ReadyPlanet.com
dot


ช่วยตอบหน่อย ด่วน ปัญหาประชาธิปไตยไทย


 

ประชาธิปไตยทางโลกและทางธรรมแตกต่างกันและเหมือนกันอย่างไร ยกตัวอย่างหลายๆข้อ ขอขอบคุณล่วงหน้าไว้นะที่นี้ด้วย



ผู้ตั้งกระทู้ 10236 :: วันที่ลงประกาศ 2008-06-06 11:09:40


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1280346)

 

(โปรดคลิกเพื่อดูคำตอบทั้งหมดที่ได้นำลงในนี้ทั้งหมด...เรารวมมาไว้ที่เดียวกันเพื่อความสะดวก) 

 

ประเด็นที่1 ประชาธิปไตยทางโลกและทางธรรมแตกต่างกันอย่างไร   แตกต่างกันที่เป้าหมาย ทางโลกมุ่งหมายให้ประชาชนมีความสุขสงบด้วยวิถีอย่างโลก ๆ นั่นคือ ความสงบสุข มีเศรษฐกิจดีอุดมสมบูรณ์ มีเงินทอง ร่ำรวยโดยความขยันที่ถูกกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ระเบียบของสังคม พูดสั้น ๆ ก็คือประชาธิปไตยเชื่อว่าคนจำนวนมากคือประชาชนทั่วแผ่นดิน มีหัวคิดกันทุกคน  ไม่ควรกดความคิดของประชาชน  เปิดโอกาสให้เขาทำมาหากินอย่างอิสระ มีเป้าหมายที่ความอิ่ม  อิ่มอาหาร อิ่มยศฐาบรรดาศักดิ์ อิ่มลาภ อิ่มสรรเสริญ นี้เป็นเป้าหมาย  ประชาธิปไตยทางโลก    ส่วนประชาธิปไตยทางธรรม หมายถึงเป้าหมายแห่งธรรม คือการแสวงหาอย่างอิสระ ปราศจากการกดขี่ทางความคิด มีวิจารณญารเป็นของตนเองโดยเด็ดขาดในการวิเคราะห์ปัญหาเชิงภูมิปัญญา  โดยหลักทางศาสนาพุทธ คนต้องตรัสรู้ด้วยตนเอง   คนจึงต้องมีอิสระของพื้นฐานภูมิปัญญา หมายถึงมีอิสระที่จะคิด ที่จะใช้วิจารณญาณอย่างอิสระ เพื่อไปสู่การตรัสรู้   เป้าหมายประชาธิปไตยทางธรรมคือสังคมสงบสุขด้วยธรรม  ประชาชนมีธรรมเสมอกัน  ไม่ใช่เรื่องอามิส

 

ประเด็นที่ 2  ความเหมือนกัน   เหมือนกันตั้งแต่หลักการ  โดยตรงกันที่หลักการว่าด้วยความเป็นมนุษย์   ซึ่งหลักการนี้ได้มีการพัฒนาขึ้นในตะวันตกมีอังกฤษฝรั่งเศสเยอรมัน  ซึ่งในขณะนั้นถูกปกครองโดยศาสนจักร์ที่กรุงโรม  และเอาระบอบเทวสิทธิ์มาปกครองยุโรป  หมายถึงการปกครองโดยคณะผู้แทนของ ทพเจ้าเบื้องบน   มีคัมภีร์ทางศาสนาเป็นรัฐธรรมนูญ  ซึ่งคัมภีร์นี้ได้บัญญัติฐานะของมนุษย์ทั้งปวงไว้ว่าเป็นคนบาป  มีหน้าที่ต้องชำระบาปและรับใช้พระเจ้าทุกประการ นับแต่รับใช้เล็ก ๆ น้อย ๆ ไปถึงการรับใช้ด้วยชีวิต  โดยไม่มีสิทธิ์คัดค้านเลย  มีหน้าที่ก้มหน้าก้มตาฟังคำสั่งของคณะผู้แทนพระเจ้าคือโป๊ปและคณะบาดหลวงที่กรุงโรมอย่างซื่อสัตย์  ซึ่งนี่คือการปกครองที่กดขี่ผู้ใต้ปกครอง และผู้ใต้ปกครองไม่มีความเป็นมนุษย์  ต่อเมื่อมีการขูดรีดของคณะผู้ปกครองจนร่ำรวยอย่างมหาศาล โปที่กรุงโรมมีฐานะกินดีอยู่ดียิ่งกว่ากษัตริย์เสียอีก  คนจึงเริ่มมองไปถึง ความเป็นมนุษย์  และได้พัฒนาต่อมาเป็นระบอบประชาธิปไตย  มีการปลดแอกจากอำนาจของพระเจ้า มาปกครองตนเอง  จัดระบอบการปกครองของมนุษย์ โดยมนุษย์ และเพื่อมนุษย์ขึ้น ตามที่เรารู้ดีว่า  การปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชนนั่นเอง   แต่นั่นเป้นการวิวัฒนาการมาของการปกครองตะวันตก   ในส่วนของพระพุทธศาสนา   ประชาธิปไตยคือคำสอนส่วนหลักของพระพุทธศาสนาโดยแท้จริง  เพราะว่าด้วยความเป้นมนุษย์  นั่นคือ  มนุษย์จะต้องช่วยตนเอง  (หลัก อัตตาหิ อัตตะโนนาโถ  ตนแลเป็นที่พึ่งของตน)  ประชาชนต้องปกครองตนเอง   นี่เป้นส่วนที่เหมือนกันทั้งประชาธิปไตยฝ่ายโลกและฝ่ายธรรม

 

ประเด็นที่ 3.   ประชาธิปไตยอันสมบูรณ์ไม่ว่าทางโลกหรือทางธรรม หมายถึงจริยธรรมอันสูงสุด  คนในระบอบประชาธิปไตยต้องเคารพตนเอง  เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์   ในทางโลกต้องมีศักดิ์ศรีในฐานะที่ตนเองเป็นผู้มีอำนาจการปกครองประเทศคนหนึ่งทีเดียว ในการเลือกตั้งจะต้องดำรงตนมั่นคงในหน้าที่ของประชาชนผู้ปกครองตนเอง มีความรับผิดชอบอย่างสูงในการเลือกตั้ง   ในทางธรรมการประพฤติดีประพฤติชอบไม่ว่าทางกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม จะต้องทำด้วยสำนึกอิสระ เห็นเหตุเห็นผลด้วยภูมิปัญญาตนเอง   สังคมทางธรรมะ จึงเป้นสังคมที่มีความเห็นพ้องต้องกันในธรรมะ  ถ้าเป้นสังคมพระอรหันต์ท่านจะมีสิ่งที่เรียกว่าตรงกันด้วยจิตใจที่สะอาดปราศจากกิเลสเหมือนกัน  เมื่อหมู่พระอรหันต์มารวมกันเป้นหมื่นองค์ล้อมพระพุทธเจ้า  จึงเป้นสังคมอันสงบและปราศจากการเคลื่อนไหว  ที่สะท้อนความอิ่มเป้นนิจนิรันดร    ในทางโลก เมื่อสังคมมนุษย์ มีคนแต่ละคน มีความเคารพตนเอง  เคารพในความเป็นมนุษย์ รู้ธรรมมีหิริโอตตัปปะ คือ มีความละกลัวและละอายใจในการทำอะไรผิด ๆ หรือที่เห็นแก่ตัว  ควบคุมตัวเองได้ด้วยตนเอง  รู้ดีรู้ชั่วด้วยตนเอง  มีการศึกษาในจริยธรรมอย่างสูง  สังคมก็สงบ  เรียกว่าประชาธิปไตยอันสมบูรณ์

 

ผู้แสดงความคิดเห็น บุษบา บุญเสฏฐ์ วันที่ตอบ 2008-06-08 21:41:45


ความคิดเห็นที่ 2 (1282422)

 

คำว่า ประชาธิปไตย ภาษาไทยแปลมาจาก Democracy อันเป็นบัญญัติเดิมของนักรัฐศาสตร์ยุคเริ่มแรกแห่งตะวันตก  เรามาทำความเข้าใจทางภาษาก่อนก็พอจะให้เข้าใจหลักการของประชาธิปไตยไปได้ในระดับหนึ่ง

Democracy 
1. A form of government in which the people have a voice in the exercise of power,typically through elected representatives.
2. a state governed in such a way 
3.  control of a group by the mojority of its members [Reader"s Digest GREAT Dictionary of The English Language p.251]


ในภาษาไทยมีสั้น ๆ เป็นคำประกอบของคำว่า ประชา เป็นประชาธิปไตย

ประชาธิปไตย ระบอบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่, การถือเสียงข้างมากเป็นใหญ่  (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.2542  หน้า656)

ต่อไปเป็นความเข้าใจโดยหลักการ

โดยหลักการแล้ว มีหลักการเบื้องต้นที่เราต้องเข้าใจก่อนก็คือ  การเมืองและการปกครองนั้น หมายถึงอำนาจ   ผู้ปกครองหมายถึงผู้ที่มีอำนาจเหนือคนทั้งหลายในแผ่นดิน     อย่างเช่นในยุโรป มีโป๊บและคณะบาดหลวงที่กรุงโรม มีอำนาจปกครองคนทั้งยุโรป ปกครองแม้กษัตริย์ในยุโรปมาเป็นเวลานานกว่า 1,000 ปี   ต่อเมื่อใช้อำนาจไปในทางที่กดขี่ประชาชน และเห็นแก่ตัว  เพราะคณะโป๊ปนี้เหยียดหยามประชาชนว่าเป็นคนบาป เป็นมวลชนที่รังเกียจของพระเจ้าเพราะความบาปของพวกเขา(เนื่องจากมนุษย์คู่แรกของต้นตระกูลมนุษย์ร่วมกันทำบาป คืออีวาและอีฟ ก่อกรรมบัดสีด้วยกันในสวนเอเดน ฉะนั้นทายาทมนุษย์ทั้งหลายจึงเป็นคนบาป เป็นที่รังเกียจของพระเจ้า  จะต้องล้างบาปทั่วทุกตัวตน ตั้งแต่กระยาจกขอทานขึ้นไปถึงแม้กระทั่งกษัตริย์ ) 

ซึ่งต่อมาเมื่อ 1000 ปีหลังของศาสนาคริสต์ มนุษย์ยุโรป จึงเริ่มมองว่า การใช้อำนาจเช่นนี้ ไม่มีความเป็นธรรมแด่มนุษย์  และเริ่มต้นศึกษาทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เข้าใจเชิงเหตุและผลทางการปกครอง และชีวิตมนุษย์มากขึ้น   จนในที่สุดจึงมาพบความหมายของ ความเป็นมนุษย์  และความหมายที่ค้นพบคือ  มนุษย์นั้นคือเสรีชน  ไม่มีการดลบันดาลใดที่อาจช่วยมนุษย์ได้ นอกจากมือทั้งสองของมนุษย์เอง

ซึ่งจะเห็นว่า  นี่คือการที่นักการศึกษายุคเริ่มแรกประชาธิปไตยในยุโรปได้มารู้จักพระพุทธศาสนาและพบความหมายของคำว่ามนุษย์  ในฐานะมนุษย์ผู้ไม่มีการนับถือพระเจ้าเป็นสรณะ  แต่นับถือสติปัญญาของมนุษย์เองเป็นสรณะ   และการที่มนุษย์ทำดีได้ดีเพราะการกระทำของมนุษย์เองจากพระพุทธศาสนา

และนักรัฐศาสตร์รุ่นนั้น  นับแต่ จอห์น ล็อค และ โธมาส ฮอบบส์ ที่นักรัฐศาสตร์ไทยรู้จักเป็นบุคคลต้น ๆ  นำมาเขียนเป็นทฤษฎีรัฐศาสตร์  ประชาธิปไตยขึ้น  

นั่นคือ  การปกครองของมนุษย์ โดยมนุษย์ และเพื่อมนุษย์   พวกเขาขจัดพระเจ้าออกไปเสียจากการเมืองที่กดขี่ และอยุติธรรม


 

ผู้แสดงความคิดเห็น บุษบา บุญเสฏฐ์ วันที่ตอบ 2008-06-11 09:03:47


ความคิดเห็นที่ 3 (1283591)

 

ในประเทศไทย ประชาธิปไตยเกิดขึ้น มิใช่ด้วยการวิวัฒนาการ  แต่มีการเกิดขึ้นโดยปัจจุบันทันด่วน ด้วยการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475  โดยคณะนายทหารทำการยึดอำนาจกษัตริย์  และแท้ที่จริงคณะทหารเหล่านั้น และแม้นักวิชาการรัฐศาสตร์ในยุคนั้น(หรือแม้ยุคนี้ก็ตาม) มิได้ทราบความหมายที่แท้จริงของประชาธิปไตยเลยว่าแท้จริงมาจากหลักการของพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติไทย และเป็นศาสนาที่บูชาของพวกเขานี่เอง  เพียงแต่หลักพระพุทธศาสนานั้นมีความหมายที่เอื้ออาทรมนุษย์ทั้งหลาย ครอบคลุมให้ประโยชน์แด่มนุษย์ทั้งหลาย ในทุกระบอบการปกครอง  หมายความว่า  ฐานะของความเป็นมนุษย์ มีได้ในทุกระบอบการปกครอง  ไม่ว่าระบอบการปกครองระบอบใดหากมนุษย์ในระบอบนั้นอยู่ในธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา   แต่ในหลักการของพระพุทธศาสนา มนุษย์จะต้องปกครองตนเอง  มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ศาสนาพุทธจึงเป็นศาสนาที่ตะวันตกพึงพอใจให้นิยามว่า เป็นศาสนาเดียวที่ไม่มีพระเจ้า  ฉะนั้นในการปกครองทุกระบอบของชาวพุทธ จึงเป็นการปกครองของมนุษย์เอง  เดิมเรามีการปกครองในระบอบเผด็จการราชาธิปไตย (ระบอบที่ไม่มีฝ่ายค้าน กำจัดฝ่ายค้านด้วยการลงโทษอย่างรุนแรง เช่น การตัดหัวเจ็ดชั่วโคตร เป็นต้น)  แต่กษัตริย์ไทยก็พาประชาชนไทยเคารพในพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นมนุษย์   กษัตริย์พม่า ลาว กัมพูชาก็เช่นเดียวกัน   เพียงแต่ยุโรปเมื่อได้รู้นิยามของความเป็นมนุษย์และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แล้ว  ได้มีการศึกษาในรายละเอียดของการที่จะปกครองโดยมนุษย์ เพิ่มเติมไปอีกจนสามารถนำไปปฏิบัติเป็นรูปธรรม และมีการวิวัฒนาการมาซึ่งการปกครองโดยมนุษย์ ของมนุษย์และเพื่อมนุษย์ ขึ้นในโลก และซึ่งโดยระบอบนี้พวกเขาได้ปลดแอกของพระเจ้าทิ้งไปเสียโดยสิ้นเชิง   และโลกเชื่อว่าเป็นการปกครองที่เหมาะสมที่สุดในหมู่มนุษย์  การปกครองระบอบประชาธิปไตยจึงแพร่หลายออกไป จนเกิดค่านิยมของระบอบประชาธิปไตยขึ้นอย่างสูงสุด  ประเทศใดที่ยังไม่เป็นประชาธิปไตยจะได้รับการรังเกียจว่า เป็นประเทศที่ไม่มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และจะต้องถูกกดดันให้เปลี่ยนแปลงเป็นประชาธิปไตยต่อไป  (หมายความว่าหลักการของศาสนาพุทธได้รับการบังคับให้นำไปปฏิบัติทางการปกครองอย่างเป็นสากลแล้วในนามของ ประชาธิปไตย)  ดังจะปรากฏว่ากำลังมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยไปตามลำดับ ภายใต้การนำของอเมริกา และยุโรป เช่นรัสเซีย  จีน  อิรัค  อิหร่าน และประเทศมุสลิมในตะวันออกกลางทั้งหลาย  

 

 

ในความหมายทั้งหมดของระบอบประชาธิปไตย หรือการมองในองค์รวมทั้งสิ้น  การเลือกตั้งเป็นสิ่งจำเป็น เป็นเครื่องมือที่จักเคลื่อนระบอบประชาธิปไตยให้เป็นรูปธรรม   ดังนิยามว่า   A form of government in which the people have a voice in the exercise of power, typically through elected representatives.  แปลว่า  รูปแบบหนึ่งของการปกครอง ซึ่งพลเมืองแต่ละคนต่างก็มีเสียงของตนสียงหนึ่งเข้าไปใช้อำนาจทางการปกครอง  โดยมีรูปแบบที่สำคัญผ่านการเลือกตัวแทนของประชาชนไปใช้อำนาจนั้น

 

 

 

 

นั่นคือ ประชาธิปไตยต้องมีการเลือกตั้ง   การเลือกตั้งตัวแทนของประชาชนเป็นสิ่งจำเป็น   และมีกติกาที่สำคัญที่สุดก็คือ   control of a group by the mojority of its members  แปลว่า  มีการปกครองดูแลโดยถือเอาเสียงส่วนมากของพลเมืองของประเทศ   หรือหลักรัฐศาสตร์ที่ว่า   Majority Rule Minority Right  การปกครองโดยคนส่วนมาก  แต่มีการรักษาสิทธิของคนส่วนน้อย   นั่นเอง 

 

 

 

 

นี่คือความหมายที่สำคัญที่สุด  กติกา  นี่เองคือสิ่งที่คนในระบอบประชาธิปไตยต้องยอมรับ  เนื่องเพราะประชาธิปไตยก็มีข้อจำกัด เราไม่สามารถจะทำอะไรให้ได้มากไปกว่านี้   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราจะนัดคนทั้ง 60 ล้านคนมายกมือออกความเห็นพร้อม ๆ กันไม่ได้  จึงต้องมีการเลือกตั้ง  ซึ่งหมายถึง  การปกครองโดยการมีตัวแทนของประชาชน (Representatives)  โดยเลือกฝ่ายที่มีเสียงส่วนมาก (Majority) ของประชาชนเป็นผู้ปกครอง โดยเป็นฝ่ายรัฐบาล  และเสียงส่วนน้อยเป็นฝ่ายค้าน

 

 

ซึ่งกติกาข้อสำคัญ ๆ เช่นนี้ จะได้รับการบัญญัติไว้ในกฎหมายสูงสุดของประเทศเสมอไป กฎหมายสูงสุดเราหมายถึงรัฐธรรมนูญ แท้ที่จริงนั้นรัฐธรรมนูญจึงหมายถึงกติกาข้อสำคัญ ๆ ของการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน  นั่นเอง   การเขียนรัฐธรรมนูญจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้กติกาเป็นสิ่งที่ชัดเจน และเป็นที่ยอมรับของปวงประชามหาชนของประเทศนั้น ๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศใหม่ ๆ ที่มีความมุ่งหมายทางการปกครองประชาธิปไตย เช่นประเทศไทย  ซึ่งสถาบันและพลเมืองทั้งสิ้นต้องเคารพในกติกาที่เขียนไว้ในกฎหมายสูงสุดของประเทศ   เพราะการเคารพในกติกา  หมายถึง ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  ที่ทำให้สังคมมนุษย์ในระบอบประชาธิปไตยมีความเป็นมนุษย์ที่อุดมสมบูรณ์ มีความสุขและสงบ  เพราะกติกา คือการยอมรับ การจำนน การนิ่งสงัด  และการไม่โต้แย้ง

 

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น บุษบา บุญเสฏฐ์ วันที่ตอบ 2008-06-12 18:45:00


ความคิดเห็นที่ 4 (1286139)

 

ประเด็นสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยจึงเป็นเรื่องคุณภาพของประชาชนแต่ละคน ผู้ที่มีหน้าที่ในการปกครองตนเอง  ความเป็นมนุษย์ และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ในระบอบประชาธิปไตยจึงหมายถึงระดับการศึกษาของประชาชน  มีความสามารถสูง จนพอที่จะพึ่งพาตนเองได้อย่างอิสระ  ปราศจากความคิดอย่างทาสโดยสิ้นเชิง   ซึ่งจะพบว่านี่เป็นความหมายที่แฝงไว้ในหลักการของพระพุทธศาสนานั่นเอง  หมายความว่าชาวพุทธ ที่มีสติปัญญา คือผู้ตื่น ผู้รู้ ผู้เบิกบาน รู้ดีรู้ชั่วด้วยตนเอง  และมีการตรัสรู้ด้วยตนเอง  ชาวพุทธที่สมบูรณ์จะมีสติปัญญาในเชิงการวินิจฉัยและใช้ดุลยพินิจได้ด้วยตนเอง มีการสั่งการใดใดได้ด้วยตนเอง  ดังจะเห็นจากคำสอนในกาลามสูตร  ที่พระพุทธองค์ทรงสอนชาวกาลามว่าอย่าเพิ่งเชื่ออะไรง่าย ๆ  ไม่ว่าข่าวสารเหตุการณ์ใดใด นั้น อย่าเพิ่งเชื่อเสียก่อน  10 อย่างคือ

 

                (1)   อย่าเชื่อ โดยการฟังตามกันมา

                (2)   อย่าเชื่อ โดยการถือสืบ ๆ กันมา

                (3)   อย่าเชื่อ โดยการเล่าลือ

                (4)   อย่าเชื่อโดยการอ้างตำรา

                (5)   อย่าเชื่อ โดยตรรก

                (6)   อย่าเชื่อ โดยการอนุมาน

                (7)   อย่าเชื่อ โดยการคิดตรองตามแนวเหตุผล

                (8)   อย่าเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน

                (9)   อย่าเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ

                (10) อย่าเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา

 

นี่คือหลักการของประชาธิปไตยข้อสำคัญที่เกี่ยวกับประชาชน ในระบอบประชาธิปไตย นั่นหมายถึงอิสรภาพของปัจเจกบุคคล ที่จะต้องรู้ด้วยตนเอง  และที่ไม่สนับสนุนให้เกิดการครอบงำทางความคิด นั่นคือแนวทางการพัฒนาทางวัฒนธรรมการเมือง   และประชาชนในระบอบประชาธิปไตยจะต้องมีพื้นฐานความเป็นมนุษย์  และความคิดของมนุษย์ประชาธิปไตย ต้องได้รับการเคารพเสมอ   คือ  เคารพในความคิดเห็นของคนอื่น แม้ฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์กับเราด้วย  

 

ผู้แสดงความคิดเห็น บุษบา บุญเสฏฐ์ (newworld_believe-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2008-06-15 22:29:18


ความคิดเห็นที่ 5 (1287175)

เราขอเสนอให้ลองอ่านบทวิเคราะห์เรื่อง ประชาธิปไตยไทยยังคงหลงทางอยู่  โปรดคลิกเพื่ออ่าน

ผู้แสดงความคิดเห็น บุษบา บุญเสฏฐ์ (newworld_believe-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2008-06-17 09:35:35


ความคิดเห็นที่ 6 (1287195)
โปรดดู ประชาธิปไตยไทยต้องมียุทธศาสตร์  ยุทธศาสตร์ประชาธิปไตยไทยต้องไม่ก้าวถอย แต่ต้องก้าวไปข้างหน้า
ผู้แสดงความคิดเห็น บุษบา บุญเสฏฐ์ (newworld_believe-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2008-06-17 10:15:55


ความคิดเห็นที่ 7 (1321190)
test readyplanet
ผู้แสดงความคิดเห็น readyplanet (jeeraporn-at-grandplanet-dot-com)วันที่ตอบ 2008-07-27 20:39:32


ความคิดเห็นที่ 8 (1321192)
ประชาธิปไตยสงฆ์

ภายใต้หลักการของพระพุทธศาสนา

ภราดรภาพเป็นเรื่องสำคัญในหลักการปกครองคณะสงฆ์

เสรีภาพเป็นหลักการสำคัญของการแสวงหาความหลุดพ้น และ

เสมอภาค  คือ ความเท่าเทียมโดยธรรม  โดยเอามาตรฐานแห่งคุณธรรม สูงสุดคือมรรคผลเป็นความหมายของความเสมอภาค

ผู้แสดงความคิดเห็น บุษบา บุญเสฏฐ์ (newworld_believe-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2008-07-27 20:42:16


ความคิดเห็นที่ 9 (1322119)

หลักสำคัญของประชาธิปไตยควรมีการประนีประนอมกันอย่างมีเหตุผล  โดยยึดประโชน์สุขของคนส่วนใหญ่  มีการแข่งขันกันอย่างยุติธรรมและรู้จักยอมแพ้เมื่อต้องแพ้  การมุ่งเอาชนะคะคานโดยไม่นึกถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นอัตตาธิปไตยประชาธิปไตยไทยเป็นเช่นนั้นเอง

ผู้แสดงความคิดเห็น กาขาว วันที่ตอบ 2008-07-29 19:03:56


ความคิดเห็นที่ 10 (1444785)
ไม่เข้าใจอ่ะของคุณบุษบา
ผู้แสดงความคิดเห็น 5555+++++ วันที่ตอบ 2009-06-05 20:25:16


ความคิดเห็นที่ 11 (1973205)

เรียน  คุณ 5555+++++

                  เราก็เป็นคนหนึ่งที่ติดตามบทวิเคราะห์ของบุษบา  บุญเสฏฐ์  และของเว็ปไซต์นี้เป็นประจำ เพราะเห็นว่าผู้แสดงความคิดเห็นแต่ละท่าน มีความรู้ ความคิดที่น่าสนใจ และเรายังได้เขียนกระทู้เข้ามาบ่อยครั้ง

เพราะเป็นเว็ปของเสรีชน  ซึ่งต่างจากเว็ปอื่นๆคือการโต้ตอบกระทู้กัน  จะตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริงใจ เป็นการต่อสู้กันทางวิชาการ 

ผู้ตั้งกระทู้และผู้ตอบกระทู้ต้องมีเหตุผล  ใจกว้าง  ปราศจากอคติ  ถ้าใครมีความคิดเห็นที่มีเหตุผลกว่าอีกฝ่ายต้องยอมรับ  หรือถ้าไม่เข้าใจ  ขัดข้องใจประการใดต้องสามารถอธิบายได้ว่า  ผู้อ่านกระทู้ไม่เข้าใจเรื่องอะไร  เพื่อเจ้าของกระทู้จะได้อธิบายให้เข้าใจได้ถูกต้อง  เพื่อส่งเสริมให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เป็นหลักการของบัณฑิต   ซึ่งในสมัยพุทธกาลใช้เป็นวิธีการเผยแผ่พระสัทธรรม  เราจึงหวังว่าคุณ5555+++++ คงจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง  คือไม่เข้าใจเรื่องอะไร  เข้าใจว่าอย่างไร  โปรดไขปริศนาด้วย เพื่อผู้อ่านกระทู้ท่านอื่นๆจะได้iy[ประโยชน์จากการโต้ตอบปัญหาระหว่างท่านกับผู้เป็นเจ้าของกระทู้

ผู้แสดงความคิดเห็น ภราดร วันที่ตอบ 2009-08-22 15:40:35


ความคิดเห็นที่ 12 (2005299)

 

 

ประชาธิปไตยสงฆ์
ภายใต้หลักการของพระพุทธศาสนา
ภราดรภาพเป็นเรื่องสำคัญในหลักการปกครองคณะสงฆ์
เสรีภาพเป็นหลักการสำคัญของการแสวงหาความหลุดพ้น และ

เสมอภาค  คือ ความเท่าเทียมโดยธรรม  โดยเอามาตรฐานแห่งคุณธรรม สูงสุดคือมรรคผลเป็นความหมายของความเสมอภาค

 

คำว่า  สูงสุดคือมรรคผลเป็นความหมายของความเสมอภาค   นั่นคือ เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์กันทั้งหมดแล้ว  พระอรหันต์ทั้งหมดก็เสมอภาคกันเองโดยธรรมะ   นั่นคือเสมอกัน  ด้วยความที่สิ้นกิเลสไปด้วยกันทุก ๆ องค์  และเสมอกันด้วยปัญญาจักษุ ที่รู้แจ้งในกิเลสและเอาชนะกิเลสได้ด้วยปัญญานั้น   ตรงนี้พระอรหันต์ท่านจะรู้เท่ากันหมด เสมอกันหมด 

 

 

 

คุณ 5555 +++++  ไม่เข้าใจตรงนี้ใช่หรือเปล่าครับ ?
ก็ถูกแล้วล่ะครับที่คุณอ่านแล้วจะไม่เข้าใจ และขอบคุณที่ตอบว่า  ไม่เข้าใจ

เพราะนี่เป้นบทสรุปหลักธรรมสุดยอดของพระพุทธศาสนา ในเรื่อง  ประชาธิปไตย ส่วนของสงฆ์เอง   ต้องเข้าใจธรรมะก่อนนะครับ  เข้าใจทั้งหลักปริยัติ ปฏิบัติ  และ ปฏิเวธ มาพอสมควรก่อน (เราต้องการเสนอบทนี้เพื่อสงฆ์อ่านศึกษานะครับ โยม พลเรือนอาจจะอ่านไม่รู้เรื่องเลยก็ได้) :-

ผู้แสดงความคิดเห็น บุษบา บุญเสฏฐ์ (newworldbelieve-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-12-15 23:44:23


ความคิดเห็นที่ 13 (2025099)

 

เรื่องประชาธิปไตย  มาจากหลักการของพระพุทธศาสนาทั้งหมด    แต่.......  ไม่ใช่พระพุทธศาสนาแบบที่เข้าใจในประเทศไทย.......แบบที่คนไทยทั่ว ๆ ไป......หรือแม้พระสงฆ์องค์เจ้าไทยเข้าใจ................ต้องปรับความเข้าใจไปสักหน่อย  ....................

และลองติดตามสาระในเวบไซท์นี้   ทุกถ้อยคำล้วนเป็นธรรมะประชาธิปไตย.......................

ท่านที่สนใจประชาธิปไตยติดตามไปเรื่อย ๆ    ก็จะเข้าใจประชาธิปไตยอย่างเป็นธรรมชาติ   ...........  นั่นแหละประชาธิปไตยไทยจึงจะเจริญไป.......

ผู้แสดงความคิดเห็น บุหรง ขวัญดิน วันที่ตอบ 2010-03-17 22:17:07



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.