ReadyPlanet.com
dot
dot dot
bulletBUDDHISM TO THE NEW WORLD ERA
dot
พระพุทธเจ้า
dot
bulletบทศึกษาพิเศษ:พระพุทธเจ้า ศึกษาจากวันวิสาขบูชา วันสำคัญของโลก
bulletคำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรนแปล เช้า- เย็น
bulletคำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรแปล เช้า-เย็น อัพเดต
dot
พุทโธโลยี
dot
bulletสมาคมศิษย์หลวงปู่เครื่อง จัดประกวดเรียงความออนไลน์มัธยมศึกษาในวันวิสาขบูชา คลิกดูรายละเอียดและรางวัลที่นี่
dot
ชมรมยุวพุทโธโลยีเพื่อการศึกษาและปฏิบัติธรรม
dot
bulletThe Beginning ความเป็นมาของโครงการชมรมยุวพุโธโลยีเพื่อการศึกษาและปฏิบัติธรรม
bulletChart Showing the Process
dot
บุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี พ.ศ.2540 - 2566
dot
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 1
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 2
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี บุคคลที่ 1 - 188 ปัจจุบัน
bulletหนังสือพิมพ์ดี
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 1
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 2
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 3
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 4
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 5
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 6
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 7
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 8
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 9
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 10
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 11
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 12
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 13
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 14
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 15
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 16
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 17
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 18
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 19
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 20
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 21
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 22
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 23
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 24
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 25
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 26
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 27
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 28
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 29
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 30
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 31
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 32
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 33
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 34
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 35
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 36
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 37
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 38
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 39
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 40
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 41
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 42
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 43
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 44
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 45
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 46
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 47
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 48
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 49
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 50
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 51
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 52
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 54
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 55
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 56
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 57
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 58
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 59
dot
To The World
dot
bulletENGLISH
bulletUSA
bulletChina
bulletIndia
bullet Mynmar
bullet Cambodia
bullet Loas
bulletSri Lanka
bulletMalaysia
bulletKorea
bulletA Sharp Turn of Believes : Iresearch Iwrite Iread
dot
Buddhism How? บันทึกของนักปฏิบัติธรรมผู้ถวายชีวิตพิศูจน์สัจธรรมพุทธให้รู้แจ้งเห็นจริงถึงระดับมรรคผลนิพพานแท้
dot
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 1
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 2
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 3
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 4
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 5
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 6
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 7
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 8
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 9
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 10
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 11
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 12
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 13
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 14
bulletMystery Report 15
bulletMystery Report 16
bulletMystery Report 17
bulletMystery Report 18
bulletMystery Report 19
bulletMystery Report 20
bulletMystery Report 21
bulletMystery Report 22
bulletMystery Report 23
bulletMystery Report 24
bulletMystery World Report 25
bulletศึกษาโลกลี้ลับ 26
dot
เฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว วิเคราะห์ทุกปัญหาในโลกมนุษย์ด้วยสติปัญญาและเหตุผลวิทยาศาสตร์จากนสพ.ดี
dot
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2536
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2537
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2538
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2539
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2540
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2541
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2542
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2543-2545
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2545-2549
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2549-2550
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2550-ส.ค.2551
bulletเฝ้าดูฯ ส.ค.-ก.ย.2551
bulletเฝ้าดูฯ ก.ย.2551- ธ.ค. 2551
dot
เฝ้าดูฯสำนวนพัชรา กอปรทศธรรม
dot
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 16-27
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 29
bulletบทความใหม่ เม.ย.-พ.ค.2552
bulletพุทธธรรมเพื่อทางดับทุกข์
bulletทฤษฎีการดับทุกข์ทางจิต วิปัสสนากรรมฐานโดยการทำงาน(สำนวนปรับปรุงใหม่)
bulletประวัติพัชรา กอปรทศธรรม
bulletประวัติการต่อสู้เพื่อการดับทุกข์ ของพัชรา กอปรทศธรรม
bulletอัลบั้มรูป history
bulletนิทานธรรมะประยุกต์ มานุสสาสุระสงคราม 4 ภาค และอื่น ๆ
bulletอัลบั้มรูป ภาพในอดีตและชีวประวัติศาสตร์ที่สวยงาม
bulletจากเวบบอร์ด พูดกันไม่รู้เรื่อง ประชาธิปไตยล้าหลัง
bulletศาสนาสากล การวิเคราะห์ความหมาย
bulletปลอบใจ
dot
รวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์ แนวปฏิรูปคณะสงฆ์อยู่ในบทวิเคราะห์นี้แล้ว
dot
bulletรวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์
dot
สากลจักรวาล สากลศาสนา แนวคิดศาสนาสำหรับคนยุคใหม่ ผู้ก้าวผิดทางไปสู่สิ่งไร้สาระโดยไม่รู้ตัว
dot
bulletสากล...ศาสนา 1
bulletสากล...ศาสนา 2
bulletสากล...ศาสนา 3
bulletสากล...ศาสนา 4
bulletสากล...ศาสนา 5
bulletสากล...ศาสนา 6
bulletสากล...ศาสนา 7
bulletสากล...ศาสนา 9
bulletสากล...ศาสนา 8
bulletสากล...ศาสนา 10
bulletสากล...ศาสนา 11
bulletสากล...ศาสนา 12
bulletสากล...ศาสนา 13
bulletสากล...ศาสนา 14
bulletสากล...ศาสนา 16
dot
ส่วนข้อมูลสำคัญเพื่อการวิจัยการเมืองไทยยุค คมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
dot
bulletข้อมูลสำคัญยุคคมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่1/26ส.ค.2551
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่2/27ส.ค.2551
bulletใบปลิว อีเมล์ ในหลวงทรงร้องไห้
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 1
bulletในหลวงเพิ่งทราบข่าวฆ่าประชาชน10เมย.53ทรงร้องไห้
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
dot
รวมข่าวม็อบการเมืองสนธิ-จำลอง-ปชป.มิ.ย.51-เม.ย.52 นสพ.
dot
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 2
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 3
bulletรวมข่าวม็อบ30มิ.ย.51-23มี.ค.52
bulletเลือดศรีสะเกษบันทึกเรื่องราวรอบด้านเกี่ยวกับเขาพระวิหาร
dot
การโฆษณาชวนเชื่อล้มรัฐบาลทักษิณ
dot
bulletรายงานการโฆษณาชวนเชื่อในประเทศไทยที่ล้มล้างรัฐบาลทักษิณ
dot
หนังสือพิมพ์ดี ของฟรีให้เปล่ามา20ปีแล้วทั้งเอกสารและอินเทอเนท
dot
bulletหนังสือพิมพ์ดี ( อินเทอเนต ) เล่ม 1 - 44 - ล่าสุด
bulletหน้าที่เก็บไว้
bulletมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร)
bulletวัดมหาพุทธาราม ศรีสะเกษ บันทึกเหตุการณ์
bulletสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดศรีสะเกษแห่งที่ 1
bulletเกี่ยวกับเวบไซต์ของเรา เราทำเพื่อปัญญาชนโดยแท้
bulletรวมกระทู้เด็ดจากกระดานถามตอบ
bulletคาถาอาคมไสยศาสตร์
bulletกวีนิพนธ์ใหม่
bulletศูนย์ปฏิญญาณละเลิกอบายมุข บัญชีที่ 1- 4


จดหมายถึงบรรณาธิการ จะทราบได้อย่างไรว่าผู้ใดมีภูมิธรรมอย่างไร ทราบพระอริยบุคคลระดับต่างๆ โสดาบัน ถึง อรหันต์อย่างไร

จดหมายถึงบรรณาธิการ

(จาก ดี เดือน ธ.ค. ๒๕๔๐ หน้า ๒๑)

 

ปัญหา : ที่ว่าเราจะทราบได้อย่างไรว่าพระองค์ไหน หรือบุคคลไหนมีภูมิธรรมสูงถึงขั้นได้พระอริยบุคคล ท่านตอบหน้า ๑๔ ฉบับ ก.ย.,ต.ค.,พ.ย.๔๐ นั้น เกี่ยวกับพระโสดาบัน ยังไม่ถูกต้องนัก พระโสดาบันนั้นเป็นผู้บรรลุธรรมขั้นแรกแล้วย่อมรู้ว่าบุญกุศลคืออะไร เพราะกว่าจะปฏิบัติธรรมบรรลุโสดาบัน มันฟากตายครับ ไม่ใช่คิดเอาง่าย ๆ กว่าจะบรรลุธรรมเขาไม่มาหลงสร้างโบสถ์ศาลาอยู่หรอก ผู้บรรลุโสดาบันต้องผ่านญาณ ๑๖ มาแล้ว วิปัสนามามาก บรรลุธรรมแล้ว

            ๑. สักกายะทิฏฐิหมดไป

            ๒ ศีลพตปรามาส หมดไป

            ๓. วิจิกิจฉาหมดไปหรือหายสงสัยแล้ว

        ดังนั้นผู้บรรลุโสดาบันเป็นผู้หายสงสัยขั้นแรก ถ้าจะปฏิบัติให้บรรลุสกิทาคามีก็ต้องเริ่มปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานอีก แต่ญาณจะเริ่มที่ขั้นสูงขึ้น แต่ญาณก็ละเอียดขึ้นรอบที่๒นี้ละเอียดกว่าเดิม กว่าจะบรรลุก็ยากกว่าโสดาบันอีก บรรลุแล้ว โลภ โกรธ หลง ลดลง ดังนั้นผู้ที่จะบรรลุธรรมขั้นพระโสดาบันต้องผ่านปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานอย่างเอาจริงเอาจัง คือฟากตายโน่น และกว่าจะผ่านญาณ โคตรภูญาณ คือญาณตัดโคตรจากปุถุชนเป็นพระอริยบุคคล ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ท่านไม่มาสร้างบุญกุศลหรอกเพราะรู้แล้ว แท้จริงนั้นบุญกุศลนั้นคืออะไร มีแต่ปุถุชนเท่านั้นที่ยังมัว มาสร้างบุญกันอยู่ แต่สิ่งเหล่านี้บุญกุศลมีประโยชน์คือทำให้ศาสนาอยู่ได้ แต่พระโสดาบันจะไม่มามัวทำอย่างนี้อยู่หรอก ไม่เชื่อท่านลองปฏิบัติธรรมดู ให้บรรลุโสดาบันบ้างซิ จะได้รู้ว่าพระโสดาบันนั้นเป็นอย่างไร ครับ แม่ชีเทเรซ่าก็ไม่ใช่พระโสดาบัน ผู้ตอบก็ไม่ใช่พระโสดาบันครับ

 

หมายเหตุบก. ขอมอบให้ ไกลกิเลส อนุเคราะห์

 

 

 

เฉลยปัญหา :

 

ท่านเจ้าของปัญหานี้ นับว่าเป็นฆราวาสผู้กล้าหาญในธรรมะ เพราะกล้าตัดสินใจอย่างเฉียบคมมากในประเด็นปัญหาที่ท่านพิจารณา สิ่งที่ท่านใช้ตัดสินได้อย่างเฉียบคมนี้แหละบ่งบอกภูมิปัญญาธรรมชั้นสูงของท่าน

เห็นด้วยกับการมองของท่านทุกประการ

อนึ่ง โคตรภูญาณ นั้น เมื่อท่านบอกว่าเป็นญาณที่ตัดโคตรจากปุถุชนเป็นพระอริยบุคคล “กว่าจะปฏิบัติธรรมบรรลุโสดาบัน มันฟากตาย” ฉ ะนั้นจึงน่าจะตรงกับมติของท่านปัญญาธโรภิกขุผู้ตอบไว้ก่อน ที่ว่า “เมื่อคนสำเร็จธรรมเป็นพระโสดาบันแล้วนั้น จะเท่ากับได้ชีวิตใหม่ ผู้สำเร็จจะมีความรู้สึกเหมือนเกิดใหม่ มีเลือดใหม่ มีลักษณะเหมือนเกิดในกองบุญอันบริสุทธิ์ ชีวิตอยู่ในความดีแต่ส่วนเดียว จะรักษาความดียิ่งชีวิต มีชีวิตแห่งความเสียสละ มีแต่จาคะคือการสละออกไปโดยตลอดอย่างไม่มีการหวังสิ่งตอบแทน ด้วยมุ่งหมายไปอย่างสุดฤทธิ์สู่มรรคผลสูงสุดคือความเป็นพระอรหันต์” (โปรดดูเล่มที่อ้างหน้า ๒๓) โดยคุณลักษณะนี้ท่านจึงพยากรณ์ว่า แม่ชีเทเรซ่า แห่งคริสตศาสนา ก็เข้าข่ายแนวทางโสดาบันในพระพุทธศาสนา(หน้า ๑๖) แต่เนื่องจากความเชื่อพื้นฐานยังไม่สู่สัมมาทิฏฐิ จึงไม่ได้มุ่งหมายไปอย่างสุดฤทธิ์สู่มรรคผลสูงสุดคือพระอรหันต์ หรือคุณภาพแห่งอิสรชนมนุษย์สูงสุด หากแต่ไปสายเทวนิยม อันเป็นข่ายแห่งอวิชชาคือความหลงอยู่ การมองพระโสดาบันหรือพระอริยบุคคลชั้นสูงขึ้นไปอีกนั้นมองได้ด้วยหลักการหลาย ๆ หลักการ หรือหลาย ๆ หลักธรรม แล้วแต่ท่านผู้มองว่าท่านชำนาญหลักธรรมข้อไหน เช่นท่านที่ชำนาญด้านสติปัฏฐาน ๔ ก็เอาหลักสติปัฏฐาน ๔ เข้าจับเข้าวัด ท่านที่ชำนาญด้านกรรมฐานเฉพาะอย่าง เช่นกสิณ ๑๐ ท่านก็เอาหลักกสิณ ๑๐ เข้าจับเข้าวัด แม้หลักอนุสสติ ๑๐ ก็สามารถเอามาวัดได้หากว่าท่านผู้นั้นมีความชำนาญจริง ๆ

และก็เช่นเดียวกันกับหลักสัญโยชน์ ๑๐ ที่ท่านอ้างข้อต้น ๆ มา ๓ ข้อนั้น(ทั้งหมดมี ๑๐ คือ สักกายทิฎฐิ :เห็นผิด ถือตัวถือตน ถือยศถือเกียรติ, วิจิกิจฉา : ความสงสัยในความดี ลังเลใจที่จะทำความดี, สีลัพพตปรามาส: ถือศีลอย่าง ไสย อย่างงมงาย ไม่เข้าใจเหตุผล, กามราคะ: ความกำหนัด อยากในรสทั้ง๕, ปฎิฆะ:โกรธ ขึ้งเคียด คับแค้น อาฆาต ความงุ่นง่านกลับไปกลับมา, รูปราคะ: การก่อตัวทางจินตนาการกามจากรูปธรรมเป็นรูปธรรม, อรูปราคะ: การก่อตัวทางจินตนาการกามจากอรูปธรรมเป็นอรูปธรรม เป็นขึ้น จากอารมณ์แห่งฌานบางระดับ, มานะ: ยึดมั่นถือมั่นถือว่ามีระดับชั้นแห่งตัวตน แห่งความดีความชั่ว, แห่งชั้นยศ(๑๑ชั้นยศ) แห่งศักดินา อุทธัจจะ: ความระส่ำระสาย ความตื่นเต้น ความกลัวตาย, อวิชชา : ไม่รู้ที่มาที่ไปแห่งโลก ไม่รู้ที่เกิดที่ดับ แห่งโลกและสรรพสิ่ง (โปรดดู น.ธ.เอก ) หรือหลัก ญาณ ๑๖ แห่งพระพุทธศาสนาก็ได้

อะไรก็ได้หากชำนาญ

หรืออย่างที่ท่านปัญญาธโรภิกขุวัด ท่านใช้หลักที่สามัญจริง ๆ ที่ชาวพุทธรู้ดีอยู่แล้วคือหลักไตรสิกขา: ศีล สมาธิ ปัญญา ธรรมดา ๆ นี่เอง ทั้งนี้สุดแต่พื้นฐานของท่านผู้วัด แม้กระทั่งหลักธรรมข้อใดข้อหนึ่งธรรมดา ๆเช่น สัมโพชฌง ๗ ประการ อิทธิบาท ๔ หากเข้าใจอย่างลึกซึ้งจริง ก็สามารถเอามาวัดได้ ฉะนั้น ผู้ชำนาญแล้วจึงอาจเอามาตรการใดมาวัดก็ได้ (เหมือนกับมาตราวัดความยาว หรือมาตราชั่งน้ำหนัก นั่นแหละ แล้วแต่ประเทศชาติไหน สังคมใดมีความชำนาญคิดทำขึ้นมา มีแตกต่างกันไป แต่ต้องมีประสิทธิภาพพอกัน เปรียบเทียบกันได้เป็นสากล)

สำหรับหลักไตรสิกขา อันเป็นสิ่งที่ชาวพุทธเราคุ้นเคยมากโดยเฉพาะศีลห้านั้น แม้กระทั่งเด็ก ๆ ก็ได้เรียนรู้ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา ผู้ใหญ่ก็ได้เรียนรู้กันทุกเพศทุกวัย ทุกชนชั้น ทุกอาชีพ แต่เมื่อท่านผู้รู้พูดถึงเรื่องมรรคผลนิพพานขึ้นมา เราก็มักจะหมดหวังว่าเป็นเรื่องชั้นสูงเกินไป หรือเป็นเรื่องที่จะยากมากจนเกินความคิดความพยายามของคนธรรมดาจะบรรลุได้

แต่ความจริงแล้ว อยู่ที่การเริ่มต้นฝึกไป หากเพียงตั้งใจประพฤติศีลห้านี้อย่างมั่นคงสม่ำเสมอไปทั้งไตรทวารคือกาย วาจา ใจแล้ว ศีลห้านี่แหละสามารถนำไปสู่มรรคผลนิพพานได้ คือคนเราสามารถบรรลุโสดาบันได้ด้วยศีลห้านี่เอง ท่านจึงวางศีลห้าไว้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของชนผู้นับถือพุทธศาสนา(แม้ในนิทานหรือวรรณกรรมโบราณ ๆ เมื่อยักษ์ยอมแพ้พระโพธิสัตว์แล้วท่านก็จะให้มันสมาทานศีล ๕ เสมอไป ทั้งนี้เพื่อเปิดทางไปสุ่ความดีที่ไม่ถอยกลับคือโสดาบันนี้)

สัญลักษณ์ของชาวพุทธนั้นคือศีล ๕ เมื่อ คนต่างศาสนามาเข้าพุทธ เราก็ให้สัญญลักษณ์นี้คือศีล ๕ แด่เราให้เขาสมาทานศีล ๕ ก็เป็นอันว่าเรียบร้อย หากแต่การประพฤติศีลต้องประพฤติอย่างตรงไปตรงมาตามสาระที่ท่านกำหนด ต้องรู้เหตุผล หรือรู้อานิสงส์ของศีล๕ นั้น ฉะนั้นศีล๕ จึงมีคู่กันกับธรรม๕ เรียกว่าเบญจศีล-เบญจธรรม ต่างก็เป็นเหตุและผลซึ่งกันและกัน โดยพุทธประเพณีแล้ว เมื่อชาวพุทธจะประกอบการศาสนพิธีใดใดแล้ว ทุกศาสนพิธีจะเริ่มด้วยการบูชาพระรัตนไตร โดยมรรคทายกหรือประธานในพิธีจะพาจุดเทียน ธูป หน้าที่บูชาพระ แล้วพากล่าวคำบูชาที่เรียกว่า คำนมัสการพระรัตนไตร(อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ภควา พุทฺธํ ภควนฺตํ อภิวาเทมิ ฯลฯ) นั่นก่อน เสมอ(เพื่อรำลึกเป็น พุทธานุสสติ ธรรมานุสสติและสังฆานุสสติ ตามหลักอนุสสติ ๑๐) ต่อมามรรคทายกก็จะพาอาราธนาศีลห้า ซึ่งที่บ้านนอกชนบท นิยมว่าพร้อมกันหมดทั้งที่ประชุมเสียงดังกระหึ่ม แต่ในเมือง เงียบ! กรณีนี้ควรเอาอย่างชนบทเขา) (มยํ ภนฺเต วิสุงวิสุง รกฺขณตฺถาย ติสรเณน สหปญฺจ สีลานิ ยาจามะ ทุติยมฺปิ ฯลฯ) พระประธานหัวแถวท่านก็จะตั้งตาลปัตรขึ้นว่านโม๓จบ(นโมตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯลฯ)และให้ศีลห้า (เริ่มแต่ข้อที่๑: ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ) จนถึงข้อที่ ๕ : สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ) เราชาวพุทธก็ปฏิญาณตน ด้วยการว่าตามไปทีละข้อทีละข้อ จนครบ ๕ ข้อแล้ว พระประธานองค์หัวแถวนั้นท่านก็จะบอกให้เรากล่าวคำปฏิญญาณสรุปอีกทีหนึ่ง แล้วบอกอนิสงส์ของศีลห้าให้เราฟังทุกครั้งทุกคราวไปที่มีการสมาทานศีลห้า และเราชาวพุทธ แม้กระทั่งพระสงฆ์สามเณรเองก็ได้ยินได้ฟังอานิสงส์ของศีลห้านี้มาจนกลายเป็นเรื่องธรรมดา ๆ ไม่เห็นความสำคัญไป เพราะเพียงสักแต่ว่าฟัง ๆ พูด ๆ แล้วมักไม่รู้ความหมายเพราะท่านพูดเป็นภาษาต่างประเทศ (หรือสำหรับนักบวชก็ไม่ตั้งใจประพฤติตามเนื้อธรรมที่แท้จริง โดยเชื่อถือศรัทธาที่แท้จริงจึงเป็นที่มาแห่ง สีลัพพตปรามาส) แต่เมื่อแปลเป็นภาษาไทยแล้วนั่นแหละ จะพบว่าศีลห้านี้มีอานิสงส์สามารถนำไปสู่มรรคผลนิพพานได้

ดังจะเห็นว่า พอพระท่านพาสมาทานศีลข้อสุดท้ายข้อที่๕แล้ว พระท่านจะพาว่าคำปฏิญญาณ แล้วเราจะพากันก้มหัวลงนิดหน่อยในท่าพนมมือ ท่านจะว่าดังนี้อันใคร ๆ ก็ได้ยินอยู่เสมอแต่ไม่รู้ความหมาย :-

อิมานิ ปญฺจ สิกขาปทานิ สมาทิยามิ : ข้าพเจ้าขอสมาทาน(รับไปปฏิบัติ)ซึ่งสิกขาบท ๕ เหล่านี้ (ซึ่งโยม ๆ โดยเฉพาะชาวบ้านชนบท ๆ เขารู้ประเพณีดี จะพากันว่าตาม ๓ จบ ขณะที่พระว่า อานิสงส์ของศีล๕ให้ฟัง ต่อไปลองฟังให้ดี ๆ) :-

สีเลน สุคตึ ยนฺติ (คนย่อมไปถึงซึ่งความสุขได้ด้วยศีล) สีเลนโภคสมฺปทา (คนย่อมไปถึงซึ่งความอุดมสมบูรณ์โภคสมบัติได้ด้วยศีล) สีเลน นิพฺพุตึยนติ (คนย่อมไปถึงพระนิพพานได้ด้วยศีล) ตสฺมา สีลํ วิโสธเย : ( เพราะเหตุนั้นคนเราพึงชำระศีลให้สะอาดหมดจด) แล

เห็นไหมว่า ประโยคที่ว่า สีเลน นิพฺพุตึยนฺติ (คนย่อมไปถึงพระนิพพานได้ด้วยศีล) เป็นประโยคที่ยืนยันว่าศีลห้าทำให้ผู้ประพฤติบรรลุโสดาบันได้ ซึ่งพวกเราชาวพุทธก็รู้กันอยู่ทุก ๆ คน จึงไม่ใช่เรื่องที่ยากเย็นเกินไปแต่อย่างใด จริงอยู่ โสดาบันอยู่ฟากตาย แต่ไม่หมายความว่าจะต้องผ่านความทุกข์ยากเจ็บปวดรวดร้าวอย่างคนฟางตายอย่างนั้น ต้องค่อย ๆ ไปตามครรลองแห่งศีล(มีความเมตตากรุณาเป็นผล แล้วจะเย็นไม่รุ่มร้อน มีความเข้าอกเข้าใจมนุษย์ด้วยกันเป็นผล ก็มีมนุษยสัมพันธ์ดีขึ้น มีเบญจธรรมเป็นผล ก็ก้าวหน้าในธรรมะไปเรื่อย ๆ )ไปก่อน คุ้นไปตามลำดับรื่องยากก็จะกลายเป็นเรื่องง่าย เมื่อเราเข้าใจและเข้าถึงสัจธรรมชั้นต้นที่ว่า “ความดีอันคนดีทำง่าย อันคนชั่วทำยาก ความชั่วอันคนชั่วทำง่าย อันคนดีทำยาก” แล้ว นั่นแหละมรรคผลเป็นอันมุ่งหวังได้ และถ้าเป็นชนชั้นปัญญาชนประพฤติศีลด้วยแล้ว มีปัญญาช่วยหนุนอีกแรงหนึ่งก็ยิ่งง่ายเข้า หากผ่านโสดาบัน จะไปสู่สมาธิ ก็ฝึกอยู่กับลมหายใจไว้ก่อนเพราะเป็นเรื่องง่ายที่สุด หัดทำไว้ตลอดเวลาที่ตื่นอยู่ (ชื่อว่าคนควรฝึกในเรื่องนี้ไว้ทุกคน) เอาลมหายใจเป็นบ้าน มีอะไรเกิดขึ้นก็วิ่งเข้าบ้าน จนเป็นปกตินิสัย (ถ้าไม่เคยคิดถึงเรื่องลมหายใจเลย ก็เริ่มด้วยการลองมองดู ลองทำดูขณะนี้เดี๋ยวนี้เลยก็ได้ ลองมองดูลมหายใจของเราเองดูซี พอมองดูจะเห็นมันเป็นลำเย็นเลื่อนไหลเข้าไปและออกมา หัดดูไป นับเข้านับออกจนเป็นนิสัย หัดเอาตัวเข้าไปอยู่ในนั้น จะเย็น แล้วจะพัฒนาไปไกลมาก จนเป็น ปราณ อันเป็นชั้นวิเศษ) แล้วสมาธิก็มาเองโดยธรรมชาติ มันก็ง่ายขึ้น สนุก น่าติดตามต่อไป แล้วไปเจริญวิปัสนา(หรือเจริญสติปัฏฐาน ก็ จะได้ข้อแรกไปเลยคือ กายานุปัสนาสติปัฏฐาน: ซึ่งเป็นเรื่องดูลมหายใจ) ก็หัดคิดค้าคำตอบไปในธรรมะว่าด้วยความเป็นไปของชีวิตในโลกนี้ หัดคิดว่าเราคืออะไร ชีวิตคืออะไร เกิดมาทำไม อะไรคือสาระที่แท้จริงของชีวิต หาคำตอบให้เราเองให้ได้ มองให้เห็นอย่างรู้แจ้งเห็นจริงด้วยเหตุและผลที่พอพิศูจน์ได้ด้วยตัวเราเอง (พูดง่าย ๆ ก็คือหมั่นตั้งคำถามกับตัวเองในเรื่องราวของชีวิตแล้วพยายามหาคำตอบให้ได้ หมั่นคิดหมั่นค้นนั่นเอง นักบวชศาสนาใดใดก็ทำเช่นนี้เหมือนกันแหละ เพียงแต่ว่าต้องพยายามใช้มันสมองตัวเอง เชื่อเหตุและผลที่เราพิศูจน์ได้ด้วยตัวเราเอง พอคิดออกทีก็จะร้อง โอ้โห! ออกมาที สนุกมาก ภูมิใจมากที่คิดได้คิดออก คิดได้สองที หรือกี่ที ๆ ก็ร้อง โอ้โห! ออกมาเท่านั้นที นั่นแหละสนุกมากในเชิงปัญญาแห่งธรรมะ) ถ้ามีสมาธิได้ในระดับธรรมชาติ(คือเข้าสมาธิได้นาน ๆ ตามใจปรารถนา) ก็เข้าสมาธิพิจารณาดูบ่อย ๆ การพิจารณาโดยเข้าสมาธิพิจารณา จะได้ความชัดเจน ในความสงบสงัด ไร้สิ่งรบกวน สติปัญญาก็เกิดขึ้นชัดเจนและง่ายดาย (จะทำให้เดินไปตามลำดับ๔ขั้นตอนของสติปัฏฐานได้ง่าย ลองศึกษาเรื่องสติปัฏฐาน๔) เมื่อได้คำตอบของชีวิตอย่างไรก็มีความชัดเจนขึ้นถึงขนาดเป็นมโนภาพ คือเป็นภาพออกมาให้เห็นตามจินตนาการไปเลย(จึงมีความสนุกมากขึ้น) สมาธิจึงช่วยงานด้านวิปัสนาได้มาก(ถ้ามีสมาธิช่วยก็เหมือนดูโทรทัศน์ ถ้าไม่มีสมาธิช่วยก็เหมือนฟังวิทยุนั่นแหละ ได้ผลเหมือนกันแต่ยากง่ายไม่เท่ากัน แต่ ระวัง อะไรมีคุณให้คุณสิ่งนั้นก็มีโทษให้โทษได้เสมอ ซึ่งนับว่าเป็นประเด็นสำคัญมาก พระพุทธองค์จึงตรัสว่าความไม่ประะมาทเป็นธรรมข้อใหญ่ เสมือนรอยเท้าช้าง อันรอยของสัตว์ทั้งปวงย่อมอยู่ในรอยเท้าช้างนั้น ผู้มีระดับอริยบุคคคลจึงจะได้คุณสมบัติแห่งความไม่ประมาทนี้ด้วยเสมอไปทุกระดับ ดังที่ท่านปัญญาธโรภิกขุได้ระบุไว้ว่า “พระอริยบุคคลจริง ๆ นั้น ท่านจะมีอุปมาดั่งทหารที่กรำศึก รูปธรรมที่เห็นที่ถูกต้องจึงจะออกมาในบุคคลิกภาพของนักสู้ผู้ทรหดอดทน มีแววตาองอาจสามารถไม่ระย่อ จะมีความขึงขังมากกว่าความละมุนละไม มีความระแวงระวังอย่างสูง)

เมื่อรู้แจ้งทะลุปรุโปร่งในปัญหาทุกประการของชีวิต โดยไปยุติที่ว่า ชีวิตที่สมบูรณ์ไปจบสิ้นลง ณ ที่ใด มีสภาวะปัญญาเกิดขึ้นอย่างไร พ้นปัญหาไปได้อย่างไร ก็สำเร็จ พ้นจากความเป็นมนุษย์โดยสิ้นเชิง จะเรียกชื่อว่าอะไรก็ไม่สำคัญหรอก(หรือแม้จะไม่มีชื่อก็ไม่สำคัญอะไร) สำคัญที่ว่า ณ จุดนั้น เป็นที่ซึ่งเราเป็นใหญ่(เพราะชนะกิเลสอันหมายถึงโลกทั้งสิ้น) เป็นอิสรภาพยิ่ง (ไม่ถูกผูกมัดแม้ด้วยความกลัว-ความตาย) และเป็นอนัตตา (ไม่มีตัวตนที่จะรับเอาทั้งทุกข์และสุข) อันเป็นของล้ำค่าที่ คนเราสามารถทำได้ทุก ๆ คนถ้าพยายาม

ศาสนาพุทธนั้น นักปราชญ์ท่านว่าทั้งหมดเป็นเรื่องการศึกษา หน้าที่ของชาวพุทธคือหน้าที่ทางการศึกษา แต่เป็นการศึกษาเพื่อบรรลุปัญญาอันยิ่ง ที่ประหารกิเลสได้(มีไตรสิกขา เป็นต้น) หากยังไม่สำเร็จการศึกษาแล้วชาวพุทธต้องพยายามต่อไปจนกว่าจะสำเร็จ เมื่อมีบุญได้เข้าถึงกระแสธรรมแล้ว เรียกว่าได้สู่สำนักพระพุทธเจ้าแล้ว จะก้าวหน้าต่อไปได้เรื่อย ๆ ต้องซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระพุทธเจ้าหรือต่อพระธรรม ต้องพากเพียรใจตั้งมั่นรักษาคุณธรรมข้อนี้ คือซื่อสัตย์กตัญญูไว้ให้ได้ตลอดไป หากแต่เมื่อใดทรยศ ต่อพระธรรมทุกสิ่งทุกอย่างที่สะสมมาก็จะสูญสิ้นหมด ฉะนั้นจงบำเพ็ญตนให้เป็น พุทธทาส (ทาสของพระพุทธเจ้า) ธรรมทาส(ทาสของพระธรรม) สังฆทาส (ทาสของพระสงฆ์) หรือจะเป็น ธรรมสามี (ผู้มีธรรมเป็นคู่ชีวิต) ก็ควร สำหรับผู้ที่ซื่อตรง ผู้ที่พร้อมด้วยความพยายามแล้ว

ฉะนั้นหวังว่าท่านจะไม่ละความพยายามและเจริญในธรรมชั้นสูงเรื่อยไป และได้โปรดมี

ลิขิตมาสู่พวกเราต่อไปอีกด้วย ยินดีต้อนรับเสมอ ฯ

 

ไกลกิเลส

พ.ย. ๒๕๔๐

 

 

 

จดหมายถึงบรรณาธิการ

(ดี เดือน ก.พ. ๔๑ หน้า 23)

 

ปัญหา : กระผมขอกราบขอบพระคุณมากที่กรุณาส่งหนังสือพิมพ์ดีให้ กระผมได้อ่านในหน้า ๒๑ แล้ว อ่านแล้วรู้สึกว่าสงสารคนตอบมาก ๆ ไม่รู้จะทำอย่างไรดีท่านถึงจะถึงสภาวะนี้ มันตอบเป็นภาษาสมมติไม่ได้เสียแล้วครับ ท่านตอบปัญหานี้เสมือนกับ ป.๔ ไปตอบปัญหาปริญญา โดยไม่เคยเรียนปริญญามาเลย หรือเสมือนว่าท่านพูดถึงรสผลไม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งท่านก็ไม่เคยสัมผัสหรือชิมเลย ก็ไม่รู้ว่ารสชาติที่แท้นั้นเป็นอย่างไร ได้แต่ตอบตามเขาเดาสุ่ม แสดงให้เห็นภูมิธรรมชัดเจนเลย ท่านไม่มีสภาวะอย่างนี้ ไม่มีภูมิของอริยะ ไม่ควรจะมาตอบปัญหาของพระอริยเจ้า บาปกรรมเปล่า ๆ นา อย่างพระโสดาบันนี้ คำว่า วิจิกิจฉา การหายสงสัย มันไม่ใช่หายสงสัยแบบนี้ ท่านไม่ถึงสภาวะนั้นไม่ทราบหรอก มันเป็นปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตัว จะพูดเป็นภาษาสมมติไม่ได้ ถ้าท่านปฏิบัติธรรมถึงแล้วท่านจะตอบได้ทันที ที่ท่านตอบมันเป็นภาษาหนังสือที่อ่าน ท่านสาธยายไว้ คนที่จะบรรลุธรรมได้ต้องอยู่ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ศาสนาอื่นไม่มีทางครับ จะปฏิบัติธรรมอย่างไร ผู้ที่บรรลุธรรมจะต้องเดินทางเดียวคือมรรค ๘ เท่านั้น ธรรมทั้งหลายก็ล้วนอยู่ในกายกับจิตเท่านั้น เอาเข้าจริง ๆ ก็จิตตัวเดียว การบริจาคหรือให้ทานนั้น คนนอกศาสนาที่มีเมตตาเขาก็ทำกันอยู่แล้วครับ แต่การปฏิบัติทางจิตนี่ซิมันสำคัญ ธรรมะทั้งหลายที่ท่านพูดมานั้นเป็นเพียงแต่การสาธยายธรรมเท่านั้น การปฏิบัติจริง ๆ กำจัดกิเลสจริง ๆ นั่นมันไม่มีป้ายบอกดอก คนปฏิบัติรู้ได้เฉพาะตัวครับ การรักษาศีลตัวเดียวก็ไม่สามารถบรรลุได้ ถ้าไม่ประกอบด้วย ภาวนา ศีลบริสุทธิ์อย่างเดียวไม่ภาวนาก็ไม่ถึง เปรียบเสมือนเราสร้างบันไดแต่ไม่เดินขึ้นเสียทีก็ไปไม่ถึง การถึงธรรม การบรรลุธรรมนั้นเป็นเรื่องของปัญญาแล้ว รักษาศีลแต่ขาดปัญญาก็ไปไม่ถึง ผู้ปฏิบัติธรรมต้องทำให้มากถึงองค์ ๕ อย่างจนสมบูรณ์เต็มรอบ คือต้องมี พละ ๕ คือสติ สมาธิ ปัญญา ศรัทธา ความเพียร ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้ และต้องเดินทางเดียวเท่านั้นคือ มรรค ๘ ศีลเป็นเพียงฐานเท่านั้น กสิณต่าง ๆ ใช้เพียงเป็นตัวล่อจิตให้สงบตามจริตเท่านั้น ขั้นปฏิบัติภาวนาแล้วทิ้งหมด เป็นเพียงผู้เริ่มต้นทำเท่านั้นที่จะให้จิตสงบ ผู้ได้หลักแล้วไม่ใช่คนแต่งหนังสือ ท่านจะต้องแยกให้ออกนะ คนแต่งที่บรรลุธรรม กับคนแต่งที่ยังไม่บรรลุ ไม่ใช่ว่าเป็นหนังสือแล้วเชื่อไปหมด เอามาอ้างได้หมด อย่างนี้แหละพระไตรปิฎกปัจจุบันบางตอนถึงเพี้ยนไปเพราะพวกนี้แหละ เกิดมาหมื่นชาติรักษาแต่ศีล ๕ ก็ไม่บรรลุธรรม ถ้าไม่ปฏิบัติทางจิตตามมรรค ไม่ใช้ปัญญาพิจารณาธรรม บางคนพิจารณาแทบตายก็ไม่บรรลุเพราะไม่มีปัญญา มีปัญญาก็ไม่บรรลุเพราะไม่มีศีล กิเลสที่ละเอียดต้องตัดด้วยปัญญาในสมาธิเท่านั้น สมาธิก็ไม่ใช่สมาธิธรรมดา เป็นสมาธิชั้นสูงที่ตัดกิเลสได้ กิเลสทั้งหลายที่เรียกสังโยชน์ ๑๐ นั้น ไม่ต้องไปดูมันหรอก บรรลุธรรมมันก็หมดไปเอง ตามขั้นตามสภาวะมัน ธรรมะของอริยเจ้านั้น ไม่ใช่จะมาตอบเดาสุ่มแบบนี้ มันเป็นเรื่องปุถุชนตอบหรอกกันทำดีกว่า ที่ท่านตอบเป็นแค่เปลือกเท่านั้น อยากรู้ท่านลองเข้าสำนักปฏิบัติฝึกจริงเอาจริงสู้จริงสิ ท่านจะรู้ ผู้บรรลุธรรมต้องผ่านการพิจารณาธรรมมาแล้วทั้งนั้นอย่างโชกโชน เอาหละ ไม่อยากพูดกับท่านแล้ว แม่ชีที่ท่านว่านั้น เป็นเพียงแต่ผู้บริจาค ผู้เสียสละผู้หนึ่งเท่านั้น แม้จะเสียสละชีวิต ดวงตาก็ไม่บรรลุธรรมได้ถ้าไม่ปฏิบัติธรรมตามมรรค ๘ ที่พระพุทธองค์กำหนดไว้ คนนอกศาสนาพุทธไม่ปฏิบัติทางจิตแล้ว ไม่มีทางครับ อย่ามาอ้างโน่นอ้างนี่เลยครับ ไม่ใช่เรื่อง เป็นธรรมะที่เขาสาธยายให้ฟังเท่านั้น.

 

 

เฉลยปัญหา : ท่านผู้นี้เป็นบุคคลเดียวกับที่มีจดหมายมาถึงบรรณาธิการ และท้วงขึ้นแต่คราวก่อน (โปรดดูฉบับ ธันวาคม ๒๕๔๐ จดหมายถึงบรรณาธิการ หน้า ๒๑) ฟังเสียงสำนวนท่านแล้ว เราก็ได้พบแต่ความไพเราะ ตั้งแต่ต้นจนจบ มันเป็นข้อความที่ไพเราะมาก จนเราคิดว่าเป็นบทวรรณกรรมบทสั้น ๆ ที่เป็นประดุจร้อยกรองแห่งโลกไกลที่ได้มาสู่เรา และเราไม่ค่อยได้พบแบบนี้บ่อยนัก (เคยพบมาน้อยครั้ง ที่พิสดารลึกซึ้งกว่านี้ก็มี ภายหลังจะนำมาเปิดเผยให้ทราบ)

เป็นน้ำเสียงที่เต็มไปด้วยความปรารถนาดี หมายถึงผู้ที่ได้พบความสุข แล้วปรารถนาเอื้อเฟื้อแผ่เผื่อเจือจาน

แต่เราก็ไม่อยากให้เกิดความเข้าใจผิด สำหรับผู้ที่ได้คบหาเรามานาน และ ที่ได้แสดงความชื่นชมเรามาก่อน ผู้ที่ได้อ่านหนังสือทุกเล่มทุกข้อความของเรา เช่นมีบางท่านเมื่อบอกว่า “ชี้แจงแสดงธรรมได้ชัดเจนแจ่มแจ้งมาก คนธรรมดาก็อ่านได้เข้าใจดี “ แล้วก็ยกย่องว่าเป็นถึงระดับ มหาบุรุษ นั่นทีเดียวเชียว (โปรดดูจดหมายถึงบรรณาธิการ ในวิเคราะห์ข่าวในวงการฯ ฉบับเดือนมิถุนายน ๒๕๔๐ หน้า ๑๗)

เรื่องนี้ เราอาจอธิบายได้ และจะขออนุญาตท่านเจ้าของจดหมาย(ท่านก็เปิดเผยชื่อจริงพร้อมตำแหน่งงานมาด้วย แต่เรายังเห็นว่าไม่เหมาะที่จะเปิดเผย) ขอวิเคราะห์ความคิดของท่านดูสักหน่อย เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน อย่างชาวธรรมะ

โดยขอให้ผู้อ่านได้ข้อสังเกตไว้เป็นหลักสำหรับการวิเคราะห์หรือการมองก่อน ดังนี้

เมื่อท่านผู้เขียนมา พูดออกมาว่า

“กระผมได้อ่านในหน้า ๒๑ แล้ว อ่านแล้วรู้สึกว่าสงสารคนตอบมาก ๆ ไม่รู้จะทำอย่างไรดีท่านถึงจะถึงสภาวะนี้ มันตอบเป็นภาษาสมมติไม่ได้เสียแล้วครับ ท่านตอบปัญหานี้เสมือนกับ ป.๔ ไปตอบปัญหาปริญญา โดยไม่เคยเรียนปริญญามาเลย หรือ เสมือนว่าท่านพูดถึงรสผลไม้ชนิดหนึ่งซึ่งท่านก็ไม่เคยสัมผัสหรือชิมเลย ก็ไม่รู้ว่ารสชาติที่แท้นั้นเป็นอย่างไร ได้แต่ตอบตามเขาเดาสุ่ม แสดงให้เห็นภูมิธรรมชัดเจนเลย ท่านไม่มีสภาวะอย่างนี้ ไม่มีภูมิธรรมของอริยะ ไม่ควรจะมาตอบปัญหาของพระอริยะเจ้าบาปกรรมเปล่า ๆ นา อย่างพระโสดาบันนี้ คำว่าวิจิกิจฉา การหายสงสัยมันไม่ใช่หายสงสัยแบบนี้ ท่านไม่ถึงสภาวะนั้นท่านไม่ทราบหรอก มันเป็นปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตัว จะพูดเป็นภาษาสมมติไม่ได้ ถ้าท่านปฏิบัติธรรมถึงแล้ว ท่านจะตอบได้ทันที ที่ท่านตอบ มันเป็นภาษาหนังสือที่อ่าน ท่านสาธยายไว้”

ประการแรก ท่านเอาตัวของท่านเองตัดสินคนอื่น คือเอาภูมิปัญญาของท่านเอง ที่ท่านมีอยู่ นั่นหมายความว่าท่านเองก็มีภูมิปัญญาอันประเสริฐอยู่ระดับหนึ่ง จนพอที่จะรู้อะไร ๆ ในเรื่องมรรคผล ดังคำว่า

“เสมือนว่าท่านพูดถึงรสผลไม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งท่านก็ไม่เคยสัมผัสหรือชิมเลยก็ไม่รู้ว่ารสชาติที่แท้นั้นเป็นอย่างไร “

และประโยคที่เราได้ให้ตัวใหญ่ ดำพิเศษไว้ข้างต้นนั้นแล้ว

ข้อควรสังเกตก็คือ ท่านพูดประโยคเหล่านี้ ไม่มีที่มาที่ไป ไม่มีที่อ้างอิงว่าเอามาจากไหน จึงบ่งบอกว่า เป็นคำพูดของท่านเอง เอาออกมาจากใจเองโดยตรง จากภูมิธรรมของตนเอง ฉะนั้น จึงสรุปได้ว่าท่านตัดสินคนอื่นไป ตามภูมิปัญญาของท่านเอง คือเอาตัวเอง เอาพื้นฐานภายในของตัวเองเป็นบรรทัดฐาน แล้วตัดสินออกมาว่า ท่านเป็นชั้นปริญญา ส่วนคนอื่นเป็นชั้นประถม ๔

“ได้แต่ตอบตามเขาเดาสุ่ม แสดงให้เห็นภูมิธรรมชัดเจนเลย ท่านไม่มีสภาวะอย่างนี้ ไม่มีภูมิของอริยะ ไม่ควรจะมาตอบปัญหาของพระอริยะเจ้า บาปกรรมเปล่า ๆ นา”

ขอเน้นว่าท่านเป็นคนให้คะแนนเขาตามกฎเกณฑ์ของท่านเอง

ท่านใช้ภูมิธรรมของท่านเอง หรือมาตรวัดของท่านที่ท่านสร้างขึ้นมาเองไปตัดสินคนอื่น ในที่นี้ท่านก็ตัดสินลงไปว่า เขา “ไม่มีภูมิของอริยะ“ ฉะนั้นจึง “ไม่ควรจะมาตอบปัญหาของพระอริยะเจ้า บาปกรรมเปล่า ๆ นา” คำพูดของท่านตรงนี้ จึงเท่ากับแสดงตัวออกมา ยืนยันว่าท่านเองมีภูมิธรรมถึงอริยะ เมื่อเอ่ยนามพระโสดาบันว่า “อย่างพระโสดาบันนี้ คำวิจิกิจฉา การหายสงสัย มันไม่ใช่หายสงสัยแบบนี้ ท่านไม่มีสภาวะนั้นไม่ทราบหรอก มันเป็นปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตัว” เป็นการบอกนัยยะสำคัญเกี่ยวกับระดับภูมิธรรมของท่านอย่างที่ท่านคิดว่าท่านมีท่านเป็น ว่าอย่างน้อยก็อยู่ระดับ รู้แจ้งเห็นจริงอยู่ระดับหนึ่งอย่างแม่นมั่น (โดยไม่เว้นที่เผื่อไว้สำหรับความผิดพลาดของตนเองบ้างเลย)

ปัญหาก็คือ คนทั่วไปจะยอมรับฟังความเห็นของท่านผู้นี้ หรือไม่ เพียงใด

ในเมื่อไม่ได้อิงหลักใด นอกจากอ้างตัวเอง โดยถือว่าเป็นปัจจัตตัง พูดไม่ได้ อธิบายเหตุผลไม่ได้ ใช้ภาษาไม่ได้ เพราะภาษาสมมติจะไม่ตรงกับสภาวะธรรมจริง ๆ เมื่อท่านพูดว่า ไม่ใช่ ไม่เป็น ไม่ถูก ออกมาโดยไม่แสดงเหตุผล ที่มาที่ไป หรือหลักวิชา แล้วจะมีคนเชื่อถือท่านหรือไม่ เพียงไหน

ประการที่ ๒ เราขออธิบายรูปธรรม หรือรูปร่างแห่งตัวปัญหา วิเคราะห์ได้ ให้ปรากฎออกมา ตามหลักวิชา ได้ อย่างนี้ :-

ทิฎฐิ + มานะ ทิฏฐิ คือความเห็น(ด้วยภูมิปัญญาระดับหนึ่ง) แล้วว่าดี ยึดมั่นถือมั่นว่าดี (เช่นเห็นว่านี่ดี ๆ ๆ จนคนอื่น ๆ ไม่อาจจะรู้ได้ รู้ได้เฉพาะข้าพเจ้าคนเดียว และเมื่อข้าพเจ้ารู้แล้วมันก็เป็นปัจจัตตังของข้าพเจ้า บอกคนอื่นไม่ได้ อธิบายไม่ได้ แล้วก็เทียวพูดไป ว่าเป็นปัจจัตตัง ๆ ๆ ๆ ๆ บอกใครไม่ได้ เมื่อคนอื่นเขาพยายามอธิบาย ในเรื่องเดียวกันนี้ จึงว่าเขาผิดหมด โดยไม่ฟังเหตุผลของเขา ไม่ฟังหลักวิชาการของเขา เพราะปักใจลงไปอย่างแน่นเหนียวเสียแล้วว่าเป็นปัจจัตตัง ) เมื่อบวกเข้ากับ มานะ ก็มีคำว่า ดีกว่า - ด้อยกว่า : เราดีกว่าเขา, เขาด้อยกว่าเรา เขาดีกว่าเรา เราด้อยกว่าเขา มีคำว่า “เสมอเขา เสมอเรา” “เรา ดีเสมอเขา เขาดีเสมอเรา” (เช่นว่าเขาว่าเป็น ป.๔ ไปตอบปัญหาปริญญาทำนองว่าตัวเองนั่นคือผู้จบปริญญา ตัวรู้ผิดรู้ถูกในเรื่องนี้ดีกว่าและ รู้มากกว่าแต่บอกไม่ได้ บอกได้อย่างเดียวว่า เขาโง่ ตอบอะไรไปโง่ ๆ ผิดหมด คล้ายอวดว่าตนรู้ธรรมะ บรรลุธรรมะ ผู้อื่นไม่รู้เท่าตน เป็นต้น) ทิฏฐิเป็นลักษณะของความเห็นตามภูมิธรรม แล้วยึดมั่นถือมั่นว่าดี ว่าถูก(ถ้าเป็น สักกายทิฏฐิ ตามหลักสัญโยชน์ ๑๐ ก็หมายถึง ความเห็นผิด) มานะเป็นลักษณะของ “อหังการ” มีรูปธรรมที่ปรากฎคือ “ปมเด่นและปมด้อย” เมื่อมีปมเด่นก็พองลม เมื่อมีปมด้อยก็แฟบ ตามทฤษฎีจิตวิทยาเรื่องปมด้อยนั่นเอง เมื่อใดพ้นจากทิฏฐิ(โดยมีสัมมาทิฏฐิอยู่ทุกระดับแห่งทิฏฐิ ทุกระดับแห่งปัญญา) พ้นจากมานะ(นิสัยชอบเด่น ชอบแบ่งชนชั้น แบ่งระดับว่า ดี ว่าด้อย ว่าดีกว่าเขา ว่าเสมอเขา ว่าด้อยกว่าเขา หรือพ้นจากปมเด่นปมด้อย) จึงพอจะวางใจได้ ว่าเป็นผู้มีภูมิปัญญาภูมิรู้อยู่ในระดับที่สูง และยุติธรรมพอจะตัดสินคนอื่น ผู้อาจจะเสมอเรา เหนือกว่าเรา หรือด้อยกว่าเราทางภูมิปัญญาก็ได้ หากมิฉะนั้นก็อยู่ในวิสัยผู้ประมาทเลินเล่ออยู่นั่นเอง ซึ่งจะก่อเกิดความผิดพลาดได้อย่างง่ายดาย ฉั บพลัน อันเป็นลักษณะของความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

ประการที่ ๓ ในปัญหาการมองพระอริยบุคคล เราก็ได้ออกตัวไว้แต่ต้นแล้วว่าเป็นเรื่องยากลำบาก ไม่อาจเป็นไปตามกฎอย่างตายตัวได้เลย จะต้องมีข้อยกเว้นอยู่ทั่วไปหมด เราว่าไว้แล้วว่า คล้ายเดาเอา โดยเลียบเคียงตามหลักวิชา (โปรดดูเรื่องเดิม)

“ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับพระอริยบุคคล ไม่ว่าประเด็นไหน ก็ยากที่จะตอบให้ท่านผู้สนใจหรือท่านผู้สงสัยได้เข้าใจหรือพอใจได้เลย เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องชั้นสูง เกินปัญญาใครจะตอบได้ หากจะพยายามตอบก็พอได้อยู่แต่เป็นเพียงคาดคะเนเอาตามแนววิชาการทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น” (โปรดดู ต้นเรื่องใน วิเคราะห์ข่าวฯ เดือน กย.-ตค.-พย. ๔๐ หน้า ๑๔)

นั่นหมายถึงวิธีการของเราที่ต้องอ้างอิงที่มาที่ไป และหลักฐานเสมอ ในเรื่องศีล เราก็นำหลักฐานมาอ้างไว้ เพื่อให้มั่นใจว่า ศีลนี้สามารถนำคนไปสู่นิพพานได้นะ มีหลักฐานอ้างอิงไว้แน่นอนอย่างนี้นะ ที่พุทธบริษัทก็คุ้นกันอยู่ทั้งหมดนะ ไม่มีชาวพุทธไหนในแผ่นดินที่จะไม่ได้ยินหลักฐานที่ยืนยันว่า ศีลสามารถนำไปสู่นิพพานได้ ให้สำเร็จโสดาบันได้ และเราก็ขอยืนยันไว้แน่นอน ณ ที่นี้อีกว่าศีลห้า สามารถนำคนไปถึงพระนิพพานชั้นต้น ๆ ได้

ในเรื่องการมองพระอริยบุคคล เราก็ยังคงยืนยันหลักการที่ได้พูดไปแล้วโดยหลักไตรสิกขา: ศีล สมาธิ ปัญญา นั้น (ตามที่ได้ตอบไปใน วิเคราะห์ข่าวฯ เดือน กย.-ตค.-พย. ๒๕๔๐ หน้า ๑๔-๑๕) ขอยกตอนต้น ๆ มาให้ดูอีกครั้งหนึ่ง ดังนี้

"ถามว่าทราบได้อย่างไร ขอตอบว่าทราบได้จากสติปัญญาของท่าน ทราบได้จากกรรมฐานของท่าน ทราบได้จากศีล-วัตรของท่าน

ระดับพระโสดาบัน-สกิทาคามี จะเห็นท่านเคร่งครัดในศีล ในวัตร

ระดับพระอนาคามี ท่านจะเคร่งกรรมฐาน และงานทางสมาธิอย่างเอาเป็นเอาตาย

ระดับพระอรหันต์ จะแสดงออกทางปัญญาบริสุทธิ์

ถ้าเราเป็นพระอรหันต์ เราก็จะทราบได้โดยอัตโนมัติว่าพระหรือบุคคลใดบ้างเป็นพระอรหันต์ เป็นพระอนาคามี เป็นพระสกิทาคามี และเป็นพระโสดาบัน พระอรหันต์องค์ที่มีภูมิปัญญาแตกฉานจริง ๆ ท่านเพียงแต่มองดู หรือเพียงฟังเสียงพูด ท่านก็รู้แล้วว่าเป็นบุคคลมีมรรคผลหรือไม่ อยู่ระดับใด

ถ้าเราเป็นพระอนาคามี เราจะไม่สามารถทราบโดยแน่ชัดว่าบุคคลใดเป็นพระอรหันต์ แต่อาจคาดคะเนได้ถูก มากบ้าง น้อยบ้าง หรือผิดไป ๑๐๐%เลยก็มี เพราะพระอรหันต์นั้นมีอิสรภาพสูงสุด แม้ความตายก็ไม่อาจผูกมัดได้ รูปแบบย่อมอาจผันแปรไปได้ตามสิ่งที่แวดล้อม จึงมักไร้รูปแบบร่องรอย เว้นเสียแต่ได้รับมอบหมายภาระ ก็ดูจากวิธีที่ท่านปฏิบัติภาระนั้น ๆ คือจะมีความรับผิดชอบอย่างไม่จำกัดจนกว่าภาระที่มอบหมายจะเสร็จสิ้นหรือตราบตัวเองหมดอายุขัยลง ท่านจะไม่มีความถดท้อไม่วางภาระหน้าที่ (ภาระนี้หมายถึงภาระแห่งมรรคผล)

แต่พระอนาคามีอาจรู้จักพระอนาคามีด้วยกันได้ถูกต้อง แต่อาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมด แต่สามารถรู้ได้ว่าบุคคลใดเป็นพระสกิทาคามีและพระโสดาบัน

ท่านรู้ได้เพราะท่านเคยผ่านมาก่อน หรือแม้ไม่เคยผ่าน(ข้ามขั้นไป)ก็สามารถรู้ด้วยปัญญาอันมีระดับสูงกว่า

ถ้าเราเป็นพระสกิทาคามี เราจะไม่รู้จักว่าใครเป็นพระอนาคามีบ้าง พระอรหันต์บ้าง แต่แน่ละ เราอาจคาดคะเนเอาได้ ถูกบ้าง ผิดบ้าง แต่เราจะ รู้จักแต่บุคคลเสมอ ๆ หรือต่ำกว่าตน เช่นพระโสดาบัน ค่อนข้างชัดเจน

ถ้าเราเป็นพระโสดาบัน เราอาจจะไม่รู้จักพระอรหันต์เลย ซ้ำพระอรหันต์บางลักษณะที่เราเห็น เราอาจจะนึกว่าท่านเป็นบุคคลที่ใช้ไม่ได้เอาเลยทีเดียวก็ได้ ทั้งนี้เพราะปัญญาของ เสขบุคคล กับ อเสขบุคคลนั้นห่างไกลกันอย่างกับอยู่คนละฟ้า (เสขบุคคล:ผู้ยังศึกษาอยู่-ยังรู้ไม่หมด หมายถึงพระโสดาบันขึ้นไปถึงพระอนาคามี อเสขบุคคล:ผู้สำเร็จจบสิ้นการศึกษาแล้ว-รู้หมดแล้ว หมายถึงพระอรหันต์ประเภทเดียว)"

ตามหลักการนี้ ผู้ที่มีภูมิธรรมระดับต้น ๆ ก็คงไม่อาจตัดสินภูมิธรรมของพระอนาคามีหรือพระอรหันต์ได้ หากมิฉะนั้นแล้ว ก็คงจะกลายเป็น ยิ้มสำรวม ไปอีกเรื่องหนึ่งแน่ ๆ เพราะพระอรหันต์คือ สามัญชน ไม่มีอะไรต่างไปจากสามัญชนเลย (ตรงคติว่า “สูงสุดสู่สามัญชน”) เมื่อพระโสดาบันซึ่ง มิใช่คนธรรมดาสามัญเสียแล้ว(เพราะเพิ่งได้เกิดใหม่ มีชีวิตใหม่ในโลกใหม่ ในความรู้สึกของพระโสดาบันเองจึงนึกว่าตัวเองวิเศษมาก เพราะเหยียบโลกไว้ใต้ฝ่าเท้าแล้ว) จึงมองพระอรหันต์เป็นคนธรรมดาสามัญจริง ๆไป (ไม่อาจเห็นคุณวิเศษที่ซ่อนอยู่ภาคภายในของคนธรรมดาสามัญ-ที่เป็นอรหันต์ นั้นได้)

ประการที่ ๔ หลักของพวกเราคือ เดินสายกลาง ต้องเดินสายกลางเข้าไว้ ไม่ว่าจะรู้ธรรมะชั้นสูงเพียงใดมา (แม้เป็นพระอรหันต์แล้ว ยุคนี้ก็ต้องเดินสายกลาง เพราะเราจำเป็นต้อง มีมนุษยสัมพันธ์ จะหนีไปอยู่ป่าช้าหรือป่าถ้ำที่ไหน ไม่มีอีกแล้ว) เพราะ เราเองเดินสายกลางจึงอ้างหลักเหตุผล หลักฐานอ้างอิงโดยตลอดมา เพราะการเดินสายกลาง นอกจากทำให้เรามีมนุษยสัมพันธ์เกิดขึ้นมาได้แล้ว ยังเป็นวิถีทางที่ทำให้วิชาการเจริญก้าวหน้าไปได้ ด้วยหลักของเหตุและผล ซึ่งจะสามารถใช้อธิบายพิศูจน์เหตุการณ์(event)ได้ทุกชนิด ไม่เว้นแม้จะต้องพิศูจน์ความเป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา (ถ้าเราถือว่า ปฏิเวธธรรม คือการบรรลุ มรคผลนิพพาน เป็นปัจจัตตัง อธิบายโดยภาษาสมมติไม่ได้ นั่นคงไม่ถูกต้อง ถ้าไม่อธิบายไม่พยายามทำความเข้าใจในเรื่องที่เป็น ปัจจัตตัง ออกมาแล้วคนจะเลื่อมใสศรัทธา หรือรู้เรื่องอะไร ๆเกี่ยวกับ ปัจจัตตัง ได้อย่างไร? และจะมีการเผยแผ่ศาสนาพุทธไปได้อย่างไร?)

เราคิดว่าจดหมายท่านผู้นี้ได้อุปการะธรรมะเป็นอย่างมาก และรู้สึกชื่นชม เราฟังแล้วพอใจในความไพเราะของจดหมายถึงบรรณาธิการฉบับนี้มาก และเรารู้ว่าถึงอธิบายไปก็จะไม่ค่อยได้ประโยชน์ขึ้นไปอย่างไร เพราะความไพเราะนั้นบดบังอยู่

เป็นเรื่อง ระยะทาง และ ระยะเวลา ระยะทางพิศูจน์ม้า ระยะเวลาพิศูจน์คน

เป็นปริศนาธรรม

ร่างแหอวนตาใหญ่ได้ปลาตัวใหญ่ แหอวนตาถี่ได้ปลาซิวปลาสร้อย

ธรรมะที่ล้ำเลิศมีให้แต่ไม่สะดุด ธรรมะอันต้อยต่ำสะดุด

ภูเขาน้ำแข็ง มีเพียงส่วนเดียวที่พ้นน้ำ ส่วนที่อยู่ใต้น้ำยังมีอยู่อีกถึง ๓ ส่วน ผู้มีปัญญาน้อยก็เห็นเฉพาะส่วนที่พ้นน้ำ

โปรดมีลิขิตมาสู่พวกเราอีก ยินดีต้อนรับเสมอ .

 

บรรณาธิการ

      ม.ค.๔๑

 

 

 

จดหมายถึงบรรณาธิการ

(ดี เดือน ก.พ. ๒๕๔๑ หน้า ๒๓)

 

ปัญหา : กราบนมัสการพระคุณเจ้าที่ตอบปัญหา

ก่อนอื่น กระผมขอกราบขอบพระคุณ ที่กรุณาส่งหนังสือที่ตอบปัญหาธรรมให้อ่านและขอขอบพระคุณอีกครั้งที่กรุณาตอบจดหมายให้ทราบ กระผมได้อ่านแล้วขอกราบขอโทษด้วย ท่านตอบได้ดีมาก กระผมอยากจะขอเรียนว่าที่พูดไปนั้นกระผมพูดตามภาษาธรรมปฏิบัติล้วน ๆ สำนวนอาจจะเผ็ดร้อนไปหน่อย เพื่อรสแห่งธรรมในการอ่านเป็นการเปรียบเทียบธรรมทั้งสองฝั่งให้ฟัง คือฝั่งทางปุถุชน กับฝั่งทางพระอริยเจ้า กระผมมิได้มีเจตนาลบหลู่ดูหมิ่นท่านผู้ใดเลย การที่พูดว่าเปรียบเสมือน ป.4 ไปตอบปัญหาปริญญานั้น กระผมเปรียบเทียบถึงตัวเราท่านที่ยังไม่ถึงธรรมว่าเป็นระดับปุถุชน จะไปตอบปัญหาในภูมิรู้ของพระอริยเจ้านั้นที่เทียบระดับปริญญาคงตอบไม่ได้ เพราะคนละภูมิ มิได้ลบหลู่ดูหมิ่นท่านเลย แท้จริงแล้วคณะที่ทำหนังสือออกมาเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ทั้งทางโลกและทางธรรม ในทางโลกนั้นปริญญาโท ปริญญาเอก เป็นผู้เสียสละอดทน กว่าหนังสือจะออกมานั้นยากแสนยาก ที่กระผมเขียนในลักษณะนี้ก็มีเจตนาให้ความรู้ให้ผู้อ่าน ได้ความรู้ทางธรรมในส่วนที่เป็นปริยัติ และธรรมปฏิบัติที่เกิดจากการโต้ตอบปัญหาธรรมกัน ท่านผู้อ่านที่ใช้ปัญญาบารมีอ่านแล้ว ก็เข้าใจว่าธรรมปฏิบัติได้แบบนี้ เป็นการพูดเปรียบเทียบให้ธรรมปฏิบัติเท่านั้น อย่างเรื่องศีลนี้ก็เหมือนกัน ท่านตอบมาและยืนยันมาก็ถูกครับ เพราะศีลเป็นฐานของการปฏิบัติ ศีล ย่อมพาไปถึงนิพพาน ในมรรค 8 ก็มีศีล สมาธิ ปัญญา กระผมเพียงอธิบายแยกให้ฟังถึงการปฏิบัติเท่านั้น ในการปฏิบัติจริง ๆนั้นจะขาดศีลไม่ได้เลย คนที่จะถือศีลได้ก็ต้องจิตใจน้อมนำมาทางธรรมอยู่แล้ว ที่แยกให้เห็นเพราะกระผมได้เห็นสำนักหนึ่งที่พากันถือกินมังสะวิรัตแต่ไม่นำพากันวิปัสนาธรรมฐานที่เป็นตัวปัญญาพาไปสู่การบรรลุธรรมถือนานไปก็เกิดความเซ็งในการปฏิบัติ สุดท้ายก็เลิกลากันไป เพราะไม่เกิดความสงบร่มเย็นในธรรมปฏิบัติ กระผมเปรียบเทียบให้ฟังว่าการถือศีลเปรียบเหมือนการสร้างบันไดไปสู่พระนิพพาน แต่ไม่พากันขึ้นบรรไดเสียที คือไม่ปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานกันนั่นเอง มัวแต่นั่งเฝ้าบรรได เป็นการเปรียบเทียบภาษาทางโลกและภาษาทางธรรมให้ฟัง เพื่อประดับวาสนาปัญญาบารมีกันเท่านั้นครับ ในทางธรรมจริง ๆ กระผมนั้นเคารพธรรมเป็นที่สุดเลย อีกอย่างคือเจตนาไม่อยากให้ใช้ความรู้ทางโลก ที่พากันเข้าใจในธรรมที่ยังเป็นโลกียะที่เรายังไม่มีสภาวะธรรมที่เป็นโลกุตรในตน เข้าไปแก้ไขและตอบปัญหาธรรมที่เรายังไม่มีสภาวะธรรมในระดับที่จะตอบได้เท่านั้น เพราะถ้าเป็นพระแล้วจะอยู่ในข่ายปาราชิก 4 ข้อ 4 ว่าด้วยการอวดอุตริมนุสสธรรมคือพูดถึงธรรมที่นอกตัวเอง(หมายถึงบุคคลที่พระพุทธองค์กำหนดไว้)ที่ไม่มีในตน พาให้คนหลงโลก หลงทางเปล่า ๆ เป็นบาปเป็นกรรมแก่ตัวเองเท่านั้น เพราะสิ่งเหล่านี้พ้นวิสัยปุถุชนที่จะมาเทียบเอา เคียงเอาได้ แท้จริงแล้วพระคุณเจ้าผู้ตอบปัญหาธรรมนั้นเป็นผู้มีความรู้ในทั้งทางโลกและทางธรรมมากทีเดียว ในทางโลกอยู่ในขั้นปริญญาโท หรือเอก เป็นที่ยอมรับในทางโลก ที่กระผมพูดไปนั้นพูดถึงสภาวะจริงทางธรรมที่เรายังไม่มีในตน ท่านเองมีความรู้ล้นเหลือในทางโลก การตอบปัญหาทางธรรมะของท่าน อ่านดูแล้วได้ดีมากทีเดียว มีการอ้างอิง หลักฐานต่าง ๆ ตามภาษาโลกที่ทำกัน เหมือนเราวิจัยหรือทำวิทยานิพนธ์นั้น ในทางโลกแล้วต้องมีหลักฐานอ้างอิงให้ทราบครบถ้วน จึงจะสมบูรณ์และยอมรับกันว่าเก่ง เป็นผู้มีภูมิความรู้ ส่วนในทางธรรมผู้ที่บรรลุถึงสภาวะธรรมแล้ว(หมายถึงผู้ปฏิบัติที่ได้บรรลุธรรม กระผมไม่มีวาสนาได้บรรลุธรรมดอกเพราะยังโง่เง่าเต่าตุ่นอยู่)หลักฐานอ้างอิงประจักษ์พยาน ก็คือตนเอง เพราะเป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นสันทิฏฐิโก เป็นปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน คนอื่นไม่รู้ด้วย ถ้าถึงแล้วขืนพูดไปเขาก็ไม่เชื่อ นอกจากคนที่ปฏิบัติตามขั้นตอน ปัญญาเกิดตามขั้นตอนแล้ว เมื่อถึงสภาวะธรรมแล้วก็จะ “อ้อ” เป็นอย่างนี้เอง จึงจะเข้าใจ ไม่มีสมมติใดๆ เข้าไปกำกับได้ ไม่มีเครื่องวัดไม่มีหนังสืออ้างอิง จะไปสืบหาหลักฐานทางโลกนั้นไม่มี กระผมพูดในทางธรรมให้ฟัง ไม่ได้เอาตัวเองเข้าไปวัดไปเป็นมาตรฐานใด ๆเลย กระผมพูดให้ฟังตาม ภาษาใจ ภาษาธรรม พูดตามความเป็นจริงของธรรมะเท่านั้น สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่จะไปอ่าน เอาตามตำราได้ครับ ในสมัยพุทธกาลพระอริยเจ้าทั้งหลายตั้งแต่พระโสดาบัน จนถึงระดับพระอนาคามี เป็นฆราวาสมีมากทีเดียว สิ่งเหล่านี้เป็นภาษาทางธรรมเล่าสู่กันฟัง เพื่อเป็นการเสริมวาสนาบารมีผู้อ่าน และจรรโลงหนังสือที่พระคุณเจ้าทำออกมาให้มีรสชาติทางธรรมปฏิบัติอ่านแล้วให้ถึงใจ ไหน ๆ ก็ได้พูดถึงเรื่องพระโสดาบันกันได้แล้ว กระผมอยากจะขออนุญาตพูดเสริมเติมต่อเรื่องพระโสดาบันอริยบุคคล เพื่อประดับปัญญา วาสนาบารมีกันสักหน่อยว่า ท่านผู้มีวาสนาบารมี ไม่ว่าเป็นเทวดา อินทร์ พรหม หรือมนุษย์ทรงเพศบรรพชิต ทั้งคฤหัสหญิงชาย บรรดาที่ได้พบพระพุทธศาสนา มีศรัทธาเลื่อมใส ใคร่จักได้รู้แจ้งแทงตลอดธรรมวิเศษคือวิมุตติธรรม พยายามปฏิบัติตามโอวาทพระพุทธองค์ โดยบำเพ็ญวิปัสนากรรมฐานอันเป็นปัญญาธุระจนได้บรรลุโสดาบันปัตติผลญาณ อันเป็นปัสสัทธิวิมุตินี้ย่อมได้มีโอกาสได้รับอานิสงส์ผลบุญมากมายสุดประมาณ มีอานิสงส์ยิ่งใหญ่ไพศาลในพระพุทธศาสนา ทั้งอานิสงส์ยั่งยืนทั้งชาตินี้และชาติหน้า อานิสงส์เบื้องแรก ที่ผู้บรรลุโสดาปัสสัทธิวิมุติขั้นที่ 1 จะพึงได้รับคือความเป็นพระโสดาบันอริยบุคคล ซี่งมีนามตามโวหารทางพุทธศาสนาคือพระอริยบุคคลผู้ถึงกระแสพระนิพพาน พูดถึงตอนนี้คนธรรมดาที่มีแต่จินตมยปัญญา ไม่เคยบำเพ็ญวิปัสนากรรมฐานตามกระแสพุทธฎีกา ไม่เคยรู้สภาวะแห่งพระวิปัสนาญาณ อาจจะตีความผิด อันที่จริงพระโสดาบันอริยบุคคล ที่ว่าเป็นผู้ถึงซึ่งกระแสพระนิพพานนี้ ท่านถึงตัวนิพพาน รู้ลักษณะพระนิพพาน เสวยรสพระนิพพานอย่างแท้จริงแล้ว อาจจะมีคำถามว่าพระโสดาบัน ได้เสวยรสพระนิพพานอันเป็นอมตธรรมอย่างเต็มที่ตอนไหน ขอตอบว่าตอนที่พระโสดาปัตติมรรคญาณและโสดาปัตติผลญาณอุบัติขึ้นในขันธสันดานนี่แล ท่านย่อมถึงตัวพระนิพพาน ได้เสวยรสพระนิพพานอันเป็นอมตธรรมอย่างซาบซึ้งประจักษ์แท้แน่แก่ใจทีเดียว ทั้งนี้ก็เพราะว่า เมื่อจะกล่าวถึงสภาวะเมื่อปฏิบัติวิปัสนากรรมฐาน พระโสดาบันปัตติมรรคญาณ และพระโสดาปัตติผลญาณก็คือตัวพระนิพพานอันเป็นโลกุตรธรรมนั่นเอง อนึ่งเมื่อจะกล่าวถึงปริยัติศึกษา อุปมาว่า ธรรมดา เมื่อบุคคลเห็นน้ำซี่งกำลังไหลไปด้วยกระแสอันเชี่ยวกราก ก็ย่อมหมายความว่าเขาเห็นตัวน้ำ และเมื่อบุคคลพลัดตกหล่นลงไปในกระแสน้ำ ก็ย่อมหมายความว่าเขาตกไปในน้ำ สัมผัสกับน้ำ ถูกน้ำ รู้ลักษณะของน้ำ จมลงไปในน้ำ อยู่ในน้ำ รู้รสชาติของน้ำ ด้วยตนของตนอย่างแท้จริง ทั้งนี้ก็เพราะว่าน้ำกับกระแสน้ำเป็นสิ่งเมื่อว่าตามความจริงแล้วเป็นสิ่งเดียวกันนั่นเอง ในกรณีของพระโสดาบันก็เหมือนกันท่านที่บรรลุปฏิปัสสัทธิวิมุติขั้นที่ 1 ซึ่งได้แก่พระโสดาปัตติผลญาณนี้ นอกจากจะได้อานิสงส์วิเศษสุดดี โดยสามารถนำตนให้ก้าว พ้นจากความเป็นปุถุชนคนธรรมดาสามัญแล้ว ก็เป็นผู้ปิดประตูจตุรบาย(อบายภูมิ)ให้ตนเองอย่างแน่นอนได้อีกด้วย คือในโอกาสต่อไปจะไม่ไปเกิดเป็นอบายสัตว์ในอบายภูมิอันน่าสพึงกลัว นั้นอย่างแน่นอน โดยมีพระพุทธฏีกาเป็นเครื่องรับประกันในคิญชกาวสถสูตร แห่งมหาวรรค สังยุตตนิกาย ดังนั้นผู้ที่ได้เสวยโลกียสมบัติทุกประเภท ย่อมไม่พ้นจากความเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสูรกาย และสัตว์เดียรฉานไม่ได้เลย ประตูอบายภูมิทั้งหลายยังเปิดอ้ารับคอยรับเขาอยู่ทุกนาที ดังนั้นผู้เสวยโลกัยสมบัติ จึงได้พากันเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารอย่างไม่มีวันสิ้นสุดลงได้ ในเมื่อมีการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารแล้ว การที่ว่าจักแคล้วคลาดจากอบายภูมิเป็นอันไม่มี เพราะจักต้องพลาดท่าเสียทีไปเกิดในอบายภูมิเหล่านี้เข้าชาติหนึ่งจนได้อย่างแน่นอน ส่วนท่านผู้บำเพ็ญวิปัสนากรรมฐาน จนได้บรรลุพระโสดาปัตติผลญาณอันเป็นปัสสัทธิวิมุติ สำเร็จเป็นพระโสดาบันอริยบุคคลเห็นแจ้งแทงตลอดพระจตุราริยสัจ กำจัดสังโยชน์อกุศลธรรมความชั่วร้ายได้เป็นครั้งแรกนี้ ท่านย่อมมีคุณวิเศษสามารถที่จะตัดกองทุกข์ใหญ่ในวัฏสงสารได้มากทีเดียว โดยที่ท่านจะต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารอีกอย่างมากไม่เกิน 7 ชาติเท่านั้น เรื่องนี้มีหลักฐานอยู่ในพระบาลีมหาวรรค สังยุตตนิกาย ข้อ 1754 หน้า 575(บาลีฉบับสยามรัฐ) กระผมขอกล่าวถึงพระโสดาบันอริยบุคคลเพื่อประดับบารมี ตามประสาคนมีความรู้น้อยไว้เพียงแค่นี้ ขอกราบของพระคุณคณะผู้จัดทำหนังสืออีกครั้งหนึ่งด้วยครับ

 

กราบนมัสการด้วยความเคารพอย่างสูง ฯ

 

 

เฉลยปัญหา : ท่านผู้นี้เป็นบุคคลเดียวกับที่มีลิขิตมาถึงบรรณาธิการฉบับก่อน ในคอลัมน์จดหมายถึงบรรณาธิการ

ท่านพูดถึงประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับพระอริยบุคคล น่าสนใจมาก อันแสดงภูมิปัญญาธรรมชั้นล้ำลึก ที่น่าเชื่อวางใจว่าระดับนี้คงไม่มีผู้ใดผู้หนี่งหลอกลวงท่านได้อีกต่อไป เพราะทรงไว้ซึ่งความเป็นตัวของตัวเองอย่างสูงเสมอ(ใช้หลักกาลามสูตรได้)

มีสิ่งที่ท่านผู้นี้ปริวิตกก็คือ”เจตนาไม่อยากให้ใช้ความรู้ทางโลก ที่พากันเข้าใจในธรรมที่ยังเป็นโลกียะที่เรายังไม่มีสภาวะธรรมที่เป็นโลกุตรในตน เข้าไปแก้ไขและตอบปัญหาธรรมที่เรายังไม่มีสภาวะธรรมในระดับที่จะตอบได้เท่านั้น” นั้นนับว่าเป็นข้อวิตกที่ตรงกับทางเราวิตกและนักปราชญ์อาจารย์ทั้งหลายในวงการสงฆ์ก็วิตกกันอยู่โดยมากทีเดียว เนื่องจากสังคม พุทธยุคนี้ขาดแคลนพระอรหันต์ นั่นเอง จึงต้องปรารภวิตกเรื่องการบรรลุมรรคผลที่ลดน้อยลงไปตามลำดับ ๆ และเราคงต้องคอยมองหาอยู่เสมอ ๆ ว่าจะมีคนที่มีสภาวะธรรมจริง ๆ ในตัวตนมาตอบปัญหาให้หรือไม่ หากไม่มีไม่พบ เราก็คงต้องทำไป พลาง ๆ ก่อน โดยอาศัยหลักการเดินสายกลางดังกล่าวมาแล้ว อย่างไรก็ตามวิธีการทางโลก ทางวิชาการด้านการศึกษา วิจัย (เช่น กระบวนการวิชา Research methodology) ก็สามารถนำมาใช้ในทางธรรมะได้อย่างน่าเชื่อถือ เพราะวิธีการทางโลกนั้นได้มาตรฐานจริง หากรู้จริง พิศูจน์ได้เห็นได้จากการที่โลกมีพัฒนาการมาจากผลการวิเคราะห์วิจัยด้วยหลักวิชาดังกล่าวนี้ จึงกลายเป็นโลกวิทยาศาสตร์ โลกที่อยู่บนพื้นฐานแห่งเหตุและผล และการพิศูจน์ตามหลักนั้น ในความเป็นจริง แม้การศึกษาทางศาสนาทุกศาสนา เราอาจเรียนรู้ด้วยวิธีการ 2 อย่าง ที่ทางโลกเขาใช้กันอยู่ ก็คือ Inductive method กับ Deductive method แต่วงการศาสนาเราทุกวันนี้มักจะใช้เพียง Deductive method วิธีเดียว ทำให้การมองไม่ครอบคลุม ไม่รอบด้านพอ และมักจะไม่ถูกตรงตามความเป็นจริง ตามหลักพระพุทธศาสนา

ปัจจุบันศาสนายิ่งมีความจำเป็นต้องนำหลักทางโลกมาใช้ อย่างขาดไม่ได้ เช่นหลักกฎหมาย การบัญชี การสื่อสาร การประชาสัมพันธ์เป็นต้น กฎหมายเอามาใช้ในการปกครองหมู่สงฆ์ เอามากำหนดระบบสงฆ์ เมื่อระบบดีถูกต้อง ระบบก็บันดาลผลให้ได้มาก มากกว่าเรื่องปัจเจกบุคคล (เช่นแทนที่จะบรรลุธรรมทีละคน ๆ ก็สามารถบรรลุกันพร้อมพรึบทั้งหมู่ ทั้งประเทศ ด้วยการจัดระบบการเผยแผ่ การประชาสัมพันธ์ การสื่อสารที่ดี ภายใต้ระบบการปกครองที่ดีเป็นต้น) แต่เราต้องดูและใช้เครื่องมือที่ดีเลิศนั้นให้เป็นให้ถูกต้อง ในเรื่องกฎหมาย เราก็ต้องระวังว่า กฎหมายนั้นรับใช้ธรรมะรับใช้คุณธรรมตามเจตนารมณ์ของฝ่ายธรรมะหรือไม่ หากเอากฎหมายไปรับใช้อธรรมย่ำยีพระพุทธศาสนาโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือโดยโลภเห็นแก่ตัว (เพราะคุณและโทษนั้นอยู่ด้วยกัน หากระบบให้คุณก็ให้คุณมหาศาล หากให้โทษก็ให้โทษมหาศาลเช่นกัน) ก็จักให้โทษมากเกินกล่าวอ้าง เพราะก็จะกลายเป็นผลบาปอันยิ่งใหญ่ จึงอยู่ที่ภูมิปัญญาสูงสว่างไสวพอเห็นโทษเห็นภัยหรือไม่ เรียกว่าเห็นภัยในวัฎฎสงสาร อันเป็นสัญลักษณ์ของพระอริยบุคคล เพราะพระอริยบุคคลก็คือผู้ที่เห็นภัยในวัฎฎสงสาร หากแต่เห็นภัยคนละระดับชั้นกัน พระโสดาบันก็เห็นภัยระดับหนึ่ง พระสกิทาคามีก็เห็นสูงขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง พระอนาคามีก็เห็นไปอีกระดับหนึ่ง พระอรหันต์ก็เห็นไปอีกระดับหนึ่งอันเป็นการเห็นที่ครบถ้วนที่อาจถอนพิษภัยได้ทั้งหมดทั้งสิ้น เมื่อเห็นภัยอย่างไร เพียงไรก็สามารถดำเนินวิธีการหรือมาตรการการแก้ไขปัดป้องภัยนั้นได้เพียงนั้น

แม้ขณะนี้ก็มีโทษใหญ่ ภัยใหญ่ และส่งผลคือ บาปใหญ่

แต่คนเห็นมีน้อย

ฝากไว้ให้คิด เห็นบ้างหรือไม่ ? หากเห็นจะทำอย่างไร ?

 

บรรณาธิการ




หนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 23

ประชาธิปไตยสงฆ์ จะปฏิรูปอย่างไร?(ต่อ)
หน้าบอกสถานะของเรา ในเดือนเมษายน 2544
บทบรรณาธิการ:วาระรัฐบาลทักษิณ-ยอร์ชบุช,สว.ข่มขืนเด็ก ,อาฟกานิสถานถล่มพระพุทธรูปมรดกโลก,
สากลจักรวาลสากลศาสนา ตอนที่7
เฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว
ประวัติของผมตอนที่ 11



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
----- ***** ----- โปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate นี่คือเวบไซต์คู่ www.newworldbelieve.com กับ www.newworldbelieve.net เราให้เป็นเวบไซต์ที่เสนอธรรมะหรือ ความจริง หรือ ความคิดเห็นในเรื่องราวของชีวิต ตั้งใจให้ธัมมะเป็นทาน ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แด่คนทั้งหลาย ทั้งโลก ให้ได้รู้ความจริงของศาสนาต่าง ๆในโลกวันนี้ และได้รู้ศาสนาที่ประเสริฐเพียงศาสนาเดียวสำหรับโลกยุคใหม่ จักรวาลใหม่ เรามีผู้รู้ ผู้ตรัสรู้ ผู้วินิจฉัยสรรพธรรมสรรพวิชชา สรรพศาสน์ และสรรพศาสตร์ พอชี้ทางสู่โลกใหม่ ให้ความสุข ความสบายใจความมีชีวิตที่หลุดพ้นไปสู่โลกใหม่ เราได้อุทิศเนื้อที่ทั้งหมดเป็นเนื้อที่สำหรับธรรมะทั้งหมด ไม่มีการโฆษณาสินค้า มาแต่ต้น นับถึงวันนี้ร่วม 14 ปีแล้ว มาวันนี้ เราได้สร้างได้ทำเวบไซต์คู่นี้จนได้กลายเป็นแดนโลกแห่งความสว่างไสว เบิกบานใจ ไร้พิษภัย เป็นแดนประตูวิเศษ เปิดเข้าไปแล้ว เจริญดวงตาปัญญาละเอียดอ่อน เห็นแต่สิ่งที่น่าสบายใจ ที่ผสานความคิดจิตใจคนทั้งหลายด้วยไมตรีจิตมิตรภาพล้วน ๆ ไปสู่ความเป็นมิตรกันและกันล้วน ๆ วันนี้เวบไซต์นี้ ได้กลายเป็นโลกท่องเที่ยวอีกโลกหนึ่ง ที่กว้างใหญ่ไพศาล เข้าไปแล้วได้พบแต่สิ่งที่สบายใจมีความสุข ให้ความคิดสติปัญญา และได้พบเรื่องราวหลายหลากมากมาย ที่อาจจะท่องเที่ยวไปได้ตลอดชีวิต หรือท่านอาจจะอยากอยู่ณโลกนี้ไปชั่วนิรันดร ไม่กลับออกไปอีกก็ได้ เพียงแต่ท่านเข้าใจว่านี่เป็นแดนต้นเรื่องเป็นด่านข้ามจากแดนโลกเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง และซึ่งเป็นโลกหรือบ้านของท่านทั้งหลายได้เลยทีเดียว ซึ่งสำหรับคนต่างชาติ ต่างภาษาต่างศาสนา ได้โปรดใช้การแปลของ กูเกิล หรือ Google Translate แปลเป็นภาษาของท่านก่อน ที่เขาเพิ่งประสบความสำเร็จการแปลให้ได้แทบทุกภาษาในโลกมนุษย์นี้แล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้เอง นั้นแหละเท่ากับท่านจะเป็นที่ไหนของโลกก็ตาม ทั้งหมดโลกประมาณ 7.6 พันล้านคนวันนี้ สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในโลกของเราได้เลย เราไม่ได้นำท่านไปเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่การนำไปสู่ความจริง ความรู้เรื่องชีวิตใหม่ การอุบัติใหม่สู่ภาวะอริยบุคคล ไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปพ้นจากทุกข์ ทั้งหลายไปสู่โลกแห่งความสุขแท้นิรันดร คือโลกนิพพานขององค์บรมศาสดาพุทธศาสนา พระบรมครูพุทธะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ท่านโปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate ท่านก็จะเข้าสู่โลกนี้ได้ทันทีพร้อมกับคน7.6พันล้านคนทั้งโลกนี้. ----- ***** ----- • หมายเหตุ เอาขึ้นเวบไซต์ แทนของเดิม ทั้ง 2 เวบ .net .com วันที่ 21 เม.ย. 2565 เวลา 07.00 น. -----*****-----