ReadyPlanet.com
dot
dot dot
bulletBUDDHISM TO THE NEW WORLD ERA
dot
พระพุทธเจ้า
dot
bulletบทศึกษาพิเศษ:พระพุทธเจ้า ศึกษาจากวันวิสาขบูชา วันสำคัญของโลก
bulletคำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรนแปล เช้า- เย็น
bulletคำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรแปล เช้า-เย็น อัพเดต
dot
พุทโธโลยี
dot
bulletสมาคมศิษย์หลวงปู่เครื่อง จัดประกวดเรียงความออนไลน์มัธยมศึกษาในวันวิสาขบูชา คลิกดูรายละเอียดและรางวัลที่นี่
dot
ชมรมยุวพุทโธโลยีเพื่อการศึกษาและปฏิบัติธรรม
dot
bulletThe Beginning ความเป็นมาของโครงการชมรมยุวพุโธโลยีเพื่อการศึกษาและปฏิบัติธรรม
bulletChart Showing the Process
dot
บุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี พ.ศ.2540 - 2566
dot
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 1
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 2
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี บุคคลที่ 1 - 188 ปัจจุบัน
bulletหนังสือพิมพ์ดี
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 1
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 2
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 3
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 4
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 5
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 6
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 7
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 8
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 9
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 10
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 11
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 12
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 13
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 14
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 15
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 16
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 17
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 18
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 19
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 20
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 21
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 22
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 23
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 24
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 25
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 26
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 27
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 28
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 29
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 30
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 31
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 32
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 33
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 34
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 35
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 36
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 37
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 38
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 39
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 40
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 41
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 42
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 43
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 44
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 45
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 46
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 47
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 48
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 49
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 50
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 51
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 52
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 54
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 55
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 56
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 57
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 58
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 59
dot
To The World
dot
bulletENGLISH
bulletUSA
bulletChina
bulletIndia
bullet Mynmar
bullet Cambodia
bullet Loas
bulletSri Lanka
bulletMalaysia
bulletKorea
bulletA Sharp Turn of Believes : Iresearch Iwrite Iread
dot
Buddhism How? บันทึกของนักปฏิบัติธรรมผู้ถวายชีวิตพิศูจน์สัจธรรมพุทธให้รู้แจ้งเห็นจริงถึงระดับมรรคผลนิพพานแท้
dot
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 1
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 2
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 3
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 4
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 5
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 6
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 7
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 8
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 9
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 10
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 11
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 12
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 13
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 14
bulletMystery Report 15
bulletMystery Report 16
bulletMystery Report 17
bulletMystery Report 18
bulletMystery Report 19
bulletMystery Report 20
bulletMystery Report 21
bulletMystery Report 22
bulletMystery Report 23
bulletMystery Report 24
bulletMystery World Report 25
bulletศึกษาโลกลี้ลับ 26
dot
เฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว วิเคราะห์ทุกปัญหาในโลกมนุษย์ด้วยสติปัญญาและเหตุผลวิทยาศาสตร์จากนสพ.ดี
dot
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2536
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2537
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2538
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2539
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2540
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2541
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2542
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2543-2545
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2545-2549
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2549-2550
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2550-ส.ค.2551
bulletเฝ้าดูฯ ส.ค.-ก.ย.2551
bulletเฝ้าดูฯ ก.ย.2551- ธ.ค. 2551
dot
เฝ้าดูฯสำนวนพัชรา กอปรทศธรรม
dot
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 16-27
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 29
bulletบทความใหม่ เม.ย.-พ.ค.2552
bulletพุทธธรรมเพื่อทางดับทุกข์
bulletทฤษฎีการดับทุกข์ทางจิต วิปัสสนากรรมฐานโดยการทำงาน(สำนวนปรับปรุงใหม่)
bulletประวัติพัชรา กอปรทศธรรม
bulletประวัติการต่อสู้เพื่อการดับทุกข์ ของพัชรา กอปรทศธรรม
bulletอัลบั้มรูป history
bulletนิทานธรรมะประยุกต์ มานุสสาสุระสงคราม 4 ภาค และอื่น ๆ
bulletอัลบั้มรูป ภาพในอดีตและชีวประวัติศาสตร์ที่สวยงาม
bulletจากเวบบอร์ด พูดกันไม่รู้เรื่อง ประชาธิปไตยล้าหลัง
bulletศาสนาสากล การวิเคราะห์ความหมาย
bulletปลอบใจ
dot
รวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์ แนวปฏิรูปคณะสงฆ์อยู่ในบทวิเคราะห์นี้แล้ว
dot
bulletรวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์
dot
สากลจักรวาล สากลศาสนา แนวคิดศาสนาสำหรับคนยุคใหม่ ผู้ก้าวผิดทางไปสู่สิ่งไร้สาระโดยไม่รู้ตัว
dot
bulletสากล...ศาสนา 1
bulletสากล...ศาสนา 2
bulletสากล...ศาสนา 3
bulletสากล...ศาสนา 4
bulletสากล...ศาสนา 5
bulletสากล...ศาสนา 6
bulletสากล...ศาสนา 7
bulletสากล...ศาสนา 9
bulletสากล...ศาสนา 8
bulletสากล...ศาสนา 10
bulletสากล...ศาสนา 11
bulletสากล...ศาสนา 12
bulletสากล...ศาสนา 13
bulletสากล...ศาสนา 14
bulletสากล...ศาสนา 16
dot
ส่วนข้อมูลสำคัญเพื่อการวิจัยการเมืองไทยยุค คมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
dot
bulletข้อมูลสำคัญยุคคมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่1/26ส.ค.2551
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่2/27ส.ค.2551
bulletใบปลิว อีเมล์ ในหลวงทรงร้องไห้
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 1
bulletในหลวงเพิ่งทราบข่าวฆ่าประชาชน10เมย.53ทรงร้องไห้
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
dot
รวมข่าวม็อบการเมืองสนธิ-จำลอง-ปชป.มิ.ย.51-เม.ย.52 นสพ.
dot
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 2
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 3
bulletรวมข่าวม็อบ30มิ.ย.51-23มี.ค.52
bulletเลือดศรีสะเกษบันทึกเรื่องราวรอบด้านเกี่ยวกับเขาพระวิหาร
dot
การโฆษณาชวนเชื่อล้มรัฐบาลทักษิณ
dot
bulletรายงานการโฆษณาชวนเชื่อในประเทศไทยที่ล้มล้างรัฐบาลทักษิณ
dot
หนังสือพิมพ์ดี ของฟรีให้เปล่ามา20ปีแล้วทั้งเอกสารและอินเทอเนท
dot
bulletหนังสือพิมพ์ดี ( อินเทอเนต ) เล่ม 1 - 44 - ล่าสุด
bulletหน้าที่เก็บไว้
bulletมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร)
bulletวัดมหาพุทธาราม ศรีสะเกษ บันทึกเหตุการณ์
bulletสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดศรีสะเกษแห่งที่ 1
bulletเกี่ยวกับเวบไซต์ของเรา เราทำเพื่อปัญญาชนโดยแท้
bulletรวมกระทู้เด็ดจากกระดานถามตอบ
bulletคาถาอาคมไสยศาสตร์
bulletกวีนิพนธ์ใหม่
bulletศูนย์ปฏิญญาณละเลิกอบายมุข บัญชีที่ 1- 4


ภาระสี่เหล่าจักรพรรดิ์ธรรม

 ภาระสี่เหล่าจักรพรรดิธรรม

              โดย จักร สุธาธรรม

 

                   ฤดูนั้น ใบไม้หล่นแล้ว ภายในบ้านครึ่งตึกครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 ชั้น 3 คูหา หลังนั้นมีดสลัวๆ ยังไม่มีไฟฟ้าเข้ามาถึงหมู่บ้านนั้น หมู่บ้านดงผีผ่วน ทั้งบ้านหลังนั้นเงียบเชียบนานๆ จะได้ยินเสียงขลุกขลัก เสียงภาชนะชนกันดังกริ่งกร่างบ้าง นั่นเป็นเพราะมีแม่ครัวทำการปรุงอาหารเย็นอยู่ ซึ่งดูเหมือนอะไรๆ จะเรียบร้อยแล้ว ผู้เป็นแม่ครัวก็เดินบ่นออกมา

                   “ป่านนี้เด็กๆ ไปไหนกันหมดนะพ่อ มันจะเข้าทุ่มหนึ่งแล้วนะเนี่ย ?

                   ผู้ถูกเรียกว่าพ่อ แต่แท้จริงผัว ขณะนั่งอารมณ์เย็นสูบบุหรี่รอเวลาอาหารมือสุดท้ายของวัน เงยหน้าขึ้นมองภรรยาอย่างเข้าใจในน้ำเสียง

                   “เดี๋ยวก็คงจะมากันหรอก เจ้าอ้ายกับเจ้ายี่ พ่อใช้มันไปซื้อหินเหล็กไฟ ส่วนเจ้าสามก็คงจะเที่ยวเล่นไปตามป่าตามรก เก็บใบโพธิ์มาทำว่าวเล่นสนุกอยู่ที่ลานวัดเหมือนเช่นเคย เหนื่อยเข้า หิวเข้า ก็มาเองน่ะแหละ”

                   “โฮ้ยอ่อนใจ” เสียงภรรยาถอนหายใจ นั่งลงบนม้ายาวข้างๆกัน

                   “เจ้าอ้ายกับเจ้ายี่นั่น ไม่มีอะไรเป็นห่วงหรอก แต่เจ้าสามนี่สิ แม่ดูมันไม่ออกเลยจริงๆ อนาคตข้างหน้ามันจะเป็นอย่างไร ไม่รู้จะคาดคิด รู้สึกว่าจินตนาการ ความใฝ่ฝันมันแปลกประหลาด ออกข้างจะดื้อดึง เอาแต่ใจตัวเอง”

                   “เด็กมันยังไร้เดียงสาอยู่ แม่ก็

                   สามีกล่าวแต่เพียงสั้นๆ แสดงออกถึงความใจเย็นเป็นทองไม่รู้ร้อน ซึ่งดูจะตรงข้ามกับภรรยา ซึ่งร้อนแรง และด้วยเหตุนี้ จึงไม่ทันที่สามีจะกล่าวจบความ ชิงตัดหน้าเสียก่อน

                   “แม่ว่ามันโตแล้วนะ มันเดียงสา ไม่ใช่ไม่เดียงสาอย่างพ่อว่า พ่อสังเกตหรือเปล่ามันฉลาดแต่ก็ดื้อ แกมโกง ฉลาดเมื่อจะเอา จะเอาอะไรมันจะต้องได้ ตามใจมันทุกอย่าง พ่อเองก็ชอบถือหางลูกคนนี้นัก แม่ว่าไม่ช้าจะเสียเด็กน่ะนา อยากให้พ่อเตือนๆ ลูกบ้าง สอนลูกบ้าง บางครั้งก็ใช้ไม้บ้างเถอะ”

                   “เอาเถอะน่า” ผู้เป็นสามีคงใจเย็นฉ่ำอยู่เหมือนเดิม

                   “แม่ก็ทำเป็นใจร้อนไปได้ โบราณว่าอะไรมันจะเกิดมันก็ย่อมเกิด แม่เองก็มีหน้าที่อยู่สอนลูกคนอื่นได้ ทีลูกตัวเองไม่สอนเอา พ่อน่ะ ว่าแม่ตามใจลูกสอนจนชินน่ะไม่ว่า มันซนเหลือละแต่ก็ฉลาดมากๆ ก็น่ารักไปอีกแบบใช่ไหม พ่อว่ามันยังเด็ก โตขึ้นไปอาจจะดีขึ้น คอยดูมันไปก่อนก็แล้วกัน”

                   ยังไม่ทันจะต่อความต่อไปอีก ก็มีเสียงวิ่งอย่างเร็ว ชนิดไม่มีเบรกเข้ามาในบ้าน ยังไม่ทันเห็นตัว เสียงพูดเข้ามาก่อน ชนิดที่คาดการไว้ล่วงหน้าอย่างถูกต้อง

                   “พ่อแม่ครับ สามมาแล้ว มีข่าวดีมาบอกด้วยครับ”

                   ถลาข้าไปที่ม้ายาวตัวที่พ่อแม่นั่งกันอยู่ แทรกนั่งระหว่างกลาง แทรกนั่งระหว่างกลาง ท่าทางกระตือรือร้น

                   “มีพระธุดงค์มาแน่ะพ่อ จับแขนพ่อเขย่า ผู้เป็นแม่เบือนหน้าหนีไปทางอื่นด้วยนึกรู้”

                   “ท่านมาจากไหนล่ะลูก” พ่อถามเรื่อยๆ

                   “ท่านบอกว่ามาจากเขาหิมพานต์แน่ะพ่อ”

                   “อยู่ที่ไหนล่ะ เขาหิมพานต์ไม่เคยได้ยินชื่อเลย ?

                   “ท่านบอกว่าเป็นชื่อทั่วๆไปเท่านั้นพ่อ ชื่อจริงๆก็มีแต่ผมไม่ได้ถามท่าน พ่ออกไปคุยกับท่านซิครับ”

                   “ท่านปักกลดอยู่ไหนล่ะ ?

                   “ห้วยผีโขมดดง ตรงคุ้งทางไปบ้านขามไงล่ะพ่อ”

                   “ท่านมากับใครลูก”  ผู้เป็นแม่ถามมั่ง

                   “ท่านมาองค์เดียวครับ”

                   “ลูกคุยกับท่านแล้วหรือ ท่านเล่าอะไรให้ฟังบ้างล่ะ ?

                   “ท่านว่าท่านพยากรณ์ชีวิตได้ครับ ท่านรู้อนาคตพวกเราทุกคน พ่อแม่อยากจะรู้อะไรก็ออกไปถามท่านซิครับ”

                   “แล้วลูกเองล่ะ” พ่อถามยิ้มๆ “อยากได้อะไรจากท่าน ?

                   “ผมอยากออกไปคุยกับท่านต่อครับพ่อแม่ คืนนี้ขออนุญาตผมออกไปค้างคืนในกลดของท่านนะครับ”

                   คำพูดของเด็กวัย  9 ขวบคนนั้น ทำให้ผู้เป็นพ่อแม่ ถึงกับอึ้งไป ไม่อาจเอ่ยคำเป็นเวลานานหลายอึดใจ

                   อีก 7 วันต่อมา สองผัวเมียก็ต้องตกตะลึงไปกับข้อเสนอใหม่ของเกชายสามผู้ลูกอีกครั้งหนึ่ง คราวแรกอยากออกไปพักค้างแรมกับพระ ก็ตกใจไปกันทีหนึ่งแล้ว แต่ครั้นได้คิดว่า อยู่ใกล้พระนั่นแหละเป็นของประเสริฐละ ก็อนุญาตให้อย่างไม่ค่อยจะสบายเสบยใจนัก มาคราวนี้ข้อเสนอกลับยิ่งไม่น่าไว้วางใจไปกกว่าเก่าเสียอีก ใครจะคาดเดาไปถึงว่าความคิดของเด็กระดับนี้จักไปไกลถึงขนาดนั้น

                   “ผมจะไปกับพระธุดงค์ครับพ่อแม่ ผมจะต้องไปให้ได้และท่านก็อนุญาตแล้วด้วย”

                   เป็นพ่อ แม่ ใครก็ไม่อยู่ในฐานะจะยินยอมให้ได้ เด็กอายุยังน้อยเท่านี้ การเรียนยังไม่จบชั้นประถมศึกษา สภาวะทางมันสมองสติปัญญา ก็ยังอ่อนเยาว์เช่นนี้ พ่อแม่จักห่วงหวงเพียงใดนั้น ไม่อาจคิดคำนึงถึง

                   แต่บุญนำกรรมแต่ง ลิขิตความเป็นไปแห่งชีวิต เมื่อถึงคราวเป็นไปก็ไม่มีใครจะทัดทานได้ ความเลื่อมใสศรัทธาอันเป็นพื้นฐานก็ชั้นหนึ่ง และการที่พระธุดงค์รูปนั้นเข้ามาโปรดถึงที่เรือนรับบิณฑบาตในวันนั้น และคืนนั้น นั่นเอง เป็นเหตุให้มีการตัดสินใจในที่สุด

                   “อาตมภาพได้นิมิตที่ดีเกี่ยวกับเด็กคนนี้” พระกล่าวช้า ๆ น้ำเสียงทุ้มชัดเจน มีอิริยาบถที่น่าเลื่อมใสและน่าเกรงไปหมด

                   “ดวงชะตาของเขาต้องเกณฑ์ทั้ง 4 แห่งจักรทีปนีทุกอย่าง อุตตารามมหาเถรพยากรณ์ให้ได้เป็นถึงจักรพรรดิ แต่อาตมภาพขอให้เป็นธรรมเถิด ชาตาของเขาจะต้องมาทางฝ่ายธรรม จักรพรรดิธรรม”

                   คำพยากรณ์ช่างยิ่งใหญ่ น่าที่ผู้เป็นพ่อแม่จักชื่นอกชื่นใจและเต็มตื้นไปด้วยความหวังในอนาคต แม้ก็รู้สึกอยู่คลับคล้ายคลับคลาว่า ในคำพยากรณ์นั้น จะมีคำย่อมยอเอาใจอยู่ส่วนหนึ่งก็ตาม

                   “ลูกดิฉันยังเล็กอยู่เหลือเกินหลวงพ่อ ถ้าปล่อยให้ไปการเรียนก็ชะงักหมด โตขึ้นจะลำบาก ทัศนะจะคับแคบไม่ทันกิน ไม่ทันโลกนะค่ะหลวงพ่อ”

                   ผู้เป็นแม่ ไม่รู้จะหาข้อกีดกันอย่างไรต่อไปอีกแล้ว กล่าวขึ้นในที่สุด

                   “เด็กฉลาดครู พ่อแม่เขาก็ฉลาดนะ เชื้อสายกรรมพันธุ์ดี อย่าได้วิตกเลย ชาตาเด็กคนนี้จะปล่อยให้อยู่ฝ่ายโลกไม่ได้หรอก พื้นชาตาเขาถูกกำหนดไว้แล้ว สำหรับจะเป็นฝ่ายธรรมอาตมภาพเองมีหน้าที่อันนี้ คือเสาะแสวงหาเด็กคนนี้มาชั่วชีวิต บัดนี้ได้พบเขาแล้ว อาตมภาพจำต้องนำเขาไป สู่ที่ๆเป็นถิ่นฐานอันคุ้นเคยของเขา นั่นคือเขา     หิมพานต์อันกว้างใหญ่ และอาตมภาพเป็นผู้รับผิดชอบในตัวเขาทุกอย่าง คุณและโทษจักมีแก่อาตมภาพเนื่องมาจากเขา ฉะนั้น โยมอย่าได้วิตก อาตมภาพจะสอนเขาและสร้างเขาอย่างสุดชีวิตอาตมภาพเลยทีเดียว อาตมภาพจะให้คำพยากรณ์ไว้ ในอีกสัก 40 ปีข้างหน้า เด็กผู้นั้นจะปรากฏขึ้นในบรรณพิภพ จงมั่นใจเถิด”

                   แล้วด้วยคำว่า “เห็นแก่พระพุทธศาสนา” ครูหนุ่มสาว สองผัวเมียซึ่งยังมีสิทธิ์จะปั้น ลูกจะมาทดแทนได้อีกหลายๆคน ก็ยอมเสียสละ ยกลูกชายสุดที่รักให้เป็นธรรมทายาทในคืนนั้น และไม่กี่วันต่อมา พระอาจารย์เจ้ารูปนั้น ก็ถอนกลดพาลูกศิษย์น้อยหายไปจากลำห้วย

                   นับจากวันนั้นล่วงไป 10 ปี

                   อะไรที่เป็นความห่วง ความกังวลอยู่แต่เดิม ก็ยังคงเป็นความห่วงความกังวลอยู่อย่างนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้เป็นแม่ ที่โดยอัตโนมัติ ได้มีส่วนกระตุ้นให้มีการตื่นตัว เอาใจใส่ในเรื่องวัดวาอาราม การพระศาสนา แต่เนื่องจากสติปัญญา อยู่ในระดับที่โลกตีว่า “ปัญญาชน” ด้วยสำเร็จปริญญาวิทยาลัยครูด้วยกันทั้งคู่ ความสนใจการพระศาสนา จึงออกจะต่างไปจากระดับชาวบ้านไปมากๆ

                   กลายเป็นนักศึกษาค้นคว้าจากตำรับตำรา และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระธรรมคัมภีร์ที่เป็นต้นบททั้งหลาย เพื่อต้นบททั้งหลาย เพื่อน้อมไปพิจารณาอย่างกับนักวิทยาศาสตร์ ที่มีจุดเชื่อมโยงอยู่เดียงสอง คือจากเหตุ ไป หาผล และหรือ จาก ผล ทวนไปหา เหตุ มากกว่าจักหลงใหลงมงายไปกับพิธีกรรมอันเป็นพื้นๆ ที่บางหนบางแห่งก็เอาจริงเอาจังเกินไป จนเห็นกระพี้ดีกว่าแก่นไม้ แต่ก็ไม่ปฏิเสธในคุณค่าของพิธีกรรมในด้านอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในฐานะเครื่องมืออันวิเศษสำหรับงานการปกครองในชนบทที่มี อวิชชาครอบครองอยู่หนาทึบ ดี ในทางนั้น ทว่า อย่างข้าอย่างทาส

                   นั่นแหละเป็นความเข้าใจในศาสนาของสามีภริยา ภายในช่วงกาลที่ได้ล่วงมา ระยะหลังๆนี้ อันเนื่องจากบุตรชายผู้เยาว์ได้พลัดพรากไป เป็นเวลา 10 ปีเข้าแล้ว และเป็น 10 ปี ที่จิตเฝ้าพะวงอาวรณ์ถึงเขาหิมพานต์ อันมีความหมายถึง อาณาเขตอันกว้างใหญ่ไพศาลแห่งป่าเขาลำเนาไพร อยู่ตลอดเวลาไม่สิ้นสุดเหมือนกระแสธารที่ไม่รู้เหือดแห้งแล้ว

                   ความเป็นอัจฉริยะแสดงออกด้วยคำพูด ฉะนั้นค่าของไอคิว จึงตีมาจาก ค่าถ้อยคำเจรจา ลูกสามแสดงให้เห็นอยู่แล้วว่ามีไอคิวสูง คงเอาตัวรอดได้หรอก ขอให้สมกับดวงชะตาพยากรณ์ของพระอาจารย์เจ้าผู้วิเศษเถิด “จักรพรรดิธรรม” ความคำนึงเช่นนี้แหละที่วกวนเข้ามาหาตัวเองเสมอๆ โดยเฉพาะในเวลาอ้างว้างในอารมณ์ คราพระอาทิตย์ชิงเข้าพลบ แล้วทำให้เกิดความเหว่ว้าเอกาอย่างประหลาด ในดวงใจของพ่อและแม่คู่นั้น

                   “พ่อคิดว่าในวัดทุกวันมีการศึกษาอะไร ? เสียงภริยาถามขึ้นในคืนวันหนึ่ง”

                   “เอ” เป็นเสียงคร้านๆ ของสามี คล้ายเห็นเป็นเรื่องที่น่าหน่าย

                   “ไม่รู้เหมือนกันนะ แต่ ถ้าจะให้คาดคะเนละก็ มันไม่เหมือนสมัยโบราณแน่ละ”

                   “พระสมัยนี้ ” ภริยาเอ่ยได้แค่นี้ แล้วคล้ายลังเลใจอยู่ ภายหลังชั่วอึดใจผ่านไป

                   “นี่พ่อ ไม่ใช่นินทาหาบาปใส่หัวหรอกนะ ความเป็นจริงๆนี่แหละ ลองเอามาวิเคราะห์กัน ฉันว่าพระสมัยนี้ จะมีความรู้อะไรสอนเด็กมัน จะสอนอะไรได้ ไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์หรือแม้จะเป็นภาษาไทย หรือจะสอนการฝีมือการครัว หรือการอาชีพอะไรๆ ต่างๆ อย่างที่ว่านี่คงจะสอนไม่ได้ ?

                   “มันพ้นสมัยแล้วแหละ ความคิดอย่างแม่คิดน่ะ ผู้เป็นผัวคล้ายไม่สบใจที่ยินเรื่องที่เกี่ยวกับพระสงฆ์องค์เจ้า”

                   “จะให้พระกลับมาสอน หรือให้การศึกษาขั้นมูลฐานเข้าไปอยู่ในวัดกันอีก มันเป็นไปไม่ได้แล้ว”

                   “ทำไม ?” คล้ายจะไล่เลียงหาความรู้สึกที่แท้จากอีกฝ่ายหนึ่ง

                   “มันเป็นเรื่องทางโลกเขา เป็นโลกีย์วิสัย เป็นเรื่องอาชีพ พระไม่มีความรู้ หรือมีก็แค่ประถมศึกษา ยังไม่ทันจะรู้โหน่อิเหน่อะไร คิดง่ายๆ เห็นกันอยู่แล้ว ถ้าอยากเป็นนักหนังสือพิมพ์นี่ บวชเข้าไป หรือเข้าไปเรียนในวัดนี่ มันจะเป็นนักหนังสือพิมพ์ได้ไหม ? อย่าคิดไปไกลขนาดนั้นเลย เอาแค่สอนให้เขียนอ่านไทยให้ถูกสำเนียง สะกดการันต์ให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทยนี่ก็เถอะ มันก็เอามาตรฐานอะไรไม่ได้เสียแล้ว มันคนละอย่างกัน พระท่านไม่ได้เชี่ยวชาญในด้านอย่างนี้ ท่านไม่ได้บวชเพื่อจะเรียนเรื่องการงานอาชีพเหล่านี้

                   “พ่อว่ามานี่จะกินความกว้างไปหน่อยกระมัง ถูกละ ท่านไม่มีความรู้ ในเรื่องการงานอาชีพอะไร แต่ท่านอาจอำนวยการบริหารได้

                   “ก็อำนวยการบริหารที่แม่ว่า มันก็ต้องรู้หลักการ ต้องเรียนต่อศึกษาวิชาการบริหารหรือไม่ก็ผ่านประสบการณ์มาช่ำของพอ แต่ดูเอาเถิด พระท่านทั้งไม่ได้เรียน ไม่ได้รู้ ไม่มีประสบในเรื่องงานบริหารมาเลยนี่ ก็ดูเอาเถอะ การปกครองพระสมัยนี้เละเทะเพียงใด ลองวิเคราะห์ดีๆเถอะ มิเพราะมาจากสาเหตุที่ว่านี้หรอกหรือ ?

                   “เอ ฉันชักงงแฮะ ก็แต่ก่อนพระท่านปกครองของท่านอย่างไรล่ะ ?

                   “โดยพระธรรมวินัย” คราวนี้สามีออกเสียงค่อนข้างกระด้างๆ คล้ายมีความในใจผลักดัน แต่ก็ยังไม่ทันจบความ

                   “ก็ทำไมไม่เอาหลักพระวินัยมาปกครองต่อล่ะ ?” ภริยาแย้งขึ้นทันควัน

                   “แม่ไม่รู้เรื่องอะไร มันพูดยาก สมัยนี้มีที่ไหนที่พระจะพูดถึงเรื่องนี้

                   “เอ๊ะ พ่อนี่” ภริยาขัดขึ้นอย่างไม่ค่อยจะพอใจในคำพูดของสามี

                   “พ่อพูดยังไง ถ้าพระไม่ถือพระวินัย ไม่ครองธรรมครองวินัยเสียแล้ว จะได้ชื่อว่าเป็นพระอย่างไรกัน ? พ่อพูดคล้ายว่าพระทุกันนี้เป็นพระนอกพระธรรมวินัย หรือไม่ก็ล้วนต่างพร้อมกันไปหมด”

                   “ก็ไม่ลองถามตัวเองดู ตัวเองไม่รู้สึกอยู่หรือ ? ” สามีย้อนกลับอย่างทันกัน

                   “ที่ว่าหาพระทำบุญทำทานยากจริงๆ น่ะ มันหมายความว่ากระไร ? คำพูดตัวเอง ?

                   “ฉันหมายเอาเฉพาะในชนบท ที่การศึกษามันด้อยล้าหลัง ดูเอาเถิด พระในวัดก็มาจากลูกชาวบ้านนอกคอลวงนา ล้วนเด็กๆที่เราเคยสั่งสอนอบรมมาทั้งนั้น จะเป็นหลวงต่อหลวงอาหลวงก็ล้วนคนในโอวาทเรามาก่อน โง่ๆ เงอะๆ ซ้ำล้วนเคยขี้เหล้าเมายา หรือไม่ก็ หากินไม่พอเลี้ยงปากเลี้ยงท้องมาก่อนทั้งนั้น บวชก็เพื่ออาศัยอยู่อาศัยกินไปวันหนึ่งๆ ในเมืองที่มีความเจริญกว่า การศึกษาก็ดีกว่า อะไรๆ ก็ดีกว่า น่าจะมีพระที่ทรงธรรมทรงวินัย มีความรู้สูงพอ”

                   “อธิบายให้ชัดซิ สงสัยในประเด็นไหนกันแน่ ?” สามีเน้นเสียงมา

                   “ฉันหมายถึงพระที่มีคุณวุฒิ เช่นพระมาเปรียญ ท่านพระครู ท่านเจ้าคุณ พระราชาคณะ หรือสมเด็จอะไรอย่างนั้นน่ะ เท่าที่ฟังสำเนียงก็รู้สึกจะเป็นพระชั้นสูง ?

                   “ทำไม่หมายความเอาพระฝ่ายปกครองนับแต่ เจ้าอาวาส เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะภาค เจ้าคณะหน ตามลำดับนี้ด้วยล่ะ ?

                   สามีย้อนกลับไปอย่างไม่ลดละ และดูเหมือนจะได้ผลที่สามารถหยุดการรุกของภริยาลงได้อย่างน้อยก็ชั่วอึดใจหนึ่ง ยังไม่ยอมจำนน

                   “ฉันไม่เข้าใจ ท่านที่เป็นพระมหาเปรียญ เป็นพระครู เป็นท่านเจ้าคุณ เป็นสมเด็กนี่น่ะ ท่านมิได้มีความรู้พิเศษอย่างน้อยก็บรรลุธรรมขั้นโสดาบันกันหรือหรือ”

                   มีเสียงคล้ายกลั้นหัวเราะอย่างเต็มที่จากฝ่ายตรงกันข้าม จนฝ่ายแรกประหลาดใจ นึกรู้ว่าตัวเองปล่อยไก่โต้งออกไปตัวใดบ้างแล้ว เมื่อฝ่ายหนึ่งร่ายยาวออกไปว่า

                   “โธ่เอ๋ย มีบัณฑิตปริญญาจากมหาวิทยาลัย ช่างไม่รู้อะไรเกี่ยวกับมรรคเกี่ยวกับผลเสียเลย คู่สี่แห่งพระอริยบุคคล มี โสดาปัตติมมรรค-โสดาบัตติผล ที่เธอกล่าวอ้างเป็นเบื้องต้นนั้น มิได้เป็นเหตุและผลอะไรเลย กับยศฐาบันดาศักดิ์หรือตำแหน่งทางการปกครองพระนั่น อย่างนั้นมันโลกียวิสัยเราดีๆนี่เอง ยิ่งเนิ่นนานวันยิ่งกัดกร่อน ทำให้พระศาสนาเสื่อมโทรมลง จนกระทั่งทุกวันนี้ เต็มทีแล้ว ไม่เคยได้ทราบเลยหรือ ข่าวการแข่งตำแหน่งต่างๆ หรือยศฐาบรรณาศักดิ์ของพระชั้นใหญ่ๆโตๆ ถึงขนาดมีการสังหารพระด้วยกันที่ขวางทางยศฐานบรรดาศักดิ์ที่หมายปองต้องจิต นี่แหละจึงว่า พระธรรมวินัยนั้น ท่านไม่พูดกันแล้ว เธอจะต้องศึกษาหาความรู้ในเรื่องนี้ให้นานและลึกซึ้งสักหน่อยเสียแล้วละซี”

                   มีเสียงคล้ายสั่งอะไรออกมาทางจมูก

                   “ก็เริ่มเสียเดี๋ยวนี้เลยเป็นไร ว่าแต่พอพอจะเป็นครูให้ได้ไหมล่ะ เป็นครูจำเป็นพลาง ?

                   “ลองว่ามาซิข้องใจเรื่องอะไร มีปัญญาตอบจะตอบ ไม่มีตอบไม่ได้ก็จนใจ รอถามเอากะพระจักรพรรดิ์ธรรมนู่นแน่ะ”

                   “ข้อที่ 1 อธิบายสั้นๆ ให้ได้ความชัดเจน ครอบคลุมความหมาย อะไรที่เรียกว่าพระมหาเปรียญ”

                   “พระหรือสามเณร ที่เข้าเรียนวิชาภาษาบาลี ตามหลักสูตรการสอนของคณะสงฆ์ไทย เป็นการเรียนภาษาเหมือนกับเราเรียนภาษาอังกฤษฝรั่งเศสนั่นแหละ ไม่แตกต่างกันเลย มีการเรียนเป็นชั้นๆไปเหมือนกัน ทางบาลีท่านเริ่มจากวิชาไวยากรณ์ก่อน ขั้นนี้เรียกว่าชั้นประโยค 1-2 เรียนในหลักสูตร 1 ปีอย่างเร็ว อย่างช้า 2 ปี สอบได้ในขั้นนี้ยังไม่เรียกพระมหา ต้องเรียนต่อไปอีกปีหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าประโยค 3 หรือเปรียญธรรม 3 ประโยค ในชั้นนี้จะมีเรียนไวยากรณ์กับแปลมคธเป็นไทย มีเท็กซ์บุ๊ค คือ พระธรรมบทภาคต่างๆ ชั้นนี้เรียนถึงภาค 8 หลักสูตร 1 ปี สอบชั้นนี้ผ่านจึงจะได้ชื่อว่าเป็น พระมหาเปรียญ แล้วในปีต่อไปก็เรียนและสอบเปรียญธรรม 4 ประโยค แล้วก็ 5 ประโยค 6 ประโยค 7 ประโยค ไปเรื่อย จนจบชั้นสูงสุดของสาขาวิชานี้ คือชั้นเปรียญธรรม 9 ประโยค”

                   “สำเร็จชั้นเปรียญธรรม 9 ประโยคแล้ว ก็ไม่หมายความว่าได้บรรลุธรรม แม้ขั้นต่ำคือโสดาบันน่ะซิ ?

                   “ก็ถูกซิ เพราะเรียนบาลีนี้ก็ไม่ต่างอะไรไปมากมายกับนักเรียนในวิทยาลัยอย่างเราๆ เพียงแต่ว่าบาลีเป็นวิชาธรรมะเท่านั้น จะจัดเป็นวิชาเลือก เป็นแขนงวิชาเฉพาะอย่าง เอกหรือโทก็แล้วแต่ ไม่ใช่หลักสูตรที่เกี่ยวกับการบรรลุธรรมโดยตรง จบ ป.. 9 ก็คงเป็นคนธรรมดานี่แหละ หากท่านไม่ปฏิบัติตามคำสอน ไม่ขวนขวายทางด้านวิปัสสนาธุระ ไม่เห็นหรือ จบ ป.. 9 ก็ลาสิขาออกมาเยอะแยะไป อย่างมหาสีเทาที่เขียนคอลัมน์ ในรั้วสีเหลือง นั่นอย่างงไร”

                   “อ้อ เข้าใจชัดเลย ถ้าอย่างนั้น พูดถึงความรู้กันแท้ๆ อาจารย์แผนกภาษาต่างประเทศในมหาวิทยาลัยเช่น จุฬาธรรมศาสตร์ ถึงว่าเป็นผู้หญิง ท่านก็คงมีความรู้บาลีไม่น้อยกว่าท่านมหาเหล่านี้น่ะซิ หากว่าให้ตำแหน่งมหาได้ ท่านก็คงได้ถึงเปรียญ 9 เหมือนกัน”

                   “ก็จะมีอะไรต่างล่ะ ยิ่งศาสตราจารย์ทางอักษรศาสตร์ของฝรั่งเขายิ่งมีความรู้ลึกซึ้งไปอีกหลายระดับ แต่ไม่ลองคิดดู ทำไมพวกนั้นไม่บรรลุธรรมกัน”

                   “เอาละ ขอบคุณค่ะ ทีนี้ข้อที่ 2 อะไรที่เรียกว่า ท่านพระครู อย่างเช่นพระครูที่เกี่ยวกับทุจริตเครื่องราชที่เป็นข่าวโครมครามอยู่คราวหนึ่งน่ะ ?

                   “นั่นมิใช่พระครูนะ แต่เป็นขั้นที่สูงกว่าพระครูไปอีก เป็นขั้นราชแล้ว เอาละ พระครู คำเต็มก็คือ พระครูสัญญาบัตร เป็นยศของพระโดยพระราชทาน และโดยทรงมอบคณะสงฆ์จัดการกันเองในการคัดเลือกเสนอพระภิกษุรูปที่มีความเหมาะสม ที่ได้สร้างคุณความดีต่อศาสนาสมควรได้รับพระราชท่านยศ หรือ สมณศักดิ์นี้ เสนอขึ้นไปเป็นปีๆ ตั้งกันปีละครั้ง เลื่อนชั้นกันปีละครั้ง การคัดเลือกก็ดูว่า เป็นเจ้าอาวาส รองหรือผู้ช่วย ที่เรียกว่า พระสังฆาธิการ หรือเปล่า ถ้าเป็นได้สร้างถาวรวัตถุอะไรในพระศาสนาบ้าง ในทางปฏิบัติ อย่างน้อยจะได้พระครูนี้ จะต้องโบสถ์ 1 sหลัง ค่าสร้างไม่ต่ำกว่า หนึ่งล้านห้าแสนบาทไว้ก่อน แต่ถ้าจะให้ชัดๆ หมดสงสัยก็ศาลาการเปรียญอีกสักหลัง 1 ล้านเป็นอย่างต่ำบวกเข้าไป หรือถึงป่านนี้ยังมีจุดด้อยอยู่ก็ต้องวิ่งเต้นเสียค่าน้ำร้อนน้ำชากันมั่ง นอกจากคุณความดีนี้ก็ต้องใส่ผลงานด้านการศึกษา การเผยแผ่ การปกครอง เข้าไปด้วย พอให้ครบพิธีการ พอได้เป็นพระครูก็มีนิตยภัตติ เสบยขึ้นหน่อย พอมีพอใช้ไปบ้างจนตราบมรณภาพนู้นแหละ”

                   “อ๋อ เป็นเช่นนี้เอง เข้าใจละ มิน่าล่ะ ไปที่ไหนเห็นมีแต่สร้างๆ แล้วก็สร้าง ราวกะจะให้ได้มรรคได้ผลยังงั้น ที่นี้ ข้อ 3 เรื่องเจ้าคุณ ที่เรียกๆเจ้าคุณ คล้ายๆ ตำแหน่งเจ้าขุนมูลนายสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชนี่แน่ะ เป็นอะไรกัน คล้ายๆ ตำแหน่งขุนนางท้าวพระยาสมัยนั้น ?

                   “ก็ยศพระ หรือ สมณศักดิ์ ในระดับที่เหนือขึ้นไป สูงขึ้นไป ยิ่งใหญ่ขึ้นไปอีกน่ะซี เรียกว่าขั้นพระราชาคณะ หรือชั้นพระเจ้าแผ่นดินสงฆ์ละ ระดับนี้ในหมู่บ้าน ตำบลหรือแม้ระดับอำเภอหาไม่เจอหรอก เพราะเป็นชั้นสูง ในจังหวัดหนึ่งๆจะมีอยู่ไม่กี่รูป อยู่ที่ตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัด รองเจ้าคณะจังหวัดบางแห่ง เจาคณะภาค ขึ้นไป ในชั้นนี้ก็แบ่งอีก เป็นชั้นสามัญ ชั้นราช ชั้นเทพ ชั้นธรรม ชั้นพรหม ชั้นรองสมเด็จ แล้วเป็น ชั้นสมเด็จ ถึงสมเด็จพระสังฆราช เป็นสูงสุด”

                   “เข้าใจละ ส่วนเจ้าอาวาส เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะภาค เจ้าคณะหน เหล่านี้ ก็คงเป็นตำแหน่งฝ่ายการปกครองล่ะซี เอาละ เข้าใจตำแหน่งเหล่านี้ ก็คงเอาสมณศักดิ์ที่ว่าเข้าไปกำกับให้ความสำคัญขึ้นเป็นการเฉพาะบุคคลไปอีก แต่ว่าเรื่องราว หรืออะไรๆ ที่เกี่ยวกับพระ ราวกับเครื่องถนิมพิมพาภรณ์พวกนี้ ฉันไม่เห็นว่าจะเกี่ยวข้องกับการบรรลุมรรคผลแต่อย่างใด คือฉันความกังขา มีวิตกวิจารณ์อยู่ว่า พระที่ท่านเป็นมหาเปรียญ เป็นพระครู เป็นพระราชาคณะ หรือพระเจ้าแผ่นดินสงฆ์นี้ ท่านได้บรรลุธรรมอย่างไร ได้บรรลุหรือเปล่า ? เพราะฉันชักไม่แน่ใจว่า พระบวชแล้ว ท่านทำอะไรเพื่ออะไรกันแน่ ท่านมิได้แสวงหามรรคผล นิพพานกันดอกหรือ ?

                   “เรื่องนี้อีกแหละ ที่พระท่านเลิกพูดถึงกันแล้ว ใครพูดถึงมรรคผลนิพพาน ก็ดูเหมือนจะถูกป้ายเลยว่า อวดอุตตริมนุศศธรรมเข้าให้ โทษร้ายแรงเชียว ขั้นตัดหัวสึก อะไรเป็นอะไรในวงการคณะสงฆ์ทุกวันนี้ เป็นเรื่องที่แม่จะต้องสนใจศึกษาอย่างละเอียดลึกซึ้งไปอีกมากมายทีเดียวเทียว”

                   “มีลูกชายสักคนได้บวช ก็อยากได้เห็นว่าท่านได้อะไรที่เป็นอะไรแท้ๆ ของพระศาสนาเถอะ ให้ท่านได้บรรลุมรรคผลนิพพาน อย่ามาติดอยู่ที่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข อย่างชาวบ้านเขาเลย สาธุ”

                   อีก 5 ปีล่วงไป นับจากคืนที่สองสามีภริยาปรารถเรื่องการคณะสงฆ์ ระยะ 5 ปีหลังนี้ หมู่บ้านดงผีผ่วน ได้พัฒนาไปไกลมากแล้ว ไฟฟ้า ถนนหนทาง ห้วยหนองคลองบึง การปศุสัตว์ ข้าวกล้า ชมรมวัด โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ แม้กระทั่งพระสงฆ์ก็ได้พัฒนาไปแล้วด้วย เจ้าอาวาแห่งวัดบ้านดงผีผ่วน ได้เป็นที่พระครูสัญญาบัตร “พระครูศรีพิพัฒนศาสน์” ซึ่งเป็นพระครูสัญญาบัตรรูปแรกแห่งวัดดงผีผ่วนนี้

                   แต่สองผัวเมีย ยังคงฝังใจอยู่ในเหตุการณ์ตั้งแต่ 15 ปีก่อนพู้น ชนิดที่ไม่อาจลบรอยแห่งความตรึงตราตรึงใจไปได้

                   “ป่านนี้ลูกสามมิโตเต็มที่แล้วหรือ ?” ภริยาปรารภขึ้นก่อนอีกตามเคย

                   “ก็โตเท่าเด็กอายุ 24 แหละ” สารทมีตอบอย่างนับเดือนนับปีมาตลอด

                   “อะไรหนอคือความของจักรพรรดิธรรม”

                   ฝ่ายแรกเปรยขึ้นลอยๆ ไม่มีคำตอบจากอีกฝ่าย ดูเหมือนทั้งคู่ต่างอยู่ในอาการต่างคนต่างคิดคำนึงไปตามเรื่องตามราวของใครของมัน

                   “ลูกอ้ายได้สำเร็จปริญญาโทจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปแล้ว ยังแต่จะทำปริญญาเอก”

                   ผู้เป็นเพ่อรำพึงขึ้น

                   “ลูกยี่สำเร็จมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นเนติบัณฑิตตยสภา ลูกสี่สำเร็จโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ลูกห้าเพิ่งสำเร็จเตรียมอักษรศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพญาไท กำลังจะเข้ามหาวิทยาลัยในปีนี้”

                   “แต่ลูกสามของเรา เขาไปไหนล่ะพ่อ ? ” ศรีภริยาขัดขึ้นเบาๆ

                   “ไปสู่บัลลังก์จักรพรรดิ จักรพรรดิธรรม พ่อเชื่อเช่นนั้น เชื่อในสายเลือด เชื่อในดวงชะตา และเชื่อในพระคุณเจ้า พระอาจารย์ของเขา”

                   สามี มิได้อธิบายขยายความอะไรมากไปกว่านั้น ด้วยเห็นว่าอีกฝ่ายซึ่งบัดนี้ ได้เรียนและศึกษา ตลอดทั้งทฤษฏีและปฏิบัติ เป็นต้นใน ศีล ภาวนา กรรมฐาน สมาธิ วิปัสสนา เหล่านี้ ไปไม่น้อยแล้ว ก็รู้หรือได้อะไรไปพอๆกันอยู่แล้ว

                   ดูเหมือนทั้งคู่ต่างเพียงสนทนาฆ่าเวลาไปพลางเท่านั้น ความมืดเริ่มขมุกขมัวลงในที่สุด ผู้เป็นแม่ก็ถอนบ่นขึ้นเบาๆ

                   “ไม่รู้ไปวิ่งเล่นอยู่แถวไหน จนกระทั่งมืดค่ำป่านนี้แล้วยังไม่เห็นหัว ?

                   เธอหมายถึงลูกคนที่หกของเธอ ซึ่งคงจะเป็นคนสุดท้องแล้ว ตามที่ได้ความตกลงกันไว้กับอีกฝ่าย  ผู้เป็นพ่อ

                   “เดี๋ยวก็คงจะมากันหรอก เจ้าหกกับเจ้ากำพร้าคู่หูนั่น”

                   สามีสนองตอบด้วยน้ำเสียงเอื่อยๆ เรื่อยๆ เหมือนสายน้ำไหลอยู่เหมือนเดิม ก่อนจะลุกขึ้นบิดกายเดินเข้าไปในห้องที่มีการตกแต่งอย่างค่อนข้างประณีต มิดชิดห้องทางทิศเหนือ ซึ่งจัดเป็นห้องพระกรรมฐาน ส่วนผู้เป็นแม่เข้าไปหลังบ้านเตรียมตั้งโต๊ะ แต่มิทันจะเริ่มลงมือจัดทำอะไรกัน ก็มีเสียงวิ่งของฝีเท้า 2 คู่ ตรงเข้ามาในท่าทีกระตือรือร้น ได้ยินเสียงก่อนเห็นตัว

                   “พ่อแม่ครับ หกกับหินมาแล้วครับ มีข่าวดีมาบอกด้วย”

                   พ่อค่อยโผล่หน้าออกมา พร้อมๆกับแม่ผู้กลับออกมาจากห้องครัว

                   “มีข่าวดีอะไรหรือลูก ?

                   “พระธุดงค์มาครับพ่อ ปักกลดอยู่ที่เขื่อนขามดงโน้นแน่ะพ่อ”

                   ลูกๆบ้านนี้ ดูเหมือนจะคุ้นกับผู้เป็นพ่อมากกว่าผู้เป็นแม่เสมอไป คำบอกเล่านั้น เสมือนยาบำรุงกำลังขนานเอก สองผัวเมียพลันเกิดเปลี่ยนแปลงในสีหน้าอารมณ์ ชั่วขณะแรกก็มีแววตื่นเต้นปรากฏชัด แต่แล้วกลับมีแววปรากฏความหม่นหมองในใจ แกมกันไปด้วยอารมณ์ที่บอกไม่ถูก

                   “ท่านเป็นยังไงบ้างลูก ?” ผู้เป็นแม่ป้อนคำถามออกไปก่อนอย่างให้ทันใจอยาก

                   “แม่หมายความว่า พระธุดงค์ท่านอ้วน ผอม พี ขาวหรือดำ หน้าตาท่านเป็นยังไง เล่าไปให้ละเอียดซิ”

                   “ท่านไม่อ้วนไม่ผอมหรอกครับ สูงใหญ่คล้ายๆพ่อนี่แหละ รูปงาน ผิวคล้ำ ท่านบอกว่าสมญานามท่านคือ ธมฺมสมีโกภิกขุ”

                   “ท่านไม่ได้บอกชื่อหรือลูก ท่านชื่ออะไร ?

                   “ท่านบอกแต่ว่าท่านเกิดที่นี่ ที่นี่เป็นแผ่นดินกำเนิดของท่าน”

                   ทั้งคู่แทบกระโดดตัวลอยด้วยความยินดี

                   “ใช่แล้ว ลูกสาม”

                   เปล่งเสียงอย่างกะนัดกันไว้ แล้วต่างก็มีท่าทีกระวีกระวาดขึ้นในบัดนั้น

                   “ไป” ผู้เป็นพ่อกล่าวกับคู่ชีวิต “ไปเดี๋ยวนี้แหละ”

                   มิวายที่ลูกกับลูกเหิน จะจ้องตาค้าง ด้วยท่าทีอันแปลกประหลาดของพ่อกับแม่ แต่แล้ว เสียงหนึ่งก็ขัดขึ้น เป็นเสียงของผู้มาถึงใหม่ ยังไม่ทันเห็นตัว

                   “นิมนต์ท่านเข้ามาที่เรือนไม่ดีกว่าหรือ ?

                   นั่นเป็นเสียงกำนันตำบลดงผีผ่วน ผู้ได้เลื่อนจากตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ด้วยการเลือกตั้งเมื่อไม่นานมานี้ ที่เป็นคนกันเอง ก้าวเข้ามาภายในบ้านโดยมิให้ต้องเชื้อเชิญ

                   “พระคุณเจ้าบอกว่าธุดงค์มาหลายรู ล้วนเป็นลูกศิษย์ของท่านทั้งนั้น ท่านเองแยกหมู่มารูปเดียวต่างหาก ไม่ต้องสงสัย ถึงไม่บอกก็รู้ว่าเป็นคุณสามของเราแน่ เพราะรูปร่างหน้าตาคล้ายคลึงไปทางพ่อมาก ส่วนดวงตาจะคล้ายตาฝ่ายแม่”

                   ยิ่งได้ข้อมูลเพิ่มเติมมา ก็ยิ่งเสริมเพิ่มหัวใจให้เต้นแรงยิ่งขึ้น ดีใจจนไม่รู้จะทำอะไรถูก

                   “พระอาจารย์ของท่านมาด้วยหรือเปล่าล่ะคะลุงกำนัน ?” เสียงถามแจ่มใสไพเราะ

                   “แว่วๆ ว่าถึงมรณภาพเสียแล้ว ที่มาด้วยส่วนใหญ่เป็นพระภิกษุหนุ่ม อาจารย์ใหญ่ได้ข่าวแต่เมื่อไหร่นี่ ?

                   ประโยคหลัง กำนันดงผีผ่วนย้อนถาม ซึ่งไม่จำเพาะว่าถามใคร ผัวหรือเมีย เพราะทั้งคู่ต่างเป็น “อาจารย์ใหญ่” ด้วยกัน แต่ใหญ่คนละโรงเรียนในตำบลเดียวกันนั่นเอง

                   “ก็หยกๆนี่เอง ลูกหกกับลูกเหินเพิ่งรายงานแล้วเสร็จ ลุงกำนันก็มาถึงพอดี” ทั้งคู่ชิงกันตอบแทบไม่หายใจ

                   “พวกเราก็พลอยดีใจด้วย ทุกคนทราบข่าว ทุกคนยินดีภูมิใจจริงๆ สายเลือดนี้ล้วนได้ดิบได้ดีกันหมด ไม่ว่าจะไปฝ่ายโลกหรือฝ่ายธรรม” กำนันแสดงความรู้สึกอย่างจริงใจ และความจริงก็เป็นที่น่าภาคภูมิใจเช่นนั้น

                   “ไปกันเถอะลุงกำนัน” แม่ผู้ร้อนก่อนเสมอ ชวนขึ้นอีกครั้ง แต่กำนัน พ่อตำบลกลับไม่รีบร้อน นั่งลงบนโซฟาเสียอย่างใจเย็น อาจารย์ใหญ่ผู้สามีพลอยนั่งลงด้วย เดี๋ยวนี้ กำนันกับอาจารย์ใหญ่ไม่สูบบุหรี่แล้ว ไม่ดื่มเหล้าแล้ว ดื่มน้ำเย็นแทน

                   “ใจเย็นก่อนเถอะ ท่านอาจารย์หญิง” กำนันชี้แจง “ท่านมาแล้วก็คงอยู่ไปทั้งคืนนั่นแหละ รับข้าวเย็นให้เรียบร้อยเสียก่อนค่อยออกไปพร้อมๆกันทั้งหมู่บ้าน ก็ไม่สายเกินไปหรอก”

                   ไม่ทันจะจบคำของผู้เป็นพ่อตำบลดี ก็แว่วเสียงฝีเท้ามาทางหน้าบ้านหลายคู่ คราวนี้ระดับผู้นำหมู่บ้านอีกหลายคน อาทิ สาวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ครู อาจารย์ ผู้เฒ่า เป็นต้น ก็โผล่หน้าเข้ามาสลอน เบิกบานยินดี ราวกับจะไดไปเที่ยวงานฉลองสมโภช ต่างร้องทักทายซึ่งกันและกัน อันแสดงความสนิทสนมสามัคคีที่ดีเยี่ยม หลังจากนั้นไม่นาน ประมาณหลังเวลาอาหารมื้อสุดท้ายของวันเสร็จสิ้น บริเวณหน้าบ้านอันกว้างขวางหลังนั้นก็เต็มไปด้วยผู้คน ทุกเพศทุกวัย ผู้เฒ่าผู้แก่แม้กระทั่งหนุ่มสาวก็อยากไปเยี่ยมไปเห็น พระภิกษุหนุ่ม ผู้จากแดนกำหนดไปอย่างไม่มีผู้ใดได้ข่าว เป็นเวลานานถึง 15 ปี แน่ละ สถานที่บ้านอาจารย์ใหญ่คู่นี้ แสดงว่าเป็นที่คุ้นเคยของชาวบ้านเป็นอย่างดี และความเป็นจริง ก็คือสโมสร หรือสถานสันนิบาต ที่ประชุมใหญ่ที่สะดวกสบายที่สุดในหมู่บ้านแห่งนี้

                   ในที่สุดก็ได้เวลา พากันเคลื่อนขบวน ที่ไม่มีการจัดขบวนกันออกไป

                   ณ ที่แห่งเดียวกัน ที่ซึ่งได้เคยมากราบนมัสการพระคุณเจ้า ผู้เป็นพระอาจารย์ของบุตรผู้อริยสงฆ์ตนวิเศษ เมื่อ 15 ปีก่อน นั้น ภาพที่ปรากฏอยู่ข้างหน้า แม้จะตระหนักชัดสิ้นข้อสงสัยใดๆว่า นั่นคือลูก ที่ใคร่จะเข้าไปใกล้ๆ ได้สัมผัสโอบกอดให้สาสมแก่ใจรอคอยอยู่ผู้เป็นแม่ แต่ใจหนึ่งก็ได้ให้สติ ฉุดรั้งไว้ว่า นั่นมิใช่ลูกมนุษย์เสียแล้ว หากแต่ท่านเป็นหน่อเนื้อเชื้อพุทธวงศ์ สืบศากยบุตรพุทธโคดม ผู้ไกลกิเลส พระองค์นั้น ต่างหาก

                   อันควรแก่สกการะที่เขานำมาบูชา

                   ผู้อันควรของต้อนรับ

                   ผู้อันควรทักษิณาทาน

                   ผู้อันควรอัญชลีกรรม

                   เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาอื่นยิ่งกว่า

                   ศรัทธาตั้งขึ้นแล้วดั่งนั้น แม่ พ่อ จึงได้แต่จ้องดูที่พระภิกษุหนุ่ม ตาตะลึงไป แต่แล้วก็มิลืมกระพุ่มอัญชลี กราบงามลงโดยปราศจากความขวยเขินใจใดๆ ด้วยใจเชื่อแล้วว่า นี่แลหรือผู้บุตรพระพุทธโคดม

                   การทักทายปราศรับใดๆ ของผู้เฒ่าผู้แก่ที่เข้าใจการปฏิสันถาร ประเพณีอันเหมาะควรผ่านไปหมดแล้ว คงเหลือกิจอันคับอกของผู้เป็นพ่อและผู้เป็นแม่ ฉะนั้น เมื่อได้เวลาอันสมควร ฝ่ายผู้เป็นแม่ ซึ่งร้อนใจเสมอ ก็อาสาทำหน้าที่เป็นตัวแทน พ่อและแม่ พยายามระงับความตื่นเต้นตูมตามภายในหัวอก

                   “พระภิกษุสาม ธมฺมสามิโก”

                   เพราะอะไรเจ้าตัวก็ไม่เข้าใจ ทำไมรำพึงออกมา คล้ายจะถามให้เชื่อมั่นจริงๆว่าผู้ที่ตนจะพูดด้วยนั้น เป็นผู้เลือดเนื้อเชื้อไขจริงแท้

                   “ถูกต้องโยม พระภิกษุสาม ธมฺมสามิโก นามพระอุปชณาย์ตั้งให้ จะเรียก ธมฺมสามิโกภิกขุ นามสมญา ก็ได้”

                   “พระอาจารย์ของท่านไม่ได้มาด้วยหรือ ?

                   “ท่านถึงแก่มรณภาพแล้ว”

                   “ตายจริง”

                   “ระหว่างเดินทางขึ้นเขตภาคเหนือ ด้วยโรคไข้มาเลเรีย”

                   “แล้วหลังจากนั้น ?

                   “อาตมภาพได้เข้าไปอยู่ปฏิบัติท่านเจ้าคุณ พระเทพเมธาวีศรีวิกรณ์ ตามคำสั่งของพระอาจารย์ก่อนมรณภาพ ท่านเป็นสหชาติกัน”

                   “หลังจากนั้นล่ะ ?

                   “หลังจากนั้น 2 พรรษา อาตมภาพกลับสู่เข้าหิมพานต์ ตามเหตุผลท่านอาจารย์แสดงไว้”

                   “ท่านแสดงไว้อย่างไร ?

                   “ท่านว่าองค์การบริหารการปกครองวิปริต ก็จริงของท่านอยู่ ท่านสั่งให้อาตมภาพติดตามสหชาติของท่านอีกรูปหนึ่ง เพื่อเรียนวิชาฝ่ายอิทธิฤทธิ์ และ วิชาอายุวัฒนะโดยเฉพาะ พระอาจารย์ท่านนั้น ซ่อนตัวอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พระอาจารย์เดิม ท่านให้เวลาสำหรับการศึกษาพิเศษดังกล่าวนี้เป็นเวลา 10 ปี เป็นอย่างน้อย หลังจากนั้น ให้เข้าสู่เมืองอีกหนหนึ่ง”

                   “ท่านทราบว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นหรือ ?

                   “ท่านพิเคราะห์จากดวงชาตา ท่านมั่นใจว่า จะต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่ท่านกำหนด ท่านสั่งให้เตรียมทุกอย่างไว้ต้อนรับเหตุการณ์ ภายในเวลา 20 ปีข้างหน้า จะเริ่มปรากฏความยุ่งยากลำบาก”

                   ผู้เป็นแม่นิ่งเงียบไปครู่ใหญ่ ด้วยความรู้สึกที่หนักอึ้งขึ้นมาฉับพลัน ด้วยคำพูดของท่านสามผู้บุตร ซึ่งทำให้เห็นว่า ท่านนั้น ได้แบบภาระอันใด แม้ว่ายังเยาว์อยู่แท้ๆ ชีวิตดั่งว่าเสียสละแล้ว อุทิศแล้วแด่พระศาสนา บูชาพระคุณครูบาอาจารย์ มิได้เหมือนบุตรมนุษย์ผู้อื่นใดเลย “ลูกเอ๋ย ประพฤติได้อย่างลูก แม่ก็เห็นว่าประเสริฐนักแล้ว” มิใช่คำพูด แต่เสียงในดวงใจผู้เป็นแม่

                   “นี่แหละเส้นทางของนักรบโยม อาตมภาพได้เดินไปบนเส้นทางนี้ เป็นเส้นทางแห่งความตาย เป็นเส้นทางประหาร ผู้ฝ่าไปพ้นแล้ว ได้ชื่อว่า ผู้ชนะ จักได้นั่งบัลลังก์ บัลลังก์บัว ที่นี่เป็นที่บรมสุขโยม”

                   เสี่ยงนั้นบอกมา แต่ผู้เป็นแม่มิได้ฟัง เพราะอิตถีเพศยังหวั่นไหวในเรื่องบางเรื่อง ที่เป็นของอิตถีเพศโดยเฉพาะ

                   “ท่านไม่เคยส่งข่าวให้โยมทราบเลย ?” เป็นเสียงต่อว่าอยู่ในที

                   “อาตมภาพจำเป็นต้องเปลื้องปลดห่วงทุกอย่างโยม เพื่อที่เดินไปบนเส้นทางนั้น ของเหล่านักรบทั้งหลาย เส้นทางประหาร ผู้เดินบนเส้นทางนี้ ย่อมพร้อมแล้ว ที่จะสละแม้ชีวิต ดุจดังเข้าสู่สงคราม แต่สงครามนี้มิได้เหมือนสงครามที่เคยเห็น แต่เป็น ธรรมมาธรรมะสงครามเป็นสงครามแห่ง มหาอาณาจักรใจ มหาอาณาจักรที่จักหากำหนดของเขตมิได้”

                   “ท่านมิได้คิดถึงพี่ๆ น้องๆ ที่ร่วมอุทรกับท่านบ้าง หรอกหรือ ?

                   “พี่น้อง หากมั่นในธรรม เป็นพี่น้องทางธรรมะ จะอยู่ห่างไกลกันเพียงใด ก็เสมือนอยู่ใกล้ๆผู้มีใจตรงกันแล้ว แม้คำพูดก็มิจำต้องเอ่ยออกมา”

                   “ท่านจะมิยินดีกับพี่ๆน้องๆบ้างดอกหรือ ? คุณอ้ายสำเร็จแพทยศาสตร์มหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณยี่ได้นิติศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นเนติบัณฑิตไทย คุณสี่เป็นทหารสำเร็จจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า คุณห้าพึ่งสำเร็จเตรียมอักษรศาสตร์โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ส่วนคุณหก ยังอยู่กับโยมที่นี่ อายุเพิ่งจะเท่าคุณสามเมื่อคราวจากพ่อแม่ไปคราวนู้น”

                   “โยมทราบไหม คุณสามได้สำเร็จอะไร เป็นอะไร ?

                   “จนด้วยสติปัญญาโยม พระคุณท่าน”

                   “เพราะนามธรรมอันวิเศษไม่ปรากฏรูปให้เห็น โยม สุดแต่จักขุวิญญาณมนุษย์แต่ละผู้ละคน จักมองเห็น เพราะเหตุนี้ อาตมภาพจึงจำเป็นต้องพเนจรต่อไป จนกว่าจักสำเร็จประโยชน์รูปธรรมปรากฏ เพื่อยุคนี้ แผ่นดินนี้ ที่มีคุณ และเพื่อกัลยาณมิตรทั้งปวงจักได้ประโยชน์อันยิ่งที่เหนือกว่าประโยชน์ทั้งสิ้นทั้งปวง”

                   “พระคุณท่านสิ้นความอาลัยอวรณ์แล้วหรือ ?

                   “โยมเอ๋ย แท้จริงโลกนี้ว่างเปล่า จักหาความอาลัยอาวรณ์เพื่อสิ่งใด โยมเร่งจำเริญอสุภกรรมฐานเถิด จงบ่มความดิบให้สุก จงย่างเนื้อให้แห้งกรอบ จงสะเด็ดออกเสีย ซึ่งน้ำทั้งปวง โยม จงรักษาอารมณ์ จงหมั่นวิเคราะห์และตรึกตาเรื่องภายในแห่งจิต อารมณ์แห่งมัน หมั่นรำลึกถึงความตายอยู่เป็นนิจ โยม ที่สุดจักเข้าใจความจริงที่อาตมภาพกล่าวนี้”

                   “โยมศึกษาพระไตรลักษณ์หนักหนา แต่มิรู้สึกแจ่มแจ้งแสงธรรมอันใดขึ้นมาเลย”

                   “เพราะโยมขาดกรรมฐานที่ถูกต้อง โยม จงหมั่นรำลึกถึงความตาย โยม จงหมั่นรำลึกถึงความสิ้นสุด โยม จงรักษาอารมณ์แห่งความตาย โยม จงรักษาอารมณ์แห่งความสิ้นสุด โยมสัจธรรม มีพระไตรลักษณ์เป็นต้น นั้น ปรากฏภายในห้วงอารมณ์แห่งอุสภะ ว่าด้วยของน่ารังเกียจ  ของมิสวยมิงาม ที่เห็นไม่สวยไม่งามแล้ว เป็นของเน่าแล้ว เป็นของเหม็นอันเขาทิ้งไว้ห่างไกลแล้ว โยมหมั่นจำเริญสมาธิ เพื่อรักษาอารมณ์ อันเห็นไม่สวยไม่งามแล้วนั้น เพื่อการเพ่งเข้าไปในอารมณ์อันเห็นว่าไม่สวยไม่งามนั้น โยม ปฏิบัติได้เช่นที่กล่าวนี้แล้ว ก็พอเพียงแล้ว ”

                   “สาธุ พระคุณเจ้า ว่าแต่บัดนี้ พระคุณเจ้ามีแผนการส่วนตนอีกอย่างไร ?

                   “อาตมภาพมาที่นี่ ก็เพื่อบอกลา คราวนี้คงจะไปนานแสนนาน คงไม่ได้กลับมาพบโยมบิดามารดาทั้งสองอีก ขอให้โยมคิดตัดอาลัยเสีย คิดเสียว่า เป็นลูกคนอื่น เหตุผลที่ลุกคนอื่นไม่ใช่ของเรา เพื่อที่การพลัดพราก จักไม่เป็นเหตุแห่งความทุกข์โศก คิดเสียว่า ทีลูกคนอื่นทำไมไม่เป็นทุกข์ห่วงหากังวลด้วย ฉะนั้น เหตุไร เพื่อความสิ้นทุกข์สิ้นกังวล ไฉยโยมไม่ตัดใจคิดเสียว่า อาตมภาพเป็นบุตรของผู้อื่นบ้างเล่า โยมตัดใจได้ไหม ? ตัดใจว่าไม่ใช่ของเรา แต่ของคนอื่น หรือ แท้จริง ไม่ใช่ของใครทั้งนั้น

                   “พระคุณเจ้าไม่ใช่ลูกชาย ลูกสามของโยมหรือ”

                   “มิใช่”

                   “ถ้าเช่นนั้น ลูกผู้ใดพระคุณท่าน ลูกศากยวงศ์หรือ ?

                   “มิใช่”

                   “ข้าน้อยไม่เข้าใจเลยพระคุณท่าน”

                   “โยมเอ๋ย ธรรมะ คือสภาพอันเป็นไปตามธรรมดา สภาพอันใด สภาพธรรมดาอันใดที่ลึกซึ้งก็ยากที่จะเข้าใจได้ และเป็นดุจดังดาบสองคมสำหรับคนผู้ยังไม่สิ้นกิเลส หากอาตมภาพจักกล่าวฟังนะโยม ไม่มีใครเป็นแม่ของใคร ไม่มีใครเป็นลูกของใคร ในความจริงโลกนี้ว่างเปล่า ไม่มี สัตว์ มนุษย์ ไม่มีดิน ไม่มีลม ไม่มีน้ำ ไม่มีไฟ ไม่มีอะไร”

                   บทสนทนา กึ่งธรรมะ กึ่งถามข่าวแม่ลูก บทนั้น ได้ก้องกังวานอยู่ในหูของสามีภริยาคู่นั้น เป็นเวลาแรมเดือนแรมปี และทั้งยังต้องจดจำประวัติศาสตร์ย้อนรอยเดิมอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระอาจารย์เจ้า ธมฺมสามิโกภิกขุ ผู้เลิกกลดจากไป มิได้ไปแต่ตัวเปล่า หากยังสอยหิ้วเอาลูกหกกับลูกเหินติดตามไปอีกด้วย ช่างเป็นประวัติศาสตร์ที่ซ้ำรอยกันสนิทเสียจริงๆ

                   สิ่งที่เหมือนพรายกระซิบอยู่ข้างหูตลอดมาก็คือ

                   “จักรพรรดิธรรมกำลังเร่งสร้างอาณาจักร เมื่อเราเป็นส่วนแห่งกองทัพธรรม ภาระสี่เหล่าเล่า เราจะรับภาระไหน ?

                   เรื่องนี้ จะเป็นแต่เพียงนวนิยายเท่านั้นเองหรอกหรือ ? เหตุใดพุทธบริษัทไม่คิดแบ่งปัน สร้างสรรค์กัน ในกาลอันถึงทำอยู่บัดนี้ ?

                  

                   กมฺมุนา วตฺตี โลโก สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม (.. 13/648,..25/457)

                   ปฏิกจฺเจว ตํ กยิรา ยํ ชญฺญา หิตมตฺตโน

                   รู้ว่าการใดเป็นประโยชน์แก่ตน พึงรีบทำนั้นเทียว (.. 18/81)

 

จบบริบูรณ์

 

 




นิทานธรรมะแสนสนุก

คำนำว่าด้วยประวัติย่อของผู้ประพันธ์ เล่าถวายสหธรรมิก
มานุสสาสุรสงคราม
เจ้าชายหงส์ขาว
พระเหลียวหลัง
ยมราชถามอะไรคือการศึกษา article
ซิ่งเนรคุณ article
มงกุฎมาลีรัตนะแห่งองค์พระอรหันต์เจ้า
พญาโคร่งดำโพธิสัตว์
ดอกไม้ป่าสีน้ำเงิน
อาลัยบาป
คนไม่เคย
คนเมืองหิว
นักเลงปืนแก๊ป
อนุสรณ์๋ป่าช้าอนุสาวรีย์ลูกรัก
ตำนานรักหนุ่มบ้านกาจสาวบ้านมโนรมย์
สงครามครั้งสุดท้าย
ธารมโนเพชร



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
----- ***** ----- โปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate นี่คือเวบไซต์คู่ www.newworldbelieve.com กับ www.newworldbelieve.net เราให้เป็นเวบไซต์ที่เสนอธรรมะหรือ ความจริง หรือ ความคิดเห็นในเรื่องราวของชีวิต ตั้งใจให้ธัมมะเป็นทาน ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แด่คนทั้งหลาย ทั้งโลก ให้ได้รู้ความจริงของศาสนาต่าง ๆในโลกวันนี้ และได้รู้ศาสนาที่ประเสริฐเพียงศาสนาเดียวสำหรับโลกยุคใหม่ จักรวาลใหม่ เรามีผู้รู้ ผู้ตรัสรู้ ผู้วินิจฉัยสรรพธรรมสรรพวิชชา สรรพศาสน์ และสรรพศาสตร์ พอชี้ทางสู่โลกใหม่ ให้ความสุข ความสบายใจความมีชีวิตที่หลุดพ้นไปสู่โลกใหม่ เราได้อุทิศเนื้อที่ทั้งหมดเป็นเนื้อที่สำหรับธรรมะทั้งหมด ไม่มีการโฆษณาสินค้า มาแต่ต้น นับถึงวันนี้ร่วม 14 ปีแล้ว มาวันนี้ เราได้สร้างได้ทำเวบไซต์คู่นี้จนได้กลายเป็นแดนโลกแห่งความสว่างไสว เบิกบานใจ ไร้พิษภัย เป็นแดนประตูวิเศษ เปิดเข้าไปแล้ว เจริญดวงตาปัญญาละเอียดอ่อน เห็นแต่สิ่งที่น่าสบายใจ ที่ผสานความคิดจิตใจคนทั้งหลายด้วยไมตรีจิตมิตรภาพล้วน ๆ ไปสู่ความเป็นมิตรกันและกันล้วน ๆ วันนี้เวบไซต์นี้ ได้กลายเป็นโลกท่องเที่ยวอีกโลกหนึ่ง ที่กว้างใหญ่ไพศาล เข้าไปแล้วได้พบแต่สิ่งที่สบายใจมีความสุข ให้ความคิดสติปัญญา และได้พบเรื่องราวหลายหลากมากมาย ที่อาจจะท่องเที่ยวไปได้ตลอดชีวิต หรือท่านอาจจะอยากอยู่ณโลกนี้ไปชั่วนิรันดร ไม่กลับออกไปอีกก็ได้ เพียงแต่ท่านเข้าใจว่านี่เป็นแดนต้นเรื่องเป็นด่านข้ามจากแดนโลกเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง และซึ่งเป็นโลกหรือบ้านของท่านทั้งหลายได้เลยทีเดียว ซึ่งสำหรับคนต่างชาติ ต่างภาษาต่างศาสนา ได้โปรดใช้การแปลของ กูเกิล หรือ Google Translate แปลเป็นภาษาของท่านก่อน ที่เขาเพิ่งประสบความสำเร็จการแปลให้ได้แทบทุกภาษาในโลกมนุษย์นี้แล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้เอง นั้นแหละเท่ากับท่านจะเป็นที่ไหนของโลกก็ตาม ทั้งหมดโลกประมาณ 7.6 พันล้านคนวันนี้ สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในโลกของเราได้เลย เราไม่ได้นำท่านไปเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่การนำไปสู่ความจริง ความรู้เรื่องชีวิตใหม่ การอุบัติใหม่สู่ภาวะอริยบุคคล ไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปพ้นจากทุกข์ ทั้งหลายไปสู่โลกแห่งความสุขแท้นิรันดร คือโลกนิพพานขององค์บรมศาสดาพุทธศาสนา พระบรมครูพุทธะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ท่านโปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate ท่านก็จะเข้าสู่โลกนี้ได้ทันทีพร้อมกับคน7.6พันล้านคนทั้งโลกนี้. ----- ***** ----- • หมายเหตุ เอาขึ้นเวบไซต์ แทนของเดิม ทั้ง 2 เวบ .net .com วันที่ 21 เม.ย. 2565 เวลา 07.00 น. -----*****-----