ReadyPlanet.com
dot


อำนาจกับกองทัพ



เรียน  บก.

      ในฐานะที่ บก.เคยเป็นนายทหารมาก่อน  อยากให้ท่านช่วยวิเคราะห์เรียนถามว่า

1. โรงเรียนทหารเขามีหลักสูตรพระพุทธศาสนาเรียนกันหรือไม่  เพราะเท่าที่มองเห็นรู้สึกว่าเขาไม่ค่อยเข้าใจสัจธรรมของชีวิต  มุ่งมั่นแต่เรื่องอำนาจนิยม  อยากปกครองประเทศ  อยากปกครองประชาชน  แต่ไม่เข้าใจวิธีการปกครองคน  ไปเอาระบบทหารมาปกครองพลเรือนเขาไม่ชินกับระบบนี้  เขารับไม่ได้ 

2. ทำอย่างไร ? นายทหารจึงจะเข้าใจประชาธิปไตยและหน้าที่ของตนเอง

3. จากความรู้สึกของประชาชน  ทหารไม่มีวันที่จะนำพาประชาชนให้พ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจไปได้  เพราะไม่มีทั้งความรู้และประสบการณ์  การก้าวเข้ามายึดอำนาจแล้วบริหารประเทศ  มีแต่จะทำให้ประชาชนต่อต้าน  เพราะนำพาเขาไปสู่ความลำบาก ยากแค้น 

 



ผู้ตั้งกระทู้ พลเรือน :: วันที่ลงประกาศ 2009-08-15 21:39:35


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1971782)


 

ประเด็นที่เราเห็นด้วยกับ พลเรือน ผู้ตั้งกระทู้นี้ก็คือ ข้อ 3 ตัวแปรคือยุคสมัย   ถ้าเป็นสมัยก่อนนี้ไปสักหน่อย เอาระหว่างยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็พอจะใช้วิธีการหรือระบบทหารจัดการเศรษฐกิจไปได้ดีอยู่    แต่ยุคนี้ เริ่มตั้งแต่ยุคโทรศัพท์มือถือเป็นต้นมา เป็นปัญหาสำหรับทหารอย่างยิ่ง ที่เราคิดเลยว่าทหารไทยควรจะถอยไปเสียโดยดีจะดีกว่า แล้วไปปรับหลักสูตรทหารเสียใหม่ สำหรับทหารยุคใหม่ให้เรียบร้อยเสียก่อน   นั่นคือสถานะการบริหารประเทศเป็นสากลประเทศ ที่ไร้พรมแดน เน้น ไร้พรมแดน   สมัยนี้เราจะต้องบริหารประเทศอย่างมีมันสมองที่ทันสถานการณ์ยุคใหม่ที่ไร้พรมแดน ที่หมายถึง การเศรษฐกิจยุคใหม่ การเงินการคลังยุคใหม่ การค้าขาย การตลาดยุคใหม่ การทูตยุคใหม่(ที่จะต้องค้าขายและเปิดตลาดใหม่เป็น) เครื่องมือสือ่สารเพื่อการบริหารประเทศยุคใหม่   รวมทั้งเรื่องทั่วไปอย่างยิ่งก็คือ ภาษายุคใหม่ การพูดการจากับคนยุคใหม่ และวัฒนธรรมใหม่ รวมทั้ง แนวคิดศาสนาแนวใหม่ ในประเทศเราเองและต่างประเทศ   ทหารต้องคิดว่ายุคนี้เราไม่สามารถจะปิดประตูประเทศ อยู่อย่างโดดเดี่ยวทำการบริหารไปตามคติของเราฝ่ายเดียวได้ เหมือนกับทีพม่ากำลังพยายามทำอยู่ นั่นคือความเข้าใจเรื่องพรมแดนยุคใหม่ จะต้องให้ชัดเจนแจ่มแจ้ง อย่างที่มีท่าทีอยู่ด้านชายแดนเขาพระวิหารนั้น นั่นแหละ อย่านำความคิดเรื่องพรมแดนมาตัดสินสำหรับยุคใหม่นี้ แต่ต้องนำทฤษฎีหรือแนวคิดใหม่เรื่องไร้พรมแดนมาตัดสิน   แต่ นี่คือข้อจำกัดสำหรับทหารไทยอย่างยิ่ง   และเราหมายถึงทหารพม่าด้วย   เพราะทหารไทยมีลีลาและระบบเหมือนทหารพม่าค่อนข้างใกล้เคียงมากจนกระทั่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นแบบเดียวกัน เพียงแต่พม่าเขาเข้มจัดกว่ามาก      เราเคยมองไว้ตั้งแต่ สนธิ บัง จอมเนรคุณ (ผสมกับสนธิ เจ๊ก จอมบ่างช่างยุ)บังอาจก่อการปล้นประชาธิปไตยประชาชนไป ว่าเอาอย่างพม่าหรือเปล่า แต่ก็ดีที่ต่อมาทหารอย่างสุรยุทธ จุลานนท์ ยังมีความระวังระแวง สงสัยในระบอบทหารแบบพม่าอยู่ จึงไม่ไปไกลเกินไป   อาจจะกล่าวว่า กลับตัวทัน    แต่กระนั้น การปฏิวัติ 19 ก.ย.2549 นั้น เป็นเรื่องเลว สำหรับประชาธิปไตย และเป็นไปได้ยากที่ทหารจะพาประเทศเดินไปได้ด้วยความคิดอ่านทหาร    สติสตังที่ทหารจะต้องนำมาพิจารณาในขณะนี้ก็คือ สติในเรื่อง การใช้อำนาจโดยกระบอกปืนหรือรถถัง     ท่านจะทำให้ประเทศล่มจมลงไปกว่าพม่าขณะนี้ได้อย่างฉับพลันเลยทีเดียว     น่าจะเป็นเหตุผลที่มองได้ง่าย ถ้าเช่นนั้นจะทำอย่างไร   ทหารจะต้องมีสติว่า โดยสากลประเทศประชาธิปไตย เสียงประชาชนคือเสียงสวรรค์ เราจะต้องเข้าใจและเชื่อในทฤษฎีนี้ ลองศึกษาดูเองจะเห็นสัจธรรม เสียงประชาชนคือเสียงสวรรค์ อย่างไร    ท่านเพียงมองดูว่าขณะนี้ประชาชนโดยเฉพาะที่เห็นได้ว่าเสียงส่วนใหญ่และที่มีเหตุผลอันสอดคล้องหลักการของประชาธิปไตย เขาต้องการอะไร ก็จัดให้เขาอย่างนั้น   เท่านั้นเอง ทุกอย่างก็สงบสุข ขอย้ำประชาชนส่วนใหญ่เขาต้องการอะไรก็จัดให้เขาอย่างนั้น จบปัญหาลงทันที แต่ความยากก็คือ ยากที่จะให้ทหาเข้าใจคำว่า   เสียง ประชาชนคือเสียงสวรรค์ ไม่ใช่เพียงคำพูดที่ไพเราะห์เท่านั้น แต่เป็นสัจธรรม  ในคราวต่อไปเราจะพยายามวิเคราะห์ทหารในประเด็นอื่น ตามที่ พลเรือน ตั้งกระทู้มา 
 
 
 
 
ผู้แสดงความคิดเห็น บก.นสพ.ดี(อินเทอเนต) (newworld_believe-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-08-16 19:15:44


ความคิดเห็นที่ 2 (1973496)

 

 
จากกระดานถาม-ตอบ
อำนาจกับกองทัพ 2
 
ในข้อที่ 1 กระทู้ว่า  โรงเรียนทหารเขามีหลักสูตรพระพุทธศาสนาเรียนกันหรือไม่  เพราะเท่าที่มองเห็นรู้สึกว่าเขาไม่ค่อยเข้าใจสัจธรรมของชีวิต  มุ่งมั่นแต่เรื่องอำนาจนิยม  อยากปกครองประเทศ  อยากปกครองประชาชน  แต่ไม่เข้าใจวิธีการปกครองคน  ไปเอาระบบทหารมาปกครองพลเรือนเขาไม่ชินกับระบบนี้  เขารับไม่ได้
 
ตรงประเด็นนี้แหละ ที่จะต้องมองอย่างกว้างไกล ใช้วิสัยทัศน์รอบด้านและ เป็นธรรม เราคิดว่า ปัญหาอยู่ที่พลเรือน เมื่อมองในองค์รวม พลเรือนค่อนข้างไร้ระเบียบวินัย ค่อนข้างไร้ระบบและสับสนในเป้าหมายของพลเรือน  วิถีพลเรือนไทย ไม่ได้เน้นความสำคัญของวินัยเลย ทั้ง ๆ ที่เป็นสิ่งที่จำเป็น โดยเฉพาะในระบอบประชาธิปไตย วินัยย่อมหมายถึงความเป็นความตายของประชาธิปไตยเลยทีเดียว และพลเรือนก็ได้มืดมัวเขลามาตลอดกาลนานในเรื่องวินัยนี้   นับตั้งแต่พลเรือนได้มามักคุ้นไปจนถึงเห่อกับคำว่า เสรีภาพ อย่างผิด ๆ โดยเป็นการคุ้นแบบไม่เข้าใจความหมาย กล่าวคือ รู้แบบจดจำตำรามาจากตะวันตก อเมริกาที่ไปเล่าเรียนท่องจำมา เวลาคิดแก้ปัญหาก็เปิดตำราออกมาโดยไม่มีความเข้าใจ ไม่มีการแยกแยะวิเคราะห์ให้ชัดเจนว่าอะไรเป็นอะไร หลักการ ทฤษฎี ภาคปฏิบัติ สูตร  และวิธีทำที่เป็นวิทยาศาสตร์  ไม่เข้าใจ และพลอยไปดูแคลนทหารที่มีวินัยว่า โง่เง่าเต่าตุ่น (อย่างนางอัญชลี ไพรีรัก ศิษย์เอกสนธิ ลิ้มทองกุล ด่าทหารใหญ่อย่าง อนุพงษ์ เผ่าจินดา ในเอเอสทีวี ช่วงม็อบสนธิ-จำลอง-ประชาธิปัตย์ยึดทำเนียบไปจนถึง บุก NBT บุกสนามบินสุวรรณภูมิ) พลเรือนไม่เข้าใจว่าวินัยเป็นสิ่งจำเป็นและมีค่าสูงยิ่งของระบอบประชาธิปไตย
 
ในทัศนะของเราเห็นว่า เมื่อมองจากความหมายในองค์รวม เอาความเข้าใจเป็นหลัก วินัย นั้น ไม่จำเป็นต้องดูที่คำว่า วินัย คำเดียว ได้พบว่ามีความหมายสอดคล้องกับคำว่า Discipline ของฝรั่งเขาที่ค่อนข้างให้ความหมายที่สมบูรณ์ และเมื่อเอาคำว่า Discipline เป็นเกณฑ์วัดแล้วพบว่าพลเรือนไทยค่อนข้างได้ละเลยในวินัยหรือสิ่งที่ฝรั่งเรียกว่า Discipline นี้ไปแทบโดยสิ้นเชิง   ทั้ง ๆ ที่สิ่งนี้จะต้องมาก่อน และเป็นสิ่งที่เป็นเครื่องมือกลาง สำหรับทุก ๆ ระบอบการปกครอง    ในระบอบประชาธิปไตย   ถ้ามองแบบพลเรือน จะต้องมองว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นควบคู่ไปกับ เสรีภาพ และต้องหมายถึงความจำเป็นของมวลมหาประชาชน ที่จะต้องยึดมั่นในสิ่งที่เรียกว่า Discipline นี้ด้วยโดยถ้วนทุกตัวตนคนผู้ปรารถนาได้มาซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
 
หลักการนี้เมื่อมองเปรียบเทียบ เพื่อหาเหตุผล หาหลักการและทฤษฎี อันร่วมกัน จากฝ่ายพระพุทธศาสนาแล้วก็จะเห็นง่ายขึ้น นั่นคือพระพุทธศาสนาพยายามเน้นวินัยปวงชนในนามของ ศีล สมาธิ และ ปัญญา ลงไปสู่สังคมมาตลอด   โดยพระสงฆ์ทั่วราชอาณาจักรไทยและฝ่ายหินยานทั่วโลก พร่ำสอนลงไปสู่ประชาชนชาวพุทธทั่วโลก โดยขาดไม่ได้ในทุกพิธีกรรมและศาสนพิธีพุทธ เป็นเหตุให้มวลชนชาวพุทธไทย คุ้นกับวินัยทางธรรมะ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็น Discipline พื้นฐานที่หนักแน่นชนิดที่สะท้อนไปถึงคุณธรรมคือ เมตตา กรุณา เอื้ออาทร ร่วมทุกข์และสุข กันอย่างพี่น้อง มีภราดรภาพ สูงส่ง  จึงทำให้ประเทศไทยผ่าน วิกฤติการจะเกิดเรื่องรุนแรงเสียเลือดเนื้อร้ายแรงหลายครั้งไปได้ แต่วินัยหมวดนี้ กลับจางไปในหมู่พลเรือนชั้นสูง โดยเฉพาะหมู่นักวิชาการ รวมถึงคณะบดีทั้ง 26 สถาบัน และนักการเมือง พรรคการเมืองนั้นด้วย เพราะเหตุที่เหินห่างจากศาสนธรรมดังกล่าว แต่กระนั้นพลเรือนชั้นนักวิชาการและนักปกครอง กลับไม่เข้าใจเรื่อง Discipline ที่ตนได้เล่าเรียนมาจากประเทศที่เจริญตะวันตก อเมริกา   กลายเป็นว่าในเรื่องวินัย หรือ Discipline นักวิชาการไทยด้อยต้อยต่ำกว่าเขาในยุโรปอเมริกา และยังด้อยวินัยไปกว่าคนในระดับพื้นฐานรากหญ้าไทยไปเสียอีก
 
 
สิ่งที่แสดงความหมายว่าพลเรือนย่อหย่อน ไม่รู้หน้าที่ และไร้วินัย   ไร้ Discipline เห็นได้จากการออกมาต่อต้าน ฎีกาของคนเสื้อแดง ในขณะนี้นี่เอง ซึ่งยังสะท้อนไปถึงความอ่อนด้อยของมันสมองฝ่ายการเมืองไทย สถาบันการเมืองไทยด้วยว่าเป็นอย่างไร   ด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับทหารแล้ว อย่างไรก็ไม่เห็นว่าพลเรือนจะมาสู่ฐานะของ Leadership ได้อย่างไร ก็ทำให้ทางทหาร ซึ่งมีระเบียบวินัยดีกว่า ได้บุคลิกภาพผู้นำสูงกว่าพลเรือน  จำเป็นต้องรับภาระ Leadership มาทุกยุคทุกสมัยไทยประชาธิปไตยที่รวนเรนี้  ด้วยเหตุนี้ ผลเสียหายจึงไม่ได้มาจากทหารโดยตรง แต่อยู่ที่พลเรือน    ที่ไม่สามารถจะปกครองได้ เนื่องเพราะ ไร้วินัย ไร้ความคุ้นเคยในวินัยของบุคคล องค์กร และสถาบันพลเรือนเองโดยแท้จริง  อีกประการหนึ่งก็เป็นเหตุให้ขาดความมั่นใจตนเอง ที่จะขึ้นไปยืนในตำแหน่งผู้นำด้วยตนเอง ได้แต่เลียบๆเคียง ๆ ประจบประแจง อาสาช่วยงาน เขียนหนังสือบ้าง ร่างกฎหมายบ้าง ตามที่เป็นมาตลอดในประเทศไทยเรา  จนถึงทุกวันนี้ ก็ยังเห็นชัดเจนอยู่   เช่น เห็นนาย สุรพล นิติไกรพจน์ ซึ่งมีสถานะเป็นครูบาอาจารย์ผู้สอนประชาธิปไตยมีศิษย์มากมาย  ไปนั่งข้าง ๆ พล.อ. อนุพงศ์ เผ่าจินดา   ผบ.ทบ.ตอนเสนอให้นายกสมัคร สุนทรเวช ลาออกจากตำแหน่ง นรม.แทนการประกาศพรก.สถานการณ์ฉุกเฉิน,  เห็นพวกนักวิชาการ แล่นไปซบ สนธิ ลิ้มทองกุล กันเป็นแถว ตอนที่เขาหลอกว่า จะใช้อัตราส่วน 70:30 จัดการประเทศไทย (ซึ่งขนาดเป็นนักวิชาการผู้สอนวิชาประชาธิปไตยยังไม่เข้าใจประชาธิปไตย ให้เขาหลอกต้มได้ว่า การเมืองประชาธิปไตยใหม่แบบ 70:30 เป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร?)   เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีตัวอย่างพลเรือนที่มีโลภะ พอเข้ามาสู่วงการเมืองก็หวังเป็นใหญ่เป็นนายกรัฐมนตรีทันที อย่างนายอเนก เหล่าธรรมทัศน์ อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มธ.  เป็นต้น แล้วพอแพ้ก็ถอยหนี ละความพยายามไปอย่างง่าย ๆ   ซึ่งแสดงถึงการขาดความอดทน ไร้อุดมการณ์ประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง 

มีตัวอย่างพลเรือนนักวิชาการในด้านความไม่สมประกอบในสติปัญญา เช่นในเร็ว ๆ นี้ มีนักวิชาการทำรายการ รู้ทันประเทศไทย หรือ แสดงออกว่าตนรู้ทันนั่นรู้ทันนี่ทุกอย่าง อยู่เอเอสทีวี ซึ่งเป็นทีวีโฆษณาชวนเชื่อคนหนึ่ง จนปัญญาไม่รู้จะตั้งหัวข้ออะไรก็ตั้งขึ้นว่า อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร เป็นคนบ้าหรือเปล่า กระนั้นจักไม่เป็นอันตรายอย่างยิ่งใหญ่ต่อประเทศไทย และต่อสถาบันหรือ?(อ้างว่าตนเองมีความรักสถาบันยิ่งกว่าใคร ๆ ในแผ่นดิน กลัวคนบ้าอย่างดร.ทักษิณ ชินวัตรจะเป็นอันตรายต่อสถาบัน) ซึ่งนักวิชาการนายนี้ก็คือ นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง(มีดีกรีเป็น ดร. เคยสอนในมหาวิทยาลัยมีชื่อ) กับ ประสงค์ สุ่นสิริ(น.ต.) ร่วมกันกล่าวหาอดีตนายกรัฐมนตรีไทย ทักษิณ ชินวัตร  โดยไม่คำนึงความจริงว่าคนอย่าง ดร.ทักษิณ ชินวัตรเป็นถึงมหาเศรษฐีระดับโลก มีประชาชนให้ความเชื่อถือขนาด 13-19 ล้านคนให้มาปกครองประเทศ และคนแดงทั้งแผ่นดินสนับสนุนเขาอยู่ขณะนี้ จะบ้าอย่างไร คนบ้าต่างหากที่มองประเด็นนี้ไม่ออกไม่เข้าใจ แล้วคนดีอย่างนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง เป็น ดร.เหมือนกันทำไมไร้ปัญญาทำมาหากิน ต้องมากินน้ำใต้ศอกนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อการร้ายสนามบินสุวรรณภูมิ อยู่ในขณะนี้ นี่คือตัวอย่างความไม่สมประกอบทางสติปัญญาของนักวิชาการไทย ผู้มีบทบาทอยู่ในระดับสังคมผู้นำขณะนี้
 
ซึ่งมันเป็นภาพของพลเรือน นักวิชาการที่น่าทุเรศน่าสงสารมาก ๆ ตลอดเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงจากระบอบกษัตริย์มาสู่ประชาธิปไตยจนถึงบัดนี้ ฉะนั้น เมื่อเปรียบเทียบแล้ว เราไม่คิดว่าจะกล่าวโทษทหารได้เต็มที่   นอกจากสาเหตุมาจากพลเรือนที่อ่อนแอ ไร้ระเบียบวินัยอย่างยิ่ง แล้ว พลเรือนยังไร้มันสมองคิดสติปัญญาทางเหตุผล และไร้การคิดแก้ไขปรับปรุงตนเอง ให้ก้าวหน้าไปตามสายงานของตน คือ ความเป็นนักวิชาการ และสถาบันนักวิชาการ   จนดูประหนึ่งว่าพลเรือนไร้สถาบัน   ไม่มีความสำนึกเชิงสถาบันอยู่ในหัวอกหัวใจ   ไม่เคยอ่านความหมายจากหนังคาวบอยอเมริกัน   เรื่องนายอำเภอผู้รักษากฎหมาย กับมือปืนระดับ The Professional ว่านั่นคือความหมายของประชาธิปไตยและวิถีทางสร้างสรรค์อเมริกันไปสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อย่างไร   จึงไม่ได้เห็นพลเรือนมีความภูมิใจในสถาบันวิชาการของตน คอยแต่จะหาโอกาสไปประจบประแจงฝ่ายการเมืองเขาผู้มีอำนาจเพื่อตนได้เข้าไปสู่วิถีทางการเมืองบ้าง(ปัจจุบันก็มีตัวอย่างเล็ก ๆ อยู่ตัวอย่างหนึ่งคือนักวิชาการนายหนึ่งในมหาวิทยาลัยมีชื่อคนหนึ่ง(ดร.ปณิธาน วัฒนายายน อาจารย์สอนวิชาการเมือง ในคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ไปอาสาเป็นโฆษกรัฐบาลอภิสิทธิ เวชชาชีวะ ทำหน้าที่ร่วมกับโฆษกอีกคนหนึ่งคือนายเทพไท เสนพงษ์ ด้วย   แล้วไม่เห็นบทบาทที่สร้างสรรค์อะไร แม้หน้าที่โฆษกก็ทำเงอะ ๆ งะ ๆ เลียนแบบอเมริกาเขาโดยคอยไปยืนเป็นเพียงฉากหลังให้เท่านั้นเอง ไม่โดดเด่นอะไรสมกับความเป็นนักวิชาการ มีแต่ทำความเสื่อมแด่สถาบันนักวิชาการตนเองลงไป ๆ )
 
มีตัวอย่างที่นักวิชาการระดับมันสมองของนักวิชาการไทยทั้งปวง ทำพลาดอย่างไม่น่าอภัยในยุคทักษิณ นรม.ทักษิณ ให้เชิญคณบดีทุกมหาวิทยาลัย(รวมทั้ง 26 คณบดีที่ต่อต้านการถวายฎีกาของคนเสื้อแดงวันนี้) และนักวิชาการในสถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ มาประชุมระดมมันสมองคิด ศึกษา วิจัย   เรื่องทำอย่างไรการเมืองไทยจึงจะเจริญก้าวหน้า   ในทำเนียบรัฐบาล มีการถ่ายทอดสดทางทีวี   มี ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดี ธรรมศาสตร์เข้าร่วมประชุมด้วยด้วยท่าทีเป็น Leadership ของหมู่เสียด้วย แต่ภาพที่ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพของการประชุมที่เบื้อใบ้ ไร้แววความหมายของความเป็นนักวิชาการโดยสิ้นเชิง เพราะ ปรากฏว่าคณบดีเหล่านี้ไม่กล้าพูดอะไร พากันอมยิ้มไปหมด ไม่ว่าจะตั้งประเด็นอะไรขึ้นมาก็เอาแต่อมยิ้ม (กลัวคมปัญญาทักษิณ ชินวัตร จนพูดไม่ออก)  จนนรม.ต้องขอร้องเป็นรายคนให้แสดงความเห็น จึงค่อย ๆ แย้มเหนียมอายออกมาบ้าง (เวลาเขาให้พูดกลับไม่ยอมพูด เวลาเขาไม่อยากให้พูดกลับพูดมาก นี่คือคนไม่รู้กาลเทศะ คนเช่นนี้เป็นใหญ่ยาก)  แล้ว สุรพล นิติไกรพจน์ นี่เอง ที่เบี้ยว ไม่ยอมส่งรายงานการประชุมกลุ่ม มีข้ออ้าง ข้อตำหนิมากมายภายหลัง โดยไปพูดนอกที่ประชุมลับหลัง ไม่กล้าพูดในขณะมีการประชุม ที่สำคัญ โอกาสการประชุมคณะบดีครั้งนั้น มีความหมายสำคัญกว่านั้นหลายเท่า ซึ่งวงการนี้น่าจะฉวยเอาโอกาสการประชุมครั้งนั้นรวมหัวกันสร้างสรรค์ทางวิชาการการเมืองการปกครองประชาธิปไตย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นโอกาสที่จะมีการสร้างสรรค์เชิงวิชาการและสถาบันวิชาการครั้งใหญ่ มีความหมายถึงการเริ่มกันเสียที ซึ่งหน้าที่ของนักวิชาการที่แท้จริง แต่นักวิชาการก็ไม่เข้าใจที่จะฉกฉวยประโยชน์เข้าสถาบันตนเอง กลับไปทำสิ่งที่เหลวไหลด้วยทิฏฐิ   จึงทำให้นักวิชาการและสถาบันวิชาการ ยังไม่ออกเดิน ยังคงอยู่กับที่และยังคงไม่รู้หน้าที่ของตนและสถาบันของตนอยู่ต่อไป ทั้ง ๆ ที่ประเทศชาติและประชาชนกำลังต้องการความรู้ความสามารถและงานของนักวิชาการเพื่อแก้ไขความบกพร่องของระบบประชาธิปไตยไทยทุกระดับอยู่
 
แม้ทุกวันนี้ พลเรือนอย่างนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นอย่างไร มีการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและสถาบันนักวิชาการพลเรือนของตนเอง อย่างไร บอกถึงศักดิ์ศรีของพลเรือน หรือสถาบันใด ที่ตนสังกัด อย่างไร  นอกจากความบอดมืดหลงทางมาตั้งแต่เริ่มต้นโดยความโลภและใช้วิธีการสกปรกไม่สง่างามในการแย่งชิงตำแหน่งผู้นำในรัฐบาลมาจนถึงทุกวันนี้ ที่ว่าทหาร “มุ่งมั่นแต่เรื่องอำนาจนิยม  อยากปกครองประเทศ  อยากปกครองประชาชน  แต่ไม่เข้าใจวิธีการปกครองคน  ไปเอาระบบทหารมาปกครองพลเรือนเขาไม่ชินกับระบบนี้  เขารับไม่ได้” นั้น ในทัศนะของเรา ยังไม่อาจจะลงโทษทหารได้   ตามเหตุผลเบื้องต้นมานี้ แต่จะยังมีเหตุผลอื่นที่จะขอกล่าวต่อไปคราวหน้า ซึ่งจะเป็นเรื่องของความเหลวไหลของทหารเองโดยเฉพาะ  และที่ทหารจะต้องมาเข้าใจหน้าที่ของทหารตามระบอบประชาธิปไตยอย่างไร
 
  • ธรรมาชีพ ธรรมาชน ป.ธ.ร.
    24 ส.ค.2552
ผู้แสดงความคิดเห็น บก.นสพ.ดี(อินเทอเนต) (newworld_believe-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-08-24 12:56:34


ความคิดเห็นที่ 3 (1973842)

จากพลเรือน

ได้อ่านคำตอบจาก บก.แล้ว ขอบคุณมากและทำให้ได้เข้าใจอะไรหลายๆอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น  และยอมรับว่านักการเมืองและนักวิชาการไทยที่ผ่านมาไม่ได้ทำหน้าที่ของตน  จึงเป็นอุปสรรคในการนำพาประเทศไทยไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง และมาตกต่ำมากที่สุดในยุคที่รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะมาบริหารประเทศ  เพราะยิ่งสะท้อนถึงความไม่มีศักดิ์ศรี  ไม่มีความสามารถ  และนำพาประชาชนไปสู่ความลำบากยากแค้น  ขาดอิสรภาพเด่นชัดยิ่งขึ้น  อยากให้สะท้อนความคิดเช่นนี้สู่สังคมอย่างกว้างขวาง เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่า  และบอกคนตาบอดที่ทนงตนว่า  เป็นนักบริหาร  นักวิชาการ  ให้รู้ตัวเสียทีว่าหลงทางไปมากแล้ว  และคนเช่นนี้นี่แหละที่ขัดขวางความเจริญของชาติบ้านเมือง

ผู้แสดงความคิดเห็น พลเรือน วันที่ตอบ 2009-08-25 21:52:14



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.