ReadyPlanet.com
dot
dot dot
bulletBUDDHISM TO THE NEW WORLD ERA
bullet1 Thai-ไทย
bullet2.English-อังกฤษ
bullet3.China-จีน
bullet4.Hindi-อินเดีย
bullet5.Russia-รัสเซีย
bullet6.Arab-อาหรับ
bullet7.Indonesia-อินโดนีเซีย
bullet8.Japan-ญี่ปุ่น
bullet9.Italy-อิตาลี
bullet10.France-ฝรั่งเศส
bullet11.Germany-เยอรมัน
bullet12.Africa-อาฟริกา
bullet13.Azerbaijan-อาเซอร์ไบจัน
bullet14.Bosnian-บอสเนีย
bullet15.Cambodia-เขมร
bullet16.Finland-ฟินแลนด์
bullet17.Greek-กรีก
bullet18.Hebrew-ฮีบรู
bullet19.Hungary-ฮังการี
bullet20.Iceland-ไอซ์แลนด์
bullet21.Ireland-ไอร์แลนด์
bullet22.Java-ชวา
bullet23.Korea-เกาหลี
bullet24.Latin-ละติน
bullet25.Loa-ลาว
bullet26.Finland-ฟินแลนด์
bullet27.Malaysia-มาเลย์
bullet28.Mongolia-มองโกเลีย
bullet29.Nepal-เนปาล
bullet30.Norway-นอรเวย์
bullet31.persian-เปอร์เซีย
bullet32.โปแลนด์-Poland
bullet33.Portugal- โปตุเกตุ
bullet34.Romania-โรมาเนีย
bullet35.Serbian-เซอร์เบีย
bullet36.Spain-สเปน
bullet37.Srilanga-สิงหล,ศรีลังกา
bullet38.Sweden-สวีเดน
bullet39.Tamil-ทมิฬ
bullet40.Turkey-ตุรกี
bullet41.Ukrain-ยูเครน
bullet42.Uzbekistan-อุสเบกิสถาน
bullet43.Vietnam-เวียดนาม
bullet44.Mynma-พม่า
bullet45.Galicia กาลิเซียน
bullet46.Kazakh คาซัค
bullet47.Kurdish เคิร์ด
bullet48. Croatian โครเอเซีย
bullet49.Czech เช็ก
bullet50.Samoa ซามัว
bullet51.Nederlands ดัตช์
bullet52 Turkmen เติร์กเมน
bullet53.PunJabi ปัญจาบ
bullet54.Hmong ม้ง
bullet55.Macedonian มาซิโดเนีย
bullet56.Malagasy มาลากาซี
bullet57.Latvian ลัตเวีย
bullet58.Lithuanian ลิทัวเนีย
bullet59.Wales เวลล์
bullet60.Sloveniana สโลวัค
bullet61.Sindhi สินธี
bullet62.Estonia เอสโทเนีย
bullet63. Hawaiian ฮาวาย
bullet64.Philippines ฟิลิปปินส์
bullet65.Gongni-กงกนี
bullet66.Guarani-กวารานี
bullet67.Kanada-กันนาดา
bullet68.Gaelic Scots-เกลิกสกอต
bullet69.Crio-คริโอ
bullet70.Corsica-คอร์สิกา
bullet71.คาตาลัน
bullet72.Kinya Rwanda-คินยารวันดา
bullet73.Kirkish-คีร์กิช
bullet74.Gujarat-คุชราด
bullet75.Quesua-เคซัว
bullet76.Kurdish Kurmansi)-เคิร์ด(กุรมันซี)
bullet77.Kosa-โคซา
bullet78.Georgia-จอร์เจีย
bullet79.Chinese(Simplified)-จีน(ตัวย่อ)
bullet80.Chicheva-ชิเชวา
bullet81.Sona-โซนา
bullet82.Tsonga-ซองกา
bullet83.Cebuano-ซีบัวโน
bullet84.Shunda-ชุนดา
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet86.Sesotho-เซโซโท
bullet87.NorthernSaizotho-ไซโซโทเหนือ
bullet88.Somali-โซมาลี
bullet89.History-ประวัติศาสตร์
bullet90.Divehi-ดิเวฮิ
bullet91.Denmark-เดนมาร์ก
bullet92.Dogry-โดกรี
bullet93.Telugu-เตลูกู
bullet94.bis-ทวิ
bullet95.Tajik-ทาจิก
bullet96.Tatar-ทาทาร์
bullet97.Tigrinya-ทีกรินยา
bullet98.Check-เชค
bullet99.Mambara-มัมบารา
bullet100.Bulgaria-บัลแกเรีย
bullet101.Basque-บาสก์
bullet102.Bengal-เบงกอล
bullet103.Belarus-เบลารุส
bullet104.Pashto-พาชตู
bullet105.Fritian-ฟริเชียน
bullet106.Bhojpuri-โภชปุรี
bullet107.Manipur(Manifuri)-มณีปุระ(มณิฟูรี)
bullet108.Maltese-มัลทีส
bullet109.Marathi-มาราฐี
bullet110.Malayalum-มาลายาลัม
bullet111.Micho-มิโช
bullet112.Maori-เมารี
bullet113.Maithili-ไมถิลี
bullet114.Yidsdish-ยิดดิช
bullet115.Euroba-ยูโรบา
bullet116.Lingala-ลิงกาลา
bullet118.Slovenia-สโลวีเนีย
bullet119.Swahili-สวาฮิลี
bullet120.Sanskrit-สันสกฤต
bullet121.history107-history107
bullet122.Amharic-อัมฮาริก
bullet123.Assam-อัสสัม
bullet124.Armenia-อาร์เมเนีย
bullet125.Igbo-อิกโบ
bullet126.History115-ประวัติ 115
bullet127.history117-ประวัติ117
bullet128.Ilogano-อีโลกาโน
bullet129.Eve-อีเว
bullet130.Uighur-อุยกูร์
bullet131.Uradu-อูรดู
bullet132.Esperanto-เอสเปอแรนโต
bullet133.Albania-แอลเบเนีย
bullet134.Odia(Oriya)-โอเดีย(โอริยา)
bullet135.Oromo-โอโรโม
bullet136.Omara-โอมารา
bullet137.Huasha-ฮัวซา
bullet138.Haitian Creole-เฮติครีโอล
bulletคำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรแปล เช้า-เย็น
bulletChart Showing the Process
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี พ.ศ.2540 - 2566
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 1
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 2
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี บุคคลที่ 1 - 188 ปัจจุบัน
bulletหนังสือพิมพ์ดี
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 1
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 2
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 3
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 4
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 5
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 6
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 7
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 8
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 9
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 10
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 11
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 12
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 13
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 14
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 15
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 16
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 17
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 18
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 19
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 20
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 21
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 22
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 23
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 24
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 25
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 26
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 27
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 28
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 29
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 30
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 31
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 32
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 33
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 34
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 35
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 36
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 37
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 38
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 39
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 40
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 41
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 42
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 43
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 44
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 45
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 46
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 47
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 48
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 49
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 50
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 51
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 52
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 54
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 55
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 56
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 57
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 58
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 59
bulletTo The World
bulletENGLISH
bulletUSA
bulletChina
bulletIndia
bullet Mynmar
bullet Cambodia
bullet Loas
bulletSri Lanka
bulletMalaysia
bulletKorea
bulletA Sharp Turn of Believes : Iresearch Iwrite Iread
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 1
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 2
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 3
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 4
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 5
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 6
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 7
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 8
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 9
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 10
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 11
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 12
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 13
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 14
bulletMystery Report 15
bulletMystery Report 16
bulletMystery Report 17
bulletMystery Report 18
bulletMystery Report 19
bulletMystery Report 20
bulletMystery Report 21
bulletMystery Report 22
bulletMystery Report 23
bulletMystery Report 24
bulletMystery World Report 25
bulletศึกษาโลกลี้ลับ 26
bulletเฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว วิเคราะห์ทุกปัญหาในโลกมนุษย์ด้วยสติปัญญาและเหตุผลวิทยาศาสตร์จากนสพ.ดี
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2536
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2537
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2538
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2539
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2540
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2541
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2542
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2543-2545
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2545-2549
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2549-2550
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2550-ส.ค.2551
bulletเฝ้าดูฯ ส.ค.-ก.ย.2551
bulletเฝ้าดูฯ ก.ย.2551- ธ.ค. 2551
bulletเฝ้าดูฯสำนวนพัชรา กอปรทศธรรม
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 16-27
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 29
bulletบทความใหม่ เม.ย.-พ.ค.2552
bulletพุทธธรรมเพื่อทางดับทุกข์
bulletทฤษฎีการดับทุกข์ทางจิต วิปัสสนากรรมฐานโดยการทำงาน(สำนวนปรับปรุงใหม่)
bulletประวัติพัชรา กอปรทศธรรม
bulletประวัติการต่อสู้เพื่อการดับทุกข์ ของพัชรา กอปรทศธรรม
bulletอัลบั้มรูป history
bulletนิทานธรรมะประยุกต์ มานุสสาสุระสงคราม 4 ภาค และอื่น ๆ
bulletอัลบั้มรูป ภาพในอดีตและชีวประวัติศาสตร์ที่สวยงาม
bulletจากเวบบอร์ด พูดกันไม่รู้เรื่อง ประชาธิปไตยล้าหลัง
bulletศาสนาสากล การวิเคราะห์ความหมาย
bulletปลอบใจ
dot
รวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์ แนวปฏิรูปคณะสงฆ์อยู่ในบทวิเคราะห์นี้แล้ว
dot
bulletรวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์
dot
สากลจักรวาล สากลศาสนา แนวคิดศาสนาสำหรับคนยุคใหม่ ผู้ก้าวผิดทางไปสู่สิ่งไร้สาระโดยไม่รู้ตัว
dot
bulletสากล...ศาสนา 1
bulletสากล...ศาสนา 2
bulletสากล...ศาสนา 3
bulletสากล...ศาสนา 4
bulletสากล...ศาสนา 5
bulletสากล...ศาสนา 6
bulletสากล...ศาสนา 7
bulletสากล...ศาสนา 9
bulletสากล...ศาสนา 8
bulletสากล...ศาสนา 10
bulletสากล...ศาสนา 11
bulletสากล...ศาสนา 12
bulletสากล...ศาสนา 13
bulletสากล...ศาสนา 14
bulletสากล...ศาสนา 16
dot
ส่วนข้อมูลสำคัญเพื่อการวิจัยการเมืองไทยยุค คมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
dot
bulletข้อมูลสำคัญยุคคมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่1/26ส.ค.2551
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่2/27ส.ค.2551
bulletใบปลิว อีเมล์ ในหลวงทรงร้องไห้
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 1
bulletในหลวงเพิ่งทราบข่าวฆ่าประชาชน10เมย.53ทรงร้องไห้
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
dot
รวมข่าวม็อบการเมืองสนธิ-จำลอง-ปชป.มิ.ย.51-เม.ย.52 นสพ.
dot
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 2
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 3
bulletรวมข่าวม็อบ30มิ.ย.51-23มี.ค.52
bulletเลือดศรีสะเกษบันทึกเรื่องราวรอบด้านเกี่ยวกับเขาพระวิหาร
bulletรายงานการโฆษณาชวนเชื่อในประเทศไทยที่ล้มล้างรัฐบาลทักษิณ
bulletหนังสือพิมพ์ดี ของฟรีให้เปล่ามา20ปีแล้วทั้งเอกสารและอินเทอเนท
bulletหนังสือพิมพ์ดี ( อินเทอเนต ) เล่ม 1 - 44 - ล่าสุด
bulletหน้าที่เก็บไว้
bulletมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร)
bulletวัดมหาพุทธาราม ศรีสะเกษ บันทึกเหตุการณ์
bulletสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดศรีสะเกษแห่งที่ 1
bulletเกี่ยวกับเวบไซต์ของเรา เราทำเพื่อปัญญาชนโดยแท้
bulletรวมกระทู้เด็ดจากกระดานถามตอบ
bulletคาถาอาคมไสยศาสตร์
bulletกวีนิพนธ์ใหม่
bulletศูนย์ปฏิญญาณละเลิกอบายมุข บัญชีที่ 1- 4


ประชาธิปไตยสงฆ์ จะปฏิรูปอย่างไร?(ต่อ)

คอลัมน์ประชาธิปไตยสงฆ์

จะปฏิรูปการปกครองสงฆ์ไปทำไม ?

ปัญหากฎหมายกับการปฏิรูปการระบบสงฆ์

(ตอนที่ 4 ต่อจากคราวที่แล้ว)

 

 

คำถาม     อะไรคือระบบราชการสงฆ์ ? ให้อธิบายว่าระบบราชการสงฆ์ ไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัยอย่างไร ?

 

สมัยองค์บรมศาสดาระบบสงฆ์ไม่เหมือนปัจจุบันนี้หรือ ? เราจะรู้ได้อย่างไรว่าระบบสงฆ์สมัยพุทธกาลไม่เป็นเหมือนระบบสงฆ์ปัจจุบันนี้ ? ถ้าไม่เป็นเหมือนปัจจุบันนี้ จักอาจเป็นได้อย่างไร จึงจักทำให้เกิดระเบียบและความมั่นคงของหมู่สงฆ์ขึ้นได้? ในระบบสงฆ์ปัจจุบัน อาจกล่าวได้หรือไม่ว่ามีความมั่นคงอย่างยิ่งอยู่แล้ว หากทำลายระบบปัจจุบันเสียจะมิหมายถึงทำลายระบบที่ดีอยู่ให้พินาศไปหรือ ? อย่างไรที่เรียกว่า ระบบสงฆ์ตามธรรมตามวินัย ให้แยกแยะผลดีผลเสียให้ชัดเจน โดยเฉพาะในประเด็นของความมั่นคงเป็นระเบียบของหมู่คณะสงฆ์เอง?

 

 

 

คำตอบ

 

ปัญหาของระบบสงฆ์ไทย สามารถสรุปลงสั้น ๆ บัดนี้ได้ว่า จำเป็นต้องมีการปรับปรุงปฏิรูปหรือปฏิวัติโดยเร่งด่วน โดยให้เกิดระบบสองระบบที่อุปถัมภ์กันระหว่างระบบการศึกษาและระบบการปกครองในหมู่สงฆ์ โดยทั้งสองระบบพยายามเดินตามพระธรรมวินัย กล่าวคือ การวินิจฉัยสั่งการของระบบถือพระธรรมวินัยเป็นหลัก หากกฎหมายใดขัดหรือแย้งพระธรรมวินัย ก็ปฏิเสธเสีย ไม่ยอมเดินตามกฎหมายนั้น การปรับปรุงที่อาจจะทำได้เลยขณะนี้ก็คือ พยายามให้การศึกษานำการปกครอง อย่าให้การปกครองเดินนำหน้าการศึกษา และในระบบการศึกษาปัจจุบันทุกระดับ ควรสำรองเวลาในหลักสูตรไว้ไม่น้อยกว่า 50 % สำหรับการศึกษาระบบไตรสิกขา และไตรสิกขาควรเป็นเป้าหมายสุดท้ายของหลักสูตรทุกหลักสูตรของการศึกษาคณะสงฆ์ หากปรับไปได้ดังกล่าว การพระพุทธศาสนาทั้งหมดโดยรวมก็จะค่อยขยับเขยื้อนขึ้นทีละน้อย ๆ จนทำให้เกิดกระบวนการปฏิรูปติดต่อไปใน เรื่องสำคัญ ๆ ยิ่งขึ้นได้ การศึกษาหลักคือบาลีควรรีบศึกษาวางหลักสูตรใหม่และหากยังไม่สามารถทำอะไรได้เลยควรจัดทำพจนานุกรม3ภาษาไทย-บาลี-อังกฤษออกมาหลาย ๆ แบบและนำเข้าระบบค้นคว้าเร็วในคอมพิวเตอร์ แบบของ ส.เสถบุตร จะช่วยได้มากและจะเริ่มนำไปสู่แนวคิดการศึกษาบาลีแบบใหม่คือแบบธรรมชาติที่คนทุกเพศทุกวัยสามารถเรียนได้.

จะปฏิรูปการปกครองสงฆ์ไปทำไม ?

การปฏิรูประบบไตรสิกขา

( ตอนที่ 4 ต่อจากคราวที่แล้ว )

 

 

 

คำถาม     กรณี หากสังคมยังจะไม่อาจแก้ไขอะไรได้เลย เพราะสาเหตุใดก็ตาม หมู่สงฆ์อาจสามารถดำเนินการด้านการปฏิรูปการศึกษาก่อน โดยจัดการศึกษาให้เดินตามพระธรรมวินัย คือ การศึกษาตามหลัก ไตรสิกขา(มรรค 8)

ให้อธิบายขยายความหมายของการศึกษา ระบบไตรสิกขาต่อไป จากคราวที่แล้ว พอให้เกิดความเข้าใจสามารถจับหลักการสำคัญ ทั้งแนวปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธแห่งการศึกษาระบบนี้ได้ชัดเจน อนึ่ง หากจะพยายามสร้างขึ้นเป็นหลักสูตรสำหรับการศึกษาไตรสิกขาโดยเฉพาะ กล่าวคือมีจุดมุ่งหมายเพื่อการบรรลุมรรคผล ให้สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลระดับชั้นต่าง ๆ นับแต่ชั้น โสดาบันขึ้นไปจนถึงชั้นสูงสุดคือพระอรหันต์ จักอาจจัดสร้างเป็นหลักสูตรได้อย่างไร หลักสูตรระดับพระโสดาบัน ควรจะเป็นอย่างไร หลักสูตรระดับพระสกิทาคามีอย่างไร ฯลฯ

แล้วเราจะเชื่อได้อย่างไรว่าสิ่งที่บรรยายหรือเสนอมานี้ จักเชื่อถือได้ ไม่พาหลงทางคดโค้งไกลไปกว่าเดิมอีก หรือร้ายสุดเป็นมิจฉาทิฏฐิไป ?

 

 

 

คำตอบ

 

คำถามที่ว่า หากจะพยายามสร้างขึ้นเป็นหลักสูตรสำหรับการศึกษาไตรสิกขาโดยเฉพาะ กล่าวคือมีจุดมุ่งหมายเพื่อการบรรลุมรรคผล ให้สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลระดับชั้นต่าง ๆ นับแต่ชั้น โสดาบันขึ้นไปจนถึงชั้นสูงสุดคือพระอรหันต์ จักอาจจัดสร้างเป็นหลักสูตรได้อย่างไร หลักสูตรระดับพระโสดาบัน ควรจะเป็นอย่างไร หลักสูตรระดับพระสกิทาคามีอย่างไร ฯลฯ นับเป็นคำถามสำคัญ ซึ่งการที่จะกล่าวถึงประเด็นนี้ จำเป็นต้องมามองดูสถานการณ์พระพุทธศาสนาโดยกว้างขวางดูก่อน จะต้องเริ่มมาจากข้อสังเกตก่อนว่า ในระยะหลัง ๆ มาของสถานการณ์พุทธศาสนาในราชอาณาจักรไทยนี้ คำว่า "พระอริยบุคคล" นับตั้งแต่พระอริยบุคคล 4 มี พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และ พระอรหันต์ หรือหากจะจำแนกละเอียดลงไปอีกเป็น 8 บุรุษ ตามขั้นตอนของมรรค และ ผล ก็จะเป็น พระโสดาบันมรรค พระโสดาบันผล พระสกิทาคามิมรรค พระสกิทาคามิผล พระอนาคามิมรรค พระอนาคามิผล พระอรหันตมรรค พระอรหันตผล นั้น ได้หดหายไปจากสำนึกอันลึกซึ้งของสังคมไทยพุทธมาเป็นเวลานานมากแล้ว กล่าวคือ ไม่มีผู้ใดเชื่อว่าจะมีพระอริยบุคคล 4 หรือ 8 ในสังคมมนุษย์ พระอรหันต์ได้สิ้นสุดลงไปในโลกแล้ว แม้ในหมู่สงฆ์เอง โดยเฉพาะพระบ้าน หรือพระในเมือง หรือพระราชการสงฆ์เจ้าขุนมูลนายเอง ส่วนหนึ่ง ก็หาได้เชื่อได้เข้าใจไม่ว่า ทางมรรคผล นั้นมีจริงอยู่ โดยเห็นว่าเป็นเรื่องเพ้อฝัน ไม่ใช่กาลไม่ใช่สมัย มีได้แต่สมัยเก่าก่อนเท่านั้น หากหมู่สงฆ์พูดกันขึ้นถึงเรื่องราวอันสูงสุดนี้ เช่นพูดถึงเรื่องของพระผู้สำเร็จธรรมระดับชั้นต่าง ๆ ก็จะพากันเยาะหยันมิตั้งใจสดับรับฟังเสียก่อน โดยเริ่มมองไปว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เป็นเรื่องตลก น่าหัว โดยเฉพาะพระสงฆ์ที่อยู่ในระบบอำนาจที่มีตำแหน่งและสมณศักดิ์ใหญ่โตแต่หามรรคผลมิได้ จะมีความอิจฉาริษยาสูง ด้วยอัตตาโตใหญ่ตามไปกับตำแหน่งและยศศักดิ์นั้นด้วย จึงเป็นเหตุที่ปิดกั้นวิถีทางมรรคผลที่สำคัญมาก ต่อมาจึงได้เริ่มมีปรากฎการณ์ที่พิศูจน์ให้คนยุคใหม่กลับความคิดว่า การบรรลุธรรมสูงสุดมีเหตุมีผลที่จะเชื่อได้จริงว่าเป็นไปได้อยู่ เริ่มแต่พระอาจารย์สายธุดงค์กรรมฐานอีสาน หลายรูป โดยเฉพาะ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้ปลุกสำนึกอันสูงส่งนี้ให้เกิดขึ้นในหมู่สงฆ์ และในหมู่ประชาชนในภาคอีสานอันกว้างใหญ่ ตัวท่านเองก็เริ่มด้วยการเดินตามรอยองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยการหนีไปเสียจากระบบอำนาจในเมืองในกรุงไปสู่ป่า ไม่นานสายหลวงปู่มั่นก็แผ่ผายออกไป บังเกิดพระสงฆ์ผู้มีความพยายามในธุดงค์กรรมฐาน การประพฤติธรรมอันสุจริต มักน้อย ไม่อาลัยโลกธรรมเกิดขึ้น ตราบจนถึงยุคหลวงพ่อพระอาจารย์ชา สุภัทโท ที่ประสบความสำเร็จจนสามารถแผ่ผายไปยังต่างประเทศ มีชาวตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวอังกฤษที่มีความรู้ทางโลกดีผ่านการศึกษาระดับปริญญามาทั้งสิ้น ได้เข้ามาตั้งใจประพฤติธรรมอย่างเอาจริงเอาจังจนได้ประสบผลสำเร็จทางจิตวิญญาณ ตามแนวการสอนการฝึกธรรมปฏิบัติสายหลวงพ่อชาท่าน การพูดถึงเรื่องมรรคผลนิพพานก็เริ่มมีมากขึ้น ในหมู่พุทธบริษัทก็เริ่มที่จะกล้าพูดกล้าวิเคราะห์เรื่องพระอริยบุคคลทั้ง4 ทั้ง 8 ระดับนี้มากขึ้น ได้ค่อยบังเกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อความเป็นพระอรหันต์ และการบรรลุธรรมระดับต่าง ๆ มากขึ้น ในขณะเดียวกันนั้น ได้บังเกิดนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาขึ้นอีกท่านหนึ่งคือ ท่านพุทธทาสภิกขุ ท่านผู้นี้ได้มีประสบการณ์ชีวิตที่เหมาะเจาะ โดยได้มีโอกาสไปศึกษาในเมืองตามหลักสูตรพระเปรียญธรรม โดยที่เข้าใจแต่แรกว่า การศึกษาพระเปรียญธรรมนั้นจะสามารถบรรลุมรรคผลได้และเข้าใจว่าพระที่สำเร็จเปรียญธรรม9ประโยคหมายถึงผู้ที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ จึงมีพระอรหันต์อยู่มากมายในเมืองหลวง แต่ท่านกลับได้พบความจริงว่าแท้จริงแล้วมิได้เป็นเช่นนั้น กลับพบว่าระบบการศึกษาสงฆ์ได้เดินผิดทางอย่างมากมายกลายเป็นเพียงการศึกษาที่เจือด้วยยศศักดิ์ (คำของท่านเอง) คือศึกษาไปเพียงเพื่อได้มียศมีศักดิ์เหมือนอย่างโลก ๆตามระบบสงฆ์เจ้าขุนมูลนายเท่านั้นเอง เป็นระบบการศึกษาหมาหางด้วน (คำของท่านเอง) คือยิ่งศึกษาไปยิ่งทำมรรคผลให้หดหายไป เพราะเป็นการศึกษาที่เพิ่มอัตตา แทนที่จะทำลายอัตตา เมื่อท่านได้กลับสู่บ้านเกิดเมืองนอนและศึกษาตามแนวไตรสิกขา ในที่สงัดวิเวก จนได้รู้แจ้งเห็นจริงแล้ว จึงได้เริ่มงานการอธิบายและชำระความเชื่อต่อความเป็นพระอริยบุคคลโดยเฉพาะพระอรหันต์ที่สะอาดบริสุทธิ์แท้ตามพระธรรมวินัย ความตื่นความเข้าใจเรื่องพระอรหันต์ที่แท้จริงจึงเริ่มถูกปลุกสำนึกขึ้น ครั้งใหญ่ โดยที่เห็นว่า ความเป็นพระอรหันต์ บุคคลสูงสุดในพระพุทธศาสนานี้ สามารถเป็นได้ เข้าถึงความบรรลุจิตที่สะอาด สว่างสงบได้ในชาติปัจจุบันนี้ ไม่ใช่สำหรับตายไปแล้ว หรือสำหรับชาติหน้า ท่านพุทธทาสได้นำการอธิบายธรรมะมาสู่วิธีวิทยาศาสตร์ เป็นเหตุให้คนทั้งหลายในยุควิทยาศาสตร์เข้าใจความหมายที่แท้จริงของพระอรหันต์ดีขึ้น คติเดิมที่ว่า "ให้เหาะมาให้เห็นจึงจะเชื่อว่าเป็นพระอรหันต์" ก็ค่อยถูกลบล้างไป ให้เข้าใจโดยถูกต้องยิ่งขึ้น เป็นเหตุให้เชื่อว่า บุคคลระดับพระอรหันต์ยังมีอยู่ในสังคมมนุษย์ และวิธีการประพฤติธรรมให้บรรลุเป็นพระอรหันตบุคคลอันประเสริฐนั้นก็มีได้จริงอยู่ และยังมีอีกกรณีหนึ่งที่โด่งดังขึ้นจนสามารถปลุกความสนใจและความเชื่อเลื่อมใสศรัทธาต่อวิถีทางมรรคผลในพระพุทธศาสนาจนถึงขนาดที่คนจำนวนหนึ่งยอมสละอุทิศตนและทรัพย์สินทุกอย่างยอมสละทรัพย์และเผ่าพันธุ์เดิมมาร่วมหมู่ร่วมคณะเพื่อการประพฤติธรรมอย่างจริงจังกันตลอดชีวิตเพื่อหวังมรรคผลอันสูงสุดให้ได้ ได้แก่ กรณีโพธิรักษ์ และชุมชนสันติอโศก อันเนื่องมาจากท่านผู้นำหมู่กล้าสามารถพูดออกมาตรง ๆ ได้ว่าการบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี และพระอรหันต์นั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ และกล้าเอาตัวเองเป็นตัวอย่างของการบรรลุธรรม เอาประวัติและประสบการณ์ของตัวเองออกมาสอนคนทั้งหลาย กล้าเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับมรรคผลนิพพานออกมาอย่างตรงไปตรงมาเป็นรูปธรรม เช่นเขียนหนังสือ เดินตรงสู่ความเป็นพระอริยะ เป็นต้น แล้วยังอุทิศตนเองเป็นแบบอย่างเป็นวิถีทางที่นำประพฤติเป็นรูปธรรมตามไตรสิกขาจัดตั้งชุมชนเป็นสังคมอุดมการณ์ที่ประสบผลสำเร็จคือสังคมพระอริยบุคคลขึ้นเป็นรูปธรรมจนมีชื่อเสียงไปถึงต่างประเทศ ต่อมาก็มีกรณี นิกร ธมฺมวาที ยันตระ อมโร ภาวนาพุทโธ ธัมมชโย ฯลฯ ขึ้นมาทดสอบภูมิรู้ภูมิปัญญาของชาวพุทธต่อความเป็นพระอริยบุคคล ที่คนจำนวนไม่น้อยเชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ ด้วยเข้าใจผิดในสาระสำคัญของการบรรลุธรรม ซึ่งกรณีทั้งหลายดังกล่าวนี้มีผลดีในแง่ที่ได้ปลุกความสนใจของประชาชนทั้งหลายให้หันมามองมุมของธรรมะระดับสูงสุดคือระดับอรหัตผลมากขึ้น ผลงานในการแปรทัศนคติ หรือค่านิยมของสังคมต่อการบรรลุธรรมของคนสมัยใหม่ยุคใหม่ อันเป็นผลงานพระคุณอันเลิศประเสริฐของพระสาวกผู้ทรงคุณธรรมวิเศษที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่าเริ่มมาไม่นานนี่เอง หมายความว่าก่อนหน้านั้นไป แม้ในวงการสงฆ์ นักบวชพุทธนี้เอง ใครจะพูดเรื่องราวพระอรหันต์ขึ้นมาจะต้องถูกถลึงตาห้ามปราม หรือขัดขวางเยาะเย้ย และแม้ในปัจจุบันนี้ก็ยังมีหมู่สงฆ์บางพวกบางหมู่จำนวนหนึ่งในทุกระดับชนชั้นแห่งระบบสงฆ์ที่ยังไม่มีภูมิ ขาดความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ประเสริฐสูงสุดโดยถูกต้องของศาสนธรรมของเราเอง อย่างไรก็ตาม เมื่อจะต้องวางออกมาเป็นหลักสูตรเพื่อการบรรลุมรรคผล ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องเข้าใจกันโดยชัดเจนเป็นรูปธรรมว่า เป้าหมายสูงสุดของไตรสิกขาคือการบรรลุธรรมระดับสูงสุดคือ ระดับพระอรหันต์ และจะไม่มีคำว่า "เกินวิสัย" อีกต่อไป เพราะโดยตรรกะ หากเกินวิสัยแล้วศาสนาพุทธก็มีขึ้นไม่ได้ในโลก เพราะองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามิสอนสิ่งที่เกินวิสัยมนุษย์ ทรงมองที่สัจธรรมว่ามนุษย์เป็นเวไนยสัตว์ เป็นสัตว์ที่มีความคิดอ่านมีปรีชาญาณ ที่ฝึกได้ สอนได้ และตราบใดที่มีการฝึกจิตได้สำเร็จ ก็สามารถบรรลุความเป็นพระอรหันตบุคคลได้ ไม่แตกต่างจากคนยุคพุทธกาล ไตรสิกขา หมายถึงการศึกษาที่มีความหมายยิ่งใหญ่มากสำหรับคนทั้งหลาย เพราะเป็นการศึกษาเพื่อการเอาชนะความทุกข์อย่างนิรันดร เพื่อก้าวสู่ความเป็นพระอริยบุคคลอันประเสริฐ มีผลสำเร็จเป็นชั้น ๆ ไปตามลำดับ คือชั้นพระโสดาบัน ชั้นพระสกิทาคามี ชั้นพระอนาคามี และชั้นสูงสุดคือชั้นพระอรหันต์ และ แท้จริงแล้ว คนทั้งหลายมีโอกาสอันเลิศประเสริฐจริง ๆ แล้ว ตั้งแต่ได้มาพบพระพุทธศาสนา หากเชื่อมั่น มองเหตุและผลได้ว่าน่าจะเป็นไปได้จริง แล้วตั้งใจเรียน ฝึกฝนตนเองไปตามหลักสูตรไตรสิกขา ตั้งใจปฏิบัติตามคำแนะนำในหลักสูตรให้ได้จริง ๆ มีความทรหดอดทนความเสียสละและไม่ละความพยายามก็เพียงพอแล้ว อย่างน้อยก็พอให้ได้บรรลุธรรมขั้นต้นคือ เป็นพระโสดาบัน ก็ถึงชีวิตใหม่ ถึงความประเสริฐ พบความตื่นเต้นสูงสุดของชีวิต เนื่องเพราะได้มาพบสิ่งที่ดีที่สุดที่มีคุณค่าที่สุดของชีวิตเข้าแล้ว จนกระทั่งว่า สมบัติทั้งโลกนี้และโลกสวรรค์ไร้ความหมายไปจริง ๆ

       ฉะนั้นจึงควรคำนึงพระพุทธภาษิตว่า กิจฺโฉ มนุสฺสปฺปฏิลาโภ กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท (การได้อัตภาพเป็นมนุษย์เป็นการยาก การมีชีวิตอยู่ของสัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดาก็เป็นการยาก การได้ยินได้ฟังพระสัทธรรมก็ลำบาก การอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าก็ยากเย็น) แต่เมื่อบัดนี้เรามีพร้อมอยู่แล้วทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เหตุใดไม่ใช้ชีวิตตนให้เป็นประโยชน์

      และควรเข้าใจให้ดีว่า การปฏิบัติธรรมไตรสิกขา จะต้องตั้งความมุ่งหมายไว้ทันทีว่า มีปลายทางข้างหน้า คือความบรรลุอรหันตบุคคลได้ในชั่วชีวิตนี้ มิใช่สิ่งที่จะแอบหวังแอบตั้งความมุ่งหมาย แต่ต้องมุ่งมั่นโดยเปิดเผยว่าเราจะมุ่งสู่ความเป็นพระอริยบุคคลให้จงได้ในชีวิตนี้ เพราะเมื่อเราตั้งเป้าหมายไว้เช่นนี้ก็ย่อมมีความหมายอย่างเดียวกับความตั้งใจที่จะประพฤติความดีโดยตลอดไปนั่นเอง

      แล้ว การปฏิบัติ ก็เดินไปตามคำสอนของพระพุทธศาสนา และตาม ไตรสิกขา ที่ได้อธิบายมาแต่ต้นแล้ว ณ บัดนี้ เมื่อต้องการความสำเร็จจริง ๆ คำแนะนำก็คือ ขอให้กลับไปอ่านทบทวนไตรสิกขาตามที่ เขียนมาแต่ต้นให้เข้าใจเหตุผลในเชิงปฏิบัติจริง ๆ แล้วลงมือปฏิบัติตามที่แนะนำไว้ให้เป็นการสม่ำเสมอ ผลก็นำไปสู่การบรรลุธรรมได้

      โดยอาจจำแนกเป็นหมู่กลุ่มต่าง ๆ สถาบันต่าง ๆ เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หมู่สงฆ์ สามเณร เช่นหมู่กลุ่มงานเดียวกัน เช่นกลุ่มเลขานุการเจ้าคณะพระสังฆาธิการ เป็นต้น กลุ่มพระผู้ชราภาพ กลุ่มสามเณรบาลี กลุ่มสามเณรสามัญศึกษา เป็นต้น อุบาสก อุบาสิกา กลุ่มอาชีพ เช่นทหาร ตำรวจ ข้าราชการพลเรือน เป็นหมู่ ๆ ไป แล้วกำหนดขั้นงานการปฏิบัติเป็นขั้น ๆ เริ่มด้วยขั้นศีลและทาน โดยนัดหมายปฏิบัติอย่างเดียวกันเป็นหมู่ ๆ พร้อม ๆ กัน เช่นการตักบาตรพระยามเช้าตรู่ เวลามีงานมงคล หรืออวมงคลที่บ้านสมาชิกก็นัดหมู่ไปช่วยงาน ช่วยจัดแจงสถานที่ทำงานต่าง ๆ แล้วร่วมสวดมนต์ไหว้พระสมาทานศีล ชวนกันงดเครื่องดื่มและของมึนเมาต่าง ๆ นั่งสมาธิฟังพระสวดพระปริตร ร่วมทำบุญทำทาน ถวายเข้าของจตุปัจจัยแด่พระสงฆ์ ร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์ ต่อสาธารณะ โดยนัดหมายกัน และต่างตรงต่อการนัดหมาย ต่อไป ขั้นสมาธิ ก็นัดหมายกันสวดมนต์เย็น ที่วัดใดวัดหนึ่งหรือย้ายไปตามวัดต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ เข้าไปสวดมนต์ไหว้พระในพระวิหารแล้วฝึกนั่งสมาธิกันทุกเย็น ๆ กำหนดให้ได้เวลาหนึ่ง มีสมุดบันทึกความสามารถในการนั่งสมาธิว่าวันใดนั่งได้เท่าไร รวมยอดไปเรื่อย ๆ จนเป็นสถิติ แล้วไปปฏิบัติปัญญาสิกขา ซึ่งในขั้นปัญญาสิกขา การปฏิบัติ ถ้ายังอ่อนอยู่ ก็เริ่มมาตั้งแต่ขั้นศีล ถึงสมาธิ แล้วต่อด้วยปัญญาสิกขา เริ่มแต่ฝึกเดินจงกรมรอบ ๆ วิหาร สลับไปกับการนั่งสมาธิ ฝึกอาณาปานสติ ฝึกมหาสติปัฏฐานสี่ ในฐานของสมาธิ และนัดกันเดินทางไกลปฏิบัติธุดงควัตร เช่น รับอาหารเพียงมื้อเดียว นุ่งห่มเพียง ๑ ชุดตลอดเวลาที่ปฏิบัติธรรม เป็นต้น ไปจนถึง นอนในป่า ในป่าช้า เป็นต้น ให้การเดินทางไกล การเดินป่า เป็นบทสุดท้ายของหลักสูตร แล้วจบลงด้วยการรับฟังพระธรรมเทศนาจากพระอาจารย์ผู้ทรงคุณวิทยาสูง ก็อาจจะสำเร็จธรรม ะได้โดยง่าย ๆ นี่เป็นตัวอย่างสำหรับปฏิบัติกันเป็นหมู่ ๆ ไม่ใช่สิ่งที่ยากเย็นอะไร วันดีคืนดีก็สอบถามหาพรรคพวก นัดกันปฏิบัติธรรม ตามลักษณะที่กล่าวมานี้ จะกำหนดกี่วันกี่คืนก็ตามความเหมาะสม ตามชั้นภูมิที่ได้มา ถ้าเป็นสถาบัน เช่นมหาวิทยาลัย ก็สามารถจัดการหลักสูตรได้เช่นเดียวกัน โดยแบ่งเป็นระดับศ๊ล สมาธิ และ ปัญญา หลักสูตรก็กำหนดเอา ๙ วันบ้าง 15 วันบ้าง 1 เดือนบ้าง หรือ 3 เดือน 6 เดือน ก็แล้วแต่ความเหมาะสมแก่เวลาที่มีอยู่ ถ้ากำหนดได้แล้วก็ทำเป็นตารางการฝึกออกมาเหมือนการฝึกทหาร เช่นหลักสูตร 9 วัน ก็แบ่งเป็น ขั้นศีล 4 วัน สมาธิ 2 วัน ปัญญา 3 วัน ขั้นศีล-ทาน ก็ตั้งรักษาใจให้บริสุทธิ์อย่าให้ละเมิดศีลให้ได้ ขณะเดียวกัน ทำทานตลอดเวลา 3 วันโดยกำหนดทำทานต่าง ๆ โดยหลักก็ให้ได้ครบอามิสทาน อภัยทาน และธรรมทาน 3 วันนี้ต้องให้บริสุทธิ์ (ระดับศีลนี้ หมายความถึงบุญกิริยาวัตถุ 10 ด้วย ได้แก่ ทานมัย, สีลมัย, ภาวนามัย, อปจายนมัย, เวยยาวัจจมัย, ปัตติทานมัย, ปัตตานุโมทนามัย, ธัมมัสสวนมัย, ธัมมเทสนามัย และ ทิฏฐิชุกัมม์) ลองอ่านทบทวนจากหลักการที่ให้ไว้แล้ว ขั้นนี้อย่าเพิ่งไปปฏิบัติสมาธิ ถึงแม้ได้สัมผัสว่าสมาธิเริ่มตั้งเค้าในภาคภายในก็ตาม เอาอย่างเดียวให้ได้ให้อยู่ก่อน จนกว่าจะครบหลักสูตร แล้วอีก 2 วันต่อมาเป็นขั้นสมาธิ ขั้นนี้ก็ให้หมั่นสวดมนต์ภาวนา แล้วนั่งสมาธิ บริกรรมล้วน ๆ คือเป็นระยะที่จะได้ยินเสียงสวดและเสียงบริกรรมคาถาอย่างเดียว ไม่มีการเดินไปมาหรือเคลื่อนไหวพลุกพล่าน พอนั่งแล้วนิ่งเหมือนมีรากงอก ไม่กระดุกกระดิกไปตลอด 24 ชั่วโมง ฯลฯ เพิ่มความสามารถในเชิงสมาธิให้แก่กล้าขึ้นไปจนถึงขั้นทำใจให้นิ่งให้หยุดได้ สามารถนั่งนิ่งหยุดสงบได้นาน หลับตานิ่ง ๆ ไปได้นาน และรู้สึกสัมผัสกับความสงบได้เองด้วยตนเอง และสามารถสร้างภวังคจิตขึ้นได้ เอาให้ได้ระดับความนิ่งสงบของจิต แล้วไปต่อในขั้นปัญญาสิกขาอีก 3 วัน ให้หัดศึกษาอารมณ์กรรมฐานต่าง ๆ อารมณ์กรรมฐานต่าง ๆ หมายถึง การทำกรรมฐานต่าง ๆ 40 อย่างตามหลักกรรมฐาน 40 ในพระพุทธศาสนา ในที่นี้จะขอให้ฝึกหัดการเพ่งกสิณ 4 ชนิดคือ อาโปกสิณ เตโชกสิณ อากาสกสิณ และ อศุภกสิณ ทำอาณาปานสติภาวนา ทำมหาสติปัฎฐาน 4 ฟังเทศน์ของพระอริยบุคคล อ่านหนังสือของท่านพุทธทาสภิกขุประกอบเป็นครั้งคราว ทำอย่างไรขอให้ทบทวน ไตรสิกขา ที่กล่าวมาแล้ว จากนี้ก็ประเมินผลตัวเอง ใช้ความสังเกต สติ และปัญญาตนเองว่า ผลเป็นอย่างไร แล้วปรับปรุงหลักสูตรใหม่ให้เหมาะสมเฉพาะตนยิ่งขึ้น เช่น ต่อไป อาจจะขยายเวลาของภาคศีล-ทานออกไปอีกหน่อย เป็น 5 วันหรือ 7 วัน แล้วให้เวลาสำหรับสมาธิ เพียง 1-2 วัน และภาคปัญญาเป็น 1-2 วันเช่นกัน รวมเป็น 9 วันเหมือนเดิม การปรับเวลานี้ ขึ้นอยู่กับบุคคล ผู้ใดเคยผ่านงานมาผ่านการศึกษามามาก ควรให้ภาคศีลยาว สมาธิสั้น ปัญญา ยาว เด็ก ๆ ควรให้ภาคศีล- สมาธิ สั้น ปัญญาให้มาก

      ในระดับสถาบัน หรือเป็นกลุ่ม ก็สามารถประชุมวางแผนงานปฏิบัติธรรมได้ โดยกำหนดการอบรมเป็นหมู่ ในเวลาว่าง เริ่มจากภาคศีล 3 วัน ก็กำหนดกิจกรรมศีลให้บริสุทธิ์กายวาจาใจ ทาน มีใส่บาตรพระเวลาเช้า ถวายเพล บำเพ็ญกุศลสาธาณประโยชน์ โดยมุ่งทำงานทางลึก คือทำตัวเองให้ต่ำต้อย ด้อยราคา ไร้ค่า เหมือนพรมเช็ดเท้า เหมือนแผ่นดินที่รองรับทุกสิ่งทุกอย่าง ทำความสะอาดต่าง ๆ เช่นเช็ดถูทำความสะอาดส้วมสาธารณะ ถูโถส้วม ทำสิ่งที่คนไม่กล้าทำ หรือที่คนรังเกียจขยะแขยงให้ได้โดยจิตบริสุทธิ์ คือไม่บ่นด่าว่ากล่าว สถาบันต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา เช่นโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย ทั้งฝ่ายฆราวาสและฝ่ายสงฆ์ สามารถกำหนดกิจกรรมหลักสูตรการฝึกเองได้ ถ้าเป็นระดับมหาวิทยาลัย หรือระดับผู้ใหญ่ ควรให้จบลงด้วยการเดินทางไกล การถือธุดงค์บางข้อ และการอยู่ป่า-ป่าธรรมดาหรือป่าช้า และอาจสำเร็จมรรคผลขณะอยู่ป่า แล้วให้จบลงด้วยการฟังเทศน์จากผู้มีอริยผลจริง อาจสำเร็จธรรมขณะที่มีการฟังเทศน์นั่นเอง เพราะการเทศน์ท่านจะสรุปผลทั้งหมดและนำอารมณ์ไปสู่ฌานเป็นเหตุให้วิถีมรรคผลรวมตัวกันก่อเกิดอริยมรรคอริยผลได้

สำหรับหมูสงฆ์โดยเฉพาะ เมื่อเตรียมพื้นฐานศีล สมาธิ ปัญญาได้ระดับแล้ว กล่าวคือ อุปมาเหมือนศีลเป็นขั้นปริญญาตรี จบแล้วต่อสมาธิเป็นขั้นปริญญาโท แล้วต่อระดับปัญญาเป็นขั้นปริญญาเอก หลังปริญญาเอกต่อไปก็คือการเดินทางเข้าสู่อุทธยานพุทธเกษตร ณ ที่แห่งนั้นแหละเป็นมหาวิทยาลัยระดับสูงสุดของหลักสูตรมรรคผล หากไม่สำเร็จการศึกษาตราบใด ไม่ควรหวลกลับออกมาสู่โลกอีก

การกำหนดหลักสูตรเองอาจทำได้แน่นอน โดยเฉพาะปัจเจกบุคคล ส่วนของสถาบัน หรือหมู่กลุ่มก็สามารถทำเองได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ต้องใช้ความสังเกต สติ และ ปัญญาดำเนินไปตามหลักการที่ได้เขียนไว้แล้ว

ที่สำคัญ อย่าลืมว่าการปฏิบัติไตรสิกขาเป็นไปได้ในชีวิตประจำวันนี่เอง นักบวชและฆราวาส มีกิจตรงกันอย่างหนึ่งก็คือ กิจวัตร ของตน ๆ โดยนักบวชก็ปฏิบัติกิจวัตรของตน ฆราวาสก็ปฏิบัติกิจวัตรของตน นั่นคือ นักบวชปฏิบัติกิจของนักบวช หรือกิจของสงฆ์ ฆราวาสปฏิบัติกิจของฆราวาสซึ่งก็คือปฏิบัติสิ่งที่เป็นหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ในทุก ๆความรับผิดชอบ มีสภาวะของศีล สมาธิ และปัญญาที่ต้องเอาใจใส่ดูแลอยู่ในหน้าที่ของแต่ละคนนั่นเองเช่น หน้าที่ความเป็นพ่อ แม่ บุตร ธิดา ภริยา สามี นายจ้าง ลูกจ้าง ฯลฯ ให้ถูกต้องเป็นธรรม และมีประสิทธิผล ก็ชื่อว่าปฏิบัติธรรมอย่างดีแล้ว ควรทบทวนหลักการและแนวปฏิบัติที่ได้เรียบเรียงมาแล้วนี้ให้เข้าใจแจ่มแจ้งแล้วเชื่อว่าจะสามารถเดินทางได้ด้วยตนเอง สามารถศึกษาไตรสิกขาได้ด้วยตนเอง และบรรลุผลสำเร็จด้วยตนเอง จากคู่มือ ไตรสิกขา ที่เรียบเรียงสำเร็จลงแล้วนี้

ในท้ายที่สุด จะได้นำปัญหาธรรมชั้นสูงที่มีผู้ถามมาและเคยมีการวิสัชนาแล้วในหนังสือพิมพ์ดีมาลงเพื่อให้ทบทวนอีกครั้งหนึ่ง ดังต่อไปนี้

 

 




หนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 23

จดหมายถึงบรรณาธิการ จะทราบได้อย่างไรว่าผู้ใดมีภูมิธรรมอย่างไร ทราบพระอริยบุคคลระดับต่างๆ โสดาบัน ถึง อรหันต์อย่างไร
หน้าบอกสถานะของเรา ในเดือนเมษายน 2544
บทบรรณาธิการ:วาระรัฐบาลทักษิณ-ยอร์ชบุช,สว.ข่มขืนเด็ก ,อาฟกานิสถานถล่มพระพุทธรูปมรดกโลก,
สากลจักรวาลสากลศาสนา ตอนที่7
เฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว
ประวัติของผมตอนที่ 11



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
----- ***** ----- โปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate นี่คือเวบไซต์คู่ www.newworldbelieve.com กับ www.newworldbelieve.net เราให้เป็นเวบไซต์ที่เสนอธรรมะหรือ ความจริง หรือ ความคิดเห็นในเรื่องราวของชีวิต ตั้งใจให้ธัมมะเป็นทาน ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แด่คนทั้งหลาย ทั้งโลก ให้ได้รู้ความจริงของศาสนาต่าง ๆในโลกวันนี้ และได้รู้ศาสนาที่ประเสริฐเพียงศาสนาเดียวสำหรับโลกยุคใหม่ จักรวาลใหม่ เรามีผู้รู้ ผู้ตรัสรู้ ผู้วินิจฉัยสรรพธรรมสรรพวิชชา สรรพศาสน์ และสรรพศาสตร์ พอชี้ทางสู่โลกใหม่ ให้ความสุข ความสบายใจความมีชีวิตที่หลุดพ้นไปสู่โลกใหม่ เราได้อุทิศเนื้อที่ทั้งหมดเป็นเนื้อที่สำหรับธรรมะทั้งหมด ไม่มีการโฆษณาสินค้า มาแต่ต้น นับถึงวันนี้ร่วม 14 ปีแล้ว มาวันนี้ เราได้สร้างได้ทำเวบไซต์คู่นี้จนได้กลายเป็นแดนโลกแห่งความสว่างไสว เบิกบานใจ ไร้พิษภัย เป็นแดนประตูวิเศษ เปิดเข้าไปแล้ว เจริญดวงตาปัญญาละเอียดอ่อน เห็นแต่สิ่งที่น่าสบายใจ ที่ผสานความคิดจิตใจคนทั้งหลายด้วยไมตรีจิตมิตรภาพล้วน ๆ ไปสู่ความเป็นมิตรกันและกันล้วน ๆ วันนี้เวบไซต์นี้ ได้กลายเป็นโลกท่องเที่ยวอีกโลกหนึ่ง ที่กว้างใหญ่ไพศาล เข้าไปแล้วได้พบแต่สิ่งที่สบายใจมีความสุข ให้ความคิดสติปัญญา และได้พบเรื่องราวหลายหลากมากมาย ที่อาจจะท่องเที่ยวไปได้ตลอดชีวิต หรือท่านอาจจะอยากอยู่ณโลกนี้ไปชั่วนิรันดร ไม่กลับออกไปอีกก็ได้ เพียงแต่ท่านเข้าใจว่านี่เป็นแดนต้นเรื่องเป็นด่านข้ามจากแดนโลกเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง และซึ่งเป็นโลกหรือบ้านของท่านทั้งหลายได้เลยทีเดียว ซึ่งสำหรับคนต่างชาติ ต่างภาษาต่างศาสนา ได้โปรดใช้การแปลของ กูเกิล หรือ Google Translate แปลเป็นภาษาของท่านก่อน ที่เขาเพิ่งประสบความสำเร็จการแปลให้ได้แทบทุกภาษาในโลกมนุษย์นี้แล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้เอง นั้นแหละเท่ากับท่านจะเป็นที่ไหนของโลกก็ตาม ทั้งหมดโลกประมาณ 7.6 พันล้านคนวันนี้ สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในโลกของเราได้เลย เราไม่ได้นำท่านไปเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่การนำไปสู่ความจริง ความรู้เรื่องชีวิตใหม่ การอุบัติใหม่สู่ภาวะอริยบุคคล ไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปพ้นจากทุกข์ ทั้งหลายไปสู่โลกแห่งความสุขแท้นิรันดร คือโลกนิพพานขององค์บรมศาสดาพุทธศาสนา พระบรมครูพุทธะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ท่านโปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate ท่านก็จะเข้าสู่โลกนี้ได้ทันทีพร้อมกับคน7.6พันล้านคนทั้งโลกนี้. ----- ***** ----- • หมายเหตุ เอาขึ้นเวบไซต์ แทนของเดิม ทั้ง 2 เวบ .net .com วันที่ 21 เม.ย. 2565 เวลา 07.00 น. -----*****-----