ReadyPlanet.com
dot
dot dot
bulletBUDDHISM TO THE NEW WORLD ERA
bullet1 Thai-ไทย
bullet2.English-อังกฤษ
bullet3.China-จีน
bullet4.Hindi-อินเดีย
bullet5.Russia-รัสเซีย
bullet6.Arab-อาหรับ
bullet7.Indonesia-อินโดนีเซีย
bullet8.Japan-ญี่ปุ่น
bullet9.Italy-อิตาลี
bullet10.France-ฝรั่งเศส
bullet11.Germany-เยอรมัน
bullet12.Africa-อาฟริกา
bullet13.Azerbaijan-อาเซอร์ไบจัน
bullet14.Bosnian-บอสเนีย
bullet15.Cambodia-เขมร
bullet16.Finland-ฟินแลนด์
bullet17.Greek-กรีก
bullet18.Hebrew-ฮีบรู
bullet19.Hungary-ฮังการี
bullet20.Iceland-ไอซ์แลนด์
bullet21.Ireland-ไอร์แลนด์
bullet22.Java-ชวา
bullet23.Korea-เกาหลี
bullet24.Latin-ละติน
bullet25.Loa-ลาว
bullet26.Finland-ฟินแลนด์
bullet27.Malaysia-มาเลย์
bullet28.Mongolia-มองโกเลีย
bullet29.Nepal-เนปาล
bullet30.Norway-นอรเวย์
bullet31.persian-เปอร์เซีย
bullet32.โปแลนด์-Poland
bullet33.Portugal- โปตุเกตุ
bullet34.Romania-โรมาเนีย
bullet35.Serbian-เซอร์เบีย
bullet36.Spain-สเปน
bullet37.Srilanga-สิงหล,ศรีลังกา
bullet38.Sweden-สวีเดน
bullet39.Tamil-ทมิฬ
bullet40.Turkey-ตุรกี
bullet41.Ukrain-ยูเครน
bullet42.Uzbekistan-อุสเบกิสถาน
bullet43.Vietnam-เวียดนาม
bullet44.Mynma-พม่า
bullet45.Galicia กาลิเซียน
bullet46.Kazakh คาซัค
bullet47.Kurdish เคิร์ด
bullet48. Croatian โครเอเซีย
bullet49.Czech เช็ก
bullet50.Samoa ซามัว
bullet51.Nederlands ดัตช์
bullet52 Turkmen เติร์กเมน
bullet53.PunJabi ปัญจาบ
bullet54.Hmong ม้ง
bullet55.Macedonian มาซิโดเนีย
bullet56.Malagasy มาลากาซี
bullet57.Latvian ลัตเวีย
bullet58.Lithuanian ลิทัวเนีย
bullet59.Wales เวลล์
bullet60.Sloveniana สโลวัค
bullet61.Sindhi สินธี
bullet62.Estonia เอสโทเนีย
bullet63. Hawaiian ฮาวาย
bullet64.Philippines ฟิลิปปินส์
bullet65.Gongni-กงกนี
bullet66.Guarani-กวารานี
bullet67.Kanada-กันนาดา
bullet68.Gaelic Scots-เกลิกสกอต
bullet69.Crio-คริโอ
bullet70.Corsica-คอร์สิกา
bullet71.คาตาลัน
bullet72.Kinya Rwanda-คินยารวันดา
bullet73.Kirkish-คีร์กิช
bullet74.Gujarat-คุชราด
bullet75.Quesua-เคซัว
bullet76.Kurdish Kurmansi)-เคิร์ด(กุรมันซี)
bullet77.Kosa-โคซา
bullet78.Georgia-จอร์เจีย
bullet79.Chinese(Simplified)-จีน(ตัวย่อ)
bullet80.Chicheva-ชิเชวา
bullet81.Sona-โซนา
bullet82.Tsonga-ซองกา
bullet83.Cebuano-ซีบัวโน
bullet84.Shunda-ชุนดา
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet86.Sesotho-เซโซโท
bullet87.NorthernSaizotho-ไซโซโทเหนือ
bullet88.Somali-โซมาลี
bullet89.History-ประวัติศาสตร์
bullet90.Divehi-ดิเวฮิ
bullet91.Denmark-เดนมาร์ก
bullet92.Dogry-โดกรี
bullet93.Telugu-เตลูกู
bullet94.bis-ทวิ
bullet95.Tajik-ทาจิก
bullet96.Tatar-ทาทาร์
bullet97.Tigrinya-ทีกรินยา
bullet98.Check-เชค
bullet99.Mambara-มัมบารา
bullet100.Bulgaria-บัลแกเรีย
bullet101.Basque-บาสก์
bullet102.Bengal-เบงกอล
bullet103.Belarus-เบลารุส
bullet104.Pashto-พาชตู
bullet105.Fritian-ฟริเชียน
bullet106.Bhojpuri-โภชปุรี
bullet107.Manipur(Manifuri)-มณีปุระ(มณิฟูรี)
bullet108.Maltese-มัลทีส
bullet109.Marathi-มาราฐี
bullet110.Malayalum-มาลายาลัม
bullet111.Micho-มิโช
bullet112.Maori-เมารี
bullet113.Maithili-ไมถิลี
bullet114.Yidsdish-ยิดดิช
bullet115.Euroba-ยูโรบา
bullet116.Lingala-ลิงกาลา
bullet118.Slovenia-สโลวีเนีย
bullet119.Swahili-สวาฮิลี
bullet120.Sanskrit-สันสกฤต
bullet121.history107-history107
bullet122.Amharic-อัมฮาริก
bullet123.Assam-อัสสัม
bullet124.Armenia-อาร์เมเนีย
bullet125.Igbo-อิกโบ
bullet126.History115-ประวัติ 115
bullet127.history117-ประวัติ117
bullet128.Ilogano-อีโลกาโน
bullet129.Eve-อีเว
bullet130.Uighur-อุยกูร์
bullet131.Uradu-อูรดู
bullet132.Esperanto-เอสเปอแรนโต
bullet133.Albania-แอลเบเนีย
bullet134.Odia(Oriya)-โอเดีย(โอริยา)
bullet135.Oromo-โอโรโม
bullet136.Omara-โอมารา
bullet137.Huasha-ฮัวซา
bullet138.Haitian Creole-เฮติครีโอล
bulletคำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรแปล เช้า-เย็น
bulletChart Showing the Process
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี พ.ศ.2540 - 2566
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 1
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 2
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี บุคคลที่ 1 - 188 ปัจจุบัน
bulletหนังสือพิมพ์ดี
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 1
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 2
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 3
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 4
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 5
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 6
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 7
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 8
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 9
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 10
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 11
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 12
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 13
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 14
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 15
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 16
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 17
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 18
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 19
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 20
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 21
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 22
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 23
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 24
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 25
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 26
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 27
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 28
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 29
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 30
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 31
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 32
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 33
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 34
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 35
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 36
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 37
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 38
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 39
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 40
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 41
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 42
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 43
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 44
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 45
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 46
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 47
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 48
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 49
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 50
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 51
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 52
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 54
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 55
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 56
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 57
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 58
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 59
bulletTo The World
bulletENGLISH
bulletUSA
bulletChina
bulletIndia
bullet Mynmar
bullet Cambodia
bullet Loas
bulletSri Lanka
bulletMalaysia
bulletKorea
bulletA Sharp Turn of Believes : Iresearch Iwrite Iread
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 1
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 2
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 3
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 4
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 5
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 6
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 7
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 8
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 9
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 10
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 11
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 12
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 13
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 14
bulletMystery Report 15
bulletMystery Report 16
bulletMystery Report 17
bulletMystery Report 18
bulletMystery Report 19
bulletMystery Report 20
bulletMystery Report 21
bulletMystery Report 22
bulletMystery Report 23
bulletMystery Report 24
bulletMystery World Report 25
bulletศึกษาโลกลี้ลับ 26
bulletเฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว วิเคราะห์ทุกปัญหาในโลกมนุษย์ด้วยสติปัญญาและเหตุผลวิทยาศาสตร์จากนสพ.ดี
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2536
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2537
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2538
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2539
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2540
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2541
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2542
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2543-2545
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2545-2549
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2549-2550
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2550-ส.ค.2551
bulletเฝ้าดูฯ ส.ค.-ก.ย.2551
bulletเฝ้าดูฯ ก.ย.2551- ธ.ค. 2551
bulletเฝ้าดูฯสำนวนพัชรา กอปรทศธรรม
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 16-27
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 29
bulletบทความใหม่ เม.ย.-พ.ค.2552
bulletพุทธธรรมเพื่อทางดับทุกข์
bulletทฤษฎีการดับทุกข์ทางจิต วิปัสสนากรรมฐานโดยการทำงาน(สำนวนปรับปรุงใหม่)
bulletประวัติพัชรา กอปรทศธรรม
bulletประวัติการต่อสู้เพื่อการดับทุกข์ ของพัชรา กอปรทศธรรม
bulletอัลบั้มรูป history
bulletนิทานธรรมะประยุกต์ มานุสสาสุระสงคราม 4 ภาค และอื่น ๆ
bulletอัลบั้มรูป ภาพในอดีตและชีวประวัติศาสตร์ที่สวยงาม
bulletจากเวบบอร์ด พูดกันไม่รู้เรื่อง ประชาธิปไตยล้าหลัง
bulletศาสนาสากล การวิเคราะห์ความหมาย
bulletปลอบใจ
dot
รวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์ แนวปฏิรูปคณะสงฆ์อยู่ในบทวิเคราะห์นี้แล้ว
dot
bulletรวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์
dot
สากลจักรวาล สากลศาสนา แนวคิดศาสนาสำหรับคนยุคใหม่ ผู้ก้าวผิดทางไปสู่สิ่งไร้สาระโดยไม่รู้ตัว
dot
bulletสากล...ศาสนา 1
bulletสากล...ศาสนา 2
bulletสากล...ศาสนา 3
bulletสากล...ศาสนา 4
bulletสากล...ศาสนา 5
bulletสากล...ศาสนา 6
bulletสากล...ศาสนา 7
bulletสากล...ศาสนา 9
bulletสากล...ศาสนา 8
bulletสากล...ศาสนา 10
bulletสากล...ศาสนา 11
bulletสากล...ศาสนา 12
bulletสากล...ศาสนา 13
bulletสากล...ศาสนา 14
bulletสากล...ศาสนา 16
dot
ส่วนข้อมูลสำคัญเพื่อการวิจัยการเมืองไทยยุค คมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
dot
bulletข้อมูลสำคัญยุคคมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่1/26ส.ค.2551
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่2/27ส.ค.2551
bulletใบปลิว อีเมล์ ในหลวงทรงร้องไห้
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 1
bulletในหลวงเพิ่งทราบข่าวฆ่าประชาชน10เมย.53ทรงร้องไห้
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
dot
รวมข่าวม็อบการเมืองสนธิ-จำลอง-ปชป.มิ.ย.51-เม.ย.52 นสพ.
dot
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 2
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 3
bulletรวมข่าวม็อบ30มิ.ย.51-23มี.ค.52
bulletเลือดศรีสะเกษบันทึกเรื่องราวรอบด้านเกี่ยวกับเขาพระวิหาร
bulletรายงานการโฆษณาชวนเชื่อในประเทศไทยที่ล้มล้างรัฐบาลทักษิณ
bulletหนังสือพิมพ์ดี ของฟรีให้เปล่ามา20ปีแล้วทั้งเอกสารและอินเทอเนท
bulletหนังสือพิมพ์ดี ( อินเทอเนต ) เล่ม 1 - 44 - ล่าสุด
bulletหน้าที่เก็บไว้
bulletมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร)
bulletวัดมหาพุทธาราม ศรีสะเกษ บันทึกเหตุการณ์
bulletสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดศรีสะเกษแห่งที่ 1
bulletเกี่ยวกับเวบไซต์ของเรา เราทำเพื่อปัญญาชนโดยแท้
bulletรวมกระทู้เด็ดจากกระดานถามตอบ
bulletคาถาอาคมไสยศาสตร์
bulletกวีนิพนธ์ใหม่
bulletศูนย์ปฏิญญาณละเลิกอบายมุข บัญชีที่ 1- 4


ประชาธิปไตยสงฆ์ จะปฏิรูปอย่างไร?

 

 

{คอลัมน์ประชาธิปไตยสงฆ์}

จะปฏิรูปการปกครองสงฆ์ไปทำไม ?

 

 

ปัญหา : สมณศักดิ์มีมานานตั้งแต่สืบความประวัติศาสตร์ชาติไทยได้ เห็นจากศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ว่า พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาตำแหน่งสังฆราชขึ้นโดยมีพระประสงค์จะยกย่องผู้นำฝ่ายสงฆ์ขึ้นให้มียศศักดิ์ และในขณะเดียวกันเพื่อดูแลการปกครองคณะสงฆ์ จึงเป็นข้าราชการสงฆ์ขึ้นแต่สมัยนั้นแล้ว อันเป็นตำแหน่งผู้นำหรือหัวหน้าทางฝ่ายสงฆ์คู่กับฝ่ายบ้านเมือง เรียกว่า สังฆนายก

ต่อมาก็ทรงตั้งสังฆราชขึ้นตามหัวเมืองประเทศราช จนปรากฎในทำเนียบชั้นหลังยังเรียกเจ้าเมืองว่าพระสังฆราชอยู่หลายเมือง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพิ่งทรงเปลี่ยนเป็น สังฆปาโมกข์ ในสมัยพระองค์ท่านรัชกาลที่ 4 นี่เอง แต่ตำแหน่ง สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกนี้ ยังคงที่อยู่ เพราะเป็นตำแหน่งที่มีความจำเป็นทางการปกครองคณะสงฆ์

ปัจจุบันนี้เรามีสมณศักดิ์หลายชั้นยศ ตามที่ นสพ.ดี เสนอวิเคราะห์มาตามลำดับแล้วนั้น ปัญหาก็คือ เราจะอาจสละทิ้งสมณศักดิ์ได้อย่างไรจึงจะไม่เกิดการระส่ำระสายทางการปกครองคณะสงฆ์ เพราะระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ก็ดูเป็นปึกแผ่นดีอยู่แล้วเป็นโครงสร้างที่มีระเบียบเรียบร้อย แต่ละระดับชั้นก็รับกันลงมาอย่างเป็นหลักเป็นฐาน และมีการประสานงานกันอย่างราบรื่นด้วยดีอยู่แล้ว จะไปแก้ไขเป็นอย่างอื่นก็ดูเสี่ยงและไม่มีหลักประกันได้ว่าแก้ไปเป็นอย่างอื่นแล้วคณะสงฆ์เราจะไม่แตกกระจัดกระจายกันไปกว่าเดิมอีก เราจะมองอย่างไรจึงจักได้ความมั่นใจขึ้นมา? และหากเราจักปรับปรุงพัฒนาไปตามฐานเดิมที่เรามีอยู่

น่าจะมั่นใจได้กว่าการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงเป็นระบบใหม่ที่เราไม่คุ้นเคยหรือ?

 

 

 

แผนภูมิโครงสร้างการปกครองคณะสงฆ์ปัจจุบัน

สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก -ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม

กรรมการมหาเถรสมาคม

หน(เจ้าคณะใหญ่)

ภาค(เจ้าคณะภาค)

จังหวัด(เจ้าคณะจังหวัด)

อำเภอ(เจ้าคณะอำเภอ)

ตำบล(เจ้าคณะตำบล)

วัด(เจ้าอาวาส)

 

 

หมายเหตุ ในโครงสร้างนี้ยังมีระบบสมณศักดิ์เข้าไปกำกับอยู่อีกถึง 11 ชั้นยศ จึงเป็นโครงสร้างที่แบ่งชนชั้นในหมู่สงฆ์ขึ้นอย่างสมบูรณ์ยิ่งกว่าในระบบเจ้าขุนมูลนายเดิมเสียอีก แต่บัดนี้ฝ่ายบ้านเมืองได้เลิกระบบเจ้าขุนมูลนายไปแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2475 คงเหลืออยู่แต่ส่วนของระบบสงฆ์ ระบบสงฆ์จึงเป็นตัวปัญหาของระบอบประชาธิปไตยไทยอยู่อย่างอึ่งเงียบกริบ

 

แผนภูมิสภาสงฆ์ ๑

 

คำอธิบาย :

๑.    วงกลมเล็ก คือสภาสงฆ์ระดับชาติ

๒.    วงกลมกลาง คือสภาสงฆ์ระดับจังหวัด ซึ่งครอบสภาสงฆ์ระดับชาติด้วย

๓.   วงกลมใหญ่ คือสภาสงฆ์ระดับตำบลซึ่งครอบสภาสงฆ์ระดับจังหวัดและระดับชาติด้วย

แผนภูมินี้แสดงความเสมอภาคด้วยหลักภราดรภาพ ไม่แสดงสายการบังคับบัญชา เพราะไม่มี การบังคับบัญชา แต่แสดงความกลมกลืนด้วยภูมิปัญญา แสดงพื้นฐานสำคัญว่า การวินิจฉัยสั่งการใดใดอยู่ที่สภาสงฆ์ระดับตำบล การวินิจฉัยปัญหาทางพระธรรมวินัยทั้งสิ้นจะอยู่ที่สภาสงฆ์ระดับตำบล ทั้งนี้จึงสอดคล้องความจริงที่ว่าสงฆ์เสมอกันด้วยศีลสามัญญตา และด้วยทิฏฐิสามัญญตา ที่ให้ความชอบธรรมแด่สภาสงฆ์ทุกระดับสามารถตัดสินโดยพระธรรมวินัยได้เลย ทั้งนี้ด้วยภูมิปัญญา-คุณธรรมล้วน.

 

 

 

 

ตอบ     โปรดดูแผนภูมิโครงสร้างการปกครองคณะสงฆ์ปัจจุบัน และ แผนภูมิสภาสงฆ์ ประกอบกัน อันเป็นทั้งของเก่าและของที่เสนอใหม่

มีข้อควรพิจารณาดังต่อไปนี้

 

 

     ๑. การปกครองสงฆ์ยุคปัจจุบันนี้ ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ พระราชบัญญัติฉบับแรกคือ พระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ รศ.121 (พ.ศ. 2446) พระราชบัญญํติการปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 พระราชบัญญํติการปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 และพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ฉบับที่ 2 พ.ศ.2535 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน สิ่งที่จะต้องสังเกตและทำความเข้าใจให้ถูกต้องก็คือ พระราชบัญญัติเหล่านี้ แต่ละฉบับมิได้ยืนอยู่บนหลักการของพระธรรมวินัย มิได้มีหลักการอันเป็นของหมู่สงฆ์เองตามธรรมตามวินัยแห่งพระพุทธศาสนาเลย แต่ล้วนมีหลักการที่ขัดแย้งพระธรรมวินัย ที่ขัดต่อ “เจตนารมณ์แห่งพระพุทธศาสนา” หากแต่เลียนลอกแบบการปกครองตามระบบอำนาจฝ่ายบ้านเมืองฝ่ายโลกไปอย่างเต็มตัว ระบบเช่นจึงกลับปิดกั้นวิถีแห่งธรรมะ เพราะไม่จัดการให้ถูกกับธรรมชาติแห่งการที่จะเลื่อน-ไหลเจริญเติบโตไปแบบธรรมะ ปัจจุบันระบบสงฆ์จึงถูกกำหนดให้มีชนชั้น ให้เกิดชนชั้นขึ้นในหมู่ของพระสงฆ์ผู้ที่ไม่ประสงค์ความมีชนชั้นเลย เพราะโดยธรรมโดยวินัย โดยระบบกากรปกครองแต่เดิม ในหมู่พระสงฆ์มีแต่ความเสมอภาคกันโดยเอาแบบความประพฤติระหว่างกันฉันพี่น้อง คือภราดรภาพ เป็นหลักการปกครองของหมู่สงฆ์ ฉะนั้นเมื่อกฎหมายกำหนดให้มีสายการบังคับบัญชา มีขั้นวิ่งแห่งตำแหน่งและขั้นวิ่งแห่งสมณศักดิสงฆ์อย่างมากมายหลายขั้นวิ่ง จึงส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในวิถีทางแห่งสงฆ์โดยตลอดมานับแต่ใช้ระบบกฎหมายนี้ อันเป็นระบบการปกครองโดยอำนาจแบบโลก ๆ เนื่องจากเป็นระบบที่ฝืนธรรมชาติอุปนิสัยของสงฆ์ที่เดินไปโดยคุณธรรม และแท้ที่จริง การกำหนดตำแหน่ง แห่งอำนาจและ สมณศักดิ์ที่ไปประกอบทุกตำแหน่ง ที่เพิ่มสง่าราศี เพิ่มความใหญ่ยิ่งแห่งอำนาจที่ชวนลุ่มหลง ก็กลับกลายเป็นเหยื่อที่หอมกรุ่น และสงฆ์ที่มีอินทรีธรรมยังไม่แก่กล้า ปัญญาธรรมไม่พอเข้าถึงมรรคผลนิพพาน ก็เริ่มหันเห และแล้วในที่สุดก็กรูเกรียวกันเข้าโฉบคาบงับ เหยื่อนั้นเข้าอย่างเต็มที่ ภาพที่เห็นทุกวันนี้จึงเป็นภาพสงฆ์ที่ต่างเข้าครอบครอง ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่เป็นของผู้อื่น อันมิใช่ของ ๆ ตนเอง ที่ล้วนแต่เป็นของหลอก ๆ ของที่มิใช่สมบัติอันระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระประสงค์ให้แสวงหาเอามาครอบครอง สงฆ์ทั้งหลายจึงหลงทาง ใช้ชีวิตให้หมดไปกับการแสวงหาสิ่งที่ลวงหลอก คือทั้งชีวิตก็อุทิศเพื่อให้ตนได้ยศศักดิ์ตำแหน่ง แล้วพากเพียรต่อไปเพียงเพื่อก้าวขึ้นไปตามระบบชนชั้น ระบบยศพระ ระบบตำแหน่งแห่งอำนาจ ให้ได้ยศศักดิ์ตำแหน่งเพิ่มขึ้น ๆ จึงเป็นการกำหนดการให้สงฆ์เดินไปในวิถีทางฆราวาสปุถุชนธรรมดา ๆ นั่นเอง เป็นเพียงระบบข้าราชการแบบหนึ่ง (ซึ่งเป็นแบบเก่าดั้งเดิมสุด ที่เรียกกันติดปากว่า ระบบเจ้าขุนมูลนาย นั่นเอง) แล้วระบบก็กำหนดวิถีทางผลักดันพฤติกรรมไปแบบโลก ๆ ที่ต้องเพียรพยายามเพื่อเลื่อนเกรดเลื่อนซี เลื่อนยศของตนไปจนตลอดชีวิต ตามที่กฎหมายรับรองหยิบยื่นให้อย่างเต็มที่ โดยที่ไม่เฉลียวใจคิดสักนิดเลยว่า การสร้างระบบชนิดนี้ เท่ากับการก่อสังฆเภท(ความแตกแยกแห่งสงฆ์) ขึ้นในหมู่สงฆ์เพราะทำให้สงฆ์แตกออกเป็น 2 หมู่ ๆ หนึ่งแสวงหาอำนาจคือตำแหน่งทางการปกครองไปตามลำดับ ๆ และไปตามทางแห่งตำแหน่งและสมณศักดิ์สงฆ์ อีกหมู่หนึ่ง อันเป็นสงฆ์หมู่ดั้งเดิมที่เดินตามทางพระธรรมวินัย มุ่งหมายมรรคผลเป็นเบื้องหน้า หวังสำเร็จโดยวิถีแห่งพุทธธรรมแท้ ที่เมินเสียซึ่งตำแหน่งและสมณศักดิ์เหล่านี้ และไม่ยินดีในวิถีทางสงฆ์แบบเจ้าขุนมูลนายนี้ แล้วต่างฝ่ายต่างเดินไป ทำให้เกิดพฤติกรรมในทางที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกันเอง แต่ฝ่ายที่เดินไปโดยชอบด้วยพระธรรมวินัยนานไปก็เหน็ดเหนื่อย เพราะถูกต้านทาน และไร้ผู้อุปการะสนับสนุน (เพราะรัฐบาลและระบบราชการทั้งสิ้นต่างมองไปที่คณะสงฆ์ หรือสงฆ์ที่มีตำแหน่ง ที่มีสมณศํกดิ์ตามกฎหมายกำหนดทั้งสิ้น และทอดตัวลงรับใช้หมู่สงฆ์มีตำแหน่งมีสมณศักดิ์เหล่านั้น ซึ่งต่างก็ถ้อยทีถ้อยอาศัยได้ผลประโยชน์อันเป็นโลกธรรม ๆ คือลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ร่วมกัน) และทั้งต้องถูกขนาบโดยพระสงฆ์ผู้มีตำแหน่ง-สมณศักดิ์ โดยชนชั้นซึ่งกฎหมายให้อำนาจทางการปกครอง โดยไม่มองเหตุผลทางด้านอริยสัจธรรมแท้ ไม่เห็นความสำคัญ ไม่มีความสรรเสริญที่จักให้แด่ความมีระดับแห่งภูมิธรรมภูมิปัญญา สงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเหล่านี้จึงกลับถูกกำหนดฐานะให้เป็นชนชั้นต่ำสุด อย่างไม่ชอบด้วยธรรมด้วยวินัย โดยให้อยู่ในฐานะของผู้ถูกปกครอง กลายเป็นชนชั้นผู้ถูกปกครองไปโดยอัตโนมัติ (พระผู้ปกครองเอาตำแหน่งและสมณศักดิ์เป็นตัวกำหนดความสำคัญ เมื่อไม่มีฐานะตำแหน่งและสมณศักดิ์ แม้โดยเจตนาสละ ไม่กังวลก็ตาม ก็ไร้ความสำคัญ ตกต่ำ) แม้โดยที่แท้จริงแห่งสัจธรรม พระผู้สละโลกธรรม หรือสละโลกียวิสัย (สละลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ไม่ยินดีในตำแหน่งและสมณศํกดิ์สงฆ์ เป็นพระผู้ยากจน มักน้อย สันโดษ)แล้วนั้นแหละคือพระผู้สูงสุด ควรเป็นราชาแห่งหมู่สงฆ์ หากแต่กลับกลายเป็นชนชั้นที่อยู่ต่ำสุดในหมู่สงฆ์ยุคนี้ โดยระบบกฎหมาย ที่กำหนดเส้นทางให้เดินไปในทางที่ผิดไปจากคลองธรรม ทำให้การประพฤติตามธรรมตามวินัยของสงฆ์ที่ควรเป็นไปตามหลักธรรมชาติแห่งมรรคผลนิพพาน ถูกปิดกั้นบ่อนทำลายเสียด้วยกฎหมายบ้านเมือง ด้วยผู้ปกครองที่มีอำนาจตามกฎหมาย เสียเอง การเจริญเติบโตในหมู่สงฆ์ที่เป็นพุทธสาวกแท้ ผู้มุ่งเดินไปตามทางพระธรรมวินัย ที่สละไม่เกี่ยวข้องตำแหน่งและสมณศักดิ์ อันหมายถึงการเจริญแห่งพระพุทธศาสนาที่แท้จึงค่อยๆ เสื่อมลง ๆ ไป และการพระพุทธศาสนาทั้งสิ้นในรูปรวมก็ค่อยลดคุณค่าลงไป มิได้คงความหมายที่เป็นอริยสัจธรรมเอาไว้ให้เด่นชัดแล้ว

 

 

     ๒. ระบบสงฆ์ทุกวันนี้มีผู้บังคับบัญชา(หรือเจ้านาย)อยู่ถึง 8 ระดับที่มีสมณศักดิ์สงฆ์กำกับถึง 11 ชั้น เป็นการให้อำนาจทางการบังคับบัญชาโดยไม่สอดคล้องกับภูมิปัญญาของสงฆ์ ไม่ถูกกับทิศทางแห่งการพัฒนาภูมิรู้ภูมิปัญญาของสงฆ์ เพราะภูมิรู้ภูมิปัญญาอันหมายถึงมรรคผล ไม่ใช่สิ่งที่เกิดได้ด้วยอำนาจหรือศักดินา แต่เกิดด้วยระบบจิตใจที่พัฒนาไปถูกทาง เพราะมรรคผลย่อมสามารถเกิดขึ้นได้จากบุคคลใดใด ทุกคน หากพัฒนาการทางจิตหรือการศึกษาของสงฆ์เป็นไปอย่างสอดคล้องมรรคผล และโดยแท้จริง โดยอริยสัจธรรมแห่งมรรคผล พระอรหันต์มิอาจเกิดขึ้นได้ในระบบอำนาจ ระบบยศศักดิ์ บนกองแห่งทรัพย์สมบัติ บนความสะดวกร่ำรวย ท่ามกลางคนที่แวดล้อมป้อยอสรรเสริญด้วยประการต่าง ๆฯลฯ (มิฉะนั้นเจ้าชายสิทธัตถะก็คงจะสามารถตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่บนที่นอนอันอ่อนนุ่ม เคียงข้างด้วยพระนางยโสธราพิมพา และเหล่านางสนมนับร้อย ๆ ที่แวดล้อม ในฐานะมกุฎราชกุมารพระองค์หนึ่งแห่งชมพูทวีปได้) ในสายการบังคับบัญชาเช่นนี้ มีแต่ต้องสละอำนาจ หรือโลกธรรมเสียก่อนทั้งสิ้น จึงจะสู่การบรรลุธรรมขั้นสูงสุดได้

 

 

     3. ระบบที่เป็นเพียงระบบอย่างโลก ๆ คือระบบตำแหน่ง เมื่อเอาระบบสมณศักดิ์ไปกำกับเข้าอีกแล้ว ก็เลยกลายเป็นระบบโลกอย่างเต็มที่ ที่ตรงกับระบบศักดินาสมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั่นเอง แต่ระบบเช่นนั้นชาวไทยเชื่อว่าถูกทำลายไปหมดสิ้นแล้ว แต่หารู้ไม่ว่า ระบบศักดินาอันสมบูรณ์ที่สุด ที่พร้อมด้วยตำแหน่ง และยศศักดิ์ กลับถูกอนุรักษ์ไว้อย่างอุดมสมบูรณ์ในหมู่สงฆ์ และเป็นตัวยึดตรึงระบบวัฒนธรรมเจ้าขุนมูลนายในสังคมไทยทั้งสิ้นไว้อย่างเหนียวแน่น และซึ่งถูกมองข้ามเลยไปจากสายตาที่มุ่งหมายจัดการให้ระบอบประชาธิปไตยไทยก้าวหน้าไปอย่างเร็วรุดและเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ เพราะสายตานั้นมองไม่เข้าใจว่า นี่คือระบบสังคมชนชั้นในหมู่สงฆ์ ระบบเจ้าขุนมูลนายที่สมบูรณ์ของยุคก่อน ที่ถูกอนุรักษ์เอาไว้อย่างเงียบกริบ ในยุคใหม่ อยู่อย่างผิดยุคมาได้อย่างไม่น่าเป็นไป เพราะถูกห้อมล้อม เป็นแก่นกลางศักดินาสงฆ์อันสมบูรณ์ท่ามกลางระบบประชาธิปไตยฝ่ายบ้านเมืองฆราวาส จึงส่งผลเสียหายทั้งทางธรรมวินัยแห่งพระพุทธศาสนาแก่นแท้ และเสียหายต่อระบอบฝ่ายบ้านเมืองฆราวาส ที่ต้องการวัฒนธรรมอันสนับสนุนวิถีทางแห่งประชาธิปไตยของชนในชาติ ทางธรรม ระบบนี้ปิดกั้นมรรคผลนิพพานอย่างแน่นทึบ นั่นก็คือปิดกั้นวิถีทางแห่งพระพุทธศาสนาที่เป็นปฏิเวธธรรมบริสุทธิ์ทั้งหมด เพราะมิได้มีสาระการปกครองของระบอบนี้ส่วนใดที่เอื้อแด่เป้าหมายอันแท้จริงแห่งพระพุทธศาสนาเลย เป็นระบบที่ผลักดันคนให้เดินไปบนวิถีการแก่งแย่งแข่งขันเพื่อประโยชน์ส่วนตัวล้วน ๆ ชีวิตของพระสงฆ์รูปหนึ่งจึงมีเป้าหมายอยู่เพียงการได้ตำแหน่งและการได้ยศสงฆ์ หรือสมณศักดิ์ จะวางแผนกิจการงานอะไรก็เพื่อได้สำเร็จทางการเลื่อนชั้นตำแหน่งและสมณศักดิ์ของตนให้ก้าวสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ตราบสู่จุดสูงสุด เท่านั้น อันนี้เรากล่าวโทษระบบ มิได้กล่าวโทษบุคคล (ลองทบทวนสิ่งที่ นสพ.ดีวิเคราะห์มาตั้งแต่ฉบับแรก ๆ ก็จะเข้าใจชัดเจนขึ้น)

 

 

     4. เป็นระบบที่มีความมั่นคง แต่ความมั่นคงนั้นเป็นแบบราชการงานเมืองฝ่ายโลกแต่แม้กระนั้นก็ยังขัดกันกับทางปฏิบัติ เช่นระดับนโยบาย คือมหาเถรสมาคม โดยข้อกำหนดของกฎหมาย กลับกลายเป็นว่า เต็มไปด้วยพระผู้ชราภาพ ที่ไม่มีกำลังวังชาทางกายทางจิตจะทำงานเสียแล้ว ภูมิปัญญาก็อ่อนล้าลง หากแต่ความรับผิดชอบของมหเถรสมาคมนั้นเป็นระดับที่มีความสำคัญยิ่งต่อความอยู่รอดของพระพุทธศาสนา เพราะเป็นระดับที่ต้องประสานงานทั้งสิ้นที่มุ่งสู่ผลประโยชน์ของส่วนรวม คือผลประโยชน์ของพระพุทธศาสนา ของชาติ และของประชาชนพลเมือง ต้องประสานงานให้องค์กรหรือสำนักต่าง ๆ ในปกครอง หรือการคณะสงฆ์ทั้งหมดให้ดำเนินกิจการไปอย่างมีทิศทางอันชอบ และถูกกาละเทศะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มหาเถรสมาคมต้องมองภัยแห่งพระพุทธศาสนาในรูปรวมให้แจ่มแจ้งทั้งภัยจากภายนอกและภายใน เห็นแล้วต้องรีบแก้ไขเอาใจใส่โดยรวดเร็ว ทั้งนี้ด้วยการแก้ปัญหาด้วยภูมิปัญญา เราคาดหวังไว้เช่นนั้นอันถูกทั้งวิสัยโลกและวิสัยธรรม แต่ในทางปฏิบัติหาอาจเป็นเช่นนั้นได้ไม่ เพราะมหาเถรสมาคมโดยการกำหนดของระบบ ก็คือสภาผู้ชราภาพมาก ๆกลุ่มหนึ่ง เท่านั้นเอง เพราะกฎหมายกำหนดให้ระดับสมณศักดิ์ชั้น สมเด็จ เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม แต่กว่าจะเจริญยศศักดิ์มาตามขั้นวิ่งแห่งสมณศักดิ์ จนมาถึงขั้นสมเด็จก็กินเวลานานเกือบทั้งชีวิตแล้ว และกฎหมายก็กำหนดใท่านผู้ชราภาพเหล่านี้เองไปเป็นรัฐบาลสงฆ์ ทั้ง ๆ ที่โดยแท้จริงต้องให้เกษียณอายุไปพักผ่อนและเตรียมตัวตายได้แล้ว นี่กล่าวสำหรับระบบที่เป็นอยู่นี้ ซึ่งจะเห็นว่า ผู้สร้างระบบนี้ขึ้น มิได้คำนึงทางปฏิบัติ ว่าจะเป็นไปได้อย่างไร ฉะนั้น รัฐบาลสงฆ์ หรือ มหาเถรสมาคม ด้วยตัวขององค์กรเองตามระบบ จึงกลายเป็นองค์กรสูงสุดของสงฆ์ที่นิ่งอยู่กับที่ ไม่อาจเคลื่อนไหวได้ เพราะความชราภาพ แล้วกลับเป็นตัวถ่วงความเจริญของการพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น ส่วนระดับปฏิบัติการเป็นเผด็จการชนชั้น เพราะกระบวนการวินิจฉัยสั่งการอยู่ที่คน ๆ เดียวในแต่ละระดับชั้นนั้น และมีกฎหมายรับรองอำนาจอย่างเด็ดขาด มีคนออกคำสั่งเพียงคนเดียว (เช่น เจ้าคณะใหญ่, เจ้าคณะภาค, เจ้าคณะจังหวัด, เจ้าคณะอำเภอ, เจ้าคณะตำบล และ เจ้าอาวาส ท่านย่อมมีอำนาจโดยเอกเทศแต่เพียงผู้เดียว โดยรูปของระบบ) โดยแบบแผนทางปฏิบัติในระบบเช่นนี้ จึงเป็นการบริหารการปกครองแบบเผด็จการชนชั้นนั่นเอง จึงเพิ่มอวิชชาและการปิดกั้นวิถีธรรมทางพระพุทธศาสนาไปโดยลำดับ เพราะเป็นความมั่นคงอย่างผู้เผด็จการ (มิต่างจากระบบซูฮาร์โต้ อินโดนีเซีย ที่เราเห็นอยู่เมื่อเร็ว ๆนี้เลย) แต่สำหรับระบบสงฆ์ไทย กลับหามีหลักประกันไม่ เพราะขึ้นอยู่กับการเมือง ตามยุคสมัย เป็นไปตามการเมือง เท่ากับยืมจมูกคนอื่นหายใจอยู่เท่านั้นเอง [การเมืองอาจสั่งปรับปรุงระบบนี้เมื่อไร อย่างไรก็ได้ (เช่น กำหนดระเบียบการบรรจุ แต่งตั้งเข้าสู่ตำแหน่ง ระเบียบการเลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง การสอบแข่งขันเป็นพระสังฆาธิการ ฯลฯ ระเบียบการควบคุมเงินวัด การฌาปนกิจศพ ฯลฯ เพื่อให้สอดคล้องสถานการณ์เศรษฐกิจและสังคมในรูปรวม)ในฐานะที่เป็นระบบราชการหน่วยหนึ่งในรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือหากจะพิจารณาให้ลึกซึ้งไปถึงแก่นเห็นว่าระบบสงฆ์ มิใช่วิถีทางอื่นใดเลยนอกจากวิถีทางแห่งวัตถุธรรม(มิใช่วิถีแห่งปัญญาเลย แม้ว่าจะมีชื่อและสัญญลักษณ์ว่าเป็นภูมิปัญญาอันสูงสุดก็ตาม) อันเป็นแบบเดียวกับฆราวาสแล้ว การเมืองก็ย่อมสามารถออกกำหนดกฎเกณฑ์ให้หมู่สงฆ์ทำงานเกี่ยวกับวัตถุธรรมไปอย่างเต็มที่ โดยให้สมกับค่าการตอบแทนของสังคม เป็นหลัก] ซึ่งนับว่าเป็นการเสี่ยงมาก น่าวิตก เพราะมิได้เป็นไปตามกฎการพึ่งตนเอง คือมิได้พึ่งหลักพระธรรมวินัย ที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้ให้อย่างดีแล้ว กลับไปพึ่งการเมือง ที่รวนเรไปมาตามธรรมดาของความเป็นไปในโลก องค์กรสงฆ์ในระบบปัจจุบัน จึงเสี่ยงต่อความเสื่อมทรุดทำลายตัวเองและสังคมอยู่ทุกขณะ

 

 

     5. หนังสือพิมพ์ดี ได้วิเคราะห์ผลเสียหายของระบบนี้มาอย่างละเอียดแล้ว โปรดอ่านทบทวนจาก วิเคระห์ข่าวฯ และดี ฉบับต้น ๆ มาอย่างมีความพินิจพิเคราะห์ จักเห็นว่า การปฏิรูประบบการปกครองของคณะสงฆ์ไทย เป็นสิ่งจำเป็น ที่จักต้องดำเนินการให้แล้วลงให้ได้ มิฉะนั้นก็จะเป็นสิ่งคาราคาซัง คือเป็นระบบที่ไม่อาจพัฒนาให้ดีขึ้นมาได้เลย จะไม่อาจเดินหน้าไปตามยุคสมัยได้ จึงมีอยู่เพียงทางเดียวคือต้องปฏิวัติคือเปลี่ยนแปลงแนวคิดใหม่ทั้งหมด และเป็นสิ่งที่จะต้องทำให้แล้วเสร็จให้ได้

 

 

     6. การที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบนพื้นฐานของระบบ หรือกฎหมายเดิม ๆ 3-4ฉบับที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้ นับว่าเป็นเรื่องยากอย่างยิ่ง เพราะจะต้องปรับแก้ไขความไม่เป็นธรรมอันมีอยู่ในระบบเดิมนี้ทั้งหมดให้ได้เสียก่อน โดยเฉพาะความไม่เป็นธรรมระหว่างนิกายหรือคณะ โดยเฉพาะมหานิกายกับธรรมยุต ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนสลับซับซ้อนมาก จนแทบไม่เห็นที่หวังว่าจะรวมเป็นนิกายเดียวกันได้ และทั้งมองไม่เห็นที่หวังว่าจะอาจดำเนินการ แก้กฎหมายอย่างไรจึงจักเกิดความเป็นธรรมขึ้นระหว่างสองนิกายนี้ได้ ซึ่งสถานการณ์ระหว่างนิกายในปัจจุบันนี้ ยากแก่การจะแก้ไข หรือสร้างความเป็นธรรมขึ้น บนพื้นฐานของระบบสงฆ์เดิม) และแม้แต่ว่าเป็นเรื่องสมมติ หากถึงแม้ว่าอาจจักแก้ให้เกิดความเป็นธรรมขึ้นได้ วิถีทางคณะสงฆ์ก็ยังคงเป็นระบบราชการอยู่เหมือนเดิม อันยังคงเป็นวิถีทางอย่างโลก ๆ ซึ่งยังคงความหมายตรงว่าเป็นระบบที่ทรยศต่อเป้าหมายอันแท้จริงของพระพุทธศาสนาอยู่ เป็นวิถีที่เดินสวนทางกับพระนิพพานอยู่เหมือนเดิม นอกจากนี้ ยังมีปัญหาบางปัญหาในระบบเดิมที่กำลังแตกตัวปัญหาออกไปเรื่อย ๆ จนไม่อาจหยุดยั้งได้ หรือยากแก่การจะหยุดยั้ง คือปัญหาการแต่งตั้งเจ้าคณะพระสังฆาธิการทุกระดับ และทั้งตำแหน่งต่าง ๆ ในสถาบันอื่น ๆ ของคณะสงฆ์ เช่นการศึกษา อุปัชฌาย์ ฯลฯ และสมณศักดิ์สงฆ์ ในประเด็นที่ว่า แท้ที่จริงมิใช่ปัญหาของฝ่ายพระภิกษุสงฆ์แต่เพียงฝ่ายเดียว ตัวที่สร้างปัญหาที่แท้จริงคือฆราวาสญาติโยม ที่อยู่เบื้องหลังการสนับสนุนพระสงฆ์องค์เจ้าแต่ละรูป ๆ เพื่อให้ได้ตำแหน่ง สมณศักดิ์ หรือเลื่อนตำแหน่ง เลื่อนสมณศักดิ์ ฯลฯนั้น (บัดนี้ฆราวาสล้วนมีผลประโยชน์ร่วมอยู่ในกรณีเช่นนั้นอยู่เป็นธรรมดาเสียแล้ว) ทำให้เกิดการแตกกันเป็นคณะหมู่เหล่า และนับวันจะขยายกว้างขวางออกไปอีก ประเด็นปัญหานี้ก็ยากที่จะแก้ไขได้บนหลักการหรือระบบกฎหมายเดิม ๆ หรือที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ ฉะนั้นการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขบนระบบเดิมนี้จึงไม่น่าจะเป็นไปได้เลย มีแต่จักสิ้นเปลืองมาก ทั้งสิ้นเปลืองกำลังเงินทองปัจจัย และกำลังความคิด และพระสงฆ์เองที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยนั้น คงจะมีน้อยมาก เพราะพระสงฆ์ระดับผู้บริหารในสถาบันชั้นสูง ๆ โดยเฉพาะระดับรัฐบาลสงฆ์ (มหาเถรสมาคม) ก็มักขาดความชำนาญในการที่จะนำกฎหมายและทฤษฎีการบริหารการปกครองอย่างโลกสมัยใหม่มาพิจารณาปรับปรุงไป จะตกอยู่ในกำมือของนักวิชาการ นักกฎหมาย นักบริหารฝ่ายฆราวาส ผู้ที่อาจจะไม่รอบคอบ จักไม่อาจพิจารณาประสานการไปถึงเส้นทางแห่งวิถีธรรมที่ละเอียดอ่อนลึกซึ้งไปถึงทุกระดับแห่ง ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ อย่างเพียงพอ แล้วจะเลยไปเป็นการพิจารณารวบรัดเอาอย่างง่ายดาย ด้วยอาศัยหลักการอย่างลวก ๆของทฤษฎีโลก ๆ [เห็นได้จากข้อบกพร่องของกฎหมายการคณะสงฆ์ กฎมหาเถรสมาคมที่ออกตามกฎหมายคณะสงฆ์หลายฉบับ ที่บ่งบอกการดำเนินการไปอย่างขอไปที อย่างลวก ๆ เช่น เจ้าคณะภาคให้อยู่ในตำแหน่ง 4 ปี แต่ไม่มีกฎเช่นนี้กับรองเจ้าคณะภาค ซึ่งอยู่ในระดับนโยบายเช่นเดียวกัน บางกฎวางเงื่อนไขขัดแย้งกันเองเช่นการบรรจุแต่งตั้ง กับการพ้นจากตำแหน่ง ของเจ้าคณะบางระดับ (โปรดดู วิบูลรัตน์ กัลยาณวัตร “เกษียณอายุพระแก่จริงหรือใน ดี ฉบับที่แล้ว ดีประจำเดือน กค.-สค.-กย. 2541 หน้า 39/1) แต่พระสงฆ์หาเข้าใจ หารับรู้ว่าเป็นข้อบกพร่องไม่ นอกจากนี้ ก็มีเหตุให้ต้องวิตกระวังระไวอีกหลายประการ เช่นฝ่ายบ้านเมืองอาจจะหนักใจเรื่องการสนับสนุนงบประมาณ เพราะฝ่ายบ้านเมืองมักจะยึดเอาเรื่องงบประมาณมาประกอบการพิจารณาการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรใดใดอยู่เสมอ จะต้องหนักใจเรื่องการศึกษาวิเคราะห์ระบบสงฆ์เพื่อจัดวางระบบใหม่ให้เป็นไปตามมาตรฐานอย่างโลก ๆ (ที่เขาคิดว่าเหมาะแก่ธรรมะ) อาจจะหนักใจเรื่องบุคคลิกภาพโดยรวมของพระสงฆ์-สามเณร ที่ดูแปลกไม่ค่อยเสมอกัน แล้วก็มองหาเกณฑ์ที่เป็นกลาง ๆ ค่อนข้างยาก อาจจะหนักใจว่าเมื่อประสานงานข้อมูลกับพระสงฆ์แล้วมักมีปัญหาเรื่องการสื่อสาร พูดจากันไม่ค่อยรู้เรื่อง ใช้ภาษาและรสนิยมแห่งภาษาไกลกัน ฯลฯ ในที่สุดฝ่ายที่รับคำสั่งหรือรับมอบอำนาจมาก็จะรวบรัดเอาตามใจ ก็จักเป็นผลเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อวิถีทางแห่งพระพุทธศาสนาที่แท้จริง (ก็ออกกฎหมายแบบพิการ ๆ มาใช้กับคณะสงฆ์

 

 

     7. หากเราจะมองย้อนกลับไปพิจารณาถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยลึกซึ้ง ก็จะพบสัจธรรมเกี่ยวกับการปกครอง ว่า การปกครองทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายราชอาณาจักร และฝ่ายสงฆ์ รับและสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ระบบบ้านเมือง และระบบสงฆ์แทบว่าใช้หลักการอันเดียวกัน คือหลักการพ่อปกครองลูก ข้อความในศิลาจารึก นั่นเอง ที่บอกเราว่ากรุงสุโขทัยมีการปกครองแบบพ่อกับลูก อันเป็นข้อยุติของนักประวัติศาสตร์ อันเป็นหลักการปกครองอันเดียวกับของฝ่ายสงฆ์ แต่ฝ่ายสงฆ์ใช้คำว่า อุปัชฌาย์ปกครองสัทธิวิหาริก-อันเตวาสิก(อุปัชฌาย์ก็คือพ่อ สัทธิวิหาริก ก็คือลูก อันเตวาสิกคือลูกบุญธรรม) ตำแหน่งทางสงฆ์ก็มิได้มีเพียงตำแหน่งสังฆราชเท่านั้น จะพบว่ายังมีตำแหน่ง เถระ มหาเถระ ปู่ครู ซึ่งเป็นตำแหน่ง(ฐานะ)ตามพระธรรมพระวินัย อยู่เป็นส่วนมากที่สุด และไม่มีขั้นวิ่งแห่งตำแหน่ง ไม่มีขั้นวิ่งแห่งสมณศักดิ์ ที่จูงใจพอที่พระสงฆ์จะใฝ่ จะแก่งแย่งกันเหมือนทุกวันนี้ และกระบวนการแห่งมรรคผลก็ยังคงเดินไปได้ดี เพราะผืนแผ่นดินอุดมด้วยธรรมชาติป่าเขา แม่น้ำลำธาร สวนผลหมากรากไม้ พร้อมด้วยสถานปฏิบัติธรรมที่เอื้อแด่มรรคผลชั้นสูงสุด และมิได้มีลักษณะการปกครองแบบถืออำนาจเผด็จการทั้งทางฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายสงฆ์ในยุคสุโขทัยเลย “ในยามสงบ พ่อขุนรามคำแหง จะทรงออกว่าราชการที่ป่าตาล บนพระแท่นหิน มนังศิลาบาตร เป็นประจำทุกวัน ยกเว้นวันพระและวันโกน …. ในวันพระ วันโกน พ่อขุนรามคำแหง ทรงนิมนต์พระสงฆ์มาเทศน์ สั่งสอนประชาชนที่ป่าตาล บนพระแท่นหินมนังศิลาบาตร ซึ่งพระองค์ทรงใช้เป็นที่ว่าการในวันธรรมดานั่นเอง” และเมื่อทั้งราชอาณาจักร และสังฆอาณาจักรปกครองแบบเดียวกัน ซึ่งมีสาระสำคัญที่เป็นเนื้อหาของหลักภราดรภาพ ที่กำลังพูดถึงอยู่ขณะนี้นั่นเอง จึงเป็นเหตุให้ กรุงสุโขทัย เป็นแผ่นดินธรรมที่คน ”มักทาน มักทรงศีล” กับทั้งมีความสุขความเจริญมาก อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชผล เลื่องลือด้วยอุตสาหกรรมทำเครื่อง สังคโลก และยังเป็นศูนย์กลางการค้าที่เจริญรุ่งเรืองทั้งภายในและนอกประเทศ ดังหลักฐานในศิลาจารึกที่ว่า “เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัย นี้ดี ในน้ำมีปลาในนามีข้าว เจ้าเมือง บ่ เอาจกอบ ในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย ใครใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ ค้าเงินค้า ค้าทองค้า” (นั่นคือระบบการค้าขายดีเฟื่องฟูมาก และเป็นการค้าขายแบบเสรี พ่อค้าสามารถเดินทางนำสินค้ามาค้าขายแลกเปลี่ยนกันได้ โดยไม่ต้องเสียภาษีผ่านด่าน) “มี ป่า หมากป่าพลู มีไร่มีนา มีถิ่นถาน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก มีป่าม่วง มีป่าขาม ดูงามดัง แกล้ง” (ฟังแล้วเยือกเย็นน่าอยู่จริง ๆ) แต่ปัจจุบันนี้ การปกครองฝ่ายบ้านเมืองไปทางหนึ่ง ฝ่ายสงฆ์ไปอีกทางหนึ่ง ไม่ไปด้วยกัน (ฝ่ายบ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย ฝ่ายสงฆ์เป็นศักดินาเจ้าขุนมูลนาย) บ้านเมืองจึงมีแต่สิ่งต้านทานขัดแย้งกันมาโดยตลอด เทียบความสุขความเจริญกับยุคสุโขทัยแล้วห่างไกลกันอย่างดินกับฟ้า

 

       มามองแนวคิดอันใหม่ (ซึ่งแท้จริงก็เป็นแนวคิดตามหลักพระธรรมพระวินัยอันเดิมนั่นเอง)

     แนวทางที่เสนอแนะ เพื่อเข้ามาแทนที่ระบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ก็คือ ระบบภราดรภาพ โปรดศึกษาจากแผนภูมิสภาสงฆ์ ภาพที่ 2 จักเห็นว่าเป็นคนละหลักการ ขอให้พิจารณาว่า เป็นหลักการอย่างใด อุปมาเหมือนจะสร้างบ้านใหม่ ขอได้โปรดดูว่าอะไรเป็นเสาเรือน อะไรเป็นขื่อแป อะไรเป็นหลังคา อะไรเป็นฝา ผนัง ดูว่ามีการยึดโยงประสานให้บ้านหลังใหม่เป็นรูปร่างขึ้นมา อย่างมั่นคงแข็งแรง และน่าสบาย โปร่ง โล่ง เย็นรื่น น่าอยู่กว่าบ้านหลังเก่าอย่างไร มีทุกสิ่งทุกอย่างสำหรับประกอบให้บ้านนั้นมีความมั่นคง ที่เอื้อให้สมาชิกในบ้านทั้งหมดสามารถศึกษาวิทยาการชั้นสูงได้อย่างเต็มที่ ด้วยความคิดอิสรเสรีของตนเอง พร้อมมีหมู่กัลยาณมิตรคอยอุปถัมภ์ทางการศึกษาอย่างเต็มใจและเต็มที่ มีพระธรรมวินัยเป็นระเบียบการสำหรับสมาชิกทุกคนยึดมั่นถือมั่นเป็นสรณะแห่งความประพฤติ มิใช่บ้านที่สมาชิกถูกกำหนดเป็นชนชั้นยิ่งกว่าวรรณะ4ของยุคสมัยก่อนพุทธองค์

 

     และเมื่อระบบภราดรภาพได้รับการสถาปนาขึ้น สภาสงฆ์ได้กลายเป็นศูนย์กลางการวินิจฉัยสั่งการ และเคลื่อนไหวไปสู้ทิศทางที่ปรารถนาอันสูงสุดแห่งพระพุทธธรรม แล้ว ยังมีสิ่งที่คาดหวังว่าจักเกิดขึ้นตามมา ที่น่าแตกตื่นตะลึงอีกหลายประการ ที่ล้วนแล้วแต่สิ่งดีงามประเสริฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สภาสงฆ์จักเป็นที่ก่อเกิดเหตุแห่งการรวมกันเป็นชุมนุมขึ้นแห่งพระอรหันต์ทั้งหลาย เพื่อประสานงานอย่างมีทิศทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปในโลกนี้ (ในขณะนี้มีพระอรหันต์อยู่ ตามพุทธทำนาย ต่อล่วง พ.ศ.3000 แล้วจึงจะหมดสิ้นพระอรหันต์ ปัญหาขณะนี้ก็คือ พระอรหันต์ท่านไม่ใยดีอาทรต่อโลกนัก มักปลีกตัวไปเสวยสุขเงียบ ๆ รอวันนิพพาน และมีแต่พระอริยบุคคลระดับล่าง ๆ ลงมาที่ยังไม่สิ้นกิเลสโดยสิ้นเชิง และพระสงฆ์ปุถุชนเท่านั้น พยายามเทศน์แสดงธรรม แสดงบทบาทอยู่ โดยยังมีส่วนของอามิส-กิเลสผลักดันพฤติกรรมอยู่ ทำให้ธรรมเหล่านั้นยังไม่บริสุทธิ์โดยสิ้นเชิงและเจืออามิส และไม่มีการดูแลชี้ทางให้เข้าสู่ทิศทางที่ควรจะเป็นไป เพราะไม่มีผู้ใดอาจชี้แนะดูแลชี้ทางได้ เมื่อพระอรหันต์รวมกันเป็นชมรมขึ้นได้แล้ว โดยวิถีทางสภาสงฆ์ หมู่พระอรหันต์ก็จะสามารถกำหนดทิศทางการเผยแผ่ธรรมะและบทบาทการพระศาสนาทั้งสิ้นทั้งมวล และกำหนดกฎเกณฑ์แด่พระระดับล่าง ๆ (เช่นพระโสดาบัน-สกิทาคามี ที่มักพูดเทศน์หรือแสดงบทบาทอะไรเกินตัวเสมอ) ลงมาได้

 

     การพระพุทธศาสนาก็จะเดินไปอย่างมีเรี่ยวแรง มีปฏิเวธธรรมเกิดขึ้นได้จริง เพราะมีทิศทางที่จะไปอย่างมั่นคงแน่วแน่ของทุกฝ่าย) ลองนึกดูว่า สิ่งนี้คือความหมายของอะไร ? ขนาดไหน ?

ปัญหา : ตามระบบสภาสงฆ์ การแต่งตั้งถอดถอนเจ้าอาวาสเป็นหน้าที่ของสภาสงฆ์ระดับตำบล และมีวาระการอยู่ในตำแหน่ง เป็นการอาศัยหลักการอะไร อย่างไร ?

ตอบ : เราเริ่มพิจารณาปัญหานี้จากของเก่าก่อน จะเห็นว่า การกำหนดแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการตามระบบเก่า กระทำไปอย่างไม่ถูกต้องทางยุทธศาสตร์ การสงครามธรรมา-ธรรมะสงคราม(คือสงครามล้างผลาญกิเลส) เราสร้างกฎเกณฑ์ระเบียบนี้ขึ้น อย่างไม่รู้เรารู้เขา คือไม่รู้ว่ายุทธศาสตร์ของฝ่ายตรงข้ามคืออะไร เขาทำอย่างไรกับเรา และที่สำคัญไม่รู้เรา คือมองบทบาทหน้าที่ตัวเองไม่ถูกต้อง ไม่รู้ว่าเรากำลังรบอยู่กับใคร จะต้องทำอย่างไรจึงจะชนะข้าศึก จึงเดาสุ่มสร้างกฎเกณฑ์อันเป็นข้อกำหนดยุทธศาสตร์ออกมาอย่างคับแคบ เป็นเหตุให้ไม่สามารถเลือกใช้ยุทธวิธีได้หลายหลาก กลายเป็นเราสู้รบไปในความมืด มองไม่เห็นข้าศึก ตกเป็นฝ่ายถูกกระทำอยู่ข้างเดียว มรรคผลจึงเป็นสิ่งที่เดินไปอย่างสุดวิสัยในระบบปัจจุบันนี้ เพราะกำหนดยุทธศาสตร์ไว้คับแคบ มองออกเช่นนี้ก็จะเข้าใจ และเห็นเหตุผลอันเร่งด่วนที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องการแต่งตั้งและถอดถอนพระสังฆาธิการเสียใหม่

ลองมองจากข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่ ทั่วประเทศไทยมีวัดอยู่ประมาณ 30,000 วัด เมื่อมีการแต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดตามระบบกฎหมายคณะสงฆ์ปัจจุบัน เจ้าอาวาสก็เหมือนถูกตรึงด้วยตะปูใหญ่ตลอดชีวิต เคลื่อนไหวไม่ได้ คือตราบใดที่เป็นเจ้าอาวาสเป็นพระสังฆาธิการอยู่ พระองค์นั้นไม่สามารถจะเคลื่อนย้ายที่อยู่ไปไหนได้ ต้องประจำอยู่ที่วัดนั้นไปตลอดชีวิต รวมความถึงพระสังฆาธิการระดับสูงขึ้นมาด้วยคือ จต. จอ.จจ. จภ. ฯลฯ(เพราะไม่มีเกษียณอายุ และไม่มีระบบการโยกย้ายตำแหน่งพระสังฆาธิการ) ลักษณะนี้แหละที่ตรงกับความหมายที่ว่าเป็นการกำหนดยุทธศาสตร์ที่คับแคบ ไม่เอื้อแด่การใช้ยุทธวิธีได้หลายหลาก เราก็ตกเป็นเป้าของกิเลส เป็นผลดีแด่กิเลสที่จะรุกราน เพราะเราเสมือนเป็นเป้านิ่ง ถูกจับมัดเอาไว้กับหลัก เคลื่อนไหวไม่ได้

 

อธิบายขยายความไปอีกก็คือ เมื่อเป็นเจ้าอาวาสที่วัดนั้นตลอดชีวิตเคลื่อนไหวไปไม่ได้ กิเลสก็พอกพูน อุปมาเหมือนกองหินใต้น้ำ นาน ๆ ไปตะไคร้ก็เข้าจับเกาะเหนียวแน่นหนืดไปเรื่อย ๆ ที่เห็นอันตรายชัดเจนก็คือ เจ้าอาวาสหนุ่ม ๆ (หรือแก่ ๆ ก็ตาม) ก็ตกเป็นเป้าของสตรีมาร หรือโลภมาร ฯลฯ เราพยายามต่อสู้ แต่การต่อสู้ของเราจึงทำได้อย่างจำกัดมาก ยาก เพราะถูกผูกตรึงอยู่กับที่ เหมือนนักมวยฝ่ายเราถูกมัดมือเอาไว้ เราก็สามารถใช้อาวุธได้เพียงเท้า สู้กับเขา ซึ่งจะไม่มีทางชนะเลย อย่างนี้เรียกว่าถูกจำกัดทางยุทธศาสตร์เสียแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิเลสกาม ยุทธศาสตร์ที่จำเป็นต้องเอาไปสู้ก็คือ ต้องไม่อยู่นิ่งกับที่ ไม่เปิดโอกาศให้กิเลสเกาะกุมได้ ต้องสลัดให้พ้น ๆ หรือหากหนักหนานักก็หนีไปเสีย (นโปเลียนเคยพูดไว้เป็นวลีอมตะว่า การที่จะเอาชนะความรักให้ได้นั้นมีทางเดียวคือหนีไปเสียเท่านั้น ซึ่งถูกต้องกับหลักยุทธศาสตร์ฝ่ายธรรมะ) แต่ระบบสงฆ์เราทำผิดยุทธศาสตร์เช่นนี้ คือกำหนดให้อยู่กับตำแหน่งนิ่ง ๆ ไม่เคลื่อนไหวเช่นนี้ กิเลสก็พอกพูน สตรีก็มาเยี่ยมบ่อย ๆ นาน ๆ เข้าผลจะเป็นอย่างไร ? เราก็ต่อสู้ได้เพียงยุทธวิธีเดียวคือดทน ๆ ๆ ๆ ๆ หรืออย่างเก่งอย่างดีก็เรียนสมาธิบ้าง ฟังธรรมแปลก ๆ ทางวิทยุบ้าง จากพระอาจารย์นักพูด(เสียงอ่อนเสียงหวาน) ที่พาพวกพาหมู่มาขึงผ้าล้อมพาปฏิบัติ 7 วัน 9 วันบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องที่เพียงผิวเผิน ในที่สุดก็สุดที่จะทน ก็พ่าย มารชนิดอื่นก็เช่นกัน เช่นโลภมาร นานเข้าก็เกิดการสะสม ได้มากเข้า ๆ ก็เกิดกำหนัด ก็เสียหายไปอีก(น่าเสียดายที่บางองค์อุตส่าห์สะสมคุณธรรมมานาน แต่ต้องพ่ายแก่มาร ต้องสึกขาลาเพศไป กรณีเช่นนี้เป็นเหตุให้ผู้ทรงคุณธรรม และเหล่าพระอริยบุคคลลดน้อยลงไป เพราะการพัฒนาการถูกปิดกั้นเสียเช่นนี้) ฉะนั้น เราต้องมีระบบที่เปิดโอกาศให้ใช้ยุทธวิธีได้อย่างหลายหลาก คือต้องปลดปล่อย ให้พระสงฆ์มีโอกาศใช้ยุทธวิธีได้อย่างหลายหลาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การไม่ถูกผูกติดอยู่กับตำแหน่ง ให้มีโอกาศการเดินทางไกล โยกย้ายถิ่นที่อยู่ เพื่อการแสวงหามรรคผลนิพพานอย่างเต็มที่ แม้การมีโอกาศหนีไปเสียเมื่อเห็นทางว่าจะพ่ายแพ้แก่ข้าศึก ฯลฯ ซึ่งจักเป็นการเปิดโอกาศทางการบำเพ็ญบารมีหลายหลากอันล้วนแต่มุ่งสู่มรรคผล เช่นการเจริญสมาธิ ภาวนา อันเป็นขั้นต้น ๆ และโอกาศแห่งการศึกษาชีวิตและความเป็นไปแห่งธรรมชาติ ตามภูเขา ป่าอุทธยาน ทะเล แม่น้ำ ฯลฯ อันเป็นเหตุแห่งการต้องถือธุดงควัตร ถือสันโดษ แห่งพระสงฆ์ทั้งหลาย รวมทั้งการจำเริญการบำเพ็ญฌาน-ปัญญา อันเป็นหลักธรรมชั้นสูงสุด แห่งศาสนาพรหมจรรย์นี้

ซึ่งโดยระบบการปกครองใหม่ตามความคิดใหม่นี้ สงฆ์ทั้งสิ้นจักมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา จะไม่อยู่นิ่ง โดยมีสภาตำบลสงฆ์เป็นผู้ตรวจสอบดูแล และรวมทั้งเป็นสถานที่ฝึกสอน แสวงหาหลักธรรมปฏิบัติ และเป็นสถานที่รวมแหล่งความรู้ รวมผู้ทรงคุณวุฒิ ฝึกสอนชี้ทางปฏิบัติ และเป็นที่ปฏิบัติธรรมอยู่ในตัวโดยเฉพาะ อันเอื้อประโยชน์ต่อมรรคผลโดยตรง สงฆ์จักเคลื่อนไหวไปมาอยู่ในวงการสภาสงฆ์นี่เอง เพราะสงฆ์ทุกรูปต่างมีฐานะเป็นสมาชิกสภาตำบลสงฆ์อยู่โดยอัตโนมัติ และไม่จำกัดว่าจะอยู่สภาตำบลสงฆ์ใดหนึ่งตลอดกาล หากแต่ไปถึงแห่งใด ก็เข้าสังกัดแห่งนั้น ออกจากแห่งใดก็พ้นจากแห่งนั้นทันที และทั้งมีหน้าที่อย่างสมาชิกสภาสงฆ์ คือต้องไปประชุมสภาสงฆ์ด้วยเสมอไปเช่นนั้น และต้องยอมรับมติของสภาสงฆ์ ยอมรับภาระ ที่หากสภาสงฆ์อนุมัติมอบหมายให้ทุกอย่าง กระทั่งคำสั่งแห่งสภาสงฆ์ใดใดอันชอบด้วยธรรมด้วยวินัย(รวมทั้งการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดใดใด)ตามมติของหมู่หรือส่วนรวม

 

 

 

 

 

จะปฏิรูปการปกครองสงฆ์ไปทำไม ? (ต่อ)

ภาพจำลองสถานการณ์เมื่อเริ่มระบบสภาสงฆ์(ตอน 3)

การประชุมสภาสงฆ์ระดับจังหวัดเริ่มแล้ววันนี้!

 

 

ปัญหา : หากระบบการคณะสงฆ์ได้รับการปรับใหม่ตามโครงสร้าง วัด สงฆ์ และ สภาสงฆ์ โดยหลัก 4 ประการคือ หลักประโยชน์ส่วนรวม หลักอุปัชฌาย์-อาจารย์ หลักกัลยาณมิตร และหลักประชาชน ในบัดนี้แล้ว อะไรจะเกิดขึ้น เหตุการณ์จักดำเนินไปอย่างไร ผลที่หวังไว้จักเป็นไปดั่งหวังหรือไม่ อาจจะมีอุบัติเหตุหรือสิ่งที่ผิดพลาดไม่เป็นไปตามแผนได้เพียงไรหรือไม่ ?

 

 

นี่คือภาพจำลองสถานการณ์ ตามแนวความคิดของหนังสือพิมพ์ดี เมื่อมีการปฏิรูปการคณะสงฆ์ไทยบรรลุผลสำเร็จลงแล้ว การพระพุทธศาสนาทั้งสิ้นจักดำเนินไปอย่างไร (ตอน 3 ต่อจากฉบับที่แล้ว

ตามรายงานข่าวหนังสือพิมพ์ดีฉบับที่แล้ว เดือน มี.ค.-เม.ย.-พ.ค.-มิ.ย.2541 รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติการพระพุทธศาสนา พุทธศักราช 2545 เป็นเหตุให้สถานการณ์สงฆ์เปลี่ยนแปลงไปอย่างใหญ่ เพียงพลิกแผ่นดิน และตามพระราชบัญญัตินี้ ได้กำหนดสถาบันสงฆ์ที่สำคัญ 4 สถาบันคือ สภาสงฆ์ระดับตำบล สภาสงฆ์ระดับจังหวัด สภาสงฆ์ระดับชาติ และสภาสงฆ์ระดับสากล

และแล้ว การประชุมสภาสงฆ์ครั้งแรก ซึ่งเป็นการประชุมสภาสงฆ์ระดับตำบลทั่วราชอาณาจักร ก็ได้เริ่มขึ้น เราได้นำท่านผู้อ่านไปเยี่ยมชมการประชุมสภาสงฆ์ตำบลโคกคำ และได้พบว่าสภาสงฆ์แห่งนั้นได้ดำเนินการประชุมสภาสงฆ์และดำเนินการใดอันเป็นกิจพึงทำตามที่กฎหมายใหม่กำหนดไปโดยเรียบร้อย น่าชื่นชม และแล้ว พระอุปัชฌาย์แสง กับพระอุปัชฌาย์ชัย แห่งสภาตำบลสงฆ์ตำบลโคกคำก็เตรียมตัวไปเข้าประชุมสภาสงฆ์ระดับจังหวัด ในฐานะสมาชิกสภาสงฆ์ระดับจังหวัด ต่อไปตามวันเวลาสถานที่นัดหมายจากทางประธานสภาสงฆ์ระดับจังหวัด

แต่การณ์กลับปรากฎว่า สภาสงฆ์ระดับจังหวัด ยังไม่สามารถจัดการประชุมขึ้นได้ จำต้องเลื่อนออกไปชั่วคราว อันเนื่องมาจาก ยังมีสภาสงฆ์ระดับตำบลอีกจำนวนไม่น้อยที่ดำเนินการประชุมไม่เรียบร้อย เพราะมีความสับสน ไม่เข้าใจในสาระสำคัญที่กฎหมายใหม่กำหนด ตราบจนกาลล่วงมาบัดนี้ สภาสงฆ์ระดับจังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศจึงสามารถเรียกประชุมได้

 

 

 

เราจะพาท่านผู้อ่านไปดูการประชุมสภาสงฆ์ระดับจังหวัด ของสภาสงฆ์จังหวัดสีขรุทุมพร อันเป็นจังหวัดที่ได้รับการยกสถานะใหม่ขึ้นใหม่ทั้งทางฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายสงฆ์ ก่อนหน้านี้ไม่นาน

สถานะของสภาสงฆ์จังหวัดสีขรุทุมพร ตามเงื่อนไขแห่งพระราชบัญญัติการพระพุทธศาสนา พุทธศักราช 2545 โดยบทเฉพาะกาล มีดังต่อไปนี้

 

 

1. ประธานสภาสงฆ์ระดับจังหวัด เป็น อดีตเจ้าคณะจังหวัดสีขรุทุมพร รูปล่าสุด เจ้าคุณ พระราชสีขรุทุมพโรดม เป็นประธานสภา ตามเงื่อนไขบทเฉพาะกาลของ พรบ.การพระพุทธศาสนา พ.ศ.2545

 

 

2. รองประธานสภาสงฆ์ 2 รูป ๆ หนึ่งเป็น อดีตรองเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคุณพระสีขรุมาภรณ์ ยังมีตำแหน่งว่างอยู่อีก 1 รูป จะต้องเลือกตั้งในการประชุมสภาสงฆ์ระดับจังหวัดหนแรกนี้ทันที

 

 

3. เลขานุการสภาสงฆ์จังหวัดสีขรุทุมพร มี 2 ตำแหน่ง ๆ ที่ 1 เป็นอดีตเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดสีขรุทุมพร พระมหาวีรวรณ์ วีรปญฺโญ ป.ธ.7 และอีกตำแหน่งหนึ่ง เป็นเลขานุการฝ่ายฆราวาสตามเงื่อนไขของพรบ.การพระพุทธศาสนา พ.ศ.2545 ที่กำหนดไว้เป็นการตายตัวว่าให้เป็น ศึกษาธิการจังหวัด ของจังหวัดที่สภาสงฆ์ระดับจังหวัดตั้งอยู่ ตามนี้จึงได้แก่นายปัญจรักษ์ พหุพล ศึกษาธิการจังหวัดสีขรุทุมพร

 

 

4. สมาชิกสภาสงฆ์ระดับจังหวัด จำนวน 180 รูป ซึ่งเป็นผู้แทนมาจากสภาตำบลสงฆ์ทั้งจังหวัดจำนวน 90 แห่ง ทั้งนี้ตามเงื่อนไขแห่งพระราชบัญญัติการพระพุทธศาสนา พ.ศ.2545 ที่กำหนดให้สมาชิกสภาตำบลสงฆ์ระดับจังหวัด มาจาก ผู้แทนสภาตำบลสงฆ์แห่งละ ๒ รูป แต่ในระยะเริ่มต้นที่ให้ใช้บทเฉพาะกาล ๆ ระบุว่าให้อุปัชฌาย์ในแต่ละตำบลเป็นสมาชิกสภาสงฆ์ระดับจังหวัดโดยตำแหน่งไปก่อน หากสภาตำบลสงฆ์ใดมีอุปัชฌาย์เพียง 1 องค์ก็ให้ตำบลนั้นเลือกผู้แทนของตำบลเป็นสมาชิกสภาจังหวัดสงฆ์อีก 1 รูป ให้ได้ครบ 2 องค์เป็นตัวแทนสภาตำบลสงฆ์แห่งนั้น

 

 

5. ผู้แทนหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด ทุกหน่วย เป็นสมาชิกสมทบ เพื่ออำนวยให้การศาสนูปถัมภกและการประสานงานระหว่างสงฆ์กับฝ่ายบ้านเมืองเป็นไปอย่างเรียบร้อยถูกต้องตามธรรมตามวินัย สมาชิกสมทบนี้มีสิทธิ์ในการให้คำปรึกษาหารือ แสดงความคิดเห็นชี้แนะตามความรู้ความสามารถแต่ไม่มีสิทธิ์ออกเสียงในกรณีที่ต้องมีการออกเสียงในกิจของสงฆ์โดยตรง

 

เจ้าคุณพระราชสีขรุทุมพโรดม ประธานสภาสงฆ์ระดับจังหวัด จังหวัดสีขรุทุมพร ได้จัดให้วัดป่านานาวิมุตตาราม เป็นสถานที่ประชุมสภาสงฆ์ระดับจังหวัด วัดนี้เป็นวัดอยู่ในป่าเนื้อที่กว้างขวางถึง 500 ไร่ อยู่คนละฟากกับวัดจิตตาวิเวการาม สำนักเจ้าคณะจังหวัด ท่านเจ้าคุณให้ดำเนินการสร้างอาคารสภาสงฆ์ขึ้น ในทันที่ที่รัฐบาลผ่านพระราชบัญญัติการพระพุทธศาสนา พ.ศ.2545 โดยทุนทรัพย์ส่วนตัวของท่านถึง 90 % ด้วยบารมีธรรมอันสูงส่งของท่านผสานกับแรงศรัทธาจากประชามหาชนร่วมสร้างขึ้น จึงแล้วเสร็จลงภายใน 6 เดือน สภาสงฆ์ เป็นที่ยกพื้น ทำเป็นศาลาหลังคาสูง รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสชั้นเดียว กว้างยาว 40x40 เมตร ในบริเวณ 1 ไร่เศษ ๆ รอบอาคารสภาสงฆ์ทำเป็นทางจงกรม เป็นถนนผิวถนนกว้างถึง8 เมตร ล้อมอาคารสภา แล้วทำเป็นเส้นทางจงกรมจากอาคารสภาแยกเข้าไปในป่าอีก 8 เส้น แต่ผิวถนนแคบเพียง 3 เมตร แต่ละเส้นอยู่คนละทิศแยกไปจากอาคารสภาสงฆ์นั้น ล้อมด้วยป่า สุดเขตด้านตะวันออกของวัดติดกับสายน้ำใหญ่ที่มีน้ำไหลใสสะอาด ด้านตะวันตกจดบึงใหญ่ มีน้ำใสสะอาดตลอดปี เป็นที่โล่งกว้างติดท้องทุ่งนา ด้านทิศใต้ติดแนวเขาดงรักเขตแดนกัมพูชา(โปรดดูแผนผังประกอบ) ที่บริเวณฝั่งแม่น้ำและบึงใหญ่ ปรับที่ราบเรียบเทคอนกรีตเป็นทางยาว ทำเป็นที่นั่งบ้าง ที่เดินบ้าง ที่ลับบ้าง ทำเป็นถ้ำบ้าง เขาเตี้ย ๆ บ้างสำหรับบำเพ็ญทางจิต เช่นเจริญสมาธิ วิปัสนา เพ่งกสิณต่าง ๆ ที่อธิษฐานและทำความวิเวก เป็นต้น ที่บึงใหญ่มีนกเป็ดน้ำจำนวนนับแสนตัวมาลงในฤดูออกพรรษาทุกปี วันที่มีการประชุมสภาสงฆ์จังหวัดหนแรก มีพระภิกษุสงฆ์มาปักกลดอยู่บริเวณรอบ ๆ ศาลาสภาสงฆ์นั้น ร่วมร้อยรูป พากันถือธุดงค์วัตรต่าง ๆ กัน

 

ในที่ประชุม มีแท่นที่บูชาพร้อมพระพุทธรูปประธานตั้งสง่างาม มีพระบรมฉายาลักษ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และธงไตรรงค์ อยู่สุดคนละข้าง อันเป็นศูนย์รวมสัญลักษณ์สูงสุดของชาติ ถัดลงมาเป็นโต๊ะของประธานสภา - รองประธานสภา ถัดลงมาอีกเป็นโต๊ะของพระผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ชำนาญการมีเอตทัคคะด้านต่าง ๆ พระอาวุโสที่เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของมหาชน เป็นที่ยอมรับ และมีโต๊ะของหัวหน้าส่วนราชการภูมิภาค นับแต่ผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการท้องถิ่นเช่นนายกเทศมนตรี เป็นต้น รวมทั้งเป็นที่สำหรับแขกผู้มาเยี่ยมเยือนสภาสงฆ์แห่งนั้น

มีโต๊ะเลขานุการสภาสงฆ์ 2 ตัว ๆ แรกสำหรับฝ่ายสงฆ์ ตัวที่ 2 สำหรับฝ่ายฆราวาส ตั้งอยู่ตรงกลาง ล้อมเป็นครึ่งวงกลมด้วยสมาชิกสภาสงฆ์ระดับจังหวัดฝ่ายสงฆ์จำนวน 180 รูป ถัดวงกลมออกไปเป็นชั้นนอกสุดของที่ประชุม เป็นสมาชิกสภาสงฆ์ประเภทสมทบ ดูแผนผังการประชุมประกอบด้วย :-

 

๑. แท่นสัญลักษณ์ ที่บูชา ตั้งพระพุทธรูปประธานสูงสุดในที่ประชุม และสัญลักษณ์สูงสุดของชาติไทยคือธงไตรรงค์ และพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทย : ชาติ-ศาสนา-พระมหากษัตริย์

 

๒. โต๊ะประธานสภาสงฆ์ และรองประธานสภาสงฆ์ ผู้ทำหน้าที่ประสานงานการประชุม ให้เป็นไปโดยถูกต้อง สอดคล้องแนวทางพระธรรมพระวินัย

 

๓. โต๊ะพระผู้ทรงคุณวุฒิ และโต๊ะของหัวหน้าส่วนราชการ ภูมิภาค-ส่วนท้องถิ่น และแขกผู้มาเยือน

 

๔-๕. โต๊ะเลขานุการ ทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาส

 

๖. แนวที่นั่งของสมาชิกสภาสงฆ์ เป็นรูปครึ่งวงกลม นั่งกับพื้น

 

๗. แนวที่นั่งของสมาชิกสภาสงฆ์ประเภทสมทบ อยู่นอกวงกลม

ขอได้ศึกษาจากแผนผังต่อไปนี้ (แล้วโปรดติดตามอ่านต่อฉบับหน้า ธ.ค.41)

 

แผนผังที่ตั้งสภาสงฆ์จังหวัดสีขรุทุมพร

แสดงทางเดินจงกรมและภูมิทัศน์

สายน้ำ> >

ป่าป่า

อาคารสภาสงฆ์

บึง

ป่าหนาทึบ > >

สายน้ำ

สายน้ำ> >

 

แผนผังห้องประชุมสภาสงฆ์ระดับจังหวัด

ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

ประธานสภา

ผู้ทรงคุณวุฒิ

เลขานุการ

เลขานุการ

 

คำอธิบาย : พื้นที่ในวงกลมทั้งหมดเป็นที่นั่งสมาชิกสภาสงฆ์ระดับจังหวัด กรอบสี่เหลี่ยมสีแก่ โต๊ะประธาน-รองประธานสภาสงฆ์ กรอบถัดลงมาเป็นโต๊ะผู้ทรงคุณวุฒิฝ่ายสงฆ์และหัวหน้าส่วนราชการสูงสุดระดับจังหวัดขึ้นไป กรอบตรงจุดศูนย์กลาง โต๊ะของเลขานุการสภาสงฆ์ฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาส เส้นโค้งบอกแนวที่นั่งของสมาชิกสภาสงฆ์ เส้นโค้งนอกวงกลมบอกที่นั่งสมาชิกสภาสงฆ์ประเภทสมทบ กรอบบนสุดคือสัญลักษณ์ชาติ-ศาสนา-พระมหากษัตริย์

 

 

 

 




หนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 13

หน้าปกและอุดมการณ์ของหนังสือพิมพ์ดี
หน้าบอกสถานะของเรา
รายงานข่าวเชิงวิเคราะห์พิเศษ เรื่องเกษียณอายุพระที่ 80 เพิ่มโทษละเมิดจริยาพระสังฆาธิการหนัก
กวี บันทึกการท่องเที่ยว มองลมหนาวผ่าน
กวีนิพนธ์ปฏิวัติ พิมพ์ดี
บทบรรณาธิการ
เฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว
บทวิเคราะห์พิเศษ ดูคลินตั้น-ลูวินสกี้ที่อื้อฉาววันนี้
จดหมายถึงบรรณาธิการ ความคิดเห็นต่อการปฏิรูประบบสงฆ์(ต่อ)
รายงานการสำรวจความคิดเห็นต่อการปฏิรูประบบสงฆ์ไทย(ต่อ)
นิทานธรรมะ มานุสสาสุรสงคราม ภาค 2



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
----- ***** ----- โปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate นี่คือเวบไซต์คู่ www.newworldbelieve.com กับ www.newworldbelieve.net เราให้เป็นเวบไซต์ที่เสนอธรรมะหรือ ความจริง หรือ ความคิดเห็นในเรื่องราวของชีวิต ตั้งใจให้ธัมมะเป็นทาน ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แด่คนทั้งหลาย ทั้งโลก ให้ได้รู้ความจริงของศาสนาต่าง ๆในโลกวันนี้ และได้รู้ศาสนาที่ประเสริฐเพียงศาสนาเดียวสำหรับโลกยุคใหม่ จักรวาลใหม่ เรามีผู้รู้ ผู้ตรัสรู้ ผู้วินิจฉัยสรรพธรรมสรรพวิชชา สรรพศาสน์ และสรรพศาสตร์ พอชี้ทางสู่โลกใหม่ ให้ความสุข ความสบายใจความมีชีวิตที่หลุดพ้นไปสู่โลกใหม่ เราได้อุทิศเนื้อที่ทั้งหมดเป็นเนื้อที่สำหรับธรรมะทั้งหมด ไม่มีการโฆษณาสินค้า มาแต่ต้น นับถึงวันนี้ร่วม 14 ปีแล้ว มาวันนี้ เราได้สร้างได้ทำเวบไซต์คู่นี้จนได้กลายเป็นแดนโลกแห่งความสว่างไสว เบิกบานใจ ไร้พิษภัย เป็นแดนประตูวิเศษ เปิดเข้าไปแล้ว เจริญดวงตาปัญญาละเอียดอ่อน เห็นแต่สิ่งที่น่าสบายใจ ที่ผสานความคิดจิตใจคนทั้งหลายด้วยไมตรีจิตมิตรภาพล้วน ๆ ไปสู่ความเป็นมิตรกันและกันล้วน ๆ วันนี้เวบไซต์นี้ ได้กลายเป็นโลกท่องเที่ยวอีกโลกหนึ่ง ที่กว้างใหญ่ไพศาล เข้าไปแล้วได้พบแต่สิ่งที่สบายใจมีความสุข ให้ความคิดสติปัญญา และได้พบเรื่องราวหลายหลากมากมาย ที่อาจจะท่องเที่ยวไปได้ตลอดชีวิต หรือท่านอาจจะอยากอยู่ณโลกนี้ไปชั่วนิรันดร ไม่กลับออกไปอีกก็ได้ เพียงแต่ท่านเข้าใจว่านี่เป็นแดนต้นเรื่องเป็นด่านข้ามจากแดนโลกเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง และซึ่งเป็นโลกหรือบ้านของท่านทั้งหลายได้เลยทีเดียว ซึ่งสำหรับคนต่างชาติ ต่างภาษาต่างศาสนา ได้โปรดใช้การแปลของ กูเกิล หรือ Google Translate แปลเป็นภาษาของท่านก่อน ที่เขาเพิ่งประสบความสำเร็จการแปลให้ได้แทบทุกภาษาในโลกมนุษย์นี้แล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้เอง นั้นแหละเท่ากับท่านจะเป็นที่ไหนของโลกก็ตาม ทั้งหมดโลกประมาณ 7.6 พันล้านคนวันนี้ สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในโลกของเราได้เลย เราไม่ได้นำท่านไปเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่การนำไปสู่ความจริง ความรู้เรื่องชีวิตใหม่ การอุบัติใหม่สู่ภาวะอริยบุคคล ไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปพ้นจากทุกข์ ทั้งหลายไปสู่โลกแห่งความสุขแท้นิรันดร คือโลกนิพพานขององค์บรมศาสดาพุทธศาสนา พระบรมครูพุทธะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ท่านโปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate ท่านก็จะเข้าสู่โลกนี้ได้ทันทีพร้อมกับคน7.6พันล้านคนทั้งโลกนี้. ----- ***** ----- • หมายเหตุ เอาขึ้นเวบไซต์ แทนของเดิม ทั้ง 2 เวบ .net .com วันที่ 21 เม.ย. 2565 เวลา 07.00 น. -----*****-----