ReadyPlanet.com
dot


ทำอย่างไรจึงจะนำหลักธรรมมาสร้างความปรองดองของคนในชาติได้


 

อิทธิพลการชักชวนให้เข้ากลุ่มเพื่อหวังผลประโยชน์ โดยผู้ฟังไม่ใช้หลักธรรมในการพิจารณาถึงเหตุและผล  ใช้อารมณ์ และความอยาก  ในการตัดสินใจ  เป็นสาเหตุทำให้เกิดการแตกแยกหวังที่จะชนะ  โดยเฉพาะนักการเมืองควรมีจริยธรรมทางการเมืองให้สูงกว่าบุคคลทั่วไป  หลักธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ล้วนแต่สร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในกลุ่มชน แต่เพราะสาเหตุใด  จึงไม่สามารถนำหลักธรรมมาสร้างความปรองดองของคนในชาติได้ หรือจะเป็นดังที่พระพุทธเจ้าทรงทำนายไว้แล้ว



ผู้ตั้งกระทู้ ลำดวนแดนใต้ (hakmata-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2008-12-27 22:05:49


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1404804)

 

เห็นด้วยกับ ลำดวนแดนใต้ทุกประการ เราอยากเสริมเรื่องนักการเมืองสักหน่อย  นักการเมืองไทยเป็นคนโง่แกมอวดดี เป็นส่วนใหญ่ และมีนิสสัยโง่อวดดีนี้เป็นพื้นฐานนักการเมืองไทย ไปเลยทีเดียว เขามองสิ่งที่ลำดวนฯเรียกว่า  จริยธรรมทางการเมือง และหลักธรรมคำสอนของศาสนา เป็นสิ่งที่ล้าหลังคร่ำครึ  แต่ในขณะเดียวกันก็มองไปไม่ถึงจริยธรรมอย่างที่นักการเมืองแบบอย่างของโลก คืออเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ว่าเป็นอย่างไร  และไม่เข้าใจแบบอย่างของเขาอีก เลยนเป็นนักการเมืองที่ไม่มีแบบมตรฐานทางจริยธรรมให้ปฏิบัติเป็ฯบรรทัดฐานเลย   จึงตรงกับคุณลักษณะว่า  โง่แกมอวดดี นั่นเอง  เพราะแท้ที่จริง ประชาธิปไตยตะวันตกและอเมริกานั้นเอาแนวคิดไปจากหลักธรรมในพระพุทธศาสนาไปทั้งสิ้นนั่นเอง  เริ่มแต่การขจัดระบบทาสไปเสียจากสับงคม  จัดการให้ระบบเจ้าขุนมูลนายเดิมออกไปห่าง ๆ จากระบบอำนาจของประชาชน เจ้าของประเทศ ในฐานะที่ทุกคนในแผ่นดินมีความเป็นมนุษย์เสรี  ที่ย่อมสมควรมีความเท่าเทียมกัน  จึงมิควรมีความเป็นทาสในหมู่มวลมนุษย์ชาติทั้งปวง    นี่คือเบื้องต้นความคิดประชาธิปไตย  ที่มาจากหลักการความเป็นมนุษย์ โดยที่ในพระพุทธศาสนารับรองมนุษย์ทุกคนไว้ว่า มีความเป็นเวไนยสัตว์  มีอำนาจในตัวเองอย่างสมบูรณ์ เพราะเหตุที่มีสัจธรรมว่า ตนเองเท่านั้นสามารถช่วยตนเองให้พ้นทุกข์ได้  ไม่มีอำนาจอื่นใดจะช่วยเราได้นอกจากตัวเอง เรื่องมรรคผลนิพพานในพระพุทธศาสนาจึงเป็นสิ่งยืนยันความเป็นมนุษย์เสรี ผู้มีอำนาจอิสระส่วนตัว ที่จักสร้างความสำเร็จส่วนตัวให้ได้ ด้วยตัวเราเอง  หลักเบื้องต้นเช่นนี้ จึงไปเกี่ยวข้องกับแนวทางความประพฤติคือ หลักมรรค8 กล่าวคือเมื่อรู้ทุกข์แล้ว การจะพ้นทุกข์นั้นก็ต้องมีวิธีการ นั่นคือหลักมรรค8 และนั่นคือศีล สมาธิ และปัญญา คือ จริยธรรมสากล แม้ในทางการเมืองก็ต้องระวังว่าเบื้องต้นของการเมืองประชาธิปไตยคนทั้งหลายโดยเฉพาะนักการเมืองจำเป็นต้องอยู่ในจริยธรรม คือธรรมะ  ไม่งั้นการเมืองในระบอบประชาธิปไตยจักล้มเหลวลงโดยสิ้นเชิง    

ผู้แสดงความคิดเห็น สุไหงปาดี ชินะกุล วันที่ตอบ 2009-01-19 10:23:04


ความคิดเห็นที่ 2 (1404812)

 

สิ่งที่เป็นเหตุเป็นผลเกี่ยวกับนักการเมืองไทย อันเป็นสิ่งที่น่าวิเคราะห์วิจัยเป็ฯการต่อเนื่องไปอีกก็คือ  นักการเมืองไทยได้รู้เรื่องการเมืองมาจากไหน  แล้วเราก็จะคิดได้ว่า  สถาบันการศึกษาทางการเมืองไทย เป็นอย่างไร   ครูบาอาจารย์หรือศาสตราจารย์ผู้สอนการเมือง เขารู้เรื่องการเมืองระบอบประชาธิปไตยถึงแก่นหรือไม่  เท่าที่เห็นมีศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยคนหนึ่ง แสดงภูมิปัญญาทางโทรทัศน์บ่อยครั้ง แต่เหตุใดกลับสนับสนุนให้เผด็จการปกครองประเทศไปเสียอีก  เห็นได้จากการเชียร์ระบอบที่ปฏิวัติรัฐประหารของศาสตราจารย์นายนั้น   นี่แสดงว่าอะไรเป็ฯอะไร และอย่างไร ในระบอบประชาธิปไตยไทย    เคยเห็นศาสตราจารย์อีกคนหนึ่งก่อนหน้านี้  เป็นคณบดีรัฐศษสตร์เสียด้วย  ที่แสดงทัศนะและบทบาทที่ไม่สะท้อนถึงความเข้าใจเรื่องพรรคการเมือง และนโยบายการเมืองเลย  แล้วยังส่งเสริมให้ล้มระบอบเสียอีกด้วย

ถ้าท่านคิดว่า ควรจะจัดการกับเรื่องการศึกษาทางการเมืองไทย  แล้วใครจะเป็นคนทำ      ก็จบ 

ผลก็คือ  การเมืองไทยยังจะต้องงมไปในความโง่เขลา อวิชชาต่อไปอีกนานเท่าไร ?

ถ้าเมืองไทยโชคดี ก็ควรหวังไว้ว่าจะมีสิ่งที่เรียกว่า  การปฏิวัติทางวิชาการกันครั้งใหญ่ อย่างรุนแรง  เกิดขึ้น

ผู้แสดงความคิดเห็น สุไหงปาดี ชินะกุล วันที่ตอบ 2009-01-19 10:40:42


ความคิดเห็นที่ 3 (1404818)


ในตัวจริยธรรมทางการเมืองที่จำเป็นจริง ๆ ในระบอบประชาธิปไตย  แต่นักการเมืองไทยละเลย ไม่ประพฤติเลย  ก็เพียงคำว่า  ขอแสดงความยินดีด้วย   ขอรับว่าแพ้   รับว่าทางฝ่ายท่านเป็นผู้ชนะ   3 คำเท่านี้เอง   แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงมิใช่เพียงการละ การไม่ประพฤติวาจาข้อนี้   แต่เป็นการที่นักการเมืองไม่เข้าใจว่ามีความสำคัญตรงนี้อย่างไร ขนาดไหน   และหมายถึงความก้าว พัฒนาการ จากตรงนี้ออกไปอย่างไร  กล่าวอีกนัยหนึ่งลัด ๆ สั้น ๆ  นักกากรเมืองไทยยังเป็นเด็กอ่อนกันอยู่ทั้งนั้นนั่นเอง  แล้วจะรออีกนานเท่าไร  พวกเขาจึงจะเข้าใจสักที

ผู้แสดงความคิดเห็น สุไหงปาดี ชินะกุล วันที่ตอบ 2009-01-19 10:56:31


ความคิดเห็นที่ 4 (1416267)

 

การเมืองไทยนักการเมืองต้องการเพียงอำนาจ และความยิ่งใหญ่สิ่งที่ไม่คำนึงคือหน้าที่ภาระอันหนักที่ต้องนำพาประเทศให้พ้นภัยเศรษฐกิจประชาชนอยุ๋ดีกินดี ดังนั้นการแก่งงแย่งทุกวิถีทางจึงเกิดขึ้น  แม้ชาติจะพังพินาศก็ยอม เมื่อไรนักการเมืองมองเห็นของสมมุติว่าเป็นมายาเมื่อนั้นความปรองดรองคงเกิดขึ้น

ผู้แสดงความคิดเห็น หิ่งห้อย วันที่ตอบ 2009-02-16 18:59:54



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.