ReadyPlanet.com
dot
dot dot
bulletBUDDHISM TO THE NEW WORLD ERA
bullet1 Thai-ไทย
bullet2.English-อังกฤษ
bullet3.China-จีน
bullet4.Hindi-อินเดีย
bullet5.Russia-รัสเซีย
bullet6.Arab-อาหรับ
bullet7.Indonesia-อินโดนีเซีย
bullet8.Japan-ญี่ปุ่น
bullet9.Italy-อิตาลี
bullet10.France-ฝรั่งเศส
bullet11.Germany-เยอรมัน
bullet12.Africa-อาฟริกา
bullet13.Azerbaijan-อาเซอร์ไบจัน
bullet14.Bosnian-บอสเนีย
bullet15.Cambodia-เขมร
bullet16.Finland-ฟินแลนด์
bullet17.Greek-กรีก
bullet18.Hebrew-ฮีบรู
bullet19.Hungary-ฮังการี
bullet20.Iceland-ไอซ์แลนด์
bullet21.Ireland-ไอร์แลนด์
bullet22.Java-ชวา
bullet23.Korea-เกาหลี
bullet24.Latin-ละติน
bullet25.Loa-ลาว
bullet26.Finland-ฟินแลนด์
bullet27.Malaysia-มาเลย์
bullet28.Mongolia-มองโกเลีย
bullet29.Nepal-เนปาล
bullet30.Norway-นอรเวย์
bullet31.persian-เปอร์เซีย
bullet32.โปแลนด์-Poland
bullet33.Portugal- โปตุเกตุ
bullet34.Romania-โรมาเนีย
bullet35.Serbian-เซอร์เบีย
bullet36.Spain-สเปน
bullet37.Srilanga-สิงหล,ศรีลังกา
bullet38.Sweden-สวีเดน
bullet39.Tamil-ทมิฬ
bullet40.Turkey-ตุรกี
bullet41.Ukrain-ยูเครน
bullet42.Uzbekistan-อุสเบกิสถาน
bullet43.Vietnam-เวียดนาม
bullet44.Mynma-พม่า
bullet45.Galicia กาลิเซียน
bullet46.Kazakh คาซัค
bullet47.Kurdish เคิร์ด
bullet48. Croatian โครเอเซีย
bullet49.Czech เช็ก
bullet50.Samoa ซามัว
bullet51.Nederlands ดัตช์
bullet52 Turkmen เติร์กเมน
bullet53.PunJabi ปัญจาบ
bullet54.Hmong ม้ง
bullet55.Macedonian มาซิโดเนีย
bullet56.Malagasy มาลากาซี
bullet57.Latvian ลัตเวีย
bullet58.Lithuanian ลิทัวเนีย
bullet59.Wales เวลล์
bullet60.Sloveniana สโลวัค
bullet61.Sindhi สินธี
bullet62.Estonia เอสโทเนีย
bullet63. Hawaiian ฮาวาย
bullet64.Philippines ฟิลิปปินส์
bullet65.Gongni-กงกนี
bullet66.Guarani-กวารานี
bullet67.Kanada-กันนาดา
bullet68.Gaelic Scots-เกลิกสกอต
bullet69.Crio-คริโอ
bullet70.Corsica-คอร์สิกา
bullet71.คาตาลัน
bullet72.Kinya Rwanda-คินยารวันดา
bullet73.Kirkish-คีร์กิช
bullet74.Gujarat-คุชราด
bullet75.Quesua-เคซัว
bullet76.Kurdish Kurmansi)-เคิร์ด(กุรมันซี)
bullet77.Kosa-โคซา
bullet78.Georgia-จอร์เจีย
bullet79.Chinese(Simplified)-จีน(ตัวย่อ)
bullet80.Chicheva-ชิเชวา
bullet81.Sona-โซนา
bullet82.Tsonga-ซองกา
bullet83.Cebuano-ซีบัวโน
bullet84.Shunda-ชุนดา
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet86.Sesotho-เซโซโท
bullet87.NorthernSaizotho-ไซโซโทเหนือ
bullet88.Somali-โซมาลี
bullet89.History-ประวัติศาสตร์
bullet90.Divehi-ดิเวฮิ
bullet91.Denmark-เดนมาร์ก
bullet92.Dogry-โดกรี
bullet93.Telugu-เตลูกู
bullet94.bis-ทวิ
bullet95.Tajik-ทาจิก
bullet96.Tatar-ทาทาร์
bullet97.Tigrinya-ทีกรินยา
bullet98.Check-เชค
bullet99.Mambara-มัมบารา
bullet100.Bulgaria-บัลแกเรีย
bullet101.Basque-บาสก์
bullet102.Bengal-เบงกอล
bullet103.Belarus-เบลารุส
bullet104.Pashto-พาชตู
bullet105.Fritian-ฟริเชียน
bullet106.Bhojpuri-โภชปุรี
bullet107.Manipur(Manifuri)-มณีปุระ(มณิฟูรี)
bullet108.Maltese-มัลทีส
bullet109.Marathi-มาราฐี
bullet110.Malayalum-มาลายาลัม
bullet111.Micho-มิโช
bullet112.Maori-เมารี
bullet113.Maithili-ไมถิลี
bullet114.Yidsdish-ยิดดิช
bullet115.Euroba-ยูโรบา
bullet116.Lingala-ลิงกาลา
bullet118.Slovenia-สโลวีเนีย
bullet119.Swahili-สวาฮิลี
bullet120.Sanskrit-สันสกฤต
bullet121.history107-history107
bullet122.Amharic-อัมฮาริก
bullet123.Assam-อัสสัม
bullet124.Armenia-อาร์เมเนีย
bullet125.Igbo-อิกโบ
bullet126.History115-ประวัติ 115
bullet127.history117-ประวัติ117
bullet128.Ilogano-อีโลกาโน
bullet129.Eve-อีเว
bullet130.Uighur-อุยกูร์
bullet131.Uradu-อูรดู
bullet132.Esperanto-เอสเปอแรนโต
bullet133.Albania-แอลเบเนีย
bullet134.Odia(Oriya)-โอเดีย(โอริยา)
bullet135.Oromo-โอโรโม
bullet136.Omara-โอมารา
bullet137.Huasha-ฮัวซา
bullet138.Haitian Creole-เฮติครีโอล
bulletคำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรแปล เช้า-เย็น
bulletChart Showing the Process
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี พ.ศ.2540 - 2566
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 1
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 2
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี บุคคลที่ 1 - 188 ปัจจุบัน
bulletหนังสือพิมพ์ดี
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 1
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 2
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 3
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 4
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 5
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 6
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 7
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 8
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 9
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 10
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 11
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 12
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 13
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 14
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 15
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 16
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 17
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 18
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 19
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 20
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 21
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 22
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 23
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 24
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 25
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 26
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 27
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 28
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 29
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 30
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 31
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 32
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 33
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 34
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 35
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 36
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 37
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 38
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 39
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 40
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 41
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 42
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 43
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 44
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 45
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 46
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 47
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 48
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 49
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 50
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 51
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 52
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 54
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 55
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 56
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 57
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 58
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 59
bulletTo The World
bulletENGLISH
bulletUSA
bulletChina
bulletIndia
bullet Mynmar
bullet Cambodia
bullet Loas
bulletSri Lanka
bulletMalaysia
bulletKorea
bulletA Sharp Turn of Believes : Iresearch Iwrite Iread
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 1
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 2
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 3
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 4
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 5
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 6
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 7
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 8
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 9
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 10
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 11
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 12
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 13
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 14
bulletMystery Report 15
bulletMystery Report 16
bulletMystery Report 17
bulletMystery Report 18
bulletMystery Report 19
bulletMystery Report 20
bulletMystery Report 21
bulletMystery Report 22
bulletMystery Report 23
bulletMystery Report 24
bulletMystery World Report 25
bulletศึกษาโลกลี้ลับ 26
bulletเฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว วิเคราะห์ทุกปัญหาในโลกมนุษย์ด้วยสติปัญญาและเหตุผลวิทยาศาสตร์จากนสพ.ดี
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2536
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2537
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2538
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2539
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2540
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2541
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2542
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2543-2545
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2545-2549
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2549-2550
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2550-ส.ค.2551
bulletเฝ้าดูฯ ส.ค.-ก.ย.2551
bulletเฝ้าดูฯ ก.ย.2551- ธ.ค. 2551
bulletเฝ้าดูฯสำนวนพัชรา กอปรทศธรรม
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 16-27
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 29
bulletบทความใหม่ เม.ย.-พ.ค.2552
bulletพุทธธรรมเพื่อทางดับทุกข์
bulletทฤษฎีการดับทุกข์ทางจิต วิปัสสนากรรมฐานโดยการทำงาน(สำนวนปรับปรุงใหม่)
bulletประวัติพัชรา กอปรทศธรรม
bulletประวัติการต่อสู้เพื่อการดับทุกข์ ของพัชรา กอปรทศธรรม
bulletอัลบั้มรูป history
bulletนิทานธรรมะประยุกต์ มานุสสาสุระสงคราม 4 ภาค และอื่น ๆ
bulletอัลบั้มรูป ภาพในอดีตและชีวประวัติศาสตร์ที่สวยงาม
bulletจากเวบบอร์ด พูดกันไม่รู้เรื่อง ประชาธิปไตยล้าหลัง
bulletศาสนาสากล การวิเคราะห์ความหมาย
bulletปลอบใจ
dot
รวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์ แนวปฏิรูปคณะสงฆ์อยู่ในบทวิเคราะห์นี้แล้ว
dot
bulletรวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์
dot
สากลจักรวาล สากลศาสนา แนวคิดศาสนาสำหรับคนยุคใหม่ ผู้ก้าวผิดทางไปสู่สิ่งไร้สาระโดยไม่รู้ตัว
dot
bulletสากล...ศาสนา 1
bulletสากล...ศาสนา 2
bulletสากล...ศาสนา 3
bulletสากล...ศาสนา 4
bulletสากล...ศาสนา 5
bulletสากล...ศาสนา 6
bulletสากล...ศาสนา 7
bulletสากล...ศาสนา 9
bulletสากล...ศาสนา 8
bulletสากล...ศาสนา 10
bulletสากล...ศาสนา 11
bulletสากล...ศาสนา 12
bulletสากล...ศาสนา 13
bulletสากล...ศาสนา 14
bulletสากล...ศาสนา 16
dot
ส่วนข้อมูลสำคัญเพื่อการวิจัยการเมืองไทยยุค คมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
dot
bulletข้อมูลสำคัญยุคคมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่1/26ส.ค.2551
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่2/27ส.ค.2551
bulletใบปลิว อีเมล์ ในหลวงทรงร้องไห้
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 1
bulletในหลวงเพิ่งทราบข่าวฆ่าประชาชน10เมย.53ทรงร้องไห้
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
dot
รวมข่าวม็อบการเมืองสนธิ-จำลอง-ปชป.มิ.ย.51-เม.ย.52 นสพ.
dot
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 2
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 3
bulletรวมข่าวม็อบ30มิ.ย.51-23มี.ค.52
bulletเลือดศรีสะเกษบันทึกเรื่องราวรอบด้านเกี่ยวกับเขาพระวิหาร
bulletรายงานการโฆษณาชวนเชื่อในประเทศไทยที่ล้มล้างรัฐบาลทักษิณ
bulletหนังสือพิมพ์ดี ของฟรีให้เปล่ามา20ปีแล้วทั้งเอกสารและอินเทอเนท
bulletหนังสือพิมพ์ดี ( อินเทอเนต ) เล่ม 1 - 44 - ล่าสุด
bulletหน้าที่เก็บไว้
bulletมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร)
bulletวัดมหาพุทธาราม ศรีสะเกษ บันทึกเหตุการณ์
bulletสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดศรีสะเกษแห่งที่ 1
bulletเกี่ยวกับเวบไซต์ของเรา เราทำเพื่อปัญญาชนโดยแท้
bulletรวมกระทู้เด็ดจากกระดานถามตอบ
bulletคาถาอาคมไสยศาสตร์
bulletกวีนิพนธ์ใหม่
bulletศูนย์ปฏิญญาณละเลิกอบายมุข บัญชีที่ 1- 4


บทเทศนาหลักพุทธธรรม พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ร.9 26 ต.ฅ.2560

  

บทเทศนาหลักพุทธธรรม งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ 

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ราชวงศ์จักรี

ณ พระเมรุมาศ สนามหลวง กรุงเทพมหานคร

ประเทศไทย  26 ต.ค.2560

ใน  หนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53/

www.newworldbelieve.net

www.newworldbelieve.com                                                     

  ********************************************************************************************************************************************************************

 

 

 

 

 

 

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมา สัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมา สัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมา สัมพุทธัสสะ

 

ปัญจักขันธา:  รูปักขันโธ,  เวทนากขันโธ,  สัญญากขันโธ,  วิญญานักขันโธ,  สังขารักขันโธ

 

 

คนเรานี้คือกองสังขาร 5 กองประกอบกันเป็นหนึ่ง   การได้เป็นคน มีชีวิตขึ้นมา จนอยู่ไปตามลำดับแห่งชีวิต ตามหลักพระพุทธศาสนานั้น ได้มาเพราะการประกอบกันของกองขันธ์ 5 กอง  ต่อไปนี้

 

1.   รูปขันธ์  หมายถึง  รูป ร่างกาย พร้อมอวัยวะ 32 อย่าง หรือมากกว่านี้  ประกอบด้วย อวัยวะภายนอก  และอวัยวะภายในร่างกายของคน ๆ หนึ่ง มีลักษณะเป็นรูปร่าง ที่มองเห็น สัมผัสได้

2.  เวทนากขันโธ หมายถึง อารมณ์ต่าง ๆ  ธรรมชาติอันเสวยอารมณ์ ความเสวย  ความที่สัมผัสรู้รสอารมณ์  ได้แก่ความรู้สึกต่าง ๆ  ที่เป็นทั้งสุข และทุกข์ ทั้งความเจ็บปวดและความสุขใจ อิ่มใจ  

3.  สัญญากขันธโธ  หมายถึง กองแห่งความคิด ความจำได้ หมายรู้,  ความจงใจ  ความตั้งใจ

4.  วิญญานักขันโธ  หมายถึง กอง หรือหมู่แห่งความรู้สึกต่าง ๆ ทางจิตใจ  ที่ผ่านมาทางอายตน 6 คือ หู ตา จมูก ลิ้น สัมผัสทางกาย และ สัมผัสทางใจ

5.  สังขารักขันโธ หมายถึง  กองแห่งธรรมอันเกิดจากการรวมกันของปัจจัยตกแต่งความแต่ง,  ความอบรมปัจจัยต่าง ๆ ที่มาประชุมกันเกิดเป็นรูปร่างขึ้น

กองขันธ์ทั้ง 5 นี้ ก็แบ่งเป็น 2 กองใหญ่ คือ

1.   รูปธรรม   กองที่เป็นรูปร่าง เป็นตัวตน มองเห็นได้ สัมผัสถูกต้องได้ คือ  รูปักขันโธ หรือ รูปขันธ์นั่นเอง  หรือเรียกว่า  ส่วนกาย (ตรงกับภาษาสากลว่า body) 

2.   นามธรรม   คือ เวทนากขันโธ,  สัญญากขันโธ,  วิญญานักขันโธ,  สังขารักขันโธ  4  กองรวมกันเป็น 1 คือ นามธรรม   เป็นส่วนที่มองด้วยตาไม่เห็น สัมผัสถูกต้องไม่ได้  เรียกว่า  นามธรรม (mind)  

 

รูปธรรม 1 กอง ซึ่งได้แก่ฝ่ายกาย[body] และนามธรรม 4 กองที่ประสานกันเป็นฝ่ายจิตใจ[mind]นี้แหละ ที่ชาวพุทธทั่วไปรู้จักและเข้าใจกันว่า  รูปธรรม นามธรรม  หรือ body & mind  นั่นเอง 

 

และกองขันธ์ทั้ง 5 คือ รูปขันธ์  เวทนาขันธ์  สัญญาขันธ์  วิญญาณขันธ์  สังขารขันธ์ นี้  หรือ รูปธรรม นามธรรม นี้  เมื่อ  ประกอบกันแล้ว เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังขาร คือร่างกาย จิตใจ และรูปธรรมนามธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น เกิดเป็นคน ที่มีรูปร่าง หน้าตา และจิตใจขึ้นมา

 

สัจธรรมที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือ   เรื่องคนเรา  ไม่ว่าคนใด คนไหน  ก็เหมือนกันหมด  ในแง่ที่ว่า  เกิดมา  อยู่  เติบโต ไป   ด้วยปัญจักขันธา รวม 5 องค์ประกอบนี้  หรือ รูปธรรม นามธรรม รวมกันเป็นสังขาร  ที่ประกอบด้วย    Body  &  Mind ....เหมือนกัน  เป็นคนเหมือนกันหมด  ไม่มีความแตกต่างกันไปอย่างใดเลย  ฉะนั้น กรณี  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดช   ที่ได้สวรรคตในวันที่  13 ตุลาคม 2559  นั้น  โดยหลักการพระพุทธศาสนาแล้ว ก็คือ  ปัญจักขันธา ที่ประกอบกันเข้าเป็นสังขาร  เป็นมนุษย์ขึ้นมาคนหนึ่งนั่นเอง  ซึ่งเหมือนกันกับคนอื่น ๆ หรือสังขารอื่น ๆ  ทั้งสิ้น เราจึงควรทำการศึกษาเพื่อให้รู้แจ้งสัจธรรมเกี่ยวกับ  สังขาร  ปัญจักขันธานี้   ตามหลักคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือตามหลักในพระสูตรต่าง ๆ แล้ว  ก็จะช่วยให้รู้สัจธรรม  และนำไปสู่การแก้ปัญหา  แก้ทุกข์  และให้พ้นทุกข์ ล่วงสู่โลกสงบ เย็น คือโลก  นิพพานได้ 

  

เนื่องในหมายกำหนดการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช  ณ พระบรมเมรุมาศ ท้องสนามหลวง  ในวันพฤหัสบดี  ที่ 26 ตุลาคม 2560  เวลา 17.30 น.  โดยเป็นงานการกุศลครั้งยิ่งใหญ่ของชาติและประชาชนชาวไทย  ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพวรางกูร พร้อมพระราชวงศ์ ทรงเป็นองค์ประธานเจ้าภาพ ร่วมกับรัฐบาล พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา และประชาชนชาวไทยทั่วโลก  โดยมีราชวงศ์  กษัตริย์ และประมุขจากประเทศต่าง ๆ  ทั่วโลก มาร่วมในพระราชพิธีครั้งนี้อย่างคับคั่ง  ตามที่ทางกระทรวงการต่างประเทศรายงานดังนี้

 

<<<  วันที่ 24 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.บุษฎี สันติพิทักษ์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าว ว่า มีสมาชิกราชวงศ์ ผู้นำและผู้แทนต่างประเทศทั้งหมด 42 ประเทศ ยืนยันเข้าร่วมในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ดังนี้

 

พระประมุข ประมุข และพระราชวงศ์ รวม 24 ประเทศ

 

1) สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งเลโซโท

2) สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งภูฏาน

3) สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งตองกา

4) นายติน จ่อ ประธานาธิบดีเมียนมา และภริยา

5) นายบุนยัง วอละจิด ประธานประเทศ แห่งสปป.ลาวและภริยา

6) นางฮาลิมห์ ยาค็อบ ประธานาธิบดีสิงคโปร์ และคู่สมรส

7 ) สมเด็จพระราชินีซิลเวียแห่งสวีเดน

8) สมเด็จพระราชินีแม็กซิมาแห่งเนเธอร์แลนด์

9) สมเด็จพระราชินีมาธิลด์แห่งเบลเยียม

10) สมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งสเปน

11) นายปีเตอร์ คอสโกรฟ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ฯ แห่งออสเตรเลียและภริยา

12) มาดามจูลี พาแย็ต ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ฯ แห่งแคนาดา

13) นางเมกาวาตี ซูการ์โนบุตรี อดีตประธานาธิบดีอินโดนีเซีย

14) นายโจเซฟ ไดสส์ อดีตประธานาธิบดีแห่งสมาพันธรัฐสวิส

15) นายคริสเตียน วูล์ฟฟ์ อดีตประธานาธิบดีสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

16 ) เจ้าชายคอลิฟะห์ บิน ซัลมาน อัล คอลิฟะห์ นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรบาห์เรน

17) มกุฎราชกุมารเฟรเดอริกแห่งเดนมาร์ก

18) มกุฎราชกุมารฮากอน แม็กนุส แห่งนอร์เวย์

19) แกรนด์ดยุก กีโยม ฌอง โจเซฟ มารี รัชทายาทแห่งลักเซมเบิร์ก

20) รองสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซียและสุลต่านแห่งรัฐเประ และพระชายา

21) เจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก แห่งสหราชอาณาจักร

22) เจ้าชายอะกิชิโนะ และพระชายา แห่งญี่ปุ่น

23) เจ้าชายธานี บิน ฮาหมัด บิน คาลิฟา อัล-ธานี พระอนุชาของเจ้าผู้ครองรัฐแห่งกาตาร์

24) เจ้าหญิงมาร์กาเรตาแห่งลิกเตนสไตน์

 

รองประมุข หัวหน้ารัฐบาล และผู้แทนพิเศษ รวม 18 ประเทศ

 

25) นางดัง ธิ ง็อก ธินห์ รองประธานาธิบดีเวียดนาม

26) นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา

27) นายบาร์นาบาส ซิบูซิโว ดลามินี นายกรัฐมนตรีสวาซิแลนด์

28) นายเจมส์ โบลเจอร์ อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งนิวซีแลนด์

29) นายฌอง-มาร์ก อายโรลต์ อดีตนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส และภริยา

30) นายจาง เกาลี่ รองนายกรัฐมนตรีจีน

31) นายฟีครี อึดชึค รองนายกรัฐมนตรีแห่งตุรกี

32) นายพัก จูซุน รองประธานรัฐสภาแห่งสาธารณรัฐเกาหลี

33) นางโอลกา อีพิฟาโนวา รองประธานสภาดูมาแห่งรัสเซีย

34) นายลิม จ็อค เส็ง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้า คนที่ 2 แห่งบรูไน

35) นายเจมส์ แม็ตติส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา

36) นายอลัน ปีเตอร์ แคเยตาโน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์และภริยา

37) นายทิลัก มาราพานา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงนโยบายและแผนศรีลังกา และภริยา

38) นายภิมเสน ดาส ปราธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งเนปาลและภริยา

39) นายอวาอิส อาห์เหม็ด คาน เลการี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานปากีสถาน

40) นายโมฮัมเหม็ด ชาห์ริอะร์ อะลาม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งบังกลาเทศ

41) นาย เอ็ม.เจ.อัคบาร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย

42) อาร์กบิชอป กิอัมบัตติสตา ดีควัตโตร เอกอัครสมณทูตนครรัฐวาติกันประจำสาธารณรัฐอินเดียและสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล>>> (จาก สื่อทั่วไป)

 

และรวมทั้งบุคคลสำคัญและประชาชนต่างชาติต่างศาสนาทั่วสารทิศมาร่วมพระราชพิธี บำเพ็ญกุศลกันอย่างคับคั่ง  เพื่อส่งจิตใจ ไว้อาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช    ด้วยความรำลึกอาลัยอย่างสุดซึ้ง 

 

ในส่วนที่เกี่ยวกับหลักพระพุทธธรรม หรือหลักการสำคัญแห่งพระราชพิธีครั้งนี้  หรือพระราชพิธีของราชวงศ์กษัตริย์ไทยนั้น  ก็จะเป็นไปตามหลักธรรมของพุทธศาสนาล้วน ๆ   โดยเฉพาะหลักธรรมสากลในเรื่องการตาย หรือการสิ้นพระชนม์ของกษัตริย์  หลักพิธีกรรมพุทธศาสนาจะดำเนินไปตามหลักพระธรรมข้อที่ว่าด้วย ทิศ 6  นั่นเอง   หลักทิศ 6  ซึ่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงสอนสิงคาลมานพไว้  โดยให้เป็นหลักการว่าด้วยหน้าที่ของคน ของมนุษย์  ผู้เป็นมนุษย์  ไม่ว่าอยู่ในสถานะอะไรก็เป็น เรื่อง ปัญจักขันธา เหมือนกันหมด นั้น  ต่างมีหน้าที่ของตนที่จะปฏิบัติตอบต่อกันอย่างไร  ให้สังคมมีความเป็นระเบียบแบบแผนอันดี และมุ่งสู่เป้าหมายแห่งธรรมะอันสูงสุด      

 

 

 

 

 

 

สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  องค์พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชนั้น เนื่องจากทรงดำรงฐานะอันสูงสุด ที่สำคัญหลายฐานะซึ่งหมายถึงภาระหน้าที่ของพระองค์นั้นมีหลายหน้าที่  ที่ทรงปฏิบัติได้ครบถ้วนสมบูรณ์ทุกฐานะทุกหน้าที่ของพระองค์    ที่เป็นหลักสำคัญที่พระองค์ทรงทำหน้าที่มาตลอดก็มี 2 ฐานะใหญ่ ก็ คือ 

1.                         ฐานะผู้เป็นใหญ่  หรือ สถานะ  พรหม ผู้ทรงปกครองโลก  ทรงตรวจตราดูแลทั้ง 4 ทิศรอบตัวพระองค์  ซึ่งตามหลักพระพุทธศาสนา ก็ได้ทรงบำเพ็ญธรรม 4 ข้อมาตลอดอย่างไม่ขาดไปในความสมบูรณ์แห่งภาระหน้าที่ของพระองค์ในฐานะนี้  นั่นก็คือพรหมวิหารธรรม  4  คือ  (1.) ทรงมีพระเมตตา  (2.) ทรงมีพระกรุณา  (3.) ทรงมีพระมุทิตา  และ  (4.) ทรงมีพระอุเบกขาธรรม   ซึ่งทรงปฏิบัติได้ครบถ้วนสมบูรณ์ จนเป็นที่จงรัก และภักดีของประชาชนไทยทั้งชาติ

2.                         ฐานะที่ 2 คือสถานะของราชา  กษัตริย์  หรือ มหาราช ของปวงชนชาวไทย  ซึ่งตามสถานะนี้  ก็ได้ทรงถือธรรมว่าด้วย  ทศพิธราชธรรมมาอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ มาตลอด  นั่นคือ ธรรมสำหรับกษัตริย์ 10 ข้อ ตามหลักพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่มีกษัตริย์องค์ใดในโลกยุคนี้ จักดำรงทศพิธราชธรรมนี้ได้สมบูรณ์เทียบเท่าพระองค์  ผู้ทรงเป็นกษัตริย์พุทธ   นั่นก็คือ 

 

๑. ทาน  หรือการให้ หมายถึงการพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ การทรงเสียสละพระกำลังในการปกครอง แผ่นดิน การพระราชทานพระราชดำริอันก่อให้เกิดสติปัญญาและพัฒนาชาติ การพระราชทานเสรีภาพอันเป็นหัวใจแห่งมนุษย์

๒. ศีล  หรือการตั้งและทรงประพฤติพระราชจรรยานุวัตร พระกาย พระวาจา ให้ปราศจากโทษ ทั้งในการปกครอง อันได้แก่ กฎหมายและนิติราชประเพณี และในทางศาสนา อันได้แก่ เบญจศีลมาเสมอ

๓. บริจาค  ได้แก่ การที่ทรงสละสิ่งไม่เป็นประโยชน์หรือมีประโยชน์น้อยเพื่อสิ่งที่ดีกว่า คือ เมื่อถึง คราวก็สละได้ แม้พระราชทรัพย์ ตลอดจนพระโลหิต หรือแม้แต่พระชนม์ชีพ เพื่อรักษาธรรมและพระราชอาณาจักรของ พระองค์

๔. อาชชวะ  ความซื่อตรง ได้แก่ การที่ทรงซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อ พระราชสัมพันธมิตร และอาณาประชาราษฎร

๕. มัททวะ  ความอ่อนโยน หรือเคารพในเหตุผลที่ควร ทรงมีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอ่อนโยนต่อบุคคลที่ เสมอกันและต่ำกว่า

๖.  ตบะ ความเพียร หรือความเพียรที่แผดเผาความเกียจคร้าน คือ การที่พระมหากษัตริย์ทรงตั้งพระราชอุตสาหะปฏิบัติพระราช กรณียกิจให้เป็นไปด้วยดี โดยปราศจากความเกียจคร้าน

๗.  อักโกธะ  ความไม่โกรธ หรือความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฎ ไม่พยายามมุ่งร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล และสำหรับ พระมหากษัตริย์นั้นต้องทรงมีพระเมตตาไม่ทรงก่อเวรแก่ผู้ใด ไม่ทรงพระพิโรธโดยเหตุที่ไม่ควร และแม้จะทรงพระพิโรธ ก็ทรงข่มเสียให้สงบได้

๘.  อวิหิงสา  ความไม่เบียดเบียน คือ ทรงมีพระราชอัธยาศัย กอปรด้วยพระมหากรุณา ไม่ทรงก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น ทรงปกครอง ประชาชนดังบิดาปกครองบุตร

๙.  ขันติ  ความอดทน คือ การที่ทรงมีพระราชจริยานุวัตร อันอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาพระราชหฤทัย และพระอาการ พระกาย พระวาจา ให้เรียบร้อย

๑๐. อวิโรธนะ  ความเที่ยงธรรม คือ การที่ทรงตั้งอยู่ในขัตติยราชประเพณี ไม่ทรงประพฤติผิดจากพระราชจริยานุวัตร นิติศาสตร์ ราชศาสตร์ ไม่ทรงประพฤติให้คลาดจากความยุติธรรม ทรงอุปถัมภ์ยกย่องคนที่มีความชอบ ทรงบำราบคนที่มีความผิดโดย ปราศจากอำนาจอคติ ๔ ประการ และไม่ทรงแสดงให้เห็นด้วยพระราชหฤทัยยินดียินร้าย

 

ซึ่งทศพิธราชธรรม ทั้ง 10 ข้อขององค์สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรีนี้  ก็ได้มีนักปราชญ์ ผู้รู้ทางพุทธศาสนา คนแล้วคนเล่า  ได้นำมากล่าวถึง ยกย่อง ชมเชย  สรรเสริญตลอดมาว่า  องค์สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช  ได้ทรงประพฤติมาอย่างสมบูรณ์ไม่ขาดตกบกพร่องเลย  ตลอดการครองราชย์ 68 ปีของพระองค์  และนั่นคือที่มาของความรัก ความอาลัย ความสวามิภักดิ์ต่อพระองค์อย่างลึกซึ้งของประชาชนทุกหมู่เหล่า   ที่ได้เห็นในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ นั้นเอง

 

 

 

 

 

3.                         ทิศ 6

ซึ่งตามหลักทิศ 6 นี้ ก็คือหลักทิศ 6 ตามพระสูตร  สิงคาลสูตร  นั่นเอง 

 

ตามที่พุทธองค์ทรงตรัสสอน สิงคาลมาณพ ไว้ว่า

1.     มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า

2.     อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา

3.     บุตรและภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง

4.     มิตรและอำมาตย์เป็นทิศเบื้องซ้าย

5.     ทาสและกรรมกรเป็นทิศเบื้องต่ำ

6.     สมณพราหมณ์เป็นทิศเบื้องบน ฯ

 

 เนื่องจากพวกเราประชาชนไทยทั้งหลายทั่วไทยทั่วโลก ที่ได้มาร่วม หรือเข้าร่วมรำลึกในวันถวายพระเพลิงพระบรมศพ วันนี้  ล้วน เป็นชาวพุทธที่ใกล้ชิดพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง     ในเรื่องที่เกี่ยวกับพ่อ หรือ บิดา   ในที่นี้วันถวายพระเพลิงพระบรมศพวันนี้  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์พระมหาปรมินทร์ มหาภูมิพลอดุลยเดช  นั้น ก็แท้จริงทรงเป็นพระบิดาของชนชาวไทย ชนชาวไทยทั้งประเทศ  ชนชาวไทยทั้งประเทศถือว่าเป็นลูก ๆ  ของพระองค์  ตามหลักธรรม ทิศ 6  ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า   ก็ถือว่าพระองค์ทรงเป็นพระบิดา  ทรงเป็นพ่อ เป็นทิศเบื้องหน้า ตามสิงคาลสูตร นั้นเอง    ซึ่งในส่วนหน้าที่ของพระองค์นั้น  ก็ได้ทรงปฏิบัติตามหลักสิงคาลสูตรมาอย่างไม่บกพร่องอีกเช่นเคย    ดังที่สิงคาลสูตรกำหนดหน้าที่ให้ว่า ผู้เป็นทิศเบื้องหน้า  มารดา บิดานั้น  พึงปฏิบัติต่อบุตรอย่างไร   ดังปรากฏในสิงคาลสูตรว่า 

             มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้า ย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๕ คือ

1.  ห้ามจากความชั่ว ๑

2.  ให้ตั้งอยู่ในความดี ๑

3.  ให้ศึกษาศิลปวิทยา ๑

4.  หาภรรยาที่สมควรให้ ๑

5.  มอบทรัพย์ให้ในสมัย ๑ ฯ

            

แล้วพระพุทธองค์ทรงตรัสบอกผู้ที่เป็นบุตร  คือพวกเราทั้งหลายไว้ว่า  การบำรุงบิดามารดา ทิศเบื้องหน้านั้น  ทำอย่างไร    เราก็รู้  ก็ได้ร่ำเรียนมาจากเรื่อง ทิศ 6  ตามพระสูตรชื่อ  สิงคาลสูตร  ดังกล่าว   เราจะมาทบทวนกันและรำลึกถึงคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า   และนำเอาคำสอนนี้แหละไปปฏิบัติตาม  ไม่ควรที่จะละเลย  หรือ  มองไปนอกคำสอนของพระพุทธเจ้า   ตามที่ทรงตรัสสอนไว้ว่า 

 

  [๑๙๙] ดูกรคฤหบดีบุตร

มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้า อันบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ [คำในวงเล็บ เป็นคำอธิบายของผู้เทศน์/ผู้เขียน]

            1.  ตั้งใจไว้ว่าท่านเลี้ยงเรามา เราจักเลี้ยงท่านตอบ ๑ ........ [โดยที่เมื่อเราได้ดิบได้ดี มีฐานะการงานดีแล้ว เราก็ควรหวลไปเลี้ยงท่านที่แก่ชราลงไปแล้ว  บำรุงท่านตอบแทน อย่างที่ท่านบำรุงเราเมื่อวัยเด็ก นั่นคือปฏิบัติกตัญญูกตเวทิตาธรรมนั่นเอง  ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศ ในฐานะบุตรของพระองค์  จึงต้องคำนึงในคุณธรรมข้อที่ว่าด้วย  กตัญญูกตเวทิตาธรรม นี้อย่างเต็มที่]

2.  จักรับทำกิจของท่าน ๑ ........  [โดยที่เมื่ออยู่เรือน  อยู่บ้าน อยู่ในครอบครัวเดียวกัน   ก็ควรต้องช่วยทำการทำงานในบ้าน  ในครอบครัวท่านทุกอย่าง ซึ่งเมื่อเป็นประชาชนไทย อยู่ในแผ่นดินนี้   ก็ต้องทำหน้าที่ประชาชนให้ดีที่สุด  โดยที่ช่วยงานการของประเทศชาติ ช่วยดูแลรักษาความสงบ ความปลอดภัยของประเทศชาติ เป็นต้น ]

3.   จักดำรงวงศ์สกุล ๑ ......[โดยที่ลูก ๆ ทั้งหลายจะต้องนึกและทำแต่สิ่งที่ดี เพื่อให้สกุลของท่านเป็นที่เคารพเชื่อถือของคนทั้งหลาย และเป็นสกุลวงศ์ที่ดีและมีเกียรติ์   และเมื่อเป็นประชาชนไทย  ก็ต้องช่วยกันรักษาเกียรติยศชื่อเสียงของความเป็นคนไทยไว้ ให้เป็นที่นับถือของคนทั่วโลก]

4.   จักปฏิบัติตนให้เป็นผู้สมควรรับทรัพย์มรดก ๑.....  [เราต้องคิดทุกทีเมื่อรับเงินจากท่าน  ว่าเราต้องปฏิบัติตนให้สมกับเป็นผู้รับ  ไม่ว่ารับ เงินเพียงสิบบาท ร้อยบาท ก็ตาม  หรือระดับเงินแสน  เงินล้านก็ตาม  ต้องนึกในทางที่ว่าเราต้องประพฤตตนให้สมกับที่ได้รับเงิน และทรัพย์  หรือมรดกจากท่าน  ในฐานะประชาชน เราก็ต้องช่วยพิทักษ์ทรัพย์สินสมบัติอันเป็นของแผ่นดินเราไว้ให้ตกทอดไปสู่รุ่นลูกหลานเหลนโหลนผู้สืบทอดครองแผ่นดินไทยตลอดไปในภายภาคหน้า]

5.   เมื่อท่านละไปแล้ว ทำกาลกิริยาแล้ว จักตามเพิ่มให้ซึ่งทักษิณา ๑  [ นั่นก็เป็นวาระสุดท้าย ที่เราได้ทดแทนพระคุณบิดามารดาท่าน  คือเมื่อท่านสิ้นไปแล้วก็มีการทำบุญอุทิศให้ท่าน ซึ่งชาวพุทธทั้งหลาย ต่างประพฤติกันไม่เคยขาดมาจนเท่าทุกวันนี้ และเราก็จะประพฤติตามไปตลอดกาลนาน  ฯ ในกรณีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชนี้ก็เช่นเดียวกัน  เราในฐานะของลูก ๆ ทั้งหลาย ต้องร่วมปฏิบัติในข้อนี้อย่างไม่มีบ่ายเบี่ยง นั่นก็คือ  .   เมื่อท่านละไปแล้ว ทำกาลกิริยาแล้ว จักตามเพิ่มให้ซึ่งทักษิณา] 

 

 

ฉะนั้น  การที่มีพิธีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  โดยองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพวรางกูร พร้อมพระราชวงศ์  ในฐานะพระราชบุตร พระราชบุตรี พระประยูรญาติทั้งสิ้น  โดยมีรัฐบาลที่นำโดยนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา พร้อมข้าราชการทหาร พลเรือน ตำรวจ กระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ  และ ประชาชนชาวไทย ทุกหมู่เหล่า ได้ร่วมกัน ได้ร่วมสามัคคีธรรมกันอย่างยิ่งใหญ่ ให้การประกอบพิธีงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ ให้เป็นไปตามหลักธรรม  และหลัก ประเพณี พุทธศาสนา ..........โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช    พระองค์ท่านละไปแล้ว  ตามที่กำหนดในข้อ 5 นั้น  ....เมื่อท่านละไปแล้ว ทำกาลกิริยาแล้ว จักตามเพิ่มให้ซึ่งทักษิณา 

 

  

คำว่าทักษิณานี่แหละ คือหลักการที่พุทธศาสนากำหนดให้เราชาวพุทธได้กระทำต่อศพ  ไม่ว่าศพของใคร  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  บิดามารดา ที่เคารพรัก ที่ถูกกำหนดว่า   เมื่อท่านละไปแล้ว ทำกาลกิริยาแล้ว จักตามเพิ่มให้ซึ่งทักษิณา   เป็นบุญที่ถูกกำหนดสำหรับชาวพุทธทั้งหลาย ให้กระทำต่อบิดา มารดา ลุง ป้าน้าอาว์  ตลอดถึงลูกหลาน  ญาติมิตร ผู้ล่วงลับ ผู้สิ้นชีวิตลงไปแล้ว

จึงเป็นสิ่งที่ชาวพุทธและชาวโลก จะได้ทำความเข้าใจให้ดีพอสมควรในความหมายของคำว่า  ทักษิณา  นี้

 

ทักษิณาคืออะไร ?

คำว่า ทักษิณา ทำความเข้าใจจาก ปทานุกรม 4 ภาษา(หน้า 348)   

ทักษิณา  มาจากบาลีว่า  ทกฺขิณา  ดังนี้ :

ทกฺขิณา   ทานสมบัติอันบุคคลพึงให้ทานสมบัติเครื่องยังผลให้สำเร็จ ( ผ ) ; เป็นไปในอรรถคือ ทานเภท (กมฺมผลํ สทฺทหิตฺวา ทาตพฺพทานํ, ทักษิณาทาน)  (ชิน. 986/327).  สํ. ทกฺษิณา.

Dakkhina  (f.)  a gift; a present  or  donation given to a holy person with reference to unhappy being in Peta existence. Skt. Daksina.

 

ทักษิณา (แปลว่า)   alms given to Buddhist monks, 

ทักษิณาทาน   (แปลว่า)    [N] giving alms to the dead, See also: alms-giving,

 

และ ศัพท์วิเคราะห์ ทางภาษาบาลี  (หน้า 306)  ดังนี้ 

ทกฺขิณา  ของทำบุญ,  ทักษิณาทาน, ปัจจัย 4

-                  กมฺมผลํ  สทฺทหิตวา ทาตพฺพทานํ ทก์ขิณา  ทานที่คนเชื่อผลกรรมแล้วให้ ชื่อว่าทักษิณา

ทกฺขนฺติ วฑฺฒนฺติ สตฺตา เอตาย ยถาธิปฺเปตาหิ สมฺปตฺตีหีติ ทกฺขิณา  เหตุเป็นเครื่องเจริญด้วยสมบัติตามที่ปรารถนา (ทกฺข ธาตุในความหมายว่าเจริญ  อิณ ปัจจัย อา อิตฺ,)

 

 

จึงพอเข้าใจ  ได้ความหมายว่า ทักษิณา   หมายถึง ดำเนินในกุศลธรรม และการอุทิศส่วนบุญ(อุทิศความดี)ให้แก่บิดามารดาท่านเมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว โดยมีพระสงฆ์สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นนาบุญของการทำบุญอุทิศ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากว่าท่านผู้ตาย  ได้ประกอบผลบาปจนตกต่ำไปเกิดเป็นเปรต   วิญญาณไปเกิดเป็นเปรต ในโลกเปรตชน ตามนิยามภาษาอังกฤษที่ว่ามานั้น ที่ว่า   Dakkhina  (f.)  a gift; a present  or  donation given to a holy person with reference to unhappy being in Peta existence. [ซึ่งแปลเป็นไทยว่า :  ทักษิณา  หมายถึงของขวัญ  ของฝาก  หรือ ของให้ทาน ที่มอบให้บุคคลผู้ศักดิ์สิทธิ์(คำว่า  holy person หมายถึงพระสงฆ์สาวก)  เพื่อให้ตกทอดไปสู่ ชีวิตที่อยู่อย่างทุกข์ทรมานเจ็บปวด ที่ไม่มีความสุขเลย ในภพของพวกเปรตทั้งหลาย]   ก็จะได้รับอานิสงส์ผลบุญที่อุทิศให้ ในงานพิธีฌาปนกิจศพนี้อย่างเต็มที่   นี่กล่าวตามหลักการพระพุทธศาสนา แต่หากว่าท่านผู้ล่วงลับไป ได้ประกอบกรรม ความดี ประกอบบุญบารมีไว้สูงส่ง  บุญบารมีท่านเองนั้นแหละจะส่งท่านเองไปที่สูงส่ง  นั่นคือสวรรค์ 21 ชั้น  ชั้นเทพ  ชั้นพรหม ชั้นมหาพรหม ตามคัมภีรของพระพุทธศาสนา  แต่หากท่านตายลงพร้อมกับสำเร็จเป็นอริยบุคคล,  เป็นพระโสดาบัน, สกิทาคมี,  อนาคามี,  หรืออรหันตบุคคล,  ก็ไม่มีอะไรจะส่งให้ท่านได้  เพราะท่านสูงพอด้วยบุญบารมีตนเอง จนเข้าสู่โลกนิพพานไปเองแล้ว  แต่ผลบุญที่ทำนั้นก็จะไม่หายไปไหน  ก็ยังจะตกแก่ผู้เป็นผู้ให้  ผู้เป็นทานบดี หรือในครั้งนี้ ก็คือ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพวรางกูร พร้อมพระราชวงศ์   และทั้งรัฐบาล ที่นำโดยท่านพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  คณะข้าราชการทุกกระทรวงทบวงกรม  และประชาชนไทย  ทุกหมู่เหล่ าและพวกเราทั้งหลายที่ได้มาร่วมทำบุญทักษิณาทานกันในพระราชพิธีวันนี้  ก็จะได้รับผลบุญครั้งนี้ไปด้วยกันอย่างยิ่งใหญ่

 

ซึ่งการที่พระบรมราชวงศ์  มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณบดินทร เทพวรางกูร  และ พระราชวงศ์  คณะรัฐบาล มีท่าน พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  เป็นผู้นำทำบุญทักษิณาทานครั้งยิ่งใหญ่คราวนี้   รวมทั้งข้าราชการทุกหมู่เหล่า ทั้งทหาร ตำรวจ และพลเรือน ทุกกระทรวงทบวงกรม  รวมทั้งประชาชนไทยทั้งชาติ ทุกหมู่เหล่า    ซึ่งอยู่ในฐานะ เจ้าภาพงานทักษิณานี้ก็ดี  และทั้งชาวพุทธทั้งหลายทั่วไป ทั่วโลกได้จัดพิธีกรรมต่องานศพอย่างถูกต้องเช่นนี้ โดยเป็นการกระทำที่ถูกต้องทั้งตามหลักพระพุทธธรรม  และหลักวัฒนธรรม  ประเพณีพุทธ มายาวนาน   นั้นแหละหมายถึงการสืบทอด การดำรงหลักธรรม  ดำรงพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนต่อไปภายหน้า จึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม สมแก่ความเป็นชาวพุทธ   ผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา   ที่น่าชื่นชม ยินดี และน่าอนุโมทนา สาธุการอย่างยิ่ง

 

 

 

 

 

และยังมีสิ่งที่พวกเราชาวพุทธ ควรจะรู้อยู่สิ่งหนึ่งเกี่ยวกับงานพระราชทานเพลิงศพครั้งนี้ก็คือทางด้านพระสงฆ์สาวก ที่ได้รับอาราธนานิมนต์ไปประกอบพิธี ซึ่งประกอบด้วยพระมหาเถระสูงสุดในศาสนจักร ตั้งแต่ระดับสูงสุดคือระดับสมเด็จพระสังฆราช ลงมา   พระสมณศักดิ์ ทุกระดับ  ไปถึงสงฆ์ธรรมดา ๆ ทั้งศาสนจักรทุกรูป ที่ทุกศาสนพิธีนั้นจบลงที่การทำบุญ ทักษิณาทาน  นั้น  ฝ่ายสงฆ์สาวกนั้น  ถือเป็นโอกาสที่สำคัญในการให้ธรรมะ ครั้งสำคัญ ยิ่งใหญ่แด่คนทั้งหลาย  โดยบทที่ท่านสวดในงานศพนั้นล้วน   เป็น ธรรมะในพระพุทธศาสนาระดับสำคัญสุดยอดของพระธรรมทั้งสิ้น   ซึ่งจะมีเนื้อความสำคัญสำหรับผู้ฟังได้รู้ได้เข้าใจวิถีทางแห่งมรรคผล อันสูงสุดทั้งสิ้น โดยบทหลักคือ  พระอภิธรรม 7 คัมภีร์  ได้แก่  (1.) พระสังคิณี; กุสลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา,  (2.) พระวิภังค์;ปัญจักขันธา รูปักขันโธ,  (3.) พระธาตุกะถา;สังคะโห  อะสังคะโห,  (4.) พระปุคคะละปัญญัติ;ฉะ ปัญญัตติโย,  (5.) พระกะถาวัตถุ;ปุคคะโล อุปะลัพภะติ,  (6.) พระยะมะกะ;เย เกจิ กุสะลา ธัมมา, และ (7.) พระมหาปัฏฐาน;เหตุ ปัจจะโย.)  และ  ธรรมนิยามสูตร 8 บท ได้แก่ (1.) ปัพพะโตปะมะคาถา;ยะถาปิเสลา,  (2.)  อะริยะธะนะคาถา;ยัสสะ สัทธา ตะถาคะเต,  (3.) ธัมมะนิยามะสุตตัง;อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง,  (4.)  ติลักขะณาทิคาถา;สัพเพ สังขารา อะนิจจาติ,  (5.)  ปะฏิจจะสะมุปปาทะปาฐะ;อะวิชชาปัจจะยา,  (6.) พุทธะอุทานะคาถา;ยะทา หะเว ปาตุภะวันติ ธัมมา,  (7.) ภัทเทกะรัตตะคาถา;อะตีตัง นานวาคะเมยยะ,  (8.) ปะฐะมะพุทธะวะจะนะ;อะเนกะชาติสังสารัง)      เป็นธรรมะคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ตกทอดมาสู่โลก นับ 2560 ปีเข้าแล้ว เป็นธรรมะข้อสำคัญที่พระสงฆ์ในพิธีกรรมท่านสวดให้รับฟัง  เพื่อเข้าใจสาระสำคัญ ระดับปัญญา สว่างไสวสูงสุด  เพื่อการบรรลุมรรคผล  นิพพาน  การบรรลุพระอริยบุคคล  โดยแท้จริง

 

         

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสสิ่งที่เป็นความรู้อย่างยิ่ง  หรืออุตตริมนุสสธรรมสูงส่ง ก็คือตรัสเกี่ยวกับเรื่องธรรมชาติ หรือ ธรรมดา ของรูปธรรมนามธรรม หรือ กองขันธ์ทั้ง 5 หรือสังขาร หรือคนเรานี้เอง   ให้คนรู้ว่า  สัจธรรมของสังขาร หรือ คน เรานั้นคืออะไร  สัจธรรมที่ควรรู้คืออะไร อย่างไร  หากหมั่นพิจารณา  ใช้ปัญญาคิดตรึกตรองข้อธรรมนั้นอยู่บ่อย ๆ  เป็นประจำเนือง ๆ  ก็จะเกิดปัญญาแจ่มแจ้ง นำไปสู่ความรู้ สติ ปัญญา ที่นำไปสู่หนทางแห่งความพ้นทุกข์อย่างสนิท เด็ดขาด  หรือ  การบรรลุมรรคผล นิพพาน สำเร็จพระอริยมรรค อริยผลได้  

 

สัจธรรมเกี่ยวกับความตายที่พุทธองค์ทรงสอนไว้ และที่พระสาวกนำมาสวดตลอดในพระราชพิธีครั้งนี้ (ที่จริงเป็นบทสวดในงานศพทั่ว ๆ ไปอยู่แล้ว)   ก็คือเรื่องราวของชีวิต นั้น แท้จริงคือ เรื่องราวของธรรมชาติ เป็นสิ่งที่เป็นไปเองตามธรรมชาติ  หรือ  ธรรมดา ๆ   ที่มีอยู่เอง  เป็นอยู่เองแปรเปลี่ยนไปเองของมัน มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว  แม้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงตรัสไว้อย่างไม่ทรงปกปิด ตรงความจริง ดังปรากฏใน ธัมมะนิยามะสุตตํ  คือ ธรรมนิยามสูตร  ที่พระสงฆ์สวดมาตลอดในงานบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงล่วงลับไปนี้เอง  เริ่มด้วยบทขัด แล้ว มีสาระธรรม 3 วรรคความหมายสำคัญ  ที่ว่า

 

 

<<< ยัง เว นิพพานะญาณัสสะ ญานัง ปุพเพ ปะวัตตะเต

ตัสเสวะ วิสะยีภูตา ยายัง ธัมมะนิยามะตา

อะนิจจะตา ทุกขะตะ จะ สัพเพสัง จะ อะนัตตะตา

ตัสสา ปะกาสะกัง สุตตังยัง สัมพุทเธนะ ภาสิตัง

สาธูนัง ญาณะจาเรนะ ยะถา พุทเธนะ เทสิตัง

โยนิโส ปะฏิปัตยัตถัง ตัง สุตตันตัง ภะณามะเส ฯ  (แปลว่า)

 

กฎ ธรรมชาติที่กำหนดแน่นอน สำหรับสรรพสัตว์ที่ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เป็นวิสัยแห่งผู้ได้ญาณหยั่งรู้พระนิพพาน ที่มีมาแล้วในกาลก่อน พวกเราทั้งหลายจงร่วมกันสวดพระสูตรนี้ อันประกาศสิ่งที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงไว้ซึ่งญาณอันพิเศษแก่เหล่าสาธุชน เพื่อประโยชน์ในการที่จะนำไปปฏิบัติ โดยอุบายอันแยบคายต่อไปเทอญ >>>

 

(1.)    วรรคที่ 1 <<< อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง  ฐิตา วะ สา ธาตุ ธัมมัฏฐิตะตา ธัมมะนิยามะตา สัพเพ สังขารา อะนิจจาติฯ     ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ อะภิสัมพุชฌิตวา อะภิสะเมตวา อาจิกขะติ เทเสติปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ วิวะระติ วิภะชะติ อุตตานีกะโรติ สัพเพ สังขารา อะนิจจาติฯ    แปลว่า

ภิกษุ ทั้งหลาย ทั้งที่พระตถาคต คือ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จักเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม ธาตุคือสิ่งทรงตัวเองอยู่ได้อันนั้น ดำรงอยู่ได้โดยธรรมดาของมันอย่างนั้น สิ่งที่ถูกกำหนดมาตามธรรมดาของมันว่า จะเป็นอย่างนั้น พระพุทธองค์ผู้ทรงเป็นตถาคต ตรัสรู้ธาตุนั้น ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่ง เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีใครรู้มาก่อนว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง  >>>

 

(2.)    วรรคที่ 2  <<< อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง  ฐิตา วะ สา ธาตุ ธัมมัฏฐิตะตา ธัมมะนิยามะตา สัพเพ สังขารา ทุกขาติฯ ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ อะภิสัมพุชฌิตวา อะภิสะเมตวา อาจิกขะติ เทเสติปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ วิวะระติ วิภะชะติ อุตตานีกะโรติ สัพเพ สังขารา ทุกขาติฯ     (แปลว่า)

 

ภิกษุ ทั้งหลาย ทั้งที่พระตถาคต คือ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จักเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม ธาตุคือสิ่งทรงตัวเองอยู่ได้อันนั้น ดำรงอยู่ได้โดยธรรมดาของมันอย่างนั้น สิ่งที่ถูกกำหนดมาตามธรรมดาของมันว่า จะเป็นอย่างนั้น พระพุทธองค์ผู้ทรงเป็นตถาคต ตรัสรู้ธาตุนั้น ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่ง เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีใครรู้มาก่อนว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์

 

(3.)    วรรคที่ 3   <<< อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง ฐิตา วะ สา ธาตุ ธัมมัฏฐิตะตา ธัมมะนิยามะตา สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติฯ ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ อะภิสัมพุชฌิตวา อะภิสะเมตวา อาจิกขะติ เทเสติปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ วิวะระติ วิภะชะติ อุตตานีกะโรติ สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติฯ   (แปลว่า)

 

ภิกษุ ทั้งหลาย ทั้งที่พระตถาคต คือ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จักเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม ธาตุคือสิ่งทรงตัวเองอยู่ได้อันนั้น ดำรงอยู่ได้โดยธรรมดาของมันอย่างนั้น สิ่งที่ถูกกำหนดมาตามธรรมดาของมันว่า จะเป็นอย่างนั้น พระพุทธองค์ผู้ทรงเป็นตถาคต ตรัสรู้ธาตุนั้น ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่ง เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีใครรู้มาก่อนว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา  >>>

 

 

 

ซึ่งธัมมนิยามสุตตํ  4 วรรคนี้  ยังไม่ได้อธิบายวิถีธรรมสมบูรณ์   จึงมีบทอธิบายขยายความเข้าใจต่อไปอีก ใน ติลักขะณาทิคาถา  โปรดฟัง ติลักขะณาทิคาถา 3 วรรคต่อไปอีก  ดังนี้

(1.)  (วรรคที่ 1) <<< สัพเพ สังขารา อะนิจจาติ     ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข       เอสะ มัคโค วิสุทธิยา  ( แปลว่า)

เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง

เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,

นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด 

 

(2.)  (วรรคที่ 2)  สัพเพ สังขารา ทุกขาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข     เอสะ มัคโค วิสุทธิยา   แปลว่า

เมื่อใดบุคคล เห็นด้วยปัญญาว่า, สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์

เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,

นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

 

(3.)   (วรรคที่ 3)  สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา   (แปลว่า)

เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,

นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด >>>

 

ซึ่งตามบทสวดติลักขะณาทิคาถา  3 วรรคนี้  มีบทเน้นไปตลอด ให้เข้าใจรู้แจ้งในลักษณะ 2 ประการ

ประการที่ 1  เมื่อรู้แล้วย่อมเหนื่อยหน่าย  รังเกียจเดียดฉันท์ สมเพช เวทนา  ในสิ่งที่เราหลง เรามัวเมาอยู่

ประการที่ 2  เมื่อรู้แล้วย่อมได้สัมผัสกลิ่นเย็น ชื่นแห่งพระนิพพาน  รู้ทางแห่งพระนิพพาน กระหายที่จะเร่งรุดไปตามทางพระนิพพานนั้น

 

ฉะนั้น   การรู้แจ้ง  ได้รู้ ในเรื่อง ปัญจักขันธา  รูปธรรม-นามธรรม หรือสังขารในสัจธรรมที่ว่าว่า  สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนิจจัง   สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์  ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา  จึงเป็นทางไปสู่โลกที่ประเสริฐ คือโลกนิพพาน  เหนือสวรรค์ชั้นเทพ   เหนือสวรรค์ชั้นพรหม  มหาพรหม เลยทีเดียว 

แต่ประเด็นสำคัญ ของ ความรู้ คือรู้และเห็นจริง ๆ ว่า  

อนิจจัง คืออะไร ?  

ทุกข์ คืออะไร และ 

อนัตตา คืออะไร ?

 

 

 

 

บทสรุป  ข้อพระธรรมที่อ้างมาจาก  ธัมมนิยามสูตร ก็ดี  ติลักขณะคาถา ก็ดี  นั้น   ที่จริงก็มาจาก  พระสูตรที่พุทธองค์ทรงแสดงเป็นพระสูตรแรก หรือปฐมเทศนาของพระองค์ หลังการตรัสรู้ นั้นเอง  ที่ทรงแสดงแด่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 คือ ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสูตรนั่นเอง   ที่เมื่อทรงแสดงแล้ว  เปิดดวงเนตรของปัญจวัคคีย์ รูปแรกคือ  ท่านอัญญาโกญฑัญญะ ให้สว่าง  สำเร็จอริยธรรมเป็นพระโสดาบันได้เป็นพระสงฆ์สาวกองค์แรกของพระพุทธศาสนา 

ซึ่งเรื่อง ทุกข์  หรือเรื่องปัญหาของชีวิตนี้  รวมทั้งที่พุทธองค์ทรงบอกเรื่องการแก้ทุกข์ แก้ปัญหานั้นต้องใช้หลักการว่าด้วยเหตุและผล  นั้นเองพุทธองค์ทรงสอนเป็นเรื่องแรก หรือเป็นปฐมโอวาทเลย ทำให้พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้เข้าใจเรื่องทุกข์ และสำเร็จโสดาบันก่อนองค์อื่น  โดยเข้าใจสัจธรรม  ดังปรากฏในธัมมจักกัปปวัตนสูตร   ที่ว่า

 

-         ชาติปิทุกขา   แม้ความเกิดก็เป็นทกข์

-         ชะราปิทุกขา   แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์

-         มะระณัมปิ  ทุกขัง  แม้ความตายก็เป็นทุกข์

-         โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ  ทุกขา   แม้ความแห้งใจ ความพิไรรำพัน  ความไม่สบายกาย  ไม่สบายใจ  ความเสียใจ และความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์

-         อัปปิเยหิ สัมปะโยโค  ทุกโข  ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์

-         ปิเยหิ  วิปปะโยโค  ทุกโข  ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์

-         ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ  ทุกขัง   มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์

-         สังขิตเตนะ  ปัญจุปาทานักขันธา   ทุกขา   ว่าโดยย่อ อุปปาทานขันธ์ทั้ง5เป็นตัวทุกข์  การยึดขันธ์ 5 ว่าเป็นเราก็เป็นทุกข์

 

 

 

 

 

ซึ่งโดยสรุปสัจธรรมเรื่องทุกข์  ทุกข์เป็นสิ่งที่มีประจำ  เป็นของคู่กับโลก  คู่กับคน  คู่กับสังขาร  สังขิตเตนะ  ปัญจุปาทานักขันธา   ทุกขา   ว่าโดยย่อ อุปปาทานขันธ์ทั้ง5เป็นตัวทุกข์  การยึดขันธ์ 5 ว่าเป็นเราก็เป็นทุกข์

 

 เมื่อมาเกิดเป็นคน หรือได้สังขารขึ้น นั้นก็หมายความว่า มาพร้อมกับทุกข์  นั้นเอง ขาดไม่ได้  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง   เมื่อมีการเกิด  ก็จึง  มีทุกข์ ตามมา เป็นเรื่องธรรมดา   ฉะนั้น คนเราแต่ละคน ในแต่ละวัน ไม่ว่าทำหน้าที่อะไร  เป็นใคร  เป็นนายหรือลูกน้อง  ต่างก็จะต้องเผชิญทุกข์ไปทุกคน ไม่ต่างกัน   แต่ละคนต้องเผชิญทุกข์ของเฉพาะตนไปทุกคนไม่มีว่างเว้น  และท่านอัญญาโกณฑัญญะได้สำเร็จโสดาบันด้วยพระคาถาที่เข้าใจเรื่องทุกข์นี้เอง  ที่ว่า

<<< ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ....... สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้นทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา>>>  

 

แล้ว ในลำดับต่อมาพระมหานามะ   พระวัปปะ และพระภัททิยะ ก็สำเร็จตามด้วยพระคาถาเดียวกัน  

 

และที่สุด  พระอัสสชิ  สำเร็จเป็นรูปสุดท้าย  แต่ด้วยพระคาถาว่า 

<<< เย ธัมมา เหตุ ปพฺพวา เตสํ เหตุงฺ ตถาคโต  เตสัญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณ  ธรรมเหล่าใด เกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น  และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น >>>

 

ก็ล้วนสำเร็จระดับ โสดาบันทั้ง 5 องค์ จากการได้สดับปฐมเทศนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน    ต่อมา 7 วัน  จึงทรงแสดงอะนัตตะลักขะณะสูตรแด่พระสาวก ที่ได้โสดาบันแล้ว  ทั้ง5 พระองค์ พระอริยสาวก คือปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 สดับอะนัตตะลักขะณะสูตรจบลงแล้ว  จึงได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์พร้อมกันทั้ง 5 องค์     และที่จริง ติลักขณะคาถา 3 วรรค ที่อ้างมา นั้น  ก็อ้างมาจาก อนัตตะลักขะณะสูตร  นั้นเอง   ที่ว่าบทพิเศษ ใน ติลักขะณาทิคาถา  3 วรรค  ดังนี้

 

<<< เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง

เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,

นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด 

 

เมื่อใดบุคคล เห็นด้วยปัญญาว่า, สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์

เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,

นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

 

เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอะนัตตา

เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,

นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด >>>

 

จึงเป็นอริยสัจธรรมข้อสำคัญยิ่ง  สำหรับชาวมนุษย์จักได้นำไปพิจารณา นำไปวิปัสสนา  และเจริญปัญญาต่อไปจนได้พบความจริงในพระคาถานั้น  อันจะส่งผลได้ไปถึงความสำเร็จเป็นพระอรหันต์  ถึงความสิ้นทุกข์ทั้งปวงได้

 

 

 

 

เรื่องของปัญจักขันธาตัวอย่างที่เห็น  ในงานพระราชทานพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช      จึงเป็นเรื่องที่ทำให้พวกเรา ผู้ที่อยู่  มีชีวิตต่อไป   ไม่ว่าคฤหัสถ์   บรรพชิต   หรือ   ที่ได้ชื่อว่าสาวกของพระพุทธเจ้าอย่างพวกเราทั้งหลายนี้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาชนชาวพุทธ หรือแม้ชาวโลก   คุณยายมารดา สามี ญาติ พี่น้อง มิตรสหาย ที่รัก เคารพ นับถือกันมาแต่ครั้งมีชีวิตอยู่ ที่ได้มาร่วมไว้อาลัย  ในวันนี้  ในเวลานี้     จะได้ถือเป็นทางเจริญสติปัญญา  ว่าด้วย  กฎไตรลักษณ์  นี้  ต่อไปเนือง ๆ   และที่สำคัญที่สุดก็คือ  ปัญญาที่ให้ได้รู้  สว่างแจ้งแสงธรรมแห่งความหลุดพ้น ไปสู่โลกแห่งความพ้นทุกข์ คือ นิพพาน  ระดับปัญญาอันสูงสุดขอให้ได้รำลึกสัจธรรม จึงควรที่จะหมั่นคิดตีความหมาย ทำการวิปัสสนาไปตลอด  ทำการพิจารณาอยู่เนือง ๆ  ไม่ว่างเว้น  ที่มีชีวิตอยู่ ตามหลักพระอนัตตะลักขะณะสูตร ที่ว่า   

 

สัพเพ  สังขารา  อนิจจา  สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ   ซึ่งความไม่เที่ยงนั้น หมายถึง สังขารทั้งหลายย่อมมีการเปลี่ยนสภาพไปตลอดเวลา ไม่คงอยู่ในสภาพหรือรูปเดิมไปได้เลย  จนที่สุดเปลี่ยนไปสู่ความสลาย หรือความตายลงไป   คำว่าสังขาร ไม่ว่าสังขารอะไร ขนาดไหน เล็ก ใหญ่ หรือมโหฬาร ก็ตาม แม้กระทั่งดวงดาว ดวงอาทิตย์ หรือท้องฟ้า มหาสมุทรใหญ่โต หรือโลกเราทั้งโลก  ก็ไม่พ้นไปจากสภาวะแห่ง  อนิจจัง ไปได้ นั้น เป็นลักษณะของตาญาณที่ได้รู้แจ้งซึ่งสัจธรรมว่าด้วย  อะนิจัง  ของ สังขารทั้งหลาย แล้วเกิดเบื่อหน่ายขึ้น

 

สัพเพ  สังขารา  ทุกขา  สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์หนอ  คำว่าทุกข์ หมายถึงสังขารนั้นย่อมมีการเกิดขึ้นมา เติบโตแล้ว ก็อยู่ยั่งยืนไปไม่ได้  มีแต่ค่อยเสื่อมสลายลงไปตามลำดับ ๆ  ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้  ซึ่งสภาวะรูปธรรมของทุกข์นั้นก็คือ  มีเกิด แล้วมีเติบโตขึ้นมา  แล้วก็หยุดการเติบโตลงไป  ไปสู่การเสื่อมชราภาพของสังขาร  แล้วไปสู่ภาวะแห่งความแก่   แล้วย่อมไปสู่การป่วยเจ็บ  และแล้วก็มีการตายลงไป  ซึ่งสภาวะของการตายนั้น  โดยรูปธรรมที่เห็นก็จะเห็นการแตกออกไปของธาตุทั้ง 4  ส่วนที่เป็นธาตุดิน ก็คืนสลายกลายไปสู่ดิน   ส่วนที่เป็นธาตุน้ำ ก็คืนสลายกลายู่น้ำ  ส่วนที่เป็นธาตุลม ก็กลายสลายคืนไปสู่ลม  ส่วนที่เป็นธาตุไฟ ก็เช่นเดียวกัน  กลายสลายไปสู่ไฟ    และครั้นมีตายแล้ว  มองดูด้วยปัญญา ก็จะเห็นว่า  ก็มีวนเวียนกลับมาเกิดใหม่   เมื่อเกิดใหม่  ก็เติบโตไป  สู่การเจ็บ  การตายอีก  วนไปอยู่อย่างนี้  โดยเริ่มจากการรวมธาตุทั้ง 4 คือ  ธาตุดิน  ธาตุน้ำ  ธาตุลม  และธาตุไฟ  เข้ากับกองขันธ์ทั้ง 5 อีกครั้งหนึ่ง  ก็เกิดอีกครั้งหนึ่ง  เหมือนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช   ของเรานี่เอง  ที่พระองค์ท่านได้สังขารเกิดเป็นมา  พัฒนาไปตามหลักทุกขัง  จนสู่การล่วงลับไปแล้ว  เมื่อพระองค์ท่านล่วงลับไปแล้ว นั้นก็หมายความว่ากองขันธ์ทั้ง 5 แตกดับไป  ธาตุทั้ง 4 ที่ประกอบกันเป็นสังขาร มีธาตุดิน สลายลงไป  ดินก็กลับคืนไปสู่ดินเหมือนเดิม  ลม ก็กลับคืนไปสู่ลมเหมือนเดิม น้ำก็กลับคืนสู่น้ำเหมือนเดิม  ไฟก็กลับคืนสู่ไฟเหมือนเดิม   ไปไหน  ไปตามความเชื่อ หรือสัจธรรมของชาวพุทธที่ว่า  ไปตามกรรมนั้นแหละ   ฉะนั้นมาเข้าใจต่อว่า เมื่อสังขารสลายไปแล้ว  แล้วก็ ก็ใช่ว่าจะหยุดอยู่  ก็คงหมุนเวียนไปตามหลักสัจธรรมว่าด้วย   สัพเพ  สังขารา  ทุกขา  นี่เอง วันหนึ่งข้างหน้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช   พระองค์ท่านก็อาจจะหมุนวนมาเกิดใหม่   เมื่อขันธ์ทั้ง 5 ธาตุทั้ง 4 ได้จังหวะเวลารวมตัวกันอีกครั้ง  ก็เกิดใหม่อีกครั้ง แล้วก็จะเห็นสัจธรรมว่า   ทุกข์นั้น มาจาก การเกิด  นั้นเอง   มีการเกิดอยู่เมื่อไร  ก็มีทุกข์ตามเมาเมื่อนั้น   ไม่รู้จบรู้สิ้น

 

ฉะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช   จึงอาจจะรวมธาตุขันธ์มาเกิดใหม่ที่ประเทศไทยเราหรือที่ไหน ๆอีกก็ได้  ตามผลกรรมของพระองค์ท่านเอง(หมายความถึงสภาพการแปรของขันธ์ทั้ง5ธาตุทั้ง4 ลงตัวกัน แบบไหน  อย่างไร  ก็นำไปสู่การเกิดแบบนั้น)  หรืออย่างดีที่เราทั้งหลายเชื่อมั่นในพระองค์ ก็คงจะทรงไปจุติเบื้องบน ได้เกิดเป็นเทพ ชั้นเทพ ชั้นพรหม  มหาพรหม  ตามบุญบารมีที่พระองค์ท่านทรงสร้างไว้  การเกิด แก่ เจ็บ ตาย  การตาย เกิด  แก่  เจ็บ  จึงเป็นสิ่งที่หมุนวนไปไม่รู้จบ นับร้อยปีร้อยโกฏิชาติ ไปจนถึงโกฏิโกฏิชาติก็ไม่จบ   จึงเป็นวัฏฏะสงสารที่น่าเบื่อหน่าย น่าหนีไปเสียโดยเร็วจริง ๆ

 

แต่สิ่งที่ต้องเข้าใจเกี่ยวกับคำว่าทุกข์ นั้น   คำว่าทุกข์นั้น จึงต้องทำความเข้าใจให้ดี  รู้สัจธรรมของทุกข์  ที่ว่า เรามีชีวิตเกิดออกมาจากท้องแม่  ก็เจอมันทันที และเจออยู่ตลอดชีวิตเรานั้นเลย    มองจากสภาวะสังคมยุคใหม่นี้  ทุกข์ก็หมายความถึง ปัญหาชีวิตนี่เอง  ที่คนทุกระดับคนรวย  กระยาจกกษัตริย์ ถึง วณิพกแม้พระโสดาบัน  ถึง  พระอรหันต์ก็ต้องเผชิญไปตลอดที่เราเดินไปในวิถีชีวิต,   เมื่อชีวิตเกิดขึ้นเป็นอยู่มีอยู่   หรือเมื่อมีการเกิด ไม่ว่าเกิดในโลกมนุษย์เรา  หรือเกิดในโลกเทวดา  โลกมาร อสูร  ชาตินี้ หรือ ชาติหน้า  หากมีการเกิด  ก็มีทุกข์เกิดเผชิญทุกข์ไปตลอด, เผชิญปัญหาไปตลอด, เป็นระยะ ๆ ไปเป็นวัน ๆ ไปเป็นชั่วโมง ๆ ไป, เป็นปี ๆ ไป  ตายแล้วก็ต่อไปในชาติหน้า หากยังมีการเกิดอยู่  ก็ไม่มีที่จะว่างเว้นไปจากปัญหา,   ไม่มีที่ว่างเว้นไปจากทุกข์,    จึงมีสัจธรรมว่า:   โลกเรานี้มีสิ่งเดียว คือมีแต่ทุกข์เป็นทุกข์ล้วน ๆไม่มีสิ่งอื่นเลย นอกจากทุกข์อย่างเดียว, แม้สิ่งที่เราว่าสุขนั้น ก็ล้วนเป็นของจอมปลอมทั้งสิ้น, ไม่มีสุขที่แท้จริงเลย,   

 

สัพเพ  ธัมมา  อนัตตา  คำว่าอนัตตา หมายถึง  ไม่มีตัวตน  ภาษาอังกฤษใช้คำว่า  not a self, not a soul คำว่า self  ก็คือ รูปธรรม  คำว่า soul คือนามธรรม  ดูจากภาษาอังกฤษ ที่ปราชญ์อังกฤษเขาแปลไว้แล้ว   เข้าใจง่ายและชัดเจนกว่า ภาษาไทย  จึงนำมาพูดให้ฟังในที่นี้  อนัตตานั้นก็คือ  สรรพสิ่งทั้งหลายไม่ใช่ตัว  ไม่ใช่ตนเลย  ไม่มีตัว  ไม่มีตนเลย   ก็หมายเตือนให้สติเราว่าอย่าพึงไปหลงยึดมั่นว่า นั่นของเรา นั่นของเขาเลย เพราะแท้จริงคือ  อนัตตา   ไม่ใช่สิ่งที่จะยึดมั่นว่าเป็นของเรา  ของเขาได้  ไม่ใช่สิ่งที่จะยึดเอาอย่างมีตัวมีตนได้เลย  คำว่าสรรพสิ่ง นั้นหมายถึง  สิ่งทั้งหลายที่ธรรมชาติให้เกิดเป็นมา ธรรมชาติสร้างมา เป็นธรรมชาติ  เล็กหรือใหญ่  เช่นโลกทั้งโลก  ดวงดาวทั้งจักรวาล  หรือทั้งจักรวาลเอง  ล้วนแต่ไม่มีตัวตนเลย  เราเพียงมาหลงยึดว่ามีตัวมีตน  ก็เลยกลายเป็นรังแห่ง กิเลส ตัณหา อุปาทาน  ให้หลงไปในวัฏฏะสงสารไกลไปทุกที   ซึ่ง นี่แหละที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่า  เป็นสิ่งที่คนทั้งหลายไม่เคยรู้มาก่อน

 

ซึ่งเมื่อนำไปวิปัสสนา หรือพิจารณาไปบ่อย ๆ เนือง ๆ  ก็ย่อมจะเข้าใจ  รู้ความจริงและเมื่อได้รู้ความจริงแล้ว รู้ละเอียดทั่วถึง แล้วก็  จะนำไปสู่ความหน่ายในสังขารทั้งหลาย ได้เป็นความน่าสมเพช เวทนาแห่งการหมุนวนไปของวัฏฏะสงสาร   ที่ไม่รู้จบรู้สิ้น  ทำให้ละคลายไปจากกิเลส ตัณหา  อุปาทาน  และคลายจากความรุ่มร้อนแห่งกามารมณ์แห่งกามตัณหา กามภพได้ และครั้นเห็นความจริงของไตรลักษณ์เห็นสิ่งที่เรียกว่า  วัฏฏะสงสาร  คือดุจสายน้ำใหญ่ที่หมุนวนไปชั่วนาตาปีไม่มีวันหยุดไปโกฏิปีโกฏิชาติ ซึ่งในวัฏฏะสงสารนั้น เป็นวัฏฏะแห่งทุกข์ล้วน ๆ   น่าเบื่อหน่ายแท้ ๆ   แล้วก็ย่อมจะจุดประกายปัญญาธรรมแห่งมรรคผลนิพพานขึ้นได้ นับแต่โสดาปัตติมรรค  โสดาปัตติผล   สกิทาคามิมรรค  สกิทาคามิผล   อนาคามิมรรค  อนาคามิผล  เป็นเบื้องต้นไป ถึง อรหัตมรรค  อรหัตตผล  เลยสู่พุทธภาวะ หรือ  พุทธภูมิอันสูงสุดต่อไป แม้ในชาตินี้  ปีนี้  เดือนนี้  วันนี้   ที่นี่และเดี๋ยวนี้เอง  ภพนี้เองเลย โดยการที่ได้เริ่มสัมผัสกับสิ่งที่เรียกว่า ความสุขที่แท้จริง ที่แตกต่างไปอย่างลิบลับจากความสุขที่ได้พบใน วัฏฏะสงสาร

 

 

 

 

ในที่สุดนี้ก็มาถึงตอนจบลง  อาตมภาพก็ขอชื่นชมยินดีต่อราชวงศ์ มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  วชิราลงกรณ บดินทรเทพวรางกูร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี  พระบรมราชวงศ์ทั้งสิ้น   รัฐบาล นำโดยท่าน พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พลเรือน ทุกกระทรวงทบวง กรม  และประชาชนชาวไทยทั้งประเทศ  ที่ได้ร่วมพลังสามัคคีจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ปรมินทร์มหาภูมิพลอดุลเดช  อันเป็นงานทำบุญทักษิณาทาน ครั้งยิ่งใหญ่    ในวันนี้  ท่านผู้ฟังทั้งหลาย  ว่าการที่เราเป็นชาวพุทธ  เป็นผู้ที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนานั้น นับเป็นการประเสริฐแล้ว  อันเนื่องจากทำให้ได้โอกาสการรู้แจ้งสัจธรรมของชีวิต  และบรรลุสู่โลกที่สงบ สิ้นทุกข์ สิ้นร้อน คือ โลกนิพพาน ได้

 

ก็ขอจบวาทะแห่งธรรมที่ควรระลึก ควรนำไปวิปัสสนา  ไตร่ตรองพิจารณาเนือง ๆ   เนื่องในงานพระราชทานเพลิงพระศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช    วันนี้ ลงแต่เพียงนี้      ขอกุศลผลบุญ ที่ท่านเจ้าภาพ  และมิตรสนิทมิตรสหายที่มาร่วมกันไว้อาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช   ในวันนี้  จงได้พบความสว่างใจ ได้เข้าใจรู้แจ้งในสัจธรรมของสังขาร  ได้อานิสงส์กุศลผลบุญที่พากันร่วมมือกันกระทำทักษิณาทานอุทิศแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช   ตามสมควรแก่เหตุที่กระทำ โดยเฉพาะการได้สดับรับฟัง พระภิกษุมาสวดอภิธรรม มาทุก ๆ วันเป็นเวลา ปีเศษ ๆ  นับแต่ทรงเสด็จสวรรคต   เพราะนั่นคือการให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง   และธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรื่องชีวิต  ปัญจักขันธา  ที่มีแต่ความไม่เที่ยง  ความทุกข์  และ ความไม่มีตัวตน  ขอได้พบความสำเร็จในธรรม  ได้ปัญญาเห็นวงเวียน ที่หมุนวนไม่รู้จบสิ้นแห่งทุกข์ ในวัฏฏะสงสาร  และหน่ายเสียในที่สุด จนได้กลิ่นอันชื่นเย็น แห่งพระนิพพาน  จงบังเกิดมีแด่ท่านเจ้าภาพ  เพื่อน ๆ  มิตร สหายทั้งหลายที่มาร่วมไว้อาลัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช มหาราช   ถ้วนทุกคนทุกท่าน   เทอญ

 

เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้

•       พระครูพุทธิพงศานุวัตร  ผู้ช่วยเจ้าอาวาส

วัดมหาพุทธาราม พระอารามหลวง

•      26  ต.ค. 2560  ขอเจริญพร

•      แฟ้ม : A ปัญจักขันธา 14 พระบรมศพ ร.9 26 ต.ค.2560

 

 

 

             

 




เทศนาธรรมปัญญาธโรภิกขุ ปฐมเทศนาธรรมบทแรกๆ ......

Muslim บทวิเคราะห์กองทัพนักรบศักดิ์สิทธิ์จิฮัดส์อิสลามอาหรับ6ประเทศแพ้อิสราเอลอย่างไม่ทันนกกระจอกกินน้ำ
Muslim จากไลน์กลุ่มการศึกษาไร้พรมแดน อิสลามสอนให้เนรคุณ
สรภัญญะสุดยอด แห่งแผ่นดินอีสานโอวาทธรรมแห่งสรภัญญะ
โอวาทธรรมในเรือนจำ การทำบุญตักบาตร เทศกาลสงกรานต์ 11 เม.ย.2561
โอวาทธรรม พิธีรับประกาศนียบัตรการศึกษา วิทยาลัยอาชีวะศึกษา เอสแบค ศรีสะเกษ
ส.ค.ส.2561 โอวาทธรรม ในเรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ
โอวาทธรรม เปิดประชุมอบรมสัปดาห์แห่งศีลธรรม ครูอาจารย์พนักงานรร.วัดมหาพุทธาราม
ธรรมะสำหรับข้าราชการเข้าวัดเทศกาลเข้าพรรษา 2560
เทศนาธรรม วันข้าราชการบำเหน็จบำนาญจังหวัดศรีสะเกษ 1 ต.ค.2560
เทศนาธรรม งานศพคุณแม่วิมลวรรณ พรรณโรจน์ เมรุวัดมหาพุทธาราม 20 ส.ค.2560
สัมโมทนียกถา วันแม่ แด่คณะครู อาจารย์ นักเรียน ผู้ปกครอง รร.วัดมหาพุทธาราม 11 ส.ค.2560
เทศนาธรรม กัณฑ์ที่ 6 วันอาสาฬหบูชา 6 ก.ค. 2560 โรงเรียนวัดมหาพุทธาราม
เทศนาธรรม กัณฑ์ที่ 2 งานศพพระครูวิธานวัชรกิจ 25 พ.ค.2560 วิหารวัดมหาพุทธาราม
เทศนาธรรม กัณฑ์แรก งานศพคุณพี่สุบรรณ มัคคสมัน วันที่ 11 เม.ย.2560 อุทุมพรพิสัย ศรีสะเกษ



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
----- ***** ----- โปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate นี่คือเวบไซต์คู่ www.newworldbelieve.com กับ www.newworldbelieve.net เราให้เป็นเวบไซต์ที่เสนอธรรมะหรือ ความจริง หรือ ความคิดเห็นในเรื่องราวของชีวิต ตั้งใจให้ธัมมะเป็นทาน ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แด่คนทั้งหลาย ทั้งโลก ให้ได้รู้ความจริงของศาสนาต่าง ๆในโลกวันนี้ และได้รู้ศาสนาที่ประเสริฐเพียงศาสนาเดียวสำหรับโลกยุคใหม่ จักรวาลใหม่ เรามีผู้รู้ ผู้ตรัสรู้ ผู้วินิจฉัยสรรพธรรมสรรพวิชชา สรรพศาสน์ และสรรพศาสตร์ พอชี้ทางสู่โลกใหม่ ให้ความสุข ความสบายใจความมีชีวิตที่หลุดพ้นไปสู่โลกใหม่ เราได้อุทิศเนื้อที่ทั้งหมดเป็นเนื้อที่สำหรับธรรมะทั้งหมด ไม่มีการโฆษณาสินค้า มาแต่ต้น นับถึงวันนี้ร่วม 14 ปีแล้ว มาวันนี้ เราได้สร้างได้ทำเวบไซต์คู่นี้จนได้กลายเป็นแดนโลกแห่งความสว่างไสว เบิกบานใจ ไร้พิษภัย เป็นแดนประตูวิเศษ เปิดเข้าไปแล้ว เจริญดวงตาปัญญาละเอียดอ่อน เห็นแต่สิ่งที่น่าสบายใจ ที่ผสานความคิดจิตใจคนทั้งหลายด้วยไมตรีจิตมิตรภาพล้วน ๆ ไปสู่ความเป็นมิตรกันและกันล้วน ๆ วันนี้เวบไซต์นี้ ได้กลายเป็นโลกท่องเที่ยวอีกโลกหนึ่ง ที่กว้างใหญ่ไพศาล เข้าไปแล้วได้พบแต่สิ่งที่สบายใจมีความสุข ให้ความคิดสติปัญญา และได้พบเรื่องราวหลายหลากมากมาย ที่อาจจะท่องเที่ยวไปได้ตลอดชีวิต หรือท่านอาจจะอยากอยู่ณโลกนี้ไปชั่วนิรันดร ไม่กลับออกไปอีกก็ได้ เพียงแต่ท่านเข้าใจว่านี่เป็นแดนต้นเรื่องเป็นด่านข้ามจากแดนโลกเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง และซึ่งเป็นโลกหรือบ้านของท่านทั้งหลายได้เลยทีเดียว ซึ่งสำหรับคนต่างชาติ ต่างภาษาต่างศาสนา ได้โปรดใช้การแปลของ กูเกิล หรือ Google Translate แปลเป็นภาษาของท่านก่อน ที่เขาเพิ่งประสบความสำเร็จการแปลให้ได้แทบทุกภาษาในโลกมนุษย์นี้แล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้เอง นั้นแหละเท่ากับท่านจะเป็นที่ไหนของโลกก็ตาม ทั้งหมดโลกประมาณ 7.6 พันล้านคนวันนี้ สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในโลกของเราได้เลย เราไม่ได้นำท่านไปเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่การนำไปสู่ความจริง ความรู้เรื่องชีวิตใหม่ การอุบัติใหม่สู่ภาวะอริยบุคคล ไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปพ้นจากทุกข์ ทั้งหลายไปสู่โลกแห่งความสุขแท้นิรันดร คือโลกนิพพานขององค์บรมศาสดาพุทธศาสนา พระบรมครูพุทธะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ท่านโปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate ท่านก็จะเข้าสู่โลกนี้ได้ทันทีพร้อมกับคน7.6พันล้านคนทั้งโลกนี้. ----- ***** ----- • หมายเหตุ เอาขึ้นเวบไซต์ แทนของเดิม ทั้ง 2 เวบ .net .com วันที่ 21 เม.ย. 2565 เวลา 07.00 น. -----*****-----