนธรรมเจ้าขุนมูลนายฝ่ายสงฆ์ยังคงเป็นอยู่อย่างสมบูรณ์ ภายใต้ระบบการปกครองสงฆ์ที่กฎหมายกำหนด เมื่อวัฒนธรรมเจ้าขุนมูลนายยังไม่หมดไปจากสังคมไทย เพราะระบบสงฆ์เจ้าขุนมูลนายเป็นตัวตรึงตัวส่งเสริมอยู่ การปกครองระบอบที่เราปรารถนาคือระบอบประชาธิปไตยก็ไม่อาจเดินไป การเมืองไทยจึงเป็นไปอย่างครึ่ง ๆ กลาง ๆ ไม่อาจเดินไปอย่างสมบูรณ์ได้(ตามหนังสือที่ได้เสนอไปยัง ส.ส.ร. เรื่อง "ปฏิรูปการเมืองไทย ประเด็นสำคัญที่ไม่มีผู้ใดพูดถึง”)

 

นั้นแหละเป็นผลเสียหายที่ระบบสงฆ์ปัจจุบัน ส่งผลให้แก่ประเทศชาติ และทั้ง พระพุทธศาสนา ในส่วนรวม

 

วิธีที่แก้ไขจึงมีทางเดียว คือแก้กฎหมายใหม่ จัดการให้ระบบสงฆ์เป็นไปโดยถูกต้องตามพระธรรมวินัย อันจะต้องปรับเปลี่ยนทางเดินของสงฆ์เสียใหม่ ให้เดินไปสู่โลกุตตรธรรม มีมรรคผลนิพพาน เป็นเป้าหมาย จึงจะถูกต้องตามหลักพระธรรมและพระวินัย จึงจักอาจนำพาสังคมไทยไปสู่ความเจริญที่แท้จริงได้

 

และเมื่อกำหนดโครงสร้างทางการพระพุทธศาสนาไทยได้ โดยกำหนดสถานภาพวัด สงฆ์ และสภาสงฆ์ ให้เป็นไปอย่างเอื้อต่อมรรคผลนิพพาน เอื้อต่อหลักการทั้ง 4 คือ หลักว่าด้วยการทำประโยชน์แด่พระพุทธศาสนาในส่วนรวม, หลักว่าด้วยครู อาจารย์ หรือ อุปัชฌาย์, หลักเพื่อน หรือ กัลยาณมิตร และ หลักประชาชน ได้แล้ว การพระพุทธศาสนาย่อมเจริญรุ่งเรือง และเป็นที่พึ่งของสังคมได้จริง

 

แต่การมองปัญหาทางพระพุทธศาสนานั้น ผู้มองจะต้องมองทะลุ ให้ลึกซึ้งไปถึงเหตุผลแห่งความเป็นไปได้ อย่างไร และเมื่อเป็นไปได้อย่างนั้นแล้วผลที่อาจเกิดขึ้น จักออกมาอย่างไร ขนาดไหน ฉะนั้นจึงต้องมีหลักในการมอง ๆว่า ระบบสงฆ์ที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เมื่อผิดทางแล้ว ผลก็คือโลกธรรมย่อมพอกพูนเจริญคือมีมากขึ้น ๆในหมู่สงฆ์ทั้งปวง เงิน ทรัพย์สิน ปัจจัยเกิน4 สำหรับการยังชีพที่ผิดไปจากหลักการแห่งความสันโดษก็พอกพูน เม็ดเงินของสังคม ก็จักไหลเข้าระบบสงฆ์ และถูกใช้ไปอย่างไม่คุ้มค่า อย่างไม่ส่งเสริมสอดคล้องการเศรษฐกิจที่ตกต่ำของชาติได้ ยศ-ตำแหน่ง ที่เฟื่องฟูในหมู่สงฆ์ ก็ทำให้เกิดระบบชนชั้นขึ้นในหมู่สงฆ์ อันขัดหลักรัฐธรรมนูญใหม่ ว่าด้วย ความเป็นมนุษย์ สงฆ์มิเสมอกันด้วยศีลเสียแล้ว หากเอายศเอาตำแหน่งมากำหนดความดีงาม ซึ่งเห็นอยู่ชัดเจนขณะนี้

 

ความสรรเสริญย่องยอก็มีมากขึ้นจากบุคคลผู้หวังลาภหวังผลประโยชน์ในหมู่สงฆ์ ความสุขสะดวกสะบายจนแทบว่าสงฆ์ไม่รู้จักเดิน ไม่รู้จักดิน เพราะเป็นเจ้าขุนมูลนาย ไปไหนขึ้นวอหามไปอย่างขุนนางสมัยก่อน ไม่รู้จักว่าบิณฑบาตคืออะไร เสวยสุขอย่างเดียว นี่มีข้อเท็จจริงรองรับอยู่ทั้งสิ้น และเมื่อเป็นเช่นนี้ ผลจักเป็นอย่างไร มองดูให้เห็นให้ชัดเจนว่าผลจะต้องเป็นไปอย่างไรอย่างมั่นใจแน่นอนว่าเป็นผลแห่งเหตุที่ได้ประพฤติไปเช่นนั้น ๆ คือเมื่อประพฤติไปตามคติโลก ๆ ผลก็ย่อมเกิดขึ้นอย่างโลก ๆ คือสงฆ์ก็ค่อยเพิ่มพูนกิเลสตัณหาราคะอุปาทาน ก็ห่างเหินมรรคผลนิพพานออกไป ๆ พระพุทธศาสนาก็นับวันจะปราศจากพระสาวกผู้รู้ ผู้ที่อาจสามารถรับรองหลักการแห่งพระพุทธศาสนาได้ นั่นคือ อริยบุคคล ผู้สำเร็จมรรคผลนิพพาน แม้พระโสดาบันก็จะค่อยลดน้อยลงไปตามลำดับ ๆ ไม่มีผู้รับประกันหลักการแห่งพระพุทธศาสนา ความเสื่อมก็ตกแก่พระพุทธศาสนาแก่สังคม โลก ในขณะเดียวกัน เมื่อมองว่าหากสงฆ์เดินไปถูกทาง อะไรจักเป็นผล และผลนั้นยิ่งใหญ่ มีความสำคัญอย่างไร ขนาดไหน นั่นก็คือความหมายที่ว่า เมื่อมีพระอริยบุคคล มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในระบบสงฆ์ในระบบสังคมมากขึ้นแล้ว ผลดีจักเกิดขึ้นอย่างไร นั่นเอง มองออกเช่นนี้ ๆ จึงจักเข้าใจ งานการปฏิรูป การปฏิวัติระบบการสงฆ์จึงจักเริ่มขึ้นมาได้ ด้วยมือทั้งหลายที่เข้าใจกัน และยื่นออกมา ร่วมมือกันทำงานอันสำคัญยิ่งใหญ่แห่งยุคนี้ ด้วยความเข้าใจชัดเจนถึงเป้าหมายที่เราต้องการ และผลของความสำเร็จนั้น ว่าจักยิ่งใหญ่มีความสำคัญอย่างไร มีความหมายอย่างไรต่อมนุษยชาติทั้งโลก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 จะปฏิรูปการปกครองสงฆ์ไปทำไม ? (ต่อ)

สถานการณ์เมื่อเริ่มระบบสภาสงฆ์

 

 

หากระบบการคณะสงฆ์ได้รับการปรับใหม่ตามโครงสร้าง วัด สงฆ์ และ สภาสงฆ์ โดยหลัก 4 ประการคือ หลักประโยชน์ส่วนรวม หลักอุปัชฌาย์-อาจารย์ หลักกัลยาณมิตร และหลักประชาชน ในบัดนี้แล้ว อะไรจะเกิดขึ้น เหตุการณ์จักดำเนินไปอย่างไร ผลที่หวังไว้จักเป็นไปดั่งหวังหรือไม่ อาจจะมีอุบัติเหตุหรือสิ่งที่ผิดพลาดไม่เป็นไปตามแผนได้เพียงไรหรือไม่ ?

 

เมื่อเริ่มต้น โดยเลิกใช้พระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์เดิม สงฆ์ทั้งปวง จะรู้สึกว่าหลุดลอยไปจากหลักที่ยึดเหนี่ยวที่พึ่งพิงเดิม อุปมาเหมือนเรือแตก ต่างก็จักแหวกว่ายไปตามกำลังและแสวงหาที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวอันใหม่ ในสภาวะนี้ก็จักเดินเข้ามาหากฎธรรมชาติ คือเมื่อภัยมาถึงตัวคนก็จักระลึกถึงผู้ให้กำเนิดคือบิดามารดา เป็นต้น แต่สำหรับสงฆ์ทั้งปวง มีอุปัชฌาย์ เป็นเสมือนผู้ให้กำเนิด สงฆ์ทั้งปวงก็จักรุมล้อมเข้ามารอบ ๆ อุปปัชฌาย์ ก็จักเกิดเป็นหมู่สงฆ์หมู่เล็กหมู่ใหญ่ กระจัดกระจายไปหมดทั่วทั้งประเทศไทย อุปัชฌาย์ทั้งหลายก็จะกลายเป็นศูนย์กลางการปกครองและการศึกษาชั่วคราวในขณะนั้น และอุปัชฌาย์นั้นเองจะเห็นผู้อธิบายเหตุการณ์ทั้งหลายที่เป็นไปในลักษณะที่พลิกแผ่นดินเช่นนั้น

 

จากนั้น อุปัชฌาย์ในระดับตำบล แต่ละตำบลก็จะจัดให้มีการประชุม ณ วัดที่เป็นศูนย์กลางของตำบลนั้น ๆ ก่อนเป็นการเริ่มงานตามระบอบใหม่ ฉะนั้น เราจักเห็นสงฆ์ทั้งปวงทั่วทั้งอาณาจักร ในระดับตำบลทุกตำบลสงฆ์ในประเทศไทย เดินทางไปร่วมประชุม มีการจัดการประชุมขึ้นโดยพร้อมเพียงหรือในระยะเวลาที่ไล่เลี่ยกันทั่วประเทศ

 

ถ้าเป็นอุปัชฌาย์มีอาวุโส มีภูมิปัญญา รู้วิถีทางปริยัติปฏิบัติและรู้ปฏิเวธธรรมงานเริ่มแรกนี้ก็จักเป็นไปอย่างราบเรียบ สงบ เยือกเย็น ไม่ตื่นเต้นอะไรเลย เพราะแท้จริงก็ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น เมื่อนัดหมายมาประชุม สงฆ์ทั้งปวงในแต่ละตำบลก็เดินทางมายังจุดนัดหมาย เมื่อมาถึงแล้วต่างก็ปฏิสันถารซึ่งกันและกัน ตามประเพณีวัฒนธรรมสงฆ์เรา เพียงแต่ต้องระวังว่า ความประพฤติใดไม่พึงแสดงออกซึ่งความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ปาก แก่ท้อง ไม่พึงถามหาที่นั่ง ที่ลาดปู ไม่ถามหาของดื่มของเสพจากผู้ใด ถ้ามีที่ลาดที่ปูก็นั่งลงบนที่ลาดที่ปู ถ้าไม่มีก็จัดการตนเอง อย่าให้เกิดความยากลำบากแก่ผู้อื่น เพราะบัดนี้เราไม่มีเจ้า ไม่มีนายในระบบสงฆ์ต่อไปแล้ว ถ้ามีเครื่องดื่มก็ดื่มก็เสพ เมื่อไม่มีก็ตั้งตนให้สงบ นิ่งเข้าไว้ รอจนกว่าจะถึงเวลาประชุม

 

ในการประชุม ท่านก็จะให้เวลาสำหรับการประกอบกิจทางวัฒนธรรมสงฆ์ให้ครบถ้วนด้วย เริ่มตั้งแต่เข้าที่ประชุมแล้ว มีเวลาเพียงพอสบาย ๆ สำหรับประกอบการคารวะผู้เป็นประธานสงฆ์คืออุปัชฌาย์ ณ ที่นั้น หากบังเอิญ ณ ที่ประชุมนั้นมีพระอุปัชฌาย์มากกว่า 1 องค์ ก็ถือเอาอุปัชฌาย์ผู้อาวุโสกว่าเป็นประธานของที่ประชุม ในระหว่างนี้แหละ ที่พระอุปัชฌาย์ผู้มีการศึกษาดี ผู้รู้ทางมรรคผลนิพพาน จักสำนึกว่า นี่ก็คือภาคปฏิบัติขั้นตอนหนึ่งแห่งวิถีทางมรรคผลทีเดียว และจักอาจพาหมู่ที่มาประชุมนั้นให้เป็นไปอย่างสบาย โล่ง สว่าง ไม่อึดอัด ไม่รู้สึกถูกบีบรัดด้วยบรรยากาศอันกดดัน จะรู้วิธีที่จะพูดจา หรือทำกริยาใด ที่เป็นไปเพื่อความโล่ง โปร่งทางจิตใจของหมู่ที่มาประชุมนั้น อันเป็นไปอย่างธรรมชาติ ถูกธรรมชาติแห่งใจ

 

แล้วการประชุมก็ดำเนินไปอย่างสบาย ๆ ท่านจะเริ่มด้วยการพาหมู่จำเริญอนุสสติ 10 มีพุทธานุสสติเป็นต้นก่อนเสมอไป การบูชาพระรัตนตรัย นั้นน่าเป็นกิจที่ขาดมิได้ในการประชุมสงฆ์ทุกครั้งคราว และการประชุมสภาสงฆ์จะเดินไปมากกว่านั้น คือจะถือว่าการร่วมกันทำวัตรสวดมนต์นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็น เสมือนเป็นเนื้อหาสำคัญของการประชุมทุกครั้ง และครั้งเริ่มต้นนี้ หากเป็นเวลาเช้าก็พากันทำวัตรเช้า หากเป็นภาคบ่ายภาคเย็นก็ทำวัตรเย็น ให้เต็มสมบูรณ์และเป็นไปอย่างสบาย ๆ

 

หลังจากนี้ จึงเป็นขั้น ตอนการพิจารณาญัติต่าง ๆหรือวาระต่าง ๆ ไปตามลำดับ

 

เริ่มแต่วาระแรกที่ประธานจะปรารภถึง ก็คือ ความเป็นมาของการนัดหมายสงฆ์ทั้งตำบลมาประชุมกันครั้งนี้ ซึ่งอุปัชฌาย์ผู้เป็นประธานก็จะปรารภถึงหลักการปกครองคณะสงฆ์ใหม่ ตามกฎหมายสงฆ์ฉบับใหม่ (สมมติว่าเป็น พระราชบัญญัติการพระพุทธศาสนา พ.ศ. 2545) ท่านก็จะปรารภเรื่องนี้ขึ้นก่อน

 

 

 

 

 

 

 

 

 ตัวอย่างการประชุมสภาสงฆ์ระดับตำบล

 

นี่คือการประชุมสภาสงฆ์ตำบลโคกคำ

อันเป็นสภาสงฆ์ระดับตำบล ตามพระราชบัญญัติการพระพุทธศาสนา พุทธศักราช 2545

 

 

 

 

พระอุปัชฌาย์

ประธานสภาสงฆ์ตำบลโคกคำ :

 

“การนัดหมายประชุมพวกท่านทั้งหลายในวันนี้ ก็เพื่อที่จะมารับรู้ร่วมกันว่า ทางรัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์มาใหม่ กำหนดรูปแบบการปกครองใหม่ ให้มีสภาสงฆ์ระดับตำบล สภาสงฆ์ระดับจังหวัด สภาสงฆ์ระดับชาติ และสภาสงฆ์ระดับสากล ขึ้นมาแทนตำแหน่งเจ้าคณะพระสังฆาธิการเดิม เพราะฉะนั้น ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป วงการปกครองคณะสงฆ์จะไม่มีตำแหน่ง เจ้าคณะพระสังฆาธิการอีกต่อไป และจะไม่มีสมณศักดิ์ประดับตำแหน่งต่อไปอีก เพราะเป็นเรื่องขัดและแย้งพระธรรมวินัย ทำให้การพระพุทธศาสนาตกต่ำ การปกครองระบบใหม่ เราจักมีภราดรภาพ คือเป็นพี่เป็นน้องท้องเดียวกัน ตามแบบเดิมที่เป็นมาแต่สมัยองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในขณะนี้ ผมในฐานะอุปัชฌาย์ พ่อผู้ให้กำเนิดพวกท่านทั้งหลายก็จะได้ทำหน้าที่ประธานสภาสงฆ์ตำบลโคกคำนี้ต่อไปตามปกติ เพียงแต่ว่า เรื่องการเป็นประธานสภานี่ จะผลัดกันให้ท่านมหาเถระรูปอื่น ซึ่ง ณ ที่นี้ก็มีอยู่หลายท่าน ได้มาช่วยงานเป็นประธานสภาสงฆ์ระดับตำบลเรานี้แทนเป็นวาระ ๆ ไป เพราะกฎหมายใหม่ เขาไม่อนุญาตให้ครองตำแหน่งเป็นการตลอดชีพ แต่ครองเพียงชั่วคราว ๆ เพียงวาระละ 4 ปี ทุกตำแหน่ง ซึ่งผมก็เห็นว่าดีแล้ว พวกเราจะได้ไม่ถูกจองจำไปตลอดชีวิต จะพอมีช่องว่างให้หายใจ ให้ได้คิดถึงพระพุทธเจ้าบ้าง ได้มีโอกาศปฏิบัติกิจส่วนตัวเพื่อความพ้นทุกข์บ้าง”

 

“ก่อนที่ผมจะแจ้งเรื่องต่าง ๆ ต่อไป ก็ขอให้มาช่วยกันเลือกเอาพระภิกษุที่รู้งานคล่องแคล่วฉลาด มาทำหน้าที่ เลขานุการสภาสงฆ์ระดับตำบลเสียก่อน ดูมาตราที่ 25 ในหนังสือที่ถืออยู่ในมือนั่น รัฐบาลท่านอุตส่าห์จัดพิมพ์ถวายมาก็ดูเสียบ้าง หัดอ่านหนังสือกันบ้าง มาตรา 25 บอกว่า ให้สภาสงฆ์ระดับตำบลคัดเลือกสงฆ์หนึ่งรูปขึ้นเป็นเลขานุการสภาสงฆ์ โดยมติของที่ประชุม ผมก็ขออาศัยอำนาจตามมาตรา 25 นี้ดำเนินการตั้งเลขานุการสภาสงฆ์เราขึ้นมาก่อน เอาละท่านผู้ใดมีความเห็นว่า เลขานุการสภาสงฆ์ระดับตำบลนี้ควรจะเป็นพระภิกษุรูปใด ผมจะขอให้เสนอชื่อพร้อมทั้งเหตุผลต่อที่ประชุมมาได้ตามอิสระของท่าน”

 

แล้วเมื่อสงฆ์มีมติยอมรับพระรูปใด พระรูปนั้นก็เป็นเลขานุการสภาสงฆ์ตำบลนั้น พระรูปนั้นก็ไปทำหน้าที่นั้น การประชุมก็เดินต่อไป

 

 

 

ประธานสภา:

 

“เลขานุการสภาสงฆ์ก็จะทำหน้าที่จดบันทึกมติทุกเรื่องของที่ประชุม มตินี้มีความสำคัญมาก เพราะเท่ากับเป็นกฎหมายสำหรับปกครองสงฆ์ในตำบลเราเลยทีเดียว

 

เอาละ เรื่องการปกครองวัด ในขณะนี้เรามีอยู่ทั้งหมด 10 วัดพอดี ทั้งฝ่ายมหานิกายและธรรมยุต พระก็มีวัดละองค์สององค์ อย่างมากก็ 15 องค์ที่วัดของอุปัชฌาย์ ผมดูแล้ววัดบ้านแสง วัดบ้านโนนกอง วัดบ้านแพ้ว สามวัดนี้เป็นวัดใหญ่ แต่สมภารเจ้าวัดเดิมยังอ่อนอาวุโสมากอยู่ บัดนี้เขาให้จัดตั้งสมภารใหม่ ตามกฎหมายใหม่ ผมอยากเสนอให้พระวิญญู ไปเป็นสมภารวัดบ้านแสง พระการะเกด ไปเป็นสมภารวัดบ้านโนนกอง และพระทองดี ไปเป็นสมภารวัดบ้านแพ้ว แทนองค์เดิมไปก่อน ส่วนวัดอื่นอีก 7 วัด ให้สมภารรูปเดิมเป็นสมภารต่อไปจนกว่าจะครบวาระการอยู่ในตำแหน่ง ท่านผู้ใดมีความเห็นอย่างไร โปรดเสนอแนะมาได้เลย ผมอยากฟังความคิดเห็นดี ๆ ของพวกท่านทุกรูป ๆ”

 

การเสนอแนะและโต้แย้งก็จะออกมาในลักษณะที่ใช้เหตุและผลที่สอดคล้องธรรมวินัย มาอ้างเสมอไป อย่างกรณีนี้ พระอาวุโสรูปหนึ่งก็มีความเห็นแย้ง

 

 

 

 

สมาชิกสภา :

“ขอประทานอภัยอาจารย์อุปัชฌาย์ ผมมีความเห็นแย้งท่านนิดหน่อย สำหรับวัดบ้านแสงนั้น พระอมรชัย ถึงจะอ่อนพรรษาไปบ้างแต่ก็มีความริเริ่มดี มีพื้นฐานการศึกษามาค่อนข้างดี ขณะนี้ก็ริเริ่มอะไรใหม่ ๆ ขึ้นมาหลายอย่าง หากให้ย้ายไปเสียงานเดิมจะชงักนะครับ ผมอยากให้คงไว้ที่เดิม”

 

แต่ข้อแย้งนี้อุปัชฌาย์ยังไม่ยอมรับ

 

 

 

ประธานสภา:

“ผมเข้าใจ ผมเห็นด้วย ที่ว่าพระอมรชัยนั้นเป็นพระมีความริเริ่มดี มีพื้นฐานการศึกษามาค่อนข้างดี และผมก็เห็นว่าแกเริ่มทำอะไร ๆ ใหม่ ๆ ขึ้นมาดี แต่นั่นแหละ ในฐานะอุปัชฌาย์ผมมองแล้วรู้สึกเป็นห่วง ห่วงว่างานนั้นจะเป็นอันตรายแก่ตัวเอง จะอยู่ในเพศพรหมจรรย์ไปได้ไม่นาน แล้ววงการเราก็จะเสียพระผู้มีความรู้ความสามารถไปเสียองค์หนึ่ง คือผมเห็นแล้วว่าพระอมรชัยทำอะไร จริงอยู่เป็นเรื่องพัฒนาการท้องถิ่น ร่วมมือกับฝ่ายบ้านเมือง ฝ่ายโรงเรียน ได้ดี แต่นั่นแหละเป็นเหตุให้เกิดความคลุกคลี และใกล้ชิดสตรีทั้งครู นักเรียน หรือแม้กระทั่งหญิงชาวบ้านมากเกินไป จนภาคภายในมันเริ่มคลอนแคลนไปหมดแล้ว และเมื่อถึงจุดมันก็จะเสื่อมลงจะเอาไว้ไม่อยู่ ผมอยากจะให้พวกเราพยายามมองให้เห็นจริง ๆ ว่ากิจของสงฆ์เราที่แท้จริงนั้นคืออะไร หน้าที่ของเราแท้ ๆ นั้นคืออะไร แล้วให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งต่อกิจนั้น ผมอยากจะเน้นว่า หน้าที่ในการทำตัวเราเองให้หลุดพ้น พ้นทุกข์ ไปถึงพุทธองค์นั้นแหละเป็นเรื่องใหญ่ และบัดนี้เราขอให้ห่วงหน้าที่อันนี้ให้มาก ๆ อย่าไปห่วงผลงานอื่น ๆ ใดใดอีกเลย เพราะเราเลิกระบบยศพระ ขุนนางพระไปหมดแล้ว ทำดีขนาดไหนเขาก็ไม่มียศพระให้แล้ว สู้เราเดินไปตามทางพระพุทธองค์เถิด ห่างเหตุแห่งราคะ ตัณหา อุปาทานเข้าไว้เถิด หวังมรรคผลเป็นเบื้องหน้า จะประเสริฐสมเป็นหน่อเนื้อเชื้อไขพุทธองค์จริง ๆ”

 

 

 

 

สมาชิกสภา :

“สาธุ พระอาจารย์อุปัชฌาย์ว่ามาถูกต้องแล้ว ชอบแล้ว หน้าที่ของเราคือตามรอยพระอรหันต์ นั่นถูกแล้ว”

 

 

 

 

 

ประธานสภา :

“เอาล่ะ ผมก็ขอฟังความเห็นในเรื่องสมภารวัดนี้ จากพระอาจารย์ฝ่ายธรรมยุตบ้างว่า มีความเห็นอย่างไร สำหรับวัดธรรมยุต 2 แห่งจะเห็นสมควรอย่างที่ผมเสนอหรือไม่ อย่างไร ขอให้ท่านอาจารย์ชัยเสนอแนะ”

 

 

 

อาจารย์ชัย สมาชิกสภา :

“ท่านอาจารย์อุปัชฌาย์ ผมเอง ในฐานะอุปัชฌาย์ เห็นว่าสมภารวัดป่าลดาวัลย์คือพระอาจารย์ทองพันนั้นค่อนข้างจะอายุมากแล้ว อยากให้ท่านได้มีโอกาสพักผ่อนเสีย ให้เป็นปูชนียบุคคลของลูกหลานต่อไป จึงขอเสนอพระมหาสุนทร เป็นสมภารแทน ส่วนวัดธรรมประชาทานนั้นคงให้พระพิษณุเป็นสมภารต่อไป ควรไม่ควรอย่างไรก็แล้วแต่ท่านอาจารย์อุปัชฌาย์จะพิจารณา”

 

 

 

 

ประธานสภา :

“ผมเห็นด้วย เอาละ มีท่านผู้ใดจะเสนอหรือมีความเห็นแย้งเป็นอย่างอื่นหรือไม่

 

ถ้าไม่มี ผมก็ขอสรุปอย่างนี้ วัดในตำบลสงฆ์ของเรามีทั้งหมด 10 วัด วันนี้จะต้องแต่งตั้งสมภารขึ้นใหม่ตามกฎหมายใหม่ ให้สมภารรูปเดิมทำหน้าที่ต่อไป เว้นแต่วัดบ้านแสงให้พระวิญญู เป็นสมภารแทนพระกวี วัดบ้านหนองโนให้พระการะเกดเป็นสมภารแทนพระเสน่ห์ วัดบ้านแพ้วให้พระทองดีเป็นสมภารแทนพระบันทูน วัดป่าลัดดาวัลย์ให้พระมหาสุนทร เป็นสมภารแทนพระอาจารย์ทองพัน มีท่านผู้ใดจะมีข้อแย้งไหมครับ”

 

พระบางองค์ สมาชิกสภา :

 

“ผมยังสงสัยไม่ค่อยชัดเจนนักว่า นี่เป็นการแต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดทั้ง10วัดในตำบลเราใช่หรือไม่ จะมีผลทางกฎหมายไปเลยใช่หรือไม่”

 

 

 

 

ประธานสภา :

“ผมก็ไม่ค่อยจะชัดเจนนักในเรื่องกฎหมาย แต่เมื่อมองจากพระธรรมวินัยแล้วเห็นว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายคงจะสอดคล้องพระธรรมวินัย คือไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นในอัตตาว่าเราเป็นนั่นเป็นนี่ แล้วจะติดตรังไม่ยอมขยับเขยื้อน อันจะส่งผลเสียหายให้เหมือนระบบเดิมที่ผ่านมา ตามกฎหมายใหม่ เขาให้อำนาจสภาสงฆ์ระดับตำบลอย่างเต็มที่ ที่จะกำหนดบุคคลทางการปกครอง ดูมาตรา 22 ครับ “ให้สภาสงฆ์ระดับตำบลรับผิดชอบการปกครองดูแลวัดในตำบล ให้มีอำนาจพิจารณาเลือกสรรบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งการปกครองในวัดทุกแห่งในตำบลของตน” ข้อดีก็คือ เราจะอยู่ในตำแหน่งอย่างมีวาระ ไม่ใช่อยู่ตลอดชีพเหมือนเดิม และพวกเราสมาชิกสภาสงฆ์ทุกรูปก็มีหูมีตามีหน้าที่ดู ว่าวัดและสงฆ์ในตำบลเป็นอย่างไร ไม่ถูกต้องอย่างไรตรงไหน เอาเข้ามาคุยปรึกษากันได้ในที่ประชุมนี้ ฉะนั้น นี่เป็นการแต่งตั้งสมภารวัด ถูกต้องแล้วครับ เมื่อได้รับแต่งตั้งแล้วก็ทำหน้าที่ต่อไป 4 ปี จึงจะครบวาระ ส่วนจะมีอะไรนอกเหนือพิเศษไปจากนี้ จะต้องฟังสภาสงฆ์ระดับจังหวัดเขาอีกทีหนึ่ง ผมจะเข้าไปประชุมแล้วจะเสนอเรื่องเจ้าวัดนี้บางประเด็น เพื่ออยากให้กำหนดเป็นนโยบายระดับสูงเป็นสากลทั่วประเทศ เอาล่ะ ต่อไป ผมก็จะขอถามเจ้าตัวที่ถูกเสนอชื่อเป็นสมภารวัดทั้ง 10 วัด ว่าท่านมีความเต็มใจเพียงไหน หรือมีความเห็นแย้งอย่างไร เชิญแสดงความเห็นไปตามลำดับ”

 

ไม่มีผู้ใดแสดงความเห็นแย้ง

 

ก็เป็นอันว่า วัดทั่วทุกแห่งในประเทศไทย มีผู้ดูแลปกครองกันทั่วแล้ว โดยมีสภาตำบลสงฆ์ระดับตำบลเป็นหน่วยงานกลางคอยประสานกิจของสงฆ์ทั้งหมดให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ตามธรรมตามวินัยของพระพุทธศาสนา

 

นี่ก็คือลักษณะการบริหารการปกครองในตำบลสงฆ์หนึ่ง ๆ ซึ่งต่างก็มีอิสระในการที่จะคิดจะทำอะไรดี ๆ ที่สอดคล้องพระธรรมวินัย ที่เอื้อต่อความประพฤติอันดีงามถูกต้องตรงทางแห่งมรรคผลนิพพานของพระพุทธศาสนา จนแม้กระทั่งเรื่องราวต่อไปนี้ ก็อยู่ในพินิจของสภาตำบลสงฆ์ที่จักดำเนินการไปได้

 

 

 

สมภารวัดป่าบ้านแพน

สมาชิกสภา :

“เรื่องการฌาปนกิจศพท่านพระครูสิริศรีสวาสดิ์ วัดป่าบ้านแพน เมื่อเรามาสู่ระบบการปกครองใหม่แล้ว จักดำเนินการอย่างใด ขอเรียนถามท่านอาจารย์อุปัชฌาย์หรือท่านอาจารย์ทองพันก็ได้ครับ”

 

ประธานสภา :

“ขอพึ่งสติปัญญาท่านอาจารย์ทองพันละ ขอเชิญท่านอาจารย์”

 

พระอาจารย์ทองพัน

สมาชิกสภา :

“ผมอยากจะพูดว่า ประเพณีการศพที่ทำมา ๆ นั้น ทำเกินไป ไม่มีแบบมีอย่างให้ทำอย่างนั้น ดูแต่ศพพระบรมศาสดา เราก็เก็บไว้เพียง 7 วันเท่านั้นเอง 7 วันนี้อย่างมาก แท้จริงทรงมีพระประสงค์ให้เผาในวันที่สาม นับแต่มหาปรินิพพาน แต่พอดีในคราวนั้น มหากัสสป จะมาไม่ทัน จึงเลื่อนไป 7 วันเพื่อรอมหากัสสปเสียก่อน พอมหากัสสปมาถึงวันที่7 นั่น ไฟก็ลุกไหม้ขึ้นเอง อันนี้ควรถือเป็นแบบอย่าง ถือเป็นธรรมเนียม ทั่วทั้งสังฆอาณาจักร ไม่ให้เหลื่อมล้ำ แต่ระบบเจ้ายศเจ้าย่างนี่ทำให้สิ้นเปลืองไปหมด หลายระลอก หลายเที่ยว ไม่รู้สิ้นสุดลงง่าย ๆ ยากลำบากญาติโยมเขายากลำบากคนเป็นเท่าไร แต่เอาละ โยมเขาก็ไม่เคยพร่ำเคยบ่น แต่นั่นแหละนานไป ประกอบกับกาละเทศะ หรือยุคสมัย ระวังยุคไอเอ็มเอ๊ฟนี่เขาจะหน่าย ถึงกับสิ้นศรัทธาไปง่าย ๆ เพียงเพราะเรื่องเผาซากผีนี่ มันแพงเกินไปสำหรับพระมียศมีย่าง ผมว่าเรามั่นตามหลักพระธรรมเข้าไว้แล้วไม่ผิด

 

หลักก็คือ บาลี บทชักอนิจจาเป็น อนิจจาตาย นั่นเอง ตายไปแล้วก็เหมือนท่อนไม้ท่อนฟืน ไปทำประโยชน์อะไรได้ รีบเผาทิ้งเสียเถิด ท่านว่าเป็นหลักไว้อย่างนี้

 

อะจิรัง วะตะยัง กาโย            อันว่าร่างกายนี้ไม่เที่ยงหนอ

ปะฐะวิง อะธิเสสะติ ฉุฑ ฺโ ธ    จัก ท อ ด ร่ า ง ล ง สู่ แ ผ่ น ดิ น

อะเปตะวิญญาโน                 ไร้จิตวิญญาณ

นิรัตถังวะ กะลิงคะรัง             ไม่ต่างจากท่อนไม้ท่อนฟืน

 

พวกเราก็รู้อยู่สวดศพสวดอัฏฐิอยู่แทบว่าทุกวัน ๆ ซึ่งตามหลักนี้ ก็ไม่ต้องรออะไรต่อไป พระตายลงแล้วก็เหมือนหมาตายตัวหนึ่ง ศพก็เน่าเปื่อยผุพังไปเหมือนกัน รีบเผา ๆ เสีย ภายในสามวันเจ็ดวัน นี่แหละหลักพระธรรมวินัยแท้ ที่มีแบบอย่างให้ทำอยู่แล้ว เราอย่าทำเกินพระพุทธเจ้า”

 

 

 

ประธานสภา :

“เอาขึ้นกองฟอนเผาเลยนะ ท่านพนม ไม่ต้องแจกซองขาวหรอก บอกเขาไป เขามีให้ก็เอา ไม่มีให้ก็ไม่ว่าอะไร เดี๋ยวนี้สบาย ไม่มีเรื่องยศศักดิ์ ขุนนางพระมาเกี่ยวข้องแล้วนี่ แต่อยากจะติงท่านอาจารย์ทองพันว่า แปลบาลีขาด ๆ เกิน ๆ ไปหน่อยนะครับ ผมจะลองให้ท่านมหา 9 ประโยคแปลบทนั้นออกมาถวายพวกท่านดู ขอเชิญท่านมหาสุนทรครับ ลองแปลเต็ม ๆ สมบูรณ์ ๆ ให้ฟังหน่อยเถอะ บาลีบทนั้นน่ะ”

 

 

 

พระมหาสุนทร

สมาชิกสภา :

“ความจริงท่านอาจารย์ก็แปลได้ล้ำลึกในสัจธรรม ได้เนื้อธรรมะครบถ้วนสมบูรณ์อยู่แล้ว หากแต่กระบวนการทางภาษาก็เป็นแต่เพียงภาษา ผมจะขอแปลถวายตามภาษาออกมาดู

 

อจิรํ วตยํ กาโย                อันว่ากายเรานี้อยู่ได้ไม่นานหนอ !

ปฐวึ อธิเสสติ                   ก็จักลงนอนทับเหนือแผ่นดิน

ฉุฑฺโ ธ อเปตวิญฺญาโน       เป็นของทรามไร้ค่าไร้จิตวิญญาณ ของเขาทิ้งไปแล้ว

นิรตฺถํว กลิงครํ                 เหมือนท่อนไม้ท่อนฟืน หาประโยชน์มิได้

 

แปลอย่างนี้ครับ”

 

 

 

 

สมภาร พระพนม

สมาชิกสภา :

“เข้าใจครับ ก็เป็นอันว่า เผาศพพระครูท่านใน 7 วันเลยนะครับ ผมเองก็คิดอย่างนี้มา แต่ก็นึก ๆ มันขัด ๆ กับที่ท่านพาทำมา”

 

 

 

ประธานสภา :

“เผาเลย เอาวันที่ 7 วันทำบุญสัตมวารนั่นแหละ ทำเสร็จเผาเลย ไม่ต้องเก็บเอาไว้นาน ไม่ต้องทำอะไรหลายครั้งหลายคราโดยไร้สาระอีกต่อไป สงสารญาติโยมพวกเขาไม่รู้หรอกว่าอะไรเป็นธรรมอะไรเป็นวินัย อะไรไม่ใช่ธรรมอะไรไม่ใช่วินัย เมื่อเรารู้ เราก็ควรทำในสิ่งที่ถูกให้เขาเห็นเป็นแบบอย่าง“

 

 

 

สมภาร

สมาชิกสภา :

“ในประเด็นนี้ผมเข้าใจล่ะครับ แต่ผมยังสงสัยในทางปฏิบัติ ที่ว่า เมื่อสงฆ์ละสังขารแล้ว ภาระในการจัดการกับศพสังขารนั้นเป็นภาระของสงฆ์โดยตรง และมีการจัดการอย่างกับพระผู้เป็น อนาคาริก”

 

 

 

ประธานสภา :

“นั่นมันมิได้อยู่ในมาตราใดของกฎหมายดอก เป็นบทชี้ทางของท่านปัญญาธโรภิกขุมาแต่เดิมก่อนแต่จะมีการปฏิวัติสงฆ์เรา แต่ก็ถือว่าบทนี้ใช้ได้ อย่างกรณีพระครูสิริศรีสวาสดิ์ บ้านแพนท่านนี้ เราทั้งหมดนี่แหละเป็นเจ้าภาพ สงฆ์เป็นเจ้าภาพ แต่หากจะมีชาวบ้านมาร่วมด้วยนั้นก็เป็นส่วนของเขา ตามศรัทธาเขา ถือว่ามาสมทบ งานการจัดการทั้งหมดเป็นของเรา แต่ถ้าเราถือว่าเราเป็นครอบครัวเดียวกัน เป็นพี่เป็นน้องร่วมท้องพระอุโบสถเดียวกัน ใครเป็นอะไรไปก็ช่วยกันได้เลย ไม่ต้องเชิญไม่ต้องนิมนต์ พวกเราที่นี่ก็ควรจะไปร่วมช่วยงานกัน ไปได้เลย ไม่ต้องมีใครนิมนต์ เพราะงานศพพระนี้พวกเราเป็นเจ้าภาพเอง ในทางปฏิบัติ พวกเราก็ช่วยกัน ตั้งแต่จัดที่จัดทาง ตกแต่งสถานที่ ทำพิธีขอขมาคารวะศพ รดน้ำ ช่วยกันหาช่วยกันบรรจุศพลงในโลง ตลอดไปจนกระทั่งสวดศพเอง เป็นเจ้าภาพเอง ครบ 3 วัน 7 วัน ก็ขนศพไปเผาเอง แบกหามเอง จัดการเมรุเผาเอง เป็นสัปเหร่อเองว่างั้นเถอะ นิมนต์องค์ที่เป็นธรรมกถึกองค์ใดองค์หนึ่งขึ้นธรรมาสน์แสดงพระธรรมเทศนาเอง เข้านั่งอาสนะสวดมาติกา-บังสุกุลด้วยกันทั้งหมดนี่แหละ สวดแล้วก็แล้ว ไม่ต้องมีใครถวายซองจตุปัจจัยใดใด นี่ว่าโดยหลักการ รายละเอียดก็ค่อยคิดกันไป คอยดูสภาสงฆ์ระดับจังหวัด จะว่าอย่างไรด้วย ศพแรกนี้ก็ว่าไปก่อน เอาประเพณีชาวบ้านชาวเมืองเข้าร่วมด้วยเท่าที่จะเข้ากันได้ อย่าไปนึกกังวลมาก ถือว่าพวกเราคนจน เป็นอนาคาริก ก็ชอบแล้วที่เราจะทำไปอย่างคนจน ๆ ทำ ทำไปเท่าที่ทำได้”

 

 

 

การประชุมสภาสงฆ์ตำบลโคกคำนี้ แม้เพียงครั้งแรกก็ เป็นการประชุมที่ได้เนื้อหาสาระอย่างดีเยี่ยม ในขณะเดียวกันไม่สิ้นเปลือง แม้กระทั่งน้ำดื่มและของขบเคี้ยวใด ๆ ทั้งนี้เป็นเหตุมาจาก เป็นการประชุมที่ตั้งอยู่บนหลัก ภราดรภาพ ของผู้ที่มีความเสมอกันดั่งพี่ ๆ น้อง ๆ ทำให้บรรยากาศเป็นกันเอง พร้อมด้วยการให้อภัย ก่อนสิ้นสุดการประชุม อุปัชฌาย์ก็จะเน้นอีกครั้งหนึ่งว่า การประชุมสงฆ์ต้องถือหลักอปริหานิยธรรม 7 ให้มั่นไว้ พระองค์ใดไม่เคารพมติที่ประชุมสงฆ์จะได้รับการลงโทษ เช่น การตำหนิ การให้ขอขมา ให้ได้อาย เป็นต้น

 

 

 

พระเถระรูปหนึ่งยังมีข้อสงสัย ติดใจใคร่ไต่ถามเรื่องการปกครอง

สมาชิกสภา :

“ในรูปแบบการปกครองใหม่ พวกเราก็ยังไม่ค่อยกระจ่างกัน ขออาจารย์อุปัชฌาย์ ได้ช่วยชี้แจงในประเด็นว่า ขณะนี้ใครเป็นใครในสภาสงฆ์ระดับตำบล สภาสงฆ์ระดับจังหวัด สภาสงฆ์ระดับชาติ คืออยากทราบตัวผู้เป็นประธานในสภาสงฆ์ ตามที่กฎหมายกำหนด กับการที่เป็นอยู่จริงในขณะนี้”

 

 

 

ประธานสภา :

“ตามกฎหมายใหม่ คือ พระราชบัญญัติการพระพุทธศาสนา พ.ศ.2545 นี้ เราต้องดูที่บทเฉพาะกาลก่อนนะครับ บทเฉพาะกาลกำหนดไว้ว่า ให้ผู้ปกครองสงฆ์เดิม ในระบบเดิมตาม พ.ร.บ.การปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ทำหน้าที่ประธานสภาสงฆ์ไปก่อนจนครบเวลา 4 ปีตามวาระ ฉะนั้น ในขณะนี้ สภาสงฆ์ระดับตำบลทุกแห่ง ก็มีเจ้าคณะอำเภอเดิม รองเจ้าคณะอำเภอเดิม เจ้าคณะตำบลเดิม ทำหน้าที่เป็นประธานสภาสงฆ์ระดับตำบลสุดแต่ว่าตำบลไหนมีท่านใดอยู่ เจ้าคณะจังหวัด ก็ทำหน้าที่ประธานสภาสงฆ์ระดับจังหวัด และสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ทำหน้าที่ประธานสภาสงฆ์ระดับชาติ”

 

 

 

สมาชิกสภา :

“ได้ทราบว่าหลังการประชุมสภาสงฆ์ระดับจังหวัดนัดแรก ก็จะมีการประชุมย่อย ๆ เพื่อทำความเข้าใจระบบการปกครองใหม่ตามพระราชบัญญัติใหม่อีกหลายครั้งหลายครา”

 

 

 

ประธานสภา :

“เป็นความจริงครับ จะมีผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย มาจากทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาส มาร่วมชี้แจงอธิบาย ในขณะเดียวกันก็จะมีผลออกมาเป็นระยะ ๆ เป็นเรื่อง ๆ ไป อันเป็นกฎระเบียบระดับจังหวัดออกมาใช้บังคับ ซึ่งรายละเอียดจะเป็นอย่างไร จะทราบได้เมื่อไปเปิดการประชุมสภาสงฆ์ระดับจังหวัดที่จะมาในวันพระหน้านี้ ซึ่งผมจะพยายามนำข้อคิดข้อเสนอที่ได้จากสภาสงฆ์ตำบลโคกคำของเราวันนี้เข้าสู่ที่ประชุมให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้”

 

 

 

ก่อนเสร็จสิ้นการประชุม กำนัน ในฐานะประธานองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) กับ เลขานุการองค์การบริหารส่วนตำบลโคกคำ พร้อมคณะครูอาจารย์ ชาวบ้าน ได้เข้ามาถวายน้ำปานะ ขอนิมนต์สงฆ์รับน้ำปานะได้ ณ บริเวณหน้าห้องประชุม พระสงฆ์รับน้ำปานะแล้วพากันเดินทางกลับวัดตน ๆ

 

ลำดับต่อไป พระอุปัชฌาย์แสง กับพระสงฆ์อีกหนึ่งรูปที่เป็นตัวแทนของสภาตำบลสงฆ์ตำบลโคกคำนั้น ก็จะเดินทางไปประชุมสภาสงฆ์ระดับจังหวัด ซึ่งจะเป็นการประชุมหนแรกของสภาสงฆ์ระดับจังหวัดตามข้อกำหนดของกฎหมายใหม่เช่นเดียวกัน

 

บรรยากาศเป็นอย่างไร จะได้ติดตามมารายงานต่อในฉบับหน้า

 

  • จากคอลัมน์ประชาธิ ปไตยสงฆ์ ดี. 11

 

 

 

 

 




หนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 11

พุทธทำนาย เดือนสี่ปีกุน
หน้าบอกสถานะของเราดีเล่มที่ 11
คอลัมน์บันทึกการท่องเที่ยว สุสานสุขาวดีคืนวันมาฆะบูชา
บทบรรณาธิการ : หลวงตาจันทร์ คเวสโก ลาสิกขา
เฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว
รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นต่อระบบสงฆ์ปัจจุบัน
ประวัติของผม ตอนที่ 7
ข่าววัดมหาพุทธาราม ได้เจ้าอาวาสรูปใหม่



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
----- ***** ----- โปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate นี่คือเวบไซต์คู่ www.newworldbelieve.com กับ www.newworldbelieve.net เราให้เป็นเวบไซต์ที่เสนอธรรมะหรือ ความจริง หรือ ความคิดเห็นในเรื่องราวของชีวิต ตั้งใจให้ธัมมะเป็นทาน ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แด่คนทั้งหลาย ทั้งโลก ให้ได้รู้ความจริงของศาสนาต่าง ๆในโลกวันนี้ และได้รู้ศาสนาที่ประเสริฐเพียงศาสนาเดียวสำหรับโลกยุคใหม่ จักรวาลใหม่ เรามีผู้รู้ ผู้ตรัสรู้ ผู้วินิจฉัยสรรพธรรมสรรพวิชชา สรรพศาสน์ และสรรพศาสตร์ พอชี้ทางสู่โลกใหม่ ให้ความสุข ความสบายใจความมีชีวิตที่หลุดพ้นไปสู่โลกใหม่ เราได้อุทิศเนื้อที่ทั้งหมดเป็นเนื้อที่สำหรับธรรมะทั้งหมด ไม่มีการโฆษณาสินค้า มาแต่ต้น นับถึงวันนี้ร่วม 14 ปีแล้ว มาวันนี้ เราได้สร้างได้ทำเวบไซต์คู่นี้จนได้กลายเป็นแดนโลกแห่งความสว่างไสว เบิกบานใจ ไร้พิษภัย เป็นแดนประตูวิเศษ เปิดเข้าไปแล้ว เจริญดวงตาปัญญาละเอียดอ่อน เห็นแต่สิ่งที่น่าสบายใจ ที่ผสานความคิดจิตใจคนทั้งหลายด้วยไมตรีจิตมิตรภาพล้วน ๆ ไปสู่ความเป็นมิตรกันและกันล้วน ๆ วันนี้เวบไซต์นี้ ได้กลายเป็นโลกท่องเที่ยวอีกโลกหนึ่ง ที่กว้างใหญ่ไพศาล เข้าไปแล้วได้พบแต่สิ่งที่สบายใจมีความสุข ให้ความคิดสติปัญญา และได้พบเรื่องราวหลายหลากมากมาย ที่อาจจะท่องเที่ยวไปได้ตลอดชีวิต หรือท่านอาจจะอยากอยู่ณโลกนี้ไปชั่วนิรันดร ไม่กลับออกไปอีกก็ได้ เพียงแต่ท่านเข้าใจว่านี่เป็นแดนต้นเรื่องเป็นด่านข้ามจากแดนโลกเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง และซึ่งเป็นโลกหรือบ้านของท่านทั้งหลายได้เลยทีเดียว ซึ่งสำหรับคนต่างชาติ ต่างภาษาต่างศาสนา ได้โปรดใช้การแปลของ กูเกิล หรือ Google Translate แปลเป็นภาษาของท่านก่อน ที่เขาเพิ่งประสบความสำเร็จการแปลให้ได้แทบทุกภาษาในโลกมนุษย์นี้แล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้เอง นั้นแหละเท่ากับท่านจะเป็นที่ไหนของโลกก็ตาม ทั้งหมดโลกประมาณ 7.6 พันล้านคนวันนี้ สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในโลกของเราได้เลย เราไม่ได้นำท่านไปเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่การนำไปสู่ความจริง ความรู้เรื่องชีวิตใหม่ การอุบัติใหม่สู่ภาวะอริยบุคคล ไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปพ้นจากทุกข์ ทั้งหลายไปสู่โลกแห่งความสุขแท้นิรันดร คือโลกนิพพานขององค์บรมศาสดาพุทธศาสนา พระบรมครูพุทธะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ท่านโปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate ท่านก็จะเข้าสู่โลกนี้ได้ทันทีพร้อมกับคน7.6พันล้านคนทั้งโลกนี้. ----- ***** ----- • หมายเหตุ เอาขึ้นเวบไซต์ แทนของเดิม ทั้ง 2 เวบ .net .com วันที่ 21 เม.ย. 2565 เวลา 07.00 น. -----*****-----