ReadyPlanet.com
dot
dot dot
bulletBUDDHISM TO THE NEW WORLD ERA
bullet1 Thai-ไทย
bullet2.English-อังกฤษ
bullet3.China-จีน
bullet4.Hindi-อินเดีย
bullet5.Russia-รัสเซีย
bullet6.Arab-อาหรับ
bullet7.Indonesia-อินโดนีเซีย
bullet8.Japan-ญี่ปุ่น
bullet9.Italy-อิตาลี
bullet10.France-ฝรั่งเศส
bullet11.Germany-เยอรมัน
bullet12.Africa-อาฟริกา
bullet13.Azerbaijan-อาเซอร์ไบจัน
bullet14.Bosnian-บอสเนีย
bullet15.Cambodia-เขมร
bullet16.Finland-ฟินแลนด์
bullet17.Greek-กรีก
bullet18.Hebrew-ฮีบรู
bullet19.Hungary-ฮังการี
bullet20.Iceland-ไอซ์แลนด์
bullet21.Ireland-ไอร์แลนด์
bullet22.Java-ชวา
bullet23.Korea-เกาหลี
bullet24.Latin-ละติน
bullet25.Loa-ลาว
bullet26.Finland-ฟินแลนด์
bullet27.Malaysia-มาเลย์
bullet28.Mongolia-มองโกเลีย
bullet29.Nepal-เนปาล
bullet30.Norway-นอรเวย์
bullet31.persian-เปอร์เซีย
bullet32.โปแลนด์-Poland
bullet33.Portugal- โปตุเกตุ
bullet34.Romania-โรมาเนีย
bullet35.Serbian-เซอร์เบีย
bullet36.Spain-สเปน
bullet37.Srilanga-สิงหล,ศรีลังกา
bullet38.Sweden-สวีเดน
bullet39.Tamil-ทมิฬ
bullet40.Turkey-ตุรกี
bullet41.Ukrain-ยูเครน
bullet42.Uzbekistan-อุสเบกิสถาน
bullet43.Vietnam-เวียดนาม
bullet44.Mynma-พม่า
bullet45.Galicia กาลิเซียน
bullet46.Kazakh คาซัค
bullet47.Kurdish เคิร์ด
bullet48. Croatian โครเอเซีย
bullet49.Czech เช็ก
bullet50.Samoa ซามัว
bullet51.Nederlands ดัตช์
bullet52 Turkmen เติร์กเมน
bullet53.PunJabi ปัญจาบ
bullet54.Hmong ม้ง
bullet55.Macedonian มาซิโดเนีย
bullet56.Malagasy มาลากาซี
bullet57.Latvian ลัตเวีย
bullet58.Lithuanian ลิทัวเนีย
bullet59.Wales เวลล์
bullet60.Sloveniana สโลวัค
bullet61.Sindhi สินธี
bullet62.Estonia เอสโทเนีย
bullet63. Hawaiian ฮาวาย
bullet64.Philippines ฟิลิปปินส์
bullet65.Gongni-กงกนี
bullet66.Guarani-กวารานี
bullet67.Kanada-กันนาดา
bullet68.Gaelic Scots-เกลิกสกอต
bullet69.Crio-คริโอ
bullet70.Corsica-คอร์สิกา
bullet71.คาตาลัน
bullet72.Kinya Rwanda-คินยารวันดา
bullet73.Kirkish-คีร์กิช
bullet74.Gujarat-คุชราด
bullet75.Quesua-เคซัว
bullet76.Kurdish Kurmansi)-เคิร์ด(กุรมันซี)
bullet77.Kosa-โคซา
bullet78.Georgia-จอร์เจีย
bullet79.Chinese(Simplified)-จีน(ตัวย่อ)
bullet80.Chicheva-ชิเชวา
bullet81.Sona-โซนา
bullet82.Tsonga-ซองกา
bullet83.Cebuano-ซีบัวโน
bullet84.Shunda-ชุนดา
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet86.Sesotho-เซโซโท
bullet87.NorthernSaizotho-ไซโซโทเหนือ
bullet88.Somali-โซมาลี
bullet89.History-ประวัติศาสตร์
bullet90.Divehi-ดิเวฮิ
bullet91.Denmark-เดนมาร์ก
bullet92.Dogry-โดกรี
bullet93.Telugu-เตลูกู
bullet94.bis-ทวิ
bullet95.Tajik-ทาจิก
bullet96.Tatar-ทาทาร์
bullet97.Tigrinya-ทีกรินยา
bullet98.Check-เชค
bullet99.Mambara-มัมบารา
bullet100.Bulgaria-บัลแกเรีย
bullet101.Basque-บาสก์
bullet102.Bengal-เบงกอล
bullet103.Belarus-เบลารุส
bullet104.Pashto-พาชตู
bullet105.Fritian-ฟริเชียน
bullet106.Bhojpuri-โภชปุรี
bullet107.Manipur(Manifuri)-มณีปุระ(มณิฟูรี)
bullet108.Maltese-มัลทีส
bullet109.Marathi-มาราฐี
bullet110.Malayalum-มาลายาลัม
bullet111.Micho-มิโช
bullet112.Maori-เมารี
bullet113.Maithili-ไมถิลี
bullet114.Yidsdish-ยิดดิช
bullet115.Euroba-ยูโรบา
bullet116.Lingala-ลิงกาลา
bullet118.Slovenia-สโลวีเนีย
bullet119.Swahili-สวาฮิลี
bullet120.Sanskrit-สันสกฤต
bullet121.history107-history107
bullet122.Amharic-อัมฮาริก
bullet123.Assam-อัสสัม
bullet124.Armenia-อาร์เมเนีย
bullet125.Igbo-อิกโบ
bullet126.History115-ประวัติ 115
bullet127.history117-ประวัติ117
bullet128.Ilogano-อีโลกาโน
bullet129.Eve-อีเว
bullet130.Uighur-อุยกูร์
bullet131.Uradu-อูรดู
bullet132.Esperanto-เอสเปอแรนโต
bullet133.Albania-แอลเบเนีย
bullet134.Odia(Oriya)-โอเดีย(โอริยา)
bullet135.Oromo-โอโรโม
bullet136.Omara-โอมารา
bullet137.Huasha-ฮัวซา
bullet138.Haitian Creole-เฮติครีโอล
bulletคำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรแปล เช้า-เย็น
bulletChart Showing the Process
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี พ.ศ.2540 - 2566
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 1
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 2
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี บุคคลที่ 1 - 188 ปัจจุบัน
bulletหนังสือพิมพ์ดี
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 1
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 2
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 3
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 4
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 5
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 6
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 7
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 8
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 9
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 10
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 11
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 12
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 13
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 14
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 15
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 16
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 17
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 18
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 19
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 20
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 21
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 22
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 23
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 24
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 25
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 26
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 27
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 28
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 29
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 30
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 31
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 32
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 33
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 34
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 35
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 36
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 37
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 38
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 39
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 40
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 41
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 42
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 43
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 44
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 45
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 46
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 47
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 48
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 49
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 50
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 51
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 52
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 54
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 55
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 56
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 57
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 58
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 59
bulletTo The World
bulletENGLISH
bulletUSA
bulletChina
bulletIndia
bullet Mynmar
bullet Cambodia
bullet Loas
bulletSri Lanka
bulletMalaysia
bulletKorea
bulletA Sharp Turn of Believes : Iresearch Iwrite Iread
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 1
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 2
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 3
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 4
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 5
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 6
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 7
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 8
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 9
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 10
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 11
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 12
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 13
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 14
bulletMystery Report 15
bulletMystery Report 16
bulletMystery Report 17
bulletMystery Report 18
bulletMystery Report 19
bulletMystery Report 20
bulletMystery Report 21
bulletMystery Report 22
bulletMystery Report 23
bulletMystery Report 24
bulletMystery World Report 25
bulletศึกษาโลกลี้ลับ 26
bulletเฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว วิเคราะห์ทุกปัญหาในโลกมนุษย์ด้วยสติปัญญาและเหตุผลวิทยาศาสตร์จากนสพ.ดี
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2536
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2537
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2538
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2539
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2540
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2541
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2542
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2543-2545
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2545-2549
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2549-2550
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2550-ส.ค.2551
bulletเฝ้าดูฯ ส.ค.-ก.ย.2551
bulletเฝ้าดูฯ ก.ย.2551- ธ.ค. 2551
bulletเฝ้าดูฯสำนวนพัชรา กอปรทศธรรม
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 16-27
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 29
bulletบทความใหม่ เม.ย.-พ.ค.2552
bulletพุทธธรรมเพื่อทางดับทุกข์
bulletทฤษฎีการดับทุกข์ทางจิต วิปัสสนากรรมฐานโดยการทำงาน(สำนวนปรับปรุงใหม่)
bulletประวัติพัชรา กอปรทศธรรม
bulletประวัติการต่อสู้เพื่อการดับทุกข์ ของพัชรา กอปรทศธรรม
bulletอัลบั้มรูป history
bulletนิทานธรรมะประยุกต์ มานุสสาสุระสงคราม 4 ภาค และอื่น ๆ
bulletอัลบั้มรูป ภาพในอดีตและชีวประวัติศาสตร์ที่สวยงาม
bulletจากเวบบอร์ด พูดกันไม่รู้เรื่อง ประชาธิปไตยล้าหลัง
bulletศาสนาสากล การวิเคราะห์ความหมาย
bulletปลอบใจ
dot
รวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์ แนวปฏิรูปคณะสงฆ์อยู่ในบทวิเคราะห์นี้แล้ว
dot
bulletรวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์
dot
สากลจักรวาล สากลศาสนา แนวคิดศาสนาสำหรับคนยุคใหม่ ผู้ก้าวผิดทางไปสู่สิ่งไร้สาระโดยไม่รู้ตัว
dot
bulletสากล...ศาสนา 1
bulletสากล...ศาสนา 2
bulletสากล...ศาสนา 3
bulletสากล...ศาสนา 4
bulletสากล...ศาสนา 5
bulletสากล...ศาสนา 6
bulletสากล...ศาสนา 7
bulletสากล...ศาสนา 9
bulletสากล...ศาสนา 8
bulletสากล...ศาสนา 10
bulletสากล...ศาสนา 11
bulletสากล...ศาสนา 12
bulletสากล...ศาสนา 13
bulletสากล...ศาสนา 14
bulletสากล...ศาสนา 16
dot
ส่วนข้อมูลสำคัญเพื่อการวิจัยการเมืองไทยยุค คมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
dot
bulletข้อมูลสำคัญยุคคมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่1/26ส.ค.2551
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่2/27ส.ค.2551
bulletใบปลิว อีเมล์ ในหลวงทรงร้องไห้
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 1
bulletในหลวงเพิ่งทราบข่าวฆ่าประชาชน10เมย.53ทรงร้องไห้
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
dot
รวมข่าวม็อบการเมืองสนธิ-จำลอง-ปชป.มิ.ย.51-เม.ย.52 นสพ.
dot
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 2
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 3
bulletรวมข่าวม็อบ30มิ.ย.51-23มี.ค.52
bulletเลือดศรีสะเกษบันทึกเรื่องราวรอบด้านเกี่ยวกับเขาพระวิหาร
bulletรายงานการโฆษณาชวนเชื่อในประเทศไทยที่ล้มล้างรัฐบาลทักษิณ
bulletหนังสือพิมพ์ดี ของฟรีให้เปล่ามา20ปีแล้วทั้งเอกสารและอินเทอเนท
bulletหนังสือพิมพ์ดี ( อินเทอเนต ) เล่ม 1 - 44 - ล่าสุด
bulletหน้าที่เก็บไว้
bulletมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร)
bulletวัดมหาพุทธาราม ศรีสะเกษ บันทึกเหตุการณ์
bulletสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดศรีสะเกษแห่งที่ 1
bulletเกี่ยวกับเวบไซต์ของเรา เราทำเพื่อปัญญาชนโดยแท้
bulletรวมกระทู้เด็ดจากกระดานถามตอบ
bulletคาถาอาคมไสยศาสตร์
bulletกวีนิพนธ์ใหม่
bulletศูนย์ปฏิญญาณละเลิกอบายมุข บัญชีที่ 1- 4


ดี10 ฉบับทบทวน (คอลัมน์ประชาธิปไตยสงฆ์) จะปฏิรูปสงฆ์ไปทำไม ต่อ

{คอลัมน์ประชาธิปไตยสงฆ์}
จะปฏิรูปการปกครองสงฆ์ไปทำไม ?

 

คำถาม:~
มักจะสรุปลงท้ายทุกบททุกตอนว่า หากทำได้อย่างที่เสนอแนะมานี้แล้ว การพระพุทธศาสนาก็จะเจริญก้าวหน้าไปอย่างนั้นอย่างนี้ ขนาดว่า จะทำให้ไทย เมืองพุทธกลายเป็นเจ้าโลก ผู้นำโลกทางความคิดไปได้

อยากขอให้เน้นหลักการและวิธีการที่พอจะทำให้กลายเป็นความ จริงขึ้นมาได้จริง ๆ จัง ๆ ไม่ใช่เพียงเพ้อฝันลม ๆ แล้ง ๆ และกล่าวหา ไปอย่างเรื่อยเปื่อย มามองประเด็นว่าจะทำได้อย่างไร ดีกว่า ?

 

คำตอบ:~
สิ่งที่ควรจะทำความเข้าใจให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงเสียก่อนก็คือ ระบบสงฆ์ไทยทุกวันนี้ เป็นเพียงระบบราชการระบบหนึ่ง เท่านั้นเอง เมื่อกุลบุตรคนใดคนหนึ่งบวชเข้าไปในบวรพุทธศาสนาทุกวันนี้ อนาคตของผู้บวชก็คือ ความก้าวหน้าไปในระบบราชการนี้ ไปตามลำดับ เมื่อแรกเริ่มชีวิตนักบวช เขาอาจปฏิเสธ แต่แล้ว ไม่นานนัก เขาก็จะค่อยวกเข้ามาสู่ระบบราชการสงฆ์ ไปจนได้

 

นั่นก็คือ ก้าวหน้าไปตามตำแหน่ง โดยเริ่มตั้งแต่ตำแหน่ง พระลูกวัด ธรรมดา ๆ ซึ่งก็จะได้ชื่อและฉายานามเรียกธรรมดา ๆ เช่น พระกวิน(ชื่อเดิม) อธิคุโณ(ฉายา) ต่อไปก็ก้าวหน้าไปเป็น ผู้ช่วยเจ้าอาวาส แล้วก้าวหน้าเป็น รองเจ้าอาวาส แล้วไปเป็น เจ้าอาวาส ซึ่งเมื่อเป็นเจ้าอาวาสก็จะมีคำนำหน้าชื่อใหม่ว่า พระอธิการ… เช่น พระอธิการกวิน อธิคุโณ

 

แล้วก็ไม่หยุดความก้าวหน้าลงเพียงแค่นี้ ต้องตระเตรียม สร้างเนื้อสร้างตัวเพื่อก้าวเข้าไปสู่ระดับตำบล เป็น รองเจ้าคณะตำบล แล้วก็เป็น เจ้าคณะตำบล ซึ่งเมื่อได้เป็นเจ้าคณะตำบลแล้ว คำนำหน้าชื่อก็เปลี่ยนไป จาก พระอธิการ เป็น เจ้าอธิการ เช่น เจ้าอธิการกวิน อธิคุโณ เป็นต้น จากนี้ก็มีตำแหน่ง ระดับอำเภอ มีตำแหน่ง เลขานุการเจ้าคณะอำเภอ รองเจ้าคณะอำเภอ และ เจ้าคณะอำเภอ สำหรับเป็นที่หมายของความก้าวหน้าต่อไป

 

สงฆ์จะพยายามทุกวิถีทางเพื่อความก้าวหน้าของท่าน ท่านจะพยายามทำคุณงามความดีต่าง ๆ ก็เพื่อความก้าวหน้าแบบนี้ พยายามศึกษาเล่าเรียนให้ได้นักธรรม และเปรียญสูง ๆ ก็เพื่อความก้าวหน้าแบบนี้ เมื่อมีพลังพอจะฝ่าต่อไป ไม่เฒ่าชราภาพเสียก่อน ก็ยังมีตำแหน่งระดับจังหวัดคือ เลขานุการเจ้าคณะจังหวัด รอง เจ้าคณะจังหวัด และ เจ้าคณะจังหวัด

 

สงฆ์มักนึกเทียบตัวเองและมักสร้างบทบาทหน้าที่ตัวเองแบบฝ่ายบ้านเมือง ทางโลกเขา เช่นเทียบเจ้าอาวาสว่า เท่ากับ ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าคณะตำบล เท่ากับ กำนัน เจ้าคณะอำเภอ เท่ากับนายอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด เท่ากับ ผู้ว่าราชการจังหวัด ตำแหน่งอื่น ๆ ก็ประมาณไปเช่นนี้ เช่น รองเจ้าคณะจังหวัด-เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดก็เทียบรองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นต้น (ซึ่งเป็นมโนกรรมแบบอำนาจนิยม ไม่ชอบด้วยหลักศาสนา เป็นมโนกรรมที่ไม่ถูกต้อง จัดเป็นอกุศลกรรมชนิดหนึ่ง)

 

เมื่อสงฆ์ขึ้นสู่ตำแหน่งระดับจังหวัดได้ สงฆ์ก็หมายปองตำแหน่งระดับภาคต่อไป ระดับภาคการปกครองสงฆ์ก็มีตำแหน่ง เจ้าคณะภาค รองเจ้าคณะภาค เลขนุการเจ้าคณะภาค เลขานุการรองเเจ้าคณะภาค ซึ่งตำแหน่งระดับ ภาคนี้ ไม่มีตำแหน่งทางโลกมาเปรียบเทียบ เพราะทางโลกเขาเลิกไปแล้วตั้งแต่ใช้ ระบอบการปกครองประชาธิปไตย

 

จากนี้ไป ยังมีตำแหน่งอีกมากมายในระดับ เจ้าคณะใหญ่ คือนอกจากมี ตำแหน่ง เจ้าคณะใหญ่ แล้ว ก็มี รองเจ้าคณะใหญ่ ผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่ ปลัดขวา ปลัดซ้าย รองปลัดขวา รองปลัดซ้าย ผู้ช่วยปลัดขวา และ ผู้ช่วยปลัดซ้าย

 

แล้วมีตำแหน่ง ระดับ รัฐมนตรีแห่งรัฐบาลสงฆ์ คือ กรรมการมหาเถรสมาคม และตำแหน่งสูงสุดในรัฐบาลสงฆ์ คือ ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม แต่ตำแหน่งนี้ ควบกับอีกตำแหน่งหนึ่งอันเป็นตำแหน่งประมุขสูงสุดของคณะสงฆ์ คือ สกลมหาสังฆปริณายก (ควบสองตำแหน่งในขณะเดียวกัน)

 

นี่คือเส้นทางแห่งตำแหน่งในระบบสงฆ์ไทยปัจจุบัน อันหมายถึงทางแห่งความก้าวหน้าของชีวิตนักบวชพุทธไทยทุกวันนี้ ที่ถูกกำหนดโดยกฎหมาย ซึ่งโดยแท้จริงแล้ว พระที่บวชเข้ามาในบวรพุทธศาสนาแทบมิได้เห็นว่าตำแหน่งเหล่านี้ไร้คุณค่า หากแต่เห็นคุณเห็นค่าของตำแหน่งนี้อย่างล้นเปี่ยมจิตใจและเห็นว่า นี่คือ ทางก้าวหน้าของการบวช เมื่อกุลบุตรบวชมานาน ตราบเป็นเถร มหาเถร ก็ยิ่งเห็นค่า ทวีความสำคัญของตำแหน่งเหล่านี้ขึ้นไปเรื่อย ๆ ในที่สุดสงฆ์ทั้งสิ้นทั้งปวง ก็แก่งแย่งชิงตำแหน่งเหล่านี้กันเพื่อความก้าวหน้าของชีวิตตน มิผิดแผกไปจากคน ๆ หนึ่ง ที่มิได้บวชนุ่งเหลืองห่มเหลืองเลย ในระบบราชการไทยทุกวันนี้

 

พระสงฆ์ แท้ที่จริง จึงถูกกำหนดโดยกฎหมายให้เป็นเพียงข้าราชการประเภทหนึ่ง เท่านั้นเอง

 

บุคคลิกภาพ คุณงามความดีของพระสงฆ์ ก็เป็นเพียงบุคลิกภาพ และคุณงามความดี อย่างข้าราชการประเภทหนึ่ง เท่านั้น และอย่างดีที่สุดก็คือ เป็นข้าราชการที่ดี หรือ ดี อย่างข้าราชการ ดีอย่างคนดิบ ๆ ธรรมดา ๆ คนหนึ่งที่มีความดีในสังคมมนุษย์ เท่านั้นเอง (มิใช่ดีอย่างผู้สิ้นกิเลสตัณหาอุปาทาน ในแบบที่พระพุทธองค์มีพระประสงค์)

 

ยิ่งไปกว่านั้น ข้าราชการสงฆ์ ยังมีลักษณะพิเศษ ที่ผิดแผกไปจากข้าราชการแผ่นดินทั่วไปอีกประการหนึ่ง อีกชั้นหนึ่ง อันเสริมเพิ่มคุณค่าให้แก่ฐานะ ตำแหน่งของสงฆ์ยิ่งขึ้นไปอีกด้วย นั่นก็คือ ยังมี ยศพระ หรือ สมณศักดิ์ อีกมากมายหลายชนิดและหลายชั้น เข้าไปปรุง เสริมเพิ่มเกียรติภูมิข้าราชการสงฆ์ โดยเข้าไปกำกับอยู่ในแต่ละตำแหน่งนั้นอย่างเป็นระดับชั้นอีกชนิดหนึ่งด้วย ไม่เว้นแม้ตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ อันเป็นองค์กรดั้งเดิมแห่งพระพุทธศาสนา ที่เป็นตำแหน่งแห่งคุณธรรม เป็นตัวชี้ความหมายแห่งความก้าวหน้าในชีวิตสงฆ์ อย่างชัดเจน แจ่มแจ้งปราศจากข้อสงสัยเลยว่า ทางเดิน ทางแห่งความก้าวหน้าในชีวิตพระสงฆ์ ทั่วราชอาณาจักรไทย คือ เส้นทางนี้ คือเส้นทางราชการสงฆ์อันสูงส่งด้วยเกียรติคุณ ที่มีทั้งตำแหน่ง พร้อมยศศักดิ์ อันอุดมสมบูรณ์ยิ่ง ที่มิอาจสะดุ้งใจคิดแม้สักนิดว่า แท้ที่จริงก็เป็นระบบข้าราชการยุคเก่าก่อนโบราณ เพราะเมื่อเอาตำแหน่งบวกเข้ากับยศศักดิ์ ก็กลายเป็นขุนนางขึ้นมา ฐานะที่แท้จริงของสงฆ์จึงเป็นข้าราชการแบบ ขุนนางพระ ที่เคยเป็นตำแหน่งอันมีเกียรติศักดิ์ในสมัยโบราณที่คนยุคนี้อาจมองว่าคร่ำครึเกินไปจะบริหารงานแห่งยุคสมัยได้ (มียศ พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี-โท-เอก-พิเศษ พระราชาคณะชั้นสามัญ-ราช-เทพ-ธรรม-รองสมเด็จหิรัญบัฎ-สุพรรณบัฎ-สมเด็จพระราชาคณะ-สมเด็จพระสังฆราช)

 

สงฆ์ทั้งปวงจึงพากันเดินตามกันไป ในเส้นทางนี้ คือ เดินไปตามชาวโลกหัวดำเขาไป เป็นทิวเป็นแถว

 

[ฉะนั้น จึงมักมีคำกล่าวของผู้ใจบุญทั้งหลายว่า เรากำลังหาพระเพื่อกราบไหว้บูชาได้ยากไปทุกวัน ๆ แล้ว หาพระที่จะทำบุญทำทานด้วยยากไปทุกวัน ๆ แล้วเหมือนกัน}

 

ท่านลองใช้หัวคิด ธรรมดา ๆ คิดดูว่า เมื่อวงการสงฆ์เดินไปเช่นนี้แล้ว นับว่าถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนธรรมหรือไม่ ?

 

เป็นเส้นทางที่อาจเอื้อต่อ การบรรลุมรรค ผล นิพพาน กล่าวคือ เป็นความประพฤติ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่ตระเตรียมและนำทางไปสู่ การบรรลุมรรคผลนิพพาน หรือภูมิธรรมอริยบุคคล 8 คือ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล อันเป็นทางก้าวหน้าที่แท้จริงของนักบวชพุทธหรือไม่ ?

 

แม้ว่าบุคคลหนึ่งบุคคลใด จะไม่รู้หลักพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้งอะไรนัก ท่านก็จะพอตอบคำถามข้อนี้ได้อย่างมั่นใจทีเดียวว่า เส้นทางที่ พระสงฆ์ไทยเดินไปอยู่ทุกวันนี้ มิใช่เส้นทางที่ถูกต้องเสียแล้ว พระสงฆ์ถูกนำทาง ถูกพาไปผิด ๆ โดยกฎหมาย 3 ฉบับนั้น มาเป็นเวลาร่วม ศตวรรษ มาแล้ว (จนกระทั่งการกัดกร่อนทำลายเป็นไปอย่างลึกซึ้งแนบเนียน เพราะสามารถกลบกลืนความเชื่อเรื่องมรรคผลนิพพานเสียได้แทบว่าสนิท เพราะแม้วงการพระสงฆ์เองก็แทบไม่เข้าใจว่ามรรคผลที่แท้จริงนั้นเป็นอย่างไร) เป็นปัญหาอันยิ่ง ใหญ่ เกินกว่าจะคิดนึกเสียแล้ว เพราะ แท้ที่จริง นี่คือความบาป จาก การกระะทำบาปต่อพระพุทธศาสนา

 

แต่ใครเล่าเป็นผู้ก่อกรรมนี้ ? และใครเล่ารับวิบากกรรม ?

 

ถ้ามิใช่ผองไทยทั้งสิ้น

 

ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาก็คือ ประเด็นการปิดกั้นวิถีมรรคผลนิพพาน เมื่อหมู่สงฆ์เดินไปทางนี้ วิถีเช่นนี้ ก็ย้อนวิถีมรรคผลนิพพาน วิถีที่พระพุทธองค์ทรงพาเดิน

 

จึงจำเป็นต้องร่วมกันชำระบาป โดยแก้ไขกฎหมายเสียใหม่ ให้เส้นทางเดินของสงฆ์ไทย เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง

 

คือทิศทางที่ไปสู่พระพุทธองค์ ทิศทางที่พระพุทธองค์ทรงพาเดิน

 

ซึ่งย่อมไปสู่อริยมรรค อริยผล อันเป็นวิถีทางแห่งความก้าวหน้าอันประเสริฐที่แท้จริง ที่ก้าวไปตามลำดับขั้นแห่งมรรคผล ลำดับขั้นแห่งจุดหมายปลายทาง อันเป็นหน้าที่ของนักบวชในศาสนาพรหมจรรย์นี้

 

และเราจักต้องเริ่มเสียตั้งแต่บัดนี้ เพราะหากนานไป สงฆ์ทั้งปวง ก็จะถูกกำหนดด้วยระเบียบต่าง ๆ อย่างกฎ ก.พ. หรือระเบียบข้อบังคับข้าราชการครู ข้าราชการบำนาญ หลักว่าด้วยการเลื่อนชั้น เลื่อนตำแหน่ง ฯลฯ อันจำเป็นเพื่อข้าราชการสงฆ์ปฏิบัติงานไปอย่างคุ้มค่า สมเหตุสมผลกับปัจจัยค่าตอบแทน หรือบำเหน็จทางสังคมที่ได้รับ และเมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จะมีระเบียบว่าด้วยการบรรจุ การเลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่ง การปลดออก ให้ออก ไล่ออก ฯลฯ อย่างเดียวกับระบบราชการทั้งหลายทั่วไป นั่นเป็นเรื่องราวที่อาจคาดหมายว่าย่อมเป็นไปได้ ซึ่งสำหรับพระสงฆ์ย่อมเป็นภาพที่น่าอดสูใจยิ่งนัก จะไม่ต่างอะไรกับยุคปฏิวัติวัฒนธรรมของจีน ภายใต้การนำของท่านประธาน เหมาเจ๋อตุง ที่ต้อนพระสงฆ์ (เจ้าขุนมูลนาย ทั้งหลาย) ไปลงคอมมูน ทำไร่ไถนา เช่นเดียวกับคนที่ต้องทำงานเพื่อมีการดำรงชีพ เพื่อเพียงการมีชีวิตอยู่ เท่านั้นเอง

 

ฉะนั้น เมื่อคาดการณ์ว่าจะมีการเร่งเร้าให้มีการปรับปรุงระบบการปกครองสงฆ์ นับวันจะหนาแน่นไปในภายหน้า ด้วยเหตุและผลอันชอบธรรมเช่นนี้แล้ว เราจึงควรมาเริ่มต้นเสียโดยเร็วตั้งแต่บัดนี้

 

ถ้าเราเริ่มจากสิ่งที่เรามีอยู่ เป็นอยู่ปัจจุบัน อาจทำได้อย่างนี้

เราเพียงแต่เริ่มด้วย การลดทอนตำแหน่งบางตำแหน่งที่ไม่จำเป็นลงไปก่อน คือตำแหน่ง เจ้าคณะภาค และ ตำแหน่ง เจ้าคณะใหญ่ ลงเสียก่อน(เพราะฝ่ายบ้านเมืองก็ไม่มีตำแหน่งระดับนี้แล้ว ทำให้เกิดช่องว่างและยุ่งยากในการประสานงาน และทุกวันนี้ก็ไม่มีระบบการประสานงานในระดับนี้ เนื่องจากฝ่ายสงฆ์เกินดุลย์ฝ่ายบ้านเมืองไป) เป็นการเริ่มก้าวแรก แล้วอะไรๆ ก็จะเริ่มดีขึ้น และในขณะเดียวกัน เราเริ่มลด สมณศักดิ์ บางระดับลง ให้เหลืออยู่ เท่าที่จำเป็นและมีเหตุผล ดังนี้

ระดับพระครูสัญญาบัตร ให้มีเพียง 2 ระดับคือ
- พระครูสัญญาบัตรชั้นสามัญ กับ

- พระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ

ระดับพระราชาคณะ ให้มี 2 ระดับคือ
- พระราชาคณะชั้นสามัญ กับ
- พระราชาคณะชั้นพิเศษ

ระดับสมเด็จพระราชาคณะ ให้มีเพียงชั้นเดียว คือ
- สมเด็จพระสังฆราช อันเป็นสมณศักดิ์สำหรับองค์พระประมุขสูงสุดของคณะสงฆ์

การจัดวางตำแหน่งและระดับสมณศักดิ์ 3 ระดับเช่นนี้ ก็โดยพิจารณาจากหลักว่าด้วยความสมดุลย์ระหว่างหลักการปกครอง 2 หลักการ คือหลักแห่งอำนาจและคุณธรรม นั่นเอง ถ้าทั้ง 2 หลักการนี้สมดุลย์กันได้ ก็จะสามารถดำเนินการปกครองไปในทิศทางที่อาจเอื้อและสอดคล้องวิถีธรรม(วิถีแห่งมรรคผลนิพพาน)ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ตำแหน่งต่าง ๆ ก็สามารถคัดเลือกเอาได้จากทุกระดับชั้นยศดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องเลือกเอาจากระดับใดระดับหนึ่งหรือกรณีประมุขสงฆ์ก็ไม่จำเป็นต้องเลือกจากตำแหน่งพระราชาคณะแต่อย่างเดียว ต้องถือหลักภูมิปัญญา ภูมิธรรม และประสบการณ์ ทั้งต้องฟังเสียงประชาชนหรือ อุบาสก อุบาสิกา พุทธบริษัทประกอบด้วย

 

ความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งกับ สมณศักดิ์ ก็จะเป็นดังนี้

-  ตำแหน่งเจ้าอาวาส-เจ้าคณะตำบล-เจ้าคณะอำเภอ ครองสมณศักดิ์ชั้นพระครูสัญญาบัตรชั้นสามัญ-ชั้น        พิเศษ

-  ตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัด ครองสมณศักดิ์ชั้นพระราชาคณะชั้นสามัญ

-  ตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม ครองสมณศักดิ์พระราชาคณะชั้นพิเศษ

-  ตำแหน่งประธานกรรมการมหาเถรสมาคมและสกลมหาสังฆปริณายก ครองสมณศักดิ์ สมเด็จ  พระสังฆราช

 

สิ่งที่จะต้องถือเป็นหลักการพิจารณาเพื่อการปรับปรุงระบบดังกล่าวมาก็คือ ต้องพยายามลดทอนระดับแห่งอำนาจลงไป ให้เกิดความเสมอเท่าเทียมกันในหมู่สงฆ์ทั้งปวง ด้วยระบบแห่งคุณธรรม ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ทั้งนี้ เพื่อเอื้อให้วิถีทางของสงฆ์เป็นไปในทางที่เลื่อนไหลไปสู่มรรคผลนิพพานได้ เพื่อให้บรรยากาศที่ครอบหมู่สงฆ์ทั้งปวง เป็นบรรยากาศแห่งความมีภราดรภาพ คือความเป็นพี่น้อง และครอบครัวเดียวกัน มากกว่าจะเป็นบรรยากาศแห่งการบังคับบัญชากันตามลำดับชั้น อันเป็นบรรยากาศแห่งการลิดรอนเสรีภาพความนึกคิด ปิดกั้นการเจริญทางมโนธรรมส่วนบุคคล ซึ่งปิดกั้นวิถีมรรคผลเสียสนิท แบบที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

ฉะนั้น รูปแบบที่เสนอนี้จึงลดระดับชนชั้นในหมู่สงฆ์ลงไปมาก ตำแหน่งพระประมุขสงฆ์ แม้ชื่อว่าอยู่สุดยอดสูงสุดก็ตาม แต่ก็จะอยู่ใกล้ชิดหมู่สงฆ์ทั้งปวง ไม่ห่างต่างกันลิบลับเหมือนที่เป็นอยู่ในระบบอำนาจขณะนี้

นั่นคือข้อเสนอแนะ เพื่อการเปลี่ยนแปลงในขั้นที่อาจเป็นไปได้ วิธีหนึ่ง ที่ดูจะง่าย(แต่อาจจะยาก) ในปัจจุบันนี้ ที่ควรเรียกว่า นี่คือข้อเสนอเพื่อการเปลี่ยนแปลงในระดับ “การปฏิรูป” ซึ่งยังอิงอาศัยระบบเดิมอยู่ โดยมีตำแหน่งและชั้นยศอยู่ เพียงแต่ปรับ ลดระดับชนชั้น สับเปลี่ยนขั้ว คือเพิ่มบทบาทระบบคุณธรรมเข้าไปให้มากพอที่จะเป็นแกนกลางที่นำวิถีธรรมได้และลดทอนระบบอำนาจลงไปให้อยู่ในระดับที่เป็นเพียงเครื่องมือแห่งระบบคุณธรรมเท่านั้น หากทำได้ดั่งนี้ อะไร ๆ ก็จะดีขึ้นมากมายมหาศาล

 

อย่างไรก็ตาม แนวคิดในระดับ “การปฏิวัติ” คือเปลี่ยนแปลงระบบเดิม(ระบบที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้)เสียทั้งสิ้น ก็คือแนวคิดเรื่อง “สภาสงฆ์” 3 ระดับ ตามที่ได้ให้ข้อสังเกตและได้เสนอแนวคิดเค้าโครงพอเป็นเป็นรูปธรรมคร่าว ๆ มาในหนังสือพิมพ์ดีฉบับที่แล้ว(ดู ดี เดือน มกราคม 2541) ซึ่งยืนอยู่บนหลักการปกครองโดยหมู่สงฆ์(ถือหมู่เป็นใหญ่)เริ่มตั้งแต่มีหมู่ครูบาอาจารย์หรืออุปัชฌาย์(อุปัชฌาย์กับหมู่ลูกศิษย์เป็นหมู่ ๆ มีหลายอุปัชฌาย์ก็มีหลายหมู่ มีหลายอาจารย์หลายสำนักเกิดขึ้น เพื่อการปกครองทั้งมวลจักเกิดเอกภาพและมีทิศทางการประพฤติปฏิบัติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันตามธรรมตามวินัย จึงต้องมีองค์กรกลางสำหรับอุปัชฌาย์ และครูบาอาจารย์ เจ้าสำนักทั้งหลายมาประชุมกันเป็นการประจำ เมื่อเราเอาอุปัชฌาย์อาจารย์เจ้าสำนักทั้งหมดมาประชุมกันได้ ด้วยข้อกำหนดของกฎหมาย การณ์ใดใด กิจใดใดทั้งสิ้นทั้งปวงก็สามารถตกลงกันได้ในที่ประชุม(สภาสงฆ์)ด้วยเหตุและผลหรือด้วยมติของหมู่ การประชุมชนิดนี้แหละเราจัดไว้เป็น 3-4 ระดับ คือ สภาสงฆ์ระดับตำบล สภาสงฆ์ระดับจังหวัด สภาสงฆ์ระดับชาติ และ สภาสงฆ์ระดับสากล

 

แนวความคิดนี้จะสอดคล้องกับอีกหลายระบบทั้งทางโลกและทางธรรม สภาสงฆ์ระดับตำบล สภาสงฆ์ระดับจังหวัด และสภาสงฆ์ระดับชาติ จะสอดคล้องกับสภาการปกครองฝ่ายราชอาณาจักร ซึ่งขณะนี้วางเค้าโครงการปกครองในระบอบการปกครองประชาธิปไตยใน 3 ระดับ อยู่แล้ว (คือระดับตำบล มี อบต. ที่เห็นค่อนข้างเป็นรูปธรรมขึ้นมาแล้วในขณะนี้ สภาจังหวัดที่มีรูปของ อบจ.อยู่ และรัฐสภา:สภาผู้แทนราษฎร-วุฒิสภา:สภาผู้ทรงคุณวุฒิ) สภาสงฆ์ระดับสากล จะเป็นองค์กรที่ชาวพุทธทั่วโลกสามารถมาประชุมร่วมกันได้โดยอัตโนมัติ เพราะจะไม่มีคำว่า “เจ้าของ” แต่เป็นสภาสำหรับชาวพุทธทั้งโลก หรือแม้หากมีชาวพุทธในต่างดาว ต่างโลก หรือศาสนิกชนหรือนักบวชในศาสนาอื่น ๆ ก็อาจสามารถมาเข้าร่วมการประชุมได้ ด้วยระบบที่เป็นไปเองแบบธรรมชาติแห่งคุณธรรมสากล อันจะเป็นจุดเริ่มต้นของสภาสากลแห่งศาสนาทั้งหลายหรือศาสนาสากลแห่งโลกมนุษย์ ซึ่งด้วยความคิดแบบชาวพุทธ ด้วยพุทธวิธีแท้ย่อมอาจประสานงานไปได้ดีกว่าความคิดอื่นหรือหลักการแห่งศาสนาอื่น ๆ เพราะศาสนาอื่น ๆ มักมีปัญหาของ อัตตา: ความมีตัวตน(เช่น ตัวตนของพระเจ้าของแต่ละศาสนา ซึ่งมักจะใหญ่ยิ่งเสมอไปจนอาจจะยากสำหรับงานสากลที่ต้องเดินไปด้วยระดับภูมิปัญญาอันสูงเยี่ยมหรือที่เราเรียกว่าระดับ ปรมัตถธรรม นั่นเอง)

นั่นก็คือ ต้นเหตุของความคาดหมายที่จะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในวงการพระพุทธศาสนา จักได้บังเกิดขึ้นมา และนั่นเองคือการเตรียมพร้อมเพื่อรับสถานการณ์ที่จะเกิดมาในอนาคตโลกยุคอันตรายนี้

เพราะเหล่าพระสาวกทั้งปวง จักได้หันทิศทางใหม่ ที่นำไปสู่ภาระหน้าที่ที่แท้จริง กลับไปสู่เส้นทางเดินอันสอาด สว่าง และสงบ ที่นำชีวิตไปสู่เส้นทางที่พระพุทธองค์ และ พระอรหันต์สาวกทั้งปวง พาเดินไปสู่บรมสุขอันยิ่งใหญ่เพราะความระงับภัยและสิ้นจากกิเลสทั้งปวงเสียได้

 

 

จะปฏิรูปการปกครองสงฆ์ไปทำไม(ต่อ)

คำถาม
สับสนว่าทำไมจึงมีปัญหาทางการปกครองของศาสนา เพราะศาสนาก็มีหลักการปกครองของศาสนามิใช่หรือ ?

 

คำตอบ
สิ่งที่ทำให้สับสนก็คือ คนทั่วไปมักเข้าใจว่าศาสนามีหลักการปกครองของศาสนาเองแล้วปกครองไปตามหลักนั้น สงฆ์ก็ปกครองไปตามพระธรรมวินัย แต่ความจริง ไม่ใช่ เพราะเดี๋ยวนี้วงการสงฆ์ไทยปกครองโดยกฎหมาย และกฎหมายนั้นไม่สอดคล้องพระธรรมวินัย ไม่เอื้อให้วงการสงฆ์เคลื่อนไหวหรือประพฤติไปในทิศทางที่สอดคล้องเป้าหมายของพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนาประสงค์นำพระสาวกไปสู่มรรคผลนิพพาน แต่กฎหมายกลับนำคณะสงฆ์สวนทางกับพระนิพพาน ได้กำหนดให้คณะสงฆ์ปกครองโดยระบบอำนาจ สร้างตำแหน่งและชั้นการบังคับบัญชาขึ้นหลายระดับจนกลายเป็นชนชั้นตามระดับการปกครอง แล้วยังไม่พอ ยังกำหนดยศหรือสมณศักดิ์สงฆ์ขึ้นมากมายหลายระดับชั้นไปกำกับในแต่ละตำแหน่งการปกครองอีก มีเงินเดือนและสิ่งประกอบประดับเกียรติแต่ละระดับชั้นนั้นอีกอย่างมากมาย อันเป็นวิถีทางอย่างโลก ๆ คือวิถีทางข้าราชการระบบเจ้าขุนมูลนายเดิม(ขุนนางพระ) เหตุนี้จึงค่อยโน้มนำสงฆ์ให้ใฝ่ตามไป และเนิ่นนานมาจนถึงที่สุดสงฆ์ต่างก็หลงงมงาย เห็นผิดเป็นชอบ เห็นกงจักรเป็นดอกบัว โดยพากันแก่งแย่งชิงตำแหน่งและยศฺเหล่านี้อย่างไม่ลืมหูลืมตา ไม่มีโอกาศแห่งมรรคผลนิพพาน เราจึงต้องแก้กฎหมายใหม่ให้ระบบการปกครองเป็นไปในระบบคุณธรรมที่เอื้อต่อวิถีทางศาสนา ต่อมรรคผลและนิพพาน จึงจักหยุดความเสื่อม หยุดการบ่อนทำลายพระ พุทธศาสนาลงได้ และนำสู่เส้นทางพระพุทธศาสนาที่แท้จริงต่อไป

 

 

 

คำถาม
2. เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าถ้าหยุดหรือเลิกใช้ระบบการคณะสงฆ์เดิมแล้วจะเกิดผลดีตามที่ฝันมานี้อย่างแน่นอน

 

คำตอบ
เราจะมั่นใจเมื่อเราเข้าใจหลักธรรมชาติของโลกทั้งสิ้น หรือธรรมชาติธรรมดาของทฤษฎีศาสนาสากล ที่มองว่า ธรรมดาโลก คือการไหลไปสู่ความเสื่อม ไปสู่ความบาป ไปสู่ความมืด ไปสู่ความสิ้นสุด ในที่สุดของโลกจึงเป็น การพิพากษา เป็นการชำระโทษของผู้ผิดผู้บาป อันเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์อันเป็นข้อสรุปสถานภาพแห่งโลก มนุษย์และสรรพสิ่งของพระพุทธศาสนานั่นเอง ฉะนั้น ศาสนาทั้งปวงจึงเรียกเตือนมนุษย์ทั้งปวงว่า จงหยุดความบาปเสีย และเริ่มด้วยข้อห้ามต่าง ๆ ที่มีข้อความบอกว่า จงอย่า
…..อันเป็นหลักการแห่งคุณธรรมเบื้องต้นที่เรียกว่า ศีล เสมอไป ฉะนั้นศีลของทุกศาสนาจึงเริ่มด้วยคำว่า อย่า……(อย่ากระทำบาปต่าง ๆ ดังนี้…….เช่นพุทธก็บอกว่า อย่ากระทำบาป 5 ประการ คือศ๊ล 5 นั่นเอง คริสต์ก็บอกว่าอย่ากระทำบาป 10 ประการ เป็นต้น) เพราะโดยปกติมนุษย์มีพฤติกรรมบ่อนทำลายตนเองอยู่ทุกขณะ เมื่อหยุดเสียก็เท่ากับหยุดทำลายตนเอง ได้ผลดีขึ้นมาทันที ความดีก็เกิดขึ้นเป็นเบื้องต้นแล้วในทันที แม้เพียงหยุดกระทำบาปลงเสียได้

 

เมื่อเราเห็นแล้วว่า การไหลไปของหมู่สงฆ์เป็นไปอย่างผิดลู่ทางแห่งมรรคผลนิพพาน เพราะเป็นการไหลไปตามโลก เป็นไปอย่างโลก ๆ แท้ ๆ โดยแท้จริง เห็นชัดเจนอยู่เช่นนี้แล้ว แล้ว เราหยุดเสียโดยพลันทันที หยุดเสียได้ อย่าเดินต่อไปเสียได้ เราก็ได้ประโยชน์โดยหยุดการบ่อนทำลายตัวเราเอง หมู่เราเองลง ก็ได้ประโยชน์ทันทีที่หยุดการทำลายเสียได้ เราได้คุณงามความดีขึ้นมาทันทีที่หยุดทำบาปแล้ว

 

เมื่อเรามองเห็นแล้วว่า ระบบตำแหน่งและชั้นยศ เป็นทางเสื่อมแด่พระพุทธศาสนาทั้งมวล เป็นตัวการที่กัดกร่อนทำลายหมู่การคณะสงฆ์ในส่วนรวม เราก็เพียงหยุดระบบนี้เสียเท่านั้นเอง ผลดี ผลคุณ ประโยชน์ที่จะได้ก็เกิดขึ้นมาทันทีแล้ว ที่เห็น ๆ ก็คือ ระงับความวุ่นวายในวงการสงฆ์เจ้าขุนมูลนายลงทันที วงการสงฆ์ก็จะนิ่ง สงบ ไม่วุ่นวาย ในทันที สมาธิ ปัญญาภายในก็เกิดขึ้นตามมาโดยธรรมชาติ ทันทีและสงฆ์ก็เดินไปด้วยระบบวัฒนธรรมสงฆ์อันมีมาแต่เดิม และที่เป็นอยู่ใช้อยู่ในทุกวันนี้เห็นได้ชัดเจนว่า เป็นระบบวัฒนธรรมที่สืบทอดมาแต่ยุคพระบรมศาสดา จึง

 

อาจเอื้อต่อมรรคผลนิพพานได้อย่างแน่นอน แม้ว่าในสมัยนี้ อาจจะมีระบบบางอย่างที่ดูไม่สมเหตุสมผล ไม่สอดคล้องวัตถุประสงค์เดิม เราก็อาจสามารถปรับปรุงได้โดยไม่ยาก หรือแม้ไม่ปรับปรุงเลย ก็ยังจะใช้ได้ผลดีอยู่ เช่นประเพณีวัฒนธรรมการบวช บวชเพื่ออะไร ? มักไม่ชัดเจน (ทำไมอุปัชฌาย์อาจารย์จึงพรั่นประหวั่นกลัวยิ่งนักเมื่อกุลบุตรคนหนึ่งแสดงความประสงค์จะขอบวชตลอดชีพ แทนที่จะปลาบปลื้มดีอกดีใจ ? ก็เพราะท่านรู้ดีว่าท่านไม่สามารถจะพาสัทธวิหาริกท่านไปสู่มรรคผลนิพพานตามความมุ่งหมายของลูกศิษย์ได้นั่นเอง และหากขืนตามท่านไป ตลอดชีวิตนี้ ก็จะไปได้อย่างโลก ๆ คือไปสู่ตำแหน่งและชั้นยศ อย่างที่ท่านเป็นท่านมีอยู่เท่านั้นเอง) เงื่อนไขในการบวช คือ นัตถิภัณเต 5 อามะภัณเต 8 ประการ นั้นมักไม่เอาจริง บวชแล้วอุปัชฌาย์ก็ไม่เอาใจใส่อบรมสั่งสอนด้วยตนเอง เพราะอะไรก็ตาม ควรปรับปรุงให้ดีขึ้น ประเพณีวัฒนธรรมการฟังพระปาฎิโมกข์ในวันอุโบสถ หรือพิธีปวารณาของหมู่สงฆ์ในวันมหาปวารณาเมื่อสิ้นสุดเทศกาลเข้าพรรษานั้น ดูจะไม่ค่อยสมเหตุสมผลนัก การทำบุญ ทำทาน ถวายของ ถวายจตุปัจจัยธนัง แด่พระสงฆ์ ถวายทำไม มักทำไปอย่างสับสนไม่ชัดเจนในเป้าหมายการกุศล ที่ถูกที่ควรส่งเสริมหรือไม่ ? หรือเป็นการทำลายพระสงฆ์ พระศาสนาไป ? วัฒนธรรมสงฆ์ดังเช่นตัวอย่างที่อ้างมานี้ ยังมีหลายประการที่ใช้อย่างไม่สมเหตุและผล แต่ก็อาจสามารถจะปรับปรุงได้โดยง่าย เพียงเพื่อเมื่อคืนสติสู่ความสำนึกในภาระหน้าที่ ที่ต้องใฝ่พยายามไปสู่ความมีมรรคผลอันอุดมสูงสุดให้จงได้ในชีวิต ของนักบวชแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะง่ายไปหมด

 

อาจกล่าวได้ว่า ระบบวัฒนธรรมสงฆ์ทั้งสิ้นที่มีใช้อยู่ในขณะนี้แหละ ที่อาจ สามารถคุ้มครองรักษาพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ได้และดำเนินไปสู่เส้นทางที่มีมรรคผลเป็นเป้าหมาย หากเพียงแต่ขจัดสิ่งที่เป็นภัย หรือบ่งเสี้ยนที่เสียบแทงอยู่ออกไปเสียเท่านั้น ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะกลับคืนไปสู่ความเป็นปกติอีกครั้งหนึ่ง แล้วทุกสิ่งทุกอย่างก็จะเดินไปตามทาง ตามกฎแห่งธรรมชาติธรรมดาของมัน นั่นคือวิถีแห่งมรรคผลนิพพานก็จะเลื่อนไหลไปเอง อันเป็นธรรมดาเช่นนั้น

 

ในระดับที่เป็นการฝึกการสอนชั้นเท็กนิกทางวิชาการ เช่น เท็กนิก กรรมฐาน ชนิดต่าง ๆ เป็นต้นนั้น ก็ปรากฎอยู่ว่ามีผู้รู้จำนวนมากมาย หากเพียงจัดระบบการปกครองให้เลื่อนไหลไปถูกทาง เหมือนสายน้ำ แล้ว ท่านผู้รู้เหล่านั้นก็จักปรากฎออกมา

ทั่วทุกทิศเหมือนหมู่ปลามาสู่สายน้ำฉะนั้น ก็สามารถชี้สอนไปได้ไม่ยากเลย มรรคผลก็เป็นอันหวังได้

 

ฉะนั้น เพียงขจัดเสี้ยนหนามออกไปเสียก่อนเท่านั้นเอง เอาระบบยศศักดิ์ ขุนนางพระออกไปเสียให้ได้เท่านั้นเอง ระบบคุณธรรม-ความดีงามก็จะกลับเข้ามาแทนที่แล้วระบบมรรคผลก็เดินไปเอง ด้วยวิถีวัฒนธรรมสงฆ์เดิม ด้วยวิถีทางแห่งธรรมชาติ เพียงแตะเบา ๆ ให้เลี้ยวซ้ายขวา ไปตามทางพระธรรมพระวินัยก็จะไปได้โดยราบรื่นและคล่องน่าสนุกสนานอย่างยิ่ง

 

 

 

คำถาม
3.     เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า การจัดระบบวัด วิถีทางสงฆ์ และสังฆสภา 4 ระดับ ตามแนวคิดที่เสนอมานี้ จักสามารถนำไปสู่วิถีทางที่ปรารถนา หรือเป็นการสอดคล้องวิถีทางมรรคผลนิพพาน

 

 

คำตอบ
สภาสงฆ์ จะเป็นที่ประชุมสำหรับพระอุปัชฌาย์ พระมหาเถรานุเถระทั้งหลาย ที่จะต้องตกลงกันในเรื่องราวการปกครองวัด การปกครองหมู่กลุ่มหรือแม้การบริหารกิจการพระศาสนาหรือกิจการใดใดอันเป็นกิจของสงฆ์ อันจำเป็นต้องกำหนดและควบคุมมาตรฐาน ให้เป็นไปโดยถูกต้องตามธรรมตามวินัย และทิศทางอันเดียวกัน และทั้งเป็นศาลหรือที่ตัดสินความ หรือ อธิกรณ์ต่าง ๆ ของพระสงฆ์ทั้งปวง เป็นที่ท่านทั้งหลายจะแต่งตั้งผู้บริหารหรือคณะผู้บริหารขึ้นรับผิดชอบกิจการคณะสงฆ์ใดใดแทนท่าน ก็แล้วแต่ความจำเป็น ความเหมาะสม แล้วแต่หมู่แล้วแต่มติ อันเป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า วิถีประชาธิปไตยสงฆ์ นั่นเอง

 

ข้อสำคัญก็คือ หลักการสภาสงฆ์จะเอื้อให้เกิดการประสานงานกับบุคคลหรือสถาบันใดใดอื่นได้โดยกว้างขวาง และมีหลักการประสานงานที่สะดวกที่ตั้งอยู่บนหลักความศรัทธาหรือความมีอิสรเสรีภาพ สามารถประสานงานกับลัทธิ นิกาย ศาสนา หรือแนวคิดอื่น ๆ ใดใด ได้อย่างง่ายดาย เพียงเราขอเชิญเขามาร่วมพิจารณาหรือให้ข้อคิดเห็น ข้อเสอแนะแนวทาง หรือแม้เพื่อการวางแผนงานร่วมปฏิบัติทางธรรมปฏิบัติร่วมกันก็ได้ เปิดโอกาสให้เกิดการปฏิบัติงานด้วยสติปัญญาไปในแนวทางที่กว้างขวาง ไปสู่ระดับโลกสากลได้โดยง่ายและคล่องตัว

 

โดยหลักการสภาสงฆ์นี้ การอยู่ครองตำแหน่งใดใด จะไม่ใช่สิ่งที่น่ายินดีที่สงฆ์ใฝ่ปรารถนา และการครองตำแหน่งใดใดจะไม่เป็นการถาวร ไม่เป็นไปตลอดชีพ แต่จะมี การกำหนดเวลาการครองตำแหน่ง ทุกตำแหน่ง เพื่อทำให้สงฆ์มีเวลาที่ปลอดจากข้อผูกมัดหรือการจองจำโดยภาระหน้าที่ ให้มีเวลาที่เป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ ปราศจากภาระใดใด (ลองสังเกต การบรรลุอรหัตผลของพระอานนท์ พุทธอุปัฎฐาก พุทธอนุชา รับภาระหนักมาตลอดพระชนม์ชีพของพระพุทธเจ้า ภายหลังพุทธปรินิพพาน จึงพอว่างเว้นจากภาระ จิตใจเป็นอิสระ ขณะจะบรรลุ ก็เป็นขณะปล่อยวางภาระ โดยรำพึงว่าเหนื่อยนักขอพักเอนหลังสักหน่อย ก็บรรลุในขณะเอนกายลงยังไม่ถึงพื้น) เมื่อเป็นเช่นนี้ สงฆ์ทุกรูปก็มีโอกาศที่จะจาริกไปเพื่อการแสวงหาธรรมปฏิบัติ ที่ต้องปลีกไปจากหมู่ ที่ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ เพื่อเสพความสันโดษวิเวก เสพความว่างเปล่า อันเป็นวิถีทางที่ปลอดจากนิวรณธรรม(ธรรมแห่งความกังวล)ทั้งหลาย อันเป็นพื้นฐานการปฏิบัติกรรมฐาน การจำเริญฌาน และการวิปัสนาญาณ ชั้นสูงสุดได้

มรรคผลก็มีขึ้น มีมา ด้วยประการฉะนี้

 

 

 

คำถาม
4. ปัญหาระบบวัดที่จะให้เปิดฟรี ไม่มีเจ้าของ นั้น อยู่ข้างจะยอมรับได้ยาก

 

คำตอบ
ในเรื่องวัด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้วัดปราศจากระบบการอาชีพ หรือระบบการธุรกิจใดใด เพราะนี่คือฐานสำคัญยิ่งของ โลภจริต ที่มาแห่งความโลภ โกรธ และหลง อันเป็นฝ่ายอกุศลกรรม ฝ่ายสมุทัย เหตุแห่งทุกข์ ที่เป็นสิ่งกีดกั้นวิถีแห่งมรรคผลโดยปกติอยู่แล้ว เมื่อไม่มีระบบการอาชีพ ระบบการธุรกิจในวัด วัดก็จะกลายเป็นแดนสังคมสงเคราะห์ไปโดยอัตโนมัติ แดนบุญก็เกิดขึ้นทุกแห่งหน และนี่คือวิถีบุญของนักบุญในพระพุทธศาสนา วัดก็เปิดฟรี ไม่มีเจ้าของคอยหวงไว้เป็นที่ทำมาหากินเลี้ยงชีพหรือทำธุรกิจอีกต่อไปเพราะพระสงฆ์ในวัดก็จะได้ตระหนักในหน้าที่ คือการเป็นนักบุญ มิใช่เพียงแต่เทศน์(แบบมือถือสากปากถือศีล)บอกให้ชาวบ้านทำบุญแต่ผู้เทศน์ผู้บอกไม่เคยทำเลย มีแต่หา สะสมลูกเดียว จึงไม่ควรเทศน์บอกเรื่องการทำบุญเท่านั้น แต่เป็นทั้งนักพูดและนักทำ ตามที่ตนพูด(หากมิฉะนั้นก็ผิดศีลข้อที่
4 คือทรยศต่อพระธรรม) ด้วยการปรับปรุงทำวัดให้ปราศจากระบบการที่ไม่ชอบธรรมดังกล่าว แดนบุญก็บังเกิดขึ้นทั้วทั้งราชอาณาจักรไทย จึงสมกับชื่อว่า นาบุญ ที่แท้จริงตามหลักพระพุทธศาสนา ในเรื่องพระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์ถูกกำหนดบทบาทโดยระบบวัดให้เป็นนักบุญ เป็นอนาคาริก พระสงฆ์ก็จะมาสู่ความสันโดษ และมองเห็นสงครามภาคภายในและวิธีการที่จะเอาชนะในชั้นเชิงของกิเลส ชัดเจนขึ้น การบวชก็มีความหมาย มีความหวัง เห็นเส้นทางเดินอันสว่าง และประเสริฐ การฝ่าฟันไปในวิถีทางนักบวชก็จะสนุกสนานมีชีวิตชีวาขึ้น มีความเต็มใจที่จะฝ่าฟันไป มีความเต็มใจและจงใจอุทิศ มีจาคะอย่างเต็มที่ ความเคารพ ความผูกพันกันฉันพี่น้อง หรือหลักการแห่งภราดรภาพในหมู่สงฆ์ก็จะมีมากขึ้น การสังคมสงฆ์ก็จะกลายเป็นความรื่นรมย์ และสุขสงัด สงบวิเวก และจะมีวาจาในหมู่สงฆ์ ล้วนแต่ปลุกกระตุ้นความพยายาม ความใฝ่ในเบื้องสูง ในมรรคผลนิพพาน และวาจาที่ชื่นชอบบูชานับถือสิ่งประเสริฐ บุคคลผู้ประเสริฐ บูชาความกล้าหาญ ความกล้าที่ฝ่าฟัน บูชาความมานะพยายาม และชื่นชมยินดี บูชาพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ พระผู้มักน้อยสันโดษก็จะเป็นที่ชื่นชมบูชา ผู้ได้บรรลุธรรมจักเป็นที่ตั้งแห่งความยำเยง ที่แห่งความเคารพนับถือ ที่แห่งการเอาเยี่ยงเอาอย่าง และที่เชิดชูให้สูงส่งเป็นปูชนียบุคคล ในสังคมพระจักมีแต่ข่าวแห่งคุณธรรม มีบรรยากาศแห่งคุณธรรมเช่นนี้ จักมีแต่ข่าวความดีความงามความชื่นชม และความมีมุทิตาจิตโดยแท้จริงในสังคมของพระ

 

และด้วยบรรยากาศเช่นนี้ เพียงประชาชนเข้ามาสู่วัดวาอาราม ได้ไหว้พระ ได้เห็นผ้าเหลือง ก็บังเกิดปิติ ยินดีปลาบปลื้มว่าเป็นบุญ ตนก็คลายทุกข์ไปได้มาก แล้ว สังคมทั้งหมดจะนิ่ง สงบ สงัด และค่อยเคลื่อนเลื่อนไหลไปอย่างมีระเบียบ อย่างมีความอิ่มเอม ไม่หวาดและไม่หวั่นต่อกระแสโลก ความอยู่ดีกินดี บนพื้นฐานแห่งเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยความพอดี หรือหลักการแห่งความสันโดษ จักสร้างสรรค์สังคมให้มีความสุข ประสบความสำเร็จ ดุจดังสังคมในฝัน คือ สังคมพระศรีอาริย์ นั่นทีเดียว เพียงแต่ว่านี่ มิใช่ความฝัน เป็นความจริง ที่อาจสร้างขึ้นได้ตามหลักแนวคิดอริยธรรมแห่งเหตุและผลอย่างนี้

 

เรื่องระบบวัด การมีสำนักวัดต่าง ๆ ซึ่งต่างก็ปักเขตปักหลักของตนอย่างแน่นหนา ต่างวัดต่างสำนักก็พยายามจัดกิจกรรม โชว์ผลงานกันอย่างเต็มที่ หลายหลากรูปแบบ บ้างก็ขยายอาณาจักรออกไป ๆ มีสำนักขึ้นตรงมากมาย ตามที่เห็นอยู่ในขณะนี้ ก็จักไม่มีปัญหาอะไร เมื่อเรากำหนดระบบวัดสากล คือ วัดที่ไม่มีคนใดคนหนึ่งเป็นเจ้าของ แต่เป็นของชาวพุทธทั้งโลก (เพราะวัดรับเงินบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาได้ทั่วโลกมาสร้างเป็นวัดขึ้น หากผู้หนึ่งผู้ใดทำตนเป็นเจ้าของ ก็ดูน่าสลดใจ และย่อม ไม่ชอบธรรม) แล้ว อะไร ๆ ก็จะเลื่อนไหลไปเอง และเมื่อระบบยศศักดิ์ ขุนนางพระไม่มีแล้ว ความยึดมั่นปักหลักว่าจะสร้างวัดของเรา เพื่อผลงานของเรา เพื่อผลตอบแทนเป็นลาภ เป็นยศศัดิ์ขุนนาง ของเรา ก็จะค่อยลดน้อยไปเอง ตราบหมดสิ้นไป แรงภายในที่ขับเคลื่อนคือความริษยาก็ลดน้อยลงไป เพราะไม่มีอะไรให้ได้ ให้เด่น ให้ดีกว่ากันและกันต่อไปอีกแล้ว ในขณะเดียวกันระบบธรรมชาติภายในความนึกคิดของมนุษย์ ก็จะช่วยให้สภาพการเกาะติดหรือนิ่งอยู่กับที่คลายออก ลดน้อยลงไป ธรรมชาติที่กระตุ้นเตือนให้ออกเดินทางเพื่อการจาริกแสวงหา {เป็น Pilgrim : The Wanderer} เป็น อนาคาริก (อันเป็นหลักการอันเดียวกันกับหลักธรรมชาติการท่องเที่ยวของมนุษย์สัตว์ทั้งหลายในโลก) ก็จะจูงใจให้เกิดการเคลื่อนไหวไปเอง การปฏิบัติธรรมทั้งระบบ จะเต็มไปด้วยความตื่นเต้น มีความหวังอันอุดมสมบูรณ์ล้นเปี่ยม การจาริกที่ฝ่าฟันไปในความยากลำบาก ทุรกันดาร ทั้งกายและใจจ โดยกฎกติกาควบคุมอย่างเข้มเพื่อเสริมสภาพการปฏิบัติธรรมอันยากอุกฤษและล้วนแล้วไปด้วยการเสียสละหรือการสละออกไปซึ่งความเห็นแก่ตัว จะกลับกลายเป็นมนต์ขลังที่ซ่อนเสน่ห์อันล้ำลึก และเต็มไปด้วยความสนุกสนานมีชีวิตชีวาอยู่ในตัวเองทุกขณะ ตราบได้ลิ้มรสแห่งมรรคผล ยิ่งจักซึ้งตรึงใจสุดเอ่ยอ้าง ทางที่จะถอยกลับเป็นไม่มีอีกต่อไป มีแต่มุ่งใฝ่สูง สู่อรหัตตมรรค-อรหัตตผล สิ่งที่อาจพิศูจน์ได้ด้วยตัวเอง และชื่นชมในความเป็นมนุษย์อันสมบูรณ์

 

สังคมพระจะได้ยินแต่ข่าวความพยายามและข่าวดีงามจากทิศทั้งหลาย ที่กระตุ้นเตือนให้ใฝ่แสวงหา ใฝ่ติดตามรอย ใฝ่ไปเห็น ใฝ่ไปฟัง ใฝ่ไปสัมผัส ในสิ่งที่เป็นของประเสริฐเลิศล้ำ ประชาชนทั้งปวง ก็มีจิตชื่นมื่น เห็นริ้วผ้าเหลืองมีความชื่นชม มีความหมายแห่งชีวิต และได้เห็น ได้ฟัง ได้พบ พระอริยบุคคลที่แท้จริง มาปรากฎเป็นหมู่ ๆ จะได้เห็นลีลาของกลุ่มบุคคลผู้สิ้นกิเลส สิ้นตัณหา และสิ้น อุปาทานโดยแท้จริงว่า เป็นอย่างไร และจะเห็นจะพบท่านได้โดยไม่ยาก เพราะเมื่อระบบวิถีธรรมอันถูกต้อง ถูกจัดตั้งขึ้นในสังคม ท่านเหล่านั้นก็จะปรากฎตัวขึ้น ออกมาสู่สังคมตามลำดับ ๆ มีอุปมาเหมือนกองไฟสว่างขึ้น หมู่สัตว์และแมลงทั้งหลายก็ปรากฎตัวมาห้อมล้อม ฉะนั้น

และเมื่อระบบเปิดทางให้สงฆ์จาริกไป นั่นก็คือการเริ่มต้นของการประสานงานการพระพุทธศาสนากับประเทศเพื่อนบ้าน และ ประเทศพุทธศาสนาทั่วโลกโดยระบบคุณธรรมสากล โลกทั้งโลกก็เปิดทางให้แด่การจาริก การแสวงหาเช่นนี้โดยดี

 

 

 

คำถาม
5. เราจะสามารถสร้างทำสิ่งเหล่านี้ให้เป็นขึ้นมาได้จริง ๆ หรือ ?

 

คำตอบ
จริง ! หากเราออกกฎหมายใหม่ได้ ให้เป็นไปตามโครงสร้าง วัด สงฆ์ และสภาสงฆ์ ตามแนวทางที่เสนอมาแล้วนี้  และหากชาวพุทธบริษัท
4 ไม่นิ่งเฉยดูดาย และรู้กาละเทศะอันควร รู้พิจารณาธรรมของสัตตบุรุษ(สัปปุริสธรรม 7)เป็นอาจิน

ยื่นมือออกมา มือประสานมือ ใจประสานใจ เพื่อทำภาระหน้าที่อันประเสริฐสุด นั่นคือเชิดชูพระพุทธศาสนาขึ้นสู่โลกยุคโลกาภิวัตน์นี้    เพื่อความอยู่รอดแห่งโลกทั้งปวง

ยุคพระศรีอาริย์ จะบังเกิดขึ้นมาได้มิใช่โดยโชคชะตา หากแต่ด้วยภูมิปัญญา ความรู้แจ้งเห็นจริงในหลักที่มา คือเหตุของมัน และที่ไป คือผลของมัน แล้วเราออกแรงกระทำด้วยมือมนุษย์เราเอง ให้ถูกปัจจัยดังกล่าว อย่างนี้แหละเรียกว่า ได้ประโยชน์แท้ โดยวิถีพุทธธรรมจริง บังเกิดเป็นความสงบ ระงับ นิ่ง หยุดความระส่ำระสายทั้งปวง และแสงสว่างก็ปรากฎขึ้นพร้อมความอุดมสมบูรณ์อันอิ่มแท้ เลิศประเสริฐสุดในแผ่นดินโลกยุคนี้.





หนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 34

หน้าบอกสถานะของเรา ดีเล่มที่ 34
บทกวีนิพนธ์ แด่ คุณครูแสงเทียน article
บทความพิเศษ การพัฒนาประชาธิปไตย โดยพระเทพวรมุนี article
บทบก1 วิเคราะห์เพลงชาติไทยควรปรับปรุง
บทบก2 จำลอง ศรีเมืองต้านเบียร์ช้างเข้าตลาดหลักทรัพย์
บทบก3 บันทึกคนเก่งเด็กไทยชนะโอลิมปิกวิชาการ 4 เหรียญทอง
บทบก4 เตรียมเสนอร่างกฎหมายสงฆ์ 2 ฉบับเข้าสภา ผ่านรัฐบาลก่อน
บทบก5 โหราศาสตร์น่าสนใจในดีเล่มที่34
บทบก6 เสนอตั้งกระทรวงข่าวสาร และกรมโหร
บทบก7 สันตะปาปา สิ้นพระชนม์ อิรัคยังคงฆ่ากันหลังตั้งรัฐบาลได้แล้ว
บทบก8 อินเทอเนตของเราเป็นที่ลับสมองคมกริบเพียงอ่านบทวิเคราะห์ไปตามลำดับเท่านั้น
ร่างยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนา คำวิพากษ์และข้อเสนอแนะ
โหราศาสตร์ ดวงชะตาผู้นำชาติและดวงเมืองยุคปัจจุบัน ดี34:1 ส.ค.2548
ดี9 ฉบับทบทวน{คอลัมน์ประชาธิปไตยสงฆ์} จะปฏิรูปสงฆ์ไปทำไม
ข้อคิดสันติกโรภิกขุ คนอเมริกันไม่น้อยคิดว่าตนเป็นชาวพุทธที่ดีกว่า



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
----- ***** ----- โปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate นี่คือเวบไซต์คู่ www.newworldbelieve.com กับ www.newworldbelieve.net เราให้เป็นเวบไซต์ที่เสนอธรรมะหรือ ความจริง หรือ ความคิดเห็นในเรื่องราวของชีวิต ตั้งใจให้ธัมมะเป็นทาน ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แด่คนทั้งหลาย ทั้งโลก ให้ได้รู้ความจริงของศาสนาต่าง ๆในโลกวันนี้ และได้รู้ศาสนาที่ประเสริฐเพียงศาสนาเดียวสำหรับโลกยุคใหม่ จักรวาลใหม่ เรามีผู้รู้ ผู้ตรัสรู้ ผู้วินิจฉัยสรรพธรรมสรรพวิชชา สรรพศาสน์ และสรรพศาสตร์ พอชี้ทางสู่โลกใหม่ ให้ความสุข ความสบายใจความมีชีวิตที่หลุดพ้นไปสู่โลกใหม่ เราได้อุทิศเนื้อที่ทั้งหมดเป็นเนื้อที่สำหรับธรรมะทั้งหมด ไม่มีการโฆษณาสินค้า มาแต่ต้น นับถึงวันนี้ร่วม 14 ปีแล้ว มาวันนี้ เราได้สร้างได้ทำเวบไซต์คู่นี้จนได้กลายเป็นแดนโลกแห่งความสว่างไสว เบิกบานใจ ไร้พิษภัย เป็นแดนประตูวิเศษ เปิดเข้าไปแล้ว เจริญดวงตาปัญญาละเอียดอ่อน เห็นแต่สิ่งที่น่าสบายใจ ที่ผสานความคิดจิตใจคนทั้งหลายด้วยไมตรีจิตมิตรภาพล้วน ๆ ไปสู่ความเป็นมิตรกันและกันล้วน ๆ วันนี้เวบไซต์นี้ ได้กลายเป็นโลกท่องเที่ยวอีกโลกหนึ่ง ที่กว้างใหญ่ไพศาล เข้าไปแล้วได้พบแต่สิ่งที่สบายใจมีความสุข ให้ความคิดสติปัญญา และได้พบเรื่องราวหลายหลากมากมาย ที่อาจจะท่องเที่ยวไปได้ตลอดชีวิต หรือท่านอาจจะอยากอยู่ณโลกนี้ไปชั่วนิรันดร ไม่กลับออกไปอีกก็ได้ เพียงแต่ท่านเข้าใจว่านี่เป็นแดนต้นเรื่องเป็นด่านข้ามจากแดนโลกเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง และซึ่งเป็นโลกหรือบ้านของท่านทั้งหลายได้เลยทีเดียว ซึ่งสำหรับคนต่างชาติ ต่างภาษาต่างศาสนา ได้โปรดใช้การแปลของ กูเกิล หรือ Google Translate แปลเป็นภาษาของท่านก่อน ที่เขาเพิ่งประสบความสำเร็จการแปลให้ได้แทบทุกภาษาในโลกมนุษย์นี้แล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้เอง นั้นแหละเท่ากับท่านจะเป็นที่ไหนของโลกก็ตาม ทั้งหมดโลกประมาณ 7.6 พันล้านคนวันนี้ สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในโลกของเราได้เลย เราไม่ได้นำท่านไปเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่การนำไปสู่ความจริง ความรู้เรื่องชีวิตใหม่ การอุบัติใหม่สู่ภาวะอริยบุคคล ไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปพ้นจากทุกข์ ทั้งหลายไปสู่โลกแห่งความสุขแท้นิรันดร คือโลกนิพพานขององค์บรมศาสดาพุทธศาสนา พระบรมครูพุทธะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ท่านโปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate ท่านก็จะเข้าสู่โลกนี้ได้ทันทีพร้อมกับคน7.6พันล้านคนทั้งโลกนี้. ----- ***** ----- • หมายเหตุ เอาขึ้นเวบไซต์ แทนของเดิม ทั้ง 2 เวบ .net .com วันที่ 21 เม.ย. 2565 เวลา 07.00 น. -----*****-----