ReadyPlanet.com
dot


พลังเงียบ


 บางครั้งมันก็ต้องทำอะไรสักอย่าง!.. สักอย่าง ที่ทำนั้น ลองทำเป็น “เงียบ” ดีไหม บางทีมันอาจมีพลังมากกว่าพูด หรือทำอะไรก็เป็นได้นะ…

คำว่า “พลังเงียบ” ส่วนใหญ่มีที่มีมาในเชิงการเมือง ด้วยคำว่า “เสียง” ใช้แทนคำว่า “สิทธิ์” ในการโหวตหรือลงคะแนน รวมถึงการเรียกร้องต่าง ๆ กลุ่มที่มิได้ออกมาใช้สิทธิ์เรียกร้องหรือแสดงตัวจึงนับว่าเป็นกลุ่มพลังเงียบ อย่างไรก็ตามผมไม่ใช่ผู้สันทัดเรื่องการเมือง และบทความนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองเช่นเคย…

กลับมาสู่ประเด็นที่เปิดไว้ในตอนต้น เมื่อเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น กระบวนการตอบสนองแรก ๆ ที่เรามักทำคือ “การพูด” ไม่ว่าเหตุการณ์นั้นจะเป็นดีหรือร้าย เช่น มีมีคนเดินสวนมา เราก็พูดทักทาย การถามคำถาม การชมเชย ถ้าเดินชนกัน ก็พูดคำขอโทษ หรืออาจหาเรื่อง? ก็เป็นได้ และด้วยเพราะเป็นเพียงลักษณะของการตอบสนอง เราจึงพูดโดยอาจไม่แน่ใจว่า จำเป็นหรือเปล่า?

แต่เมื่อใดก็ตามที่เหตุการณ์นั้น ๆ ทำให้รู้สึกว่าเกี่ยวข้องกับเราหรือมีผลลัพธ์กับเรา ความรู้สึกจะเริ่มเป็น “ต้องพูด” ไปจนถึง “ไม่พูดไม่ได้”

ภาวะที่เรารู้สึกว่า “ไม่พูดไม่ได้เนี่ย” ไม่ได้หมายความว่าเรารู้ตัวอยู่เสมอหรอกนะว่า “ต้องพูด” หรือเป็นการพูดที่จะเอาเรื่องใคร มีปัญหากับเขาเท่านั้นนะ ใจเย็น ๆ ก่อน แต่หมายความรวมถึงการที่เราพูดไปด้วยนิสัย ความเคยชิน ไปจนถึงอารมณ์ในตอนนั้น ๆ ด้วย… ลองจินตนาการตามกันดู…

ถ้าเรากำลังเดินเดินอยู่ แล้วมีคนที่เรารู้จัก เขาเห็นเราก่อน จึงเข้ามาทักว่า “อ้าว! ไปไหนมาเนี่ย?”

เขากำลังทักทายและตั้งคำถามกับเราโดยตรง แถมสีหน้าแววตายังชี้ชัดว่าต้องการการตอบสนองจากเรา.. เราจะตอบเขาไหม? ตอบว่าอะไร?

ส่วนใหญ่เราก็จะตอบไปในแนวทางความเป็นเรา ประกอบกับความสนิทสนมกับคนนั้น ในทันที เราไม่ได้มานั่งคิดหรอกว่า จะต้องปรับเปลี่ยนอะไรไหม รวมถึงไม่ได้คิดหรอกว่า “เงียบ” ไม่ตอบได้ไหม ไม่นับว่าคุณกับเขาอยู่ในสถานการณ์ไม่ปกติกันนะ เช่น งอนกัน ไม่ค่อยถูกกัน ในที่นี้กล่าวถึงในส่วนใหญ่ปกติทั่วไป

การตอบสนอง พูดไปทันที ธรรมดาง่าย ๆ ไม่ใช่ความผิดอะไร สมองคนเราทุกคนล้วนจัดเรียงอะไรให้อยู่ในระบบอัตโนมัติไว้ก่อนอยู่แล้ว เพื่อตอบสนองต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้รวดเร็ว เพราะถ้าสมองต้องทำงานแบบคิดทุกเรื่องก็จะหนักเกินไป เราคงปวดหัวแทบระเบิด แล้วที่มันอัตโนมัตินี่เองบางส่วนเราเรียกมันว่า “นิสัย”

จึงมีผลให้เราจะพูดไม่คิดกันบ่อย ๆ บ้างก็ไม่เสียหาย บางครั้งก็มีที่เสียหาย… แต่สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้คือ เวลาเราเจอประโยคยาก ๆ ที่ไม่เคยเจอ, คำถามแปลก ๆ หรือที่เราเรียกว่าตั้งตัวไม่ทัน เรามักจะพูดไม่ออก เพราะเราต้องใช้เวลา “คิดมาก” กว่าปกติ เราจึงค่อย “เงียบ” ได้นาน เช่น จู่ ๆ มีคนมาสารภาพรัก หรือบอกว่าชอบ โดยคาดไม่ถึง เราก็ต้องมีอ้ำอึ้งกันไปพักนึงล่ะ…

ถึงตรงนี้ที่อธิบายมาน่าจะคงพอเข้าใจว่าการ “เงียบ” ในช่วงเวลาที่ปกติเรา “ไม่เงียบ” ถ้าจะทำได้นั้น มันคือการเปลี่ยนแปลงตัวเอง การเปลี่ยนนิสัย ไปจนถึงการพัฒนาตัวเองให้ได้ในรูปแบบหนึ่ง.. ซึ่งหลายครั้งการเงียบนั้นมันมีพลัง ที่หมายถึง “พลังเงียบ” ตามบทความนี้

พลังเงียบ

การพูดออกไปแน่นอนว่ามีประโยชน์อยู่แล้วในแง่การสื่อสาร การไม่พูดไม่จาอาจทำให้อะไร ๆ หยุดชะงักค้างคาอยู่ตรงนั้น แต่ในหลายสถานการณ์ การเงียบก็มีประโยชน์กว่าอย่างที่เราอาจไม่คาดคิด pgslot

เงียบเพื่อฉลาดขึ้นกว่าเดิม…

อย่างเวลาเราอยู่ในวงสนทนาที่มีหลายคน แล้วทุกคนก็ต่างออกความเห็นกันในประเด็นหนึ่งที่เราไม่ค่อยรู้เรื่อง หากเราไม่พูดอะไรบ้าง เราก็จะรู้สึก (ไปเอง) ว่าน่าอึดอัด บ้างก็คิดว่า “ถ้าไม่พูดเดี๋ยวเขาหาว่าโง่” ซึ่งบางทีการพยายามพูดแบบไม่ค่อยรู้นั่นแหละ ก็เลยเป็นการ “โชว์โง่” ให้เขารู้ไปเลยทั้งที่ยังไม่มีใครตัดสินสักหน่อย…

คนเราไม่จำเป็นต้องรู้ไปทุกอย่าง การยอมรับตัวเองว่าไม่รู้เสียบ้างไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร และ “พลังเงียบ” ในกรณีเช่นนี้ มันจะช่วยให้เรา “ฟัง” เพื่อจะได้รู้ในเรื่องนั้น ๆ หากเราคิดแต่จะ “พูดด้วย” เราก็คงจดจ่อในความคิดว่า พูดอะไรดีนะ จนไม่ได้ตั้งใจฟังเรื่องดังกล่าว หรือฟังเพื่อหาช่อง (พูด) เสริม แทรกต่อ มิใช่ฟังเพื่อรู้ ส่วนใหญ่การโง่เรื่องไหน มันก็แค่ไม่รู้เรื่องนั้นมาก่อนเท่านั้นเอง..

 


ผู้ตั้งกระทู้ mii (lelemimi888-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2023-06-09 10:37:03


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.