ReadyPlanet.com
dot
dot dot
bulletBUDDHISM TO THE NEW WORLD ERA
bullet1 Thai-ไทย
bullet2.English-อังกฤษ
bullet3.China-จีน
bullet4.Hindi-อินเดีย
bullet5.Russia-รัสเซีย
bullet6.Arab-อาหรับ
bullet7.Indonesia-อินโดนีเซีย
bullet8.Japan-ญี่ปุ่น
bullet9.Italy-อิตาลี
bullet10.France-ฝรั่งเศส
bullet11.Germany-เยอรมัน
bullet12.Africa-อาฟริกา
bullet13.Azerbaijan-อาเซอร์ไบจัน
bullet14.Bosnian-บอสเนีย
bullet15.Cambodia-เขมร
bullet16.Finland-ฟินแลนด์
bullet17.Greek-กรีก
bullet18.Hebrew-ฮีบรู
bullet19.Hungary-ฮังการี
bullet20.Iceland-ไอซ์แลนด์
bullet21.Ireland-ไอร์แลนด์
bullet22.Java-ชวา
bullet23.Korea-เกาหลี
bullet24.Latin-ละติน
bullet25.Loa-ลาว
bullet26.Finland-ฟินแลนด์
bullet27.Malaysia-มาเลย์
bullet28.Mongolia-มองโกเลีย
bullet29.Nepal-เนปาล
bullet30.Norway-นอรเวย์
bullet31.persian-เปอร์เซีย
bullet32.โปแลนด์-Poland
bullet33.Portugal- โปตุเกตุ
bullet34.Romania-โรมาเนีย
bullet35.Serbian-เซอร์เบีย
bullet36.Spain-สเปน
bullet37.Srilanga-สิงหล,ศรีลังกา
bullet38.Sweden-สวีเดน
bullet39.Tamil-ทมิฬ
bullet40.Turkey-ตุรกี
bullet41.Ukrain-ยูเครน
bullet42.Uzbekistan-อุสเบกิสถาน
bullet43.Vietnam-เวียดนาม
bullet44.Mynma-พม่า
bullet45.Galicia กาลิเซียน
bullet46.Kazakh คาซัค
bullet47.Kurdish เคิร์ด
bullet48. Croatian โครเอเซีย
bullet49.Czech เช็ก
bullet50.Samoa ซามัว
bullet51.Nederlands ดัตช์
bullet52 Turkmen เติร์กเมน
bullet53.PunJabi ปัญจาบ
bullet54.Hmong ม้ง
bullet55.Macedonian มาซิโดเนีย
bullet56.Malagasy มาลากาซี
bullet57.Latvian ลัตเวีย
bullet58.Lithuanian ลิทัวเนีย
bullet59.Wales เวลล์
bullet60.Sloveniana สโลวัค
bullet61.Sindhi สินธี
bullet62.Estonia เอสโทเนีย
bullet63. Hawaiian ฮาวาย
bullet64.Philippines ฟิลิปปินส์
bullet65.Gongni-กงกนี
bullet66.Guarani-กวารานี
bullet67.Kanada-กันนาดา
bullet68.Gaelic Scots-เกลิกสกอต
bullet69.Crio-คริโอ
bullet70.Corsica-คอร์สิกา
bullet71.คาตาลัน
bullet72.Kinya Rwanda-คินยารวันดา
bullet73.Kirkish-คีร์กิช
bullet74.Gujarat-คุชราด
bullet75.Quesua-เคซัว
bullet76.Kurdish Kurmansi)-เคิร์ด(กุรมันซี)
bullet77.Kosa-โคซา
bullet78.Georgia-จอร์เจีย
bullet79.Chinese(Simplified)-จีน(ตัวย่อ)
bullet80.Chicheva-ชิเชวา
bullet81.Sona-โซนา
bullet82.Tsonga-ซองกา
bullet83.Cebuano-ซีบัวโน
bullet84.Shunda-ชุนดา
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet86.Sesotho-เซโซโท
bullet87.NorthernSaizotho-ไซโซโทเหนือ
bullet88.Somali-โซมาลี
bullet89.History-ประวัติศาสตร์
bullet90.Divehi-ดิเวฮิ
bullet91.Denmark-เดนมาร์ก
bullet92.Dogry-โดกรี
bullet93.Telugu-เตลูกู
bullet94.bis-ทวิ
bullet95.Tajik-ทาจิก
bullet96.Tatar-ทาทาร์
bullet97.Tigrinya-ทีกรินยา
bullet98.Check-เชค
bullet99.Mambara-มัมบารา
bullet100.Bulgaria-บัลแกเรีย
bullet101.Basque-บาสก์
bullet102.Bengal-เบงกอล
bullet103.Belarus-เบลารุส
bullet104.Pashto-พาชตู
bullet105.Fritian-ฟริเชียน
bullet106.Bhojpuri-โภชปุรี
bullet107.Manipur(Manifuri)-มณีปุระ(มณิฟูรี)
bullet108.Maltese-มัลทีส
bullet109.Marathi-มาราฐี
bullet110.Malayalum-มาลายาลัม
bullet111.Micho-มิโช
bullet112.Maori-เมารี
bullet113.Maithili-ไมถิลี
bullet114.Yidsdish-ยิดดิช
bullet115.Euroba-ยูโรบา
bullet116.Lingala-ลิงกาลา
bullet118.Slovenia-สโลวีเนีย
bullet119.Swahili-สวาฮิลี
bullet120.Sanskrit-สันสกฤต
bullet121.history107-history107
bullet122.Amharic-อัมฮาริก
bullet123.Assam-อัสสัม
bullet124.Armenia-อาร์เมเนีย
bullet125.Igbo-อิกโบ
bullet126.History115-ประวัติ 115
bullet127.history117-ประวัติ117
bullet128.Ilogano-อีโลกาโน
bullet129.Eve-อีเว
bullet130.Uighur-อุยกูร์
bullet131.Uradu-อูรดู
bullet132.Esperanto-เอสเปอแรนโต
bullet133.Albania-แอลเบเนีย
bullet134.Odia(Oriya)-โอเดีย(โอริยา)
bullet135.Oromo-โอโรโม
bullet136.Omara-โอมารา
bullet137.Huasha-ฮัวซา
bullet138.Haitian Creole-เฮติครีโอล
bulletคำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรแปล เช้า-เย็น
bulletChart Showing the Process
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี พ.ศ.2540 - 2566
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 1
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 2
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี บุคคลที่ 1 - 188 ปัจจุบัน
bulletหนังสือพิมพ์ดี
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 1
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 2
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 3
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 4
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 5
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 6
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 7
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 8
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 9
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 10
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 11
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 12
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 13
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 14
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 15
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 16
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 17
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 18
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 19
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 20
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 21
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 22
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 23
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 24
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 25
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 26
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 27
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 28
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 29
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 30
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 31
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 32
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 33
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 34
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 35
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 36
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 37
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 38
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 39
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 40
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 41
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 42
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 43
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 44
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 45
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 46
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 47
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 48
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 49
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 50
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 51
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 52
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 54
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 55
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 56
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 57
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 58
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 59
bulletTo The World
bulletENGLISH
bulletUSA
bulletChina
bulletIndia
bullet Mynmar
bullet Cambodia
bullet Loas
bulletSri Lanka
bulletMalaysia
bulletKorea
bulletA Sharp Turn of Believes : Iresearch Iwrite Iread
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 1
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 2
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 3
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 4
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 5
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 6
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 7
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 8
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 9
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 10
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 11
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 12
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 13
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 14
bulletMystery Report 15
bulletMystery Report 16
bulletMystery Report 17
bulletMystery Report 18
bulletMystery Report 19
bulletMystery Report 20
bulletMystery Report 21
bulletMystery Report 22
bulletMystery Report 23
bulletMystery Report 24
bulletMystery World Report 25
bulletศึกษาโลกลี้ลับ 26
bulletเฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว วิเคราะห์ทุกปัญหาในโลกมนุษย์ด้วยสติปัญญาและเหตุผลวิทยาศาสตร์จากนสพ.ดี
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2536
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2537
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2538
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2539
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2540
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2541
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2542
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2543-2545
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2545-2549
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2549-2550
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2550-ส.ค.2551
bulletเฝ้าดูฯ ส.ค.-ก.ย.2551
bulletเฝ้าดูฯ ก.ย.2551- ธ.ค. 2551
bulletเฝ้าดูฯสำนวนพัชรา กอปรทศธรรม
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 16-27
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 29
bulletบทความใหม่ เม.ย.-พ.ค.2552
bulletพุทธธรรมเพื่อทางดับทุกข์
bulletทฤษฎีการดับทุกข์ทางจิต วิปัสสนากรรมฐานโดยการทำงาน(สำนวนปรับปรุงใหม่)
bulletประวัติพัชรา กอปรทศธรรม
bulletประวัติการต่อสู้เพื่อการดับทุกข์ ของพัชรา กอปรทศธรรม
bulletอัลบั้มรูป history
bulletนิทานธรรมะประยุกต์ มานุสสาสุระสงคราม 4 ภาค และอื่น ๆ
bulletอัลบั้มรูป ภาพในอดีตและชีวประวัติศาสตร์ที่สวยงาม
bulletจากเวบบอร์ด พูดกันไม่รู้เรื่อง ประชาธิปไตยล้าหลัง
bulletศาสนาสากล การวิเคราะห์ความหมาย
bulletปลอบใจ
dot
รวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์ แนวปฏิรูปคณะสงฆ์อยู่ในบทวิเคราะห์นี้แล้ว
dot
bulletรวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์
dot
สากลจักรวาล สากลศาสนา แนวคิดศาสนาสำหรับคนยุคใหม่ ผู้ก้าวผิดทางไปสู่สิ่งไร้สาระโดยไม่รู้ตัว
dot
bulletสากล...ศาสนา 1
bulletสากล...ศาสนา 2
bulletสากล...ศาสนา 3
bulletสากล...ศาสนา 4
bulletสากล...ศาสนา 5
bulletสากล...ศาสนา 6
bulletสากล...ศาสนา 7
bulletสากล...ศาสนา 9
bulletสากล...ศาสนา 8
bulletสากล...ศาสนา 10
bulletสากล...ศาสนา 11
bulletสากล...ศาสนา 12
bulletสากล...ศาสนา 13
bulletสากล...ศาสนา 14
bulletสากล...ศาสนา 16
dot
ส่วนข้อมูลสำคัญเพื่อการวิจัยการเมืองไทยยุค คมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
dot
bulletข้อมูลสำคัญยุคคมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่1/26ส.ค.2551
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่2/27ส.ค.2551
bulletใบปลิว อีเมล์ ในหลวงทรงร้องไห้
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 1
bulletในหลวงเพิ่งทราบข่าวฆ่าประชาชน10เมย.53ทรงร้องไห้
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
dot
รวมข่าวม็อบการเมืองสนธิ-จำลอง-ปชป.มิ.ย.51-เม.ย.52 นสพ.
dot
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 2
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 3
bulletรวมข่าวม็อบ30มิ.ย.51-23มี.ค.52
bulletเลือดศรีสะเกษบันทึกเรื่องราวรอบด้านเกี่ยวกับเขาพระวิหาร
bulletรายงานการโฆษณาชวนเชื่อในประเทศไทยที่ล้มล้างรัฐบาลทักษิณ
bulletหนังสือพิมพ์ดี ของฟรีให้เปล่ามา20ปีแล้วทั้งเอกสารและอินเทอเนท
bulletหนังสือพิมพ์ดี ( อินเทอเนต ) เล่ม 1 - 44 - ล่าสุด
bulletหน้าที่เก็บไว้
bulletมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร)
bulletวัดมหาพุทธาราม ศรีสะเกษ บันทึกเหตุการณ์
bulletสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดศรีสะเกษแห่งที่ 1
bulletเกี่ยวกับเวบไซต์ของเรา เราทำเพื่อปัญญาชนโดยแท้
bulletรวมกระทู้เด็ดจากกระดานถามตอบ
bulletคาถาอาคมไสยศาสตร์
bulletกวีนิพนธ์ใหม่
bulletศูนย์ปฏิญญาณละเลิกอบายมุข บัญชีที่ 1- 4


ศึกษาโลกลี้ลับภาค 9 article


" ฌาน " คืออะไร ?

อยากทราบความหมายของ คำว่า " ฌาน " โดยพิศดารและมูลเหตุปัจจัยในการเกิดฌาน การนำฌานไปใช้ทั้งในทางดีและร้าย ?

ผู้ตั้งกระทู้
นิรนาม ( ) ::วันที่ลงประกาศ 04-09-2006 17:07:28

 

ความเห็นที่ 1 (414808)

คำว่า "ฌาน" หมายถึง  องค์ประกอบองค์หนึ่งของนามธรรม มีลักษณะเป็นอารมณ์ความรู้สึกอันละเอียดอ่อนแต่ทรงพลัง เป็นต้นเหตุของอภิญญา มูลเหตุปัจจัยในการเกิดฌาน เกิดจากการฝึกจิต และฝึกองค์ประกอบทุกอย่างของนามธรรมให้เข้มขึ้น  ละเอียดขึ้น   ในระดับสูงของนามธรรมองค์ประกอบเหล่านี้จะต้องพัฒนาไปด้วยกัน    มีดังต่อไปนี้เป็นอาทิ   สติ  ธัมมวิจัย  สมาธิ  ฌาน (ปิติ  ปัสสัทธิ  อุเบกขา)  วิริยะ กสิณ  วิปัสนาญาณ  และปราณ

เมื่อสามารถทำฌานให้เกิดขึ้นแล้วก็สามารถนำไปใช้ได้ทั้งทางดีและทางร้าย

การศึกษาเรื่องฌานนี้  โดยปริยัติมักจะไม่กระจ่างแจ้ง  ต้องไปปฏิบัติจริง  ฝึกปฏิบัติจริง  เราอยากให้ท่านติดตามงานธุดงค์ของพระอาจารย์ดังในอดีต  และปัจจุบันนี้ลองอ่านรายงานการธุดงค์  ที่จะขึ้นที่เวบนี้ ในหัวข้อ  สุดยอดสมาธิวิปัสนา-ศึกษาโลกลี้ลับ  หรือหากอยากได้หนังสือ โปรดเขียนที่อยู่ของท่านส่งมาที่ พระอาจารย์พยับ ปญฺญาธโร วัดมหาพุทธาราม อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ 33000  บก. 



ผู้แสดงความคิดเห็น
Admin ( newworld_believe@hotmail.com ) วันที่ลงประกาศ 04-09-2006 21:41:22

 

ความเห็นที่ 2 (416023)

ท่านผู้ใช้นามปากกาว่า นิรนาม  ตั้งกระทู้ขึ้นว่า ฌานคืออะไร และขอทราบความหมายโดยพิสดาร เราขอเชิญชวนท่านทั้งหลาย มาเสวนาได้  เราอยากให้กระดานนี้เป็นกระดานที่รวมของนักปราชญ์ ผู้ทรงภูมิปัญญาสูงสุดในแผ่นดิน  ให้ความคิดของท่านผู้รู้เหล่านั้นมาบรรจบกันที่นี่ และสะท้อนว่า ที่นี่เป็นที่แห่งภูมิปัญญาอันสูงสุด เป็นที่ที่ประชุมกันของนักปราชญ์ทั้งหลาย และรวมถึงที่ประลองคมปัญญาของนักปราชญ์อีกด้วย

แต่แม้เพียงความคิดเห็นที่มาจากสำนึกธรรมดา ๆ ของปุถุชนคนทั่วไปก็อาจเป็นสัจธรรมได้

ส่วนเราขอให้ทัศนะเพิ่มเติมไปจากคราวที่แล้วว่า  เมื่อมองละเอียดไปอีก ฌาน จะหมายถึงนามธรรมชนิดหนึ่ง  มีลักษณะเป็นทั้งกลุ่มก้อนที่เคลื่อนไหวไปเอง ทรงอำนาจ และฤทธิ์ทางความคงกะพันชาตรี  คือไม่ตาย  และทั้งมีลักษณะเป็นกระแสที่แผ่ไปตามสื่อของมัน  ไปได้ใกล้ไกลไม่จำกัด

ฌานเป็นหลักวิชานามธรรมที่เป็นสากล มีอยู่ในทุกลัทธิศาสนา  แต่ศาสนาพุทธพยายามเอาฌานมาใช้ประโยชน์ทางการบรรลุมรรคผล  ฌานที่ท่านผู้รู้ในศาสนาพุทธกล่าวถึงจึงเป้นฌานฝ่ายขาว ท่านไม่ได้กล่าวถึงฌานฝ่ายดำ  หรือฝ่ายมารเลย

กระนั้น  นิยามของฌาน ก็เป็นสากล  เมื่อเราเข้าใจคำว่าฌานได้แล้วว่าเป็นสากลอย่างไร  เราก็อาจจะใช้มันได้ดุจดังอาวุธ หรือเครื่องมือ  ที่อาจเอาไปใช้ทางดีก็ได้  ทางร้ายก็ได้

แต่เพื่อเดินทางสู่เป้าหมายของพระพุทธศาสนา แม้บุรุษผู้วิเศษจะได้ฌานมาแล้ว อย่างไร  อะไร ก็ตาม  ก็จะไม่เอาไปใช้ทางร้ายอย่างเด็ดขาด  จะเอาไปใช้สนับสนุนพลังที่ฝ่าสู่มรรคผลนิพพานเท่านั้น

ในพระคัมภีร์พุทธนิกายเถรวาท จะกล่าวถึงฌานว่าเป็นต้นเหตุของอภิญญา  คือความรู้อันยิ่งเยียมสูงสุดเป็นเหตุแห่งฤทธิ์

ปัจจัยเหตุที่ให้เกิดฌานนั้น  คือไตรสิกขา  ศีลจะต้องบริสุทธิ์ สมาธิจะต้องมีความก้าวหน้าไปตามระดับ จนถึงอัปปนาสมาธิ  ปัญญา  ก็ต้องมีมากพอที่จะทำการวิจัยได้  คือมีธัมมวิจัยได้ด้วยตนเอง  ต้องมีตะปะคือความอดทนตรากตรำทรหดไม่ท้อถอยอย่างสูง

เราจะต้องฝึกไตรสิกขาให้ได้ระดับสูงสุดเสียก่อน  โดยเฉพาะสมาธิ ต้องให้ได้อัปปนาสมาธิเสียก่อน จึงจะสามารถเข้าไปสัมผัสฌานได้  

และหลังจากนั้น  องค์รวมทั้งหลาย ดังกล่าวก็ต้องพัฒนาตามกันไปด้วย จนกว่าเกิดวิปัสสนาญาณขั้นสูงสุด คือรู้แจ้งโลก  รู้แจ้งมรรคผลนิพพาน   นั่นหมายถึงบรรลุพระอรหัตตผลแล้ว  ธรรมสามี/แทน บก. 8 ก.ย.2549



ผู้แสดงความคิดเห็น
ธรรมสามี ( newworld_believe@hotmail.com ) วันที่ลงประกาศ 08-09-2006 08:24:24

 

ความเห็นที่ 3 (416206)
เราขอขอบคุณadminและธรรมสามีที่ให้ความกระจ่าง แต่เรายังอยากรู้ว่าถ้าไม่มีฌานจะดับกิเลสได้หรือไม่ และอัปปนาสมาธิคืออะไร  เคยได้ยินว่าพระสายวิปัสสนาบอกว่าอัปปนาสมาธิคือจิตไม่รับรู้อารมณ์ภายนอกที่มากระทบ เรายังสงสัยเมื่อมีอารมณ์มากระทบแล้ว ทำไมจึงไม่รู้ว่ามีอารมณ์มากระทบมิผิดจากธรรมชาติหรือ ?

ผู้แสดงความคิดเห็น
นิรนาม ( ) วันที่ลงประกาศ 08-09-2006 18:05:05

 

ความเห็นที่ 4 (416232)

ตกลงเราจะว่ากันหนักในเรื่องธรรมะกระมังเอาละ  ไม่เฉพาะเรื่องธรรมะก็ได้  เราว่าเสวนากันได้ทุกเรื่อง  ไม่ว่าสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและ  ปัญหาวัฒนธรรม

และเราคิดว่า เราไม่ใช่จะยัดเยียดความคิดให้ท่าน  เราคิดว่าถ้าท่านมองเหตุผลและเงื่อนไขแห่งคำตอบของเรา นั่นจะเป็นสิ่งที่ได้ประโยชน์กว่า

คำถามใหม่ว่า  ถ้าไม่มีฌานจะดับกิเลสได้หรือไม่? ตรงนี้มีคำตอบอยู่แล้ว  แต่อยากให้มองข้อเท็จจริงมากกว่า  คือ ฌาน กับวิปัสสนาญาณ(ปัญญา)ไปด้วยกัน  มีสองสิ่งนี้พร้อมกันไปเสมอ

ถ้าเรามีความเข้าใจอยู่แล้วว่า ปัญญาหรือวิปัสสนาญาณเมื่อเกิดแล้วเป็นเครื่องมือสำคัญในการดับกิเลส   นั่นเป็นความเข้าใจที่ถูกตามที่รับรองกันทั่วไป  แต่อย่าลืมว่า จะต้องมีฌานเกิดขึ้นด้วย  เป็นการทดสอบกันและกัน  ตามพุทธดำรัสในพระสูตรโจรห้าร้อยว่า  นตฺถิฌานํ อปญฺญสฺส  นตฺถิปญฺญา อฌายิโน 

แต่อย่านึกว่าการฝึกฌานจะยากเกินไป  ควรเริ่มจากโพชฌงค์ 7 มีฌานอยู่ 3 อย่างที่ควรฝึกไว้ก่อนเสมอคือ  ปิติ  ปัสสัทธิ  และ อุเบกขา  นี่เป็นการทำอารมณ์ ฝึกอารมณ์ฌาน  ฝึกพร้อม ๆ กับฝึกไตรสิกขา หรือการฝึกสมาธิ

ที่อ้างว่าอัปปนาสมาธิคือจิตไม่รับรู้อารมณ์ภายนอกที่มากระทบนั้น ก็แล้วแต่ว่าเราฝึกสมาธิด้วยวิธีการอะไร  เพราะเมื่อมีการพัฒนาไปถึงระดับสูงหรือแม้ระดับอัปนาสมาธิแล้วก็สามารถจะฝึกต่อไปได้หลายวิธี 

ถ้าฝึกโดยมหาสติปัฏฐาน  บริกรรมว่ายุบหนอพองหนอแล้ว ก็ไม่มีการรับอารมณ์จากภายนอก  จะปิดทางของอารมณ์ภายนอกหมด  ก็ถือว่าเป็นวิธีฝึกอย่างนี้  คือต้องไม่รับรู้อารมณ์ภายนอก

แต่ถ้าฝึกโดยวิธีการของสมาธิเอง โดยเริ่มไปตามลำดับจาก คณิกะสมาธิไป  อุปจาระสมาธิ  และที่สุดถึงอัปปนาสมาธิ และหรือเลยอัปปนาสมาธิไปอีก  ถึงจะอยู่ในสมาธิดุจดังล่องเมฆไปก็ตาม  ก็สามารถรับรู้อารมณ์ภายนอกได้  และรับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราขณะนั้น  ไม่ว่าฝนตก แดดออกก็รู้  เพราะจิตเป็นผู้บริหารสมาธิอยู่   จิตเป็นอย่างหนึ่ง  สมาธิเป็นอย่างหนึ่ง  แต่จิตเป็นผู้บริหารและทำธรรมวิจัย  คือพิจารณาว่าอะไรเป็นอะไร  รู้อะไรเป็นอะไร  เช่นรู้ว่าขณะนี้ สมาธิแล่นไปแล้ว  ผ่านคณิกะสมาธิแล้ว  หยุดอยู่ชั่วครู่  เคลื่อนไปแล้ว   สู่อุปจาระสมาธิแล้ว  เลยไปอย่างคล่องแคล่วแล้ว ถึงอัปปนาสมาธิ  ปราณเดินแล้ว  เสวยสุขแล้ว   วิปัสนาญาณเกิดหรือยัง   ทำไม  เหตุใดยังช้าอยู่   เหตุใดวิปัสสนาญาณจึงไม่เกิด  ....นี่คืองานของจิตที่รับรู้เหตุการณ์และติดตามสมาธิไป เช่นนี้

ฉะนั้น  จึงอยู่ที่วิธีการฝึก  ว่ามีทั้งแบบปิดและเปิดรับอารมณ์

ในแบบปิด เมื่อมีอารมณ์มากระทบแล้วก็ไม่รู้สึก(อันนี้เหมือนกับการเข้าฌานระดับสูง)  ก็จะรอจนกว่าวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นเหมือนกันทั้ง 2 วิธี 

ที่กล่าววรรคหลังนี้เป้นรายละเอียดของการปฏิบัติ

เราอยากพูดเน้นอีกว่า  คำอธิบายโดยปริยัตินั้น  ในบางเรื่องจะไม่เข้าใจเลย  อธิบายอย่างไร ๆ ก็ไม่เข้าใจ   เช่นอธิบายไปว่าสมาธิบำบัดโรคได้อย่างไร   การเจริญฌานบำบัดโรคได้อย่างไร  การเจริญปราณทำให้คนหายป่วยไข้ลุกวิ่งได้อย่างไร พูดอย่างไร ๆ ก็ไม่เข้าใจ   ต้องไปปฏิบัติจึงจะเข้าใจ

ก็ขอบคุณที่เสวนามา ขอให้ท่านจงเจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปเทอญ.   ธรรมสามีแทน บก./8 ก.ย.2549

 

 



ผู้แสดงความคิดเห็น
ธรรมสามี ( newworld_believe@hotmail.com ) วันที่ลงประกาศ 08-09-2006 19:13:05

 

ความเห็นที่ 5 (416902)

เราจะขอถือโอกาสพูดเรื่องฌานต่อไปอีก ในรายละเอียดและเพื่อให้ได้แง่มุมในการฝึกหัดปฏิบัติไปแต่ต้น ๆ

ประการแรก  ศาสนาพุทธมุ่งหมายให้เราพ้นทุกข์ จึงมีเป้าหมายสูงสุดที่ วิปัสสนาญาณ  โดยที่เมื่อวิปัสสนาญาณสูงสุดเกิดขึ้นแล้ว สามารถให้บรรลุธรรม เป็นพระอริยบุคคลไปตามลำดับ  นับตั้งแต่ พระโสดาบัน  พระสกิทาคามี  พระอนาคามี ไปจนถึงสูงสุดคือ พระอรหันต์   ในเรื่องที่คู่กันไป  ก็ให้เกิดฌาน  มีรูปฌาน 4 ระดับคือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน  ตติยฌาน และ จตุตถฌาน

ทั้งวิปัสสนาญาณ และรูปฌานนี้  มักเกิดปน ๆ กันไป แยกไม่ออกเป็น***ส่วน  เหมือนดังที่ท่านแยกแสดงไว้ในภาคปริยัติธรรม  ฉะนั้นนักปฏิบัติมักจะไม่ทันสังเกตและเมื่อภูมิปัญญายังไม่เฉียบคมก็อาจจะสังเกตความแตกต่างระหว่างวิปัสสนาญาณ กับฌานนี้ไม่ได้ และมักจะไม่สังเกตว่าทั้งสองสภาวะนี้มีความเป็นเหตุและผลของกันและกันเสมอ

ในที่นี้ อยากจะพูดถึงการฝึกในภาคปฏิบัติ  ควรจะเริ่มด้วยไตรสิกขา และทำความเข้าใจเรื่องศีลให้จะแจ้ง โดยรู้ถึงเหตุผลของการประพฤติศีล ตามหลักการพระพุทธศาสนาเสียให้ชัดแจ้งก่อน  อยากให้ลองอ่านศีล 3 ระดับในเรื่อง หลักสูตรมรรคผล ที่ขึ้นเป็นหัวข้อใหญ่ไว้แล้วในเวบไซท์นี้  เพื่อทราบเหตุผลที่จำเป็นของการประพฤติศีล

โดยที่สุดนำไปสู่อารมณ์ฌานที่เยือกเย็นลึกซึ้ง คือ ความเมตตา เห็นอกเห็นใจผู้อื่น  เห็นทุกข์ของสรรพสัตว์ เห็นโลกมีความทุกข์ตามเป็นจริงอย่างไรแล้ว มีเมตตา ทนต่อการดูการเห็นทุกข์ของคนอื่น ๆ ทั้งปวง แม้ทุกข์ของเราเองไม่ได้  จำต้องรีบขวนขวายด้วยเมตตา  เกิดขึ้น

สิ่งนี้ จะเป็นพื้นฐานที่ดีให้แก่งานการฝึกสมาธิ  และเป็นพื้นฐานใหญ่  ที่จะส่งให้สมาธิเข้มงวดไปได้ง่าย

สมาธิเองมี 3 ระดับ  เริ่มจากระดับคณิกะสมาธิเสียก่อน  ถ้าไม่เคยฝึกเลยควรตั้งใจจริง  ทำเป็นตารางการฝึกทุกวัน ๆ วันละ 1 ชั่วโมง  แยกเป็นสวดมนต์ 40 นาที แล้วต่อด้วยคณิกะสมาธิอีก 20 นาที  ให้การฝึกสม่ำเสมอต่อเนื่อง เป็นเวลาประมาณ  3 ปีก็จะเกิดผล  สามารถผ่านคณิกะสมาธิไปได้(อันนี้สรุปจากผลงานการพาญาติโยมปฏิบัติธรรมมา 7 ปี)

ระดับที่ 2 อุปจาระสมาธิ ให้ฝึกอยู่ประมาณ 3 ปี เช่นเดียวกัน

ระดับที่ 3 อัปปนาสมาธิ ให้ฝึกไปอย่างไม่จำกัดเวลา  ระหว่างนี้ให้ฝึกหัดเดินจงกรมตามหลักมหาสติปัฏฐานไปด้วย

กล่าวคือ  ในระดับคณิกะสมาธิให้บริกรรมออกเสียงเบา ๆคำว่า พุทโธ  โดยให้บริกรรมคำว่าพุทธแล้วหายใจเข้ายาว ๆ   พอหายใจออกให้บริกรรมโธ  ให้ลมหายใจเข้ายาวพอ ๆ กับลมหายใจออก  ฝึกหัดให้สม่ำเสมอตลอดไปใน 3 ปีดังกำหนด  ก็จะเกิดการทำซ้ำลงไป ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ เช่นนี้  สมาธิย่อมเกิด

การฝึกอย่าข้ามขั้น  ให้ได้คณิกะสมาธิก่อน  จึงค่อยไปฝึกอุปจาระสมาธิ  ในระดับอุปจาระสมาธิ ให้บริกรรมในใจ และระวังลมหายใจให้เข้าออกสม่ำเสมอ ยาวเท่ากัน  ลึกและแรงและละเอียด   ฝึกไปอีก 3 ปี

ในระดับอัปนาสมาธิ ให้ฝึกเดินจงกรมแนวมหาสติปัฏฐานไปด้วย  ให้เดินระยะที่ 1 ก่อนคือเดิน ซ้ายย่างหนอ  ขวาย่างหนอ  เดินประมาณ30นาทีแล้วนั่งสมาธิต่อไปอีก 30 นาที การนั่งสมาธิคราวนี้เปลี่ยนมาใช้คำบริกรรมว่า ยุบหนอ  พองหนอ  แทนคำว่า พุทโธ  คือหายใจเข้าพร้อมกับว่าคำบริกรรมพองหนอ  หายใจออกพร้อมกับว่าคำบริกรรมยุบหนอ  ให้บริกรรมในใจเท่านั้น  ให้ลมหายใจเข้าออก ลึก ยาว และเท่ากัน  ให้ลองจับเวลาลมหายใจด้วย

ให้หัดเพ่งกสิณไปพร้อม ๆ กัน  โดยเพ่งอากาสกสิณ  คือเวลาออกจากสมาธให้ลืมตาเพ่งอากาสว่างต่อหน้า

เมื่อได้อัปนาสมาธิแล้ว  ให้ฝึกหัดเดินจงกรมสายมหาสติปัฏฐาน ระยะที่ 1 ขวา...ย่าง...หนอ!    ซ้าย...ย่าง...หนอ!  การเดินจงกรมนี้ ให้เอาสติกำหนดไว้ที่เท้า  เวลาออกคำว่าอะไร ทำไม อย่างไร  ให้สติตามทันตามรู้ไปทั้งหมด (แบบปิด อย่าส่งใจออกไปนอกใจ) 

วิธีฝึกขั้นสุดท้ายโดยมหาสติปัฏฐาน จักช่วยให้บรรลุวิปัสสนาญาณ สำเร็จธรรมะเป้นพระอริยบุคคลได้เร็ว

วิธีการเดินจงกรมอย่างไร  โปรดดู  หลักสูตรมรรคผล  มีบอกวิธีไว้อย่างละเอียดอยู่แล้ว  แต่ไม่จำเป็นต้องฝึกครบทั้ง 6 ระยะ  ให้เน้นย้ำอยู่แม้เพียงระยะที่ 1 เท่านั้นก็สำเร็จธรรม  มีวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นด้  นี่เป็นการฝึกโดยควบคุมสติอย่างเฉียบขาด  มิให้ออกไปนอกใจได้อย่างเด็ดขาด  เป็นเคล็ดความสำเร็จ

หากยังไม่สำเร็จ ให้ออกธุดงค์ และเพิ่มงานทางสมาธิไปอีก รวมถึงการฝึกฌาน กสิณ  ปราณ  แล้วมรรคผลก็ไม่เหลือความพยายาม  ใน 5-10 ปี

แต่ส่วนการจำเริญฌาน หรือสมาบัติต่อไปอีกนั้น เป็นส่วนที่นอกเหนือความจำเป็น  เพราะฌานประเภทสร้างฤทธิ์นั้น ไม่จำเป็นสำหรับมรรคผล  สุดแต่ใครมีวาสนาจะฝึกเอาเป็นส่วนพิเศษก็แล้วแต่

ธรรมสามี

10 ก.ย.2549

 



ผู้แสดงความคิดเห็น
newworld_believe@hotmail.com ( ) วันที่ลงประกาศ 10-09-2006 22:55:48

 

ความเห็นที่ 6 (417163)

เรื่องอารมณ์ฌานในระดับธรรมชาติเราพอจะเข้าใจบ้าง

แต่ที่สงสัยคือฌานในระดับที่แสดงอภิญญาต่างๆได้สามารถรับรู้อารมณ์ภายนอกได้หรือไม่ ? ขออภัยที่ถามเรื่องเดิมๆ  แต่เราต้องการความกระจ่างชัดแจ้ง  ถ้าเทียบกับความสงสัยของพระเจ้ามิลินทร์แล้วก็ดูไม่มากเท่าไร



ผู้แสดงความคิดเห็น
นิรนาม ( ) วันที่ลงประกาศ 11-09-2006 17:55:28

 

ความเห็นที่ 7 (417288)

ท่านผู้ใช้นามว่านิรนาม ถามอีกว่า ฌานในระดับที่แสดงอภิญญาต่าง ๆ ได้ สามารถรับรู้อารมณ์ภายนอกได้หรือไม่?  

 ข้อสงสัยนี้ ก็ยังเป็นข้อเด่นข้อเดียวของท่านผู้ใช้นาม นิรนาม  คือ  อยากรู้เหลือเกินว่า  สามารถรับรู้อารมณ์ภายนอกได้หรือไม่ 

อย่าลืมว่า ท่านมีเงื่อนไขไว้แล้วว่า  ฌานในระดับที่แสดงอภิญญาต่าง ๆ ได้แล้ว   ท่านถามว่าเมื่อถึงขั้นแสดงอภิญญาต่าง ๆ ได้แล้วนั้น จะสามารถรับรู้อารมณ์ภายนอกได้หรือไม่?

นี่แสดงว่า สำเร็จฌานแล้ว  สำเร็จกิจที่จะฝึกหัดต่อไปแล้ว

เมื่อสำเร็จแล้วก็ไม่จำเป็นต้องปิดหูปิดตา ปิดอายตนะต่อไปอีก  การที่ท่านให้ปิดอารมณ์  ปิดอายตนะ ในขณะฝึกนั้นก็เพราะต้องการตัดปัญหามารผจญต่าง ๆ ให้ได้เฉียบขาดเท่านั้นเอง การบรรลุก็จะไว  จะเร็วขึ้น  นั่นคือเหตุผล

แต่เมื่อสำเร็จฌานแล้ว  แม้ระดับใดระดับหนึ่ง  แล้วเอาฌานไปใช้   ในการใช้นั้นจำเป็นต้องมีการบริหาร  และจะมีจิตเป็นผู้บริหารเสมอไป 

ถ้าไม่มีการบริหารก็จะเหมือนคนตาบอดเดินไป  เดินไปไหนก็ไม่รู้  ที่เดินลาดสูงต่ำ ขรุขระ ราบเรียบอย่างไรก็ไม่รู้   เวลาเหาะเหินเดินอากาศไป  หากไม่มีจิต  เปิดจิตออกมาบริหารฤทธิ์นั้น  ก็จะไม่รู้ว่าตนไปทางไหน ต่อทางไหน

ฉะนั้น  จำเป็นอยู่เองที่จะต้องรู้อารมณ์ภายนอก  รู้เหตุการณ์ภายนอกทุกอย่าง  เหมือนคนปกติทั่ว ๆ ไปที่รู้สิ่งต่าง ๆ ที่แวดล้อมตัวเรา   เพียงแต่เราสามารถควบคุมมิให้สิ่งที่แวดล้อมก่อปัญหาให้ได้เท่านั้นเอง 

แต่ในการเข้าฌานบางชนิด เช่นนิโรธสมาบัติ  มีคุณลักษณะเฉพาะตัวของฌานชนิดนั้นที่จะต้องปิดการรับรู้อารมณ์ทุกอย่างไม่ว่าภายนอกหรือภายใน  แม้จิตซึ่งเป็นผู้บริหาร ก็จะต้องสลายหายเป็นความว่างไปด้วย  การเข้าฌานชนิดนี้จึงต้องอยู่ในสถานที่ ๆ ปลอดภัย  เมื่อเข้าฌานแล้วจะไม่รู้สึกเลย  จะไม่รับรู้อารมณ์ภายนอก ภายในเลย  นี่เป็นชนิดของฌานชนิดนี้  ที่จะต้องมีการจัดการรปภ.ของฝ่ายกายให้เหมาะแก่การเข้าฌานชนิดนี้(ต้องซ่อนกายไว้ในที่ปลอดภัยและเป็นความลับที่สุด)

ส่วนการเข้าฌานชนิดอื่น ๆ  เช่นฌานดำ  แม้กามารมณ์เกิดขึ้น  หรือเสพกามอยู่ก็รู้รสของการเสพนั้น    จึงแล้วแต่ชนิดของฌาน  ชนิดของความมุ่งหมายของผู้ที่สำเร็จฌานแล้ว

พูดง่าย ๆ ก็คือ ฌานเป็นเพียงเครื่องมือ  เราจะใช้ทำอะไร ๆ ก็ต้องดูแล ควบคุมให้การใช้งานของฌานตรงความประสงค์ของเรา  จะปิดหูปิดตาปิดอารมณ์ไม่รับรู้เหตุการณ์ได้อย่างไร

 เรื่องนี้สามารถอนุมานได้  และคำตอบคือ  จะต้องรับรู้อารมณ์ภายนอก  รู้เหตุการณ์ภายนอกว่าเป็นอย่างไร  แล้วบริหารฌานไปให้ถูกกับสถานการณ์  ก็อุปมาเหมือนเรือดำน้ำ มีตอร์ปิโดทรงอำนาจทำลายร้ายแรงอยู่เพียง1ลูก  การจะใช้ก็ต้องมองสถานการณ์ให้ชัดเจนจึงจะใช้ได้  จะหลับหูหลับตายิงสุ่มสี่สุ่มห้าไปอย่างไรฌานก็เหมือนตอณ์ปิโด  มีฤทธิ์  แต่ต้องมีการบริหารให้ดีด้วย  จึงจะเกิดผลตามต้องการ

และความจริง  จิตจะเป็นผู้บริหารทุกอย่าง  บริหารทั้งกาย  และบริหารจิตเอง  รวมความถึงภาคภายในหรือนามธรรมทั้งหมด  ก็อยู่ในการบริหารของจิต   นี่เป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้ว

ส่วนการฝึกก็เป็นเรื่องการฝึก  เช่นเมื่อต้องการฝึกปิดหูปิดตา  ปิดอารมณ์ภายนอก  ก็ฝึกหัดไปเช่นนั้น  จนกว่าจะสำเร็จ และได้นามธรรมมา  เมื่อได้แล้วก็เป็นอีกสถานการณ์หนึ่ง  จะใช้ก็ต้องมีการบริหาร  นี่เป็นธรรมดาอยู่แล้ว

อุปมาเหมือนเครื่องบินโดยสารเจ๊ตความเร็วเหนือเสียงของฝรั่งเศส ที่มีขนาดใหญ่และเร็วที่สุดในโลกคือ เครื่องบินคองคอร์ด (2,349 กม.ต่อ ชม.เร็วกว่าเสียง 2.2เท่า)  เมื่อสถานการณ์ทางธุรกิจตกต่ำลงไม่คุ้มทุน ก็ระงับการบินเสีย  ก็เอาเครื่องบินเหล่านั้น ที่สุดแสนวิเศษไปเก็บเสีย(เที่ยวสุดท้ายเมื่อ 24 ต.ค.2546)      นี่ก็เป็นผลจากสถานการณ์นอกเครื่องบินเอง  ที่ผู้บริหารต้องประเมินอยู่เสมอ  อุปมาเครื่องบินคองคอร์ดนั้นเหมือนฌาน  การจะใช้ฌานอย่างไร ผู้บริหารคือจิตก็ต้องตรวจสอบเสมอ ๆ เช่นเดียวกัน  จะไม่รับรู้เรื่องราวภายนอกภายในรอบ ๆ ตัวได้อย่างไร

ฉะนั้นจึงอยู่ที่จุดประสงค์ว่าอย่างไร  และจุดประสงค์นั้นต้องการใช้ฌานชนิดไหน

 

มีตัวอย่าง  ตอนสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จสู่มหาปรินิพพาน  ทรงเข้าฌานและเดินสมาบัติ ตั้งแต่ปฐมฌาน  ไปจนสุดที่อรูปฌานที่ 8 แล้วหวลกลับมา และหยุดที่จตุตถฌานและทรงนิพพานที่จตุตถฌานนั้น

ในขณะนั้น หมู่สงฆ์อรหันต์ทั้งหลายที่ไม่มีอภิญญา ได้อาศัยพระอนุรุทธที่เข้าฌานติดตามวาระจิตขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปทุกระยะ ๆ  หมู่สงฆ์ก็คอยถามว่า  ขณะนั้งองค์บรมครูไปถึงฌานที่เท่าไร   พระอนุรุทธ์ก็ตอบว่า  ถึงฌานนิโรธ  คือสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้วทรงหวลกลับมาสู่รูปฌาน4 คือจตุตถฌาน ตติยฌาน  ทุติยฌาน  ถึงปฐมฌาน  แล้วเข้าอรูปฌาน4 มีเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ  อากิญจัญญายตนสมาบัติ วิญญานัญจายตนสมาบัติ  อากาสานัญจายตนสมาบัติ  อีกโดยรวดเร็วนับได้ 42แสนโกฏิสมาบัติ(เร็วมากปานความคิด) ถามและตอบกันเป็นระยะ ๆ ไปจนถึงวาระสุดท้าย  ว่า  องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาสู่ปฐมฌาน แล้วเลื่อนสู่จตุตถฌาน  และนิพพาน ณ จตุตถฌาน นั่นเอง(เสด็จออกจากจตุตถฌานไป)

นี่เป็นข้อเท็จจริง

ในขณะนั้นพระอนุรุทธเถรเจ้าเข้าฌานติดตามพระพุทธองค์ไปทุกระดับฌาน   แต่ก็สามารถฟังคำถามของหมู่สงฆ์  และตอบคำถามของหมู่สงฆ์ได้  เป็นระยะ ๆ  ดังปรากฎในมหาปรินิพพานสูตร  และในปฐมสมโพธิกถาแล้วนั้น

ท่านเข้าใจว่าอย่างไรเล่าพระอนุรุทธเถรเจ้าขณะเข้าฌานเป็นใบ้ไม่รับรู้อารมณ์ภายนอกอย่างนั้นหรือ? ไม่รู้สถานการณ์อะไรรอบ ๆ ตัวเลยอย่างนั้นหรือ?

คำตอบคือไม่ใช่  แต่ท่านย่อมรู้  และจิตของท่านนั่นเองบริหารฌานอยู่ และจิตนั่นเองรับรู้เหตุการณ์ภายนอกภายในอยู่ทุกประการ

ท่านคงจะเข้าใจดีละ !!

ธรรมสามี

11 ก.ย. 2549



ผู้แสดงความคิดเห็น
ธรรมสามี ( newworld_believe@hotmail.com ) วันที่ลงประกาศ 11-09-2006 20:42:14


« Back




Mystery World Report ศึกษาโลกลี้ลับ การศึกษาเชิงงานวิจัยสมาธิและไสยศาสตร์

ศึกษาโลกลี้ลับตอนที่ 27 Mystery worldreport 27 เร่ิม วันกาลเข้าพรรษา 27 ก.ค.2564
Mystery World Report 26 : บันทึกสำคัญ
Mystery World Report 25
Mystery World Report 24
Mystery World Report 23
Mystery World Report 22
Mystery World Report 21
Mystery World Report 20 : ศึกษาโลกลี้ลับ 20 (ภาษาไทย)
Mystery World Report 19 article
MysteryWorld Report 18
Mystery World Report 17
Mystery World Report 16
Mystery World Report 15
ศึกษาโลกลี้ลับภาค 14 ย่อ
ศึกษาโลกลี้ลับภาค 13 ต้นฉบับสมบูรณ์ ตอนที่ 1
ศึกษาโลกลี้ลับภาค 13 ต้นฉบับสมบูรณ์ ตอนที่ 2
ศึกษาโลกลี้ลับภาค 13 ย่อ
ศึกษาโลกลี้ลับภาค 12 ต้นฉบับสมบูรณ์
ศึกษาโลกลี้ลับภาค 12 (ย่อ)
ศึกษาโลกลี้ลับภาค 11 (ย่อ)
ศึกษาโลกลี้ลับภาค 10 article
ศึกษาโลกลี้ลับภาค 8 article
ศึกษาโลกลี้ลับภาค 7 article
ศึกษาโลกลี้ลับภาค 6 article
ศึกษาโลกลี้ลับภาค 5 article
ศึกษาโลกลี้ลับภาค 4 article
ศึกษาโลกลี้ลับภาค 3 article
ศึกษาโลกลี้ลับภาค 2 article
ศึกษาโลกลี้ลับภาค 1 article
ศึกษาโลกลี้ลับ 1



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
----- ***** ----- โปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate นี่คือเวบไซต์คู่ www.newworldbelieve.com กับ www.newworldbelieve.net เราให้เป็นเวบไซต์ที่เสนอธรรมะหรือ ความจริง หรือ ความคิดเห็นในเรื่องราวของชีวิต ตั้งใจให้ธัมมะเป็นทาน ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แด่คนทั้งหลาย ทั้งโลก ให้ได้รู้ความจริงของศาสนาต่าง ๆในโลกวันนี้ และได้รู้ศาสนาที่ประเสริฐเพียงศาสนาเดียวสำหรับโลกยุคใหม่ จักรวาลใหม่ เรามีผู้รู้ ผู้ตรัสรู้ ผู้วินิจฉัยสรรพธรรมสรรพวิชชา สรรพศาสน์ และสรรพศาสตร์ พอชี้ทางสู่โลกใหม่ ให้ความสุข ความสบายใจความมีชีวิตที่หลุดพ้นไปสู่โลกใหม่ เราได้อุทิศเนื้อที่ทั้งหมดเป็นเนื้อที่สำหรับธรรมะทั้งหมด ไม่มีการโฆษณาสินค้า มาแต่ต้น นับถึงวันนี้ร่วม 14 ปีแล้ว มาวันนี้ เราได้สร้างได้ทำเวบไซต์คู่นี้จนได้กลายเป็นแดนโลกแห่งความสว่างไสว เบิกบานใจ ไร้พิษภัย เป็นแดนประตูวิเศษ เปิดเข้าไปแล้ว เจริญดวงตาปัญญาละเอียดอ่อน เห็นแต่สิ่งที่น่าสบายใจ ที่ผสานความคิดจิตใจคนทั้งหลายด้วยไมตรีจิตมิตรภาพล้วน ๆ ไปสู่ความเป็นมิตรกันและกันล้วน ๆ วันนี้เวบไซต์นี้ ได้กลายเป็นโลกท่องเที่ยวอีกโลกหนึ่ง ที่กว้างใหญ่ไพศาล เข้าไปแล้วได้พบแต่สิ่งที่สบายใจมีความสุข ให้ความคิดสติปัญญา และได้พบเรื่องราวหลายหลากมากมาย ที่อาจจะท่องเที่ยวไปได้ตลอดชีวิต หรือท่านอาจจะอยากอยู่ณโลกนี้ไปชั่วนิรันดร ไม่กลับออกไปอีกก็ได้ เพียงแต่ท่านเข้าใจว่านี่เป็นแดนต้นเรื่องเป็นด่านข้ามจากแดนโลกเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง และซึ่งเป็นโลกหรือบ้านของท่านทั้งหลายได้เลยทีเดียว ซึ่งสำหรับคนต่างชาติ ต่างภาษาต่างศาสนา ได้โปรดใช้การแปลของ กูเกิล หรือ Google Translate แปลเป็นภาษาของท่านก่อน ที่เขาเพิ่งประสบความสำเร็จการแปลให้ได้แทบทุกภาษาในโลกมนุษย์นี้แล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้เอง นั้นแหละเท่ากับท่านจะเป็นที่ไหนของโลกก็ตาม ทั้งหมดโลกประมาณ 7.6 พันล้านคนวันนี้ สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในโลกของเราได้เลย เราไม่ได้นำท่านไปเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่การนำไปสู่ความจริง ความรู้เรื่องชีวิตใหม่ การอุบัติใหม่สู่ภาวะอริยบุคคล ไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปพ้นจากทุกข์ ทั้งหลายไปสู่โลกแห่งความสุขแท้นิรันดร คือโลกนิพพานขององค์บรมศาสดาพุทธศาสนา พระบรมครูพุทธะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ท่านโปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate ท่านก็จะเข้าสู่โลกนี้ได้ทันทีพร้อมกับคน7.6พันล้านคนทั้งโลกนี้. ----- ***** ----- • หมายเหตุ เอาขึ้นเวบไซต์ แทนของเดิม ทั้ง 2 เวบ .net .com วันที่ 21 เม.ย. 2565 เวลา 07.00 น. -----*****-----