ReadyPlanet.com
dot
dot dot
bulletBUDDHISM TO THE NEW WORLD ERA
bullet1 Thai-ไทย
bullet2.English-อังกฤษ
bullet3.China-จีน
bullet4.Hindi-อินเดีย
bullet5.Russia-รัสเซีย
bullet6.Arab-อาหรับ
bullet7.Indonesia-อินโดนีเซีย
bullet8.Japan-ญี่ปุ่น
bullet9.Italy-อิตาลี
bullet10.France-ฝรั่งเศส
bullet11.Germany-เยอรมัน
bullet12.Africa-อาฟริกา
bullet13.Azerbaijan-อาเซอร์ไบจัน
bullet14.Bosnian-บอสเนีย
bullet15.Cambodia-เขมร
bullet16.Finland-ฟินแลนด์
bullet17.Greek-กรีก
bullet18.Hebrew-ฮีบรู
bullet19.Hungary-ฮังการี
bullet20.Iceland-ไอซ์แลนด์
bullet21.Ireland-ไอร์แลนด์
bullet22.Java-ชวา
bullet23.Korea-เกาหลี
bullet24.Latin-ละติน
bullet25.Loa-ลาว
bullet26.Finland-ฟินแลนด์
bullet27.Malaysia-มาเลย์
bullet28.Mongolia-มองโกเลีย
bullet29.Nepal-เนปาล
bullet30.Norway-นอรเวย์
bullet31.persian-เปอร์เซีย
bullet32.โปแลนด์-Poland
bullet33.Portugal- โปตุเกตุ
bullet34.Romania-โรมาเนีย
bullet35.Serbian-เซอร์เบีย
bullet36.Spain-สเปน
bullet37.Srilanga-สิงหล,ศรีลังกา
bullet38.Sweden-สวีเดน
bullet39.Tamil-ทมิฬ
bullet40.Turkey-ตุรกี
bullet41.Ukrain-ยูเครน
bullet42.Uzbekistan-อุสเบกิสถาน
bullet43.Vietnam-เวียดนาม
bullet44.Mynma-พม่า
bullet45.Galicia กาลิเซียน
bullet46.Kazakh คาซัค
bullet47.Kurdish เคิร์ด
bullet48. Croatian โครเอเซีย
bullet49.Czech เช็ก
bullet50.Samoa ซามัว
bullet51.Nederlands ดัตช์
bullet52 Turkmen เติร์กเมน
bullet53.PunJabi ปัญจาบ
bullet54.Hmong ม้ง
bullet55.Macedonian มาซิโดเนีย
bullet56.Malagasy มาลากาซี
bullet57.Latvian ลัตเวีย
bullet58.Lithuanian ลิทัวเนีย
bullet59.Wales เวลล์
bullet60.Sloveniana สโลวัค
bullet61.Sindhi สินธี
bullet62.Estonia เอสโทเนีย
bullet63. Hawaiian ฮาวาย
bullet64.Philippines ฟิลิปปินส์
bullet65.Gongni-กงกนี
bullet66.Guarani-กวารานี
bullet67.Kanada-กันนาดา
bullet68.Gaelic Scots-เกลิกสกอต
bullet69.Crio-คริโอ
bullet70.Corsica-คอร์สิกา
bullet71.คาตาลัน
bullet72.Kinya Rwanda-คินยารวันดา
bullet73.Kirkish-คีร์กิช
bullet74.Gujarat-คุชราด
bullet75.Quesua-เคซัว
bullet76.Kurdish Kurmansi)-เคิร์ด(กุรมันซี)
bullet77.Kosa-โคซา
bullet78.Georgia-จอร์เจีย
bullet79.Chinese(Simplified)-จีน(ตัวย่อ)
bullet80.Chicheva-ชิเชวา
bullet81.Sona-โซนา
bullet82.Tsonga-ซองกา
bullet83.Cebuano-ซีบัวโน
bullet84.Shunda-ชุนดา
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet86.Sesotho-เซโซโท
bullet87.NorthernSaizotho-ไซโซโทเหนือ
bullet88.Somali-โซมาลี
bullet89.History-ประวัติศาสตร์
bullet90.Divehi-ดิเวฮิ
bullet91.Denmark-เดนมาร์ก
bullet92.Dogry-โดกรี
bullet93.Telugu-เตลูกู
bullet94.bis-ทวิ
bullet95.Tajik-ทาจิก
bullet96.Tatar-ทาทาร์
bullet97.Tigrinya-ทีกรินยา
bullet98.Check-เชค
bullet99.Mambara-มัมบารา
bullet100.Bulgaria-บัลแกเรีย
bullet101.Basque-บาสก์
bullet102.Bengal-เบงกอล
bullet103.Belarus-เบลารุส
bullet104.Pashto-พาชตู
bullet105.Fritian-ฟริเชียน
bullet106.Bhojpuri-โภชปุรี
bullet107.Manipur(Manifuri)-มณีปุระ(มณิฟูรี)
bullet108.Maltese-มัลทีส
bullet109.Marathi-มาราฐี
bullet110.Malayalum-มาลายาลัม
bullet111.Micho-มิโช
bullet112.Maori-เมารี
bullet113.Maithili-ไมถิลี
bullet114.Yidsdish-ยิดดิช
bullet115.Euroba-ยูโรบา
bullet116.Lingala-ลิงกาลา
bullet118.Slovenia-สโลวีเนีย
bullet119.Swahili-สวาฮิลี
bullet120.Sanskrit-สันสกฤต
bullet121.history107-history107
bullet122.Amharic-อัมฮาริก
bullet123.Assam-อัสสัม
bullet124.Armenia-อาร์เมเนีย
bullet125.Igbo-อิกโบ
bullet126.History115-ประวัติ 115
bullet127.history117-ประวัติ117
bullet128.Ilogano-อีโลกาโน
bullet129.Eve-อีเว
bullet130.Uighur-อุยกูร์
bullet131.Uradu-อูรดู
bullet132.Esperanto-เอสเปอแรนโต
bullet133.Albania-แอลเบเนีย
bullet134.Odia(Oriya)-โอเดีย(โอริยา)
bullet135.Oromo-โอโรโม
bullet136.Omara-โอมารา
bullet137.Huasha-ฮัวซา
bullet138.Haitian Creole-เฮติครีโอล
bulletคำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรแปล เช้า-เย็น
bulletChart Showing the Process
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี พ.ศ.2540 - 2566
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 1
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 2
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี บุคคลที่ 1 - 188 ปัจจุบัน
bulletหนังสือพิมพ์ดี
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 1
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 2
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 3
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 4
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 5
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 6
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 7
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 8
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 9
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 10
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 11
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 12
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 13
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 14
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 15
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 16
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 17
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 18
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 19
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 20
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 21
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 22
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 23
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 24
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 25
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 26
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 27
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 28
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 29
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 30
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 31
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 32
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 33
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 34
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 35
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 36
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 37
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 38
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 39
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 40
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 41
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 42
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 43
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 44
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 45
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 46
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 47
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 48
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 49
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 50
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 51
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 52
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 54
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 55
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 56
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 57
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 58
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 59
bulletTo The World
bulletENGLISH
bulletUSA
bulletChina
bulletIndia
bullet Mynmar
bullet Cambodia
bullet Loas
bulletSri Lanka
bulletMalaysia
bulletKorea
bulletA Sharp Turn of Believes : Iresearch Iwrite Iread
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 1
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 2
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 3
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 4
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 5
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 6
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 7
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 8
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 9
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 10
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 11
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 12
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 13
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 14
bulletMystery Report 15
bulletMystery Report 16
bulletMystery Report 17
bulletMystery Report 18
bulletMystery Report 19
bulletMystery Report 20
bulletMystery Report 21
bulletMystery Report 22
bulletMystery Report 23
bulletMystery Report 24
bulletMystery World Report 25
bulletศึกษาโลกลี้ลับ 26
bulletเฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว วิเคราะห์ทุกปัญหาในโลกมนุษย์ด้วยสติปัญญาและเหตุผลวิทยาศาสตร์จากนสพ.ดี
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2536
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2537
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2538
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2539
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2540
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2541
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2542
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2543-2545
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2545-2549
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2549-2550
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2550-ส.ค.2551
bulletเฝ้าดูฯ ส.ค.-ก.ย.2551
bulletเฝ้าดูฯ ก.ย.2551- ธ.ค. 2551
bulletเฝ้าดูฯสำนวนพัชรา กอปรทศธรรม
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 16-27
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 29
bulletบทความใหม่ เม.ย.-พ.ค.2552
bulletพุทธธรรมเพื่อทางดับทุกข์
bulletทฤษฎีการดับทุกข์ทางจิต วิปัสสนากรรมฐานโดยการทำงาน(สำนวนปรับปรุงใหม่)
bulletประวัติพัชรา กอปรทศธรรม
bulletประวัติการต่อสู้เพื่อการดับทุกข์ ของพัชรา กอปรทศธรรม
bulletอัลบั้มรูป history
bulletนิทานธรรมะประยุกต์ มานุสสาสุระสงคราม 4 ภาค และอื่น ๆ
bulletอัลบั้มรูป ภาพในอดีตและชีวประวัติศาสตร์ที่สวยงาม
bulletจากเวบบอร์ด พูดกันไม่รู้เรื่อง ประชาธิปไตยล้าหลัง
bulletศาสนาสากล การวิเคราะห์ความหมาย
bulletปลอบใจ
dot
รวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์ แนวปฏิรูปคณะสงฆ์อยู่ในบทวิเคราะห์นี้แล้ว
dot
bulletรวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์
dot
สากลจักรวาล สากลศาสนา แนวคิดศาสนาสำหรับคนยุคใหม่ ผู้ก้าวผิดทางไปสู่สิ่งไร้สาระโดยไม่รู้ตัว
dot
bulletสากล...ศาสนา 1
bulletสากล...ศาสนา 2
bulletสากล...ศาสนา 3
bulletสากล...ศาสนา 4
bulletสากล...ศาสนา 5
bulletสากล...ศาสนา 6
bulletสากล...ศาสนา 7
bulletสากล...ศาสนา 9
bulletสากล...ศาสนา 8
bulletสากล...ศาสนา 10
bulletสากล...ศาสนา 11
bulletสากล...ศาสนา 12
bulletสากล...ศาสนา 13
bulletสากล...ศาสนา 14
bulletสากล...ศาสนา 16
dot
ส่วนข้อมูลสำคัญเพื่อการวิจัยการเมืองไทยยุค คมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
dot
bulletข้อมูลสำคัญยุคคมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่1/26ส.ค.2551
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่2/27ส.ค.2551
bulletใบปลิว อีเมล์ ในหลวงทรงร้องไห้
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 1
bulletในหลวงเพิ่งทราบข่าวฆ่าประชาชน10เมย.53ทรงร้องไห้
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
dot
รวมข่าวม็อบการเมืองสนธิ-จำลอง-ปชป.มิ.ย.51-เม.ย.52 นสพ.
dot
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 2
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 3
bulletรวมข่าวม็อบ30มิ.ย.51-23มี.ค.52
bulletเลือดศรีสะเกษบันทึกเรื่องราวรอบด้านเกี่ยวกับเขาพระวิหาร
bulletรายงานการโฆษณาชวนเชื่อในประเทศไทยที่ล้มล้างรัฐบาลทักษิณ
bulletหนังสือพิมพ์ดี ของฟรีให้เปล่ามา20ปีแล้วทั้งเอกสารและอินเทอเนท
bulletหนังสือพิมพ์ดี ( อินเทอเนต ) เล่ม 1 - 44 - ล่าสุด
bulletหน้าที่เก็บไว้
bulletมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร)
bulletวัดมหาพุทธาราม ศรีสะเกษ บันทึกเหตุการณ์
bulletสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดศรีสะเกษแห่งที่ 1
bulletเกี่ยวกับเวบไซต์ของเรา เราทำเพื่อปัญญาชนโดยแท้
bulletรวมกระทู้เด็ดจากกระดานถามตอบ
bulletคาถาอาคมไสยศาสตร์
bulletกวีนิพนธ์ใหม่
bulletศูนย์ปฏิญญาณละเลิกอบายมุข บัญชีที่ 1- 4


วิสาขบูชา วันสำคัญของโลก

 

            

 

  วิสาขบูชา วันสำคัญของโลก

ร่วมสืบทอดพระพุทธศาสนา ทำบุญ เวียนเทียน วันเพ็ญเดือนวิสาขบูชา

 

 

ประวัติความเป็นมาของวันวิสาขบูชาในประเทศไทย

            วันวิสาขบูชานี้ ปรากฏตามหลักฐานว่า ได้มีมาตั้งแต่ ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งสันนิษฐานว่าคงจะได้แบบอย่าง มาจากลังกา กล่าวคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๔๒๐ พระเจ้าภาติกุราชกษัตริย์แห่งกรุงลังกาได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาอย่างมโหฬาร เพื่อถวายเป็นพุทธบูชากษัตริย์ลังกา ในรัชกาลต่อๆมาก็ทรงดำเนินรอยตาม แม้ปัจจุบันก็ยังถือปฏิบัติอยู่

            สมัยสุโขทัยนั้น ประเทศไทยกับประเทศลังกา มีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนาใกล้ชิดกันมากเพราะพระสงฆ์ชาวลังกา ได้เดินทางเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนา และเชื่อว่าได้นำการประกอบพิธีวิสาขบูชามาปฏิบัติ ในประเทศไทยด้วย

            ในหนังสือนางนพมาศได้กล่าวบรรยากาศการประกอบพิธีวิสาขบูชาสมัยสุโขทัยไว้พอสรุปใจความไว้ว่า เมื่อถึงวันวิสาขบูชาพระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพารทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัยทั่วทุกหมู่บ้าน ทุกตำบล ต่างช่วยกันทำความสะอาด ประดับตกแต่ง พระนครสุโขทัยเป็นการพิเศษด้วยดอกไม้ของหอม จุดประทีปโคมไฟแลดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นอุทิศบูชาพระรัตนตรัย เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน พระมหากษัตริย์และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้งตกเวลาเย็น ก็เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย พระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ ตลอดจน ข้าราชการทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ไปยังพระอารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน

         ส่วนชาวสุโขทัยชวนกันรักษาศีล ฟังธรรมเทศนา ถวายสลากภัต ถวายสังฆทาน ถวายอาหารบิณฑบาตแด่พระภิกษุ สามเณร บริจาคทรัพย์แจกเป็นทานแก่คนยากจน คนกำพร้า คนอนาถา คนแก่ คนพิการ บางพวกก็ชวนกัน สละทรัพย์ ปล่อยสัตว์ ๔ เท้า ๒ เท้า และเต่า ปลา เพื่อชีวิตสัตว์ให้เป็นอิสระ โดยเชื่อว่าจะทำให้คนอายุยืนยาวต่อไป

         ในสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น ด้วยอำนาจอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์เข้าครอบงำ ประชาชนคนไทย และมีอิทธิพลสูงกว่าอำนาจของ พระพุทธศาสนา จึงไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้มีการประกอบพิธีบูชาในวันวิสาขบูชา จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๓๖๐) ทรงดำริกับสมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนัก วัดราชบูรณะ มีพระราชประสงค์จะให้ฟื้นฟูการประกอบพระราชพิธีวันวิสาขบูชาขึ้นใหม่ โดยสมเด็จพระสังฆราชถวายพระพรให้ทรงทำขึ้นเป็นครั้งแรก ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๖ พ.ศ. ๒๓๖๐ และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อมีพระประสงค์ให้ประชาชนประกอบการบุญการกุศล เป็นหนทางเจริญอายุ และอยู่เย็นเป็นสุขปราศจากทุกข์โศกโรคภัย และอุปัทวันตรายต่างๆโดยทั่วหน้ากัน ฉะนั้นการประกอบพิธี ในวันวิสาขบูชาในประเทศไทย จึงได้รื้อฟื้นให้มีขึ้นอีกครั้งหนึ่งในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ และ ถือปฏิบัติมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน การจัดงานเฉลิมฉลอง ในวันวิสาขบูชาที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกยุคทุกสมัย คงได้แก่การจัดงานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา พ.ศ. ๒๕๐๐ ซึ่งทางราชการเรียกว่างาน ฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ตั้งแต่วันที่ ๑๒ ถึง ๑๘ พฤษภาคม รวม ๗ วัน ได้จัดงานส่วนใหญ่ขึ้น ที่ท้องสนามหลวง ส่วนสถานที่ราชการและวัดอารามต่างๆ ประดับธงทิวและโคมไฟสว่างไสวไปทั่วพระราชอาณาจักร ประชาชนถือศีล ๕ หรือศีล ๘ ตามศรัทธาตลอดเวลา ๗ วันมีการอุปสมบทพระภิกษุสงฆ์ รวม ๒,๕๐๐ รูป ประชาชน งดการฆ่าสัตว์ และงดการดื่มสุรา ตั้งวันที่ ๑๒ ถึง ๑๔ พฤษภาคม รวม ๓ วัน มีการก่อสร้างพุทธมณฑลจัดภัตตาหารเลี้ยงพระภิกษุสงฆ์วันละ ๒,๕๐๐ รูป ตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารแก่ประชาชนวันละ ๒๐๐,๐๐๐ คน เป็นเวลา ๓ วัน ออกกฎหมายสงวนสัตว์ป่าในบริเวณนั้น รวมถึงการฆ่าสัตว์และจับสัตว์ในบริเวณวัดแล้วหน้าวัดด้วย และได้มีการปฏิบัติธรรมอันยิ่งใหญ่อย่างพร้อมเพรียงกันเป็นกรณีพิเศษ ในวันวิสาขบูชาปีนั้นด้วย

 

ความสำคัญของวันวิสาขบูชา

            ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติคือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง ๓ คราวคือ

๑.      เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี

๒.    เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ฝั่งแม่น้ำเนรัชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี หลังจากออกผนวชได้ ๖ ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย

๓.     หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศพระศาสนา และโปรดเวไนยศัตว์ ๔๕ ปี พระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย

            นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง ๓ เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๖  ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญเช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิตได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษเพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลก

 

 

ดินแดนพระพุทธศาสนา ประเทศอินเดีย เนปาล

 

 

 

 

สังเวชนียสถาน ดินแดนแห่งพระพุทธเจ้า ณ ประเทศอินเดีย-เนปาล ณ สถานที่จริงในสมัยพุทธกาล

 

ความสำคัญระดับสากล

วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของสหประชาชาติ คือวันสำคัญของโลก (Vesak Day)

 

         ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๒ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญสากลของสหประชาชาติ เมื่อ ๑๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒ ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ ๕๔ ได้พิจารณาระเบียบวาระที่ ๑๗๔ International recognition of the Day of Visaka โดยการเสนอของศรีลังกา... ในการพิจารณาประธานสมัชชาฯ ได้เชิญผู้แทนศรีลังกาขึ้นกล่าวนำเสนอร่างข้อมติ และเชิญผู้แทนไทย สิงคโปร์ บังคลาเทศ ภูฐาน สเปน พม่า เนปาล ปากีสถาน อินเดีย ขึ้นกล่าวถ้อยแถลง สรุปความว่า วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพาน เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้มวลมนุษย์มีเมตตาธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพื่อให้เกิดสันติสุขในสังคม อันเป็นแนวทางของสหประชาชาติ จึงเท่ากับเป็นการรับรองความสำคัญของพุทธศาสนาในองค์การสหประชาชาติดังเป็นที่ทราบกันทั่วโลกแล้วนั้น และถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันสำคัญที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติและที่ทำการสมัชชาจะจัดให้มีการระลึกถึงตามความเหมาะสม จึงแสดงให้เห็นว่า วันวิสาขบูชาไม่เพียงเป็นวันสำคัญสำหรับชาวพุทธเท่านั้น แต่ยังเป็นวันสำคัญต่อชาวโลกอีกด้วย

 

 

            ความสำคัญของวันวิสาขบูชา คือเป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดาเอกของโลก เหตุที่ทางองค์การสหประชาชาติได้ให้ความสำคัญแก่วันนี้ มิใช่เพียงเพื่อประโยชน์ของ ชาวพุทธทั่วโลกเพียงอย่างเดียว แต่จะยังประโยชน์สำคัญยิ่งต่อชาวโลกในข้อที่ว่า พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นควรจะนำมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างสันติภาพถาวร ให้เกิดขึ้นแก่มวลมนุษย์ชาติทั่วโลกในอนาคตอีกด้วย เพราะการประกาศวันวิสาขบูชาให้เป็นวันหยุดสากล (International recognition of the Day of Vesak) นั้นหมายถึงว่า จะได้เป็นวันหยุดที่สำคัญยิ่ง ของบรรดาประเทศสมาชิก ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด ๑๕๙ ประเทศ

 

 

(คำแปล)

ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ

การแจกจ่าย : จำกัด

๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๒

ตันฉบับ : ภาษาอังกฤษ

ครั้งที่ ๕๔

------------------------------------------------------

            วาระการประชุมที่ ๑๗๔

            การรับรองให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากล

 

            บังคลาเทศ ภูฐาน กัมพูชา ชิลี ไซปรัส เกรนาดา ไอซ์แลนด์ อินเดีย อินโดนีเซีย ไอร์แลนด์ สาธารณรัฐประชาชนลาว มัลดีฟส์ มองโกเลีย พม่า เนปาล ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ โปรตุเกส สาธารณรัฐเกาหลี สหพันธรัฐรัสเซีย ซีเชลส์ สโลวาเกีย สเปน ศรีลังกา ซูรินัม ไทย และยูเครน สนับสนุนร่างมติดังนี้

 

           

            ให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลซึ่งสำนักงานใหญ่และที่ทำการขององค์การสหประชาชาติจะจัดให้มีการรำลึกถึงตามความเหมาะสม

 

            ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ

            รับทราบถึงความประสงค์ของที่ประชุมพุทธศาสนิกชนสากล(International Buddhist Conference)ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโคลัมโบ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2541 ในอันที่จะให้วันวิสาขบูชา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ของทุกปี เป็นวันสำคัญสากลโดยให้ถือเป็นวันหยุดของสำนักงานใหญ่และที่ทำการขององค์การสหประชาชาติ

            ตระหนักว่าวันวิสาขบูชา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือน6ของทุกปี มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อศาสนิกชนทั่วโลก เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน

            พิจารณาเห็นว่าหากสำนักงานใหญ่และที่ทำการขององค์การสหประชาชาติให้การรับรองวันสำคัญดังกล่าวแล้ว ย่อมถือเป็นการยกย่องว่าพุทธศาสนาอันเป็นหนึ่งในศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีคุณูปการอันใหญ่หลวงในจิตวิญญาณต่อมวลมนุษยชาติ ตลอดช่วงระยะเวลากว่า2500ปี และสืบต่อไปในอนาคต

            จึงมีมติให้สำนักงานใหญ่ลี่ทำการขององค์การสหประชาชาติจัดให้มีการรำลึกถึงวันวิสาขบูชาอันถือเป็นวันสำคัญตามความเหมาะสม  ทั้งนี้โดยขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของผู้ดูแลรับผิดชอบทีทำการขององค์การสหประชาชาติที่เกี่ยวข้องรวมถึงคณะเจ้าหน้าที่ที่ประจำการ และจะต้องไม่ก่อให้เกิดผลเสียใดๆ ต่อองค์การสหประชาชาติ

 

หลักธรรมสำคัญที่ควรปฏิบัติ

            คณะอนุกรรมการส่งเสริมการศาสนาและจริยธรรมในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้กำหนดหลักธรรมสำคัญที่ควรน้อมนำปฏิบัติเนื่องในโอกาสวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาคือวันวิสาขบูชา ดังนี้

๑.      ความกตัญญู

ความกตัญญู ที่พึงปฏิบัติควบคู่กับความกตเวที กตัญญูคือรู้คุณ กตเวที คือตอบแทนคุณในฐานะที่พึงปฏิบัติต่อกันและกันดังนี้ พุทธบริษัท มีหน้าที่ตอบแทนคุณพระพุทธเจ้าด้วยอามิสบูชา และปฏิบัติบูชา ลูก มีหน้าที่ตอบแทนคุณพ่อแม่ ศิษย์มีหน้าที่ตอบแทนคุณครูอาจารย์ พสกนิกร มีหน้าที่ตอบแทนคุณพระมหากษัตริย์

 

 

๒.     อริยสัจ ๔

        อริยสัจ ๔ หมายถึง ความจริงอันประเสริฐ ที่เป็นจริงไม่ผันแปรแก่ทุกชีวิต และจะสัมฤทธิ์ผลเมื่อดำรงตนตามหลักอริยสัจ ๔ คือ

๑.      ทุกข์ ได้แก่ สภาพปัญหาของชีวิต อันได้แก่กิเลสที่มาในทุกรูปแบบ โดยมีรูปแบบใหญ่ๆที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ได้แก่ความทุกข์พื้นฐานคือการเกิด แก่ ตาย ทุกข์ที่มีในชีวิตประจำวันเช่น การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก อยากได้สิ่งใด ไมได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์ ชีวิตจึงเป็นก้อนแห่งความทุกข์ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดเป็นรูปร่างสังขาร

๒.     สมุทัย ได้แก่ มูลฐาน มูลเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลายที่กล่าวมา คือ ตัณหาความอยากได้ อยากดี อยากมี อยากเป็น เมื่อความอยาก เข้ามาเป็นนาย มนุษย์จึงต้องกลายเป็นจำเลยของความทุกข์

๓.     นิโรธ คือ เป้าหมายที่สลายปัญหา ความหวังตั้งมั่นในการกำจัดความทุกข์ให้จงได้ โดยลงมือแก้ไขอย่างจริงจัง

๔.     มรรค คือ หนทาง และเครื่องมือนำไปสู่การแก้ปัญหา เมื่อไฟไหม้ ก็ต้องทำให้ไฟดับ กิเลสปัญหา ตัณหา คือความทุกข์ที่เผาไหม้ไม่รู้จบหากไม่รีบดับด้วยการดำเนิน หรือการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ปฏิบัติง่ายๆ คือทำอะไรให้ตั้งอยู่ใน ทางสายกลาง

 

 

๓.     ความไม่ประมาท

ดังได้กล่าวความสำคัญไว้ในวันเสด็จดับขันธปรินิพพานว่า พระพุทธองค์ได้ตรัสเป็นปัจฉิมโอวาทโดยมีใจความสำคัญคือ ความไม่ประมาท ความไม่ประมาทคือ การมีสติเสมอทั้ง ขณะทำขณะพูด และขณะคิด ไม่เลินเล่อ ไม่เผลอพลั้ง ระวังตัว ทำกิจทุกอย่างด้วยสติ ถือคติว่า สติมา ปัญญาเกิด สติเตลิดจะเปิดปัญหา สติเหมือนฐาน ปัญญาเหมือนยอด ทำอะไรให้รอบคอบ เป็นผู้ใหญ่ให้ดูแลผู้น้อย เป็นผู้ด้อยให้สังเกตผู้ใหญ่ที่ทำดี ทุกชนชั้นอาชีพ ทุกเพศทุกวัย ถ้าทำอะไรอย่างประมาท ย่อมพบกับความพินาศทันตา พุทธศาสนสุภาษิตที่ควรท่องติดตัวตลอดเวลาคือ อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ อย่าประมาท อย่าประมาท...

 

แนวทางการปฏิบัติในวันวิสาขบูชาสำหรับสถาบัน/หน่วยงาน/พุทธศาสนิกชน

            วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญยิ่งในทางพระพุทธศาสนา ชาวพุทธควรที่จะปฏิบัติกิจกรรมถวายเป็นพุทธบูชาแค่องค์สมเด็จพระสัมมมสัมพุทธเจ้า ตามแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้

 

สถาบัน/หน่วยงาน/พุทธศาสนิกชน

กิจกรรมที่ควรปฏิบัติ

๑. พุทธศาสนิกชนทั่วไป

ทำบุญตักบาตร ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เวียนเทียน พึงตั้งจิตสำรวมกาย วาจา และใจ แล้วประกอบกุศลกรรมความดีในลักษณะต่างๆ ที่ไม่เป็นไปเพื่อการเบียดเบียน แต่เป็นไปเพื่อบำเพ็ญประโยชน์สุขแก่ตน สังคม ประเทศชาติต่อไป

๒. หน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ

- ทำความสะอาดบริเวณที่ทำงาน ประดับธงชาติ และธงธรรมจักร และ    จัดแต่งโต๊ะหมู่บูชา

-ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความสำคัญของวันวิสาขบูชา รวมทั้งหลักธรรม และแนวทางปฏิบัติในสถานที่ทำงาน

- จัดป้ายนิเทศเกี่ยวกับหลักธรรมเพื่อสร้าง อุดมการณ์ในการทำงาน

- จัดให้มีการบรรยายธรรม และสนทนาธรรม

- ร่วมกันบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ปลูกต้นไม้ บริจาคโลหิต

- หัวหน้าหน่วยงานให้โอกาสผู้ร่วมงานไปบำเพ็ญกุศลตามประเพณีนิยม

๓. สถาบันครอบครัว

- ทำความสะอาดบ้าน ประดับธงชาติและ ธงธรรมจักร และจัดแต่งที่บูชาประจำบ้าน

- ศึกษาเอกสาร หรือสนทนาเกี่ยวกับความสำคัญของ วันวิสาขบูชา รวมทั้งหลักธรรมและแนวทางปฏิบัติในครอบครัว

- สมาชิกในครอบครัว ปรึกษา หรือ หานวทางในการป้องกันการแก้ปัญหาในครอบครัวโดยใช้หลักธรรมส่งเสริมให้เกิดการลด ละ เลิก อบายมุข

- นำครอบครัวไปบำเพ็ญกุศล ทำบุญตักบาตร บริจาคทาน

- ปฏิบัติธรรมที่วัด รักษาศีล ไหว้พระ สวดมนต์ ฟังธรรม เวียนเทียน เจริญภาวนา

๔. สถานศึกษา (School Based)

- ทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน ประดับธงชาติ และธงธรรมจักร และจัดแต่งโต๊ะหมู่บูชา

- ครูและนักเรียนร่วมกันศึกษาถึงความสำคัญทางวันวิสาขบูชา รวมทั้งหลักธรรม และแนวทางปฏิบัติใน สถานศึกษา

- ครูพานักเรียนไปร่วมกิจกรรมกับชุมชนที่วัด บำเพ็ญกุศล ทำบุญตักบาตร บริจาคทาน รักษาศีล ฟังธรรม สนทนาธรรม เวียนเทียน เจริญภาวนา

๕. วัด (Temple Based)

- ภิกษุ สามเณร ทำความสะอาดบริเวณวัด ปูลาดอาสนะ จัดตั้งเครื่องสักการะ ตั้งน้ำใช้ น้ำฉัน และประดับธงธรรมจักร

- เวลาเช้า และบ่ายมีการ ฟังธรรมเทศนา

- เวลาค่ำ ให้ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา พร้อมกันที่ พระอุโบสถ ถือดอกไม้ ธูปเทียน ก่อนจุดธูปเทียน ให้พระสงฆ์ผู้เป็นประธาน นำกล่าวบูชา แล้วทำการประทักษิณ คือ เดินเวียนไปทางขวามือของตนหันเขากาพุทธสถาน เช่น พระอุโบสถ พระมหาธาตุเจดีย์ เป็นต้น จนครบ ๓ รอบ แล้วจึงนำดอกไม้ ป เทียน ไปปักตาม ที่กำหนด

๖. ชุมชน (Community Based)

- ร่วมกันทำความสะอาดหมู่บ้าน สถานที่สาธารณะ บ้านเรือนของตน บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ รณรงค์ให้เด็ก เยาวชนประชาชน ข้าราชการ ลด ละ เลิก อบายมุขทุกประเภท

- ปฏิบัติตนอยู่ในศีล ๕ คุณธรรม ๔ ประการ พระบรมราโชวาท ๕ ประการ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และ ถวายเป็นราชสักการะ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลวโรกาส ทรงครองสิริราชย์สมบัติ ครบ ๖๐ ปี

 

               

                                                                                   รวบรวมนำเสนอโดย

        ดร.นันทสาร สีสลับ นายกสมาคมศิษย์หลวงปู่เครื่อง สุภัทโท  ทำหน้าที่   ผู้อำนวยการ

                                 ศูนย์พุทโธโลยีหลวงปู่เครื่องเพื่อการศึกษาและปฏิบัติธรรม

                                                            ***********

     ผู้สนใจศึกษาเพิ่มเติม สามารถอ่านและศึกษาจากเอกสารและสื่อสิ่งพิมพ์ดังต่อไปนี้

๑.     พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตโต) มองวันวิสาขบูชา หยั่งถึงอารยธรรมโลกพิมพ์เผยแผ่โดย มูลนิธิพุทธธรรม

๒.    พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตโต) จัดงานวัดวิสาขบูชา อย่าอยู่แค่หน้าตา ต้องไปให้ถึงเนื้อตัว

๓.    หารายละเอียดเพิ่มเติมจาก www.google.co.th

จากแหล่งต่างๆทั้งในและต่างประเทศ



                    




พุทโธโลยี

ข่าวสำคัญวันวิสาขโลก ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒
ขอเชิญนักเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศเข้าแข่งขันประกวดเรียงความวันวิสาขบูชาโลก
ประวัติโดยย่อหลวงปู่เครื่อง สุภัทโท ศรีสะเกษ
ประวัติละเอียดหลวงปู่เครื่อง สุภทฺโท
สมาคมศิษย์หลวงปู่เครื่อง บทบาทที่กำลังทำอยู่ปี 2552
กำหนดการจัดกิจกรรมเนื่องวันวิสาขบูชา ๒๕๕๒ สมาคมศิษย์หลวงปู่ฯ
ขอเรียนเชิญอาจารย์พัชรา กอปรทศธรรม เป็นเกียรติร่วมงานมอบรางวัลพุทโธโลยีและเวียนเทียนวันวิสาขบูชา ๒๕๕๒
ผู้ชนะการประกวดเรียงความ ขอเชิญรับรางวัลเนื่องในวันวิสาขบูชา ๒๕๕๒ ณ วัดสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ
ประกาศผลการประกวดเรียงความออนไลน์
ประกาศผลการประกวดวิสัยทัศน์วันวิสาขโลก สมาคมศิษย์หลวงปู่เครื่อง
สำนวนที่ 1 ของนายกวี เดชสมฤทธิ์ฤทัย ร.ร. กรุงเทพคริสเตียน
เรียงความออนไลน์กิติมศักดิ์ ของ อาจารย์พัชรา กอปรทศธรรม
สรุปการประชุมเรื่องยุทธศาสตร์ศาสนทายาท 22 ก.พ. 2552



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
----- ***** ----- โปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate นี่คือเวบไซต์คู่ www.newworldbelieve.com กับ www.newworldbelieve.net เราให้เป็นเวบไซต์ที่เสนอธรรมะหรือ ความจริง หรือ ความคิดเห็นในเรื่องราวของชีวิต ตั้งใจให้ธัมมะเป็นทาน ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แด่คนทั้งหลาย ทั้งโลก ให้ได้รู้ความจริงของศาสนาต่าง ๆในโลกวันนี้ และได้รู้ศาสนาที่ประเสริฐเพียงศาสนาเดียวสำหรับโลกยุคใหม่ จักรวาลใหม่ เรามีผู้รู้ ผู้ตรัสรู้ ผู้วินิจฉัยสรรพธรรมสรรพวิชชา สรรพศาสน์ และสรรพศาสตร์ พอชี้ทางสู่โลกใหม่ ให้ความสุข ความสบายใจความมีชีวิตที่หลุดพ้นไปสู่โลกใหม่ เราได้อุทิศเนื้อที่ทั้งหมดเป็นเนื้อที่สำหรับธรรมะทั้งหมด ไม่มีการโฆษณาสินค้า มาแต่ต้น นับถึงวันนี้ร่วม 14 ปีแล้ว มาวันนี้ เราได้สร้างได้ทำเวบไซต์คู่นี้จนได้กลายเป็นแดนโลกแห่งความสว่างไสว เบิกบานใจ ไร้พิษภัย เป็นแดนประตูวิเศษ เปิดเข้าไปแล้ว เจริญดวงตาปัญญาละเอียดอ่อน เห็นแต่สิ่งที่น่าสบายใจ ที่ผสานความคิดจิตใจคนทั้งหลายด้วยไมตรีจิตมิตรภาพล้วน ๆ ไปสู่ความเป็นมิตรกันและกันล้วน ๆ วันนี้เวบไซต์นี้ ได้กลายเป็นโลกท่องเที่ยวอีกโลกหนึ่ง ที่กว้างใหญ่ไพศาล เข้าไปแล้วได้พบแต่สิ่งที่สบายใจมีความสุข ให้ความคิดสติปัญญา และได้พบเรื่องราวหลายหลากมากมาย ที่อาจจะท่องเที่ยวไปได้ตลอดชีวิต หรือท่านอาจจะอยากอยู่ณโลกนี้ไปชั่วนิรันดร ไม่กลับออกไปอีกก็ได้ เพียงแต่ท่านเข้าใจว่านี่เป็นแดนต้นเรื่องเป็นด่านข้ามจากแดนโลกเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง และซึ่งเป็นโลกหรือบ้านของท่านทั้งหลายได้เลยทีเดียว ซึ่งสำหรับคนต่างชาติ ต่างภาษาต่างศาสนา ได้โปรดใช้การแปลของ กูเกิล หรือ Google Translate แปลเป็นภาษาของท่านก่อน ที่เขาเพิ่งประสบความสำเร็จการแปลให้ได้แทบทุกภาษาในโลกมนุษย์นี้แล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้เอง นั้นแหละเท่ากับท่านจะเป็นที่ไหนของโลกก็ตาม ทั้งหมดโลกประมาณ 7.6 พันล้านคนวันนี้ สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในโลกของเราได้เลย เราไม่ได้นำท่านไปเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่การนำไปสู่ความจริง ความรู้เรื่องชีวิตใหม่ การอุบัติใหม่สู่ภาวะอริยบุคคล ไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปพ้นจากทุกข์ ทั้งหลายไปสู่โลกแห่งความสุขแท้นิรันดร คือโลกนิพพานขององค์บรมศาสดาพุทธศาสนา พระบรมครูพุทธะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ท่านโปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate ท่านก็จะเข้าสู่โลกนี้ได้ทันทีพร้อมกับคน7.6พันล้านคนทั้งโลกนี้. ----- ***** ----- • หมายเหตุ เอาขึ้นเวบไซต์ แทนของเดิม ทั้ง 2 เวบ .net .com วันที่ 21 เม.ย. 2565 เวลา 07.00 น. -----*****-----