ReadyPlanet.com
dot
dot dot
bulletBUDDHISM TO THE NEW WORLD ERA
bullet1 Thai-ไทย
bullet2.English-อังกฤษ
bullet3.China-จีน
bullet4.Hindi-อินเดีย
bullet5.Russia-รัสเซีย
bullet6.Arab-อาหรับ
bullet7.Indonesia-อินโดนีเซีย
bullet8.Japan-ญี่ปุ่น
bullet9.Italy-อิตาลี
bullet10.France-ฝรั่งเศส
bullet11.Germany-เยอรมัน
bullet12.Africa-อาฟริกา
bullet13.Azerbaijan-อาเซอร์ไบจัน
bullet14.Bosnian-บอสเนีย
bullet15.Cambodia-เขมร
bullet16.Finland-ฟินแลนด์
bullet17.Greek-กรีก
bullet18.Hebrew-ฮีบรู
bullet19.Hungary-ฮังการี
bullet20.Iceland-ไอซ์แลนด์
bullet21.Ireland-ไอร์แลนด์
bullet22.Java-ชวา
bullet23.Korea-เกาหลี
bullet24.Latin-ละติน
bullet25.Loa-ลาว
bullet26.Finland-ฟินแลนด์
bullet27.Malaysia-มาเลย์
bullet28.Mongolia-มองโกเลีย
bullet29.Nepal-เนปาล
bullet30.Norway-นอรเวย์
bullet31.persian-เปอร์เซีย
bullet32.โปแลนด์-Poland
bullet33.Portugal- โปตุเกตุ
bullet34.Romania-โรมาเนีย
bullet35.Serbian-เซอร์เบีย
bullet36.Spain-สเปน
bullet37.Srilanga-สิงหล,ศรีลังกา
bullet38.Sweden-สวีเดน
bullet39.Tamil-ทมิฬ
bullet40.Turkey-ตุรกี
bullet41.Ukrain-ยูเครน
bullet42.Uzbekistan-อุสเบกิสถาน
bullet43.Vietnam-เวียดนาม
bullet44.Mynma-พม่า
bullet45.Galicia กาลิเซียน
bullet46.Kazakh คาซัค
bullet47.Kurdish เคิร์ด
bullet48. Croatian โครเอเซีย
bullet49.Czech เช็ก
bullet50.Samoa ซามัว
bullet51.Nederlands ดัตช์
bullet52 Turkmen เติร์กเมน
bullet53.PunJabi ปัญจาบ
bullet54.Hmong ม้ง
bullet55.Macedonian มาซิโดเนีย
bullet56.Malagasy มาลากาซี
bullet57.Latvian ลัตเวีย
bullet58.Lithuanian ลิทัวเนีย
bullet59.Wales เวลล์
bullet60.Sloveniana สโลวัค
bullet61.Sindhi สินธี
bullet62.Estonia เอสโทเนีย
bullet63. Hawaiian ฮาวาย
bullet64.Philippines ฟิลิปปินส์
bullet65.Gongni-กงกนี
bullet66.Guarani-กวารานี
bullet67.Kanada-กันนาดา
bullet68.Gaelic Scots-เกลิกสกอต
bullet69.Crio-คริโอ
bullet70.Corsica-คอร์สิกา
bullet71.คาตาลัน
bullet72.Kinya Rwanda-คินยารวันดา
bullet73.Kirkish-คีร์กิช
bullet74.Gujarat-คุชราด
bullet75.Quesua-เคซัว
bullet76.Kurdish Kurmansi)-เคิร์ด(กุรมันซี)
bullet77.Kosa-โคซา
bullet78.Georgia-จอร์เจีย
bullet79.Chinese(Simplified)-จีน(ตัวย่อ)
bullet80.Chicheva-ชิเชวา
bullet81.Sona-โซนา
bullet82.Tsonga-ซองกา
bullet83.Cebuano-ซีบัวโน
bullet84.Shunda-ชุนดา
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet86.Sesotho-เซโซโท
bullet87.NorthernSaizotho-ไซโซโทเหนือ
bullet88.Somali-โซมาลี
bullet89.History-ประวัติศาสตร์
bullet90.Divehi-ดิเวฮิ
bullet91.Denmark-เดนมาร์ก
bullet92.Dogry-โดกรี
bullet93.Telugu-เตลูกู
bullet94.bis-ทวิ
bullet95.Tajik-ทาจิก
bullet96.Tatar-ทาทาร์
bullet97.Tigrinya-ทีกรินยา
bullet98.Check-เชค
bullet99.Mambara-มัมบารา
bullet100.Bulgaria-บัลแกเรีย
bullet101.Basque-บาสก์
bullet102.Bengal-เบงกอล
bullet103.Belarus-เบลารุส
bullet104.Pashto-พาชตู
bullet105.Fritian-ฟริเชียน
bullet106.Bhojpuri-โภชปุรี
bullet107.Manipur(Manifuri)-มณีปุระ(มณิฟูรี)
bullet108.Maltese-มัลทีส
bullet109.Marathi-มาราฐี
bullet110.Malayalum-มาลายาลัม
bullet111.Micho-มิโช
bullet112.Maori-เมารี
bullet113.Maithili-ไมถิลี
bullet114.Yidsdish-ยิดดิช
bullet115.Euroba-ยูโรบา
bullet116.Lingala-ลิงกาลา
bullet118.Slovenia-สโลวีเนีย
bullet119.Swahili-สวาฮิลี
bullet120.Sanskrit-สันสกฤต
bullet121.history107-history107
bullet122.Amharic-อัมฮาริก
bullet123.Assam-อัสสัม
bullet124.Armenia-อาร์เมเนีย
bullet125.Igbo-อิกโบ
bullet126.History115-ประวัติ 115
bullet127.history117-ประวัติ117
bullet128.Ilogano-อีโลกาโน
bullet129.Eve-อีเว
bullet130.Uighur-อุยกูร์
bullet131.Uradu-อูรดู
bullet132.Esperanto-เอสเปอแรนโต
bullet133.Albania-แอลเบเนีย
bullet134.Odia(Oriya)-โอเดีย(โอริยา)
bullet135.Oromo-โอโรโม
bullet136.Omara-โอมารา
bullet137.Huasha-ฮัวซา
bullet138.Haitian Creole-เฮติครีโอล
bulletคำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรแปล เช้า-เย็น
bulletChart Showing the Process
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี พ.ศ.2540 - 2566
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 1
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 2
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี บุคคลที่ 1 - 188 ปัจจุบัน
bulletหนังสือพิมพ์ดี
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 1
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 2
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 3
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 4
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 5
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 6
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 7
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 8
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 9
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 10
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 11
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 12
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 13
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 14
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 15
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 16
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 17
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 18
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 19
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 20
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 21
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 22
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 23
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 24
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 25
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 26
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 27
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 28
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 29
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 30
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 31
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 32
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 33
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 34
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 35
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 36
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 37
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 38
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 39
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 40
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 41
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 42
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 43
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 44
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 45
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 46
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 47
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 48
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 49
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 50
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 51
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 52
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 54
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 55
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 56
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 57
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 58
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 59
bulletTo The World
bulletENGLISH
bulletUSA
bulletChina
bulletIndia
bullet Mynmar
bullet Cambodia
bullet Loas
bulletSri Lanka
bulletMalaysia
bulletKorea
bulletA Sharp Turn of Believes : Iresearch Iwrite Iread
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 1
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 2
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 3
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 4
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 5
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 6
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 7
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 8
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 9
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 10
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 11
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 12
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 13
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 14
bulletMystery Report 15
bulletMystery Report 16
bulletMystery Report 17
bulletMystery Report 18
bulletMystery Report 19
bulletMystery Report 20
bulletMystery Report 21
bulletMystery Report 22
bulletMystery Report 23
bulletMystery Report 24
bulletMystery World Report 25
bulletศึกษาโลกลี้ลับ 26
bulletเฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว วิเคราะห์ทุกปัญหาในโลกมนุษย์ด้วยสติปัญญาและเหตุผลวิทยาศาสตร์จากนสพ.ดี
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2536
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2537
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2538
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2539
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2540
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2541
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2542
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2543-2545
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2545-2549
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2549-2550
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2550-ส.ค.2551
bulletเฝ้าดูฯ ส.ค.-ก.ย.2551
bulletเฝ้าดูฯ ก.ย.2551- ธ.ค. 2551
bulletเฝ้าดูฯสำนวนพัชรา กอปรทศธรรม
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 16-27
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 29
bulletบทความใหม่ เม.ย.-พ.ค.2552
bulletพุทธธรรมเพื่อทางดับทุกข์
bulletทฤษฎีการดับทุกข์ทางจิต วิปัสสนากรรมฐานโดยการทำงาน(สำนวนปรับปรุงใหม่)
bulletประวัติพัชรา กอปรทศธรรม
bulletประวัติการต่อสู้เพื่อการดับทุกข์ ของพัชรา กอปรทศธรรม
bulletอัลบั้มรูป history
bulletนิทานธรรมะประยุกต์ มานุสสาสุระสงคราม 4 ภาค และอื่น ๆ
bulletอัลบั้มรูป ภาพในอดีตและชีวประวัติศาสตร์ที่สวยงาม
bulletจากเวบบอร์ด พูดกันไม่รู้เรื่อง ประชาธิปไตยล้าหลัง
bulletศาสนาสากล การวิเคราะห์ความหมาย
bulletปลอบใจ
dot
รวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์ แนวปฏิรูปคณะสงฆ์อยู่ในบทวิเคราะห์นี้แล้ว
dot
bulletรวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์
dot
สากลจักรวาล สากลศาสนา แนวคิดศาสนาสำหรับคนยุคใหม่ ผู้ก้าวผิดทางไปสู่สิ่งไร้สาระโดยไม่รู้ตัว
dot
bulletสากล...ศาสนา 1
bulletสากล...ศาสนา 2
bulletสากล...ศาสนา 3
bulletสากล...ศาสนา 4
bulletสากล...ศาสนา 5
bulletสากล...ศาสนา 6
bulletสากล...ศาสนา 7
bulletสากล...ศาสนา 9
bulletสากล...ศาสนา 8
bulletสากล...ศาสนา 10
bulletสากล...ศาสนา 11
bulletสากล...ศาสนา 12
bulletสากล...ศาสนา 13
bulletสากล...ศาสนา 14
bulletสากล...ศาสนา 16
dot
ส่วนข้อมูลสำคัญเพื่อการวิจัยการเมืองไทยยุค คมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
dot
bulletข้อมูลสำคัญยุคคมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่1/26ส.ค.2551
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่2/27ส.ค.2551
bulletใบปลิว อีเมล์ ในหลวงทรงร้องไห้
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 1
bulletในหลวงเพิ่งทราบข่าวฆ่าประชาชน10เมย.53ทรงร้องไห้
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
dot
รวมข่าวม็อบการเมืองสนธิ-จำลอง-ปชป.มิ.ย.51-เม.ย.52 นสพ.
dot
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 2
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 3
bulletรวมข่าวม็อบ30มิ.ย.51-23มี.ค.52
bulletเลือดศรีสะเกษบันทึกเรื่องราวรอบด้านเกี่ยวกับเขาพระวิหาร
bulletรายงานการโฆษณาชวนเชื่อในประเทศไทยที่ล้มล้างรัฐบาลทักษิณ
bulletหนังสือพิมพ์ดี ของฟรีให้เปล่ามา20ปีแล้วทั้งเอกสารและอินเทอเนท
bulletหนังสือพิมพ์ดี ( อินเทอเนต ) เล่ม 1 - 44 - ล่าสุด
bulletหน้าที่เก็บไว้
bulletมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร)
bulletวัดมหาพุทธาราม ศรีสะเกษ บันทึกเหตุการณ์
bulletสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดศรีสะเกษแห่งที่ 1
bulletเกี่ยวกับเวบไซต์ของเรา เราทำเพื่อปัญญาชนโดยแท้
bulletรวมกระทู้เด็ดจากกระดานถามตอบ
bulletคาถาอาคมไสยศาสตร์
bulletกวีนิพนธ์ใหม่
bulletศูนย์ปฏิญญาณละเลิกอบายมุข บัญชีที่ 1- 4


หนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 9

หนังสือพิมพ์ดี The Good Paper

วิเคราะห์ข่าวในวงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดภาคอีสาน

เล่มที่ 9

ปีที่ 2, ประจำเดือน มกราคม 2541

 

เพื่อการศาสนาสากล : FOR ALL THOUGHT

 

 

 

1.      หน้าบอกสถานะของเรา
2.      สารความสุข พุทธศักราช ๒๕๔๑
3.      บทบรรณาธิการ
4.      คอลัมน์เฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว
4.1    ผู้หญิงจากจอแก้ววันนี้

4.2   ขอคิดด้วยคน เรื่องเมียหลวงเมียน้อย
4.3    วิถีสันติ  รายการมุสลิม

4.4   ปศุสัตว์พัฒนา ไข้หวัดนกฮ่องกง
5.     จดหมายถึงบรรณาธิการ ; ปัญหาอริยบุคคล-โสดาบัน
6.     ประชาธิปไตยสงฆ์ : จะปฏิรูปอย่างไร

7.     ท่านยังไม่รู้จักพุทธทาสภิกขุ
8.     นิทานธรรมะ ซิ่งเนรคุณ
9.     ประวัติของผมฯ พระผู้มีปกติอยู่ด้วยอิริยาบถ 3

10.    สากลจักรวาลสากลศาสนา(2)

 

 

 

 

 หน้าบอกสถานะของเรา

เล่มที่ 9

 

วิเคราะห์ข่าวในวงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดภาคอีสาน รายคาบ

วัตถุประสงค์ :   เพื่อการนำความคิดไปสู่ความดีงาม,

                     เพื่อความกลมกลืนแห่งสากลศาสนา :

 

                      FOR ALL GOOD, FOR ALL THOUGHT

 

ประจำเดือน               ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐

คณะที่ปรึกษา            ดร.นันทสาร สีสลับ

                              -กรรมการอำนวยการ และ เลขานุการองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์ แห่งโลก (พ.ส.ล.)

 

                             -อดีตกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ สสร. ศรีสะเกษ

                              -อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

-ผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติ

-เลขาธิการสมัชชาศิลปวัฒนธรรมไทย

บรรณาธิการ : พระพยับ ปญฺญาธโร

-ปญฺญาธโรภิกฺขุ พระผู้มีปกติอยู่ด้วยอิริยาบถ 3

-อดีต ร.อ.พยับ เติมใจ กองบัญชาการทหารสูงสุด สนามเสือป่า

-อดีตเจ้าอาวาสวัดโนนน้อย

-อดีต รก.เจ้าอาวาสวัดโคกกลาง

-อดีตวิทยากรโครงการแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง สศก.

-อดีตเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ

-(อดีต) ผู้จัดการ ร.ร.พระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา วัดมหาพุทธารามวิทยา

-ที่ปรึกษาพุทธสมาคมจังหวัดศรีสะเกษ

-กรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ

-เลขาธิการมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร)

 

กองบรรณาธิการ มหาเก่า เข่าขี้เมี่ยง เซียงบ้านนอก

-นายแสงทอง มะลิวงษ์

-เลขานุการองค์การบริหารส่วนตำบลฮ่องข่า

-อาสาสมัครประชาสัมพันธ์ประจำหมู่บ้านดีเด่น(อปม.ดีเด่น) ประจำปี ๒๕๔๐ ของจังหวัดศรีสะเกษ

-ประธานอาสาสมัครแจ้งข่าวอาชญากรรม กรมตำรวจ

-หมอดินอาสา กรมพัฒนาที่ดิน (ประธานรุ่น)

-กรรมการศึกษาดีเด่น ร.ร.บ้านฮ่องข่า

-อาสาสมัครสาธารณสุข ม.8 ต.หนองอึ่ง

-อดีตผู้ทรงคุณวุฒิ 2 สมัย และ

-ไวยาวัจกรวัดบ้านฮ่องข่า

โลเกก แห่ง น.ส.พ..ประชาธิปไตย

พิมพ์ที่ : มูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร) -วัดมหาพุทธาราม ถนนขุขันธ์ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ๓๓๐๐๐

โทร-โทรสาร : (๐๔๕) ๖๒๒๔๕๕

-ติดต่อสะดวกที่ ตู้ ปทจ.5 ศรีสะเกษ 33000

 

การแจกจ่าย

- เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดทั่วประเทศ

-วงการสงฆ์

-วงการบริหารบ้านเมือง

-หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์

 

 

 

 

 

 

 

 

 สารความสุข พุทธศักราช ๒๕๔๑

 

 

ขอปีนี้มีจิตคิดเมตตา
อีกความกรุณามหาศาล
ล้นฝั่งดังมหาชลาธาร
เบิกบานทั่วทั้งแผ่นแดนดิน

 


ขอปีนี้มีจิตคิดเอ็นดู
พรั่งพรูดั่งมหาชลาสินธุ์
มัจฉาเริงร่าในวาริน
เป็นสุขตราบสิ้นขิรินทร

 


ขอปีนี้มีจิตคิดถึงธรรม
พระผู้นำอมตวจนามาสั่งสอน
พุทธศาสดาล้ำนำนคร
สว่างภพจบขจรจำเนียรกาล

 


รำลึกสระสรงมหานิรวานะ
ดื่มรสพระมหาวิมุติสุดสนาน
ที่สุดโลกโศรกศัลย์อันตรธาน
อยู่เนิ่นนานชั่วฟ้านภาลัย

 

            หนังสือพิมพ์ดี
            บานไม่รู้โรย ประพันธ์

 

 

จเช ธนํ องฺควรสฺส เหตุ องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน
องฺคำ ธนํ ชีวิตญฺจาปิ สพฺพํ จเช นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต

นรชนพึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ
พึงสละอวัยวะเพื่อ รักษาชีวิต
พึงสละทรัพย์ อวัยวะ และแม้ชีวิตเพื่อรักษาธรรม

(โพธิสัตฺต ขุ. ชา. อสีติ ๒๘/๑๔๗)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 บทบรรณาธิการ

 

 

นี่คือ หนังสือพิมพ์ดี :วิเคราะห์ข่าวในวงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดภาคอีสาน ฉบับปรับปรุงยกระดับ ประจำเดือน มกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๑

เราจะบินบินบินและบินไป สู่ขอบฟ้าสดใสในเบื้องหน้า

ดี ฉบับปีใหม่นี้ ท่านผู้อ่าน เพื่อนสหธรรมิก จะได้พบคอลัมน์เฝ้าดู วัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว เราสำรวจผู้หญิงในจอแก้วทุกช่องว่าเป็นอย่างไร เรามองผู้ชายอย่างไรบ้าง เราพูดถึงเรื่องมนุษย์ต่างดาว ที่ ศ.ดร.เทพนม เมืองแมน พูดถึงนั่นแหละ และเราพูดถึงเรื่องอื่น ๆ อีกไม่มากนัก เพราะไม่ค่อยมีเวลามากมายพอจะเฝ้าดูอย่างแต่ก่อน แต่เรื่องฮ่องกงฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ไก่ทั้งประเทศ เรามีข้อที่น่าคิดเอามาก ๆ

คอลัมน์การท่องเที่ยว เราหมายถึงท่องเที่ยวไปทางจินตนาการด้วย เรามีเบื้องต้นแห่งกวีนิพนธ์เป็นเรื่องแทน เพราะเราไม่ค่อยมีเวลาไปเที่ยว

ปัญหาอริยบุคคล เมื่อเริ่มเปิดประเด็นแล้วก็ไม่จบลงง่าย ๆ เป็นเช่นนี้เอง เช่นที่เห็นในวารสารธรรมะที่เปิดความคิดเสรีในเรื่องนี้ หลาย ๆ ฉบับ สำหรับหนังสือพิมพ์ดีเราจะไม่รวบรัดเลย มีอะไรพิศูจน์กันได้ในคอลัมน์จดหมายถึงบรรณาธิการ

ประเด็นหลักของเราคือ ปัญหาการปกครองสงฆ์ ที่เราได้นำพาความคิดท่านผู้อ่านมาตามลำดับ บัดนี้มาถึงจวน ๆ จะเป็นปลายทางเข้าแล้ว ความเหน็ดเหนื่อยของเรา ในฐานะมรรคคุเทศก์เริ่มหายไป เพราะภาระหน้าที่ของเราจวนสิ้นสุดลง(ในระดับหนึ่ง) นั่นหมายความว่า เส้นทางสายนี้ได้เปิดให้เดินแล้ว ต่อไปคนทั้งหลายก็คงจะตามมาเองเมื่อเราจัดทำแผนที่เดินทางเผยแผ่ออกไปอย่างกว้างขวาง เราอยากบอกเพื่อนสหธรรมิกว่า การที่จะดำเนินต่อไปในเรื่องนี้นั้น ย่อมจะเป็นไปพร้อม ๆ สถานการณ์ที่ผันแปรไปอย่างใหญ่หลวงของโลก ของสังคมเรานั่นเอง จะเป็นตัวกำหนด

คอลัมน์ประจำมี ท่านยังไม่รู้จักฯ ๖ โดย ไกลกิเลส

ประวัติของผมฯ ตอนนี้ เอาเรื่องเดิมมาขัดตาทัพ เพราะเขียนไม่ทัน แต่เป็นตอนที่มีข้อสังเกตที่สำคัญมาก ที่ไปเกี่ยวข้องกับ ความเป็นพระผู้มีปกติอยู่ด้วยอิริยาบถ ๓อย่างไร

ลองอ่านนิทานธรรมะ อิณาทานํ ทุกฺขํโลเก บทสรุปของ ซิ่งเนรคุณซึ่งทุกวันนี้ก็มีอยู่เกลื่อนไป น่าใจหายที่คนยังไม่เข็ดขยาด ราวกับ กำลังเมากันอยู่ไม่สร่าง

กีฬาทุกวันนี้ เดินไปผิดทางเสียแล้ว จาก แก้กองกิเลส เป็น โถมเข้าหากิเลส เต็มตัว

เราได้อะไร นอกจากตื่นตามเขา ไม่ดูตัวเอง จน หาเพื่อจ่าย จนหนี้สินล้นพ้นตัว

สากลจักรวาล-สากลศาสนา ก็เดินต่อไป

เรื่องการเมืองวันนี้ ค่าเงินลงถึง ๕๖.๗๐ บาท ต่อ ๑ ดอลลาร์สหรัฐ แต่เราก็เห็นว่า ท่านชวน หลีกภัย เป็นบุคคลที่น่านิยม ท่านมีความซื่อสัตย์และฉลาด คิดว่าทีมงานท่านก็ดีพอ เราคิดว่าไม่นานท่านก็คงต้องจากวงการเมืองไป โดยกฎธรรมดา ท่านก็ต้องไว้ฝีมือท่าน ในฝ่ายค้าน เราคิดว่าภาระหน้าที่ของฝ่ายค้านนั้นมีความสำคัญมาก ในแง่ที่ว่าจะต้องทำให้ถูก กับความเป็นฝ่ายค้านที่แท้จริง เราปรารถนาจะได้เห็นแง่คิด คำพูดที่เฉลียวฉลาด แสดงออกซึ่งภูมิรู้ภูมิปัญญา การรู้เท่าทันปัญหาของชาติบ้านเมืองที่เสนอทางเลือกของการแก้ปัญหาออกมาหลาย ๆ ทาง ของบุคคลในพรรคในกลุ่มต่าง ๆ มากกว่านี้

หนังสือพิมพ์ดี ได้ประเมินผลบุคคลแห่งปีเหมือนกัน และเราขอยก ตำแหน่งบุคคลแห่งปี พ.ศ.๒๕๔๐ แด่ สุขวิช รังสิตพล ใน ฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ คะแนนที่ได้มาจาก เป็นบุคคลที่ทำให้วงการศึกษาของชาติสั่นสะเทือนอย่างแรง ไม่เคยปรากฎมาก่อน การศึกษาของชาติได้รับการเชิดชูอย่างสูงเด่นยิ่งกว่าสมัยใดใด ในการทำงานอย่างนี้ เราพิจารณาผลงานโดยรวมเป็นหลัก ความบกพร่องใดย่อมมีได้เป็นธรรมดาของการทำงานใหญ่ และในสถานการณ์เศรษฐกิจสังคมแห่งชาติที่เราเผชิญอยู่ เราเห็นว่า การศึกษา เป็นปัญหาสำคัญเร่งด่วน และต้องการคนที่กล้าทำงานใหญ่ทางการศึกษา ชาติจึงจะอยู่รอดได้

หนังสือพิมพ์ดีจึงขอยกย่องเกียรติคุณ สุขวิช รังสิตพล ไว้ ณ ที่นี้
ติดตามหนังสือพิมพ์ดีได้เลยครับ ฉบับหน้าอาจจะช้า ขออภัยไว้ล่วงหน้าฯ

 

 

         บรรณาธิการ
         ม.ค.๔๑

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  (คอลัมน์ เฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว พ.ศ.๒๕๔๐)

ต่อต้านเอดส์ ต่อต้านอนารยธรรม

โดย คอมพิวเตอร์แมน และ บูดามี

 

 

 ผู้หญิงจากจอแก้ววันนี้ :
ปีเก่า ๒๕๔๐ ต่อปีใหม่ ๒๕๔๑

เห็นผู้หญิงแปลก ๆ ผู้หญิง ไอทีวี ตัวแบน ๆ แต่งหน้า แต่งตัว แต่งผม ทาปาก แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าแพง สีจ้า ส้ม ๆ แดง ๆ บาดตาเกินไป เวลาพูด เหมือนหุ่น ไร้ความรู้สึกของความเป็นมนุษย์ ผู้หญิง ช่อง ๙ ยิ้มมาก แต่งหน้า ทาปากก็มาก แต่งตัวก็ดี เสื้อผ้าแพง ผู้หญิง ช่อง ๗ ขึงขัง ฉลาด เวลาพูด มีรอยยิ้มในดวงตา แต่งหน้าบาง ๆ ใกล้เคียงธรรมชาติ ยิ่งเปลือง ผู้หญิง ช่อง ๑๑ เช้า ๆ แก่งั่ก ! แต่งอะไร ๆ ไปก็ยังดูโทรม ! พูดไม่เป็นภาษาไทย ฟุด ๆ ฟิด ๆ ฟังไม่ทัน พูดทำไมทุกเช้าทุกวัน ๆ ผู้หญิง ช่อง ๓ พูดช้า ๆ ยิ้มกว้าง ๆ พยายามยิ้มจนดูฝืน ๆ ใส่เสื้อสีแดงแจ๊ด (สำหรับเธอคนนั้น) ใส่เสื้อขาวจ๊าบก็มี แต่งหน้าทาปากพอราง ๆ เป็นนักนิยมธรรมชาติ พูดจบทีก็ฉีกยิ้มที ผู้หญิง ช่อง ๙ ตาสวย ตาคม ชอบชำเลือง พูดไทยชัดเจนดี ชอบพูดคนเดียว ผู้หญิง ช่อง ๑๑ ดูขี้เหร่ แต่หากงาม ไม่ค่อยแต่งตัว แต่ก็ทาคิ้ว ทาปากเวลาพูดมีแย้ม ๆที่มุมปาก ตาวาว ผู้หญิง ช่อง ๕ ผมยาว ทาปากแดง หน้านวล ซีด มองไกล เห็นหน้ากว้างปากแดง ส่วนคนแก่ หน้าขาว คอเลอะ ผู้หญิง ช่อง ๕ อีกคนหนึ่งผอม หันช้ายที หันขวาที ชูนิ้วบ้าง ยิ้มบ้าง หัวเราะบ้าง เธอก็แต่งหน้าเยอะเหมือนกัน ช่อง ๓ ตัวผอม คิ้วต่อ ตากว้าง คอแดงเหมือนกิ้งก่า ผู้หญิง ช่อง ๙ หวีผมปกหน้าผาก เหมือนปอยน้ำตก คงนึกว่า เท่ห์ละฉัน ผู้หญิงตัว บาง ๆ ไอทีวี คนนั้น คงติดหนังจีนกำลังภายใน มีผมยาวไว้แต่ง เดี๋ยวก็ม้วนเข้า เดียวก็เทออก เดี๋ยวก็ทำทรงสูง ทำทรงต่ำ คงนึกว่าหน้าจอเป็นเวทีเดินแฟชั่น ใส่เสื้อผ้าดี สีส้ม ๆ แดง ๆ เด่นมาก บางครั้งผู้หญิง ช่อง ๗ ออกมาสองคน หน้าตาคล้าย ๆ กัน แทบจำกันไม่ได้ แข่งกันแต่งตัว คงไปบอกช่างเขาว่าแต่งตัวให้เราสองคนเหมือนกันเปี๊ยบเลยนะ ภาพผู้หญิงทางจอแก้ววันนี้ น่านึกคำถามออกว่า ผู้หญิงจะช่วยกู้ชาติไทยได้อย่างไร นอกจากขายความสวยขายความงาม เพื่อการบำเรอหูตาจมูกลิ้นกายใจคนสาธารณะเขา แต่จริง ๆ แล้ว ยังมีผู้หญิงอยู่กลุ่มหนึ่ง ที่น่าจะเอามาโชว์ให้บ่อย ๆ คือผู้หญิงกลุ่มที่ปฏิบัติธรรมในชีวิตการงานประจำวัน มีอุดมการสานสร้างธรรมดำรงพุทธศาสน์ที่แท้ รู้ถือศีล ๕ ศีล ๘ ศีลพรหมจรรย์ หน้าตาอาบเหงื่อ ต่างน้ำ แต่เปี่ยมด้วยรอยยิ้ม จากภายในจิตใจ เปี่ยมด้วยความมั่นใจในวิถีทางแห่งชีวิต มั่นใจไร้ความหวาดหวั่นเพราะการกระทำถูกศีลธรรม ถูกเส้นทางพระศาสนาที่แท้ มั่นใจในนามธรรมภายใน ไม่หลงใหลรูปธรรมภายนอก ไม่มีเงินเดือนเงินดาวให้ก็ร่าเริงใจ ไม่มีเสื้อผ้าแพง ๆ สวมใส่ ก็มีความมั่นใจ ไม่ต้องทาปาก ทาเล็บ ไม่ต้องอาศัยทรงผมก็ดูอ่อนเยา ด้วยความเมตตากรุณา มีวาจาคำพูดที่สะท้อนความรู้สึกของคนที่มี ความเป็นมนุษย์ ผู้หญิงอย่างนั้น จึงเหมาะสำหรับยุคกู้ชาติ และผู้หญิงอย่างนั้น แบกกระสอบข้าวก็ได้ ทำอะไรก็ได้ ขอให้สุจริตก็พอ

ผู้ชายไทยวันนี้ ต้องดู ศาสตราจารย์ ดร.เทพพนม เมืองแมน ว่าติดต่อทางจิตหรือโทรจิต กับมนุษย์ต่างดาว มาด้วยจานผีได้ และพิศูจน์กันที่ ม.รามคำแหง บอกต่อไปอีกว่ามนุษย์ต่างดาวโทรศัพท์มาหาตนที่บ้าน พูดจากันเป็นเรื่องเป็นราวทางโทรศัพท์ แล้วที่สิงห์บุรีก็มีคนติดต่อเชิญจานผีมาปรากฎบนท้องฟ้าให้เห็นได้เช่นเดียวกัน ก็ระวัง เขาจะหลอกจะชวนไปเข้าลัทธิประตูสวรรค์ให้ดีล่ะ พอได้หมู่ได้พวกมาก ๆ ก็สอนเรื่องวิญญาณอมตะให้ แล้วก็ชวนกันฆ่าตัวตายหมู่ พาวิญญาณหมู่ไปกับจานผีที่มารอรับเอาดวงวิญญาณมนุษย์ยุคโลกาวินาศ ไปดาวอังคารพู้น

ผู้ชายเก่ง และดี คือ ธงชัย แมคอินไตย ที่ตั้งใจบวชอุทิศบุญกุศลให้แม่ นี่จึงเข้าพุทธภาษิตว่านิมิตฺตํสาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา : เครื่องหมายของคนดีคือความกตัญญูกตเวทิตาไม่ใช่เฉพาะว่าท่านกตัญญูกตเวทิตาต่อ บิดามารดา เท่านั้น หากแต่โดยกริยานี้ ได้เป็นความกตัญญูกตเวทิตาคุณต่อพระพุทธศาสนาโดยตรง บวช ณ อุโบสถวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๔๐ พระราชพิสุทธิมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ ผู้ให้กำเนิด พระคู่สวดคือ พระวิมลศีลาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูวิสณฑ์วิหารกิจ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้สมญานามว่า พระธงชัย อภิชโย ชื่อและสมญานามที่จะปรากฎตลอดไป ในบวรพุทธศาสนา ทำวัตรปฏิบัติพระอุปัชฌาย์อยู่เพียง ๔ วัน ก็เดินทางไปปฏิบัติธรรม ชั้นลึก ณ วัดอรัญญวิเวก(วัดบ้านปง) ต.อินทขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ โดยมี พระเปลี่ยน ปญฺญาปทีโป เป็นพระอาจารย์อบรมสั่งและสอนทางวิปัสนาธุระให้เข้าสู่วิถีมรรคผลนิพพาน ตลอดเวลาประมาณ ๑ เดือนต่อมา และต้องแอบจารึกเอาไว้อย่างเงียบ ๆด้วยว่ามีผู้ชายอีก ๒ คน ๆ หนึ่งคือ คุณปีเตอร์ เจนเซน และอีกคนคุณภูมิ เจนเซน พระสวามีและโอรสในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯ เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา บวช ณ อุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อ ๒๓ ธ.ค.๔๐ มีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงขลิบพระเกษา ได้สมญานามว่า พระปีเตอร์ สุปีติโก และ สามเณรภูมิ เจนเซน บวชแล้วเพียง ๑ วันก็เดินทางไปปฏิบัติธรรม ณ สำนักสงฆ์ดอยอ่างขาง อ.ฝาง จ. เชียงใหม่ คาดว่าจะบวชนานเท่าที่ว่างจากการสอน ช่วงปิดเทอมของมหาวิทยาลัย

 

 

 

 ขอคิดด้วยคน เรื่องเมียหลวงเมียน้อย
ช่อง ๙ ๗ ม.ค. ๒๕๔๑
เวลา ๒๐.๓๐-๒๑๓๐ น.

 

เป็นพุธที่ ๒ ที่พูดเรื่อง เมียหลวง-เมียน้อย และแล้วก็หาข้อสรุปไม่ได้ ไม่เข้าใจว่าพูดเรื่องอะไรกันแน่ พูดไปทำไม พูดถึง นรม.ชวน หลีกภัย แล้วเลยไปถึงจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นโปเลียน โบนาพาร์ตไปนู้น สิ่งที่น่าสนใจกลับเป็นคนที่มาพูดในรายการนี้ แพทย์หญิงนงพงา ลิ้มสุวรรณ จาก แผนกจิตเวช ร.พ.รามาธิบดี เธอรู้เรื่องมากมายรอบด้านและเต็มไปด้วยเหตุผล หลักวิชา และแม้หลักฐานการอ้างอิง น่าเชื่อถือ แต่เรารู้สึกว่า ไม่ถึงใจ เรารู้สึกว่ามองทางกว้างและกินตื้น ๆ ไปทั้งหมด ในขณะเดียวกัน คุณนักประพันธ์หญิง คุณนันทนา วีระชน บอกบุคคลิกภาพที่ดูอบอุ่น เมื่อเธอมองปัญหาค่อนข้างลึกซึ้งและรอบคอบ มีลักษณะเป็นผลพวงของการเรียนรู้สัจธรรมแห่งชีวิตมามาก ประสบการณ์ก็มีมาก แต่เราก็รู้สึกว่ายังขาดอะไรไปสักอย่างที่เราเองก็นึกไม่ออก รู้แต่ว่าขาดอะไรไป ไม่ถึงใจอีก ดร.นิพนธ์ ศศิธร ที่มีเมียเด็กรุ่นลูกหลาน เราไม่ค่อยเข้าใจว่าท่านพูดเรื่องอะไร ที่ดูขัดแย้งคนอื่น ๆ เขา อย่าง

เช่นเรื่อง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ กับอนุภรรยา เมื่อท่านบอกว่าความจริงที่เห็นน่าจะบอกความสามารถในการบริหารการปกครองบ้านเมืองของท่านจอมพลผ้าขะม้าแดงได้แน่ เมื่อคนอื่นๆไม่เห็นด้วยท่านก็พูดอะไร ๆ ไปใหญ่ บุคคลิกภาพที่น่าทึ่งก็คือ อ้อย บีเอ็มหรือ คุณจินตนา บุนนาค ซึ่งความคิดอ่านของเธอดูจะเข้าใจยากและยอมรับได้ยากสำหรับคนดี ๆ หลาย ๆ คน แต่เรามองไปถึงลัทธิศาสนาบางลัทธิ ที่น่าจะมีคนอย่างอ้อย บีเอ็มนี่แหละ เป็นผู้ริเริ่มสถาปนาขึ้นมา แต่ระดับความคิดนี้ก็เป็นเหลี่ยมมุมที่ยังไม่ใช่เนื้อธรรมอันล้ำลึก อันบริสุทธิ์เมื่ออยู่ในแผ่นดินพระพุทธศาสนา ที่ดูจะทำงานหนักก็เจ้าของรายการ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ที่พยายามตะล่อมให้เข้าประเด็น แต่แล้ว เราก็ฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง หาข้อสรุปไม่ได้ ไม่รู้ว่าพูดเรื่องอะไร พูดไปทำไม ดูเหมือนปี พ.ศ.๒๕๔๑ จะไม่ค่อยโสภา ไม่น่าอภิรมย์นักสำหรับคนในโลกนี้ เมียหลวงกับเมียน้อยก็คงจะเป็นปัญหาอยู่ต่อไป.

 

 

 

 

 วิถีสันติ  รายการมุสลิม
ช่อง ๙ ๙ ม.ค.๔๑
เวลา ๐๕๓๐-๐๕๕๐ น.

รายการไทยมุสลิม ศุกรนี้พูดเรื่องศีลอด ในเทศกาลเดือนรอมฎอน ท่าน สวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ จุฬาราชมนตรี พูดว่า การถือศีลอดช่วยลดอาชญากรรมทางเพศ ท่านอ้างพระมหาคัมภีรอัล กุรอาน ว่า ถ้าผู้ชายสามารถมีเมีย-มีครอบครัวได้ก็ให้รีบมีเสียเถิด หากว่าไม่สามารถก็ขอให้มาถือศีลอดเถิด โดยจุดประสงค์ก็เพื่อให้การถือศีลอดช่วยลดความคึกคะนองกายวาจาใจ อันเป็นเหตุลืมตัวก่ออาชญากรรมทางเพศนั่นเอง นับว่าเป็นคำสอนที่ทันสมัยมาก เพราะแท้จริง กาม สามารถควบคุมได้ ด้วยวิถีสันโดษ เช่นเดียวกัน หากคนไทยสามารถกำหนดความพอ หยุดความพอทางกาม ลง ณ จุดของการแต่งงาน ผัวเดียวเมียเดียวนี้ได้แล้ว เรียกว่ามีความสันโดษทางกาม ปัญหาอาชญากรรมทางเพศ ทางกาม ก็จะลดน้อยลงไปอย่างมาก รวมทั้งปัญหาโรคเอดส์ด้วย

 

 

 

 

 ปศุสัตว์พัฒนา
ช่อง ๕ ๙ ม.ค. ๔๑
เวลา ๐๖๐๐-๐๗๐๐ น.

 

พิธีกรคุยกับอธิบดีกรมปศุสัตว์ : สุวิทย์ ผลลาภ เรื่องไข้หวัดนกฮ่องกง ค่อนข้างทันกาลในเชิงข่าวการเกษตร เพราะไวรัสนกชนิดใหม่นี้ไม่สามารถเยียวยารักษาได้ เป็นเหตุให้คนตายไปสี่คน ฮ่องกงจึงต้องสำเร็จโทษไก่ทุกตัวจนเกลี้ยงแผ่นดิน ไม่ทราบจำนวนไก่ที่ถูกกวาดล้างว่ากี่ล้านตัวกันแน่ น่าสงสารไก่ และสัตว์ทั้งหลายที่มนุษย์ผู้เจริญยุคนี้ เจริญแต่ด้านวัตถุอย่างเดียวไปโดด ๆ จริง ๆ อังกฤษก็เคยฆ่าล้างวัวทั่วประเทศมาก่อน สาเหตุของทุพภิกขภัยเกิดแก่มนุษยชาติอย่างต่อเนื่องและทวียิ่งขึ้นไป ตราบโลกวินาศนั้นก็เพราะเหตุอย่างเดียวแท้ ๆ นั่นก็คือ มนุษย์ไร้น้ำจิตน้ำใจ เราเกรงว่าประเทศที่เจริญด้วยวัตถุมาก ๆ เช่นนี้ จะก่อปัญหา

ต่อไปอย่างไม่รู้จบสิ้น เช่นนายแพทย์เจ้าของทฤษฎีโคลนนิ่ง ในสหรัฐอเมริกา ก็โผล่หน้าออกมาเมื่อคืนที่แล้วบอกว่า ถึงรัฐสภาอเมริกันจะประกาศห้ามทำโคลนนิ่งมนุษย์ ตัวก็จะทำต่อไป ไม่อาจทำในประเทศสหรัฐอเมริกาก็จะหาทางทำนอกประเทศสหรัฐอเมริกา ลองมาพูดดี ๆ กับประเทศไทยดู อาจให้ทำก็ได้ เพราะมนุษย์มีคุณสมบัติถาวรคือความหยากใหญ่ ความใหญ่ เป็นเป้าหมายถาวรที่มนุษย์ต้องการ เมื่อเขามีทางที่จะใหญ่ จะแสดงอำนาจของเขาทางนี้ เขาก็ดิ้นรนที่จะไปทางนี้ อันเป็นธรรมดามนุษย์ที่ไม่เคยรู้เรื่องมรรคผลนิพพานสวรรค์ว่ามีอยู่ มนุษย์คนอื่น ๆ ก็มีทางที่จะไปของตัวเอง ไปสู่ความใหญ่ของตัวเอง เช่นผู้หญิง เมื่อใหญ่ทางไหนไม่ได้เธอก็ใหญ่เอาทางโป๊ะทางเปลือย ได้ ใครจะทำไมในเมื่อกฎหมายรับรองว่านี่เป็นสิทธิของมนุษยชน ท่านอาจคิดไม่ถึงว่า คนบางคนที่ฆ่าตัวตาย เขาก็คิดว่าเขาใหญ่ในทางใจเด็ด และเขาต้องการโชว์ว่าใคร ๆ ก็ไม่อาจยิ่งใหญ่เท่าเขาได้ละ เพราะนี่แหละสุดยอดของความใหญ่จริง ๆ เดี๋ยวนี้มนุษย์ได้สำนึกถึงความใหญ่ของเขาอย่างสูงมาก(มีอัตตาตัวตนสูงมาก) จนกระทั่งน้ำจิตน้ำใจคือความเมตตากรุณาที่มีประจำอยู่โดยธรรมชาติแห่งความเป็นคน ก็ร่อยหรอไปจนแทบไม่มีเหลือหลอ เห็นได้จากการที่เขาผู้ถือว่าตนเจริญแล้ว เช่นอังกฤษ อเมริกา นี่เอง และที่เห็นบัดนี้ก็ฮ่องกง ที่แสดงอำนาจแสดงความใหญ่ของมนุษย์ สั่งกวาดล้างชีวิตไก่ทิ้งทั่วประเทศ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม ได้เป็นสิ่งชี้บอกว่าโลกกำลังพัฒนาไปสู่ความใหญ่ขึ้นทุกวัน ๆ แต่นั่นแหละเป็นทางแห่งความพินาศ เราเกรงว่าประเทศที่เจริญเช่นนั้นกำลังคิดการณ์ไกลเกี่ยวกับโรคร้ายชนิดหนึ่งในมนุษย์ และเขากำลังคิดมาตรการเช่นเดียวกับสัตว์ปีกเหล่านั้น "คนติดเอดส์แล้ว ไม่ควรมีสิทธิมีชีวิตอยู่บนแผ่นดิน เอาไปเผาหมู่ทิ้งเสียให้เกลี้ยง" เราเกรงความคิดนี้จะไกลไปถึงกับว่า "คนแก่ไร้ประโยชน์แล้ว ไม่ควรอยู่ต่อไป หนักแผ่นดินโลก" ฯ

 

ต่อต้านเอดส์ต่อต้านอนารยธรรม
บูดามี ผู้วิเคราะห์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 (คอลัมน์ระดมความคิด)
จดหมายถึงบรรณาธิการ

 

 

            สคส. ๒๕๔๑

 

            น้อมคำพรนบคำใจใส่คำถ้อย
            เรียงคำร้อยร่ายคำรักใส่อักษร
            คำว่า"สุขสุขสุข"ผูกเป็นกลอน
            จารึกซ้อนด้วยคำ"ให้ให้ให้"เทอญ ฯ

 

            กราบนมัสการด้วยความเคารพ
           
จากลูก
           
จันทร์จิรา แนวมั่น

 

 

ประเด็นปัญหา

กระผมขอกราบขอบพระคุณมากที่กรุณาส่งหนังสือพิมพ์ดีให้ กระผมได้อ่าน ในหน้า ๒๑ แล้ว อ่านแล้วรู้สึกว่าสงสารคนตอบมาก ๆ ไม่รู้จะทำอย่างไรดีท่านถึงจะ ถึงสภาวะนี้ มันตอบเป็นภาษาสมมติไม่ได้เสียแล้วครับ ท่านตอบปัญหานี้เสมือนกับ ป.๔ ไปตอบปัญหาปริญญา โดยไม่เคยเรียนปริญญามาเลย หรือเสมือนว่าท่านพูดถึงรสผลไม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งท่านก็ไม่เคยสัมผัสหรือชิมเลย ก็ไม่รู้ว่ารสชาติที่แท้นั้นเป็นอย่างไร ได้แต่ตอบตามเขาเดาสุ่ม แสดงให้เห็นภูมิธรรมชัดเจนเลย ท่านไม่มีสภาวะอย่างนี้ ไม่มีภูมิของอริยะ ไม่ควรจะมาตอบปัญหาของพระอริยเจ้า บาปกรรมเปล่า ๆ นา อย่างพระโสดาบันนี้ คำว่า วิจิกิจฉา การหายสงสัย มันไม่ใช่หายสงสัยแบบนี้ ท่านไม่ถึงสภาวะนั้นไม่ทราบหรอก มันเป็นปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตัว จะพูดเป็นภาษาสมมติไม่ได้ ถ้าท่านปฏิบัติธรรมถึงแล้วท่านจะตอบได้ทันที ที่ท่านตอบมันเป็นภาษาหนังสือที่อ่าน ท่านสาธยายไว้ คนที่จะบรรลุธรรมได้ต้องอยู่ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ศาสนาอื่นไม่มีทางครับ จะปฏิบัติธรรมอย่างไร ผู้ที่บรรลุธรรมจะต้องเดินทางเดียวคือมรรค ๘ เท่านั้น ธรรมทั้งหลายก็ล้วนอยู่ในกายกับจิตเท่านั้น เอาเข้าจริง ๆ ก็จิตตัวเดียว การบริจาคหรือให้ทานนั้น คนนอกศาสนาที่มีเมตตาเขาก็ทำกันอยู่แล้วครับ แต่การปฏิบัติทางจิตนี่ซิมันสำคัญ ธรรมะทั้งหลายที่ท่านพูดมานั้นเป็นเพียงแต่การสาธยายธรรมเท่านั้น การปฏิบัติจริง ๆ กำจัดกิเลสจริง ๆ นั่นมันไม่มีป้ายบอกดอก คนปฏิบัติรู้ได้เฉพาะตัวครับ การรักษาศีลตัวเดียวก็ไม่สามารถบรรลุได้ ถ้าไม่ประกอบด้วย ภาวนา ศีลบริสุทธิ์อย่างเดียวไม่ภาวนาก็ไม่ถึง เปรียบเสมือนเราสร้างบันไดแต่ไม่เดินขึ้นเสียทีก็ไปไม่ถึง การถึงธรรม การบรรลุธรรมนั้นเป็นเรื่องของปัญญาแล้ว รักษาศีลแต่ขาดปัญญาก็ไปไม่ถึง ผู้ปฏิบัติธรรมต้องทำให้มากถึงองค์ ๕ อย่างจนสมบูรณ์เต็มรอบ คือต้องมี พละ ๕ คือสติ สมาธิ ปัญญา ศรัทธา ความเพียร ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้ และต้องเดินทางเดียวเท่านั้นคือ มรรค ๘ ศีลเป็นเพียงฐานเท่านั้น กสิณต่าง ๆ ใช้เพียงเป็นตัวล่อจิตให้สงบตามจริตเท่านั้น ขั้นปฏิบัติภาวนาแล้วทิ้งหมด เป็นเพียงผู้เริ่มต้นทำเท่านั้นที่จะให้จิตสงบ ผู้ได้หลักแล้วไม่ใช่คนแต่งหนังสือ ท่านจะต้องแยกให้ออกนะ คนแต่งที่บรรลุธรรม กับคนแต่งที่ยังไม่บรรลุ ไม่ใช่ว่าเป็นหนังสือแล้วเชื่อไปหมด เอามาอ้างได้หมด อย่างนี้แหละพระไตรปิฎกปัจจุบันบางตอนถึงเพี้ยนไปเพราะพวกนี้แหละ เกิดมาหมื่นชาติรักษาแต่ศีล ๕ ก็ไม่บรรลุธรรม

ถ้าไม่ปฏิบัติทางจิตตามมรรค ไม่ใช้ปัญญาพิจารณาธรรม บางคนพิจารณาแทบตายก็ไม่บรรลุเพราะไม่มีปัญญา มีปัญญาก็ไม่บรรลุเพราะไม่มีศีล กิเลสที่ละเอียดต้องตัดด้วยปัญญาในสมาธิเท่านั้น สมาธิก็ไม่ใช่สมาธิธรรมดา เป็นสมาธิชั้นสูงที่ตัดกิเลสได้ กิเลสทั้งหลายที่เรียกสังโยชน์ ๑๐ นั้น ไม่ต้องไปดูมันหรอก บรรลุธรรมมันก็หมดไปเอง ตามขั้นตามสภาวะมัน ธรรมะของอริยเจ้านั้น ไม่ใช่จะมาตอบเดาสุ่มแบบนี้ มันเป็นเรื่องปุถุชนตอบหรอกกันทำดีกว่า ที่ท่านตอบเป็นแค่เปลือกเท่านั้น อยากรู้ท่านลองเข้าสำนักปฏิบัติฝึกจริงเอาจริงสู้จริงสิ ท่านจะรู้ ผู้บรรลุธรรมต้องผ่านการพิจารณาธรรมมาแล้วทั้งนั้นอย่างโชกโชน เอาหละ ไม่อยากพูดกับท่านแล้ว แม่ชีที่ท่านว่านั้น เป็นเพียงแต่ผู้บริจาค ผู้เสียสละผู้หนึ่งเท่านั้น แม้จะเสียสละชีวิต ดวงตาก็ไม่บรรลุธรรมได้ถ้าไม่ปฏิบัติธรรมตามมรรค ๘ ที่พระพุทธองค์กำหนดไว้ คนนอกศาสนาพุทธไม่ปฏิบัติทางจิตแล้ว ไม่มีทางครับ อย่ามาอ้างโน่นอ้างนี่เลยครับ ไม่ใช่เรื่อง เป็นธรรมะที่เขาสาธยายให้ฟังเท่านั้น.

 

ตอบ : ท่านผู้นี้เป็นบุคคลเดียวกับที่มีจดหมายมาถึงบรรณาธิการ และท้วงขึ้นแต่คราวก่อน (โปรดดูฉบับ ธันวาคม ๒๕๔๐ จดหมายถึงบรรณาธิการ หน้า ๒๑) ฟังเสียงสำนวนท่านแล้ว เราก็ได้พบแต่ความไพเราะ ตั้งแต่ต้นจนจบ มันเป็นข้อความที่ไพเราะมาก จนเราคิดว่าเป็นบทวรรณกรรมบทสั้น ๆ ที่เป็นประดุจร้อยกรองแห่งโลกไกลที่ได้มาสู่เรา และเราไม่ค่อยได้พบแบบนี้บ่อยนัก (เคยพบมาน้อยครั้ง ที่พิสดารลึกซึ้งกว่านี้ก็มี ภายหลังจะนำมาเปิดเผยให้ทราบ)

เป็นน้ำเสียงที่เต็มไปด้วยความปรารถนาดี หมายถึงผู้ที่ได้พบความสุข แล้วปรารถนาเอื้อเฟื้อแผ่เผื่อเจือจาน

แต่เราก็ไม่อยากให้เกิดความเข้าใจผิด สำหรับผู้ที่ได้คบหาเรามานาน และ ที่ได้แสดงความชื่นชมเรามาก่อน ผู้ที่ได้อ่านหนังสือทุกเล่มทุกข้อความของเรา เช่นมีบางท่านเมื่อบอกว่าชี้แจงแสดงธรรมได้ชัดเจนแจ่มแจ้งมาก คนธรรมดาก็อ่านได้เข้าใจดี แล้วก็ยกย่องว่าเป็นถึงระดับ มหาบุรุษ นั่นทีเดียวเชียว (โปรดดูจดหมายถึงบรรณาธิการ ในวิเคราะห์ข่าวในวงการฯ ฉบับเดือนมิถุนายน ๒๕๔๐ หน้า ๑๗)

เรื่องนี้ เราอาจอธิบายได้ และจะขออนุญาตท่านเจ้าของจดหมาย(ท่านก็เปิดเผยชื่อจริงพร้อมตำแหน่งงานมาด้วย แต่เรายังเห็นว่าไม่เหมาะที่จะเปิดเผย) ขอวิเคราะห์ความคิดของท่านดูสักหน่อย เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน อย่างชาวธรรมะ

โดยขอให้ผู้อ่านได้ข้อสังเกตไว้เป็นหลักสำหรับการวิเคราะห์หรือการมองก่อน ดังนี้

เมื่อท่านผู้เขียนมา พูดออกมาว่า

กระผมได้อ่านในหน้า ๒๑ แล้ว อ่านแล้วรู้สึกว่าสงสารคนตอบมาก ๆ ไม่รู้จะทำอย่างไรดีท่านถึงจะถึงสภาวะนี้ มันตอบเป็นภาษาสมมติไม่ได้เสียแล้วครับ ท่านตอบปัญหานี้เสมือนกับ ป.๔ ไปตอบปัญหาปริญญา โดยไม่เคยเรียนปริญญามาเลย หรือเสมือนว่าท่านพูดถึงรสผลไม้ชนิดหนึ่งซึ่งท่านก็ไม่เคยสัมผัสหรือชิมเลย ก็ไม่รู้ว่ารสชาติที่แท้นั้นเป็นอย่างไร ได้แต่ตอบตามเขาเดาสุ่ม แสดงให้เห็นภูมิธรรมชัดเจนเลย ท่านไม่มีสภาวะอย่างนี้ ไม่มีภูมิธรรมของอริยะ ไม่ควรจะมาตอบปัญหาของพระอริยะเจ้าบาปกรรมเปล่า ๆ นา อย่างพระโสดาบันนี้ คำว่าวิจิกิจฉา การหายสงสัยมันไม่ใช่หายสงสัยแบบนี้ ท่านไม่ถึงสภาวะนั้นท่านไม่ทราบหรอก มันเป็นปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตัว จะพูดเป็นภาษาสมมติไม่ได้ ถ้าท่านปฏิบัติธรรมถึงแล้ว ท่านจะตอบได้ทันที ที่ท่านตอบ มันเป็นภาษาหนังสือที่อ่าน ท่านสาธยายไว้

ประการแรก ท่านเอาตัวของท่านเองตัดสินคนอื่น คือเอาภูมิปัญญาของท่านเอง ที่ท่านมีอยู่ นั่นหมายความว่าท่านเองก็มีภูมิปัญญาอันประเสริฐอยู่ระดับหนึ่ง จนพอที่จะรู้อะไร ๆ ในเรื่องมรรคผล ดังคำว่า

เสมือนว่าท่านพูดถึงรสผลไม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งท่านก็ไม่เคยสัมผัสหรือชิมเลยก็ไม่รู้ว่ารสชาติที่แท้นั้นเป็นอย่างไร

และประโยคที่เราได้ให้ตัวใหญ่ ดำพิเศษไว้ข้างต้นนั้นแล้ว

ข้อควรสังเกตก็คือ ท่านพูดประโยคเหล่านี้ ไม่มีที่มาที่ไป ไม่มีที่อ้างอิงว่าเอามาจากไหน จึงบ่งบอกว่า เป็นคำพูดของท่านเอง เอาออกมาจากใจเองโดยตรง จากภูมิธรรมของตนเอง ฉะนั้น จึงสรุปได้ว่าท่านตัดสินคนอื่นไป ตามภูมิปัญญาของท่านเอง คือเอาตัวเอง เอาพื้นฐานภายในของตัวเองเป็นบรรทัดฐาน แล้วตัดสินออกมาว่า ท่านเป็นชั้นปริญญา ส่วนคนอื่นเป็นชั้นประถม ๔

ได้แต่ตอบตามเขาเดาสุ่ม แสดงให้เห็นภูมิธรรมชัดเจนเลย ท่านไม่มีสภาวะอย่างนี้ ไม่มีภูมิของอริยะ ไม่ควรจะมาตอบปัญหาของพระอริยะเจ้า บาปกรรมเปล่า ๆ นา

ขอเน้นว่าท่านเป็นคนให้คะแนนเขาตามกฎเกณฑ์ของท่านเอง

ท่านใช้ภูมิธรรมของท่านเอง หรือมาตรวัดของท่านที่ท่านสร้างขึ้นมาเองไปตัดสินคนอื่น ในที่นี้ท่านก็ตัดสินลงไปว่า เขาไม่มีภูมิของอริยะฉะนั้นจึงไม่ควรจะมาตอบปัญหาของพระอริยะเจ้า บาปกรรมเปล่า ๆ นาคำพูดของท่านตรงนี้ จึงเท่ากับแสดงตัวออกมา ยืนยันว่าท่านเองมีภูมิธรรมถึงอริยะ เมื่อเอ่ยนามพระโสดาบันว่า อย่างพระโสดาบันนี้ คำวิจิกิจฉา การหายสงสัย มันไม่ใช่หายสงสัยแบบนี้ ท่านไม่มีสภาวะนั้นไม่ทราบหรอก มันเป็นปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตัวเป็นการบอกนัยยะสำคัญเกี่ยวกับระดับภูมิธรรมของท่านอย่างที่ท่านคิดว่าท่านมีท่านเป็น ว่าอย่างน้อยก็อยู่ระดับ รู้แจ้งเห็นจริงอยู่ระดับหนึ่งอย่างแม่นมั่น(โดยไม่เว้นที่เผื่อไว้สำหรับความผิดพลาดของตนเองบ้างเลย)

ปัญหาก็คือ คนทั่วไปจะยอมรับฟังความเห็นของท่านผู้นี้ หรือไม่ เพียงใด

ในเมื่อไม่ได้อิงหลักใด นอกจากอ้างตัวเอง โดยถือว่าเป็นปัจจัตตัง พูดไม่ได้

อธิบายเหตุผลไม่ได้ ใช้ภาษาไม่ได้ เพราะภาษาสมมติจะไม่ตรงกับสภาวะธรรมจริง ๆ เมื่อท่านพูดว่า ไม่ใช่ ไม่เป็น ไม่ถูก ออกมาโดยไม่แสดงเหตุผล ที่มาที่ไป หรือหลักวิชา แล้วจะมีคนเชื่อถือท่านหรือไม่ เพียงไหน

ประการที่ ๒ เราขออธิบายรูปธรรม หรือรูปร่างแห่งตัวปัญหา วิเคราะห์ได้ ให้ปรากฎออกมา ตามหลักวิชา ได้ อย่างนี้ :-

ทิฎฐิ+มานะ ทิฏฐิ คือความเห็น(ด้วยภูมิปัญญาระดับหนึ่ง) แล้วว่าดี ยึดมั่นถือมั่นว่าดี (เช่นเห็นว่านี่ดี ๆ ๆ จนคนอื่น ๆ ไม่อาจจะรู้ได้ รู้ได้เฉพาะข้าพเจ้าคนเดียว และเมื่อข้าพเจ้ารู้แล้วมันก็เป็นปัจจัตตังของข้าพเจ้า บอกคนอื่นไม่ได้ อธิบายไม่ได้ แล้วก็เทียวพูดไป ว่าเป็นปัจจัตตัง ๆ ๆ ๆ ๆ บอกใครไม่ได้ เมื่อคนอื่นเขาพยายามอธิบาย ในเรื่องเดียวกันนี้ จึงว่าเขาผิดหมด โดยไม่ฟังเหตุผลของเขา ไม่ฟังหลักวิชาการของเขา เพราะปักใจลงไปอย่างแน่นเหนียวเสียแล้วว่าเป็นปัจจัตตัง ) เมื่อบวกเข้ากับ มานะ ก็มีคำว่า ดีกว่า - ด้อยกว่า : เราดีกว่าเขา, เขาด้อยกว่าเรา เขาดีกว่าเรา เราด้อยกว่าเขา มีคำว่าเสมอเขา เสมอเรา” “เราดีเสมอเขา เขาดีเสมอเรา” (เช่นว่าเขาว่าเป็น ป.๔ ไปตอบปัญหาปริญญาทำนองว่าตัวเองนั่นคือผู้จบปริญญา ตัวรู้ผิดรู้ถูกในเรื่องนี้ดีกว่าและ รู้มากกว่าแต่บอกไม่ได้ บอกได้อย่างเดียวว่า เขาโง่ ตอบอะไรไปโง่ ๆ ผิดหมด คล้ายอวดว่าตนรู้ธรรมะ บรรลุธรรมะ ผู้อื่นไม่รู้เท่าตน เป็นต้น) ทิฏฐิเป็นลักษณะของความเห็นตามภูมิธรรม แล้วยึดมั่นถือมั่นว่าดี ว่าถูก(ถ้าเป็น สักกายทิฏฐิ ตามหลักสัญโยชน์ ๑๐ ก็หมายถึง ความเห็นผิด) มานะเป็นลักษณะของ อหังการมีรูปธรรมที่ปรากฎคือปมเด่นและปมด้อยเมื่อมีปมเด่นก็พองลม เมื่อมีปมด้อยก็แฟบ ตามทฤษฎีจิตวิทยาเรื่องปมด้อยนั่นเอง เมื่อใดพ้นจากทิฏฐิ(โดยมีสัมมาทิฏฐิอยู่ทุกระดับแห่งทิฏฐิ ทุกระดับแห่งปัญญา) พ้นจากมานะ(นิสัยชอบเด่น ชอบแบ่งชนชั้น แบ่งระดับว่า ดี ว่าด้อย ว่าดีกว่าเขา ว่าเสมอเขา ว่าด้อยกว่าเขา หรือพ้นจากปมเด่นปมด้อย) จึงพอจะวางใจได้ ว่าเป็นผู้มีภูมิปัญญาภูมิรู้อยู่ในระดับที่สูง และยุติธรรมพอจะตัดสินคนอื่น ผู้อาจจะเสมอเรา เหนือกว่าเรา หรือด้อยกว่าเราทางภูมิปัญญาก็ได้ หากมิฉะนั้นก็อยู่ในวิสัยผู้ประมาทเลินเล่ออยู่นั่นเอง ซึ่งจะก่อเกิดความผิดพลาดได้อย่างง่ายดาย ฉับพลัน อันเป็นลักษณะของความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

ประการที่ ๓ ในปัญหาการมองพระอริยบุคคล เราก็ได้ออกตัวไว้แต่ต้นแล้วว่าเป็นเรื่องยากลำบาก ไม่อาจเป็นไปตามกฎอย่างตายตัวได้เลย จะต้องมีข้อยก

เว้นอยู่ทั่วไปหมด เราว่าไว้แล้วว่า คล้ายเดาเอา โดยเลียบเคียงตามหลักวิชา (โปรดดูเรื่องเดิม)

ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับพระอริยบุคคล ไม่ว่าประเด็นไหน ก็ยากที่จะตอบให้ท่านผู้สนใจหรือท่านผู้สงสัยได้เข้าใจหรือพอใจได้เลย เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องชั้นสูง เกินปัญญาใครจะตอบได้ หากจะพยายามตอบก็พอได้อยู่แต่เป็นเพียงคาดคะเนเอาตามแนววิชาการทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น” (โปรดดู ต้นเรื่องใน วิเคราะห์ข่าวฯ เดือน กย.-ตค.-พย. ๔๐ หน้า ๑๔)

นั่นหมายถึงวิธีการของเราที่ต้องอ้างอิงที่มาที่ไป และหลักฐานเสมอ ในเรื่องศีล เราก็นำหลักฐานมาอ้างไว้ เพื่อให้มั่นใจว่า ศีลนี้สามารถนำคนไปสู่นิพพานได้นะ มีหลักฐานอ้างอิงไว้แน่นอนอย่างนี้นะ ที่พุทธบริษัทก็คุ้นกันอยู่ทั้งหมดนะ ไม่มีชาวพุทธไหนในแผ่นดินที่จะไม่ได้ยินหลักฐานที่ยืนยันว่า ศีลสามารถนำไปสู่นิพพานได้ ให้สำเร็จโสดาบันได้ และเราก็ขอยืนยันไว้แน่นอน ณ ที่นี้อีกว่าศีลห้า สามารถนำคนไปถึงพระนิพพานชั้นต้น ๆ ได้

ในเรื่องการมองพระอริยบุคคล เราก็ยังคงยืนยันหลักการที่ได้พูดไปแล้วโดยหลักไตรสิกขา: ศีล สมาธิ ปัญญา นั้น (ตามที่ได้ตอบไปใน วิเคราะห์ข่าวฯ เดือน กย.-ตค.-พย. ๒๕๔๐ หน้า ๑๔-๑๕) ขอยกตอนต้น ๆ มาให้ดูอีกครั้งหนึ่ง ดังนี้

ถามว่าทราบได้อย่างไร ขอตอบว่าทราบได้จากสติปัญญาของท่าน ทราบได้จากกรรมฐานของท่าน ทราบได้จากศีล-วัตรของท่าน

ระดับพระโสดาบัน-สกิทาคามี จะเห็นท่านเคร่งครัดในศีล ในวัตร

ระดับพระอนาคามี ท่านจะเคร่งกรรมฐาน และงานทางสมาธิอย่างเอาเป็นเอาตาย

ระดับพระอรหันต์ จะแสดงออกทางปัญญาบริสุทธิ์

ถ้าเราเป็นพระอรหันต์ เราก็จะทราบได้โดยอัตโนมัติว่าพระหรือบุคคลใดบ้างเป็นพระอรหันต์ เป็นพระอนาคามี เป็นพระสกิทาคามี และเป็นพระโสดาบัน พระอรหันต์องค์ที่มีภูมิปัญญาแตกฉานจริง ๆ ท่านเพียงแต่มองดู หรือเพียงฟังเสียงพูด ท่านก็รู้แล้วว่าเป็นบุคคลมีมรรคผลหรือไม่ อยู่ระดับใด

ถ้าเราเป็นพระอนาคามี เราจะไม่สามารถทราบโดยแน่ชัดว่าบุคคลใดเป็นพระอรหันต์ แต่อาจคาดคะเนได้ถูก มากบ้าง น้อยบ้าง หรือผิดไป ๑๐๐%เลยก็มี เพราะพระอรหันต์นั้นมีอิสรภาพสูงสุด แม้ความตายก็ไม่อาจผูกมัด

ได้ รูปแบบย่อมอาจผันแปรไปได้ตามสิ่งที่แวดล้อม จึงมักไร้รูปแบบร่องรอย เว้นเสียแต่ได้รับมอบหมายภาระ ก็ดูจากวิธีที่ท่านปฏิบัติภาระนั้น ๆ คือจะมีความรับผิดชอบอย่างไม่จำกัดจนกว่าภาระที่มอบหมายจะเสร็จสิ้นหรือตราบตัวเองหมดอายุขัยลง ท่านจะไม่มีความถดท้อไม่วางภาระหน้าที่ (ภาระนี้หมายถึงภาระแห่งมรรคผล)

แต่พระอนาคามีอาจรู้จักพระอนาคามีด้วยกันได้ถูกต้อง แต่อาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมด แต่สามารถรู้ได้ว่าบุคคลใดเป็นพระสกิทาคามีและพระโสดาบัน

ท่านรู้ได้เพราะท่านเคยผ่านมาก่อน หรือแม้ไม่เคยผ่าน(ข้ามขั้นไป)ก็สามารถรู้ด้วยปัญญาอันมีระดับสูงกว่า

ถ้าเราเป็นพระสกิทาคามี เราจะไม่รู้จักว่าใครเป็นพระอนาคามีบ้าง พระอรหันต์บ้าง แต่แน่ละ เราอาจคาดคะเนเอาได้ ถูกบ้าง ผิดบ้าง แต่เราจะ รู้จักแต่บุคคลเสมอ ๆ หรือต่ำกว่าตน เช่นพระโสดาบัน ค่อนข้างชัดเจน

ถ้าเราเป็นพระโสดาบัน เราอาจจะไม่รู้จักพระอรหันต์เลย ซ้ำพระอรหันต์บางลักษณะที่เราเห็น เราอาจจะนึกว่าท่านเป็นบุคคลที่ใช้ไม่ได้เอาเลยทีเดียวก็ได้ ทั้งนี้เพราะปัญญาของ เสขบุคคล กับ อเสขบุคคลนั้นห่างไกลกันอย่างกับอยู่คนละฟ้า (เสขบุคคล:ผู้ยังศึกษาอยู่-ยังรู้ไม่หมด หมายถึงพระโสดาบันขึ้นไปถึงพระอนาคามี อเสขบุคคล:ผู้สำเร็จจบสิ้นการศึกษาแล้ว-รู้หมดแล้ว หมายถึงพระอรหันต์ประเภทเดียว)"

ตามหลักการนี้ ผู้ที่มีภูมิธรรมระดับต้น ๆ ก็คงไม่อาจตัดสินภูมิธรรมของพระอนาคามีหรือพระอรหันต์ได้ หากมิฉะนั้นแล้ว ก็คงจะกลายเป็น ยิ้มสำรวม ไปอีกเรื่องหนึ่งแน่ ๆ เพราะพระอรหันต์คือ สามัญชน ไม่มีอะไรต่างไปจากสามัญชนเลย (ตรงคติว่า สูงสุดสู่สามัญชน”) เมื่อพระโสดาบันซึ่ง มิใช่คนธรรมดาสามัญเสียแล้ว(เพราะเพิ่งได้เกิดใหม่ มีชีวิตใหม่ในโลกใหม่ ในความรู้สึกของพระโสดาบันเองจึงนึกว่าตัวเองวิเศษมาก เพราะเหยียบโลกไว้ใต้ฝ่าเท้าแล้ว) จึงมองพระอรหันต์เป็นคนธรรมดาสามัญจริง ๆไป(ไม่อาจเห็นคุณวิเศษที่ซ่อนอยู่ภาคภายในของคนธรรมดาสามัญ-ที่เป็นอรหันต์ นั้นได้)

ประการที่ ๔ หลักของพวกเราคือ เดินสายกลาง ต้องเดินสายกลางเข้าไว้ ไม่ว่าจะรู้ธรรมะชั้นสูงเพียงใดมา (แม้เป็นพระอรหันต์แล้ว ยุคนี้ก็ต้องเดินสายกลาง เพราะเราจำเป็นต้อง มีมนุษยสัมพันธ์ จะหนีไปอยู่ป่าช้าหรือป่าถ้ำที่ไหน ไม่มีอีกแล้ว) เพราะ เราเองเดินสายกลางจึงอ้างหลักเหตุผล หลักฐานอ้างอิงโดยตลอดมา เพราะการเดินสายกลาง นอกจากทำให้เรามีมนุษยสัมพันธ์เกิดขึ้นมาได้แล้ว ยังเป็นวิถีทางที่ทำให้วิชาการเจริญก้าวหน้าไปได้ ด้วยหลักของเหตุและผล ซึ่งจะสามารถใช้อธิบายพิศูจน์เหตุการณ์(event)ได้ทุกชนิด ไม่เว้นแม้จะต้องพิศูจน์ความเป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา (ถ้าเราถือว่า ปฏิเวธธรรม คือการบรรลุ มรคผลนิพพาน เป็นปัจจัตตัง อธิบายโดยภาษาสมมติไม่ได้ นั่นคงไม่ถูกต้อง ถ้าไม่อธิบายไม่พยายามทำความเข้าใจในเรื่องที่เป็น ปัจจัตตัง ออกมาแล้วคนจะเลื่อมใสศรัทธา หรือรู้เรื่องอะไร ๆเกี่ยวกับ ปัจจัตตัง ได้อย่างไร ? และจะมีการเผยแผ่ศาสนาพุทธไปได้อย่างไร ?)

เราคิดว่าจดหมายท่านผู้นี้ได้อุปการะธรรมะเป็นอย่างมาก และรู้สึกชื่นชม เราฟังแล้วพอใจในความไพเราะของจดหมายถึงบรรณาธิการฉบับนี้มาก และเรารู้ว่าถึงอธิบายไปก็จะไม่ค่อยได้ประโยชน์ขึ้นไปอย่างไร เพราะความไพเราะนั้นบดบังอยู่

เป็นเรื่อง ระยะทาง และ ระยะเวลา ระยะทางพิศูจน์ม้า ระยะเวลาพิศูจน์คน
เป็นปริศนาธรรม

ร่างแหอวนตาใหญ่ได้ปลาตัวใหญ่ แหอวนตาถี่ได้ปลาซิวปลาสร้อย

ธรรมะที่ล้ำเลิศมีให้แต่ไม่สะดุด ธรรมะอันต้อยต่ำสะดุด

ภูเขาน้ำแข็ง มีเพียงส่วนเดียวที่พ้นน้ำ ส่วนที่อยู่ใต้น้ำยังมีอยู่อีกถึง ๓ ส่วน
ผู้มีปัญญาน้อยก็เห็นเฉพาะส่วนที่พ้นน้ำ

โปรดมีลิขิตมาสู่พวกเราอีก ยินดีต้อนรับเสมอ.

 

บรรณาธิการ
ม.ค.๔๑

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 {คอลัมน์ประชาธิปไตยสงฆ์}
จะปฏิรูปการปกครองสงฆ์ไปทำไม ?

 

 

ถาม:~ เราต้องการเห็นอะไรเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนในการดำเนินการปฏิรูปการปกครองสงฆ์โดยวิธีที่พยายามเสนอแนวคิดมาตามลำดับแล้วนั้น ในสถานการณ์ที่เป็นอยู่ปัจจุบัน รูปแบบการปกครองก็ดูมั่นคงเป็นปึกแผ่นอยู่แล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีอยู่ระดับหนึ่งแล้ว เราจะพัฒนาการไปได้หรือไม่ จะอธิบายให้เข้าใจได้อย่างไร ว่าหากไม่ใช้รูปแบบการปกครองอย่างที่เป็นอยู่แล้วเราจะพํฒนาไปได้อย่างไร ?

อนึ่งเคยมีประวัติศาสตร์สงฆ์ไทยเกี่ยวกับการปฏิรูปคณะสงฆ์นี้ เช่นคณะปฏิสังขรณ์ น่าจะนำแนวคิดของคณะปฏิสังขรณ์มาพิจารณาประกอบกับแนวคิดครั้งนี้ และควรเปรียบเทียบดูว่ามีความคิดแตกต่างกันหรือไม่เพียงใด ?

 

 

ตอบ:~ เมื่อผมได้วิเคราะห์ระบบการปกครองและการศึกษาสงฆ์มาถึงบรรทัดนี้ ก็มีปัญหาสอดแทรกเข้ามาว่า ความคิดปฏิรูปที่คิดอยู่นี้ จะเป็นอันเดียวกับความคิดเดิมเคยมีมาครั้งหนึ่ง ในราวปีพุทธศักราช ๒๔๗๗ หรือไม่ ครั้งนั้น ได้มีคณะสงฆ์กลุ่มหนึ่ง เรียกชื่อตนเองว่า คณะปฏิสังขรณ์กาสาวพัสตร์ เกิดขึ้น ขอบอกว่า ความคิดปฏิรูปครั้งนั้น ไม่เหมือนกันกับความคิดครั้งนี้เลย ความคิดของเราไม่ได้อยู่บนฐานความคิดอันนั้น เราจะไม่ทำในเรื่องที่คณะปฏิสังขรณ์ คิดทำ เพราะเป็นแนวคิดในกรอบเดิม ที่พยายามปกป้องผลประโยชน์ทางอำนาจของตนของฝักของฝ่าย ของลัทธินิกายในขณะนั้น

แต่ความคิดปฏิรูปครั้งนี้ มาจากตัวระบบการปกครองที่ไม่ชอบธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา เพราะไม่ดำเนินไปสู่เส้นทางของพระพุทธองค์ คือไม่มีมรรคผล นิพพาน เป็นเป้าหมาย แต่เป็นเพียงวิถีทางที่ไหลไปตามโลก ถูกกำหนดโดยกฎฝ่ายโลก อาศัยเครื่องไม้เครื่องมืออย่างโลก ๆ และเป็นไปอย่างโลก ๆ หากแม้กระนั้นก็เป็นระบบของโลกยุคดั้งเดิม คือระบบการปกครองยุคเจ้าขุนมูลนายที่ล้าหลังล้าสมัยไม่ถูกกับยุคสมัยที่เป็นอยู่ ทำให้ระบบไม่ประสานสอดคล้องกับระบบการปกครองทางฝ่ายราชอาณาจักรที่เป็นระบอบใหม่ทันสมัย จึงพลอยเป็นผลให้การวัฒนธรรมทางการปกครองตามระบอบใหม่ไม่อาจมีการพัฒนาการ และกลายเป็นตัวถ่วงทางการปกครองของชาติไปอีกอย่างหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม แนวคิดของคณะปฏิสังขรณ์ฯ ได้บ่งบอกถึงปัญหาภายในของคณะสงฆ์ ที่เกี่ยวกับความไม่เป็นธรรมทางการปกครองตามกฎหมายการปกครองคณะสงฆ์ ซึ่งยังคงเป็นอยู่ สืบเนื่องมาอยู่ทุกวันนี้ และเป็นปัญหาความบกพร่องประการหนึ่งของระบบการปกครองระบอบยศชั้นหรือเจ้าขุนมูลนาย(โปรดดู มาณพ พลไพรินทร์ ในคู่มือการบริหารกิจการคณะสงฆ์ หจก.ชุติมาการพิมพ์ ไม่บอก พ.ศ.หน้า ๓๗-๓๘)

บัดนี้ เราได้ทำการวิเคราะห์ปัญหาการปกครองคณะสงฆ์มาจนพอจะสรุปได้แล้วว่า ต้นเหตุของความบกพร่อง และทั้งความเสื่อมเนื่องมาจากระบบตำแหน่งและชั้นยศ ที่มีมากระดับชั้นจนเกินไป และไม่มีความประสานสอดคล้องและความสมดุลย์กับระดับทางภูมิปัญญาของบุคคลผู้เข้าสู่ตำแหน่ง ส่วนด้านการศึกษา ก็มิใช่การศึกษาในแบบที่พระพุทธองค์ประสงค์คือ คันถธุระและวิปัสนาธุระที่เป็นการศึกษาเพื่อมรรคผลนิพพานโดยตรง หากแต่ล้วนเป็นการศึกษาเพื่อการอาชีพ มีความมุ่งหมายเพื่อลาสิกขาออกไปประกอบอาชีพในภายหลังทั้งสิ้น และส่วนที่ยังค้างอยู่ในระบบสงฆ์ก็เป็นการศึกษาเพื่อความเจริญก้าวหน้าในยศ-ตำแหน่งทางการปกครอง และตำแหน่งทางการศึกษาตามระบบสงฆ์ที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ มิได้ปลูกฝังจิตวิญญาณแห่งธรรมทายาทที่แท้จริง ปัญหาทางการปกครองและปัญหาทางการศึกษาชนิดที่ไม่มีเป้าหมายทางศาสนาที่แท้จริง นี่เอง ได้ค่อยบ่อนทำลายระบบการพระพุทธศาสนาฝ่ายพรหมจรรย์ลงไป ๆ

หากแต่สิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจก็คือ สิ่งที่เป็นอันตรายหรือระบบอำนาจดังกล่าวนี้ มิได้เป็นมาแต่ดั้งเดิม การพระพุทธศาสนาที่ได้สืบสานมาจนตั้งมั่นลงในสุวรรณภูมินี้ มิได้อาศัยความมีสาระแห่งระบบอำนาจมาก่อนเลย หากแต่สามารถสืบสานและดำรงความเป็นพระพุทธศาสนามาได้ด้วยระบบคุณธรรม ที่สืบเนื่องมาแต่องค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า

ต่อเมื่อมีการใช้กฎหมายลักษณะการปกครองสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑ ในยุครัตนโกสินทร์นี้เอง ระบบอำนาจจึงได้เริ่มก่อตัวขึ้นในการปกครองสงฆ์สยาม และเมื่อมีการวิเคราะห์กฎหมาย และสร้างกฎเกณฑ์ใหม่ขึ้นมาอีก ๒ ฉบับคือพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๔๘๔ และ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ ที่ใช้อยู่ปัจจุบัน ก็หาได้พบความมีโทษหรือผลแห่งกฎหมายที่เป็นโทษต่อคณะสงฆ์ไม่ กลับเพิ่มเสริมความแข็งแกร่งแห่งระบบอำนาจในวงการสงฆ์ไทยยิ่งขึ้นไปอีก จนกลายเป็นว่า เห็นวงการสงฆ์เป็นวงการกีฬา เขียนกฎหมายขึ้นมาก็เป็นเพียงการกำหนดกติกาการแข่งขันชนิดหนึ่งสำหรับให้พระสงฆ์เล่นกัน คือกีฬาแข่งกันวิ่งไปตามขั้นวิ่งที่มีมากมายของระบบยศ-ตำแหน่ง แห่งฐานันดรสงฆ์ ได้เบี่ยงเบนทางเดินของสงฆ์ไปสู่ทิศทางใหม่ จากโลกุตตรธรรม ไปสู่โลกธรรมอย่างเต็มตัว ฉะนั้น ในแก่นกลางของระบบสงฆ์ทุกวันนี้ จึงมิใช่แก่นกลางแห่งระบบคุณธรรมอันเป็นมาแต่ดั้งเดิม หากแต่เป็นระบบอำนาจที่มีอยู่อย่างเป็นชนชั้นตามระบบอำนาจ มียศหรือสมณศักดิ์สงฆ์ที่กฎหมายกำหนดขึ้น อย่างไม่ชอบด้วยหลักการศึกษา หลักศีลสามัญญตา หรือหลักคุณธรรม ทุกวันนี้การมีระดับแห่งตำแหน่งถึง ๘ ตำแหน่งและมีชั้นยศกำกับถึง ๑๑ ชั้นยศ และยังมียศอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ฐานันดรที่แทรกในระหว่างระดับเหล่านั้นอีกมากมาย จึงเป็นเหตุให้ระบอบพรหมจรรย์แห่งการพระพุทธศาสนาเสื่อมทรามลงไป

กระนั้น ระบบคุณธรรมที่สืบสานมาแต่ยุคพระบรมศาสดา ก็ยังคงทรงคุณธรรมอยู่ระดับหนึ่ง และระบบคุณธรรมนี้ที่ได้แทรกเข้าไปกำกับอยู่ในระบบอำนาจทุกระดับได้พยายามประคับประคอง พอรักษาให้การพระพุทธศาสนาอยู่ไปได้และพอเป็นที่ชื่นชมของคนทั้งหลาย ระบบคุณธรรมนี้แหละที่สืบทอดต่อเนื่องมา ด้วยองค์กรสงฆ์ที่มีชื่อเรียกในขณะนี้ว่า อุปัชฌาย์ อันเป็นทั้งองค์กรกากรปกครองและองค์กรการศึกษาร่วมอยู่ในขณะเดียวกัน ที่นับว่าเป็นมรดกทายาทธรรมสืบโดยตรงมาจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และยังคงมั่นคงอยู่ทุกวันนี้ จนเราอาจกล่าวได้ว่า เพราะองค์กรนี้เองเท่านั้น ที่ทำให้สงฆ์ดำรงอยู่อย่างมั่นคงโดยตลอดมา หากปราศจากองค์กรนี้แล้ว โดยระบบการปกครองและระบบการศึกษาแบบใหม่ที่สร้างขึ้นมาใหม่ด้วยกฎหมายใหม่นั้นคงจะทำลายระบบสงฆ์ไปเสียทั้งสิ้นแล้ว

ในแง่การศึกษาอุปัชฌาย์หมายถึงครู-อาจารย์ผู้ให้การศึกษา แต่ในระบบสงฆ์สาวก การศึกษาหมายถึง ๒ อย่างเท่านั้น ที่เดินตามแบบอย่างองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ คันถธุระ กับวิปัสนาธุระ โดยมีเป้าหมายที่ดวงตาสติปัญญาอันสว่างไสวรู้แจ้งธรรมมรรคผลและพ้นทุกข์ ผู้เข้ามาเป็นนักบวชศึกษาธรรมจนรู้แจ้งเห็นจริงด้วยปัญญาตนเอง ในเรื่องทุกข์ บรรลุมรรคผลนิพพานแล้ว ช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปในหลักการศึกษา ๒ นี้ ตราบสิ้นชีพลงไปอย่างมีความสุขอันประเสริฐ

อุปัชฌาย์ ในความหมายทางการปกครองหมายถึงพ่อผู้ให้กำเนิดบุตรนั่นเอง ผู้สร้างความสัมพันธ์แบบพ่อผู้ให้กำเนิดกับสัทธวิหาริก ในแบบอย่างของพ่อกับลูก อันลึกซึ้งโดยความหมายผู้ให้กำเนิด ๒ ประการ ๆ แรก ให้ได้บวชเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา เรียกว่าให้กำเนิดเพศบรรพชิตขึ้นมา เป็นกำเนิดแบบโอปปาติกะ ระดับที่ ๑ และกำเนิดประการที่ ๒ ก็คือกำเนิดเป็นพระอริยบุคคล ๔-๘ ระดับในศาสนาพุทธ(คือเกิดใหม่เป็น พระโสดาปัตติมรรค พระโสดาปัตติผล พระสกิทาคามิมรรค พระสกิทาคามิผล พระอนาคามิมรรค พระอนาคามิผล พระอรหัตตมรรค พระอรหัตตผล) การให้กำเนิดประการแรก ก็เท่ากับบิดากับบุตรนั้นก็มีความลึกซึ้งเพียงดังกับมารดาบิดาผู้ร่วมกันให้กำเนิดบุตรแห่งตนของคนทั้งหลายนั่นเอง แต่ ก็ยังไม่ลึกซึ้งเท่าความให้กำเนิดเป็นพระอริยบุคคล เพราะเมื่อบรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลแล้วนั้น ก็เท่ากับกลายเป็นเนื้อธรรมเดียวกันระหว่างผู้ให้กำเนิดกับบุตรผู้กำเนิด เพราะอรหัตผลย่อมเป็นธรรมชาติอันหนึ่งอันเดียวกัน อรหันตบุคคลทั้งปวงย่อมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เนื้อธรรมเดียวกัน จึงมีความลึกซึ้งแนบแน่นกันเกินกว่าจะแบ่งแยกได้

ซึ่งหน้าที่ทั้งสองประการนี้ เป็นการสืบทอดโดยต่อเนื่องมาตั้งแต่องค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า นับแต่ทรงให้การอุปสมบท พระอัญญาโกณฑัญญะ ขึ้นเป็นภิกษุรูปแรกในบวรพุทธศาสนา ต่อมาพระสาวกที่สำเร็จอรหัตผลก็รับภาระหน้าที่พระอุปัชฌาย์สืบมา ๆ และท่านสามารถปฏิบัติหน้าที่พระอุปัชฌาย์ได้ดีบรรลุเป้าหมายก็เพราะพระอุปัชฌาย์สมัยเดิมนั้น ท่านล้วนทรงคุณธรรมเป็นพระอรหันต์กันทั้งสิ้น หากแต่ล่วงมาจนถึงปัจจุบันนี้พระอุปัชฌาย์ก็ยังคงต้องปฏิบัติหน้าที่ ๒ ประการนั้นสืบมา คือต้องคงไว้ซึ่งหน้าที่ของพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดแล้วเลี้ยงลูกของตนให้เติบใหญ่ แล้วให้การศึกษา ๒ ประการเพื่อการบรรลุมรรคผลนิพพาน ได้การศึกษา ได้สติปัญญา

เพราะพระอุปัชฌาย์ได้พยายามปฏิบัติหน้าที่ของท่านสืบมาอยู่ถึงทุกวันนี้ จึงส่งผลให้การพระพุทธศาสนาอยู่รอดมาได้ ในระบบการปกครองทุกวันนี้ อันไม่ชอบธรรม เพราะได้มีสาระแห่งคุณธรรมอุปัชฌาย์สอดแทรกไปอยู่ทุกระดับ จึงสามารถบรรเทาผลร้ายจากระบบอันบ่อนทำลายลงไปได้

กระนั้น ระบบอุปัชฌาย์ทุกวันนี้ ก็ได้ประสบปัญหาอย่างมากมาย

จนแทบไม่เหลือคงไว้ซึ่งความเป็นอุปัชฌาย์ในแบบดั้งเดิมอยู่เลย ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นผลมาจาก การก่อสร้างระบบอำนาจทางการปกครองตามกฎหมาย ในระยะหลัง ๆ มานี้เอง เพราะกฎหมายได้กำหนดตำแหน่ง ชั้นยศ และอำนาจขึ้น อำนาจก็ไประรานระบบคุณธรรม ผลที่ปรากฎก็คือ อุปัชฌาย์ก็กลายเป็นตำแหน่งชั้นยศอีกตำแหน่งหนึ่ง ที่อาจเอื้อให้ระบบโลกธรรมคือลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เจริญพอกพูนขึ้น และเป็นไปได้อย่างดีไม่แพ้ตำแหน่งทางการปกครองอื่น ๆ ปัญหาอย่างเดียวกันก็เกิดขึ้นในระบบอุปัชฌาย์นี้ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน(โปรดสังเกตคดีปลอมตราตั้งอุปัชฌาย์ที่ครึกโครมในปีพ.ศ. ๒๕๓๕)

เพราะระบบอำนาจไม่ได้สร้างสรรค์ความดีอันใดให้ระบบสงฆ์เลย เมื่อมีระบบอำนาจนี้ การบ่อนทำลายก็เริ่มขึ้นเป็นลำดับมา ตราบจนปัจจุบันนี้ ระบบที่ถูกทำลายไปแล้วคือระบบการศึกษาหลักคือการศึกษาเพื่อมรรค ผล และนิพพาน ที่ถูกปิดกั้นลงโดยสิ้นเชิง และทั้งยังไม่ส่งเสริมสอดคล้องระบบการศึกษาชนิดใด ๆ ของคณะสงฆ์ ไม่ว่าคันถธุระหรือวิปัสนาธุระ หรือแม้การศึกษาสายสามัญทุกระดับ มัธยมศึกษาหรืออุดมศึกษา และที่สุดทำลายระบบคุณธรรมในองค์กรอุปัชฌาย์อันเท่ากับเป็นการทำลายตัวเองของวงการสงฆ์ในขณะเดียวกันด้วย

ในการวิเคราะห์เพื่อมองปัญหาให้ชัดเจน จะต้องมองที่ประเด็นระบบอำนาจนี้ จะพบว่า ตั้งแต่มีระบบอำนาจ(ยศศักดิ์-ขุนนางพระ) ขึ้นอย่างมากมายเป็นระดับชั้นนี้แล้ว ก็หาได้มีคุณงามความดีอันใดที่ระบบนี้สร้างให้แด่บวรพุทธศาสนา มีแต่ค่อยบ่อนทำลายลงไปอย่างเดียวเท่านั้น สิ่งที่ไม่เคยเห็นในวงการสงฆ์ก็ได้เห็นได้ปรากฎ เช่นการแก่งแย่งชิงตำแหน่ง ชิงยศพระ มีทุกระดับตั้งแต่พระเล็กพระน้อยถึงพระใหญ่โต โดยเฉพาะระดับสูงสุดของสงฆ์ก็ได้เห็นมาอย่างอึกทึกครึกโครมมาแล้ว(กรณีอาสภมหาเถร เป็นเพียง ๑ ในหลาย ๆ กรณีเท่านั้น) พระเล็กพระน้อยก็แก่งแย่งตำแหน่งยศเล็ก ๆ น้อย ๆ ทั่วไปหมด แม้แต่เมื่อเริ่มแรกที่ระบบอำนาจได้ปรากฎขึ้นในวงการสงฆ์ ก็ได้มีหมู่กลุ่มผู้มองเห็นความไม่เป็นธรรมของระบบนี้ ตราบจนเกิดคณะปฏิสังขรณ์ฯ ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบยศพระอำนาจพระนี้ให้เป็นธรรมขึ้น

ในอีกด้านหนึ่งที่ลึกซึ้งลงไปอีก

เมื่อมองจากหลักพุทธธรรม ระบบอำนาจเป็นเหตุบ่อนทำลายคุณภาพภายในอย่างลึกซึ้ง เพราะระบบอำนาจเป็นต้นกำเนิดของกิเลสมารสำคัญคือ ความริษยา เมื่อเส้นทางเดินคือโลกธรรมมีชั้นมียศ มีขั้นวิ่งมากมายหลายระดับ ก็มีการแก่งแย่งแข่งขันกัน มารชนิดนี้ก็ถือกำเนิดขึ้นมาด้วย และมันเติบโตไปกับระบบชั้นยศนี้ด้วยโดยธรรมชาติอันชอบธรรม และอาการของมันก็คือการโหมเพลิงภายในจิต ดุจดังไฟสุมขอนที่คุกรุ่นอยู่เรื่อยไปไม่มีวันดับลง เมื่อใดได้เชื้อดีพิเศษ เพลิงมันก็คุพลุ่งโพลงขึ้นมาครั้งหนึ่งจนไหม้เชื้ออันเอร็ดอร่อยแล้วหลบไปกินเนื้อขอนต่อไป จึงย่อมเห็นอยู่โดยชัดเจนว่า ผู้เข้าสู่ระบบอำนาจนี้หามีความสุขสงบไม่ หากมีแต่อบอ้าวร้อนรุมอยู่ตลอดเวลา หาความเยือกเย็นลงมิได้เลย เป็นเหตุแห่งความเสื่อมทรามทางภูมิปัญญา ยิ่งก้าวหน้าไปในระดับชั้นยศเพลิงริษยายิ่งเติบโตใหญ่ขึ้นเรื่อยไป ผลเสียของความริษยานี้จึงมีมากมหาศาลและมหึมายิ่งกว่ากิเลสมารชนิดอื่นใดใด เพราะกิเลสมารชนิดนี้ทำหน้าที่ในการทำลายล้างอย่างเดียว จึงอาจทำลายโลก ทำลายสังคม ทำลายระบบคุณงามความดีทุกชนิดได้ ดังภาษิตบทหนึ่งอันนักปราชญ์ยุครัตนโกสินทร์รับรองไว้ว่า อรติ โลกนาสิกา : ความริษยาเป็นเหตุให้โลกฉิบหาย” (ภาษิตของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระผู้ปฏิรูปการศึกษาสงฆ์ไทย) ซึ่งความจริงแล้ว พระสงฆ์ในระบบชั้นยศนี้ก็ได้สัมผัสกันอยู่ถ้วนทุกตัวตนแล้ว เพราะเส้นทางแห่งโลกธรรมไม่อาจสังหารมารชนิดนี้ได้เลย แม้ว่าโลกจะใช้หลัก มุทิตาธรรม หรือหลักความบูชา หรือธรรมปฏิบัติด้วยประการใดก็ตาม เพราะโลกเองเป็นตัวระบบอำนาจเอง เป็นตัวให้กำเนิด เป็นตัวเชื้อ ตัวบำรุงหล่อเลี้ยงความริษยา จึงไม่อาจสังหารเสียได้ โลกจึงทรงความทุกข์อยู่เสมอไป เพราะโลกคือทุกข์และทุกข์คือโลก เป็นอันเดียวกัน ต่อเมื่อหันทิศทางสู่โลกุตตรวิถี คือทางมรรคผลนิพพานเท่านั้น กิเลสมารนามว่าริษยา จึงจักค่อยอ่อนกำลังลงไปเรื่อย ๆ ตราบสิ้นไปได้เมื่อสำเร็จธรรมระดับพระอรหัตมรรคแล้ว เพราะที่ระดับนั้น เป็นที่ที่ไม่มีผู้ใดอยู่ล้ำไปกว่าอีกแล้ว กิเลสมารริษยาจึงดับสิ้นไปอย่างสนิท

ระบบอำนาจ อันเกิดมาด้วยตำแหน่งและชั้นยศ จึงไม่มีความดีเลยด้วยประการใดใดต่อระบบพรหมจรรย์ ไม่ว่ามองจากรูปธรรมหรือนามธรรม ระบบอำนาจในศาสนาพรหมจรรย์จึงมีแต่ความบ่อนทำลายอย่างเดียวเท่านั้น

ฉะนั้น ทางที่แก้ไขจึงมีอยู่ทางเดียว คือค่อยลดทอนระบบอำนาจลง จัดการให้ระดับแห่งอำนาจมีความสมดุลย์กับระดับคุณธรรมและ ภูมิปัญญาการศึกษา ในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมก็คือต้องลดระดับชั้นยศและตำแหน่งต่าง ๆ ลงมาให้เหลือน้อยที่สุด

เมื่อคำนึงหลักการแห่งพระพุทธศาสนา โดยหลักพระโอวาทปาฏิโมกข์ ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ว่า

๑. สพฺพปาปสฺส อากรณํ ความไม่กระทำบาปทั้งสิ้น (จงละเว้นการกระทำชั่ว) เมื่อระบบอำนาจไม่เคยให้คุณเลย มีแต่สร้างบาปกรรมแด่วิถีมรรคผลนิพพาน และจะไม่มีวันให้คุณแก่วิถีทางแห่งพรหมจรรย์ ก็ต้องหยุดระบบนี้เสีย หยุดทำแบบนี้เสียโดยพลันทันทีที่ได้รู้แจ้งในความผิดความบาป

๒. กุสลสฺสูปสมฺปทา ความยังกุศลให้ถึงพร้อม (จงทำแต่ความดี) เราก็กลับไปสู่ระบบคุณธรรมเหมือนเดิม คือคุณธรรมของบิดากับบุตร บิดาผู้ให้ความเมตตาเอ็นดู ทะนุถนอมเลี้ยงให้เติบใหญ่และให้การศึกษาที่ถูกต้องคือให้บุตรได้พ้นทุกข์โดยแท้จริง เป็นการศึกษาที่มุ่งสู่โลกุตตรธรรม ไม่ว่าคันถธุระหรือวิปัสนาธุระ และ

๓. สจิตฺตปริโยทปนํ ความทำจิตของตนให้ผ่องใส (จงชำระจิตใจให้บริสุทธิ์) ก็ถือเอาหลักความเสียสละหรือ จาคะ เป็นธรรมะแห่งการปกครอง หลักความไม่ยึดมั่นถือมั่นในตำแหน่งหรือยศ จิตใจก็จะบริสุทธิ์สะอาด เป็นไปในวิถีแห่งโลกุตตรธรรมได้

        โดยหลักการนี้

การปกครองสงฆ์จึงต้องจัดระบบใหม่ ให้เป็นไปในทิศทางที่ลดทอนอำนาจลงไปเสมอ ๆ กับคุณธรรม ปัญญา และการศึกษา ซึ่งจะเป็นผลในการระงับยับยั้งการเติบโตแห่งกิเลสมารริษยาในวงการสงฆ์ และผลของระบบตามแนวความคิดนี้จึงออกมาเป็นระบบสภาสงฆ์ ๓ ระดับ

ระดับที่ ๑ มีสภาสงฆ์ระดับตำบล ประกอบด้วยสงฆ์ในตำบล เป็นสมาชิกสภาสงฆ์ตำบล สภาสงฆ์เลือกคณะผู้บริหารสงฆ์ในท้องถิ่นตำบลขึ้นมา บริหารงานในตำบลสงฆ์

ระดับที่ ๒ มีสภาสงฆ์ระดับจังหวัด ประกอบด้วยตัวแทนสงฆ์ทั้งจังหวัดเป็นสมาชิก สภาสงฆ์จังหวัดเลือกคณะผู้บริหารสงฆ์ในท้องถิ่นจังหวัดขึ้นมาบริหารงานในจังหวัดสงฆ์

ระดับที่ ๓ มีสภาสงฆ์ระดับชาติ ประกอบด้วยตัวแทนสงฆ์ทั้งประเทศเป็นสมาชิก สภาสงฆ์ระดับชาติเลือกคณะผู้บริหารสงฆ์ขึ้นมาบริหารงานสงฆ์ทั้งหมดในประเทศไทย

และมีสภาสงฆ์สากล เมื่อสามารถประสานงานกับสงฆ์นิกายอื่น ๆ จากทั่วโลก เพื่อร่วมงานอันเดียวกันของการพระพุทธศาสนาให้เป็นไปในทิศทางที่พุทธองค์มีพระประสงค์

ในระดับการบริหารทุกระดับ กิจการสงฆ์ก็จะเดินไปด้วยระบบคุณธรรม ด้วยหลักอปริหานิยธรรม ๗ เป็นต้น มีองค์กรอุปัชฌาย์เป็นสาระเป็นแก่นกลางของระดับต่าง ๆ ทุกระดับ คุณธรรมแห่งพ่อผู้ให้กำเนิดแด่บุตร คุณธรรมแห่งครูอาจารย์ผู้นำลูกศิษย์ไปสู่โลกุตตระก็จะเริ่มฟูมฟัก เติบโตขึ้นมา ในขณะเดียวกัน ก็มองความสำคัญของพระสงฆ์ผู้มีเอตทัคคะ เพื่อทำหน้าที่ความริเริ่มใดใดที่สอดคล้องหลักพรหมจรรย์ให้ก้าวไปในสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ยุคใหม่ได้อย่างมั่นคงและก้าวหน้าในทิศทางแห่งมรรคผลและนิพพาน

การพระพุทธศาสนาทั้งปวงก็จะเป็นไปในเส้นทางการศึกษา การพัฒนาไปในเส้นทางมรรคผลนิพพาน มีการศึกษาที่มุ่งสู่มรรคผลนิพพานล้วน เพื่อประกาศสัจธรรมแห่งความอยู่รอดอย่างมีความสุขอันประเสริฐ ที่ศึกษาทุกข์แห่งโลก เรียนรู้ทุกข์แห่งโลก และหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งมวลในโลก และนำแด่ชาวโลกทั้งมวลไปสู่โลกุตตระแดนประเสริฐที่พ้นทุกข์ ฯ

 

 

ปัญญาธโรภิกขุ
สุสานสวามิภูติ (สันติพิมานนรเทพ) ศรีสะเกษ
ม.ค.๒๕๔๑

 

 

 

 

 ปฏิรูปการปกครองสงฆ์ไปทำไม(ต่อ)

 

เมื่อได้ทำความเข้าใจปัญหาการปกครองคณะสงฆ์มาตามลำดับแล้ว ก็สามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ ๒ ประการคือ ประการแรก เรื่อง อำนาจ อำนาจเป็นสิ่งที่ไม่พึงนำมาใช้ในระบอบพรหมจรรย์ หรือระบอบของนักบวช ไม่ว่าในระบบของศาสนาใดใด อันเป็นการสากล ประการที่ ๒ พึงพิจารณาหลักคุณธรรม ว่าเป็นหลักการสำคัญสำหรับการปกครองของระบบการศาสนาทั้งปวง ทั้งนี้ก็เพราะเหตุผล โดยได้แสดงมาซึ่งอาจสรุปได้ดังนี้

๑. หลักอำนาจ เมื่อใดเอาอำนาจมาใช้ในการปกครองของระบบศาสนา เมื่อนั้นก็หมายถึงความเสื่อมโทรม เพราะศาสนาทั้งหลาย ไม่อนุญาตให้มนุษย์ทรงอำนาจ ไม่ให้มีภาวะแห่งอำนาจในหมู่มนุษย์ อำนาจมีได้เฉพาะพระผุ้เป็นเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้น หลักศาสนาสากลจึงมองเรื่องอำนาจว่า มนุษย์ทั้งหลายย่อมเสมอกันหมด เพราะเหตุที่อยู่ใต้อำนาจเดียวกันคืออำนาจของพระผู้เป็นเจ้า ๆ ไม่อนุญาตให้มนุษย์ผุ้หนึ่งผู้ใดมีอำนาจเหนือผู้อื่น ฉะนั้น หากระบบการปกครองของศาสนาใด มีลักษณะการแบ่งระดับชนชั้นแห่งอำนาจขึ้นมา เฉกเช่นระดับการปกครองคณะสงฆ์ไทยปัจจุบันที่กำหนดระดับอำนาจ สายการบังคับบัญชาไว้อย่างมากมายหลายระดับชั้นนี้แล้ว นั้น หมายถึงว่ามนุษย์ทรยศต่อพระเจ้า ทรยศต่อพระธรรม การปกครององค์กรศาสนานั้น ๆ ก็ย่อมเกิดปัญหาขึ้นมาอย่างมากมาย

๒. ระบบคุณธรรม ศาสนาสากลย่อมวางหลักคุณธรรมลงบนความเชื่อที่ว่า พระเจ้านั้น ทรงเป็นผู้นำทางชีวิต ชีวิตมนุษย์พึงฝากไว้ในอุ้งหัตถ์ของพระผู้เป็นเจ้า ฉะนั้น มนุษย์เองจึงอยู่บนคุณธรรมของ ความยอม หรือ ความลดตัวลงเป็นผู้รับใช้ เป็นทาส ของพระเจ้าเสมอกันหมด คุณธรรมในที่นี้ก็คือ คุณธรรมของผู้รับใช้ คุณธรรมอย่างผู้รับใช้ ผู้ปวารณา ผู้ยอม หรือคุณธรรมแห่งทาส นั่นเอง เมื่อทุกคนอยู่ในระบบคุณธรรมชนิดนี้แล้ว ก็ย่อมมีความเสมอกันหมดใต้อำนาจของพระเจ้า หรือพระธรรม กิจการใดใดก็เดินไปโดยความซื่อสัตย์ ความจงรักภักดี ความประพฤติที่ตรงตามคำสั่งของผุ้สูงสุด คือพระเจ้าองค์เดียว บุคคลอื่นใดย่อมสั่งหรือบัญชาได้ก็โดยได้รับพระบัญชามอบหมายจากพระเจ้าและต้องเเป็นไปในทางที่ตรง ถูกต้องตามคำสั่งของพระเจ้าเท่านั้น

ในศาสนาพุทธ หลักคุณธรรมทางการปกครอง ก็คือหลักอย่างที่พ่อพึงมีให้แก่บุตรของตน อย่างที่ผู้ให้กำเนิดชีวิต มีให้แด่ชีวิต นั่นคือมีความรับผิดชอบที่จะต้องเลี้ยงดูบุตรที่ตนให้กำเนิดมาให้เติบโต พร้อมด้วยสุขภาพ พลานามัยอันสมบูรณ์ ทั้งทางกายและทางจิตใจ มีความรับผิดชอบที่จะต้องให้การศึกษาอย่างดีที่สุด และในศาสนาพุทธนั้นก็หมายถึงการศึกษา ๒ คือคันถธุระและวิปัสนาธุระ อันเป็นเส้นทางแห่งชีวิตที่ประเสริฐ เพราะนำไปสู่เป้าหมายสูงสุดของการพระพุทธศาสนาคือมรรคผล นิพพาน อันเป็นการศึกษาชนิดเดียวที่สามารถช่วยมนุษย์ดับทุกข์ได้

ฉะนั้น หลักการปกครองของศาสนาสากล จึงเป็นหลักการที่มองตรงกันในปัญหา ๒ อย่างคือ อำนาจ มองตรงกันว่าอำนาจไม่พึงนำมาใช้ในการปกครองของระบอบศาสนาใด เพราะมนุษย์ได้ปลดปล่อย สละอำนาจของตนทั้งสิ้นไปแล้ว และยอมอยู่ในอำนาจของพระเจ้าเพียงพระองค์เดียว ในเรื่อง คุณธรรม ศาสนาสากลมองตรงกันในความยอม ความที่อุทิศ การรับใช้ ความเป็นทาส แห่งความดีความงาม ความเป็นทาสของพระเจ้า โดยเท่าเทียมกันหมด การปฏิบัติใดใดทางการปกครองจึงเป็นไปในหลักการแห่ง ภราดรภาพ คือความเป็นพี่เป็นน้อง เสมอกัน ความเป็นบิดา ผู้ให้กำเนิด ผู้ให้อาหาร ผู้เลี้ยงให้เติบโตทางจิตวิญญาณ ผู้รู้ ผู้เป็นกัลยาณมิตร ผู้รู้ทางนำไปสู่สวรรค์ สู่มรรคผล และนิพพาน

ซึ่งโดยรูปธรรมที่ปรากฎก็คือ การใช้เหตุและผลในการปกครอง ใช้ความรัก ความเมตตา ความสละ ไม่เห็นแก่ตัว พร้อมด้วยความมุทิตา อุเบกขา เป็นหลักใหญ่ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิ หรือความเห็นที่นอกทางแห่งการพระศาสนา หากการปกครองสงฆ์ดำเนินไปในระบบคุณธรรมดังกล่าว ก็จะมีรูประบบการปกครองสากลแห่งศาสนาทั้งปวง ในองค์การปกครอง ก็สามารถเข้าร่วมประชุมกันได้ทุก ๆ ศาสนา และร่วมบริหารการศาสนาทั้งปวงไปได้ ภายใต้หลักการปกครองที่ใช้ระบบคุณธรรม ที่นำหรือมีความสมดุลย์กับระบบอำนาจ

สำหรับการพระพุทธศาสนาทั้งปวง เมื่อมองระบบคุณธรรมแล้ว ก็หมายถึงการมององค์กรพระอุปัชฌาย์นี้ ว่าจะต้องเป็นองค์กรหลัก เพราะเป็นทุกอย่างที่เพียงพอ ครบถ้วนที่จะนำไปสู่เป้าหมายของการพระพุทธศาสนา หรือทางที่เป็นพุทธประสงค์อันสูงสุด

เมื่อเป็นเช่นนี้ โดยหลักการปกครองด้วยคุณธรรมดังนี้ โครงสร้างการปกครองสงฆ์ก็จะออกมาอย่างนี้

๑. การปกครองวัด จะถูกกำหนดควบคุมโดยองค์กรอุปัชฌาย์และสภาสงฆ์

วัดจะมีลักษณะเป็นสากล โดยนัยความหมายที่ว่า วัดจะพ้นจากความหมายของความเป็นส่วนบุคคลหรือที่ว่าเป็นวัดของฉันอย่างที่มีความรู้สึกอยู่ทุกวันนี้ มาเป็นความเข้าใจใหม่ วัดเป็นของทุก ๆ คน เป็นของพระทั้งสิ้น เป็นของประชาชนทั้งปวง ไม่ได้เป็นของผู้ใดผู้หนึ่งทั้งโดยหลักการและพฤติการ

โดยพื้นฐานนี้ พระสงฆ์จึงจะมีโอกาสจาริกท่องเที่ยวไปได้ทั่วทุกหนทุกแห่ง นั่นคือวิถีแห่งความประพฤติธรรมที่สามารถประพฤติได้ตลอดกาลอันเหมาะสม และพระสงฆ์สามารถเข้าพำนักในวัดใดใด ด้วยความรู้สึกว่าเป็นเจ้าของ ผู้มีสิทธิ์โดยสมบูรณ์ที่จะเข้าพำนักอาศัยในวัดใดใด ด้วยประการนี้ พระสงฆ์แม้จะเป็นเพียงผู้สัญจรมาถึงใหม่ ๆ ก็มีสิทธิอันสมบูรณ์ที่จะเข้าร่วมประชุมเสนอแนะชี้ข้อพระธรรมในสภาสงฆ์ระดับตำบลได้ ทุกหนทุกแห่งที่จาริกไปถึง สภาสงฆ์ระะดับตำบลนั่นเอง ที่จะคอยตรวจสอบความเป็นไปในวัดต่าง ๆ ของตำบลนั้นและคควบคุมดูแลให้การปกครองของวัดเป็นไปอย่างมีระเบียบเรียบร้อย
ในวัดจะมีกรรมการวัดเป็นผู้ดูแลความเรียบร้อยภายในวัด เจ้าหน้าทึ่ฝ่ายบ้านเมือง มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ครู ฯลฯ หรือในเขตเมืองก็มีหัวหน้าเขต หัวหน้าหน่วยงาน เจ้าหน้าที่ส่วนราชการต่าง ๆ ครูอาจารย์ จะเข้ามาเป็นกรรมการฝ่ายฆราวาส พระสงฆ์ทุกรูป เป็นกรรมการฝ่ายบรรพชิต ประธานกรรมการวัดเป็นพระสงฆ์

งานทุกชนิดทุกอย่างที่เป็นของวัดที่ทำอยู่ปัจจุบันนี้ ในระบบปัจจุบันนี้ จะถูกแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน เพื่อแบ่งกันทำ ระหว่างกรรมการฝ่ายบรรพชิต และฝ่ายฆราวาส โดยเฉพาะ เช่น งานการศึกษา พระธรรมวินัยของสงฆ์เองมีคันถธุระหรือวิปัสนาธุระ เป็นหน้าที่ของฝ่ายสงฆ์ งานการศึกษาสายสามัญทุกชนิด เป็นหน้าที่ของฝ่ายกรรมการฝ่ายฆราวาส

งานด้านสาธารณูปการ หรือการก่อสร้าง การบริหารการเงิน เป็นหน้าที่ของกรรมการฝ่ายฆราวาส (พระสงฆ์จะลดบทบาทส่วนนี้ลงไปเองโดยอัตโนมัติ เมื่อไม่มีระบบยศพระแล้ว) เป็นต้น

สำหรับวัดหรือพระอารามใหญ่มีประวัติศาสตร์และเป็นมรดกสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาติ เป็นหน้าที่ของรัฐบาลโดยตรงที่จะเข้ามาดูแลรับผิดชอบ ภายใต้ความเข้าใจของการที่จะต้องมีส่วนในการใช้ประโยชน์ระหว่างพระสงฆ์ ที่จะใช้เพื่อประโยชน์ของการบำเพ็ญพระกรรมฐานจากวัดที่ทรงคุณสมบัติพิเศษเช่นนั้น และสำหรับประชาชนและราชการที่จะใช้ประโยชน์อย่างฆราวาส

๒. พระสงฆ์ จะถูกกำหนดหน้าที่ให้เป็น อนาคาริก ผู้ไม่มีที่อยู่ของตนเองเป็นหลักแหล่ง ผู้บวชเรียน ผู้ถือสันโดษ และการเรียนสายหลักก็คือการเรียนพระธรรมวินัย การศึกษาสายคันถธุระและวิปัสนาธุระ อันหมายถึงการศึกษาเพื่อการปฏิบัติธรรมในความมุ่งหมายเพื่อการตัด การชำระกิเลส ชำระจิตใจให้สู่ความสะอาด สว่าง และสงบ ตามหลักธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเหตุนี้ พระสงฆ์จะไม่ผูกติดกับวัด กับสถานที่อยู่ กับตำแหน่งใดใด และไม่มีระบบยศ เมื่อบวชเรียน บทบาทของพระสงฆ์จะหนักไปในด้านการเคลื่อนไหว ไม่อยู่นิ่ง ไม่ผูกติดกับสถานที่หรือท้องถิ่นใดใด เป็นที่เฉพาะ ซึ่งลักษณะการไม่อยู่นิ่งนี้ เป็นเคล็ดลับวิถีทางแห่งการต่อสู้ชำระกิเลสวิธีสำคัญ ในการไม่อยู่นิ่ง มีการเคลื่อนไหวไปเเรื่อย ๆ นี้ ยังเป็นวิธีการตรวจสอบภายในของพระผู้ต่อสู้มารกิเลสมาร ว่าได้ประสบผลสำเร็จในส่วนวิปัสนาธุระหรือได้มีความก้าวหน้าไปในอริยภภูมิ อริยธรรมเพียงใดอีกด้วย(โปรดสังเกตหลักราชการของฆราวาส ไม่ว่ามหาดไทย กลาโหม พลเรือน หรือการเมือง ล้วนไม่ผูกติดกับสถานที่ มีการโยกย้ายประจำปี ตลอดอายุราชการที่ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ) ฉะนั้นสงฆ์จะมีการเดินทางไกล จาริกไป ตลอดเวลา เมื่อไปสู่วัดหรือสำนักปฏิบัติธรรมหรือสำนักเรียนต่าง ๆ ได้อย่างเสรี ระบบอายุพรรษาจะอาจใช้เป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการกำหนดความเคลื่อนไหวของพระสงฆ์ พระอุปัชฌาย์จะมีหน้าที่โดยตรงในการปกครองและการให้การศึกษาหรือแนะนำการศึกษาใดใดแก่สัทธวิหาริก หรืออันเตวาสิกแห่งตน ๆ เมื่อ สงฆ์จาริกไปถึงท้องถิ่นตำบลใด ต้องเข้ารายงานตัวต่อสภาสงฆ์ระดับตำบลนั้น ๆ และจะต้องเข้าร่วมประชุมดุจดั่งเป็นสมาชิกสภาสงฆ์ตำบลนั้นเสมอไปทุกแห่ง นอกจากนั้นสงฆ์ที่จาริกไปนี้ยังมีสิทธิ์ที่จะดำรงตำแหน่งใดใด ในวัดหรือในสถาบันสงฆ์อีกด้วย และบางกรณีจำเป็นจะต้องรับภาระหรือตำแหน่งงานตามที่ที่ประชุมมอบหมายให้อีกด้วย ในการประชุมสภาสงฆ์ สมาชิกมีสิทธิเต็มที่ที่จะเสนอความคิดเห็นใดใด หรือข้อตำหนิใดใดต่อสงฆ์รูปใดหรือวัดสถานธรรมหรือการปฏิบัติใดใดต่อสภาสงฆ์ได้

เมื่อสงฆ์ได้ผ่านอายุพรรษา ผ่านการศึกษาเบื้องต้นทางคันถธุระ และวิปัสนาธุระไปพอสมควรแล้ว พระอุปัชฌาย์ก็อาจอนุญาตให้จาริกไปได้ เพื่อการแสวงการปฏิบัติธรรมอย่างอิสระเสรีเพื่อรองรับการปฏิบัติวิปัสนาธุระในชั้นสูง ซึ่งมักจะต้องปฏิบัติกรรมฐานพิเศษเช่นธุดงค์ข้อต่าง ๆ และในภาคการศึกษาระดับสูงนี้ รัฐบาลควรอนุญาต และมีการตระเตรียมให้พระสงฆ์ที่เข้ากฎเกณฑ์ต่าง ๆ ดังกล่าวที่เหมาะแก่งานการศึกษาชั้นสูงนี้ได้มีโอกาศจาริกไปในป่า เขา ในอุทธยานแห่งชาติ ทุกแห่ง ในประเทศไทยได้ โดยเงื่อนไขอันเหมาะสม เช่น ไม่เป็นการเข้าไปสร้างที่พักสงฆ์เพื่อการอยู่อย่างถาวร ไม่ทำลายสภาพแวดล้อมเดิมของธรรมชาติ เป็นต้น หากแต่ต้องอยู่อย่างเป็นระบบธรรมชาติ อยู่ด้วยอนาคาริกวิสัย เมื่อเป็นเช่นนี้ก็สามารถจาริกไปในเขตอุทธยานแห่งชาติได้และจะเลือกที่พำนัก ที่เป็นป่า เขา ถ้ำ หรือหุบเหว ที่เป็นที่สัปปายะแก่การปฏิบัติธรรมจำเริญวิปัสนากรรมฐาน และทั้งเป็นการฝึกสร้างความอดทน อันสูงสุด ฝึกสร้างการเดินทางไกลที่ทุรกันดาร และสงฆ์สามารถอยู่ในสถานที่อันสัปปายะแก่การปฏิบัติธรรมเช่นนั้นได้นานเท่าที่ประสงค์ จนกว่าจักสำเร็จรู้แจ้งแสงธรรมกลับออกมา หรือไม่อาจกลับออกมาอีกเลย(อุทิศชีวิตเพื่อการศึกษาธรรมแล้ว)ก็ตาม การจาริกนี้ให้อนุญาตได้อย่างเป็นเอกเทศก็ได้ หรือเป็นคณะเป็นหมู่โดยมีพระอุปัชฌาย์ หรือครูอาจารย์ผู้รู้ผู้เป็นกัลยาณมิตรพาจาริกไปก็ได้

เมื่อสงฆ์ออกจาริกไปจะมีสภาพขาดจากเสนาสนะหรือวัดที่เคยอยู่ ตำแหน่งใดใดที่เคยมี จะขาดไปโดยอัตนมัติพร้อมกับการจาริกออกไป ฉะนั้น วัดทุกแห่งจึงพร้อมเปิดประตูรับสงฆ์ผู้จาริกมาถึง ระบบยศระบบตำแหน่งจึงไม่อาจมีได้ ในวิถีทางการศึกษาและคุณธรรมเช่นนี้ จึงจะสามารถ เสริมสร้างและพัฒนาการศึกษาที่อาจสามารถนำไปสู่เป้าหมายแห่งการพระพุทธศาสนาได้อย่างมีพลังและได้รับผลแห่งธรรมเต็มที่อันสูงสุดได้ อนึ่งโดยวิธีนี้ งานสงฆ์จะมีความสนุกในการปฏิบัติธรรมล้ำลึกไปโดยตลอด อริยภูมิก็ก่อเกิดขึ้นไปตามลำดับ ๆ แล้วก็ยิ่งมีกระแสเนื่องหนุนตามมาเรื่อย ๆ สถานการการศาสนาก็ดีขึ้นไป สู่มรรคผลนิพพานปรากฎ

ในการปกครอง วัดจะปกครองโดยระบบวัฒนธรรมพระ เริ่มด้วยกิจวัตร ๑๐ ประการ สงฆ์ทุกรูปจะต้องรู้ เข้าใจ และปฏิบัติโดยต่อเนื่องสม่ำเสมอ และเพิ่มเวลาให้ความสำคัญแก่ข้อที่ตนถนัดหรือได้รับผลการปฏิบัติเป็นพิเศษ ได้จนกลายเป็นกรรมฐานข้อพิเศษสำหรับประพฤติเฉพาะตนไปอย่างยิ่งก็ได้ แม้สงฆ์ที่จาริกไป สู่วัดใดใด ก็จะต้องปฏิบัติกิจวัตร ๑๐ นี้อย่างเคร่งครัด ไม่ยิ่งหย่อนกว่าสงฆ์ผู้อยู่มาก่อน และพระสงฆ์ทั้งปวงจะต้องเพ่งเล็งเพ่งโทษผู้ละเลยการปฏิบัติกิจทั้ง ๑๐ นี้อยู่ตลอดเวลา หากสงฆ์รูปใดปฏิบัติย่อหย่อนโดยแสดงให้เห็นว่าขาดความรับผิดชอบในภาระหน้าที่นี้แล้ว ผู้นั้นควรถูกตำหนิ ผู้เป็นประธานสงฆ์ ผู้อาวุโสกว่า หรือแม้พระภิกษุใด ก็มีสิทธิชี้ แนะ ตักเตือนได้ หากไม่เชื่อฟังก็ย่อมสามารถนำเรื่องเข้าที่ประชุมสภาสงฆ์ เพื่อชี้ขาด ตัดสินลงโทษได้

ด้านศาสนพิธีต่าง ๆ เช่นการฌาปนกิจศพ สงฆ์ทุกรูปต้องเข้าใจว่าเป็นภาระหน้าที่โดยตรงที่จะให้การอนุเคราะห์ มิใช่เป็นการอาชีพ ฉะนั้น การสวดหรือพิธีกรรมใดสงฆ์ทุกรูปสามารถไปร่วมพิธีได้ ตามใจประสงค์ ทั้งนี้โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการปฏิบัติธรรม เพื่อการปลงสังเวชบ้าง เพื่อปลงกรรมฐานใดใดบ้าง อันเหมาะแก่อารมณ์ขณะนั้นบ้าง หรือเพื่อการฟังพระธรรมเทศนาจากพระธรรมกถึก ที่ได้รับนิมนต์มาเทศน์ อันเป็นการฝึกอุปนิสัยการใฝ่แสวงหาความรู้ความจริงให้กว้างขวางทางทัศนะการมองเหตุการณ์รอบด้าน โดยประการนี้ สงฆ์จะมีการดำรงชีพเสมอเท่าเทียมกันไปทั้งนั้น ทั้งนี้เพราะโดยกิจวัตร ๑๐ ประการที่ต้องปฏิบัติโดยไม่มีข้อยกเว้นแด่สงฆ์ใด จึงเกิดมีความเคารพซึ่งกันและกันตามอาวุโส ตามภูมิรู้ ภูมิปัญญา มีพระอุปัชฌาย์เป็นศูนย์รวมจิตใจ เสมือนดั่งบิดามารดา มีความเป็นภราดรภาพ เป็นหลักการสัมพันธ์

โดยประการนี้ บุคลิกภาพและบทบาทของสงฆ์ทั้งปวงก็จะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีความหนักในกาม หนักในยศศักดิ์ ตำแหน่ง หนักในการสะสมทรัพย์ หนักในที่นั่งและที่นอน ที่อยู่ ที่กิน แม้กระทั่งความหนักในทิฎฐิ มานะ ฯลฯ มาเป็นพระผู้สันโดษ มีความเบา คล่องและเข้มแข็ง มีความสะอาด สว่าง และสงบ หนักในจาคะ หนักในไตรสิกขา และหิริโอตตัปปะแทน หนักในคุณวุฒิ หนักในการศึกษาทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ ทั้งทางโลกและทางธรรม หนักในความเข้าใจภาระหน้าที่ เข้าใจผู้อื่น เข้าใจตัวเราเองว่าเป็นผู้แตกต่างจากฆราวาสอย่างไร และเข้าใจฆราวาสว่าเป็นผู้แตกต่างจากเราอย่างไร รู้เขารู้เรา เช่นนี้ เป็นที่มาแห่งอริยภูมิ อริยวิถี พระอริยบุคคล อริยสงฆ์ก็จะปรากฎขึ้น เป็นหมู่ ๆ พรั่งพร้อมกันด้วยระบบแห่งมาตรฐานอันเดียวกันทั้งสิ้น เสมือนหน่อไม้ไผ่แตกกอในหน้าฝน ก็แทงยอดขึ้นเป็นหลาม ๆ คับคั่งไปทั้งกอ ก็ทำให้สังคมเยือกเย็น สงบ ระงับความวุ่นวาย นิ่งและมีความสุขจากวิถีสันโดษ และวิถีอริยธรรม ก็เป็นหลักอันมั่นคงของประเทศชาติ เป็นภาคภายในของสังคมที่สะอาดสะอ้าน มีพลังแห่งธรรมะเต็มเปี่ยม

สงฆ์วัยชราภาพ พ้นวิสัยแห่งการจาริกไปแล้ว จะอยู่ประจำที่ใดใดก็แล้วแต่อัธยาศัย และเมื่ออยู่ที่ใดสงฆ์ทั้งปวงต้องถือเป็นภาระหน้าที่ที่จะต้องเอาใจใส่ปฏิบัติบำรุงอุปัฏฐากอย่างดีที่สุดเพียงดังกับปฏิบัติบิดามารดา และจะถือว่าการปฏิบัติสงฆ์ผู้มีอายุวัยชราแล้วนั้น เป็นข้อประพฤติธรรมอันขาดมิได้อีกข้อหนึ่ง(แท้ที่จริงก็มีอยู่แล้วในกิจวัตร ๑๐) และสงฆ์อาวุโสเหล่านี้ก็จะมีสภาที่พูดคุยกันในระหว่างสงฆ์ผู้มีอาวุโสทั้งปวง สภานั้นก็คือ สภาสงฆ์อาวุโสระดับตำบล สภาสงฆ์อาวุโสระดับจังหวัด และสภาสงฆ์อาวุโสระดับชาติ

เมื่อสงฆ์ละสังขารแล้ว ภาระในการจัดการกับศพสังขารนั้นเป็นภาระของสงฆ์โดยตรง และมีการจัดการอย่างกับพระผู้เป็น อนาคาริก

๓. สภาสงฆ์  สภาสงฆ์เป็นที่ประชุมบรรดาสงฆ์นักปราชญ์ ผู้ทรงวัยวุฒิ คุณวุฒิ ประกอบด้วยสมาชิกสภาสงฆ์ระดับตำบล นับแต่พระภิกษุผู้เป็นอุปัชฌาย์ พระมหาเถระ พระเถระ และบรรดาพระมุตกะ รวมทั้งพระผู้จาริกมาจากที่ไกล หากมีอาวุโสพรรษาเข้าเกณฑ์ ก็ถือว่าเป็นสมาชิกโดยอัตโนมัติ มีสิทธินำข้อเสนอแนะหรือข้อปัญหาใดใด เข้าสภาได้ เสมอเหมือนสมาชิกผู้อื่น สภาสงฆ์ระดับตำบลเป็นที่ประชุมสงฆ์โดยหลักอปริหานิยธรรม ๗

สภาสงฆ์อาวุโส เป็นคล้ายที่ประชุม เป็นสโมสรที่พักผ่อนและการบันเทิงธรรมของพระสงฆ์อาวุโส มี ๓ ระดับเช่นเดียวกัน

สภาสงฆ์ระดับตำบล ทำหน้าที่เป็นที่ประชุมสงฆ์ทั้งมวลในตำบล ดูแลกำกับความประพฤติของพระภิกษุสงฆ์ให้อยู่ในร่องรอยของพระธรรมวินัย ให้เอาใจใส่สร้างอุปนิสัยที่พึงประสงค์ ส่งเสริมการศึกษาพระธรรมวินัย และการปฏิบัติกิจสงฆ์ให้ถูกต้อง ควบคุมการบริหารและการจัดการทุกอย่างของวัดในเขตตำบลให้เป็นไปโดยเรียบร้อย มีอำนาจพิจารณาอธิกรณ์สงฆ์ ระดับตำบล

สภาสงฆ์ระดับตำบลอาจแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นกี่คณะก็ได้ เพื่อดำเนินกิจการเฉพาะกิจของสงฆ์ในตำบล กรรมการจะประกอบด้วยบุคคลใดก็ได้ตามแต่ที่ประชุมสภาสงฆ์ระดับตำบลจะกำหนด จะพิจารณาการณ์ใดใดย่อมพิจารณาดำเนินการไปได้ด้วยมติที่ประชุม อันเป็นไปในวิถีที่เรียกว่า ประชาธิปไตยสงฆ์ นั่นเอง

สภาสงฆ์ระดับจังหวัด ประกอบด้วยสมาชิกเป็นตัวแทนที่มาจากสภาสงฆ์ระดับตำบลทุก ๆ แห่งในจังหวัด ระดับนี้ จะทำหน้าที่บริหารงานในวงกว้างออกไปอีก อะไรที่เกินกำลังของสภาสงฆ์ระดับตำบลจะได้รับการพิจารณาที่นี่ สภาสงฆ์จังหวัดจะเป็นจุดศูนย์กลางที่รับข้อปัญหาข่าวสารข้อมูลที่กำหนดหรือตรวจสอบนโยบายคณะสงฆ์ ทั้งจากส่วนล่างและจากส่วนบน คือระดับตำบลและระดับชาติ สามารถตั้งกรรมการบริหารขึ้นมารับผิดชอบงานได้หลายคณะ เช่นกรรมการการศึกษา กรรมการสาธารณูปการ กรรมการข่าวสาร กรรมการการเผยแผ่ เป็นต้น มีอำนาจพิจารณาอธิกรณ์สงฆ์ได้ในขอบเขตกว้างขวางขึ้น

สภาสงฆ์ระดับชาติ ประกอบด้วยตัวแทนจากสภาสงฆ์ระดับจังหวัด พระสงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีเอตทัคคะคือมีความชำนาญในสาขาวิชาเฉพาะอย่าง รวมทั้งพระสงฆ์ผู้จาริกมาจากทางไกลหรือต่างประเทศ สิ่งที่สภาสงฆ์ระดับชาติจะต้องพิจารณาโดยเร่งด่วนขณะนี้ก็คือการวางนโยบายการศึกษาสงฆ์ โดยพยายามลดทอนภาระความรับผิดชอบในการศึกษาฝ่ายโลก คือการศึกษาสามัญทั้งระดับมัธยมและอุดมศึกษา ออกไป ให้อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายบ้านเมือง สงฆ์เองจะเน้นนโยบายการจัดวางระบบการศึกษาที่เป็นเป้าหมายทางพระธรรมวินัยโดยเฉพาะ ไม่ว่าบาลีหรือนักธรรม ทั้งฝ่ายคันถธุระและวิปัสนาธุระเป็นหลักการสำคัญ และรวมไปถึงงานการมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลกที่มีเป้าหมายเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนาที่แท้จริงด้วย

สงฆ์ระดับชาติจะกำหนดนโยบายการเผยแผ่ การสาธารณูปการ การปกครอง และเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารที่พร้อมเพรียง งานในลักษณะกองเลขานุการของสภาสงฆ์ระดับชาติ ควรจะให้เป็นภาระหน้าที่ของฝ่ายฆราวาส เป็นต้นว่ากรมการศาสนาหรือกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ หรือหน่วยในสำนักนายกรัฐมนตรีที่ขึ้นตรงต่อฝ่ายบริหารสูงสุดของประเทศ ทั้งนี้ก็เพราะเป็นงานที่ต้องดำเนินการด้วยเท็คนิคสมัยใหม่ที่สงฆ์เรา ถึงอาจสามารถทำได้ แต่ก็จะเชื่องช้า ไร้ประสิทธิภาพ เพราะเราไม่ได้ร่ำเรียนมาและก็ไม่ใช่หน้าที่เราที่จะต้องไปร่ำเรียนวิชาอย่างนั้น ๆ จึงเป็นโอกาศที่จะได้ปลดปล่อยภาระหน้าที่ทุกประการใดของสงฆ์ที่ไม่เกี่ยวกับวิถีสันโดษและวิถีธรรมที่มุ่งหมายไปสู่เส้นทางแห่งพุทธประสงค์ คือมรรคผลนิพพานนั่นเอง เพราะในที่สุดแล้ว การบรรลุเป้าหมายคือ อรหัตผลธรรม จะปรากฏว่าทรงคุณค่ามหาศาลยิ่งใหญ่จนท่วมทับผลงานผลกิจกรรมใดใดอย่างโลก ๆ ทั้งสิ้น

ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันสงฆ์กับองค์พระประมุขของชาติ ก็ยังเป็นไปในลักษณะเดิม คือทรงประกอบราชพิธีใด ก็เป็นไปตามแบบราชพิธีนั้น และทรงเป็นผู้ทรงแต่งตั้งอุปัชฌาย์ และสมาชิกสภาสงฆ์ รวมทั้งตำแหน่งทางการบริหารที่สำคัญ ๆ และทรงเป็นมหาอุบาสก ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ และทรงเป็นมหามรรคนายก อย่างที่ทรงเป็นอยู่แล้วตลอดไปเสมอ ไม่มีอำนาจใดลบล้างพระจริยาวัตรอันดีงามล้ำเลิศของพระองค์ได้

รูปเค้าโครงสงฆ์ในส่วนรวมก็จะเป็น ภาพของความสันโดษ ภาพที่พระสงฆ์ถูกปลดปล่อยออกมาเป็นอิสระ จากตำแหน่งและยศฐาบรรดาศักดิ์ที่ถูกจองจำโดยกฎหมายไปตลอดชีพ ภาพการปลดปล่อยจากความหมักความดองอยู่ในน้ำแห่งอามิสสินทรัพย์สมบัติ การสะสมเงินทอง เครื่องประดับประดาต่าง ๆ อันเสมือนเป็นทรัพย์ที่ปู่โสมจะต้องอยู่เฝ้าไม่มีโอกาศได้ไปผุดไปเกิด ด้วยประการนี้ การเงิน การธุรกิจในวงการสงฆ์ก็จะค่อยสะพัดออกมาสู่สังคม เงินที่สะสม นิ่ง ไม่มีการหมุนเวียนโดยไม่ชอบด้วยการสร้างสรรค์เส้นทางแห่งมรรคผลนิพพานก็จะหมุนออกไปสู่การสร้างประโยชน์แด่สังคมและประเทศชาติ และการสร้างประโยชน์อันแท้จริงตามวิถีทางแห่งพระพุทธศาสนา ก็จะกลายเป็นสังคมพระศรีอาริย์ขึ้นมาได้ทันตาเห็น เมื่ออริยมรรค อริยผลบังเกิดขึ้นบนผืนแผ่นดินโลกอย่างล้นหลาม อาจเป็นไปได้ ด้วยการแก้ไขระบบการปกครองสงฆ์เสียใหม่ ดังพรรณนามาแล้วนี้

นี่เป็นเพียงภาพเค้าโครงร่างโดยรวมของแนวคิด ที่ประมาณการณ์โดยรวมเอาสาระแห่งธรรมทั้งหลายโดยรอบด้านมาวิเคราะห์ ทางที่จะประพฤติต่อไปให้เป็นผลสำเร็จมีรูปธรรมปรากฎก็คือการออกกฎหมายใหม่ และในเนื้อหากฎหมายก็จะเป็นไปตามลักษณะโครงร่างที่บรรยายมาแล้วนี้ กระนั้น ก็มีทางอื่นที่น่าจะเป็นไปได้เช่นเดียวกันกับวิธีการออกกฎหมายใหม่ และทั้งมีประสิทธิภาพไม่แพ้กัน หากมีความเหมาะสมด้วยกาลเวลาแล้วย่อมปรากฎสัมฤทธิผล อย่างไรก็ตามเพื่อความเข้าใจและเห็นผลคุณประโยชน์ของระบบสงฆ์อันใหม่นี้ก็ยังจำเป็นต้องอธิบายต่อไป ปานประหนึ่งว่าเป็นการเทศนาธรรมกัณฑ์ยาวยิ่ง ที่ไม่มีวันหยุด ตราบเอื้ออำนวยให้สำเร็จผลหรือสามารถบรรลุมีดวงตาเห็นแจ้งแสงธรรมไปด้วยกัน ๆ ฯ

และประการสำคัญที่ท่านผู้อ่านควรเข้าใจก็คือ ระบบคุณธรรมนี้ ใช่จะไร้ผู้ทรงภูมิปัญญามองเห็น หากแต่แท้ที่จริง ได้มีพระมหาเถรานุเถระหลายรูปเคยปรารภกันมาก่อน ในการที่จะปฏิรูปรูปแบบการคณะสงฆ์ โดยที่ได้เห็นความบกพร่องของระบบอำนาจที่เป็นอยู่นี้ว่าเป็นทางเสื่อมลง ผม ผู้วิเคราะห์ที่ได้ดำเนินการสำรวมจิตอธิบายมาตามลำดับแล้วนี้ ที่จริงก็เป็นการสนองความคิดส่วนสำคัญของพระมหาเถรานุเถระเหล่านั้น ที่เห็นพ้องต้องกันอยู่แล้วในระบบคุณธรรมในองค์กรหลักอันดั้งเดิมของสงฆ์ คือ ระบบอุปัชฌาย์ ที่สืบทอดมาแต่องค์สมเด็จพระบรมศาสดานานเท่านานมาตราบเท่าทุกวันนี้
อันปัญญาชนใด พึงสดับและพิจารณ์ด้วยสติปัญญาอันสุขุม เทอญ ฯ

 

 

ปญฺญาธโรภิกฺขุ
สุสานสวามิภูติ (สันติพิมานนรเทพ) ศรีสะเกษ
ม.ค. ๒๕๔๑

 

 

 

 

 

 

 

 

 

{คอลัมน์กัลยาณมิตร}
 ท่านยังไม่รู้จักพุทธทาสภิกขุ 6

 

การเขียนหนังสือเชิงวิเคราะห์วิจัย ที่อ่านแล้วมีเหตุมีผล รับกันได้ตั้งแต่อักษรตัวแรก ในหนังสือเล่มแรกที่เขียน ไปจนถึงอักษรตัวสุดท้าย ในหนังสือเล่มสุดท้ายที่เขียนตลอดช่วงชีวิตหนึ่งของผู้เขียนท่านนั้น นั้น

ท่านอาจไม่เข้าใจว่า นี่เป็นประเด็นความหมายแห่งสติปัญญาอันยิ่งใหญ่ ที่เฉียบคมเอามาก ๆ และมันจะต้องเริ่มต้นด้วย สมมติฐานการศึกษาอันชาญฉลาดยอดเยี่ยม ที่จะกำหนดวิถีขั้นตอนของการศึกษา กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการแห่งเหตุและผล ที่จะต้องแล่นรับกันไปโดยตลอด อย่างมีความสมดุลย์ยิ่งนัก ตั้งแต่ต้นจนจบ ของการวิเคราะห์ปัญหาหนึ่ง ๆ ที่นำมาวิเคราะห์วิจัยครั้งนั้น และสมมติฐานอันชาญฉลาดนี้แหละจะช่วยให้งานการวิเคราะห์วิจัยปัญหาใด เป็นไปอย่างไม่ติดขัด ไม่มีคำว่าเชื่องและช้า ทว่าเลื่อนไหลไปอย่างเป็นระเบียบรวดเร็วยิ่ง ด้วยความมีกฎ เกณฑ์ ผลงานที่ปรากฎออกมาจึงแสดงความเคลื่อนไหว เชิงปัญญาเหตุและผล อย่างคล่องแคล่ว จากประเด็นเริ่มแรก แล่นไปในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ต่อเนื่องทั้ง หลายด้วยความรวดเร็ว ฉลาดปราดเปรื่อง ตราบไปสิ้นสุดในประเด็นปัญหาสุดท้าย แล้วสรุปผลลงเป็นสาระอันเข้มข้นอันเป็นยอดแห่งสาระทั้งสิ้น

สิ่งที่ท่านจะยังไม่เข้าใจก็คือ ผู้ที่จะตั้งสมมติฐานการวิจัยธรรมะได้อย่างชาญ ฉลาดปานฉะนี้นั้น มิใช่ผู้ทรงสติปัญญาธรรมดา ๆ เลย หากแต่เป็นผู้ทรงปัญญา สามารถ ที่ต้องมองทะลุปรุโปร่งไปทั้งหมดในธรรมอันยิ่งของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้ง มวลแล้วก่อน

ลองอ่าน แล้วสังเกตดูว่า ท่านผู้เขียน ได้ทำการวิเคราะห์วิจัยอย่างทะลุปรุโปร่งทุกระดับปัญหา โดยมีสมมติฐานอันชาญฉลาด ดังกล่าวมานี้ อย่างไรบ้าง

โปรดดู หนังสือ อภิธรรมคืออะไร โดย พุทธทาสภิกขุ จัดพิมพ์โดยสมชายการพิมพ์ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗

หนังสือเล่มนี้ จะชี้ให้เห็นตัวอย่างงานวิเคราะห์วิจัยชั้นเลิศ ที่เดินไปอย่างแคล่วคล่องด้วยสมมติฐานอันชาญฉลาดล้ำลึกในธรรมะชั้นสูงของท่านผู้วิจัย ดังกล่าวมานั้นอย่างชัดเจน แต่เราจะยังไม่พูดถึงรายละเอียดทางเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ เราจะพูดถึงหนังสืออีกเล่มหนึ่ง

ธรรมพรปีใหม่ ของท่านผู้เขียนท่านเดียวกันนี้ ที่ธรรมสภาจัดให้ โรงพิมพ์ เลี่ยงเซียง พิมพ์ออกมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งท่านได้สรุปธรรมพรปีใหม่ว่า

การให้ธรรมะ ในฐานะเป็นของขวัญสำหรับวันปีใหม่ มันจะ แปลกอะไร ; จะแปลกก็ตรงที่ว่าท่านทั้งหลายจะต้องทำให้มีธรรมะ มากขึ้นกว่าปีที่แล้วมา

ดังบทกลอนของท่านผู้เขียน ดังนี้

 

 

                        ปีใหม่มีสำหรับดีกว่าปีเก่า
                        พืชมีเหง้าครบปีทวีหัว
                        ทั้งขนาดและจำนวนล้วนเกินตัว
                        แต่คนชั่วกลับถอยถดดีลดลง ฯ

 

                        คือปีหน้าเลวลงกว่าในปีนี้
                        ไม่กี่ปีจะหมดดีเพราะมีหลง
                        รู้สึกตัวละชั่วเพราะเห็นตรง
                        ดีจะคงดีขึ้นไปชื่นใจเอย ฯ

 

 

ท่านจะต้องทำความดีไปถึงไหน จึงจะรู้สำนึกในประโยชน์ของความดีนั้น ?
ทำไปจนกว่าจะยกมือไหว้ตัวเองได้
  ว่าตัวเองเป็นคนดีแสนดีจนแม้ตัวเองก็อดยกมือไหว้ตัวเองได้ นั่นแหละเป็น ประเด็นสำคัญยิ่งของคนผู้ปฏิบัติความดี ผู้ที่ได้พรไปแล้วโดยไม่ต้องขอจากผู้ใดเลย

แต่ประเด็นนี้ ท่านก็อาจจะไม่เข้าใจเหมือนกัน ว่าท่านพุทธทาสพูดคล้ายยกยอตัวเองเกินไปผิดวิสัย ท่านอาจจะนึกเช่นนี้และนั่นแหละที่แสดงว่า ท่านยังไม่เข้าใจ

ฉะนั้น ท่านควรอ่าน ธรรมพรปีใหม่ ของท่านพุทธทาสภิกขุ เล่มนี้ เพื่อเริ่มชีวิตที่ดีกว่าเก่า ในปีใหม่ ๒๕๔๑ นี้ 

 

·         ไกลกิเลส
ธ.ค.๔๐

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 สากลจักรวาล สากลศาสนา (๒)
ธรรมสามีวินิจฉัย

 

 

เรามองโลกทั้งหมด และโลกอื่นที่อยู่นอกโลกของเราได้ ด้วยหลักศาสนา   เมื่อเราเข้าใจศาสนา รู้หลักศาสนาเราก็จะได้ประโยชน์จากความเข้าใจนั้นจากความรู้นั้น   เราก็จะสามารถมองเห็นกระแส หรือวิถีการไหลหลากไป ของเจตนารมณ์ หรือ สปิริตแห่งโลก    ด้วยเหตุนี้ เราจึงมองดูโลกที่กำลังเป็นอยู่ ด้วยหลักแห่งศาสนา อันเป็นสากลและด้วยการมองเช่นนั้นเราย่อมเห็น

แท้ที่จริง โลกมิได้มีเจตนากระทำ สิ่งที่คล้ายดั่งว่า มีเจตนากระทำ ดั่งเช่นที่มันทำอยู่ในขณะนี้

หากแต่เป็นไปเพราะความตื่นตระหนก เพราะความกลัวภัยที่มองเห็นอยู่ข้างหน้าอย่างรำไร ๆแล้ว แต่เพราะไม่รู้หลักแห่งศาสนา จึ่งพากันตื่นเตลิดไป คือเป็นไปอย่างที่มันพึงเป็นไป ตามธรรมดาที่มันพึงเป็นไปเช่นนั้น

วันนี้ เรายังต้องมองดูประเทศมหาอำนาจ ผู้นำและประชาชนของ ประเทศมหาอำนาจ สหรัฐอเมริกา

เราพยายามอธิบายเพื่อการเห็นโดยชัดเจนขึ้น

แน่นอน ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนปัจจุบันนี้ คือ ท่านบิล คลินตัน ได้แสดงบทบาทที่เห็นเด่นชัดขึ้นไปทุกทีว่า ยิ่งทวีความนิยม อำนาจ ไปทุกขณะ และดูจะไม่สามารถหยุดยั้งได้เสียแล้ว

เขากำลังเอร็ดอร่อยกับอำนาจ อย่างกับได้กินอาหารทิพย์ แล้วไม่รู้อิ่ม ในรสชาตินั้นเลย

นี่คือสิ่งบอกสัญญาณอันตรายของโลก

หากแต่ว่าเรายังต้องคอยดู ว่าเจตนารมณ์ของประธานาธิบดี แห่ง ประเทศมหาอำนาจ สหรัฐอเมริกานี้ ได้เป็นไปอย่างสอดคล้องกับเจตนา -รมณ์ ของประชาชนและรัฐสภาแห่งประเทศมหาอำนาจหรือไม่ เพียงใด?

จีนและอินเดีย จะอาจลดทอนอานุภาพแแห่งประะเทศมหาอำนาจนี้ ลงได้เพียงไหน

ในเมื่อความอร่อยไม่รู้อิ่มในอำนาจนั้นกำลังจะเป็นภัยแห่งโลก

จืน- อินเดีย จะทำศึกกับสหรัฐอเมริกาไปอย่างไร จึงจะอาจหยุด มหาอำนาจไว้ได้

คงจะได้เห็น ภายในทศวรรษนี้ ระหว่างเหตุการณ์ที่โลกกำลังเป็นไป อยู่นี่เอง

เราจึงอาจจะคาดหมายต่อไปได้ว่า

ศาสนาสากลจะถูกกำหนดโดยประเทศมหาอำนาจ หรือจะถูกกำหนดด้วยตัวของมันเอง อันเกิดจากการประสมประสานสรรพสิ่งอันแปรปรวนแล้วหล่อหลอมเข้าด้วยกันเอง  ตามธรรมชาติ ธรรมดาที่มันจะเป็นไป

·         ธรรมสามี
ธ.ค.๔๐

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 (คอลัมน์นิทานธรรมะ)
ซิ่งเนรคุณ
จักร สุธาธรรม

 

รถเก๋งคันนั้นเป็นรถยี่ห้อ เบนซ์รุ่นใหม่เอี่ยมของบริษัทรถเบนส์สยาม มีอยู่เพียงไม่กี่คันของจังหวัดนั้น คนเดินผ่านไปต้องทอดสายตาดูด้วยความรู้สึกระยอบระย่อในความโอ่อ่าของรถและคนในรถ ที่ดูท่าทางภูมิฐาน เพียงเห็นซีกแก้มที่อูมนูนของคนขับ ก็รู้สึกในความมั่งคั่งเปี่ยมด้วยบุญวาสนาของเขา

ทว่า ยายแก่ นั่งอยู่ระหว่างคน ๒ คนในเบาะหลังนั่นสิ หน้าตาก็บอกอยู่ชัดเจนว่าเป็นยายเฒ่าเขาพามาจากบ้านนอกบ้านนา เพราะดูบุคคลิกภาพที่ไม่ค่อยเข้ากับสีสรรความสง่างามของรถเก๋งคันโอ่นั้นเลย ดูท่านั่งในรถก็ไม่เห็นว่ามีความสบายใจแต่อย่างใด ขณะนั้นรถจอดรอไฟเขียวทันใดนั้นยายแก่ก็ชี้ไม้ชี้มือส่งเสียงขึ้นดัง ๆ

เฒ่าแก่อ้วนเอ๊ย! นั่นตาบุญเอกลูกชายฉัน จอดสักประเดี๋ยวนะฉันจะคุยกับลูกฉันสักหน่อย

แล้วก็กวักไม้กวักมือเรียกเด็กหนุ่มบนมอเตอร์ไซค์คันนั้นไม่ทันเสียแล้ว ไฟเขียวขึ้น

เท่านั้นเอง เสียงกระหึ่มของรถรอบด้านพุ่งแข่งกันออกไป ขบวนรถมอเตอร์ไซค์ขบวนหนึ่งพุ่งสวนไปโดยเร็ว เถ้าแก่ถามเบา ๆ ว่า

คนหนุ่มนั่นหรือลูกของยาย เอ! ท่าทางห้าวดีนะ ต่อไปจะต้องเป็นนักกีฬามีชื่อเสียงโด่งดังแน่ ๆ

ก็อย่างนี้ยายถึงได้ส่งเสริมไปอย่างสุด ๆ เอ! ยายนี่หัวทันสมัยทีเดียว

ชายอ้วนลูกคู่เถ้าแก่อีกคนเสริมขึ้น แล้วพวกเถ้าแก่ก็แสร้งหัวเราะว่าพอใจอย่างยิ่ง

วันนั้นเถ้าแก่เงินล้านพาคุณยายไปที่บ้านเพื่อทำสัญญากู้ยืมเงิน ในการกู้ยืมนี้คุณยายได้นำโฉนดที่ดินจำนวนถึง ๒๕๐ ไร่ที่มีอยู่ทั้งหมดไปประกันเงินกู้จำนวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่ง ๓๐๐,๐๐๐ บาทในจำนวนนี้ เป็นค่าซื้อรถมอเตอร์ไซค์ให้บุญเอก ลูกชายที่กำลังเติบโตเป็นหนุ่มคะนองเต็มที่คนนั้น เหตุผลก็เนื่องมาจากเรื่องหน้าเรื่องตา หยากได้หน้า

ได้ตา ได้ชื่อเสียง บุญเอกเป็นนักกีฬาเด่น มีชื่อเสียงในตำบลและกำลังก้าวไป สู่ระดับชาติอย่างรวดเร็ว มีความฝันและพิสมัยกีฬารถแข่งอย่างหลงไหลงมงาย เขาพร่ำรบเร้าแม่เฒ่าให้จำนำที่นาเอาเงินมาซื้อรถแข่ง ด้วยการยืนยันอย่างหนักแน่นว่า เมื่อเป็นนักกีฬามีชื่อเสียงแล้วเงินล้านก็สามารถได้มาอย่างง่ายดายเพียงใด พร่ำรบเร้าเข้าบ่อย ๆ ผู้เฒ่าก็เคลิ้มตามไปจนได้

แต่วันแล้ววันเล่าที่ดูเหมือนชื่อเสียงของบุญเอกขจรขจายไปในจังหวัดและเริ่มดังระดับชาติ หากแต่ยายเฒ่ากลับรู้สึกผิดปกติ ไม่สบายใจเอาเสียเลย เพราะที่ลูกสัญญาว่าจะร่ำรวยเอาง่าย ๆ ยังไม่เห็นมีวี่แวว แม้เวลาจะผ่านไป ๆ นานพอสมควรแล้ว ตั้งแต่เจ้าบุญเอกได้รถมอเตอร์ไซค์คันใหญ่ไป พฤติกรรมของลูกที่มีต่อแม่ก็เปลี่ยนแปรไปจากเดิม ที่สำคัญ สัญญากู้ยืมเงินก็จวนเจียนจะครบกำหนดแล้ว

เย็นวันนั้น ขบวนมอเตอร์ไซค์จำนวน ๕ คันควบตะบึงเข้าหมู่บ้านมาอย่างรวดเร็ว คนต่างหลีกกันไปคนละทางพอถึงบ้านไม้ ๒ ชั้นครึ่งตึกครึ่งไม้หลังนั้น เสียงเบรค เอี้ยด ! พร้อมกันทั้ง ๕ คัน พวกเขาทำท่า ขบวนยกล้อคารวะคนทั้งหลาย รถยกล้อ แขนชูขึ้นสูง เก๋ไก๋ จริง ๆ จนสาว ๆ สามสี่คนริมทางนั้นกรีดเสียง ดังลั่นบอกให้รู้ว่าฉันทันสมัยนะ หนุ่มทั้ง๕ในยูนิฟอร์มนักซิ่ง หล่อเหลาไปอย่างสุด ๆ ดูแทบไม่มีเค้าว่าเป็นลูกบ้านนอกคอกนา

บุญเอกเดินนำเพื่อนทั้ง ๔ เข้าไปในบริเวณบ้านอย่างสง่าลำพองใจเข้าไปนั่งที่โต๊ะหน้าบ้าน เขาเองเดินเข้าประตูบ้านไป พอดี หญิงชราผู้เป็นแม่เดินออกมาอย่างตื่นเต้น

ลูกเอกมาได้เวลาพอดี ลูกเอ๋ย มานี่ซี ลูกได้เงินมาด้วยหรือเปล่า?”

เจอหน้าแม่กลับโดนทักแบบนี้ บุญเอกก็มีทีท่าไม่พอใจขึ้นมาทันที

อะไรกันแม่เสียงเขาดัง

ก็บอกแล้วว่ายังไม่ถึงรายการแข่งรอบชิงชนะเลิศ รออีกหน่อยซีแม่ นี่ก็ต้องขอแม่อีก ๒ หมื่นนะ เตรียมแข่งสนามพัทยา สมทบกับที่อื่น จึงจะพอ ทั้งหมดต้องเงินแสนมันพูดราวกับว่าเงินหมื่นเงินแสนเป็นเรื่องจิบจ้อย

ตายแล้ว! ก็ไหนลูกบอกว่าชนะมาหลายสนามแล้ว ไม่ได้เงินหรือลูก เฒ่าแก่เขาก็ทวงสัญญามาแล้ว เพราะมันจะครบกำหนดในเดือนสองเดือนนี้ เงินตั้ง ๕ แสนที่ยืมเขา

มาแม่ไม่มีปัญญาหามาใช้เขานะลูกนะ เขายึดที่นาไปแล้วเราจะไม่มีที่นาทำกิน เพราะต้องจำนำนาของเราทั้งหมดทั้ง 250 ไร่เขาจึงให้ยืม 5 แสนบาท

ใจเย็น ๆ ไว้เถอะน่าแม่ ทำอะไร ๆ ก็ต้องลงทุน เขาลงทุนกันเป็นล้าน ๆยังไม่สะดุ้งเลย ข้าจะต้องรีบไปนะแม่นะ ขอ ๒ หมื่นนะแม่นะ

ก็แกพึ่งเอาไปอาทิตย์ที่แล้ว ๓ หมื่น แกก็บอกแล้วไงล่ะว่าคราวหน้าก็ได้เงิน แกควรจะเอาเงินมาให้แม่เก็บไว้ใช้หนี้เขาถึงจะถูก จะมาขออีก จะเอาอะไรอีกล่ะเงินหมดแล้ว ต้องไว้ให้น้องเขาเรียนหนังสือบ้างซี เจ้าจ้อยแม่ก็เอาไปฝากหลวงตาที่วัดไว้

ก็แม่มีอยู่ตั้ง ๒ แสนนี่แม่ ข้าขออีกเพียง ๓ หมื่นเท่านั้นเอง รับรองว่าแข่งคราวหน้าได้เงินมันเปลี่ยนจำนวนเงินจาก ๒ หมื่นเป็น ๓ หมื่น

แกพูดอย่างนี้ทุกครั้งที่มาขอเงินข้า ไหนแกบอกซิแกจะได้เงินมาอย่างไร ข้าไม่เห็นทางเลย

จากสปอนเซอร์ไง เขามีสปอนเซอร์รายใหญ่ ๆ พอให้เป็นล้าน ๆ เงินรางวัลอีกต่างหาก แม่ไม่รู้เรื่องหรอก วงการกีฬาเวลามันจะรวยมันรวยเป็นล้าน ๆ แบบไม่รู้เรื่อง แม่เชื่อฉันเถอะ แม่เพียงแต่คอยฟังข่าวฉันก็พอ แต่แม่ยังมีเงินเหลืออยู่เยอะนี่นา ขอเป็น๕ หมื่นนะแม่นะจะได้เตรียมฟิตเต็มที่

ไม่ ไม่ ไม่ แกมันมาไม้เดิมอีกแล้วแม่พูด หัวเด็ดตีนขาดฉันก็ไม่ให้แกอีกแล้ว

ไม่ให้ข้าเอาเองก็ได้

ดูเหมือนเจ้าลูกชั่ววางแผนมาไม้นี้อยู่ก่อนแล้ว มันก้าวสวบ ๆ จะขึ้นไปรื้อเอาเงินในที่ ๆ มันรู้ดีว่าอยู่ตรงไหน แม่เฒ่าโผเข้ารวบเอวไว้ร้องลั่นว่าอย่านะ ๆ เจ้าบุญเอกสลัดเต็มแรงแม่กระเด็นไปมันถีบซ้ำจนล้มคว่ำ ร้องโอดโอย น้ำตาไหลพรากด้วยความน้อยอกน้อยใจในวาสนาตัวเองที่มีลูกชั่วอย่างนี้ ไม่กี่อึดใจมันก็กลับลงมา มันยิ้มแสยะอย่างไร้ความรู้สึกในความดีความชั่ว ทั้ง ๆ ที่แม่มันนอนร้องโอดโอยอยู่ เงินแม่มันในกระเป๋ามีอยู่แสนบาทพอดีซึ่งเป็นเงินก้อนสุดท้ายที่เหลือจาก ๕ แสนที่ไปกู้ยืมมา มันเอาไปทั้งหมด

เองอย่าเอาไปทั้งหมดนะเจ้าบุญเอก ไว้ให้เจ้าจ้อยมันเรียนหนังสือบ้างนะ

แต่ลูกชั่วอย่างบุญเอกไม่แยแส มันก้าวอาด ๆ ออกไปพยักหน้าให้พรรคพวก แล้วขึ้นขับขี่มอเตอร์ไซค์กระหึ่มลั่นไปโดยเร็ว มันทำมิต่างจากหมู่โจรปล้น หาก

พวกมันกลับคิดว่า ข้าคือวีรบุรุษคู่แผ่นดิน มีอาการคึกคะนอง เหิมเกริม ลืมคำว่าบุญหรือบาปใดใดทั้งสิ้น ลืมความเป็นลูก ความเป็นแม่ แม้กระทั่ง ความเป็นคน ในขณะนั้นมันหลงลืมตัวไปอย่างสุด ๆ ว่ามันคือ เทพบุตรในดวงใจของคนทั้งหลาย โดยเฉพาะผู้หญิงวัยรุ่นที่คอยกรีด ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ เวลาพวกมันปรากฎตัวขึ้น พอ ๆ กันทั้งหญิงและชายประเภทนี้ นั่นก็คือพวกชอบทำตัวทันสมัยอย่างไม่รู้จักมองเงาตัวเอง

แท้ที่จริงบุญเอกไม่ได้เอาเงินไปลงทุนหรือเตรียมการแข่งขันสักเท่าไร แต่จริง ๆ มันใช้จ่ายไปกับสิ่งที่เด็กบ้านนอกอย่างมันไม่เคยได้ลิ้มได้ลองมาก่อน บาร์ ไนท์คลับ ดนตรี แสงสี กับผู้หญิงขายตัว และเครื่องดื่มมึนเมา ที่ล้วนเป็นสิ่งใหม่ ๆ ของมัน ที่มันหลงจนถอนตัวไม่ขึ้น แล้วต่อมามันก็เป็นนักเลงการพะนันตัวยงไปอีก และใช่แต่มันเท่านั้น เพื่อน ๆ รอบ ๆ ตัวมันก็ล้วนเป็นแบบเดียวกับมันและล้วนเป็นเพื่อนประเภทเพื่อนปอกลอกทั้งสิ้น คบคนเช่นไรก็เป็นเช่นนั้น !

และแล้ว เมื่อเงินหมด เพื่อน ๆ ก็ค่อยตีตัวจาก บางคนก็ทำเขื่องไม่ยอมเป็นลูกน้องมันต่อไป มันไม่บรรลุเป้าหมายการกีฬาอย่างที่ใฝ่ฝัน เพราะคนเช่นมันที่มีแต่ความโลภมักง่าย ไร้น้ำอดน้ำทน ไร้วินัย ไร้ปัญญา ดึงดื้อถือดีเอาแต่ใจตัวเอง ไม่รู้ฤทธิ์กิเลส ตัณหาใดใดทั้งสิ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ จะประสบความสำเร็จได้อย่างไร ในที่สุดมันก็ติดยาเสพติด และติดโรคอันตรายคือเอดส์ มันหายตัวไปจากสังคมโลก ไม่มีใครรู้ว่ามันไปรับผลกรรมชั่วที่ไหน แดนใดในนรกนี้หรือในแดนเอดส์ของพระครูอาทรประชานาถหรือไม่ ? มันหายไปทั้งกลุ่มทั้งหมู่ชั่วนั้นอย่างไร้ร่องรอย

ที่นา ๒๕๐ ไร่ อันเป็นมรดกตกทอดมาจากปู่ย่าตายาย ซึ่งราคาจริง ๆ ร่วมร้อยล้านบาท ถูกเถ้าแก่หน้าเลือดใจปีศาจยึดไปเรียบร้อย ด้วยการวางแผนฉ้อฉล ด้วยเล่ห์กลทุกชนิดอย่างแนบเนียน มันลงทุนเพียง ๕๐๐,๐๐๐ บาทเท่านั้นเอง มันก็ได้ที่ดินมาถึง ๒๕๐ ไร่ราคาร่วมร้อยล้านบาทอย่างง่ายดาย เป็นที่น่าเอน็จอนาถยิ่งนัก ทุกวันนี้ มียายเฒ่าผมหงอก หลังโกง สติไม่ค่อยสมบูรณ์ อยู่กระท่อมหลังโรงงาน-อ๊อฟฟิสทันสมัย แห่งหนึ่ง อันเป็นของบริษัทเกษตรพัฒนาคอร์ปอเรชั่น ของนายทุนอเมริกัน ในจังหวัดกันดารชายแดนแห่งหนึ่ง วันหนึ่ง ๆ ยายเฒ่าจะเอาแต่เที่ยวไปเก็บผักตามรั้วข้างทางบ้าง แนวป่าช้าบ้าง เอาไปขาย เทียวไปรับจ้างเขาให้ทำอะไร ๆ ก็ได้ทุกอย่างที่แกมีแรงจะทำให้ได้ พอได้เงินซื้อข้าวปลาอาหารประทังชีวิตไปวัน ๆ รอลมหายใจสุดท้ายมาถึง บางครั้งก็มีคนในโรงงานเอาจานข้าวกับกับไปทิ้งไว้ให้บ้าง

เมื่อมีใครถามถึงญาติพี่น้องลูกหลาน ยายก็น้ำตาไหล

ลูกชั่ว ลูกล้างผลาญวงศ์ตระกูล ลูกเนรคุณพ่อแม่ ลูกอกตัญญู ๆๆๆๆแกย้ำคิดไปจนปวดหัวแทบระเบิด จนบางครั้งต้องร้องครางออกมาอย่างไม่รู้ตัวชาติหน้าฉันใดขออย่าได้พบพ้องลูกชั่วเช่นนี้อีกเลยน้ำเสียงประโยคสุดท้ายบอกให้รู้ว่า ยายตั้งจิตอธิษฐานให้เป็นไปอย่างที่พูดจริง ๆ ไม่ใช่พูดเล่น ๆ

สามเณรรูปหนึ่ง ไม่ยิ้มหัวกับใคร ตกค่ำ หลังทำวัตรเย็นทุกวัน ๆ จะเข้าที่นั่งตั้งใจทำสมาธิจิตอย่างเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ โดยมีลูกประคำทำด้วยไม้จันทน์หอมพวงหนึ่ง สำหรับช่วยนับคาบบริกรรมคาถาบทหนึ่งที่ชอบเป็นพิเศษ สามเณรจะบริกรรมคาถานั้นให้ได้ ๑๐๘ คาบเป็นปกติเช่นนี้ทุกวัน ทำให้สมาธิแก่กล้าขึ้นอย่างเร็วมาก จนกระทั่งเริ่มเป็นที่สังเกตและมีชื่อเสียงในหมู่นักปฏิบัติธรรมญาติโยม

ครั้นญาติโยมถามถึงที่ไปที่มาของคาถาบริกรรมบทนั้น สามเณรก็จะเล่านิทานซิ่งเนรคุณนี้ให้ฟังประกอบ แล้วสอนว่า

อิณาทานํ ทุกขํ โลเก : การกู้หนี้เป็นทุกข์ในโลก คาถาบทนั้น

โยมเอ๋ย พึงสดับนิทานเรื่องซิ่งเนรคุณนี้เป็นตัวอย่างเถิด อย่าพึงเห่อตามโลก อย่าพึงทำอะไรเกินตัว มิฉะนั้นจักประสบทุกข์หนักเหมือนครอบครัวฉัน

แท้จริงมิใช่เฉพาะครอบครัวของสามเณรเท่านั้นหรอก
แต่หมายถึงประเทศไทยทั้งประเทศด้วย ฯ

อิณาทานํ ทุกฺขํโลเก
การกู้หนี้เป็นทุกข์ในโลก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 ประวัติของผม พระพยับ ปญฺญาธโร
พระผู้มีปกติอยู่ด้วยอิริยาบถ ๓
ตอน 5

 

 

ในปีพ.ศ. ๒๕๓๘ ผมได้จัดทำหนังสือขึ้นเล่มหนึ่ง ชื่อว่า บทกวีแห่งชีวิต เบื้องต้นแห่งกวีนิพนธ์ สำหรับเป็นหนังสือที่ระลึกแด่ลูกศิษย์ ผมเป็นผู้จัดการโรงเรียนฯ (นร.ร.ร.มหาพุทธารามวิทยา และร.ร. มหาพุทธาราม) ในหนังสือเล่มนี้ ผมได้เขียนคำนำแนะนำตัวผมเองไว้พอให้ทราบเรื่องราวส่วนที่เกี่ยวข้องกับกวีนิพนธ์เล็กน้อย ขอนำมาเล่า ในหนังสือพิมพ์ดี ฉบับนี้ อย่างเป็นประวัติตอนหนึ่งในชุด ประวัติของผมฯ ดังต่อไปนี้ :-

ปรารภพยับรวิวรรณ ผู้จัดทำหนังสือเล่มนี้

เบื้องต้นแห่งกวีนิพนธ์

เบื้องต้นแห่งกวีนิพนธ์ โดย พยับรวิวรรณ ๆ คือ พระภิกษุ พระพยับ ปญฺญาธโร (ปญฺญาธโรภิกฺขุ) วัดมหาพุทธาราม อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ เป็นผู้มีประวัติหลาย ด้านที่น่าพิศวง

เดิมเป็นนายทหาร ชื่อและยศก่อนบวชคือ ร้อยเอกพยับ เติมใจ สำนักงาน สารนิเทศ กองบัญชาการทหารสูงสุด อาคาร ๖๐๔ บริเวณสนามเสือป่า กรุงเทพมหานคร สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนิด้า ในระดับปริญญาตรี และโท(ประกาศนียบัตรชั้นสูงรัฐประศาสนศาสตร์) ตามลำดับ

ในด้านการกวีนิพนธ์ เป็นผู้ที่เคยมีความรังเกียจขยะแขยงการกวีนิพนธ์ไทยมาก่อนจนถึงกับตั้งปณิธานเอาไว้ว่า ถ้าหากความเป็นกวีจักเป็นได้แบบครูกวีไทยทั้งหลายเป็นกันมาแล้ว ไม่ขอเป็น กวีจะดีกว่า (ไม่ชอบแบบอย่างความประพฤติของครูกวีไทย เช่นศรีปราชญ์ มองว่าเป็นคนกะล่อน ไม่รู้กาละเทศะ ปากเปราะเราะราน ไม่มีศีลธรรม สุนทรภู่ มีแต่จินตนาการกาม ไร้ความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นมนุษย์ผู้หนึ่ง เสเพล สำมะเลเทเมา กวีขี้เหล้า ได้อำนาจผลักดันการกวีนิพนธ์จากกิเลส คือเหล้า ฯลฯ) ฉะนั้นจึงเป็นผู้ที่ห่างเหินไร้การเหลียวแลเอาใจใส่การกวีนิพนธ์อยู่ระยะหนึ่งเป็นเวลานานกว่าสิบหกปีทีเดียว และนั่นก็หมายความว่า มือมิได้เคยขยับฝึกหัดการเขียนบทกวีนิพนธ์มาก่อนเลย ในช่วงเวลาสิบหกปีนั้น

แต่เมื่อมาถึงต้นปี พ.ศ. ๒๕๒๕ มีความระเคืองใจใฝ่เขียนบทกวีนิพนธ์ บทกวีที่ ตนคิดว่าจะเขียนด้วย อานุภาพแห่งความสว่างใจ ก็ได้ลองเขียนบทกวีนิพนธ์ดู เริ่มบท แรกว่าดังนี้

 

 

                        กวีศิลปสยามเหือดแห้ง                  รเห็จหาว สิ้นฤา
                        ศรีสง่านครคราว                            เฟื่องฟุ้ง
                        แสงธรรมหากเคยพราว                  พราวเลื่อม มลืองเฮย
                        พลอยอับรังษีรุ้ง                           เหตุแล้งลมกวี ฯ

 

 

                        ศรีนครควรเกิดแก้ว                        กวีรัตน์ เคียงนา
                        ธรรมคู่ปราชญ์ตราตรัส                   จึ่งแผ้ว
                        สยามเลื่องเมืองกษัตริย์                  สูงค่า พ้นนา
                        ยังปราชญ์กวีวรรณแก้ว
                  ส่องไล้ใครแสวง ฯ

 

 

รู้สึกว่าเขียนไปได้เองอย่างประหลาด ในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๒๕ นั้น ได้มี พระราชพิธีเสด็จโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมาร์ค สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์อายุครบ ๒๐๐ ปี จึงร้อยกรองเรื่องราวเกี่ยวกับขบวนเรือเสด็จฯ เรื่องราวบ้านเมือง และเหตุการณ์ สำคัญ ๆ เช่นการเมืองลาวและกัมพูชาในขณะนั้น สำเร็จรูปออกมาเป็นบทกวี ๒๐๐ บท คือ เถลิงรัฐรัตนโกสินทร์ศก ๒๐๐ พุทธศักราช ๒๕๒๕หรือ ๒๐๐ บทกวี ๒๐๐ ปีรัตนโกสินทร์บทต้นๆ ได้ส่งไปออกอากาศในรายการ มรดกกวี ของวิทยุ ยานเกราะ ๗๙๒ โดย อิทธิเทพ รอดพึ่งผา เลขาธิการสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ขณะนั้น ต่อมาได้นำพิมพ์เป็นเล่มในหนังสือธรรมของอนาคาริกทั้งสามคือ สากลจักรวาล สากลศาสนา กับกวีนิพนธ์เถลิงรัฐรัตนโกสินทร์ศก ๒๐๐ พุทธศักราช ๒๕๒๕ ในบทที่ ๑๙๙ ได้บอกความมุ่งหมายในการเขียนบทกวีเรื่องนี้เอาไว้ว่า

 

 

                        ๑๙๙      เป็นขวัญเมืองมิ่งไว้            กวีวรรณ
                        เป็นลุ่มธารมโนสวรรค์                    สว่างสร้อย
                        เพชรรัตน์ประภัสรพรร-
                  โณภาส
                        เชิดมกุฎกษัตริย์ช้อย                     ฉ่ำเรื้องมกุฎธรรม ฯ

 

 

นั่นคือ เพื่อเชิดชู มกุฎกษัตริย์ และทั้ง มกุฎธรรม ในเวลานั้น แต่มกุฎธรรมนั้นมีความหมายอย่างไร ? ก็คือ เรื่องราวของชัยชนะในสงคราม ดังนัยแฝงอยู่ในกวีนิพนธ์บทที่ ๑๑๙-๑๒๐ โปรดสังเกตดังนี้

 

 

                        ๑๑๙ บรมขัตติเยศรได้                   ไอศูรย์
                        เถลิงรัฐฉัตรทองพูน
                      เดชด้าว
                        จอมทัพทศทิศทูน                         ศิโรราบ
                        ห่อนสั่งมัจจุราชห้าว                       ผ่อนไว้โทสา ฯ

 

 

                        ๑๒๐ ธรรมสามีเร่งล้าง                    ไตรภพ
                        สวรรค์ล่มนรกลบ
                         แผ่นหล้า
                        โลกันต์ผ่านทัพทบ                        ทิวเศิก คลุ้งเฮย
                        ดับเดชมัจจุราชกล้า                       แต่ด้วยตาญาณ ฯ

 

 

นั่นคือเรื่องราวของ สงคราม : ธรรมา-ธรรมะสงคราม ซึ่งมีความหมายที่ค่อนข้างเป็นรูปธรรมอยู่ในโศลกธรรมบทสำคัญบทหนึ่งชื่อว่า สงครามสวรรค์ครั้งล่าสุด ที่ เปิดเผยไว้ในหนังสือลับเฉพาะ ที่แจกจ่ายเฉพาะบุคคลคือ ข่าวอนาคาริกที่๒/๒๕๒๕ธรรมสามีวิจารณ์ : วิมุตติรัตนมาลี สวามิภูตินิทาน : สงครามสวรรค์ครั้งล่าสุด ของท่านผู้ประพันธ์นี้

ในตอนต้น ๆ ของ ๒๐๐ บทกวี ๒๐๐ ปีรัตนโกสินทร์ เป็นเรื่องชมเมือง ชมขบวน เรือ มีบทได้ครบฉันทลักษณ์ หรือแม่แบบเอกเจ็ด โทสี่ โดยธรรมชาติด้วยบทหนึ่ง คือ บทที่ ๑๔ ดังนี้

 

 

                        ๑๔ ชมดนตรีกล่อมเกลี้ยง               เกลาสาร
                        ยอย่อมยศสมภาร 
                        ก่อเกื้อ
                        นาบุญท่านบูรณ์บาน                      เบียนบ่วง มารนา
                        ควรแก่โสตสดับเอื้อ                       อิ่มโอ้เพียงโหย ฯ

 

 

บทไหว้ครูแบบกวีเดิมไม่มี แต่มีบทสรรเสริญนรชน สรรเสริญราชาธิราช และ สรรเสริญพุทธคุณแทนในหกบทเริ่มต้น โปรดดูตัวอย่างบทที่ ๔-๕-๖ ดังนี้

 

 

                        ๔ นรชนวายชีพใช้                        คุณมา ตุภูมิเฮย
                        เพียงปิ่นปักนครา
                         เพริศแพร้ว
                        เสริมศรีศักดิ์สมญา                        เมืองมิ่ง เมลืองเฮย
                        คนนอบหนึ่งโพธิ์แก้ว
                    เพื่อนคุ้นครวญหา ฯ

 

 

                        ๕. ธรรมาธิราชเลี้ยง                      ทวยดิน
                        แผ่นอุดมสมถวิล                           แหล่งหล้า
                        ปวงชนเทอดภูมินทร์                      มหาราช เรื้องแฮ
                        รวมจิตวิญญาณกล้า                       ฝ่าค้าสังสาร ฯ

 

 

                        ๖. บุญบานบรมพุทธท้าว                 ธรรมมา
                        โปรดส่ำสัตว์เทวา             ชื่นแผ้ว
                        โพธิราชเลื่องบุญญา                      นามหน่อ ไท้เฮย
                        ไตรภพลบโลกแล้ว                        นอบนิ้วพุทธคุณ ฯ

 

 

 

บทชมเรือ บทที่ ๒๔-๒๖ ชมขบวนเรือ บทที่ ๒๗ ชมเรือสุพรรณหงส์ อันเป็น เรือพระที่นั่ง

 

 

                        ๒๔ ดั้งสิบเอ็ดคู่รั้ง                         ฝั่งสอง ชลนา
                        ทองคู่นำพาผยอง
             เผ่นผ้าย
                        สองเสือทะยานยอง                       ยงยิ่ง ยงนา
                        วายุภักษ์ปักษีสล้าย
                      เลื่อนล้ำนำทาง ฯ

 

 

                        ๒๕. ปางอวตารปราบเปลื้อง            พนาสูร แลฤา
                        ขุนกระบี่เห็จเหินยูร                       ยาตรเต้า
                        สองครุธขนาบนาคปูน                    ลอยเมฆ ลงฤา
                        สองเอกชัยกล้าเข้า                        คู่ช้าพญาหงส์ ฯ

 

 

                        ๒๖. ธงชัยอนันตนาคเจ้า                 เจ็ดเศียร
                        สวามิภักดิ์โพธิเทียร
                      ปิ่นฟ้า
                        ทรงพระปฏิมาเสถียร                      สถิตคู่ เศิกแฮ
                        พระพุทธชัยคู่หล้า                         เคลื่อนล้ำลำราม ฯ

 

 

                        ๒๗ งามจริงยิ่งพิศแพร้ว                  สุพรรณหงส์ งามเฮย
                        เพียงเลื่อนลอยโพยมลง
                สว่างหล้า
                        เหมราชราชใดทรง                        หงส์หก เหินนอ
                        โผทะยานชลช้า                            ชื่นช้อยตาชน ฯ

 

 

 

บทชมวัดพระศรีรัตนศาสดาราม บทที่ ๗๓

 

 

                        ๗๓ โกมินทร์วาวแว่นฟ้า                 ฟืนสวรรค์ แลฤา
                        อ้า ใช่ปรางค์หอธรรม์                     พร่างแพร้ว
                        สามยอดรัตนสุบรรณ                     เวียงเทพ อมรฤาอ้า
                        ใช่สามยอดแก้ว                            พ่างพื้นภูวดิน ฯ

 

 

 

ชมประเทศสยาม บทที่ ๘๖-๘๗-๘๘

 

 

                        ๘๖ ชมสยามงามหยาดฟ้า               ผลาญดิน
                        แลฤาเพียงหนึ่งเหนือธรณินทร์         ต่ำใต้
                        เกษมสุขทุกไทยริน                       รมเยศร
                        ต่างชาติชมข่าวไข้                         ใคร่เมื้อมาเห็น ฯ

 

 

                        ๘๗. ดั่งเดือนเพ็ญเด่นด้าว               โพยมหน
                        เพียงหนึ่งเหนือพิภพบน                  ลุ่มหล้า
                        ดาวพรายเพริศเพียงฝน                  ทิพย์เทพ รินฤา
                        เมืองอื่นเองอายหน้า                      ชื่นชม้ายเมียงชม ฯ

 

 

                        ๘๘. สมบัวบานชื่นช้อย                  ชลใส
                        เพียงหนึ่งเสวยบึงใบ
                     โอบอ้อม
                        ภู่ภุมรินใด                                   ตอมต่าย ไซ้นา
                        เสน่ห์สยามโลกค้อม                      ราบแพ้เฟือนฝัน ฯ

 

 

 

สยามงามยิ่งกว่านี้ไปอีกในบทที่ ๑๙๑-๑๙๒-๑๙๓-๑๙๔

 

 

                        ๑๙๑. ชมสยามงามเงื่อนฟ้า             คืนเพ็ญ จันทร์นา
                        โฉมผ่องล่องบนเห็น                      เด่นด้าว
                        ครามคราบนภาเย็น                        แลลิ่ว ลึกเฮย
                        รองลุ่มจันทราจ้าว                         หว่างเวิ้งเวหน ฯ

 

 

                        ๑๙๒. นรชนกำเนิดด้าว                   แดนสยาม
                        คือทิฆัมพรคราม                           โอบอ้อม
                        ครอบเดือนดุจดาวราม                    พรายเพริศ ฟ้าเฮย
                        รายรัศมีทิพย์ล้อม                         โลกห้าวหฤหรรษ์ ฯ

 

 

                        ๑๙๓. เป็นขวัญตาแต่ผู้                   ยลเยือน
                        ชมชื่นเพียงชมเดือน
                     เยี่ยมหน้า
                        อาลัยดุจดาวเลือน                         ลับรุ่ง อรุณเฮย
                        อยู่ใคร่หยุดชีพช้า                         เผื่อไว้วันชม ฯ

 

 

                        ๑๙๔. สมดาวพราวเพริศห้อง           เวหน
                        คือเสน่ห์สยามยล                         ยั่วแย้ม
                        ปีกทิพย์เทพกวักกล                       ขานเพรียก มาฤา
                        คือเสน่ห์สยามแต้ม                       อกไห้โหยหา ฯ

 

 

 

เรื่องการเมืองในลาวเขมร ช่วงปี พ.ศ.๒๕๑๗-๒๕๑๘ ในบทที่ ๑๒๒-๑๒๓ และบทที่ ๑๓๑

 

 

                        ๑๒๒. โขงวนลงลุ่มใต้                    ลาวครวญ
                        กัมพุชวิปโยคหวล                         อกอื้น
                        สองฝั่งฟากลาวญวน                      โลมเลือด ลงฤา
                        โขงแม่ซับชลชื้น                           ชุ่มคลุ้งคาวคน ฯ

 

 

๑๒๓. ทรชนสองเหล่าร้า                 รอนรบ
สองพิฆาตคาวกลบ                        หย่อมหญ้า
โขงแรงชะเลือดลบ                        สองแผ่น ภูเฮย
ทุกข์โทษเทวษกล้า                       ร่ำพื้นระงมดิน ฯ

 

 

๑๓๑. โขงวนสองแผ่นเฝ้า               อาดูร
ลาวหลั่งเลือดนองปูน                     น่านน้ำ
สู่กัมพุชโขงพูน                             ทวีวิโยค
ตายดาดศพเกยค้ำ                        แผ่นเพี้ยงภูเขา ฯ

 

 

 

ชมสวนโมกข์บทที่ ๑๗๖ ชมวัดจอมเวียง-จอมกลางและแม่น้ำสาลวินบทที่ ๑๗๙

 

 

                        ๑๗๖. เย็นสวนโมกข์มิ่งใต้               ไชยา
                        ยศเฮยสว่างจิตจงปริศนา                 ท่านแจ้ง
                        พุทธธรรมทาสพูนบา                      บุญยิ่ง พูนเฮย
                        ชูชีพพระศาสน์แล้ง                        ฉ่ำเลี้ยงรังใจ ฯ

 

 

๑๗๙ จอมบดินทร์รังสฤษสร้าง          จอมเวียง
อภิเษกจอมกลางเคียง                    คู่ด้าว
งามลุ่มแม่เมยเมียง                         เมืองม่าน เล่านา
สาละวินเวียงท้าว                           พะม่าเมื้อมาชุม ฯ

 

 

 

 

ลงท้ายด้วยพุทธานุสสติ บทที่ ๑๙๗-๑๙๘

 

 

๑๙๗. พุทธองค์ปลงโลกไว้               หัตถา
วัฎฎจักรกงกรรมคลา                       หว่างเงื้อม
ญาณทิพย์ทิพย์อาภา                       พระแผ่ ผายเฮย
ข่ายครอบพระธรรมเอื้อม                  โอบไล้โลมแสง ฯ

 

 

๑๙๘. ศัพทแสดงสิสดับด้วย              คมปราชญ์ เทอญรา
ญาณหยั่งธรรมพระโลกนารถ             ตรัสแจ้ง
สงฆ์วิสุทธิ์สุดองอาจ                        โปรยโปรด โลกเฮย
ศีลสงัดฤาแล้ง                                โลกไร้อรหันต์ ฯ

 

 

 

จะเห็นว่าบทกวีที่ยกมานี้เป็นเพียงตัวอย่าง ในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้มีท่านผู้เชี่ยวชาญทางภาษาท่านหนึ่งได้อ่านบทกวีเรื่องนี้ และท่านได้ยกย่องไว้ในระดับสูงส่งเลยทีเดียว (ดู สารแม่ศรี ปีที่ ๑ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๖) ท่านว่าผมอยู่ในระดับกวีแห่งสยาม เลยทีเดียว

ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ผู้ประพันธ์บทกวีเรื่องนี้ ได้ลาออกจากราชการ บวช เป็น พระภิกษุ คือ พระพยับ ปญฺญาธโร หรือ ปญฺญาธโรภิกฺขุ มาตราบเท่าทุกวันนี้ และ เวลานี้ ผลงานการกวีนิพนธ์ของ พยับรวิวรรณ ได้ปรากฎอยู่ทั่วไปหลากหลายสำนวนขึ้น เช่นใน บทกวีแห่งความสว่างใจ พ.ศ. ๒๕๓๔, ส.ค.ส. ๒๕๓๖ (ซึ่งรวมบทกวี หลายแบบ แม้กระทั่งกวีที่เขียนเป็น โศลกอีสาน อันเป็นภาษาท้องถิ่น โดยเรียบเรียงเอา จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในขณะขึ้นไปจำศีลหยุดข้าวหยุดน้ำ เป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน บนเพดานอุโบสถใหม่วัดโนนน้อย เพื่อขอฝน และได้ร่ายกลอนสดอันเป็นกาพย์ขับกล่อมเรียกว่า กาพย์กล่อมพญาแถน หรือกาพย์ขอฝน เป็นผลให้ฝนตกหนักท่ามสายลม สายฟ้าคะนองลั่นสนั่นไปทั้งคืนไม่หยุดหย่อน จนน้ำท่วมขาวโพลนไปทั่วทุกสารทิศ กลับผืนแผ่นดินแห้งแล้งเป็นทรายในคืนวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ นั้น ให้กลายเป็นผืนน้ำหลายหลากไปทั่วท้องทุ่งอย่างน่าพิศวงอัศจรรย์ใจยิ่ง ภายหลังได้เรียบเรียงคำขับกล่อมในคืนนั้น เป็นลายลักษณ์อักษรและลงพิมพ์ไว้ในเล่ม ส.ค.ส. ๒๕๓๖ นี้) และอีกเล่มหนึ่งก็คือ บทกวีแห่งชีวิต : หนังสือแห่งความสุข พ.ศ. ๒๕๓๗ นอกจากนี้ บทกวีของ พยับรวิวรรณ ก็มีแทรกอยู่ทั่วไปในหนังสือตามแผนงานสารความสุขเพื่อทุกชีวิต และ แผนงานแผ้วสังคมด้วยธรรมะ

[การหยุดข้าวและหยุดน้ำบนเพดานอุโบสถ ตลอดเวลา ๗ วัน ๗ คืน น่าจะเป็นสิ่งที่เหลือวิสัยสำหรับปุถุชนคนธรรมดา เพราะหลักฐานการแพทย์ระบุไว้ว่าคนธรรมดาจะอดน้ำได้ในเวลาไม่เกิน ๓ วัน แต่ปัญญาธโรภิกขุเชื่อมั่นว่าจะสามารถหยุดไปได้นานกว่านั้นอีกอย่างสบาย ๆ แต่ในเชิงกวีนิพนธ์ของ คนที่ไม่เคยฝึกหัดเขียนมาก่อน ขอให้ดูตัวอย่างกาพย์ที่กล่อมพญาแถนในคืนวันนั้น คืนที่ฟ้าฝนคึกคะนองและเทน้ำฟ้าลงมาจนท่วมท้องทุ่งไปหมด บทนี้สำหรับขับกล่อมอย่างมี ท่วงทำนองของวรรณกรรมอีสาน

 

 

                        มาเยอ มาเยอ
                        เทวบุตรท้าว เทวามาผายโผด
                        เมฆินทร์ให้หลั่งล้นฟ้า พญาท้าวให้หลั่งลง
                        ให้มหาสินธุก้วง ตวงเต็มบึงใหญ่ ถ้วนเทอญ

                        หนองน้ำน้อย พลอยได้อยู่กระแส
                        ดินสิคืนมาสร้าง เมืองทองละอองอุ่น อีกเด
                        ประชาราษฎร์กว่าก้วง สิคืนบ้านบ่อนสบาย ท่านเด

                        อันว่าเทียนประทีปจ้า บารมีใสส่อง แถนเอย
                        เฮาหากจุดไว้นี้ ให้มีน้ำหลั่งลง เดอแถนเดอ

                        หากว่าเทียนแสงจ้า พญาเอยอย่าหยุดหลั่ง ฝนเดอ
                        เทียนบ่ดับอย่าได้ นำน้ำให้ห่างไกล แด่ถ้อน ฯ ]

 

 

 

บทกวีของพยับรวิวรรณจึงหมายถึง บทกวีที่เขียนโดย พยับรวิวรรณ ผู้บรรลุความเป็นกวีนิพนธ์ขึ้นมาเอง โดยมิได้มีการฝึกฝนการเขียนบทกวีมา ก่อน ซึ่งเป็นเสมือนการบ่งบอกว่า การกวีสามารถบรรลุได้ เกิดขึ้นได้เอง ด้วยผลแห่งญาณและปัญญา หรือฌานอันลุ่มลึก พร้อมจินตนาการอันกว้าง ใหญ่ คือระบบมันสมองอันตรองตรึกดังจักร ที่มีห้องกวีนิพนธ์อยู่โดยเฉพาะ อีกห้องหนึ่งในบรรดาห้องทั้งหลาย ได้บังเกิดเป็นขึ้นแล้ว

และหนังสือเล่มนี้คือ เบื้องต้นแห่งกวีนิพนธ์ ได้ทำขึ้นโดยบุคคลเดียวกันนี้ โดย ประสงค์ให้เป็น วิชาการเบื้องต้นแห่งกวีนิพนธ์ ที่แท้จริง คือ กวีที่สะท้อนธรรมะอันขาว ผ่องภายใน การกวีที่หมายถึงธรรมะ มิใช่การกวีที่สะท้อนกิเลส อันน่าขยะแขยง อัน เป็นของฝากสำหรับลูกศิษย์ ผู้เดินทางไกลทุกคน ฯ

สวัสดี.

พยับรวิวรรณ
๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๘

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
----- ***** ----- โปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate นี่คือเวบไซต์คู่ www.newworldbelieve.com กับ www.newworldbelieve.net เราให้เป็นเวบไซต์ที่เสนอธรรมะหรือ ความจริง หรือ ความคิดเห็นในเรื่องราวของชีวิต ตั้งใจให้ธัมมะเป็นทาน ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แด่คนทั้งหลาย ทั้งโลก ให้ได้รู้ความจริงของศาสนาต่าง ๆในโลกวันนี้ และได้รู้ศาสนาที่ประเสริฐเพียงศาสนาเดียวสำหรับโลกยุคใหม่ จักรวาลใหม่ เรามีผู้รู้ ผู้ตรัสรู้ ผู้วินิจฉัยสรรพธรรมสรรพวิชชา สรรพศาสน์ และสรรพศาสตร์ พอชี้ทางสู่โลกใหม่ ให้ความสุข ความสบายใจความมีชีวิตที่หลุดพ้นไปสู่โลกใหม่ เราได้อุทิศเนื้อที่ทั้งหมดเป็นเนื้อที่สำหรับธรรมะทั้งหมด ไม่มีการโฆษณาสินค้า มาแต่ต้น นับถึงวันนี้ร่วม 14 ปีแล้ว มาวันนี้ เราได้สร้างได้ทำเวบไซต์คู่นี้จนได้กลายเป็นแดนโลกแห่งความสว่างไสว เบิกบานใจ ไร้พิษภัย เป็นแดนประตูวิเศษ เปิดเข้าไปแล้ว เจริญดวงตาปัญญาละเอียดอ่อน เห็นแต่สิ่งที่น่าสบายใจ ที่ผสานความคิดจิตใจคนทั้งหลายด้วยไมตรีจิตมิตรภาพล้วน ๆ ไปสู่ความเป็นมิตรกันและกันล้วน ๆ วันนี้เวบไซต์นี้ ได้กลายเป็นโลกท่องเที่ยวอีกโลกหนึ่ง ที่กว้างใหญ่ไพศาล เข้าไปแล้วได้พบแต่สิ่งที่สบายใจมีความสุข ให้ความคิดสติปัญญา และได้พบเรื่องราวหลายหลากมากมาย ที่อาจจะท่องเที่ยวไปได้ตลอดชีวิต หรือท่านอาจจะอยากอยู่ณโลกนี้ไปชั่วนิรันดร ไม่กลับออกไปอีกก็ได้ เพียงแต่ท่านเข้าใจว่านี่เป็นแดนต้นเรื่องเป็นด่านข้ามจากแดนโลกเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง และซึ่งเป็นโลกหรือบ้านของท่านทั้งหลายได้เลยทีเดียว ซึ่งสำหรับคนต่างชาติ ต่างภาษาต่างศาสนา ได้โปรดใช้การแปลของ กูเกิล หรือ Google Translate แปลเป็นภาษาของท่านก่อน ที่เขาเพิ่งประสบความสำเร็จการแปลให้ได้แทบทุกภาษาในโลกมนุษย์นี้แล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้เอง นั้นแหละเท่ากับท่านจะเป็นที่ไหนของโลกก็ตาม ทั้งหมดโลกประมาณ 7.6 พันล้านคนวันนี้ สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในโลกของเราได้เลย เราไม่ได้นำท่านไปเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่การนำไปสู่ความจริง ความรู้เรื่องชีวิตใหม่ การอุบัติใหม่สู่ภาวะอริยบุคคล ไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปพ้นจากทุกข์ ทั้งหลายไปสู่โลกแห่งความสุขแท้นิรันดร คือโลกนิพพานขององค์บรมศาสดาพุทธศาสนา พระบรมครูพุทธะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ท่านโปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate ท่านก็จะเข้าสู่โลกนี้ได้ทันทีพร้อมกับคน7.6พันล้านคนทั้งโลกนี้. ----- ***** ----- • หมายเหตุ เอาขึ้นเวบไซต์ แทนของเดิม ทั้ง 2 เวบ .net .com วันที่ 21 เม.ย. 2565 เวลา 07.00 น. -----*****-----