ReadyPlanet.com
dot
dot dot
bulletBUDDHISM TO THE NEW WORLD ERA
bullet1 Thai-ไทย
bullet2.English-อังกฤษ
bullet3.China-จีน
bullet4.Hindi-อินเดีย
bullet5.Russia-รัสเซีย
bullet6.Arab-อาหรับ
bullet7.Indonesia-อินโดนีเซีย
bullet8.Japan-ญี่ปุ่น
bullet9.Italy-อิตาลี
bullet10.France-ฝรั่งเศส
bullet11.Germany-เยอรมัน
bullet12.Africa-อาฟริกา
bullet13.Azerbaijan-อาเซอร์ไบจัน
bullet14.Bosnian-บอสเนีย
bullet15.Cambodia-เขมร
bullet16.Finland-ฟินแลนด์
bullet17.Greek-กรีก
bullet18.Hebrew-ฮีบรู
bullet19.Hungary-ฮังการี
bullet20.Iceland-ไอซ์แลนด์
bullet21.Ireland-ไอร์แลนด์
bullet22.Java-ชวา
bullet23.Korea-เกาหลี
bullet24.Latin-ละติน
bullet25.Loa-ลาว
bullet26.Finland-ฟินแลนด์
bullet27.Malaysia-มาเลย์
bullet28.Mongolia-มองโกเลีย
bullet29.Nepal-เนปาล
bullet30.Norway-นอรเวย์
bullet31.persian-เปอร์เซีย
bullet32.โปแลนด์-Poland
bullet33.Portugal- โปตุเกตุ
bullet34.Romania-โรมาเนีย
bullet35.Serbian-เซอร์เบีย
bullet36.Spain-สเปน
bullet37.Srilanga-สิงหล,ศรีลังกา
bullet38.Sweden-สวีเดน
bullet39.Tamil-ทมิฬ
bullet40.Turkey-ตุรกี
bullet41.Ukrain-ยูเครน
bullet42.Uzbekistan-อุสเบกิสถาน
bullet43.Vietnam-เวียดนาม
bullet44.Mynma-พม่า
bullet45.Galicia กาลิเซียน
bullet46.Kazakh คาซัค
bullet47.Kurdish เคิร์ด
bullet48. Croatian โครเอเซีย
bullet49.Czech เช็ก
bullet50.Samoa ซามัว
bullet51.Nederlands ดัตช์
bullet52 Turkmen เติร์กเมน
bullet53.PunJabi ปัญจาบ
bullet54.Hmong ม้ง
bullet55.Macedonian มาซิโดเนีย
bullet56.Malagasy มาลากาซี
bullet57.Latvian ลัตเวีย
bullet58.Lithuanian ลิทัวเนีย
bullet59.Wales เวลล์
bullet60.Sloveniana สโลวัค
bullet61.Sindhi สินธี
bullet62.Estonia เอสโทเนีย
bullet63. Hawaiian ฮาวาย
bullet64.Philippines ฟิลิปปินส์
bullet65.Gongni-กงกนี
bullet66.Guarani-กวารานี
bullet67.Kanada-กันนาดา
bullet68.Gaelic Scots-เกลิกสกอต
bullet69.Crio-คริโอ
bullet70.Corsica-คอร์สิกา
bullet71.คาตาลัน
bullet72.Kinya Rwanda-คินยารวันดา
bullet73.Kirkish-คีร์กิช
bullet74.Gujarat-คุชราด
bullet75.Quesua-เคซัว
bullet76.Kurdish Kurmansi)-เคิร์ด(กุรมันซี)
bullet77.Kosa-โคซา
bullet78.Georgia-จอร์เจีย
bullet79.Chinese(Simplified)-จีน(ตัวย่อ)
bullet80.Chicheva-ชิเชวา
bullet81.Sona-โซนา
bullet82.Tsonga-ซองกา
bullet83.Cebuano-ซีบัวโน
bullet84.Shunda-ชุนดา
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet86.Sesotho-เซโซโท
bullet87.NorthernSaizotho-ไซโซโทเหนือ
bullet88.Somali-โซมาลี
bullet89.History-ประวัติศาสตร์
bullet90.Divehi-ดิเวฮิ
bullet91.Denmark-เดนมาร์ก
bullet92.Dogry-โดกรี
bullet93.Telugu-เตลูกู
bullet94.bis-ทวิ
bullet95.Tajik-ทาจิก
bullet96.Tatar-ทาทาร์
bullet97.Tigrinya-ทีกรินยา
bullet98.Check-เชค
bullet99.Mambara-มัมบารา
bullet100.Bulgaria-บัลแกเรีย
bullet101.Basque-บาสก์
bullet102.Bengal-เบงกอล
bullet103.Belarus-เบลารุส
bullet104.Pashto-พาชตู
bullet105.Fritian-ฟริเชียน
bullet106.Bhojpuri-โภชปุรี
bullet107.Manipur(Manifuri)-มณีปุระ(มณิฟูรี)
bullet108.Maltese-มัลทีส
bullet109.Marathi-มาราฐี
bullet110.Malayalum-มาลายาลัม
bullet111.Micho-มิโช
bullet112.Maori-เมารี
bullet113.Maithili-ไมถิลี
bullet114.Yidsdish-ยิดดิช
bullet115.Euroba-ยูโรบา
bullet116.Lingala-ลิงกาลา
bullet118.Slovenia-สโลวีเนีย
bullet119.Swahili-สวาฮิลี
bullet120.Sanskrit-สันสกฤต
bullet121.history107-history107
bullet122.Amharic-อัมฮาริก
bullet123.Assam-อัสสัม
bullet124.Armenia-อาร์เมเนีย
bullet125.Igbo-อิกโบ
bullet126.History115-ประวัติ 115
bullet127.history117-ประวัติ117
bullet128.Ilogano-อีโลกาโน
bullet129.Eve-อีเว
bullet130.Uighur-อุยกูร์
bullet131.Uradu-อูรดู
bullet132.Esperanto-เอสเปอแรนโต
bullet133.Albania-แอลเบเนีย
bullet134.Odia(Oriya)-โอเดีย(โอริยา)
bullet135.Oromo-โอโรโม
bullet136.Omara-โอมารา
bullet137.Huasha-ฮัวซา
bullet138.Haitian Creole-เฮติครีโอล
bulletคำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรแปล เช้า-เย็น
bulletChart Showing the Process
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี พ.ศ.2540 - 2566
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 1
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 2
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี บุคคลที่ 1 - 188 ปัจจุบัน
bulletหนังสือพิมพ์ดี
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 1
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 2
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 3
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 4
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 5
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 6
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 7
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 8
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 9
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 10
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 11
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 12
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 13
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 14
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 15
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 16
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 17
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 18
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 19
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 20
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 21
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 22
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 23
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 24
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 25
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 26
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 27
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 28
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 29
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 30
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 31
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 32
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 33
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 34
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 35
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 36
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 37
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 38
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 39
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 40
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 41
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 42
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 43
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 44
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 45
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 46
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 47
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 48
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 49
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 50
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 51
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 52
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 54
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 55
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 56
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 57
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 58
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 59
bulletTo The World
bulletENGLISH
bulletUSA
bulletChina
bulletIndia
bullet Mynmar
bullet Cambodia
bullet Loas
bulletSri Lanka
bulletMalaysia
bulletKorea
bulletA Sharp Turn of Believes : Iresearch Iwrite Iread
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 1
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 2
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 3
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 4
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 5
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 6
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 7
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 8
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 9
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 10
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 11
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 12
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 13
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 14
bulletMystery Report 15
bulletMystery Report 16
bulletMystery Report 17
bulletMystery Report 18
bulletMystery Report 19
bulletMystery Report 20
bulletMystery Report 21
bulletMystery Report 22
bulletMystery Report 23
bulletMystery Report 24
bulletMystery World Report 25
bulletศึกษาโลกลี้ลับ 26
bulletเฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว วิเคราะห์ทุกปัญหาในโลกมนุษย์ด้วยสติปัญญาและเหตุผลวิทยาศาสตร์จากนสพ.ดี
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2536
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2537
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2538
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2539
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2540
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2541
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2542
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2543-2545
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2545-2549
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2549-2550
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2550-ส.ค.2551
bulletเฝ้าดูฯ ส.ค.-ก.ย.2551
bulletเฝ้าดูฯ ก.ย.2551- ธ.ค. 2551
bulletเฝ้าดูฯสำนวนพัชรา กอปรทศธรรม
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 16-27
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 29
bulletบทความใหม่ เม.ย.-พ.ค.2552
bulletพุทธธรรมเพื่อทางดับทุกข์
bulletทฤษฎีการดับทุกข์ทางจิต วิปัสสนากรรมฐานโดยการทำงาน(สำนวนปรับปรุงใหม่)
bulletประวัติพัชรา กอปรทศธรรม
bulletประวัติการต่อสู้เพื่อการดับทุกข์ ของพัชรา กอปรทศธรรม
bulletอัลบั้มรูป history
bulletนิทานธรรมะประยุกต์ มานุสสาสุระสงคราม 4 ภาค และอื่น ๆ
bulletอัลบั้มรูป ภาพในอดีตและชีวประวัติศาสตร์ที่สวยงาม
bulletจากเวบบอร์ด พูดกันไม่รู้เรื่อง ประชาธิปไตยล้าหลัง
bulletศาสนาสากล การวิเคราะห์ความหมาย
bulletปลอบใจ
dot
รวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์ แนวปฏิรูปคณะสงฆ์อยู่ในบทวิเคราะห์นี้แล้ว
dot
bulletรวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์
dot
สากลจักรวาล สากลศาสนา แนวคิดศาสนาสำหรับคนยุคใหม่ ผู้ก้าวผิดทางไปสู่สิ่งไร้สาระโดยไม่รู้ตัว
dot
bulletสากล...ศาสนา 1
bulletสากล...ศาสนา 2
bulletสากล...ศาสนา 3
bulletสากล...ศาสนา 4
bulletสากล...ศาสนา 5
bulletสากล...ศาสนา 6
bulletสากล...ศาสนา 7
bulletสากล...ศาสนา 9
bulletสากล...ศาสนา 8
bulletสากล...ศาสนา 10
bulletสากล...ศาสนา 11
bulletสากล...ศาสนา 12
bulletสากล...ศาสนา 13
bulletสากล...ศาสนา 14
bulletสากล...ศาสนา 16
dot
ส่วนข้อมูลสำคัญเพื่อการวิจัยการเมืองไทยยุค คมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
dot
bulletข้อมูลสำคัญยุคคมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่1/26ส.ค.2551
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่2/27ส.ค.2551
bulletใบปลิว อีเมล์ ในหลวงทรงร้องไห้
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 1
bulletในหลวงเพิ่งทราบข่าวฆ่าประชาชน10เมย.53ทรงร้องไห้
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
dot
รวมข่าวม็อบการเมืองสนธิ-จำลอง-ปชป.มิ.ย.51-เม.ย.52 นสพ.
dot
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 2
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 3
bulletรวมข่าวม็อบ30มิ.ย.51-23มี.ค.52
bulletเลือดศรีสะเกษบันทึกเรื่องราวรอบด้านเกี่ยวกับเขาพระวิหาร
bulletรายงานการโฆษณาชวนเชื่อในประเทศไทยที่ล้มล้างรัฐบาลทักษิณ
bulletหนังสือพิมพ์ดี ของฟรีให้เปล่ามา20ปีแล้วทั้งเอกสารและอินเทอเนท
bulletหนังสือพิมพ์ดี ( อินเทอเนต ) เล่ม 1 - 44 - ล่าสุด
bulletหน้าที่เก็บไว้
bulletมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร)
bulletวัดมหาพุทธาราม ศรีสะเกษ บันทึกเหตุการณ์
bulletสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดศรีสะเกษแห่งที่ 1
bulletเกี่ยวกับเวบไซต์ของเรา เราทำเพื่อปัญญาชนโดยแท้
bulletรวมกระทู้เด็ดจากกระดานถามตอบ
bulletคาถาอาคมไสยศาสตร์
bulletกวีนิพนธ์ใหม่
bulletศูนย์ปฏิญญาณละเลิกอบายมุข บัญชีที่ 1- 4


ประวัติละเอียดหลวงปู่เครื่อง สุภทฺโท

 

 

                   หลวงปู่เครื่อง สุภัทโท  ผู้ค้นพบพุทโธโลยีทางพระพุทธศาสนา

............................................. ..............................................................................................

           หลวงปู่เครื่อง สุภัทโท  (นามสกุลเดิม ประถมบุตร) สูติกาลเมื่อวันที่ ๑๕ กรกฏาคม ๒๔๕๓ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๘ ปีจอ กูมิลำเนาเดิมเกิดที่บ้านค้อ ตำบลกำแพง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ  โยมพ่อชื่อ นายสอน ประถมบุตร โยมแม่ชื่อ นางยม ประถมบุตร มีบุตร-ธิดาทั้งหมด ๑๔ คน  หลวงปู่เครื่อง เป็นบุตรคนที่ ๓หลังจากจบชั้นประถมศึกษาแล้ว หลวงปู่มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะบวชเป็นสามเณรเพื่อเรียนพระปริยัติธรรมสืบสานและจรรโลงพระพุทธศาสนา  แต่โยมพ่อไม่อนุญาต   ครั้นอายุได้ ๒๑ ปี จึงได้รับอนุญาตให้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดสำโรงน้อย ตำบลหนองห้าง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีพระครูเทวราชกวีวรญาณ (จูม อาจสาลี) เป็นพระอุปชัฌาย์ พระอาจารย์ใบฏีกาชม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์พรหมา เป็นพระอนุศาสนาจารย์ และได้จำพรรษาแรกอยู่ ณ วัดบ้านค้อ   หลังจากออกพรรษาแล้ว ญาติๆได้ขอร้องหลวงปู่ลาสิกขาบท มาเลี้ยงน้อง แต่เนื่องจากหลวงปู่มีปณิธานเนี่ยวแน่ที่จะอุทิศตนเพื่อพระศาสนาอยู่แล้ว  คำขอร้องของญาติๆจึงไร้ผล

             การศึกษาภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติต้องเดินคู่ขนานกัน    หลังจากได้ศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างเอาจริงเอาจัง จนสอบนักธรรมชั้นตรี ได้ในปี พ.ศ. ๒๔๗๘  นักธรรมชั้นโท ในปี พ.ศ.๒๔๘๐ และนักธรรมชั้นเอก ในปี พ.ศ. ๒๔๘๓  ต่อจากนั้น หลวงปู่ได้หันกลับมาสนใจในทางปฏิบัติ มากขึ้น โดยมีความเชื่อว่า การปฎิบัติวิปัสสนายกัมมัฎฐานจะมีส่วนฝึกตนให้มีจิตมั่นคง  เข้มแข็ง มีสมาธิ  สามารถที่ปฏิบัติภารกิจน้อยใหญ่ทั้งทางโลกและทางธรรมให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างเป็นรูปธรรม  นับว่าสอดคล้องกับพุทธพจน์ที่ว่า ใจเป็นหัวหน้า  ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน จะสำเร็จได้ก็ด้วยใจเท่านั้น

            เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว  ในปี พ.ศ.๒๔๙๐ หลวงปู่ได้เดินทางไปพบหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อศึกษาแนวทางปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานจากหลวงปู่มั่น  ช่วงก่อนปี ๒๔๙๓ ได้เดินทางไปศึกษาการปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์อุปัชฌาย์ฉิม วัดบ้านทุ่งไชย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ  แม้ว่าหลวงปู่จะได้รับแต่งตั้งเป็น พระอุปัชฌาย์  ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ และดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดสระกำแพงใหญ่  ใน พ.ศ.๒๔๙๔  แค่หลวงปู่ก็ไม่เคยเลิกล้มความตั้งใจที่จะบำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฎฐานให้เกิดผลเป็นรูปธรรมให้จงได้  เช่น ได้เดินทางไปปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานกับหลวงพ่อเดิม ที่วัดหนองโพธิ์ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ เดินทางไปศึกษาปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่คำมี  พุทธัสสาโร  วัดถ้ำคูหาสวรรค์ จังหวัดลพบุรี  ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เดินทางไปฝีกปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานกับหลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร และสำเร็จวิชากรรมกาย   ปี พ.ศ.๒๔๙๕-๙๖ เดินทางไปปฎิบัติวืปัสสนากัมมัฏฐานกับพระอาจารย์พระครูญาณโสภิต วัดป่าสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา  และในปี ๒๕๐๐ หลวงปู่ได้มีโอกาสออกธุดงค์ในป่าลึกเขตอำเภอปากช่อง  บริเวณซับม่วง  โดยมีพระครูญาณโสภิต เป็นผู้นำ ร่วมกับพระวิปัสสนาจารย์อีก ๖ รูป โดยปฏิบัติธรรมอยู่ในถ้ำถึง ๖ วัน แม้ว่าสหธรรมิกหลายรูปได้รับเชื้อไข้ป่ามาลาเรีย จนถึงมรณภาพไป ๓ รูป แต่หลวงปู่เครื่อง ก็รอดมาได้อย่างมหัศจรรย์  หลังจากนั้น หลวงปู่ได้เดินทางไปศึกษาและเก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านวิปัสสนากัมมัฏฐานในภูมิภาคต่างๆทั่วไทยอย่างต่อเนื่อง  เช่น จันทบุรี สุราษฏร์ธานี ประจวบคิรีขันธ์  เพื่อนำความรู้และประสบการณ์มาใช้ในการศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระภิกษุสามเณรวัดสระกำแพงใหญ่  ซึ่งหลวงปู่ตั้งใจจะพัฒนาให้เป็น  เมืองตักสิลา  ทางด้านพระพุทธศาสนาสืบไป

              ปณิธานสร้างโรงหล่อหลอมมนุษย์   หลังจากได้กลับมาทำหน้าที่เจ้าอาวาสวัดสระกำแพงใหญ่ และหน้าที่พระปัชฌาย์แล้ว  หลวงปู่ได้วางแผนจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งทางด้านปริยัติ และด้านปฏิบัติ เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนที่ประสงค์จะ บวชเรียน ได้อย่างเต็มที่  โดยเน้นเรื่องการศึกษาซึ่งหลวงปู่ถือว่า  เป็นโรงหล่อหลอมมนุษย์ เป็นอันดับแรก ต่อจากนี้ ได้ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานควบคู่กันไป ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

              ๑.ได้จัดตั้ง โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดสระกำแพงใหญ่ (แผนกนักธรรม-บาลี) โดยให้เปิดสอนทั้งแผนกนักธรรม (นธ.ตรี-นธ.เอก)และแผนกบาลี (บาลี ๑- ๒ และ ปธ.๓ ปธ.๙) ในปัจจุบัน พระมหาชัชวาลย์ โอภาโส ปธ.๙ รก.เจ้าอาวาสวัดสระกำแพงใหญ่  เป็นอาจารย์ใหญ่

              ๒.ได้ตั้ง โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาวัดสระกำแพงใหญ่ (ม.๑-ม.๖) เพื่อให้พระเณรที่ด้อยโอกาสได้ บวชเรียน ทั้งทางโลกและทางธรรมควบคู่กันไป (โรงเรียนวิถีพุทธ)เพื่อให้ผู้เรียน เป็นทั้งคนดี เป็นทั้งคนเก่ง และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ในปัจจุบัน  พระมหาชัชวาลย์ โอภาโส รก.เจ้าอาวาสวัดสระกำแพงใหญ่  เป็นผู้จัดการ และพระมหาสง่า ปภัสสโร เป็นผู้อำนวยการ

             ๓.ได้จัดตั้ง สถาบันการศึกษาแผนกอุดมศึกษา (ห้องเรียน มจร.วัดสระกำแพงใหญ่ ) เพื่อยกระดับเป็นวิทยาลังฆ์ศรีสะเกษ ในเครือข่ายมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ต่อไป ทั้งนี้ โดยได้เปิดสอนปริญญาสาขาต่างๆ เช่น พุทธศาสตร์บัณฑิต เป็นต้น  ในปัจจุบัน พระศรีธรรมนาถมุนี รองเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ  เป็นผู้บริหารการศึกษาระดับสูงของสถาบันอุดมศึกษาแห่งนี้

              ๔.ได้ตั้ง ศูนย์วิปัสสนากัมมัฏฐาน  (ศูนย์พุทโธโลยีหลวงปู่เครื่อง เพื่อการศึกษาและปฎิบัติธรรม) เพื่อเป็นแหล่งฝึกวิปัสสนากัมมัฎฐานของพระภิกษุสามเณร และพุทธศาสนิกชนทั่วไป  โดยมุ่งจะให้มีศูนย์เครือข่ายกระจายอยู่ตามท้องถิ่นต่างๆ ทั้งในระดับตำบลและอำเภอในจังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดใกล้เคียง ในปัจจุบัน  ดร.นันทสาร  สีสลับ  นายกสมาคมศิษย์หลวงปู่เครื่อง สุภัทโท ทำหน้าที่ ผู้อำนวยการศูนย์พุทโธโลยีหลวงปู่เครื่องเพื่อการศึกษาและปฎิบัติธรรม เพื่อดำเนินการส่งเสริมการพัฒนาด้านจิตใจตามแนว พุทโธโลยีหลวงปู่เครื่อง  โดยหลวงปู่ได้กล่าวในโอกาสที่คณะศิษยานุศิษย์และผู้มีจิตศรัทธาได้จัดงานฉลองวาระครบวันสุติกาล ๙๖ ปีของหลวงปู่ เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฏาคม ๒๕๔๔ ว่า  จิตที่ไม่ได้ฝึกมามันก็โง่นะซิ จิตที่ฝีกดีแล้ว มันนิ่งสงบเย็น พุทโธโลยีคือจิตที่ฝึกด้วยปัญญา ได้กำไรมาก เทคโนโลยีคือจิตที่ฝึกด้วยสัญญา ได้กำไรน้อย   ดังนั้น วิปัสสนากัมมัฏฐาน จึงถือได้ว่าเป็น พุทโธโลยีที่ฝึกจิตให้ สงบ นิ่ง และเย็น ซึ่งจะมีคุณูปการต่อการเสริมสร้างสันติภาพและสันติสุขในการดำเนินวิถีชีวิตทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว สังคมท้องถิ่นและสังคมโลกได้อย่างเป็นรูปธรรม

              

 

                ในปัจจุบัน มีแนวโน้มที่มีความสนใจปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานมากขึ้นทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เพราะในโลกปัจจุบันเต็มไปด้วยความขัดแย้งและความเครียด พฤติกรรมเบี่ยงเบน ความรุนแรง และโลกภัยไข้เจ็บที่มาจากความเครียด การเรียนวิชาอย่างเดียวโดยไม่ได้ฝึกจิต ไม่สามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นในคน สมัยใหม่                                                                                               ได้  หรือกลับทำให้เลวร้ายยิ่งขึ้น วิปัสสนากัมมัฏฐานช่วยให้บรรลุอิสรภาพ ความสุข การมีสุขภาพดี มีการเรียนรู้ที่ดี และส่งเสริมการอยู่ร่วมกันด้วยสันติ วิปัสสนากัมมัฏฐานจึงขาดไม่ได้สำหรับเด็กเยาวชนและคนสมัยใหม่

                        น.พ.ประเวศ วะสี  ได้กล่าวไว้ใน ยุทธศาสตร์พระพุทธศาสนากับการพัฒนาประเทศไทย  ตอนหนึ่งว่า ต่อไปคนไม่ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานจะกลายเป็นคนเชย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและกรมการศาสนา ควรจะทำยุทธศาสตร์ส่งเสริมการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ให้วิปัสสนากัมมัฏฐานอยู่ในวิถีชีวิตของคนทั้งหมด

            พุทโธโลยี จิตที่ฝึกด้วยปัญญา  ได้กำไรมาก เทคโนโลยี จิตที่ฝึกด้วยสัญญา ได้กำไรน้อย

หลวงปู่ได้ค้นพบทฤษฎีดังกล่าวด้วยการศึกษาและทดลองปฏิบัติด้วยตนเองเป็นเวลาอันยาวนาน จนถึงวาระสุดท้ายแห่งการละสังขารเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฏาคม ๒๕๕๑ ดังนั้น คณะศิษยานุศิษย์จังได้ทำการศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับแนวทางสืบสานปณิธานหลวงปู่ที่ควารนำมาสานต่อและเผยแผ่ให้เป็นที่ปรากฏแก่สาธารณะให้กว้างขวางยิ่งขึ้นทั้งในและต่างประเทศพุทโธโลยีตามแนหลวงปู่เครื่อง เป็นมรดกทางความคิดของหลวงปู่ประการหนึ่งที่ควรนำมาสานต่อ โดยเฉพาะในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคตซึ่งกระแสเทคโนโลยีกำลังมาแรงและมีอิทธิผลต่อวิถีชีวิตและวิถีคิดของชาวโลกในปัจจุบัน แต่หลังจากเกิดวิฤตการณ์ทางเศรษฐกิจโลกขึ้นในปัจจุบัน  ก็ทำให้นักปราชญ์และนักคิดของโลกได้วิเคราะห์ผลกระทบจากเทคโนโลยีต่อวิถึชีวิตของชาวโลกและสังคมในปัจจุบันรวมทั้งแนวทางแก้ไข   กระแสพุทโธโลยี ตามแนวคิดของหลวงปู่น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่สังคมโลกกำลังให้ความสนใจ การที่  สหประชาชาติจึงได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก  เพื่อให้ชาวโลกได้ร่วมแรงร่วมใจกันเสริมสร้างสันติภาพและสันติสุขตามแนวทางพระพุทธศาสนาซึ่งพระพุทธเจ้าได้ปฏิบัติเป็นต้นแบบมาแล้วกว่า ๓๕๐๐ ปีซึ่งก็คือการฝึกและพัฒนาจิตตามหลัก พุทโธโลยีนั่นเอง

              ธรรมะที่หลวงปู่กล่าวถึงเกี่ยวกับ พุทโธโลยี และ เทคโนโลยี มี ๒ หัวข้อที่ควรให้ความสนใจ และทำความเข้าใจในเบื้องต้นดังนี้

                     ๑. พุทโธโลยี จิตที่ฝีกด้วยปัญญา ได้กำไรมาก  คำว่า ปัญญา ได้มีผู้ให้ความหมายและขอบข่ายไว้มากมาย  พจนานุกรพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ โดยพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ได้ให้ความหมายไว้ว่า ความรู้ทั่วไป, ปรีชาหยั่งรู้เหตุผล, ความรู้ความเข้าใจชัดเจน, ความรู้เข้าใจหยั่งแยกได้ในเหตุผล ดีชั่ว คุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น  แบ่งออกเป็น ๓ ประการคือ

                       (๑)จินตมยปัญญา ปัญญาเกิดแต่การคิดพิจารณาหาเหตุผล

                                        (๒)สุตมยปัญญา  ปัญญาเกิดแต่การสดับ การเล่าเรียน

                                       (๓)ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดแต่การฝึกอบรมลงมือปฏิบัติ

                      การฝึกจิตโดยใช้กระบวนการดังกล่าวเรียกว่า พุทโธโลยี  หรือการฝึกจิตด้วยปัญญา

                ๒.เทคโนโลยี จิตที่ฝึกด้วยสัญญา ได้กำไรน้อย   พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับเดียวกันได้ให้คำจำกัดความว่า สัญญา การกำหนดหมาย, ความจำได้หมายรู้ คือ หมารู้ไว้ซึ่ง รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ และอารมณ์ที่เกิดกับใจว่า เขียว ขาว ดำ แดง เบา เสียงคน เสียงแมว เสียงระฆัง กลิ่นทุเรียน รสมะปราง เป็นต้น  และจำได้คือ รู้จักอารมณ์นั้นว่าเป็นอย่างนั้นๆ ในเมื่อไปพบเข้าอีก(ข้อ ๓ ในขันธ์ ๕)มี ๖ อย่าง ตามอารมณ์ที่หมายรู้นั้น เช่น รูปสัญญา หมายรู้รูป สัททสัญญา หมายรู้เสียง เป็นต้น ความหมายสามัญในภาษาบาลีว่า เครื่องหมาย ที่สังเกตความสำคัญว่าเป็นอย่างนั้นๆ ในภาษาไทย มักใช้หมายถึงข้อตกลง, คำมั่น

            การฝึกจิตโดยใช้กระบวนการจำได้หมายรู้เรียกว่า เทคโนโลยี  หรือการฝึกจิตด้วยสัญญา

       หลวงปู่สอนนั่งสมาธิ  การสอนหนั่งสมาธิเป็นกระบวนการหนึ่งของวิปัสสนากัมมัฎฐาน หรือ การฝึกจิตด้วยปัญญา หรือ พุทโธโลยี ซึ่งได้เรียบเรียงจากเทปบันทึกเสียงของหลวงปู่ที่อบรมพระนวกะวัดสระกำแพงใหญ่ ข้อความและภาพประกอบในแต่ละเรื่องได้ยึดตามแนวที่หลวงปู่ได้สั่งสอนเป็นสำคัญ  ผู้อ่านและศึกษาจำเป็นต้องใช้วิจารณญาณทำความเข้าใจและสังเคราะห์บนพื้นฐานจินตมยปัญญา สุตมยปัญญา และภาวนามยปัญญา จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวิถีชีวิต วิถีคิด และวิถีการเรียนรู้ ได้อย่างเหมาะสมและมีความสุข

 

หลวงปู่สอนนั่งสมาธิ

วิธีตั้งสมุฏฐานของลม ทำจิตให้เป็นสมาธิบาทวิปัสสนา

๑.      กำหนดตั้งสะดือบุรุษ ฐานนี้เมื่อตั้งพิจารณาเห็นรูปนามได้ชัดแจ้งแล้ว จึงเป็นที่ระงับทุกขเวทนาทั้งปวงได้

๒.    ให้กำหนดตั้งเหนือสะดือประมาณ 3 นิ้ว เป็นที่ระงับทุกข์ อกุศลจิต ยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้นโดยสะดวกเป็นที่ประชุมแห่งธาตุ ๔ สัมปยุตกับธาตุ ๖ ธาตุ ๑๘ รวมเป็นธาตุเดียวกันเปลี่ยนเป็นศูนย์เพื่อทำลายธาตุให้ตั้งอยู่ได้

๓.     กำหนดที่ตั้งสติให้เนื้อหัวใจ เป็นปฏิสนธิวิญญาณเจือไปด้วยกุศลธรรม อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม ถ้าตั้งสติสัมโพชฌงค์ ๗ ก็สะกดไว้ จิตของเราจึงดำเนินวิปัสสนาโดยถูกต้อง ทำลายมโนวิญญาณธาตุได้ จึงระงับวิสุทธิใสสะอาดทำให้เกิดดวงปัญญายิ่งขึ้นในรูปนาม

๔.     กำหนดสติตั้งสุดของลำคอ เป็นที่รวมอุปะทา ฐิคิภังคะ ที่ขาดรส ซึ่งเป็นนิโรจสัจจ์รวมกัน เห็นแจ้งในนิโรธมรรคสัจจ์

๕.     กำหนดสติที่ตั้งปลายนาสิก ที่ทำให้เกิดปีติ ปราโมทย์ ทำให้เกิดความสิ้นเสื่อม เกิดและดับแห่งสังขาร รู้แจ้งแก่ใจจิตสงบได้โดยเร็ว

๖.      กำหนดที่ตั้งจักขุ เป็นที่เกิดแห่งปัญญา พิจารณาเห็นบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์แน่นอนเที่ยงธรรมยิ่งขึ้น เป็นเหตุให้เกิดทิพยจักษุวิญญาณ เป็นอุบายทำจิตให้มั่นคงสืบต่อไป

๗.     กำหนดที่ตั้งระหว่างคิ้ว เป็นที่ชำระมลทินโทษเกิดจากอารมณ์ชั่วต่างๆ จิตฟุ้งซ่าน ไม่ง่วงเหงาหาวนอน เป็นที่ตั้งตบะเดชะ มีอิทธิพลมากย่อมสั่งสมปัญญาไว้

๘.     กำหนดตั้งบนกระหม่อม เป็นที่ตั้งแห่งขันติโสรัจจะธรรม ทำให้เกิดอาคมปัญญา อิทธิฤทธิ์อาคมปัญญา เป็นเหตุให้เกิดอดีต อนาคต ปัจจุบัน คือ ต่อวิปัสสนาญาณให้แจ่มแจ้ง

๙.      กำหนดที่ตั้งท้ายทอย เป็นที่ตั้งของสติสัมปชัญญะคือเป็นที่เก็บทุกขเวทนาทั้งปวง เป็นที่ระงับวิสภาคารมณ์ รักษาโรคเส้นประสาทจิตฟุ้งซ่านสมองเสีย และทำจิตให้ถึงวิมุตติ ด้วยอำนาจปฏิสนธิจิต ไปสู่สุดพิภพหรือถึงนิสสรณวิมุตติได้แน่นอน

ขั้นบทวิธีเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน

                ผู้ที่จะเรียน เข้าปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ต้องทำความเข้าใจในภูมิวิปัสสนาเสียก่อน จึงจะไม่เสียผลตามจิตที่มุ่งหมายว่า ภูมิวิปัสสนา หมายเอาอะไร มีกี่อย่าง อะไรบ้าง แปลว่าอะไร ความจริงตามภูมิวิปัสสนานั้น หมายเอารูปนาม หรือเรียกว่าขันธ์ ๕ มีอยู่ ๒ อย่าง แน่วแน่ปฏิบัติของพระอริยเจ้า วิ แปลว่า แจ้งปัสสนา แปลว่าเห็นจริง ภาวนา แปลว่าสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นซึ่งเป็นวิถีทางเดินลัดและทางตรงไม่คดไม่เลี้ยวผู้ที่จะเข้าบำเพ็ญวิปัสสนาธุรกิจอันที่จะต้องประพฤติปฏิบัติฝึกหัดจิตของตนให้แน่วแน่ เป็นเอกัคคตารมณ์ มีอยู่ ๔ อย่างคือ ๑.การฝึกจิต ๒.การทรมานจิต ๓.การข่มจิต ๔.การหยั่งจิตให้ได้เข้าสู่ภูมิของวิปัสสนา โดยเหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงทรงสรรเสริญผู้ใดฝึกจิตของตนให้รู้แจ้งเห็นจริงในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งเป็นวัตถุที่ควรยกขึ้นมาพิจารณา หรือสิ่งที่ถูกเพ่ง เพื่อให้เกิดดวงปัญญาญาณ คันพบเห็นความจริง คือ สัจธรรมชั้นสูงเหมือนกับนายสารภี ผู้ฝึกม้าได้ดีแล้ว นี้ก็ฉันใดบุรุษผู้ฝึกจิตของตนให้ตรงต่อวิปัสสนา เพื่อเป็นแนวทางแก้ทุกข์ดับความเดือดร้อนให้สิ้นไปย่อมได้ผล คือความสงบสุขทางใจดังนี้

 

วิธีนั่งสมาธิต่อไป

                คือขึ้นนั่งบัลลังก์ขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย เว้นหัวแม่มือทั้งสอง ให้ห่างกันสององคุลี คือ หัวแม่มือซ้ายยันกับปลายนิ้วชี้ขวา แล้วตั้งกายให้ตรง คือวัดตั้งแต่ปลายนิ้วชี้ของเท้าขวาถึงกลางลูกสะบ้าของหัวเข่าขวานั้นแล้วเอาเครื่องวัดนั้นจรดลงที่ตรงของขาขวา หรือระหว่าง ๓ นิ้ว นี้เป็นส่วนของกายตรงเรียกว่า อุชุ กายํ ปณิธาย ตั้งกายให้ตรง ปริมุขํสติ อุปฏฐเปตฺวา แปลว่า เราเข้าไปตั้งสติให้มีหน้ารวม คือ เข้าไปตั้งสติไว้ ไม่ให้พลั้งเผลอตรงต่อพระพุทธเจ้า นี้เป็นหนทางเดียวเข้าสู่บ้านพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ขีณาสพเจ้า ตั้งสติให้มั่นคงจากปริกรรมภาวนาและปริกรรมนิมิต ให้สืบเนื่องติดต่อไม่ให้แยกแตกจากกันนี้แลเป็นทางสำคัญ ในเรื่องจะเป็นหรือไม่เป็นแล้วให้ใช้บริกรรมว่า พุทฺโธ พุทฺโธ พุทฺโธ หรือกำหนดอานาปานสติ กำหนดพิจารณาลมหายใจเข้าออก หายใจออกว่าพุทเข้า โธออก ท่านบอกไว้ว่ามิใช่คนอื่น อย่าไปยื่นในสัญญาอารมณ์หลงตั้งใจ ให้เที่ยงตรงอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก ก็ปรากฏขึ้นมาเหมือน ลูกเพชรที่นายช่างเจียระไนแล้ว ประมาณเท่าวงของตาดำๆ ใสขาว สะอาด เหมือนกระจกส่องดูเงาหน้าสัณฐานกลมรอบตัวเหมือนดวงแก้วกายสิทธิ์ นี่เรียกว่าปริกรรมนิมิตปริกรรมทั้ง ๒ อย่างพรากกันไม่ได้ ต่อให้ติดต่อกันอยู่เสมอเมื่อเป็นนิมิตเกิดขึ้นมาเป็นผลใสสะอาดหมดจด ผ่องใสขึ้นที่ใจแล้ว ให้หยุดปริกรรมภาวนา เพ่งนึกอยู่ที่กลางดวงใจนั้นมีจุดเป็นเครื่องหมายให้ใสยิ่งขึ้นทุกทีๆ จนเกิดเป็นรัศมีแสงสว่างไสวรุ่งเรือง ด้วยปัญญาอันแจ่มแจ้ง นี้เรียกว่าปัญญาภาวนา เหมือนสุภาษิตว่า นตถิปญญาสมา อาภา แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มีดังนี้ ถ้าหากยังไม่แน่วแน่ต่อพระรัตนตรัย ขอให้ตั้งสติสัมปชัญญะเริ่มต้นขึ้นไปใหม่อีก จนกว่าจิตจะชำนิชำนาญ คล่องแคล่วว่องไวให้ตั้งใจภาวนาว่า พุทเข้า โธออก ปริกรรมอยู่อย่างนี้จนกว่าจิตของเราจะมั่นคงเป็นสมาธิ มีอารมณ์อันเดียวเป็นเอกัคคตารมณ์เป็นข้อมูลฐานปฐมมรรค ถ้าจิตยังไม่ตั้งมั่นในบริกรรม ภาวนาว่าพุทเข้าว่ายาวๆ โธออกว่ายาวๆ เมื่อพิธีนี้เกิดความรู้สึกขึ้นมีจิตสงบสบาย สว่างบริสุทธิ์ เยือกเย็น ไม่เดือดร้อนทุรนทุรายทุกข์ก็ดับไป ใช้ปัญญาพิจารณารูป นาม ย่อมเห็นเป็นตัวธรรมชาติ คือ ทุกข อินจจ อนตตา สภาพสังขารทั้งปวงเป็นของว่าง ไม่มีอุปทาน การยึดมั่นตัวเรา เขา เป็นแต่เพียงของสมมุติบัญญัติเท่านั้น จะได้โดยอุบายปัญญา ยกจิตของตนขึ้นสู่วิปัสสนาภูมิ ได้บรรลุสัจธรรมเมื่อใจเราว่างจากอารมณ์ทุกอย่างได้ดีแล้ว ย่อมสำเร็จผลนานาประการ แม้ว่าจะทำการงานหน้าที่ใดๆ ก็ดีไปหมด ทุกอย่างการงานทางด้านวัตถุ เช่น เงิน ทอง ทรัพย์ภายนอกและทรัพย์ภายใน ถึงว่าจะเป็นแม่ค้า พ่อค้า ครอบครัวผัวเมีย ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พลเรือน นักบวช นักปฏิบัติกัมมัฏฐาน นักศึกษามหาวิทยาลัย นักวิชาการต่างๆ จนถึงประเทศชาติ พระพุทธศาสนา พระมหากษัตริย์ รัฐบาล ชาวบ้าน จะดีได้ก็เพราะใจเราดีเท่านั้นในขณะใดที่จิตใจไม่ดีนึกขึ้นได้ว่า พุธโธ ยกขึ้นมาภาวนาทุกลมหายใจเข้าออก พุทโธ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น หรือผู้เบิกบาน เมื่อเรารู้แล้วสิ่งไม่ดีก็เหือดแห้งหายไป เมื่อเราได้บรรลุธรรมะว่าพุทโธนี้ และจะเป็นใหญ่เป็นโต พระอรหันต์ขีณาสพพบธรรมะชั้นสูงขึ้นไป ใจสะอาดบริสุทธิ์เหมือนกระจกเงา เพราะเหตุนี้เราต้องพิจารณาซึ่งรูปธรรมและนามธรรมที่เป็นตัวธรรมชาติ

                บัดนี้เราทั้งหลายได้ตั้งใจปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานได้บรรลุฌาณปัญญาทำจิตให้หลุดพ้นดับทุกข์ได้สนิทแล้ว สมควรตั้งปัญญายกจิตของตนขึ้นมาวินิจฉัยไต่สวนทวนถามตัวเราเองว่าในวันหนึ่งๆ ชีวิตของเราอยู่อย่างไร มีความวุ่นวายยุ่งเหยิงกี่เรื่องกี่ครั้งมีความเดือดร้อนใจกี่อย่าง แล้วก็เป็นเหตุให้ทุกข์ใจด้วยเรื่องอะไร ทำไมมันจึงได้เป็นทุกข์ ทำไมเราจึงได้เดือดร้อนใจวุ่นวายเพราะอะไร พวกเราได้รับความค้นคิดด้วยเรื่องนั้นหรือเปล่าถ้าหากพวกเราไปนั่งคิดเรื่องปัญหานั้นเสียแล้ว ความทุกข์มันก็จะหมดไป ความร้อนใจมันก็หมดไปด้วยกัน ทำไมเล่ามันจึงหมดไป ทันทีในเรื่องที่เราคิดถึงเรื่องนั้นถ้าเราคิดถึงด้วยความหลงหรือความเข้าใจผิด เราคิดถึงทุกข์ด้วยความหลงเข้าใจผิด มิใช่ด้วยเรื่องปัญญา ถ้าหากว่าเราคิดด้วยเรื่องปัญญานี้มันก็ไม่ร้อนไม่วุ่นวายไม่มีเรื่องที่จะเกดขึ้นมันก็ไม่ร้อนไม่วุ่นวายไม่มีเรื่องที่จะเกิดขึ้น แต่เรารู้เท่าเอาทันต่อเหตุการณ์ต่างๆ ใจเราก็สงบสุขไม่มีเรื่องที่เกิดขึ้นได้อีกต่อไปเราต้องพยายามรักษาจิตอยู่เสมอ เมื่อจิตมันจะโกรธมันจะโลภ มันจะหลงเราก็รู้ มันจะรักคนโน้น มันจะรักคนนี้ มันจะเกลียดชัง คนโน้นเราก็รู้ มันอยากไปโน่น มันอยากไปนี่ เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์เราก็รู้ นี่เป็นทางแห่งมัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง นี้คือทางดับทุกข์ ดับร้อนโดยสิ้นเชิงดังนี้

 

 

 

อันกิเลสครอบงำจิตผู้มีฤทธิ์เหมือนเสือร้าย

                ครั้งจำเนียรกาลนานมาในพรรษาที่ ๒ หลวงปู่ก็ย้ายสถานที่เข้าไปบำเพ็ญวิปัสสนาธุระอยู่ที่ถ้ำใหญ่ เป็นสถานที่รื่นรมย์สงบเงียบวิเวกวังเวง ปราศจากเครื่องกังวลทุกอย่าง เจริญภาวนาบำเพ็ญเพียรทางด้านจิตใจให้มั่นคงก็เกิดอุคคหนิมิตปรากฏเป็นรูปเสือโคร่งใหญ่เข้ามาแสดงอภินิหาร มีกิริยาท่าทางจะกระโดดเข้ามาจะกัดหลวงพ่อโดยเฉพาะหน้าแต่ท่านก็มีสติตั้งมั่นคงอยู่มิได้พลั้งเผลอ เมื่อระลึกขึ้น ได้พิจารณาดูนิมิตที่ปรากฏนั้นจะได้แก่เหตุการณ์อะไรหนอ หลวงพ่อท่านเล่าเมื่อตริตรองความเป็นจริงแล้ว ด้วยอุบายปัญญาว่า อ้อเสือตัวนี้คงหมายเอาอารมณ์ที่เกิดจากจิต คือ กิเลส ตัณหา อันโลภ โกรธ หลง มันหาโอกาสที่จะเข้ามาสิงใจ และครอบงำจิตของหลวงปู่ไว้ให้อยู่ในอำนาจของมัน เพราะสติปัญญาของหลวงปู่ตอนนั้นอาจจะยังไม่แก่กล้า นิมิตมันเข้ามาหลอกลวงเป็นมายาให้ท่านลุ่มหลงไปตามสัญญา อันนี้หลวงปู่เล่าให้ฟัง ผู้เรียบเรียงเห็นว่า อาจมีผู้ปฏิบัติแล้วประสบปัญหาเหมือนท่าน จะได้รีบแก้ไขจิตให้ถูกต้อง เหมือนหลวงปู่ท่านได้แนะนำไว้

                ทำสมาธิอยู่ที่ถ้ำคูหาสวรรค์ จ.ลพบุรี อันกิเลสครอบงำจิตมีฤทธิ์เหมือนเสือร้าย มองลูกโลกนี้ไม่มีอะไรแน่เห็นแต่เสือ เจือด้วยกามคุณหนุนไปให้เราหลง หลวงปู่ท่านว่าต้องปลง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จึงหันหน้ามาพึ่งพระธรรมหาความสุขสนุกกันนั้นคือ ภาวนาให้ชนะตัณหาพญามาร ข้ามสงสารได้แน่ ไม่แปรผันนั้นคือ ทางดับทุกข์

 


          ในวาระสมัยหนึ่ง เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๐๐ ได้ถือโอกาสเดินธุดงควัตรไปกับหลวงตาสอน พักบำเพ็ญวิชาวิปัสสนาภาวนาอยู่ที่ถ้ำยอ จ.สระบุรี ในคืนวันหนึ่ง ได้ตั้งสติสัมปชัญญะนั่งสมาธิ กำหนดพิจารณาลมหายใจเข้า หายใจออก นั่งอยู่ภายในนึกขึ้นได้ว่า ถ้าหากเราหายใจเข้ามันไม่ออกมาเราก็ต้องตายสิ้นชีวิตไป ความจริงด้วยอำนาจอภินิหารอิทธิพลของจิตเกิดนิมิตปรากฏขึ้นที่ใจ เหมือนหนึ่งว่ามีรูปพระฤาษีดาบสองค์หนึ่งมีมือถือรากยา พร้อมด้วยเศวตฉัตรเงิน เศวตฉัตรทอง นำเข้ามาถวายข้าพเจ้าก็ได้รับเอาไว้แล้ว เมื่อพิจารณาดูเหตุผลให้แจ้งชัดแล้วอันฤาษีองค์นี้คงจะหมายเอาผู้ที่จะมาเป็นครูบา อาจารย์ชี้ทางปฏิบัติไปหาสัมมาปฏิบัติให้ถูกต้องตามวรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ หนทางสายกลางเศวตฉัตรทั้ง ๒ อย่างนั้นคงจะได้แก่ รูปธรรม นามธรรม รากยานั้นคงหมายเอาธรรมโอสถ จิตที่เป็นสมาธิมั่นคงแน่วแน่ต่อพระรัตนตรัยได้เข้าถึงธรรมอันเป็นที่พึ่งเป็นแก่นสารยิ่งขึ้น ดังที่ปรากฏแก่ใจเราอยู่นี้

                ทำสมาธิอยู่ที่ถ้ำยอ จ.สระบุรี อันเศวตฉัตรเป็นเครื่องรัดตรึงใจใครแลเห็นคงได้เป็นพระอริยเข้า คือพระอรหันต์นั้นผู้หลุดพ้นด้วยญาณปัญญา นั้นคือยาอันวิเศษ ไตรเทพเข้าใกล้พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เป็นบุญญฤทธิอันศักดิ์สิทธิ์ของพระฤาษี มียาอันโอสถน้อมนำมาถวายพระผู้บำเพ็ญพรต กำหนดว่า จะฆ่ากิเลสให้ตายคลายตัณหาให้หลุดด้วยพุทโธ เอย

                ถ้ำนี้มืดมากไม่มีอากาศเลย ทำสมาธิอยู่ถ้ำอาจารย์สิริถ้ำคูหาสวรรค์ จ.ลพบุรี เมื่อเพ่งดูนิมิตที่ปรากฏกำหนดหมายเกิดขึ้นที่ใจ ได้เห็นพระหามคนป่วยใส่เปลมาวางไว้ที่เฉพาะหน้า แม้นโลกนี้คงมีแต่ความทุกขเวทนา สัญญาอารมณ์หลงคงวุ่นวายเหมือนนกที่ถูกขัง เพราะไม่มีอะไรที่จริงยั่งยืน เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นสภาพอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่าหมายมั่นย่อมผันแปรฉะนั้นให้หันหน้ามาพึ่งพระธรรมจำภาวนาให้หาสุขใจให้ภิรมย์ เอย

 



ได้เห็นพระหามคนป่วยใส่เปล

               

            อิโต ปรํ เบื้องหน้าแต่บัดนี้ไป ข้าพเจ้าก็ได้เคลื่อนที่เข้าสู่ภูมิยังถ้ำคูหาสวรรค์เช่นเคยเพื่อวัตถุประสงค์จะทำสมาธิจิตอีกอยู่ภายในถ้ำที่เขาเจาะทะลุเข้าไปใหม่ๆ ลึกถึง ๑๐ วา แต่ไม่มีอากาศส่องแสงสว่าง มืดแปดด้าน ต้องจุดไฟเทียนเข้าไป แต่ต้องมุ่งด้วยความตั้งใจนั่งสมาธิเจริญภาวนา วิปัสสนา กำหนดอานาปานสติพิจารณาลมหายใจเข้าหายใจออก นึกถึงสภาพสังขารที่มีอาการเปลี่ยนแปลงขึ้นๆ ลง อยู่เป็นนิจจนกว่าจิตจะชำนิชำนาญ เกิดชวนะจิตขึ้นปรากฏเห็นพระ ๒ องค์ หามคนป่วยเป็นไข้ใส่เปลแล้วเอามาวางไว้ที่เฉพาะหน้า ข้าพเจ้าก็ใช้สติปัญญาพิจารณาโน้มน้อมจิตเข้าสู่วิปัสสนาญาณ ให้เห็นแจ้งชัดในอารมณ์ ที่เกิดจากจิตอยู่ภายในรู้แจ้งด้วยสติปัญญาว่าพระ ๒ องค์นี้ได้แก่อะไร ความจริงก็ได้แก่อารมณ์ที่เกิดจากจิต คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา โสมนัส โทมนัส สิ่งที่ชอบใจและสิ่งที่ชอบใจ ซึ่งเป็นเรื่องมายาหลอกลวงให้เราลุ่มหลงทำให้ดีใจบ้างเสียใจบ้าง เพราะเหตุมันเป็นสภาพตามเป็นจริง ว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวง เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป เหมือนฟองน้ำ ไม่นานนักย่อมแตกสลายไปฉันนั้น ชีวิตของเราก็ย่อมตกอยู่ในสภาพเช่นเดียวกันดังปรากฏรูปพระ ๒ องค์นั้น

                จระข้ คืออวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม ปืน คือ ความโง่ของเรา หรือจิตของเรายังหลงอยู่ พระมีมือถือปืนยืนอยู่ตรงต้นไม้ จระเข้ระเหระหนบันดลจิตให้อยู่เป็นศัตรู คือกิเลส ข้าพเจ้าตั้งใจปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน เพื่อให้เกิดญาณความรู้ดูให้แม่นมั่นนั้นหนาคือจระเข้ เนตรนองหมองฤดีหนีโลกีย์ร้อนรุ่มขุมโลกันต์ มองหน้ามาดูมือปืนยืนขึ้นนก ว่าจะยิงทิ้งแล้วหักหนักเลยวาง มุ่งมั่นขยันภาวนาหาหนทางสงบสันติตราบนิพพาน เอย

 

 

 

 

                ในคืนวันหนึ่ง ตั้งสติหาอุบายเรื่องจะเปลี่ยนอิริยาบถใหม่ ได้กำหนดอารมณ์หายใจเข้าออกพิจารณาเดินจงกรม เพื่อความสงบทางใจ ในขณะที่ข้าพเจ้าปลงจงกรมแล้วขึ้นไปบนกุฏิ ตั้งใจอธิษฐานนั่งสมาธิเจริญภาวนา ทำความเพียรแล้วเกิดปฏิภาคนิมิตปรากฏการณ์เล็งเห็นรูปดาวพระอังคาร มีรัศมีรุ่งโรจน์เกิดเป็นควัน ส่องแสงสว่างขึ้นไปบนอากาศในท้องฟ้าทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ในเมื่อข้าพเจ้าออกจากสมาธิแล้วได้นั่งคิดพิจารณาดูว่า นิมิตอย่างนี้จะได้แก่เหตุอะไรหนอได้ฟังนักปราชญ์โบราณท่านกล่าวไว้ นิมิตเช่นนี้เกิดขึ้นแก่ใคร บุคคลนั้นย่อมได้รับทุกข์เดือดร้อนทางใจ และจิตฟุ้งซ่านกระสับกระส่ายไม่มีความสุขกายสบายใจ เพราะเหตุเกิดจากไฟธรรมชาติ คือ ราคะ โทสะ โมหะ กิเลสเหล่านี้เข้าครอบงำย่อมมืดมัว เหมือนควันไฟธรรมดามาเผาผลาญให้เกิดโทษ พระปฏิบัติวิปัสสนาเมื่อจิตยังกังวลอยู่ในอายตนะภายในภายนอก ย่อมเกิดทุกข์ชุลมุนวุ่นวายต่างๆ นานา ประการ ดังปรากฏอยู่นี้

 


เพ่งดูดาวพราวกระจ่าง

                เพ่งดูดาวพราวกระจ่าง หางฟุ้งขึ้นข้างบนจนแลเห็นเช่นนี้ ต้องเร่าร้อนจะเกิดเหตุดีหรือเคราะห์หามยามร้ายประการใดแก่ตัวเราเข้ากิเลส ราคะ โทสะ โมหะครอบงำจิตนิมิตตัวดำๆ ข้าพเข้าจำได้ว่าเป็นตัวเจ้าทุกข์ ต้องหาทางหลุดพ้นจากบ่วงมารให้ห่างเหินจากดาวอังคารนี้แล

                ครั้นต่อมาวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๐๑ วันนั้นเป็นเวลา ๑๗.๓๕ น. ข้าพเจ้าได้สมาทานเดินจงกรม พิจารณาในชีวิตสังขารของเรากำลังหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง จิตกำลังสงบงามเพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์ที่สงบสว่างไสว แจ่มแจ้งในกองสังขารที่ข้าพเจ้าเดินจงกรม ซึ่งมีนิมิตอันหนึ่งที่เกิดจากจิตผุดขึ้นมาเป็นรูปงูทำงานตัวหนึ่งเลื้อยเข้ามาขวางทาง ที่เราเดินจงกรมอยู่พอดี ข้าพเจ้ากำลังจะยกเท้าขึ้น และวางเท้าลงบนพื้นดิน มองเห็นตัวงูขวางหน้า ในเวลานั้นข้าพเจ้าขาดสติ พลั้งเผลอละเมอไปบ้างไม่ได้พิจารณาให้แน่นอนเสียก่อน กระโดดตื่นตกใจออกจากที่จงกรม ผ้าสบงขาดทั้งผืนเพราะความตกใจแล้วยืนฟังเสียงงูวิ่งไปเสียงดังลั่นไปเลย ปรากฏว่าบนก้อนหินมีรูงูเลื้อยลงไปรูนั้นแต่เมื่อไปดูจริงๆ แล้วไม่มีรูเลย แล้วก็หายไป ข้าพเจ้าเกิดความกลัวต่อภาพหลอนนั้น เพราะความเข้าใจหลงผิด ด้วยความโง่เขลาเบาปัญญา มิใช่ทางถูกต้องตามหลักธรรมะ ดังปรากฏอยู่นี้

 

 

รูปงูทำงาน

                นิมิตมีฤทธิ์เหมือนงู ดูตัวยาวๆ นั้นคือ กิเลส เพราะเหตุแห่งตัณหา ๓ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวคัณหา มาผูกจิตคิดบ่วงมาร หากเรามีจิตกล้าหาญสมาทานอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้นและทางดับตัณหาพาให้พ้นทุกข์ สุขเกษมเปรมชีวัน

 

 

 

หลวงปู่เทศน์โปรดสาธุชนเกี่ยวกับ

คติ โบราณอิสานในวันเข้าพรรษา

พระรัตนตรัย

 

 

 

 

 

 

 

 

ตาบอดคลำช้าง ได้แก่ อายตนะ ภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖

 

ไหว้พระพุทธไปถูกแต่ทองคำ

 

โย ธมฺมํ ปสฺสติ โสม ํ ปสฺสติ

ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา

 

                ไหว้พระธรรมไปถูกแต่ใบลาน ดังบาลีว่า โปฏฐเกสุ จ เย ปรหตฺเถ สิปฺปํ นตํ ธนํ สมุปฺปนฺเน จยํ สิปฺปํ ธนํ แปลว่าผู้มีความรู้มีวิชาอยู่ในคัมภีร์ในตู้ เหมือนมีเงินอยู่ในมือคนอื่น เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นวิชานั้นก็ไม่เรียกว่าวิชาเงินนั้นก็ไม่เรียกว่าเงิน

 

 

                ไหว้พระสงฆ์ ไปถูกแต่ลูกแต่หลานและชาวบ้านแท้ที่จริงพระสงฆ์นั้นคือ เนื้อนาบุญของโลก ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบได้บรรลุธรรมชั้นสูงขึ้นไป

ทางเข้าไปสู่ไตรสรณคมน์

 

 

 

 

 

                สรณะ     แปลว่า    ที่พึ่ง

                อาคมนะ แปลว่า    มาถึง

          สรณ+คมน์ แปลว่า การมาถึงซึ่งสรณะ หรือที่พึ่งหลักปฏิบัติเกี่ยวกับการถึงสรณคมน์ คือ

๑.      ต้องมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่แท้จริง

๒.    ต้องเป็นพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เสียเอง

                พระพุทธเจ้า คือ เป็นผู้ปฏิบัติแล้วเสร็จ เพื่อความเป็นคนสงบ สว่าง สะอาด บริสุทธิ์ ไม่มีความชั่วใดๆ ทั้งสิ้น ไม่มี ความโง่ เป็นผู้สว่างไม่มีความทุกข์ คือยึดเอาคุณธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นพระพุทธเจ้า ไหว้ดังนี้ถึงถูกต้องเข้าถึงพระพุทธเจ้า

          พระธรรมเป็นเรื่องเรียน เรื่องปฏิบัติให้ได้ผล เป็นความสะอาด สว่าง สงบ ไหว้ดังนี้จึงถูกพระธรรม

                พระสงฆ์ คือผู้กำลังพยายามอยู่ หือปฏิบัติเสร็จแล้ว ในการมีความสงบ สว่าง สะอาดบริสุทธิ์ ที่มีอยู่ในใจของบุคคลเหล่านั้น ได้ยึดเอาภาวะแห่งคุณงามความดีนั้น มาไว้ที่ใจ ได้ชื่อว่ามีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่แท้จริง เมื่อใดเวลาใดเรามีจิตใจ สะอาด สว่าง สงบ บริสุทธิ์ เมื่อนั้นเราได้เป็นพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้านี้เป็นทางเข้าไปสู่บ้านพระพุทธเจ้า ไหว้ดังนี้จึงถูกต้องได้รับผลพึงพอใจ

                ความจริงมนุษย์เราทุกคนต้องมีความเชื่อมั่นในตัวเราเอง ถ้าหากว่าเราไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเราเองแล้ว มันจะหาความสุขได้ยาก ในเมื่อเราไม่มีความทุกข์เดือดร้อนใจด้วยประการใดๆแล้ว พวกเราก็ไม่กระตือรือร้นวิ่งเต้นเข้าหาสู่บ้านพระพุทธเจ้า ในลักษณะเช่นนี้ก็แสดงว่า ยังเป็นผู้มีความประมาทเป็นคนเห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนรวมเพราะมีแต่ความทุกข์ ไม่มีการแก้ไขไปที่ไหน จึงจำเป็นเมื่อวิ่งเต้นเข้ามาหาแล้ว จึงมีความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า หากบุคคลใดไม่มีความทุกข์ร้อนใจด้วยประการใดๆ ก็เลยไม่สนใจในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ฉะนั้นมันจึงหันเหเชชวนเข้าไปแสดงตนถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ดังนี้

                ดังโบราณอิสานว่า

                ยามเมื่อเราต้องโทษ          จึงแล่นเข้าหานาย

                ยามเมื่อเราตาย                  จึงแล่นเข้าหาคุณพระ

 

 

 

 

 

 

 

เหมือนนายพรานสันดานโง่

                บุคคลผู้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ศีลธรรม ย่อมติดอยู่ในศาสนพิธีรีตองต่างๆ แล้วย่อมไม่เข้าถึงพระธรรม เหมือนนายพราน สันดานโง่ ติดตามแต่รอยช้างขึ้นๆ ลงๆ วกไปวนมาตามภูเขา ก็ไม่ได้ยิง ตามก็ไม่ทัน เนื้อช้างก็ไม่ได้กินผลที่สุดอาหารแกก็หมดไปแล้วก็กลับบ้านเสียเวลาเปล่า นี้ก็ฉันใด บุคคลผู้ติดอยู่ในด้านอามิส ย่อมตกทุกข์ได้ยากอยู่หลายชาติหรือเหมือนบุคคลผู้ถือปืนไม่มีลูก ก็ฉันนั้น

 

 

 

พรานผู้ฉลาดด้วยปัญญา

                พระภิกษุผู้ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ผู้ฝึกหัดจิตของตนได้ดีแล้วย่อมนำสุขมาให้ พิจารณาในตัวธรรมชาติแล้วประพฤติปฏิบัติตามกฎของธรรมชาติ ได้ผลสำเร็จมรรคผลนิพพานเหมือนนายพราน ผู้ฉลาดด้วยปัญญา ไม่ต้องไปตามรอยช้าง นั่งสมาธิพิจารณาหาทีท่าทางของช้าง ที่มันจะลงมากินน้ำ เมื่อได้จังหวะที่ดีแล้วก็ยกปืนขึ้นบ่าไหล่ ลั่นลงไปก็ถูกที่จุดหมายพอดี นายพรานได้เนื้อและงาช้างมาซื้อจ่ายขายกินตามความต้องการนี้ก็ฉันใด ผู้มีปัญญาปฏิบัติสมถะวิปัสสนากัมมัฏฐาน ภาวนานั่งพิจารณาอารมณ์ที่เกิดจากจิต รู้จักปล่อยวาง ไม่ต้องไปยึดมั่นในสิ่งทั้งปวง ดังบาลีว่า อนุปปาทา วิมุจจนติ สาธุชนทั้งหลายจิตหลุดพ้นเพราะการไม่ยึดมั่นถือมั่น เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ย่อมได้รับความสุขทางใจ ดังเทศนานัยว่า

                จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ

            จิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้

 

          ชนผู้ปฏิบัติกัมมัฏฐาน ต้องอาศัย ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมมีผลเกี่ยวเนื่องถึงกันอยู่เสมอ ขาดแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง สำเร็จมรรคผลไม่ได้

 

 

                คนทุศีลเหมือนคนมือด้วนได้แหวนเพชร ถึงแม้ว่าจะสวมเท่าไหร่ก็หาสวยงามไม่มี เหมือนบุคคลผู้ไม่มีศีล ศีลไม่บริสุทธิ์ เจริญภาวนาเท่าไหร่ก็หาเกิดผลประโยชน์ไม่ได้ ตัวอย่างคนมือด้วนสวมแหวนหาได้สำเร็จผลในการสวมไม่

 

 

 

 

 

 

 

                อุปมาเหมือนคนหัวล้านได้หวี เพราะจิตไม่มีสมาธิมีอาการดิ้นรนกลับกลอก รักษาจิตไม่มั่นคง ย่อมหวั่นไหวไปตามอารมณ์ ถึงแม้ว่าจะทำกิจการงานใดๆ ก็ไม่สำเร็จเหมือนคนหัวล้านได้หวี ไม่สวยงามเลย ดังพระคาถาว่า ผนทนํ จปรํ จิตฺตํ ทุรกฺขํ ทุนฺนิวรยํ อุชุกโรติ เมธาวี อุชุกโรติ เตชนํ แปลว่า บุคคลผู้มีปัญญาย่อมฝึกจิตของตนที่ดิ้นรนกลับกลอก รักษายากห้ามยาก ให้อยู่นิ่งเหมือนนายช่างศรผู้ฉลาดพยายามตัดลูกศรให้ซื่อตรง ฉันนั้น

 

 

 

 

เหมือนบุรุษจักษุบอดได้กระจก

                คนตาบอดนั่งเฝ้าขุมทรัพย์ก็หาร่ำรวยไม่ได้ คนตาบอดได้กระจกมองก็ไม่รู้เรื่องอะไร ไม่ได้ประโยชน์ เพราะความโง่เขลาเบาปัญญา ปฏิบัติสมถะวิปัสสนากัมมัฏฐาน ก็ไม่ได้บรรลุคุณงามความดีอะไร เพราะหลงงมงาย เหมือนบุรุษจักษุบอดได้กระจก ฉะนั้นดังประพันธ์ว่า อวิชฺชา นิวุตาโปสา แปลว่า บุคคลที่โง่เง่า เต่าตุ่น มืดมัวก็เพราะอวิชชาหุ้มห่อไว้ดังนี้

                ดังกับภาษิตนี้คือ นตฺถิ ปญฺญาสฺมา อาภา แปลว่า แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี

 

 

 

 

จิตเหมือนลิง เกิดเป็นคนเอาดีไม่ได้ก็อายลิง

                บุคคลผู้มีจิตเหมือนลิง ซึ่งเป็นตัวธรรมชาติของจิตมีอาการดิ้นรนกลับกลอกหลอกลวงเจ้าของอยู่ทุกขณะ เหมือนกับนิสัยของลิง ธรรมดาลิงนั้นมีอาการนิ่งอยู่เฉยๆ ไม่ได้ มือ เท้า ตา หู จมูก ตัวของมันก็นิ่งอยู่ไม่ได้ วิ่งไปโน่นมานี่แสดงออกท่าทางอยู่บ่อยๆ ฉะนั้นเราต้องสำรวมกำลังใจฝึกหัดจิตให้มีอารมณ์อันเดียวให้เป็นสมาธิมั่นคง ไม่หลงใหลไปตามกิเลสดังพุทธพจน์กำหนดไว้ว่า จิตตสส ทมโถ สาธุ จิตที่ฝึกดีแล้วนั้นแลเป็นการดี

 

ผู้หาบโลก

โบราณอิสานว่า หนักหน้าเซียงลีลาคอนนุ่ม หนุนท่อใดแห่งเจ้าคราวมือก็บ่อเบาแท้แล้วท่านเอยสมด้วยพระคาถาว่า

อุปาทา ปญฺจกฺ ขนฺธา ปรมา ทุกฺขา การยึดมั่นถือมั่น ในเบญจขันธ์อุปาทานนั้นแลเป็นทุกข์อย่างยิ่งยวด ยวด (เป็นของหนักอย่างยิ่ง)

 

ผู้วางโลกเบาจังโว้ย

วิมุตฺตสฺมึ วิมุตตมีติ ญาณ ํ โหตุ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ญาณว่าหลุดพ้น ย่อมมีคือ พระนิพพานหาเครื่องปรุงอีกไม่มีแล้ว

 

ผู้เข้าถึงธรรมะแล้วย่อมไม่ยินดียินร้าย ต่อโลกธรรม ๘ ประการ ไม่หวั่นในอารมณ์ต่างๆ

ทวนกระแสได้ทุกอย่างว่าเราว่าเขา ถอนกระทั่งรากเง้าของมัน คือได้แก่ ตัณหา

 

เป่าปี่ให้ควายฟัง แสนจะดังฟังก็ไม่รู้เรื่อง ปทปรม ดังบาลีว่า ปญฺญยา มคฺคํ อลโน น วินฺทติ คนเกียจคร้านย่อมไม่พบทางแห่งปัญญา

สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ ฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญาดังนี้

 

คนโง่

          คนที่ไม่ได้รับการศึกษาเหมือนมีดไม่ได้ลับหิน เป็นคนโง่เขลาเบาปัญญาเหมือนสัตว์เดียรัจฉาน ย่อมถูกมนุษย์ชาติผู้มีความรู้สูงบังคับกดขี่ข่มเหงใช้ทำงานได้ทุกประเภทต้องทรมานทนทุกข์เวทนาตลอดชีวิต เพราะมันคิดโง่ ช่างหัวมัน เช่น เด็กเป็นคนดื้อดึง หน้าด้านบ้าบิ่นไม่อ่อนน้อมถ่อมตนไม่เคารพพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ สันดานหยาบ ไม่รู้บาปบุญคุณโทษประโยชน์มิใช่ประโยชน์ เหมือนโบราณท่านว่า โง่ไม่เป็นเป็นใหญ่ยาก โง่น่ารักฉลาดน่านับถือ โงน่าเกลียด ฉลาดน่าชัง

 

 

ตาดีจูงคนตาบอด ไปไม่รอดตาบอดจูงคนตาดี ดังประพันธ์ภาษิตว่า ตโม ตโม ปรายโน มืดมาแล้วมืดไป

โชติ โชติ ปรายโน สว่างมาแล้วสว่างไป

                                                               รวบรวมนำเสนอโดย

               ดร.นันทสาร สีสลับ  นายกสมาคมศิษย์หลวงปู่เครื่อง สุภัทโท ทำหน้าที่  ผู้อำนวยการ

                                ศูนย์พุทโธโลยีหลวงปู่เครื่องเพื่อการศึกษาและปฏิบัติธรรม

 

                                       *************

ผู้ประสงค์จะศึกษาประวัติและผลงานของหลวงปู่เครื่อง สุภัทโท เพิ่มเติม โปรดอ่านและศึกษา

จากเอกสารและสื่อสิ่งพิมพ์ตังต่อไปนี้

            ๑.สุพรรณ สาคร การสร้างบารมีและพลังบารมีของหลวงปู่เครื่อง สุภัทโท๑๓๕ หน้า จัดพิมพ์เผยแผ่โดย

มูลนิธิหลวงปู่เครื่อง สุภัทโท พ.ศ. ๒๕๔๗ (ISBN-974-92104-2-5)

              ๒.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยา ฉลองเปิดอาคารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดสระกำแพงใหญ่  ๒๕๔๕ จัดพิมพ์เผยแผ่โดยวัดสระกำแพงใหญ่อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

                     ๓.คณะกรรมการดำเนินการจัดพิมพ์ หลวงปู่เครื่อง สุภัทโท วัดสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ๑๐๘ หน้า  โดยร้านศรทอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ๒๕๔๙

             ๔.คณะกรรมการจัดงานฉลองครบรอบวันสูติกาล หลวงปู่เครื่อง สุภัทโทที่ระลึก งานฉลองอายุมงคลครบ ๙๖ ปี (๘ รอบ)๑๓๓ หน้า จัดพิมพ์เผยแผ่โดย วัดสระกำแพงใหญ่  อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ๒๕๔๙

                   ๕.สุพรรณ สาคร ปณิธานหลวงปู่เครื่อง สุภัทโท กละการสืบสานปณิธานของคณะศิษย์และสาธุชน ๕๑ หน้า จัด

พิมพ์เผยแผ่โดยวัดสระกำแพงใหญ่ อภเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ๒๕๕๐

            ๖.คณะศิษยานุศิษย์ มงคลวุฒานุสรณ์ จัดพิมพ์เผยแผ่โดยวัดสระกำแพงใหญ่  ปี ๒๕๕๑

                 ๗.ศึกษางานหลวงปู่จาก www.google.co.th  ในหัวข้อ หลวงปู่เครื่อง สภัทโท

                 ๘.ค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sakampaeng.orgหรือ www.sisaket.go.th

 

 

 

 

 

 

หมายเหตุจาก เวบมาสเตอร์
ในเวบไซต์ www.newworldbelieve.net

ที่ท่านกำลังชมอยู่นี้ ล้วนมีเรื่องราวเกี่ยวกับ พุทโธโลยี แทบทั้งสิ้น โดยความหมายของ พุทโธโลยี ทั้งที่เป็นสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของคนทั้งหลาย  ตามลำดับไปถึงสิ่งที่เป็นเรื่องโลกตตรธรรมชั้นสูงล้วน ๆ
ในชั้นนี้ เราขอแนะนำให้อ่าน  ศึกษาโลกลี้ลับ เป็นเรื่องต้น ๆ

 

 

 




พุทโธโลยี

ข่าวสำคัญวันวิสาขโลก ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒
ขอเชิญนักเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศเข้าแข่งขันประกวดเรียงความวันวิสาขบูชาโลก
วิสาขบูชา วันสำคัญของโลก
ประวัติโดยย่อหลวงปู่เครื่อง สุภัทโท ศรีสะเกษ
สมาคมศิษย์หลวงปู่เครื่อง บทบาทที่กำลังทำอยู่ปี 2552
กำหนดการจัดกิจกรรมเนื่องวันวิสาขบูชา ๒๕๕๒ สมาคมศิษย์หลวงปู่ฯ
ขอเรียนเชิญอาจารย์พัชรา กอปรทศธรรม เป็นเกียรติร่วมงานมอบรางวัลพุทโธโลยีและเวียนเทียนวันวิสาขบูชา ๒๕๕๒
ผู้ชนะการประกวดเรียงความ ขอเชิญรับรางวัลเนื่องในวันวิสาขบูชา ๒๕๕๒ ณ วัดสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ
ประกาศผลการประกวดเรียงความออนไลน์
ประกาศผลการประกวดวิสัยทัศน์วันวิสาขโลก สมาคมศิษย์หลวงปู่เครื่อง
สำนวนที่ 1 ของนายกวี เดชสมฤทธิ์ฤทัย ร.ร. กรุงเทพคริสเตียน
เรียงความออนไลน์กิติมศักดิ์ ของ อาจารย์พัชรา กอปรทศธรรม
สรุปการประชุมเรื่องยุทธศาสตร์ศาสนทายาท 22 ก.พ. 2552



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
----- ***** ----- โปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate นี่คือเวบไซต์คู่ www.newworldbelieve.com กับ www.newworldbelieve.net เราให้เป็นเวบไซต์ที่เสนอธรรมะหรือ ความจริง หรือ ความคิดเห็นในเรื่องราวของชีวิต ตั้งใจให้ธัมมะเป็นทาน ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แด่คนทั้งหลาย ทั้งโลก ให้ได้รู้ความจริงของศาสนาต่าง ๆในโลกวันนี้ และได้รู้ศาสนาที่ประเสริฐเพียงศาสนาเดียวสำหรับโลกยุคใหม่ จักรวาลใหม่ เรามีผู้รู้ ผู้ตรัสรู้ ผู้วินิจฉัยสรรพธรรมสรรพวิชชา สรรพศาสน์ และสรรพศาสตร์ พอชี้ทางสู่โลกใหม่ ให้ความสุข ความสบายใจความมีชีวิตที่หลุดพ้นไปสู่โลกใหม่ เราได้อุทิศเนื้อที่ทั้งหมดเป็นเนื้อที่สำหรับธรรมะทั้งหมด ไม่มีการโฆษณาสินค้า มาแต่ต้น นับถึงวันนี้ร่วม 14 ปีแล้ว มาวันนี้ เราได้สร้างได้ทำเวบไซต์คู่นี้จนได้กลายเป็นแดนโลกแห่งความสว่างไสว เบิกบานใจ ไร้พิษภัย เป็นแดนประตูวิเศษ เปิดเข้าไปแล้ว เจริญดวงตาปัญญาละเอียดอ่อน เห็นแต่สิ่งที่น่าสบายใจ ที่ผสานความคิดจิตใจคนทั้งหลายด้วยไมตรีจิตมิตรภาพล้วน ๆ ไปสู่ความเป็นมิตรกันและกันล้วน ๆ วันนี้เวบไซต์นี้ ได้กลายเป็นโลกท่องเที่ยวอีกโลกหนึ่ง ที่กว้างใหญ่ไพศาล เข้าไปแล้วได้พบแต่สิ่งที่สบายใจมีความสุข ให้ความคิดสติปัญญา และได้พบเรื่องราวหลายหลากมากมาย ที่อาจจะท่องเที่ยวไปได้ตลอดชีวิต หรือท่านอาจจะอยากอยู่ณโลกนี้ไปชั่วนิรันดร ไม่กลับออกไปอีกก็ได้ เพียงแต่ท่านเข้าใจว่านี่เป็นแดนต้นเรื่องเป็นด่านข้ามจากแดนโลกเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง และซึ่งเป็นโลกหรือบ้านของท่านทั้งหลายได้เลยทีเดียว ซึ่งสำหรับคนต่างชาติ ต่างภาษาต่างศาสนา ได้โปรดใช้การแปลของ กูเกิล หรือ Google Translate แปลเป็นภาษาของท่านก่อน ที่เขาเพิ่งประสบความสำเร็จการแปลให้ได้แทบทุกภาษาในโลกมนุษย์นี้แล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้เอง นั้นแหละเท่ากับท่านจะเป็นที่ไหนของโลกก็ตาม ทั้งหมดโลกประมาณ 7.6 พันล้านคนวันนี้ สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในโลกของเราได้เลย เราไม่ได้นำท่านไปเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่การนำไปสู่ความจริง ความรู้เรื่องชีวิตใหม่ การอุบัติใหม่สู่ภาวะอริยบุคคล ไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปพ้นจากทุกข์ ทั้งหลายไปสู่โลกแห่งความสุขแท้นิรันดร คือโลกนิพพานขององค์บรมศาสดาพุทธศาสนา พระบรมครูพุทธะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ท่านโปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate ท่านก็จะเข้าสู่โลกนี้ได้ทันทีพร้อมกับคน7.6พันล้านคนทั้งโลกนี้. ----- ***** ----- • หมายเหตุ เอาขึ้นเวบไซต์ แทนของเดิม ทั้ง 2 เวบ .net .com วันที่ 21 เม.ย. 2565 เวลา 07.00 น. -----*****-----