ReadyPlanet.com
dot
dot dot
bulletBUDDHISM TO THE NEW WORLD ERA
bullet1 Thai-ไทย
bullet2.English-อังกฤษ
bullet3.China-จีน
bullet4.Hindi-อินเดีย
bullet5.Russia-รัสเซีย
bullet6.Arab-อาหรับ
bullet7.Indonesia-อินโดนีเซีย
bullet8.Japan-ญี่ปุ่น
bullet9.Italy-อิตาลี
bullet10.France-ฝรั่งเศส
bullet11.Germany-เยอรมัน
bullet12.Africa-อาฟริกา
bullet13.Azerbaijan-อาเซอร์ไบจัน
bullet14.Bosnian-บอสเนีย
bullet15.Cambodia-เขมร
bullet16.Finland-ฟินแลนด์
bullet17.Greek-กรีก
bullet18.Hebrew-ฮีบรู
bullet19.Hungary-ฮังการี
bullet20.Iceland-ไอซ์แลนด์
bullet21.Ireland-ไอร์แลนด์
bullet22.Java-ชวา
bullet23.Korea-เกาหลี
bullet24.Latin-ละติน
bullet25.Loa-ลาว
bullet26.Finland-ฟินแลนด์
bullet27.Malaysia-มาเลย์
bullet28.Mongolia-มองโกเลีย
bullet29.Nepal-เนปาล
bullet30.Norway-นอรเวย์
bullet31.persian-เปอร์เซีย
bullet32.โปแลนด์-Poland
bullet33.Portugal- โปตุเกตุ
bullet34.Romania-โรมาเนีย
bullet35.Serbian-เซอร์เบีย
bullet36.Spain-สเปน
bullet37.Srilanga-สิงหล,ศรีลังกา
bullet38.Sweden-สวีเดน
bullet39.Tamil-ทมิฬ
bullet40.Turkey-ตุรกี
bullet41.Ukrain-ยูเครน
bullet42.Uzbekistan-อุสเบกิสถาน
bullet43.Vietnam-เวียดนาม
bullet44.Mynma-พม่า
bullet45.Galicia กาลิเซียน
bullet46.Kazakh คาซัค
bullet47.Kurdish เคิร์ด
bullet48. Croatian โครเอเซีย
bullet49.Czech เช็ก
bullet50.Samoa ซามัว
bullet51.Nederlands ดัตช์
bullet52 Turkmen เติร์กเมน
bullet53.PunJabi ปัญจาบ
bullet54.Hmong ม้ง
bullet55.Macedonian มาซิโดเนีย
bullet56.Malagasy มาลากาซี
bullet57.Latvian ลัตเวีย
bullet58.Lithuanian ลิทัวเนีย
bullet59.Wales เวลล์
bullet60.Sloveniana สโลวัค
bullet61.Sindhi สินธี
bullet62.Estonia เอสโทเนีย
bullet63. Hawaiian ฮาวาย
bullet64.Philippines ฟิลิปปินส์
bullet65.Gongni-กงกนี
bullet66.Guarani-กวารานี
bullet67.Kanada-กันนาดา
bullet68.Gaelic Scots-เกลิกสกอต
bullet69.Crio-คริโอ
bullet70.Corsica-คอร์สิกา
bullet71.คาตาลัน
bullet72.Kinya Rwanda-คินยารวันดา
bullet73.Kirkish-คีร์กิช
bullet74.Gujarat-คุชราด
bullet75.Quesua-เคซัว
bullet76.Kurdish Kurmansi)-เคิร์ด(กุรมันซี)
bullet77.Kosa-โคซา
bullet78.Georgia-จอร์เจีย
bullet79.Chinese(Simplified)-จีน(ตัวย่อ)
bullet80.Chicheva-ชิเชวา
bullet81.Sona-โซนา
bullet82.Tsonga-ซองกา
bullet83.Cebuano-ซีบัวโน
bullet84.Shunda-ชุนดา
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet86.Sesotho-เซโซโท
bullet87.NorthernSaizotho-ไซโซโทเหนือ
bullet88.Somali-โซมาลี
bullet89.History-ประวัติศาสตร์
bullet90.Divehi-ดิเวฮิ
bullet91.Denmark-เดนมาร์ก
bullet92.Dogry-โดกรี
bullet93.Telugu-เตลูกู
bullet94.bis-ทวิ
bullet95.Tajik-ทาจิก
bullet96.Tatar-ทาทาร์
bullet97.Tigrinya-ทีกรินยา
bullet98.Check-เชค
bullet99.Mambara-มัมบารา
bullet100.Bulgaria-บัลแกเรีย
bullet101.Basque-บาสก์
bullet102.Bengal-เบงกอล
bullet103.Belarus-เบลารุส
bullet104.Pashto-พาชตู
bullet105.Fritian-ฟริเชียน
bullet106.Bhojpuri-โภชปุรี
bullet107.Manipur(Manifuri)-มณีปุระ(มณิฟูรี)
bullet108.Maltese-มัลทีส
bullet109.Marathi-มาราฐี
bullet110.Malayalum-มาลายาลัม
bullet111.Micho-มิโช
bullet112.Maori-เมารี
bullet113.Maithili-ไมถิลี
bullet114.Yidsdish-ยิดดิช
bullet115.Euroba-ยูโรบา
bullet116.Lingala-ลิงกาลา
bullet118.Slovenia-สโลวีเนีย
bullet119.Swahili-สวาฮิลี
bullet120.Sanskrit-สันสกฤต
bullet121.history107-history107
bullet122.Amharic-อัมฮาริก
bullet123.Assam-อัสสัม
bullet124.Armenia-อาร์เมเนีย
bullet125.Igbo-อิกโบ
bullet126.History115-ประวัติ 115
bullet127.history117-ประวัติ117
bullet128.Ilogano-อีโลกาโน
bullet129.Eve-อีเว
bullet130.Uighur-อุยกูร์
bullet131.Uradu-อูรดู
bullet132.Esperanto-เอสเปอแรนโต
bullet133.Albania-แอลเบเนีย
bullet134.Odia(Oriya)-โอเดีย(โอริยา)
bullet135.Oromo-โอโรโม
bullet136.Omara-โอมารา
bullet137.Huasha-ฮัวซา
bullet138.Haitian Creole-เฮติครีโอล
bulletคำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรแปล เช้า-เย็น
bulletChart Showing the Process
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี พ.ศ.2540 - 2566
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 1
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 2
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี บุคคลที่ 1 - 188 ปัจจุบัน
bulletหนังสือพิมพ์ดี
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 1
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 2
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 3
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 4
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 5
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 6
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 7
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 8
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 9
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 10
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 11
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 12
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 13
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 14
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 15
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 16
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 17
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 18
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 19
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 20
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 21
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 22
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 23
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 24
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 25
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 26
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 27
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 28
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 29
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 30
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 31
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 32
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 33
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 34
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 35
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 36
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 37
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 38
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 39
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 40
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 41
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 42
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 43
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 44
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 45
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 46
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 47
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 48
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 49
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 50
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 51
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 52
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 54
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 55
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 56
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 57
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 58
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 59
bulletTo The World
bulletENGLISH
bulletUSA
bulletChina
bulletIndia
bullet Mynmar
bullet Cambodia
bullet Loas
bulletSri Lanka
bulletMalaysia
bulletKorea
bulletA Sharp Turn of Believes : Iresearch Iwrite Iread
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 1
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 2
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 3
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 4
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 5
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 6
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 7
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 8
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 9
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 10
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 11
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 12
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 13
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 14
bulletMystery Report 15
bulletMystery Report 16
bulletMystery Report 17
bulletMystery Report 18
bulletMystery Report 19
bulletMystery Report 20
bulletMystery Report 21
bulletMystery Report 22
bulletMystery Report 23
bulletMystery Report 24
bulletMystery World Report 25
bulletศึกษาโลกลี้ลับ 26
bulletเฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว วิเคราะห์ทุกปัญหาในโลกมนุษย์ด้วยสติปัญญาและเหตุผลวิทยาศาสตร์จากนสพ.ดี
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2536
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2537
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2538
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2539
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2540
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2541
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2542
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2543-2545
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2545-2549
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2549-2550
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2550-ส.ค.2551
bulletเฝ้าดูฯ ส.ค.-ก.ย.2551
bulletเฝ้าดูฯ ก.ย.2551- ธ.ค. 2551
bulletเฝ้าดูฯสำนวนพัชรา กอปรทศธรรม
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 16-27
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 29
bulletบทความใหม่ เม.ย.-พ.ค.2552
bulletพุทธธรรมเพื่อทางดับทุกข์
bulletทฤษฎีการดับทุกข์ทางจิต วิปัสสนากรรมฐานโดยการทำงาน(สำนวนปรับปรุงใหม่)
bulletประวัติพัชรา กอปรทศธรรม
bulletประวัติการต่อสู้เพื่อการดับทุกข์ ของพัชรา กอปรทศธรรม
bulletอัลบั้มรูป history
bulletนิทานธรรมะประยุกต์ มานุสสาสุระสงคราม 4 ภาค และอื่น ๆ
bulletอัลบั้มรูป ภาพในอดีตและชีวประวัติศาสตร์ที่สวยงาม
bulletจากเวบบอร์ด พูดกันไม่รู้เรื่อง ประชาธิปไตยล้าหลัง
bulletศาสนาสากล การวิเคราะห์ความหมาย
bulletปลอบใจ
dot
รวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์ แนวปฏิรูปคณะสงฆ์อยู่ในบทวิเคราะห์นี้แล้ว
dot
bulletรวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์
dot
สากลจักรวาล สากลศาสนา แนวคิดศาสนาสำหรับคนยุคใหม่ ผู้ก้าวผิดทางไปสู่สิ่งไร้สาระโดยไม่รู้ตัว
dot
bulletสากล...ศาสนา 1
bulletสากล...ศาสนา 2
bulletสากล...ศาสนา 3
bulletสากล...ศาสนา 4
bulletสากล...ศาสนา 5
bulletสากล...ศาสนา 6
bulletสากล...ศาสนา 7
bulletสากล...ศาสนา 9
bulletสากล...ศาสนา 8
bulletสากล...ศาสนา 10
bulletสากล...ศาสนา 11
bulletสากล...ศาสนา 12
bulletสากล...ศาสนา 13
bulletสากล...ศาสนา 14
bulletสากล...ศาสนา 16
dot
ส่วนข้อมูลสำคัญเพื่อการวิจัยการเมืองไทยยุค คมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
dot
bulletข้อมูลสำคัญยุคคมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่1/26ส.ค.2551
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่2/27ส.ค.2551
bulletใบปลิว อีเมล์ ในหลวงทรงร้องไห้
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 1
bulletในหลวงเพิ่งทราบข่าวฆ่าประชาชน10เมย.53ทรงร้องไห้
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
dot
รวมข่าวม็อบการเมืองสนธิ-จำลอง-ปชป.มิ.ย.51-เม.ย.52 นสพ.
dot
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 2
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 3
bulletรวมข่าวม็อบ30มิ.ย.51-23มี.ค.52
bulletเลือดศรีสะเกษบันทึกเรื่องราวรอบด้านเกี่ยวกับเขาพระวิหาร
bulletรายงานการโฆษณาชวนเชื่อในประเทศไทยที่ล้มล้างรัฐบาลทักษิณ
bulletหนังสือพิมพ์ดี ของฟรีให้เปล่ามา20ปีแล้วทั้งเอกสารและอินเทอเนท
bulletหนังสือพิมพ์ดี ( อินเทอเนต ) เล่ม 1 - 44 - ล่าสุด
bulletหน้าที่เก็บไว้
bulletมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร)
bulletวัดมหาพุทธาราม ศรีสะเกษ บันทึกเหตุการณ์
bulletสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดศรีสะเกษแห่งที่ 1
bulletเกี่ยวกับเวบไซต์ของเรา เราทำเพื่อปัญญาชนโดยแท้
bulletรวมกระทู้เด็ดจากกระดานถามตอบ
bulletคาถาอาคมไสยศาสตร์
bulletกวีนิพนธ์ใหม่
bulletศูนย์ปฏิญญาณละเลิกอบายมุข บัญชีที่ 1- 4


คำนำว่าด้วยประวัติย่อของผู้ประพันธ์ เล่าถวายสหธรรมิก

 คำนำว่าด้วยประวัติย่อของผู้ประพันธ์

เล่าถวายสหธรรมมิก

 

     นวนิยายรวมเรื่องสั้นชุด “อาลัยบาปถึงธารมโนเพชร” เล่มนี้ เป็นฉบับโรเนียว พิมพ์ครั้งที่ 2 สำหรับเป็นบรรณาการแด่สหธรรมิกโดยเฉพาะ ได้แก่ สหธรรมิกที่อยู่ในตำแหน่งงานคณะสงฆ์ เป็น เลขานุการเจ้าคณะจังหวัด เช่นเดียวกับผู้เขียน

     เรื่องสั้นชุดนี้ เป็นเรื่องสั้นชุดแรกในการประพันธ์ของผู้เขียน และที่สำเร็จผลออกมาจากป่าช้า ในขณะที่ไปอยู่ธุดงค์ในปี พ.. 2533 ทั้งหมดมี 9 เรื่อง แต่ละเรื่องใช้เวลาอ่านประมาณ 30-50 นาที อาจจัดเป็นชุดๆ เพื่อทำความเข้าใจได้ 3 ชุด คือ ชุดแรกมี 6 เรื่อง ได้แก่ อาลัยบาป, คนไม่เคย, ภาระสี่เหล่าจักรพรรดิธรรม, คนเมืองหิว, นักเลงปีนแก๊ป กับ อนุสรณ์ป่าช้าอนุสาวรีย์ลูกรัก เป็นชุดที่เขียนขึ้นในป่าช้าบ้านโพนเขวา ตำบลโพนเขวา อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ คราวที่ไปธุดงค์ อยู่สันโดษแต่เพียงรูปเดียว ระหว่าง วันที่ 7-22 มกราคม พ.. 2533 ป่าช้าแห่งนี้ เป็นป่าช้าเก่าแก่ดึกดำบรรพ์มาก มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 50 ไร่ ซึ่งนับว่ายังแคบ เมื่อเทียบกับหมู่บ้านและประชากรที่อยู่รายล้อม ใช้ป่าช้าแห่งนี้ร่วมกับนับได้ 5 หมู่บ้าน

    ส่วนชุดที่ 2 มีเรื่องสั้น ตำนานรักหนุ่มบ้านกาจสาวบ้านมโนรมย์ กับ สงครามครั้งสุดท้าย 2 เรื่องนี้ ประพันธ์ขึ้นในป่าช้าจีน คราวที่ผู้เขียนไปสืบต่องานธุดงค์วัตรจากคราวแรก ระหว่างวันที่ 13 พฤษภาคม ถึง 2 มิถุนายน พ.. 2533 ป่าช้าแห่งนี้เป็นป่าช้าจีนในจังหวัดศรีสะเกษ เป็นป้าช้าที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลมาก กล่าวคือมีอาณาเขตถึง 500 ไร่ อยู่บริเวณลุ่มฝั่งห้วยสำราญ ซึ่งไหลตลอดไปถึงแม่น้ำมูล บริเวณที่แวดล้อมป่าช้านี้มีอาณาเขตถึงประมาณหมื่นไร่ ยังมีสภาพเป็นป่า เป็นสถานที่สงบสงัดและอากาศบริสุทธิ์มาก ป่าช้าแห่งนี้ ก็คือสุสานสุขาวดี ในอำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ นั่นเอง

    ในการอยู่ธุดงค์ครั้งที่ 2 ในสุสานสุขาวดีนี้ ผู้เขียนอยู่นานถึง 20 คืน โดยมีระเบียบการพิเศษเฉพาะตนอยู่ 4-5 ข้อ ที่สำคัญคือ อยู่รูปเดียว ไม่รับบิณฑบาต ไม่ต้องประสงค์ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าไปพบปะเยี่ยมเยียน ทั้งนี้เพราะประสงค์สันโดษอย่างต่อเนื่องไปถึง 21 วัน 20 คืน รวดเดียวเลย เรื่องสั้นที่เขียนขี้นคราวนี้ มีลักษณะที่พัฒนาฝีมือไปอีกขั้นหนึ่ง ทั้งในส่วนเนื้อเรื่องที่ว่าด้วยโลกและที่ว่าด้วยธรรม ที่ว่าพัฒนาฝีมือก็หมายถึงว่าเขียนโดยพล็อตเรื่องที่กะทัดรัดขึ้น

    การอยู่ป่าช้าเป็นวันนั้น เป็นธุดงค์ข้อที่ 12 ในธุดงค์ 13 ข้อ ที่มีจุดมุ่งหมายในการชำละล้าง ขัดเกลากิเลสโดยตรง ผู้ประพันธ์นอกจากมีความประสงค์อย่างนี้แล้ว ยังมีความมุ่งหมายพิเศษอีกอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ คือต้องการฝึกฝนทางด้านวิชาภายในบางอย่าง ซึ่งคงจะมีโอกาสเล่าให้เพื่อนสหธรรมิกได้สดับในภายหลัง

                         หากเพื่อนสหธรรมิก จะได้ให้ความสังเกต จากการอ่านนวนิยาย 2-3 เรื่องก่อน คือ เรื่อง อาลัยบาป คนไม่เคย กับตำนานรักฯแล้ว จะเห็นว่า ผมได้เขียนเรื่องนี้ ในเดือน มกราคม 2533 แล้วหลังจากนั้นไม่นานา ในกลางปี พ..  2533 นั่นเอง ก็มีเรื่องคาวฉาวโฉ่เป็นข่าวทางหนังสือพิมพ์ ปรากฏขึ้นหลายกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ยืดเยื้อมาจนถึงบัดนี้ คือ ขณะที่ผมเขียนเรื่องนี้อยู่เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2534 ซึ่งก็คือ เรื่องราวของคุณนิกร กับสีกาอรปวีณา ที่เพื่อนสหธรรมิกทุกท่านคงจะได้ติดตามข่าวมาโดยตลอดแล้ว

                          สถานการณ์เช่นนี้แหละ ที่ผมผู้เขียนบทประพันธ์ ประสงค์จะสะท้อนออกมาให้เห็น ให้ได้ข้อสังเกต จากนวนิยายว่า ลักษณะงานบางอย่างที่พระสงฆ์แสดงบทบาทอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งบางอย่างที่ว่านั้น เพื่อนสหธรรมิกก็คงจะรู้ เข้าใจดีอยู่ว่า น่าจะเป็นอันตราย หรือมัวหมองต่อพรหมจรรย์ อย่างเช่นกับเหตุการณ์ทางข่าวปรากฏสมอ้างสมเรื่องในนวนิยายของผมเลยทีเดียวนั้น

                          ส่วนนวนิยายเรื่อง สงครามครั้งสุดท้าย ซึ่งของผมหมายถึง สงครามภายใน “มหาอาณาจักรใจ” ที่เพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ต่างก็มีส่วนในการรบสนามใครสนามมันอยู่แล้ว อันเป็นสงครามที่ไร้ขอบเขต ที่ยิ่งใหญ่กว่าสงครามใดในโลก แม้สงครามอ่าวเปอร์เซียที่ยังคงถล่มทะลวงกันอยู่อย่างไม่มีท่าทีจะยุติลงได้โดยง่ายในขณะนี้

                          สงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งสหรัฐอเมริกา เป็นหัวโจกฝ่ายหนึ่ง กับ อิรักเป็นหัวโจกอีกฝ่ายหนึ่ง ที่ได้ระเบิดขึ้นในเช้าวันที่ 17 มกราคม 2534 เวลาประมาณ 07.00 – 09.00 . ตามเวลาประเทศไทยเรา ด้วยการเปิดเกมส์รุกทางน่านฟ้าของสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร แล้วตามด้วยการดวนกลางอากาศระหว่าง ขีปนาวุธชั้นยอด สกั๊ด ของอิรัก กับ เพเทรียต ของสหรัฐอเมริกา อันเป็นเรื่องราวการต่อสู้ระดับโลกที่น่าตื่นตะลึง ซึ่งก็เป็นเหตุการณ์ที่ดูจะสะท้อนตอบต่อนวนิยายเรื่อง สงคามครั้งสุดท้าย ของผม แต่ของผมนั้นยุติลงด้วยสำนึกอันสงส่งแห่งความเมตตากรุณา คือสำนึกแห่ง “ผู้สร้างและผู้เลี้ยง” แต่สงครามอ่าวฯ ตั้งอยู่บนสำนึกอะไร อย่างไร ? ต่างกันอยู่ตรงนี้ อันเป็นจุดที่แบ่งแยกระหว่าง ธรรม กับ อธรรม หรือ โลก กับ โลกุตตระ ซึ่งก็คือ อำนาจ กับ ธรรม นั่นเอง

                         การแสวงหาอะไร ที่มุ่งหมายต่ออำนาจต่อความใหญ่ นั่นแหละ โลก

                         แต่อะไรเป็นธรรม แม้ความยุติธรรม นั่นและเป็น โลกุตตระ

                         ผม ผู้เขียนได้ตั้งความมุ่งหมายไว้อย่างไรในการประพันธ์ ได้บอกไว้ใน “คำนำขอผู้ประพันธ์” ในการพิมพ์โรเนียว เย็บเล่ม รวมนวนิยายเรื่องสั้นชุด อาลัยบาปถึงธารมโนเพชร นี้เพื่อส่งเข้าประกวด ตามประกาศ เรื่องบำรุงส่งเสริมวรรณกรรมเช่นนี้มาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ซึ่งในครั้งนั้น ผมได้จัดพิมพ์ออกเพียง 20 เล่มเท่านั้นเอง  ต้นฉบับที่เหลือก็ได้แจกจ่ายหรือมอบเป็นของกำนันแด่ท่านผู้สนใจบางคนบางท่านเท่านั้น สำหรับวงการเลขานุการเฝ้าในโอกาสที่ฉลองสมณศักดิ์ รจล. ชท. ของท่าน เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2533 เท่านั้น ซึ่งคราวนั้นเองที่ท่านพระครูปลัดวิโรจน์ จิตตฺวีโร เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดยโสธร ได้ท้วงขึ้นว่า น่าจะได้ถวายเพื่อนๆ เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดได้อ่านกันโดยทั่วถึงบ้าง และก็ตรงกับความคิดผมอยู่ ฉะนั้น พอปีใหม่มา ผมจึงได้วางแผนจัดพิมพ์ฉบับโรเนียวอีกครั้งหนึ่งโดยใช้ไขเดิมซึ่งยังอยู่ในสภาพดี เพราะเพิ่งผ่านงานมาเพียง 20 ก็อปปี้เท่านั้น คราวนี้ นอกจากความมุ่งหมายเพื่อแจกจ่ายเพื่อนสหธรรมิกด้วยกันเองแล้ว ผมยังเตรียมเป็นต้นฉบับส่งโรงพิมพ์ เพื่อเผยแผ่สู่ตลาดผู้อ่านทั่วไปอีกด้วย                          

                         ฉะนั้น เพื่อสหธรรมิกทั้งหลายจะเห็นว่า หนังสือฉบับโรเนียวเล่มนี้ จะมีข้อความบอกจัดประสงค์ในการจัดพิมพ์ว่า เพื่อส่งเข้าประกวดวรรณกรรมไทยบัวหลวงอยู่ ทั้งนี้ก็เพราะได้ใช้กระดาษไขชัดเดียวกันนั่นเอง

                         ต่อไปนี้ ผมจะขอเล่าเรื่องส่วนตัว ที่เพื่อนเลขานุการเจ้าคณะจังหวัด รวมไปทั้งสหธรรมิกอื่นที่รู้จัก และมีความสงสัยใคร่รู้ความเป็นมา เป็นไปเกี่ยวกับตัวผม ซึ่งอยู่ในฐานะ เพระเลขานุการด้วยกัน

                         ก่อนอื่น การที่ผมมักใช้ชื่อ ฉายาว่า พระ ร.. พยับ ปญญาธโร นั้น ก็ด้วยเหตุ พระอุปัชณาจารย์ ท่านระบุไว้อย่างนั้น และเมื่อมาเป็นผู้รับสนองงานจังหวัดคณะสงฆ์ หลวงพ่อ พระเทพวรมุนี ท่านก็ได้สั่งให้คงยศเดิม ยศนายทหารชั้นผู้บังคับกองนี้ไว้ เวลาลงนามเรียกขานก็ต้องให้เต็มลงไปว่า “พระร้อยเอกพยับ ปญญาธโร” ซึ่งเป็นธรรมเนียมฝ่ายพระซึ่งมารู้ภายหลัง ส่วนทางฝ่ายฆราวาสนั้นไม่มีข้อสงสัย เพราะยศนายทหารเป็นยศที่ พระราชทาน ถึงจักออกจากตำแหน่งราชการทหารไปสู่ตำแหน่งอื่นใด หรือ แม้ไม่มีตำแหน่งใดอีกเลย ยศพระราชทานี้ก็จะคงติดตัวไปตลอดสิ้นชีพ นอกจากนั้น เมื่อมรณภาพ ก็มีสิทธิ์ขอเพลิงพระราชทานได้อีก ไม่ต่างจากพระผู้ทรงสมณศักดิ์ชั้น พระครูสัญญาบัตรเลย

                         แต่ดูเหมือน ชื่อ ที่มีคำว่า “ร..” หรือ พระ ร..” นี่แหละที่สังเกตจากสหธรรมิก แม้ตั้งแต่แรกที่ผมได้ไปร่วมในการประชุม “พระเปรียญและบัณฑิตอาสาพัฒนา” ร่วมกับ เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดทั่วประเทศ ณ          วัดคีรีวงษ์ จังหวัดนครสวรรค์ ระหว่างวันที่ 19-21 กันยายาน 2531 ซึ่งในการประชุมครั้งนั้น ผมพร้อมด้วย           พระเปรียญและพระบัณฑิตอาสาพัฒนา จังหวัดศรีสะเกษ รวม 3 รูป ได้เดินทางไปร่วมประชุม แต่ในคราวนั้น เป็นช่วงเวลาที่ใหม่ที่สุดของผมจริงๆ ในวงการพระนักบริหารระดับจังหวัด เพราะผมเพิ่งเดินทางมาจากบ้านนอก และยังไม่ได้รับแต่งตังเป็นเลขานุการเจ้าคณะจังหวัด แต่ไปในนาม เลขานุการเจ้าคณะจังหวัด

                         ในปี พ.. 2532 ระหว่างวันที่ 3-7 กรกฎาคม 2532 การประชุมพระจริยานิเทศ ร่วมกับเพระเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดทั่วประเทศ ณ วัดโยธานิมิต อำเภอเมือง จังหวัดตราด ผมพร้อมพระจริยานิเทศจังหวัดของผม ได้ไปร่วมประชุมด้วย ผมไปคราวนี้อยู่ในฐานะเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดเต็มตัว ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมมีความภาคภูมิใจในตำแหน่งนี้อยู่มิใช่น้อย ในปี พ.. 2533 มีการประชุมระดับจังหวัดทั่วประเทศ 2 ครั้ง

                         ครั้งที่ 1  มีการประชุมพระจิยานิเทศ ร่วมกับเลขานุการเจ้าคณะจังหวัด ณ วัดป่าเลไลยก์ อำเมือง  จังหวัดสุพรรณบุรี ในระหว่างวันที่ 4-8 มิถุนายน พ.. 2533

                         ครั้งที่ 2  มีการประชุมพระเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดทั่วประเทศ ณ ห อประชุมพุทธมณฑล บริเวณพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ในระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม ถึง วันที่ 3 สิงหาคม 2533 เป็นเหตุให้มีความคุ้นเคยกันยิ่งขึ้น

                         สำหรับเลขนุการเจ้าคณะจังหวัดภาคอีสานโดยเฉพาะนั้น ได้มีการพบปะ ประชุมกันบ่อยครั้งเป็นพิเศษ อันเนื่องมาจากโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ หรืออีสานเขียว นั้นด้วยเหตุหนึ่ง ซึ่งนับเป็นกรณีพิเศษนอกเหนือไปจากเรื่องปกติธรรมดา ดังที่ทราบกันดีอยู่แล้ว เช่น ในขณะที่ผมเขียนคำนำเล่าประวัติตัวเองอยู่นี้ เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดภาคคอสานก็เพิ่งเสร็จการประชุม ณ วัดบูรพาภิราม จังหวัดร้อยเอ็ดไปหยกๆ จากนัดประชุมวันที่ 25 มกราคม 2534

                         นี้เป็นประวัติส่วนที่ผมผู้ประพันธ์นวนิยายเรื่องสั้นชุดนี้ ได้เข้ามาสู่วงการ เลขานุการเจ้าคณะจังหวัด ซึ่งก็สรูปลงได้ว่า ผมก็เพิ่งเข้ามาสู่ตำแหน่งนี้ เพียง 2 ปีเศษๆ เท่านั้นเอง กระนั้นก็มีความรู้สึกว่า ได้รับความสนิทสนม ได้การต้อนรับเป็นกันเองจากเพื่อนสหธรรมิกเป็นอย่างดี เห็นได้จาก สหธรรมิกมักให้ความไว้วางใจ มอบหมายงานพิเศษของหมู่กลุ่มให้ เป็นต้น

                         ในช่วงที่ผมได้เข้ามาสู่จังหวัด เพื่อปฏิบัติหน้าที่ของพระ เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดนั้น ผมได้พบว่างานในภาระหน้าที่เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดของผมนั้น ช่างมากมายมหาศาลเสียจริงๆ อาจกล่าวได้ว่า งานมีให้ทำตลอด 24 ชั่วโมงก็ว่าได้ ผมได้พบว่านอกจากงานสารบรรณ งานราชการสงฆ์ มีการศึกษา สาธารณูปการ เผยแผ่ และการปกคลอง แล้วยังมีงานต้อนรับปฏิสันถารและบริการทุกชนิด ที่พิเศษในขณะนั้นก็คือ งานปรนนิบัติหลวงพ่อซึ่งขณะนั้นท่านมีสุขภาพทรุดโทรมลงไปเป็นอันมาก ผมต้องต้องคอยติดตาม ติดตัวไปกิจต่างๆ ไม่ว่าส่วนตัวหรือราชการสงฆ์ ไม่ได้เว้นตราบจนท่านค่อยดีขึ้นบ้างแล้ว

                         ผมได้ความรู้รวมๆ จาการวิเคราะห์วิจัยปัญหาที่ได้พบได้เผชิญในขณะนั้นว่า คณะสงฆ์กำลังเผชิญปัญหาด้านการปกครองและการบริหารอย่างมากมาย โดยเฉพาะระบอบการปกคอรงของคณะสงฆ์ซึ่งยังคงเป็นระบอบดั้งเดิมสุดกู่อยู่จริงๆ ในขณะที่สิ่งแวดล้อมเป็นเสรีประชาธิปไตยจนเลยเถิดไปหลายขั้นแล้ว แต่อย่าเพิ่งให้ผมพูดถึงเรื่องนี้เลย ขอพูดเฉพาะเรื่องงานในหน้าที่เลขานุการคณะสงฆ์สักหน่อยว่า แท้จริงเป็นงานแบบราชการบ้านเมือง ที่ผมผ่านมาอย่างชอกชอนแทบทุกด้านทุกทางมาแล้วนั่นเองเป็นงานเท่ากับหน้าที่ของข้าราชการคนหนึ่งแท้ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าประหลาดสำหรับผม แต่นี้แหละที่เป็นเหตุให้ “พรหมจรรย์” ถูกระราน

                         มีงานในหลายลักษณะในภาระหน้าที่ของสงฆ์สมัยใหม่ ที่จิตสำหนึกผมบอกว่า น่าจะเป็นอันตราย เช่นงานติดต่อประสานงานกับตัวบุคคล หรือร่วมงานกับฝ่ายบ้านเมือง หรือ ฝ่ายโลกฯ ที่ทำให้สูญเสยสภาวะ สันโดษ วิเวก การไม่คลุกคลี และ พรหมจรรย์ มักถูกรบกวนระรานจากผู้ที่เกี่ยวข้องบางประเภท โดยเฉพาะ “สตรี” ซึ่งโดยภาระหน้าที่งานพระเลขานุการนั้น มักจะหลีกเลี่ยงได้โดยยาก

                         ด้วยเหตุนี้ ผมจึงมีมติภายในใจอยู่เงียบๆ ในการที่จะต้องรักษาตัวให้สะอาดบริสุทธิ์ และในทางที่จะต้องพัฒนาตัวเองในด้านวิชาการ อันเป็นธรรมะ ล้วนๆต่อไป ผมหมายถึงฝ่ายจิต จิตล้วนอันเป็นวิโมกข์ธรรม รวมไปทั้งด้านการพัฒนาสาขาวิชาต่างๆ อันพระพุทธธรรม หรือ นอกพระพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องด้วย ก็เลยเป็นเหตุให้ผมระรึงถึง ป่าช้า ซึ่งหลวงพ่อของผมเห็นว่าเป็นความคิดที่น่าสนับสนุน และอนุญาตให้ผมดำเนินการได้ ฉะนั้น         ในปี พ.. 2533 ผมจึงได้เข้าไปอยู่ป่าช้าถึง 2 ครั้ง ครั้งแรก อยู่ระหว่างวันที่ 7-22 มกราคาม 2533  ป่าช้าไทย 15 คืน ครั้งที่ 2 อยู่ระหว่างวันที่ 13 พฤษภาคม ถึง 2 มิถุนายน 2533 ป่าช้าจีน 20 คืน

                         และในระหว่างนั้นแหละ ที่ผมได้เขียนนวนิยายชุดนี้ขึ้นมา เป็นของแถมจากผลประโยชน์โดยตรง คือผลประโยชน์ใจ อันเป็นประมัตถประโยชน์ เพราะป่าช้านั้นเป็นสถานที่สำหรับปลงกัมมัฏฐานอย่างไร เป็นธุดงค์อย่างไร เพื่อนสหธรรมิกก็คงจะเข้าใจ และคงจักได้เคยไปอยู่ปฏิบัติทุกๆท่านอยู่บ้านแล้วไม่มากก็น้อย ซึ่งสำหรับผมนั้น ป่าช้า เป็นสถานที่ผมได้พบความสงบสงัด วิเวก อันเป็นความสุขสบายใจเป็นอันมาก ในเวลากลางคืน ดึกสงัด ผมชอบที่จะออกจากกลด ท่องเที่ยวไปในบริเวณโดยรอบ ในท่ามกลางความมืดสลัวราง ที่ไม่มืดสนิท เพราะ             มีแสงดาว เป็นตัวผม เหมือนมีเสียงกระซิบที่ยินดีต้อนรับ ของดวงวิญญาณ ผู้ล่วงลับนับร้อยนับพันดวงก็ไม่ปาน ถ้าเพื่อนสหธรรมิก ยังไม่เคยไปปักกลดธุดงค์ในป่าช้าละก็ ผมขอเสนอแนะว่า ขออย่าได้ละโอกาสในขณะที่อยู่ในเพศบรรพชิตนี้เลยนะครับ แต่ขอให้ไปอยู่อย่างสันโดษจริงๆ ไม่ควรไปเป็นกลุ่ม ควรไปเพียงรูปเดียวโดดๆ และควรเลือกป่าช้าที่เงียบสงัด หรือผีดุจริงๆ คนจะได้ไม่พลุกพล่านเพราะช่วงเวลาแห่งการธุดงค์ป่าช้านั้น ควรเป็นวาระของการสะสางจิตใจให้ไร้กังวลโดยแท้จริง แล้วจักได้พบกับสิ่งที่เป็นอมฤตล้ำค่า ที่ไม่มีอะไรในโลกจะเปรียบปานได้  เพราะเรื่องการธุดงค์นั้นสหธรรมิกทั้งหลายก็คงจะเข้าใจดีในทางความหมายทฤษฎีและปฏิบัติ ตามพระธรรมวินัยที่แท้ ซึ่งผมเองนั้นได้เห็นคุณประโยชน์ ได้มีประสบการณ์ ส่วนที่เป็นความนึกคิดจริงๆของผมนั้น ผมคิดว่าผมเป็นพระผู้อยู่กับธุดงค์ ผมรู้คุณค่าของธุดงค์ และขอชักชวนมาสู่ธุดงค์ และขอให้ปฏิบัติอย่างเป็นวัตร เช่นเดียวกับการปฏิบัติกับมัฏฐานอย่างอื่น เพราะหามมิเช่นนั้นแล้ว เมื่อเกิดปัญหาเกิดขึ้น จะแก้ไขได้อย่างไร ?

                         เรื่องประวัติของผมก่อนบวชนั้น ถ้าจะให้เล่าโดยละเอียดแล้ว ก็สามารถจะแบ่งแยกเป็นระยะๆ ได้หลายระยะ แต่ละระยะ ล้วนเป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลง นับตั้งแต่ระยะแรกเริ่มของชีวิตวัยเด็ก ที่ผมเป็นทารกในครอบครัวครู เป็นบุตรคนที่ 2 เป็นบุตรชายหัวปี

                         เรื่องที่ประทับใจผมมาจนถึงบัดนี้ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยทารกก็ว่าได้ ขณะนั้นกำลังตั้งไข่ เริ่มเดินได้ต้วมเตี้ยมๆ ยังไม่ทันรู้จักสวมใส่เสื้อผ้า   ก็ได้สัมผัสกับอารมณ์แห่งความสิ้นสุดหรือารมณ์แห่งการจากพรากแล้ว เมื่อ ผมมักชอบมองดวงตะวันที่ค่อยคล้อยตกดิน ในขณะที่มันแดงโร่ดุจจะแตะที่พื้นโลกด้วยตะวันตก พอเดินแข็งขึ้น ได้ตามพ่อไปทุ่งนาเวลาเช้าตรู่ หน้าฤดูหนาววันหนึ่งผมก็ได้สัมผัสอารมณ์เย็นอันลุ่มลึก ยามเมื่อยืนมองดอกบัวที่บานไสวในสระน้ำอันเยือกเย็นใสสะอาดแห่งหนึ่ง ซึ่งความประทับใจ อันเป็นนามธรรมที่ล้ำลึกส่วนตัวเช่นนี้แหละได้เสริมความเชื่อในเรื่อง บุญนำกรรมแต่งของผม ครั้งเติบโตมาให้มั่นใจยิ่งขึ้น

                         ในเวลาต่อมาอีกเล็กน้อย ที่ผมเติบโตมาอีกสักหน่อย ได้มีอุบัติเหตุอย่างหนึ่งเกิดขึ้นกับผม เป็นเวลาเช้าแม่ผมเป็นครูจะไปโรงเรียน ผมร้องไห้ตามไป ขณะนั้นแม่ลงกะไดไปแล้ว ผมเดินเตาะแตะๆมาที่กะได แล้วก็วูบหวิวหมดความรู้สึกไม่รู้ตัวว่าได้เกิดอะไรขึ้น ครั้นโตแล้วจึงได้ฟังเขาเล่าว่า ผมตกลงจากเรือนชั้นบน แล้วพอดีน้าชายของผมฉวยได้หวดนึ่งข้าวเหนียวที่วางอยู่แถวๆนั้นรับไว้ได้ทัน ผมตกลงไปที่ก้นหวดพอดิบพอดี จึงไม่คอหักตายเสียแต่คราวนั้น จึงได้เติบโตต่อมา

                         ผมจำได้ดีกว่า ผมเป็นเด็กที่ไม่ชอบพูด และไม่ชอบสุงสิง เล่นหัวกับใคร วันหนึ่งๆไม่ค่อยได้เอ่ยอะไรออกมาเลย มีอะไรหรือไม่มีอะไรก็ไม่แสดงออกอยู่ในใจหมด แต่ผมก็ไม่ใช่คนซีเรียสอะไร จิตใจใบหน้ามักแสดงความปีติ ยิ้มง่าย รื่นเริง เป็นคนว่านอนสอนง่าย ยำเกรงระเบียนแบบแผน เคารพในประเพณี ยำเกรงผู้ใหญ่ คนแก่เฒ่ามีความกลัวพระสงฆ์ ไม่กล้าเข้าไปใกล้ๆ มีความไวในความสะเทือนต่อความสุขความทุกข์ของผู้อื่น จึงชอบช่วยเหลือผู้อื่น โดยเฉพาะคนยากจน มาแต่เป็นเด็ก เป็นผู้บำเพ็ญทาน การให้มาแต่ต้นแล้ว

                         เมื่อผมเรียนจบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 ปีสุดท้าย ผมได้ทุนหลวงไปเรียนต่อชั้นมัธยมในตอนนั้น ผมได้ชื่อว่าเป็นนักเรียนทุนหลวงที่เป็นเกียรติยศพอสมควร ของโรงเรียน “ศรีสะเกษวิทยาลัย” ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดศรีสะเกษ ขณะนั้นตลอด 6 ปีที่ใช้ชีวิตอยู่ในเขตเมืองศรีสะเกษช่วงนี้ ผมก็ได้มีมิตรสหายมากมาย ที่ต่อมาจนถึงขณะนี้เป็นเพื่อนร่วมรุ่นคราวนั้นต่างเป็นครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ เป็นครูกันเป็นส่วนมาก ในขณะที่เพื่อนร่วมรุ่นชั้นประถมศึกษาของผมส่วนมากเป็นชาวไร่ชาวนา เป็นกรรมกรกัน มีสุขมีทุกข์แตกต่างกันไปตามสถานะ

                         ทางดำเนินชีวิตของผมตั้งแต่วัยเยาว์มาแล้ว จะต้องผ่านการสอบแข่งขัน การช่วงชิงทางวิชาความรู้มาโดยตลอด นับแต่ผ่านการศึกษาระดับประถมซึ่งขณะนั้นสูงสุดแค่ประถมปีที่ 4 เป็นต้นมาแล้วก็เริ่มต้น การแข่งขันช่วงชิง กันไปไม่มีหยุดหย่อน แม้กระทั่งที่ผมได้เป็นนักเรียนทุนหลวงนั้น ก็ได้ด้วยการสอบแข่งขันช่วงชิงที่ว่านี้ แล้วไปสอบแข่งขันเข้าเรียนต่อมัธยมศึกษา แล้วไปสอบแข่งขันในระดับ เตรียมอุดมศึกษา หรือซึ่งขณะนั้นยังเรียกว่ากันชั้นมัธยม 7-8 อยู่ ในความหมายที่เข้าใจกัน แล้วก็ถึงระดับอุดมศึกษาที่เรียกว่า สอบเอนทรานซ์ (ENTRANCE) นั้นแหละ ผมก็เอ็นทั้งระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท เรียกว่าสำหรับผมแล้ว “สิ่งที่ได้มาเปล่า ย่อมไร้เหตุผล” คตินี้ ผมได้พบจาก การ์ตูนนิยายเรื่อง พระถังซัมจั๋ง เป็นดำรัสของ พระเซ็กเกียมองนิฮุดโจ๊ว พระพุทธเจ้า ขณะนั้นเรียนอยู่มหาวิทยาลัยแล้ว มีความประทับใจมาก จริงซิ สิ่งที่ได้มาเปล่าๆ ย่อมไปชอบด้วยเหตุและผลโดยแท้ ต้องได้ด้วยความสามารถ ด้วยความมานะพยายามด้วยสติปัญญา ความรู้ นั่นแหละ นำผมไปสู่สนามแข่งขันด้านวิชาความรู้มาโดยตลอด แล้วก็มาถึงการแข่งกันนอกรั้วมหาวิทาลัย คือ การสอบแข่งขันเข้ารับราชการ แล้วผมก็ยุติชีวิตการสอบแข่งขันลงนะจุดนี้ ปฏิญาณไว้ ณ จุดนี้ ว่าจะไม่ไปสอบแข่งขันกับใครที่ไหนต่อไปอีกเลยชั่วชีวิต ทั้งนี้ ไม่ใช่ผมผิดหวังในการสอบแข่งขัน ก็หาไม่ หากแต่ผมไม่ได้เคยผิดหวังในการสอบแข่งขันเลย จนแม้กระทั้งการสอบเข้ารับราชการ ครั้งสุดท้ายดังกล่าว ผมก็คงดำรงความชนะอยู่นั่นเอง หากแต่ตอนนั้นผมได้เกิดความรู้สึกขึ้นมาในขณะที่นั่งอยู่สนามสอบ ว่าทำไมคนอย่างผม จะต้องมาแกร่งแย่งอะไรๆกับเขาด้วย คราวนั้น ผมสอบเข้าราชการได้ถึง 2 แห่งพร้อมๆกัน แต่ด้วยความคิดนี้ ผมจึงสละหมด พร้อมปฏิญาณดังกล่าว คือจะไม่ไปแข่งขัน เพื่อการแกร่งแย่งใครต่อไปอีกแล้ว

                         เรียนจนชั้นมัธยมปีที่ 6 ซึ่งเป็นระดับการศึกษาที่สูงสุดในจังหวัดศรีสะเกษ ขณะนั้นในเดือนเมษายน ผมได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพราะอันเป็นแดนสวรรค์ที่ร่ำลือกันสมัยนั้น โดยเฉพาะได้ชนบท ผมได้เข้าไปเตรียมสอบการแข่งขันเข้าโรงเรียนเตรียม และตั้งแต่นั้น ผมก็ได้อยู่กรุงเทพฯ เป็นชาวกรุงเทพตลอดมา นับเวลาที่ใช้ชีวิตอยู่กรุงเทพฯก็ได้ถึง 25 ปี นับถึงเวลาที่ผมได้สละทุกสิ่งทุกอย่างในเพศฆราวาสออกบวช ในปี พ.. 2526 ที่จังหวัดกาญจนบุรี แล้วได้หวนกลับมาสู่มาตุภูมิและอยู่มาจนถึงวันนี้ แม้ว่า แท้จริงไม่ได้มีความตั้งใจเช่นนี้เลยแม้แต่น้อย

                         เพื่อนร่วมรุ่นของผมขณะเป็นชาวกรุงเทพฯมีมากมายหลายรุ่นหลายแผนกจริงๆ

                         นับแต่รุ่นที่มีความภาคภูมิใจสูงสุด คือ รุ่นเตรียมอักษรศาสตร์ ห้องพระราชา 226                                   ( KING’S ROOM 226 ) แผนกอักษรศาสตร์ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพญาไท ที่สมัยนั้นได้เรียกกันติดปากว่า เตรียมจุฬาฯ ซึ่งผมได้เล่าเรียนต่อมาเป็นเวลา 2 ปี

                         จากนั้นก็ เพื่อนๆในระดับมหาวิทยาลัย อันเป็นช่วงชีวิตที่ผมได้ร่ำเรียน และมีประสบการณ์มากมายและต่อเนื่อง

                         ผมได้ศึกษาต่อในสาขาวิชา วารสารศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่เกี่ยวกับการสื่อสารมวลชน ที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างสูงสุดในขณะนี้นั่นเอง เพื่อนร่วมรุ่นของผมมีมาก โดยเฉพาะในการร่วมกิจกรรมในและนอกหลักสูตรในระหว่างการศึกษา ศึกษาผมเองก็ได้ผ่านกิจกรรมมาตลอดชีวิตนักศึกษา นับตั้งแต่เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการ น... มหาวิทยาลัย ในขณะนั้น ที่การปฏิบัติการ ดูเป็นเรื่องที่น่าสนุกสนาน เป็นเกมส์ที่มีชีวิตชีวาไปเสียหมด และที่ผมภาคภูมิใจมาก ก็คราวเป็นบรรณาธิการนิตยสารยูงทอง ของแผนกวิชาการวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในขณะนั้น เพราะได้ปฏิบัติงานกับเพื่อนๆร่วมอุดมการณ์กันอย่างใกล้ชิด ในระหว่างเพื่อนผู้รักและหอมกลิ่นหมึกพิมพ์ด้วยกันแท้ และหนังสือของผม ก็เป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมมาก โดยเฉพาะฉบับที่ออกในเทศการณ์ ฟุตบอลประเพณี จุฬา - ธรรมศาสตร์ ยูงทองฉบับนั้นที่มีคุณ อาภัสรา หงส์สกุล        ( อดีตนางงามจักรวาล) เขี่ยบอล เป็นภาพปกในปกที่ออกชมพู ฉบับนั้น เป็นหนังสือสำหรับ นิสิต นักศึกษาทุกคนก็ว่าได้ ที่ขนออกเท่าไรๆก็หมดเกลี้ยงโรงพิมพ์ ตามท้องถนนที่ดารดาษด้วยสีชมพูกับเหลืองแดงวันนั้น ทุกมือจะถือยูงทองของผม โบกโบยปฏิสันถารกันไปมาเห็นพลิวไปหมด ดุจเป็นสัญญาลักษณ์อย่างหนึ่ง โดยเฉพาะของงานบอลประเพณีปีนั้น แล้วพวกเราผู้ร่วมทีมทำหนังสือก็มานั่งจับกลุ่มกันเงียบๆ ส่วนผม ได้ระลึกเต๋าบทหนึ่งว่า ลาภยศ สรรเสริญเหมือนเมฆที่ลอยผ่านในความรู้สึกของข้าพเจ้า

                         นั่นเป็นภาพแห่งความสำเร็จและภาคภูมิใจอันยิ่งใหญ่มากสำหรับผมและคณะร่วมทีมบรรณาธิการ ครั้งนั้น กิจกรรมดังกล่าวนี้ มีส่วนให้ผมได้รับการพิจารณาให้ได้รับทุนการศึกษาของมูลนิธิวิชาการหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยด้วยคนหนึ่งในปีนั้น

                         จบการศึกษาชั้นปริญญาตรี ด้วยความรู้เชิงทฤษฎีและปฏิบัติพอสมควรแล้ว ผมก็มุ่งเข้าจับงานหนังสือพิมพ์อาชีพต่อมาเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งผมก็ได้คบหาสมาคม มีเพื่อนที่เป็นนักหนังสือพิมพ์อีกมากมายหลายคน ร่วมมีชื่อเสียงเป็นปลายปากกาอันฉกาจคมกริบอยู่ในขณะนี้ก็มีหลายคน แต่หลังจากนั้น ผมได้ออกจากงานหนังสือพิมพ์ เพราะด้วยอุดมการณ์อันบริสุทธิ์เกินไปของผม ทำให้หน่าย แล้วมาสอบเข้าแข่งขันเรียนต่อ             คณะรัฐประศาสนศาสตร์ หรือ วิชาการบริหารชั้นปริญญาโทสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ ได้ศึกษาไปจนจบหลักสูตรข้อเขียน คณะรัฐประศาสนสาตร์แล้ว ก็ยุติชีวิตการศึกษาลง ในขณะนั้น ผมได้ทำงานสำนักวิจัย ในสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์นั่นเอง ทำหน้าที่เป็นนักวิจัย ซึ่งผมได้ปฏิบัติทุกขั้นตอนงานการวิจัยตามโครงการ ของสำนักขนาดนั้น งานการเก็บข้อมูลสนามในต่างจังหวัด ที่ภาคอีสาน ที่มีเวลาปฏิบัตินานถึง 1 เดือนเต็ม ให้ได้ประสบการณ์พิเศษๆหลายอย่างแก่ผมในช่วงชีวิตขนาดนั้น วัยนั้นอย่างมากมาย

                         ผมมาอยู่ในวังสวนกุหลาบและปักหลักอยู่ที่นี่ตลอดมา ก็ตอนที่ไปๆมาๆ ขณะที่เรียนชั้นปริญญาโทอยู่  นิด้า นั่นเองและในช่วงนี้แหละ ที่ผมเริ่มจะรู้สึกว่า ผมนั้นมีสายเลือดอีสานเพราะเริ่มรู้สึกว่า จิตสำนึกอันเร้นลึก ได้พะวงอยู่กับรสส้มตำมะละกอ ชนิดเผ็ดๆแบบอีสาน นานๆได้ระยะ ก็อดเที่ยวไปนั่งแถวๆปั๊มน้ำมันไม่ได้ ในระหว่างนี้แหละที่ผมเริ่มได้เข้ามามีบทบาทด้านงานสังคม และมวลชน ตั้งแต่เริ่มจัดตั้งญาติพี่น้องในตำบลบ้านเกิดเดียวกันขึ้นจนเป็นหลักฐานด้วยผลงานทอดผ้าป่ามาทุกปีๆ แต่สมัยนั้นทอดช่วยโรงเรียน พวกผมสามารถทำได้จนครบทุกโรงเรียนในตำบลอี่หล่ำ บ้านเกิดขณะนั้น แล้วผมก็ได้เข้าไปร่วมงานเพื่อนหนุ่มรุ่นเดียวกันในกรุงเทพมหานคร บุกเบิกงานจับรวมกลุ่มพี่น้องชาวศรีสะเกษในกรุงเทพมหานคร ที่สืบเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้คือ “ศรีสะเกษรำลึก” แล้วเริ่มงานก่อตั้งสมาคมชาวศรีสะเกษกรุงเทพฯ ต่อมาจนได้มีการจดทะเบียนก่อตั้งสมาคมเสร็จสิ้นลงโดยรีบร้อย งานสังคมในระยะดังกล่าวนี้แหละเป็นงานที่ผมได้ปฏิบัติอย่างเสียสละชนิดที่สิ้นเนื้อประดาตัว แต่คนภายนอกไม่รู้ซึ้งไปอย่างนั้น นั่นแหละเป็นลักษณะของผม ที่มักได้เริ่มรับงานบุกเบิก งานใหม่ งานใหญ่ และงานอุดมการณ์ และครั้งงานสำเร็จเสร็จสิ้นลงแล้ว ผมก็มักไม่อยู่เสวยผล ด้วยถืออุดมการณ์ว่าทำเพื่อประโยชน์ผู้อื่น แต่สมาคมชาว        ศรีสะเกษกรุงเทพฯทุกวันนี้ ก็คงมีอยู่บ้างทำจำผมได้ โดยเฉพาะ ท่านนายกสมาคมชาวศรีสะเกษเอง

                         กลับมากล่าว วังสวนกุหลาบขนาดนั้น เป็นที่ตั้ง สำนักงานปฏิบัติการจิตวิทยาแห่งชาติเป็นงานส่วนอำนวยการด้านนโยบาย สังคมจิตวิทยา โดยคติว่า เป็นพลังอำนาจแห่งชาติ อีกพลังหนึ่งที่ระดับชาติจะต้องวางนโยบายให้สอดคล้องกับนโยบายหลักในด้านอื่นและในระดับที่เป็นที่สนใจอยู่มากในขณะนั้นคือ ไซอ๊อพท์           (PSYOPT : Psychological Operations) ที่สนับสนุกการปฏิบัติงานด้านการปรามปราบคอมมิวนิสต์ ในเวลานั้นนั่นเอง ซึ่งต่อมา เมื่ออาคาร  6 ชั้น ในสวนรื่นฤดีในได้สร้างเสร็จลงแล้ว สำนักงานปฏิบัติการจิตวิทยาแห่งชาติ ได้ย้ายเข้าไปตั้งในสวนรื่นฤดี ร่วมกับ กองอำนวยการป้องกันและปรามปราบคอมมิวนิสต์ (กอ.ปค.) ซึ่งมี                      ฯพณ ฯ จอมพลประภาส จารุเสถียร เป็น ผอ. ปค. อันเป็นช่วงเวลาของงานเร่งเอาจริงกับการปรามปราบคอมมิวนิสต์

                         เหตุผลที่ผมชอบงานในลักษณะนี้นั้นมีมากโดยเฉพาะในด้านอุดมการณ์กายใน และอีกอย่างหนึ่งก็คือเพราะได้มีโอกาสที่จะศึกษาทางด้านปฏิบัติการจิตวิทยาในแบบทางทหารที่สนับสนุนการปฏิบัติการรบ หรือ สงครามจิตวิทยา (Psychological Warfare)  ได้โอกาสที่จะศึกษาลัทธิคอมมิวนิสต์ในฐานะสาสนาอีกศาสนาหนึ่ง นอกไปจาก คริสต์, อิสลาม, ฮินดู, รวมไปถึงทั้ง เต๋า, ซิกส์ หรือสาสนาบาไฮ ที่ผมได้มีความสนอย่างลึกซึ้ง และศึกษามาบ้างแล้วในขณะนั้น    

                         ความสนใจศึกษาในลักษณะเช่นนี้แหละที่น้อยคนนักจักได้รู้ถึงความมุ่งมั่นมานะของผมเพราะเป็นการปลีกตัวออกไปศึกษาอย่างเงียบเชียบ สำหรับคริสต์ ผมได้ศึกษาทางไปรษณีย์ ทั้งภาคภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แล้วยังศึกษาซ้ำอีกเลย ด้วยความซึ้ง จนได้ประกาศนียบัตรภาษาอังกฤษถึง 2 แผ่น สำหรับบทศึกษา ไบเบิล : The Gospel According To John ส่วนศาสนาใหม่ บาไฮ ตอนนั้นเขามีการโฆษณามาก ผมก็ได้รับความสะดวกหลายประการในการศึกษา ไม่ว่าจะต้องการตำรับตำรา เขาก็จัดส่งมาให้ทั้งนั่น ช่วงนั้น ผมได้แอบไปซอยหลังสวนอยู่หลายครั้งไป เข้าร่วมประชุมสมาชิก ตามจดหมายที่เขาส่งนัดหมายไป ซึ่งไปทีไรก็ได้รับต้อนรับอย่างเสียวๆจากเจ้าหมาตัวใหญ่ สูงถึงบั้นเอว ของ มิสส์ ชิริน ฟอสดาร์ ทุกคราวไป เรื่องการศึกษาศาสนานี้ ต่อมาผมได้มีโอกาสดี ได้ศึกษาศาสนาคริสต์อย่างระเอียดระออมากอยู่เป็นเวลาร่วม 6 เดือน จึงได้จบเสร็จลง โดยรู้สึกว่า ได้ข้อสรุปแล้ว สำหรับศาสนาที่มีพระเจ้าทั้งหมด ขณะนั้น ก็มีเหลือ ที่ผมคิดว่าเหลืออยู่ เพราะยังไปไม่ถึงที่สุด ก็คือ พุทธศาสนา ซึ่งผมได้มุ่งมั่นต่อไปที่จะ พิสูจน์สัจธรรม ที่ พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ ให้สิ้นสงสัย ฉะนั้น จะเห็นว่า การศึกษาของผมเป็นไปในลักษณะที่ต้องการพิสูจน์ เป็นหลัก ไม่ใช่ว่าต้องการที่จะอยาก เป็นนั่นเป็นนี่ หรืออยากพ้นนั่นพ้นนี่ก็หาไม่

                         ในช่วงเวลานั้น ผมได้ทุ่มเทชีวิตให้กับสิ่งที่เรียกว่า อุดมการณ์ ไปทั้งหมดแล้วก็ว่าได้ เพราะด้วยอุปนิสัยน้อมมาแต่เด็กๆ และได้เข้มข้นจริงๆ มาตั้งแต่ได้เข้าศึกษาในปีต้นๆ ของมหาวิทยาลัยแล้วด้วยซ้ำ ประกอบกับสถานะทางครอบครัวผม ได้เปิดโอกาสให้ความอิสระแด่ความคิดและการกระทำ แก่ผมเป็นอย่างมาก ฉะนั้น ในความนึกคิดของผม จึงไม่ค่อยเห็นว่าเรื่อง ลาภ ยศ สรรเสริญ และ สุข อย่างโลกๆจะมีความหมายมาก และในช่วงเวลานั้นแหล่ะที่ผมได้สระตำแหน่งทางราชการที่ผมสอบแข่งขันได้ ทั้งที่ ก.. และ ก... รวม 2 แห่งเสียอย่างง่ายๆ ไม่อาลัย แค่เพียงคิดว่าสละให้อื่น ผู้ซึ่งจักได้ความปราบปลื้มยินดี ที่ได้งานโดยไม่คาดฝัน ได้เป็นหลักเป็นฐานแห่งหน้าที่และชีวิตครอบครัว ได้ประกอบอาชีพที่ก้าวหน้า และมีเกียรติ อันเป็นการ ทำทานอีกวิธีหนึ่ง ในขณะที่ตัวเอง ก็ไม่เห็นจะประหลาดใจอะไร ที่จะดำรงตำแหน่ง ลูกจ้างชั่วคราวในสวนรื่นฤดีต่อไปถึง 7 ปี

                         ที่ผมสละตำแหน่งทางราชการนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับนามธรรมภายในจิตใจที่กว้างใหญ่ลึกซึ้งมากสำหรับผม และไม่แต่เพียงเท่านั้น ต่อมาผมยังได้ตั้งปณิธานไว้อีกว่า จะไม่ไปสอบแข่งขันที่ไหนอีก ถึงแม้จะไม่ได้เป็นข้าราชการตลอดชีวิตก็ไม่เป็นไร เพราะขณะนั้น ได้เกิดละอายใจกับการที่ต้องไปแย่งชิงกับเขา แต่ราวกับ           บุรพกรรมกำหนดมา ในปีที่ 8 มานั่นเอง รัฐบาลได้ยกฐานะสำนักงานของผมขึ้นเป็นหน่วยงานทหาร สังกัดกองบัญชาการทหารสูงสุด มีสำนักงานที่มั่นคง ณ อาคาร 604 บริเวณสนามเสือป่า ผมจึงได้เป็นข้าราชการ       กลาโหมพลเรือน ไปฝึกทหารและเป็นทหารประจำการ โดยไม่ต้องไปสอบแข่งขัน หรือวิ่งเต้นในอาการที่แก่งแย่งกับใคร และผมได้เป็นทหารอยู่ที่นี่เป็นเวลานานถึง 6 ปี จึงได้ลาออกจากราชการเพื่ออยู่ในเพศนักบวช อยู่ในธรรมตลอดชีวิตและตลอดไปชั่วฟ้าดินสลาย และเพราะเหตุนี้แหละ ยศทางทหารชั้นผู้บังคับกอง “ร้อยเอก” จึงติดตัวผมมา ทำให้เป็นที่สังเกตพิเศษของสหธรรมิกแต่แรกเริ่มรู้จักกันเลยทีเดียวขณะที่ผมสละตำแหน่งออกบวชนั้น ผมมีอายุ     40 ปีพอดี

                         ชีวประวัติของผม ยังมีรายละเอียดหลายแง่หลายมุมที่น่าสนใจยิ่งกว่านี้ โดยเฉพาะในด้านนามธรรม สำหรับช่วงที่ลาราชการออกบวชนี้ ขอชี้แจงเพิ่มเติมไปสักเล็กน้อยว่า ก่อนการยื่นใบลาออกเป็นลายลักษณ์อักษร ได้เคยปรารถนาด้วยวาจากับผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานที่สนิทเพื่อที่จักเข้าใจเหตุและผลที่ขอลาออกว่า เพื่อสนองความประสงค์แห่งนามธรรมภายในจิตใจโดยแท้จริง หาได้มีความรังเกียจหรือผิดหวังในสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ว่าในด้านการงาน การสมาคม หรือแม้ในด้านชีวิตความรักความใคร่ ก็หามิได้ ซึ่งผู้บังคับบัญชาก็หาเชื่อในคำพูดในทันทีไม่หากได้ปราม ระงับยับยั้งไว้ เพื่อดูจิตใจอยู่เป็นเวลา 1 ปีล่วงไปแล้ว จึงยินยอมอนุมัติให้ยื่นใบลาออกเป็นลายลักษณ์อักษร ทำให้เป็นที่พอใจกันทั้ง 2 ฝ่าย โดยเฉพาะผมเองพอใจที่มิได้หักหาญ เพราะการบวชของผมนั้น เป็นของจำเป็น ใครจัดขัดขวางไรก็จักมิอาจขัดขวางได้ คล้ายดั่งผลไม้ที่สุกจนงอมแล้ว ใครจักห้ามมิให้หล่น ซึ่งกรณีของผู้บังคับบัญชานี้ก็คล้ายคลึงกับกรณีของโยมแม่ หากแต่กรณีของโยมแม่ให้เวลาไว้นานกว่านั้น ให้เวลาไว้ถึง 2 ระยะ คือย่างยาวให้เวลาไว้ตั้งแต่ปีพุทธศักราช  2512 ซึ่งเป็นปีที่ผมขอบวชจากโยมแม่ครั้งแรกแต่ไม่ได้สมใจปรารถนา ต่อมาปี พ.. 2523 เมื่อเวลาล่วงมาอีก 11 ปี ผมจึงขอบวชอีกครั้งเป็นครั้งที่ 2 และได้รับอนุญาตอย่างมีเงื่อนไขใน     ปี 2525 เมื่อเงื่อนไขนั้นสิ้นไปแล้ว น้องชายคนสุดท้องของผมได้รับราชการและแต่งงานเป็นครอบเป็นครัวแล้ว เป็นหลักฐานเช่นกับพี่ๆ เขาทุกๆคนแล้ว ผมก็ได้บวช เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พุทธศักราช 2526 ณ วัดบ้านถ้ำ           ตำบลเขาน้อย อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี วัดที่ผมเลือกเอง จากหนังสือรวมรายชื่อวัดทั่วประเทศ

                         ในอีกแง่หนึ่งที่เพื่อนๆ สหธรรมมิกมักถามก็คือเรื่องครอบครัว

                         ผมเป็นโสดมาตลอดชีวิต แต่ใช่ว่าผมจะไม่รู้รสชาติของชีวิต และใช่ว่าโลกจักไม่พิสมัยหรือผมพิสมัยในโลกก็หาไม่ ตรงกันข้าม ผู้ได้ศึกษาโลก รู้โลก และเจนโลกในแทบทุกแง่ทุกมุม เพื่อนๆอาจไม่นึกเฉลียวว่า คนอย่างผมจะเคยเป็นมือปืน (Gun’s Man) ประจำตัวบุคคลสำคัญระดับที่มีชื่อเสียงทั่วโลกท่านหนึ่งมาแล้ว ซึ่งโดยภาระนี้ที่ได้เปิดโอกาสที่พิเศษไปอีก ให้ผมได้ศึกษาโลกในมุมต่างๆทุกๆมุม  แม้มุมที่มืดที่สุด มุมที่ราคีคาวที่สุด ผมจึงได้ชื่อสมญาว่า “คนโตตัวเล็ก” ในขณะนั้น หากแต่ว่าอุดมการณ์ภายในของผมกร้าวแกร่งแข็งแรงมาก แม้จะอยู่ในโลกล่องลอยไปตามโลก แต่หาได้ตกเป็นทาสของโลกไม่ มีการสังคมกับโลกแต่หาได้นิยมโลกเอาอย่างโลกไม่ ในขณะเดียวกัน ธรรมได้เข้าครองภายภาคจิตใจ เป็นสิ่งชักจูงสู่อุดมการณ์ ผู้ทำหน้าที่ยึดยื้อมาโดยตลอด จนกระทั่งมารคือ สตรีไม่อาจผูกมัดผมไว้ได้ เพราะพระธรรมได้หามและปิดกั้นเสีย จนกระทั่งในที่สุดสายระหว่างผมกับโลกได้ขาดสะบั้นลง

                         การที่ผมได้ออกบวชมา จนผ่านไป 8 พรรษาแล้วบัดนี้ จึงมิใช่การบังเอิญ หากแต่เป็นการตั้งเจตน์จำนง โดยแน่แท้มาก่อน มิใช่เริ่มด้วยสมัครเล่นแล้วเป็นจริงหรือเสแสร้ง แต่เป็นความจริงใจตั้งแต่นานปีก่อนการบวชเสียด้วยซ้ำ ส่วนเรื่องที่ผมมิได้ตั้งใจ ก็คือ การที่ได้กลับมาสู่ปิตุภูมิ บ้านเกิดเมืองนอนศรีสะเกษอีสานใต้นี้ และการที่ได้มาเป็นพระนักพัฒนา พระการเมือง อะไรก็แล้วแต่ที่ปฏิบัติอยู่ในขณะนี้ อันมีลักษณะเป็นสามัญชนเหลือเกินนี้ ยิ่งเป็นพระนักบริหารระดับเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดก็ยิ่งเป็นสิ่งที่ผมไม่เคยคาดคิดเสียเลยด้วยซ้ำ            

                         เพราะในช่วงเวลาที่ผลออกบวน วันที่  23 พฤษภาคม พุทธศักราช 2526 ณ วัดบ้านถ้ำ ตำบลเขาน้อย อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรีนั้น ผมแทบไม่มีความรู้เกี่ยวกับแบบแผนประเพณีทางพระเลย ซึ่งอาจเป็นเพราะชีวิตผมตั้งแต่ต้นมามิได้มีโอกาสคลุกคลีหรือสนิทชิดใกล้เพศบรรพชิตมาก่อน ไม่ได้คุ้นเคยกับวัดหรือประเพณีท้องถิ่นในชนบท เนื่องจากมาอยู่เสียในเมืองและเป็นคนเมืองไปแต่เด็กๆ โดยเฉพาะครั้นถึงวัยการเรียนการศึกษาระดับสูงขึ้นไปอีกซึ่งการศึกษาระหว่างนั้น ก็ไม่ได้มีวิชาการใดที่ช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ส่วนที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับวัดวาอาราม ตามสภาพที่เป็นส่วนหนึ่งแห่งสังคมปัจจุบันเลย ฉะนั้นเมื่อมองศาสนาจึงเป็นการมองแต่ในด้านที่เป็นหลักธรรมอันบริสุทธิ์เท่านั้น มิได้เข้าไปมองสภาพทางสังคมระบอบหรือระบบอันเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง การเศรษฐกิจ กังคม ตลอดจนระเบียนแบบแผนหรือประเพณีต่างๆ ทางสงฆ์ อันเป็นเรื่องธรรมดาโลกๆในวงการศาสนาเลย เรามองวงการศาสนาเป็นโลกุตตระ ไปทั้งหมดทั้งสิ้น ซึ่งความจริงเปล่า ยังมีส่วนของโลกีย์ในวงการศาสนา ที่เราน่าจะได้นำมาเรียนรู้ ทำความเข้าใจด้วยในฐานะวิชาสังคมศาสตร์แขนงหนึ่ง

                         ฉะนั้น เพราะเหตุที่มองแต่หลักธรรมอันบริสุทธิ์เพียงด้านเดียวเช่นนี้ การบวชของผม ผมก็คิดเอาเองว่า อย่างนี้แหละดี แล้วหนีไปบวชแต่เพียงผู้เดียว ไม่มีญาติ มิตร สหาย แม้สักหนึ่งคนไปร่วมรู้เห็นด้วย ถือว่าอะไรอื่นไม่สำคัญๆ ว่าผมขอได้เข้าสู่ความเป็นผู้ครองกาสาวพัสตร์เท่านั้นก่อน ซึ่งแท้ที่จริงเป็นเพราะผมไม่เคยเข้าใจประเพณีการบวช เมื่อผมมารู้ทีหลังในเรื่องที่ผมไม่ได้จัดเตรียมของสักการะ คือ จตุปัจจัยไทยทาน(เงิน) สำหรับ                 พระอุปัชณาย์อาจารย์ พระผู้ร่วมอุโบสถกรรมเลย ผมจึงมาแก้ตัวภายหลัง ด้วยการที่คราวใดได้รับนิมนต์ เขาถวายซองปัจจัยต่างๆมา ผมจะไม่เอาไว้ แต่จะมอบถวายท่านเจ้าอาวาส ผู้เป็นอาจารย์เพื่อสมทบสร้างอุโบสถ ทุกคราวไปตลอดเวลาที่จำวัตรอยู่ที่วัดบ้านถ้ำ

                         ในช่วงนั้น ผมก็ยังไม่รู้จักคำว่า “เข้าพรรษา” ด้วยซ้ำมีพระนายตำรวจเก่ารูปหนึ่งได้ให้ความรู้ในเรื่องเบื้องต้นๆเช่นนี้แก่ผม เป็นวิธีที่ผมได้ความรู้มาทีละเล็กละน้อย ความที่ไม่รู้ประเพณีนี้ในขณะนั้นผมก็รู้ตัวอยู่ว่าผมไม่รู้ แต่ผมคิดว่า ความตั้งใจบวชสละชีวิตเพื่อพระศาสนานั้นมีความสำคัญกว่า ฉะนั้น การที่ผมออกบวชจึงดุเป็นเรื่องที่น่าประหลาดผิดแบบแผนประเพณีไปหมด

                         พอผมบวชที่กาญจนบุรีได้ไม่ถึง 20 วัน ผมก็ได้รับโทรเลขแจ้งว่า แม่ผมป่วยหนัก ผมจึงต้องเดินทางกลับมาศรีสะเกษ ความตั้งใจมุ่งหมายแต่แรกของผมซึ่งก็คือ การจาริกธุดงค์ไปในระหว่างหุบเขาตะนาวศรี ตามแนวเขตชายแดดระหว่างไทยกับพม่า สิ่งที่ต้องการในขณะนั้นมีอยู่อย่างเดียวแต่ว่า ต้องพิสูจน์พระพุทธธรรมที่ได้ตั้งเป็นข้อสมมติไว้หลายๆข้อหลายๆประการก่อนบวช ให้ลุล่วงไปโดยเร็วพลัน แล้วต้องการเสพความสงบสงัดชนิดที่ตัดโลก ตัดมนุษย์ท่องเที่ยวไปในโลกอีกโลกหนึ่งต่างหากจนพอแก่ใจแล้วเท่านั้นก่อน ส่วนจะทำอะไรค่อยคิดอีกทีหลัง แต่ความตั้งใจที่มุ่งหมายแต่แรกดังกล่าวนั้นพลันล้มเหลวลง เพราะพอผมกลับมาสู่หมู่บ้านอันเป็นภูมิเลาเนาเดิม ที่บ้านโคกกลาง ตำบลอี่หล่ำ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ได้ไม่กี่วัน ทางอำเภอโดยผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอนั้นวางนโยบายออกมาพอดี อันเป็นนโยบายแบบสามประสานคือ บวรที่ขึ้นชื่อนั่นแหละ ผมก็เลยไม่ได้กลับไปสืบต่อความมุ่งหมายเดิมอีก งานของผมในฐานะ บุคคลผู้ครองผ้าเหลืองจึงเกี่ยวกับงานพัฒนานอกวัดวาอารามมาตลอด แต่ผมอยากจะกล่าวว่าช่วงนี้แหละที่แถวท้องถิ่นตำบลผม ได้พัฒนาไปอีกระดับหนึ่ง จากถนนดินเป็นถนนลูกรัง ไฟตะเกียงเป็นไฟฟ้า ห้วยน้อยเป็นห้วยใหญ่ มีการเมืองในหมู่บ้าน คือการจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพต่างๆ ชมรมต่างๆอย่างมากมาย มีกองทุตนประจำหมู่บ้าน มีการณรงค์ในการที่พัฒนาอะไรๆมีโครงการอบรมคุณภาพชีวิตหรือที่ขึ้นใจว่าโครงการแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองนั้นแหละ แล้วก็เป็น พระธรรมทูตอะไรต่างๆ เหล่านี้ซึ่งไม่ได้อยู่ในหัวของผมเลย

                         พอพรรษาที่ 2 ผมตัดใจไปอยู่วัดป่าร้างใกล้ๆกันนั้น อยู่รูปเดียวไปตลอดพรรษา

                         พอพรรษาที่ 3 ผมก็ได้รับอาราธนาไปเป็น ประธานกรรมการสร้างอุโบสถ ของวัดในหมู่บ้านใหญ่ และเป็นสมภารคือที่เจ้าอาวาสด้วย อันเนื่องมาจากรูปเดิมลาสิกขา ซึ่งตกที่นั่งหนักเพราะนี่ก็ใช่ว่าผมสนับสนุนให้สร้าง แต่จำต้องอนุโลมตามความประสงค์ของชาวบ้าน เพื่อขวัญและกำลังใจที่ยึดเหนี่ยว แล้วในปี พ.. 2531 ปีที่โบสถ์หลังนั้นเสร็จลง ในขณะที่ผมขั้นไปจำศีลอยู่ในเพดาลอุโบสถใหม่ และเริ่มวางแผนที่จะจาริกธุดงค์เข้าหุบเขา    ตะนาวศรีตามความตั้งใจดั้งเดิมอีกครั้งหนึ่งนั้น ท่านพระครูศรีวรปรีชา เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมกับอธิบายให้ผมทราบว่า ตำแหน่งนี้เป็นระดับพระชั้นปกครองที่มีความสำคัญอย่างไรในราชการคณะสงฆ์ แล้วท่านก็มอบหมายในทันทีให้ผมพาพระเปรียญและพระบัณฑิตอาสาพัฒนา จำนวน 22 รูป ของศรีสะเกษไปร่วมประชุมในการประชุม พระเลขนานุการเจ้าคณะจังหวัด กับ พระเปรียญและพระบัณฑิตอาสาพัฒนาทั่วประเทศที่ วัดคีรีวงษ์   จังหวัดนครสวรรค์ ระหว่างวันที่ 19-21 กันยายน 2531 ดังกล่าวมาแต่ต้นแล้ว ต่อมาวันที่ 26 พฤศจิกายน 2531 ผมก็ได้รับแต่งตั้งเป็น เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ชนิดที่มีคน(พระ) วิเคราะห์วิจารณ์ว่าเป็น “ผู้มากับดวง” แน่ะครับ

                         นี้แหละความเป็นมาโดยย่อๆของผม และตอนที่ผมได้มาอยู่ในตำแหน่งที่นี่แหละ ซึ่งเป็นเวลาที่ผมบวชมาแล้วเป็นเวลา 8 พรรษา ได้เป็นเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดมาเป็นเวลา 2 ปี 1 เดือน กับ 10 วันผมได้เสนอหนังสือเล่มนี้ เป็นชุดที่ผมเขียนออกมาจากป่าช้า ในขณะที่ไปอยู่ธุดงค์โดดเดี่ยวคนเดียว แต่ละแห่งเป็นเวลาใช่น้อย เพราะอยู่ถึง 15-20 คืน ในท่ามกลางขุมผีดุ โดยที่ผมเชื่อว่าแต่ละเรื่องนิยายสั้นๆนั้น จะกลั่นเอาประสบการณ์แต่ละเสี้ยวแต่ละตอนของชีวิตผมที่เป็นส่วนสำคัญยิ่งออกมาเสนอ นวนิยายแต่ละเรื่องนั้น หลวงพ่อของผม คือ พระเทพวรมุนีได้อ่านแล้ว ท่านยกย่องผมมากมายเลยทีเดียว ท่านว่าเหมือนเรื่องในนิทานธรรมบทของท่านพุทธโฆษาจารย์ นั้น แต่ต่อไป ผมจะเริ่มเพิ่มการเขียนบท กวีนิพนธ์ด้วย เพื่อนๆคงจะเห็นบทกวีของผมอยู่บ้างแล้ว ในหนังสือพิมพ์ฉบับจิ๋วแต่แจ๋ว “ข่าวสารเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดคณะสงฆ์ภาคพื้นอีสาน” นั้น

                         ประวัติของผม ที่เกี่ยวกับงานด้านการประพันธ์ก็มีอยู่ ที่สำคัญก็คือ ในช่วงเวลาก่อนที่ผมออกบวชเล็กน้อยนั้น ผมได้เขียนบทความวิจารณ์ ลงในนิตยสาร และได้จัดพิมพ์หนังสือที่ผมเองเป็นผู้เขียนไว้หลายเล่ม ในนามแฝงว่า “ธรรมสามี” กับ “อนาคาริกทั้งสาม”

                         บทความวิจารณ์ธรรมเรื่องหนึ่งของผม ท่านบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ พุทธศาสนาท่านธรรมทาส พานิช แห่งคณะสวนโมกขพลาราม ได้นำลงพิมพ์ไว้ในหนังสือพิมพ์พุทธศาสนา 2 เล่ม คือ ปีที่ 50 เล่ม 4 ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.. 2525 กับปีที่ 51 เล่ม 1 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.. 2526 มีชื่อบทวิจารณ์ว่า “ธรรมสามีตอบปัญหานายเหตุผล ปีพุทธศักราช 2477

                         หนังสือที่ผมจัดทำออกมาในช่วงเวลานั้น ฉบับโรเนียวก็มี “ธรรมสามี” , “หย่อมหญ้า”, “สวามิภูติ”, “ข่าวอนาคาริกที่ 2/2522 ธรรมสามีวิจารณ์ : วิมุตติรัตนมาลี สวามิภูตินิทาน : สงครามสวรรค์ครั้งล่าสุด กับ “เทพธิดาประจำใจ”

                         ฉบับพิมพ์แท่นก็มี “ข่าวอนาคาริก ที่ 1/2524 ธรรมสามี : ธรรมธรรมะสงครามสวามิภูตินิทาน: จักรพรรดิในเหล่าช้าง” กับ “สากลจักรวาล-สากลศาสนา กับ กวีนิพนธ์ เถลิงรัฐรัตนโกสินทร์ศก 200         พุทธศักราช 2525

                         ผมได้ตั้งใจเขียนหนังสือเหล่านั้น อย่างมีจุดประสงค์ให้เป็น การบันทึกเหตุการณ์สำคัญในชีวิตเท่านั้น เป็นเจตนาที่บันทึกเพื่อทิ้งเอาไว้ แล้วตัวเองก็เข้าป่าหายไป (บวช ตามเจตนาดั้งเดิม) บัดนี้ ตลอดเวลา 8 พรรษาผ่านไปแล้ว ผมจึงได้เริ่มงานจับปากกาเขียนอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งก็คือเล่มนี้ ในรูป นวนิยาย

                         เริ่มด้วย “อาลัยบาปถึงธารมโนเพชร” เล่มนี้

                         และต่อๆ ไปก็คงจะมีรูปแบบการเขียนหลายหลากไปอีก เช่น บทวิจารณ์หนังสือ เช่นที่ลงพิมพ์ในหนังสือ นิตยสารสมาธิ ฉบับปีใหม่ พ.. 2534 (ปีที่ 5 ฉบับที่ 55 2534)  เชิญเพื่อนสหธรรมิกทุกท่านอ่านดูนะครับ

                         นี้แหละเรื่องราวของผม ผู้ที่ได้ประพันธ์นวนิยายเรื่องสั้นชุด อาลัยบาปถึงธาร มนโนเพชร เล่มนี้ และที่ผมมีความเต็มใจยินดีที่จะอบให้เป็นของขวัญของกำนัน ประจำปีใหม่ พ.. 2534 แด่ทุกๆท่าน สวัสดีครับ

 

                                                                                                                                                (เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ)

                                                                                                                                                                6 กุมภาพันธ์ 2534

 

 




นิทานธรรมะแสนสนุก

มานุสสาสุรสงคราม
เจ้าชายหงส์ขาว
พระเหลียวหลัง
ยมราชถามอะไรคือการศึกษา article
ซิ่งเนรคุณ article
มงกุฎมาลีรัตนะแห่งองค์พระอรหันต์เจ้า
พญาโคร่งดำโพธิสัตว์
ดอกไม้ป่าสีน้ำเงิน
อาลัยบาป
คนไม่เคย
ภาระสี่เหล่าจักรพรรดิ์ธรรม
คนเมืองหิว
นักเลงปืนแก๊ป
อนุสรณ์๋ป่าช้าอนุสาวรีย์ลูกรัก
ตำนานรักหนุ่มบ้านกาจสาวบ้านมโนรมย์
สงครามครั้งสุดท้าย
ธารมโนเพชร



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
----- ***** ----- โปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate นี่คือเวบไซต์คู่ www.newworldbelieve.com กับ www.newworldbelieve.net เราให้เป็นเวบไซต์ที่เสนอธรรมะหรือ ความจริง หรือ ความคิดเห็นในเรื่องราวของชีวิต ตั้งใจให้ธัมมะเป็นทาน ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แด่คนทั้งหลาย ทั้งโลก ให้ได้รู้ความจริงของศาสนาต่าง ๆในโลกวันนี้ และได้รู้ศาสนาที่ประเสริฐเพียงศาสนาเดียวสำหรับโลกยุคใหม่ จักรวาลใหม่ เรามีผู้รู้ ผู้ตรัสรู้ ผู้วินิจฉัยสรรพธรรมสรรพวิชชา สรรพศาสน์ และสรรพศาสตร์ พอชี้ทางสู่โลกใหม่ ให้ความสุข ความสบายใจความมีชีวิตที่หลุดพ้นไปสู่โลกใหม่ เราได้อุทิศเนื้อที่ทั้งหมดเป็นเนื้อที่สำหรับธรรมะทั้งหมด ไม่มีการโฆษณาสินค้า มาแต่ต้น นับถึงวันนี้ร่วม 14 ปีแล้ว มาวันนี้ เราได้สร้างได้ทำเวบไซต์คู่นี้จนได้กลายเป็นแดนโลกแห่งความสว่างไสว เบิกบานใจ ไร้พิษภัย เป็นแดนประตูวิเศษ เปิดเข้าไปแล้ว เจริญดวงตาปัญญาละเอียดอ่อน เห็นแต่สิ่งที่น่าสบายใจ ที่ผสานความคิดจิตใจคนทั้งหลายด้วยไมตรีจิตมิตรภาพล้วน ๆ ไปสู่ความเป็นมิตรกันและกันล้วน ๆ วันนี้เวบไซต์นี้ ได้กลายเป็นโลกท่องเที่ยวอีกโลกหนึ่ง ที่กว้างใหญ่ไพศาล เข้าไปแล้วได้พบแต่สิ่งที่สบายใจมีความสุข ให้ความคิดสติปัญญา และได้พบเรื่องราวหลายหลากมากมาย ที่อาจจะท่องเที่ยวไปได้ตลอดชีวิต หรือท่านอาจจะอยากอยู่ณโลกนี้ไปชั่วนิรันดร ไม่กลับออกไปอีกก็ได้ เพียงแต่ท่านเข้าใจว่านี่เป็นแดนต้นเรื่องเป็นด่านข้ามจากแดนโลกเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง และซึ่งเป็นโลกหรือบ้านของท่านทั้งหลายได้เลยทีเดียว ซึ่งสำหรับคนต่างชาติ ต่างภาษาต่างศาสนา ได้โปรดใช้การแปลของ กูเกิล หรือ Google Translate แปลเป็นภาษาของท่านก่อน ที่เขาเพิ่งประสบความสำเร็จการแปลให้ได้แทบทุกภาษาในโลกมนุษย์นี้แล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้เอง นั้นแหละเท่ากับท่านจะเป็นที่ไหนของโลกก็ตาม ทั้งหมดโลกประมาณ 7.6 พันล้านคนวันนี้ สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในโลกของเราได้เลย เราไม่ได้นำท่านไปเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่การนำไปสู่ความจริง ความรู้เรื่องชีวิตใหม่ การอุบัติใหม่สู่ภาวะอริยบุคคล ไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปพ้นจากทุกข์ ทั้งหลายไปสู่โลกแห่งความสุขแท้นิรันดร คือโลกนิพพานขององค์บรมศาสดาพุทธศาสนา พระบรมครูพุทธะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ท่านโปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate ท่านก็จะเข้าสู่โลกนี้ได้ทันทีพร้อมกับคน7.6พันล้านคนทั้งโลกนี้. ----- ***** ----- • หมายเหตุ เอาขึ้นเวบไซต์ แทนของเดิม ทั้ง 2 เวบ .net .com วันที่ 21 เม.ย. 2565 เวลา 07.00 น. -----*****-----