ReadyPlanet.com
dot


คิดอย่างไรกับกฎหมายสั่งโบยสตรีต่อหน้าสาธารณชนฐานดื่มเบีนร์


      อยากให้ บก. ช่วยวิเคราะห์ด้วย

นายกฯมาเลเซียหวั่นภาพลักษณ์ประเทศเสีย กรณีนางแบบคดีดื่มเบียร์ ถูกพิพากษาโทษเฆี่ยนโบยเป็นจำนวน 6 ที จี้อุทธรณ์สู้คดี

       นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค ผู้นำมาเลเซีย กล่าวเรียกร้องให้นางการ์ติก้า ซารี เทวี ชูการ์นอร์ หญิงมาเลเซีย วัย 32 ซึ่งถูกพิพากษาโทษเฆี่ยนโบยเป็นจำนวน 6 ที จากกรณีดื่มเบียร์ ในรัฐปาหัง เร่งอุทธรณ์สู้คดีดังกล่าว แทนที่จะร้องขอให้ตัวเองได้รับการลงโทษโบยเร็ว ๆ โดยชี้ว่า ทางการมาเลเซียรู้สึกอ่อนไหวต่อกรณีการลงโทษดังกล่าว
     รายงานระบุว่า กรณีของนางการ์ติก้า ได้สร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากหลายกลุ่มที่วิตกว่า กฎหมายศาสนา"ชาเรียห์"ของชาวมุสลิมมาเลเซีย จะถูกโจมตีมากขึ้น และก่อนหน้านี้ รัฐปาหังได้ตัดสินเลื่อนการลงโทษนางการ์ติก้าออกไป เป็นช่วงหลังเทศกาล"รอมฎอน"
อย่างไรก็ตาม กรณีของเธอยังได้ทำให้ชาวมุสลิมทั่วประเทศเกิดความแตกแยกทางความคิดด้วย โดยผู้นำพรรคปาส กลุ่มมุสลิมหัวเคร่ง ประกาศสนับสนุนการเฆี่ยนโบยนางการ์ติก้า บอกว่าเพื่อทำให้สถาบันศาลเชียเรียห์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และไม่ไร้ซึ่งอำนาจ


     Malaysian prime minister feel free image countries. Model Angie drinking beer Appeal case plead.



ผู้ตั้งกระทู้ หิ่งห้อย :: วันที่ลงประกาศ 2009-09-09 17:45:19


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1977431)

ประเทศมาเลเซียเป็นประเทศเพื่อนบ้านอีกประเทศหนึ่งที่รัฐบาลค่อนข้างมีกฎหมายเคร่งครัด บ้านเมืองสงบเรียบร้อย  พัฒนาได้เร็ว

ในความรู้สึกของข้าพเจ้าเห็นว่าการที่ประชาชนคนรุ่นใหม่รวมไปถึงผู้นำรัฐบาลของมาเลเซียออกมาแสดงวิสัยทัศน์ว่า เป็นนักประชาธิปไตยที่อยากเห็นประเทศมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นสากลเหมือนประเทศอื่นๆ  คำนึงถึงความเป็นเหตุเป็นผลและมองศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ตามความเป็นจริง  คือมนุษย์ทุกคนมีความบกพร่องไม่มากก็น้อย  ไม่มีใครดีเต็ม 100  ดังนั้นย่อมมีโอกาสทำอะไรที่อาจผิดพลาดไปจากจารีตประเพณีไปบ้างไม่มากก็น้อย  ดังนั้นการจะตัดสินใดพิพากษาใดๆ  ควรต้องคำนึงถึงกฏกติกาและจารีตประเพณีของสังคมโลกด้วย  คือถ้าทำผิดร้ายแรงมีผลต่อความสงบสุขของผู้อื่นและประเทศชาติ  บทลงโทษย่อมจะหนักตามไปด้วย  แต่ถ้าเป็นความผิดสถานเบาหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ควรจะเป็นการลงโทษที่สังคมโลกเขายอมรับได้  เพราะธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนรักเสรีภาพ  รักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การที่สังคมยึดมั่นถือมั่นใ นกฏระเบียบใดๆอย่างสุดโต่ง  อะไรที่ตึงเกินไปย่อมไม่เป็นผลดี  และจะไปกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  และริดรอนเสรีภาพทางความคิดของประชาชน

ผู้แสดงความคิดเห็น คนรักปชต. วันที่ตอบ 2009-09-12 02:22:47


ความคิดเห็นที่ 2 (1977655)

กรณีหญิงมาเลเซีย นี้  ก็เหมือนกรณีในอิรัคอิหร่าน ที่เคร่งครัดในคำสอนของศาสนาอิสลาม แบบดั้งเดิมหรือแบบต้นฉบับ  ในอิรัค อิหร่าน อาฟกานิสถาน เคยมีกรณีเกี่ยวกับการแต่งตัว  ผู้หญิงที่แต่งตัวเปิดหน้า  ไม่มีผ้าคลุมหน้า หรือแต่งตัวแบบตะวันตก  ก็เคยเป็นข่าวไปทั่วโลกเช่นเดียวกัน  โดยมีการลงโทษเฆี่ยนตีสตรีเหล่านั้นอย่างสาหัส   ทั้งนี้ก็เพราะเป็นบทบัญญัติในศาสนาของเขา

ครั้นกาลล่วงมาถึงปัจจุบันและโลกก้าวไปในวิถีทางวิทยาศาสตร์ เจริญขึ้นมาจนสามารถเอาชนะธรรมชาติ และรู้เรื่องราวของธรรมชาติไปมากแล้ว เช่นปัจจุบันนี้   จึงได้มีความคิดแตกแยกออกไป  โดยมีคนจำนวนหนึ่งลังเลใจ  ในคำสอนของศาสนาดั้งเดิม

กรณีหญิงมาเลเซียวัย 32 ที่ได้รับการพิพากษาในข้อหาดื่มเบียร์โดยให้โบยนั้น   ก็เช่นเดียวกัน  มีคนแตกความคิดกันเป็น 2 พวก  พวกที่คิดในแนวใหม่เช่นนายกรัฐมนตรีเอง ก็เห็นว่าเป็นการไม่สมควร  ท่านเหล่านี้มองสังคมใหม่  อย่างมีเหตุผลอย่างสมัยใหม่   แต่จะเห็นว่าท่านเหล่านี้ก็ไม่สามารถอธิบายได้ว่า  เหตุใดจึงควรคัดค้านคติตามคำสอนในพระคัมภีร์   ในขณะที่มุสลิมหัวเก่า เห็นว่าประพฤติตามคำสอนเป็นการสมควรและถูกต้อง  โดยคิดเอาง่าย ๆ ว่า นั่นเป็นคำสั่งของพระเจ้า

 

นี่คือสภาวะที่สลับซับซ้อนอย่างละเอียดอ่อน   และไม่มีคำอธิบายในศาสนาอิสลาม   จึงเป็นจุดอ่อนอย่างยิ่งสำหรับสังคมอิสลามยุคใหม่  เพราะยากแก่การปรับตัว   มีทางเดียวที่จะปรับตัวคือ  ขัดคำสั่งพระเจ้า   แต่ก็ไม่มีใครกล้าคิดอย่างนี้ (แต่กล้าทำ)  แล้วก็แตกสามัคคีกัน

 

คำอธิบายเรื่องราวเหล่านี้  ยาว
รวมทั้งคำอธิบายเหตุการณ์ทำนองเดียวกันที่เกิดในวงการศาสนาพุทธ    ต่างกันแต่ว่า  พุทธนั้นมีคำอธิบาย  สามารถอธิบายได้แม้ว่ายากที่คนจะเข้าใจ

บางทีเราอาจจะต้องให้เป็นสิ่งที่ค่อยเรียนรู้ไปตามกาลเวลา  ให้เวลาเป็นสิ่งที่อธิบาย  จะดีกว่า 

 

เพราะเรื่องราวของปัญหาเป็นของอิสลาม  แต่คำอธิบายเป็นของพุทธ ในกรณีเช่นนี้  อาจจะไม่เป็นผลดี  แม้ว่าเรามีความปรารถนาดีก็ตาม 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น บก. วันที่ตอบ 2009-09-13 21:50:22



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.