ReadyPlanet.com
dot
dot dot
bulletBUDDHISM TO THE NEW WORLD ERA
bullet1 Thai-ไทย
bullet2.English-อังกฤษ
bullet3.China-จีน
bullet4.Hindi-อินเดีย
bullet5.Russia-รัสเซีย
bullet6.Arab-อาหรับ
bullet7.Indonesia-อินโดนีเซีย
bullet8.Japan-ญี่ปุ่น
bullet9.Italy-อิตาลี
bullet10.France-ฝรั่งเศส
bullet11.Germany-เยอรมัน
bullet12.Africa-อาฟริกา
bullet13.Azerbaijan-อาเซอร์ไบจัน
bullet14.Bosnian-บอสเนีย
bullet15.Cambodia-เขมร
bullet16.Finland-ฟินแลนด์
bullet17.Greek-กรีก
bullet18.Hebrew-ฮีบรู
bullet19.Hungary-ฮังการี
bullet20.Iceland-ไอซ์แลนด์
bullet21.Ireland-ไอร์แลนด์
bullet22.Java-ชวา
bullet23.Korea-เกาหลี
bullet24.Latin-ละติน
bullet25.Loa-ลาว
bullet26.Finland-ฟินแลนด์
bullet27.Malaysia-มาเลย์
bullet28.Mongolia-มองโกเลีย
bullet29.Nepal-เนปาล
bullet30.Norway-นอรเวย์
bullet31.persian-เปอร์เซีย
bullet32.โปแลนด์-Poland
bullet33.Portugal- โปตุเกตุ
bullet34.Romania-โรมาเนีย
bullet35.Serbian-เซอร์เบีย
bullet36.Spain-สเปน
bullet37.Srilanga-สิงหล,ศรีลังกา
bullet38.Sweden-สวีเดน
bullet39.Tamil-ทมิฬ
bullet40.Turkey-ตุรกี
bullet41.Ukrain-ยูเครน
bullet42.Uzbekistan-อุสเบกิสถาน
bullet43.Vietnam-เวียดนาม
bullet44.Mynma-พม่า
bullet45.Galicia กาลิเซียน
bullet46.Kazakh คาซัค
bullet47.Kurdish เคิร์ด
bullet48. Croatian โครเอเซีย
bullet49.Czech เช็ก
bullet50.Samoa ซามัว
bullet51.Nederlands ดัตช์
bullet52 Turkmen เติร์กเมน
bullet53.PunJabi ปัญจาบ
bullet54.Hmong ม้ง
bullet55.Macedonian มาซิโดเนีย
bullet56.Malagasy มาลากาซี
bullet57.Latvian ลัตเวีย
bullet58.Lithuanian ลิทัวเนีย
bullet59.Wales เวลล์
bullet60.Sloveniana สโลวัค
bullet61.Sindhi สินธี
bullet62.Estonia เอสโทเนีย
bullet63. Hawaiian ฮาวาย
bullet64.Philippines ฟิลิปปินส์
bullet65.Gongni-กงกนี
bullet66.Guarani-กวารานี
bullet67.Kanada-กันนาดา
bullet68.Gaelic Scots-เกลิกสกอต
bullet69.Crio-คริโอ
bullet70.Corsica-คอร์สิกา
bullet71.คาตาลัน
bullet72.Kinya Rwanda-คินยารวันดา
bullet73.Kirkish-คีร์กิช
bullet74.Gujarat-คุชราด
bullet75.Quesua-เคซัว
bullet76.Kurdish Kurmansi)-เคิร์ด(กุรมันซี)
bullet77.Kosa-โคซา
bullet78.Georgia-จอร์เจีย
bullet79.Chinese(Simplified)-จีน(ตัวย่อ)
bullet80.Chicheva-ชิเชวา
bullet81.Sona-โซนา
bullet82.Tsonga-ซองกา
bullet83.Cebuano-ซีบัวโน
bullet84.Shunda-ชุนดา
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet86.Sesotho-เซโซโท
bullet87.NorthernSaizotho-ไซโซโทเหนือ
bullet88.Somali-โซมาลี
bullet89.History-ประวัติศาสตร์
bullet90.Divehi-ดิเวฮิ
bullet91.Denmark-เดนมาร์ก
bullet92.Dogry-โดกรี
bullet93.Telugu-เตลูกู
bullet94.bis-ทวิ
bullet95.Tajik-ทาจิก
bullet96.Tatar-ทาทาร์
bullet97.Tigrinya-ทีกรินยา
bullet98.Check-เชค
bullet99.Mambara-มัมบารา
bullet100.Bulgaria-บัลแกเรีย
bullet101.Basque-บาสก์
bullet102.Bengal-เบงกอล
bullet103.Belarus-เบลารุส
bullet104.Pashto-พาชตู
bullet105.Fritian-ฟริเชียน
bullet106.Bhojpuri-โภชปุรี
bullet107.Manipur(Manifuri)-มณีปุระ(มณิฟูรี)
bullet108.Maltese-มัลทีส
bullet109.Marathi-มาราฐี
bullet110.Malayalum-มาลายาลัม
bullet111.Micho-มิโช
bullet112.Maori-เมารี
bullet113.Maithili-ไมถิลี
bullet114.Yidsdish-ยิดดิช
bullet115.Euroba-ยูโรบา
bullet116.Lingala-ลิงกาลา
bullet118.Slovenia-สโลวีเนีย
bullet119.Swahili-สวาฮิลี
bullet120.Sanskrit-สันสกฤต
bullet121.history107-history107
bullet122.Amharic-อัมฮาริก
bullet123.Assam-อัสสัม
bullet124.Armenia-อาร์เมเนีย
bullet125.Igbo-อิกโบ
bullet126.History115-ประวัติ 115
bullet127.history117-ประวัติ117
bullet128.Ilogano-อีโลกาโน
bullet129.Eve-อีเว
bullet130.Uighur-อุยกูร์
bullet131.Uradu-อูรดู
bullet132.Esperanto-เอสเปอแรนโต
bullet133.Albania-แอลเบเนีย
bullet134.Odia(Oriya)-โอเดีย(โอริยา)
bullet135.Oromo-โอโรโม
bullet136.Omara-โอมารา
bullet137.Huasha-ฮัวซา
bullet138.Haitian Creole-เฮติครีโอล
bulletคำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรแปล เช้า-เย็น
bulletChart Showing the Process
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี พ.ศ.2540 - 2566
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 1
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 2
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี บุคคลที่ 1 - 188 ปัจจุบัน
bulletหนังสือพิมพ์ดี
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 1
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 2
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 3
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 4
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 5
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 6
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 7
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 8
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 9
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 10
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 11
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 12
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 13
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 14
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 15
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 16
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 17
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 18
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 19
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 20
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 21
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 22
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 23
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 24
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 25
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 26
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 27
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 28
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 29
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 30
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 31
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 32
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 33
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 34
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 35
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 36
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 37
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 38
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 39
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 40
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 41
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 42
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 43
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 44
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 45
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 46
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 47
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 48
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 49
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 50
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 51
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 52
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 54
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 55
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 56
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 57
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 58
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 59
bulletTo The World
bulletENGLISH
bulletUSA
bulletChina
bulletIndia
bullet Mynmar
bullet Cambodia
bullet Loas
bulletSri Lanka
bulletMalaysia
bulletKorea
bulletA Sharp Turn of Believes : Iresearch Iwrite Iread
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 1
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 2
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 3
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 4
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 5
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 6
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 7
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 8
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 9
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 10
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 11
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 12
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 13
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 14
bulletMystery Report 15
bulletMystery Report 16
bulletMystery Report 17
bulletMystery Report 18
bulletMystery Report 19
bulletMystery Report 20
bulletMystery Report 21
bulletMystery Report 22
bulletMystery Report 23
bulletMystery Report 24
bulletMystery World Report 25
bulletศึกษาโลกลี้ลับ 26
bulletเฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว วิเคราะห์ทุกปัญหาในโลกมนุษย์ด้วยสติปัญญาและเหตุผลวิทยาศาสตร์จากนสพ.ดี
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2536
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2537
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2538
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2539
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2540
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2541
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2542
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2543-2545
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2545-2549
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2549-2550
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2550-ส.ค.2551
bulletเฝ้าดูฯ ส.ค.-ก.ย.2551
bulletเฝ้าดูฯ ก.ย.2551- ธ.ค. 2551
bulletเฝ้าดูฯสำนวนพัชรา กอปรทศธรรม
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 16-27
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 29
bulletบทความใหม่ เม.ย.-พ.ค.2552
bulletพุทธธรรมเพื่อทางดับทุกข์
bulletทฤษฎีการดับทุกข์ทางจิต วิปัสสนากรรมฐานโดยการทำงาน(สำนวนปรับปรุงใหม่)
bulletประวัติพัชรา กอปรทศธรรม
bulletประวัติการต่อสู้เพื่อการดับทุกข์ ของพัชรา กอปรทศธรรม
bulletอัลบั้มรูป history
bulletนิทานธรรมะประยุกต์ มานุสสาสุระสงคราม 4 ภาค และอื่น ๆ
bulletอัลบั้มรูป ภาพในอดีตและชีวประวัติศาสตร์ที่สวยงาม
bulletจากเวบบอร์ด พูดกันไม่รู้เรื่อง ประชาธิปไตยล้าหลัง
bulletศาสนาสากล การวิเคราะห์ความหมาย
bulletปลอบใจ
dot
รวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์ แนวปฏิรูปคณะสงฆ์อยู่ในบทวิเคราะห์นี้แล้ว
dot
bulletรวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์
dot
สากลจักรวาล สากลศาสนา แนวคิดศาสนาสำหรับคนยุคใหม่ ผู้ก้าวผิดทางไปสู่สิ่งไร้สาระโดยไม่รู้ตัว
dot
bulletสากล...ศาสนา 1
bulletสากล...ศาสนา 2
bulletสากล...ศาสนา 3
bulletสากล...ศาสนา 4
bulletสากล...ศาสนา 5
bulletสากล...ศาสนา 6
bulletสากล...ศาสนา 7
bulletสากล...ศาสนา 9
bulletสากล...ศาสนา 8
bulletสากล...ศาสนา 10
bulletสากล...ศาสนา 11
bulletสากล...ศาสนา 12
bulletสากล...ศาสนา 13
bulletสากล...ศาสนา 14
bulletสากล...ศาสนา 16
dot
ส่วนข้อมูลสำคัญเพื่อการวิจัยการเมืองไทยยุค คมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
dot
bulletข้อมูลสำคัญยุคคมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่1/26ส.ค.2551
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่2/27ส.ค.2551
bulletใบปลิว อีเมล์ ในหลวงทรงร้องไห้
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 1
bulletในหลวงเพิ่งทราบข่าวฆ่าประชาชน10เมย.53ทรงร้องไห้
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
dot
รวมข่าวม็อบการเมืองสนธิ-จำลอง-ปชป.มิ.ย.51-เม.ย.52 นสพ.
dot
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 2
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 3
bulletรวมข่าวม็อบ30มิ.ย.51-23มี.ค.52
bulletเลือดศรีสะเกษบันทึกเรื่องราวรอบด้านเกี่ยวกับเขาพระวิหาร
bulletรายงานการโฆษณาชวนเชื่อในประเทศไทยที่ล้มล้างรัฐบาลทักษิณ
bulletหนังสือพิมพ์ดี ของฟรีให้เปล่ามา20ปีแล้วทั้งเอกสารและอินเทอเนท
bulletหนังสือพิมพ์ดี ( อินเทอเนต ) เล่ม 1 - 44 - ล่าสุด
bulletหน้าที่เก็บไว้
bulletมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร)
bulletวัดมหาพุทธาราม ศรีสะเกษ บันทึกเหตุการณ์
bulletสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดศรีสะเกษแห่งที่ 1
bulletเกี่ยวกับเวบไซต์ของเรา เราทำเพื่อปัญญาชนโดยแท้
bulletรวมกระทู้เด็ดจากกระดานถามตอบ
bulletคาถาอาคมไสยศาสตร์
bulletกวีนิพนธ์ใหม่
bulletศูนย์ปฏิญญาณละเลิกอบายมุข บัญชีที่ 1- 4


อนุสรณ์๋ป่าช้าอนุสาวรีย์ลูกรัก

 อนุสรณ์ป่าช้าอนุสาวรีย์ลูกรัก

           โดย จักร สุธาธรรม

 

                   ก่อนเพลเล็กน้อยวันนั้น พระภิกษุเจ้าการ ผู้ดูแลรักษาวิหาร ที่สถิตหลวงพ่อทองดำ พระพุทธรูปองค์โตใหญ่คู่บ้านคู่เมือง ได้ขึ้นมาเรียนพระอาจารย์อรรณพให้ทราบว่า มีคณะอุบาสกอุบาสิกาคณะหนึ่งเดินทางมาที่วัดนี้ วัดเทววงศ์รังสฤษฏ์ ขอนิมนต์พระอาจารย์อรรณพลงไปที่วิหาร เพื่อรับการถวายของและโปรดญาติโยมคณะนี้

                   “เดินทางมาจากไหน ?” ท่านถามพลางห่มผ้าคลุม

                   “ดูเหมือนมาจากรุงเทพครับ” พระเจ้าการบอก “ผ่านมาหลายจังหวัดครับ”

                   “มากันกี่คน มารถเก๋งหรือ ?

                   “มาสัก 3-4 คนเท่านั้นครับ มารถตู้ครับ โฟล์คสีไข่ไก่ มีตัวหนังสือข้างรถว่าคณะแสวงบุญโพธิสัตว์มัญชุศรี ครับ”

                   “ทำไมไม่เชิญมาที่ตึก ?

                   “เห็นบอกว่ามีพิธีกรรมอย่างหนึ่งที่จะต้องทำในวิหารครับ เห็นเตรียมดอกไม้ธูปเทียน พร้อมของสักการะมาเยอะแยะเลย ท่าทางเป็นผู้ดีใจบุญ”

                   อีก 10 นาทีให้หลัง พระอาจารย์อรรณพนั่งอยู่บนอาสนะ หน้าพระประธานวิหาร หญิงวัยกลางคนไปมากแล้วคนหนึ่ง นั่งพับเพียบเรียบร้อย คู่กับชายวัยขนาดเดียวกัน อยู่กับพื้น ดูท่าทางก็พอรู้ว่าเป็นสามีภรรยากัน ทั้งสองพนมมือกราบพระอาจารย์อรรณพแล้ว ก่อนที่พระจะเอ่ยคำใดขึ้น

                   “ดิฉัน สามี พร้อมคณะลูกหลานเดินทางมาท่องเที่ยวแสวงบุญในหน้าร้อนค่ะ ผ่านมาหลายจังหวัดแล้ว ก่อนจะมาถึงที่นี่”

                   “เจริญพร มาจากกรุงเทพหรือโยม ?

                   “ค่ะ พระคุณเจ้า ไปหลายจังหวัดก็จริง แต่ความตั้งใจจะมาที่นี่ค่ะ ขออภัยโทษพระคุณเจ้าก่อนนะคะ ก่อนที่พระคุณเจ้าออกบวช เคยรับราชการทหารอยู่กองบัญชาการทหารสูงสุด เคยช่วยราชการกองอำนวยการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์….?

                   “ถูกแล้ว โยม อาตมภาพเคยมีอดีตตรงกับที่โยมเอ่ยขึ้นมา ว่าแต่โยมรู้ประวัติอาตมภาพได้อย่างไร ?

                   “ท่านพลโทอัมพร เชวงศักดิ์ ดูเหมือนจะเคยรู้จักกันกับท่านอาจารย์นะคะ ?

                   “ถูกแล้ว ท่านเคยเป็นผู้บังคับบัญชาใกล้ชิด”

                   “ดิฉันได้รู้จักท่านอาจารย์ เพราะท่านนายพลนี่แหลค่ะ แต่ก็ไม่ได้รู้ละเอียดนักหรอกค่ะ ฟังๆท่านเจ้ากรมอัมพร ท่านอาจารย์ลาออกจากราชการเพื่อมาบวชโดยตรงไม่ใช่หรือคะ ?

                   พระอาจารย์อรรณพ ดูท่าว่าฝืดในลำคอ ทำท่าจะตอบคำวาจา แต่ก็ดูกล้ำกลืนอยู่

                   “ดิฉันกับสามี มีความสนใจในประวัติของท่านอาจารย์พอสมควร รู้สึกว่าการที่ท่านออกบวช พลีชีวิตเพื่อพระศาสนานั้น เป็นสิ่งที่น่าสรรเสริญและหาได้ยากนสมัยนี้”

                   “อาตมภาพมิได้ถือเป็นเรื่องสำคัญนักหรอก จะว่าเป็นเรื่องของพรหมหรือกรรมลิขิตมากกว่า บางคนเขาว่าอาตมภาพได้กระทำพลีกรรมเสียสละเป็นอย่างมาก แต่ความจริงอาตมภาพไม่ได้เสียสละอะไรหรอก ถึงเวลามัน อาตมภาพก็ออกมา ก็เท่านั้นเอง ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น”

                   “ประวัติของท่านขณะรับราชการทหาร ไม่ปรากฏว่ามีเหตุคับแค้นใจ หรือมีเรื่องด่างพร้อยอะไร …?

                   “ไม่มี คับแค้นไม่มี ด่างพร้อยไม่มี อาตมภาพมิได้ออกบวช ด้วยเหตุนั้น หรือด้วยเหตุอื่น นากไปจากว่า ถึงเวลามันจะต้องออกบวช ก็ต้องบวชเท่านั้นเอง เรื่องเป็นเช่นนี้แหละโยม เล่าให้ฟังตรงๆ”

                   “นั่นแหละค่ะที่น่าอนุโมทนา และขอให้ท่านตั้งอยู่ในทางอันประเสริฐนี้ตลอดไปเถิดนะคะ ดิฉันและคณะจะได้รู้รู้สึกว่าพระศาสนานี้ ยังมีคนดีคุ้มครอง ยังมีความหมายอยู่”

                   แล้วยอดอุบาสิกาก็หันไปชวนอีกคนผู้มีท่าทางเหมือนไวยาวัจกรวัด ที่นั่งพับเพียบเรียบร้อยยังไม่มีวาจาว่ากล่าวแต่สักคำ

                   “ถวายของสักการะท่านก่อนเถอะพ่อ”

                   แล้วทั้งคู่ขยับกายเลื่อนลุกขึ้น ไปยกเอาถาดที่วางบูชาไว้หน้าพระประธาน

                   ปรากฏว่าในถานนั้น นอกจากมีห่อบริขารเครื่องไทยทานต่างๆแล้ว ยังมีวัตถุมงคลสิ่งหนึ่ง มองเผินๆคล้ายพระพุทธรูปยืน ทำด้วยหยก สูงประมาณศอกเศษๆ

                   “คณะดิฉันไปถึงเมืองจีนค่ะ นี่เป็นศิลปกรรมแบบจีน หล่อเป็นรูปพระโพธิสัตว์ค่ะ พรที่วัดนานกิงบอกว่า เป็นรูปหล่อขององค์พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ค่ะ”

                   “พระโพธิสัตว์ ตามคติฝ่ายมหายานน่ะครับท่านอาจารย์ คล้ายๆกับพระโพธิสัตว์ที่ทางไทยเราได้ยินคุ้นหู เช่น องค์กวนอิมโพธิสัตว์ องค์อวโลกิเตศวร นั่นแหละครับ”

                   อุบาสกเป็นผู้อธิบายเสริม ด้วยเสียงหุ้มหนักแน่นเป็นประโยคแรก

                   “โยมจะไม่กล่าวคำถวายเสียก่อนหรือ ?

                   “โอ๊ะ ไม่เป็นไรหรอกครับ ได้อธิษฐานไว้แล้วว่า พระโพธิสัตว์รูปนี้ จะขอถวายท่านอาจารย์โดยเฉพาะ เพราะประวัติของท่านเป็นไปในลักษณะแบบอย่างคล้ายพระโพธิสัตว์ และคณะแสวงบุญของเกล้ากระผม ก็นับถือพระโพธิสัตว์ อธิษฐานโพธิสัตว์ภูมิ ท่านอาจารย์ได้โปรดรับของสักการะเหล่านี้ แล้วยังไม่ต้องให้พรนะครับ กระผมกับภริยา มีอะไรจะปรึกษาท่านอาจารย์อีกเป็นกรณีพิเศษ”

                   “จวนจะได้เวลาเพลแล้ว นิมนต์ท่านรับภัตตาหารเพลที่นี่เลยได้ไหมคะ คณะดิฉันเตรียมมาพร้อมถวายด้วยแล้ว”

                   พระอาจารย์ตอบรับ ด้วยอาการอันนิ่งอยู่

                   “ไปพ่อ ไปจัดการเสียเดี๋ยวนี้เถอะ”

                   ดูเหมือนอุบาสกอุบาสิกาคู่นี้ จะมีความจัดเจนแคล่วคล่องในศาสนพิธีอยู่เป็นอันมาก จนกระทั่งจะพูดจะทำการด้วยพิธี มีความแนบเนียนน่านิยมไปหมด พระอาจารย์อรรณพ ยังมิได้นึกรู้ล่วงหน้าไปก่อนเลย แม้จะพยายามคาดคะเนว่า เรื่องที่สองสามีภริยา จะมีอะไรปรึกษาเป็นกรณีพิเศษนั้น เป็นอะไร เท่าที่ดูจากลักษณะภายนอก กิริยาอาการ ก็เห็นอยู่ว่าเป็นผู้ดี มีฐานะและตระกูลแม้ว่าผู้เป็นสามีออกจะติดเชื้อจีน ก็คงหลายชั้นมาแล้ว ท่านนายพล อดีตผู้บังคับบัญชาแต่ก่อน จะได้ประชาสัมพันธ์คุณสมบัติอันใดของพระอาจารย์อรรณพไว้บ้าง ก็สุดเดา อันเป็นเหตุแห่งความเลื่อมใสโดยเฉพาะเช่นนี้

                   อาหารที่จัดถวายนั้น เห็นได้ว่า คณะมัญชุศรีโพธิสัตว์ ได้มีเจตนาจัดมาอย่างประณีตพิเศษจริงๆ นอกจากของคาวหวานที่สั่งมาจากภัตตาคารโดยตรงแล้ว ยังอุดมไปด้วยผลไม้ต่างๆ นับแต่มะขามหวาน แอ๊ปเปิ้ล ละมุด     ส้มโอ องุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มะเฟืองหวาน ซึ่งเป็นผลไม้หายาก จนเชื่อว่าสูญพันธ์ไปจากเมืองไทยแล้ว ก็ปรากฏว่าคณะมัญชุศรีโพธิสัตว์ สามารถจัดหามาถวายเป็นทานได้ ซึ่งเห็นได้ว่า ได้มีการจัดเตรียมมาอย่างดี มีเจตนาพิเศษโดยตรง จนกระทั่งพะอาจารย์อรรณพ พลอยรู้สึกหวั่นไหวในใจอย่างประหลาด ทำให้ต้องระวังสติ อยู่ในอาการสำรวมตลอดเวลา โดยเฉพะอย่างยิ่ง ในภาวะที่ตกอยู่ในทามการเฝ้าเห็นของคณะอุบาสกอุบาสิกาคณะนั้น ผู้คอยดูแลปรนนิบัติอยู่ไม่ยอมห่าง

                   จนกระทั่งเวลาภัตตาหารเพลของพระคุณเจ้า และอาหารมื้อกลางวันของคณะแสวงบุญได้เสร็จสิ้นลงแล้ว ทั้งพระและโยมต่างอยู่ในอิริยาบถที่ดีขึ้น เมื่อความคุ้นเคยสนิทสนมทวีเพิ่มไปในจิตใจทั้งสองฝ่ายอย่างประหลาด

                   “ดิฉันมีเรื่องไม่สบายใจเกิดขึ้นในชีวิตค่ะ พระอาจารย์”

                   อุบาสิกาใจพระเริ่มเรื่องขึ้นช้าๆ อย่างตั้งใจให้เนื้อหาสาระที่ชัดเจนจริงๆ

                   “เมื่อสิบห้าปีที่แล้ว ดิฉันกับสามี พร้อมคณะญาติมิตร ได้สร้างอุโบสถถวายวัดไปหลังหนึ่งหวังจะให้คลาย ให้สิ้นมลทินในใจ แต่ก็ยังคงหนีไม่พ้น พยายามทำบุญทำทานมาตลอดไม่เคยขาดแต่ก็เหมือนเป็นบาปหนัก บุญที่สร้างชดเชย คงยังไม่เพียงพอจะลบล้าง”

                   สังเกตเสียงยิ่งเล่าไป ยิ่งมีกระแสโทมนัส ใบหน้าก็เปลี่ยนแปรคล้ายทนทานต่อความรู้สึกอัดปวดร้าวระทมขมขื่น ชนิดที่กินใจอย่างเหลือล้ำ

                   “ดิฉันได้ทราบว่า ท่านอาจารย์มีความรู้ทางโหราศาสตร์ ในระดับที่เชี่ยวชาญอีกแขนงหนึ่ง อยากขอรบกวนท่านอาจารย์ ให้ตรวจสอบชาตาข้างหน้า ให้พอเป็นเลาๆ สักหน่อยค่ะ”

                   เหมือนจะนึกรู้อยู่ในใจบ้างแล้ว พระอาจารย์ยิ้มเล็กน้อยก่อนตอบ

                   “โหราศาสตร์เป็นวิชาที่ลึกซึ้ง เรียนไม่รู้จบ จะกล่าวว่าเชี่ยวชาญนั้นยากอยู่โยม อาตมภาพได้ศึกษามาบ้าง หากโยมจะขอตรวจชะตาราศีข้างหน้า ก็จะทำให้ ว่าแต่จำวันเดือนปีเกิด กับรู้เวลาตกฟากแม่นยำหรือเปล่าเท่านั้น”

                   “จำได้ค่ะ มีอยู่ครบทั้ง วัด เดือน ปี และ เวลาตกฟาก ค่ะ”

                   “ถ้าอย่างนั้น อาตมภาพจะได้คำนวณลงดวงจักรราศี  พร้อมลักขณากำเนิดให้เดี๋ยวนี้เลย”

                   การคำนวณดวงชะตาของท่านอาจารย์อรรณพ ซึ่งบัดนี้ อยู่ในฐานะอาจารย์ฝ่ายโหราศาสตร์เสร็จสิ้นลงภายในเวลาไม่ช้าไม่นาน ในขณะนี้ ท่านอาจารย์กำลังอยู่ในระหว่างอ่าน หรือวิเคราะห์ดวงชาตา เพื่อกลั่นหาคำพยากรณ์ที่แม่นยำ อุบาสกอุบาสิกาที่เฝ้าอยู่ไม่ยอมห่าง ตลอดเวลาที่พระอาจารย์คำนวณวิถีดาวในชาตากำเนิดอยู่ สังเกตว่า เค้าหน้าท่านมีแววครุ่นคิด บางขณะเห็นหัวคิ้วฉงน คล้ายสะดุดปัญหาบางอย่างที่เคลือบแคลงใจในดวงชาตานั้น ไม่ช้าไม่นาน หลังจากพลิกหนังสือตำหรับโหราศาสตร์หลายเล่ม ท่านอาจารย์ก็เงยหน้าขึ้น

                   “โยมมีดวงชาตา ลักขณาสถิตราศีมิถุน พระพุธกุมอยู่ได้นรเกณฑ์ จันทร์เป็นมหาจักร 11 แก่ลักขณา พฤหัสบดีเป็นสี่ ณ กันยราศี แม้จะเป็นประแต่ได้ปทุมเกณฑ์ ทั้งจันทร์และพฤหัสบดี จัดเป็นชาตาประเสริฐเลิศล้น พร้อมทั้งความสุข บริวาร ทรัพย์สิน ด้วยเกณฑ์ดอกบัวของของพระเคราะห์ 2 ดวงในชาตาประทุมชาติ ย่อมพิศมัยใหลหลงแต่ความดี ยึดมั่นในศีลธรรม คุณงามความดี ถือความดีเป็นชีวิต เป็นปราชญ์ปัญญาไว ด้วยพระพุธกุมลักขณา ทำให้เฉลียวฉลาดในธรรมอย่างลึกซึ้ง พระพุธเป็นเกษตรด้วยแล้ว ทำให้มั่นคงแน่วแน่ในทางธรรม ไม่แปรผันไปจากพระสัทธรรม หากแต่พระราหู ตัวเบียฬบ่อน ได้สถิตมุมที่เล็งพระศุกร์ในชาตา เบียฬพฤหัสบดี เรือนที่ 12 เสาร์อังคาร สองพระเคราะห์ร้ายกุมกันหน้าพฤหัสบดี บอกให้รู้เรื่องเสื่อมเสียทางคุณธรรม ความดีความสบาย เกิดขึ้นครั้งหนึ่งในชีวิต อันเป็นผลให้ไร้ความสุขที่ควรมีควรได้ไปเกือบหมดสิ้น ถูกละ ปี พ.. 24.. เมื่อพระพฤหัสบดีเสวยอายุ พระราหูแทรกปูมชาตาขณะนั้น พระราหูททับศุกร์กำเนิดอยู่ ตรงกับอายุคุณโยมได้ 31 ปี 4 เดือน 25 วัน ได้มีเหตุร้ายแรงเกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ในลักษณะที่ จำต้องสูญเสียของที่รัก ที่มีค่า ของที่งดงามน่ารักและน่าหวงแหน

                   “โอ” เสียงอุทานอย่างตกตะลึงพรึงเพริศในคำพยากรณ์ “ท่านอาจารย์ทำนายแม่นยำ ถูกเผง อย่างกับหมอเทวดา” ผู้เป็นสามีหลุดปากสรรเสริญออกมา พลางเล่าความหลัง

                   “ในช่วงอายุแม่เขาช่วงนั้นแหละท่านอาจารย์ ที่เราได้ประสบเหรุที่ทำลายความสุข ที่พึงมีพึงได้ พึงเป็นไปเสียกระทั่งทุกวันนี้ สิ่งที่เรารู้สึกว่าเป็นบาปทางจิตใจมาจนกระทั่งทุกวันนี้”

                   “เราสูญเสียลูกสาวไป 2 คนค่ะท่าน กำลังน่ารัก กำลังซน เพิ่งจะร้องเพลงเป็น”

                   ผู้เล่าอยู่ในอาการของผู้โทมนัส

                   “เป็นฝาแฝดค่ะ พี่ๆของลูกๆ ที่มาด้วยนั่นแหล่ะค่ะ เราสูญเสียลูกเพราะพวกโจรจนกระทั่งบัดนี้ ไม่เคยทราบข่าวคราวเลย”

                   เล่ามาถึงตอนนี้ หางเสียงก็แกมสะอื่นออกมา จนอีกคนต้องช่วยลำดับเรื่องต่อ

                   “ทางตำรวจไม่ยอมให้เราเสียเงินครับ แม้ว่าเรายินดีจะเสียเงินให้ ไม่ว่า ขอแต่ได้ลูกน้อยกลับมาปลอดภัย แต่ตำรวจกลับทำพลาดเสียเอง โจรมันอามะหิตเกินคาด เลยเชื่อว่าป่านนี้ลูกทั้งสองคงสิ้นชีวิตด้วยน้ำมือโจรไปนานแล้ว ซึ่งก็คงสิ้นแต่ปีที่เกิดเหตุนั้น”

                   “น่าเสียใจเสียดายแทนโยม วันเท่าไหร่หรือ ?ตั้งชื่อแล้วซิ ?” พระอาจารย์เปรยขึ้น เป็นที่เห็นใจผู้เป็นพ่อแม่

                   “ตอนนั้น อายุแค่ 5 ขวบเท่านั้นค่ะ กำลังเดินค่ะ ชื่อก็อุตสาห์ตั้งให้สมกับความรักของพ่อแม่เลยค่ะ  คนโตชื่อ หรีดหริ่ง คนน้องชื่อ เรไร ค่ะ ถ้ายังไม่ตาย ป่านนี้ก็คงจะรุ่นสาวแล้ว คงจะกำลังสวยน่ารักทั้งคู่ 15 ปีแล้ว ที่พ่อแม่ไม่เคยไดทราบข่าวคราวเลยท่านคะ ในที่สุดเราก็เลยเชื่อว่าลูกทั้งสองเสียชีวิตด้วยน้ำมือโจรใจโหดเสียแล้ว จึงได้ตกลงทำบุยมหากุศลอุทิศให้ลูกทั้งสอง ด้วยการสร้างโบสถ์ถวายวัดที่จังหวัดนครราชสีมาหลังหนึ่ง สิ้นเงินไป 3 ล้านบาทเศษ และหลังจากนั้น เรา พ่อแม่ ก็เริ่มถือศีลกินเจ เข้าวัดฟังธรรม ปฏิบัติจิตวิปัสสนา ไม่เคยขาด แต่จะทำอย่างไรก็ไม่คลายใจ แม้จะได้ท่องเที่ยวไปถึงเมืองจีน ได้ไปไหว้พระรูปพระโพธิสัตว์หลายองค์ และทั้งพยายามบำเพ็ญ ประพฤติธรรมตาแบบอย่างพระโพธิสัตว์เหล่านั้นด้วย แต่ก็ยังได้สัมผัสความรู้สึกบาปครั้งนั้นอยู่ตลอดเวลา ไม่เคยเหือดหายไปจากใจเลย ที่ทรมานความรู้สึกอย่างเหลือเกินก็คือ ความสงสารลูก แม้ขณะนี้ แม้ขณะนี้ ก็ยังคงนึกสงสารเศร้าในอยู่ไม่มีคลายเลย ค่ะ”

                   ผู้เป็นแม่ ไม่สามารถจะเล่าต่อไปได้ด้วยความตื้นตันใจ ได้แต่ก้มหน้าซ่อนเม็ดน้ำตา ที่เล็ดร่วงออกมาอย่างไม่รู้ตัว

                   “พวกเราก็ได้ตกลงกัน จะมุ่งไปทางธรรมครับท่านอาจารย์” สามีช่วยเล่าต่อ

                   “แต่ปฏิบัติธรรมได้ขั้นไหนจึงจะพ้นทุกข์เล่า ท่านอาจารย์ ?

                   “สำเร็จมรรคผลขั้นสูงสุด คือได้ อรหัตผล ซิ จะพ้นทุกข์” พระตอบ

                   “เป็นไปได้ไหมท่านอาจารย์ ที่คนสมัยนี้ จักบรรลุธรรมขั้นสูงสุดนั้นได้ ?

                   “ก็ ก็เป็นไปได้” พระอาจารย์ตอบคล้ายออมเสียง “เพราะพุทธองค์ตรัสว่าผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นเห็น

ตถาคต ก็บอกความหมายอยู่ โลกไม่สิ้นผู้ประพฤติดีประพฤติชอบอยู่ตราบใด ตราบนั้นโลกย่อมไม่ว่างจากพระอรหันต์ เพราะพระอรหันต์จุติขึ้นจากความดี ผู้ใดปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์ ผู้นั้น ก็ย่อมอาจบรรลุได้ ฉะนั้น พระธรรมจึงเป็น อกาลิโก คือไม่เกี่ยวกับยุคสมัย กาลเวลาใด สมัยใดก็ได้ ยุคใดก็ได้ คนสมัยนู้น หรือคนสมัยนี้ก็สำเร็จมรรคผลได้ไม่ใช่เรื่องแปลก สมัยนี้พระอรหันต์ก็คงมีอยู่  หากแต่เราต้องเข้าใจท่านให้ถูกต้อง ”

                   “พระคุณเจ้ากล่าวพูดใจกระผมเหลือเกิน จริงซิครับ หากพระศาสนาสิ้นมรรคผลเสียแล้ว ศรัทธาทั้งหมดก็คงจะสิ้นไปด้วย พระพุทธศาสนาก็คงอยู่ไม่ได้”

                   “ถูกแล้วโยม มรรคผลย่อมเป็นเป้าหมายอันสูงสุดของพระพุทธศาสนา หากสิ้นมรรคผลสิ้นความศรัทธา ฉะนั้น บุคคลพึงมั่นใจและเร่งพากเพียรบำเพ็ญบุญไปเถิด ในที่สุดย่อมถึงฝั่งได้”

                   “อะไรที่เป็นประตูของพระมหานิรพาน พระคุณเจ้า ?

                   “ประตูหรือ ? ถ้าว่าประตูมหานิรพาน ก็ได้แก่ โสดาปัตติมรรคแหละ”

                   “โอ พระคุณเจ้า ตอบได้ถูกใจกระผมจริงๆ โสดาปัตติมรรคอยู่ในระดับไหน พระอาจารย์ ?

                   “ระดับการสร้างสมบุญแหละโยม มีศีล ทาน เป็นต้น”

                   “พ้นโลกด้วยมรรคผลระดับนี้หรือ พระคุณเจ้า ?

                   “ยังซิ โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี แม้ อรหัตตมรรค ยังไม่พ้น จะต้องได้อรหัตตผลล่วงแล้ว จึงจะพ้นโลก โลกก็คือทุกข์นั่นแหละ โลกกับทุกข์อันเดียวกัน”

                   บัดนี้ การสนทนาเข้าถึงระดับปรมัตถ์แล้ว ระดับที่พระจะต้องระมัดระวังพอสมควร หากมิฉะนั้น อาจจะเผลอหรือแม้ไม่เผลอก็ตามแต่ ที่จะอวดสิ่งที่เรียกกันว่า “อุตตริมนุษยธรรม” ออกมาแล้วมักจักเป็นที่ไม่พอใจของพระอีกจำพวกหนึ่ง ที่ไม่มีอุตตริมนุษย์ธรรมที่จะอวด ก็จักกลายเป็นเรื่องใหญ่โตไปโดยไม่จำเป็น

                   “ทำไมพระทุกวันนี้ ตามวัดวาอารามทั่วๆไปไม่พูด ไม่สอนปรมัตธรรมเช่นนี้ พระคุณเจ้าทำไมไม่เน้นถึงเป้าหมายของพระศาสนาว่า มีมรรคผลเท่านั้นเป็นบั้นปลาย”

                   “เพราะเกรงถูกหาว่า อวดอุตตริมนุษย์ธรรมน่ะซี ประกอบกับพระส่วนมากที่สุด ไม่ได้เคยสัมผัสสิ่งนี้ คือ มรรคผล อันเป็นอุตตริมนุสสธรรม”

                   “กระผมว่าเป็นเพราะอย่างหลังมากกว่า สังคมพระพุทธศาสนาเหมือนกำลังหลงทางกันเฉออกไปเรื่อยๆ ลืมเป้าหมายปลายทางที่แท้จริง แม้ชั้นจะยอมรับว่า มรรคผล เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ก็ยังไม่ค่อยจะยอมรับกันอยู่แล้ว”

                   “พระที่ท่านบวชมาตั้งแต่เด็ก ตราบจนชราภาพแล้วบัดนี้ ใช่ว่าจักไม่บรรลุมรรคผล ก็ยังคงมีอยู่บ้าง ถึงแม้อาจจะไม่ใช่ระดับสูงสุด ฆราวาส แม้ไม่ได้บวช ก็ยังได้บรรลุถึง โสดาบัน สกิทาคามี ก็มี อยู่ที่ความประพฤติปฏิบัติ ตรงหรือไม่ ชอบหรือไม่ ได้เต็มที่แล้วหรือยัง นี่ต่างหาก เท่าที่อาตมภาพมั่นใจ ผู้ที่เชื่อในมรรคผล มักจักมีกำลังความพากเพียรพยายามมาก การดำเนินชีวิต มักเอาจริงเอาจัง มีความหมาย ส่วนผู้ที่ไม่เชื่อในมรรคผล ถ้าเป็นพระก็ไม่แคล้วเสียพระในไม่ช้าไม่นาน จะกลับกายเป็นคนผู้มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ หรือแม้กลายเป็นตอตัวทำลายไปเลยก็ย่อมได้ ฆราวาส ผู้ไม่เชื่อ ก็นับวันจะตำต่ำ ทำตัวให้จมลงไป เพราะฉะนั้น เชื่อในมรรคผล จึงมีเหตุแต่ได้คุณประโยชน์ โลกยังไม่ไร้คนใจบุญ ไม่ไร้คนทำดี ไม่ไร้คนทำประโยชน์ แก่ผู้อื่น โลกจักยังคงมี พระอริยบุคคล”

                   “ช่วยนำพาเราให้ข้ามพ้นด้วยเถิดพระคุณเจ้า” อดอุบาสิกาเอ่ยขึ้นด้วยน้ำเสียงอ้อนวอนพนมมือที่หน้าอก พระคงพูดไปเรื่อยๆ น้ำเสียงเฉื่อยๆไม่แสดงว่าจริงจังอะไร

                   “โยม บุญนั้น เป็นของที่ใครสร้างให้ไม่ได้ จะต้องสร้างเอาเอง ด้วยตัวเอง พระพุทธองค์ตรัสว่า ผู้ใดหว่าน ผู้นั้นย่อมเก็บเกี่ยวเอา บุญของเราที่ปรารถนาจักได้พาข้ามห้วงน้ำใหญ่ คือ มหรรณพ นั้น เราต้องสร้างของเราเอง”

                   “ทำบุญอย่างไรจึงจะได้บุญ พระคุณเจ้า ?

                   “ทำบุญด้วยการให้แล้ว ไม่หวังสิ่งหนึ่งสิ่งใดตอบแทนเลย ทำด้วยความปรารถนาอันบริสุทธิ์ ทำด้วยความสะอาดใจ ทำด้วยเต็มใจ ไม่ใช่ทำแบบการค้าที่ประสงค์ต่อผลกำไร ต้นทุนอยู่ ทานอะไรได้ให้ไปแล้ว หรือจะให้ทานก็ตามแต่ อย่าให้ใจยึดมั่นว่าเป็นของเรา สละแล้วก็แล้วไปไม่ใช่ของเราต่อไปอีก ไม่หวังผลใดตอบแทนเลยจากการให้ทานนั้น นี่จึงเรียกว่าทำบุญได้บุญจริงมีการชำระกันจริง นี้เป็นหลักที่ศักดิ์สิทธิ์นักเพราะเป็นอุบายชำระมลทินโทษภายในจิตอันเป็นวิถีแห่งมรรคผลโดยตรง การทำบุญด้วย รักษาศีล ปฏิบัติธรรม ทำสมาธิ เข้ากรรมฐาน วิปัสสนา อยู่ ธุดงค์วัตร ก็เป็นแบบอย่างแห่งการทำบุญอีกเช่นกัน ซึ่งมิทำด้วยการให้ทาน กระนั้นก็มีหลักเหมือนๆกัน คือทำด้วยสะอาดใจ บริสุทธิ์ใจ มุ่งต่อการชำระใจตนเป็นเป้าหมาย อย่าปฏิบัติไปโดยเห็นแก่ลาภ เห็นแก่ชื่อเสียง หรือที่ร้ายที่จักบังเกิดผลร้ายก็คือ เพื่อการโอ้อวด อย่างโง่เขลา รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็จักไม่ได้บุญ บุญต้องมุ่งที่ชำระใจ”

                   “สาธุ พระคุณเจ้า พระคุเจ้าแสดงอย่างเห็นแจ้งจริงจังทีเดียว” ทั้งคู่สรรเสริญขึ้นพร้อมกัน พระนิ่งอยู่

                   “ผู้สำเร็จแล้วซึ่งอมตผล กล่าวคำใดมิใช่เพื่อการโอ้อวด แต่เพื่อประโยชน์แก่ความศรัทธา เพื่อประโยชนแก่มิตร เพื่อชี้ทางแดผู้กำลังพากเพียรพยายาม มิใช่เพื่อประโยชน์ตนเอง”

                   “สาธุ พระคุณเจ้า ผู้ที่มีพื้นฐานทางธรรมะอยู่บ้างแล้ว จักซาบซึ้งถึงใจในธรรมะระดับปรมัตถ์นี้นะ   พระคุณเจ้า”

                   “เม็ดทรายที่ละเอียด ย่อมอยู่กับเม็ดทรายที่ละเอียดด้วยกัน อุปมาดั่งนั้น” พระพยามชักจูงเข้าสู่เส้นทางสว่าง

                   ถูกทีเดียว ผู้แสวงสิ่งที่เลิศ ย่อมรูของที่เลิศ เช่นนั้นเสมอ ผู้แสวงบุญย่อมรู้บุญ รู้ต้นบุญ และ ผลบุญ เช่นนั้นเสมอ ผู้มีดวงตาสว่างย่อมเห็น และย่อมได้ ส่วนผู้ตาบอด ย่อมคลำไป ย่อมกระเสือกกระสน และย่อมได้ของเลว

                   ยิ่งเนิ่นนานการสนทนาธรรมก็ยิ่งออกรสชาติ มีความรื่นรมย์ใจ สนุกสนาน อันแสดงว่าทั้งสองฝ่ายมีจิตวิญญาณในระดับละเอียดอ่อนยิ่งแล้ว

                   ในที่สุด ฝ่ายที่แสวงบุญ ก็วกเข้าหาเป้าหมายสำคัญที่ยังค้างอยู่ ไม่ทันเอยออกมาจากใจเลย

                   “การบำเพ็ญพรตพรหมจรรย์ในป่าช้า ได้ประโยชน์มากหรือท่านอาจารย์ ?

                   “ป่าช้า หลุมฝังศพ เป็นสถานบำเพ็ญพรตพรหมจรรย์ ที่ได้ผลมาก สัมฤทธิ์ผลทุกอย่างอยู่ที่ป่าช้าเหนือหลุมฝังศพนี่เอง สถานเช่นนี้เป็นที่โปรดปรานดุจดั่งบ้านที่แสนสุขสบายของพระโยคาวจรเจ้า”

                   “ท่านอาจารย์ พวกเราได้อ่านบันทึกการอยู่ป่าช้าเป็นเวลา 16 วัน 15 คืน ของท่านอาจารย์แล้ว

                   “โยมได้อ่านหรือ ?” พระอาจารย์ชิงถามอยากแปลกใจ

                   “จากท่านเจ้ากรมอย่างไรล่ะครับ”

                   “อ้อ” พระอาจารย์นึกขึ้นได้เลยถึงบางอ้อ

                   “พวกเราติดใจบันทึก คืนวันที่ 14 มกราคม 25… ท่านอาจารย์ยังจำได้อยู่หรือเปล่าคะ สำเนาบันทึกอยู่นี่ค่ะ สำเนาจากต้นฉบับที่ท่านอาจารย์กรุณาส่งไปให้ท่านเจ้ากรมอัมพรนั่นแหละ ค่ะ”

                   “อ๋อ” พระอาจารย์ถึงบางอ้ออีกหนหนึ่ง “บันทึกคืนวันที่ 14 มกราคม รึ ? ว่าอย่างไรล่ะ ?

                   “ว่าอย่างนี้ค่ะ” แล้วเสียงอ่านบันทึก ดั่งโฆษกมืออาชีพช่องก็ลำดับเรื่องขึ้น

                  

คืนวันที่ 14 มกราคม 25….

                   “กลางดึกประมาณเลยเที่ยงคืนไปแล้ว หลับอยู่ ได้ยินเสียงหนุงหนิงๆ สดใสกังวาน คล้ายเสียงเด็กพูดคุยกันเล่น แล้วเป็นเสียงเพลง จังหวะที่เร้าใจไพเราะมาก ตื่นขึ้นมา เห็นแสงจันทร์สาดส่องไปทั่วบริเวณป่า เงาไม้ทอดเป็นทางไปดูสว่างเย็นๆ แต่วังเวง เสียงเพลงอันไพเราะมีจังหวะเร้าใจแบบเพลงๆหนึ่ง ใช้เต้นรำหรือรำวง จังหวะชะ ชะ ช่า หรือ กัวราช่า นี่ ยังคงแว่วมาอยู่ เสียงสดใสดั่งเสียงเพชร แต่เนื้อความจับไม่ได้ชัด คล้ายเสียงเด็กน้อย 2 คน เล่นกันอยู่กลางดินทราย ดินที่ถูกไฟเชิงตะกอนเผาศพร่วนจนเป็นทราย เล่นกันเบาๆ เงียบๆ น่าสงสาร นิ่งฟังอยู่อย่างนึกเวทนาในใจ เพราะได้อารมณ์โดดเดี่ยวเดียวดายไร้ที่พึ่งพิงดีเหลือเกิน เสียงนั้นไพเราะจริงๆเพราะมีกระแสกังวาลละมุน เหมือนเสียงกระทบกันของเครื่องประดับมีค่า ให้ความรู้สึกเช่นนั้น ทั้งเป็นเสียงที่สดใสกล่อมกลมอย่างประหลาด ในบรรยากาศอันแจ่มแจ้งของแสงจันทร์ และความสงบในป่าช้า นี่ก็ใช่ว่าจะมีความหมายอะไร ธรรมดาป่าช้า”

                  

                   อ่านจบ ผู้อ่านก็อ้ำอึ้งนิ่งขึงอยู่ด้วยความรู้สึกสะเทือนใจจนไม่สามารถเอ่ยถ้อยคำใดต่อไปได้

                   “จากบันทึกของท่านอาจารย์คืนนั้นแหละครับ” ฝ่ายสามีเอ่ยแทน “ภรรยาของผมเชื่อเลยทันทีว่า นั่นแหละลูก หรีดหริ่ง กับลูก เรไร เล่นกันอยู่ เธอเชื่อว่าบุคลิกภาพที่ท่านอาจารย์บรรยายไว้ ตรงกับบุคลิกภาพของลูกๆ ไม่มีผิดเลย นั่นแหละเป็นเหตุผลสำคัญยิ่ง ที่เราต้องเดินทางมาหาท่านอาจารย์ในวันนี้ ครับ”

                   “เราอยากถามท่านอาจารย์ เกี่ยวกับการบันทึกประจำวันชุดนี้ค่ะ ท่านอาจารย์”

                   “ก็เป็นบันทึกตามเหตุการณ์ที่ได้พบ บันทึกไปวันต่อวัน คืนต่อคืน ตามที่บอกไว้แล้วในบันทึกนั้นเองน่ะซี”

                   “เช่นเดียวกับบันทึกเหตุการณ์ในคืนอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคืนวันที่ 17 มกราคม หรือพระคุณเจ้า”

                   “คืนวันที่ 17 หรือ เรื่องอะไร ?

                   “เรื่องที่พะอาจารย์บันทึกเกี่ยวกับ ดนตรีแห่งป่าช้า ที่เหล่าแมลงและนกต่างๆ บรรเลงขับกล่อมโหมประโคมสนั่นป่าช้าอันกว้างใหญ่ ไปตลอดคืนนั่นแหละค่ะ”

                   “ถูกละ คืนนั้น คืนที่แมลงภูตพรายมาบรรเลงขับกล่อมประเล้าประโลมใจให้ ก็เป็นเหตุการณ์ที่ได้พบ ได้สัมผัสด้วยอายตนะปกติ อีกเหตุการณ์หนึ่ง”

                   “แสดงว่าเป็นเรื่องจริง ครับ ในเรื่องขับกล่อมของเด็กน้อยทั้งสองคนนั้นเล่าครับ ในความรู้สึกของท่านอาจารย์ รู้สึกว่าเป็นการพูดคุยกันกระหนุงกระหนิงอย่างเด็กเล็กๆ อย่างนั้นใช่ไหมครับ ?

                   “ใช่ เด็กน่าสงสาร พร้า แม้ในน้ำเสียงที่คุยกันก็บอกถึงความเปล่าเปลี่ยวเดียวดาย ขาดความอบอุ่น เต็มไปด้วยสัมผัสของความว้าเหว่เอกากาย ในป่าช้ากว้างใหญ่ ยาที่เงียบสงัดในราตรี เป็นเพียงเสียงเดียวที่บรรเลงขึ้นในท่ามราตรีอันสงบล้ำลึก”

                   “โธ่ จะไม่ว้าเหว่อย่างไร ท่านอาจารย์ ก็จากพ่อแม่ไปร่วม 20 ปีแล้วนี่

                   “น้ำเสียงนั้นประทับใจอาตมภาพมาก เสียงนุ่มไพเราะเหลือเกิน ซึ่งบอกให้รู้ความสดใสสะอาดของจิตใจที่น่ารัก ความไพเราะของเสียงอย่างที่อาตมภาพบันทึกไว้นั้น คล้ายดั่งเสียงของสิ่งมีค่า ที่เป็นเครื่องประดับกระทบกัน อย่างเช่นเพชรเม็ดใหญ่กระทบกันเกิดเสียงขึ้นปานอย่างนั้น”

                   “นั่นแหละค่ะ กำไลข้อมือกับกำไลข้อเท้า มีเพชรประดับจริงอย่างท่านอาจารย์ว่า ลูกชอบมากทั้งสองคนแหละค่ะ เวลาเดินจะมีเสียงกรุ๋งกริ๋งๆ นี่แหลค่ะท่านอาจารย์ ลูกของดิฉัน โธ่เอ๋ย มาอยู่เสียงตั้งไกลจากบ้านเกิดเมืองนอน ท่านอาจารย์ค่ะ เราคิดกันไว้ก่อนจะเดินทางมาแล้วค่ะ จะได้อุทิศผลบุญให้ลูกทั้งสองของเรา ให้ถึงให้ทันจริงๆ และเราต้องอาศัยบารมีท่านอาจารย์ ได้โปรดให้ความปรึกษาหารือในเรื่องนี้ ในทุกๆอย่างทุกประการ เราจะถือว่าท่านอาจารย์เป็นพระโพธิสัตว์ ผู้มาโปรดยุคเข็ญให้แก่เรา ด้วยความจริงใจอันบริสุทธิ์ ฉะนั้น เรา พ่อ แม่ คณะมัญชุศรีโพธิสัตว์ จะขออาราธนาพระอาจารย์ไว้เสียแต่เดี๋ยวนี้ ให้ช่วยเป็นที่ปรึกษา ในการก่อสร้าง อนุสรณ์ป่าช้าอนุสาวรีย์ลูกรัก ดังกล่าวนั้นในทุกๆด้าน เพราะในขณะนี้พวกเราก็ได้ข้อมูลครบสมบูรณ์พอแก่การตัดสินใจในทันทีแล้ว พวกดิฉันและคณะมัญชุศรีโพธิสัตว์ จักขอกราบลาท่านอาจารย์ไปก่อนในวันนี้ เพื่อกลับไปเตรียมการให้เร็วที่สุด”

                   อีกหนึ่งปีให้หลัง อนุสรณ์ป่าช้าอนุสาวรีย์ลูกรัก ของคณะมัญชุศรีโพธิสัตว์ ที่สร้างถวายเป็นเครื่องบูชาธรรม ในพระศาสนาองค์สมเด็จพระชินสีห์เจ้า อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็สำเร็จลงอย่างน่าชื่นชม ในบริเวณป่าช้าแห่งนั้น ซึ่งมีกำแพงขาว สูงท่วมหลังช้างล้อมรอบเนื้อที่กว่า 50 ไร่ บริเวณย่านกลางหลุมฝังศพ ที่ก่ายเกยกันนับร้อยนับพัน ตรงที่พระอาจารย์เจ้าปักกลดแสวงวิเวก อันเป็นโมกขธรรมสุดสงบในคราวนั้น ปรากฏสิ่งก่อสร้าง ที่ออกแบบและจัดสร้างอย่างสวยงาม เป็นอาคารหินอ่อนล้วน รูปแมงผีเสื้ออยู่ในท่ากางปีกบิน อย่างสง่างาม ส่วนที่เป็นปีกและหางเป็นหลังคา ขณะเดียวกันเป็นสนามพิเศษสำหรับรับอากาศบริสุทธิ์ในห้วงฟ้า สำหรับพระโยคาวจรเจ้า ผู้เข้าอยู่รักพรหมจรรย์ในที่นี้ จะใช้เดินจงกรมและบริหารวิถีแห่งปราณ อันเป็นแนวพลังภายในโดยเฉพาะ ภายในส่วนที่ตัวผีเสื้อ เป็นห้องโถงโล่งตลอด ด้านหลังและข้างๆตัว มีหน้าต่างและช่องโพรงอากาศเข้าออก ดูโปร่งไปทั้งตัว ส่วนขาทั้งสี่ ทำเป็นบันไดขึ้นลง ส่วนปีกทั้งสอง เมื่อกางออกในท่าโผจะบินนี้ เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ด้านหัวยาวประมาณ 50 เมตร ด้านหางยาว 25 เมตร ความกว้างของปีกทั้งสองข้าง ประมาณ 30 เมตร เป็นรูปแมงผีเสื้อที่สวยสดงดงาม มหึมาที่สุดในโลก สิ้นค่าก่อสร้างไม่ต่ำกว่า 3 ล้านบาท เท่าๆกับโบสถ์หลังงามหลังหนึ่ง ทีเดียว

                   นานๆ จะปรากฏชีผ้าขาวคู่หนึ่ง มานั่งจำศีลภาวนาในป่าช้าแห่งนั้น โดยอยู่ปฏิบัติเฉพาะ ส่วนใต้ปีกแมงผีเสื้อส่วนล่าง ส่วนบนตัวผีเสื้อนั้น ไม่วายเป็นที่สงสัยของคนทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุสงฆ์ สามเณร นักแสวงบุญ ผู้เดินทาง หรือแท้แต่ชาวบ้านร้านถิ่นที่อยู่ใกล้ๆ ว่าเป็นสถานที่สำหรับทำอะไร มีใครอยู่ข้างในตัวแมงผีเสื้อนั้น ซึ่งผู้เห็นและรู้เหตุการณ์ จะบอกให้ทราบว่า

                   “นั่นแหละ เป็นสถานที่พระเจ้าเข้านิโรธสมาบัติละ เข้าไปแล้วไม่ต้องฉันข้าวและน้ำ ไม่อุจจาระปัสสาวะ เข้าไปแล้วอยู่ไปได้นับเป็นวัน เป็นสัปดาห์ เป็นเดือนเลยทีเดียว” .

 

                                                อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ                       โก หิ นาโถ ปโร สิยา

                                                อตฺตนา หิ สุทนฺเตน                            นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ.

                                                ตนแล เป็นที่พึงของตน                     คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้

                                                ก็บุคคลมีตนฝึกฝนดีแล้ว                 ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้โดยยาก

                                                                                                                                (ข.. 25/36)

 

จบบริบูรณ์

 




นิทานธรรมะแสนสนุก

คำนำว่าด้วยประวัติย่อของผู้ประพันธ์ เล่าถวายสหธรรมิก
มานุสสาสุรสงคราม
เจ้าชายหงส์ขาว
พระเหลียวหลัง
ยมราชถามอะไรคือการศึกษา article
ซิ่งเนรคุณ article
มงกุฎมาลีรัตนะแห่งองค์พระอรหันต์เจ้า
พญาโคร่งดำโพธิสัตว์
ดอกไม้ป่าสีน้ำเงิน
อาลัยบาป
คนไม่เคย
ภาระสี่เหล่าจักรพรรดิ์ธรรม
คนเมืองหิว
นักเลงปืนแก๊ป
ตำนานรักหนุ่มบ้านกาจสาวบ้านมโนรมย์
สงครามครั้งสุดท้าย
ธารมโนเพชร



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
----- ***** ----- โปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate นี่คือเวบไซต์คู่ www.newworldbelieve.com กับ www.newworldbelieve.net เราให้เป็นเวบไซต์ที่เสนอธรรมะหรือ ความจริง หรือ ความคิดเห็นในเรื่องราวของชีวิต ตั้งใจให้ธัมมะเป็นทาน ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แด่คนทั้งหลาย ทั้งโลก ให้ได้รู้ความจริงของศาสนาต่าง ๆในโลกวันนี้ และได้รู้ศาสนาที่ประเสริฐเพียงศาสนาเดียวสำหรับโลกยุคใหม่ จักรวาลใหม่ เรามีผู้รู้ ผู้ตรัสรู้ ผู้วินิจฉัยสรรพธรรมสรรพวิชชา สรรพศาสน์ และสรรพศาสตร์ พอชี้ทางสู่โลกใหม่ ให้ความสุข ความสบายใจความมีชีวิตที่หลุดพ้นไปสู่โลกใหม่ เราได้อุทิศเนื้อที่ทั้งหมดเป็นเนื้อที่สำหรับธรรมะทั้งหมด ไม่มีการโฆษณาสินค้า มาแต่ต้น นับถึงวันนี้ร่วม 14 ปีแล้ว มาวันนี้ เราได้สร้างได้ทำเวบไซต์คู่นี้จนได้กลายเป็นแดนโลกแห่งความสว่างไสว เบิกบานใจ ไร้พิษภัย เป็นแดนประตูวิเศษ เปิดเข้าไปแล้ว เจริญดวงตาปัญญาละเอียดอ่อน เห็นแต่สิ่งที่น่าสบายใจ ที่ผสานความคิดจิตใจคนทั้งหลายด้วยไมตรีจิตมิตรภาพล้วน ๆ ไปสู่ความเป็นมิตรกันและกันล้วน ๆ วันนี้เวบไซต์นี้ ได้กลายเป็นโลกท่องเที่ยวอีกโลกหนึ่ง ที่กว้างใหญ่ไพศาล เข้าไปแล้วได้พบแต่สิ่งที่สบายใจมีความสุข ให้ความคิดสติปัญญา และได้พบเรื่องราวหลายหลากมากมาย ที่อาจจะท่องเที่ยวไปได้ตลอดชีวิต หรือท่านอาจจะอยากอยู่ณโลกนี้ไปชั่วนิรันดร ไม่กลับออกไปอีกก็ได้ เพียงแต่ท่านเข้าใจว่านี่เป็นแดนต้นเรื่องเป็นด่านข้ามจากแดนโลกเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง และซึ่งเป็นโลกหรือบ้านของท่านทั้งหลายได้เลยทีเดียว ซึ่งสำหรับคนต่างชาติ ต่างภาษาต่างศาสนา ได้โปรดใช้การแปลของ กูเกิล หรือ Google Translate แปลเป็นภาษาของท่านก่อน ที่เขาเพิ่งประสบความสำเร็จการแปลให้ได้แทบทุกภาษาในโลกมนุษย์นี้แล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้เอง นั้นแหละเท่ากับท่านจะเป็นที่ไหนของโลกก็ตาม ทั้งหมดโลกประมาณ 7.6 พันล้านคนวันนี้ สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในโลกของเราได้เลย เราไม่ได้นำท่านไปเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่การนำไปสู่ความจริง ความรู้เรื่องชีวิตใหม่ การอุบัติใหม่สู่ภาวะอริยบุคคล ไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปพ้นจากทุกข์ ทั้งหลายไปสู่โลกแห่งความสุขแท้นิรันดร คือโลกนิพพานขององค์บรมศาสดาพุทธศาสนา พระบรมครูพุทธะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ท่านโปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate ท่านก็จะเข้าสู่โลกนี้ได้ทันทีพร้อมกับคน7.6พันล้านคนทั้งโลกนี้. ----- ***** ----- • หมายเหตุ เอาขึ้นเวบไซต์ แทนของเดิม ทั้ง 2 เวบ .net .com วันที่ 21 เม.ย. 2565 เวลา 07.00 น. -----*****-----