ReadyPlanet.com
dot
dot dot
bulletBUDDHISM TO THE NEW WORLD ERA
bullet1 Thai-ไทย
bullet2.English-อังกฤษ
bullet3.China-จีน
bullet4.Hindi-อินเดีย
bullet5.Russia-รัสเซีย
bullet6.Arab-อาหรับ
bullet7.Indonesia-อินโดนีเซีย
bullet8.Japan-ญี่ปุ่น
bullet9.Italy-อิตาลี
bullet10.France-ฝรั่งเศส
bullet11.Germany-เยอรมัน
bullet12.Africa-อาฟริกา
bullet13.Azerbaijan-อาเซอร์ไบจัน
bullet14.Bosnian-บอสเนีย
bullet15.Cambodia-เขมร
bullet16.Finland-ฟินแลนด์
bullet17.Greek-กรีก
bullet18.Hebrew-ฮีบรู
bullet19.Hungary-ฮังการี
bullet20.Iceland-ไอซ์แลนด์
bullet21.Ireland-ไอร์แลนด์
bullet22.Java-ชวา
bullet23.Korea-เกาหลี
bullet24.Latin-ละติน
bullet25.Loa-ลาว
bullet26.Finland-ฟินแลนด์
bullet27.Malaysia-มาเลย์
bullet28.Mongolia-มองโกเลีย
bullet29.Nepal-เนปาล
bullet30.Norway-นอรเวย์
bullet31.persian-เปอร์เซีย
bullet32.โปแลนด์-Poland
bullet33.Portugal- โปตุเกตุ
bullet34.Romania-โรมาเนีย
bullet35.Serbian-เซอร์เบีย
bullet36.Spain-สเปน
bullet37.Srilanga-สิงหล,ศรีลังกา
bullet38.Sweden-สวีเดน
bullet39.Tamil-ทมิฬ
bullet40.Turkey-ตุรกี
bullet41.Ukrain-ยูเครน
bullet42.Uzbekistan-อุสเบกิสถาน
bullet43.Vietnam-เวียดนาม
bullet44.Mynma-พม่า
bullet45.Galicia กาลิเซียน
bullet46.Kazakh คาซัค
bullet47.Kurdish เคิร์ด
bullet48. Croatian โครเอเซีย
bullet49.Czech เช็ก
bullet50.Samoa ซามัว
bullet51.Nederlands ดัตช์
bullet52 Turkmen เติร์กเมน
bullet53.PunJabi ปัญจาบ
bullet54.Hmong ม้ง
bullet55.Macedonian มาซิโดเนีย
bullet56.Malagasy มาลากาซี
bullet57.Latvian ลัตเวีย
bullet58.Lithuanian ลิทัวเนีย
bullet59.Wales เวลล์
bullet60.Sloveniana สโลวัค
bullet61.Sindhi สินธี
bullet62.Estonia เอสโทเนีย
bullet63. Hawaiian ฮาวาย
bullet64.Philippines ฟิลิปปินส์
bullet65.Gongni-กงกนี
bullet66.Guarani-กวารานี
bullet67.Kanada-กันนาดา
bullet68.Gaelic Scots-เกลิกสกอต
bullet69.Crio-คริโอ
bullet70.Corsica-คอร์สิกา
bullet71.คาตาลัน
bullet72.Kinya Rwanda-คินยารวันดา
bullet73.Kirkish-คีร์กิช
bullet74.Gujarat-คุชราด
bullet75.Quesua-เคซัว
bullet76.Kurdish Kurmansi)-เคิร์ด(กุรมันซี)
bullet77.Kosa-โคซา
bullet78.Georgia-จอร์เจีย
bullet79.Chinese(Simplified)-จีน(ตัวย่อ)
bullet80.Chicheva-ชิเชวา
bullet81.Sona-โซนา
bullet82.Tsonga-ซองกา
bullet83.Cebuano-ซีบัวโน
bullet84.Shunda-ชุนดา
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet86.Sesotho-เซโซโท
bullet87.NorthernSaizotho-ไซโซโทเหนือ
bullet88.Somali-โซมาลี
bullet89.History-ประวัติศาสตร์
bullet90.Divehi-ดิเวฮิ
bullet91.Denmark-เดนมาร์ก
bullet92.Dogry-โดกรี
bullet93.Telugu-เตลูกู
bullet94.bis-ทวิ
bullet95.Tajik-ทาจิก
bullet96.Tatar-ทาทาร์
bullet97.Tigrinya-ทีกรินยา
bullet98.Check-เชค
bullet99.Mambara-มัมบารา
bullet100.Bulgaria-บัลแกเรีย
bullet101.Basque-บาสก์
bullet102.Bengal-เบงกอล
bullet103.Belarus-เบลารุส
bullet104.Pashto-พาชตู
bullet105.Fritian-ฟริเชียน
bullet106.Bhojpuri-โภชปุรี
bullet107.Manipur(Manifuri)-มณีปุระ(มณิฟูรี)
bullet108.Maltese-มัลทีส
bullet109.Marathi-มาราฐี
bullet110.Malayalum-มาลายาลัม
bullet111.Micho-มิโช
bullet112.Maori-เมารี
bullet113.Maithili-ไมถิลี
bullet114.Yidsdish-ยิดดิช
bullet115.Euroba-ยูโรบา
bullet116.Lingala-ลิงกาลา
bullet118.Slovenia-สโลวีเนีย
bullet119.Swahili-สวาฮิลี
bullet120.Sanskrit-สันสกฤต
bullet121.history107-history107
bullet122.Amharic-อัมฮาริก
bullet123.Assam-อัสสัม
bullet124.Armenia-อาร์เมเนีย
bullet125.Igbo-อิกโบ
bullet126.History115-ประวัติ 115
bullet127.history117-ประวัติ117
bullet128.Ilogano-อีโลกาโน
bullet129.Eve-อีเว
bullet130.Uighur-อุยกูร์
bullet131.Uradu-อูรดู
bullet132.Esperanto-เอสเปอแรนโต
bullet133.Albania-แอลเบเนีย
bullet134.Odia(Oriya)-โอเดีย(โอริยา)
bullet135.Oromo-โอโรโม
bullet136.Omara-โอมารา
bullet137.Huasha-ฮัวซา
bullet138.Haitian Creole-เฮติครีโอล
bulletคำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรแปล เช้า-เย็น
bulletChart Showing the Process
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี พ.ศ.2540 - 2566
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 1
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 2
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี บุคคลที่ 1 - 188 ปัจจุบัน
bulletหนังสือพิมพ์ดี
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 1
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 2
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 3
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 4
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 5
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 6
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 7
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 8
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 9
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 10
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 11
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 12
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 13
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 14
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 15
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 16
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 17
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 18
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 19
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 20
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 21
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 22
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 23
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 24
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 25
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 26
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 27
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 28
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 29
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 30
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 31
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 32
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 33
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 34
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 35
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 36
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 37
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 38
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 39
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 40
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 41
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 42
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 43
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 44
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 45
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 46
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 47
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 48
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 49
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 50
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 51
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 52
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 54
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 55
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 56
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 57
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 58
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 59
bulletTo The World
bulletENGLISH
bulletUSA
bulletChina
bulletIndia
bullet Mynmar
bullet Cambodia
bullet Loas
bulletSri Lanka
bulletMalaysia
bulletKorea
bulletA Sharp Turn of Believes : Iresearch Iwrite Iread
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 1
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 2
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 3
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 4
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 5
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 6
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 7
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 8
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 9
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 10
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 11
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 12
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 13
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 14
bulletMystery Report 15
bulletMystery Report 16
bulletMystery Report 17
bulletMystery Report 18
bulletMystery Report 19
bulletMystery Report 20
bulletMystery Report 21
bulletMystery Report 22
bulletMystery Report 23
bulletMystery Report 24
bulletMystery World Report 25
bulletศึกษาโลกลี้ลับ 26
bulletเฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว วิเคราะห์ทุกปัญหาในโลกมนุษย์ด้วยสติปัญญาและเหตุผลวิทยาศาสตร์จากนสพ.ดี
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2536
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2537
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2538
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2539
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2540
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2541
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2542
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2543-2545
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2545-2549
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2549-2550
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2550-ส.ค.2551
bulletเฝ้าดูฯ ส.ค.-ก.ย.2551
bulletเฝ้าดูฯ ก.ย.2551- ธ.ค. 2551
bulletเฝ้าดูฯสำนวนพัชรา กอปรทศธรรม
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 16-27
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 29
bulletบทความใหม่ เม.ย.-พ.ค.2552
bulletพุทธธรรมเพื่อทางดับทุกข์
bulletทฤษฎีการดับทุกข์ทางจิต วิปัสสนากรรมฐานโดยการทำงาน(สำนวนปรับปรุงใหม่)
bulletประวัติพัชรา กอปรทศธรรม
bulletประวัติการต่อสู้เพื่อการดับทุกข์ ของพัชรา กอปรทศธรรม
bulletอัลบั้มรูป history
bulletนิทานธรรมะประยุกต์ มานุสสาสุระสงคราม 4 ภาค และอื่น ๆ
bulletอัลบั้มรูป ภาพในอดีตและชีวประวัติศาสตร์ที่สวยงาม
bulletจากเวบบอร์ด พูดกันไม่รู้เรื่อง ประชาธิปไตยล้าหลัง
bulletศาสนาสากล การวิเคราะห์ความหมาย
bulletปลอบใจ
dot
รวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์ แนวปฏิรูปคณะสงฆ์อยู่ในบทวิเคราะห์นี้แล้ว
dot
bulletรวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์
dot
สากลจักรวาล สากลศาสนา แนวคิดศาสนาสำหรับคนยุคใหม่ ผู้ก้าวผิดทางไปสู่สิ่งไร้สาระโดยไม่รู้ตัว
dot
bulletสากล...ศาสนา 1
bulletสากล...ศาสนา 2
bulletสากล...ศาสนา 3
bulletสากล...ศาสนา 4
bulletสากล...ศาสนา 5
bulletสากล...ศาสนา 6
bulletสากล...ศาสนา 7
bulletสากล...ศาสนา 9
bulletสากล...ศาสนา 8
bulletสากล...ศาสนา 10
bulletสากล...ศาสนา 11
bulletสากล...ศาสนา 12
bulletสากล...ศาสนา 13
bulletสากล...ศาสนา 14
bulletสากล...ศาสนา 16
dot
ส่วนข้อมูลสำคัญเพื่อการวิจัยการเมืองไทยยุค คมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
dot
bulletข้อมูลสำคัญยุคคมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่1/26ส.ค.2551
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่2/27ส.ค.2551
bulletใบปลิว อีเมล์ ในหลวงทรงร้องไห้
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 1
bulletในหลวงเพิ่งทราบข่าวฆ่าประชาชน10เมย.53ทรงร้องไห้
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
dot
รวมข่าวม็อบการเมืองสนธิ-จำลอง-ปชป.มิ.ย.51-เม.ย.52 นสพ.
dot
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 2
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 3
bulletรวมข่าวม็อบ30มิ.ย.51-23มี.ค.52
bulletเลือดศรีสะเกษบันทึกเรื่องราวรอบด้านเกี่ยวกับเขาพระวิหาร
bulletรายงานการโฆษณาชวนเชื่อในประเทศไทยที่ล้มล้างรัฐบาลทักษิณ
bulletหนังสือพิมพ์ดี ของฟรีให้เปล่ามา20ปีแล้วทั้งเอกสารและอินเทอเนท
bulletหนังสือพิมพ์ดี ( อินเทอเนต ) เล่ม 1 - 44 - ล่าสุด
bulletหน้าที่เก็บไว้
bulletมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร)
bulletวัดมหาพุทธาราม ศรีสะเกษ บันทึกเหตุการณ์
bulletสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดศรีสะเกษแห่งที่ 1
bulletเกี่ยวกับเวบไซต์ของเรา เราทำเพื่อปัญญาชนโดยแท้
bulletรวมกระทู้เด็ดจากกระดานถามตอบ
bulletคาถาอาคมไสยศาสตร์
bulletกวีนิพนธ์ใหม่
bulletศูนย์ปฏิญญาณละเลิกอบายมุข บัญชีที่ 1- 4


บทบรรณาธิการ : รวมพลังการสื่อสารต้านภัยพุทธ

 

บทบรรณาธิการ

 

คือ หนังสือพิมพ์ดี :วิเคราะห์ข่าวในวงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดภาคอีสาน ฉบับปรับปรุงยกระดับ ประจำเดือน กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๑

 

เราจะบินบินบินและบินไป สู่ขอบฟ้าสดใสในเบื้องหน้า

 

ดี ฉบับนี้ มาสู่ท่านผู้อ่านล่าช้า ตามที่เราได้เรียนให้ทราบล่วงหน้าแล้ว กระนั้นเราก็ใคร่ขออภัยท่านผู้อ่าน ณ ที่นี้อีกครั้งหนึ่ง

 

และเรามีความยินดีที่จะเรียนให้ทราบในหน้าบรรณาธิการนี้ว่า ในช่วงที่เราเว้นว่างไปนั้น เราได้รับสิ่งที่เราคิดว่าเป็นสารแห่งมิตรภาพ คือเอกสารและหนังสือธรรมะต่าง ๆ มากมายหลายเล่มจากเพื่อนสหธรรมิกหลายแห่งส่งมา ดังนี้

 

1.   จากองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ออกเอกสารจดหมายข่าวรายเดือนภาษาอังกฤษ คือ THE   ORLD FELLOWSHIP OF BUDDHISTS NEWSLETTER เดือน มีนาคม พุทธศักราช 2541 ฉบับแรกเริ่มต้นได้ดีมาก เพราะได้ข่าวเหตุการณ์บุคคลสำคัญระดับโลก คือเจ้าฟ้าชายชาร์ล อังกฤษ เสด็จไปศรีลังกา เนื่องใน งานฉลองครบรอบ 50 ปีเอกราชของศรีลังกา ได้เสด็จไปวัด Kelaniya Rajamaha Viharaya เมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2541 ได้สนทนาธรรมกับพระผู้ใหญ่วัดนั้นเรื่องศาสนาพุทธกับศาสนาคริสต์ ในประเด็น Buddhist meditation กับ Christian sainthood ว่าจะเอามาประยุกต์ร่วมกันได้หรือไม่เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตการณ์โลกขณะนี้ พระผู้ใหญ่ตอบในเชิงพุทธว่า ทุกคนเป็นพระได้ด้วยการรักษาความดีให้บริสุทธิ์ แต่คนมีปัญหาเพราะเอาชนะกิเลส คือโลภ(ความจะกละเห็นแก่ตัว=greed) โกรธ(anger) หลง(delution) ไม่ได้ ประเด็นที่ฟ้าชายตั้งขึ้นน่าจะเป็นปมใหญ่แห่งปริศนาที่ชาวพุทธ และองค์การพุทธจะต้องคิดแก้คลี่คลายออกมา และที่น่าสังเกตก็คือในท่ามกลางความวิกฤตคนสำคัญ ๆที่มีสติปัญญาทั้งหลายดูเหมือนจะเริ่มต้นใฝ่ศึกษา พระพุทธศาสนามากขึ้น (รายละเอียดดู Bankok Post, February 4, p.6) ในหน้า 5 บทความของ ดร.ภัทรพร ศิริกาญจนา พูดถึงงานสำคัญงานใหญ่มาก ๆระดับโลกว่า “We need a special kind of education which can provide the entire world beings with peaceful happiness.” น่าจะขยายความต่อไป ๆ ว่า การศึกษาแบบ พิเศษที่ว่านั้น จะทำได้อย่างไร ที่จะให้มนุษย์ทั้งโลกมีความสุขสงบ ก็สะท้อนแง่คิด ปัญหาไว้ให้คนในโลกร่วมกันคิดทั้งนั้น นับว่าจดหมายข่าวเล่มแรกออกมาดี ขอ แสดงความยินดีกับ ดร.นันทสาร สีสลับ ผู้เป็น Editor in chief จดหมายข่าวนี้ และคณะกองบรรณาธิการด้วย

 

 

2. จากคณะธรรมทาน ไชยา (ส่งถึงพระพยับ ปัญญาธโร โดยกรุณาให้เกียรต์ใน นามผู้รับประเภทถาวร) 4 เล่ม ที่น่าสนใจมาก

 

 

2.1    ธรรมบรรณาการเนื่องในโอกาศเปิดสำนักงานคณะธรรมทาน 24 พฤษภาคม 2540 ในเล่มทั้งเล่มเป็นการนำเอาหนังสือพิมพ์ พุทธสาสนา ปีที่ 1 เล่มที่ 1 เดือน พฤษภาคม พุทธศักราช 2476 มาจัดพิมพ์ขึ้นใหม่ทั้งหมด เราก็จะได้เห็นรูปโฉมของหนังสือพิมพ์พุทธสาสนายุคเริ่มแรก เล่มแรก ที่น่าสนใจมาก จะพบเรื่อง ราวต่าง ๆ ในเล่มที่บ่งบอกแนวความคิดของคณะธรรมทาน ว่าท่านคิดอย่างไรต่อการพระพุทธศาสนาในขณะนั้น คือขณะเมื่อปี พ.ศ.2476 ซึ่งเป็นเวลา 65 ปีมาแล้ว เรื่องนำก็คือ “พุทธสาสนาจะเจริญรุ่งเรืองยิ่ง” ของท่านธรรมทาส พานิช สะท้อนเหตุการณ์เกี่ยวกับการพระพุทธศาสนาในโลก แต่ท่านมีข้อตำหนิว่า “แต่ความเจริญของพุทธศาสนาในทุกวันนี้ เจริญรุ่งเรืองแต่เพียงการศึกษาปริยัติธรรม, ส่วนการปฏิบัติให้ ได้รับผล ตามคำสั่งสอนคือพ้นทุกข์ ยังไม่เจริญ เกือบพูดได้ว่ายังไม่มีสงฆ์สาวกแท้(อริยสงฆ์)” นับว่าเป็นประเด็นสำคัญ และท่านผู้มองไกลมองกว้างมองลุ่มลึกเท่านั้นจึงจักเห็นกระจ่างและปริวิตก และปราชญ์ผู้รู้ที่แท้จริงจึงจักอาจดำเนินการแก้ปัญหา นั่นเป็นที่มาของหนังสือเล่มยิ่งใหญ่แห่งยุคนั้น คือ ตามรอยพระอรหันต์ ของท่านพุทธทาสภิกขุ พุทธสาสนาเล่ม 1 ปีที่ 1 ก็มีเรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจก็คือ สมาคมมหาโพธิ์ในประเทศลังกา เล่าบทบาทของนักปราชญ์แห่งลังกาคือ อนาคาริก ธรรมปาละ รื้อฟื้นพระพุทธศาสนาขึ้นจากการครอบของต่างศาสนาในลังกา จนประสบผลสำเร็จนำพุทธธศาสนาสู่ลังกาได้ แล้วสืบต่อไปยังอินเดีย (น่าคิดว่าสงฆ์ไทยไม่เคยมีบทบาทที่เด่นอย่างนั้น เพราะอยู่ใต้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมที่ชักนำสงฆ์ให้มัวแสวงหาโลกธรรมไปหมด) ยังมีเรื่องการกลับใจของชาวคริสต์คนสำคัญระดับโลกมานับถือพระพุทธศาสนา มีเรื่องพระไตรปิฎกคืออะไร มีอะไรในพระไตรปิฎก มหาโจรในศาสนา 5 จำพวก ฯลฯ รวมทั้ง คำปรารภเรื่องการตามรอยพระอรหันต์  

 

2.2 พุทธสาสนา ปีที่ 65 เล่ม 3-4 สิงหาคม -พฤศจิกายน 2540 มีคำปรารภของคุณเมตตา พานิช บุตรชาย ธรรมทาส ปรารภความชราภาพของบิดา ซึ่งอายุ 90 แล้ว ท่านประสงค์ตามรอยบรรพบุรุษ อยากใช้ชีวิตที่เหลือ(ขณะนี้อายุ 45 ปีเต็ม) ทำงานพระพุทธเจ้า ท่านที่เข้าใจคำสอนและปณิธานของท่านพุทธทาสขอได้สนับสนุนส่งเสริมกิจการหนังสือพิมพ์พุทธสาสนาด้วย มีเรื่องที่น่าสนใจทั้งเล่ม เช่นกรณีขัดแย้งของชุมชนพุทธธิเบต ภิกษุณีสงฆ์ในศรีลังกา มิติใหม่แห่งพุทธวิธีในฟิลิปปินส์ ทะไลลามะกับประเด็นรักร่วมเพศ สงครามและสันติภาพในกัมพูชา จุฬาราชมนตรีถือหลักการปกครองแบบเสมอภาค ขอบฟ้าใหม่การศึกษาสงฆ์ไทย รำลึกแม่ชีเทเรซ่า บทกวีของเรืองอุไร กุศลาสัยแปลจาก TO THE BUDDHA ของรพินทรนาถตะกอร์ อริยสัจจ์สี่แห่งธัมมิกสังคมนิยม สันติกโรภิกขุเขียน จิรธัมม์แปล มัวแต่สันโดษชาติจึงไม่พัฒนา ธรรมะในฐานะเป็นระบบเศรษฐกิจ ของท่านพุทธทาส เศรษฐศาสตร์ของชาวพุทธ อี.เอฟ.ชูมักเกอร์ เขียน บันทึกธรรมที่ไม่เคยเผยแผ่มาก่อนของท่านพุทธทาสภิกขุ และอื่น ๆ อันให้ข่าวสารแห่งวิสัยทัศน์ที่ครอบคลุมปัญหาพุทธระดับโลก

 

 

2.3   พุทธสาสนา ปีที่ 66 เล่ม 1 กุมภาพันธ์ 2541 อันเป็นเล่มล่าสุดจากคณะธรรมทาน บรรณาธิการปรารภเรื่อง หนังสือพิมพ์พระพุทธสาสนา “จะต้องเป็นเวที เป็นสนามทางปัญญา ที่ “สหายธรรม” ทั้งปวงสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างสูงสุดตามศักยภาพที่หนังสือพิมพ์ฉบับนี้มีอยู่” ในเล่มมี เรื่องที่น่าสนใจเอามาก ๆ คือพุทธศาสนาในอเมริกา ตามทัศนะของสันติกโรภิกขุ ว่าดังนี้ “คนเอเซียเหล่านั้นอาจจะนึกไม่ถึงว่า ชาวอเมริกันจำนวนไม่น้อยคิดว่าตนเองเป็นชาวพุทธที่ดีกว่า จริงใจกว่า รู้เรื่องมากกว่าชาวเอเซียด้วยซ้ำ” ซึ่งจะสังเกตได้ชัดเจนจากจอโทรทัศน์ มวยไทย กว่าจะต่อยกันได้ มีเสกคาถาอาคมต่าง ๆ มีมงคลกว่าจะถอดได้ต้องให้ครูอาคมถอด ตัวเองถอดไม่ได้ แถมมีน้ำมนต์ มีเสกธนูมือ เปรียบเทียบกับ มวยปล้ำอเมริกัน เตรียมมาดี มาถึงขึ้นเวทีต่อยกันเลย แทบไม่มีพิธีรีตรองอันใดเลย ใช้ฝีมือล้วน ๆ เขาไม่ได้บอกใครว่าเขาถือหลักกรรม หลักการพึ่งตนเองและเห็นอริยสัจจริงตามนั้นจนไม่ต้องอาศัยหลักการอย่างอื่น ไม่ต้องพรมน้ำมนต์ ไม่ต้องมัวเสกคาถาถอดมงคลหรือกระทืบเท้าตัดไม้ข่มนามอยู่ ต่อยกันด้วยฝีมือล้วน ๆ ซึ่งการจะชนะหรือแพ้กันจริง ๆในเชิงกีฬายุคนี้ ก็ต้องอาศัยหลักพระพุทธศาสนาที่แท้คือฝึกตน ฝึกฝีมือ หาความชำนาญที่ตัวเราเองต้องผึกซ้อม นี่เอง ฝึกช้อมมาดีก็ชนะ เท่านี้เอง (อย่างนี้จะไม่เห็นหรือว่าเขาเป็นชาวพุทธที่แท้จริง แล้วเราเอาอย่างที่เราคิดนี้ไปสอนเขา ๆ จะไม่หัวเราะเยาะเอาหรือ?) ในเอเซียด้วยกัน พุทธไทยก็ยังไม่เข้าใจหลักพุทธรอบด้านเท่าพุทธประเทศอื่นเขา แต่เราก็คิดว่าเราเป็นพุทธแท้ แต่พุทธญี่ปุ่น เราไม่เข้าใจว่าเขาเป็นพุทธที่ทันสมัยมาก ๆอย่างไร ใช้หลักพระพุทธศาสนาอย่างไรญี่ปุ่นจึงร่ำรวยได้ขนาดเป็นเจ้าหนี้ประเทศต่าง ๆ ได้ทั่วโลก หลักการพระพุทธศาสนามี 2 หลักการ คือหลัก + และ - พุทธญี่ปุ่นรู้ทั้ง 2 หลักการ และเลือกใช้หลักการที่เหมาะสมได้ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขาใช้หลักพุทธได้ถูกหลักเศรษฐศาสตร์ซึ่งต้องอาศัยหลักคำสอนว่าด้วย กิเลส (อันเป็นหลักการเชิง - ของพระพุทธศาสนา) มาประยุกต์จึงจะทำมาค้าขายร่ำรวยได้ ญี่ปุ่นเป็นชาวพุทธที่รอบรู้เรื่องกิเลสของคน ญี่ปุ่นพุทธรู้เรื่องนี้(กิเลส ตัณหา อุปาทาน)ดีมาก เพราะไม่มีศาสนาใดสอนเรื่องนี้ละเอียดลึกซึ้งยิ่งไปกว่าศาสนาพุทธ สามารถวิเคราะห์ออกมาได้อย่างละเอียดว่าคนมีกิเลสอะไรอย่างไรบ้าง แล้วก็ผลิตสินค้าให้ตรงกับกิเลสของคนตั้งแต่หัวจดเท้า เขาใช้หลักการนี้วิเคราะห์คนทั้งโลก เขาก็ขายสินค้าได้มากมาย เขารู้ความเป็นธรรมดาว่า คนมีกิเลสเป็นธรรมดา คนจับจ่ายซื้อขายก็เพื่อสนองกิเลส ดูกรณีสินค้ารถยนต์เป็นตัวอย่าง เริ่มแต่วิเคราะห์พบว่าคนต้องการอวดใหญ่อวดโต ต้องการโก้หรู ต้องการเด่นและดัง แต่รถอเมริกันราคาแพง ญี่ปุ่นก็หาวิธีผลิตรถราคาถูก ๆออกมา(ใช้วัสดุถูก ๆ พอใช้ได้ปีสองปีทิ้งเขาก็ยังทำออกมาขายได้เงินมากมาย) ก็สามารถสนองกิเลสคนได้ทั่วถึง ก็ขายรถได้มาก ก็รวย นี่เป็นตัวอย่าง ขณะนี้ไทยกำลังลำบาก จะคิดผลิตขายสินค้า ต้องนำหลักการพระพุทธศาสนาเชิงลบ มาใช้ หัดวิเคราะห์ตลาดด้วยการวิเคราะห์กิเลสคน กิเลสสังคม วิเคราะะห์คนจีนแผ่นดินใหญ่ วิเคราะห์อินเดีย วิเคราะห์อเมริกา ว่าเขามิเลสชนิดใด อย่างอเมริกันมีกามมาก เราก็พยายามสร้างกามเอาไปขาย (คือให้ถูกอนามัย สวย เป็นมาตรฐาน) ก็จะรวย จะเห็นว่าเรื่องเศรษฐกิจเป็นเรื่องโลก ๆ ไม่ใช่โลกุตตระธรรม เป็นเรื่องทรัพย์ภายนอก ไม่ใช่อริยทรัพย์ ฉะนั้นต้องนำธรรมะที่เป็นโลก ๆ มาใช้กับเรื่องเศรษฐกิจ เราอยากได้ทรัพย์ภายนอกคือเงินเราก็ใช้หลักศาสนาที่จะให้ผลตรงต่อเรื่องภายนอก ถ้าใช้หลักไม่เป็นเหตุเป็นผลแก่กัน ก็รวยไม่ได้ (อย่าเอาหลักโลกุตตระมาใช้แสวงหาทรัพย์ภายนอก เช่นเอาอาหารเจไปขายให้อเมริกันที่กินเนื้อก็ขายไม่ได้ แม้ว่าจะเป็นอาหารโลกุตตระ เพราะไม่ถูกฝาถูกตัวกัน: ไม่เป็นเหตุและผลกัน) วิกฤตเศรษฐกิจไทยจึงแก้ได้ด้วยการวิเคราะห์กิเลสและผลิตสินค้าออกมาให้ถูกตรงกับกิเลสของคนในโลกนี้ ก็จะได้เงินมาก ก็รวย(แต่ระวังอย่าให้เกิดโทษต่อตัวเราเอง คุณและโทษอยู่ด้วยกันเสมอ ท่านจึงไม่ให้ประมาท) ในพุทธสาสนาฉบับนี้ยังมีเรื่องราวพุทธในต่างประเทศอีกหลายเรื่อง มีเรื่องพระและครูละเมิดสิทธิทางเพศเด็ก มองธรรมชาติอย่างพุทธ ของพระไพศาล วิสาโล อริยสัจสี่แห่งธัมมิกสังคมนิยม ของสันติกโรภิกขุต่อ วัดยุคไอเอ็มเอฟ น่าคิด และบทความ-บันทึกของท่านพุทธทาสภิกขุ อันเป็นเรื่องหลักในเล่ม

2.4   พุทธธรรมประยุกต์ หนังสือเล่มใหม่ที่ธรรมทานมูลนิธิจัดพิมพ์ครั้งแรก เสร็จลงหมาด ๆเมื่อ 31 มกราคม พ.ศ.2541 ด้วยเงินบริจาคของคุณไพบูลย์-คุณอังคณา พูลโสภา บริจาคเงินพิมพ์จำนวน 3,000 เล่ม ภายหลังจากที่ได้ศึกษาธรรมของท่านพุทธทาสมาเป็นเวลาหลายปีแล้วเห็นว่าธรรมของท่านตรง ลึกซึ้ง เข้าถึงแก่นแท้ของธรรมะในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะเรื่องที่เข้าใจยากเช่นเรื่องปฎิจจสมุปบาทเป็นต้น ซึ่งยากที่จะหาผู้ใดอธิบายได้ คุณไพบูลย์ได้รับผลการอ่านหนังสือท่านพุทธทาสอย่างมากจนเหมือนได้ชีวิตใหม่จากท่าน เป็นธรรมบรรยายของท่านพุทธทาสในในเดือนเมษายน-พฤษภาคม ปี พ.ศ.2527 หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ด้วยกระดาษปอนด์อย่างดี หนาถึง 395 หน้า ปกแข็งเดินทอง ท่านพุทธทาสมีประสงค์ให้เป็นธรรมะที่ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ให้มีลักษณะเน้นเรื่องการปฏิบัติหน้าที่การงานประจำวันนั่นแหละคือการปฏิบัติธรรม จึงมีเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับคน อันเป็นคุณสมบัติของคน ๆ คือ นิวรณ์ กิเลส-อนุสัย กรรม-การเกิดกรรม ทุกข์ การดับทุกข์และวิธีประยุกต์ ความสิ้นกรรม เป็นเบื้องต้น ไปจนถึงเรื่องสูงสุดคือ นิพพาน และ เรื่องราวของพระอรหันต์ในฐานะผู้ประสบผลสำเร็จแห่งพุทธธรรมประยุกต์ ประมวลพุทธธรรมประยุกต์สงเคราะห์ พุทธธรรมประยุกต์ในระดับชาวบ้านทั่วไป และ พุทธธรรมประยุกต์ในระดับชาติและระดับโลก ท่านพยายามเน้นว่า คนเราสมัยนี้ก็สามารถบรรลุธรรมได้ทุกระดับ แม้ระดับพระอรหันต์ก็บรรลุได้ หากปฏิบัติให้ถูกต้องตามธรรมชาติแห่งธรรม การบรรลุพุทธธรรมไม่ใช่สิ่งเกินวิสัยอย่างแน่นอน เป้าหมายของพระพุทธศาสนานั้นไม่ควรที่จะมองว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ นั่นเองคือความพยายามของท่านพุทธทาสภิกขุโดยตลอดมา นอกจากนั้น หนังสือเล่มนี้ยังบอกให้รู้อารมณ์ความเป็นห่วงหรือปริวิตกภายในภาคจิตวิญญาณอันลึกซึ้งของท่านต่อสถานการณ์โลก-สังคม ที่ถูกนำไปอย่างไม่รู้ทิศทางจึงใกล้อันตรายเข้าไป ด้วยวัฒนธรรมหรืออารยธรรมอันสับสน ด้วยการศึกษาที่มีแต่รับใช้ความเจริญทางวัตถุ เป็นเหตุให้โลกเข้าสู่ความวิกฤต และเป็นวิกฤตการณ์ถาวรต่อไป แน่ละหนังสือทุกเล่มของท่านได้แฝงนัยยะที่สะท้อนปัญหาในวงการสงฆ์เองด้วยอย่างเฉียบซึ้งเสมอไป ดังข้อความว่า “เราเรียนกันมามากแล้ว, เราฟังกันมามากแล้ว, เราอ่านกันมามากแล้ว, แต่ยังไม่ถึงที่สุดของประโยชน์ที่ควรจะได้รับ” (หน้า 29) เรื่องกิเลสท่านก็บอกวิธีกำจัดว่าให้ “รู้เรื่องมัน, รู้จักมัน, ควบคุมมันได้ เอามาไว้ในใจของเราได้” (หน้า 37) “ทำชั่วได้ชั่ว ทำดีได้ดี นั้นมันหลับตาพูด ถ้าพูดให้ถูกให้ตรงให้จริงก็ต้องว่า ทำดีก็ดีทันที ทำชั่วก็ชั่วทันที” (หน้า 49) “เพราะมีกรรมที่มาจากกิเลส จึงมีวัฏฏสงสาร” “ถ้าไม่รู้เรื่องกรรมมันก็หยุดวัฎฎสงสารไม่ได้” (หน้า 71) “นิพพานในพุทธศาสนา ว่างจากตัวตน นิพพานนอกพุทธศาสนา มีตัวตนถาวร” (หน้า 74) “ที่ดับทุกข์ อยู่ในกายที่ยังเป็น ๆ” “ภพทั้ง 31 มีอยู่ในร่างกายที่ยังเป็น ๆ” (หน้า116-17) “ความดับแห่งผัสสะคือความดับแห่งกรรม” (หน้า 151) “ความดับสิ้นไปแห่งอหังการมมังการมานานุสัย โดยเด็ดขาด นี่ก็เป็นนิพพาน” (หน้า 179) “ปริญญาของพระพุทธเจ้า” (หน้า 202) “พระอรหันต์อย่าลืม ๆ เป็นวัฒนธรรมที่น่าสนใจ” (หน้า 210) “พบพระอรหันต์ได้ในตนเอง” (หน้า 221) “พระอรหันต์คือผู้ที่โยนทิ้งของหนักแล้ว” (หน้า 224) “พระอรหันต์คือผู้ลดธงลงแล้ว” (หน้า 235) “ชีวิตปอน ๆ ส่งเสริมการละอกุศลและเจริญกุศล ยิ่งกว่าชีวิตหรูหรา” (หน้า 263) “ทั้งชั่วทั้งดีล้วนแต่อัปรีย์” (หน้า 280) “ ท่านพูดถึงเรื่องภาษา ที่น่าสนใจมาก “ในภาษาฝรั่งเขาไม่ค่อยยุ่ง, เขาก็ ไม่ค่อยยุ่ง; คือเขามีระบบ spiritual ซึ่งเราเอามาเรียกในที่นี้ว่าระบบวิญญาณ, เขามีระบบ mental สำหรับจิต, มีระบบ physical สำหรับกายหรือสำหรับวัตถุ.เขาจะมี material สำหรับวัตถุ, physical สำหรับร่างกาย, mental

 

 

สำหรับจิต, spiritual สำหรับสติปัญญา; เมื่อมีคำพูดครบถ้วนอย่างนั้น เขาก็ง่ายสะดวกในการพูด” (ภาษาไทยน่าคิดพิจารณาปฏิวัติเสียที เพราะนับวันจะสับสนไปกันใหญ่ บก.)

 

ที่สุดแห่งความน่าสนใจก็คือ “พระอรหันต์เป็นยอดสุดของศิลปิน” (หน้า 311) และบทสรุป “ปัญหาทั้งหมดแก้ได้ด้วยสิ่งที่เรียกว่าหน้าที่ ๆ เพียงสิ่งเดียวคือทำหน้าที่. แล้วเมื่อหน้าที่กับธรรมะเป็นของอย่างเดียวกัน สิ่งเดียวกัน, เราก็พูดได้เหมือนกันว่า ปัญหาทั้งหมดในโลกนี้ แก้ได้โดยสิ่ง ๆ เดียวคือธรรมะ คือธรรมะ;” (หน้า 355) จึงเป็นหนังสือที่ชาวพุทธและพระสงฆ์ควรจะอ่านอย่างขาดเสียมิได้อีกเล่มหนึ่ง [ช่วยค่าแรงงาน-กระดาษเล่มละ 250 บาทติดต่อ ธรรมทานมูลนิธิ โทร.(077) 431597]

 

 

3.   พุทธธรรม วารสารของพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ปีที่ 46 ฉบับที่ 278 พ.ศ.2541 ฉบับมาฆบูชา ประพัฒน์ แสงวณิช เป็นบรรณาธิการ(สาราฯ) วิธีทำสมาธิและผลของสมาธิโดยสังเขป โดยพระวิสุทธิญาณเถร วัดเขาสุกริม จังหวัดจันทบุรี ให้หายใจเข้าว่า พุทธ หายใจออกว่า โธ อาจจะเพ่งหรือสะกดตัวเอง “เผื่อเราสะกดเราเข้า อาจจะบังคับเลือดให้ออกจากสมองส่วนบน เลือดขึ้นวนไม่ได้ มันจะงงทื่อไปหมด นี้อันหนึ่ง และอีกอันหนึ่ง มันอาจจะบังคับเลือดให้มารวมตรงจุดที่เรากำหนด หรือขึ้นข้างบนไปเสียหมด มันจะทื่อ-ชาเหมือนกัน เพราะฉะนั้น หากในเมื่อผิดสังเกตแล้วให้หยุด ถ้าขืนจะเป็นอันตราย ขอให้เข้าใจเอาไว้” น่าคิดว่า จะไปสิ้นทุกข์โดยวิธีสมาธิเช่นนี้เอาเมื่อไร ทำอย่างไรเลือดที่ว่าจะแล่นวนไปได้ดั่งใจปรารถนา หรือแล่นวนไปในสภาพอันเป็นปกติธรรมดา ของมัน สิ้นปัญหาในเวลาที่ทำสมาธิ ให้ระบบกายทั้งหมดเป็นไปอย่างธรรมชาติ ธรรมดาของมันในวงจรธรรมชาติของมันเอง การสอนวรรณคดีตามพุทธวิธี ต่อจากฉบับที่แล้ว นับว่ามองกว้างขวางในเชิงวรรณคดี ของเจือ สตเวทิน บรรยายไว้ตั้งแต่ปี 2519

4.   วัฒนธรรมสัมพันธ์สาร ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ปีที่ 9 ฉบับที่ 50 มกราคม 2541 “การตั้งสภาวัฒนธรรมไม่ใช่เรื่องยาก แต่การทำให้เข้มแข้งเป็นเรื่องยากกว่า” จริง เหมือนกับการปลุกต้นไม้ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ปลูกแล้วการบำรุงรักษา กว่าจะเติบใหญ่เป็นปี ๆ ทำยากจริง เพราะหาคนทำก็แทบไม่มีอยู่แล้ว

 

 

5 การศึกษาเอกชน วารสารกองทุนสงเคราะห์การศึกษาเอกชน ปีที่ 7 ฉบับที่ 72 มกราคม 2541 มีห้องแขกรับเชิญมาแสดงธรรม พระพิศาลธรรมวาที ประธานมูลนิธิสวนแก้ว ปีใหม่นี้คนไทยควรจะประพฤติปฏิบัติตัวเป็นอย่างไร ? ประวัติของท่าน ฉบับที่ 73 กุมภาพันธ์ 2541 ศ.ดร.หลุย จำปาเทศ นายกสมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย เป็นแขกรับเชิญ แนะวิธีแก้ความเครียดด้วยคำภาษาอังกฤษ 2 คำ คือ Here and Now ตรงกับคำว่า “ที่นี่และเดี๋ยวนี้”

 

6 สารอโศก ธันวาคม 2540 เอื้อน้อมสมาทาน ทำไม? เพื่อนักปฏิบัติธรรมจักสำรวม ไม่หลงในอัตตา ว่าตนใหญ่ มีสาระมากมาย อ่านแล้วสบายใจเป็นมิตร

 

7. ดอกหญ้า อันดับที่ 75 จากหนึ่งจึงเป็นผล รวมมวลชนจนเป็นหนึ่ง ฉบับ สลายรัก บก.คือ รินธรรม อโศกตระกูล บอกว่า เพื่อให้คนที่สลายรักได้รู้รสชาติความหวานของการเป็นอิสระจากความรัก อันแคบ ๆ แค่คนสองคน ก็น่าคิด เรื่องในเล่มดี ๆ มีโอกาศคงได้นำมาพูดถึงละเอียดไปกว่านี้

 

8 จดหมายข่าวสหธรรมิก สื่อสารเพื่อการคณะสงฆ์ปีที่ 3 ฉบับที่ 32 กุมภาพันธ์ 2541 บวชสามเณรฤดูร้อน 13,842 รูป เป็นประวัติการณ์การบวชสามเณร น่าคิดว่าหากสามเณรเหล่านี้มีศรัทธาไม่ยอมลาสิกขา วงการสงฆ์ไทยจักให้อะไรแด่พวกเขาได้มากไปกว่านี้ จัดพิมพ์เป็นธรรมบรรณาการโดยมูลนิธิธรรมกาย วัดพระธรรมกาย

 

9 ธรรมจักษุ เล่มล่าสุด นิตยสารทางพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดของไทย ฉบับแรกออกเมื่อเดือนตุลาคม 2437 ที่ได้รับเป็นฉบับที่ เจ้าคุณพระสุนทรธรรมเมธีวัดกัลยาณมิตร ถวาย ได้เห็น จับ ๆ แล้ววาง เพื่อนสหธรรมิกหยิบไปเสียแล้ว เลยยังไม่ทราบว่าเล่มใหม่ข้างใน เป็นอย่างไรบ้าง เล่มเก่า เดือนสิงหาคม 2539 จัดพิมพ์ดีมาก แสง จันทร์งาม เป็นบรรณาธิการ มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย เป็นผู้ อุปถัมภ์

 

10 เตรียมตัวตาย โดย ส.ศิวรักษ์ น.พ.ไสว เมืองไทย ศรีสะเกษ คัดลอกมาเพื่อแจกเป็นธรรมทาน ถวายฝากมากับสามเณร พร้อม “อภินิหารและพระ เครื่อง ธรรมบท 9 ของ ท่านพระธมฺมวิตกฺโก วัดเทพศิรินทราวาส และ"ไหว้ 5 ครั้ง" ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดเทพศิรินทราวาส

 

ข้อเขียนของ ท่าน ส.ศิวรักษ์ บ่งบอกความรอบรู้ยากที่จะหาปราชญ์ใดเสมอ เหมือน งานของท่านน่าจะอยู่ระหว่างกลาง ๆ ระหว่าง ท่านอดีตนายกรัฐมนตรี

 

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กับ ท่านพุทธทาสภิกขุ การมองวงการศาสนาของท่านทั่ว ถึง ในประเด็นที่น่าศึกษาอยู่ขณะนี้ก็คือประเด็นการมองพระสงฆ์สองฝ่าย คือสงฆ์ฝ่ายบ้าน คามวาสี กับสงฆ์ฝ่ายป่า อรัญวาสี ท่านมองว่าพอ ๆ กัน (อย่านึกว่าฝ่ายป่าจะดีเลิศ บริสุทธิ์ เปล่าหรอก บทโลภ บทหลง ก็เยอะพอ ๆ กัน คนไม่รู้เท่ารู้ทันเท่านั้นเอง ทั้งนี้เพราะถูกระบบ อำนาจ ยศศักดิ์ บ่อนทำลายไปอีกสถาบันหนึ่ง บก.) ซึ่งเป็นอยู่ในทุกวันนี้อย่างยากที่จะมีสายตาใดมองทั่วอย่างท่าน ส.ศิวรักษ์ ดังจะยกตัวอย่างการมองของท่านในหนังสือ “ท่านพุทธทาสภิกขุในทัศนะของ ส.ศิวรักษ์” ไพโรจน์ อยู่มณเฑียร เรียบเรียง หน้า 81

 

“แม้ในเวลานี้เอง พระฝ่ายวิปัสสนาธุระ พระฝ่ายต่าง ๆ เป็นเครื่องมือหากินของพวกใครต่อใครมากมายก่ายกอง อาจารย์แหวนของเราก็ถูกเขาเอาไปหากิน แทบทุกรุปที่เป็นพระปฏิบัติถูกเขานำไปหากิน สายวิปัสสนาธุระนี่มีลิงดำลิงด่างร้อยแปดที่เกิดขึ้นเป็นอันมากเลยทีเดียว นี่ขอให้สังเกตุเพราะอะไร เพราะความไม่รู้ครับ หลายครั้งเหมือนกันคิดว่าสำเร็จถึงขั้นนั้นขั้นนี้ นึกว่าตรัสรู้ นี่แหละซื่อจนเซ่อ นี่พวกนี้น่าให้อภัย แต่พวกรู้สิครับเป็นปาราชิกนะครับ พวกนี้เรื่องความเห็นแก่ตัวมีเป็นอันมากเลย และอวดอุตตริมนุสสธรรมด้วย นี่ฝ่ายคันถธุระรู้เฉพาะหนังสือครับ ไม่เคยปฏิบัติ ก็เลยว่าหนังสือสำคัญที่สุดในฝ่ายคันถธุระ”

 

ในเรื่อง เตรียมตัวตาย ท่านมีประเด็นหนึ่งที่น่าคิดเอามาก ๆ ว่าแม้ผู้มีหน้าที่เตรียมตัวตายเองจะพอเข้าใจหรือไม่เมื่อท่านว่า “วัดควรเป็นสถานที่สำหรับคนมีชีวิตเพื่อเตรียมตัวตาย ไม่ว่าคน ๆ นั้นจะเป็นชาติใดศาสนาใด แม้อมราวดี (ศูนย์ปฏิบัติธรรมของ สุเมโธภิกขุ ลอนดอน บก.)แท้ที่จริงก็คือวัดตามความคิดอย่างใหม่นั่นเอง อีกนัยหนึ่งก็คือวัดควรเป็นดังห้องทดลองของนักวิทยาศาสตร์ โดยเป็นไปเพื่ออนุเคราะห์ความเป็นมนุษย์ให้สูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้” 11 1999 โลกพินาศ 2542 แผนอยู่รอด รองศาสตราจารย์ ดร.พิชัย โตวิวิชญ์ รวบรวม เล่มเล็ก ๆเท่าฝ่ามือ พร้อมคาถาชินบัญชร โยมใส่บาตรตอนเช้า

 

11. ปฏิจจสมุปบาท กับ สตรีชาวพุทธ โดยแม่ชีศรีวรรณ กันทาสุวรรณ ศูนย์ศึกษาและปฏิบัติแก่นพุทธศาสตร์ เชียงราย ดีมาก ไม่น่าเชื่อว่าสตรีพุทธจะสามารถอธิบายธรรมะอันลึกซึ้งได้ด้วยสติปัญญาตนเอง เล่มหลัง(สตรีชาวพุทธ?) เพื่อนสหธรรมิกหยิบไปเสียก่อน ยังอ่านไม่ทั่ว บอกให้รู้ว่าสตรีผู้ปฏิบัติธรรมกำลังมองสถานการณ์ศาสนาในเมืองไทยอย่างไร และกำลังคิดทำอะไรอยู่ ซึ่งนับว่าเป็นแนวการมองที่น่าเลื่อมใสมาก น่าสนับสนุนและร่วมคิดการณ์ในเชิงการปฏิรูปการศาสนากันต่อไปทั้งวงการภิกษุและภิกษุณี

 

12. สารสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม 2541 มีบทวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้วัฒนธรรมล้านนานับวันจะสิ้นสูญใน “วัฒนธรรมอ่อน” ของ อินสม มูลต๊ะ น่าคิดให้กว้างออกไปถึงวัฒนธรรมสากล “วิทยาเลียก” โดยเอื้อ มณีรัตน์ ศึกษาวัฒนธรรมทางภาษาท้องถิ่นเหนือค่อนข้างเฉพาะเจาะจง น่าสนใจไม่แพ้ภาษาธรรมในอิสาณ “กาลามสูตร ว่าด้วยข้อห้ามมิให้เชื่อโดยอาการ 10 อย่าง” ก็น่าสนใจมาก

 

บรรณาธิการ ดี ขอขอบคุณ องค์การ มูลนิธิ สมาคม และสำนักต่าง ๆ ที่ส่งหนังสือและเอกสารไปให้ ซึ่งเราได้ประโยชน์อย่างยิ่ง ได้กำลังใจและความรู้ธรรม สถานการณ์ มากมาย และที่สำคัญได้ประสานความคิดอ่านกัน เท่ากับมีการแลกเปลี่ยนความคิดอ่านซึ่งกันและกันอีกแบบหนึ่งในระบบหนึ่ง และน่าที่สื่อธรรมทั้งหลายจะได้มาร่วมผนึกกำลังกันให้เหนียวแน่นเป็นอันหนึ่งอันเดียว และมองภัยในวัฎฎสงสารให้เห็นแจ่มแจ้งในปัญหาเดียวกัน เพื่อแก้ไขปัญหาของวงการสงฆ์ที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ให้ถูกตรงเหตุตรงผลให้ดียิ่งขึ้น เราขอเสนอว่าบทบาทเบื้องต้นของสื่อธรรมก็คือสร้างกระแสธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม ให้แรงพอ ให้กระแสธรรมอาจควบคุมกระแสโลกได้ ต้านกระแสโลกได้ สังคมจึงจะระงับ นิ่ง หยุดความวุ่นวาย ไปสู่พระธรรมชั้นโลกุตตระได้

 

หนังสือพิมพ์ดีฉบับนี้เป็นฉบับครบรอบปี ที่บอกว่าเราได้ทำความพยายามมาเพื่อชาติและพระศาสนามาระดับหนึ่งแล้ว ด้วยการอุทิศเวลาและสติปัญญาทั้งหมดที่มีอยู่ เราออกเอกสารนี้ในนามมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปัญญาวชิโร) โดยมีเป้าหมายการแจกจ่ายเอกสารนี้ นอกจากแจกจ่ายในวงการเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดทั่วประเทศและเพื่อนสหธรรมิกทั่วไปแล้ว ยังมีเป้าหมายพิเศษ โดยแจกจ่ายบุคคลระดับที่เราพิจารณาว่าจะอ่านเรื่องราวเหล่านี้ได้อย่างมีความเข้าใจพอสมควร ผู้ที่จักสามารถอ่านไปถึงเจตนารมณ์ ไปถึงตัวสติปัญญาที่แฝงเร้นอยู่ตามตัวหนังสือเหล่านี้ อันเป็นนามธรรมได้ เพราะเรื่องนี้เกี่ยวข้องทั้งทางโลกและทางธรรมอย่างค่อนข้างสลับซับซ้อนลึกซึ้งทั้งสองด้าน การอธิบายปัญหาจึงต้องใช้ความพยายาม ความสำรวมจิต สำรวมสมาธิมาก เพราะจะต้องเริ่มแต่การทำความเข้าใจในเรื่องที่เป็นธรรมดา ๆไปจนค่อยเข้าไปสู่ข่ายอันสลับซับซ้อนลึกซึ้ง จึงมีอุปมาเหมือนการนำพาเดินทางไกล บนเส้นทางอันไกลสายหนึ่ง และบัดนี้ เราได้มาถึงปลายทางแล้ว เราปรารถนาให้ท่านผู้อ่านได้มองดูให้กว้างขวางว่า ณ ที่นี้เป็นอะไร และมีภูมิทัศน์เป็นอย่างไร

 

และนับจากนี้ เราจะจัดรวมเล่มโดยคัดสาระ เลือกสรรเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการคณะสงฆ์ เพื่อเผยแผ่ยังบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องเป็นการเฉพาะ นั่นคือ พรรคการเมืองทุกพรรคการเมือง รัฐบาลและฝ่ายค้าน ท่านผู้รู้และนักปราชญ์ทั้งปวง และสื่อมวลชน ทุกแขนง นักการปกครองและนักธรรม ตลอดจนเพื่อนสหธรรมิกทั้งหลายทั้งสิ้น เพื่อเสนอแนวทางการพิจารณาปัญหาสำคัญของชาติและศาสนา และพิจารณาดำเนินการด้านนิติธรรม คือ ออกกฎหมายใหม่ให้ถูกต้องตามธรรมวินัย ที่เอื้อต่อวิถีทางมรรคผลนิพพาน อันเป็นเป้าหมายปลายทางแห่งภาระหน้าที่ของสงฆ์ ที่จะต้องสำนึกในความเป็นศาสนทายาทที่แท้จริง และเราจะพยายามจัดพิมพ์เผยแผ่โดยกว้างขวางต่อไปเรื่อย ๆ อันจะเป็นงานขั้นที่ 2 ของงานการปฏิรูปการพระพุทธศาสนาเพื่อการต้อนรับวิกฤตการณ์ด้านต่าง ๆ ของโลกยุคโลกาภิวัตน์นี้ เพื่อสร้างสังคมศาสนาที่ทันสมัยด้วยโลกุตตรธรรม

 

สำหรับฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2541 เรามีบทวิเคราะห์เบา ๆ ที่เหมาะแก่กาละเทศะเหมาะด้วยเหตุและผลแห่งความยุติธรรมบางประการในคอลัมน์เฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว ประเด็นเกี่ยวกับการปฏิรูปการคณะสงฆ์ มาถึงบทวิเคราะห์บทท้าย ๆแล้ว และจวนจะจบลง

ในเล่มหน้าต่อไปจักเป็นบทวิเคราะห์ประยุกต์ ที่จักไปเกี่ยวข้องกับธรรมะแห่งการบรรลุมรรคผล เราจักพาท่านเดินอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะเป็นเส้นทางอีกตอนหนึ่ง ที่โฉมหน้าไกลต่อไปตราบบรรลุเป้าหมาย ในช่วงนี้ บรรณาธิการอาจจักมีการเดินทางจาริกไปบ้าง เพื่อเยี่ยมเยียนกัลยาณมิตร และสำนักธรรมต่าง ๆ เพื่อศึกษาหรืออาจได้แลกเปลี่ยนสนทนาธรรม และทำความเข้าใจปัญหาการพระพุทธศาสนากับโลกยุคใหม่ด้วยกัน เรื่องอื่น ๆ ขอได้โปรดสำรวจจากสารบาญเรื่อง

ฉบับหน้า เริ่มปีที่ 2 ของหนังสือพิมพ์ดี เราจะมีการปรับปรุงให้ก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ บนเส้นทางแห่งความดี คอยพบกันใหม่ สวัสดีครับ ฯ

 

บรรณาธิการ
ก.พ.๔๑




หนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 10

แบบสำรวจความคิดเห็นครั้งที่ 2
คอลัมน์บันทึกการท่องเที่ยว สุสานสุขาวดีคืนวันมาฆะบูชา
เฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว
คอลัมน์ระดมความคิด จดหมายถึงบรรณาธิการ(ต่อเรื่องพระอริยบุคคล)
คอลัมน์ประชาธิปไตยสงฆ์ จะปฏิรูปการปกครองสงฆ์ไปทำไม?
ประวัติของผมตอนที่ 6



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
----- ***** ----- โปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate นี่คือเวบไซต์คู่ www.newworldbelieve.com กับ www.newworldbelieve.net เราให้เป็นเวบไซต์ที่เสนอธรรมะหรือ ความจริง หรือ ความคิดเห็นในเรื่องราวของชีวิต ตั้งใจให้ธัมมะเป็นทาน ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แด่คนทั้งหลาย ทั้งโลก ให้ได้รู้ความจริงของศาสนาต่าง ๆในโลกวันนี้ และได้รู้ศาสนาที่ประเสริฐเพียงศาสนาเดียวสำหรับโลกยุคใหม่ จักรวาลใหม่ เรามีผู้รู้ ผู้ตรัสรู้ ผู้วินิจฉัยสรรพธรรมสรรพวิชชา สรรพศาสน์ และสรรพศาสตร์ พอชี้ทางสู่โลกใหม่ ให้ความสุข ความสบายใจความมีชีวิตที่หลุดพ้นไปสู่โลกใหม่ เราได้อุทิศเนื้อที่ทั้งหมดเป็นเนื้อที่สำหรับธรรมะทั้งหมด ไม่มีการโฆษณาสินค้า มาแต่ต้น นับถึงวันนี้ร่วม 14 ปีแล้ว มาวันนี้ เราได้สร้างได้ทำเวบไซต์คู่นี้จนได้กลายเป็นแดนโลกแห่งความสว่างไสว เบิกบานใจ ไร้พิษภัย เป็นแดนประตูวิเศษ เปิดเข้าไปแล้ว เจริญดวงตาปัญญาละเอียดอ่อน เห็นแต่สิ่งที่น่าสบายใจ ที่ผสานความคิดจิตใจคนทั้งหลายด้วยไมตรีจิตมิตรภาพล้วน ๆ ไปสู่ความเป็นมิตรกันและกันล้วน ๆ วันนี้เวบไซต์นี้ ได้กลายเป็นโลกท่องเที่ยวอีกโลกหนึ่ง ที่กว้างใหญ่ไพศาล เข้าไปแล้วได้พบแต่สิ่งที่สบายใจมีความสุข ให้ความคิดสติปัญญา และได้พบเรื่องราวหลายหลากมากมาย ที่อาจจะท่องเที่ยวไปได้ตลอดชีวิต หรือท่านอาจจะอยากอยู่ณโลกนี้ไปชั่วนิรันดร ไม่กลับออกไปอีกก็ได้ เพียงแต่ท่านเข้าใจว่านี่เป็นแดนต้นเรื่องเป็นด่านข้ามจากแดนโลกเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง และซึ่งเป็นโลกหรือบ้านของท่านทั้งหลายได้เลยทีเดียว ซึ่งสำหรับคนต่างชาติ ต่างภาษาต่างศาสนา ได้โปรดใช้การแปลของ กูเกิล หรือ Google Translate แปลเป็นภาษาของท่านก่อน ที่เขาเพิ่งประสบความสำเร็จการแปลให้ได้แทบทุกภาษาในโลกมนุษย์นี้แล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้เอง นั้นแหละเท่ากับท่านจะเป็นที่ไหนของโลกก็ตาม ทั้งหมดโลกประมาณ 7.6 พันล้านคนวันนี้ สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในโลกของเราได้เลย เราไม่ได้นำท่านไปเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่การนำไปสู่ความจริง ความรู้เรื่องชีวิตใหม่ การอุบัติใหม่สู่ภาวะอริยบุคคล ไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปพ้นจากทุกข์ ทั้งหลายไปสู่โลกแห่งความสุขแท้นิรันดร คือโลกนิพพานขององค์บรมศาสดาพุทธศาสนา พระบรมครูพุทธะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ท่านโปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate ท่านก็จะเข้าสู่โลกนี้ได้ทันทีพร้อมกับคน7.6พันล้านคนทั้งโลกนี้. ----- ***** ----- • หมายเหตุ เอาขึ้นเวบไซต์ แทนของเดิม ทั้ง 2 เวบ .net .com วันที่ 21 เม.ย. 2565 เวลา 07.00 น. -----*****-----