ReadyPlanet.com
dot


ถึงเวลาปฏิวัติการศึกษาคณะสงฆ์ได้แล้ว


สงสัยเหลือเกินว่า ทำไมพระวิปัสสนากลุ่มใหญ่นำโดยนายทองก้อน  ใจสมุทร ศิษย์โปรดของหลวงตามหาบัวจึงนำพระวิปัสสนาจำนวนมากไปชุมนุมที่วัดอโศการาม กทม. กล่าวโทษนายวิษณุ  เครืองาม และรัฐบาลในขณะนั้นว่าใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบด้วยการแต่งตั้งสมเด็จเกี่ยวทำหน้าที่แทนเป็นพระสังฆราชซ้อน เป็นปัจจัยหนึ่งในหลายปัจจัยที่แกนนำพันธมิตรนำไปยุแหย่ประชาชนให้เห็นว่ารัฐบาลพตท.ดร.ทักษิณหมิ่นพระเกียรติของสมเด็จพระสังฆราช  และนำมาโฆษณาชวนเชื่อให้ประชาชนเกลียดชังรัฐบาล  ส่งผลให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งถูกยึดอำนาจ  และตั้งรัฐบาลเผด็จการมาบริหารแทน สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนมาจนถึงขณะนี้ ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นข้าราชการคนหนึ่ง  มีความเข้าใจดีว่างานราชการจำเป็นต้องมีผู้บริหารสูงสุดเพื่อบริหารงานราชการ  หากท่านปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ก็ต้องแต่งตั้งให้ผู้บริหารระดับรองลงมาทำหน้าที่แทน  งานราชการสงฆ์ก็เช่นเดียวกัน  ซึ่งได้บัญญัติไว้ในพรบ.คณะสงฆ์  พ.ศ. 2505 ปรับปรุง 2535  ดังนี้

มาตรา ๑๐ ในเมื่อไม่มีสมเด็จพระสังฆราช ให้สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
ถ้าสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการมหาเถรสมาคมที่เหลืออยู่เลือกสมเด็จพระราชาคณะรูปหนึ่งผู้มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์รองลงมาตามลำดับ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
ในเมื่อสมเด็จพระสังฆราชไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือไม่อาจทรงปฏิบัติหน้าที่ได้ สมเด็จ
พระสังฆราชจะได้ทรงแต่งตั้งให้สมเด็จพระราชาคณะรูปใดรูปหนึ่งปฏิบัติหน้าที่แทน
ในกรณีที่สมเด็จพระสังฆราชมิได้ทรงแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนตามวรรคสามหรือสมเด็จพระราชาคณะซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราชไม่อาจปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชได้ให้นำความในวรรคหนึ่ง และวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศนามสมเด็จพระราชาคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จ
พระสังฆราชตามมาตรานี้ในราชกิจจานุเบกษา

ในฐานะที่ท่านเหล่านั้นเป็นสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า  มีหน้าที่โดยตรงในการนำประโยชน์สุขไปสู่มหาชน  และเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณสอนให้ฆราวาสตั้งมั่นในธรรม มีความเฉลียวฉลาดทั้งทางโลกและทางธรรม  แต่กลับไม่ทราบระเบียบปฏิบัติของคณะสงฆ์  จึงทำอะไรไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์เช่นนี้  แต่ผลที่เกิดขึ้นมหาศาลเหลือเกิน  ถึงเวลาหรือยังที่คณะสงฆ์จะได้เกิดการปฏิวัติทางภูมิปัญญาให้เข้าใจโลกและธรรมอย่างถ่องแท้  เข้าใจสิ่งที่เป็นของสมมุติและความจริงในไตรลักษณ์   สมดังพระประสงค์ขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาที่มอบมรดกธรรมให้ท่านเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ ดังพระพุทธพจน์ว่า " เธอจงเที่ยวจาริกไปเพื่อประโยชน์สุขของมหาชน "

กราบนมัสการมาด้วยความเคารพ

           คนพุทธ



ผู้ตั้งกระทู้ คนพุทธ :: วันที่ลงประกาศ 2009-08-03 18:41:00


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1969513)

เห็นด้วยกับคนพุทธ เพราะตอนนี้แกนนำพันธมิตรเริ่มแผนใหม่อีกแล้วหลังจากโค่นสถาบันการเมืองให้ง่อนแง่นคลอนแคลน และดึงสถาบันพระมหากษัตริย์ลงมาเกี่ยวข้องกับการเมือง เหลือสถาบันศาสนาอีกสถาบันเดียว  อย่าให้น้ำลายของพวกบ่างช่างยุมาทำลายได้  เพราะเป็นที่พึ่งของคนไทยและชาวพุทธทั่วโลกอยู่ในขณะนี้  ข้อสำคัญไม่ว่าสงฆในนิกายใดหากมีระเบียบวินัยเป็นเครื่องร้อยรัด ย่อมถือว่าประพฤติพรหมจรรย์

ผู้แสดงความคิดเห็น อุบาสิกา วันที่ตอบ 2009-08-03 18:49:29


ความคิดเห็นที่ 2 (1969724)

ข้าพเจ้าเคยพูดคุยกับพระวัดป่าหลายรูป  มีส่วนน้อยเท่านั้นที่สนใจใฝ่รู้ความเป็นไปเกี่ยวกับโลกและธรรมควบคู่กันไป 

ส่วนใหญ่อ้างว่าไม่เกี่ยวกับสงฆ์และการปฏิบัติธรรม  แล้วยังเผลอไผไปคิดว่าคนที่ไม่ดำเนินวิถีชีวิตอย่างตนเป็นผู้ห่างไกลธรรม

บางสำนักเมื่อมีญาติโยมมาศรัทธามากๆก็มีข่าวเล่าลือจากลูกศิษย์ลูกหาว่าเป็นยพระอริยบุคคล

ผู้แสดงความคิดเห็น คนนอกคอก วันที่ตอบ 2009-08-04 18:12:32


ความคิดเห็นที่ 3 (1969726)

อยากถามบก.ว่า  การที่พระสงฆ์กล่าวโทษฆราวาสให้ได้รับความเสียหายอับอายและเป็นที่เกลียดชังของสังคม  โดยที่ฆราวาสผู้นั้นไม่ได้ทำผิดตามที่กล่าวหา ในทางพระธรรมวินัยกำหนดให้สงฆ์ที่กระทำการดังกล่าวต้องแสดงความรับผิดชอบต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้นหรือไม่  และอย่างไร

ผู้แสดงความคิดเห็น ภราดร วันที่ตอบ 2009-08-04 18:21:03


ความคิดเห็นที่ 4 (1969954)

 

ต้องรับผิดชอบเสมอครับ   สงฆ์ทำอะไรต้องรับผิดชอบทั้งหมด  ไม่มีอะไรที่สงฆ์ทำไปแล้วจะปลอด หรือทำไปเปล่า แม้กระทั่งเรื่องที่ละเอียดอ่อนที่สุด ก็ต้องรับผิดชอบ  เช่นสงฆ์จะเอ่ยวาจา  จะยิ้ม  จะเดิน  จะนั่ง  ก็ต้องรับผิดชอบ  แม้สงฆ์จะชำเลือง ส่งสายตาก็ต้องสำรวม รับผิดชอบ   ในกรณีนี้  จะต้องถึงขอโทษเขา   ถ้าทำเขาเสียหายร้ายแรง  ต้องปฏิญญาณออกจากสมณะไป  เพื่อชดใช้กรรมนั้น   แล้วเพื่อให้ได้มีโอกาสมาเริ่มต้นทางมรรคผลใหม่     อย่างนี้คือเรื่องของกรรมน่ะครับ    หากสงฆ์มุ่งหมายมรรคผลแล้ว  เรื่องกรรมนี้จะต้องให้ขาวรอบ  ขาวปลอดเลยทีเดียว   หมายความว่า  แท้จริง  สำนึกใความรับผิดชอบในการกระทำของตนเอง  โดยหิริโอตตัปปะ ต้องสูงส่ง ต้องรับผิดชอบไปทุกเรื่องราวที่กระทำไปนั่นเอง   

 

กรณีพระไปทำการคว่ำบาตรโยมเขา  นั่นแหละ  จะต้องรับผิดชอบอย่างขาดไม่ได้   เพราะจะรอดไปจากบาปหาได้ไม่  และหากไม่ชำระตัวเองเสีย  อย่าหวังว่าจะถึงมรรคถึงผล  เพราะทางมรรคผลนั้นจะเป้นทางสะอาดร้อยเปอร์เซนต์    กรณีที่คนพุทธเล่ามานั้น  น่าคิดมากว่า  พระเช่นนั้นทำการเช่นนั้นได้อย่างไร   ทั้ง ๆ ที่เป็นพระป่าที่ปฏิญญาณตนมุ่งหมายมรรคมุ่งหมายผล    โดยเฉพาะ  พระผู้ใหญ่ที่ท่านเคยอวดคนทั้งหลายว่าสำเร็จเป็นพระอริยบุคคลแล้ว  นั้น   มาทำการเช่นนี้ได้อย่างไร ?     เหตุผลก็คือ  ท่านรองนายกรัฐมนตรี วิษณุ  เครืองาม  ท่านก็ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ไปโดยสุจริต   และมีเหตุผลอาจจะกระทำได้ ตามกฎหมาย  และตามเหตุผลแห่งพระธรรมวินัย    ตามที่คนพุทธรายงานมานั่นแหละ

ส่วนคำถามว่ารับผิดชอบอย่างไร  นั่นแหละ  น่าจะต้องคิดกันมากหน่อย    ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า  พระสงฆ์เดี๋ยวนี้  มีฐานะหลายอย่าง  ไม่ใช่เพียงสงฆ์ธรรมดาอย่างเดียว  แต่ในสงฆ์รูปเดี๋ยวนอกจากมีความเป็นสงฆ์แล้ว  ยังมีตำแหน่ง  มียศ   กำกับไปด้วยเป็นหลายยศหลายชั้นตำแหน่งไปอีกด้วย  ความรับผิดชอบก็ต้องรับผิดชอบไปตามฐานะ แล้วแต่ไปเกี่ยวข้องถึงอะไร  เช่นไปเกี่ยวข้องถึงตำแหน่ง โทษที่ได้รับก็มีถึงปลดออกจากตำแหน่ง  เช่นเป็นเจ้าคณะ ก็ปลดจากตำแหน่งเจ้าคณะ  รองเจ้าอาวาสก็ปละจากตำแหน่งรองเจ้าอวาส    หรือ มียศ  เช่นชั้นพระราชาคณะชั้นธรรม  ทำความชั่วอย่างร้ายแรง  ก็ถอดจากยศได้  ไม่ใช่ว่าตั้งแล้วถอดไม่ได้เมื่อไร       นั่นคือ    โทษที่จะลงไปก็มีตั้งแต่  ให้พ้นจากหน้าที่ตำแหน่ง   ถอดยศ   และ  พ้นจากความเป็นสงฆ์ไปเลยก็ย่อมได้  ตามแต่เจตนาของการกระทำ    อธิบายเพื่อให้เข้าใจโดยกว้าง ๆ ก่อน   ค่อยทำความเข้าใจในรายละเอียดต่อไปอีก   ขอขอบคุณที่ตั้งคำถามเข้ามา   เรื่องที่เกี่ยวกับวงการสงฆ์ไทยยุคปัจจุบันมีปัญหามาก  ขอให้ติดตามอ่านจากหนังสือพิมพ์ดีมาตั้งแต่เล่มที่ 1 มาจนถึงเล่มปัจจุบันไปเลยนะครับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น สุไหงปาดี แทน บก. (newworld_believe-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-08-05 19:31:18


ความคิดเห็นที่ 5 (1970491)

ขอบคุณที่ตอบได้ชัดเจนมาก  และเห็นว่ามีประโยชน์ต่อสาธารณชน

อยากให้นำข้อคิดที่แสดงมาทั้งหมดนี้สู่สังคมและพระสังฆาธิการทุกรูป  เพราะปัจจุบันสังคมต้องการผู้นำที่มีสติปัญญารอบรู้  รอบคอบ  เข้าใจหลักกาลามสูตรอย่างแท้จริง  มองเห็นช้างทั้งตัว  การโฆษณาชวนเชื่อ  การมอมเมาทางสติปัญญาจะไม่ขยายวงกว้างทำลายความมั่นคงของสถาบันต่างๆ  หากสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าเป็นผู้ประกอบด้วยศีล  สมาธิ  ปัญญา เข้าใจว่าอะไรเป็นบาป  อะไรเป็นบุญ จะไม่นำพาหมู่สงฆ์ไปสู่การทำอะไรเหลวใหลที่เสียหายต่อการพระพุทธศาสนา  เพียงเพราะไม่รู้เท่าทันคนที่เอาดีใส่ตัว  เอาชั่วใส่คนอื่น

ผู้แสดงความคิดเห็น คนพุทธ วันที่ตอบ 2009-08-08 10:47:19


ความคิดเห็นที่ 6 (2038380)
การปกครองคณะสงฆ์ในปัจจุบันมีการวางแนวทางที่ไม่ชัดเจน และไม่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เห็นได้จาก ภิกษุในวัดต่างๆไม่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ในกรณีอาบัติเบาเช่น อาบัติชั่วหยาบของภิกษุเป็นปาจิตตีย์ ซึ่งภิกษุทั่วไป ไม่ให้ความสำคัญจะรักษาและมีการประพฤติจนต้องอาบัติเป็นเรื่องธรรมดา และ พอจะทำปาติโมกข์หรือวันพระ ก็ปลงอาบัติได้ จนเป็นการไม่ให้ความสำคัญต่อพระธรรมวินัย รวมถึงมีการตีความพระธรรมวินัยบางข้อเพื่อเอื้อประโยชน์ในการแสวงหาทรัพย์ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม รวมถึงให้มีการจัดสร้างพระบูชาตามวัดต่างๆจนกลายเป็นพุทธพาณิชย์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ไม่มีการสอนถึงแก่นของพุทธศาสนาว่า แตกต่างจาก ฮินดูหรือเทวนิยม ว่ามีความแตกต่างกัน จนกลายเป็น ฮินดูบวกกับพุทธศาสนา ซึ่งไม่ใช่พุทธศาสนาที่แท้และบริสุทธิรวมถึงภิกษุบางรูปยังสอนให้ญาติโยมเชื่อและงมงาย จนไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างดังกล่าวได้ มิหนำซ้ำยังไม่มีการตักเตือนจากคณะสงฆ์ส่วนกลาง จนกลายเป็นการสนับสนุนทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้พุทธศาสนาเสื่อมลง ทั้งที่หน้าที่ต้องจัดการเพื่อเป็นการดำรงและสนับสนุนให้พุทธศาสนารุ่งเรือง ซึ่งหากจะปฏิเสธความรับผิดชอบในหน้าที่ดังกล่าวก็ควรพิจารณาตนเองว่ากำลังทำสิ่งใดอยู่ สมณศักดิ์ ที่ได้รับการแต่งตั้งจนใหญ่โต ก็ยิ่งสะท้อนว่าเป็นภิกษุที่สวมหัวโขน ไม่ใช่ภิกษุที่สมบูรณ์ ตามเส้นทางที่พุทธองค์มุ่งหมายให้เป็น * คงต้องถามตนเองว่า บวชเพื่อสิ่งใด ต้องการสิ่งใดจากพุทธศาสนา  ลาภ ยศ ทรัพย์สิน หรือ ต้องการเป็นภิกษุรูปหนึ่งที่คอยสนับสนุนพุทธศาสานา เปรียบเสมือนปิดทองหลังพระ และมีความมุ่งหมายให้พุทธศาสนาได้ดำรงอยู่ต่อไปกับความบริสุทธิ์และเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงาม
     วิธีการแก้ไข
ประการแรกต้องนำพวกที่อาศัยพุทธศาสนาหากิน รวมถึงพวกเหลือบของพุทธศาสนาออกจากพุทธศาสนา โดยการลดแรงจูงใจคือ
1. ห้ามสงฆ์ถือครองทรัพย์ทุกชนิดรวมถึงเงินทอง นอกจากที่พุทธเจ้าอนุญาติ วิธีนี้จะจำกัดบุคคลที่บวชเพื่อทรัพย์สินได้
2. ต้องจำกัด วงเงินที่อนุญาติให้วัดต่างๆถือครองได้ ไม่เกิน 20,000บาท ต่อ1วัด และแต่ละวัดตอ้งมีบัญชีเพียงบัญชีเดียวเท่านั้น เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟของวัด ค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆไม่อนุญาติให้ถือครองได้ วิธีนี้เป็นการจำกัดบุคคลที่เป็นเหลือบของวัด หากิน
3. ต้องจำกัด การก่อสร้างถาวรวัตถุทุกชนิด ยกเว้นจะขออนุญาติต่อคณะสงฆ์ส่วนกลางเท่านั้น และอนุญาติเท่าที่จำเป็นเท่านั้น วิธีนี้จะจำกัดสงฆ์ที่อาศัยการสร้างถาวรวัตถุหากินและสร้างรายได้ โดยการเรี่ยไรญาติโยมสร้างถาวรวัตถุโดยใช้วัดเป็นข้ออ้าง และ เป็นการวางขอบข่ายในการเจริญเติบโตของทางพุทธศาสนาในทางที่ถูกต้อง เนื่องจากในประเทศไทยยังมีวัดร้างที่ไม่มีสงฆ์ประจำอยู่เป็นจำนวนมาก
4. ต้องออกประกาศจากคณะสงฆ์ส่วนกลางห้ามวัดทุกวัดในประเทศ สร้างวัตถุมงคลทุกชนิด โดยไม่ได้รับอนุญาติจากคณะสงฆ์ส่วนกลาง วิธีนี้เป็นการจำกัด การที่สงฆ์หากินโดยการสร้างวัถุมงคล โดยเป็นข้ออ้างเพื่อเรี่ยไรเงินเข้าวัด
5. วัดแต่ละวัดต้องทำบัญชีเงินเข้าออกอย่างละเอียด และต้องมีผู้ตรวจบัญชีโดยมีหน่วยงานของทางราชการเป็นผู้รับรองทุกเดือน วิธีนี้เป็นการป้องกันการยักยอกทรัพย์ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัย
6. ต้องออกประกาศจากคณะสงฆ์ส่วนกลางห้ามทุกวัดตั้งตู้บริจากเงินภายในวัดและรอบบริเวณวัด วิธีนี้เป็นเป็นการจำกัดเงินที่จะเข้ามาภายในวัดโดยไม่จำเป็นต่อการครองสมณะ หากวัดใดต้องการตั้งตู้บริจาคต้องขออนุญาตจากคณะสงค์ส่วนกลาง และส่วนเงินที่ได้รับจากการตั้งตู้บริจาคต้องจำกัด วงเงินที่วัดสามารถเก็บไว้ได้ โดยจะต้องมีบัญชี และแจงความจำเป็นเป็นกรณีไป ส่วนเงินที่เหลือต้องส่งเข้าบัญชีส่วนกลางห้ามนำไปใช้ยกเว้นจะมีหนังสืออนุญาตเป็นรายกรณี และผู้อนุญาติได้ต้องเป็นในนามคณะสงค์เท่านั้น วิธีนี้เป็นการจำกัด การแสวงหาทรัพย์สินในนามของวัด
7. รายได้ที่ส่วนเกินที่แต่ละวัดส่งเข้าบัญชีคณะสงค์ส่วนกลางโดยจะต้องแบ่งเป็นสามส่วน 1. ใช้จัดซื้อซื่อเครื่องอุบโภคที่จำเป็นส่งไปยังวัดที่ขาดแคลนและส่งเท่าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพในวัดแต่ละวัดตามจำนวนสงฆ์ที่มีอยู่แต่ละวัดเท่านั้น  โดยวัดใดไม่ขาดแคลนห้ามจัดส่ง ส่วนที่ 2.นำไปใช้เป็นค่ารักษาสงฆ์ที่อาพาธรวมถึงสร้างสถานพยาบาลของภิกษุในทุกภาคให้เพียงพอต่อความต้องการ และ ห้ามนำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในทุกกรณี 3. ส่วนถ้าเหลือให้ส่งเข้ารัฐทั้งหมดจัดเป็นรายได้แผ่นดิน วิธีนี้ เป็นการป้องกันคณะสงฆ์ส่วนกลางแสวงหาประโยชน์ และป้องกันสงฆ์ส่วนกลางที่มีสมณะศักดิ์สูงอาศัยพุทธศาสนาหากิน และเป็นการส่งเสริมพุทธศาสนาในทางที่ถูกต้อง
8. ในส่วนของผ้าป่าที่แต่ละวัดรับเป็นปัจจัยต้องส่งเข้าส่วนกลางทั้งหมด หากแต่ละวัดประสงค์จะเก็บไว้ต้องทำหนังสือแจ้งความจำเป็น และต้องมีคณะสงฆ์ส่วนกลางร่วมพิจารณาเป็นกรณีไป และ ห้ามนำปัจจัยส่วนนี้ไปใช้ผิดประเภท (เนื่องจากพระธรรมวินัย ปัจจัยส่วนนี้ใช้ได้เฉพาะในการสร้างถาวรวัตถุเท่านั้น) วิธีนี้เป็นการป้องกับสงฆ์อาศัยผ้าป่าในการหาประโยชน์
9. ห้ามสงฆ์ส่วนกลางออกกฏเกณฑ์ใดโดยไม่มีมติร่วมกันของคณะสงฆ์ทั้งสองนิกายในประเทศไทย อรัญวาศรี(พระป่า) คามะวาศรี (พระบ้านในเมือง) ในข้อนี้ท่านคงสงสัยว่าเหตุใดต้องเป็นเช่นนั้น เนื่องด้วยเท่าที่ทราบมาในทางคณะสงฆ์ส่วนกลางพยายามออกกฏเกณฑ์ที่เป็นการแทรกแทรงสงฆ์สายธรรมยุต (พระป่า) ทำให้มีการขัดแย้งกันภายใน เนื่องด้วยวัตรปฏิบัติที่แตกต่างกัน ทำให้ต้องมีการปฏิบัติที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นกิจสงฆ์ และวัตรอื่นๆ ทำให้เกิดความขัดแย้งกัน การออกกฏเกณฑ์จากคณะสงฆ์ส่วนกลางซึ่งส่วนใหญ่เป็นคามะวาศรี(พระบ้านหรือพระในเมือง) ในบางกรณีจึงไม่เอื้ออำนายในการปฏิบัติกิจของพระสายธรรมยุต(พระป่า)ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการปฏิบัติกิจ และเกิดเป็นความแตกแยกในหมู่คณะสงฆ์ทั้งสองนิกายในประเทศไทย เพื่อเป็นการป้องกันความแตกแตกดังกล่าว จึงต้องมีข้อห้ามดังกล่าวข้างต้น
10. ส่งเสริมให้มีการสอนถึงความแตกต่างของศาสนาพุทธ และอินดู หรือเทวนิยมว่ามีความแตกต่างอย่างไรในส่วนใด ไม่ว่าสงฆ์ที่บวชใหม่ หรือสงฆ์ที่บวชนานแล้วให้สามารถแยกแยะความแตกต่างดังกล่าวได้เพื่อไม่ให้สอนญาติโยมในทางที่ผิดจากศาสนาพุทธ หากมีสงฆ์ที่สอนญาติโยมในทางที่ผิดจะต้องมีการตักเตือน และหากร้ายแรงจะต้องให้สึกออกไป เห็นได้จากบางวัดมีการสร้างพระพิฆเนศภายในวัด รวมถึงสอนญาติโยมว่าเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาพุทธ
* วิธีการดังกล่าวข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่ง ในการส่งเสริมพุทธศาสนาในทางที่ถูกต้อง เพื่อสงฆ์ในเมืองไทย จะได้เป็นสงฆ์ที่แท้ ไม่ใช่เป็นภิกษุพุทธพาณิย์ หากวิธีการดังกล่าวเป็นประโยชน์ขอช่วยกันทำให้เกิดขึ้นเพื่อเป็นการสืบต่อพุทธศาสนาให้ยั่งยืนปราศจากเหลืบ ไรของพุทธศาสนา
ผู้แสดงความคิดเห็น พลชัย (pal-dot-echo-at-chaiyo-dot-com)วันที่ตอบ 2010-07-14 15:30:09



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.