ReadyPlanet.com
dot
dot dot
bulletBUDDHISM TO THE NEW WORLD ERA
bullet1 Thai-ไทย
bullet2.English-อังกฤษ
bullet3.China-จีน
bullet4.Hindi-อินเดีย
bullet5.Russia-รัสเซีย
bullet6.Arab-อาหรับ
bullet7.Indonesia-อินโดนีเซีย
bullet8.Japan-ญี่ปุ่น
bullet9.Italy-อิตาลี
bullet10.France-ฝรั่งเศส
bullet11.Germany-เยอรมัน
bullet12.Africa-อาฟริกา
bullet13.Azerbaijan-อาเซอร์ไบจัน
bullet14.Bosnian-บอสเนีย
bullet15.Cambodia-เขมร
bullet16.Finland-ฟินแลนด์
bullet17.Greek-กรีก
bullet18.Hebrew-ฮีบรู
bullet19.Hungary-ฮังการี
bullet20.Iceland-ไอซ์แลนด์
bullet21.Ireland-ไอร์แลนด์
bullet22.Java-ชวา
bullet23.Korea-เกาหลี
bullet24.Latin-ละติน
bullet25.Loa-ลาว
bullet26.Finland-ฟินแลนด์
bullet27.Malaysia-มาเลย์
bullet28.Mongolia-มองโกเลีย
bullet29.Nepal-เนปาล
bullet30.Norway-นอรเวย์
bullet31.persian-เปอร์เซีย
bullet32.โปแลนด์-Poland
bullet33.Portugal- โปตุเกตุ
bullet34.Romania-โรมาเนีย
bullet35.Serbian-เซอร์เบีย
bullet36.Spain-สเปน
bullet37.Srilanga-สิงหล,ศรีลังกา
bullet38.Sweden-สวีเดน
bullet39.Tamil-ทมิฬ
bullet40.Turkey-ตุรกี
bullet41.Ukrain-ยูเครน
bullet42.Uzbekistan-อุสเบกิสถาน
bullet43.Vietnam-เวียดนาม
bullet44.Mynma-พม่า
bullet45.Galicia กาลิเซียน
bullet46.Kazakh คาซัค
bullet47.Kurdish เคิร์ด
bullet48. Croatian โครเอเซีย
bullet49.Czech เช็ก
bullet50.Samoa ซามัว
bullet51.Nederlands ดัตช์
bullet52 Turkmen เติร์กเมน
bullet53.PunJabi ปัญจาบ
bullet54.Hmong ม้ง
bullet55.Macedonian มาซิโดเนีย
bullet56.Malagasy มาลากาซี
bullet57.Latvian ลัตเวีย
bullet58.Lithuanian ลิทัวเนีย
bullet59.Wales เวลล์
bullet60.Sloveniana สโลวัค
bullet61.Sindhi สินธี
bullet62.Estonia เอสโทเนีย
bullet63. Hawaiian ฮาวาย
bullet64.Philippines ฟิลิปปินส์
bullet65.Gongni-กงกนี
bullet66.Guarani-กวารานี
bullet67.Kanada-กันนาดา
bullet68.Gaelic Scots-เกลิกสกอต
bullet69.Crio-คริโอ
bullet70.Corsica-คอร์สิกา
bullet71.คาตาลัน
bullet72.Kinya Rwanda-คินยารวันดา
bullet73.Kirkish-คีร์กิช
bullet74.Gujarat-คุชราด
bullet75.Quesua-เคซัว
bullet76.Kurdish Kurmansi)-เคิร์ด(กุรมันซี)
bullet77.Kosa-โคซา
bullet78.Georgia-จอร์เจีย
bullet79.Chinese(Simplified)-จีน(ตัวย่อ)
bullet80.Chicheva-ชิเชวา
bullet81.Sona-โซนา
bullet82.Tsonga-ซองกา
bullet83.Cebuano-ซีบัวโน
bullet84.Shunda-ชุนดา
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet86.Sesotho-เซโซโท
bullet87.NorthernSaizotho-ไซโซโทเหนือ
bullet88.Somali-โซมาลี
bullet89.History-ประวัติศาสตร์
bullet90.Divehi-ดิเวฮิ
bullet91.Denmark-เดนมาร์ก
bullet92.Dogry-โดกรี
bullet93.Telugu-เตลูกู
bullet94.bis-ทวิ
bullet95.Tajik-ทาจิก
bullet96.Tatar-ทาทาร์
bullet97.Tigrinya-ทีกรินยา
bullet98.Check-เชค
bullet99.Mambara-มัมบารา
bullet100.Bulgaria-บัลแกเรีย
bullet101.Basque-บาสก์
bullet102.Bengal-เบงกอล
bullet103.Belarus-เบลารุส
bullet104.Pashto-พาชตู
bullet105.Fritian-ฟริเชียน
bullet106.Bhojpuri-โภชปุรี
bullet107.Manipur(Manifuri)-มณีปุระ(มณิฟูรี)
bullet108.Maltese-มัลทีส
bullet109.Marathi-มาราฐี
bullet110.Malayalum-มาลายาลัม
bullet111.Micho-มิโช
bullet112.Maori-เมารี
bullet113.Maithili-ไมถิลี
bullet114.Yidsdish-ยิดดิช
bullet115.Euroba-ยูโรบา
bullet116.Lingala-ลิงกาลา
bullet118.Slovenia-สโลวีเนีย
bullet119.Swahili-สวาฮิลี
bullet120.Sanskrit-สันสกฤต
bullet121.history107-history107
bullet122.Amharic-อัมฮาริก
bullet123.Assam-อัสสัม
bullet124.Armenia-อาร์เมเนีย
bullet125.Igbo-อิกโบ
bullet126.History115-ประวัติ 115
bullet127.history117-ประวัติ117
bullet128.Ilogano-อีโลกาโน
bullet129.Eve-อีเว
bullet130.Uighur-อุยกูร์
bullet131.Uradu-อูรดู
bullet132.Esperanto-เอสเปอแรนโต
bullet133.Albania-แอลเบเนีย
bullet134.Odia(Oriya)-โอเดีย(โอริยา)
bullet135.Oromo-โอโรโม
bullet136.Omara-โอมารา
bullet137.Huasha-ฮัวซา
bullet138.Haitian Creole-เฮติครีโอล
bulletคำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรแปล เช้า-เย็น
bulletChart Showing the Process
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี พ.ศ.2540 - 2566
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 1
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 2
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี บุคคลที่ 1 - 188 ปัจจุบัน
bulletหนังสือพิมพ์ดี
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 1
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 2
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 3
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 4
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 5
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 6
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 7
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 8
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 9
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 10
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 11
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 12
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 13
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 14
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 15
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 16
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 17
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 18
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 19
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 20
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 21
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 22
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 23
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 24
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 25
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 26
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 27
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 28
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 29
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 30
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 31
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 32
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 33
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 34
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 35
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 36
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 37
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 38
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 39
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 40
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 41
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 42
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 43
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 44
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 45
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 46
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 47
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 48
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 49
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 50
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 51
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 52
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 54
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 55
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 56
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 57
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 58
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 59
bulletTo The World
bulletENGLISH
bulletUSA
bulletChina
bulletIndia
bullet Mynmar
bullet Cambodia
bullet Loas
bulletSri Lanka
bulletMalaysia
bulletKorea
bulletA Sharp Turn of Believes : Iresearch Iwrite Iread
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 1
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 2
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 3
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 4
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 5
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 6
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 7
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 8
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 9
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 10
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 11
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 12
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 13
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 14
bulletMystery Report 15
bulletMystery Report 16
bulletMystery Report 17
bulletMystery Report 18
bulletMystery Report 19
bulletMystery Report 20
bulletMystery Report 21
bulletMystery Report 22
bulletMystery Report 23
bulletMystery Report 24
bulletMystery World Report 25
bulletศึกษาโลกลี้ลับ 26
bulletเฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว วิเคราะห์ทุกปัญหาในโลกมนุษย์ด้วยสติปัญญาและเหตุผลวิทยาศาสตร์จากนสพ.ดี
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2536
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2537
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2538
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2539
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2540
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2541
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2542
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2543-2545
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2545-2549
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2549-2550
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2550-ส.ค.2551
bulletเฝ้าดูฯ ส.ค.-ก.ย.2551
bulletเฝ้าดูฯ ก.ย.2551- ธ.ค. 2551
bulletเฝ้าดูฯสำนวนพัชรา กอปรทศธรรม
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 16-27
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 29
bulletบทความใหม่ เม.ย.-พ.ค.2552
bulletพุทธธรรมเพื่อทางดับทุกข์
bulletทฤษฎีการดับทุกข์ทางจิต วิปัสสนากรรมฐานโดยการทำงาน(สำนวนปรับปรุงใหม่)
bulletประวัติพัชรา กอปรทศธรรม
bulletประวัติการต่อสู้เพื่อการดับทุกข์ ของพัชรา กอปรทศธรรม
bulletอัลบั้มรูป history
bulletนิทานธรรมะประยุกต์ มานุสสาสุระสงคราม 4 ภาค และอื่น ๆ
bulletอัลบั้มรูป ภาพในอดีตและชีวประวัติศาสตร์ที่สวยงาม
bulletจากเวบบอร์ด พูดกันไม่รู้เรื่อง ประชาธิปไตยล้าหลัง
bulletศาสนาสากล การวิเคราะห์ความหมาย
bulletปลอบใจ
dot
รวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์ แนวปฏิรูปคณะสงฆ์อยู่ในบทวิเคราะห์นี้แล้ว
dot
bulletรวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์
dot
สากลจักรวาล สากลศาสนา แนวคิดศาสนาสำหรับคนยุคใหม่ ผู้ก้าวผิดทางไปสู่สิ่งไร้สาระโดยไม่รู้ตัว
dot
bulletสากล...ศาสนา 1
bulletสากล...ศาสนา 2
bulletสากล...ศาสนา 3
bulletสากล...ศาสนา 4
bulletสากล...ศาสนา 5
bulletสากล...ศาสนา 6
bulletสากล...ศาสนา 7
bulletสากล...ศาสนา 9
bulletสากล...ศาสนา 8
bulletสากล...ศาสนา 10
bulletสากล...ศาสนา 11
bulletสากล...ศาสนา 12
bulletสากล...ศาสนา 13
bulletสากล...ศาสนา 14
bulletสากล...ศาสนา 16
dot
ส่วนข้อมูลสำคัญเพื่อการวิจัยการเมืองไทยยุค คมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
dot
bulletข้อมูลสำคัญยุคคมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่1/26ส.ค.2551
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่2/27ส.ค.2551
bulletใบปลิว อีเมล์ ในหลวงทรงร้องไห้
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 1
bulletในหลวงเพิ่งทราบข่าวฆ่าประชาชน10เมย.53ทรงร้องไห้
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
dot
รวมข่าวม็อบการเมืองสนธิ-จำลอง-ปชป.มิ.ย.51-เม.ย.52 นสพ.
dot
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 2
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 3
bulletรวมข่าวม็อบ30มิ.ย.51-23มี.ค.52
bulletเลือดศรีสะเกษบันทึกเรื่องราวรอบด้านเกี่ยวกับเขาพระวิหาร
bulletรายงานการโฆษณาชวนเชื่อในประเทศไทยที่ล้มล้างรัฐบาลทักษิณ
bulletหนังสือพิมพ์ดี ของฟรีให้เปล่ามา20ปีแล้วทั้งเอกสารและอินเทอเนท
bulletหนังสือพิมพ์ดี ( อินเทอเนต ) เล่ม 1 - 44 - ล่าสุด
bulletหน้าที่เก็บไว้
bulletมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร)
bulletวัดมหาพุทธาราม ศรีสะเกษ บันทึกเหตุการณ์
bulletสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดศรีสะเกษแห่งที่ 1
bulletเกี่ยวกับเวบไซต์ของเรา เราทำเพื่อปัญญาชนโดยแท้
bulletรวมกระทู้เด็ดจากกระดานถามตอบ
bulletคาถาอาคมไสยศาสตร์
bulletกวีนิพนธ์ใหม่
bulletศูนย์ปฏิญญาณละเลิกอบายมุข บัญชีที่ 1- 4


ปัญหาวัดพระธรรมกาย กับการปฏิรูปการระบบสงฆ์

 

(คอลัมน์ประชาธิปไตยสงฆ์)
จะปฏิรูปการปกครองสงฆ์ไปทำไม ?

 

ถาม :   เมื่อเป็นสภาสงฆ์ จะมิต้องมีพรรคการเมืองสงฆ์หรือ ? เพราะเมื่อใช้ระบบเดียวกันกับฝ่ายอาณาจักร ก็ต้องจัดการให้ได้สมบูรณ์ตามฝ่ายอาณาจักรด้วย. ก็คงสนุกกันใหญ่ละทีนี้.

 

ตอบ :   ไม่ต้องมีพรรคการเมืองสงฆ์แต่อย่างใด หรือหากจะมีก็มีเพียงพรรคเดียว คือพรรคสาวกพระพุทธเจ้า หรือพรรคคณะสงฆ์สากล

ขอให้ทำความเข้าใจว่า พรรคการเมืองทางฝ่ายราชอาณาจักรนั้น หมายถึงอะไร มีเจตนาอะไร ก็จะพบว่า พรรคการเมืองหมายถึงนโยบาย ต่างพรรคก็ต่างนโยบาย การที่พวกมนุษย์ต้องมีนโยบายต่างกันออกไป ก็เพราะไม่มีสูตรสำเร็จวางเอาไว้นั่นเอง เพราะนโยบายถูกสร้างขึ้นมาจากผลการศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์โดยศาสตร์สาขาต่าง ๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้แตกต่างกันไป แล้วพรรคการเมืองก็ได้นโยบายการบริหารประเทศแตกต่างกันไป แล้วนำมาเสนอแก่ประชาชน ๆ ก็สามารถเลือกพรรคที่สามารถทำประโยชน์ให้แก่ตนมากที่สุดได้ ฉะนั้น การเลือกพรรคการเมือง ที่จริงนั้นหมายถึง การเลือกนโยบาย นั่นเอง

ส่วนสภาสงฆ์ ไม่จำเป็นเช่นนั้น ก็เพราะเหตุดังได้กล่าวมาแล้วว่า เรามีเป้าหมายที่แน่ชัดแล้ว และมีนโยบายหรือมรรควิถี ที่จะไปสู่เป้าหมายนั้นแน่นอนไว้แล้ว นั่นก็คือ เรามีพระไตรปิฏกกำหนดไว้ทุกสิ่งทุกอย่างอย่างเพียงพออย่างสมบูรณ์ที่จะเดินทางไปสู่เป้าหมายของสงฆ์คือ มรรคผลนิพพานพร้อมแล้ว สภาสงฆ์จึงไม่มีความแตกต่างทางความคิด หรือ ทิฐิ จะเสมอเหมือนกันหมดตามธรรมตามวินัย แต่สภาสงฆ์จะทำหน้าที่ดูแลบริหารให้การดำเนินไปแห่งหมู่สงฆ์ทั้งหลายตรงตามเป้าหมาย นโยบาย ที่มีในพระธรรมวินัยแล้วนั้น ซึ่งนั่นก้คือเดินไปถูกหน้าที่ของเรา คือเพื่อไปสู่มรรคผลนิพพาน เพื่อความพ้นทุกข์ โดยถือมติของหมู่สงฆ์ซึ่งในประเด็นนี้ใช้หลักการเดียวกันกับทางสภาโลกเป็นหลัก กระนั้นสภาสงฆ์จะหมายถึงสภาแห่งผู้รู้ ยิ่งระดับจังหวัดแล้วจะเป็นสภาพระอุปัชฌาย์ล้วน

 

 

ปัญหาวัดพระธรรมกาย กับการปฏิรูปการระบบสงฆ์ 

โยมมาถวายหนังสือของวัดพระธรรมกาย 2 เล่ม และสำเนาข่าวหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง 2 ข่าวใหญ่ พร้อมแสดงข้อข้องใจมากมายในการโจมตีวัดพระธรรมกาย ของคนทั้งหลาย โดยมีความเชื่อว่ามีขบวนการทำลายพระพุทธศาสนา วัดใดโด่งดังขึ้นมาต้องทำลายลงให้ได้ โยมมีข้อข้องใจว่า วิชชาธรรมกายคืออะไร และอยากทราบแผนการปฏิรูปการคณะสงฆ์ที่หนังสือพิมพ์ดี พยายามอยู่ เรามีบทวิเคราะห์ ดังนี้

 

 

1.    หนังสือ  “อานุภาพพระมหาสิริราชธาตุ เล่ม 17”  วัดพระธรรมกายจัดพิมพ์

หนังสือเล่มนี้บอกให้รู้ว่า สิ่งที่วัดพระธรรมกายทำอยู่นั้น คือแผนการแสดงโชว์ เพื่อการบันเทิงขนาดใหญ่โตมโหฬาร อย่างหนึ่ง ที่บัดนี้ เรามีกรณีที่สามารถเปรียบเทียบให้เห็นได้ชัดเจน ก็คือ พิธีเปิดปิดกีฬาเอเซี่ยนเกมส์ และ เฟสปิกเกมส์ที่เพิ่งผ่านไป นั่นเอง แทบไม่มีสาระสำคัญที่แตกต่าง ระหว่างวัดพระธรรมกาย และ กีฬาทั้งสองนั้นเลย หากแต่ทางวัดเพิ่มตัวแสดงเข้ามาเป็นพิเศษ คือพระสงฆ์ มานั่งเป็นตัวประกอบฉากที่จัดวางไว้ให้อย่างดีเท่านั้นเอง ประชาชนที่ไปต่างก็ถูกกำหนดให้แสดงบทบาทไป นั่งบ้าง เดินบ้าง ทำท่าว่าเจริญธรรมะบ้าง ไม่ผิดเพี้ยนเวทีการแสดงขนาดใหญ่

และมีดาราเอก เด่นอยู่กลางเวที สวมแว่นตาสีชา

ประชาชนก็เห็นก็สนุกสนานไปอย่างได้ดูได้ชม หรือได้ร่วมในการแสดงชนิดหนึ่ง เช่นที่ชาวไทยแห่กันไปชมกีฬาเอเซี่ยนเกมส์ เฟสปิกเกมส์ แล้วมีความสุขสนุกสนาน อย่างนั้นเท่านั้นเอง

และที่สำคัญก็คือ มิได้เป็นการปฏิบัติธรรมอะไรเลย มีการนั่งสมาธิแบบธรรมกายก็พอให้ตาลาย เช่นพร้อมกันแสดงท่าหลับตา ก็หลับตาพร้อม ๆ กัน พอหลับตาไปนาน ๆ ให้ลืมตาขึ้นพร้อม ๆ กัน แสงข้างนอกแล่นเข้าตาพร้อม ๆ กัน ตาก็ลายพร้อม ๆ กัน มองฟ้า ๆ ก็เปลี่ยนแปรไปจากสภาพปกติที่เป็น ก็ทึกทักว่าเป็นปาฏิหาริย์ เป็นผลบุญอย่างนั้น ผลบุญอย่างนี้

หรือหากเก่งไปหน่อย หลับตาแล้วสามารถเห็นอุคหนิมิต เป็นดวงใส หรือ กายใส ภาพนั้นก็จะติดตา พอลืมตาขึ้นภาพนั้นก็ติดตาอยู่ เหลียวมองพระอาทิตย์ ภาพที่ติดตาก็ซ้อนภาพพระอาทิตย์ ก็เกิดเป็นหลวงพ่อสด มีดวงอาทิตย์อยู่กลางท้อง คนสอนก็ไม่รู้ว่ามันเป็นขึ้นได้อย่างไร คนเรียนก็ไม่รู้เหมือนกัน ก็ทึกทักไปว่าเป็นบุญ เป็นอานุภาพบุญ เป็นปาฏิหาริย์ เท่านี้เอง ก็หลงเห่อ เมื่อเอาไปโฆษณา ว่านี่แหละดวงปฐมมรรค ดวงทุติยมรรค ดวงตติยมรรค ดวงวิมุต ดวงวิมุติญาณทัสนะ ทางแห่งมรรคผลนิพพานละ ก็กลายเป็นการโฆษณาชวนเชื่อไป โดยง่ายดาย จึงไประรานพระอริยสัจธรรมอันสูงสุดเข้าโดยไม่บังควร นักปราชญ์ทั้งหลายก็ไล่เอา ท่านรู้ดีว่า การเห็นอุคหนิมิตและยึดมั่นกับอุคหนิมิตนี้ มีโทษมาก จะกัดกร่อนพรหมจรรย์ ให้รีบผ่านไปเสีย อย่าไปยึดติด (โทษเกิดขึ้นในกรณีที่ภาพที่ไม่พึงประสงค์เกิดติดตา โดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม แล้วล้างไม่ออก(เพราะไม่รู้วิธีปฏิบัติระดับวิปัสนากรรมฐาน)หากเป็นภาพที่เป็น โลกามิส : ปัญจพิธกามคุณ 5 มีรูป รส กลิ่น เสียง กายสัมผัส เป็นต้น ก็จักทำลายตนเองไปเรื่อย ๆ)

ทั้งหมดเกี่ยวกับการเห็น จากวัดพระธรรมกาย

น่าจะพอเข้าใจได้ว่า นี่เป็นเพียงละคอนการแสดง แสดงเรื่องที่เกี่ยวกับความเชื่อในพระพุทธศาสนา ในระดับทั่วไป การจัดฉาก แม้พระพุทธรูปเปลือย ได้สะท้อนความคิดที่ชอบโอ้อวดของบุคคล มิได้สะท้อนสิ่งที่เป็นพระเมตตาพระกรุณาพระปัญญาบริสุทธิ์ สิ่งที่วัดแห่งนี้พยายามสร้างทำขึ้นมาทั้งสิ้น จึงเป็นเพียงเวทีละคอนขนาดใหญ่ ที่มีการทุ่มจัดฉากต่าง ๆ อย่างมโหฬาร มหาศาลโดยมีลาภ เป็นที่หวังเท่านั้นเองฉะนั้นหากกล่าวว่า ไปวัดพระธรรมกายแล้วได้ความสุขความดี ก็ไม่แปลกอะไร เพราะมิต่างจากไปชมสวนสนุกหรือไปร่วมแสดงละคร

 

 

2.   หนังสือ  เจาะลึกวัดพระธรรมกาย วัดพระธรรมกายจัดพิมพ์

หนังสือเล่มนี้ บอกรายละเอียดของ เวทีการแสดงจุดต่าง ๆและฉากต่าง ๆ ในการแสดง จะเห็นว่า มีการจัดการเกี่ยวกับเครื่องแต่งเนื้อแต่งตัวอย่างประณีต เช่นสีก็เป็นสีเดียวกันดิก ดูสีสบงจีวรของพระสงฆ์องค์เจ้า เหลืองเหมือนกันหมด เพราะพระสงฆ์ที่ไปร่วมจะต้องครองจีวรใหม่ใช้สีเหมือนกัน อย่างเตรียมการแสดงละคอนนั่นเอง ซึ่งในความเป็นจริงสำหรับการบำเพ็ญ ไม่ว่าสมถกรรมฐาน หรือวิปัสนากรรมฐาน สิ่งนี้จะไม่จำเป็น หากแต่จักเป็นไปตามลักษณะเฉพาะกรรมฐานที่ท่านถือเฉพาะตัว ความมีระเบียบเรียบร้อยชนิดนี้จะไม่เห็นในหมู่พระนักปฏิบัติกรรมฐาน แม้เมื่อมาชุมนุมกันขนาดใหญ่ ก็เพราะมิได้เจตนาทำเป็นเวทีการแสดง หากแต่คล้อยตามอุปนิสัยและกรรมฐานเฉพาะตัวที่ท่านประพฤติ อยู่นั้น และหมู่พระท่านก็จะไม่ถือ

ตั้งแต่หน้าแรก ๆของหนังสือเล่มนี้ เห็นฉาก เวทีการแสดง มีโบสถ์ สะท้อนความสงบ นี่ก็เป็นฉากที่งดงามดี สามเณรนั่งเรียนพระปริยัติธรรม กลางสนาม ไม่ค่อยให้ความรู้สึกนัก เห็นเป็นปกติของวัดต่าง ๆ แล้วฉากความพร้อมของหมู่ก็จัดเป็นภาพการแสดงที่ตระการ เตะตา ภาพพระสงฆ์สีเดียวใหม่หมด จำนวนมากมายล้อมพระรูปประธานเด่นอยู่บนแท่น ราวกับองค์อรหันต์ ก็เป็นฉากการแสดงที่น่าชม แถวพระสงฆ์แปรขบวนเป็นรูปโค้งลดเลี้ยวเหมือนงูเลื้อยข้ามสนามใหญ่ น่าชมมากทีเดียว หัวคิดอะไรจะขนาดนั้น!! นี่ก็แม่ชีน้อย ขาวสะอาด เรียงกันเป็นตับ นั่งเพ่งดวงแก้วในกลางกาย ก็น่าชม ดูสงบดี มาถึงนักแสดงรุ่นเยาว์ ขอให้ดูเถอะ ! เป็นเพียงการจัดฉากและการแสดงทั้งสิ้น บรรพชาสามเณรแก้ว บวชอุบาสิกาแก้ว นับเป็นภาพที่น่าตรึงใจ ที่จัดฉากการแสดงได้ยิ่งใหญ่ ไม่แพ้เอเซียนเกมส์เลยเทียวละ ค่าเสื้อผ้า ค่าการประดับตกแต่งต้องสูงลิ่ว แล้วมาถึงภาคค่ำ กลางคืน ก็เห็นแสงสี เวทีการแสดงแปลกตาไปอีก รัศมีแสงที่ครอบเจดีย์ธรรมกาย คงไม่มีใครนึกว่าเป็นปาฏิหาริย์หรอกนะ !! เพราะเล่นแสงสีเหมือนบาร์ ไนท์คลับ นั่นเทียว แล้วมาดูภาพกลางแจ้งคนนับหมื่นนั่งหลับตา นี่แหละ ที่ไปที่มาแห่งปาฏิหาริย์ตะวันแก้ว หรือหลวงพ่อสดที่มีดวงตะวันอยู่กลางท้อง ซึ่งเป็นเรื่องของตา ตาลาย น่ะ !!

ชาวพุทธทั้งหลาย ควรจะเข้าใจให้ถูกเสีย ณ บัดนี้ว่า สิ่งที่พวกเขากำลังทำอยู่ที่วัดพระธรรมกายขณะนี้ คือ แผนสวนสนุก อันเป็นธุรกิจบันเทิงชนิดหนึ่งเท่านั้นเอง

ไม่มีอะไรที่จะได้มากไปกว่า ความชื่นชมยินดีจากการแสดง

ไม่ต่างจากการแสดงชุดต่าง ๆ ในพิธีเปิดและปิดกีฬาเอเซี่ยนเกมส์ และเฟสปิกเกมส์ที่ชาวไทยเป็นเจ้าภาพมาแล้ว

เพราะไม่มีการปฏิบัติธรรมชนิดใด ที่เป็นของจริงเลย ภาพที่เห็นล้วนเป็นเพียงการกางกลด นั่งหลับตา ไม่เข้าใจว่าธุดงค์คืออะไร แต่ก็อ้างว่าเป็นธุดงค์

น่าจะลองอ่านความคิดเห็นของอดีตบรมปราชญ์ผู้ล่วงลับ คือ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านได้ติงได้เตือนไว้แต่ต้นแล้วว่าวัดพระธรรมกาย ประพฤติไม่ถูกคลองธรรมมาแต่ต้นอย่างไร โปรดดู สยามรัฐฉบับวันที่ 12 ม.ค.42 หน้า 2 (ท่านเขียนไว้เมื่อ 16 ก.ค.2531) ว่าเรื่องพระวัดธรรมกายร่วม 40 รูป แสร้งไปนั่งสมาธิดูลูกแก้วบนศาลาการเปรียญวัดผาเงา จ.เชียงราย หากในใจคิดโลภ-อกุศลหวังจะยึดวัดเป็นของตน ชาวบ้านทนไม่ไหวก็เข้าล้อมศาลา ปาก้อนหินท่อนไม้ไล่หนีไป ท่านว่าเป็นเพราะวัดปรารถนามากคิดขยายอาณาเขต ท่านเห็นว่าพระซึ่งจะทำอะไรก็ต้องขอจากชาวบ้าน ขึ้นอยู่กับชาวบ้าน ไม่ควรฟุ่มเฟือย เกินหน้าชาวบ้านไป สยามรัฐฉบับที่ 13 ม.ค.42 หน้า 3 วัดธรรมกายในมุมมองอาจารย์คึกฤทธิ์ ท่านว่า ธุดงค์อย่างที่วัดพระธรรมกายจัดนั้นไม่ถูกหลักการ “ในยามค่ำคืนดึกสงัด จะมีใครอุตตริมุดกลดกันบ้างหรือไม่” ท่านเกรงว่าที่วัดพระธรรมกายคิดขยายที่ดินไปถึง 6,000 ไร่ (ความคิดเดิมใฝ่โลภขนาดนั้น โดยพื้นฐานความคิดแค่จะทำสวนสนุก:ผู้วิเคราะห์) ก็เพื่อทำวัดให้เป็นรีสอร์ตซึ่งเป็นบริการความสุข ความพอใจอีกแบบหนึ่งของโลกธุรกิจสมัยใหม่ ท่านมองว่าวัดธรรมกายประพฤติไม่ถูกธรรมะ ท่านมองว่า “การขายความสุขให้แก่คนอื่นในสมัยนี้นั้นทำกันได้หลายวิธี ตั้งสถานที่ยิงนกตกปลาขึ้นก็ได้และให้คนมาพักมาทำบาป แล้วได้ความสุขกลับไป หรือตั้งสโมสร ตั้งสถานที่ตากอากาศ ขายความอุจาดอนาจารต่าง ๆให้คนมาหาความสุขก็ได้อีกเช่นเดียวกัน” ซึ่งเมื่อมาถึงวันนี้ เห็นได้เลยว่าเป็นเช่นที่ท่านพยากรณ์ไว้ และสิ่งที่อาจจะเกินความคิดท่านไปบ้างก็คือ การขายบุญ ขายศาสนาพุทธ ที่ตรงกับพุทธทำนายเข้าจริงแล้ว (โปรดดูปกหน้าด้านใน)





3
.   ข่าว ;

      “12มารรับจ๊อบถล่มธรรมกาย ทุ่มเงินซื้อคนขายชาติ ประกาศ6แผนอุบาทว์ พุ่งเป้าทำลายศาสนา”                                  

      “มหาส.ยืมมือสื่อพิฆาตธรรมกาย ศิษย์วัดรวมพลังวางแผนตอบโต้”

       
       พิมพ์ไทยรายวัน.
13 มกราคม 2542.

 

ไม่น่าจะมีความหมายอะไรร้ายแรงขนาดนั้น !!

สื่ออะไรจะทรามขนาดนั้น ไม่น่ามี ใครจะอาจยืมมือสือได้ ?

น่าจะโทษ อวิชชา นะ

ไปดูท้าย ๆ ข่าว มหาส.ยืมมือฯ พูดโอ้อวดเรื่องปาฏิหาริย์อีกแล้ว:“หลวงพ่อสดแสดงปาฏิหาริย์”   เริ่มด้วย “อาราธนาพระนิพพานให้มาปรากฎในพิธีวันเวียนเทียน” อะไรจะขนาดนั้น อาราธนาพระนิพพาน !! นี่ก็เห็นอยู่แล้วว่า หลวงพ่อสดท่าน มิใช่ปกติธรรมดาเสียแล้ว !!

แต่นี่ก็น่าจะโทษ อวิชชาเหมือนกันนะ !!

“เห็นพระลอยบนฟ้า” บรรยายว่า “หลังจากนั้นท่านจะนำไหว้พระสวดมนต์ การสำรวมใจหรือการทำใจให้หยุดนิ่งของหลวงพ่อหมายถึง การเอาไปหยุดนิ่งที่ฐาน 7 ศูนย์กลางอากาศธาตุ สำหรับที่เห็นดวงอุคหนิมิตเป็นดวงกลมใสแล้ว ก็ให้เอาใจไปหยุดนิ่งอยู่ตรงกลางดวงนั้นให้ภาวนาว่า สัมมาอรหัง เรื่อยไป เมื่อใจหยุดนิ่งดีแล้ว ให้มองขึ้นสู่ท้องฟ้า เท่าที่เคยปรากฎมาแล้ว บางท่านจะเห็นพระพุทธรูปลอยอยู่ในอากาศ เป็นองค์ใสบ้าง ไม่ใสบ้าง เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์บ้าง ปางสมาธิบ้าง ปางประทานพรบ้าง บางคนก็เห็นครึ่งองค์ บางคนก็เห็นเต็มองค์ บางคนก็เห็นเป็นกายเนื้อของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า”

บอกแล้วว่า ตาลาย ก็ไม่เชื่อ

คนหลับตาสวดมนต์ บริกรรม เพ่ง (ที่ฐานไหนก็พอได้น่ะ) เห็นอุคหนิมิต ๆ ก็บอกอยู่แล้วว่าภาพติดตา พอลืมตาขึ้น ตามันก็ลาย ยิ่งภาพติดตาซ้อนไปกับภาพจริงหลังฉาก ภาพก็ซ้อนทับกันเข้า ตามันก็ยิ่งลายไปใหญ่

ไม่ใช่ปาฏิหาริย์อะไรหรอก อย่าพูดมากไป อายต่างประเทศเขา !!! เขาคงหัวเราะกันกึกกัก ๆ อยู่แล้ว !!


 

4.    คำถาม      

           
ว่าทำไมจึงต้องมีการทำลายกันอย่างนี้ เป็นไปได้ไหมว่ามีฝ่ายวางแผนทำลายทุกสำนักที่เด่นดัง   ขึ้น เพื่อ       ไม่ให้ศาสนาพุทธเจริญก้าวหน้าออกไป “วิชชาธรรมกาย”คืออะไร ? ความคิดปฏิรูประบบสงฆ์จะแก้ปัญหา            ได้อย่างไร ทำไมดูช้า ?

ตอบ :

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องพินิจด้วยปัญญา คงไม่มีใครวางแผนทำลายใครอย่างไร้เหตุผลขนาดนั้นหรอก นอกจาก ว่าประพฤติผิดครรลองคลองธรรมไปจริง ๆ นิกร ธมฺมวาที ยันตระอมโร ภาวนาพุทโธ ถูกไล่ ก็เพราะทำผิดพระวินัยระดับ ครุกาบัติ ต้องปาราชิก แล้วผู้นั้นขาดหิริโอตตัปปะ หวังยึดพระศาสนาเลี้ยงชีพต่อไป หมู่ผู้ทรงธรรมบริสุทธิ์ก็ต้องขับไล่ เพราะมิฉะนั้นหมู่ก็จะต้อง สภาคาบัติ (เป็นอาบัติไปทั้งหมู่ ทั้งวัด ทั้งตำบล อำเภอ ฯลฯ ไม่สามารถปลงได้แม้ลหุกาบัติ) ไปตาม ๆ กันหาความบริสุทธิ์มิได้ มรรคผลก็มิพึงหวังต่อไป

มีกรณีพิเศษก็ กรณีโพธิรักษ์ ซึ่งจะคล้ายคลึงกับ ธรรมกาย

หากแต่ความวินิจฉัยต่างกัน กรณีโพธิรักษ์ นั้นถูกต้องโดยยุทธศาสตร์ แต่ผิดในยุทธวิธี ตรงข้ามกับธรรมกาย ถูกโดยยุทธวิธี แต่ผิดโดยยุทธศาสตร์

อาจพิศูจน์ได้ โพธิรักษ์ แยกออกไปแล้ว สามารถเดินต่อไปได้ด้วยลำแข้งตัวเอง แต่ถ้าวัดธรรมกายแยกออกไปเมื่อไร ก็ล้มเมื่อนั้น เพราะธรรมกายผิดในระดับยุทธศาสตร์ซึ่งต้องถือว่าผิดในหลักการสำคัญของพระพุทธศาสนา เมื่อใดคนรู้เข้าก็ล้มเมื่อนั้น

เพราะ “วิชชาธรรมกาย” พัฒนามาจนถึงจุดที่ไม่ชอบด้วยครรลองคลองธรรมเด่นชัดขึ้นแล้ว ซึ่ง “วิชชาธรรมกาย” ก็ย่อมต้องพัฒนามาเช่นนี้ คือพัฒนามาบนพื้นฐานการโฆษณาชวนเชื่อที่ย่อมพัฒนาการหลายหลากรูปแบบออกไปเรื่อย ๆ และในที่สุดคนก็จะเห็นเด่นชัดขึ้น ว่าชอบกล และย่อมเข้าใจไปถึงต้นรากของแนวปฏิบัติชนิดนี้ ว่าต้นรากผิดมาก่อน ปลายยอดจึงงอก แตก บานปลาย ผิดต่อมา จนเห็นชัดขึ้น (วิธีแก้ไขจึงต้องให้ถูกกับต้นเหตุ ต้นเหตุอยู่ที่ไหนต้องจัดการที่นั้น ประชาชนชาวพุทธทั้งปวง เพียงเลิกสนับสนุนสิ่งผิดธรรมผิดวินัย มาสนับสนุนสิ่งที่ถูกธรรมถูกวินัย)

เห็นได้จากการบริจาค โพธิรักษ์ จะห้ามการบริจาค ประกาศไว้แน่นอนว่า “ผู้มีสิทธิจะบริจาคหรือมีสิทธิ์ทำบุญด้วยนั้นจะต้องรู้จักเป้าหมายกิจกรรม และสารัตถะของมูลนิธินี้ดี หรือไม่ก็จะต้องได้มาพบคบหากันกับกลุ่มมูลนิธินี้อย่างน้อย 7 ครั้ง หรืออ่านหนังสือชาวอโศกจบเกิน 7 เล่มขึ้นไป” ส่วนธรรมกายกระทำเหมือนโจร แม้กระทั่งให้พระสงฆ์องค์บริวารตามเก็บเงินถึงบ้านร้านช่องเป็นประจำเดือนก็ยังทำ ซึ่งแสดงว่า ไม่รู้พระธรรมพระวินัย หากองค์กรรัฐองค์กรสงฆ์ปล่อยไม่แก้ไข ต่อไปวัดพระธรรมกายก็จักกลายเป็นสถานธุรกิจบันเทิงแห่งหนึ่งเท่านั้น มีการแสดงเก็บเงิน ผู้ไปร่วมแสดงก็ได้ส่วนแบ่งโดยประการต่าง ๆ พระสงฆ์องค์เจ้าที่ไปร่วมงานก็ได้เหมือนกัน จะมีเงินหรือผลประโยชน์เป็นสิ่งที่ยึดมั่นถือมั่น

มิใช่คุณธรรมแห่งมรรคผลนิพพานแต่อย่างใดเลย เมื่อเป็นเช่นนี้จึงถือว่าทำลายหลักการแห่งพระพุทธศาสนา ระดับสำคัญ ด้วยมิจฉาทิฐิ

ปัญหาคนหนีไปนอกระบบ ยังมีมาจากแนวการสอนของลัทธิธรรมเนียมอื่นที่แทรกเข้ามาเรื่อย ๆ และใช้วิธีการโฆษณาชวนเชื่อเช่นเดียวกันนี้ ทันกันไปหมดอย่างธุรกิจชนิดหนึ่ง จะขอยกตัวอย่าง ธรรมเนียมไต้หวัน อ้างอรหันต์จี้กง-กวนอิม-พระศรีอาริย์-จันทรา โพธิสัตว์ มาจากไต้หวัน มีคนไทยชักจูงเข้ามา เรียกตนเองหลายชื่อ เรียกสหธรรมบ้าง สถานธรรม กวนอิมโพธิสัตว์บ้าง เพื่อสร้างความสับสนในฐานะที่แท้จริงของตน (พอมีใครท้วงเข้า ก็บอกว่านั่นไม่ใช่พวกของตน คอยรับเอาแต่เรื่องดี ๆเข้าตน) แต่จริง ๆ คือลัทธิฉื่อซิ่นฐาน ที่เล็ดรอดจากการปฏิวัติใหญ่จีนสมัยเมาเจ๋อตุง ไปอยู่ไต้หวัน เป็นลัทธิพุทธมหายานชนิดหนึ่งที่อ้างพระโพธิสัตว์ อ้างพระอรหันต์ในสวรรค์นิพพาน มาเข้าทรงสอนธรรม ขณะนี้กำลังขยายสาขาออกไปทั่วประเทศอย่างค่อนข้างเร็ว โดยระบบไดเร็กเซลล์(คือตามไปยังกลุ่มเครือญาติของสมาชิก ให้รวมหมู่ญาติเข้ารับวิถีธรรมเป็นหมู่ ๆไปเรื่อย และขอบริจาคไปเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับลัทธิธรรมกาย โดยอ้างบุญอ้างสวรรค์นิพพาน เพื่อสร้างสำนักธรรม เป็นต้น มีคนสำคัญ ๆ ที่มีความรู้ทางศาสนาอยู่ในระดับที่เต็มไปด้วยวิจิกิจฉาให้เขาหลอกได้ดี ๆ เช่นจำลอง ศรีเมือง ก็รับวิถีธรรมกับเขาด้วย (เห็นภาพถ่ายคุกเข่าพนมมือในพิธีรับวิถีธรรมต่อพระอาจารย์-พระอาจาริณีธรรมเขา) ขณะนี้ มีปัญหาเช่นเดียวกับลัทธิธรรมกาย เพราะประชาชนเดือดร้อนกันมากจากการบังคับบริจาค และทางราชการไม่ค่อยเอาใจใส่ว่าจะกระทบต่อระบบวัฒนธรรมศาสนา และเศรษฐกิจของชาติอย่างไร เมื่อพิจารณาลัทธิธรรมกายก็ควรต่อไปถึงการพิจารณาลัทธิไต้หวันนี้ด้วย

ส่วนปัญหาในวงการสงฆ์ ก็คือ มิได้มีระบบที่ทันสมัย ที่สามารถตระเตรียมรองรับประชาชนยุคใหม่ เพราะระบบสงฆ์ผิดพลาดไป ไม่อาจรองรับได้ ด้วยเหตุผลประการต่าง ๆ ที่หนังสือพิมพ์ดีวิเคราะห์มาโดยตลอด ทำให้คนหนีไปนอกระบบนอกจากนั้น องค์กรบริหารชั้นสูง ค่อนข้างจะติดนิสสัยเจ้านายผู้เป็นใหญ่ ผู้ได้แต่ความย่อมยอสรรเสริญมาโดยตลอดเวลา ที่ได้แต่ตามใจตัวเองไปทุกสิ่งทุกอย่าง จึงมักเห็นประชาชนทั่วไปไม่ค่อยมีความหมายอะไร จะฟังหรือไม่ฟังเสียงใครก็ได้ ท่านไม่เข้าใจว่าสื่อมีความสำคัญอย่างไร หากแต่ว่าในระบบสงฆ์นี้ ในด้านปริยัติธรรม ยังมีผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ รู้อะไรเป็นธรรมอะไรเป็นวินัย ที่แท้อยู่มากมาย ทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาส จนพอมองปัญหาได้ชัดเจนว่าอะไรถูกอะไรผิด หากแต่ระบบสงฆ์มีความย่อหย่อนเป็นอย่างมากในระดับปฏิบัติ ซึ่งเนื่องมาจากระบบการปกครองไม่เอื้อแด่ทางปฏิบัติ ที่เราบอกว่า ปิดกั้นวิถีทางมรรคผลนิพพาน นั่นเอง (แต่คณะสงฆ์ก็มิได้ทำความผิด ผู้ใดออกกฎหมายมา ผู้นั้นแหละทำผิด) ฉะนั้น หากมาถึงเวลา เมื่อใดก็ตามที่ได้มีการแก้ไขปรับปรุงจุดบกพร่องเหล่านี้ โดยปรับสร้างระบบสงฆ์ขึ้นมาใหม่ ที่มุ่งไปตามหลักพระธรรมวินัยโดยแท้จริง ระบบสงฆ์ก็จะพร้อม ตั้งมั่นและแข็งแรงโดยมรรคผลที่แท้จริง และจักเป็นที่พึ่งของประชาชนได้อย่างมั่นใจทุกประการและวิถีมรรคผลก็จะพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ประเทศชาติประชาชนและผืนแผ่นดินพุทธศาสนา จักมีความสงบและความสุข แน่นอน

แต่ในขณะนี้ เรายังต้องการเวลา เพื่อทำความเข้าใจของคนทุกฝ่ายให้ชัดขึ้นเสียก่อน ว่าเหตุใดจึงต้องมีการปฏิรูปการคณะสงฆ์

สำหรับเรา หนังสือพิมพ์ดีและคณะ เราจะไม่เร่งรีบ เพราะสิ่งที่เราพูดมา และสิ่งที่เราจะพูดต่อไปในหนังสือพิมพ์ดี เป็นสัจจะ อยากให้พิศูจน์กันโดยถ่องแท้ว่าเราพูดสัจธรรมหรือไม่ ขณะนี้ หากมาพูดว่า ได้เวลาแล้ว เราจะบอกว่า ยังก่อน และจะห้ามไว้

เพราะรู้ดีว่า คนยังไม่เข้าใจ ในส่วนที่เป็นสัจธรรมว่าด้วยวิถีมรรคผลนั้น

จนกว่าจะได้ขยายความคิดอันเป็นสัจจะนี้ออกไปโดยทั่วถึงและเข้าใจกันเสียก่อนว่า สิ่งที่เราคิดจะทำนั้น มีความดีอย่างไร มีประโยชน์อย่างไรโดยแท้จริง กระนั้นก็คาดว่าจะทัน จะทันเวลาตามพุทธทำนาย เดือนสี่ปีกุน (พ.ศ.2550)

ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น เราเองก็แทบไม่ต้องทำอะไรเอง และเราก็ไม่ปรารถนาที่จะทำเอง ไม่ต้องการปรากฎตัว ความพอใจของเราอยู่ที่ว่า คนได้รู้เรื่องพระศาสนาดีขึ้นจนถึงขนาดที่อาจพิจารณาตัดสินใจได้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะระดับปัญญาชน นักบริหาร นักการเมืองของชาติ ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสร้างระบบ.

เมื่อถามว่า “วิชชาธรรมกาย”คืออะไร ก็นับว่าเป็นการดี

เราพร้อมที่จะตอบปัญหาทุกชนิดในทางศาสนา ตลอดเวลาอยู่แล้ว

โปรดดู “วิชาธรรมกาย วิชาแห่งการโฆษณาชวนเชื่อ” ในคอลัมน์ เฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว

 



5.    หลักการปฏิรูประบบสงฆ์ ไม่ให้ความมั่นใจพอว่า เมื่อปฏิรูปแล้ว จักพาหมู่ไปสู่มรรคผลนิพพานได้อย่างไร ?

ตอบ :

เรามักไปมองจากประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาเพียงด้านเดียว มุมเดียว มุมที่มักมองก็คือ เห็นว่าการตรัสรู้ หรือการบรรลุธรรม เป็นไปโดยรวดเร็ว ชั่วที่พระพุทธองค์แสดงพระธรรมเทศนาจบ ก็ได้บรรลุแล้ว ซึ่งก็เป็นความจริงเช่นนั้นส่วนหนึ่ง แต่ความจริงที่ควรมอง เพื่อให้ตรงตามหลักพระปริยัติธรรมว่าด้วยการปฏิบัติ ก็คือ สภาพสังคมสมัยนั้นต่างจากสมัยนี้เป็นอย่างมาก สมัยนั้น มีการศึกษาเจริญไปทางด้านศีลธรรมจริยธรรมการบำเพ็ญพรตพรหมจรรย์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งทางปฏิบัติสอดคล้องกับวิถีทางปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา อยู่โดยเฉพาะระดับพื้นฐาน เมื่อพระพุทธองค์ตรัสเรื่องวิปัสนาธุระขึ้น จึงเรียนรู้ได้โดยเร็ว สอดคล้องอุปนิสัยที่ได้มีอยู่แต่เดิมนั้น จึงสามารถบรรลุธรรมง่ายดายไปตาม ๆ กัน แต่เราจะต้องเข้าใจว่าสาเหตุนั้นเนื่องมาจาก พื้นฐาน ซึ่งหมายถึงพื้นฐานทางอุปนิสัยของบุคคล โดยเฉพาะนักบวช ในสมัยนั้นมีอยู่เพียบแปร้แล้ว

ลองเปรียบเทียบกับยุคสมัยนี้ จะเห็นว่าคนทั้งหลายแม้กระทั่งนักบวชเองก็ขาดพื้นฐานเช่นนั้นไปแทบว่าโดยสิ้นเชิง ลองพิจารณาจากหลักกรรมฐาน 2 อย่าง คือ

1.       สมถกรรมฐาน และ

2.       วิปัสนากรรมฐาน

ปัญหาต่าง ๆ ในระบบสงฆ์ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบสงฆ์กับการศึกษาระดับปฏิบัติและปฏิเวธธรรม ซึ่งมีข้อตำหนิที่น่าสังเกตในระยะนี้ว่า รู้แต่เพียงทฤษฏี ขาดการปฏิบัติ ในวงการสงฆ์ ซึ่งแท้จริงก็มองเห็นค่อนข้างชัดเจน ว่าเป็นเช่นนั้น สาเหตุก็เพราะวงการสงฆ์ไม่ได้ให้ความสำคัญอย่างเพียงพอ ในการศึกษาระดับปฏิบัติธรรม ซึ่งในรูปรวม ปัญหาจะเกิดขึ้นจากระบบสำคัญ ๆ ที่กำหนดวิถีทางคณะสงฆ์ ที่โน้มไปเรื่อย ๆ สู่ความเป็นข้าราชการ เจ้าขุนมูลนาย ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนั้นโดยระบบ ตัวบุคคลที่อยู่ในระบบก็ต้องปรับตัวตามไป ผลเสียหายอันกว้างขวางจึงเกิดขึ้น เพราะเมื่อเป็นเจ้าขุนมูลนาย(มีตำแหน่ง มียศใหญ่)เสียแล้ว กรรมฐานแม้พื้นฐานที่สุดของความเป็นพระสงฆ์ คือ สมถกรรมฐาน ก็ไม่สามารถจะปฏิบัติหรือดำรงให้ทรงอยู่ได้ (ลองสังเกตการบิณฑบาต จะไม่พบว่าพระสงฆ์ที่มีตำแหน่งและยศ ออกบิณฑบาต ซึ่งบ่งบอกไปถึงการละเลยธรรมปฏิบัติระดับพื้น ๆ คือสมถกรรมฐาน ดังกล่าว)

เพราะสมถกรรมฐาน นั้นเป็นภาคปฏิบัติพื้นฐานเบื้องต้น และเป็นฐานความประพฤติหลักสำคัญของนักบวช ไม่เฉพาะนักบวชในศาสนาพุทธเท่านั้น นักบวชในศาสนาอื่น รวมทั้งประชาชนชาวพุทธ หรือศาสนิกอื่นก็ตาม อันเป็นที่มาแห่งความเป็นอยู่โดยสงบสุขชั้นต้น ของตนและสังคม นั่นก็คือ การประพฤติมักน้อย สันโดษ หรือ มีความเรียบง่าย สงบ ปราศจากความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม ไม่โลภ การกินการอยู่แต่พอดี ให้ได้นิสัย สมถะ นี้เสียก่อน จึงจะสามารถสืบสานการปฏิบัติไปถึงขั้น วิปัสสนากรรมฐานได้ เมื่อระบบสงฆ์ไม่เอื้อแม้แต่สมถกรรมฐาน
(คือควาประพฤติมักน้อย สันโดษ หรือ มีความเรียบง่าย สงบ ปราศจากความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม ไม่โลภ การกินการอยู่แต่พอดี รู้ถือศีล กินเจบ้างตามกาละที่เหมาะสม) แล้ว ก็ยากที่จะไปเจริญวิปัสสนากรรมฐาน อันเป็นขั้นมรรคผลต่อไปได้ ผลที่ต้องการ คือปฏิเวธธรรมจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้

ฉะนั้นหากจัดการให้ระบบสงฆ์ ลดชนชั้นลงมา ลดยศฐาบรรดาศักดิ์ อันเป็นมูลเหตุแห่งการประพฤติตนทวนหลัก สมถกรรมฐานนี้ ลงเสียได้สงฆ์ทั้งมวลก็จะกลับมาสู่อุปนิสัยที่น้อมไปสู่ภาคปฏิบัติและปฏิเวธธรรม สามารถวางอยู่บนฐานของความเสมอกันด้วยศีล ด้วยทิฐิ โดยมีหลักภราดรภาพ คือหลักอุปปัชฌาย์กับศิษย์ ก็จักสามารถนำระบบเข้าสู่ภาคปฏิบัติ ที่เริ่มด้วยสมถกรรมฐานได้ เมื่อวางระบบอุปนิสัยทั้งมวลบนหลักสมถกรรมฐานได้ ก็จะสามารถคืบต่อไปสู่ ภาคปฏิบัติชั้นสูง สามารถเข้าขั้นวิปัสสนากรรมฐาน อันเป็นขั้นมรรคผลได้ แน่นอน ผลทางการปฏิบัติคือปฏิเวธธรรมหรือ วิปัสสนากรรมฐาน จึงจักอาจเจริญไปได้ ตามที่หนังสือพิมพ์ดีวิเคราะห์มาโดยละเอียดแล้วนั้น ทุกวันนี้ ชาวพุทธจึงต้องมองกาลไกลไปถึงการแก้ปัญหาระดับโครงสร้าง เพราะการแก้ไขเฉพาะหน้าขณะนี้ น่าเกรงว่า จักไม่คุ้มค่า เพราะการแก้ที่จุดหนึ่ง จักอาจส่งผลเสียหายไปสู่จุดอื่นๆต่อไปอีก เข้าลักษณะ ได้อย่างเสียอย่างไปเรื่อย ๆ ก็มีแต่จักยุ่งเหยิงไปไม่มีที่สิ้นสุด

การมองจากหลัก กรรมฐาน 2 อย่างนี้ แหละ โดยสมถกรรมฐาน ให้ได้อุปนิสัยเรียบง่าย ประหยัด ไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม ไม่ตื่นตามลาภ ยศ หรือตื่นตามโลก (เช่นพระบางองค์ ตื่นตามรสนิยม โลกเขานิยมเล่นรถเก๋ง ตนก็เล่นกับเขาด้วย รุ่นใหม่ ๆ ออกมา ก็ตื่นไปด้วย ทำตนเหมือนหนุ่มไฮโซ นักธุรกิจมีคลาส อย่างนี้ แทบไม่บอกเลยว่า ได้รู้จักแนวประพฤติชั้นต้นตามธรรมตามวินัย ไม่รู้กิจ หรือหน้าที่ของสงฆ์ มิได้สำนึกระมัดระวังว่า จะต้องวางตนเป็นแบบอย่างความประพฤติ ในฐานะผู้นำหมู่ หรือ มรรคทายก ที่ต้องนำทางไปสู่มรรคผล นิพพาน อย่างไร แต่พระองค์นั้นก็โอ้อวด เป็นนักแสดง เป็นดารา แสร้งแสดงว่าตนบรรลุถึงขั้น มิใช่ธรรมดา หลอกลวงเป็นมหาโจรในพระศาสนา อย่างนี้เรียกว่าไม่มี สมถกรรมฐาน)

หากไม่มีสมถกรรมฐานรองรับ ก็ยากที่จะเจริญวิปัสนากรรมฐาน โดยเท็กนิกอะไรบอกให้ไปขณะนี้ก็เสียวิชาของท่านผู้รู้บูรพาจารย์ทั้งหลายไปเปล่า แต่เมื่อใดที่เราสามารถวางระบบให้สมถกรรมฐานนี้รองรับได้ วิปัสนากรรมฐาน อันเป็นภาคเจริญปัญญาสูงสุดก็เกิดได้โดยพลัน หลักปฏิบัติรับรองไว้เช่นนี้ เราก็มั่นใจได้ ว่าจักไปสู่มรรคผลนิพพานได้จริง ลองศึกษาที่เสนอแนวการปรับปรุงสงฆ์มาทั้งหมด ก็เพื่อวางหลักฐานการปฏิบัติลงบนกรรมฐานทั้ง
2 ชนิดนี้ โดย สมถกรรมฐาน ต้องตั้งขึ้นให้ได้เป็นพื้นเสียก่อน พระสงฆ์องค์พระเจ้า (แม้ประชาชนทั่วไปก็ร่วมประพฤติสมถกรรมฐานนี้ได้เลย)

จะต้องมาสู่ความเรียบง่าย ประหยัด ไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม มีความสันโดษ รู้พอ รู้ประพฤติความมักน้อย ความเสียสละ ตามฐานะหน้าที่ของตน เป็นฐานอุปนิสัยให้ได้เสียก่อน เหมือนหลักการพัฒนาประเทศ ที่ต้องสร้างสิ่งที่วิชาการบริหารกล่าวไว้คือ Infrastructure (โครงสร้างพื้นฐานของการพัฒนา เช่นถนนหนทาง การไฟฟ้า การประปา การคมนาคมขนส่ง การสื่อสาร ฯลฯ) ต่าง ๆ ขึ้นก่อน การพัฒนาการชั้นสูงจึงจะเจริญไปได้ ในทางธรรม สมถกรรมฐาน เป็น infrastructure ของ วิปัสนากรรมฐาน ซึ่งสมัยนี้ไม่มีเหมือนสมัยก่อน โดยเฉพาะสมัยพุทธองค์ ฉะนั้น ตราบใดที่สมถกรรมฐานยังไม่มีเป็นพื้นฐาน การสอนการอบรม ภาวนา เรื่องมรรคผล จึงไม่อาจเป็นผลสำเร็จ ที่สามารถบรรลุได้จริง และในทำนองตรงข้าม หากได้มีการสร้างเตรียมสมถกรรมฐานให้พร้อมในระบบสังคมชาวพุทธ การเรียนการสอน วิปัสนากรรมฐาน ซึ่งหมายถึงภาคการบรรลุมรรคผลโดยตรง ก็มีเป็นขึ้นได้ เป็นผลระดับปฏิเวธธรรมขึ้นได้ เป็นแน่นอน ฉะนั้น เมื่อการปฏิรูประบบสงฆ์เกิดขึ้นได้ตามแผน ก็จะหมายถึงว่า เราได้วางระบบภาคปฏิบัติธรรมลงบนพื้นฐานกรรมฐาน 2 อย่างนี้ คือ สมถกรรมฐาน และ วิปัสนากรรมฐาน อันเป็นระบบการศึกษาภาคปฏิบัติ ที่เป็นสุดยอดของพระพุทธศาสนาที่มีมรรคผลนิพพานเป็นเป้าหมายได้สำเร็จ.

 

หิริ-โอตตัปปะ
ม.ค.42

 




หนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 15

บทบรรณาธิการ ชื่อหนังสือพิมพ์ดี ปัญหารัฐบาลชวน หลีกภัย และปัญหาวัดพระธรรมกาย
เฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว ;วิเคราะห์วิชาธรรมกายคืออะไร? ล.15
นิทานธรรมะ มานุสสาสุรสงครามภาคพิเศษ



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
----- ***** ----- โปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate นี่คือเวบไซต์คู่ www.newworldbelieve.com กับ www.newworldbelieve.net เราให้เป็นเวบไซต์ที่เสนอธรรมะหรือ ความจริง หรือ ความคิดเห็นในเรื่องราวของชีวิต ตั้งใจให้ธัมมะเป็นทาน ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แด่คนทั้งหลาย ทั้งโลก ให้ได้รู้ความจริงของศาสนาต่าง ๆในโลกวันนี้ และได้รู้ศาสนาที่ประเสริฐเพียงศาสนาเดียวสำหรับโลกยุคใหม่ จักรวาลใหม่ เรามีผู้รู้ ผู้ตรัสรู้ ผู้วินิจฉัยสรรพธรรมสรรพวิชชา สรรพศาสน์ และสรรพศาสตร์ พอชี้ทางสู่โลกใหม่ ให้ความสุข ความสบายใจความมีชีวิตที่หลุดพ้นไปสู่โลกใหม่ เราได้อุทิศเนื้อที่ทั้งหมดเป็นเนื้อที่สำหรับธรรมะทั้งหมด ไม่มีการโฆษณาสินค้า มาแต่ต้น นับถึงวันนี้ร่วม 14 ปีแล้ว มาวันนี้ เราได้สร้างได้ทำเวบไซต์คู่นี้จนได้กลายเป็นแดนโลกแห่งความสว่างไสว เบิกบานใจ ไร้พิษภัย เป็นแดนประตูวิเศษ เปิดเข้าไปแล้ว เจริญดวงตาปัญญาละเอียดอ่อน เห็นแต่สิ่งที่น่าสบายใจ ที่ผสานความคิดจิตใจคนทั้งหลายด้วยไมตรีจิตมิตรภาพล้วน ๆ ไปสู่ความเป็นมิตรกันและกันล้วน ๆ วันนี้เวบไซต์นี้ ได้กลายเป็นโลกท่องเที่ยวอีกโลกหนึ่ง ที่กว้างใหญ่ไพศาล เข้าไปแล้วได้พบแต่สิ่งที่สบายใจมีความสุข ให้ความคิดสติปัญญา และได้พบเรื่องราวหลายหลากมากมาย ที่อาจจะท่องเที่ยวไปได้ตลอดชีวิต หรือท่านอาจจะอยากอยู่ณโลกนี้ไปชั่วนิรันดร ไม่กลับออกไปอีกก็ได้ เพียงแต่ท่านเข้าใจว่านี่เป็นแดนต้นเรื่องเป็นด่านข้ามจากแดนโลกเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง และซึ่งเป็นโลกหรือบ้านของท่านทั้งหลายได้เลยทีเดียว ซึ่งสำหรับคนต่างชาติ ต่างภาษาต่างศาสนา ได้โปรดใช้การแปลของ กูเกิล หรือ Google Translate แปลเป็นภาษาของท่านก่อน ที่เขาเพิ่งประสบความสำเร็จการแปลให้ได้แทบทุกภาษาในโลกมนุษย์นี้แล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้เอง นั้นแหละเท่ากับท่านจะเป็นที่ไหนของโลกก็ตาม ทั้งหมดโลกประมาณ 7.6 พันล้านคนวันนี้ สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในโลกของเราได้เลย เราไม่ได้นำท่านไปเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่การนำไปสู่ความจริง ความรู้เรื่องชีวิตใหม่ การอุบัติใหม่สู่ภาวะอริยบุคคล ไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปพ้นจากทุกข์ ทั้งหลายไปสู่โลกแห่งความสุขแท้นิรันดร คือโลกนิพพานขององค์บรมศาสดาพุทธศาสนา พระบรมครูพุทธะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ท่านโปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate ท่านก็จะเข้าสู่โลกนี้ได้ทันทีพร้อมกับคน7.6พันล้านคนทั้งโลกนี้. ----- ***** ----- • หมายเหตุ เอาขึ้นเวบไซต์ แทนของเดิม ทั้ง 2 เวบ .net .com วันที่ 21 เม.ย. 2565 เวลา 07.00 น. -----*****-----