ReadyPlanet.com
dot
dot dot
bulletBUDDHISM TO THE NEW WORLD ERA
bullet1 Thai-ไทย
bullet2.English-อังกฤษ
bullet3.China-จีน
bullet4.Hindi-อินเดีย
bullet5.Russia-รัสเซีย
bullet6.Arab-อาหรับ
bullet7.Indonesia-อินโดนีเซีย
bullet8.Japan-ญี่ปุ่น
bullet9.Italy-อิตาลี
bullet10.France-ฝรั่งเศส
bullet11.Germany-เยอรมัน
bullet12.Africa-อาฟริกา
bullet13.Azerbaijan-อาเซอร์ไบจัน
bullet14.Bosnian-บอสเนีย
bullet15.Cambodia-เขมร
bullet16.Finland-ฟินแลนด์
bullet17.Greek-กรีก
bullet18.Hebrew-ฮีบรู
bullet19.Hungary-ฮังการี
bullet20.Iceland-ไอซ์แลนด์
bullet21.Ireland-ไอร์แลนด์
bullet22.Java-ชวา
bullet23.Korea-เกาหลี
bullet24.Latin-ละติน
bullet25.Loa-ลาว
bullet26.Finland-ฟินแลนด์
bullet27.Malaysia-มาเลย์
bullet28.Mongolia-มองโกเลีย
bullet29.Nepal-เนปาล
bullet30.Norway-นอรเวย์
bullet31.persian-เปอร์เซีย
bullet32.โปแลนด์-Poland
bullet33.Portugal- โปตุเกตุ
bullet34.Romania-โรมาเนีย
bullet35.Serbian-เซอร์เบีย
bullet36.Spain-สเปน
bullet37.Srilanga-สิงหล,ศรีลังกา
bullet38.Sweden-สวีเดน
bullet39.Tamil-ทมิฬ
bullet40.Turkey-ตุรกี
bullet41.Ukrain-ยูเครน
bullet42.Uzbekistan-อุสเบกิสถาน
bullet43.Vietnam-เวียดนาม
bullet44.Mynma-พม่า
bullet45.Galicia กาลิเซียน
bullet46.Kazakh คาซัค
bullet47.Kurdish เคิร์ด
bullet48. Croatian โครเอเซีย
bullet49.Czech เช็ก
bullet50.Samoa ซามัว
bullet51.Nederlands ดัตช์
bullet52 Turkmen เติร์กเมน
bullet53.PunJabi ปัญจาบ
bullet54.Hmong ม้ง
bullet55.Macedonian มาซิโดเนีย
bullet56.Malagasy มาลากาซี
bullet57.Latvian ลัตเวีย
bullet58.Lithuanian ลิทัวเนีย
bullet59.Wales เวลล์
bullet60.Sloveniana สโลวัค
bullet61.Sindhi สินธี
bullet62.Estonia เอสโทเนีย
bullet63. Hawaiian ฮาวาย
bullet64.Philippines ฟิลิปปินส์
bullet65.Gongni-กงกนี
bullet66.Guarani-กวารานี
bullet67.Kanada-กันนาดา
bullet68.Gaelic Scots-เกลิกสกอต
bullet69.Crio-คริโอ
bullet70.Corsica-คอร์สิกา
bullet71.คาตาลัน
bullet72.Kinya Rwanda-คินยารวันดา
bullet73.Kirkish-คีร์กิช
bullet74.Gujarat-คุชราด
bullet75.Quesua-เคซัว
bullet76.Kurdish Kurmansi)-เคิร์ด(กุรมันซี)
bullet77.Kosa-โคซา
bullet78.Georgia-จอร์เจีย
bullet79.Chinese(Simplified)-จีน(ตัวย่อ)
bullet80.Chicheva-ชิเชวา
bullet81.Sona-โซนา
bullet82.Tsonga-ซองกา
bullet83.Cebuano-ซีบัวโน
bullet84.Shunda-ชุนดา
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet86.Sesotho-เซโซโท
bullet87.NorthernSaizotho-ไซโซโทเหนือ
bullet88.Somali-โซมาลี
bullet89.History-ประวัติศาสตร์
bullet90.Divehi-ดิเวฮิ
bullet91.Denmark-เดนมาร์ก
bullet92.Dogry-โดกรี
bullet93.Telugu-เตลูกู
bullet94.bis-ทวิ
bullet95.Tajik-ทาจิก
bullet96.Tatar-ทาทาร์
bullet97.Tigrinya-ทีกรินยา
bullet98.Check-เชค
bullet99.Mambara-มัมบารา
bullet100.Bulgaria-บัลแกเรีย
bullet101.Basque-บาสก์
bullet102.Bengal-เบงกอล
bullet103.Belarus-เบลารุส
bullet104.Pashto-พาชตู
bullet105.Fritian-ฟริเชียน
bullet106.Bhojpuri-โภชปุรี
bullet107.Manipur(Manifuri)-มณีปุระ(มณิฟูรี)
bullet108.Maltese-มัลทีส
bullet109.Marathi-มาราฐี
bullet110.Malayalum-มาลายาลัม
bullet111.Micho-มิโช
bullet112.Maori-เมารี
bullet113.Maithili-ไมถิลี
bullet114.Yidsdish-ยิดดิช
bullet115.Euroba-ยูโรบา
bullet116.Lingala-ลิงกาลา
bullet118.Slovenia-สโลวีเนีย
bullet119.Swahili-สวาฮิลี
bullet120.Sanskrit-สันสกฤต
bullet121.history107-history107
bullet122.Amharic-อัมฮาริก
bullet123.Assam-อัสสัม
bullet124.Armenia-อาร์เมเนีย
bullet125.Igbo-อิกโบ
bullet126.History115-ประวัติ 115
bullet127.history117-ประวัติ117
bullet128.Ilogano-อีโลกาโน
bullet129.Eve-อีเว
bullet130.Uighur-อุยกูร์
bullet131.Uradu-อูรดู
bullet132.Esperanto-เอสเปอแรนโต
bullet133.Albania-แอลเบเนีย
bullet134.Odia(Oriya)-โอเดีย(โอริยา)
bullet135.Oromo-โอโรโม
bullet136.Omara-โอมารา
bullet137.Huasha-ฮัวซา
bullet138.Haitian Creole-เฮติครีโอล
bulletคำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรแปล เช้า-เย็น
bulletChart Showing the Process
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี พ.ศ.2540 - 2566
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 1
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 2
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี บุคคลที่ 1 - 188 ปัจจุบัน
bulletหนังสือพิมพ์ดี
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 1
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 2
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 3
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 4
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 5
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 6
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 7
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 8
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 9
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 10
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 11
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 12
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 13
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 14
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 15
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 16
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 17
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 18
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 19
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 20
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 21
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 22
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 23
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 24
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 25
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 26
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 27
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 28
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 29
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 30
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 31
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 32
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 33
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 34
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 35
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 36
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 37
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 38
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 39
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 40
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 41
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 42
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 43
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 44
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 45
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 46
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 47
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 48
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 49
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 50
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 51
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 52
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 54
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 55
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 56
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 57
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 58
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 59
bulletTo The World
bulletENGLISH
bulletUSA
bulletChina
bulletIndia
bullet Mynmar
bullet Cambodia
bullet Loas
bulletSri Lanka
bulletMalaysia
bulletKorea
bulletA Sharp Turn of Believes : Iresearch Iwrite Iread
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 1
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 2
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 3
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 4
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 5
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 6
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 7
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 8
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 9
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 10
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 11
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 12
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 13
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 14
bulletMystery Report 15
bulletMystery Report 16
bulletMystery Report 17
bulletMystery Report 18
bulletMystery Report 19
bulletMystery Report 20
bulletMystery Report 21
bulletMystery Report 22
bulletMystery Report 23
bulletMystery Report 24
bulletMystery World Report 25
bulletศึกษาโลกลี้ลับ 26
bulletเฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว วิเคราะห์ทุกปัญหาในโลกมนุษย์ด้วยสติปัญญาและเหตุผลวิทยาศาสตร์จากนสพ.ดี
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2536
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2537
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2538
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2539
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2540
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2541
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2542
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2543-2545
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2545-2549
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2549-2550
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2550-ส.ค.2551
bulletเฝ้าดูฯ ส.ค.-ก.ย.2551
bulletเฝ้าดูฯ ก.ย.2551- ธ.ค. 2551
bulletเฝ้าดูฯสำนวนพัชรา กอปรทศธรรม
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 16-27
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 29
bulletบทความใหม่ เม.ย.-พ.ค.2552
bulletพุทธธรรมเพื่อทางดับทุกข์
bulletทฤษฎีการดับทุกข์ทางจิต วิปัสสนากรรมฐานโดยการทำงาน(สำนวนปรับปรุงใหม่)
bulletประวัติพัชรา กอปรทศธรรม
bulletประวัติการต่อสู้เพื่อการดับทุกข์ ของพัชรา กอปรทศธรรม
bulletอัลบั้มรูป history
bulletนิทานธรรมะประยุกต์ มานุสสาสุระสงคราม 4 ภาค และอื่น ๆ
bulletอัลบั้มรูป ภาพในอดีตและชีวประวัติศาสตร์ที่สวยงาม
bulletจากเวบบอร์ด พูดกันไม่รู้เรื่อง ประชาธิปไตยล้าหลัง
bulletศาสนาสากล การวิเคราะห์ความหมาย
bulletปลอบใจ
dot
รวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์ แนวปฏิรูปคณะสงฆ์อยู่ในบทวิเคราะห์นี้แล้ว
dot
bulletรวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์
dot
สากลจักรวาล สากลศาสนา แนวคิดศาสนาสำหรับคนยุคใหม่ ผู้ก้าวผิดทางไปสู่สิ่งไร้สาระโดยไม่รู้ตัว
dot
bulletสากล...ศาสนา 1
bulletสากล...ศาสนา 2
bulletสากล...ศาสนา 3
bulletสากล...ศาสนา 4
bulletสากล...ศาสนา 5
bulletสากล...ศาสนา 6
bulletสากล...ศาสนา 7
bulletสากล...ศาสนา 9
bulletสากล...ศาสนา 8
bulletสากล...ศาสนา 10
bulletสากล...ศาสนา 11
bulletสากล...ศาสนา 12
bulletสากล...ศาสนา 13
bulletสากล...ศาสนา 14
bulletสากล...ศาสนา 16
dot
ส่วนข้อมูลสำคัญเพื่อการวิจัยการเมืองไทยยุค คมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
dot
bulletข้อมูลสำคัญยุคคมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่1/26ส.ค.2551
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่2/27ส.ค.2551
bulletใบปลิว อีเมล์ ในหลวงทรงร้องไห้
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 1
bulletในหลวงเพิ่งทราบข่าวฆ่าประชาชน10เมย.53ทรงร้องไห้
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
dot
รวมข่าวม็อบการเมืองสนธิ-จำลอง-ปชป.มิ.ย.51-เม.ย.52 นสพ.
dot
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 2
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 3
bulletรวมข่าวม็อบ30มิ.ย.51-23มี.ค.52
bulletเลือดศรีสะเกษบันทึกเรื่องราวรอบด้านเกี่ยวกับเขาพระวิหาร
bulletรายงานการโฆษณาชวนเชื่อในประเทศไทยที่ล้มล้างรัฐบาลทักษิณ
bulletหนังสือพิมพ์ดี ของฟรีให้เปล่ามา20ปีแล้วทั้งเอกสารและอินเทอเนท
bulletหนังสือพิมพ์ดี ( อินเทอเนต ) เล่ม 1 - 44 - ล่าสุด
bulletหน้าที่เก็บไว้
bulletมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร)
bulletวัดมหาพุทธาราม ศรีสะเกษ บันทึกเหตุการณ์
bulletสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดศรีสะเกษแห่งที่ 1
bulletเกี่ยวกับเวบไซต์ของเรา เราทำเพื่อปัญญาชนโดยแท้
bulletรวมกระทู้เด็ดจากกระดานถามตอบ
bulletคาถาอาคมไสยศาสตร์
bulletกวีนิพนธ์ใหม่
bulletศูนย์ปฏิญญาณละเลิกอบายมุข บัญชีที่ 1- 4


เฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว ;วิเคราะห์วิชาธรรมกายคืออะไร? ล.15

 

บทวิเคราะห์วิชชาธรรมกาย
วิชชาธรรมกายคืออะไร ?

 

ในชั้นนี้ ขอให้ดูข้อความที่ว่า “เข้าสมาบัติทั้ง 8 นี้โดยอนุโลมปฏิโลมจนครบ 7 เที่ยว” คล้ายคำสั่งของคนมิได้ทรงสติสัมปชัญญะอันบริบูรณ์ เพราะในความเป็นจริง การเข้าสมาบัติ 8 นั้น เป็นเรื่องเฉพาะของพระอรหันต์ผู้สำเร็จอภิญญาสูงสุดเท่านั้น

เมื่อศาสนาพุทธเกิดขึ้น พระบรมศาสดาได้กล่าวถึงนิมิตทั้งหลายเหล่านี้ไว้ในส่วนการศึกษาเรื่อง สมาธิ 3 อย่าง คือ (1) คณิกสมาธิ โดยสามารถทำให้เกิดบริกรรมนิมิต (2) อุปจารสมาธิ โดยสามารถทำให้เกิดอุคหนิมิต (3) อัปนาสมาธิ โดยสามารถทำให้เกิด ปฏิภาคนิมิต และนี่คือทั้งหมดทั้งมวลของที่ไปที่มาแห่งนิมิตทั้งหลาย วิชาธรรมกายก็เป็นเรื่องที่กล่าวถึงนิมิตและการสร้างนิมิตล้วน ๆ

 

 

 

 

รายงานข่าว ถอดรหัสวัดพระธรรมกาย
บทวิเคราะห์ทางวิชาการพระพุทธศาสนาเชิงปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ
ว่าด้วยสมาธิแบบวิชาธรรมกาย อุคหนิมิตรและปฏิภาคนิมิต

ไอทีวี
26 ธ.ค.41, 21.00 น.


 

บรรดาผู้รู้ทะยอยปรากฏตัว

รายงานการทำข่าววัดพระธรรมกาย ญาติโยมที่นั่นไม่ชอบสื่อ ไม่ถูกกับสื่อ ไอทีวีติดตามมาตลอด และคาดว่า ไอทีวี คงจะติดตามต่อไป เช่นเดียวกับหนังสือพิมพ์หลาย ๆ ฉบับ โดยเฉพาะมติชน ข่าวสด ส่วนสยามรัฐ นั้น ยังเสมือนดำรงเจตนาท่าน คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่เริ่มตำหนิให้ทัศนะมาแต่ต้นว่าวัดพระธรรมกายไม่ค่อยชอบมาพากล อีกด้วย ตราบเท่าที่ความเป็นจริงยังไม่กระจ่าง นั่นก็เพราะหน้าที่ของสื่อสารมวลชน ผู้มีหน้าที่ทำความจริงให้ปรากฎ เมื่อความจริงยังไม่ปรากฎ ก็ต้องเพียรพยายามต่อไป

เมื่อได้วิเคราะห์วัดพระธรรมกาย โดยกล่าวถึงการพยายามในสิ่งที่ไม่ใช่กิจของสงฆ์พึงกระทำไปแล้ว เมื่อมาถึงวันนี้ ก็ได้ปรากฎว่ามีนักวิชาการ ผู้รู้ นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา มากมาย ออกมาแสดงความคิดเห็น ทั้งหลักความรู้วิชาการทางพระพุทธศาสนา ตามลำดับ ๆ ถ้านับมาแต่ต้นเรียงลำดับมาตามวันที่ก็มี

- ท่านเจ้าคุณพระธรรมโกศาจารย์ หรือหลวงพ่อปัญญานันทะภิกขุ วัดชลประทานรังสฤษดิ์,
- ท่านเจ้าคุณพระราชวิทยาคม หรือ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ
,
- ท่านเจ้าคุณพระพิศาลธรรมวาที หรือ พระอาจารย์พยอม กลฺยาโณ
,
- พระอาจารย์มหาบุญถึง ชุตินฺธโร ผช.อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
,
- พระเดชพระคุณท่านพระพรหมจริยาจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม,
- ท่านรองศาสตราจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต
,.
- ท่านดร. พระมหาจรรยา สุทธิญาโณ วัดอุโมงค์ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่,
- ท่านอาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์ อาจารย์ภาควิชาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัย.เชียงใหม่,
- ท่านพระอาจารย์นักปราชญ์แห่งวงการพระพุทธศาสนา ท่านเจ้าคุณ พระธรรมปิฏก,
- ท่านศาสตราจารย์ประเวศ วะสี, มูลนิธิเผยแพร่ชีวิตประเสริฐ (ผชป.),
- คุณหมอประดิษฐ์ เจริญไทยทวี อดีตอธิการบดีคณะแพทยศาสตร์ ม.มหิดล,
- ท่านบุญฤทธิ์ เกตุสมัย ทนายความและตัวแทนพุทธศาสนิกชน,
- นามปากกา “ดินสอโดม”
แห่ง เดลินิวส์ หน้า4,
- คอลัมนิสต์ เปลว สีเงิน แห่ง น.ส.พ. ไทยโพสต์,
- ท่านพระมหาสุภา อุทฺโท ป.ธ.9(แต่เป็นสามเณร) พัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต(ธรรมศาสตร์),
  อาจารย์มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย,

- ท่านดร.พระมหาต่วน สิริธมฺโม รองอธิการบดีฝ่ายเผยแผ่
  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย และ
- ท่านอาจารย์ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ สมญา ปัญญาชนสยาม

โดยเห็นในประเด็นร่วมกันที่สำคัญ 2 ประเด็นคือ
(1)   วัดพระธรรมกายจัดหาทรัพย์มาโดยการโฆษณาชวนเชื่อ ไม่ถูกหลักการบุญ ในพระพุทธศาสนา และ
(
2)   คำสอนและแนวปฏิบัติค่อนข้างสับสน
      
การอธิบายทฤษฎีวิชาธรรมกายหรือการนำเสนอไม่สมเหตุสมผล       
       มิได้เป็นไปตามครรลองธรรมปฏิบัติตามหลักการพระพุทธศาสนา เป็นมิจฉาทิฏฐิ

อย่างไรก็ตาม เมื่อพยายามอ่านวิเคราะห์โดยลึกซึ้งไปถึงภาคปฏิบัติแห่งแนววิชาธรรมกายแล้ว จะเห็นได้ชัดเจนว่า ประเด็นสำคัญทั้ง 2 ประการที่บรรดานักปราชญ์ตำหนิดังกล่าวนั้น จะพบว่าแต่ละประเด็นนั้นมีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ เป็นเหตุและเป็นผลแก่กันและกัน อย่างแยกไม่ออก

เพราะการโฆษณาชวนเชื่อ เป็นผลมาจาก ความเชื่อที่ผิดว่า แนวการปฏิบัติของตนเป็นแนวที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา เมื่อไปจับหลักปฏิบัติที่ไม่ใช่ของสูงสุดแท้จริงมาอวดอ้างว่าเป็นยอดพระธรรมสูงสุดในพระพุทธศาสนา จึงเกิดการโกลาหลขึ้นในหมู่ชนผู้รู้ไม่ถึงหรือรู้น้อยทั้งหลาย ต่างพลอยเชื่ออย่างบริสุทธิ์ว่า วิชาธรรมกาย เป็นสุดยอดของวิชชาแห่งพระพุทธศาสนา ท่านผู้บรรลุวิชานั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ ผู้สูงสุดแห่งพระพุทธศาสนาหาผู้ใดเทียบเทียมมิได้แห่งยุคนี้ ก็มีผลที่ก่อเกิดการโฆษณาชวนเชื่อแผ่กระจายออกไป คนพร้อมลาภ-ปัจจัยก็หลั่งไหลเข้าวัดต้นตำหรับวิชานี้ มาตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนกระทั่งบัดนี้ ต่อเมื่อรู้ความจริงแล้วจึงจักเห็นว่าแท้จริง เป็นเรื่องหลอกลวงประชาชน เป็นไปโดยหลักการโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) ที่มีผลเสียหายอย่างสูงต่อสังคม

 

วิธีทำให้เห็นธรรมกาย

การมองกรณีนี้ เราจำเป็นต้องมองมาแต่ต้นเค้าของ วิชาธรรมกาย เลยทีเดียว

มองจาก หนังสือที่เผยแผ่ของสำนักนั้นโดยเฉพาะ “วิธีทำให้เห็นธรรมกาย” พระมงคลเทพมุนี ประวัติหลวงพ่อวัดปากน้ำและคู่มือสมภาร.กรุงเทพมหานคร:บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชจำกัด.2529, หน้า 143. ซึ่งบันทึกโดยพระทิพย์ปริญญา (ธูป กลัมพสุต ป.ธ.6)



วิธีทำให้เห็นธรรมกาย มีลำดับขั้นตอนการปฏิบัติถึง 15 ลำดับ จึงจะเห็นธรรมกาย ซึ่งเราจะอธิบายให้เข้าใจ ด้วยการชี้ข้อสังเกตไปเป็นข้อ ๆ ตามลำดับ ดังต่อไปนี้

1. หนังสือเล่มดังกล่าวนี้ ได้จัดพิมพ์เผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง ทางศาสนจักรได้จัดส่งไปถวายวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยมองเห็นเจตนาที่จักนำความเชื่อชนิดนี้ครอบสังคมไทยทั้งหมด พระทิพย์ปริญญา ผู้บันทึก ตั้งชื่อเรื่องว่า “วิธีทำให้เห็นธรรมกาย” น่าสังเกตว่า ท่านไม่ได้ตั้งชื่อให้ว่า “วิชชาธรรมกาย” และพระทิพย์ปริญญา ท่านเดียวกันนี้ ต่อมาได้เป็นผู้เชื่อมระหว่างหลวงพ่อสด กับเจ้าพระคุณโชดก ซึ่งเป็นวิปัสนาจารย์วัดมหาธาตุ ให้หลวงพ่อสดยอมตนไปศึกษา วิปัสนากรรมฐาน แบบสำนักวัดมหาธาตุอยู่ประมาณ 1 เดือนจนจบหลักสูตร จนยอมรับว่า วิปัสนากรรมฐานแบบวัดมหาธาตุ เป็นวิธีที่ถูกต้อง การที่ท่านตั้งชื่อว่า “วิธีทำให้เห็นธรรมกาย” น่าจะบอกถึงความเชื่อถือของผู้บันทึกต่อวิชาธรรมกาย ว่าน่าจะไม่ถูกต้อง หากจะใช้คำว่า “วิชชา” นำหน้า

2. “วิธีทำให้เห็นธรรมกาย” มีลำดับขั้นตอนมากจนเกินไป ทั้ง ๆ ที่การปฏิบัติเป็นเพียง การสร้างวงจรนิมิตขึ้นมา ซึ่งในที่นี้สร้างขึ้นมา 2 วงจรใหญ่ ๆ คือวงจร ดวงใส กับ วงจรรูปร่างมนุษย์ หรือกายใส แล้ว เอาภาพนิมิตในแต่ละวงจรนั้นเอง มาสัมพันธ์กัน หรือ เอาวงจรทั้งสอง มาสัมพันธ์กัน ซึ่งวิชานี้สามารถทำได้โดยซ้อนกันหลาย ๆ ดวง บ้าง หลาย ๆ กาย บ้างแทรกอยู่ในกันและกันบ้าง ไม่มากไปกว่านี้ ซึ่งหากมีความชำนาญก็สามารถทำให้เกิดวงจร และ การสัมพันธ์ระหว่างวงจรนิมิตเหล่านี้ได้อย่างไรก็ทำได้ แต่สิ่งที่จะต้องเข้าใจก็คือ การสร้างนิมิตเหล่านี้สามารถทำขึ้นได้ ด้วยความสามารถทางสมาธิ ในระดับ อุปจารสมาธิ ที่สามารถให้เกิดนิมิตคือภาพใดออกมา แบบภาพนิ่งได้

จะเห็นว่า นิมิตของ วิชาธรรมกาย ไม่ว่า ดวงใส ก็ตาม รูปกายมนุษย์ ก็ตาม แม้หากว่า สามารถขยายนิมิตให้ใหญ่ขึ้นไป หรือลดขนาดลงมา หรือจะปรับขนาดไปอย่างไรได้ตามใจ นั้น ล้วนแต่เป็นภาพนิ่ง เป็นความสามารถอยู่ในชั้น อุปจารสมาธิ นี้ทั้งสิ้น

กล่าวให้ง่ายไปอีกสักหน่อย วิชาธรรมกาย เป็นผลจากความประพฤติธรรมระดับสมาธิ ได้อุคหนิมิตเป็นดวงแก้ว และ กายใส แล้วสามารถขยายเพิ่มจำนวนดวงแก้วและกายนั้นได้ เอามาทำไขว้ ประสานกันไปต่าง ๆ เช่นซ้อนทับกันไปมา ดวงซ้อนดวง กายซ้อนกาย ดวงซ้อนกาย กายซ้อนดวง ไปเรื่อย ๆ จะทำกี่รอบ กี่วงจรก็ได้ ทำให้มีขนาดเท่าไรก็ได้ เช่น ประเภทดวงกลม ๆ ใสใส ขนาดเท่าดวงดาวบ้าง เท่าดวงเดือนบ้าง เท่าดวงตะวันบ้างนั้น มีความแจ่มใสสว่าง จำรัส แต่สิ่งสำคัญที่จะต้องสังเกตให้ดีก็คือ เมื่อทำดวงขึ้นมาหลาย ๆ ดวง หลาย ๆ กายแล้ว ท่านผู้ให้กำเนิดวิชชานี้ก็ ทำการตั้งชื่อให้ดวงเหล่านั้นและกายเหล่านั้น โดยนัยความหมายแห่งมรรคผลนิพพาน เช่น ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หรือนิมิตประเภทรูปกายคน ก็ตั้งชื่อว่า กายธรรมบ้าง กายรูปพรหมบ้าง กายอรูปพรหมบ้าง กายพระโสดาบันบ้าง กายพระสกิทาคามีบ้าง กายพระอนาคามีบ้าง จนกระทั้งชื่อพระอรหันต์ ก็เอามาตั้งชื่อให้กับนิมิตกาย ด้วยสามารถทำนิมิตกายได้พิสดารเช่นนี้ จึงตั้งชื่อว่า “วิชชาธรรมกาย”

วิชาธรรมกาย เมื่อมองจากมิตินี้และตัดสินทันที จึงมิใช่วิชาการชั้นสูงแต่อย่างใดเลย และยังมิใช่ระดับสมบูรณ์สูงสุดของสมาธิ ด้วยซ้ำ เพราะยังมีอีกขั้นหนึ่งของสมาธิ คือ อัปนาสมาธิ ที่สามารถสร้างนิมิตที่ตรงตามพระปริยัติธรรมว่า ปฏิภาคนิมิต ซึ่งเป็นนิมิตชนิดที่เคลื่อนไหวได้ และมีชีวิตชีวา เหมือนเป็นภาพชีวิตจริงในโลกมนุษย์ หรืออย่างเรื่องราวในภาพยนต์ นิมิตรชนิดที่เคลื่อนไหว คือ นอกจากสามารถย่อส่วนลดขนาด หรือ เพิ่มขยายขนาด ได้ต่าง ๆ ตามใจปรารถนาแล้ว ยังสามารถให้เคลื่อนไหวได้ ไม่ว่าจะเป็นนิมิตอะไร เช่นนิมิตรูปช้าง ก็สามารถสร้างนิมิตช้างตัวใหญ่ ตัวเล็ก หรือขนาดใด แล้วให้มีกิริยาอาการอย่างช้างหรือจะอย่างใดผิดธรรมชาติช้างไปก็ได้ นี้ ตามหลักวิชาสมาธิท่านว่าคือ ปฏิภาคนิมิต วิชาธรรมกาย ยังไม่มาถึง ปฏิภาคนิมิตนี้ ซึ่งจะเป็นขั้นตอนสำคัญยิ่ง ที่จะไปเชื่อมต่อกับกระบวนการแห่งการตรัสรู้พระพุทธธรรมชั้นสูงสุดต่อไป

3. ในแต่ละลำดับขั้นตอน ของ วิธีทำให้เห็นธรรมกาย ทั้ง ๆ ที่เป็นเพียงการเพ่งนิมิตให้เกิด ดวงใสสว่าง มีรูปกลม ๆ ขึ้นมา กลางกาย [อย่างที่เห็นในท้องหลวงพ่อสด ที่เห็นหน้าตาถมึงทึง มีดวงอาทิตย์อยู่กลางท้อง (ดู น.ส.พ.ข่าวสด 3 ม.ค.42 หน้า 23)] ซ้อนกันหลาย ๆ ดวง กับรูปกาย หลาย ๆ รูปกาย เท่านั้นเอง ก็เอาไปพูดขยายความออกไปเป็นมรรคผลนิพพาน และอิทธิฤทธิ์ ฌาน สมาบัติ ไป และที่ขยายความบรรยายนิมิตนั้น ก็ล้วนนำเอาเรื่อง หรือ หัวข้อ หรือบทมาติกาที่มีความหมายสูงส่ง ในพระพุทธศาสนธรรม มาอ้างทั้งสิ้น จึงเป็นการกล่าวคำที่เกินความจริงที่ตนปฏิบัติได้ จนแทบเห็นได้ว่า เป็นผลของความคิดที่ค่อนข้างผิดปกติซึ่งน่าจะเป็นผลจากระบบประสาทความคิดที่คลาดเคลื่อนไปจากวิสัยคนธรรมดา เช่นลำดับหรือขั้นตอนปฏิบัติขั้นที่ 3 โปรดสังเกตข้อความที่ให้ตัวพิเศษไว้

 

ข้อสังเกตในคำสั่งการฝึกปฏิบัติ

มีคำสั่งให้ลูกศิษย์ฝึกปฏิบัติ ดังนี้

“ประกอบธรรมที่ทำให้เป็นธรรมของพระโสดาบันเป็น ปฐมฌาน ….. ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายของพระสกิทาคามีเป็น ทุติยฌาน ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายของพระอนาคามีเป็น ตติยฌาน ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายของพระอรหัตต์เป็นจตุตถฌาน ว่าง ของปฐมฌาน 

ประกอบเป็น อากาสานัญจายตนะฌาน รู้ในว่างของทุติยฌาน เป็น วิญญาณัญจายตนะฌาน รู้ที่ละเอียดในเหตุว่างของตติยฌาน เป็นอากิญจัญญายตนะฌาน รู้ก็ใช่ไม่รู้ก็ใช่ในเหตุว่างของจตุตถฌาณ เป็น เนวสัญญานาสัญญายตนะฌาน

เข้าสมาบัติทั้ง 8 นี้โดยอนุโลมปฏิโลมจนครบ 7 เที่ยว ธรรมกายก็ตกสูญเข้า นิพพานของกายมนุษย์ เดินสมาบัติในนิพพานของกายมนุษย์ครบ 7 เที่ยว กายธรรมก็ตกสูญเข้า นิพพานของกายทิพย์ เดินสมาบัติในนิพพานของกายทิพย์ ครบ 7 เที่ยว กายธรรมก็ตกสูญเข้า นิพพานของกายรูปพรหม เดินสมาบัติในนิพพานของกายรูปพรหม ครบ 7 เที่ยว กายธรรมก็ตกสูญ เข้า นิพพานของกายอรูปพรหม เดินสมาบัติในนิพพานของกายอรูปพรหม ครบ 7 เที่ยว กายธรรมก็ตกสูญ เข้า นิพพานของกายธรรม เลยทีเดียว” เล่มเดียวกัน หน้า 148

ในชั้นนี้ ขอให้ดูข้อความที่ว่า “เข้าสมาบัติทั้ง 8 นี้โดยอนุโลมปฏิโลมจนครบ 7 เที่ยว” และคำสั่งว่า “เดินสมาบัติในนิพพานของกาย…” คล้ายคำสั่งของคนมิได้ทรงสติสัมปชัญญะอันบริบูรณ์ เพราะในความเป็นจริง การเข้าสมาบัติ 8 หรือ เดินสมาบัติ 8 นั้น เป็นความสามารถเฉพาะของพระอรหันต์ผู้สำเร็จอภิญญาสูงสุดเท่านั้น และจะมีน้อยมาก แม้ในยุคพระพุทธองค์เอง ก็มีน้อย น่าสังเกตว่า คำสั่งปฏิบัติขั้นตอนที่ 3 นี้ มีข้อความคล้ายคลึง เรื่องราวใน หนังสือพระปฐมสมโพธิกถา เวลาที่พระบรมครูสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่พระมหาปรินิพพาน ทรงเสด็จโดยการเข้าสมาบัติ 8 นี้ โดยอนุโลมและปฏิโลม “กลับไปกลับมาโดยปคุณานุโยคอันรวดเร็วถึง 24 แสนโกฏิสมาบัติ” (สำนวนในหนังสือ โดยความหมายก็คือ เข้าฌานไปตามลำดับตั้งแต่ปฐมฌาน ไปจนถึง เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อันดับที่ 8 แล้วย้อนจากเนวสัญญานาสัญายตนสมาบัติกลับลงมาปฐมฌาน อย่างรวดเร็วหลายร้อยหลายพันเที่ยว นั่นเอง:ผู้วิเคราะห์)

การระบุชื่อสมาบัติ 8 ตรงกับเรื่องราวพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานพอดี แต่การเข้าสมาบัติ 8 นี้ ในหมู่พระอรหันต์ทั้งหลาย นับโกฏิที่แวดล้อม ก็มีเพียง พระอนิรุทธองค์เดียวเท่านั้นที่สามารถเข้าสมาบัติทั้ง 8 โดยอนุโลมปฏิโลมตามเสด็จดูพุทธองค์เสด็จเข้าปรินิพพานได้ เพื่อคอยบอกให้บรรดาพระสาวกทั้งหลายรู้อาการเสด็จไปของบรมครูพุทธเจ้า ดังปรากฎข้อความสำคัญนี้ว่า

“ลำดับนั้นพระพุทธองค์ก็เข้าสู่สมาบัติทั้งปวง ตั้งแต่ ปฐมฌาน เท่าถึง จตุตถฌาน ออกจาก จตุตถฌาน แล้วก็เข้าสู่ อากาสานัญจายตนสมาบัติ แล วิญญานัญจายตนสมาบัติ แล อากิญจัญญายตนสมาบัติ แล เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ แล้วออกจาก เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน แล้วเข้าสู่ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ สืบไป ในลำดับนั้น พระอานนทเถระ ก็ถาม พระอนิรุทธ ว่า พระบรมครูเข้าสู่พระปรินิพพานแล้วฤาประการใด พระอนิรุธ ก็บอกว่ายังไม่ปรินิพพานก่อน พระชินวรเข้าสู่ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ”

(ออกจากสมาบัติ 8 แล้ว ภายหลังทำอนุโลมปฏิโลมหลายร้อยหลายพันเที่ยว แล้วเข้าสู่ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ก่อนจึงกลับลงสู่ ภวังคจิต และปรินิพพานใน ภวังคจิต : ผู้วิเคราะห์โดยเก็บความจากหนังสือที่อ้าง โปรดดู สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส.ปฐมสมโพธิกถา.พระนคร: ประพาสต้นการพิมพ์.2503,หน้า 425. คำว่า ฌาน และ สมาบัติ ใช้แทนกันได้โดยความหมายเดียวกัน:ผู้วิเคราะห์)

 

ข้อสันนิษฐาน 4 ประการ

ฉะนั้นในขั้นการฝึกขั้นตอนที่ 3 ของวิชาธรรมกาย ที่ว่า ให้ “เข้าสมาบัติทั้ง 8 นี้โดยอนุโลมปฏิโลมจนครบ 7 เที่ยว” และ “เดินสมาบัติในนิพพานกาย….” จึงอาจพิจารณาได้ 3 ประการ

ประการที่ 1 ซึ่งหามีผู้ใดสังเกตมาก่อนไม่ว่า คำสั่งให้เข้าสมาบัติ 8 เป็นการสั่งให้กระทำในสิ่งสุดวิสัยของปุถุชนธรรมดา หรือแม้พระอรหันต์โดยทั่วไปที่มิได้ทรงคุณพิเศษเฉพาะทางสมาบัติ จึงน่าสันนิษฐานว่า สภาพจิตของหลวงพ่อสดในขณะนั้น เป็นสภาพจิตที่น่าสงสัยว่ามีคุณสมบัติที่พร้อมด้วยสติสัมปชัญญะอันบริบูรณ์หรือไม่ ?

ประการที่ 2 เมื่อมีเหตุมาจากประการที่ 1 ก็ย่อมยังผลให้พยากรณ์ไปได้เลยว่า สิ่งที่ท่านเรียกว่า “วิชชาธรรมกาย” นี้เป็นสิ่งที่เหลวไหล ไร้สาระแก่นสารโดยแท้จริง เป็นเพียงข้อเขียนที่ถูกเรียบเรียงให้ดูสมเหตุสมผลทางตรรกเท่านั้นเอง โดยเป็นจินตนาการบนฐานความจริงระดับ อุคหนิมิต ส่วนที่เหลือ เป็นเพียงภาพจินตนาการ กล่าวคือ ทำอุคหนิมิตให้เกิดขึ้นได้แล้ว อาศัยฐานความรู้นี้จินตนาการเขียนเป็นวิชาสร้างภาพอันสลับซับซ้อนต่อไป  หรือ

ประการที่ 3 แสดงว่า หลวงพ่อสดบรรลุอรหัตผล ชั้นมิใช่ธรรมดา หากเป็นชั้นได้อภิญญาสูงสุดในพระพุทธศาสนา แต่ในที่สุดความเชื่อนี้ได้ถูกกลบลบล้างไปโดยสิ้นเชิง

เมื่อปรากฎต่อมาภายหลังอีกประมาณ 40 ปี ท่านได้ละทิฐิ ไปขอฝึกวิปัสนากรรมฐานจากสำนักวัดมหาธาตุ อันบ่งบอกว่าท่านยังคงสงสัยในวิชาธรรมกายของท่านเองอยู่

และซึ่งบทวิเคราะห์นี้ กำลังจะพิศูจน์อยู่ว่า ไม่อาจเป็นเช่นนั้นได้ ด้วยหลักวิชาธรรมกาย นี้

แต่ประเด็นนี้แหละเป็นประเด็นที่มีคนจำนวนไม่น้อยให้ความเชื่อมั่นศรัทธาว่าจริง อยู่ภายในอย่างเงียบกริบ มาจนกระทั่งทุกวันนี้ เพราะเมื่อท่านสำเร็จอรหันต์ทรงอภิญญาสูงสุดแล้ว จึงสามารถเข้าสมาบัติ 8 รูปฌาน-อรูปฌาน โดยอนุโลม-ปฏิโลม ไปมา 7 เที่ยวได้ เสมอเหมือนพระอนิรุทธ องค์อรหันต์ สมัยพุทธองค์ทรงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน จนกระทั่งเกิดปรากฎการณ์ยิ่งใหญ่ เมื่อมีการจัดทำพระเครื่อง หลวงพ่อวัดปากน้ำ ขึ้นแจกจ่าย ปรากฎว่ามีคนมากมายเข้าไปแย่งยื้อเหยียบกันตายในวัดนั้น เพราะฤทธิ์ความเชื่อในพระอรหันต์ทรงอภิญญา

แต่เมื่อมองดูพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ อย่างหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต (ปรมาจารย์ผู้ถือสันโดษตลอดชีวิต เพื่อวางตัวเป็นแบบอย่างแด่สานุศิษย์ทั้งหลาย) หลวงปู่เทศก์ เทศรังษี หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต หรือหลวงปู่ชา สุภทฺโท อาจารย์สุเมโธภิกขุชาวอังกฤษ แม้กระทั่งท่านพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขพลาราม(มีจริยาเป็นแบบอย่างที่สมบูรณ์มากอีกองค์หนึ่ง) ท่านเหล่านี้มิเคยสร้างวัตถุมลคลออกมาเลย ลองเปรียบเทียบกันดู และพระอรหันต์ทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้า มิเคยสร้างสิ่งที่เรียกว่า วัตถุมงคล หรือแม้วัตถุใดใดเลย เมื่อมรณภาพ ท่านก็มิสั่งให้เก็บศพเอาไว้ ให้เสียแบบแผนพุทธวงศ์ โดยเฉพาะพระสรีระศพของพระพุทธองค์เอง ก็ให้ทรงเผาเสียภายในสามวันเจ็ดวัน

 

ข้อสังเกตเกี่ยวกับด้านระบบประสาท

4. หากจะอธิบายแนวทางปฏิบัติในการสร้างนิมิตแต่ละวงจร ในแต่ละอันดับขั้นตอน ทำโดยอาศัยการเพ่งก่อน เพ่งจุดหมายใดใด โดยตาใน เช่นวิชานี้ให้เพ่งจุดกลางกาย ก็เพ่งจุดกลางกายนั้น (เพ่งที่อื่นก็ได้) ทำไปตามลำดับคือ เพ่งนิมิต หยุดกลางนิมิตนั้น ขยายนิมิตนั้นออกไป หยุดเอาไว้ แล้วกลับมาเริ่มต้นใหม่ที่จุดศูนย์กลางอันเดิม เพ่งให้เกิดนิมิตที่เหมือนกันกับนิมิตอันแรกซึ่งจะเกิดภาพซ้อนกันเข้ามา แล้วขยายภาพที่ซ้อนให้ใหญ่กว่าภาพที่ 1 เดิม แล้วหยุดเอาไว้ แล้วก็กลับไปจุดกึ่งกลางใหม่ เพ่งภาพนิมิตที่ 3-4 ต่อไปตามกระบวนการเดิม คือ เพ่งนิมิต หยุดกลางนิมิตนั้น ขยายนิมิตนั้นออกไปให้ใหญ่กว่าภาพที่1- 2 หยุดเอาไว้ ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ภาพนิมิตซ้อนกันไปมาก ๆ จนพอ ซึ่ง หากเป็นรูปกาย ท่านก็บอกว่าพอเอาเมื่อได้ 18 กาย (โดยความจริงคงนับจำนวนไม่ถูกด้วยซ้ำ) ท่านก็ตั้งชื่อให้ดวง และภาพเหล่านั้นทุก ๆ ภาพ เช่นภาพกาย ก็ตั้งชื่อโดยเอาชื่อพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนามาตั้งชื่อให้ นับแต่ กายธรรมดาของมนุษย์ปุถุชนเป็นต้นไปเป็น กายมนุษย์ กายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม กายพระโสดาบัน กายพระสกิทาคามี กายพระอนาคามี เป็นต้นไปจนแม้กระทั่งชื่ออันสูงสุดคือ พระอรหันต์ ก็เอามาตั้งเป็นชื่อ นิมิตเหล่านั้น ดังปรากฎในหนังสือว่า

“เมื่อได้กายแต่ละประเภทมากพอ ก็กลับเอากายสุดละเอียดของประเภทนั้นไว้ 1 กาย จะได้กายสุดละเอียดของกายมนุษย์, ทิพย์, พรหม, อรูปพรหม, โสดา, สกิทา, อนาคามี และ อรหัต แล้วก็เอากายอนาคามีซ้อนเข้าในกายอรหัต, แล้วซ้อนสกิทาเข้าในอนาคามี…จนกายมนุษย์ซ้อนเข้าในอรหัต ครั้นครบ 18 กาย ก็เอาอรหัตสับเข้าในกายอนาคามี…แล้วทั้งหมดเข้าในกายมนุษย์ จนได้ใสละเอียดแล้วทำอนุโลม ปฏิโลม 3 เที่ยว จนได้อรหัตใสยิ่งนัก สว่างยิ่งนัก” (ดู ศศิประภา ศากยบุตร.”พิสดารกาย ซ้อนสับทับทวี”.ธรรมกาย นิตยสารเพื่อการเผยแผ่พระสัทธรรม.ปีที่ 4.ฉ.3 ก.ค.-ก.ย.2523,หน้า 88.)

 

ข้อสังเกตมีดังนี้คือ คำว่า กายมนุษย์, กายทิพย์, กายพรหม, กายอรูปพรหม, กายพระโสดาบัน, กายพระสกิทาคามี, กายพระอนาคามี และ กายพระอรหัต เหล่านี้ เป็นเพียงชื่อ ที่ตั้งให้แก่นิมิตที่เพ่งให้เกิดซ้อน ๆ กันไป ในภาคภายในของผู้ปฏิบัติสมาธิชนิดนี้อยู่เท่านั้น เป็นเพียงชื่อ หมายความว่า มิได้มีความหมายเกี่ยวข้องถึงคุณสมบัติแห่งชื่อแต่ละชื่อนั้นเลย เช่นกายพรหม มิได้หมายความว่าบรรลุความเป็นพรหม กายพระโสดาบัน มิได้หมายความว่าบรรลุโสดาบัน หรือแม้กระทั่งชื่อสูงสุดคือ กายพระอรหัต ก็มิได้หมายความว่าได้บรรลุอรหัตผล ฯลฯ

ข้อสังเกตอย่างยิ่งก็คือ การเพ่งให้เกิดภาพซ้อน ๆ มากมายก่ายกองแบบนี้ แล้วยังทำอนุโลม-ปฏิโลมไปมา 3 เที่ยวบ้าง 7 เที่ยวบ้าง ซึ่งคล้าย ๆ ลอกเลียนวิธีทางไสยศาสตร์มาทำให้ขลัง เช่นสวดอิติปิโสถอยหลัง เป็นต้น นับว่าเป็นคำสั่งที่คาบเกี่ยวไปถึงปฏิบัติการฝ่ายกายคือด้านระบบประสาท จักเป็นผลต่อระบบประสาท ทางกายภาพเป็นอย่างมาก ในภาคปฏิบัติวิชาธรรมกายนี้ท่านมิได้อธิบายโดยชัดเจน ว่าทำอย่างไรจึงจะมิให้ระบบประสาทเครียดขึ้นมา เนื่องจากการเพ่งอย่างมากนั้นได้

น่าคาดคะเนไปเป็นอย่างยิ่งว่า หากไม่มีวิธีการลดความเครียดทางระบบประสาทลงแล้ว ผู้ฝึกปฏิบัติชนิด เพ่งนิมิต ทำกายซ้อนกายแบบซ้อนสับทับทวีนี้ อาจถึงกับประสาทพลิกผันผิดปกติ หรือตามที่คนเราเรียกกันว่า เสียสติ ไปได้ และน่าคิดว่า เมื่อท่านสั่งให้ปฏิบัติในสิ่งที่เกินวิสัยขนาดพระอรหันต์ทั่วไปก็ยังทำไม่ได้ เช่นสั่งให้ เข้าสมาบัติทั้ง 8 โดยอนุโลมปฏิโลมไปมา 7 เที่ยว น่าจะบ่งบอกอะไรเกี่ยวกับระบบประสาทที่พลิกผันของท่านได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อท่านพูดถึงลำดับที่ 15 ภาคผู้เลี้ยง ซึ่งก็ดูเหมือนบอกอยู่ว่า ท่านได้สัมผัสกับความเข้มเขม็งของระบบประสาท เมื่อปฏิบัติการวิชาธรรมกายนี้ ท่านจึงคิดลำดับที่ 15 ภาคผู้เลี้ยงขึ้นมา หากแต่ ภาคผู้เลี้ยงนี้ โดยทางปฏิบัติที่แนะให้ ก็กลับเป็นเรื่องเดิม ๆ ปฏิบัติในระบบเดิมคือพยายามเพ่งภาพนิมิตขึ้นมาอีกวงจรหนึ่งเป็นดวงใสเช่นเคย แล้วก็ตั้งชื่อให้ดวงใสเหล่านั้น เช่นเดียวกับดวงใสอื่น ๆ ในลำดับก่อน ๆ คราวนี้ ตั้งชื่อให้ว่า ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ และ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ซึ่งมิใช่วิธีการคลายความเครียดให้แก่ระบบประสาท (เพราะมิใช่คุณภาพแห่งมโนธรรม ในชั้นที่ละเอียดอ่อนไปกว่าเดิม และมิได้มีวิธีอื่นใดเสริมเข้ามาอีก) กลับเพิ่มการเพ่งเข้าไปอีกขั้นตอนหนึ่ง เพราะภาพนิมิตชุดใหม่นี้ ก็เป็นเพียงชื่อเช่นเดียวกัน มิใช่ ความมีศีล ความมีสมาธิ ความมีปัญญา ความมีวิมุตติ ความมีวิมุตติญาณทัสสนะ เกิดขึ้นจริง สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพียงภาพการรวมกันของแสงสว่าง แห่งมโนธรรมภายในระดับเดิม มีลักษณะเป็นดวง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ด้วย การเพ่ง เท่านั้น

 

เป็นแต่เพียงชื่อเท่านั้นเอง

ชื่อดวงใสและชื่อรูปกายต่าง ๆ ในวิชาธรรมกายนี้ จึงเป็นแต่เพียงชื่อเท่านั้นจริง ๆ หากแต่รู้จักเลือกเอาชื่อสูง ๆ ที่มีความหมายบริสุทธิ์ผุดผ่องทางปฏิเวธธรรมสูงสุดในพระพุทธศาสนาไปตั้งให้กับสิ่งใดก็ตามที่หาได้มีคุณสมบัติตรงตามชื่อไม่ หากจะอุปมาก็จะเหมือนกับตำรวจจับโจรได้คนหนึ่ง แล้วทำคดีส่งอัยการ ๆ พิจารณาแล้วเห็นสมควรก็ส่งฟ้องศาล ๆ ตัดสินประหารเสียเพราะมีความผิดอันหนักจริงตามหลักฐานการกระทำ แม้ว่าโจรคนนั้นจะมีชื่อว่า นายศีลพิสุทธิ์ นามสกุล วิมุตินันทะ ซึ่งมีความหมายว่า บุคคลผู้มีศีลบริสุทธิ์สะอาด ผู้โปรดปรานความหลุดพ้น ก็ตาม อุปมาไปอีกตัวอย่างหนึ่งก็เสมือนเรามีกิจการเลี้ยงสุนัขขาย เราก็ตั้งชื่อมันว่า เจ้าปฐมมรรค บ้าง เจ้าทุติยมรรค บ้าง เจ้าตติยมรรคบ้าง เจ้าจตุตถมรรคบ้าง เจ้าวิมุตติ บ้าง เจ้าวิมุตติญาณทัสสนะบ้าง ซึ่งพวกมันก็ได้เพียงชื่อดี ๆ ที่มีความหมายสูงเยี่ยม เพราะโดยความเป็นจริงพวกมันก็คงเป็นเพียงหมา เท่านั้นเอง ลำดับที่ 15 ภาคผู้เลี้ยงนี้ จึงแทนที่จะไปผ่อนความเครียด กลับเพิ่มความเครียด จึงน่าจะมาสู่การเครียดสูงสุดของระบบประสาทที่ใช้งานไปในการเพ่งเพื่อสร้างภาพชุด วงจรสุดท้าย ของวิชาธรรมกายนี้

 

ถาม อาจเป็นไปได้ไหม ที่เรื่องราวทั้งหมดเกี่ยวกับ วิชาธรรมกาย นี้ถูกจำลองขึ้น จากระบบประสาทที่ไม่สมบูรณ์โดยปกติเสียแล้ว หากแต่มิได้มีผู้ใดสังเกตเห็น ?

ตอบ คำตอบคือ น่าเป็นไปได้มากทีเดียว เมื่อมีเสียงเล่ากันในสมัยนั้นตามที่พระทิพย์ปริญญา(ธูป กลัมพะสุต ป.ธ.6) บันทึกถึงแม่ชีคนหนึ่ง กล่าวถึงวิชาธรรมกายเป็นเชิงเสียดสีว่า
 
“วิปัสสนาเขาต้องเรียนเห็นนรก เห็นสวรรค์ เห็นนิพพาน ทั้งต้องไปเที่ยวดูนรก สวรรค์ นิพพานได้ด้วย ข้าพเจ้างง …แม้ข้าพเจ้าจะเคยเรียนพระปริยัติธรรมจนสอบได้ชั้น ป.6 ก็นึกได้แต่ว่าไปสวรรค์นรก ก็มีเรื่องพระมาลัย และพระโมคคัลลานะเป็นต้น แต่ข้อว่าไปเที่ยวนิพพานได้นั้น ข้าพเจ้าหมดความคิด ทั้งหมดความรู้ด้วย …..หญิงคนนั้นยังท้าว่า เอาเถอะน่าวันหลังจะเอาหนังสือของหลวงพ่อวัดปากน้ำให้ดูเขาเรียนกันอย่างนั้น ส่วนตัวแกว่าได้ลองบ้างเหมือนกัน แต่ไม่ทันรู้ผลอะไร แกกลัวจะเป็นบ้าเลยเลิกเสีย” (ดู “วิธีทำให้เห็นธรรมกาย” อ้างแล้ว, หน้า 77.)

อีกกรณีหนึ่งที่ท่านทิพย์ปริญญา อ้างไว้ก็คือ มีฝรั่งอังกฤษ 2 คน มาทดลองพิสููจน์ มาบวชเป็นสัทธิวิหาริกของท่าน หลวงพ่อสด ร่ำเรียนต่อมาระยะหนึ่ง เกิดความเข้าใจผิดกันขึ้นกับหลวงพ่อ หลวงพ่อชี้แจงอย่างไรเขาก็ไม่ฟังเสียง(ไม่บอกว่าทะเลาะกับอุปัชฌาย์ด้วยเรื่องอะไร) ภิกษุเหล่านั้นได้ลุกออกจากที่ประชุมสงฆ์ไปโดยไม่เคารพในฐานะอุปัชฌาย์ พากันออกจากวัดปากน้ำไป หลวงพ่อเสียใจเรื่องเอาพระฝรั่งไว้ไม่อยู่ จนกล่าวกันว่า ถึงกับอาพาธลง (เล่มเดิม หน้า 93-94) กรณีนี้ ฝรั่งอังกฤษ จบปริญญาทั้งสองคน เขามาแสวงหาความจริง เขาไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ และคงรู้อะไรดี ๆ ในเรื่องการปฏิบัติสมาธิ อาจจะพบว่าการสอนคุมเข้ม เพ่งจัดแบบนี้ มีผลต่อระบบประสาท ก็เลยไปเสีย กลัวจะเหมือนแม่ชีพูด

ในวัดพระธรรมกายก็มีข่าวเช่นนี้ ลองศึกษาดูกรณี “พระชิโต ฆ่าตัวตาย” ตามที่ ลงเป็นข่าวเร็ว ๆนี้ โปรดดู สยามธุรกิจ ปีที่ 4 ฉ.208.วันที่ 6-12 ธันวามคม 2541, หน้า 9.

ซึ่งประเด็นอยู่ที่ พระชิโต ท่านมองไม่เห็นธรรมกาย(หรือนิมิตกาย) ท่านก็บอกว่ามองไม่เห็น แล้วครูสอน(ธัมมชโย) ก็โกรธเอามาก ๆ ซึ่งที่จริงไม่ควรโกรธ และไม่ควรผิดหวัง เพราะไม่จำเป็นที่การปฏิบัติสู่มรรคผลนิพพาน หากเดินไปตามหลักวิปัสนากรรมฐาน ที่ถูกต้อง จะต้องเกิดนิมิตเสมอไป ผู้ไม่ผ่านปรากฎการณ์ทางนิมิตต่าง ๆ เลย ก็สามารถบรรลุพระอรหัตผลได้

 

ข้อสังเกตนิยามของนิพพาน

ลองมองประเด็น ความหมายของ นิพพาน ตามหลัก วิชาธรรมกาย โดยจะขอยกข้อความมาจากข้างต้น เพื่อพิจารณาในประเด็น นิพพาน ตามความเข้าใจของหลวงพ่อสด อีกครั้งหนึ่ง

“ประกอบธรรมที่ทำให้เป็นธรรมของพระโสดาบันเป็น ปฐมฌาน ….. ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายของพระสกิทาคามีเป็น ทุติยฌาน ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายของพระอนาคามีเป็น ตติยฌาน ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายของพระอรหัตต์เป็นจตุตถฌาน ว่าง ของปฐมฌานประกอบเป็น อากาสานัญจายตนะฌาน รู้ในว่างของทุติยฌาน เป็น วิญญาณัญจายตนะฌาน รู้ที่ละเอียดในเหตุว่างของตติยฌาน เป็นอากิญจัญญายตนะฌาน รู้ก็ใช่ไม่รู้ก็ใช่ในเหตุว่างของจตุตถฌาณ เป็น เนวสัญญานาสัญญายตนะฌาน เข้าสมาบัติทั้ง 8 นี้โดยอนุโลมปฏิโลมจนครบ 7 เที่ยว ธรรมกายก็ตกสูญเข้า นิพพานของกายมนุษย์ เดินสมาบัติในนิพพานของกายมนุษย์ครบ 7 เที่ยว กายธรรมก็ตกสูญเข้า นิพพานของกายทิพย์ เดินสมาบัติในนิพพานของกายทิพย์ ครบ 7 เที่ยว กายธรรมก็ตกสูญเข้า นิพพานของกายรูปพรหม เดินสมาบัติในนิพพานของกายรูปพรหม ครบ 7 เที่ยว กายธรรมก็ตกสูญ เข้า นิพพานของกายอรูปพรหม เดินสมาบัติในนิพพานของกายอรูปพรหม ครบ 7 เที่ยว กายธรรมก็ตกสูญ เข้า นิพพานของกายธรรม เลยทีเดียว” วิธีทำให้เห็นธรรมกาย” อ้างแล้ว หน้า 148)

จะเห็นว่า นิพพาน มีคุณสมบัติต่าง ๆ กันไป ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คือมี นิพพานของกายมนุษย์, นิพพานของกายทิพย์, นิพพานของกายรูปพรหม, นิพพานของกายอรูปพรหม และ นิพพานของกายธรรม ซึ่งเป็นเรื่องราว หรือ สิ่งใดก็ตามที่อยู่นอกคอก นอกหลักพระปริยัติธรรม(นอกพระไตรปิฏก) นอกตำรา(ตามหลักสูตรการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย) ไปทั้งสิ้น เพราะ นิพพาน ย่อมเป็นคุณสมบัติอันเดียวกัน เมื่อบุคคลบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์แล้ว แม้ว่าจะทรงอภิญญา หรือฤทธิ์เดชปาฏิหาริย์ต่างกัน แต่จะได้รสของ นิพพาน ตรงกันหมด พระอรหันต์ทั้งหลาย รวมทั้งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย จึงเสมอกันหมดด้วย นิพพาน อันหมายถึงนามธรรม (คือความสุข ความสะอาด ความสว่าง ความสงบ) ซึ่งบอกกริยาแห่งความสิ้นไปแล้วซึ่งทุกข์ ให้ปรากฎแด่คนทั้งหลาย

คำว่า “เดินสมาบัติในนิพพานของกายมนุษย์” และ อื่น ๆ นั้น ท่านมิได้มีคำอธิบาย เห็นได้ว่า เป็นเพียงการสร้างระบบความคิดชนิดหนึ่ง ที่น่าสงสัยว่าถูกกระทำให้แปรปรวนไป ด้วยระบบประสาทที่ฟั่นเฝือ

 

ลองดูจากหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่หลวงพ่อสดท่านเขียนไว้ หนังสือ ทางมรรคผลนิพพาน พ.ศ.2525 พระนิพพานนี้ เป็นสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งกินเนื้อที่ วัดขนาดความยาว ความกว้างได้ด้วยคือ

“วัดผ่าศูนย์กลางได้ราว 141 ล้าน 3 แสน 3 หมื่นโยชน์ ขอบของอายตนะนิพพาน หนาด้านละ 15 ล้าน 1 แสน 2 หมื่นโยชน์ รอบขอบทั้งสองด้าน เป็น 30 ล้าน 2 แสน 4 หมื่นโยชน์ เป็นที่ประทับเข้านิโรธสมาบัติของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย รวมถึงผู้ได้ธรรมกาย ชั่วนิจนิรันดร์” (จาก เสถียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต. “จดหมายเปิดผนึกถึงมหาเถรสมาคม”.ข่าวสด.24 ม.ค.2542,หน้า 24.)

จะเห็นว่า เข้าลักษณะสติแตก เตลิดไปไกล นอกตำรา เป็นการสะท้อนความคิดที่ฟั่นเฝือ ด้วยตัวเลข ด้วยหน่วยมาตราวัด และที่สำคัญ บอกให้รู้ว่า สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงนิมิต เห็นจาก อุคหนิมิต จึงเห็นตนเอง(ในฐานะผู้สำเร็จธรรมกาย คือสำเร็จสมาธิ) เสมอกับพระพุทธเจ้า(ซึ่งเป็นเพียงนิมิตรูปกายชนิดหนึ่งที่นึกเอาเองว่าเป็นพระพุทธเจ้า) และพระอรหันต์ทั้งหลาย(ซึ่งเป็นเพียงนิมิตรูปกายชนิดหนึ่งที่นึกเอาเองว่าเป็นพระอรหันต์สาวก) ในอายตนนิพพาน(ซึ่งเป็นนิมิตแดนกว้าง เหมือนเห็นท้องทุ่งใหญ่ในความฝัน แล้วตัวเองเพ้อว่า นี่คืออายตนนิพพาน)ได้

ซึ่งจะเห็นว่า การนึกเอาตัวเอง กายตัวเอง ไปอยู่ร่วมกับกายเหล่านั้น สามารถทำได้ แต่ไม่ควรเข้าใจผิดว่า กายเหล่านั้นคือ พระพุทธเจ้า หรือ พระอรหันต์ หากแต่เป็นภาพนิมิต ที่นึกสร้างขึ้นด้วยสมาธิ หรือจะด้วยความบังเอิญ มิได้ด้วยสมาธิ (สติตกเข้าไปในมิติชนิดหนึ่งใด โดยบังเอิญ) ก็อาจเป็นได้เช่นกัน เท่านั้นเอง เมื่อเข้าใจผิดไปว่าเป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระอรหันต์จริง ๆ เช่นนั้น นำไปโอ้อวดแด่คนทั่วไป จึงเกิดการแตกตื่น กลายเป็นมงคลตื่นข่าวอย่างมโหฬาร โดยเชื่อว่าท่านสำเร็จพระอรหันต์ และนี่เป็นผลจากการดำรงตนอย่างประมาท ไม่พยายามตรวจสอบผลการปฏิบัติกับพระปริยัติธรรมให้แน่นอนก่อนจะอวดอ้างคุณวิเศษใดใดออกไป

 

การโอ้อวดของแม่ชีอาจารย์

5. เมื่อพิจารณาจากการอวดอ้างของลูกศิษย์ เช่นแม่ชีจันทร์ ขนนกยูง ซึ่งเป็นอาจารย์ของ พระธัมมชโย อีกด้วย เราจะยกให้แม่ชีจันทร์ อย่างสูงสุดเช่นนั้นไปเลยก่อน เพื่อใช้เป็นฐานการวิเคราะห์ในคราวนี้ มองจากการอ้างที่ว่า ผลของการฝึกวิชาธรรมกาย สามารถไปสวรรค์นรกได้ ป้อนข้าวพระพุทธ ในนิพพานได้นั้น ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องเดิม มิได้อาศัยวิชาธรรมกาย หรือการฝึกมา 15 ขั้นตามที่กล่าวมาก็สามารถทำได้ เห็นได้ที่ภาคอีสาน บุคคลที่ศึกษาธรรมอยู่ในระดับ อาจารย์ธรรม หรือภาษาอีสานว่า จารย์ครูธรรม จะสามารถถอดกายไปได้เช่นนี้ มักแสดงเมื่อรักษาคนป่วย จารย์ครูธรรม จะถอดกาย ขี่ม้ามณีกาพย์ไปหาพระอินทร์บนสวรรค์ เพื่อขอยาหรือขอถามถึงโทษทัณฑ์ของผู้ป่วยแล้วขออภัยโทษนั้นจากพระอินทร์ เมื่อพบพระอินทร์ท่านให้อภัยโทษแล้ว คนป่วยก็หายป่วยได้ แต่จารย์ครูธรรมเหล่านี้ ไม่เคยโอ้อวดเลยว่าการปฏิบัติสมาธิและกรรมฐานของพวกเขาบรรลุมรรคผลนิพพาน เขารู้ตัวของเขาดีว่า ขั้นนี้ยังไม่ถึงนิพพาน ยังไม่สามารถออกจากกามได้ มิได้เป็นมิจฉาทิฏฐิไป กลับพยายามแสวงหาครูอาจารย์ผู้รู้จริงในทางมรรคผลนิพพานต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง

นอกจากนี้กรณี แม่ชีจันทร์ ขนนกยูง ที่บัดนี้ พอเชื่อได้ เพราะ ทัตตชีโว พูดเต็มปากเต็มคำว่า เป็นอาจารย์ของธัมมชโยภิกขุ (ดู “ยกแม่ชีจันทร์ ถอดกายท่องนรก-สวรรค์ เผยจบธรรมกายชั้นสูงสุด ทัตตชีโว ชี้นำผลบุญมาให้”.มติชน:29 ธ.ค.41,หน้า 1-23. และ “ธรรมงง..งง ชีวิตพิศวง แม่ชีจันทร์ ขนนกยูง”. มติชนสุดสัปดาห์ : ฉ.958 ประจำวันอังคารที่ 29 ธ.ค.41 หน้า 16.) และแม่ชีจันทร์นี้เก่งวิชาธรรมกาย เป็นสุดยอดของลูกศิษย์เอกของหลวงพ่อวัดปากน้ำ (ซึ่งมีลูกศิษย์คือธมฺมชโย ตั้งแต่เป็นฆราวาสหนุ่มน้อยมาเรียนวิชานี้ด้วย) ความสามารถของแม่ชีจันทร์ เช่นที่ว่านั้น อันเราจะยกให้สูงไว้ตามนั้นก่อน ตรงหลักสมาธิธรรม ว่าด้วย ปฏิภาคนิมิต (เข้าอัปนาสมาธิได้) ทำภาพให้เคลื่อนไหวได้ นับว่าเก่งไปกว่าหลวงพ่อสดอีก เพราะหลวงพ่อสดทำได้เพียงระดับ อุคคหนิมิต ทำภาพนิ่งที่ย่อหรือขยายใหญ่ได้เท่านั้น ยังไม่มีชีวิตจิตใจเคลื่อนไหวไม่ได้ แต่ความสามารถในระดับปฏิภาคนิมิตนี้ ในความเป็นจริง สตรีนักปฏิบัติธรรมซึ่งมิได้ฝึกมาอย่างวิชาธรรมกายเลย ระดับนี้มีมากมายในภาคอีสาน ปัจจุบันมีสตรีที่สามารถถอดกายทิพย์ไปสวรรค์ได้เช่นนี้ อีสานมักไปโดยเถาวัลย์คู่หนึ่ง เรียกว่า เครือกอบแกบ ไต่ขึ้นไปตามเถาวัลย์คู่นั้น ก็จะบรรลุ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ที่ประดิษฐานพระเกศแก้วจุฬามณี ก็เทียวไปไหว้ ไปกราบเจดีย์บ้าง พระพุทธรูปงาม ๆ องค์ใหญ่ ๆบ้าง ผู้ที่เก่งไปกว่านั้นก็มี โดยไม่ไต่ไปทางเครือกอบแกบที่ว่านี้ แต่ นั่งดอกบัวลอยไปสวรรค์ ได้ดั่งใจปรารถนาสามารถถวายข้าวพุทธองค์ได้เหมือนกัน ต่างจากแม่ชีจันทร์ ขนนกยูง ก็ตรงที่ เขารู้ตัวเขาว่า ปาฏิหาริย์เหล่านี้ มิได้หมายถึงมรรคผล ยังไปไม่ถึงมรรคผลนิพพาน เพราะรู้ว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงนิมิตที่ถูกสร้างขึ้นด้วยการรวมพลังแห่งสมาธิ ยังมิใช่เส้นทางที่ถูก มิใช่ร่องรอยมรรคผลของพระพุทธเจ้าที่แท้จริง มิได้มีมิจฉาทิฏฐิเกิดขึ้นว่า ตัวเราถึงพระอรหัตแล้ว และแสวงหานักปราชญ์ครูบาอาจารย์ผู้รู้จริงต่อไปอยู่

ในต่างประเทศ เช่นญี่ปุ่น เห็นได้จากสารคดีประวัติศาสนา พุทธอยู่ร่วมกับเชนได้อย่างไร ทางจอแก้วนี่เอง เขาพาชมพระพุทธรูปสำคัญ ๆ ที่ซ่อนปริศนาหรือความหมายทางปฏิบัติสมาธิชั้นสูงเช่นเดียวกับฝ่ายเรานี้ เห็นรูปปั้นพระสาวกรูปหนึ่ง ที่ประชามหาชนญี่ปุ่นเคารพบูชาอย่างสูง เป็นพระยืน มีแขนขวาเหยียดออกไป มีพระสงฆ์ออกมาจากปาก ไต่ไปตามแขนนั้น ตาม ๆ กันหลายองค์ ความหมายที่ซ่อนอยู่ก็คือ การถอดจิตของพระรูปนั้นออกจากร่างทางปาก ไต่มาตามแขน ก่อนแล้วค่อยออกไปสู่อากาศกว้าง คล้าย ๆ กับวิชาของแม่ชีไทยนี่เอง ซึ่งจัดว่าอยู่ในระดับ อัปนาสมาธิ ที่สามารถทำ ปฏิภาคนิมิต อันเป็นภาพที่เคลื่อนไหวได้อย่างมีชีวิตชีวาจริง หากแต่ต้องเข้าใจว่า เป็นระดับชั้นวิชาสมาธิ ระดับอัปนาสมาธิเช่นเดียวกันก็จริง แต่ต่างรูปแบบ ต่างสาขาวัฒนธรรม ต่างในความชำนาญการเฉพาะ ผลที่ได้จึงปรากฎออกมาแตกต่างกันไปเป็นธรรมดา

ในไทยเรายังมีเรื่องพิสดารกว่าแม่ชีจันทร์ ที่น่าจะเป็นรูปธรรมที่พิศูจน์ได้เป็นวิทยาศาสตร์กว่า เห็นได้จากหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อว่า “โทรจิต” เขียนโดยสตรีที่ชื่อว่า “สุมาลี” หนังสือเล่มบาง ๆ มีเพียง 16 หน้า วางขายที่ร้านหนังสือบริเวณวังบูรพา กรุงเทพมหานคร ในเดือน ก.ย. 2530 ราคาถึง 99 บาท (กระดาษ 8 แผ่น 16 หน้ายก จัดทำอย่างดาด ๆ ขายถึง 99 บาท ก็ต้องนับว่าแพงมาก) แต่ผู้ที่มีภูมิธรรมปัญญาเข้าใจในเรื่องนี้จะเห็นทันทีว่า เป็นหนังสือที่ขายความลับในทางปฏิบัติของเรื่องราว โทรจิต ตามแนวปฏิบัติในแบบแผนโบราณของไทยในลักษณะไสยศาสตร์ โดยนำเอาพิธีกรรมและคาถาอาคมมาใช้ประกอบด้วย (คาถาหลักที่สุมาลีเสนอก็คือ คาถา มนต์พระเพทยาธร) โดยที่เจ้าตัวผู้เขียน(สุมาลี) ไม่เข้าใจว่า แท้จริงเป็นหลักวิทยาศาสตร์ทางจิต ซึ่งสามารถปฏิบัติได้จริงโดยเท็คนิกแบบวิทยาศาสตร์ทางจิต ที่มีองค์ประกอบหลายอย่างที่ประสานกลมกลืนกัน มากกว่าวิชาธรรมกาย ที่วงจรทั้งสิ้นถูกสร้างขึ้นด้วยนิมิต ชนิดหรือแบบเดียวกันทั้งหมด การฝึกสมาธิ เมื่อปฏิบัติในวิธีการอีกวิธีการหนึ่งที่ ต่างออกไป ก็จะทำให้ได้ความสามารถทางจิตไปอีกลักษณะที่ต่างออกไปอีก และในลักษณะที่ว่า คือ การถอดกายออกไปเที่ยวนรกสวรรค์ สามารถทำได้จากหลักปฏิบัติหลายอย่างต่างกัน แต่กระนั้นก็หาใช่มรรคผลนิพพานไม่ และผู้สัมมาทิฏฐิในพระพุทธศาสนาก็จักเข้าใจว่า นี่ยังมิใช่อริยมรรคหรืออริยผล แต่อย่างใด ทั้งนี้ก็เพราะรู้ที่มาที่ไปของนิมิตเหล่านั้นว่านิมิตเหล่านั้น เป็นผลมาจากสมาธิทั้งสิ้น ซึ่งมิใช่ผลของปัญญาแต่อย่างใด ผู้ปฏิบัติเหล่านั้นเองจะรู้ตัวอยู่ ว่ายังเอาชนะกิเลส ราคะ ตัณหา อุปาทาน ไม่ได้ ส่วนผู้รู้น้อย โดยไม่เข้าใจขั้นตอนอันสมบูรณ์ของสมาธิธรรม ก็ย่อมมีมิจฉาทิฐิเกิดขึ้นได้ โดยอาจเข้าใจว่าตนบรรลุพระอรหัต แล้วไปหลอกลวงคนทั้งหลาย กลายเป็นมหาโจรในศาสนาไปอย่างไม่ตั้งใจ

ลองดูจากหนังสือของ “แสง อรุณกุศล” เรื่อง “ประสบการณ์จากสมาธิ-วิญญาณ ตามแนวคำสอนสมเด็จโต สมาธิ ทางสงบ ถอดจิต” เล่ม 1. (ไม่บอกปี และ สถานที่พิมพ์ : มีคำนิยมของสมเด็จพระสังฆราชวาสนมหาเถร และ เจ้าคณะจังหวัดนนทบุรี) พูดถึงเรื่องต่าง ๆ ทางวิญญาณ แล้วมาพูดถึงเรื่องการถอดจิต ดังปรากฎข้อความสำคัญว่า

“การถอดจิตด้วยการปรับจิต จากดวงแก้วเป็นรูปกายทิพย์ การถอดจิตวิธีนี้ เป็นการตั้งนิมิตวงกลมฝึกจนเพ่งให้สว่าง และสามารถหดหรือขยายได้ดั่งใจปรารถนาแล้วก็ค่อย ๆ บีบรัดดวงแก้วปั้นเป็นรูปคนเราขึ้นมา เมื่อถอดจิตด้วยวิธีนี้ได้แล้ว เป็นการเอาจิตไปตั้งไว้นอกกายเหมือนเราเข้าไปดูภาพยนต์ และกายเนื้อเรายังมีความรู้สึก ระลึกรู้อยู่พร้อมสมบูรณ์ สิ่งที่เราไปพบเห็น เหมือนกับเราเอาจอภาพยนตร์นั้นมาติดตั้งอยู่หน้าเรา และเห็นตัวเราอยู่ในจอเล่นไปตามบทที่เราต้องการ” (หน้า 348)

ซึ่งจะเห็นว่า สมาธิ แนวทางสมเด็จโต(สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี เจ้าของตำนานอภินิหาริย์พระสมเด็จ พระเครื่องที่เลื่องชื่อของเมืองไทยเรานั่นเอง)

 บ่งบอกว่า สามารถทำพิสดารดวงแก้วอย่างที่เป็นความเก่งความสามารถของวิชาธรรมกายทำ ไปได้อีกระดับหนึ่ง ด้วยความสามารถทางอัปนาสมาธิ คือทำภาพเคลื่อนไหวได้ โดยจะเห็นว่า ขั้นตอนเริ่มขึ้นเหมือนกัน คือ เพ่งสร้างนิมิตวงกลม ดวงกลม(จะเพ่งให้เกิดภาพอะไรก็ได้ ถ้าเก่ง) ขึ้นก่อน แล้วหดหรือขยายออกไปให้เล็กใหญ่ได้ตามใจปรารถนา สามารถแปรรูปเคลื่อนไหวไปมาอย่างสิ่งที่มีชีวิตได้

 

สมาธิระดับอัปนาสมาธิ

มาถึงตรงนี้ วิชาธรรมกาย (ตามหนังสือที่อ้างข้างต้น) ทำต่อไปไม่ได้ เพราะเข้าอัปนาสมาธิไม่ได้ ผลที่พัฒนาไปกว่านี้จึงเกิดขึ้นไม่ได้ จึงทำได้เพียงอาศัยพื้นความสามารถเดิมคือ อุปจารสมาธิ เมื่อพัฒนาขึ้นบนตามแนวตั้งไปไม่ได้แล้ว ประกอบด้วยอุปนิสัยมักคำป้อยอสรรเสริญ ชอบโอ้อวด ก็ขยายการพัฒนาไปทางแนวนอน โดยอาศัยความสามารถอันเดิม ก็จึงมีการสร้างนิมิตเพิ่มขึ้นมา ในแนวนอนอีกเป็น 2 วงจรเป็นวงจรดวงใส กับวงจรกายใส แล้วในแต่ละวงจรก็เอามาซ้อนทับกันไปมาบ้าง ซ้อนนอกซ้อนในกันไปมาบ้าง ต่างวงจรก็เอามาไขว้กันบ้าง ไปต่าง ๆ ซึ่งท่านผู้อ่านจะเห็นว่า ล้วนเป็นภาพนิ่งทั้งสิ้น ส่วนของสมเด็จโต ใช้ความนิ่งสงัดสงบแห่งดวงจิต ระดับอัปนาสมาธิ (ซึ่งเป็นระดับที่มีการเชื่อมต่อระหว่างสมาธิและปัญญา โดยมีการซ้อนทับกันอยู่ส่วนหนึ่ง คือปัญญาซ้อนทับเข้ามาในสมาธิ ในส่วนล่าง และสมาธิซ้อนทับเข้าไปในปัญญา ในส่วนบน กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือสภาวะที่ สมาธิยกขึ้นซ้อนฌาน ฌานลดลงซ้อนสมาธิ : เพราะต้องมีมาตรการคลายเครียดเข้ามาช่วย ไม่งั้นจักมีผลทางระบบประสาท) แล้ว “บีบรัดดวงแก้วให้เป็นรูปคนเราขึ้นมา” (มีกายใสผ่อง ทำกริยาเคลื่อนไหว หรือพูดจาได้เหมือนคนมีชีวิตจริง:ผู้วิเคราะห์) ท่านไม่ได้บอกว่าถอดกายนี้ออกไปอย่างไร โดยทางไหนของร่างกาย แต่น่าจะเข้าใจได้ว่า สำหรับท่านผู้ชำนาญแล้ว จะถอดกายนี้ออกไปอย่างไรก็ได้ จะเข้าหรือจะออกทางไหนก็ได้โดยง่าย เช่นจะออกทางปาก ไต่ไปตามแขน โดยกระแสแห่งแสงสีนั้นยังรวมไม่สนิท ทำให้เกิดภาพหลายภาพไต่ตามกันออกมาตามแขนก่อน เช่นที่พระญี่ปุ่นทำ ดังอ้างมาแล้ว ก็ได้ แต่ที่น่าสังเกตและขอให้ท่านสังเกตก็คือ นี่แหละน่าจะเป็นต้นแบบของวิชาธรรมกายนั่นเทียวและเป็นการแน่นอนเหลือเกินว่าอยู่ในระดับที่เหนือกว่าวิชาธรรมกายหลายขั้น เพราะเป็นความสามารถอยู่ในระดับอัปนาสมาธิ ที่สามารถสร้างภาพเคลื่อนไหวอย่างดีและแจ่มแจ้งได้โดยตลอด ดุจดังมีชีวิตจริง ซึ่งกรณีการถอดจิตนี้ เมื่อออกจากร่างสู่นภากาศภายนอกได้แล้วก็กลายเป็นความเพลิดเพลินสนุกสนานสุดยอด แต่ท่านเหล่านี้ก็ไม่เคยอวดตัวโดยหลงว่าการบรรลุวิชาของท่านคือการสำเร็จมรรคผล หรือแสร้งเลียบเคียงตัวเองกับมรรคผล หรือแสดงตัวออกมาแบบอิงหลักการโฆษณาชวนเชื่อ โดยหวังลาภ และหวังความสรรเสริญ เช่นที่วัดต้นตำหรับวิชาธรรมกาย ทำ อันเป็นเหตุให้คนเข้าใจผิดไปอย่างใหญ่หลวงมาจนกระทั่งบัดนี้

สิ่งที่ควรสังเกต ณ บัดนี้ก็คือ เมื่อบุคคลใดสามารถทำปฏิภาคนิมิต ภาพเคลื่อนไหว ให้เกิดขึ้นได้แล้ว ก็จะไม่ใยดีสนใจอุคคหนิมิต ภาพนิ่งต่อไปอีก อุปมาเหมือนบุคคลได้พบได้ชมภาพยนต์แสงสีอันสมบูรณ์ทั้งภาพและเสียงแล้ว ก็ย่อมเมินไม่มองคุณค่าของภาพยนต์ขาวดำ ที่ให้เพียงภาพนิ่งอย่างแต่ก่อนต่อไปอีกฉะนั้น ซึ่งสาเหตุก็เพราะความสุขสนุกสนานจากการเล่นภาพเคลื่อนไหวนั้นมีมากมายหลายหลากกว่านั่นเอง ยิ่งกว่านั้นก็ใช่ว่าจะสามารถทำได้เพียงรูปแบบเดียว หากชำนาญ เก่ง ก็สามารถทำได้หลายรูปแบบ ทำซับซ้อนเปลี่ยนแปรไปอย่างใดก็ได้ เหมือนเช่นธรรมกายทำซ้อนสับทับทวีกายนิ่งได้นั่นแหละ หากแต่ต่างระดับต่างศักดิ์ศรีกันมาก หากเก่งพร้อมไปอีก นิมิต นั้น นอกจากเคลื่อนไหวได้แล้ว ยังอาจพูดจา หรือสนทนาโต้ตอบกันกับเราอย่างเป็นเรื่องเป็นราว เหมือนกับคน ๆ หนึ่ง แต่นี่คือ ปฏิภาคนิมิต ระดับสมบูรณ์ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ อุคหนิมิต แล้ว ต่างกันมาก อุปมาเหมือนดินกับทองคำนั่นเทียว

และสามารถคาดคะเนไปโดยทางตรรกวิธีต่อไปได้อีกว่า เมื่อบุคคลได้ผลสำเร็จสมบูรณ์ทางปัญญา ในระดับปัญญาสิกขาแล้ว ก็ย่อมเมิน ไม่มองอิทธิปาฏิหาริย์ ในระดับสมาธิอีกต่อไป นี่เป็นเหตุผลธรรมดา ๆ แต่เข้าใจยาก เพราะระดับปัญญาสิกขานั้น เป็นระดับที่สิ้นกิเลส ความสุขจากความสิ้นกิเลส สิ้นทุกข์ ตามพระบาลีว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ (นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง)นั้น เป็นอย่างไร จึงยากที่จะอธิบายเป็นรูปธรรมได้

ข้อสำคัญ เรื่องสำคัญ สมาธิ นี้มีทั้งคุณและโทษอยู่ในตัวเองอย่างสูง เมื่อสามารถทำอุคหนิมิตหรือปฏิภาคนิมิตได้แล้ว ทางฝ่ายโทษ จะหมายถึงย่านอันตรายอย่างสูง นักไสยศาสตร์จะใช้ได้ทั้งทำดีและทำชั่วผิดศีลธรรมไปต่าง ๆ และจะไม่มีผู้ใดยอมเปิดเผยว่าทำอะไรบ้าง แต่พวกเดียวกันรู้ทันกัน นักบวชท่านมักจะให้เพียงรู้จักไว้ อย่าให้ความสำคัญ แล้วรีบผ่าน ๆ ไปเสีย หรือไม่ก็ ด้วยการไม่ยึดมั่นถือมั่นในนิมิตนั้น จนกว่าจะเข้าสู่ภูมิปัญญาสิกขาได้ เพราะกิจของนักบวชคือ การก้าวสู่มรรคผลนิพพาน และย่อมเข้าใจว่าสมาธินี้เสื่อมทรามลงภายหลังได้ หากไม่ตั้งอยู่ในศีล และธรรมอันดี เพราะศีลเป็นฐานของสมาธิเสมอเป็นสัจธรรม ฉะนั้น ท่านจึงไม่ตั้งใจสั่งสอนเรื่องนิมิตต่าง ๆ อย่างให้ความสำคัญ เอาเป็นเอาตาย เหมือนหลวงพ่อสด ท่านทั้งหลายจะบอกแต่ว่า นั่นเป็นขั้นตอนหนึ่ง มาถึงแล้วอย่าหยุด จะเป็นอันตรายต่อพรหมจรรย์ พบแล้ว ให้รีบผ่านไปเสีย ทางข้างหน้ายังยาวไกล ท่านจะบอกจะสอนลูกศิษย์ อย่างนี้

 

 

หมู่สงฆ์เถรมหาเถรไม่ยอมรับวิชาธรรมกายมาแต่อดีต

7. กรณีหลวงพ่อสด (สด จนฺทสโร) หรือท่านเจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี ผู้ “ได้ค้นพบวิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า” มีข้อเท็จจริงที่ควรทราบก็คือ แท้จริงได้มีผู้รู้ได้ชี้แจงต่อต้านมาตั้งแต่ต้นที่หลวงพ่อสด เริ่มเผยแผ่วิชาชนิดนี้ตั้งแต่คราวนั้นแล้ว ดังมีข้อความว่า

“การปฏิบัติธรรมของหลวงพ่อวัดปากน้ำแพร่หลายไปในหมู่คนทุกชั้น มีทั้งติทั้งชม เป็นแนวทางสอนที่แตกหัก ทั้งน่าเคารพและน่ากลัว ท่านผู้รู้วิจารณ์ในแง่ต่าง ๆ บางท่านก็สนเทห์ว่า ธรรมกายของหลวงพ่อวัดปากน้ำมีผู้ปฏิบัติถึงกันมาก จะเป็นแผนการลวงประชาชนของผู้มีความปรารถนาอันลามก ถึงมีการประชุมลับกันในพระเถระผู้ใหญ่ และผู้เชี่ยวชาญในพระกรรมฐาน ส่วนมากลงความเห็นหนักไปในการละเมิดพระวินัย เข้าขั้นอวดอุตตริมนุสสธรรม ยกโทษสูงถึงเพียงนั้น” วิธีทำให้เห็นธรรมกาย”.เล่มเดิม: อ้างแล้ว, หน้า 105.)

โดยที่พระเถระ พระวิปัสนาจารย์สมัยนั้น ท่านพิจารณาด้วยสงสัยว่า การบรรลุนิพพาน โดยปกติ เป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง คนเข้าถึงยากนักยากหนา แต่เมื่อหลวงพ่อสดนำวิชาธรรมกายมาสอนที่วัดปากน้ำ กลับปรากฎว่าคนเข้าถึงนิพพานได้มากมาย จนดูดั่งว่าสำเร็จมรรคผลไปตาม ๆ กัน ท่านจึงสงสัย ตามคำกล่าวว่า

“ธรรมกายของหลวงพ่อวัดปากน้ำมีผู้ปฏิบัติถึงกันมาก จะเป็นแผนการลวงประชาชนของผู้มีความปรารถนาอันลามก” และ “ถึงมีการประชุมลับกันในพระเถระผู้ใหญ่ และผู้เชี่ยวชาญในพระกรรมฐาน ส่วนมากลงความเห็นหนักไปในการละเมิดพระวินัย เข้าขั้นอวดอุตตริมนุสสธรรม” แต่กระนั้น ท่านเหล่านั้นก็ไม่สามารถจัดการให้เรื่องยุติลงตามปรารถนาได้

และยังคงไม่เป็นที่ยอมรับในหมู่นักปราชญ์ราชบัณฑิต และพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ ทั้งฝ่ายปกครองเองหรือแม้ฝ่ายวิปัสนาธุระ โดยตลอดมาจนถึงทุกวันนี้ และในขณะนี้ ประเด็นวิชาธรรมกายก็ถูกกล่าวโจมตีว่า สอนผิดหลักพระพุทธศาสนา เป็นเพียงลัทธิหนึ่งเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ท่านเจ้าคุณนักปราชญ์แห่งสงฆ์ไทย พระธรรมปิฏก และ ท่านราชบัณฑิตเสฐียรพงษ์ วรรณปก ชี้ว่า หลักที่สอนว่านิพพานและพระอริยบุคคลทั้งหลายเป็น อัตตา มีที่อยู่ ณ อายตนนิพพาน ของวัดปากน้ำนั้น เป็นคำสอนที่ ไม่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา ที่สอนว่า สรรพสิ่งทั้งหลายเป็น อนัตตา (สพฺเพธมฺมาอนตฺตาติ) ที่พระสงฆ์ทั่วประเทศสวดกันทุกเช้าทุกค่ำ ซึ่งผู้เคยบวชเป็น ฑิตย์…มาแล้วทุกคน ล้วนได้เคยสวดมนต์ทำวัตรเช้าวัตรเย็นบทนี้มาแล้ว ขอฑิตย์ ๆ ทั้งหลายลองทบทวนดู และ เมื่อเร็ว ๆ นี้ หนังสือพิมพ์สยามรัฐก็ได้เปิดเผยความลับชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง จากบันทึกของพระอาจารย์วิปัสนาวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ โดยมีหัวข้อว่า “เมื่อหลวงพ่อสดกลับใจเรื่องวิชชาธรรมกาย” ซึ่งหมายความว่าท่านเองได้ยอมรับภายหลัง 40 ปีต่อมาจากการประกาศวิชาธรรมกายว่าท่านผิดพลาดไปแล้วโดยพระทิพย์ปริญญา(ที่อ้างแล้ว) เป็นผู้ประสานงานติดต่อให้ท่านได้รับการศึกษาขั้นวิปัสนา จากอาจารย์วัดมหาธาตุ น.ส.พ.สยามรัฐฉบับดังกล่าวระบุข้อความว่า

“จากบันทึกคำถาม-คำตอบเรื่องวิปัสสนากรรมฐาน โดยพระเทพสิทธิมุนี(โชดก ญาณสิทธิ) ป.ธ.9 ….เป็นการยืนยันอย่างชัดเจนว่าในช่วงบั้นปลายของหลวงพ่อสด ท่านได้เข้าสู่แนวทางใหม่ในการปฏิบัติกรรมฐาน เลิกใช้วิธีเพ่งลูกแก้ว หลังจากที่หลงยึดติดมาเป็นเวลานานถึงกว่า 40 ปี” โดยท่านเองได้มายอมรับกรรมฐานจากพระอาจารย์วิปัสนา วัดมหาธาตุ คือเจ้าพระคุณพระเทพสิทธิมุนี(โชดก ญาณสิทธิ) ป.ธ.9 สมณศักดิ์ในขณะนั้น (โปรดดู “วัน…หลวงพ่อสดเลิกยึดติดลูกแก้ว”. น.ส.พ.สยามรัฐ: 14 ธ.ค.41,หน้า 1-2.) และอีกข้อความหนึ่งที่สำคัญว่า

“วันนี้ท่านบอกว่าธรรมกายที่ได้ไว้แล้ว มาบ่อย ๆ เรียนท่านว่า ดีแล้วหลวงพ่อหาได้ยาก แต่ให้หลวงพ่อกำหนด ภาวนาว่า “เห็นหนอ เห็นหนอ” ธรรมกายนั้นดับวูบลงไปเลย ท่านอุทานออกมาว่า “เราเป็นขี้ข้าคนมาหลายสิบปีแล้ว ไม่เท่าไรก็จะตายแล้ว”     ดังนี้

ตรงที่ดับวูบลงไปนี้ เข้าเขตวิปัสสนาญาณเป็นอุทยัพพยญาณคือญาณที่ 4 เห็นรูปนามเกิดดับชัด 50 เปอร์เซ็นต์แล้ว ถ้าใครปฏิบัติถึงตรงนี้ พระพุทธองค์ตรัสไว้ในพระไตรปิฏกเล่มที่ 25 ว่า ดีมาก ดังพระบาลีว่า

โย จ วสฺสสตํ ชีเว อปสฺสํ อุทยพฺพยํ   เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย ปสฺสโต อุทยพฺพยํ

ผู้ใดเห็นความเกิดดับของรูปนามอย่างนี้ มีชีวิตอยู่ได้เพียงวันเดียวแล้วตายเสีย ดีกว่าบุคคลผู้ไม่เห็นความเกิดของรูปนาม แต่มีอายุอยู่ได้นานถึง 100 ปี ดังนี้ฯ”

“ครั้นท่านได้ปฏิบัติครบบทเรียน ครบหลักสูตรแล้วใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ทางสำนักก็จัดให้มีการฟังเทศน์ลำดับญาณภายในพระอุโบสถวัดมหาธาตุนั่นเอง พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณรและญาติโยม ทายกทายิกาทั้งหลายประมาณ 200 คนเศษ เทศน์จบก็ได้ถวายวิชาครูท่านไป 1 ชุด เป็นอันว่าท่านมีความรู้ ความสามารถทั้งในด้านสมถะและด้านวิปัสสนา เป็นพระเถระที่ไม่ถือทิฐิมานะสมเป็นนักปฏิบัติธรรมแท้ ควรแก่การเคารพบูชาเป็นอย่างยิ่ง” สยามรัฐ เล่มที่อ้างแล้ว, หน้า 2.

การที่หลวงพ่อสดมารับผิดภายหลัง 40 ปีผ่านไปแล้วนั้น น่าเชื่อถือ เพราะกาลเวลานั้น ได้ช่วยพิสููจน์ท่านเอง ว่าในที่สุดแล้วเป็นจริงอย่างไร หากเป็นพระธรรมแท้ มรรคผลจริง จักคงทนต่อกาลเวลา เพราะกิเลสได้ขาดไปอย่างไรก็อย่างนั้นไปตลอดกาล ส่วนของไม่แท้นั้น ในที่สุด ราคตัณหา ก็กลับมา เมื่อนั้นจึงจะรู้ตัวเองว่า ของเรานั้นไม่ใช่ของแท้ ซึ่ง การที่มีหลักฐานชิ้นนี้ปรากฎออกมา ทำให้ได้ข้อยุติแน่นอนว่า หลวงพ่อสด มิได้บรรลุพระอรหัตแต่ประการใด ท่านเองหลงเข้าใจผิดไปแต่แรก โดยเขลาไปด้วย นิมิต ธรรมกาย เหล่านั้น

อย่างไรก็ดี ข้ออ้างข้างต้นเป็นแต่เพียงคำบอกว่าหลวงพ่อสดได้ไปเรียนวิปัสสนาตามแบบของวัดมหาธาตุแล้วได้ผลสำเร็จอย่างนั้น ๆ เท่านั้น ไม่ใช่สิ่งบอกชัดเจนว่า ท่านได้บรรลุธรรมไปจริง ๆ หรือไม่ เพราะหากบรรลุธรรมจริง ๆ ก็น่าจะได้มีหลักฐานออกมาว่า ท่านได้เลิกสอนวิชาธรรมกาย หรือท่านได้ประกาศวิชาธรรมกาย ว่าไม่ใช่ทางที่ถูกต้อง ความเข้าใจเดิมของท่านผิดไป ขอลูกศิษย์ลูกหาจงอย่าเดินทางวิชาธรรมกายนี้ เพราะวิชาธรรมกาย เป็นเพียงขั้นตอนของสมาธิสิกขาที่ยังไม่สมบูรณ์ และยังด้วนไปจากส่วน ปัญญาสิกขา อันกว้างใหญ่มหาศาล เท่านั้นเอง ไม่พึงมีมิจฉาทิฐิว่าเป็นยอดสูงสุดของพระพุทธธรรมแล้ว ธรรมกาย มิใช่เป็นมรรคผลนิพพาน คือพระอรหัตผลอันสูงสุดแล้ว เพราะธรรมดาผู้รู้ ย่อมไม่ป้องกันความผิด คนผิด สิ่งผิด การศึกษาผิด ท่านจะต้องรีบประกาศยกเลิกสิ่งที่ผิดในทันที เพื่อชำระให้เกิดความผ่องแผ้วในพระสัทธรรม โดยพลันทันที แต่ดูท่าว่า ท่านยังคงยึดมั่นอยู่กับทิฐิอันเดิมคือวิชาธรรมกายอยู่ต่อมา จนเป็นเหตุให้วิชานี้ขยายวงกว้างขวางออกไป ๆอยู่

ส่วนที่สนับสนุนข้อเท็จจริงที่ว่า คณะสงฆ์เองก็หาได้ยอมรับไม่ว่าวิชาธรรมกาย เป็นคำสอนที่ถูกต้องตรงตามหลักพระพุทธศาสนา ก็เพราะมีหมู่ผู้รู้นักปราชญ์ออกมาตอบโต้แย้งมาโดยตลอด ตั้งแต่ต้นมาจนถึงปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2517 ก็ได้มีพระสงฆ์นักวิชาการ ได้พยายามค้นคว้าวิจัยและทำเป็นหนังสืออกมา โดยมีเจตนาว่าเพื่อโต้แย้ง วิชาธรรมกายนี้ โปรดดูหนังสือ วิมุตติรัตนมาลี เรียบเรียงโดยท่านเจ้าคุณ พระศรีวิสุทธิโสภณ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด จัดพิมพ์ ขึ้น ในปี พ.ศ. 2517 ซึ่งเป็นหนังสือชนะการประกวด ได้รับรางวัลชั้นที่ 1 ในสาขาวรรณกรรมประเภทร้อยแก้ว ของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (รางวัลชนะการประกวดชั้นที่ 1 เงิน 1 แสนบาท) ซึ่งสรุปความว่า นิมิตประเภทออกแสงต่าง ๆ รวมไปถึงนิมิตทั้งปวงที่เป็นผลจากการปฏิบัติธรรมนั้น ล้วนแต่เป็นกิเลสอยู่ ในขั้นวิปัสสนากรรมฐาน ก็ยังมีกิเลสชนิดนี้มาหลอกลวงให้หลงผิดได้อยู่เสมอ แต่แท้จริงท่านเรียกว่า วิปัสสนูปกิเลส เหตุฉะนั้น ผู้ประพฤติสมาธิ หรือจำเริญวิปัสนากรรมฐานใดใดอยู่จึงต้องระวัง เพราะ อาจเข้าใจผิดว่า แสงสว่าง วงใส หรือดวงใส ๆ กายใส ๆ ที่ปรากฎจากการทำสมาธิ หรือขณะประพฤติกรรมฐานใดใดอยู่ เป็นมรรคผลนิพพาน อาจทำให้เข้าใจผิดไปว่าตนบรรลุพระอรหัตผลได้ และจักเสียโอกาสไปรู้แจ้งสิ่งที่ล้ำเลิศประเสริฐในภาค ปัญญาสิกขา อันกว้างใหญ่ไพศาลละเอียดอ่อนสูงสุดได้อย่างน่าเสียดาย

 

วิถีทางที่เอื้อแด่ไสยศาสตร์

8. วิชาการลึกลับที่เราเรียกว่า ไสยศาสตร์ ไสยเวท รวมไปถึงโลกมิติอื่น ๆ มีเทพเจ้า พรหม ภูติ พระเจ้า หรือศาสนาใดใด ทั้งหลายในโลกนี้ ล้วนมีที่มาที่ไปจากปรากฎการณ์ทางสมาธิทั้งสิ้น ซึ่งจะผิดกับหลักศาสนาพุทธ ที่มีที่มาที่ไปจากปรากฎการณ์ทางปัญญา (หมายถึงปัญญาวิมุตติ) เมื่อมองจากศาสนาพุทธ จึงจะเห็นว่า ศาสนาอื่น ๆ ทั้งสิ้น มีระดับความคิดความเชื่ออยู่ที่ สมาธิ ทั้งสิ้น และสมาธิที่มีบทบาทในการสร้างปรากฎการณ์ ที่ไปที่มาแห่งความเชื่อในศาสนาเทพเจ้าหรือวิชาการลึกลับ ไสยศาสตร์ต่าง ๆ ดังกล่าว ก็คือระดับ อัปนาสมาธิ นั่นเอง โดยอัปนาสมาธิสามารถนำความคิดมนุษย์ไปเชื่อมต่อกับพระเจ้าได้ และโดยนิมิตต่าง ๆ หลายรูปแบบ ที่เกิดโดยอายตนะทั้งหลาย ลองคาดคะเน เมื่อวิชชาธรรมกาย หากสามารถพัฒนาไปได้ อีกสักหน่อยก็จะเหมือนศาสนาฮินดู เพราะจะพบพระเจ้า เทพยดา นางฟ้าอัปสรสวรรค์ มากขึ้นไปเรื่อย ๆ จนตั้งชื่อให้ไม่หวาดไม่ไหว(พระพุทธเจ้าในอายตนนิพพาน ที่เห็น อาจจะตั้งชื่อ เป็นเทพก็ได้ อายตนนิพพานอาจตั้งชื่อเป็นสวรรค์ก็ได้ เช่นแทนที่จะเรียกว่า “พระพุทธเจ้า” ก็เรียกว่า “เทพเจ้า” แทนที่จะเรียกว่า “อายตนนิพพาน” ก็เรียกเป็น “กามาพจรสวรรค์” ก็ได้ แล้วแต่จะตั้งชื่อให้แก่นิมิตเหล่านั้นอย่างไรก็ได้) ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะวิชาธรรมกาย รวมทั้งศาสนาทั้งหลาย มิได้ผ่านข้ามการศึกษา ส่วนที่ศาสนาพุทธกล่าวว่าเป็น สมาธิสิกขา ไปนั่นเอง จึงไม่สามารถเข้าใจได้ว่า ปัญญาสิกขา มีความละเอียดอ่อนลึกซึ้ง ทำให้พ้นราคะ ตัณหา อุปาทาน หรือ กิเลส ทุกข์ทั้งหลายไปได้ ความเป็นวิทยาศาสตร์ในศาสนาอื่นใดจึงไม่มี เหมือนศาสนาพุทธและศาสนาอื่นใดก็มิอาจบรรลุมรรคผลได้เลย เพราะการบรรลุมรรคผลสูงสุดเป็นส่วนของการพยายามไปในระดับ ปัญญาสิกขา

 

บทสรุปของธรรมกาย นิมิตรและสมาธิ

บทสรุปของวิชาธรรมกาย จึงเป็นดั่งนี้

ดังที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การศึกษาพระพุทธศาสนามี 3 ระดับ ๆ ต้น ๆ คือ ศีล, ระดับกลาง คือ สมาธิ และระดับสูง คือปัญญา แต่ละระดับก็มีหลายชั้น ศีลก็มี 4 ชั้น สมาธิ มี 3 ชั้น ปัญญา แสดงโดยญาณชนิดต่าง ๆ มีถึง 9 ชั้นบ้าง 16 ชั้นบ้าง (โสฬสญาณ มี นามรูปปริเฉทญาณ เป็นเบื้องต้น ภยญาณ-นิพพิทาญาณ เป็นเบื้องกลาง และ มี โคตรภูญาณ-ปัจจเวกขณญาณ เป็นเบื้องปลาย) แสดงโดยวิชชา 3 บ้างวิชชา 8 บ้าง เช่น บุพเพนุวาสานุสสติญาณ วิชชารำลึกชาติ และ อาสวักขยญาณ วิชชาทำกิเลส ราคะ ตัณหาให้สิ้นไป แสดงโดยรูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 บ้าง อื่น ๆ บ้าง เช่น หลักกรรมฐาน 40 กสิณ 10 บางชนิด แสดงโดย สติ เช่น มหาสติปัฏฐาน 4 เป็นต้น เหล่านี้เป็นภาค ปัญญาสิกขา ซึ่งในระดับปฏิบัติของปัญญาสิกขา จะมีเท็กนิกเฉพาะของแต่ละอย่างเหล่านั้น ที่แตกต่างกันไปอย่างมากจากเท็กนิกของสมาธิสิกขา โดยที่จุดมุ่งหมายนั้นต่างกันเป็นเบื้องต้น เช่น เท็กนิกการเพ่งกสิณ 10 บางชนิด ที่นำไปสู่อารมณ์ฌานบางชนิด ที่สามารถตัดประหารกิเลสบางชนิดได้ โดยธรรมชาติของอารมณ์ฌานชนิดนั้น

เท็กนิกการเจริญสติปัฏฐาน 4 ในแต่ละขั้นตอน คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งมีอยู่ในภาคปริยัติค่อนข้างละเอียดอยู่ส่วนหนึ่ง เช่นเท็กนิกของการเพ่งลมอัสสาสะ ปัสสาสะ การสร้างปราณวิถี ซึ่งเป็นระบบ ผู้หล่อเลี้ยง ที่จำเป็นมากในระดับปฏิบัติธรรม ทุกระดับ เท็กนิกการประสานในระดับ ธรรมานุปัสนาสติปัฏฐาน เท็กนิกการระลึกชาติในส่วนของการเจริญฌาน-ญาณ และสมาธิ ผสมผสานกันกับหลักวิชาชนิดอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังมีมาตรการตรวจสอบผลการปฏิบัติ อันเป็นส่วนเท็กนิกอีกชนิดหนึ่ง ที่ใช้ตรวจสอบสภาวะแห่ง ปฏิเวธธรรม ว่าเป็นของจริงหรือไม่ ยืนยันด้วยตนเองได้หรือไม่ เหล่านี้ล้วนเป็นส่วนที่อยู่เหนือระดับสมาธิสิกขาทั้งสิ้น และบัดนี้ถูกตัดให้ด้วนไปจาก วิชาธรรมกาย ซึ่งเป็นการบ่อนเบียน ทำลายหลักการสำคัญสูงสุดของพระพุทธศาสนา เพราะความรู้น้อย รู้ไม่สมบูรณ์ รู้ไม่ถึง แล้วหลงโอ้อวดตน ซึ่งโดยแท้จริงตามที่ได้แสดงผลการวิเคราะห์มานี้ วิชาธรรมกายอยู่ในระดับการศึกษาชั้นกลาง คือสมาธิ มองละเอียดลงไปอีก ก็อยู่ในสมาธิขั้น อุปจารสมาธิ เท่านั้น โดยวิเคราะห์จาก ที่ไปที่มาแห่งนิมิตทั้งสิ้นตามหลักวิชาธรรมกาย นั่นเอง ซึ่งนิมิตเหล่านั้น ล้วนเป็นอุคหนิมิต คือนิมิต ภาพนิ่ง ไม่เคลื่อนไหว ไร้ชีวิตชีวา ในขั้นที่สามารถย่อส่วน ขยายให้ใหญ่กว้างออกไป เท่าไรก็ได้ตามความสามารถทางสมาธิระดับนี้ ซึ่งแม้ในระดับสมาธิ วิชาธรรมกายก็ยังอยู่ห่างไกลระดับความสมบูรณ์ ของ สมาธิสิกขา ซึ่งอยู่ที่ระดับ อัปนาสมาธิ และ นิมิตแห่งการเคลื่อนไหว มีชีวิตชีวา สามารถแสดงกริยาครบทั้งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม

หากแต่สิ่งที่ควรเข้าใจโดยสากล ก็คือนิมิตนั้น มีมากมายหลายหลากชนิด หลายรูปแบบ ซึ่งนิมิตทั้งหลาย แท้จริงแล้ว อาจจะเกิดขึ้นได้เองเสมอ ๆ แม้ไม่มีการปฏิบัติกรรมฐานใดใดตามหลักศาสนาใดใดเลยก็ได้ ดังจะได้พบว่า การกำเหนิดขึ้นแห่งศาสดา หรือ The Prophet (ศาสดาพยากรณ์) ทั้งหลาย แต่โบราณกาลมา ก่อนยุคสมัยองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือยุคหลังต่อมาก็ตาม ก็ล้วนแต่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเรื่องนิมิต ที่เกิดเอง เป็นปฐมเหตุเสมอ คำว่า นิมิต ย่อมหมายความรวมถึง ความฝัน ตามที่คนทั่วไป ย่อมมีโดยปกติอยู่ด้วย ทั้งนี้ก็เพราะการประกอบซึ่งเหตุแห่งนิมิตนั้น มาจากองค์ประกอบหรือปัจจัยหลายอย่าง ที่อาจมาร่วมกันได้โดยบังเอิญ หรือมีเจตนาประกอบขึ้นซึ่งปัจจัยเหล่านั้น ก็ได้ แต่เมื่อผู้ใดก็ตามมาปฏิบัติกรรมฐาน ที่มีผลทางสมาธิ ทางกายหรือทางจิตใดใดเข้าก็ตาม กรรมฐานที่พิเศษแตกต่างไปจากปกติ ก็จะพาไปให้พบนิมิตที่แตกต่างออกไปจากนิมิตปกติที่ได้พบโดยทั่วไปเสมอ แต่นิมิตเหล่านั้น หาใช่สิ่งที่บ่งบอกอะไรมากไปกว่า สิ่งบอกเหตุชนิดหนึ่งอันเป็นผลธรรมดาของกรรมใดใด ที่ประกอบปัจจัยเหมาะเจาะ โดยวิถีทางแห่งสมาธิ ก็ย่อมเกิดขึ้น เท่านั้นเอง

เมื่อศาสนาพุทธเกิดขึ้น พระบรมศาสดาได้กล่าวถึงนิมิตทั้งหลายเหล่านี้ไว้ในส่วนการศึกษาเรื่อง สมาธิ 3 อย่าง คือ (1) คณิกสมาธิ โดยสามารถทำให้เกิดบริกรรมนิมิต (2) อุปจารสมาธิ โดยสามารถทำให้เกิดอุคหนิมิต (3) อัปนาสมาธิ โดยสามารถทำให้เกิด ปฏิภาคนิมิต และนี่คือทั้งหมดทั้งมวลของที่ไปที่มาแห่งนิมิตทั้งหลาย วิชาธรรมกายก็เป็นเรื่องที่กล่าวถึงนิมิตและการสร้างนิมิตล้วน ๆ ดังอาจวิเคราะห์จาก อุคหนิมิต ดังนี้ อุคหนิมิต เป็นนิมิตนิ่ง ไม่เคลื่อนไหว เสมือนภาพนิ่ง (เหมือนภาพสไลด์หรือภาพยนต์ยุคเริ่มแรกที่ทำได้เพียงขาวดำภาพนิ่งเท่านั้น) นั่นเอง หากแต่สามารถย่อหรือขยายให้เล็กให้ใหญ่ได้ ตามความสามารถของผู้ปฏิบัติ ซึ่งเป็นผลที่ตรงกับ วิชาธรรมกายต้นตำหรับที่อ้างมาแล้วนั้น

อนึ่ง นิมิตเหล่านี้ เกิดขึ้นด้วยการเพ่ง แต่การเพ่งนี้มิใช่ การเพ่งตามหลักกสิณ 10 อย่างที่เจ้าของวิชามักอ้างว่าเป็นการเพ่งกสิณ เพราะหลักการต่างกันอย่างเป็นตรงกันข้าม การเพ่งนี้เพ่งให้เกิดจุดศูนย์รวมแห่งนิมิตเท่านั้น ด้วยความสามารถของการเข้าสมาธิในระดับอุปจารสมาธิ สามารถทำนิมิตออกมาเป็น 2 แบบ คือแบบดวงใส กับ กายใส ทำได้หลาย ๆ ขนาดแล้ว ตั้งชื่อให้ดวง และ กาย เหล่านั้นอย่างแยบยลโดย แอบอ้างเอาชื่ออันเป็นหัวข้อหรือบทมาติกาที่สูงส่ง ที่มีความหมายสูงล้ำเลิศ ของวิชาการพระพุทธศาสนา หรือแอบอ้างเอาชื่อพระอริยบุคคล ในพระพุทธศาสนา พระพรหมของฮินดู มาตั้งให้

เช่นชื่อดวงก็ตั้งว่า ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงมรรค (ดวงปฐมมรรค ดวงทุติยมรรค ดวงตติยมรรค ดวงจตุตถมรรค) ดวงวิมุต ดวงวิมุติญาณทัสสนะ อันเป็นชื่อสุดยอดแห่งพระธรรม นำมาเกลือกกลั้วกิเลสอย่างไม่สมควร หรือนิมิตประเภทรูปกายคน ก็ตั้งชื่อว่า กายรูปพรหมบ้าง กายอรูปพรหมบ้าง กายพระโสดาบันบ้าง กายพระสกิทาคามีบ้าง กายพระอนาคามีบ้าง จนกระทั้งชื่อพระอรหันต์ ก็เอามาตั้งชื่อให้กับนิมิตกาย (หรือเพ่งให้เกิดพระพุทธรูปขึ้น ขนาดหนึ่ง ก็ตั้งชื่อว่ากายพระโสดาบัน พอขยาย ใหญ่ขึ้นไปอีก วัดได้ด้วยขนาดหน้าตัก มีหน้าตักขนาดนั้น ๆ ซึ่งบางแห่งถึงกับระบุบอกชัดเจนเลยว่า หน้าตักกว้าง 2 วา หนา 1 คืบ วัดโดยรอบได้ 6 วา (ซึ่งโดยความจริงคงวัดขนาดไม่ได้ตรงตามที่สอน เพราะคงทำไม่ได้จริง ซึ่งน่าจะบ่งบอกไปถึงอุปนิสสัย ที่มักความโอ้อวดเกินความจริง โดยมี ลาภ และความสรรเสริญเป็นปลายทาง) ก็เรียกชื่อว่า กายพระสกิทาคามี ขยายต่อไปอีก ก็ตั้งชื่อให้ว่า กายพระอนาคามี และขยายต่อไปอีก ก็ตั้งชื่อว่ากายพระอรหันต์ ใหญ่ไปที่สุด เป็นต้น นี้ เป็นเพียงอุคหนิมิตดังกล่าวมาเท่านั้น สิ่งที่ทำให้สับสนก็คือชื่อดวงชื่อกายต่าง ๆ เหล่านั้น ที่มีสาเหตุมาจากความหลงผิดว่าตัวเองสำเร็จธรรมแล้ว จึงเอาชื่อพระผู้สำเร็จเหล่านั้นมาตั้งให้กับอุคคหนิมิต นั้น ๆ เข้าใจเอาจริง ๆ ว่าพระพุทธศาสนธรรมมีชั้นสูงสุดอยู่ตรงนั้นเอง จบเสร็จกิจพรหมจรรย์คือบรรลุพระอรหัตผลลงตรงนี้

และเมื่อเห็นอุคหนิมิต พระอรหันต์ พระพุทธเจ้า มากมาย เป็นตัวตนเช่นนี้ ก็ทึกทักเอาว่า พระอรหันต์ทั้งหลาย แม้ปรินิพพานแล้ว ก็ยังอยู่ คำว่า อัตตา และ นิพพานเป็นอัตตา จึงเกิดขึ้น และเมื่อเป็นเช่นนั้น พระอรหันต์ ทั้งหลาย ก็ย่อมมีที่อยู่ คำว่า อายตนนิพพานเป็นอัตตา ก็เกิดขึ้นตาม เพื่อว่าจักกำหนดเหตุผลให้สอดคล้องกัน กับความมีตัวตนของพระอรหันต์ทั้งหลาย

 

ปัญญาสิกขาถูกตัดขาดด้วนไปด้วยอวิชชา

เมื่อประกาศวิชาธรรมกายออกมา ว่าเป็นสุดยอดของธรรมะในพระพุทธศาสนา จึงเท่ากับตัดภาควิชาการอันลึกซึ้งของพระพุทธศาสนาส่วนที่เป็น ปัญญาสิกขา ออกไปทั้งหมด ทำให้พระพุทธธรรมหดด้วนลง โดยส่วนที่หดด้วนลงนั้น กลับเป็นส่วนที่สำคัญลึกซึ้งและยังคุณประโยชน์ยิ่งใหญ่ที่สุดแด่มวลมนุษย์ ซึ่งมิจฉาทิฐินี้ สามารถมองเห็นได้ง่าย เมื่อวิชาธรรมกาย มิได้พยายามอธิบาย การเชื่อมต่อระหว่าง สมาธิ กับปัญญา และทำการศึกษาส่วนที่เป็นปัญญาสิกขาต่อไป หากจบลงด้วยความเข้าใจผิด ซึ่งน่าจะเป็นเพราะเหตุ

ประการแรก วิชานี้ยังไปไม่ถึงขั้นอัปนาสมาธินั่นเอง เพราะอัปนาสมาธิ จักเป็นตัวเชื่อมอย่างสำคัญ หากเชื่อมผิด ก็ไปผิด หากเชื่อมถูกก็ไปถูกมรรคผลนิพพาน คือทางหนึ่ง เชื่อมเข้าภาควิปัสนาญาณในพระพุทธศาสนา หรือ อีกทางหนึ่งก็ อาจหลงไปเชื่อมกับวิถีเทพเจ้าในศาสนาอื่น ก็ได้

ประการที่สอง วิชานี้มิได้พยายามอธิบายหลักปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ แห่ง ปัญญาสิกขา เมื่อเข้าใจผิดไปแล้วประกาศความเป็นมิจฉาทิฐิไปเช่นนั้น จึงฟังดูคล้าย ๆ กับว่า เป็นสำนักปฏิบัติหรือวัดสำคัญที่ล้วนเต็มไปด้วยเทพเจ้าและอริยบุคคลชั้นต่าง ๆนับแต่พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี ไปถึง พระอรหันต์ เต็มสำนักเต็มวัดไปหมด คนทั้งหลายที่เขลาไม่รู้ซึ้ง คนชาวพุทธ ที่เป็นเพียงชื่อว่า พุทธ ก็หลงเชื่อ ก็แห่กันไปทำบุญกันอย่างมโหฬาร ด้วยความเชื่อว่าได้กุศลมากเมื่อได้ทำบุญในสำนักผู้สำเร็จธรรมะเป็นพระอริยบุคคลเป็นพระอรหันต์ กันทั้งนั้น การอวด ไปด้วยความเข้าใจผิดในสาระสำคัญอย่างใหญ่หลวง เช่นนี้ จึงกลายเป็นการโฆษณาชวนเชื่อ อย่างมโหฬาร เข้าตรงตามหลักวิชาสงครามจิตวิทยาที่มีผลต่อการหลอกลวงประชามหาชนอย่างกว้างขวาง ยิ่งใหญ่

 

ธรรมกาย ที่แท้จริง จึงเป็นเพียงนิมิต

ธรรมกาย ที่แท้จริง จึงเป็นเพียงนิมิต ที่เกิดด้วยการ นึก เพ่งเอา โดยความสามารถทางสมาธิ ระดับ อุปจารสมาธิ จึงหาใช่พุทธศาสนาที่สมบูรณ์ที่สูงสุดอันเป็นแก่นแท้พุทธธรรม ไม่ เมื่ออ้างว่า ธรรมกาย เป็นมรรคผล นิพพาน ที่มีรูป มีตัวตน เป็นอัตตา สัมผัสได้ จึงเป็นเพียง มรรคผลนิพพานที่จอมปลอม ผู้สำเร็จ ธรรมกาย จึงเป็นผู้สำเร็จมรรคผลนิพพานที่จอมปลอม ที่มีรากเหง้าของปัญหามาจาก มิจฉาทิฏฐิ ดังกล่าว การปฏิบัติธรรมระดับหนึ่งได้ผล แล้วเข้าใจว่าสำเร็จมรรคผลนิพพาน มีสาเหตุมาจาก ความเข้าใจผิด ด้วยความหลงผิด หรืออวิชชา จึงเขียนตำราที่แสดงทางปฏิบัติผิด โดยมิจฉาทิฏฐิ แสดงเกินความเป็นจริงตามหลักพระพุทธศาสนา คนทั้งหลายทั้งปวงได้อ่านดูแล้ว แม้บางถ้อยคำก็ไม่สามารถทราบความหมายก็ตาม ต่างก็ตื่นตาตื่นตะลึง เพราะไม่เคยพบเห็นเช่นนี้มาก่อน ก็เข้าใจผิดตามไป โดยเข้าใจว่าท่านได้สำเร็จฌานสมาบัติชั้นสูง ถึงระดับพระอรหัตผล ปลื้มปิติไปโดยถูกหลอกว่า เราได้พบพระอรหันต์เข้าจริงแล้ว แม้ในชาตินี้ สมัยนี้ ยังเป็นพระอรหันต์ทรงอภิญญาพิเศษ สามารถแสดงฤทธิปาฏิหาริย์ได้ต่าง ๆ เช่น สามารถ เข้าสมาบัติ 8 โดยอนุโลมและปฏิโลม ไปมาได้ถึง 7 เที่ยว เสมอเหมือนพระอนิรุทธอรหันต์เจ้า ผู้เข้าสมาบัติ 8 ติดตามเสด็จสู่มหาปรินิพพานของพระพุทธองค์ ในสมัยก่อนโพ้น ก็กลายเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมโหฬาร คนทั้งหลายก็หลงเชื่อโดยสนิทใจว่า ท่านได้ผ่านขั้นตอนแห่งมรรคผลไปตามลำดับ ๆ ตั้งแต่สำเร็จเป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ จนอาจจะมีคนบางพวกหลงผิดคิดไปว่าท่านเป็นถึง พระปัจเจกโพธ์ และพระพุทธเจ้า ไปด้วยซ้ำ โดยที่มิได้เฉลียวใจว่า นั่นเป็นเพียง การบรรจงเรียบเรียงเรื่องราว ให้ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย ในเชิงเหตุและผล อย่างมีระบบ ที่สอดคล้องวิธีตรรกศาสตร์ และโดยระบบมันสมองที่ดูน่าสงสัยเป็นอย่างยิ่งว่าจะเคลื่อนไปจากปกติหรือไม่ เท่านั้นเอง

และก็ตั้งชื่อว่า “วิชชาธรรมกาย” โดยจำนง มุ่งหมายให้สอดคล้องภาษิตพุทธองค์ที่ว่า “ตถาคตสฺส วาเสฏฺฐา เอตํ ธมฺมกาโยติ วจนํ“ “ธรรมกายนี้เป็นชื่อของตถาคต ดูกรวาเสฏฐะ” โดยเข้าใจคำว่า ธรรมกาย ผิดไปจากนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาทั้งหลาย แม้ว่า ธรรมกาย โดยหลักการ ก็เป็นแต่เพียงการกล่าวอ้าง หาได้มีคำอธิบายโดยหลักวิชาของตนเอง โดยแน่ชัดไม่

ยังมีเรื่องราวของ ธรรมกาย อยู่อีกหลายประเด็น ที่แอบแฝงเจตนาไม่สุจริต โดยความเห็นที่ไม่ถูกต้อง เช่นการเพ่ง ที่อ้างว่าเป็นกสิณตามหลัก กสิณ 10 และการอ้าง ฌาน ที่มาสัมพันธ์กับกสิณ และกรรมฐานอย่างอื่น อีกหลายอย่าง ไม่สมเหตุผล ทั้งในทางพระปริยัติธรรมและทางปฏิบัติธรรม แสดงให้เห็นว่า ได้มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ไม่ถูกสัจธรรมตามหลักพระบาลีที่ว่า “นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน” (ฌานย่อมไม่มีแก่ผู้ไร้ปัญญา ปัญญาย่อมไม่มีแก่ผู้ไร้ฌาน) เพราะสาระสำคัญของพระบาลีบทนี้ คือความหมายที่ว่า ฌาน ต่างจาก สมาธิ อยู่คนละระดับกับ สมาธิ ฌาน ในส่วนที่เป็น ปัญญา เป็นเครื่องมือตัดกิเลสอย่างเด็ดขาด มิใช่ สมาธิ ที่เป็นเพียงเครื่องมือในการสร้าง นิมิต ต่าง ๆ เท่านั้น พระบาลีที่อ้างนี้ ฌาน = ปัญญา ทั้งฌานและปัญญา เป็นของคู่กัน มิเชิงเป็นเหตุและผลซึ่งกันและกัน แต่จะประกอบกันเสมอ ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ เมื่อบุคคลได้อย่างนี้ ก็หมายถึงว่า ได้อย่างนั้นด้วยเสมอไป ในทางปฏิบัติตามหลัก วิปัสนากรรมฐาน คงจะต้องถือ ฌาน เป็นเครื่องมือสำคัญ เมื่อพิจารณาจากสภาพโดยธรรมชาติของฌาน เพราะฌานมีคุณสมบัติตามธรรมชาติของมัน ที่ใช้สังหารกิเลส ดุจน้ำใช้ดับไฟฉะนั้น เสมอไป

ฉะนั้น ความบาป ความผิด ไม่ชอบด้วยคลองธรรมแห่งพระพุทธศาสนา ที่เห็นแน่ชัดแต่ในชั้นนี้ก็คือ ธรรมกาย นี้ ได้บ่อนเบียน ทำลายพระพุทธศาสนาในส่วนที่สำคัญสูงสุดของ พระพุทธศาสนา โดย ได้ตัดวิชชาชั้นสูงสุดของพระพุทธศาสนา ออกไปทั้งหมด ทำให้ ธรรมกาย เป็นวิชาที่ด้วนไปจากหลักสูงสุด ดังกล่าวนั้น เท่ากับปฏิเสธหลักการอันสูงสุดเหล่านั้น โดยเขลาอวิชชา นั่นก็คือ ส่วนที่ว่าด้วย ปัญญาสิกขา ขาดหายไปทั้งหมด โดย ไม่มีกล่าวถึง ไม่ว่าทางปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ ในหลักการของ ธรรมกาย ซึ่งมาจากความหลงผิด โดยไปหลงผิดว่า อุคหนิมิตเหล่านั้นเป็นนิพพาน และเมื่อหลงผิด ด้วยอวิชชา ไปเช่นนั้น จึงสอนผิด นำผิด ไปจากหลักสำคัญของพระพุทธศาสนา โดยสอนว่า นิพพานเป็นอัตตา พระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นอัตตา ซึ่งถือว่าทำลายพระพุทธศาสนา เยี่ยงมหาโจรทำลายประเทศชาติ

ในทางปฏิบัติ ผู้หลงผิดในธรรมกาย จึงมักสรรเสริญ มักการโอ้อวด โดยอวดอุตตริมนุสสธรรม ไปด้วยเขลารู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น การ เข้าสมาบัติ 8 โดยอนุโลมปฏิโลม 7 เที่ยว ของชั้นครูอาจารย์ รวมทั้ง การฝึก อภิญญา ตามโครงการ “สาวน้อยอภิญญา” ของชั้นลูกศิษย์ ซึ่งเป็นการอวดคุณธรรมชั้นมรรคผล ไม่มีในตัวตนจริง ด้วยอวดอ้างยกตนว่าสำเร็จพระอรหัตผลชั้นอภิญญา เข้าข่ายอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตน หากมีเจตนามิเพราะเขลาหลงผิด หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ย่อมเป็นอาบัติถึงขั้น ปาราชิก

และ นี่แหละ ! ตอบคำถาม วิชาธรรมกายคืออะไร ?
 วิชาธรรมกาย : วิชาแห่งการโฆษณาชวนเชื่อ.

ที่ดูเหมือนสูงส่งล้ำเลิศ หากแต่แท้ที่จริงเป็นเพียงการแอบอิง อ้างของสูง เบื้องสูง เข้าหลัก The sun also rises. พระอาทิตย์ก็พลอยส่องแสงกับเขาด้วย (เขาว่ามรรค ก็ว่ากับเขาด้วย เขาว่าผล ก็ว่ากับเขาด้วย เขาว่านิพพาน ก็ว่ากับเขาด้วย เพื่อหลอกต้มคนทั้งหลาย) All that glitters is not gold. เลื่อมใสเปล่งประกายเหมือนกันแต่มิใช่ทองแท้หรอก เป็นทองเก๊ต่างหาก (ใช้หลอกตกทองกับคนโง่) อันเป็นหลักการโฆษณาชวนเชื่อที่สำคัญในยุคสงครามเย็น (หลัก Psychological Warfare : สงครามจิตวิทยา)

ต่อเมื่อ มิจฉาทิฐิ กลายเป็น สัมมาทิฐิ ธรรมกาย จักกลายเป็น อุบายวิธีหนึ่ง หรือเท็กนิกวิธีหนึ่ง ของการทำสมาธิ อยู่ในระดับต้น ๆ คือ คณิกสมาธิ ไปถึงระดับกลาง ๆ ของ สมาธิสิกขา อันเป็นคุณสมบัติของสมาธิระดับ อุปจารสมาธิ (ระดับหลวงพ่อสด จันทสโร) นิมิตที่เกิดขึ้นมีลักษณะเป็น อุคหนิมิต แล้ว เจริญสมาธิชนิดนี้ต่อไป ถึงอัปนาสมาธิ (ระดับสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี) สร้างปฏิภาคนิมิตได้ และ เมื่อตัด ไม่ให้ความสำคัญ ไม่ยึดติด ไม่เผยแผ่นิมิตเหล่านั้นโดยเห็นว่าเป็นสาระ เดินต่อไป จึงจะสามารถไปเชื่อมการศึกษาเบื้องสูง ระดับสูงสุดแห่งพระพุทธศาสนา ระดับ ปัญญาสิกขา (ภาค มหาสติ-ญาณ-วิชชา-ปัญญา) อันเป็นส่วนสูงสุดที่ล้ำเลิศประเสริฐของศาสนาพรหมจรรย์นี้ ที่มีความหมายถึง มรรค ผล นิพพาน ที่เป็น อนัตตา ที่แท้จริง ได้

นามธรรม คือ ความสุข ความสะอาด ความสว่าง ความสงบ กริยาที่บอกความสิ้นไปแล้วซึ่งทุกข์ แห่งดวงจิต นั่นแหละคือ มรรค ผล นิพพาน

ดวงจิตสิ้นทุกข์ลง เมื่อใด นิพพาน ก็ปรากฏมาเอง เมื่อนั้น

 

 




หนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 15

บทบรรณาธิการ ชื่อหนังสือพิมพ์ดี ปัญหารัฐบาลชวน หลีกภัย และปัญหาวัดพระธรรมกาย
ปัญหาวัดพระธรรมกาย กับการปฏิรูปการระบบสงฆ์
นิทานธรรมะ มานุสสาสุรสงครามภาคพิเศษ



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
----- ***** ----- โปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate นี่คือเวบไซต์คู่ www.newworldbelieve.com กับ www.newworldbelieve.net เราให้เป็นเวบไซต์ที่เสนอธรรมะหรือ ความจริง หรือ ความคิดเห็นในเรื่องราวของชีวิต ตั้งใจให้ธัมมะเป็นทาน ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แด่คนทั้งหลาย ทั้งโลก ให้ได้รู้ความจริงของศาสนาต่าง ๆในโลกวันนี้ และได้รู้ศาสนาที่ประเสริฐเพียงศาสนาเดียวสำหรับโลกยุคใหม่ จักรวาลใหม่ เรามีผู้รู้ ผู้ตรัสรู้ ผู้วินิจฉัยสรรพธรรมสรรพวิชชา สรรพศาสน์ และสรรพศาสตร์ พอชี้ทางสู่โลกใหม่ ให้ความสุข ความสบายใจความมีชีวิตที่หลุดพ้นไปสู่โลกใหม่ เราได้อุทิศเนื้อที่ทั้งหมดเป็นเนื้อที่สำหรับธรรมะทั้งหมด ไม่มีการโฆษณาสินค้า มาแต่ต้น นับถึงวันนี้ร่วม 14 ปีแล้ว มาวันนี้ เราได้สร้างได้ทำเวบไซต์คู่นี้จนได้กลายเป็นแดนโลกแห่งความสว่างไสว เบิกบานใจ ไร้พิษภัย เป็นแดนประตูวิเศษ เปิดเข้าไปแล้ว เจริญดวงตาปัญญาละเอียดอ่อน เห็นแต่สิ่งที่น่าสบายใจ ที่ผสานความคิดจิตใจคนทั้งหลายด้วยไมตรีจิตมิตรภาพล้วน ๆ ไปสู่ความเป็นมิตรกันและกันล้วน ๆ วันนี้เวบไซต์นี้ ได้กลายเป็นโลกท่องเที่ยวอีกโลกหนึ่ง ที่กว้างใหญ่ไพศาล เข้าไปแล้วได้พบแต่สิ่งที่สบายใจมีความสุข ให้ความคิดสติปัญญา และได้พบเรื่องราวหลายหลากมากมาย ที่อาจจะท่องเที่ยวไปได้ตลอดชีวิต หรือท่านอาจจะอยากอยู่ณโลกนี้ไปชั่วนิรันดร ไม่กลับออกไปอีกก็ได้ เพียงแต่ท่านเข้าใจว่านี่เป็นแดนต้นเรื่องเป็นด่านข้ามจากแดนโลกเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง และซึ่งเป็นโลกหรือบ้านของท่านทั้งหลายได้เลยทีเดียว ซึ่งสำหรับคนต่างชาติ ต่างภาษาต่างศาสนา ได้โปรดใช้การแปลของ กูเกิล หรือ Google Translate แปลเป็นภาษาของท่านก่อน ที่เขาเพิ่งประสบความสำเร็จการแปลให้ได้แทบทุกภาษาในโลกมนุษย์นี้แล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้เอง นั้นแหละเท่ากับท่านจะเป็นที่ไหนของโลกก็ตาม ทั้งหมดโลกประมาณ 7.6 พันล้านคนวันนี้ สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในโลกของเราได้เลย เราไม่ได้นำท่านไปเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่การนำไปสู่ความจริง ความรู้เรื่องชีวิตใหม่ การอุบัติใหม่สู่ภาวะอริยบุคคล ไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปพ้นจากทุกข์ ทั้งหลายไปสู่โลกแห่งความสุขแท้นิรันดร คือโลกนิพพานขององค์บรมศาสดาพุทธศาสนา พระบรมครูพุทธะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ท่านโปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate ท่านก็จะเข้าสู่โลกนี้ได้ทันทีพร้อมกับคน7.6พันล้านคนทั้งโลกนี้. ----- ***** ----- • หมายเหตุ เอาขึ้นเวบไซต์ แทนของเดิม ทั้ง 2 เวบ .net .com วันที่ 21 เม.ย. 2565 เวลา 07.00 น. -----*****-----