ReadyPlanet.com
dot
dot dot
bulletBUDDHISM TO THE NEW WORLD ERA
bullet1 Thai-ไทย
bullet2.English-อังกฤษ
bullet3.China-จีน
bullet4.Hindi-อินเดีย
bullet5.Russia-รัสเซีย
bullet6.Arab-อาหรับ
bullet7.Indonesia-อินโดนีเซีย
bullet8.Japan-ญี่ปุ่น
bullet9.Italy-อิตาลี
bullet10.France-ฝรั่งเศส
bullet11.Germany-เยอรมัน
bullet12.Africa-อาฟริกา
bullet13.Azerbaijan-อาเซอร์ไบจัน
bullet14.Bosnian-บอสเนีย
bullet15.Cambodia-เขมร
bullet16.Finland-ฟินแลนด์
bullet17.Greek-กรีก
bullet18.Hebrew-ฮีบรู
bullet19.Hungary-ฮังการี
bullet20.Iceland-ไอซ์แลนด์
bullet21.Ireland-ไอร์แลนด์
bullet22.Java-ชวา
bullet23.Korea-เกาหลี
bullet24.Latin-ละติน
bullet25.Loa-ลาว
bullet26.Finland-ฟินแลนด์
bullet27.Malaysia-มาเลย์
bullet28.Mongolia-มองโกเลีย
bullet29.Nepal-เนปาล
bullet30.Norway-นอรเวย์
bullet31.persian-เปอร์เซีย
bullet32.โปแลนด์-Poland
bullet33.Portugal- โปตุเกตุ
bullet34.Romania-โรมาเนีย
bullet35.Serbian-เซอร์เบีย
bullet36.Spain-สเปน
bullet37.Srilanga-สิงหล,ศรีลังกา
bullet38.Sweden-สวีเดน
bullet39.Tamil-ทมิฬ
bullet40.Turkey-ตุรกี
bullet41.Ukrain-ยูเครน
bullet42.Uzbekistan-อุสเบกิสถาน
bullet43.Vietnam-เวียดนาม
bullet44.Mynma-พม่า
bullet45.Galicia กาลิเซียน
bullet46.Kazakh คาซัค
bullet47.Kurdish เคิร์ด
bullet48. Croatian โครเอเซีย
bullet49.Czech เช็ก
bullet50.Samoa ซามัว
bullet51.Nederlands ดัตช์
bullet52 Turkmen เติร์กเมน
bullet53.PunJabi ปัญจาบ
bullet54.Hmong ม้ง
bullet55.Macedonian มาซิโดเนีย
bullet56.Malagasy มาลากาซี
bullet57.Latvian ลัตเวีย
bullet58.Lithuanian ลิทัวเนีย
bullet59.Wales เวลล์
bullet60.Sloveniana สโลวัค
bullet61.Sindhi สินธี
bullet62.Estonia เอสโทเนีย
bullet63. Hawaiian ฮาวาย
bullet64.Philippines ฟิลิปปินส์
bullet65.Gongni-กงกนี
bullet66.Guarani-กวารานี
bullet67.Kanada-กันนาดา
bullet68.Gaelic Scots-เกลิกสกอต
bullet69.Crio-คริโอ
bullet70.Corsica-คอร์สิกา
bullet71.คาตาลัน
bullet72.Kinya Rwanda-คินยารวันดา
bullet73.Kirkish-คีร์กิช
bullet74.Gujarat-คุชราด
bullet75.Quesua-เคซัว
bullet76.Kurdish Kurmansi)-เคิร์ด(กุรมันซี)
bullet77.Kosa-โคซา
bullet78.Georgia-จอร์เจีย
bullet79.Chinese(Simplified)-จีน(ตัวย่อ)
bullet80.Chicheva-ชิเชวา
bullet81.Sona-โซนา
bullet82.Tsonga-ซองกา
bullet83.Cebuano-ซีบัวโน
bullet84.Shunda-ชุนดา
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet86.Sesotho-เซโซโท
bullet87.NorthernSaizotho-ไซโซโทเหนือ
bullet88.Somali-โซมาลี
bullet89.History-ประวัติศาสตร์
bullet90.Divehi-ดิเวฮิ
bullet91.Denmark-เดนมาร์ก
bullet92.Dogry-โดกรี
bullet93.Telugu-เตลูกู
bullet94.bis-ทวิ
bullet95.Tajik-ทาจิก
bullet96.Tatar-ทาทาร์
bullet97.Tigrinya-ทีกรินยา
bullet98.Check-เชค
bullet99.Mambara-มัมบารา
bullet100.Bulgaria-บัลแกเรีย
bullet101.Basque-บาสก์
bullet102.Bengal-เบงกอล
bullet103.Belarus-เบลารุส
bullet104.Pashto-พาชตู
bullet105.Fritian-ฟริเชียน
bullet106.Bhojpuri-โภชปุรี
bullet107.Manipur(Manifuri)-มณีปุระ(มณิฟูรี)
bullet108.Maltese-มัลทีส
bullet109.Marathi-มาราฐี
bullet110.Malayalum-มาลายาลัม
bullet111.Micho-มิโช
bullet112.Maori-เมารี
bullet113.Maithili-ไมถิลี
bullet114.Yidsdish-ยิดดิช
bullet115.Euroba-ยูโรบา
bullet116.Lingala-ลิงกาลา
bullet118.Slovenia-สโลวีเนีย
bullet119.Swahili-สวาฮิลี
bullet120.Sanskrit-สันสกฤต
bullet121.history107-history107
bullet122.Amharic-อัมฮาริก
bullet123.Assam-อัสสัม
bullet124.Armenia-อาร์เมเนีย
bullet125.Igbo-อิกโบ
bullet126.History115-ประวัติ 115
bullet127.history117-ประวัติ117
bullet128.Ilogano-อีโลกาโน
bullet129.Eve-อีเว
bullet130.Uighur-อุยกูร์
bullet131.Uradu-อูรดู
bullet132.Esperanto-เอสเปอแรนโต
bullet133.Albania-แอลเบเนีย
bullet134.Odia(Oriya)-โอเดีย(โอริยา)
bullet135.Oromo-โอโรโม
bullet136.Omara-โอมารา
bullet137.Huasha-ฮัวซา
bullet138.Haitian Creole-เฮติครีโอล
bulletคำบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรแปล เช้า-เย็น
bulletChart Showing the Process
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี พ.ศ.2540 - 2566
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 1
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี 2
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี บุคคลที่ 1 - 188 ปัจจุบัน
bulletหนังสือพิมพ์ดี
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 1
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 2
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 3
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 4
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 5
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 6
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 7
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 8
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 9
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 10
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 11
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 12
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 13
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 14
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 15
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 16
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 17
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 18
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 19
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 20
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 21
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 22
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 23
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 24
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 25
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 26
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 27
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 28
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 29
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 30
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 31
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 32
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 33
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 34
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 35
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 36
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 37
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 38
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 39
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 40
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 41
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 42
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 43
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 44
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 45
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 46
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 47
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 48
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 49
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 50
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 51
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 52
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 53
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 54
bulletหนังสือพิมพ์ดี เล่มที่ 55
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 56
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 57
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 58
bulletหนังสือพิมพ์ดีเล่มที 59
bulletTo The World
bulletENGLISH
bulletUSA
bulletChina
bulletIndia
bullet Mynmar
bullet Cambodia
bullet Loas
bulletSri Lanka
bulletMalaysia
bulletKorea
bulletA Sharp Turn of Believes : Iresearch Iwrite Iread
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 1
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 2
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 3
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 4
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 5
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 6
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 7
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 8
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 9
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 10
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 11
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 12
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 13
bulletศึกษาโลกลี้ลับภาค 14
bulletMystery Report 15
bulletMystery Report 16
bulletMystery Report 17
bulletMystery Report 18
bulletMystery Report 19
bulletMystery Report 20
bulletMystery Report 21
bulletMystery Report 22
bulletMystery Report 23
bulletMystery Report 24
bulletMystery World Report 25
bulletศึกษาโลกลี้ลับ 26
bulletเฝ้าดูวัฒนธรรมโลกจากจอแก้ว วิเคราะห์ทุกปัญหาในโลกมนุษย์ด้วยสติปัญญาและเหตุผลวิทยาศาสตร์จากนสพ.ดี
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2536
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2537
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2538
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2539
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2540
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2541
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2542
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2543-2545
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2545-2549
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2549-2550
bulletเฝ้าดูฯ พ.ศ.2550-ส.ค.2551
bulletเฝ้าดูฯ ส.ค.-ก.ย.2551
bulletเฝ้าดูฯ ก.ย.2551- ธ.ค. 2551
bulletเฝ้าดูฯสำนวนพัชรา กอปรทศธรรม
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 16-27
bulletสำนวนพัชราตอนที่ 29
bulletบทความใหม่ เม.ย.-พ.ค.2552
bulletพุทธธรรมเพื่อทางดับทุกข์
bulletทฤษฎีการดับทุกข์ทางจิต วิปัสสนากรรมฐานโดยการทำงาน(สำนวนปรับปรุงใหม่)
bulletประวัติพัชรา กอปรทศธรรม
bulletประวัติการต่อสู้เพื่อการดับทุกข์ ของพัชรา กอปรทศธรรม
bulletอัลบั้มรูป history
bulletนิทานธรรมะประยุกต์ มานุสสาสุระสงคราม 4 ภาค และอื่น ๆ
bulletอัลบั้มรูป ภาพในอดีตและชีวประวัติศาสตร์ที่สวยงาม
bulletจากเวบบอร์ด พูดกันไม่รู้เรื่อง ประชาธิปไตยล้าหลัง
bulletศาสนาสากล การวิเคราะห์ความหมาย
bulletปลอบใจ
dot
รวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์ แนวปฏิรูปคณะสงฆ์อยู่ในบทวิเคราะห์นี้แล้ว
dot
bulletรวมบทวิเคราะห์กม.คณะสงฆ์
dot
สากลจักรวาล สากลศาสนา แนวคิดศาสนาสำหรับคนยุคใหม่ ผู้ก้าวผิดทางไปสู่สิ่งไร้สาระโดยไม่รู้ตัว
dot
bulletสากล...ศาสนา 1
bulletสากล...ศาสนา 2
bulletสากล...ศาสนา 3
bulletสากล...ศาสนา 4
bulletสากล...ศาสนา 5
bulletสากล...ศาสนา 6
bulletสากล...ศาสนา 7
bulletสากล...ศาสนา 9
bulletสากล...ศาสนา 8
bulletสากล...ศาสนา 10
bulletสากล...ศาสนา 11
bulletสากล...ศาสนา 12
bulletสากล...ศาสนา 13
bulletสากล...ศาสนา 14
bulletสากล...ศาสนา 16
dot
ส่วนข้อมูลสำคัญเพื่อการวิจัยการเมืองไทยยุค คมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
dot
bulletข้อมูลสำคัญยุคคมช.-รัฐบาลอภิสิทธิ์
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่1/26ส.ค.2551
bulletรายงานสดม็อบสนธิ-จำลอง-ปชป.เป่านกหวีดวันที่2/27ส.ค.2551
bulletใบปลิว อีเมล์ ในหลวงทรงร้องไห้
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 1
bulletในหลวงเพิ่งทราบข่าวฆ่าประชาชน10เมย.53ทรงร้องไห้
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
bulletบันทึกลับเสื้อแดงผู้รอดชีวิตจากทำเนียบรัฐบาล
dot
รวมข่าวม็อบการเมืองสนธิ-จำลอง-ปชป.มิ.ย.51-เม.ย.52 นสพ.
dot
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 2
bulletข่าวการเมืองแฟ้ม 3
bulletรวมข่าวม็อบ30มิ.ย.51-23มี.ค.52
bulletเลือดศรีสะเกษบันทึกเรื่องราวรอบด้านเกี่ยวกับเขาพระวิหาร
bulletรายงานการโฆษณาชวนเชื่อในประเทศไทยที่ล้มล้างรัฐบาลทักษิณ
bulletหนังสือพิมพ์ดี ของฟรีให้เปล่ามา20ปีแล้วทั้งเอกสารและอินเทอเนท
bulletหนังสือพิมพ์ดี ( อินเทอเนต ) เล่ม 1 - 44 - ล่าสุด
bulletหน้าที่เก็บไว้
bulletมูลนิธิพระเทพวรมุนี(เสน ปญฺญาวชิโร)
bulletวัดมหาพุทธาราม ศรีสะเกษ บันทึกเหตุการณ์
bulletสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดศรีสะเกษแห่งที่ 1
bulletเกี่ยวกับเวบไซต์ของเรา เราทำเพื่อปัญญาชนโดยแท้
bulletรวมกระทู้เด็ดจากกระดานถามตอบ
bulletคาถาอาคมไสยศาสตร์
bulletกวีนิพนธ์ใหม่
bulletศูนย์ปฏิญญาณละเลิกอบายมุข บัญชีที่ 1- 4


ประวัติของผมตอนที่ 6

 ประวัติของผมตอนที่ 6

ประวัติของผม พระพยับ ปญฺญาธโร

พระผู้มีปกติอยู่ด้วยอิริยาบถ ๓

ตอน 6

 

 

 

 

 

เรื่องราวของชีวิตผม ได้บอกข้อเท็จจริงว่า ในวัยเด็กของผม มีความสลับซับ ซ้อนแห่งพฤติกรรมของสังคมหลายรูปแบบ ผมได้เผชิญสถานการณ์สังคมมาหลายรูปแบบแต่จะเห็นว่าชีวิตผมมีจุดยืนอันเป็นผลให้สถานการณ์ที่สลับซับซ้อน กลับบันดาลผลดี อย่างยิ่ง ต่อภาคจิตวิญญาณของผม

 

ผมจะขอเรียกว่าการเผชิญของผมนั้น เป็นการเผชิญโลกที่สลับซับซ้อน และผมไต่ไปในตาข่ายแห่งความสลับซับซ้อนนั้น อย่างรู้เท่าทัน และ ด้วยการอุ้มชูประคับประคอง ของมือ 2 คู่ที่เข้มแข็งและอบอุ่น คือ มือของพ่อ และมือของแม่ทั้งสอง

 

เมือผมจากพ่อแม่มาไกลต่างถิ่นต่างแดน ผมก็รู้สึกว่าได้มีมืออีกคู่หนึ่ง รับช่วงอุ้มชูผมต่อมา และผมมีความเต็มใจที่จะเอ่ยว่า มือคู่นั้นคือมือคู่ของ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ บุคคลที่เขียนหนังสือ 4 เล่มที่ผมถือเอาเป็นบรรทัดฐานการประพฤติแห่งชีวิต นับ แต่เริ่มย่างเท้าก้าวเข้ามาสู่กรุงเทพมหานครคือ จิตตานุภาพ (ผมเรียกว่า กำลังใจ ในคราวก่อน) กำลังความคิด มหัศจรรย์ทางจิต และ มันสมอง (ในความเป็นจริงก็คือ ความคิดของ ท่านได้นำทางผมไปทุกอย่าง โดยที่ผมไม่เคยรู้จักหรือเห็นตัวของท่านเลย) ซึ่งเป็นผลให้ผมได้เผชิญชีวิตที่สลับซับซ้อนในช่วงต่อมาได้อย่างมีทิศทาง ผมได้มุดไต่ตาข่ายแห่ง สถานการณ์อันสลับซับซ้อนอย่างรอบรู้เท่าทันและมั่นใจต่อมา

 

 

 

ในความจริง ผมมีความปรารถนาส่วนตัวที่ลึกซึ้งอันหนึ่ง แต่ผมไม่กล้าเอ่ย และไม่เคยเอ่ยบอกใครเลยจนกระทั่งบัดนี้ นั่นคือ โดยใจจริง ผมอยากเป็นนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียง เมื่อผมจวนจบการศึกษาระดับมัธยมปลาย คือ ม 6 สมัยนั้น ผมพยายามอ่านหาว่ามีที่ไหนที่สอนวิชานี้บ้าง ก็ไม่พบ ไม่เห็นมี ครูก็ไม่เคยบอกเรื่องนี้เลย และผมก็ไม่ กล้าถาม ในขณะนั้น ผมมีความรู้สึกที่ไม่ชัดเจนนักว่าทำไมจึงรู้สึกอายหากจะบอกใครว่า ผมอยากเป็นนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ผมจึงเดา ๆ เอาว่า อักษรศาสตร์ และ วารสารศาสตร์น่าจะใกล้เคียง (ผมได้เรียน อักษรศาสตร์ ที่ ร.ร.เตรียมอุดมศึกษา และ วารสารศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) แต่ผมจักได้พบความสมหวังดั่งใจก็หาไม่ และความใฝ่ปรารถนาอันนี้ก็คุกรุ่นในใจต่อมา จนกระทั่งผมได้ผ่าน เอนทรานซ์ เข้าเรียนต่อในชั้นปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ ของนิด้า ในปี พ.ศ. 2509 วันหนึ่งได้มี เรื่องราวที่ตอกย้ำเข้าไปในความใฝ่ปรารถนาของผมลึกซึ้งไปอีก คือขณะที่ มร.ไฟร [Mr.Gerald Fri] อาจารย์หนุ่มอเมริกัน ซึ่งเป็นอาจารย์ตามโครงการช่วยเหลือทางวิชาการ ของมหาวิทยาลัย อินเดียน่า สหรัฐอเมริกา ที่สอนวิชา Micro Economics (เศรษฐศาสตร์จุลภาค)เข้าสอนอยู่ มีช่วงท้ายชั่วโมงสอนท่านเปิดสมอง ให้นักศึกษาในห้องเรียนแต่ละคนเล่าเรื่องให้เพื่อนฟัง จะเล่าอะไรก็ได้สั้น ๆ เพื่อนนักศึกษาก็ลุกขึ้นเล่ากันไป ยิ้มหัวเราะ หรือแม้เฮฮากันไปก็มี เพราะอาจารย์เปิดให้ อย่างอิสระ ใครจะพูดเรื่องอะไรอย่างใดได้ทั้ง สิ้น ผมเองจำได้ดีว่าผมได้เล่าเรื่องต่อไปนี้

 

 

 

วันหนึ่ง ขณะที่ผมยืนอยู่ริมฝั่งถนนที่สะพานควาย(กรุงเทพฯ) ผมมองไปที่ฝั่งตรงกันข้าม เห็นหมาใหญ่ตัวหนึ่ง ดูมันแก่มากแล้ว แต่ก็แข็งแรง ผมเห็นมันวิ่งไปแล้ววิ่งกลับมาที่เดิมอยู่หลายหน ผมอยากรู้ว่ามันกำลังคิดอะไรอยู่ ผมจึงหยุดคอยดูอยู่ตรงนั้น แล้วก็รู้ว่ามันมีความกังวลใจ ไม่กล้าตัดสินใจข้ามถนน เพราะถนนย่านสะพานควายก็คือ พหลโยธิน ที่มีความกว้างมาก และรถราก็ขวักไขว่อยู่ตลอดเวลา และแล้วผมก็เห็นมันหยุด คล้ายว่ามันได้ตัดสินใจ  เห็นมันวิ่งข้ามถนนมาทางฝั่งที่ผมยืนอยู่ มันหลีกรถไปได้หลายคันแต่แล้วรถยนต์คันหนึ่งก็วิ่งมาโดยเร็ว ชนมันเข้าอย่างแรงจนกระเด็นไปหลายวา ฟุบอยู่กลางถนน ผมตกใจมากเพราะไม่คิดว่ามันจะกล้าตัดสินใจ ชะเง้อตามไปดู เห็นมันยังไม่ตาย พยายามทรงตัวลุกขึ้น แต่ก็ลุกไม่ขึ้น แต่สายตาของมันมองตรง ไปที่ฝั่งถนนที่มันจะข้ามไป ผมได้ยินเสียงมันคราง ก่อนที่จะฟุบลงไปสิ้นใจตายว่า ข้าไปไม่ถึงฝั่งเสียแล้วหนอ

 

 

 

มร.ไฟร ชอบเรื่องที่ผมเล่านี้มาก ปรบมือสรรเสริญ แล้วพยากรณ์ชะตาชีวิตผมว่า ต่อไปข้างหน้า ผมจะเป็น “The Greatest Novelist of Asia” นักประพันธ์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของทวีปเอเซีย)

 

ซึ่งสมัยก่อนนั้น เมื่อกำลังศึกษาปริญญาตรี ผมก็ได้เคยทุ่มเทความพยายาม ฝึกหัดเขียนเรื่องสั้นอย่างมากมายมาแล้วและเสียพลังงานในการฝึกหัดนี้ไปมาก

 

กระนั้นผมก็ยังเขียนนิยายไม่เป็น ในสมัยนั้นก็มีอาจารย์สอน แต่อาจารย์ผู้สอนก็เขียนไม่เป็นเหมือนกัน (หากแต่สอนได้ทั้งปี) ผมก็ได้แต่ฝึกหัดไปไม่เลิกรา แต่การฝึกหัดเขียนดังกล่าวนี้ แม้เขียนเสร็จเป็นรูปร่างออกมา จบลงแล้ว(อย่างลำบากยิ่ง เพราะเขียน ๆ ไปมักหาที่จบไม่ลง ยาวออกไปเรื่อย ๆ) แต่เมื่ออ่านดูแล้วก็ไม่เคยพอใจ กลับนึกทุเรศตัว เองที่เขียนอะไรไม่เป็นสัปปะรด ก็ขยี้ปาลงตะกร้าเสียทุกครั้งคราวไป คิดว่าเราต้องการ เขียนนิยาย แต่ไม่เป็นนิยายสักที มักเป็นบทความ บทวิจารณ์ หรือเรียงความที่มี สำนวนพิกล ๆ ไปอีกแบบหนึ่ง

 

ในขณะนั้น ผมได้อ่าน กุหลาบเมาะลำเลิง ของหลวงวิจิตรวาทการ แต่ผมคิดว่าหลวงวิจิตรวาทการเขียนนิยายไม่เป็นนิยายเหมือนกัน (คือเรื่องนิยายของท่านไม่ใช่แบบที่ ผมคิดที่ผมต้องการเขียน ที่ผมต้องการคือนิยาย ตามความหมาย นิยายแปลว่านิยาย:เรื่องที่อ่านสนุกมาก ๆ ประหลาด มหัศจรรย์ ตื่นเต้น แสดงความกล้าหาญและทรงคุณธรรม )

 

 

 

เรื่องสุดท้ายที่ผมเขียนแล้วขยี้ทิ้ง และหมดสิ้นความพยายามที่จะเป็นนักประพันธ์ใหญ่เสียทีก็คือเรื่องที่ผมเขียนในฤดูหนาว ปี พ.ศ.2515 ช่วงนั้นผมอยู่บ้านสวนฝั่งธนบุรี ใกล้ ๆ วัดบางกระทูนนอก เป็นช่วงจำศีล 10 ปีที่เล่ามาแล้ว(ระหว่างพ.ศ. 2512-2522) ผมเขียนเรื่องไม้หมอนรางรถไฟ ในฤดูหนาวปีนั้นที่หนาวจัด ผมพยายามจะ เขียนให้หมู่ไม้หมอนเหล่านั้นมีชีวิต และพวกมันได้แบกรับภาระหน้าที่ของมันมานานแสนนานอย่างไม่เคยพร่ำบ่นจนกระทั่งบางอันก็ผุกร่อนไปตามกาลเวลา แต่พวกมันก็ยังคง ต้องแบกภาระอยู่ต่อไป เพราะไม่มีการสับเปลี่ยนไม้หมอนใหม่ เป็นเหตุให้ล้า กำลังที่ ต้านรับน้ำหนักรถไฟก็ล้าลงไป เวลารถหนัก ๆ เปิดหวูดสัญญาณผ่านมา พวกมันก็พากันร้องเรียกเตือนกันเองว่ารถหนักมาแล้วระวังให้ดี พวกมันก็ตื่นตัว ช่วยกันยึด ช่วยกันแบก ไว้อย่างเหนียวแน่น และรู้สึกเหน็ดเหนื่อยเกินกำลัง วันหนึ่งอากาศหนาวจัดลงไปอีก หมู่ไม้หมอนเก่าชราภาพต่างหดเย็นลง เป็นเหตุให้สภาพภายในแตกร้าว เมื่อรถไฟ บันทุกสินค้าหนักผ่านมาเช้ามืดวันนั้น หมู่หมอนรถไฟก็รับไม่ไหว ที่ทางโค้งฉีกออกไป ก่อน แล้วหมู่อื่น ๆ ก็หลุดกระเด็นกระดอนตามกันว่อนไป รถไฟตกราง พลิกคว่ำลงคลองข้างทาง เป็นเหตุให้เกิดโศกนาฎกรรมใหญ่ในปีนั้น และพวกไม้หมอนต่างจดจำ รำลึกต่อมาและยังทาวหาความผิดอยู่ว่า พวกเขาหรือที่ทำผิดไว้ในคราวนั้น ?

 

 

 

ผมเขียนเรื่องนี้อยู่ทั้งวันทั้งคืน ไม่ได้หลับนอน ใช้พลังความพยายามและสมาธิ อย่างมาก จนเขียนเสร็จ แต่ก็ไม่เป็นนิยายอย่างที่หวัง รู้สึกว่าบางตอนมีรายละเอียดมาก เกินไป บางตอนก็มีน้อยเกินไป เรื่องที่เดินไปไม่เป็นแบบนิยาย ไม่สามารถจัดการเนื้อความ พลความและกระทั่งบทสนทนาต่าง ๆให้ลงตัวพอดีได้ มันเป็นเพียงเรียงความร้อยแก้วที่เละเทะเรื่องหนึ่งอีกตามเคย ไม่เห็นแววเลยว่าจะเป็น “The Greatest Novelist of Asia” ได้อย่างไร ผมจึงวางมือและไม่คิดถึงมันอีกต่อไป จนกระทั้งบวชแล้ว ในปีพ.ศ.2533 ผมมาเป็นเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษแล้ว ในเดือนพฤษภาคม ปีนั้นผมระลึกเรื่องการจำศีลขึ้นมา จึงเขียนพินัยกรรม แล้วไปอยู่ป่าช้า 2 แห่ง คืออยู่ป่าช้าโพนเขวา 15 วัน 15 คืน อยู่ป่าช้าจีน สุสานสุขาวดี 21 วัน 20 คืน (อยู่คนเดียว) ผมเกิดกระหวัดใคร่เขียนนิยายขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง และเริ่มเขียนนิยายชุด อาลัยบาปถึง ธารมโนเพชร ในป่าช้าทั้งสองแห่งนั้น ตามที่ผมได้จัดพิมพ์ถวายเพื่อนเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดภาคอีสานอ่านไปแล้วนั่นแหละครับ นี่แหละที่ผมพอใจว่าเป็น นิยายอย่างที่ผมต้องการจะเขียน และนอกจากนั้น ผมยังได้รับรางวัลจาก โครงการวรรณกรรม บัวหลวง ของธนาคารกรุงเทพด้วย เป็นปัจยธนัง 2,000 บาท (ซึ่งผมภูมิใจมากเพราะ เป็นนิยายเรื่องแรก ที่เขียนแล้วได้รับรางวัลเลยทีเดียว) และหลวงพ่อพระเทพวรมุนี เจ้า คณะจังหวัดศรีสะเกษ อันเป็นหลวงพ่อของผมก็ได้ยกย่องไว้อย่างสูงมาก ดังที่ผมเล่าให้ฟังไปแล้ว ท่านว่า เหมือนเรื่องในนิทานธรรมบทของท่านพุทธโฆษาจารย์นู้นเลยทีเดียวและแล้วหลวงพ่อผมท่านก็พลิกบาลีบทหนึ่งให้ผมอ่าน ความว่า

 

 

 

ยโตหํ ภคินิ อริยาย ชาติยา ชาโตนา' ภิชานามิ สญฺจิจฺจ ปาณํ

ชีวิตา โวโรเปตา, เตน สจฺเจน โสตฺถิ เต โหตุ, โสตฺถิ คพฺภสฺส.

 

ซึ่งแปลสู่ภาคภาษาไทยได้ว่า

 

ดูก่อนน้องหญิง ตั้งแต่เราเกิดแล้วโดยชาติอริยะ ก็ไม่รู้จักแกล้งปลงชีพสัตว์มีชีวิตทั้งหลาย ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแด่เธอ ขอความสวัสดีจงมีแด่ครรภ์ของเธอ

 

มาจากอังคุลิมาลปริตร นั่นเอง (คำแปลผมปรับเปลี่ยนสำนวนบ้าง)

 

 

 

เรื่องราวของผมเท่าที่เล่ามา บอกว่าวิถีชีวิตของผมเป็นไปอย่างดีในเส้นทางโลก ไม่มีเค้าว่าจะเกี่ยวข้องทางธรรมะอย่างไรเลย แต่ความจริงเป็นเส้นทางขนาน โลกและธรรมวิ่งขนานไปพร้อมกันในวิถีชีวิตของผม แต่ทางโลกปรากฎเปิดเผยเห็นวิถีชีวิตเป็นรูปธรรม ชัดเจน แต่ทางธรรมของผมคือความครุ่นคิด ตรึกตรอง และการตัดสินใจที่ง่าย เมื่อผมมองเห็นการกระทำใดว่า ผิดผมจะหยุดทันที ผมเคยสูบบุหรี่จัด ขณะที่เป็นทหารอยู่กอง บัญชาการทหารสูงสุด พอนึกเห็นว่า สูบบุหรี่ ทำให้เสียเวลา ผมก็หยุดทันที ทำได้และ ง่ายดายไม่ยากเพราะมีพลังจิตสูง ทำแบบคนมีอำนาจ ใช้อำนาจจิตที่สูงส่งเข้าระงับควบคุมให้เป็นไปดั่งใจปรารถนาในทันที ผมเข้าใจคุณค่าทางจิตแบบนี้ดีคือ จำเป็นต้องสร้าง อำนาจจิตขึ้นเพื่อประโยชน์เช่นนี้ คือเพื่อต่อสู้กับความคิดฝ่ายต่ำ ถ้าไม่มีอำนาจทางจิต ไม่ฝึกจิตให้เข้มแข็งมีอำนาจก็จะต่อสู้กับความใฝ่ต่ำ-ความชั่วได้ยาก และจะปฏิบัติธรรมไปในทางธรรมได้ยาก หรือไม่ได้เลย เมื่อผมบวช ผมคิดว่า โกนผมเองซิ ผมก็จับมีดโกนขึ้นโกนผมเอาเองได้ทันทีทั้งมือซ้ายมือขวา ไม่ต้องดูกระจกเงา ก็โกนเกลี้ยง และความจริง การโกนผมด้วยตนเองก็ใช้สมาธินิดหน่อยเท่านั้นเอง

 

 

 

ตั้งแต่เป็นนักเรียนชั้นประถม สุขบัญญัติ 10 ประการ มีอยู่ข้อหนึ่งที่ว่า กินผักสดผลไม่ให้มากทุกวัน ละเว้นการดื่มน้ำชาหรือกาแฟผมก็ถือปฏิบัติตามมาโดยตลอดจนถึงทุกวันนี้ก็ไม่ดื่มน้ำชาหรือกาแฟอยู่ เช่นเดียวกับ เสียชีพอย่าเสียสัตย์คำ ปฏิญญาณของลูกเสือ ที่สอดคล้องกับคุณธรรมอันล้ำเลิศของบุคคลในประวัติศาสตร์ อย่างพันท้ายนรสิงห์ ที่ได้เรียนมาในชั้นประถมศึกษา ได้ปลุกสำนึกอันสูงส่งแห่งคุณธรรม ทางจิตวิญญาณของผมและแน่วแน่มั่นใจประพฤติตาม

 

 

 

ผมพยายามทำตนให้เป็นคนดีที่ว่านอนสอนง่าย ธรรมะที่ว่าด้วยความงามมี 2 คือขันติ กับโสรัจจะ ผมก็ประพฤติ เวลาแต่งตัวไปเที่ยวงาน ก็เอาผ้าขาวม้าพาดบ่าอย่างเรียบร้อย โดยนึกในใจว่าปฏิบัติธรรมข้อที่ว่าด้วย โสรัจจะ ทำให้ใครต่อใครหัวเราะชอบใจกัน ส่วนขันตินั้น ก็ปฏิบัติอยู่เป็นปกติมาตั้งแต่เด็ก ๆ ตามประวัติตอนต้น ๆ ของผมก็ เห็นชัดเจนอยู่แล้วโดยเฉพาะประวัติศาสตร์บนต้นมะตูม หรือตามพ่อไปนาป่าเผชิญห่าฝนหนาว ภายหลังขันติทางจิตใจทำได้ยากกว่า เรื่องมารยาทผู้ดี เช่นมารยาทในการพูด มารยาทในการรับประทานอาหาร มารยาทในการแต่งตัว เรื่อง สมบัติผู้ดี ตามที่เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี เรียบเรียงไว้ ก็พยายามจะทำจะประพฤติให้ได้ ผมไม่เข้าใจ ธรรมะอยู่ประการหนึ่งคือ ธรรมะแห่งความกล้าหาญ ที่ได้พบตั้งแต่เป็นเด็ก คือ เวสารัชชกรณธรรม มี ศรัทธา ศีล พาหุสัจจะ วิริยารัมภะ ปัญญา 5 อย่าง ผมไม่เข้าใจว่าศีลทำให้เกิดความกล้าหาญอย่างไร ปัญญาทำให้เกิดความกล้าหาญอย่างไร คิดและมองลักษณะความกล้าหาญอย่างวีรบุรุษในวรรณคดีไปหมด คือความเก่งกล้าสามารถในการรบการต่อสู้ การใช้เวทมนต์คาถาอาคม และการใช้อาวุธวิเศษต่าง ๆ พอเข้ามหาวิทยาลัย ผมได้พบพุทธภาษิตบทหนึ่ง เพื่อนชื่อ วรรณดี สรรพจิต (ผอ.องค์การฟอกหนังผู้ชนะเลิศการประกวดกวีนิพนธ์สมโภชน์ 200 ปีกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2525 ประเภทคำฉันท์ ได้ รางวัล 100,000 บาท) ชี้ชวนให้ดู มีว่า

 

 

 

เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ จิตฺตํ ราชรถูปมํ ยตฺถ พาลา วิสีทนฺติ นตฺถิ สงฺโค วิชานตํ” 

สูเจ้าทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ อันตระการดุจราชรถ ที่พวกคนเขลาหมกอยู่ แต่พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่

 

 

 

เป็นที่ซาบซึ้งกินใจผมมาก (อินทรวิเเชียรฉันท์บทที่ว่า "โอ้ราชรถทรง วรองคราชัณย์ ล้วนงามวิจิตรสรร-พ" อันเป็นส่วนหนึ่งของบทกวีชนะเลิศนี้วรรณดีเขียนจากบาลีบทนี้ และเขียนไว้นานแล้วตั้งแต่ยังเรียนมหาวิทยาลัย วรรณดี เป็นเพื่อนร่วมห้อง พักที่วัดราชาธิวาส เคยไปคุยด้วยที่วัดนั้น วรรณดีเคยลาออกจากตำแหน่ง ผอ. ออกบวช ว่าจะบวชตลอดชีวิต แต่ไปได้เพียงปีเศษ ๆ กลับออกไปเป็นผอ.ใหม่ ) ต่อมาได้พบ มงคลชีวิต 38 ประการ ผมก็พยายามเอามาวัดตัวเอง ตั้งใจประพฤติให้ได้ ประพฤติไประยะหนึ่งก็มาตรวจสอบดูว่าผลเป็นอย่างไร และได้ เพิ่มไปกี่ข้อ ๆ จนกระทั่งได้เกือบหมด เหลืออยู่เพียงไม่กี่ข้อ ที่ผมประพฤติไม่ได้ [เช๋น ปุพเพกตปุญญตา ความที่ได้ทำบุญไว้แต่ปางก่อน เมื่อนึกคำว่าปางก่อน ก็มักนึกเรื่อง กามนิต วาสิฎฐี เมื่อต่างไปจุติบนดอกบัวในแดนพรหมโลก กามนิตรำลึกได้ว่านักบวชโล้นที่สนทนาธรรมะกับตนในบ้านนายช่างหม้อคืนนั้น ก็คือพระพุทธเจ้าผู้ที่ตนบากหน้าไปตามหานั่นเอง อยู่กับพระองค์ท่านคุยกับพระองค์ท่านทั้งคืนแต่หารู้จักพระองค์ท่านไม่ เสียชาติเกิดกามนิตจริง ๆ นี่คือชาติปางก่อนที่เข้าใจ มาตาปิตุอุปฎฺฐานํ บำรุงบิดามารดา ก็ หย่อนเพราะท่านไม่เอาจากเรา เคยเอาเงินไปให้เมื่อได้ทำงานใหม่ ๆ 2,000 บาท แม่ก็ไม่ เอาบอกว่าเอาไว้ใช้เองเถิดเอาตัวให้รอดก็พอแล้ว อนวชฺชานิ กมฺมานิ กรรมทั้งหลายไม่มีโทษ ก็คงมีอยู่บ้างเพราะการคบเพื่อนหลายหลากบุคคลิกภาพ อารตี วิรตี ปาปา ความงดเว้นจากบาป ก็พยายามให้สะอาดแต่เป็นฆราวาสนี้ยาก เพราะต้องทำมาหาเลี้ยงชีพ แต่ศีล 5 เราก็บริสุทธิ์พอสมควร ยกเว้นทางใจบางข้อ ข้อ 3 ทำยากเพราะกำลังเป็น หนุ่ม มักคิด สมณานญฺจ ทสฺสนํ ความเห็นสมณะทั้งหลาย ไม่แน่ใจว่าเข้าใจความหมายถูกต้องหรือไม่ บอกไม่ได้ว่าผ่านหรือเปล่า ตโป ความเพียรเผากิเลส เราคิดว่าเราผ่านเพราะวิถีการฝึกจิตที่หลวงวิจิตรวาทการสอนเน้นเรื่องตปะนี้โดยตรง อริยสจฺจาน ทสฺสนํ ความเห็นอริยสัจทั้งหลาย นิพฺพานสจฺฉิกิริยา ความทำพระนิพพานให้แจ้ง สองข้อนี้ ไม่ผ่านแน่นอน มิฉะนั้นแล้วก็คงบรรลุโสดาไปแล้วสิเรา อโสกํ ไม่มีความโศก วิรชํ ความปราศจากธุลี เขมํ ความเกษม เราได้ไปมากทีเดียว แต่กล่าวไม่ได้ว่าผ่องแผ้วบริสุทธิ์ เต็ม 100 ไม่งั้นก็ระดับอรหันต์แล้วซิ]

 

 

 

การจูงใจของหลวงวิจิตรวาทการ นับว่าได้ผลสำเร็จสำหรับผม เพราะท่านมักเล่า อัตชีวประวัติมหาบุรุษ บุคคลสำคัญ ๆ มาประกอบ เป็นหลักฐานยืนยันฐานะผู้ประสบผลสำเร็จทางจิตตานุภาพ และวีรบุรุษที่ผมชอบก็มีหลายคน ๆ หนึ่งคือ นโปเลียน โบนาพารท ผมเริ่มสนใจตอนนายพลหนุ่มพบแม่หม้ายโยเซฟฟิน เพราะคล้าย ๆ คำ ทำนายที่คนทรงเคยทำนายผม(คนทรงตรอกจันทร์ ยานนาวา ทรงพระปิยมหาราช ว่าผม จะได้คู่ครองเป็นแม่หม้ายทรงเครื่อง จะมีบ้านช่องใหญ่โตมหโหฬาร) เคยชอบนิยมเนลสันมาก่อน ตั้งแต่เรียนชั้นมัธยมศึกษา หนังสือสองเล่มคือ เนลสัน แม่ทัพเรืออังกฤษ กับ ไทยชนะ (พระองค์เจ้าพีระ แข่งรถในยุโรป ชนะรวด เป็นเจ้าดาราทอง 3 ปีซ้อน ไม่ใช่ ธรรมดาเลย) หาอ่านไม่มีแล้ว หลวงวิจิตรวาทการมาเน้นประเด็นเกี่ยวกับจิตตานุภาพ มันสมอง มหัศจรรย์ทางจิต และกำลังความคิด นโปเลียน โบนาพาร์ท สามารถจะหลับ ขณะใดก็ได้ แม้อยู่บนหลังม้าท่ามกลางข้าศึก มีมันสมองเหมือนลิ้นชัก แต่ละลิ้นชัก เก็บเรื่องราวคนละอย่างคนละเรื่อง ไม่ปะปนกัน จะใช้ลิ้นชักไหนก็เปิดเฉพาะลิ้นชักนั้น ผม พยายามเอาอย่างและภายหลังร่วม 20 ปีเศษ ๆ ต่อมาผมก็รู้สึกคล้าย ๆ ว่าผมพอใจ

 

 

 

เรื่อง ความอธิษฐาน ผมก็ตั้งใจฝึก จนสามารถกำหนดเวลาตื่นนอนได้โดยไม่ต้อง ใช้นาฬิกาปลุก ในเรื่อง ความเคารพตนเอง การดำรงตนเป็นคนมีเกียรติยศ ทำตัวให้ เป็นคนที่เตือนตนเอง อย่าให้ใครเตือน รู้ดีด้วยตนเอง รู้ชั่วด้วยตนเอง เตือนตนแล้วแก้ไขตนเอง ผมก็ทำแบบฝึกหัดประการหนึ่งอย่างหนักมากคือการให้สัตย์กับตนเองว่าตื่นนอนเวลา 4.30 น.แล้วทุกวัน จะต้องอาบน้ำ ก็ได้เผชิญปัญหาอันใหญ่หลวงเมื่อมาถึงฤดูหนาว และปีนั้นผมอาศัยอยู่บ้านพี่สาวที่กม.25 ดอนเมือง อันเป็นที่จัดสรรกองทัพอากาศยังเป็นท้องไร่ท้องนาโล่งอยู่ อากาศปีนั้นหนาวเย็นมาก ตื่นขึ้นมาตอนตี 4.30 น. น้ำที่อาบเป็นน้ำบาดาลสูบใส่ตุ่มมังกรไว้ข้างรั้วบ้าน ก็เท่ากับแช่แข็งเอาไว้ ตอนเช้าตรู่ ผมอาบน้ำซู่ ๆ เหมือนมีมีดโกนนับร้อยพันเล่มเชือดเฉือนไปทั่วทั้งร่าง วันแล้ววันเล่า ราวกับ จะท้าทายความหนาวเหน็บของปีนั้น จิตตานุภาพก็เพิ่มพูนแข็งแกร่ง ดวงตาเข้ม เป็นดุจดังตาเสือ (เช่นที่ผมเห็นมาแต่เด็ก ๆ)

 

 

 

สิ่งที่หลวงวิจิตรวาทการสอนนั้น มักจะสอดคล้องหลักพระพุทธศาสนา ท่านสอนให้ทำงานอย่างมีความตั้งใจ ทำงานเล็ก ๆ ก็ให้ใช้ความตั้งใจเอาใจใส่เท่า ๆ กับการ ทำงานใหญ่ ๆ เช่นก้มลงจะหยิบเข็มสักเล่มบนพื้นห้องก็ให้ใช้ความตั้งใจที่จะหยิบนั้นเท่า ๆกับการแบกตุ่มมังกร หรือสร้างเรือรบ ซึ่งเป็นเคล็ดลับแห่งการฝึกจิตที่สำคัญ ที่ให้คุณมาก เป็นการฝึกสร้างความสมดุลย์แห่งบุคคลิกภาพ สร้างนิสัยความละเอียด เอาจริงจัง ไม่ มักง่าย ไม่เลินเล่อ ในการฝึกจิต ท่านให้ตั้งความหวังไว้ให้สูงส่ง และให้ชอบความเป็นผู้ชนะ ชอบความเป็น 1 รักเลข 1 ซึ่งตรงกับมติในใจผมมานานแล้ว ผมจึงตั้งใจปฏิบัติตามอย่างเงียบ ๆ ไม่ให้ใครรู้ว่าเราปฏิบัติอะไรอยู่ เมื่อเข้าห้องเรียนก็จะเลือกโต๊ะตัวที่ 1 เข้าร้านอาหารก็จะเลือกโต๊ะหมายเลข 1 หากไม่ว่างก็จะคอยจนโต๊ะหมายเลข 1 ว่างก็จะ รีบเข้าไปยึดครองโต๊ะหมายเลข 1 นั้นทันที ฝึกทำเช่นนี้อยู่นาน ในขณะเดียวกันก็ฝึกเดิน เวลาเดินให้พยายามเดินเป็นเส้นตรง อย่าหลบทางให้ผู้ใด แต่ให้สั่งด้วยอำนาจจิตไปข้างหน้าว่า เจ้าจงหลบทางเรา ๆ หลวงวิจิตรวาทการบอกว่า ถ้าเขาไม่หลีกก็ให้ชนโครมเข้า ไปเลย เพื่อยืนยันน้ำจิตน้ำใจอันมั่นคงของเราและเพิ่มพูนกระแสตรงแห่งดวงจิต คราวนั้นการฝึกและวิธีทำก็คือ เช้า เย็น เดิน จากที่พักถนนสาธรใต้ ไปมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นระยะทางไกลเหมือนกันเดินจนเหนื่อยละ ประมาณก็ 6 กม. ไม่ยอมนั่งรถเมล์ หรือ รถราง เดินได้เดือนเศษ ๆ ก็หยุด เพราะป่วยไข้ ร่างกายทรุดโทรม เพราะต้องเดินทุก วันทั้งเช้าและเย็น ทั้งต้องเดินอย่างมีระเบียบ เร็วและตรง และไม่หยุดผ่อนหย่อนพักลม หายใจ ทำแบบรวดเดียวม้วนเดียวจบ หักโหมมากไปจึงเหนื่อยมาก กระนั้น นี่ก็คือการอบรมอย่างเข้มคอร์สหนึ่งละ ใช้เวลาถึง 1 เดือนเศษ ๆ (ขณะนั้น ยังไม่ได้เรียนรู้พระพุทธศาสนา จึงได้ใช้แต่ความทรหดอดทน ความพยายามอย่างเดียวไปปราศจาก ปัญญา เมื่อรู้พระพุทธศาสนาแล้ว การเดินก็ไม่เหน็ดเหนื่อย เพราะเป็นการเดินแบบไร้ตัวตน ไม่มีตัวตนแบกรับความเหน็ดเหนื่อย ก็สามารถเดินหรือทำอะไรได้มากได้นานโดยไม่เหน็ดเหนื่อย) แต่ผลการฝึกก็ได้จิตตานุภาพเพิ่มพูนขึ้นไปอีก

 

 

 

อย่างไรก็ตาม ในที่สุด ผมก็มาสะดุดเข้ากับสัจธรรมข้อหนึ่งที่ว่า หากเราทุก ๆ คนตั้งใจจะเอาที่ 1 อย่างที่ผมฝึก ๆ มาแล้วนี้ อะไรจะเกิดขึ้น เมื่อคนต่างก็ไม่ยอม ต่าง จะเอาที่หนึ่งให้ได้ ก็นึกเห็นไปว่า น่าจะไม่ใช่วิธีการฝึกจิตที่ถูกต้องเสียแล้ว เพราะคง จะก่อให้เกิดการโกลาหลวุ่นวายอย่างแน่นอน อย่างน้อยที่สุดที่ผมมองเห็นก็คือ มิใช่วิธี การที่ทรงความยุติธรรม มองไปลึก ๆ ก็เห็นว่าเป็นวิธีการส่งเสริมให้คนเห็นแก่ตัวไปเสียอีก ผมก็เริ่มรู้สึกหน่ายในวิธีการของหลวงวิจิตรวาทการ ด้วยเหตุนี้ ผมจึงเริ่มมาคิดหาวิธี ใหม่ และเริ่มสนใจหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า และได้พบสุภาษิตที่ว่า จิตฺตสฺสทมโถ สาธุ การฝึกจิตเป็นความดี พระพุทธองค์ทรงฝึกจิตอย่างไร ก็เป็นคำถามที่ตั้งขึ้นภายในจิตใจของผม ขณะที่ความคิดใหม่เริ่มขึ้น ผมก็เริ่มวกมาคิดถึง เวสารัชชกรณ ธรรม ธรรมแห่งความกล้าหาญใหม่อีกครั้ง พยายามทำความเข้าใจว่า ศีล ทำให้เกิด ความกล้าหาญขึ้นมาได้จริงหรือ และได้อย่างไร กระนั้นก็ยังไม่ค่อยเข้าใจนัก วิริยารัมภะ ความพากเพียร ทำให้เกิดความกล้าหาญขึ้นได้อย่างไร ศรัทธา พาหุสัจจะ ปัญญา ทำให้เกิดความกล้าหาญขึ้นมาได้อย่างไร ไม่ค่อยชัดเจนเสียเลย มองไม่ออกว่าทำให้เกิดความกล้าหาญอย่างไร (เพราะเป็นความกล้าหาญสูงสุดแห่งบุคคลผู้กล้าหาญในพระพุทธศาสนา ซึ่งขณะนั้นยังไม่สามารถเข้าใจได้ แม้จะใช้ความพยายามอย่างมากเพื่อทำความเข้าใจ) แต่เมื่อพบสุภาษิตอังกฤษ ที่ว่า The modest is the bravest. ผู้สุภาพที่สุดคือผู้ที่กล้าหาญที่สุด แล้ว ก็ทำความเข้าใจได้ง่ายพอใจมาก ลักษณะนี้แหละ..ที่ผม เห็นได้จากวีรบุรุษอังกฤษ ในหนังสือ เนลสัน แม่ทัพเรืออังกฤษ ผู้พิชิตนโปเลียน โบนาพาร์ท และก็ตรงกับสุภาษิตที่พ่อผมเขียนเอาไว้ที่ประตูห้องครัว สมัยผมเริ่มอ่านออกเขียนได้ว่า อวดกล้าคนขลาด อวดฉลาดคนโง่ อวดโก้คนจน มีเงินหน้าสด หมดเงินหน้าจ๋อยคนที่กล้าหาญจริง ๆ ดูจะสุภาพเอามาก ๆ ความประพฤติก็เนิบช้า ละมุนละไมแต่เวลาปฏิบัติการเฉียบขาด และมั่นคงในสัจจะวาจา

 

 

 

แนวคิดตอนหลังนี้ที่เป็นหลักคิดโดยตลอดมาในช่วงหลังนี้ก็คือหลักการตัดสินคุณธรรม ตัดสินด้วยหลักคิดที่ว่า หากว่าคุณธรรมนั้นดีแล้ว เมื่อคนหลาย ๆ คนปฏิบัติได้พร้อมกันเช่นนั้นแล้ว ทุกคนควรจะได้ผลเท่ากัน ได้ตำแหน่งเหมือน ๆกันทุกคน นึก ๆ ก็ไม่เห็นว่าวิถีทางโลกจะเป็นไปได้ นอกจากแนวทางพระพุทธศาสนาและเป้าหมายปลายทางสูงสุดแห่งพระพุทธศาสนา พอจะเข้าใจและเห็นชัดเจนว่า ไม่จำเป็นต้องแก่งแย่งกัน ไม่มีความจำกัดแห่งตำแหน่งพระอรหันต์ ผู้ประพฤติธรรมสำเร็จแล้วล้วนมีตำแหน่งทุกคน ตำแหน่งจะมีพอ มีเท่า ๆ กับจำนวนผู้บรรลุธรรมเสมอ บรรลุธรรม 1 ล้านคนก็ได้ ตำแหน่ง 1 ล้านตำแหน่ง โดยไม่เบียดแย่งกันเหมือนวิถีทางโลกที่คนมักแย่งตำหน่งหน้าที่ราชการงานเมืองกัน ใจก็ค่อยน้อมไปในทางพระพุทธศาสนา นึกถึงตำแหน่งแห่งพระอริยบุคคล นึกถึงเรื่องราวของพระอรหันต์ทั้งหลาย

 

 

 

ในขณะเดียวกันกับที่ผมเข้มงวดกับตัวเองนี้ ก็ได้มีทางที่ผ่อนคลายโดยระบบที่ เป็นไปแบบธรรมชาติ นั่นคือความใฝ่ในการอ่านยังคงเต็มปรี่ในจิตวิญญาณ ผมไปห้องสมุดต่อ เพื่อศึกษาวรรณคดี ผมก็เข้าห้องสมุดในเวลาเย็นบ้าง วันหยุดบ้าง และอ่านต่อไป ช่วงเวลานี้แหละที่ผมไปบริเวณ โรงภาพยนต์เท็กซัส ไปดูภาพยนต์อินเดีย เริ่มจากภาพยนต์เรื่องรามเกียรติ ที่เคยอ่านมาตั้งแต่เป็นเด็ก เช่นนารายณ์สิบปางตั้งแต่หิรัญยักษ์ม้วนแผ่นดิน เป็นต้นไปถึง นรสิงหาวตาร ไปถึง รามจันทราวตาร คือรามเกียรตินี้ ตั้ง แต่ต้นจนจบ ตอนจบที่นางสีดาอธิษฐานให้แผ่นดินแยกออกแล้วนางหนีไปอยู่กับแม่พระ ธรณีใต้บาดาล ซึ่งเป็นประเด็นแห่งความแตกต่างกันในเนื้อเรื่องอย่างมากระหว่าง รามเกียรติ์ไทยกับรามายณะของอินเดียที่ปรากฎในภาพยนต์ ระยะนั้นที่โรงภาพยนต์ เท็กซัส ผมดูรามเกียรติทุก ๆ เรื่อง เช่นศึกกุมภกัณฑ์ ศึกอินทรชิต มีมหิปาล แสดง นำ และบางเรื่องที่มี มุมตัส หรือ นีรูปารอย เป็นตัวนางสีดา ที่ผมดูอย่างตั้งอกตั้งใจ เคลิบเคลิ้มไปกับบทบาทของดาราเหล่านั้น ทุกวันนี้มีเรื่อง รามเกียรติสมบูรณ์ ที่ผม เห็นว่าเป็นมาตรฐานภาพยนต์อินเดียอย่างที่ยากที่ใครจะลบล้างได้ เพราะมีบทเพลงที่ ไพเราะมาก และด้วยบทเพลงนี้เองที่ทำให้ภาพยนต์อินเดียมีความหมาย ระบำและบทเพลงตอนนางสำมะนักขา ร้องเกี้ยวพระรามและพระลักษมณ์ในรามเกียรติสมบูรณ์นั้น ในทัศนะของผมเองเห็นว่าเป็นบทเพลงอมตะที่ยิ่งใหญ่มาก สำหรับนรชนคนในโลกนี้ ผู้แสดงเป็นนางสำมะนักขาดูเหมือนจะเป็น เฮเลน นักระบำเอกของอินเดียที่เคยถวายการเต้นรำหน้าพระที่นั่งพระราชินีเอลิซาเบธแห่งอังกฤษมาแล้ว ขณะนั้นมีนางระบำเอกอยู่ 2 คน ในอินเดีย อีกคนยิ่งเก่งกว่าเฮเลนอีก และผู้สร้างภาพยนต์อินเดีย ซึ่งมีความสามารถมาก ก็เคยจัดให้มาพบมาประชันกันในเรื่องเทพ-อสูรของฮินดูเช่นนี้ ซึ่งเป็น เรื่องนางระบำ 2 นางที่ฝีมือสุดยอด จนตัดสินไม่ได้ว่าใครเป็นที่หนึ่งใครเป็นที่ 2 ต้องไปให้พระวิณุมหาเทพบนเทวโลกตัดสิน พระมหาเทพให้ทั้งสองนางคล้องพวงมาลัยพวงใหญ่คนละพวง แล้วเต้นรำประชันกัน นี่ก็เป็นฉากเพลงและระบำที่ยิ่งใหญ่อีกฉากหนึ่งเท่าที่เห็นในภาพยนต์อินเดีย ภาพยนต์ได้แฝงคติ คำสอนทุก ๆ อย่างของฮินดูไว้ในนั้น และผมดู อย่างไม่รู้อิ่ม และขณะนั้นก็มีนักพากษ์คือ พรานบูรพ์ ที่เขียนบทพากษ์ได้ลึกซึ้งตรึงใจ โดยเฉพาะบทพากษ์ภาพยนต์ชีวิตที่เขียนเป็นบทกวีหรือคำกลอน ที่ผมฟังอย่างดื่มด่ำล้ำลึก จนภายหลังเมื่อผมเขียนบทกวีในเรื่อง ธารมโนเพชร ผมไม่แน่ใจว่าผมลอกบทกวี ของพรานบูรพ์มาหรือเปล่า เมื่อตอนหนึ่งผมเขียนว่า

 

 

 

โฉมเฉลาเยาวดีสีดาโศก                               เหมือนดั่งแก้วแว่ววิโยคนานฉนำ

สีดาครวญคร่ำฝืนกลืนระกำ                            เหมือนแก้วกล้ำน้ำตาทุกราตรี

สีดางามความรักภักดีราช                               แก้วก็หยาดสัจธรรมล้ำศักดิ์ศรี

สีดารามนามสองครองความดี              แก้วกับพงษ์เพญนี้ก็ศรีนาม

เหมือนข้าวเขียวคู่นาฟ้าคู่ฝน                           มัจฉาชื่นฉ่ำชลล้นลำหลาม

ดาวเพชรรุ่งเพียงขอบนภาคราม                       จันทร์อาทิตย์แสนงามคู่ควรกัน

เธอเหมือนมิ่งมิตรใจในห้องจิต                        เป็นเปลวปราณผ่านชีวิตชีวาฉัน

พวงบุปผามาลีมลิวัลย์                                   คล้องความฝันบรรเจิดจ้าพลับพลาใจ

 

 

 

แต่ที่แน่ ๆ ก็คือผมได้อิทธิพลแห่งอารมณ์กวีจากโรงภาพยนต์เท็กซัสและพรานบูรพ์ไปมากมายทีเดียว เดิมผมก็ดูรามเกียรติ์ ต่อมาก็ดูทุก ๆเรื่องที่เข้าฉายในโรงภาพยนต์เท็กซัส ซึ่งก็ล้วนเป็นภาพยนต์อินเดีย เพราะเท็กซัสฉายเฉพาะหนังอินเดีย

 

 

 

ในหอสมุดแห่งชาติ ผมอ่านและศึกษาวิชาโหราศาสตร์ ตั้งแต่ทำความรู้จักปฏิทินโหร อย่างที่ท่านอาจารย์ทองเจือ อ่างแก้ว ทำขึ้น ซึ่งผมมองว่า เป็นมรดกไทยชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งทีเดียว  จักรทีปนีพิสดาร (ตำราของพระอรหันต์ อุตตารามมหาเถร) ที่ท่าน อาจารย์เทพ สาริกบุตร ได้รวบรวมมาและให้คำอธิบายไปอย่างพิสดาร โหราศาสตร์ในวรรณคดี ของเทพ สาริกบุตร ที่ว่าด้วยหลัก ปัญจมหาบุรุษโยค และโดยเฉพาะตำราหลักคือ คัมภีร์โหราศาสตร์ไทย อันเป็นหนังสือเล่มใหญ่เล่มโตและแน่นด้วยหลักวิชา โหราศาสตร์ อันแสดงภูมิปัญญาไทยที่ล้ำเลิศแขนงหนึ่ง จนรู้สึกว่าวิชาโหราศาสตร์นี้เป็นวิชาที่มีคัมภีรภาพลึกซึ้งสุขุมวิชาหนึ่ง สมกับเป็นศาสตร์ดั้งเดิมของมนุษยชาติทีเดียว และซึ่งบัดนี้ โหราศาสตร์ไทยได้มีการพัฒนาการไปเป็นอย่างมากโดยนักโหราศาสตร์ทั้งรุ่นเก่าที่มีหัวก้าวหน้าอย่างท่าน จรัล พิกุล (ระบบพันจุดแห่งโหราศาสตร์) ประทีป อัครา (โหร ทายหนู) และรุ่นใหม่ๆ ที่สำเร็จการศึกษาระดับวิทยาลัย-มหาวิทยาลัยมา ทำให้เข้าได้กับหลักการวิทยาศาสตร์ โดยไปกันได้อย่างดีกับหลักวิชาทางดาราศาสตร์ เช่น ท่านพลูหลวง พออ.บุญช่วย ชุ่มเชิงรักษ์ รศ.เพ็ญพิมล ธรรมรัคคิต ดิสพร ดุลยนันท์ และอีกมากมายในสมาคมโหรแห่งประเทศไทย เป็นต้น

 

 

 

ซึ่งเมื่อผมเข้าห้องสมุด เลือกหนังสือแล้ว เลือกที่นั่งได้ ผมก็จะค่อย ๆ อ่านไป ๆ ไม่มองซ้ายขวา หรือให้ความสนใจสิ่งอื่นใด พยายามทำจิตให้มั่นคง ตรงและซื่อ แบบที่หลวงวิจิตรวาทการสอน ฉะนั้น ช่วงนั้นแหละ แท้จริงเป็นการฝึกสมาธิอยู่ในตัวเอง แล้วถึงภาคบ่าย ผมก็มักจะไปโรงภาพยนต์เท็กซัส บางทีหนังที่ผมดูไปแล้วครั้งหนึ่ง ผมจะ กลับไปดูซ้ำเพิ่มเติม เพราะรู้สึกว่าเอาสิ่งที่ภาพยนต์เรื่องนั้นมีมายังไม่หมดและ เวลาเข้าไปในโรงหนังแล้วผมจะนั่งนิ่งเงียบ ไม่กระดุกกระดิกเลย เพราะพอใจที่จะติดตามเรื่องราว ในภาพยนต์ไป อย่างกับว่าผมตามไปได้จริง ๆ คือตั้งใจรับเอาความรู้สึกทุกอย่างใน ภาพยนต์เข้าไว้ในจิตใจตัวเองอย่างเต็มที่ชนิดที่ไม่ให้พร่อง และสิ่งที่ผมรับเอามาทั้งหมดก็ดูเหมือนจะเป็นคุณงามความดีหรือคุณธรรมหรือธรรมะในภาพยนต์อินเดียนั้น เมื่อเพลงอินเดียบรรเลงขึ้นนั่นแหละบอกให้รู้ว่า เป็นภาพยนต์อินเดียแท้ดั้งเดิมจริง ๆ และเพลง เหล่านั้นล้วนสรรเสริญความดี ความซื่อสัตย์ จงรักภักดิต่อพระผู้เป็นเจ้า โดยเฉพาะความรักอันบริสุทธิ์ที่ภาพยนต์อินเดียมักเน้นระหว่างลูกกับพ่อแม่ พ่อแม่ต่อลูก พี่ ๆ ต่อน้อง ๆ และมนุษย์กับพระเจ้า เป็นต้น และในที่สุด พระเจ้าก็ตอบแทนความดีอย่างคุ้มค่าซึ่งผมสรรเสริญว่าเป็นสัจสารจากพระผู้เป็นเจ้า ที่ผูกพันกับความจงรักภักดีของมนุษย์ ภาพยนต์อินเดียมีส่วนช่วยสร้างภาคจิตวิญญญาณของผมให้เยือกเย็นลุ่มกว้างเป็นภวังค์แห่งความดีงาม แต่แล้วเนิ่นนานหลายปีต่อมา ผมจึงมาสะดุดเข้ากับความจริงอย่างหนึ่ง คือความจริงที่ว่า เวลาประสบปัญหาเดือดร้อน ชาวอินเดียก็เอาแต่สวดอ้อนวอน จับระบำถวายบูชาพระผู้เป็นเจ้า มานึกขึ้นว่าภาพยนต์เป็นเพียงนิยายเท่านั้นเอง ในความเป็นจริง หาก ประชาชนเอาแต่สวดอ้อนวอนแม้จะด้วยศรัทธาเชื่อมั่นจริง ๆ ว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาช่วยได้ อย่างที่เชื่อและเห็นกันจริง ๆ ในภาพยนต์อินเดีย ก็คงเป็นเรื่องที่น่าวิตกน่าเป็นห่วง หาก เชื่อและปฏิบัติไปจริงอย่างที่เชื่อก็คงไม่แคล้วต้องอดอยากยากจนรือเป็นทาสเขาแน่ ๆ เพราะในความจริงจะไม่มีวันที่พระเป็นเจ้าจักบันดาลให้อย่างที่เห็นในภาพยนต์ได้เลย ถ้าเอาแต่สวดอ้อนวอนไปก็คงเสียเวลาไปเปล่า ๆ ปัญญาได้เกิดแก่ผมเช่นนี้ การมองก็ เปลี่ยนไป เห็นว่าการอ้อนวอนขับร้องเช่นนั้น โดยเชื่อว่าจะมีพระเจ้ามาช่วยจริง ๆ เช่นนั้นช่างเป็นความโง่เขลาโดยแท้ ตั้งแต่เกิดความคิดเช่นนั้น ผมก็เริ่มหน่ายภาพยนต์อินเดีย ไม่นึกอยากดูอีก เพราะรู้สึกว่าได้ดูอะไรที่ขัดความรู้สึก ขัดความเป็นจริงในชีวิตปกติของมนุษย์(เช่นไฟไหม้ เห็นไฟไหม้ขึ้นชาวอินเดียที่เคร่งครัดในศาสนาอย่างที่เห็นในภาพยนต์ มักจะไม่รีบไปหาน้ำมาดับไฟเสียแต่เริ่มเป็นเปลวเล็ก ๆ หากแต่จะรีบวิ่งไปสวดอ้อนวอนพระเจ้าที่เทวาลัยเสียก่อน จนไฟมันโหมพลุ่งโพลงเป็นกองใหญ่ จึงขัดความรู้สึกจริง ๆ หากแต่ที่ เห็นในภาพยนต์พระผู้เป็นเจ้าก็บันดาลให้ฝนตก ดับไฟได้ก็จริงแต่เป็นเพียงนิยายในความ เป็นจริงขืนโง่เง่าอยู่เช่นนั้น บ้านเมืองก็คงวอดวาย) กระนั้นก็เป็นเวลาภายหลังที่ภาค จิตวิญญาณของผมได้ซับซาบเอาคุณธรรมดืๆ ส่วนที่ดี ๆ ในคำสอนของฮินดูเข้าไว้เต็มที่ แล้ว

 

 

 

เมื่อหนังเลิกผมก็มักจะไปร้านข้าวหมูแดง รับอาหารเย็น เจ้าของร้านเป็นคนจีน ต้อนรับผมดีเพราะผมมาบ่อย และเขารู้ว่าผมมาทำอะไร เขาชอบนิสัยผม พี่สาว น้องสาว แม่เขาก็พูดกับผมดีมาก แต่ผมไม่สนใจพูดคุยกับเขาเท่าไร ทั้ง ๆ ที่เขาพยายามจะพูดเรื่องปรัชญาชีวิตกับผม ซึ่งผมมักรู้สึกว่าพูดเรื่องพื้น ๆ เกินไปไม่อยากเสียเวลาคุยด้วย ออกจากร้านอาหารแล้ว เมื่อมีเงินเหลือ บางครั้งผมก็กลับไปตีตั๋วเข้าโรงหนังไปอีก ทั้ง ๆ ที่ เป็นเรื่องที่ผมเพิ่งดูจบไปแล้วนั่นเอง(ผมเคยเข้าไปในโรงภาพยนต์เฉลิมสิน วงเวียนใหญ่ ธนบุรี ตั้งแต่ 4 โมงเช้า แล้วไม่โผล่ออกมาเลยจนกระทั่งภาพยนต์รอบสุดท้ายเลิกเวลา 6 ทุ่มเศษ ๆ ดูเรื่อง รอยแผลเก่า ภาพยนต์ไทย) หากไม่เข้าโรงหนังก็เข้าไปในซอยหลังโรงภาพยนต์เท็กซัส มีร้านให้เช่าหนังสือและนั่งอ่านอยู่ในนั้น บริเวณนั้นเป็นตลาดเช่าหนังสือขนาดย่อม ๆ แห่งหนึ่ง ผมอ่านนิยายจีนกำลังภายใน เริ่มอ่าน กระบี่ต่าง ๆ ไปจนกระบี่ไร้เทียมทาน ของ ว.ณ.เมืองลุง น.นพรัตน์ ฯลฯ ติดงอม อ่านไปถึง 5-6 ทุ่มก็มี สมัยนั้นเป็นยุคเริ่มแรกของหนังจีนกำลังภายใน ฉายที่โรงหนังแถว ๆ เยาวราช เวลากำลังภายในออกมา เขาจะทำเป็นแสงออกมาตามกำปั้น ฝ่ามือ เท้า ด้วย เขาเรียกว่าแสงเฮ้ากวง ไม่เหมือนยุคนี้ ที่ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าเป็นฤทธิ์เดชของแสงเฮ้ากวง ผมอ่านไปนานเป็นปี อ่านหนังสือแทบทั้งหมดที่มีในร้านเช่าแถวเท็กซัสนั้น จนรู้สึกเหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า และรู้สึกว่าหนังสือเหล่านี้เดินเรื่องล้วนซ้ำ ๆ ซาก ๆ รู้สึกขึ้นมาว่า นี่เป็น เพียงนวนิยายเท่านั้นเอง เป็นเรื่องนวนิยายล้วน ๆ มิได้มีพื้นฐานความจริงรองรับอยู่ เลย พวกนี้วาดภาพขึ้นมาบนสิ่งสมมติล้วน ๆ เหมือนนึกสร้างวิมานกลางอากาศเลยที เดียว และเมื่อคำนึงว่า คนก็หลงสนุกไปกับสิ่งไร้สาระเช่นนั้นไปตาม ๆ กัน แม้กระทั่งนักการเมืองนักบริหารก็ยังหลงไหล เวลาตั้งพรรคการเมืองก็นึกกันแบบเรื่องราวในหนังจีน กำลังภายใน เช่นมีพรรคกระยาจก พรรคเทพ พรรคมาร ให้รู้สึกสมเพช ผมก็เลยเริ่มเบื่อหนังสือจีนกำลังภายใน และเลิกอ่านเลิกดูหนังจีนกำลังภายในต่อมา คิดว่า ไร้สาระ หลอกได้แต่คนโง่

 

 

 

ในมหาวิทยาลัย ผมเป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัย ฉบับมืออาชีพ คือทำขนาดใหญ่เท่าหนังสือพิมพ์อาชีพ (เท่าไทยรัฐ เดลินิวส์) มี วารินทร์ ศรีแย้ม (อดีต ส.ส.อบุลราชธานี) เป็นบรรณาธิการ (ดร.สุรัตน์ เมธีกุล คณะบดีคณะวารสารศาสตร์ ก็อยู่ในกองบรรณาธิการด้วย) ทำให้ผมมีการสังคมกว้างขวาง และได้เข้าใกล้ ๆนักศึกษาสาวสวย ๆ ในคณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย หลายคน ในขณะนั้นผมเป็นหนุ่มแล้ว ผมได้มองดูปรากฎการณ์ทางอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นภายในภาคดวงจิตของผม และที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการเดินทางเข้ามาสู่กรุงเทพมหานคร และผม อยากจะเข้าไปทำความรู้จักและศึกษามัน นั่นก็คือสิ่งที่เรียกว่า ความรักได้ก่อตัวขึ้นภายในจิตใจคนหนุ่มสาว นั้นเอง ผมเริ่มศึกษาสิ่งนี้อย่างจริงจังในมหาวิทยาลัย และบันทึกผลการศึกษาเรื่องนี้ลงไว้ในสมุดบันทึกประจำวันเป็นระยะ ๆ ไปมิได้ขาด ในขณะที่ผม เป็น หน.บก.มหาวิทยาลัยผมก็ได้รู้จักสุภาพสตรีสวยสุดเป็นดาวเด่นของมหาวิทยาลัยขณะนั้นตั้ง 3 คน แต่ผมเองมิได้คิดอะไรมากเกินไปกว่าการศึกษา ผมอยากจะทราบว่า สิ่งที่น่าพิศวงนี้คืออะไร เท่านั้นเอง ต่อมาผมได้เป็นบรรณาธิการนิตยสารรายคาบ ยูงทอง (ด้วยการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง) ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เด่นมาก เพราะตั้งชื่อตามต้น ยูงทอง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาทรงดนตรี ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทรงปลูกยูงทองไว้หน้าหอประชุมใหญ่ต้นหนึ่ง (ต่อมาทรงพระราชนิพนธ์เพลง ยูงทอง พระราชทานให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วย) ยูงทอง ฉบับแรก ออกในงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ มี สดมภ์ ผลาพงศ์ เป็นผู้จัดการ เรา ได้ทำปกอย่างสวยงามเป็นพิเศษ และได้บุคคลพิเศษคือคุณ อาภัสรา หงสกุล มาเป็น แบบปกให้ เราต้องการคนสวย และดูเหมือนสายตาเราก็คมพอทีเดียว เพราะขณะนั้นเธอมีอายุเพียง 17 ปี เพิ่งสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยปีนังคอนแวนต์ สิงคโปร์มา ปีต่อมา เธอก็ได้เป็นนางสาวไทย และต่อมาอีกเธอก็ได้เป็นนางงามจักรวาล คนแรกของประเทศ ไทย ตามที่ชาวไทยทราบกันดีอยู่แล้ว ภายหลังต่อมาอีก 2-3 ปีเมื่อผมมาอยู่วังสวนกุหลาบผมได้มาสนิทกับคุณพ่อของเธอมาก น.อ.เพิ่ม หงสกุล เป็นมือปืน ร่วมทุกข์สุข ร่วมกินร่วมเที่ยวกลางคืนกันอยู่เป็นเวลาปีเศษ ๆ ยูงทองของผมฉบับนั้น เป็นสิ่งทีผมภาคภูมิใจมาก เพราะออกในวันเสาร์ วันฟุตบอลประเพณี จัดพิมพ์จำนวน 3,000 เล่ม ขายหมดภายในพริบตาก็ว่าได้ ภาพที่เห็นในวันนั้นก็คือ นักศึกษาลูกแม่โดมและลูกพระเกี้ยวต่างตระเวนกันไปตามท้องถนนสายต่างๆทั่วกรุงเทพมหานคร มีแต่สีเหลืองแดง และชมพูเกลื่อนไปหมด และยังเป็นที่ชื่นชมของประชาชนทั่วไป สวยงามด้วยชุดเชียร์สัญญลักษณ์ของแต่ละมหาวิทยาลัย หากแต่ในมือของลูกแม่โดม ลูกพระเกี้ยวทั้งหลาย ล้วนถือยูงทองของผมโบกโบยไปมา สลอนไปหมด ราวกับเป็นสัญญลักษณ์อย่างหนึ่งของบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ปีนั้น ผมสามารถทำกำไรให้มหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรกของการทำหนังสือพิมพ์ในมหาวิทยาลัย

 

 

 

ขณะที่ผมเข้ามหาวิทยาลัยปีแรกนั้น ยังทันเห็นบทบาท ของรุ่นพี่ ที่มีชื่อเสียงอยู่ในวงการเมืองของชาติในขณะนี้ จำละครบนเวทีได้ดี เล่นเรื่อง รามเกียรติ์ประยุกต์ ล้อเลียนการเมือง ซึ่งผมไม่ค่อยชอบใจนัก เมื่อรุ่นพี่มี ชวน หลีกภัย (นายกรัฐมนตรี) เล่นเป็นเรื่องตลก ให้หณุมาน จับเอาทศกัณฐ์ กับ พระราม มาเจรจา ความเมืองเรื่องนางสีดา ขณะเจรจาต่อว่ากันไปก็ถกเถียงด่าทอกันไป จนถึงเข้าต่อยตีกัน หณุมานเป็นกรรมการกลางคอยเข้าห้ามกันไว้ ผมไม่ค่อยชอบเพราะดูแคลนคุณธรรมคือ พระราม เกินไป และที่เห็นเด่นก็บทบาทของท่านสมัคร สุนทรเวช(อดีตรองนายกรัฐมนตรี หน.พรรคประชากรไทย) ที่คิดค้นนำมิติใหม่ของการแปรอักษร เปลี่ยนจากการใช้แผ่นกระดาษสีมาเป็นผ้า ทำให้การแปรอักษรคล่องตัวกว่า น่าตื่นเต้น ผมเองก็ได้ไปนั่งช่วย แปรอักษรประดิษฐกรรมใหม่ครั้งนั้นด้วย ผมยังจำภาพ ๆ หนึ่งได้ในปีแรกที่ผมเข้าเรียน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นเวลาเย็นแดดร่มแล้ววันหนึ่ง ผมเห็นคนเดินเข้าไปในสนาม ฟุตบอล กระจัดกระจายเต็มสนามไปหมด ต่างมุ่งไปที่ขอบสนามทิศใต้ เห็นบนเวทีมีพระ รูปหนึ่งอ้วน ๆ ยืนแสดงพระธรรมเทศนาอยู่ ผมได้ยินเสียงเอ่ยนามพระรูปนั้นว่าท่าน พุทธทาสภิกขุ นั่นเป็นการเห็นท่านพุทธทาสครั้งเดียวของผม และเห็นแต่ไกลเพราะผมไม่ได้เข้าไปฟังท่าน และไม่ได้เข้าใกล้ท่านไปกว่านั้นอีกเลย ตราบมรณกาลของท่าน

 

 

 

เรื่องราวในชีวิตมหาวิทยาลัยผมจึงตื่นเต้นหลากหลายรสชาติ สลับซับซ้อนด้วยวิถีแห่งความปรารถนาและอุดมการ แต่เรื่องที่ผมรู้สึกและจดจำได้ดี เพราะได้ก่อเกิดผลเป็นอุดมการชีวิตต่อมา ก็คือ ความจริงที่ว่าผมรู้สึกผิดหวังในการเรียนการสอน อย่างค่อนข้างมาก หรือเพราะผมเป็นคนเช่นนั้น คือผมรู้สึกว่า มีความขัดแย้งครูอาจารย์ที่มาสอนอยู่ลึก ๆ เสมอมา (ผมคิดว่าท่านดีแต่สอน ท่านสอนในสิ่งที่ท่านทำไม่ได้) มีกรณีของวิชาเกี่ยวกับการต่างประเทศวิชาหนึ่ง อาจารย์ท่านสำเร็จ ดร.มาจากฝรั่งเศสมาสอน ท่านคงไปอยู่ต่างประเทศนาน พูดไทยก็ไม่ชัดเจน บางประโยคบางคำฟังไม่แน่ใจว่าท่านพูดภาษาอะไร แล้วยังพูดเสียงค่อยอีกต่างหาก ต้องคอยเอียงหูฟัง แล้วยังพูดศัพท์สูง ๆ เป็นไทยปนฝรั่งผมฟังไม่ค่อยรู้เรื่องไปตลอดภาคเรียนนั้น และเสียดายเวลาที่ล่วงไป (เพื่อน ๆ ก็รู้สึกเช่น เดียวกัน แต่ก็ไม่กล้าวิจารณ์ กลัวบาป) ทำให้ผมรู้สึกในทางลบต่อคำว่า หัวนอกและ นักวิชาการเป็นอย่างมาก เพราะการตัดสินของผมอยู่ที่เหตุผลที่ว่า ถ้านักวิชาการ พูดให้คนฟังไม่รู้เรื่องเสียแล้ว เขาจะมีประโยชน์อะไร จะได้ชื่อว่ามีความรู้ดีได้อย่างไร แท้จริงน่าจะบอกว่า พูดในสิ่งที่ตนเองก็ไม่รู้จริงเสียอีก ต่อมาเมื่อสังเกตุนักการศึกษาขณะนั้นก็ได้พบอย่างเดียวกัน คือ พูดหรือเขียนมักใช้ศัพท์สูง ๆ ที่ดูพยายามทำให้เข้าใจยากเข้าไว้ โดยเพื่อประโยชน์ทางการโอ้อวด ว่าฉันหัวนอก จนทำให้ผมได้ข้อสรุปลงไปเลยว่า คนเช่นนั้น เขาไม่ใช่คนเก่งอะไรหรอก หากแต่มันบอกสิ่งที่ตรงกันข้ามคือบอกความจริงว่า เขาไม่ค่อยรู้เรื่องในสิ่งที่เขาพูดเขาเขียนด้วยซ้ำไป(คนพูดก็ไม่รู้ว่าตนพูดอะไร คนฟังก็ไม่รู้ว่าตนฟังอะไร) และผมจะไม่ขอเป็นอย่างนั้น

 

 

 

ผมกลายเป็นคนที่มักดูแคลนข้าราชการ คิดว่าพวกนี้ทำได้เฉพาะการเป็นข้าราชการเป็นเจ้าเป็นนายมีเงินเดือนกินเท่านั้น หากไม่มีตำแหน่งราชการให้ทำแล้วพวกนี้ก็คงจะอดตาย ผมออกไปเป็นนักหนังสือพิมพ์อยู่เป็นเวลาเกือบปี ยังจำถ้อยคำที่ ดร.เกษม สิริสัมพันธ์ พูดได้ว่า ขอให้ผมออกไปบุกเบิกกรุยทางสำหรับรุ่นน้อง ๆ ที่จะทะยอยตามออกไปสู่วงการหนังสือพิมพ์ เพราะเห็นว่าผมมีความตั้งใจในวิชาการด้านนี้ และทั้งมีบุคคลิกภาพเป็นนักบุกเบิกผู้นำการริเริ่ม ผมอยู่พิมพ์ไทย ถนนนดินแดง กับ ไชยยง ชวลิต นัก บริหารการหนังสือพิมพ์ขณะนั้นมักพูดมักชี้นำทางว่า นักหนังสือพิมพ์ต้องแก่แดด ผมยิ่ง มองยิ่งเห็นว่านักหนังสือพิมพ์ไม่เพียงแต่คิดเช่นนั้น หากเขาเป็นเช่นนั้นไปตาม ๆ กัน แล้ว เกิดหน่าย ไม่ชอบด้วยอุดมการณ์แห่งชีวิตของผม มองว่าเกินกำลังจะฝ่าฟัน (เดี๋ยวนี้ก็ยิ่งเห็นได้ชัดเจนว่านักหนังสือพิมพ์พากันแก่แดดขนาดไหน)

 

 

 

จากนั้นผมไปทำงานเป็นลูกจ้างชั่วคราวที่สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คลองจั่น เรียนหนังสือปริญญาโท ไปด้วย (ในขณะนั้นมีเพื่อนคนหนึ่งชื่อ รัฐพล เขียวเขว้า ได้ท้วงผมว่ามีความคิดนึกและ บุคคลิกภาพเหมือน รัก รักษ์พงษ์ ไม่มีผิดเลย ก็ถามว่า รัก รักษ์พงษ์ เป็นใคร เขาออกอุทานว่า อ้าว อยู่จังหวัดศรีสะเกษด้วยกันไม่รู้จักหรือ) พอสิ้นโครงการ เพื่อนคือ ชาตรี เทวินจิรกุล (พ.อ.ชาตรี จิรผลิน สสน.บก.ทหารสูงสุด) ชักชวนไปทำงานด้วยที่วังสวนกุหลาบ เป็นสำนักงานตั้งขึ้นใหม่ เรียกว่า สำนักงานคณะกรรมการปฏิบัติการจิตวิทยา แห่งชาติ (สจช.) เป็นลูกจ้างประเภทลูกจ้างชั่วคราว รุ่นแรก ขณะนั้นผมไปสอบข้าราชการไว้ 2 แห่งคือ ก.พ.(คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ถนนพิษณุโลก) และ กรมประชา สัมพันธ์ ประมาณสองเดือนต่อมา ก.พ.ประกาศผลสอบ ผมสอบได้ เขาเรียกตัวไปสัมภาษณ์ ในห้องมีกรรมการ 6 ท่าน มีทหารยศ พันเอกนายหนึ่ง ถามผมว่า ไปสอบไว้ที่ไหนอีกหรือเปล่า ผมก็ตอบเขาว่าสอบไว้ที่กรมประชาสัมพันธ์ เขาถามว่าทำได้ดีไหม มีทางจะสอบได้ไหม ผมก็ตอบว่าทำได้ดี มีทางสอบได้อยู่ เขาก็พูดว่า ถ้างั้นที่ก.พ.นี่ขอได้ไหม ผมก็ตอบว่า ได้ (ผมจำไม่ได้ว่าเขาขอบใจผมหรือเปล่า แต่รู้สึกภูมิใจมากที่ได้ยกตำแหน่งให้คนอื่นไป ผมเล่าเรื่องนี้ไว้เพื่อให้บุคคลที่เกียวข้องได้คิดในแง่ของความยุติธรรม) ต่อมาไม่นาน กรมประชาสัมพันธ์ก็มีหนังสือเรียกตัวมาอีก เพราะสอบได้ ผมคิดว่าไหน ๆ เราก็ได้สละที่ก.พ.แล้ว ได้ตั้งใจทำบุญชนิดนี้ไปแล้ว ก็ทำให้ตลอดไปเถิด เพื่อการก้าวหน้าในวิถีทางบุญของเราต่อไป และเมื่อเราสละไปหนึ่งตำแหน่ง คนถัดไปที่ สอบตกไว้ก็จะเลื่อนขึ้นมาแทน และได้เป็นข้าราชการตามที่ใฝ่ฝัน และเขาก็คงจะตื่นเต้นดีใจมาก ส่วนเรามีงานทำอยู่แล้ว ถึงจะเป็นลูกจ้างชั่วคราวก็ไม่เป็นไร เพราะเป็นงาน เหมือนกัน และมีเกียรติเหมือนกัน ในขณะนั้นนิยามคำว่าเกียรติก็คืองานชนิดใดใดก็ได้ หากเป็นงานที่สุจริต และด้วยเหตุนี้ผมจึงได้สละตำแหน่งทางราชการที่ผมได้ไปสอบเป็น ครั้งแรกและครั้งสุดท้าย (นับแต่จบปริญญาตรีมหาวิทยาลัย)ไปพร้อมกันถึง 2 ตำแหน่ง ตัวเองพอใจกับความเป็นลูกจ้างชั่วคราว ที่ผมเห็นว่าเป็นตำแหน่งแห่งเกียรติยศไม่แพ้ตำแหน่งใดใด นอกจากนั้นผมก็ยังตั้งใจอุทิศเป็นการตลอดไปคือตั้งจิตว่าจะไม่ไปสอบ แข่งขันเข้ารับราชการอีกต่อไปตราบชั่วชีวิตนี้ (จะไม่ไปแย่งชิงอะไรกับใครไปตลอดชีวิตนี้) อันนี้ก็โดยที่ความคิดเริ่มก่อตัวขึ้นตั้งแต่ไปนั่งสอบในลานสอบ(ก.พ.จัดสอบในลานภายใน บริเวณกพ.ไม่ได้สอบในห้อง) เขาเรียงเก้าอี้ยาว เป็นแถว ๆ เพราะมีคนมาสมัครสอบมากดูเหมือนกว่า 500 คน แต่มีตำแหน่งเพียง 10 ตำแหน่งหรือราว ๆ นั้น (สู้กัน 1:10 เป็นธรรมดาขณะนั้น) วันสอบ แจกข้อสอบผมก็อ่าน แบบที่ผมอ่านหนังสือในห้องสมุดคือไม่สนใจอะไรรอบตัวหรือสิ่งใดทั้งสิ้น(มีสมาธิสูง) ตั้งใจทำข้อสอบ เสร็จโดยรวดเดียวแล้วจึงมี โอกาสเงยหน้าขึ้น ขณะที่เงยหน้าขึ้นนั้นเอง ผมเห็นขาคน เรียงไปข้างหน้าผมเป็นตับ เป็นแถวเป็นแนวไปไกล ผมคิดว่า ขาคนมากมายมาเรียงกันอย่างนี้ได้อย่างไร พวกเขามาทำไมกัน เพื่อมาสอบแข่งขันชิงตำแหน่งงานกันเพียงไม่กี่ตำแหน่ง และผมเห็นแวว กังวลและรันทดในจิตใจคนเหล่านั้น ผมก็ตกใจ และนึกว่า คนอย่างผมไม่น่าจะมาแก่งแย่งอะไรกับเขาเลยจึงได้ตั้งใจสละตำแหน่งไว้ตั้งแต่นั่งในห้องสอบแล้ว และการณ์ก็เป็นไปดั่งความอธิษฐาน และผมก็ได้สละตำแหน่งทั้งสองแห่งที่ผมสอบได้นั้น โดยที่ไม่เคยได้แย้มให้ผู้ใดทราบเลย แม้พ่อแม่พี่น้องของผม แม้เพื่อนในที่ทำงานวังสวนกุหลาบและสวน รื่นฤดี คือกองอำนวยการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์ขณะนั้น ที่ต่อมา สจช.ได้ย้ายเข้าไปอยู่ร่วมด้วย (ผมประพฤติไปอย่างมีอิสระเสรีภาพเพียงดังว่าชีวิตนี้เป็นของผม) และผมเป็นลูกจ้างชั่วคราวในนั้นตลอดมาเป็นเวลา 7 ปีเต็ม ๆ อย่างที่ใคร ๆ ก็ไม่อาจหยั่ง ทราบความประสงค์อันล้ำลึกของผมได้ ว่าผมอยู่ทำไม ไม่เข้าใจว่านั่นแหละ คือ แบบ อย่างการบำเพ็ญตะปะแห่งยุคสมัยละ

 

 

 

ในขณะนั้น เป็น ปี พ.ศ. 2512 คำว่า คนอย่างผมก็คือคนอย่างที่ผมเป็น ในปี พ.ศ. 2512 นั้น อันเป็นปีที่ผมเผาตำหรับตำราทิ้งแล้วเข้าไปอยู่จำศีลในบ้านสวนธนบุรีเป็นเวลา 10 ปีเต็ม ๆต่อมา นั่นเอง

 

 

 

ซึ่งเบื้องหลังของเหตุการณ์นั้นก็คือ ปี พ.ศ.2512 เป็นปีที่ผมได้มีประสบการณ์อัน ล้ำลึกประหลาด ที่ไม่เคยพบมาก่อน เป็นผลให้ได้ความคิดใหม่อันลึกซึ้งเกี่ยวกับชีวิต มองวิถีชีวิตไปในแนวใหม่หมด มีเหตการณ์เกิดขึ้นกับผมอย่างน่ามหัศจรรย์ตื่นเต้นมากในช่วงเวลานี้ และนับแต่ช่วงเวลานี้เป็นต้นไป วิถีชีวิตของผมเริ่มเดินทางใหม่ ทางเดียวกับที่ผมเดินอยู่ในเวลานี้ ตราบมาถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งในระยะทางช่วงแรก ผมก็ได้บันทึกเหตุการณ์ลงไว้ในสมุดบันทึกประจำวัน (ผมเริ่มบันทึกประจำวันมาตั้งแต่เรียนจบชั้นมัธยมปลาย จน ได้ 50 กว่าเล่มในปี พ.ศ.2512 ซึ่งเป็นปีที่ผมเผามันทิ้งทั้งหมด ทั้ง ๆ ที่เคยหวงแหนอย่างยิ่ง) ผมเริ่มบันทึกอีกครั้งในปี พ.ศ.2513 แต่บันทึกแบบคำร้อยกรองพิเศษ ไม่ใช่ร้อยแก้วธรรมดา แล้วบันทึกต่อมาจนเต็มเล่ม 400 หน้า จบเล่มลงด้วยบทกวี สมโภชน์ 200 ปีรัตนโกสินทร์ ที่เล่าในประวัติของผมคราวที่แล้วนั่นแหละครับ) และปีนั้น ปี พ.ศ.2512 ผมได้ขอลาแม่ออกบวช เมื่อแม่ยังไม่เต็มใจผมก็ไม่ขัด แต่วิถีชีวิตต้องเปลี่ยนไปจากเดิม จึงได้ไปอยู่จำศีลในบ้านสวนดังกล่าว

 

 

 

คนอย่างผม ในปี พ.ศ. 2512 นั้น จึงเป็นคนอย่างที่ปรากฎในโศลก 3 บทในบันทึกว่าดั่งนี้

 

 

 

               บทที่ 1

 

ด้วยเรา มิใช่ชาวโลก

ด้วยเรา มิได้มา เพื่อจักเอา

แต่เรามา เพื่อจักให้

 

แลกาลนี้

ตกมาอยู่

ในระหว่างสัญญาทั้งหลายทั้งปวง

 

อันยากแก่การจำแนก

แลผู้โง่ย่อมหลงไป

 

ดูกร

เราเกิดมาเพื่อภาระอันนี้

แลวันตายได้กำหนดเพื่อเรา

 

และเครื่องหมาย

อันกำหนดเราขณะอยู่

คือแสงสว่าง

และค่าแห่งเรานั้น ไม่มี

 

และโลก ย่อมจักอยู่ตรงข้ามเรา

แลเขาผู้จักได้

ย่อมเดินเข้ามาหาเรา

 

 

 

แลพวกเขาทั้งปวง จักรุ้จักเรา

ด้วยดวงตาของเขาก็ หาไม่ฯ

 

 

 

บทที่ 2

 

ด้วยทางนั้น

อันผู้รู้ทั้งหลาย

พากันไปแล้ว

 

เป็นทางอันประเสริฐเลิศล้ำ

เหนือค่าของสิ่งมีค่า

ในโลกทั้งปวง

 

ก็ทางนั้น

อันประเสริฐเลิศล้ำ

จักมองเห็นได้

 

ก็แต่ตาแห่งปัญญา

 

แลปัญญานั้น

เป็นสมบัติอันยิ่ง

ของท่านผู้รู้

ตาอื่นใด

อันมืดมัว

 

แห่งสามัญชน

ย่อมหลงอยู่

 

จักหามองเห็นไม่ ฯ

 

 

 

 

 

บทที่ 3

 

เราพึงเจริญด้วยปัญญาเถิด

เราพึงเจริญในพระศาสนาเถิด

 

ด้วยเราดำเนินไป

ในทางบริสุทธิ์ส่วนเดียว

โอ้โลกหนอ

สำหรับเจ้าอันเรามีอยู่

ก็แต่ความหน่ายความไถ่ถอน

 

โดยลำดับไปส่วนเดียว

 

ด้วยเราคือ     ลูกชายแห่งพุทธะ

ผู้จักสืบพุทธสมบัติ

คือญาณและปัญญา

 

 

 

อันบริสุทธิ์ทั้งหลายทั้งปวง

ในภายภาคหน้า ฯ

 

 

 

นี่คือสิ่งที่ผมเรียกว่า โศลก และผมบันทึกเป็นโศลกแบบนี้ไปตลอด นับแต่ปี พ.ศ. 2513 ตราบถึงปี พ.ศ.2525 [และผมเชื่อว่าโศลก 3 บทนี้เอง ที่ต่อมาผมได้นำ ลงพิมพ์ในหนังสือที่ระลึก งานฌาปนกิจศพพระอาจารย์ทำมา เมฆิโย อดีตเจ้าอาวาสวัด โคกกลาง บ้านเกิดผม ในเดือนเมษายน พ.ศ.2516 เป็นจุดสนใจอย่างมากของหลวงพ่อ ผมคือ พระเทพวรมุนี(เสน ปัญญาวชิโร) เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ขณะนั้น เพราะท่านได้เป็นที่ปรึกษางานฌาปนกิจศพและการทำหนังสือที่ระลึกเล่มนั้น และท่านได้มีส่วนร่วมทำ เพราะท่านอุตส่าห์แปล นัยแห่งรัฐปาลสูตร ว่าด้วยโลกหรือหมู่สัตว์ 4 จำพวก : โลก คือหมู่สัตว์อันชรานำเข้าไปไม่ยั่งยืน โลกคือหมู่สัตว์ ไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน โลกคือหมู่สัตว์ ไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป โลกคือหมู่สัตว์ บกพร่องอยู่ เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหาด้วยตนเองให้ลงพิมพ์ในหนังสือด้วย]

 

 

 

ซึ่งบันทึกเล่มนี้จะบอกประสบการณ์ของผมเป็นระยะ ๆ ไป ซึ่งล้วนเป็นโลก อีกโลกหนึ่งที่ผมผ่านเข้าไปซึ่งแตกต่างจากโลกในวันก่อน ๆ ที่ผมได้เล่ามาให้ฟังแล้วนั้นไปอีกลักษณะหนึ่ง เป็นการไปอย่างสุดโลกอีกโลกหนึ่งเลยทีเดียว ซึ่ง นับแต่บัดนี้เป็นต้นไปประวัติของผมก็คงจะเป็นเรื่องราวของโลกอีกโลกหนึ่ง ที่เล่าเรื่องความเป็นไปของผมใน โลกซีกนั้น ก็จะมีล้วนความประหลาดมหัศจรรย์มากมาย อย่างที่ผมคิดว่าเป็นประวัติที่หาอ่านยากในทางธรรมะอีกประวัติหนึ่งทีเดียว ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ความฝันอันประหลาด ตระการและยิ่งใหญ่ แล้วพบประสบการณ์ที่ทำให้ความคิดผันเปลี่ยนไป อย่างพลิกตาลปัตร แล้วชีวิตก็เดินไปบนเส้นทางสายใหม่ หากแต่เป็นนามธรรม นามธรรมที่จำเป็นต้องซ่อนอยู่อย่างสนิทภายในรูปธรรมภายนอก และส่วนรูปธรรมนั้นก็เดินไปในโลก อย่างชาวโลกเขาทั้งหลาย ชีวิตของผมจึงเปรียบเสมือนสองชีวิต สองโลกอยู่รวมกันในขณะเดียว ซึ่งยังไม่มีใครรู้ความเป็นไปของผมเยี่ยงนี้ แม้กระทั่งญาติพี่น้องของผมเอง ญาติผู้ใหญ่ ผู้ที่ได้รู้ได้เห็นผมเป็นมาแต่เด็ก ๆ และเต็มไปด้วยความหวังอันยิ่งใหญ่ สดใสในตัวผม หากแต่บัดนี้ ท่านเหล่านั้นก็ยังงงงวย ผิดหวังและเสียดาย นั่นแหละเป็นเหตุหนึ่ง เป็นเหตุ แห่งความพึงพอใจที่จะเล่าประวัติอันสลับซับซ้อนแห่งชีวิตของผมให้ท่านทั้งหลายฟัง ไป จนจบ จนมาสู่ความเป็นผมในปัจจุบันนี้ ฯ

 

 

 

ปัญญาธโรภิกขุ

ผู้บันทึก

ตอนที่ 6  จาก ดีเล่มที่ 10

 

 

 

 

 

 

 

« Back

 

 

หนังสือพิมพ์ดีเล่มที่ 10




ประวัติของผม 16 ตอน

ประวัติของผม 16 ตอน
สิ่งที่อยากให้เข้าใจก่อนในการอ่านประวัติของผม16ตอน เพราะเขียนไว้นานแล้ว
ประวัติของผมตอนที่ 1 article
ประวัติของผมตอนที่ 2
ประวัติของผมตอนที่ 3
ประวัติของผมตอนที่ 4
ประวัติของผมตอนที่ 5
ประวัติของผมตอนที่ 7
ประวัติของผมตอนที่ 8
ประวัติของผมตอนที่ 9
ประวัติของผมตอนที่ 10 article
ประวัติของผมตอนที่ 11 article
ประวัติของผมตอนที่ 12
ประวัติของผมตอนที่ 13
ประวัติของผมตอนที่ 14
ประวัติของผมตอนที่ 15
ประวัติของผมตอนที่ 16



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
----- ***** ----- โปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate นี่คือเวบไซต์คู่ www.newworldbelieve.com กับ www.newworldbelieve.net เราให้เป็นเวบไซต์ที่เสนอธรรมะหรือ ความจริง หรือ ความคิดเห็นในเรื่องราวของชีวิต ตั้งใจให้ธัมมะเป็นทาน ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แด่คนทั้งหลาย ทั้งโลก ให้ได้รู้ความจริงของศาสนาต่าง ๆในโลกวันนี้ และได้รู้ศาสนาที่ประเสริฐเพียงศาสนาเดียวสำหรับโลกยุคใหม่ จักรวาลใหม่ เรามีผู้รู้ ผู้ตรัสรู้ ผู้วินิจฉัยสรรพธรรมสรรพวิชชา สรรพศาสน์ และสรรพศาสตร์ พอชี้ทางสู่โลกใหม่ ให้ความสุข ความสบายใจความมีชีวิตที่หลุดพ้นไปสู่โลกใหม่ เราได้อุทิศเนื้อที่ทั้งหมดเป็นเนื้อที่สำหรับธรรมะทั้งหมด ไม่มีการโฆษณาสินค้า มาแต่ต้น นับถึงวันนี้ร่วม 14 ปีแล้ว มาวันนี้ เราได้สร้างได้ทำเวบไซต์คู่นี้จนได้กลายเป็นแดนโลกแห่งความสว่างไสว เบิกบานใจ ไร้พิษภัย เป็นแดนประตูวิเศษ เปิดเข้าไปแล้ว เจริญดวงตาปัญญาละเอียดอ่อน เห็นแต่สิ่งที่น่าสบายใจ ที่ผสานความคิดจิตใจคนทั้งหลายด้วยไมตรีจิตมิตรภาพล้วน ๆ ไปสู่ความเป็นมิตรกันและกันล้วน ๆ วันนี้เวบไซต์นี้ ได้กลายเป็นโลกท่องเที่ยวอีกโลกหนึ่ง ที่กว้างใหญ่ไพศาล เข้าไปแล้วได้พบแต่สิ่งที่สบายใจมีความสุข ให้ความคิดสติปัญญา และได้พบเรื่องราวหลายหลากมากมาย ที่อาจจะท่องเที่ยวไปได้ตลอดชีวิต หรือท่านอาจจะอยากอยู่ณโลกนี้ไปชั่วนิรันดร ไม่กลับออกไปอีกก็ได้ เพียงแต่ท่านเข้าใจว่านี่เป็นแดนต้นเรื่องเป็นด่านข้ามจากแดนโลกเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง และซึ่งเป็นโลกหรือบ้านของท่านทั้งหลายได้เลยทีเดียว ซึ่งสำหรับคนต่างชาติ ต่างภาษาต่างศาสนา ได้โปรดใช้การแปลของ กูเกิล หรือ Google Translate แปลเป็นภาษาของท่านก่อน ที่เขาเพิ่งประสบความสำเร็จการแปลให้ได้แทบทุกภาษาในโลกมนุษย์นี้แล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้เอง นั้นแหละเท่ากับท่านจะเป็นที่ไหนของโลกก็ตาม ทั้งหมดโลกประมาณ 7.6 พันล้านคนวันนี้ สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในโลกของเราได้เลย เราไม่ได้นำท่านไปเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่การนำไปสู่ความจริง ความรู้เรื่องชีวิตใหม่ การอุบัติใหม่สู่ภาวะอริยบุคคล ไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปพ้นจากทุกข์ ทั้งหลายไปสู่โลกแห่งความสุขแท้นิรันดร คือโลกนิพพานขององค์บรมศาสดาพุทธศาสนา พระบรมครูพุทธะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ท่านโปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate ท่านก็จะเข้าสู่โลกนี้ได้ทันทีพร้อมกับคน7.6พันล้านคนทั้งโลกนี้. ----- ***** ----- • หมายเหตุ เอาขึ้นเวบไซต์ แทนของเดิม ทั้ง 2 เวบ .net .com วันที่ 21 เม.ย. 2565 เวลา 07.00 น. -----*****-----