ReadyPlanet.com
dot
dot dot
bulletBUDDHISM TO THE NEW WORLD ERA
bullet1 Thai-ไทย
bullet2.English-อังกฤษ
bullet3.China-จีน
bullet4.Hindi-อินเดีย
bullet5.Russia-รัสเซีย
bullet6.Arab-อาหรับ
bullet7.Indonesia-อินโดนีเซีย
bullet8.Japan-ญี่ปุ่น
bullet9.Italy-อิตาลี
bullet10.France-ฝรั่งเศส
bullet11.Germany-เยอรมัน
bullet12.Africa-อาฟริกา
bullet13.Azerbaijan-อาเซอร์ไบจัน
bullet14.Bosnian-บอสเนีย
bullet15.Cambodia-เขมร
bullet16.Finland-ฟินแลนด์
bullet17.Greek-กรีก
bullet18.Hebrew-ฮีบรู
bullet19.Hungary-ฮังการี
bullet20.Iceland-ไอซ์แลนด์
bullet21.Ireland-ไอร์แลนด์
bullet22.Java-ชวา
bullet23.Korea-เกาหลี
bullet24.Latin-ละติน
bullet25.Loa-ลาว
bullet26.Finland-ฟินแลนด์
bullet27.Malaysia-มาเลย์
bullet28.Mongolia-มองโกเลีย
bullet29.Nepal-เนปาล
bullet30.Norway-นอรเวย์
bullet31.persian-เปอร์เซีย
bullet32.โปแลนด์-Poland
bullet33.Portugal- โปตุเกตุ
bullet34.Romania-โรมาเนีย
bullet35.Serbian-เซอร์เบีย
bullet36.Spain-สเปน
bullet37.Srilanga-สิงหล,ศรีลังกา
bullet38.Sweden-สวีเดน
bullet39.Tamil-ทมิฬ
bullet40.Turkey-ตุรกี
bullet41.Ukrain-ยูเครน
bullet42.Uzbekistan-อุสเบกิสถาน
bullet43.Vietnam-เวียดนาม
bullet44.Mynma-พม่า
bullet45.Galicia กาลิเซียน
bullet46.Kazakh คาซัค
bullet47.Kurdish เคิร์ด
bullet48. Croatian โครเอเซีย
bullet49.Czech เช็ก
bullet50.Samoa ซามัว
bullet51.Nederlands ดัตช์
bullet52 Turkmen เติร์กเมน
bullet53.PunJabi ปัญจาบ
bullet54.Hmong ม้ง
bullet55.Macedonian มาซิโดเนีย
bullet56.Malagasy มาลากาซี
bullet57.Latvian ลัตเวีย
bullet58.Lithuanian ลิทัวเนีย
bullet59.Wales เวลล์
bullet60.Sloveniana สโลวัค
bullet61.Sindhi สินธี
bullet62.Estonia เอสโทเนีย
bullet63. Hawaiian ฮาวาย
bullet64.Philippines ฟิลิปปินส์
bullet65.Gongni-กงกนี
bullet66.Guarani-กวารานี
bullet67.Kanada-กันนาดา
bullet68.Gaelic Scots-เกลิกสกอต
bullet69.Crio-คริโอ
bullet70.Corsica-คอร์สิกา
bullet71.คาตาลัน
bullet72.Kinya Rwanda-คินยารวันดา
bullet73.Kirkish-คีร์กิช
bullet74.Gujarat-คุชราด
bullet75.Quesua-เคซัว
bullet76.Kurdish Kurmansi)-เคิร์ด(กุรมันซี)
bullet77.Kosa-โคซา
bullet78.Georgia-จอร์เจีย
bullet79.Chinese(Simplified)-จีน(ตัวย่อ)
bullet80.Chicheva-ชิเชวา
bullet81.Sona-โซนา
bullet82.Tsonga-ซองกา
bullet83.Cebuano-ซีบัวโน
bullet84.Shunda-ชุนดา
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet86.Sesotho-เซโซโท
bullet87.NorthernSaizotho-ไซโซโทเหนือ
bullet88.Somali-โซมาลี
bullet89.History-ประวัติศาสตร์
bullet90.Divehi-ดิเวฮิ
bullet91.Denmark-เดนมาร์ก
bullet92.Dogry-โดกรี
bullet93.Telugu-เตลูกู
bullet94.bis-ทวิ
bullet95.Tajik-ทาจิก
bullet96.Tatar-ทาทาร์
bullet97.Tigrinya-ทีกรินยา
bullet98.Check-เชค
bullet99.Mambara-มัมบารา
bullet100.Bulgaria-บัลแกเรีย
bullet101.Basque-บาสก์
bullet102.Bengal-เบงกอล
bullet103.Belarus-เบลารุส
bullet104.Pashto-พาชตู
bullet105.Fritian-ฟริเชียน
bullet106.Bhojpuri-โภชปุรี
bullet107.Manipur(Manifuri)-มณีปุระ(มณิฟูรี)
bullet108.Maltese-มัลทีส
bullet109.Marathi-มาราฐี
bullet110.Malayalum-มาลายาลัม
bullet111.Micho-มิโช
bullet112.Maori-เมารี
bullet113.Maithili-ไมถิลี
bullet114.Yidsdish-ยิดดิช
bullet115.Euroba-ยูโรบา
bullet116.Lingala-ลิงกาลา
bullet118.Slovenia-สโลวีเนีย
bullet119.Swahili-สวาฮิลี
bullet120.Sanskrit-สันสกฤต
bullet121.history107-history107
bullet122.Amharic-อัมฮาริก
bullet123.Assam-อัสสัม
bullet124.Armenia-อาร์เมเนีย
bullet125.Igbo-อิกโบ
bullet126.History115-ประวัติ 115
bullet127.history117-ประวัติ117
bullet128.Ilogano-อีโลกาโน
bullet129.Eve-อีเว
bullet130.Uighur-อุยกูร์
bullet131.Uradu-อูรดู
bullet132.Esperanto-เอสเปอแรนโต
bullet133.Albania-แอลเบเนีย
bullet134.Odia(Oriya)-โอเดีย(โอริยา)
bullet135.Oromo-โอโรโม
bullet136.Omara-โอมารา
bullet137.Huasha-ฮัวซา
bullet138.Haitian Creole-เฮติครีโอล
bulletคำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรแปล เช้า-เย็น
bulletChart Showing the Process
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี พ.ศ.2540 - 2566
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 1
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 2
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี บุคคลที่ 1 - 188 ปัจจุบัน
bulletหนังสือพิมพ์ดี
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 1
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 2
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 3
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 4
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 5
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 6
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 7
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 8
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 9
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 10
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 11
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 12
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 13
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 14
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 15
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 16
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 17
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 18
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 19
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 20
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 21
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 22
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 23
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 24
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 25
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 26
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 27
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 28
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 29
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 30
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 31
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 32
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 33
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 34
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 35
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 36
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 37
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 38
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 39
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 40
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 41
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 42
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 43
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 44
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 45
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 46
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 47
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 48
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 49
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 50
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 51
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 52
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 54
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 55
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 56
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 57
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 58
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 59
bulletTo The World
bulletENGLISH
bulletUSA
bulletChina
bulletIndia
bullet Mynmar
bullet Cambodia
bullet Loas
bulletSri Lanka
bulletMalaysia
bulletKorea
bulletA Sharp Turn of Believes : Iresearch Iwrite Iread
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 1
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 2
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 3
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 4
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 5
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 6
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 7
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 8
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 9
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 10
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 11
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 12
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 13
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 14
bulletMystery Report 15
bulletMystery Report 16
bulletMystery Report 17
bulletMystery Report 18
bulletMystery Report 19
bulletMystery Report 20
bulletMystery Report 21
bulletMystery Report 22
bulletMystery Report 23
bulletMystery Report 24
bulletMystery World Report 25
bulletศึกษาโลกลี้ลับ 26
bulletเฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว วิเคราะห์ทุกปัญหาในโลกมนุษย์ด้วยสติปัญญาและเหตุผลวิทยาศาสตร์จากนสพ.ดี
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2536
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2537
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2538
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2539
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2540
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2541
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2542
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2543-2545
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2545-2549
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2549-2550
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2550-ส.ค.2551
bulletเฝ้าดูฯ ส.ค.-ก.ย.2551
bulletเฝ้าดูฯ ก.ย.2551- ธ.ค. 2551
bulletเฝ้าดูฯสำนวนพัชรา กอปรทศธรรม
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 16-27
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 29
bulletบทความใหม่ เม.ย.-พ.ค.2552
bulletพุทธธรรมเพื่อทางดับทุกข์
bulletทฤษฎีการดับทุกข์ทางจิต วิปัสสนากรรมฐานโดยการทำงาน(สำนวนปรับปรุงใหม่)
bulletประวัติพัชรา กอปรทศธรรม
bulletประวัติการต่อสู้เพื่อการดับทุกข์ ของพัชรา กอปรทศธรรม
bulletอัลบั้มรูป history
bulletนิทานธรรมะประยุกต์ มานุสสาสุระสงคราม 4 ภาค และอื่น ๆ
bulletอัลบั้มรูป ภาพในอดีตและชีวประวัติศาสตร์ที่สวยงาม
bulletจากเวบบอร์ด พูดกันไม่รู้เรื่อง ประชาธิปไตยล้าหลัง
bulletศาสนาสากล การวิเคราะห์ความหมาย
bulletปลอบใจ
dot
รวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์ แนวปฏิรูปคณะสงฆ์อยู่ในบทวิเคราะห์นี้แล้ว
dot
bulletรวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์
dot
สากลจักรวาล สากลศาสนา แนวคิดศาสนาสำหรับคนยุคใหม่ ผู้ก้าวผิดทางไปสู่สิ่งไร้สาระโดยไม่รู้ตัว
dot
bulletสากล...ศาสนา 1
bulletสากล...ศาสนา 2
bulletสากล...ศาสนา 3
bulletสากล...ศาสนา 4
bulletสากล...ศาสนา 5
bulletสากล...ศาสนา 6
bulletสากล...ศาสนา 7
bulletสากล...ศาสนา 9
bulletสากล...ศาสนา 8
bulletสากล...ศาสนา 10
bulletสากล...ศาสนา 11
bulletสากล...ศาสนา 12
bulletสากล...ศาสนา 13
bulletสากล...ศาสนา 14
bulletสากล...ศาสนา 16
dot
ส่วนข้อมูลสำคัญเพื่อการวิจัยการเมืองไทยยุค คมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
dot
bulletข้อมูลสำคัญยุคคมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่1/26ส.ค.2551
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่2/27ส.ค.2551
bulletใบปลิว อีเมล์ ในหลวงทรงร้องไห้
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 1
bulletในหลวงเพิ่งทราบข่าวฆ่าประชาชน10เมย.53ทรงร้องไห้
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
dot
รวมข่าวม็อบการเมืองสนธิ-จำลอง-ปชป.มิ.ย.51-เม.ย.52 นสพ.
dot
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 2
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 3
bulletรวมข่าวม็อบ30มิ.ย.51-23มี.ค.52
bulletเลือดศรีสะเกษบันทึกเรื่องราวรอบด้านเกี่ยวกับเขาพระวิหาร
bulletรายงานการโฆษณาชวนเชื่อในประเทศไทยที่ล้มล้างรัฐบาลทักษิณ
bulletหนังสือพิมพ์ดี ของฟรีให้เปล่ามา20ปีแล้วทั้งเอกสารและอินเทอเนท
bulletหนังสือพิมพ์ดี ( อินเทอเนต ) เล่ม 1 - 44 - ล่าสุด
bulletหน้าที่เก็บไว้
bulletมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร)
bulletวัดมหาพุทธาราม ศรีสะเกษ บันทึกเหตุการณ์
bulletสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดศรีสะเกษแห่งที่ 1
bulletเกี่ยวกับเวบไซต์ของเรา เราทำเพื่อปัญญาชนโดยแท้
bulletรวมกระทู้เด็ดจากกระดานถามตอบ
bulletคาถาอาคมไสยศาสตร์
bulletกวีนิพนธ์ใหม่
bulletศูนย์ปฏิญญาณละเลิกอบายมุข บัญชีที่ 1- 4


ประวัติของผมตอนที่ 9

ประวัติของผม พระพยับ ปญฺญาธโร

    พระผู้มีปกติอยู่ด้วยอิริยาบถ ๓

 ตอนที่ 9

 

 

 

                        ผมยังไม่ได้กล่าวถึงความเป็นมาระหว่างผม กับ ดร.นันทสาร สีสลับ  เลย  ทั้ง ๆ ที่ตั้งใจไว้ว่าจะใส่เรื่องราวของท่านลงไว้ในชีวิตวัยเด็กในฐานะวีรบุรุษในดวงใจคนหนึ่งในสมัยนั้น

          ดร.นันทสาร สีสลับ ปัจจุบันเป็น เลขาธิการ(กิตติมศักดิ์)องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห้งโลก(...) เป็นเลขานุการสภามหาวิทยาลัยพุทธศาสนาแห่งโลก ขณะนี้กำลังจัดการเกี่ยวกับการร่างกฎเกณฑ์ ระเบียบ กฎหมาย ของมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาแห่งโลกอยู่  ในขณะเดียวกันก็กำลังดำเนินการจัดตั้งเครือข่ายที่เกี่ยวข้องอีกหลายเครือข่าย  เพราะ ดร.นันทสาร ถนัดในการจัดตั้งเครือข่าย  เครือข่ายที่ดร.นันทสารจัดตั้งขึ้นขณะอยู่ สวช. สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ก็คือ เครือข่าย  สภาวัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศ  ซึ่งต่อมาขยายลงไปถึงระดับอำเภอ เครือข่ายใหม่ที่จะจัดตั้ง ดูเหมือนจะเป็นเครือข่ายครูภูมิปัญญาชาวบ้าน   ในระยะนี้แหละที่ดร.นันทสาร สีสลับ สงสัยว่า ผมเป็นพระอย่างไร ถามว่า  ถ้าลงตำแหน่งผม จะลงว่าอย่างไร ?

                ฉะนั้น จึงขอถือโอกาศสำรวจดูตัวผมเองขณะนี้ว่า  เป็นอย่างไร จะสามารถหาคำตอบข้างต้นได้หรือไม่  ก็ดูเหมือนจะพบสิ่งแปลก ๆ อยู่หลายข้อ  ดังนี้  

          1.  เป็นพระที่ไม่มีตำแหน่งใด ๆ แม้สักตำแหน่งเดียว ถอนตัว ลาออกไปหมด ที่แปลกก็เพราะ พระเถระอย่างผมนี้ ที่ผ่านงานทางพระศาสนามามากมายนี้ ส่วนมากจะต้องมีตำแหน่งอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นหลัก สำหรับความมั่นคงแห่งสถานะตน อยู่ทุกรูป ๆ ไปเสมอ ๆ  บางองค์ก็ดำรงหลาย ๆ ตำแหน่งไปพร้อมๆ กัน  เพราะพระก็เหมือนคนธรรมดา คำนึงอนาคตตัวเอง ยิ่งมีตำแหน่งเยอะ ก็ยิ่งเพิ่มความมั่นใจในสถานะ มิต่างจากข้าราชการเลย  แต่ผมไม่ได้คิดอย่างนั้น

          2.  เป็นพระที่ไม่มีรายได้เป็นเงินนิตยภัต หรือเงินเดือน ไม่ว่าทางธรรมหรือทางโลก  แม้ผมจะเคยเป็นข้าราชการทหาร อดีตของผมคือ ร้อยเอกพยับ เติมใจ แห่ง สนามเสือป่า กองบัญชาการทหารสูงสุด แต่บัดนี้ผมก็ไม่มีบำเน็จบำนาญแต่อย่างใด  ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมเห็นว่าดีอยู่แต่ก่อนจะบวชด้วยซ้ำ ดีที่ทำให้ผมเป็นอิสสระ เพราะการปลอดจากการเป็นหนี้ และหนี้บุญคุณของผู้หนึ่งผู้ใดหมายถึงอิสรภาพอย่างยิ่ง 

          3.  ผมเคยเป็นสมภารวัดบ้านแสง เป็นสมภารวัดโนนน้อย(สมภารคือเจ้าวัดที่ยังไม่ชอบด้วยกฎหมายคณะสงฆ์ เช่นพรรษาอ่อน กรณีผม ๆ เป็นสมภารตั้งแต่พรรษาแรก) เป็นเจ้าอาวาสวัดโนนน้อย และรักษาการณ์เจ้าอาวาสวัดโคกกลาง  ตาม พรบ.คณะสงฆ์ พ..2505  แต่ไม่เคยได้ใช้คำว่า  "พระอธิการนำหน้าชื่อ ทั้งนี้ก็เพราะเขามาตามขอร้องให้ผมเป็นเพื่อจัดการเรื่องที่ดินวัด เพราะขณะนั้นกรมที่ดินจัดหน่วยบริการออกโฉนดเคลื่อนที่มาถึง หากช้าอยู่จะเสียโอกาศ ขณะนั้นผมเป็นเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดอยู่ ก็พิมพ์ตราตั้ง ๆ ผมเองเป็นเจ้าอาวาสวัดโนนน้อย แล้วให้หลวงพ่อผมเซน หลวงพ่อผมก็เซน ก็ถือว่าถูกตามกฎหมาย เพราะอำนาจสมัยนั้นอยู่ที่เจ้าคณะจังหวัดคนเดียว แล้วในฐานะตัวแทนนิติบุคคล จัดการออกโฉนดที่ดินวัดโนนน้อยได้สำเร็จสมบูรณ์ ตอนผมไปยื่นเรื่องผ่านเจ้าคณะอำเภอ ๆ ท่านยังงงเลยว่าผมเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่เมื่อไร  ไม่เห็นมีเรื่องผ่านตาท่าน ไม่เห็นมีการประชุมประชาชน แต่ท่านก็ไม่ถามอะไร  ผ่านให้โดยสะดวก เพราะท่านรู้ดีว่าอะไรเป็นอะไรอยู่แล้ว  และความจริงขณะนั้นผมออกจากวัดโนนน้อยไปแล้ว และแม้ต่อมาพระวัดโนนน้อยที่รับช่วงการปกครองต่อมาจากผม ได้ทะยอยมรณะกันไปทีละรูปบ้างเป็นหมู่บ้างจนหมด ไม่มีเหลือสักรูป(ทั้งหมด 7 รูปด้วยกันตายหมด เขาว่า ตายล้างวัด ) ผมก็ไม่ได้กลับไปทั้ง ๆ ที่เป็นเจ้าอาวาส จนได้สละให้รูปปัจจุบันนี้

          4.  เป็นพระที่ไม่มีสมณศักดิ์  แม้แต่อาจเป็นพระฐานันดรหลวงพ่อพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร) หรือท่านผู้ใหญ่ท่านหนึ่งท่านใด แม้จะเป็นระดับสัญญาบัตร  ก็อาจเป็นได้โดยง่ายดาย (เพราะมีผลงานเข้าขั้นทุกรายการอยู่แล้ว) หากแต่หลวงพ่อพระเทพวรมุนี เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษเอง กลับเป็นคนที่พยายามอย่างยิ่งที่จะรักษาสถานะความเป็นพระธรรมดาเช่นนี้ไว้ให้ผม  ซึ่งผมก็พอใจเสมอ และพลอยได้รู้สึกไปด้วยว่ายังมีพระด้วยกันที่ไม่อยากให้ผมไปสัมผัส  กับสิ่งเหล่านั้น  อันเป็นของเจือเข้ามาในความบริสุทธิสะอาดทางจิตวิญญาณ ควรที่จะให้ดำรงตนอย่างปลอดล้วน ๆ จากโลกธรรม  สักรูปหนึ่ง

          5.  เมื่อวันที่ 23 ..2534  ตรงกับวันที่ผมบวชพอดี ชาวบ้าน ได้ทำพิธีบุญกองฮด  รดน้ำสถาปนาผมเป็น  พระสมเด็จ  พรามณ์พิธี คือ  พราห์มณ์อินทร์ สีหาโคตร ประกาศท่ามกลางประชาชนญาติโยมและคณะสงฆ์ตำบลโคกหล่าม-อี่หล่ำ-แขม ว่า  บัดนี้ได้มีการสถาปนาท่านพระอาจารย์ร้อยเอกพยับ ปัญญาธโร  ให้ได้รับสมณศักดิ์ตามจารีตประเพณีอีสาน ขอให้ประชาชนทั้งหลายพ่อแม่พี่น้องเรียกขานท่านว่า  "สมเด็จพยับตลอดไปนับตั้งแต่บัดนี้  ฉะนั้น  ฟังก็คล้ายว่า ผมก็มีสมณศักดิ์ เป็นพระสมเด็จรูปหนึ่งเหมือนกัน  แต่ที่จริงตามคลองประเพณีเดิมเรียกว่า  "สำเร็จ"   โยมเพี้ยนเป็น "สมเด็จไปเอง และไม่ใช่ชั้นสูงอย่างใดเป็นเพียงชั้นต้นๆ เท่านั้น  ชั้นสูง คือ พระหลักคำ(ระดับพระราชาคณะพระยอดแก้ว(ระดับพระสังฆราช)

          6.  ผมดูเหมือนจะเป็นเปรียญด้วย เพราะในปี พ..2533 ผมได้เข้าชั้นเรียนบาลี หลักสูตรพิเศษเเปิดเเรียนระหว่าง เดือนมิถุนายน ถึงเดือนธันวาคม พ.. 2533  มีการเรียนการสอนทุกวันอังคาร พุธ ศุกร และ เสาร์ สอน-เรียนเต็มวันเป็นเวลา 7 เดือน เป็นหลักสูตรพิเศษจริง ๆ เพราะมีครูสอนและนักเรียนในห้องฝ่ายละ 1 รูปเท่านั้น ฝ่ายครูสอนคือพระเดชพระคุณ พระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร) เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ  นักเรียนคือ  พระพยับ ปญฺญาธโร เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ในการแรียนแต่ละวัน ๆ มักมีข้อถกเถียงระหว่างครูกับศิษย์อยู่เสมอ  เสียงดัง ลั่น  ไม่มีใครเกรงใจใคร  ว่าเลยเถิดเตลิดไปนอกเรื่องนอกราวก็มีบ่อย ๆ ทำให้ห้องเรียนมีชีวิตชีวาและเป็นเรื่องที่สนุกมากทั้งครูและศิษย์ และก็สอนไปตรงตามตารางสอนไปจนจบหลักสูตร อย่างเป็นห้องเรียนจริง ๆ  จนถึงวันสุดท้ายของการสอน ท่านบอกผมว่า "จบหลักสูตร เลขาเป็นเปรียญธรรม 6 ประโยคแล้ว"    พอดีกับวัน 5 ธันวามหาราช ในวันที่ 5 ธันวาคม 2533 ท่านมอบพัดเปรียญ 6 ประโยคให้ผมถือไปเข้าพิธีทำบุญถวายพระราชกุศลในหลวงร่วมกับพระสมณศักดิ์อีก 8 รูปที่จังหวัดศรีสะเกษจัดขึ้น (พิธีสำคัญเช่นนี้จะอนุญาตพระมีสมณศักดิ์ล้วน ๆ แต่ปีนั้นผมไปในนามพระเปรียญ ธรรม 6 ประโยค ซึ่งเป็น สมณศักดิ์อีกชนิดหนึ่งของพระเหมือนกันเป็นนัยว่าผมได้รับสถาปนาเป็นเปรียญธรรม  6 ประโยค โดยบารมีในหลวง ต่อมาผมได้เขียนบทกวีภาษาบาลีขึ้นมาบทหนึ่งเพื่อเป็นเครื่องบูชาพระคุณท่านผู้สั่งสอน ความว่า    

 

       " ปญฺญาธรเถรปูชา กาเยนวจมนสาสาธุพุทธสุคุเณวา  ธมฺมสงฺเฆวาหรมิ,  

       สาธุครุคุณนิธิ  มาตาปิตุจเมปีติภูมิราชชินปาดี  อหํตาสานํตกฺกยึ,   

              อหํปญฺญาธรเถโร  ธมฺมํวทมิปูชายโยธมฺโมวิราโคโหติ  ตํธมฺมํอภิปูเชมิ

              โยชโนวิราโคโหติ  ตํชนํอหํวนฺทามิโยชโนโขสทฺโธโหติ  ตํชนํอหํสํสมิ ฯ"     

 

          ซึ่งเป็นบทกวีบทแรก ที่ผมเองเห็นว่า ยังไม่กลมกลืนดีนัก  คล้ายบทสรภัญญะ ภาษาท้องถิ่นอีสาน ที่ผมแต่งโดยพื้นฐานวัฒนธรรมภาคกลาง เช่นบทที่ผมเเลียนมาจาก  "ดอนมดแดง"  (ประวัติการอพยพของชาวอุบล-ศรีสะเกษมาจากลาวทำนอง กาเต้นก้อน จังหวะ เร็ว  ผมแต่งเนื้อใหม่ ชื่อ  "สายน้ำวิปโยค"   ดังนี้ (ลองว่าทำนองไปในใจด้วยนะครับ

 

                                 " แต่ก่อนแม่น้ำโขง   เลื่อนไหลลงน้ำใสใส  (ซ้ำ)

              บัดนี้ลำโขงไหล  (ซ้ำเป็นสีแดงปนคาวคน   (ซ้ำ), 

              ปีหนึ่งแปดเป็นเหตุ  (ซ้ำ)  เกิดอาเพททั่วแดนลาว  (ซ้ำ), 

              แผ่นดินจึงมีคาว   (ซ้ำ)   ทหารญวนเข้ามาครอง  (ซ้ำ),   

              ไล่ฆ่าฟันคนลาว (ซ้ำ)  เลือดท่วมนองถึงฝั่งโขง  (ซ้ำ),  

              ดินแดนกัมพูชา  (ซ้ำ)  ญวนก็มาแย่งชิงเอา  (ซ้ำ),  

              คนกองเป็นภูเขา  (ซ้ำ)  เผาทิ้งลงแม่น้ำโขง  (ซ้ำ), 

              สายน้ำวิปโยค  (ซ้ำ)  เขมรลาวสิ้นแผ่นดิน (ซ้ำ),

                   กษัตริย์ก็สิ้นเชื้อ  (ซ้ำ)  ไม่มีเหลือบัลลังก์ทอง  (ซ้ำ), 

              เลือดนองดังลำธาร  (ซ้ำ)  แต่ก่อนกาลไม่เคยมี  (ซ้ำ), 

              สังเวชชาวเขมร  (ซ้ำ)  อพยพมานับแสน  (ซ้ำ), 

              แร้นแค้นแผ่นดินอยู่  (ซ้ำ)   ทำศึกสู้ชิงแผ่นดิน  (ซ้ำ),

              เขาไล่ฆ่าล้างโคตร  (ซ้ำ)  ให้หมดสิ้นเชื้อเขมร  (ซ้ำ), 

              ซัดเซพเนจร  (ซ้ำ)  สักเมื่อใดจะได้คืน (ซ้ำ),  

              ค่อยลืมเถิดความหลัง (ซ้ำ)  น้ำตาพังไม่ได้คืน  (ซ้ำ),   

              ทะเลสาบแดนอุดม (ซ้ำบัดนี้เป็นของเขาอื่น  (ซ้ำ),  

              จำเถิดพี่น้องไทย  (ซ้ำ)  อย่าได้เป็นเช่นเขมร (ซ้ำ).  

 

 

                        (สำนวนตรงกับ โคลงสี่สุภาพ  ใน เถลิงรัฐรัตนโกสินทร์ศก 200 พุทธศักราช 2525 ซึ่งผมเขียนไว้ก่อนบวช บทที่ 131 ว่า :-  

 

                                โขงวนสองแผ่นเฝ้า                            อาดูร

                 ลาวหลั่งเลือดนองปูน                                        น่านน้ำ

                สู่กัมพุชโขงพูน                                                 ทวีวิโยค,   

                ตายดาดศพเกยค้ำ                                             แผ่นเพี้ยงภูเขา)

 

ซึ่งลูกศิษย์ของผม คือผมจัดตั้งคณะสรภัญญะเหล่านี้ขึ้นแล้วฝึกสอนด้วยตัวผมเเอง สมัยผมเป็นสมภารอยู่วัดนั้น ๆ (มีเค้าเรื่องอยู่ในนวนิยายเรื่อง  อาลัยบาป  นั่นแหละครับ)   คณะวัดโนนน้อย ขับร้องได้ชัยชนะเลิศ 3 ปีซ้อน ระดับอำเภอ  และลูกศิษย์คณะวัดบ้านแสง ชนะเลิศ ระดับจังหวัดศรีสะเกษ 2 ปี ปีแรกชนะเลิศที่ สนามวัดหลวงศรีสุมังคลาราม(ฝ่าย ธรรมยุต) และปีต่อมา ๆ ชนะเลิศที่สนาม วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม(ฝ่าย มหานิกายแต่ในความคิดของผม  ในแง่บทขับร้องบทกวี มันก็ฟังดี แต่สำนวนไม่เข้าวัฒนธรรมภาษาดั้งเดิมของเขาสนิทนัก  สังเกตคำร้อง  เป็นภาษาไทยกลางทั้งสิ้น  แต่ขับร้องด้วยสำเนียงลาว ท้องถิ่นอีสาน จึงไม่ค่อยกลมกลืนนัก สาเหตุสำคัญเนื่องจากผมไม่ลึกซึ้งในภาษาถิ่นที่เป็นมาตรฐานดั้งเดิม   ผมดูเหมือนจะชอบคำว่า  มหา นำหน้ากว่าอย่างอื่นนะครับ เพราะออกความหมายทางวิชาการ  นักปราชญ์ ผู้รู้  นักกวี  เช่นนี้  กระนั้นผมก็ไม่ใช่มหาตัวจริง   ชื่อที่ผมพอใจที่สุด ก็คือ พระพยับ ปญฺญาธโร  แต่มีวงเล็บเพิ่มเติมไปหน่อยว่า  (พระผู้มีปกติอยู่ด้วยอิริยาบถ 3)  เพื่อให้เป็นที่สังเกต  ว่าผมเป็นพระธรรมดาก็จริงอยู่ แต่ดูเหมือนจะไม่ธรรมดานัก  กระนั้น  ก็หาได้ข้อสรุปไม่ว่า  ตำแหน่งผมควรจะลงว่าอย่างไร

                        ผมตั้งใจเน้นเกล็ดบางอย่างในประวัติช่วงนี้ ก็เพราะผมรู้ว่ามีคนพยายามอยากรู้เรื่องราวลึก ๆ ส่วนตัวของผม  มีคนพยายามเลียบเคียงอยากรู้วันเดือนปีเกิดของผม เพื่อที่จะเอาไปผูกดวงชาตาดูว่ารูปดวงชาตาผมเป็นอย่างไร  ได้โยคเกณฑ์สำคัญ ๆ อะไรขนาดไหน หรือไม่  เปรียบเทียบกับดวงพระรูปนั้นรูปนี้แล้วจะเป็นอย่างไร  อะไรทำนองนั้นแหละครับ

                        แต่  บัดนี้  ผมกำลังจะพูดถึงเรื่องราวของ  ดร.นันทสาร  สีสลับ  สหธรรมิก  คนสำคัญคนหนึ่งของผมและผู้ที่ทำประโยชน์แด่พระพุทธศาสนาคนสำคัญคนหนึ่งของไทย

 

                        เราเป็นชาวศรีสะเกษด้วยกัน  อยู่ตำบลเดียวกัน  หากแต่เมื่อเด็ก ๆ นั้น  ดร.นันทสาร  ไม่ได้เข้าโรงเรียนเหมือนที่ผมเข้า  แต่ไปเข้าวัดแทน   ในขณะนั้น ท้องถิ่นตำบลผมมีเสียงเล่าลือถึงคนเก่งอยู่ 2 คน ๆ แรกคือ  อักษร  สายลาม  เก่งมาก  สอบได้ที่ 1 ไปตลอด  และสามารถ เอนทรานซ์เข้าคณะแพทยศาสตร์ได้ ซึ่งถือว่าเป็นคณะที่ผ่านเข้ายากที่สุดในสมัยนั้น  แต่น่าเสียดาย  เพราะเป็นลูกกำพร้า ครูแงง พ่อ เสียตั้งแต่เป็นเด็ก  ยากจน ไม่มีเงินจะเสียค่าเล่าเรียนและเครื่องมือฝึกงานทางแพทย์ซึ่งมีราคาแพงมากขณะนั้น  จึงไม่ได้เรียนแพทย์  ไปเข้าธรรมศาสตร์แทน   จบธรรมศาสตร์แล้วได้เป็นตำรวจ   ปัจจุบันคือ  พตอ.(พิเศษ)อักษร สายลาม  อดีตผู้กำกับอำนวยการตำรวจภูธร จ.ศรีสะเกษ  เมื่อผมบวชมาอยู่ศรีสะเกษ ณ วัดมหาพุทธาราม  ได้เอารถเก๋งเก่า ๆ อเมริกันมาถวาย ผมได้ใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้คันหนึ่ง  เป็นรถที่ผมเคยชอบมาก ๆ แต่เป็นฆราวาส   มันคือ  โอลด์สโมบิล  รุ่นฝ่าสงครามเวียตนาม  และอเมริกันโละมาไว้ในไทย-ในสนามเสือป่า เป็นจำนวนมากภายหลัง นั่นเอง อักษร สายลามมีความใฝ่อยู่ลึก ๆ ในการศึกษาธรรมะ  ได้บวช แล้วลาสิกขาไปแล้ว  แต่ผมก็ช่วยอะไรไม่ได้มาก (โรงเรียนขาดเครื่องไม้เครื่องมือก็สอนไม่ได้) ส่วน ดร.นันทสาร สีสลับ เดิมชื่อ  ฝั้น  คนรู้จักชื่อ  มหาฝั้น  มากกว่าชื่อใหม่นี้มาก  พอเอ่ยชื่อมหาฝั้น คนทั้งหลายก็จบนิ้ว ยกย่องสรรเสริญจริง ๆ  เพราะเรียนธรรมะเก่งกาจ  สามารถสอบเป็นเปรียญธรรม 5 ประโยคได้ตั้งแต่เป็นสามเณร  ซึ่งเป็นชื่อเสียงที่ผมไม่เข้าใจนักในขณะนั้น  คือผมไม่เข้าใจว่า  สามเณรตัวเล็ก ๆ เช่นมหาสาย  เพื่อนบ้านผม รุ่นเดียวกับผม แต่ไม่ได้เข้าโรงเรียนเหมือนผม  ไปอยู่นครสวรรค์กลับมา คนลือกันว่า  มหาสายกลับมา ๆ  ผมก็ไม่เข้าใจว่า  การเป็นมหาสายนั้นสำคัญอย่างไร  ดีอย่างไรคนจึงนับถือกันมาก  ผมเคยเห็นแม้แต่แม่ผมก็ตื่นเต้นที่ได้พบมหาสาย  ท่านว่าเป็นลูกศิษย์ของท่าน  แต่มหาสายยังมีชื่อเสียงสู้มหาฝั้น หรือ ดร.นันทสาร ขณะนั้นไม่ได้ เพียงแต่ผมไม่เข้าใจว่า  ท่านเหล่านั้นท่านไปร่ำเรียนอะไร  ต่างจากทีผมเล่าเรียนอย่างไร  เท่านั้นเอง  ซึ่งนี่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ฝังอยู่ในจิตใจอันลึกซึ้งของผม  ด้วยปมปัญหาที่สงสัย  ในสารัตถะแห่งวิชาสายมหานั้น ว่าคืออะไร  ดีอย่างไร  นั่นเอง  อย่างไรก็ตาม  สำหรับคนคู่นี้ คือ อักษร สายลาม   กับ นันทสาร สีสลับ  เป็นบุคคลที่ประทับใจผมมาตั้งแต่เด็กแล้ว

                        หากแต่ผมไม่ใช่คนรุ่นเดียวกับ อักษร สายลาม  และ นันทสาร สีสลับ  เป็นรุ่นน้องสัก 5-7  ปีเศษ ๆ  เพราะเป็นรุ่นก่อนพี่สาวผม  อาจารย์ประทิ่น แก้วจันทรา ไปอีกสักหน่อยด้วยซ้ำ  ยิ่งไปกว่านั้น ผมก็เพียงแต่ได้ยินชื่อเสียงเท่านั้น ไม่เคยได้รู้จักพบปะกันเลย  ตราบจนกระทั่งผมเจริญวัยเติบโตในธรรมศาสตร์ ปีแรก ๆ ขณะนั้นเป็นภาคปิดเทอมฤดูร้อน  ปีนั้น แหละผมได้อำลากรุงเทพมหานครกลับคืนสู่มาตุภูมิตามปกติ  แล้วคืนหนึ่งได้ไปกับ ถนอม มีพันธุ์  เพื่อนถูกใจบ้านอี่หล่ำ  (ขณะนี้เป็นพระถนอม มีพันธ์ ตามผมมาบวช แล้วไปจำวัดอยู่ที่วัดนาคา อ.เมือง จ. ภูเก็ตไปชมหมอลำเรื่องคณะหนึ่ง  แสดงที่บ้านอี่หล่ำ  ห่างบ้านผมออกไปสามหมู่บ้าน  ฟังหมอลำเรื่องเพลินไปจนเลิกราว ๆ ตี 2 เห็นจะได้  นางเอกสาวหมอลำ ชวนผมไปเที่ยวบ้านของเธอด้วย  บ้านของเธออยู่ห่างไปทางตะวันออก  บ้านโนนเปือย-โนนค้อ (ในขณะนั้นตำบลอี่หล่ำของผมเองมีคณะศิลปินชั้นเยี่ยมอยู่หลายสาขา  บ้านโนนดู่มีคณะหนังตะลุง  บ้านหนองตาจาน มีคณะลิเก บ้านโนนเปือย-โนนค้อมีคณะหมอลำเรื่อง บ้านหนองเหล็กมีคณะหมอลำผีฟ้ารักษาคนป่วย) ถนอมขยั้นขยอให้ผมตามสาวไป  ผมจึงไปกับเธอ  ไปกับคณะหมอลำคณะนั้น  เมื่อไปถึงบ้าน  เธอก็เชิญให้ผมขึ้นเรือน  เธอว่าบ้านเธอคงไม่สวยสง่างาม เหมือนบ้านผม (นุ่มสาวอีสานมักจะพูดถ่อมตัวเชิงล้อเลียนอย่างนี้แหละ)  แล้วจัดการปูเสื่อให้ผมนั่ง ที่ระเบียงบ้าน พ่อ แม่เธอก็ออกมาต้อนรับ  พูดคุยถามว่าพ่อหนุ่มอยู่บ้านไหน ลูกเต้าของใคร  แล้วก็สั่งให้ลูกสาวเขาหาน้ำใส่ขันเงินใบใหญ่ มาให้ผมดื่ม  แล้วก็ให้ลูกสาวเขามานั่งคุยกับผมสองต่อสอง  และนี่เป็นประสบการณ์ครั้งแรกของผม  ทำให้ตื่นเต้นมาก  เธอเป็นนางเอกหมอลำ รุ่นเยาว์ แน่นอน มีความสวย  มีจริตงดงามรู้ออกท่าทางที่น่ารัก  รู้พูดเจรจา   แต่ที่ผมชอบและมักจะหลงใหลโดยง่าย ๆ ก็คือเสียงขับลำ ขับร้อง เสียงพูด เสียงที่แสดงออกซึ่งความเฉลียวฉลาด ไพเราะ นุ่มนวล  เสียงกวี  มักจะครอบงำจิตใจผมได้โดยง่าย  และแน่ละ  ผมได้ถูกครอบงำด้วยความงามและน้ำเสียงขับลำของสาวน้อยผู้นี้ตลอดเวลาที่ฟังชมเธอแสดงอยู่ เป็นเวลาถึงครึ่งค่อนคืน  ผมอาจจะแสดงออกซึ่งความชอบความพึงพอใจของผมออกมาอย่างเปิดเผยและโดยซื่อ ๆ ก็ได้ 

          ผมแทบไม่เข้าใจเลยว่าคืนนั้น  ผมพูดคุยกับเธอด้วยเรื่องอะไรบ้าง จึงสามารถอยู่ด้วยกันไปได้โดยไม่ง่วงเหงาหาวนอนกันเลยตลอดคืน  ครั้นแสงทองส่องฟ้า  ผมก็อำลาสาวกลับบ้าน   นึกในใจว่าพ่อแม่คงจะสงสัย  เกรงจักถูกถามซักไซ้ไล่เลียงเอา   เธอมีท่าทีเสียดายและเชิญชวนให้ผมมาคุยกับเธออีกในคืนรุ่งขึ้น  แล้วผมก็มาอีกเป็นคืนที่ และเราก็คุยกันต่อไปอีกตลอดทั้งคืน   พอรุ่งแจ้งผมก็อำลาเธอกลับ  เธอก็ชวนให้มาอีก  ผมก็มาหาเธออีก  เป็นคืนที่ 3   ความจริง บ้านผมกับบ้านของเธอ ห่างกันอยู่หลายกิโลเมตร  หากเดินตามถนนหลวงซึ่งเป็นทางสะดวกในการเดิน  แต่ตัดเป็นรูปข้อศอก  ก็จะผ่านหมู่บ้านต่าง ๆ ถึง 6 หมู่บ้าน  คือ จากโนนเปือย บ้านของเธอ ไปทางตะวันตก ผ่าน โนนดู่ ถึงอี่หล่ำ แล้วหักข้อศอก 90 องศา ไปทางทิศเหนือ ผ่านบ้านจิก  โนนยาง  แล้วถึงโคกกลาง บ้านของผม  แต่ผมไม่เดินตามทางถนน แต่ตัดลัดท้องทุ่งไป และมาสู่บ้านของเธอ  โดยสามารถเดินตัดทางตรงจากโคกกลาง ถึงโนนเปือยได้เลย  แต่ต้องข้ามทุ่งนากว้างใหญ่ถึง 2 ทุ่ง  ที่มีห้วยสายใหญ่คือ  ห้วยกุง แบ่งเขตท้องทุ่งทั้งสองนั้นไว้  ทุ่งแรกเป็นทุ่งชาวบ้านโคกกลาง โนนยาง  และ บ้านจิก   ทุ่งที่ 2 เป็นทุ่งบ้านโนนดู่  โนนเปือย  และโนนค้อ  นั่นแหละคือ ธรรมชาติ  อันกว้างใหญ่ที่สวยสดงดงาม  ที่แซกซึมเข้าสู่ดวงจิตวิญญาณของผมมาโดยตลอด

          และผมก็เพิ่งทราบว่า ดร.นันทสาร  เป็นคนบ้านเดียวกันกับสาวหมอลำนี่เอง  คนที่นี่รุ้จักและชื่นชมในตัว ดร.นันทสาร  ๆ นี่เองที่ได้นำเพื่อน คนระดับรัฐมนตรีคือ รมช..ศธ. ฯพณฯ ขุนทอง ภูผิวเดือน มาลุยชนบทท้องที่ตำบลอี่หล่ำเป็นคนแรก ในคราวที่ ดร.นันทสาร สีสลับ จัดตั้งมูลนิธิ โนนเปือยโนนค้อขึ้น  ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ใหม่พิเศษของชาวชนบทอี่หล่ำขณะนั้น

          เรื่องราวของผมกับสาวสวย นางเอกหมอลำ  จบลงในคืนที่ ผมคนเดียวเดิน (สมัยนั้นยังไม่มีมอเตอร์ไชค์) ฝ่าทุ่งนากว้างใหญ่ไพศาลและอ้างว้าง ในฤดูแล้ง  ที่ล้วนแต่ตอฟางผุ ๆ ต้นเสียว เล็บแมว กอไผ่น้อย และไมยราพณ์บนคันนา และโคลนจากท้องนาบางแห่งที่เพิ่งแห้งลงหมาด ๆ  ข้ามห้วยกุงที่ตื้นเขินในหน้าแล้ง  แล้วลุยท้องทุ่งตะวันออกไปจนเข้าเขตบ้านโนนดู่ เลียบชายทุ่งบ้านโนนดู่ต่อไปสักหน่อยก็ถึงบ้านโนนเปือยของสาวเจ้า ซึ่งนับว่าเป็นเส้นทางที่ทุรกันดาร โดยเฉพาะเวลากลางคืนหน้าแล้งนี้แล้วจะไม่มีผู้ใดผ่านไปมาเลย และท้องทุ่งนี้แหละที่ผมเคยแบกปืนวิ่งตามนกกระยางขาวสมัยเด็ก ๆ ที่เคยเล่าให้ฟังแล้ว  สิ่งที่ผมพอใจ  หาใช่เพียงการได้เห็นหน้าสวยงามของสตรีก็หาไม่   หากแต่บรรยากาศทั้งสิ้นที่ประกอบกันโดยธรรมชาติ เวลาค่ำคืนอันมืดมิดในทุ่งกว้างใหญ่ เส้นทางข้ามทุ่งไกล มองไม่เห็นปลายทางเพราะความมืด  วังเวง  มีแต่แสงดาวสว่างราง ๆ ธรรมชาติแห่งลมฤดูแล้งที่พัดต้องยอดไม้หว้าดังหวิว ๆ  แล้วผมก็หยุดยืนเงี่ยหูฟัง  ๆ  แล้วคล้ายเสียงหวาน ๆ ของสตรี เร่งให้มาหา  เป็นสิ่งปลุกความหาญกล้าขึ้นในจิตใจอย่างประหลาด   ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถูกเก็บไว้โดยอัตโนมัติจากกลไกภาคภายในอันเร้นลึกของผม  และซึ่งต่อมามันค่อยคายออกมา ๆ  เพื่อการวิเคราะห์พิสูจน์หาสัจธธรรมที่ซ่อนเร้นอยู่ ในขณะนั้น  ผมได้เดินทางข้ามท้องทุ่งแห่งนี้ เที่ยวที่ 4 แล้ว เมื่อสิ้นสุดคืนนั้นก็จะเดินข้ามเป็นเที่ยวที่ หากแต่ในคืนนั้น  ผมได้รู้สึกถึงความระส่ำระสายผิดปกติแห่งจิตใจ  เพราะข้อความที่พูดคุยกัน 2 คืนที่ผ่านมาแล้วนั้น  ค่อนข้างกินใจและแฝงความนัยความหมายแห่งจิตพิสวาท ของประหลาด ๆ ในความรู้สึกของผมในขณะนั้น  และผมกลัวว่าจะได้ยินอีก ในคืนวันที่ 3 นี้  แต่แม้กระนั้น ผมก็ยังอยากจะได้ยิน  และแล้ว ก็มีบางสิ่งบางอย่างที่เข้ามาก่อประกายความคิดในจิตใจผม  เมื่อผมมาถึงลานบ้านสาวเจ้าในคืนวันนั้น  เวลาค่อนข้างดึกแล้ว  ดวงเดือนเพิ่งโผล่พ้นขอบฟ้าขึ้นมา  สว่างนวล ๆ สาดถึงระเบียงบ้านที่เรายึดเป็นที่พร่ำพูดคุยกัน ผมพบว่าเธอมิได้อยู่คนเดียว  แต่มีชายหนุ่ม 3 คน เตร็ดเตร่อยู่บริเวณบ้าน   ข้างบนบ้านเห็นชายอีกคนหนึ่ง กำลังพูดอยู่กับเธอ แน่ละ เป็นหนุ่มที่ปองหมายสาวคนสวยคนเดียวกันนี้  เขามองดูผมด้วยายตาไม่เป็นมิตร  ขยับจับด้ามมีดปลายแหลมเล่มยาว ที่เขาพกไว้ในสะเอวเห็นถนัด  แต่สาวคนดีเห็นผมไปถึง  ก็ไล่ชายหนุ่มคนนั้นลงจากเรือนไป  พวกเขาก็พากันหายหน้าไปโดยดี  ผมถามว่า   "พวกเขาเป็นคนบ้านไหน ?"   เธอตอบว่า  "คนใกล้ ๆ นี่แหละ  ถามทำไม ?"   ผมบอกว่า  "ไม่ทราบ  มันอยากจะรู้เท่านั้นเอง"    คืนนั้น ผมไม่สบายใจ  ผมกลัวอะไรหลายอย่าง  ทั้ง ๆ ที่มันไม่น่าจะกลัว  กลัวคำพูดหวาน ๆ ทั้งของตัวเองและของสาวเจ้า   แต่เรื่องก็ดำเนินต่อไป  จนดึกดื่น เที่ยงคืน ไก่ขันเข้าแล้ว   มีคราวหนึ่งเราชวนกันลงไปข้างล่าง  บนผืนแผ่นดิน เปลี่ยนสถานที่ ท่ามกลางแสงเดือนแจ่มจำรัส  แต่ก็ชั่วไม่นานนักก็กลับขึ้นเรือนไปอีก  ไม่รู้สรรหาคำพูดอะไรมาคุยกันได้    แล้วชั่วขณะหนึ่งแห่งความเงียบงันที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญหรืออะไรก็แล้วแต่   สาวก็ชวนผมเข้าไปนอน  ผมคาดไว้ล่วงหน้าแล้วว่าจะได้ยินเช่นนี้  ก็ทำเป็นไม่เข้าใจความหมาย  อิดเอื้อนอยู่ ไม่รู้จะทำอย่างไร  สาวเขาน้อยใจต่อว่า   มาทำไมสามคืน  มาเที่ยวเล่นสนุก ๆ เท่านั้นเองหรือ ?   แล้วเธอก็ลุกเดินเข้าไปในห้องนอน  แง้มประตูเอาไว้ ผมรวนเร  ขยับจะตาม  แต่ก็กลับยั้งหยุด   สักครู่ต่อมา ตัดสินใจ ย่องลงจากเรือนอย่างเงียบกริบ  เลี่ยงออกไปทางหลังบ้าน เลียบสวนหม่อนหลังบ้านออกไป สู่ทุ่งนาอันสว่างโพลงด้วยแสงเดือนข้างแรมแก่ ๆ   ขณะนั้น   ๆ  เอง  ความรู้สึกเพียงดังยกภูเขาออกจากอก   ฟ้าสว่างไสว  ทุ่งกว้างเงียบสงบ   ภาระได้หลุดลอยไปจากใจ  พบความอิสรภาพอีกครั้งหนึ่ง   ผมเงยหน้าเอ่ยกับดวงจันทร์เจ้าที่สว่างนวล อยู่เรี่ย ๆ ฟ้าตะวันตก  ว่าจันทร์เอ๋ย ข้าขอลาแล้ว ผมเดินข้ามทุ่งที่สวยงาม ข้ามห้วยใหญ่  ไปในราตรีที่สงัดสงบนั้นแล้ว  ไม่หวลกลับมาพบเธออีกเลย  แม้กระนั้นก็เป็นเหตุการณ์ที่ตรึงตราใจในส่วนที่ลึกซึ้ง  เป็นบทการศึกษาที่ทรงคุณล้ำเลิศน่าขอบคุณยิ่งนัก

          ผมไม่ทราบว่า ดร.นันทสาร  รู้เรื่องราวเหล่านี้หรือไม่  แต่นั่นแหละ   ในที่สุดชาตาชีวิตของเรากลับกัน  ดร.นันทสาร  สีสลับ ลาสิกขาออกไปและอุตส่าห์พยายามศึกษาเล่าเรียนทางโลก  ข้ามทะเลไปนอกจนได้ปริญญาเอกกลับมาชื่นชมแด่ชาวตำบลอี่หล่ำ   ส่วนผมเกิดเบื่อหน่ายในวัฏฏสงสาร เบื่อหน่ายการศึกษาที่ไม่มีวันแจ้งจบ  หลบหนีไปบวชเข้าสู่ร่มกาสาวพัสต์แทน  ขณะนี้ ดร.นันทสาร สีสลับ กำลังทำงานทางศาสนาอยู่ฝ่ายโลก  ผม ทำงานอยู่ฝ่ายศาสนจักร  ด้วยความมุ่งหมายตามอุดมการณ์อันเจิดจ้าทั้งสองทาง

          เราเคยทำงานร่วมกันอยู่ระยะหนึ่ง  ขณะที่เป็นฆราวาสด้วยกัน  หากแต่เป็นงานกุศล  ชุมนุมชาวตำบลอี่หล่ำ  บ้านเกิดเมืองนอน ในกรุงเทพมหานคร จัดผ้าป่าประจำปีไปบำรุงการศึกษาในท้องถิ่น  ในวันปีใหม่ ชาวอี่หล่ำกรุงเทพจะจัดงานชุมนุมกันเป็นประจำ  และในปี พ..2515 ปีนั้น  มีบทเพลง ๆ หนึ่ง ชื่อว่า  ปณิธานแห่งชาวอี่หล่ำ  ซึ่งผมเป็นคนแต่ง ได้นำมาร้องหมู่ในงานนั้นด้วย และซึ่ง ดร.นันทสาร ได้แสดงความชื่นชมบทเพลงบทนี้เป็นอย่างมาก  เนื้อเพลงนี้ บ่งบอกอุดมการณ์ของผมเอง และซึ่งผมไม่ปรารถนาจะให้เป็นอุดมการณ์เฉพาะของชาวอี่หล่ำ แต่แม้มนุษย์ทั้งหลายหากมีอุดมการณ์นี้แล้ว ย่อมบรรลุแต่ความสงบสุข   ต่อไปนี้คือเนื้อเพลง  ปณิธานแห่งชาวอี่หล่ำ

                                           ปณิธานแห่งชาวอี่หล่ำ

                      แดงดำ                                 สีอี่หล่ำ

                        สำคัญ                                  ข้างในเป็นสีขาว

                        ด้วยกุศลกรรม                      บำรุงเหล่าชาว

                        อี่หล่ำเรา                             ไม่พรั่นหวั่นอะไร

 

                        ยากจน    มั่งมี        ใช่ชี้        เกียรติยศ    

                        แต่ชีวิต    จักใสสด    หากเรา    ทำดี

                        บริจาคทาน                    ประหารความตระหนี่

                        พลีชีพ                         เพื่อทางศาสนา

                        นี่แหละความดี            ด้วยใจเมตตา

                        ช่วยกันรักษา              ไว้ชั่วนิรันดร์เทอญ ฯ

 

                        และชาวอี่หล่ำ ผู้ดำรงปณิธาน ตามเนื้อเพลงนี้จริง ๆ  ก็คงมีเพียงผม   และอีกคน  ก็คงเป็น ดร.นันทสาร สีสลับ  รวมเป็น 2 คนเท่านั้น  โดยเฉพาะในข้อความสำคัญที่ว่า  "พลีชีพเพื่อทางศาสนา"   นั้น ดร.นันทสารก็กำลังทำอยู่  ส่วนผม มิใช่เพียงถ้อยคำ  หากเป็นเลือดเนื้อและชีวิตจริง ๆ ของผม  การฟันฝ่าไปตามเส้นทางอุดมการณ์ของผม  เอาชีวิตเข้าแลกจริง ๆ  มิได้ทำเล่น ๆ  หากแต่การกระทำเหล่านั้น หลายสิ่งหลายส่วน ผมได้ปกปิดไว้เป็นเรื่องเฉพาะตัว ไม่ปรารถนาโอ้อวดผู้ใด  เพราะผลประโยชน์ที่ได้จริง ๆ ยิ่งใหญ่  เป็นของส่วนตัวของผมเอง คนเดียวแท้ ๆ    ทั้งนี้ ในช่วงเวลาระหว่างปี พ..2512- 2522   10 ปี ขณะเป็นฆราวาส นั้น จัดเป็นช่วงระยะเวลาแห่งการมุ่งมั่นบำเพญพรตพรมหจรรย์ เพื่อปัญญารู้แจ้งอันสูงสุดอย่างแท้จริงของผม.

ผมจะเล่าจุดสุดยอดของการบำเพ็ญพรตพรหมจรรย์ในร่างฆราวาสให้ฟังในคราวหน้า.

 

 

  • ตอนที่ 9  จากดีเล่มที่ 18

 

 

 

 

 

 

 

 




ประวัติของผม 16 ตอน

ประวัติของผม 16 ตอน
สิ่งที่อยากให้เข้าใจก่อนในการอ่านประวัติของผม16ตอน เพราะเขียนไว้นานแล้ว
ประวัติของผมตอนที่ 1 article
ประวัติของผมตอนที่ 2
ประวัติของผมตอนที่ 3
ประวัติของผมตอนที่ 4
ประวัติของผมตอนที่ 5
ประวัติของผมตอนที่ 6
ประวัติของผมตอนที่ 7
ประวัติของผมตอนที่ 8
ประวัติของผมตอนที่ 10 article
ประวัติของผมตอนที่ 11 article
ประวัติของผมตอนที่ 12
ประวัติของผมตอนที่ 13
ประวัติของผมตอนที่ 14
ประวัติของผมตอนที่ 15
ประวัติของผมตอนที่ 16



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
----- ***** ----- โปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate นี่คือเวบไซต์คู่ www.newworldbelieve.com กับ www.newworldbelieve.net เราให้เป็นเวบไซต์ที่เสนอธรรมะหรือ ความจริง หรือ ความคิดเห็นในเรื่องราวของชีวิต ตั้งใจให้ธัมมะเป็นทาน ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แด่คนทั้งหลาย ทั้งโลก ให้ได้รู้ความจริงของศาสนาต่าง ๆในโลกวันนี้ และได้รู้ศาสนาที่ประเสริฐเพียงศาสนาเดียวสำหรับโลกยุคใหม่ จักรวาลใหม่ เรามีผู้รู้ ผู้ตรัสรู้ ผู้วินิจฉัยสรรพธรรมสรรพวิชชา สรรพศาสน์ และสรรพศาสตร์ พอชี้ทางสู่โลกใหม่ ให้ความสุข ความสบายใจความมีชีวิตที่หลุดพ้นไปสู่โลกใหม่ เราได้อุทิศเนื้อที่ทั้งหมดเป็นเนื้อที่สำหรับธรรมะทั้งหมด ไม่มีการโฆษณาสินค้า มาแต่ต้น นับถึงวันนี้ร่วม 14 ปีแล้ว มาวันนี้ เราได้สร้างได้ทำเวบไซต์คู่นี้จนได้กลายเป็นแดนโลกแห่งความสว่างไสว เบิกบานใจ ไร้พิษภัย เป็นแดนประตูวิเศษ เปิดเข้าไปแล้ว เจริญดวงตาปัญญาละเอียดอ่อน เห็นแต่สิ่งที่น่าสบายใจ ที่ผสานความคิดจิตใจคนทั้งหลายด้วยไมตรีจิตมิตรภาพล้วน ๆ ไปสู่ความเป็นมิตรกันและกันล้วน ๆ วันนี้เวบไซต์นี้ ได้กลายเป็นโลกท่องเที่ยวอีกโลกหนึ่ง ที่กว้างใหญ่ไพศาล เข้าไปแล้วได้พบแต่สิ่งที่สบายใจมีความสุข ให้ความคิดสติปัญญา และได้พบเรื่องราวหลายหลากมากมาย ที่อาจจะท่องเที่ยวไปได้ตลอดชีวิต หรือท่านอาจจะอยากอยู่ณโลกนี้ไปชั่วนิรันดร ไม่กลับออกไปอีกก็ได้ เพียงแต่ท่านเข้าใจว่านี่เป็นแดนต้นเรื่องเป็นด่านข้ามจากแดนโลกเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง และซึ่งเป็นโลกหรือบ้านของท่านทั้งหลายได้เลยทีเดียว ซึ่งสำหรับคนต่างชาติ ต่างภาษาต่างศาสนา ได้โปรดใช้การแปลของ กูเกิล หรือ Google Translate แปลเป็นภาษาของท่านก่อน ที่เขาเพิ่งประสบความสำเร็จการแปลให้ได้แทบทุกภาษาในโลกมนุษย์นี้แล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้เอง นั้นแหละเท่ากับท่านจะเป็นที่ไหนของโลกก็ตาม ทั้งหมดโลกประมาณ 7.6 พันล้านคนวันนี้ สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในโลกของเราได้เลย เราไม่ได้นำท่านไปเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่การนำไปสู่ความจริง ความรู้เรื่องชีวิตใหม่ การอุบัติใหม่สู่ภาวะอริยบุคคล ไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปพ้นจากทุกข์ ทั้งหลายไปสู่โลกแห่งความสุขแท้นิรันดร คือโลกนิพพานขององค์บรมศาสดาพุทธศาสนา พระบรมครูพุทธะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ท่านโปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate ท่านก็จะเข้าสู่โลกนี้ได้ทันทีพร้อมกับคน7.6พันล้านคนทั้งโลกนี้. ----- ***** ----- • หมายเหตุ เอาขึ้นเวบไซต์ แทนของเดิม ทั้ง 2 เวบ .net .com วันที่ 21 เม.ย. 2565 เวลา 07.00 น. -----*****-----